Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๑-๕ หน้า ๒๑๖ - ๒๖๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๑-๕ วินัยปิฎกที่ ๐๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑



พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องความเพียร ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า “ท่านมีอุตตริ-
มนุสสธรรมหรือ” ท่านตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ท่านผู้บำเพ็ญเพียรแล้วสามารถจะมี
ธรรมได้” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๖)
เรื่องไม่กลัวความตาย ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายกล่าวกับท่านว่า “ท่านอย่ากลัว
เลย” ท่านตอบว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมไม่กลัวตาย” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๗)
เรื่องความร้อนใจ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายกล่าวกับท่านว่า “ท่านอย่ากลัว
เลย” ท่านตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผู้มีความร้อนใจจะต้องกลัวแน่” ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้อง
อาบัติ” (เรื่องที่ ๑๘)
เรื่องความประกอบถูกต้อง ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า “ท่านมีอุตตริมนุสส
ธรรมหรือ” ท่านตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผู้ประกอบถูกต้อง สามารถจะมีธรรมได้”
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะกล่าว
อวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๙)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องปรารภความเพียร ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า “ท่านมีอุตตริ
มนุสสธรรมหรือ” ท่านตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผู้ปรารภความเพียรแล้ว สามารถ
จะมีธรรมได้” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๐)
เรื่องประกอบความเพียร ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า “ท่านมีอุตตริ
มนุสสธรรมหรือ” ท่านตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผู้ประกอบความเพียรแล้ว สามารถ
จะมีธรรมได้” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบพระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๑)
เรื่องอดกลั้นเวทนา ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า “ท่านยังสบายดี
หรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ” ท่านตอบว่า “คนทั่วไปไม่สามารถอดกลั้นได้” ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า “ท่านยังสบายดีหรือ
ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ” ท่านตอบว่า ปุถุชนไม่สามารถอดกลั้นได้ ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความ
ประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๒๓)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องพราหมณ์ ๕ เรื่อง
[๒๒๖] สมัยนั้น พราหมณ์คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “นิมนต์
พระอรหันต์ทั้งหลายมาเถิดเจ้าข้า” ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรามิใช่
พระอรหันต์ แต่พราหมณ์นี้เรียกพวกเราว่า พระอรหันต์ พวกเราพึงปฏิบัติอย่างไรดี
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเขาเรียกด้วยความเลื่อมใส” (เรื่องที่ ๒๔)
สมัยนั้น พราหมณ์คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “นิมนต์
พระอรหันต์ทั้งหลายนั่งเถิดเจ้าข้า” ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรามิใช่
พระอรหันต์ แต่พราหมณ์เรียกพวกเราว่าพระอรหันต์ พวกเราพึงปฏิบัติอย่างไรดี
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเขาเรียกด้วยความเลื่อมใส” (เรื่องที่ ๒๕)
สมัยนั้น พราหมณ์คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “นิมนต์
พระอรหันต์ทั้งหลายฉันเถิดเจ้าข้า” ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรามิใช่
พระอรหันต์แต่พราหมณ์เรียกพวกเราว่าพระอรหันต์ พวกเราพึงปฏิบัติอย่างไรดี
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเขาเรียกด้วยความเลื่อมใส” (เรื่องที่ ๒๖)
สมัยนั้น พราหมณ์คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “นิมนต์
พระอรหันต์ทั้งหลายฉันให้อิ่มหนำเถิดเจ้าข้า” ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า
พวกเรามิใช่พระอรหันต์ แต่พราหมณ์เรียกพวกเราว่าพระอรหันต์ พวกเราพึงปฏิบัติ
อย่างไรดี จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเขาเรียกด้วยความเลื่อมใส” (เรื่องที่ ๒๗)
สมัยนั้น พราหมณ์คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “นิมนต์
พระอรหันต์ทั้งหลายกลับเถิดเจ้าข้า” ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรา
มิใช่พระอรหันต์ แต่พราหมณ์เรียกพวกเราว่าพระอรหันต์ พวกเราพึงปฏิบัติอย่างไรดี
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเขาเรียกด้วยความเลื่อมใส” (เรื่องที่ ๒๘)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องพยากรณ์มรรคผล ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้
ภิกษุรูปนั้นก็กล่าวอวดว่า “กระผมก็ละอาสวะได้” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้
ภิกษุรูปนั้นก็กล่าวอวดว่า “ธรรมเหล่านี้แม้กระผมก็มี” ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๐)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้
ภิกษุรูปนั้นก็กล่าวอวดว่า “กระผมก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น” ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๑)
เรื่องอยู่ครองเรือน ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พวกญาติบอกภิกษุรูปหนึ่งว่า “นิมนต์ท่านมาอยู่ครองเรือนเถิด
ขอรับ” ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ท่านทั้งหลาย คนอย่างอาตมาไม่ควรจะอยู่ครองเรือน”
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มี
ความประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๒)
เรื่องห้ามกาม ๑ เรื่อง
[๒๒๗] สมัยนั้น พวกญาติบอกภิกษุรูปหนึ่งว่า “นิมนต์ท่านมาบริโภคกาม
เถิด” ภิกษุนั้นตอบว่า “ท่านทั้งหลาย เราปฏิเสธกามทั้งหลายแล้ว” ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร “ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความ
ประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๓)
เรื่องความยินดี ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พวกญาติถามภิกษุรูปหนึ่งว่า “ท่านยังยินดีอยู่หรือ” ภิกษุนั้น
ตอบว่า “อาตมายังยินดีอยู่ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง”๑ ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เฉพาะพระสาวกของพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่ควรกล่าวอย่างนั้น แต่เราไม่ได้เป็น
พระสาวกของพระผู้มีพระภาค เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร “ข้า
พระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๔)
เรื่องหลีกไป ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง ตั้งกติกากันว่า “ขอ
ให้พวกเรารู้กัน ภิกษุรูปใดหลีกไปจากอาวาสนี้ก่อน ภิกษุรูปนั้นเป็นพระอรหันต์”
ภิกษุรูปหนึ่งหลีกจากอาวาสนั้นไปก่อนด้วยต้องการให้ผู้อื่นรู้ว่าตนเป็นพระอรหันต์
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่อง
ที่ ๓๕)
เรื่องอัฏฐิกสังขลิกเปรต ๑ เรื่อง
(เปรตมีแต่ร่างกระดูก)
[๒๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะพัก

เชิงอรรถ :
๑ ท่านยินดีในอุทเทสและปริปุจฉา (วิ.อ. ๑/๒๒๗/๕๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเข้าไปหาพระลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะมาเถิด พวกเรา
จะไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลาตอบปัญหานี้ เมื่อ
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาตหลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
อัฏฐิสังขลิกเปรต ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่
จิกทึ้งยื้อแย่งเนื้อที่ติดอยู่ตามระหว่างซี่โครงสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระ
ผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรต
เช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์๑ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น

เชิงอรรถ :
๑ พยากรณ์ หมายถึง เปิดเผยสู่สาธารณชน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้น
เคยเป็นคนฆ่าโคในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลาย
ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๖)
เรื่องมังสเปสิเปรต ๑ เรื่อง
(เปรตมีแต่ร่างชิ้นเนื้อ)
[๒๒๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่
เขาคิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปหาพระลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไป
บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็น
มังสเปสิเปรต ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่
จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่า
อัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้
อัตภาพเช่นนี้อยู่

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยาน
ได้ เมื่อก่อนเราก็เห็นมังสเปสิเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่
เป็นประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรต
นั้นเคยเป็นคนฆ่าโคอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่
หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยัง
เหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๗)
เรื่องมังสปิณฑเปรต ๑ เรื่อง
(เปรตร่างก้อนเนื้อ)
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขา
คิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปหาพระลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไป
บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลัง
จากฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่
สมควร ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลง
จากภูเขาคิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไร
เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
มังสปิณฑเปรต ลอยในอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้ง
ยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์
จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นมังสปิณฑเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้น
เคยเป็นคนฆ่านกในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลาย
ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๘)
เรื่องนิจฉวิเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
(เปรตร่างไม่มีผิวหนังเพศชาย)
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านเมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
นิจฉวิเปรตเพศชายลอยในอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิก
ทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่า
อัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพ
เช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นนิจฉวิเปรตเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นคนฆ่าแกะในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายร้อยปี
หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ โมคคัลลา
นะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๙)
เรื่องอสิโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
(เปรตร่างมีขนเป็นดาบเพศชาย)
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านเมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
อสิโลมเปรตเพศชาย ลอยในอากาศ (ขน) ดาบเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้นไปแล้ว
กลับตกลงที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์
จริง ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นอสิโลมเปรตเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นคนฆ่าหมูในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลาย
ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๐)
เรื่องสัตติโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
(เปรตร่างมีขนเป็นหอกเพศชาย)
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
สัตติโลมเปรตเพศชายลอยในอากาศ (ขน)หอกเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้นไปแล้ว
กลับตกลงที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่า
อัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพ
เช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นสัตติโลมเปรตเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นพรานล่าเนื้อในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายร้อยปี
หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๑)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องอุสุโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
(เปรตร่างมีขนเป็นลูกศรเพศชาย)
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
อุสุโลมเปรตเพศชาย ลอยในอากาศ (ขน)ลูกศรเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้นไปแล้ว
กลับตกลงที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์
จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
เราก็เห็นอุสุโลมเปรตเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นเพชฌฆาตอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลาย
ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๒)
เรื่องสูจิโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
(เปรตร่างมีขนเป็นเข็มเพศชาย)
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
สูจิโลมเปรตเพศชาย ลอยในอากาศ (ขน)เข็มเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้นไปแล้ว
กลับตกลงที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์
จริง ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นสูจิโลมเปรตเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นนายสารถีอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายร้อยปี
หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๓)
เรื่องสูจกเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
(เปรตมีร่างถูกเข็มหมุดทิ่มแทงเพศชาย)
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
สูจกเปรตเพศชาย ลอยในอากาศ เข็มหมุดเหล่านั้นแทงเข้าในศีรษะของมันทะลุออก
ทางปาก แทงเข้าไปในปากทะลุออกทางอก แทงเข้าในอกทะลุออกทางท้อง แทงเข้า
ในท้องทะลุออกทางขาอ่อนทั้ง ๒ แทงเข้าในขาอ่อนทะลุออกทางแข้งทั้ง ๒ แทง
เข้าในแข้งทะลุออกทางเท้าทั้ง ๒ จนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่า
อัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพ
เช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นสูจกเปรตเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นคนพูดส่อเสียดอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่
หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๔)
เรื่องกุมภัณฑเปรต ๑ เรื่อง
(เปรตมีอัณฑะโตเท่าหม้อ)
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
กุมภัณฑเปรตเพศชาย ลอยในอากาศ เมื่อเปรตนั้นเดินก็ยกอัณฑะเหล่านั้นขึ้นพาด
ไว้บนบ่าไป เมื่อนั่งก็นั่งทับอัณฑะเหล่านั้น ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่
ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า
น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้
อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นกุมภัณฑเปรตเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นผู้พิพากษาโกงชาวบ้านอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมก
ไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรม
ที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๕)
เรื่องเปรตจมหลุมคูถเพศชาย ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็น
เปรตจมหลุมคูถจนมิดศีรษะ เพศชาย ลอยในอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพา
กันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมี
ความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้
มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นเปรตจมหลุมคูถเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่
เป็นประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้น
เคยเป็นชู้กับภรรยาของชายอื่นอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรก
หมกไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษ
กรรมที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๖)
เรื่องเปรตกินคูถเพศชาย ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็น
เปรตผู้จมหลุมคูถท่วมศีรษะ กำลังใช้มือทั้ง ๒ กอบคูถกินเพศชาย ลอยในอากาศ
ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจน
มันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์
เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นเปรตกินคูถเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นพราหมณ์ชั่วร้ายอยู่ในกรุงราชคฤห์
ครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พราหมณ์นั้นนิมนต์ภิกษุสงฆ์ฉัน
ภัตตาหารแล้วเทคูถลงใส่รางจนเต็ม สั่งให้บอกเวลาอาหารว่า ขอท่านผู้เจริญ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ทั้งหลายจงฉันอาหารและนำไปให้พอแก่ความต้องการจากที่นี้ เพราะผลกรรมนั้นจึง
ตกนรกหมกไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี แล้วได้รับอัตภาพเช่นนี้
เพราะเศษกรรมนั้น โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๗)
เรื่องนิจฉวิเปรตเพศหญิง ๑ เรื่อง
(เปรตร่างไม่มีผิวหนังเพศหญิง)
[๒๓๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่
เขาคิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปหาพระลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไป
บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะ ตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านเมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
นิจฉวิเปรตเพศหญิง ลอยในอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่
จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่า
อัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพ
เช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นนิจฉวิเปรตเพศหญิงนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตหญิงตน
นั้นเคยประพฤตินอกใจสามีอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมก
ไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรม
ที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๘)
เรื่องมังคุลิเปรตเพศหญิง ๑ เรื่อง
(เปรตรูปร่างน่าเกลียดเพศหญิง)
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
มังคุลิเปรต กลิ่นเหม็น เพศหญิง ลอยในอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยว พากัน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
โฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมี
ความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่น
นี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นมังคุลิเปรตเพศหญิงนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตหญิงตน
นั้นเคยเป็นแม่มดอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่
หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยัง
เหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๙)
เรื่องโอกิรินีเปรตเพศหญิง ๑ เรื่อง
(เปรตร่างถูกไฟลวกเพศหญิง)
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะ ตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านเมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็น
โอกิรินีเปรตเพศหญิง ถูกถ่านเพลิงเผารอบตัวจนสุกเยิ้ม หยาดน้ำไหลหยดลง ลอย
ในอากาศ มันร้องครวญคราง ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้ง
ยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่า
อัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้
อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นโอกิรินีเปรตเพศหญิงนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตหญิงตน
นั้นเคยเป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้ากาลิงคะ นางขี้หึงเอากระทะมีถ่านไฟคลอก
หญิงคู่แข่ง เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลาย
แสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่
ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๐)
เรื่องกพันธเปรต ๑ เรื่อง
(เปรตศีรษะขาด)
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๓๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
กพันธเปรตลอยในอากาศ ตาและปากของมันอยู่ที่อก ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพา
กันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมี
ความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้
มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นกพันธเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็น
เพชฌฆาตฆ่าโจรชื่อทามริกะอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมก
ไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรม
ที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๑)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องนักบวชทำกรรมชั่วในศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะ ๕ เรื่อง คือ
เรื่องเปรตมีรูปเป็นภิกษุ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็น
ภิกษุเปรตลอยในอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟติดลุก
โชนจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มี
สัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นภิกษุเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็นประโยชน์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นภิกษุ
ชั่วในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่
หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๒)
เรื่องเปรตมีรูปเป็นภิกษุณี ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็น
ภิกษุณีเปรตลอยในอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟติด
ลุกโชน จนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ
ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นภิกษุณีเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็น
ภิกษุณีชั่วในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะผลกรรมนั้นจึงตกนรกหมก
ไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้รับอัตภาพเช่นนี้เพราะเศษกรรม
ที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๓)
เรื่องเปรตมีรูปเป็นสิกขมานา ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็น
สิกขมานาเปรต ลอยในอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟ
ติดลุกโชน จนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ
ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นสิกขมานาเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นสิกขมานาชั่วในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะผลกรรมนั้นจึงตก
นรกหมกไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้รับอัตภาพเช่นนี้เพราะ
เศษกรรมที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๔)
เรื่องเปรตมีรูปเป็นสามเณร ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลัง
จากฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่
สมควร ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลง
จากภูเขาคิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไร
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
สามเณรเปรต ลอยในอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ติดลุกโชน จนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ
ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นสามเณรเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็น
สามเณรชั่วในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะผลกรรมนั้นจึงตกนรกหมก
ไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้รับอัตภาพเช่นนี้เพราะเศษกรรม
ที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๕)
เรื่องเปรตมีรูปเป็นสามเณรี ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
สามเณรีเปรต ลอยในอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟ
ติดลุกโชน จนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ
ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นสามเณรีเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็น
สามเณรีชั่วในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะผลกรรมนั้นจึงตกนรกหมก
ไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้รับอัตภาพเช่นนี้เพราะเศษกรรม
ที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๖)
เรื่องแม่น้ำตโปทา ๑ เรื่อง
[๒๓๑] สมัยนั้น พระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายมาบอกว่า “ท่าน
ทั้งหลาย แม่น้ำตโปทานี้ไหลมาจากสระน้ำที่ใสเย็นจืดสนิทสะอาดมีท่าเรียบ น่า
รื่นรมย์ มีฝูงปลาและเต่าอาศัยอยู่มาก มีดอกบัวขนาดเท่าวงล้อบานอยู่ แต่กระนั้น
แม่น้ำตโปทาก็ยังคงร้อนเดือดพล่านไหลไป”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนพระมหาโมคคัลลานะ
พูดอย่างนั้นเล่า ท่านกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำตโปทาไหลผ่านมาระหว่าง
มหานรก ๒ ขุม ดังนั้นจึงคงเดือดพล่านไหลไป โมคคัลลานะกล่าวจริง ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๕๗)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องการสู้รบในกรุงราชคฤห์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ทำสงครามกับพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว
พ่ายแพ้ ภายหลังท้าวเธอทรงระดมพลยกไปรบจนได้ชัยชนะ ให้ตีกลองประกาศชัย
ชนะในการสงครามว่า “พระราชาทรงชนะพวกเจ้าลิจฉวี”
ลำดับนั้นพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายมาบอกว่า “ท่านทั้งหลาย
พระเจ้าแผ่นดินทรงพ่ายแพ้พวกเจ้าลิจฉวี แต่เขาตีกลองประกาศชัยชนะในการ
สงครามว่า ‘พระราชาทรงชนะพวกเจ้าลิจฉวี”
ภิกษุพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนพระมหาโมคคัลลานะกล่าว
อย่างนั้นเล่า ท่านกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ครั้งแรกพระเจ้าแผ่นดินทรงพ่าย
แพ้พวกเจ้าลิจฉวี ภายหลังท้าวเธอทรงระดมพลยกไปรบจนได้ชัยชนะ โมคคัลลานะ
กล่าวจริง ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๘)
เรื่องได้ยินเสียงช้างลงน้ำ ๑ เรื่อง
[๒๓๒] สมัยนั้น พระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายมาบอกว่า “ท่าน
ทั้งหลาย กระผมเข้าอาเนญชสมาธิที่ฝั่งแม่น้ำสัปปินิกาในตำบลนี้ ได้ยินเสียงโขลง
ช้างลงน้ำแล้วขึ้นจากน้ำส่งเสียงดังเหมือนนกกระเรียน”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนพระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอย่างนั้นเล่า ท่านกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม” แล้วนำเรื่องนี้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมาธินั้นมีอยู่จริง แต่ยังไม่บริสุทธิ์
โมคคัลลานะกล่าวจริง จึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๔๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทสรุป

เรื่องพระอรหันต์โสภิตะระลึกชาติได้ ๕๐๐ กัป ๑ เรื่อง
ครั้งนั้น พระโสภิตะบอกเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า “กระผมระลึกชาติได้
๕๐๐ กัป” ๑
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนพระโสภิตะ
กล่าวอย่างนั้นเล่า ท่านกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชาติในอดีตของโสภิตภิกษุนั้นมีอยู่
แต่มีเพียงชาติเดียวเท่านั้น โสภิตะกล่าวจริง จึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๖๐)
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบ

บทสรุป
[๒๓๓] ท่านทั้งหลาย ธรรม๒ คือปาราชิก ๔ สิกขาบทข้าพเจ้ายกขึ้นแสดง
แล้ว แต่ละข้อ ๆ ซึ่งภิกษุต้องเข้าแล้ว ย่อมอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลายไม่ได้ เป็น
ปาราชิก หาสังวาสมิได้ เหมือนก่อนบวช
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบทนั้นว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”

เชิงอรรถ :
๑ กัป ระยะเวลายาวนานมาก โลกประลัยครั้งหนึ่งเป็นกัปหนึ่ง ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่า เปรียบ
เหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูง ด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีผู้นำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง
จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น
๒ คำว่า “ธรรม” ในที่นี้หมายถึงอาบัติ (ปาราชิกาติ เอวํนามกา. ธมฺมาติ อาปตฺติโย คำว่า “ธรรมคือ
ปาราชิก” หมายถึงอาบัติที่มีชื่ออย่างนี้ กงฺขา.อ. ๑๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔

รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรม คือปาราชิก ๔ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ปาราชิก จบ

รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกกัณฑ์มี ๔ สิกขาบท คือ
๑. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม
๒. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
๓. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการพรากกายมนุษย์
๔. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
สิกขาบทเหล่านี้เป็นที่ตั้งแห่งการตัดรากเหง้า อย่างไม่ต้องสงสัย
ปาราชิกกัณฑ์ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท นิทานวัตถุ

๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทเหล่านี้ มาถึงวาระที่จะยก
ขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ
๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท
ว่าด้วยการจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
เรื่องพระเสยยสกะ
[๒๓๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระเสยยสกะไม่ยินดีที่จะ
ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะความไม่ยินดีนั้น ท่านจึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง
เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง
ท่านพระอุทายีเห็นท่านพระเสยยสกะซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็น
ขึ้นสะพรั่ง จึงได้กล่าวกับท่านว่า “คุณเสยยสกะ ทำไม คุณจึงซูบผอม หมองคล้ำ
ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่งเล่า คงไม่ยินดีที่จะประพฤติพรหมจรรย์กระมัง”
ท่านพระเสยยสกะรับว่าเป็นอย่างนั้น
ท่านพระอุทายีแนะนำว่า “ถ้าเป็นอย่างนั้น คุณจงฉันอาหารตามต้องการ จำ
วัด สรงน้ำตามต้องการเถิด เสร็จแล้วเมื่อคุณเกิดความกระสันถูกราคะรบกวนจิตขึ้น
มา ก็จงใช้มือพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน”
“ทำเช่นนี้จะควรหรือ ขอรับ”
“คุณ ทำเช่นนี้ควร ผมเองก็ทำเช่นนี้”
ครั้นเมื่อท่านพระเสยยสกะฉันอาหาร จำวัด สรงน้ำตามต้องการแล้ว เมื่อ
เกิดความกระสันถูกราคะรบกวนจิตขึ้นมาก็ใช้มือพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
เวลาต่อมา ท่านมีผิวพรรณผ่องใส แลดูอิ่มเอิบ เพื่อนภิกษุถามท่านว่า “ท่านเสยยสกะ
เมื่อก่อน ท่านซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง แต่เวลานี้ กลับมีผิว
พรรณผ่องใส แลดูอิ่มเอิบ ท่านใช้ยาอะไรหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท นิทานวัตถุ
พระเสยยสกะตอบว่า “ไม่ได้ใช้ยาอะไร แต่ผมฉันอาหารตามต้องการ จำวัด
สรงน้ำตามต้องการ เมื่อเกิดความกระสันถูกราคะรบกวนจิตขึ้นมา ก็ใช้มือพยายาม
ทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน”
“ท่านใช้มือที่เปิบข้าวที่เขาถวายด้วยศรัทธาพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
ออกมากระนั้นหรือ”
พระเสยยสกะรับว่า “ใช่ ขอรับ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระเสยยสกะจึงใช้มือพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิ
พระเสยยสกะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระเสยยสกะว่า “เธอใช้มือพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จริงหรือ” พระ
เสยยสกะทูลรับว่า “จริงพระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“โมฆบุรุษ การกระทำของเธอไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของ
สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย ไฉนเธอจึงใช้มือพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเล่า เรา
แสดงธรรมโดยประการต่าง ๆ เพื่อคลายความกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัด เพื่อ
ความพราก มิใช่เพื่อความประกอบไว้ เพื่อความไม่ถือมั่น มิใช่เพื่อความถือมั่น มิใช่
หรือ เมื่อเราแสดงธรรมเพื่อคลายความกำหนัด เธอก็ยังจะคิดเพื่อความกำหนัด เรา
แสดงธรรมเพื่อความพราก เธอก็ยังคิดเพื่อความประกอบไว้ เราแสดงธรรมเพื่อ
ความไม่ถือมั่น เธอก็ยังจะคิดเพื่อความถือมั่น โมฆบุรุษ เราแสดงธรรมโดยประการ
ต่าง ๆ เพื่อสำรอกราคะ เพื่อสร่างความเมา เพื่อดับความกระหาย เพื่อถอนความ
อาลัย เพื่อตัดวัฏฏะ เพื่อความสิ้นตัณหา เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อดับทุกข์ เพื่อ
นิพพาน มิใช่หรือ โมฆบุรุษ เราบอกการละกาม การกำหนดรู้ความสำคัญในกาม
การกำจัดความกระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกในกาม การระงับความ
กลัดกลุ้มเพราะกามไว้โดยประการต่าง ๆ มิใช่หรือ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๕๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท พระบัญญัติ
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริง
กลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะ
กลายเป็นอื่นไป”
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพระเสยยสกะโดยประการต่าง ๆ แล้ว ได้ตรัส
โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก ฯลฯ ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย
บำรุงง่าย ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาให้เหมาะสมให้คล้อยตามกับเรื่องนั้น แล้วจึงรับ
สั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้
พระบัญญัติ

ภิกษุจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เป็นสังฆาทิเสส
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระเสยยสกะ จบ

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๒๓๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารอันประณีต จำวัดหลับ ขาดสติ
สัมปชัญญะ น้ำอสุจิออกมาเพราะความฝัน พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า “พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เป็นสังฆาทิเสส’
แต่พวกเรามีน้ำอสุจิออกมาเพราะความฝัน ในความฝันนั้นมีเจตนา พวกเราต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั้นมีอยู่ แต่ไม่ควรกล่าวว่ามี”๑
(ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา) ฯลฯ รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ เจตนาที่จะยินดีนั้นมีอยู่ แต่กล่าวไม่ได้ว่ามี (อัพโพหาริก) เพราะเกิดขึ้นนอกเหนือขอบเขต เจตนาใน
ความฝัน เป็นเจตนานอกเหนือขอบเขต (วิ.อ. ๒/๒๓๕/๒-๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

พระอนุบัญญัติ
[๒๓๖] ภิกษุจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เป็นสังฆาทิเสส ยกเว้นไว้แต่ฝัน
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๓๗] คำว่า จงใจ ความว่า รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ฝ่าฝืนล่วงละเมิด
คำว่า น้ำอสุจิ อธิบายว่า น้ำอสุจิมี ๑๐ ชนิด คือ (๑) อสุจิสีเขียว (๒) อสุจิ
สีเหลือง (๓) อสุจิสีแดง (๔) อสุจิสีขาว (๕) อสุจิสีเหมือนเปรียง (๖) อสุจิสี
เหมือนน้ำท่า (๗) อสุจิสีเหมือนน้ำมัน (๘) อสุจิสีเหมือนนมสด (๙) อสุจิสี
เหมือนนมส้ม (๑๐) อสุจิสีเหมือนเนยใส
คำว่า ทำให้เคลื่อน คือ กิริยาที่ทำให้เคลื่อนจากฐาน ตรัสเรียกว่า ทำให้เคลื่อน
คำว่า ยกเว้นไว้แต่ฝัน คือ ยกเว้นความฝัน
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชัก
เข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและเรียกเข้าหมู่ คณะก็ทำไม่ได้ ภิกษุรูปเดียวก็ทำไม่ได้
ฉะนั้นจึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
คำว่า “เป็นสังฆาทิเสส” นี้ เป็นการขนานนาม เป็นคำเรียกหมวดอาบัตินั้น
นั่นเองโดยอ้อม๑ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
บทภาชนีย์
อุบาย ๔ ประการ
(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนในรูปภายใน (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนใน
รูปภายนอก (๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนในรูปภายในและภายนอก (๔) ภิกษุทำน้ำ
อสุจิให้เคลื่อนเมื่อส่ายสะเอวในอากาศ

เชิงอรรถ :
๑ สังฆาทิเสสนี้ เป็นชื่อเรียกกองอาบัติ แปลว่า “หมู่อาบัติที่ต้องการสงฆ์ทั้งในระยะเบื้องต้นและในระยะที่
เหลือ” หมายความว่า ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส จะออกจากอาบัตินั้นได้ต้องอาศัยสงฆ์ให้ปริวาส ให้มานัต
ชักกลับเข้าหาอาบัติเดิม และอัพภาน ในกรรมทั้งหมดนี้ขาดสงฆ์เสียแล้ว ก็ทำไม่สำเร็จ (วิ.อ. ๒/๒๓๗/๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

กาล ๕
(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อเกิดความกำหนัด (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้
เคลื่อนเมื่อปวดอุจจาระ (๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อปวดปัสสาวะ (๔) ภิกษุทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อต้องลม (๕) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อถูกบุ้งขน
เจตนา ๑๐ ประการ
(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อความหายโรค (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้
เคลื่อนเพื่อความสุข (๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อเป็นยา (๔) ภิกษุทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อนเพื่อเป็นทาน (๕) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อเป็นบุญ (๖) ภิกษุทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อบูชายัญ (๗) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อจะไปสวรรค์
(๘) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อสืบพันธุ์ (๙) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อทดลอง
(๑๐) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อความสนุก
วัตถุที่ประสงค์ ๑๐ ประการ
(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหลืองให้เคลื่อน
(๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีแดงให้เคลื่อน (๔) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีขาวให้เคลื่อน (๕) ภิกษุ
ทำน้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงให้เคลื่อน (๖) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าให้เคลื่อน
(๗) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันให้เคลื่อน (๘) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมสดให้
เคลื่อน (๙) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มให้เคลื่อน (๑๐) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือน
เนยใสให้เคลื่อน
[๒๓๘] คำว่า ในรูปภายใน ได้แก่ รูปที่มีวิญญาณครองในตัว๑
คำว่า ในรูปภายนอก ได้แก่ รูปที่มีวิญญาณครองหรือที่ไม่มีวิญญาณครอง
นอกตัว๒

เชิงอรรถ :
๑ “รูปที่มีวิญญาณครองในตัว” หมายถึง มือของตนเป็นต้น(วิ.อ. ๒/๒๓๘/๘)
๒ “รูปที่มีวิญญาณครองหรือที่ไม่มีวิญญาณครองนอกตัว” หมายถึง มือของผู้อื่นเป็นต้น (วิ.อ. ๒/๒๓๘/๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า ในรูปภายในและภายนอก ได้แก่ รูปทั้ง ๒ นั้น
คำว่า เมื่อส่ายสะเอวในอากาศ หมายความว่า เมื่อภิกษุพยายามในอากาศ
องคชาตใช้การได้
คำว่า เมื่อเกิดความกำหนัด คือ เมื่อถูกความกำหนัดรบกวน องคชาตใช้การ
ได้
คำว่า เมื่อปวดอุจจาระ คือ เมื่อปวดอุจจาระ องคชาตใช้การได้
คำว่า เมื่อปวดปัสสาวะ คือ เมื่อปวดปัสสาวะ องคชาตใช้การได้
คำว่า เมื่อต้องลม คือ เมื่อถูกลมรำเพย องคชาตใช้การได้
คำว่า เมื่อถูกบุ้งขน คือ เมื่อถูกบุ้งขนเบียดเบียนแล้ว องคชาตใช้การได้
[๒๓๙] คำว่า เพื่อความหายโรค คือ มุ่งว่าจะเป็นผู้ไม่มีโรค
คำว่า เพื่อความสุข คือ มุ่งว่าจะให้เกิดสุขเวทนา
คำว่า เพื่อเป็นยา คือ มุ่งว่าจะเป็นยา
คำว่า เพื่อเป็นทาน คือ มุ่งว่าจะให้ทาน
คำว่า เพื่อเป็นบุญ คือ มุ่งว่าจะเป็นบุญ
คำว่า เพื่อบูชายัญ คือ มุ่งว่าจะบูชายัญ
คำว่า เพื่อจะไปสวรรค์ คือ มุ่งว่าจะได้ไปสวรรค์
คำว่า เพื่อสืบพันธุ์ คือ มุ่งว่าจักสืบพันธุ์
คำว่า เพื่อทดลอง คือ ทดลองว่า น้ำอสุจิจักเป็นสีเขียว น้ำอสุจิจักเป็นสี
เหลือง น้ำอสุจิจักเป็นสีแดง น้ำอสุจิจักเป็นสีขาว น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนเปรียง น้ำ
อสุจิจักเป็นสีเหมือนน้ำท่า น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนน้ำมัน น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือน
นมสด น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนนมส้ม น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนเนยใส
คำว่า เพื่อความสนุก คือ มีความประสงค์จะเล่น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

สุทธิกสังฆาทิเสส
อุบายทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน ๔ อย่าง
[๒๔๐] (๑) ภิกษุจงใจพยายามในรูปภายใน น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
(๒) ภิกษุจงใจพยายามในรูปภายนอก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
(๓) ภิกษุจงใจพยายามในรูปภายในและภายนอก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
(๔) ภิกษุจงใจพยายามส่ายสะเอวในอากาศ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
น้ำอสุจิเคลื่อน ๕ กาล
(๑) ภิกษุจงใจพยายามเมื่อเกิดความกำหนัด น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
(๒) ภิกษุจงใจพยายามเมื่อปวดอุจจาระ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
(๓) ภิกษุจงใจพยายามเมื่อปวดปัสสาวะ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
(๔) ภิกษุจงใจพยายามเมื่อต้องลม น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
(๕) ภิกษุจงใจพยายามเมื่อถูกบุ้งขน น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
เจตนา ๑๐ อย่าง๑
(๑) ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

เชิงอรรถ :
๑ ในเจตนา ๑๐ อย่างนี้ ปรับอาบัติสังฆาทิเสส ๑๐ ตัวตามจำนวนเจตนา แต่ในที่นี่ แปลละข้อความไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์
(๒) ภิกษุจงใจพยายามเพื่อความสุข (๓) ...เพื่อเป็นยา (๔) ...เพื่อเป็นทาน
(๕) ...เพื่อเป็นบุญ (๖) ...เพื่อบูชายัญ (๗) ...เพื่อจะไปสวรรค์ (๘) ...เพื่อสืบพันธุ์
(๙) ...เพื่อทดลอง (๑๐) ...เพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
วัตถุประสงค์ ๑๐ อย่าง
(๑) ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
(๒) ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหลือง (๓) ...น้ำอสุจิสีแดง (๔) ...น้ำอสุจิ
สีขาว (๕) ...น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียง (๖) ...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่า (๗) ...น้ำอสุจิ
สีเหมือนน้ำมัน (๘) ...น้ำอสุจิสีเหมือนนมสด (๙) ...น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม
(๑๐) ...น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สุทธิก จบ

ขัณฑจักร๑
มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อความสุข น้ำอสุจิเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อเป็นยา ฯลฯ เพื่อความหาย
โรคและเพื่อเป็นทาน ฯลฯ เพื่อความหายโรคและเพื่อเป็นบุญ ฯลฯ เพื่อความหาย
โรคและเพื่อบูชายัญ ฯลฯ เพื่อความหายโรคและเพื่อจะไปสวรรค์ ฯลฯ เพื่อความ
หายโรคและเพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ เพื่อความหายโรคและเพื่อทดลอง ฯลฯ ภิกษุจงใจ
พยายามเพื่อความหายโรคและเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ขัณฑจักรมีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

พัทธจักร๑
มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๑
[๒๔๑] ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความสุขและเพื่อเป็นยา น้ำอสุจิเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความสุขและเพื่อเป็นทาน ฯลฯ เพื่อความสุขและเพื่อ
เป็นบุญ ฯลฯ เพื่อความสุขและเพื่อบูชายัญ ฯลฯ เพื่อความสุขและเพื่อจะไปสวรรค์
ฯลฯ เพื่อความสุขและเพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ เพื่อความสุขและเพื่อทดลอง ฯลฯ ภิกษุ
จงใจพยายามเพื่อความสุขและเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายามเพื่อความสุขและเพื่อความหายโรค น้ำอสุจิเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๒
[๒๔๒] ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นยาและเพื่อเป็นทาน น้ำอสุจิเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นยาและเพื่อเป็นบุญ ฯลฯ เพื่อเป็นยาและเพื่อบูชายัญ
ฯลฯ เพื่อเป็นยาและเพื่อจะไปสวรรค์ ฯลฯ เพื่อเป็นยาและเพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ เพื่อ
เป็นยาและเพื่อทดลอง ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อเป็นยาและเพื่อความสนุก น้ำ
อสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นยาและเพื่อความหายโรค ฯลฯ ภิกษุจงใจ
พยายามเพื่อเป็นยาและเพื่อความสุข น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๓
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นทานและเพื่อเป็นบุญ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

เชิงอรรถ :
๑ พัทธจักร แปลว่า เวียน หรือหมุนเนื่องถึงกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นทานและเพื่อบูชายัญ ฯลฯ เพื่อเป็นทานและ
เพื่อจะไปสวรรค์ ฯลฯ เพื่อเป็นทานและเพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ เพื่อเป็นทานและเพื่อทดลอง
ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อเป็นทานและเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นทานและเพื่อความหายโรค ฯลฯ ภิกษุจงใจ
พยายามเพื่อเป็นทานและเพื่อความสุข ฯลฯ เพื่อเป็นทานและเพื่อเป็นยา น้ำอสุจิ
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๔
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นบุญและเพื่อบูชายัญ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นบุญและเพื่อจะไปสวรรค์ ฯลฯ เพื่อเป็นบุญและ
เพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ เพื่อเป็นบุญและเพื่อทดลอง ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อเป็น
บุญและเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นบุญและเพื่อความหายโรค ฯลฯ เพื่อเป็นบุญ
และเพื่อความสุข ฯลฯ เพื่อเป็นบุญและเพื่อเป็นยา ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อ
เป็นบุญและเพื่อเป็นทาน น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๕
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อบูชายัญและเพื่อจะไปสวรรค์ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อบูชายัญและเพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ เพื่อบูชายัญและเพื่อ
ทดลอง ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อบูชายัญและเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อบูชายัญและเพื่อความหายโรค ฯลฯ เพื่อบูชายัญ
และเพื่อความสุข ฯลฯ เพื่อบูชายัญและเพื่อเป็นยา ฯลฯ เพื่อบูชายัญและเพื่อเป็น
ทาน.. ภิกษุจงใจพยายามเพื่อบูชายัญและเพื่อเป็นบุญ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๕๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๖
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อจะไปสวรรค์และเพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ เพื่อจะไปสวรรค์
และเพื่อทดลอง ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อจะไปสวรรค์และเพื่อความสนุก น้ำ
อสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อจะไปสวรรค์และเพื่อความหายโรค ฯลฯ เพื่อจะไป
สวรรค์และเพื่อความสุข ฯลฯ เพื่อจะไปสวรรค์และเพื่อเป็นยา ฯลฯ เพื่อจะไปสวรรค์
และเพื่อเป็นทาน ฯลฯ เพื่อจะไปสวรรค์และเพื่อเป็นบุญ ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม
เพื่อจะไปสวรรค์และเพื่อบูชายัญ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๗
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อทดลอง ฯลฯ เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อ
ความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อความหายโรค ฯลฯ เพื่อสืบพันธุ์
และเพื่อความสุข ฯลฯ เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อเป็นยา ฯลฯ เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อเป็น
ทาน ฯลฯ เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อเป็นบุญ ฯลฯ เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อบูชายัญ ฯลฯ ภิกษุ
จงใจพยายามเพื่อสืบพันธุ์และเพื่อจะไปสวรรค์ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๘
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อทดลองและเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อทดลองและเพื่อความหายโรค ฯลฯ เพื่อทดลองและ
เพื่อความสุข ฯลฯ เพื่อทดลองและเพื่อเป็นยา ฯลฯ เพื่อทดลองและเพื่อเป็นทาน
ฯลฯ เพื่อทดลองและเพื่อเป็นบุญ ฯลฯ เพื่อทดลองและเพื่อบูชายัญ ฯลฯ เพื่อ
ทดลองและเพื่อจะไปสวรรค์ ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อทดลองและเพื่อสืบพันธุ์
น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๙
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความสนุกและเพื่อความหายโรค น้ำอสุจิเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความสนุกและเพื่อความสุข ฯลฯ เพื่อความสนุก
และเพื่อเป็นยา ฯลฯ เพื่อความสนุกและเพื่อเป็นทาน ฯลฯ เพื่อความสนุกและเพื่อ
เป็นบุญ ฯลฯ เพื่อความสนุกและเพื่อบูชายัญ ฯลฯ เพื่อความสนุกและเพื่อจะไป
สวรรค์ ฯลฯ เพื่อความสนุกและเพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อความ
สนุกและเพื่อทดลอง น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พัทธจักรมีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล จบ

ขัณฑจักร
มีเจตนา ๒ อย่างเป็นมูล
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุขและเพื่อเป็นยา น้ำอสุจิ
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อความหายโรค เพื่อความ
สุขและเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ขัณฑจักรมีเจตนา ๒ อย่างเป็นมูล จบ

พัทธจักร
มีเจตนา ๒ อย่างเป็นมูล หมวดที่ ๑
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความสุข เพื่อเป็นยาและเพื่อเป็นทาน น้ำอสุจิเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความสุข เพื่อเป็นยาและเพื่อความสนุก ฯลฯ
ภิกษุจงใจพยายามเพื่อความสุข เพื่อเป็นยาและเพื่อความหายโรค น้ำอสุจิเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พัทธจักรมีเจตนา ๒ อย่างเป็นมูล ย่อไว้แล้ว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

มีเจตนา ๒ อย่างเป็นมูล
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อทดลอง เพื่อความสนุกและเพื่อความหายโรค น้ำ
อสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อทดลอง เพื่อความ
สนุกและเพื่อสืบพันธุ์ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พัทธจักรมีเจตนา ๒ อย่างเป็นมูล จบ
พัทธจักร ติมูลกนัยก็ดี จตุมูลกนัยก็ดี ปัญจมูลกนัยก็ดี ฉมูลกนัยก็ดี สัตต
มูลกนัยก็ดี อัฏฐมูลกนัยก็ดี นวมูลกนัยก็ดี บัณฑิตพึงตั้งขยายให้เหมือนกัน
คำที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นพัทธจักรสัพพมูลกนัย
สัพพมูลกนัย
[๒๔๓] ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยา
เพื่อเป็นทาน เพื่อเป็นบุญ เพื่อบูชายัญ เพื่อจะไปสวรรค์ เพื่อสืบพันธุ์ เพื่อทดลอง
และเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สัพพมูลกนัย จบ

ขัณฑจักร
มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล
[๒๔๔] ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียวและสีเหลืองเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียวและสีแดง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเขียวและสีขาว
ฯลฯ น้ำอสุจิสีเขียวและสีเหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเขียวและสีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ
น้ำอสุจิสีเขียวและสีเหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเขียวและสีเหมือนนมสด ฯลฯ น้ำ
อสุจิสีเขียวและสีเหมือนนมส้ม ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียวและสี
เหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ขัณฑจักรมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

พัทธจักรแห่งเอกมูลกนัย
[๒๔๕] ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหลืองและสีแดงเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหลืองและสีขาว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลืองและสี
เหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลืองและสีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลืองและสี
เหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลืองและสีเหมือนนมสด ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลืองและสี
เหมือนนมส้ม ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหลืองและสีเหมือนเนยใสเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหลืองและสีเขียวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พัทธจักรแห่งเอกมูลกนัย จบ

พัทธจักร
มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๑
[๒๔๖] ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีแดงและสีขาวเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีแดงและสีเหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิสีแดงและ
สีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ น้ำอสุจิสีแดงและสีเหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิสีแดงและสี
เหมือนนมสด ฯลฯ น้ำอสุจิสีแดงและสีเหมือนนมส้ม ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำ
อสุจิสีแดงและสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีแดงและสีเขียว ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำ
อสุจิสีแดงและสีเหลืองเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๒
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีขาวและสีเหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิสีขาวและ
สีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ น้ำอสุจิสีขาวและสีเหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิสีขาวและสี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๖๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์
เหมือนนมสด ฯลฯ น้ำอสุจิสีขาวและสีเหมือนนมส้ม ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำ
อสุจิสีขาวและสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีขาวและสีเขียว ฯลฯ น้ำอสุจิสีขาวและสีเหลือง
ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีขาวและสีแดงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๓
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงและสีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ น้ำอสุจิ
สีเหมือนเปรียงและสีเหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงและสีเหมือนนมสด
ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงและสีเหมือนนมส้ม ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสี
เหมือนเปรียงและสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงและสีเขียว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือน
เปรียงและสีเหลือง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงและสีแดง ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม
น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงและสีขาวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๔
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าและสีเหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิ
สีเหมือนน้ำท่าและสีเหมือนนมสด ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าและสีเหมือนนมส้ม
ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าและสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าและสีเขียว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือน
น้ำท่าและสีเหลือง...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าและสีแดง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่า
และสีขาว ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าและสีเหมือนเปรียงเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๕
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันและสีเหมือนนมสด ฯลฯ น้ำอสุจิ
สีเหมือนน้ำมันและสีเหมือนนมส้ม ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมัน
และสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันและสีเขียว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือน
น้ำมันและสีเหลือง...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันและสีแดง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมัน
และสีขาว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันและสีเหมือนเปรียง ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม
น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันและสีเหมือนน้ำท่าเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๖
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดและสีเหมือนนมส้ม ฯลฯ น้ำอสุจิ
สีเหมือนนมสดและสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดและสีเขียว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือน
นมสดและสีเหลือง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดและสีแดง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือน
นมสดและสีขาว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดและสีเหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิสี
เหมือนนมสดและสีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมสด
และสีเหมือนน้ำมันเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๗
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มและสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มและสีเขียว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือน
นมส้มและสีเหลือง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มและสีแดง ฯลฯ อสุจิสีเหมือนนม
ส้มและสีขาว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มและสีเหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิ
สีเหมือนนมส้มและสีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มและสีเหมือนน้ำมัน
ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มและสีเหมือนนมสดเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๘
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสและสีเขียวเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๖๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสและสีเหลือง ฯลฯ น้ำอสุจิสี
เหมือนเนยใสและสีแดง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสและสีขาว ฯลฯ อสุจิสีเหมือน
เนยใสและสีเหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสและสีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ น้ำ
อสุจิสีเหมือนเนยใสและสีเหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสและสีเหมือนนมสด
ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสและสีเหมือนนมส้มเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
พัทธจักรมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล จบ

ขัณฑจักร
มีวัตถุประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลืองและสีแดงเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลืองและสีขาวเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลืองและสีเหมือนเนย
ใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ขัณฑจักรมีวัตถุประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล จบ

พัทธจักร
มีวัตถุประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหลือง สีแดงและสีขาวเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลือง สีแดง และสีเหมือนเนยใส ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม
น้ำอสุจิสีเหลือง สีแดงและสีเขียวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พัทธจักรมีวัตถุประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล ย่อไว้แล้ว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

พัทธจักร
มีวัตถุประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม สีเหมือนเนยใสและสีเขียวเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม สีเหมือน
เนยใสและสีเหมือนนมสดเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พัทธจักรมีวัตถุประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล จบ
พัทธจักร ติมูลกนัยก็ดี จตุมูลกนัยก็ดี ปัญจมูลกนัยก็ดี ฉมูลกนัยก็ดี สัตต
มูลกนัยก็ดี อัฏฐมูลกนัยก็ดี นวมูลกนัยก็ดี บัณฑิตพึงตั้งขยายให้เหมือนกัน
คำที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นพัทธจักรสัพพมูลกนัย
สัพพมูลกนัย
[๒๔๗] ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีเหมือน
เปรียง สีเหมือนน้ำท่า สีเหมือนน้ำมัน สีเหมือนนมสด สีเหมือนนมส้มและสีเหมือน
เนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สัพพมูลกนัย จบ

อุภโตพัทธมิสสกจักร
[๒๔๘] ภิกษุจงใจพยายามเพื่อความหายโรค น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อความสุข น้ำอสุจิสีเขียวและสี
เหลืองเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุขและเพื่อเป็นยา น้ำอสุจิ
สีเขียว สีเหลืองและสีแดงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยาและเพื่อเป็น
ทาน น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลือง สีแดงและสีขาวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยา เพื่อเป็น
ทานและเพื่อเป็นบุญ น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลือง สีแดงและสีเหมือนเปรียงเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยา เพื่อเป็นทาน
เพื่อเป็นบุญ และเพื่อบูชายัญ น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีเหมือนเปรียง
และสีเหมือนน้ำท่าเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยา เพื่อเป็นทาน
เพื่อเป็นบุญ เพื่อบูชายัญ และเพื่อจะไปสวรรค์ น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว
สีเหมือนเปรียง สีเหมือนน้ำท่าและสีเหมือนน้ำมันเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยา เพื่อเป็นทาน
เพื่อเป็นบุญ เพื่อบูชายัญ เพื่อจะไปสวรรค์ และเพื่อสืบพันธุ์ น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลือง
สีแดง สีขาว สีเหมือนเปรียง สีเหมือนน้ำท่า สีเหมือนน้ำมัน และสีเหมือนนมสด
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยา เพื่อเป็นทาน
เพื่อเป็นบุญ เพื่อบูชายัญ เพื่อจะไปสวรรค์ เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อทดลอง น้ำอสุจิสีเขียว
สีเหลือง สีแดง สีขาว สีเหมือนเปรียง สีเหมือนน้ำท่า สีเหมือนน้ำมัน สีเหมือนนมสด
และสีเหมือนนมส้มเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยา เพื่อเป็นทาน
เพื่อเป็นบุญ เพื่อบูชายัญ เพื่อจะไปสวรรค์ เพื่อสืบพันธุ์ เพื่อทดลอง และเพื่อความ
สนุก น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีเหมือนเปรียง สีเหมือนน้ำท่า สีเหมือน
น้ำมัน สีเหมือนนมสด สีเหมือนนมส้ม และสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
อุภโตพัทธมิสสกจักร จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

ขัณฑจักร
[๒๔๙] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
เหลืองเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีแดงเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีขาวเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
เปรียงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
น้ำท่าเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
น้ำมันเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
นมสดเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
นมส้มเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
เนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ขัณฑจักร จบ

พัทธจักร
[๒๕๐] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหลืองให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิ
สีแดงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหลืองให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีขาวเคลื่อน
ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าเคลื่อน ฯลฯ น้ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๖๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์
อสุจิสีเหมือนน้ำมันเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสี
เหมือนนมส้มเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีแดงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีขาวเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีแดงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
เปรียงเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันเคลื่อน
ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มเคลื่อน ฯลฯ น้ำ
อสุจิสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลืองเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีขาวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียง
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ น้ำอสุจิสีแดงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พึงทราบจักรทั้งหลายอย่างนี้
พัทธจักร จบ

กุจฉิจักร
หมุนไปข้างหน้า
[๒๕๑] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่
น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
เหลืองเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีแดงเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีขาวเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสี
เหมือนเปรียงเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีหมือนน้ำท่าเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือน
น้ำมันเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กุจฉิจักร จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น