Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๑-๓ หน้า ๑๐๙ - ๑๖๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๑-๓ วินัยปิฎกที่ ๐๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑



พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปาราชิกกัณฑ์

พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะ
กล่าวเท็จทั้งที่รู้” (เรื่องที่ ๔๔)
สมัยนั้น เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกผลมะพลับแก่สงฆ์ ภิกษุรูปหนึ่งกล่าว
คำไม่มีมูลว่า “จงให้เพื่อภิกษุอื่นอีกส่วนหนึ่ง” แล้วรับไป ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะ
กล่าวเท็จทั้งที่รู้” (เรื่องที่ ๔๕)
ในสมัยข้าวยากหมากแพงมี ๕ เรื่อง คือ
เรื่องข้าวสุก ๑ เรื่อง
[๑๔๒] สมัยนั้น เมื่อเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปร้านขายข้าว
สุก มีไถยจิตได้ลักข้าวสุกไปเต็มบาตร แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๖)
เรื่องเนื้อ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น เมื่อเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปร้านขายเนื้อสุก มี
ไถยจิตได้ลักเนื้อไปเต็มบาตร แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่อง ๔๗)
เรื่องขนม ๑ เรื่อง
สมัยนั้น เมื่อเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปร้านขายขนม มี
ไถยจิตได้ลักขนมไปเต็มบาตร แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๘ )

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ

เรื่องน้ำตาลกรวด ๑ เรื่อง
สมัยนั้น เมื่อเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปร้านขายน้ำตาลกรวด
มีไถยจิตได้ลักน้ำตาลกรวดไปเต็มบาตร แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก”(เรื่องที่ ๔๙)
เรื่องขนมต้ม ๑ เรื่อง
สมัยนั้น เมื่อเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปร้านขายขนมต้ม มี
ไถยจิตได้ลักขนมต้มไปเต็มบาตร แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๕๐)
เรื่องบริขาร ๕ เรื่อง
[๑๔๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบเครื่องใช้สอยตอนกลางวัน ได้ทำเครื่อง
หมายไว้ด้วยตั้งใจว่าจะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญเครื่องใช้สอยนั้นว่าเป็นเครื่องใช้
สอยนั้น จึงได้ลักเครื่องใช้สอยนั้นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๕๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบเครื่องใช้สอยตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้
ด้วยตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญเครื่องใช้สอยนั้นว่าเป็นเครื่องใช้สอยนั้น
แต่ได้ลักเครื่องใช้สอยอื่นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๕๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบเครื่องใช้สอยตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้
ด้วยตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญเครื่องใช้สอยนั้นว่าเป็นเครื่องใช้สอยอื่น
แต่ได้ลักเครื่องใช้สอยนั้นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๑๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๕๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบเครื่องใช้สอยตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้
ด้วยตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญเครื่องใช้สอยนั้นว่าเป็นเครื่องใช้สอยอื่น
แต่ได้ลักเครื่องใช้สอยอื่นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๕๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบเครื่องใช้สอยตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้
ด้วยตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญเครื่องใช้สอยนั้นว่าเป็นเครื่องใช้สอยนั้น
แต่ลักเครื่องใช้สอยของตนเอง แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๕๕)
เรื่องถุง ๑ เรื่อง
[๑๔๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบถุงวางไว้บนตั่ง คิดว่าหากหยิบไปจากตั่ง
จะเป็นปาราชิก จึงยกเอาไปพร้อมทั้งตั่ง แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๕๖)
เรื่องฟูก ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตได้ลักฟูกของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๕๗)
เรื่องราวจีวร ๑ เรื่อง
[๑๔๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตได้ลักจีวรที่ราวจีวร แล้วเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๑๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ

เรื่องไม่ออกไป ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลักจีวรในวิหาร คิดว่าหากตนออกไปจากวิหารจะเป็น
ปาราชิก จึงไม่ยอมออกไปจากวิหาร ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้นจะออกจากวิหาร
หรือไม่ออกก็ตาม ก็ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๕๙)
เรื่องถือวิสาสะฉันของเคี้ยว ๑ เรื่อง
[๑๔๖] สมัยนั้น ภิกษุ ๒ รูปเป็นเพื่อนกัน ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปบิณฑบาตยัง
หมู่บ้าน เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกของขบเคี้ยวแก่สงฆ์ ภิกษุรูปที่เป็นเพื่อนรับ
เอาส่วนแบ่งของเพื่อนไปแล้วถือวิสาสะฉันส่วนแบ่งของภิกษุนั้น ท่านรู้เรื่องเข้าจึง
กล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าถือเอาด้วยวิสาสะ พระ
พุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะถือเอาด้วยวิสาสะ” (เรื่องที่ ๖๐)
เรื่องสำคัญว่าเป็นของของตน ๒ เรื่อง
[๑๔๗] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปกำลังตัดเย็บจีวร เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลัง
แจกของขบเคี้ยวแก่สงฆ์ ภิกษุทุกรูปต่างนำส่วนแบ่งของตนไปเก็บไว้ ภิกษุรูปหนึ่ง
สำคัญส่วนแบ่งของภิกษุอีกรูปหนึ่งว่าเป็นส่วนแบ่งของตนจึงฉันเสีย ภิกษุเจ้าของ
ส่วนแบ่งรู้เรื่องเข้า จึงกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุรูปที่ถูกกล่าวหา
เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า
สำคัญว่าเป็นของของตน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอสำคัญว่าเป็นของของตน ไม่
ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๖๑)
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปกำลังตัดเย็บจีวร เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกของขบ
เคี้ยวแก่สงฆ์ ภิกษุรูปหนึ่งเอาบาตรของภิกษุอีกรูปหนึ่งนำส่วนแบ่งของภิกษุอีกรูป

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
หนึ่งมาเก็บไว้ ภิกษุเจ้าของบาตรสำคัญว่าเป็นส่วนแบ่งของตนจึงฉันเสีย ภิกษุรูปที่
นำบาตรไปรู้เรื่องเข้า จึงกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุรูปที่ถูกกล่าว
หาเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอสำคัญว่าเป็นของของตน ไม่
ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๖๒)
เรื่องไม่ได้ลัก ๗ เรื่อง
[๑๔๘] สมัยนั้น พวกขโมยลักมะม่วง ทำให้ผลมะม่วงหล่นแล้วห่อถือไป
พวกเจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลมะม่วงทิ้งแล้วหนีไป
พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันเก็บมะม่วงห่อนั้นไปแล้วฉัน
พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิดความ
กังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวก
ข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๖๓)
สมัยนั้น พวกขโมยลักลูกหว้า ทำให้ผลหว้าหล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของ
พากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลหว้าทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุ
สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันเก็บห่อผลหว้านั้นไปแล้วฉัน พวกเจ้าของ
กล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้า
สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่าเป็น
ของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๖๔)
สมัยนั้น พวกขโมยลักขนุนสำปะลอ ทำให้ผลขนุนสำปะลอหล่นแล้ว ห่อถือ
ไป พวกเจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลขนุนสำปะลอ
ทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันเก็บห่อผลขนุน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สำปะลอนั้นไปแล้วฉัน พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ”
พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
คิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๖๕)
สมัยนั้น พวกขโมยลักขนุน ทำให้ผลขนุนหล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของพา
กันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลขนุนทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุ
สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันเก็บห่อผลขนุนนั้นไปแล้วฉัน พวกเจ้าของ
กล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวก
ข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๖๖)
สมัยนั้น พวกขโมยลักผลตาลสุก ทำให้ผลตาลสุกหล่นแล้วห่อถือไป พวก
เจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลตาลสุกทิ้งแล้วหนีไป
พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุลจึงให้อนุปสัมบันเก็บห่อผลตาลสุกนั้นไปแล้วฉัน
พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิดความ
กังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวก
ข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๖๗)
สมัยนั้น พวกขโมยลักอ้อย ตัดอ้อยแล้วมัดถือไป พวกเจ้าของพากันติดตาม
พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนมัดอ้อยทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของ
บังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันเก็บมัดอ้อยนั้นไปแล้วฉัน พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า
“พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๖๘)
สมัยนั้น พวกขโมยลักผลมะพลับ ทำให้ผลมะพลับหล่นแล้วห่อถือไป พวก
เจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลมะพลับทิ้งแล้วหนีไป
พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันเก็บห่อผลมะพลับนั้นไปแล้วฉัน
พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิดความ
กังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวก
ข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๖๙)
เรื่องลัก ๗ เรื่อง
สมัยนั้น พวกขโมยลักมะม่วง ทำให้ผลมะม่วงหล่นแล้วห่อถือไป พวก
เจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลมะม่วงทิ้งแล้วหนีไป
พวกภิกษุมีไถยจิต คิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น จึงฉันผลมะม่วง พวกเจ้าของกล่าวหา
ภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๐)
สมัยนั้น พวกขโมยลักลูกหว้า ทำให้ผลหว้าหล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของ
พากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลหว้าทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุมี
ไถยจิต คิดว่าพวกเจ้าของจะเห็น จึงฉันผลหว้า พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า
“พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๑)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น พวกขโมยลักขนุนสำปะลอ ทำให้ผลขนุนสำปะลอหล่นแล้วห่อถือไป
พวกเจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลขนุนสำปะลอทิ้ง
แล้วหนีไป พวกภิกษุมีไถยจิตคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น จึงฉันผลขนุนสำปะลอ พวก
เจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิดความกังวลใจ
ว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๒)
สมัยนั้น พวกขโมยลักขนุน ทำให้ผลขนุนหล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของพา
กันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลขนุนทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุมี
ไถยจิตคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น จึงฉันผลขนุน พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า
“พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๓)
สมัยนั้น พวกขโมยลักผลตาลสุก ทำให้ผลตาลสุกหล่นแล้วห่อถือไป พวก
เจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลตาลสุกทิ้งแล้วหนีไป
พวกภิกษุมีไถยจิตคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น จึงฉันผลตาลสุก พวกเจ้าของกล่าวหา
ภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๔)
สมัยนั้น พวกขโมยลักอ้อย ตัดอ้อยแล้วมัดถือไป พวกเจ้าของพากันติดตาม
พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนมัดอ้อยทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุมีไถยจิตคิดว่า
พวกเจ้าของจะเห็น จึงฉันอ้อย พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่
เป็นพระ” พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๕)
สมัยนั้น พวกขโมยลักผลมะพลับ ทำให้ผลมะพลับหล่นแล้วห่อถือไป พวก
เจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลมะพลับทิ้งแล้วหนีไป
พวกภิกษุมีไถยจิตคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น จึงฉันผลมะพลับ พวกเจ้าของกล่าวหา

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
ภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๖)
เรื่องลักของสงฆ์ ๗ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักผลมะม่วงของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักผลหว้าของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักผลขนุนสำปะลอของสงฆ์ แล้วเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักผลขนุนของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๐)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักผลตาลสุกของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักอ้อยของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักผลมะพลับของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๓)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ

เรื่องลักดอกไม้ ๒ เรื่อง
[๑๔๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปสวนดอกไม้ มีไถยจิต ได้ลักดอกไม้ที่เขา
เก็บไว้แล้ว มีราคา ๕ มาสก แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปสวนดอกไม้ มีไถยจิต ได้ลักเก็บดอกไม้ มีราคา ๕
มาสก แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๕)
เรื่องพูดตามคำบอก ๓ เรื่อง
[๑๕๐] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังเข้าไปหมู่บ้าน ได้บอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า
“ท่านครับ ผมจะไปบอกตระกูลอุปัฏฐากให้ตามที่ท่านสั่ง” ครั้นเธอไปถึงจึงให้เขานำ
ผ้ามา ๑ ผืนแล้วใช้เสียเอง ภิกษุผู้สั่งรู้เข้าจึงกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ”
ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกล่าวว่า ผมจะบอกตามที่ท่านสั่ง ภิกษุใด
พึงกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๘๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจะเข้าไปหมู่บ้าน ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้สั่งท่านว่า “ท่านครับ
ท่านช่วยบอกตระกูลอุปัฏฐากของผมตามที่ผมสั่งด้วย” ภิกษุนั้นครั้นไปแล้วจึงให้
ตระกูลอุปัฏฐากนำผ้ามา ๑ คู่ ตนเองใช้ ๑ ผืน ถวายภิกษุผู้สั่งนั้น ๑ ผืน ภิกษุผู้สั่ง
รู้เข้าจึงกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกล่าว
ว่า ท่านจงบอกตามที่สั่ง ภิกษุใดพึงกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๘๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังไปหมู่บ้าน ได้บอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “ท่าน ผม
จะไปบอกตระกูลอุปัฏฐากของท่านตามที่ท่านสั่ง” ภิกษุแม้รูปนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
“ท่านช่วยบอกตามที่ผมสั่ง” ภิกษุนั้น ครั้นไปถึงจึงให้ตระกูลอุปัฏฐากนำเนยใส ๑
อาฬหกะ น้ำอ้อยงบ ๑ ตุละ ข้าวสาร ๑ โทณะ๑ มาแล้วฉันเสียเอง ภิกษุผู้สั่งรู้เข้า
จึงกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ท่านเกิดความเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง
กล่าวว่า ผมจะบอกตามที่สั่ง และไม่พึงกล่าวว่า ท่านจงบอกตามที่สั่ง ภิกษุใดพึง
กล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๘๘)
เรื่องนำแก้วมณีผ่านด่านภาษี ๓ เรื่อง
[๑๕๑] สมัยนั้น บุรุษคนหนึ่งนำแก้วมณีราคาแพง เดินทางไกลไปกับภิกษุ
รูปหนึ่ง ครั้นเห็นด่านภาษี จึงใส่แก้วมณีลงในย่ามของภิกษุนั้นผู้ไม่รู้ เมื่อเดินพ้น
ด่านภาษีจึงถือไปแต่ผู้เดียว ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่รู้ ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๘๙)
สมัยนั้น บุรุษคนหนึ่งนำแก้วมณีราคาแพงเดินทางไกลไปกับภิกษุรูปหนึ่ง
ครั้นเห็นด่านภาษี ทำลวงว่าเป็นไข้แล้วมอบห่อของของตนให้ภิกษุถือไป เมื่อเดินพ้น

เชิงอรรถ :
๑ ๔ กุฑุวะ หรือ ปสตะ (ฟายมือ) เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ)
๔ ปัตถะ เป็น ๑ อาฬหกะ
๔ อาฬหกะ เป็น ๑ โทณะ
๔ โทณะ เป็น ๑ มาณิกา
๔ มาณิกา เป็น ๑ ขารี
๒๐ ขารี เป็น ๑ วาหะ
๒๐ วาหะ เป็น ๑ ธารณะ
๑๐ ธารณะ เป็น ๑ ปละ
๑๐๐ ปละ เป็น ๑๒ ตุลา
๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ
(ดู อภิธา.ฏี. คาถา ๔๘๐-๔๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
ด่านภาษีไป จึงกล่าวกับภิกษุนั้นว่า “ท่านครับ กรุณาส่งห่อของให้ผมเถิด ผมไม่ได้
เป็นไข้” “โยม ท่านได้ทำอย่างนี้เพื่ออะไร” บุรุษนั้นจึงบอกความนั้นให้ภิกษุนั้นทราบ
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่รู้ ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๙๐)
[๑๕๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไกลไปกับหมู่เกวียน ชายคนหนึ่ง
เกลี้ยกล่อมท่านด้วยอามิส เห็นด่านภาษีจึงมอบแก้วมณีราคาแพงให้ภิกษุนั้นด้วย
กล่าวว่า “ขอท่านกรุณาช่วยนำแก้วมณีนี้ผ่านด่านภาษีไปด้วยขอรับ” ภิกษุนั้นได้นำ
แก้วมณีนั้นผ่านด่านภาษีไปแล้ว เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๙๑)
เรื่องปล่อยสุกร ๒ เรื่อง
[๑๕๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปล่อยสุกรที่ติดบ่วงไปด้วยความสงสารแล้ว
เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า
มีความประสงค์จะช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอมีความประสงค์จะช่วยเหลือ
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๙๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตคิดว่า เจ้าของจะเห็น จึงปล่อยสุกรที่ติดบ่วงไป
แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่
๙๓)
เรื่องปล่อยเนื้อ ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปล่อยเนื้อติดบ่วงไปด้วยความสงสารแล้วเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
ประสงค์จะช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอมีความประสงค์จะช่วยเหลือ ไม่
ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๙๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตคิดว่า เจ้าของจะเห็น จึงปล่อยเนื้อที่ติดบ่วงไป
แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่
๙๕)
เรื่องปล่อยปลา ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปล่อยฝูงปลาที่ติดลอบไปด้วยความสงสารแล้วเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า
มีความประสงค์จะช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอมีความประสงค์จะช่วยเหลือ
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๙๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตคิดว่า เจ้าของจะเห็น จึงปล่อยฝูงปลาที่ติด
ลอบไปแล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่อง
ที่ ๙๗)
เรื่องกลิ้งทรัพย์ในยาน ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในยานคิดว่า เมื่อเราหยิบไปจากยานนี้จัก
เป็นปาราชิก จึงเขี่ยให้กลิ้งแล้วถือเอา ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๙๘)
เรื่องชิ้นเนื้อ ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถือเอาชิ้นเนื้อที่เหยี่ยวเฉี่ยวเอามา ด้วยตั้งใจว่าจะคืน
ให้เจ้าของ แต่พวกเจ้าของเนื้อกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ท่านเกิดความ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีไถยจิต ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๙๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตคิดว่า เจ้าของจะเห็น ได้ถือเอาชิ้นเนื้อที่
เหยี่ยวเฉี่ยวเอามา พวกเจ้าของเนื้อกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐๐)
เรื่องไม้ ๒ เรื่อง
[๑๕๔] สมัยนั้น พวกชาวบ้านผูกแพแล้วเข็นลงแม่น้ำอจิรวดี เมื่อเชือกขาด
ไม้ทั้งหลายได้กระจายไป พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงช่วยกันขนไม้ขึ้นฝั่ง
พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิดความ
กังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๐๑)
สมัยนั้น พวกชาวบ้านผูกแพแล้วเข็นลงแม่น้ำอจิรวดี เมื่อเชือกขาด ไม้ทั้ง
หลายได้กระจายไป พวกภิกษุมีไถยจิต คิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น จึงช่วยกันขนไม้
ขึ้นฝั่ง พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิด
ความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้
มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๑๐๒)
เรื่องผ้าบังสุกุล ๑ เรื่อง
สมัยนั้น คนเลี้ยงโคคนหนึ่งพาดผ้าไว้ที่ต้นไม้แล้วไปถ่ายอุจจาระ ภิกษุรูป
หนึ่งสำคัญว่าเป็นผ้าบังสุกุล จึงถือเอาไป คนเลี้ยงโคกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่
เป็นพระ” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอสำคัญว่า
เป็นผ้าบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๐๓)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ

เรื่องข้ามน้ำ ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ผ้าผืนหนึ่งหลุดจากมือพวกช่างย้อมไปคล้องอยู่ที่เท้าของภิกษุรูป
หนึ่งผู้กำลังข้ามน้ำ ท่านเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่าจะนำไปคืนให้เจ้าของ พวกเจ้าของกล่าว
หาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีไถยจิต ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๐๔)
สมัยนั้น ผ้าผืนหนึ่งหลุดจากมือพวกช่างย้อมไปคล้องอยู่ที่เท้าของภิกษุรูป
หนึ่งผู้กำลังข้ามน้ำ ท่านมีไถยจิตคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น ได้ถือเอาผ้านั้นไป พวก
เจ้าของกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐๕)
เรื่องฉันทีละน้อย ๑ เรื่อง
[๑๕๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบหม้อเนยใสจึงฉันเนยใสทีละน้อย แล้วเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติทุกกฏ” ๑ (เรื่องที่ ๑๐๖)
เรื่องชักชวนกันไปลัก ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปชักชวนกันไปด้วยคิดจะลักทรัพย์ ภิกษุรูปหนึ่ง
ลักทรัพย์มาได้ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่เป็นปาราชิก ภิกษุรูปใด
ลักทรัพย์ ภิกษุรูปนั้นเป็นปาราชิก” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐๗)

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุถือเอาเนยใสและน้ำมันเป็นต้น มีราคาไม่ถึงหนึ่งบาท คิดว่า เราจักไม่ทำอย่างนี้อีก ดำรงอยู่ใน
ความสำรวมแม้ในวันที่ ๒ และ ๓ เมื่อเกิดความคิดขึ้นอย่างนี้แล้ว ขณะที่ฉันก็ทำการทอดธุระอย่างนั้น แม้
จะฉันเนยใสและนำมันเป็นต้นนั้นทั้งหมด ก็ไม่เป็นปาราชิก เธอต้องอาบัติทุกกฏหรือถุลลัจจัย แต่สิ่งของนั้น
เธอต้องชดใช้คืน(เป็นภัณฑไทย) (ดู วิ.อ. ๑/๑๕๕/๔๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปชักชวนกันไปแล้ว ได้ลักทรัพย์มา แล้วแบ่งกัน เมื่อ
กำลังแบ่งทรัพย์กัน ภิกษุแต่ละรูปได้ส่วนแบ่งไม่ครบ ๕ มาสก ภิกษุเหล่านั้นจึงบอก
ว่า “พวกเราไม่เป็นปาราชิก” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐๘)
เรื่องกำมือที่กรุงสาวัตถี ๔ เรื่อง
สมัยนั้น กรุงสาวัตถีเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลัก
ข้าวสารของชาวร้านตลาดไป ๑ กำมือ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐๙)
สมัยนั้น กรุงสาวัตถีเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลัก
ถั่วเขียวของชาวร้านตลาดไป ๑ กำมือ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๑๐)
สมัยนั้น กรุงสาวัตถีเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลัก
ถั่วราชมาสของชาวร้านตลาดไป ๑ กำมือ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๑๑)
สมัยนั้น กรุงสาวัตถีเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักงา
ของชาวร้านตลาดไป ๑ กำมือ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๑๒)
เรื่องเนื้อเป็นเดน ๒ เรื่อง
สมัยนั้น พวกโจรฆ่าโค กินเนื้อแล้ว ซ่อนส่วนที่เหลือไว้ในป่าอันธวัน เขตกรุง
สาวัตถี แล้วพากันไป พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันถือเอาไป

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
ทำให้สุกแล้วฉัน พวกโจรกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวก
ภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่า
เป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๑๓)
สมัยนั้น พวกโจรฆ่าสุกร กินเนื้อแล้ว ซ่อนส่วนที่เหลือไว้ในป่าอันธวัน เขต
กรุงสาวัตถีแล้วพากันไป พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันถือเอา
ไปทำให้สุกแล้วฉัน พวกโจรกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวก
ภิกษุเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่าเป็น
ของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๑๔)
เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ทุ่งหญ้า มีไถยจิต ได้ลักหญ้าที่เขาเกี่ยวไว้แล้ว มี
ราคา ๕ มาสก แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๑๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ทุ่งหญ้า มีไถยจิต ได้ลักเกี่ยวหญ้า มีราคา ๕ มาสก
ไปแล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่อง
ที่ ๑๑๖)
เรื่องให้แบ่งของสงฆ์ ๗ เรื่อง
[๑๕๖] สมัยนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะให้แบ่งผลมะม่วงของสงฆ์แล้วขบฉัน
พวกภิกษุเจ้าถิ่นกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุ
อาคันตุกะเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
คิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าต้องการจะฉัน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอต้องการจะฉัน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๑๗)
สมัยนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะให้แบ่งผลหว้าของสงฆ์แล้วขบฉัน พวกภิกษุ
เจ้าถิ่นกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุอาคันตุกะเกิด
ความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องการจะฉัน
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๑๘)
สมัยนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะให้แบ่งผลขนุนสำปะลอของสงฆ์แล้วขบฉัน
พวกภิกษุเจ้าถิ่นกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุ
อาคันตุกะเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
ต้องการจะฉัน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๑๙)
สมัยนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะให้แบ่งผลขนุนของสงฆ์แล้วขบฉัน พวกภิกษุ
เจ้าถิ่นกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุอาคันตุกะเกิด
ความกังวล ใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องการจะ
ฉัน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๒๐)
สมัยนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะให้แบ่งผลตาลสุกของสงฆ์แล้วขบฉัน พวกภิกษุ
เจ้าถิ่นกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุอาคันตุกะเกิด
ความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องการจะฉัน
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๒๑)
สมัยนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะให้แบ่งต้นอ้อยของสงฆ์แล้วขบฉัน พวกภิกษุ
เจ้าถิ่นกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุอาคันตุกะเกิด
ความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องการจะฉัน
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๒๒)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะให้แบ่งผลมะพลับของสงฆ์แล้วขบฉัน พวก
ภิกษุเจ้าถิ่นกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุอาคันตุกะ
เกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องการจะ
ฉัน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๒๓)
เรื่องไม่ใช่เจ้าของ ๗ เรื่อง
สมัยนั้น พวกคนเฝ้าสวนมะม่วงได้ถวายผลมะม่วงแก่ภิกษุทั้งหลาย พวก
ภิกษุมีความรังเกียจว่า ชนเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้า ไม่มีสิทธิ์จะถวาย จึงไม่ยอมรับแล้วนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนเฝ้าถวาย” (เรื่องที่ ๑๒๔)
สมัยนั้น พวกคนเฝ้าสวนหว้าได้ถวายผลหว้าแก่ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุมี
ความรังเกียจว่า ชนเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้า ไม่มีสิทธิ์จะถวาย จึงไม่ยอมรับแล้วนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้อง
อาบัติ เพราะคนเฝ้าถวาย” (เรื่องที่ ๑๒๕)
สมัยนั้น พวกคนเฝ้าสวนขนุนสำปะลอได้ถวายผลขนุนสำปะลอแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกภิกษุมีความรังเกียจว่า ชนเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้า ไม่มีสิทธิ์จะถวาย จึงไม่
ยอมรับแล้วนำเรื่องไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนเฝ้าถวาย” (เรื่องที่ ๑๒๖)
สมัยนั้น พวกคนเฝ้าสวนขนุนได้ถวายผลขนุนแก่ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุมี
ความรังเกียจว่า ชนเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้า ไม่มีสิทธิ์จะถวาย จึงไม่ยอมรับแล้วนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้อง
อาบัติ เพราะคนเฝ้าถวาย” (เรื่องที่ ๑๒๗)
สมัยนั้น พวกคนเฝ้าสวนตาลสุกได้ถวายผลตาลสุกแก่ภิกษุทั้งหลาย พวก
ภิกษุมีความรังเกียจว่า ชนเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้า ไม่มีสิทธิ์จะถวาย จึงไม่ยอมรับแล้ว
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนเฝ้าถวาย” (เรื่องที่ ๑๒๘)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น พวกคนเฝ้าไร่อ้อยได้ถวายลำอ้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุมี
ความรังเกียจว่า ชนเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้า ไม่มีสิทธิ์จะถวาย จึงไม่ยอมรับแล้วนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้อง
อาบัติ เพราะคนเฝ้าถวาย” (เรื่องที่ ๑๒๙)
สมัยนั้น พวกคนเฝ้าสวนมะพลับได้ถวายผลมะพลับแก่ภิกษุทั้งหลาย พวก
ภิกษุมีความรังเกียจว่า ชนเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้า ไม่มีสิทธิ์จะถวาย จึงไม่ยอมรับแล้วนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่
ต้องอาบัติ เพราะคนเฝ้าถวาย” (เรื่องที่ ๑๓๐)
เรื่องยืมไม้ของสงฆ์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้ยืมไม้ของสงฆ์ไปค้ำฝาวิหาร ภิกษุทั้งหลายกล่าวหา
ภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า ต้องการจะขอยืม พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะขอยืม” (เรื่องที่ ๑๓๑)
เรื่องลักน้ำของสงฆ์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักน้ำของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๓๒)
เรื่องลักดินของสงฆ์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักดินของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๓๓)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ

เรื่องลักหญ้าของสงฆ์ ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักหญ้ามุงกระต่ายของสงฆ์ แล้วเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๓๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้เผาหญ้ามุงกระต่ายของสงฆ์ แล้วเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ”
(เรื่องที่ ๑๓๕)
เรื่องลักเสนาสนะของสงฆ์ ๗ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักเตียงของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๓๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักตั่งของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๓๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักฟูกของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๓๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักหมอนของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๓๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักบานประตูของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๔๐)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักบานหน้าต่างของสงฆ์ แล้วเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๔๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักไม้กลอนของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจ
ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๔๒)
เรื่องของมีเจ้าของไม่ควรนำไปใช้ ๑ เรื่อง
[๑๕๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้นำเสนาสนะเครื่องใช้สอยประจำในวิหาร
ของอุบาสกคนหนึ่งไปใช้สอยที่อื่น อุบาสกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงนำเครื่องใช้สอยประจำในที่แห่งหนึ่ง ไปใช้ในที่อีกแห่งหนึ่ง
เล่า” ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่ง ไม่พึงนำไปใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่ง
ภิกษุใดพึงใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๔๓)
เรื่องของมีเจ้าของควรขอยืม ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจการนำเสนาสนะเครื่องใช้สอยไปโรงอุโบสถบ้าง
ที่ประชุมบ้าง จึงนั่งบนพื้นดิน เนื้อตัวและจีวรจึงเปื้อนฝุ่น ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้นำไปใช้ได้ชั่วคราว” (เรื่องที่ ๑๔๔)
เรื่องภิกษุณีชาวกรุงจำปา ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุณีผู้เป็นอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทา ไปยังตระกูล
อุปัฏฐากของภิกษุณีถุลลนันทา ในกรุงจัมปา บอกคนในตระกูลว่า “ภิกษุณีถุลลนันทา
ประสงค์จะดื่มยาคูปรุงด้วยของ ๓ อย่าง” เมื่อเขาหุงหาให้แล้วเธอกลับนำไปฉัน
เสียเอง ภิกษุณีถุลลนันทารู้เข้าจึงกล่าวหาภิกษุณีนั้นว่า “เธอไม่เป็พระ” ภิกษุณีนั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
เกิดความกังวลใจจึงบอกความนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พวกภิกษุณีจึงบอกแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกล่าวเท็จทั้งที่รู้” (เรื่องที่ ๑๔๕)
เรื่องภิกษุณีชาวกรุงราชคฤห์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุณีผู้เป็นอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทา ไปยังตระกูลอุปัฏฐาก
ของภิกษุณีถุลลนันทาในกรุงราชคฤห์ บอกคนในตระกูลว่า “ภิกษุณีถุลลนันทา
ประสงค์จะฉันขนมรวงผึ้ง” เมื่อสั่งให้เขาทอดแล้วเธอกลับนำไปฉันเสียเอง
ภิกษุณีถุลลนันทารู้เข้าจึงกล่าวหาภิกษุณีนั้นว่า “เธอไม่เป็นพระ” ภิกษุณีนั้นเกิด
ความกังวลใจจึงบอกความนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พวกภิกษุณีจึงบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย
พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะ
กล่าวเท็จทั้งที่รู้” (เรื่องที่ ๑๔๖)
เรื่องพระอัชชุกะชาวกรุงเวสาลี ๑ เรื่อง
[๑๕๘] คหบดีผู้เป็นอุปัฏฐากของพระอัชชุกะ ในกรุงเวสาลี มีบุตร ๑ คน
หลาน ๑ คน ต่อมา เขาสั่งเสียท่านพระอัชชุกะว่า “ท่านพึงบอกที่ฝังทรัพย์แก่เด็ก
ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ในจำนวนเด็ก ๒ คนนี้” แล้วถึงแก่กรรม เวลานั้นปรากฏว่า
หลานชายของคหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ท่านพระอัชชุกะจึงบอกที่ฝังทรัพย์แก่
เธอ เธอนำทรัพย์สมบัติมาตั้งเป็นกองทุนและเริ่มให้ทาน
ต่อมาบุตรของคหบดีนั้น ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า “พระคุณเจ้า
อานนท์ ใครเป็นทายาทของพ่อ ลูกหรือหลาน”
“ธรรมดาลูกต้องเป็นทายาทของพ่อ”
“ท่านขอรับ พระคุณเจ้าอัชชุกะบอกทรัพย์สมบัติของกระผมแก่คู่แข่งของ
กระผมไปแล้ว”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
“โยม ท่านพระอัชชุกะไม่เป็นพระ”
ลำดับนั้น ท่านพระอัชชุกะกล่าวกับท่านพระอานนท์ว่า “ท่านอานนท์
ท่านโปรดให้การวินิจฉัยแก่กระผมเถิด ขอรับ”
ท่านพระอุบาลีอยู่ฝ่ายพระอัชชุกะ ถามพระอานนท์ว่า “ท่านอานนท์ ภิกษุ
รูปใดบอกขุมทรัพย์แก่บุคคลตามที่เจ้าของสั่งให้บอก ภิกษุรูปนั้นจะต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ภิกษุนั้นจะไม่ต้องอาบัติอะไรเลย โดยที่สุดแม้แต่
อาบัติทุกกฏ”
ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวว่า “พระอัชชุกะนี้อันเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่า ท่านโปรด
บอกที่ฝังทรัพย์นี้แก่บุคคลชื่อนี้ จึงได้บอกแก่ผู้นั้น ดังนั้นพระอัชชุกะจึงไม่ต้อง
อาบัติ” (เรื่องที่ ๑๔๗)
เรื่องทารกชาวกรุงพาราณสี ๑ เรื่อง
[๑๕๙] ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระปิลินทวัจฉะในกรุงพาราณสี ถูกโจร
ปล้นและพาเด็กไป ๒ คน ต่อมา ท่านพระปิลินทวัจฉะช่วยนำเด็กหนีออกมาไว้
ที่ปราสาทด้วยอิทธิฤทธิ์ ชาวบ้านเลื่อมใสว่า นี้เป็นอิทธานุภาพของท่าน
พระปิลินทวัจฉะโดยแท้ ภิกษุทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
ปิลินทวัจฉะจึงนำเด็กที่พวกโจรพาตัวไปมาเล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีฤทธิ์ไม่ต้องอาบัติ
เพราะวิสัยแห่งฤทธิ์” (เรื่องที่ ๑๔๘)
เรื่องภิกษุชาวกรุงโกสัมพี ๑ เรื่อง
[๑๖๐] สมัยนั้น พระปัณฑุกะและพระกปิละเป็นเพื่อนกัน รูปหนึ่งอยู่ใน
อาวาสใกล้หมู่บ้าน อีกรูปหนึ่งอยู่ในกรุงโกสัมพี ต่อมาเพื่อนภิกษุผู้อยู่ในหมู่บ้าน
เดินทางจากหมู่บ้านไปกรุงโกสัมพี ระหว่างทาง ข้ามแม่น้ำ เปลวมันข้นที่หลุดจาก
มือของพวกคนฆ่าหมูลอยมาติดที่เท้า เธอจึงเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่าจะให้คืนแก่เจ้าของ
พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” หญิงเลี้ยงโคคนหนึ่งพบท่านข้าม

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
น้ำจึงได้กล่าวกับท่านดังนี้ว่า “ท่าน นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิด เจ้าค่ะ” ท่าน
คิดว่า แม้ตามปกติ เราก็ไม่เป็นพระอยู่แล้ว จึงเสพเมถุนธรรมกับหญิงเลี้ยงโค แล้ว
เดินทางถึงกรุงโกสัมพี เล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายฟัง พวกภิกษุจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น
ไม่ต้องอาบัติ ปาราชิกเพราะถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ แต่ต้องอาบัติปาราชิก
เพราะเสพเมถุนธรรม” (เรื่องที่ ๑๔๙)
เรื่องสัทธิวิหาริกของพระทัฬหิกะกรุงสาคละ ๑ เรื่อง
[๑๖๑] สมัยนั้น ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระทัฬหิกะ กรุงสาคละ อยาก
จะสึกจึงไปลักผ้าโพกของชาวร้านตลาดมาแล้ว ได้กล่าวกับท่านพระทัฬหิกะดังนี้ว่า
“กระผมไม่เป็นพระเสียแล้วจักสึกล่ะ ขอรับ”
“คุณทำผิดอะไรเล่า”
“กระผมลักผ้าโพกของชาวร้านตลาด”
ท่านพระทัฬหิกะให้นำผ้านั้นมาตีราคา ราคาผ้าไม่ถึง ๕ มาสก ท่านพระ
ทัฬหิกะกล่าวว่า “เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก” แล้วได้แสดงธรรมีกถาให้ฟัง ภิกษุ
นั้นยินดียิ่ง (เรื่องที่ ๑๕๐)
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ปฐมบัญญัตินิทาน

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการพรากกายมนุษย์
เรื่องหมู่ภิกษุผู้เจริญอสุภกัมมัฏฐานกับตาเถนมิคลัณฑิกะ
[๑๖๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ใน
ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏฐาน ทรง
พรรณนาคุณอสุภกัมมัฏฐาน ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน ตรัสพรรณนา
คุณอสุภสมาบัติเนือง ๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย โดยประการต่างๆ
ต่อมา พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ผู้เดียวสักครึ่งเดือน ใครๆ อย่าเข้าไปหาเรา ยกเว้นภิกษุ
ผู้นำภัตตาหารเข้าไปให้รูปเดียว”
ภิกษุทั้งหลายรับสนองพระพุทธดำรัสว่า “ได้พระพุทธเจ้าข้า” ไม่มีใครเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาค นอกจากภิกษุผู้นำภัตตาหารเข้าไปทูลถวายรูปเดียว
ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏฐาน ทรง
พรรณนาคุณอสุภกัมมัฏฐาน ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน ตรัสพรรณนา
คุณอสุภสมาบัติเนืองๆ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยประการต่างๆ” แล้วพากันประกอบ
ความเพียรในการเจริญอสุภกัมมัฏฐานหลายประการ กระทั่งเกิดความรู้สึกอึดอัด
เบื่อหน่าย รังเกียจร่างกายของตน เหมือนชายหรือหญิงที่เป็นหนุ่มเป็นสาวชอบแต่ง
ตัว อาบน้ำ สระเกล้า มีซากศพงู ซากศพสุนัขหรือซากศพมนุษย์มาติดอยู่ที่คอ เกิด
ความรู้สึกอึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจ ภิกษุเหล่านั้นจึงฆ่าตัวตายเองบ้าง ใช้กันและ
กันให้ฆ่าบ้าง ภิกษุบางกลุ่มพากันเข้าไปหาตาเถนมิคลัณฑิกะ๑ บอกว่า “ขอโอกาส
หน่อยเถิด ท่านช่วยฆ่าพวกอาตมาทีเถิด บาตรและจีวรนี้จักเป็นของท่าน” ตาเถน

เชิงอรรถ :
๑ สมณกุตฺตโกติ สมณเวสธารโก ผู้ทรงเพศคล้ายสมณะ เพียงแต่ศึกษาธรรม โกนผม นุ่งผ้ากาสายะ ผืน
หนึ่ง เอาผืนหนึ่งพาดบ่า อาศัยอยู่ในวัด กินข้าวก้นบาตร ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า “ตาเถน” (วิ.อ. ๑/๑๖๒/
๔๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ปฐมบัญญัตินิทาน
มิคลัณฑิกะรับจ้างเอาบาตรและจีวรจึงฆ่าภิกษุมากมาย ถือดาบเปื้อนเลือดเดินไปถึง
แม่น้ำวัคคุมุทา
[๑๖๓] เมื่อตาเถนมิลัณฑิกะกำลังล้างดาบเปื้อนเลือดอยู่ ได้มีความกังวลใจ
เดือดร้อนใจว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราได้ไม่
ดีหนอ เราได้สร้างบาปไว้มากที่ได้ฆ่าภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม
ขณะนั้นเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารตนหนึ่ง เดินมาบนผิวน้ำไม่แตกกระเซ็น
กล่าวว่า “ดีแล้ว ๆ ท่านสัตบุรุษ เป็นลาภเป็นโชคของท่าน ท่านได้สั่งสมบุญไว้มาก
ที่ได้ช่วยส่งคนที่ยังไม่พ้นทุกข์ให้ข้ามพ้นทุกข์ได้”
ครั้นตาเถนมิคลัณฑิกะได้ทราบว่า เป็นลาภเป็นโชคของเรา เราได้สั่งสมบุญ
ไว้มากที่ได้ช่วยส่งคนที่ยังไม่พ้นทุกข์ให้ข้ามพ้นทุกข์ได้ จึงถือดาบคมกริบเข้าไป
บริเวณวิหารกล่าวว่า “ใครที่ยังไม่พ้นทุกข์ ข้าพเจ้าจะช่วยให้ใครพ้นทุกข์ได้บ้าง”
ในภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยังมีราคะ เกิดความหวาดกลัวขนพองสยองเกล้า
ส่วนพวกภิกษุผู้ที่ไม่มีราคะ ย่อมไม่หวาดกลัว ไม่ขนพองสยองเกล้า
เวลานั้น เขาฆ่าภิกษุวันละ ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง ๕
รูปบ้าง ๖ รูปบ้าง ๗ รูปบ้าง ๘ รูปบ้าง ๙ รูปบ้าง ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง
๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง ๖๐ รูปบ้าง
รับสั่งให้เผดียงสงฆ์
[๑๖๔] เมื่อครึ่งเดือนผ่านไป พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น ตรัส
เรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า “อานนท์ ทำไม ภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนจะน้อยลง”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “จริงพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสสอน
อสุภกัมมัฏฐาน ทรงพรรณนาคุณอสุภกัมมัฏฐาน ตรัสสรรเสริญการเจริญ
อสุภกัมมัฏฐาน ตรัสพรรณนาคุณอสุภสมาบัติเนืองๆ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยประการ
ต่างๆ และภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏฐาน ทรง
พรรณนาคุณอสุภกัมมัฏฐาน ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน ตรัสพรรณนา

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ปฐมบัญญัตินิทาน
อสุภสมาบัติเนือง ๆ โดยประการต่าง ๆ’ จึงพากันประกอบความเพียรในการเจริญ
อสุภกัมมัฏฐานหลายประการ กระทั่งเกิดความรู้สึกอึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจร่าง
กายของตน เหมือนชายหรือหญิงที่เป็นหนุ่มเป็นสาวชอบแต่งตัวอาบน้ำสระเกล้า มี
ซากศพงู ซากศพสุนัขหรือซากศพมนุษย์ มาติดอยู่ที่คอ เกิดความรู้สึกอึดอัด เบื่อ
หน่าย รังเกียจ ภิกษุเหล่านั้นจึงฆ่าตัวตายเองบ้าง ใช้กันและกันให้ฆ่าบ้าง ภิกษุบาง
กลุ่มพากันไปหาตาเถนมิคลัณฑิกะบอกว่า ‘ขอโอกาสหน่อยเถิด ท่านช่วยฆ่าพวก
อาตมาทีเถิด บาตรและจีวรนี้จักเป็นของท่าน’ ตาเถนมิคลัณฑิกะ รับจ้างเอาบาตร
และจีวร จึงฆ่าภิกษุวันละ ๑ รูปบ้าง ฯลฯ วันละ ๖๐ รูปบ้าง ขอประทานพระ
วโรกาส ขอพระองค์โปรดตรัสบอกวิธีอื่นที่ภิกษุสงฆ์จะพึงดำรงอยู่ในอรหัตตผลเถิด
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้นเธอจงเผดียงภิกษุเท่าที่อาศัย
กรุงเวสาลีอยู่ทั้งหมดให้ประชุมกันที่โรงอาหาร”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธดำรัส แล้วเผดียง๑ภิกษุสงฆ์ที่อาศัย
กรุงเวสาลีอยู่ทั้งหมดให้ประชุมที่โรงอาหาร แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับครั้นถึงแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุสงฆ์
ประชุมพร้อมกันแล้ว ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดทราบเวลาอันสมควรในบัดนี้”
ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา
[๑๖๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปที่โรงอาหาร ประทับนั่งบนพุทธ
อาสน์ที่จัดถวาย ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ
สมาธิแม้นี้ที่เจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นสภาพสงบประณีต สดชื่น เป็นธรรม
เครื่องอยู่เป็นสุข และทำอกุศลธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป สงบไป
โดยเร็ว เปรียบเหมือนฝุ่นละอองที่ฟุ้งขึ้นท้ายฤดูร้อน ถูกฝนใหญ่นอกฤดูกาลให้

เชิงอรรถ :
๑ “เผดียง” คือบอกให้รู้ นิยมใช้ในพิธีกรรมของสงฆ์ เวลาภิกษุสงฆ์จะทำสังฆกรรม ก่อนจะเริ่มทำสังฆกรรม
จะมีการเผดียงสงฆ์ คือบอกให้สงฆ์รู้ว่าจะทำอะไร อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ปฐมบัญญัตินิทาน
อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว อานาปานสติสมาธิที่เจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้ว
อย่างไร จึงเป็นสภาพสงบประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขและทำอกุศล
ธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๑ มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า๒
อานาปานสติ ๑๖ ขั้น๓
(๑) เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
(๒) เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
(๓) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจออก
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจเข้า
(๔) สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก
สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า
(๕) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจออก
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจเข้า
(๖) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจออก
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจเข้า
(๗) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจออก
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจเข้า

เชิงอรรถ :
๑ กำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน
๒ ตามอรรถกถาวินัยนี้ อัสสาสะ หายใจออก ปัสสาสะ หายใจเข้า (อสฺสาโสติ พหินิกฺขมนวาโต. ปสฺสาโสติ
อนฺโตปวิสนวาโต. วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๖) ส่วนตามอรรถกถาพระสูตร กลับกัน อัสสาสะ หายใจเข้า ปัสสาสะ
หายใจออก (อสฺสาโสติ อนฺโตปวิสนนาสิกวาโต. ปสฺสาโสติ พหินิกฺขมนนาสิกวาโต. ม.อ. ๒/๓๐๕/๑๓๖)
๓ ม.ม. ๑๓/๑๔๑/๙๕-๖, ม.อุ. ๑๔/๑๔๗/๑๓๐-๑๓๑, สํ.ม. ๑๙/๙๗๗/๒๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ปฐมบัญญัตินิทาน
(๘) สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก
สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
(๙) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจออก
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจเข้า
(๑๐) สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจออก
สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า
(๑๑) สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจออก
สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
(๑๒) สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก
สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า
(๑๓) สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า
(๑๔) สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า
(๑๕) สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า
(๑๖) สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสลัดเสียได้ หายใจออก
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสลัดเสียได้ หายใจเข้า”
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
[๑๖๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้น
เหตุทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายฆ่าตัวตาย
เองบ้าง ใช้กันและกันให้ฆ่าบ้าง บางกลุ่มพากันเข้าไปหาตาเถนมิคลัณฑิกะ บอกว่า
‘ขอโอกาสหน่อยเถิด ท่านช่วยฆ่าพวกอาตมาทีเถิด บาตรและจีวรนี้จักเป็นของท่าน’
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๓๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ พระบัญญัติ
ทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุเหล่านั้น ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม
ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช่ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุเหล่านั้น จึงฆ่าตัวตาย
เองบ้าง ใช้กันและให้ฆ่าบ้าง บางกลุ่มพากันเข้าไปหาตาเถนมิคลัณฑิกะ บอกว่า
‘ขอโอกาสหน่อยเถิด ท่านช่วยฆ่าพวกอาตมาทีเถิด บาตรและจีวรนี้จักเป็นของท่าน’
บ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๖๗] ก็ ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตรา
อันจะพรากกายมนุษย์นั้น แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องหมู่ภิกษุผู้เจริญอสุภกัมมัฏฐานกับตาเถนมิคลัณฑิกะ จบ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๖๘] สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งล้มป่วย เขามีภรรยารูปงาม น่าดู น่าชม
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชอบภรรยาของเขาจึงปรึกษาว่า “ถ้าอุบาสกยังมีชีวิต พวกเราจัก
ไม่ได้นาง มาช่วยกันกล่าวพรรณนาคุณความตายให้เขาฟังเถิด” จึงเข้าไปหาอุบาสกกล่าว
ว่า “อุบาสก ท่านทำคุณงามความดี ทำที่ต้านทานความขลาดกลัวไว้แล้ว ไม่ได้ทำ
ชั่ว ไม่ได้ทำบาปหยาบช้าทารุณอะไรไว้ ท่านสร้างแต่คุณงามความดี ไม่สร้างกรรมชั่ว
เลย จะมีชีวิตอยู่อย่างลำบากยากเข็ญไปทำไม ท่านตายเสียดีกว่า หลังจากตายแล้ว
จักไปบังเกิดในสุคติ โลกสวรรค์ จักเอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์”
[๑๖๙] อุบาสกเห็นจริงว่า “ท่านกล่าวจริง เพราะเราทำคุณงามความดี ทำ
ที่ต้านทานความขลาดกลัวไว้แล้ว ไม่ได้ทำชั่ว ไม่ได้ทำบาปหยาบช้าทารุณอะไรไว้
เราสร้างแต่คุณงามความดี ไม่สร้างกรรมชั่วเลย จะมีชีวิตอยู่อย่างลำบากยากเข็ญไป
ทำไม เราตายเสียดีกว่า หลังจากตายแล้ว จักไปบังเกิดในสุคติ โลกสวรรค์ จักเอิบ
อิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์” จึงรับประทานอาหารแสลง กินของแสลง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ พระอนุบัญญัติ
ลิ้มของแสลง ดื่มของแสลง จนอาการเจ็บป่วยหนักเข้าถึงกับเสียชีวิต ภรรยาของ
อุบาสกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ ไม่มี
ความละอาย ทุศีล ชอบกล่าวเท็จ แต่ก็ปฏิญญาตนว่า ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ
ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวจริง มีศีล มีกัลยาณธรรม พวกเธอไม่มีความเป็นสมณะ
ความเป็นพราหมณ์ ความเป็นสมณะความเป็นพราหมณ์ของพวกเธอเสื่อมสิ้นไปแล้ว
พวกเธอจะเป็นสมณะจะเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร พวกเธอปราศจากความเป็นสมณะ
ปราศจากความเป็นพราหมณ์ พวกเธอได้กล่าวพรรณนาคุณความตายให้สามีของ
เราฟัง สามีของเราถูกพวกเธอฆ่าแล้ว” แม้พวกชาวบ้านอื่นๆ ก็ตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ไม่มีความละอาย ฯลฯ พวกเธอ
กล่าวพรรณาคุณความตายให้อุบาสกฟัง อุบาสกถูกพวกเธอฆ่าแล้ว”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชน ตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุ
ผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ จึงกล่าว
พรรณนาคุณความตายให้อุบาสกฟังเล่า”
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติอนุบัญญัติ
[๑๗๐] ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนั้นไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์รับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบถาม
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอกล่าวพรรณนาคุณความ
ตายให้อุบาสกฟังจริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอไม่
สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช่ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน
พวกเธอ จึงกล่าวพรรณนาคุณความตายให้อุบาสกฟังเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
ทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๑๗๑] อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตรา
อันจะพรากกายมนุษย์นั้น กล่าวพรรณนาคุณความตายหรือชักชวนเพื่อให้ตาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๔๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์
ว่า “ท่านผู้เจริญ จะมีชีวิตอย่างลำบากยากเข็ญนี้ไปทำไม ท่านตายเสียดีกว่า
ดังนี้” เธอมีจิตใจอย่างนี้ มีดำริในใจอย่างนี้ กล่าวพรรณนาคุณความตาย
หรือชักชวนเพื่อความตายโดยประการต่าง ๆ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หา
สังวาสมิได้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๗๒] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า จงใจ ได้แก่ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ตั้งใจ ล่วงละเมิด
ที่ชื่อว่า กายมนุษย์ ได้แก่ จิตดวงแรกเกิด คือวิญญาณดวงแรกปรากฏขึ้นใน
ครรภ์มารดา จนถึงเวลาตาย อัตภาพในระหว่างนี้ชื่อว่ากายมนุษย์
คำว่า พรากจากชีวิต ได้แก่ ตัดทำลายชีวิตินทรีย์ ตัดความสืบต่อ
คำว่า แสวงหาศัสตราอันจะพรากกายมนุษย์นั้น ได้แก่ แสงหาดาบ หอก
ฉมวก หลาว ค้อน หิน มีด ยาพิษ หรือเชือก
คำว่า กล่าวพรรณนาคุณความตาย ได้แก่ แสดงโทษในความมีชีวิตอยู่
พรรณนาคุณความตาย
คำว่า ชักชวนเพื่อให้ตาย คือ ชักชวนให้นำมีดมา ให้กินยาพิษหรือให้เอา
เชือกผูกคอตาย
คำว่า ท่านผู้เจริญ เป็นคำร้องเรียก
คำว่า จะมีชีวิตอย่างลำบากยากเข็ญนี้ไปทำไม ท่านตายเสียดีกว่า นั้นมี
อธิบายว่า ชีวิตที่ชื่อว่ายากแค้น คือ เทียบชีวิตของคนมั่งคั่ง ชีวิตของคนขัดสนก็ชื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๔๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์
ว่ายากแค้น เทียบชีวิตของคนมีทรัพย์ ชีวิตของคนไม่มีทรัพย์ก็ชื่อว่ายากแค้น
เทียบชีวิตของพวกเทวดา ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายก็ชื่อว่ายากแค้น
ที่ชื่อว่า ชีวิตลำบาก ได้แก่ ชีวิตคนมือขาด เท้าขาด ทั้งมือและเท้าขาด หูแหว่ง
จมูกวิ่น ทั้งหูแหว่งและจมูกวิ่น มีชีวิตอยู่อย่างยากเข็ญเช่นนี้ไปทำไม ตายเสียดีกว่าอยู่
คำว่า มีจิตใจอย่างนี้ ได้แก่ จิตคือใจ ใจคือจิต
คำว่า มีดำริในใจอย่างนี้ คือ มีความมั่นหมายจะให้ตาย มีเจตจำนงจะ
ให้ตาย มีความประสงค์จะให้ตาย
คำว่า โดยประการต่าง ๆ คือ โดยอาการสูงต่ำ
คำว่า กล่าวพรรณนาคุณความตาย ได้แก่ แสดงโทษของชีวิต พรรณนาคุณ
ความตายว่า หลังจากตายแล้ว ท่านจักไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ จักเอิบอิ่มพรั่ง
พร้อมด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ในที่นั้น
คำว่า ชักชวนเพื่อความตาย คือ ชักชวนให้นำมีดมา ให้กินยาพิษ ให้ใช้
เชือกผูกคอตาย ให้โดดลงบ่อ ลงเหว หรือที่ผาชัน
คำว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสเทียบเคียงกับภิกษุ ๒ รูปแรก๑
คำว่า เป็นปาราชิก อธิบายว่า ภิกษุผู้จงใจพรากกายมนุษย์เสียจากชีวิต
ย่อมไม่เป็นสมณะไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร เปรียบเหมือนแผ่นศิลาหนาแตกออกเป็น
๒ เสี่ยงจะประสานให้สนิทเป็นเนื้อเดียวกันอีกไม่ได้ ดังนั้นพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เป็นปาราชิก
คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่ กรรมที่ทำร่วมกัน
อุทเทสที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับภิกษุ
รูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุ ๒ รูปแรก คือ พระสุทินกลันทบุตรในปฐมปาราชิก และพระธนิยกุมภการบุตรในทุติยปาราชิก
(วิ.อ. ๑/๑๗๒/๔๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์

บทภาชนีย์
มาติกา
[๑๗๓] ทำเอง ยืนอยู่ใกล้ สั่งทูต สั่งทูตต่อ ทูตไม่สามารถ ทูตไปแล้วกลับมา
ที่ไม่ลับสำคัญว่าที่ลับ ที่ลับสำคัญว่าที่ไม่ลับ ที่ไม่ลับสำคัญว่าที่ไม่ลับ ที่ลับสำคัญว่า
ที่ลับ พรรณนาด้วยกาย พรรณนาด้วยวาจา พรรณนาด้วยกายและวาจา พรรณนา
ด้วยทูต พรรณนาด้วยหนังสือ หลุมพราง ที่พิง การลอบวาง เภสัช การนำรูปเข้า
ไปใกล้ การนำเสียงเข้าไปใกล้ การนำกลิ่นเข้าไปใกล้ การนำรสเข้าไปใกล้ การนำ
โผฏฐัพพะเข้าไปใกล้ การนำธัมมารมณ์เข้าไปใกล้ การบอก การแนะนำ การ
นัดหมาย การทำนิมิต
ทำเอง
[๑๗๔] คำว่า ทำเอง คือ ลงมือฆ่าเองด้วยกาย ด้วยเครื่องประหารที่เนื่อง
ด้วยกาย หรือด้วยเครื่องประหารที่ต้องซัดไป
ยืนอยู่ใกล้
คำว่า ยืนอยู่ใกล้ คือ ยืนสั่งอยู่ที่ใกล้ๆ ว่า “จงแทงอย่างนี้ จงประหารอย่างนี้
จงฆ่าอย่างนี้”
สั่งทูต
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงฆ่าผู้ชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งสำคัญ
ผู้นั้นว่าเป็นผู้นั้น จึงฆ่าผู้นั้นตาย ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงฆ่าผู้ชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งสำคัญ
ผู้นั้นว่าเป็นผู้นั้น แต่ฆ่าผู้อื่นตาย ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่าต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงฆ่าผู้ชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งสำคัญ
ผู้นั้นว่าเป็นผู้อื่น แต่ฆ่าผู้นั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงฆ่าผู้ชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งสำคัญ
ผู้นั้นว่าเป็นผู้อื่น และฆ่าผู้อื่น ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่าต้องอาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๔๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์

สั่งทูตต่อ
ภิกษุ (ผู้เป็นอาจารย์) สั่งภิกษุ (ชื่อว่าพุทธรักขิต) ว่า “ท่านจงบอกภิกษุชื่อ
(ธัมมรักขิต)นี้ว่า จงบอกภิกษุชื่อ(สังฆรักขิต)นี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงฆ่าบุคคลนี้” ดังนี้
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปบอกภิกษุอีกรูปหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ฆ่า
รับคำสั่ง ภิกษุผู้สั่งครั้งแรก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุผู้ฆ่าฆ่าบุคคลนั้นสำเร็จ ต้อง
อาบัติปาราชิกทุกรูป
ภิกษุ(ผู้เป็นอาจารย์)สั่งภิกษุ(ชื่อพุทธรักขิต)ว่า “ท่านจงบอกภิกษุชื่อ
(ธัมมรักขิต)นี้ว่า จงบอกภิกษุชื่อ(สังฆรักขิต)นี้ว่า ‘จงฆ่าบุคคลนี้” ดังนี้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปบอกภิกษุรูปอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้ฆ่ารับคำสั่ง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุผู้ฆ่าฆ่าบุคคลนั้นสำเร็จ ภิกษุผู้สั่งครั้งแรกไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้สั่งต่อ
และภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก
ทูตไม่สามารถ
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงฆ่าบุคคลชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปแล้ว
กลับมาบอกว่า “กระผมไม่สามารถฆ่าผู้นั้นได้” ผู้สั่งจึงสั่งอีกว่า “จงฆ่าผู้นั้นในเวลา
ที่ท่านสามารถจะฆ่าได้” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งฆ่าบุคคลนั้นสำเร็จ ต้อง
อาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
ทูตไปแล้วกลับมา
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงฆ่าบุคคลชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ เธอสั่งแล้วเกิดความ
เดือดร้อนใจ แต่ไม่ได้กล่าวให้ผู้รับคำสั่งได้ยินว่า “อย่าฆ่า” ภิกษุผู้รับคำสั่งฆ่าบุคคล
นั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงฆ่าบุคคลชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ เธอสั่งแล้วเกิดความ
เดือดร้อนใจจึงกล่าวให้ผู้รับคำสั่งได้ยินว่า “อย่าฆ่า” แต่ภิกษุผู้รับคำสั่งกล่าวว่า
“ท่านสั่งผมแล้ว” ฆ่าบุคคลนั้น ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๔๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงฆ่าบุคคลชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ เธอสั่งแล้วเกิดความ
เดือดร้อนใจจึงกล่าวให้ผู้รับคำสั่งได้ยินว่า “อย่าฆ่า” ภิกษุผู้รับคำสั่งนั้นรับว่า “ดีละ”
จึงงดเว้น ไม่ต้องอาบัติทั้ง ๒ รูป
ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ลับ
[๑๗๕] ที่ไม่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ กล่าวขึ้นว่า “ทำอย่างไร บุคคลชื่อนี้จะ
ถูกฆ่า” ต้องอาบัติทุกกฏ
ที่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ไม่ลับ กล่าวขึ้นว่า “ทำอย่างไร บุคคลชื่อนี้จะถูกฆ่า”
ต้องอาบัติทุกกฏ
ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ
ที่ไม่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ไม่ลับ กล่าวขึ้นว่า “ทำอย่างไร บุคคลชื่อนี้จะถูกฆ่า”
ต้องอาบัติทุกกฏ
ที่ลับ สำคัญว่าที่ลับ
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ กล่าวขึ้นว่า “ทำอย่างไร บุคคลชื่อนี้จะถูกฆ่า” ต้อง
อาบัติทุกกฏ
พรรณนาด้วยกาย
ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยกาย ได้แก่ ภิกษุแสดงอาการต่างๆ ด้วยกายเป็นเหตุ
ให้รู้ว่า “ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศหรือได้ไปสวรรค์” ต้องอาบัติทุกกฏ
มีผู้ใดผู้หนึ่งคิดจะตายแล้วทำให้เกิดทุกขเวทนาตามการพรรณนานั้น ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
พรรณนาด้วยวาจา
ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยวาจา ได้แก่ ภิกษุกล่าวด้วยวาจาว่า “ผู้ใดตายอย่างนี้
ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือได้ไปสวรรค์” ต้องอาบัติทุกกฏ มีผู้ใดผู้หนึ่งคิดจะตาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๔๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์
แล้วทำให้เกิดทุกขเวทนาตามการพรรณนานั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้อง
อาบัติปาราชิก
พรรณนาด้วยกายและวาจา
ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยกายและวาจา ได้แก่ ภิกษุแสดงอาการต่างๆ ด้วย
กายและกล่าวด้วยวาจาว่า “ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือได้ไป
สวรรค์” ต้องอาบัติทุกกฏ มีผู้ใดผู้หนึ่งคิดจะตายหรือทำให้เกิดทุกขเวทนาตามการ
พรรณนานั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
พรรณนาด้วยทูต
ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยทูต ได้แก่ ภิกษุสั่งทูตว่า “ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้
ทรัพย์ ได้ยศ หรือได้ไปสวรรค์” ต้องอาบัติทุกกฏ มีผู้ใดผู้หนึ่งฟังสาส์นของทูตแล้ว
คิดจะตาย ทำให้เกิดทุกขเวทนาตามการพรรณนานั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย
ต้องอาบัติปาราชิก
พรรณนาด้วยหนังสือ
[๑๗๖] ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยหนังสือ ได้แก่ ภิกษุเขียนหนังสือว่า “ผู้ใด
ตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือได้ไปสวรรค์” ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกตัวอักษร
ผู้ใดผู้หนึ่งเห็นหนังสือคิดจะตายแล้วทำให้เกิดทุกขเวทนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขา
ตาย ต้องอาบัติปาราชิก
หลุมพราง
ที่ชื่อว่า หลุมพราง ได้แก่ ภิกษุขุดหลุมพรางไว้เจาะจงมนุษย์ว่า “บุคคลชื่อนี้
จะตกลงไปตาย” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อบุคคลชื่อนั้นตกลงไปได้รับทุกขเวทนา ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุขุดหลุมพรางไว้ไม่เจาะจงด้วยคิดว่า “ใครก็ได้จะตกลงไปตาย” ต้อง
อาบัติทุกกฏ มนุษย์ตกลงไปในหลุมนั้น ภิกษุผู้ขุดต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อมนุษย์ตกลง
ไปแล้วได้รับทุกขเวทนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์
ยักษ์ เปรต หรือสัตว์ดิรัจฉานมีกายเป็นมนุษย์ ตกลงไปในหลุมนั้น ต้อง
อาบัติทุกกฏ เมื่อตกลงไปแล้วได้รับทุกขเวทนา ต้องอาบัติทุกกฏ ยักษ์เป็นต้นนั้นตาย
ต้องอาบัติถุลลัจจัย สัตว์ดิรัจฉาน ตกลงไปในหลุมนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อตกลงไป
แล้วได้รับทุกขเวทนา ต้องอาบัติทุกกฏ สัตว์ดิรัจฉานตาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่พิง
[๑๗๗] ที่ชื่อว่า ที่พิง ได้แก่ ภิกษุวางศัสตราไว้ในที่พิง หรือทายาพิษ ทำให้
ชำรุด หรือวางไว้ที่ริมบ่อ เหวหรือที่ลาดชันด้วยหมายใจว่า จะมีผู้ตกลงไปตายด้วยวิธีนี้
ต้องอาบัติทุกกฏ มีผู้ได้รับทุกขเวทนา เพราะต้องศัสตรา ถูกยาพิษหรือตกลงไป
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การลอบวาง
ที่ชื่อว่า การลอบวาง ได้แก่ ภิกษุวางดาบ หอก ฉมวก หลาว ไม้ค้อน หิน มีด
ยาพิษ หรือเชือกไว้ใกล้ๆ ด้วยตั้งใจว่า จะมีผู้ตายด้วยของสิ่งนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ มีผู้
คิดว่า เราจะตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิดด้วยสิ่งของนั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย
ต้องอาบัติปาราชิก
เภสัช
ที่ชื่อว่า เภสัช ได้แก่ ภิกษุให้เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย ด้วย
ตั้งใจว่า เขาลิ้มเภสัชนี้แล้วจะตาย ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาลิ้มเภสัชนั้นแล้วได้รับ
ทุกขเวทนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การนำรูปเข้าไปใกล้
[๑๗๘] ที่ชื่อว่า นำรูปเข้าไปใกล้ ได้แก่ ภิกษุนำรูปที่ไม่น่าพอใจ น่ากลัว
น่าหวาดเสียวเข้าไปใกล้ด้วยตั้งใจว่า เขาเห็นรูปนี้แล้วจะตกใจตาย ต้องอาบัติทุกกฏ
เขาเห็นรูปนั้นแล้วตกใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์
ภิกษุนำรูปที่น่าพอใจ น่ารัก น่าจับใจเข้าไปใกล้ด้วยตั้งใจว่า เขาเห็นรูปนี้
แล้วจะซูบผอมตายไป เพราะไม่ได้(รูปนั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้วซูบ
ผอมเพราะไม่ได้(รูปนั้น) ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การนำเสียงเข้าไปใกล้
ที่ชื่อว่า นำเสียงเข้าไปใกล้ ได้แก่ ภิกษุนำเสียงที่ไม่น่าพอใจ น่ากลัว น่า
หวาดเสียวเข้าไปใกล้ ด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเสียงนี้แล้วจะตกใจตาย ต้องอาบัติทุกกฏ
เขาได้ยินเสียงนั้นแล้วตกใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุนำเสียงที่น่าพอใจ ไพเราะจับใจ เข้าไปใกล้ด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเสียงนี้แล้ว
จะซูบผอมตายไป เพราะไม่ได้(เสียงนั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้ว
ซูบผอมเพราะไม่ได้(เสียงนั้น) ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การนำกลิ่นเข้าไปใกล้
ที่ชื่อว่า นำกลิ่นเข้าไปใกล้ ได้แก่ ภิกษุนำกลิ่นที่ไม่น่าชอบใจ น่ารังเกียจ
น่าคลื่นไส้เข้าไปใกล้ด้วยตั้งใจว่า เขาสูดกลิ่นนี้แล้วจะตายไป เพราะรังเกียจ เพราะ
คลื่นไส้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาสูดกลิ่นแล้วเกิดทุกขเวทนาเพราะรังเกียจ เพราะ
คลื่นไส้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุนำกลิ่นที่น่าพอใจ เข้าไปใกล้ ด้วยตั้งใจว่า เขาสูดกลิ่นนี้แล้ว จะซูบผอม
ตายไป เพราะไม่ได้(กลิ่นนั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้วซูบผอมเพราะไม่
ได้(กลิ่นนั้น) ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การนำรสเข้าไปใกล้
ที่ชื่อว่า การนำรสเข้าไปใกล้ ได้แก่ ภิกษุนำรสที่ไม่น่าชอบใจ น่ารังเกียจ น่า
สะอิดสะเอียน เข้าไปใกล้ ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มรสนี้แล้วจะตาย เพราะรังเกียจ เพราะ
สะอิดสะเอียน ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาได้ลิ้มรสนั้นแล้ว ยังทุกขเวทนาให้เกิด
เพราะรังเกียจ เพราะสะอิดสะเอียน ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์
ภิกษุนำรสที่น่าชอบใจเข้าไปใกล้ ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มรสนี้แล้วจะซูบผอมตาย
เพราะไม่ได้(รสนั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้วซูบผอมเพราะไม่ได้(รสนั้น)
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การนำโผฏฐัพพะเข้าไปใกล้
ที่ชื่อว่า การนำโผฏฐัพพะเข้าไปใกล้ ได้แก่ ภิกษุนำโผฏฐัพพะที่ไม่น่าพอใจ
มีสัมผัสไม่สบายและแข็งกระด้างเข้าไปใกล้ ด้วยตั้งใจว่า เขาถูกต้องสิ่งนี้แล้วจะตาย
ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาถูกต้องสิ่งนั้นแล้วเกิดทุกขเวทนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขา
ตาย ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุนำโผฏฐัพพะที่น่าพอใจ มีสัมผัสสบาย อ่อนนุ่ม เข้าไปใกล้ ด้วยตั้งใจว่า
เขาถูกต้องสิ่งนี้แล้ว จะซูบผอมตายเพราะไม่ได้(โผฏฐัพพะนั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ
เขาถูกสิ่งนั้นแล้ว ซูบผอมเพราะไม่ได้(โผฏฐัพพะนั้น) ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย
ต้องอาบัติปาราชิก
การนำธรรมารมณ์เข้าไปใกล้
ที่ชื่อว่า การนำธรรมารมณ์เข้าไปใกล้ ได้แก่ ภิกษุแสดงเรื่องนรกแก่คนผู้
ควรจะเกิดในนรกด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องนรกนี้แล้ว จะตกใจตาย ต้องอาบัติทุกกฏ
เขาฟังเรื่องนั้นแล้ว ตกใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุแสดงเรื่องสวรรค์แก่บุคคลผู้กระทำความดี ด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องนี้
แล้ว จะสมัครใจตาย ต้องอาบัติทุกกฏ เขาฟังเรื่องนั้นแล้ว คิดว่า เราจะยอมตายละ
แล้วทำทุกขเวทนาให้เกิดขึ้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การบอก
[๑๗๙] ที่ชื่อว่า การบอก ได้แก่ ภิกษุถูกถามแล้วบอกว่า “ท่านจงตาย
อย่างนี้ ผู้ตายอย่างนี้จะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือได้ไปสวรรค์” ต้องอาบัติทุกกฏ เขา
คิดว่า จะตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิดตามการบอกนั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขา
ตาย ต้องอาบัติปาราชิก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร

การแนะนำ
ที่ชื่อว่า การแนะนำ ได้แก่ ภิกษุที่เขาไม่ได้ถามแต่แนะนำให้เขาตายว่า
“ท่านจงตายอย่างนี้ ผู้ตายอย่างนี้จะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือได้ไปสวรรค์” ต้องอาบัติ
ทุกกฏ เขาคิดว่า “จะตาย” แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิดตามการแนะนำนั้น ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การนัดหมาย
ที่ชื่อว่า การนัดหมาย ได้แก่ ภิกษุทำการนัดหมายว่า “จงฆ่าเขา ตามเวลา
นัดหมายนั้น คือ ในเวลาก่อนอาหาร หรือในเวลาหลังอาหาร ในเวลากลางคืน หรือ
ในเวลากลางวัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้รับคำสั่งฆ่าเขาสำเร็จตามเวลานัดหมายนั้น
ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ฆ่าเขาได้ก่อนหรือหลังเวลานัดหมายนั้น ผู้นัดหมาย
ไม่ต้องอาบัติ ผู้ฆ่าต้องอาบัติปาราชิก
การทำนิมิต
ที่ชื่อว่า การทำนิมิต ได้แก่ ภิกษุทำนิมิตว่า “เราจักขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงก
ศีรษะ ท่านจงฆ่าเขาตามที่เราทำนิมิตนั้น” ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้รับสัญญาณ ฆ่าเขา
สำเร็จตามนิมิตนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ฆ่าเขาได้ก่อนหรือหลังการทำนิมิต
ผู้ทำนิมิตไม่ต้องอาบัติ ผู้ฆ่าต้องอาบัติปาราชิก
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ
๒. ภิกษุไม่รู้
๓. ภิกษุไม่มีความประสงค์จะฆ่า
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน
๖. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปฐมภาณวาร ในมนุสสวิคคหปาราชิก จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๕๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ คาถารวมวินีตวัตถุ

คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิจฉัยแล้ว
เรื่องพรรณนาคุณความตาย ๑ เรื่อง___เรื่องนั่ง ๑ เรื่อง
เรื่องสาก ๑ เรื่อง___เรื่องไม้สำหรับทำครก ๑ เรื่อง
เรื่องพระขรัวตา ๓ เรื่อง___เรื่องเนื้อติดคอ ๓ เรื่อง
เรื่องยาพิษ ๒ เรื่อง___เรื่องเตรียมพื้นที่สร้างวิหาร ๓ เรื่อง
เรื่องอิฐ ๓ เรื่อง___เรื่องมีด ๓ เรื่อง
เรื่องไม้กลอน ๓ เรื่อง___เรื่องนั่งร้าน ๓ เรื่อง
เรื่องให้ลงจากหลังคา ๓ เรื่อง___เรื่องกระโดดหน้าผา ๒ เรื่อง
เรื่องอบตัว ๓ เรื่อง___เรื่องนัตถุ์ยา ๓ เรื่อง
เรื่องนวด ๓ เรื่อง___เรื่องให้อาบน้ำ ๓ เรื่อง
เรื่องให้ทาน้ำมัน ๓ เรื่อง___เรื่องให้ลุกขึ้น ๓ เรื่อง
เรื่องทำให้ล้ม ๓ เรื่อง___เรื่องให้ตายด้วยข้าว ๓ เรื่อง
เรื่องให้ตายด้วยน้ำฉัน ๓ เรื่อง___เรื่องหญิงมีครรภ์กับชายชู้ ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงร่วมสามี ๒ เรื่อง___เรื่องนาบครรภ์ให้ร้อน ๑ เรื่อง
เรื่องฆ่ามารดาและบุตรทั้ง ๒ คนตาย ๑ เรื่อง
เรื่องฆ่ามารดาและบุตรทั้ง ๒ คนไม่ตาย ๑ เรื่อง
เรื่องให้รีด ๑ เรื่อง___เรื่องหญิงหมัน ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงไม่เป็นหมัน ๑ เรื่อง___เรื่องจี้ ๑ เรื่อง
เรื่องทับ ๑ เรื่อง___เรื่องฆ่ายักษ์ ๑ เรื่อง
เรื่องส่งไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุ ๙ เรื่อง___เรื่องสำคัญว่าใช่ ๔ เรื่อง
เรื่องประหาร ๓ เรื่อง___เรื่องพรรณนาสวรรค์ ๓ เรื่อง
เรื่องพรรณนานรก ๓ เรื่อง___เรื่องต้นไม้ที่เมืองอาฬวี ๓ เรื่อง
เรื่องเผาป่า ๓ เรื่อง___เรื่องไม่ให้ลำบาก ๑ เรื่อง
เรื่องไม่ทำตามท่าน ๑ เรื่อง___เรื่องให้ดื่มเปรียง ๑ เรื่อง
เรื่องให้ดื่มยาโลณโสวีรกะ ๑ เรื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๕๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

วินีตวัตถุ
เรื่องพรรณนาคุณความตาย ๑ เรื่อง
[๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พรรณนาคุณแห่ง
ความตายให้ท่านฟังด้วยความสงสาร ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความ
กังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๑)
เรื่องนั่ง ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง นั่งทับเด็กชายที่เขาใช้ผ้าเก่า
คลุมไว้บนตั่ง ทำให้เด็กนั้นตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังไม่ได้พิจารณาแล้วไม่พึงนั่ง
บนอาสนะ ภิกษุใดนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๒)
เรื่องสาก ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปูลาดอาสนะที่โรงอาหารในละแวกบ้าน ได้หยิบสากอัน
หนึ่งในสากที่เขาพิงกันไว้ สากอันที่สองล้มฟาดศีรษะเด็กชายคนหนึ่งตาย ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า
ไม่จงใจ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓)
เรื่องไม้สำหรับทำครก ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปูลาดอาสนะที่โรงอาหารในละแวกบ้าน เหยียบขอนไม้
ที่เขานำมาทำครกกลิ้งไปทับเด็กชายคนหนึ่งถึงตาย แล้วเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่จงใจ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔)
เรื่องพระขรัวตา ๓ เรื่อง
สมัยนั้น บิดาและบุตรบวชในสำนักภิกษุ วันหนึ่งเมื่อเขาบอกเวลาอาหาร
ภิกษุผู้เป็นบุตรได้กล่าวกับภิกษุผู้เป็นบิดาว่า “นิมนต์ไปเถิด พระสงฆ์กำลังคอยท่าน
อยู่” แล้วจับหลังผลักไปจนภิกษุผู้เป็นบิดาล้มลงถึงแก่มรณภาพ ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่มี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้อง
อาบัติ” (เรื่องที่ ๕)
สมัยนั้น บิดาและบุตรบวชในสำนักภิกษุ วันหนึ่งเมื่อเขาบอกเวลาอาหาร
ภิกษุผู้เป็นบุตรได้กล่าวกับภิกษุผู้เป็นบิดาว่า “นิมนต์ไปเถิด พระสงฆ์กำลังคอยท่าน
อยู่” มีความประสงค์จะฆ่าจึงจับหลังผลักไป ภิกษุผู้เป็นบิดาล้มลง ถึงแก่มรณภาพ
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้า
พระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๖)
สมัยนั้น บิดาและบุตรบวชในสำนักภิกษุ วันหนึ่งเมื่อเขาบอกเวลาอาหาร
ภิกษุผู้เป็นบุตรได้กล่าวกับภิกษุผู้เป็นบิดาว่า “นิมนต์ไปเถิด พระสงฆ์กำลังคอยท่าน
อยู่” มีความประสงค์จะฆ่าจึงจับหลังผลักไป ภิกษุผู้เป็นบิดาล้มลงแต่ไม่ถึงมรณภาพ
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๕๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องเนื้อติดคอ ๓ เรื่อง
[๑๘๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อติดคอ เพื่อนอีกรูปหนึ่ง
ได้ทุบที่คอของภิกษุรูปนั้น เนื้อได้หลุดออกมาพร้อมกับโลหิต ท่านถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุรูปที่ทุบเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อติดคอ ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความ
ประสงค์จะฆ่าจึงได้ทุบที่คอ เนื้อหลุดออกมาพร้อมกับโลหิต ท่านถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุรูปที่ทุบเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อติดคอ ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความ
ประสงค์จะฆ่าจึงได้ทุบที่คอ เนื้อหลุดออกมาพร้อมกับโลหิต แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุรูปที่ทุบเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๐)
เรื่องยาพิษ ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งได้อาหารบิณฑบาตที่เจือยา
พิษมาแล้วนำกลับไปถวายแก่ภิกษุทั้งหลายให้ฉันก่อน ภิกษุเหล่านั้นถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุเจ้าของบิณฑบาตเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ทราบไม่ต้อง
อาบัติ” (เรื่องที่ ๑๑)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องการทดลองจึงให้ยาพิษแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่งฉัน ท่าน
ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุผู้ทดลองยาพิษเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะทดลอง พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๒)
เรื่องเตรียมพื้นที่สร้างวิหาร ๓ เรื่อง
[๑๘๒] สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี กำลังเตรียมพื้นที่สร้างวิหาร
ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกศิลาส่งขึ้นไป ศิลาที่ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนรับไว้ไม่ดี พลัด
ตกลงทับศีรษะภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างจนถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่จงใจ
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุเธอไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๓)
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีกำลังเตรียมพื้นที่สร้างวิหาร ภิกษุรูปหนึ่ง
อยู่ข้างล่างยกศิลาส่งขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่าจึงปล่อยศิลาลง
บนศีรษะภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างจนถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ปล่อยศิลาลงมาเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความ
ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๔)
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อสร้างวิหาร ภิกษุรูปหนึ่ง
อยู่ข้างล่างยกศิลาส่งขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่าภิกษุรูปที่อยู่
ข้างล่าง จึงปล่อยศิลาลงบนศีรษะ แต่ท่านไม่ถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า
มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๕)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องอิฐ ๓ เรื่อง
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อฝาวิหาร ภิกษุรูปหนึ่งอยู่
ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป อิฐที่ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนรับไว้ไม่ดี พลัดตกลงทับศีรษะภิกษุรูปที่
อยู่ข้างล่างถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่จงใจ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ
เธอไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ”(เรื่องที่ ๑๖)
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อฝาวิหาร ภิกษุรูปหนึ่งอยู่
ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่า จึงปล่อยอิฐลงบน
ศีรษะภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่าง ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ปล่อยอิฐลงมาเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความ
ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก”(เรื่องที่ ๑๗)
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำการก่อสร้างฝาวิหาร ภิกษุรูป
หนึ่งอยู่ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่า จึงปล่อยอิฐลง
บนศีรษะของภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุ
รูปที่ปล่อยอิฐลงมาเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๘)
เรื่องมีด ๓ เรื่อง
[๑๘๓] สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อสร้าง ภิกษุรูป
หนึ่งอยู่ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป มีดที่ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนรับไว้ไม่ดี พลัดตกลงบนศีรษะ
ภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ทำอยู่ข้างบนเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่จงใจ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๙)
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อสร้าง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้าง
ล่างส่งมีดขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่าจึงปล่อยมีดลงบนศีรษะ
ภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ปล่อยมีดตกลงมาเกิดความกังวลใจ
ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์
จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๐)
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อสร้าง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่
ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่า จึงปล่อยมีดลงบน
ศีรษะของภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่
ปล่อยมีดตกลงมาเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๒๑)
เรื่องไม้กลอน ๓ เรื่อง
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อสร้าง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้าง
ล่าง ยกไม้กลอนหลังคาส่งขึ้นไป ไม้กลอนหลังคาที่ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนรับไว้ไม่ดี
พลัดตกลงบนศีรษะภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ทำไม้กลอนพลัด
ตกลงมาเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้า
พระพุทธเจ้าไม่จงใจ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๒)
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อสร้าง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้าง
ล่าง ยกไม้กลอนหลังคาส่งขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่าจึงปล่อย
ไม้กลอนหลังคาลงบนศีรษะภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ปล่อยไม้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
กลอนหลังคาลงมาเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๓)
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อสร้าง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่
ข้างล่าง ยกไม้กลอนหลังคาส่งขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่า จึง
ปล่อยไม้กลอนหลังคาลงบนศีรษะภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างแต่ไม่ถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่
ปล่อยไม้กลอนหลังคาลงมาเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอ
คิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๒๔)
เรื่องนั่งร้าน ๓ เรื่อง
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันผูกนั่งร้านทำการก่อสร้าง ภิกษุรูป
หนึ่งบอกอีกรูปหนึ่งว่า “ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้” ภิกษุนั้นจึงยืนผูกที่นั้น ได้พลัดตกลง
มาถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๕)
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันผูกนั่งร้านทำการก่อสร้าง ภิกษุรูป
หนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าบอกอีกรูปหนึ่งว่า “ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้” ภิกษุรูปนั้นจึง
ยืนผูกที่ตรงนั้น ได้พลัดตกลงมาถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๖)
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันผูกนั่งร้านทำการก่อสร้าง ภิกษุรูป
หนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าบอกอีกรูปหนึ่งว่า “ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้” ภิกษุรูปนั้นจึง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
ยืนผูกที่ตรงนั้น ได้พลัดตกลงมา แต่ไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความ
ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๒๗)
เรื่องให้ลงจากหลังคา ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมุงหลังคาวิหารเสร็จแล้วจะลง อีกรูปหนึ่งบอกท่านว่า
“นิมนต์ท่านลงมาทางนี้” ภิกษุนั้นจึงลงทางนั้น ได้พลัดตกลงมาถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมุงหลังคาวิหารเสร็จแล้วจะลง อีกรูปหนึ่งมีความ
ประสงค์จะฆ่าบอกเธอว่า “นิมนต์ท่านลงมาทางนี้” ภิกษุรูปนั้นจึงลงทางนั้นได้พลัด
ตกลงมาถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมุงหลังคาวิหารเสร็จแล้วจะลง อีกรูปหนึ่งมีความ
ประสงค์จะฆ่าบอกเธอว่า “นิมนต์ท่านลงมาทางนี้” ภิกษุรูปนั้นจึงลงทางนั้น ได้
พลัดตกลงมาแต่ไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง
ที่ ๓๐)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องกระโดดหน้าผา ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเกิดความเบื่อหน่ายจึงขึ้นภูเขาคิชฌกูฏแล้วกระโดดลง
ทางหน้าผาทับช่างสานคนหนึ่งตาย แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำให้ตนเองตก
ภิกษุใดทำให้ตก ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓๑)
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ กลิ้งศิลาเล่น ศิลาตกทับคน
เลี้ยงโคคนหนึ่งตาย พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกลิ้งศิลา
เล่น ภิกษุใดกลิ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓๒)
เรื่องอบตัว ๓ เรื่อง
[๑๘๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงให้ท่านอบตัวจนถึง
แก่มรณภาพ พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปราชิกหรือหนอ จึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “พวกเธอคิด
อย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “พวกเธอ
ไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงให้เธอ
อบตัวจนถึงแก่มรณภาพ พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงให้เธอ
อบตัว แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๖๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๓๕)
เรื่องนัตถุ์ยา ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปวดศีรษะ ภิกษุทั้งหลายจึงให้ท่านนัตถุ์ยา ท่านถึง
แก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๓๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปวดศีรษะ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงให้
ท่านนัตถุ์ยาจนถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความ
ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๓๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปวดศีรษะ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงให้
ท่านนัตถุ์ยา แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๓๘)
เรื่องนวด ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงช่วยกันนวดเฟ้นท่าน ท่านถึง
แก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึง

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น