Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๒-๓ หน้า ๑๒๓ - ๑๘๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒-๓ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๒
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
พระบัญญัติ
[๕๙๙] ก็ ภิกษุใดทรงอติเรกบาตร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องพระอานนท์
[๖๐๐] สมัยนั้น อติเรกบาตรเกิดขึ้นแก่ท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์
ต้องการจะถวายอติเรกบาตรนั้นแก่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่เมือง
สาเกต ทีนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงทรงอติเรกบาตร’ ก็อติเรกบาตรนี้เกิดขึ้นแก่เรา เรา
ต้องการจะถวายท่านพระสารีบุตร แต่ท่านอยู่ที่เมืองสาเกต เราจะพึงปฏิบัติอย่างไร
หนอ” จึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อีกนานเพียงไร สารีบุตรจะกลับมา”
พระอานนท์กราบทูลว่า “อีก ๙ หรือ ๑๐ วันจึงจะกลับมา พระพุทธเจ้าข้า”
ทรงอนุญาตอติเรกบาตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็น
อย่างมาก” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๖๐๑] ภิกษุพึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก ให้เกิน
กำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอานนท์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๖๐๒] คำว่า ๑๐ วันเป็นอย่างมาก คือ ครอบครองไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่าง
มาก
ที่ชื่อว่า อติเรกบาตร ได้แก่ บาตรที่ไม่ได้อธิษฐาน ไม่ได้วิกัป
ที่ชื่อว่า บาตร ได้แก่บาตร ๒ ชนิด คือ บาตรเหล็ก และบาตรดินเผา
ขนาดบาตร
บาตรมี ๓ ขนาด คือ (๑) บาตรขนาดใหญ่ (๒) บาตรขนาดกลาง (๓) บาตร
ขนาดเล็ก
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสุกจากข้าวสาร ๒ ทะนาน จุของเคี้ยวเศษ
หนึ่งส่วนสี่๑ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกจากข้าวสาร ๑ ทะนาน จุของเคี้ยวเศษ
หนึ่งส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกจากข้าวสารครึ่งทะนาน จุของเคี้ยวเศษหนึ่ง
ส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
บาตรมีขนาดใหญ่กว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ไม่ได้ บาตรมีขนาดเล็กกว่านั้นก็เป็น
บาตรที่ใช้ไม่ได้
คำว่า ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ความว่า เมื่อรุ่ง
อรุณวันที่ ๑๑ บาตรใบนั้น เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ
หรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ คือเศษหนึ่งส่วนสี่ของข้าวสุก (วิ.อ. ๒/๖๐๒/๒๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ บาตรใบนี้ของ
กระผมเกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
[๖๐๓] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุชื่อนี้ เป็น
นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
[๖๐๔] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
บาตรใบนี้ของกระผมเกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้แก่
ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
[๖๐๕] “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุ
ชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
[๖๐๖] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ บาตรใบนี้ของกระผมเกิน
กำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึง
แสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนบาตรที่สละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมให้
บาตรใบนี้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๐๗] บาตรที่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกิน ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
บาตรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
บาตรที่ยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่แตก ภิกษุสำคัญว่าบาตรแตกแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่ถูกโจรชิงเอาไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงเอาไป ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
บาตรที่เป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
บาตรที่ยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ใช้สอย ต้อง
อาบัติทุกกฏ
บาตรที่ยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
บาตรที่ยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ใช้สอย
ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๐๘] ๑. ภิกษุผู้อธิษฐานภายใน ๑๐ วัน
๒. ภิกษุผู้วิกัปไว้ภายใน ๑๐ วัน
๓. ภิกษุผู้สละให้ไปภายใน ๑๐ วัน
๔. ภิกษุผู้มีบาตรสูญหายภายใน ๑๐ วัน
๕. ภิกษุผู้มีบาตรฉิบหายภายใน ๑๐ วัน
๖. ภิกษุผู้มีบาตรแตกภายใน ๑๐ วัน
๗. ภิกษุผู้มีบาตรถูกโจรชิงเอาไปภายใน ๑๐ วัน
๘. ภิกษุผู้มีบาตรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะภายใน ๑๐ วัน
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ยอมคืนบาตรที่มีผู้สละให้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
บาตรที่ภิกษุสละให้แล้ว จะไม่คืนให้ไม่ได้ ภิกษุใดไม่คืน ต้องอาบัติทุกกฏ”
ปัตตสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค
๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท
ว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๖๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น นายช่างหม้อคนหนึ่งปวารณาภิกษุทั้งหลายไว้ว่า
“กระผมจะถวายบาตรแก่พระคุณเจ้าผู้ต้องการบาตร”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมาก พวกภิกษุ
ผู้มีบาตรขนาดเล็กก็ออกปากขอบาตรขนาดใหญ่ พวกภิกษุผู้มีบาตรขนาดใหญ่ก็
ออกปากขอบาตรขนาดเล็ก นายช่างมัวทำบาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลาย จนไม่
สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอย
ลำบากไปด้วย พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อ
สายศากยบุตรจึงไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมากเล่า นายช่างมัวทำ
บาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลายจนไม่สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หา
เลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบากไปด้วย”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่รู้ประมาณ
ออกปากขอบาตรเป็นอันมากเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงห้ามขอบาตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุไม่รู้ประมาณ ออกปากขอ
บาตรเป็นอันมาก จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท นิทานวัตถุ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงไม่รู้
ประมาณ ออกปากขอบาตรเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
ครั้นตำหนิแล้วจึงทรงแสดงธรรมีกถาแล้วตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงออกปากขอบาตร รูปใดขอ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
ทรงอนุญาตให้ขอบาตรได้
[๖๑๐] สมัยนั้น บาตรของภิกษุรูปหนึ่งแตก เธอมีความยำเกรงว่า “พระผู้มี
พระภาคทรงห้ามการออกปากขอบาตร” จึงไม่ออกปากขอบาตร เที่ยวรับบิณฑบาต
ด้วยมือทั้งสอง พวกชาวบ้านจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรจึงเที่ยวรับบิณฑบาตด้วยมือทั้งสองเหมือนพวกเดียรถีย์เล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีบาตรหายหรือบาตรแตก
ออกปากขอบาตรได้”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๑] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต
ให้ภิกษุผู้มีบาตรหายหรือบาตรแตกออกปากขอบาตรได้” พวกเธอมีบาตรแตกเพียง
เล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง
ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมาก
สมัยนั้น นายช่างหม้อมัวทำบาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลายอยู่อย่างนั้น จน
ไม่สามารถค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบาก
ไปด้วย พวกชาวบ้านจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมากเล่า นายช่างหม้อมัวทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท พระบัญญัติ
บาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลาย จนไม่สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หา
เลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบากไปด้วย”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีบาตรแตกเพียง
เล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง
ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมากเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอมีบาตรแตกเพียง
เล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง ก็
ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมาก จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอทั้งที่มีบาตรแตกเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง
บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมากเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อม
ใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๑๒] ก็ ภิกษุใดมีบาตรที่มีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง๑ ขอบาตรใหม่
ใบอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุนั้นพึงสละบาตรใบนั้นในภิกษุบริษัท
บาตรใบสุดท้ายอันภิกษุบริษัทนั้นพึงมอบให้ภิกษุนั้นด้วยสั่งว่า “ภิกษุ บาตรนี้
เป็นของเธอ พึงใช้จนกว่าจะแตก” นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อูนปญฺจพนฺธเนน มีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง คือบาตรร้าวแล้วใช้เหล็กเจาะบาตรแล้วเอาเชือกด้าย
หรือลวดเย็บผูกแล้วอุดด้วยดีบุกหรือยาง (วิ.อ. ๒/๖๑๒-๓/๒๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๖๑๓] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
บาตรที่ชื่อว่า มีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง คือ บาตรไม่มีรอยซ่อม หรือ
มีรอยซ่อมเพียง ๑ แห่ง มีรอยซ่อมเพียง ๒ แห่ง มีรอยซ่อมเพียง ๓ แห่ง มีรอย
ซ่อมเพียง ๔ แห่ง
บาตรที่ชื่อว่า ไม่มีรอยซ่อม ได้แก่ บาตรไม่มีรอยร้าวถึง ๒ นิ้ว
บาตรที่ชื่อว่า มีรอยซ่อม ได้แก่ บาตรมีรอยร้าวยาว ๒ นิ้ว
บาตรที่ชื่อว่า ใหม่ พระผู้มีพระภาคตรัสมุ่งเอาการออกปากขอมา
คำว่า ขอ คือ ออกปากขอ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม บาตรเป็น
นิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละในท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทุกรูปพึงถือบาตรที่อธิษฐานไปประชุม ไม่ควรอธิษฐานบาตรคุณภาพไม่ดี
ด้วยคิดว่า “เราจะเอาบาตรมีค่ามาก” ถ้าอธิษฐานบาตรคุณภาพไม่ดีด้วยคิดว่า “เรา
จะเอาบาตรมีค่ามาก” ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมมีบาตรมี
รอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง ขอบาตรใบนี้มา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ
๕ อย่างให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คุณสมบัติของภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร ๕ อย่าง
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักวิธีว่าเป็นอันเปลี่ยนหรือไม่เป็นอันเปลี่ยน
วิธีแต่งตั้งภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร และกรรมวาจาแต่งตั้ง
สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือเบื้องต้น พึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๖๑๔] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงสมมติภิกษุนี้
ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๖๑๕] ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งพึงให้เปลี่ยนบาตร พึงเรียนพระเถระว่า “ท่าน
ผู้เจริญ ท่านจงเปลี่ยนบาตร” ถ้าพระเถระเปลี่ยน ก็พึงถวายบาตรของพระเถระให้
พระเถระรูปที่ ๒ เปลี่ยน ภิกษุจะไม่เปลี่ยนเพราะความสงสารเธอไม่ได้ ภิกษุใดไม่
ยอมเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ควรให้ภิกษุผู้ไม่มีบาตรเปลี่ยน ควรให้เปลี่ยนเลื่อน
ลงมาโดยวิธีนี้จนถึงภิกษุใหม่ในสงฆ์ บาตรใบสุดท้ายท่ามกลางสงฆ์ควรมอบแก่ภิกษุ
นั้นด้วยสั่งว่า “บาตรนี้เป็นของเธอ พึงใช้จนกว่าจะแตก”
ภิกษุนั้นไม่ควรเก็บบาตรไว้ในที่ไม่ควร ไม่ควรใช้สอยโดยวิธีไม่เหมาะ และไม่
ควรทอดทิ้งโดยคิดว่า ‘ทำอย่างไรบาตรใบนี้จะหาย ฉิบหายหรือแตก’ ถ้าเธอเก็บไว้
ในที่ที่ไม่เหมาะ ใช้สอยไม่ถูกวิธีหรือปล่อยทิ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ
คำว่า นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
บาตรที่ไม่มีรอยซ่อม
[๖๑๖] ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่ไม่มีรอยซ่อม
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ... บาตรที่มีที่ซ่อม
๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีที่ซ่อม
๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม
๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย
ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม
๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย
ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม
๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย
ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม
๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย
ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม
ภิกษุมีบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรมีรอยซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่
ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรที่มี
ที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๑
แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่
ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรไม่มีรอยซ่อม ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๑
แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่
ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์
บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรไม่มีรอยซ่อม ...บาตรมีรอยซ่อม ๑
แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่
ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๑
แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย
ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่ไม่มีที่ซ่อม
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรมีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม
ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๑
แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๒
แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๓
แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๔
แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๑๗] ๑. ภิกษุมีบาตรสูญหาย
๒. ภิกษุมีบาตรแตก
๓. ภิกษุขอจากญาติ
๔. ภิกษุขอจากผู้ปวารณา
๕. ภิกษุขอเพื่อภิกษุอื่น
๖. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
อูนปัญจพันธนสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค
๓. เภสัชชสิกขาบท
ว่าด้วยเภสัช
เรื่องพระปิลินทวัจฉะ
[๖๑๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะประสงค์จะทำ
ที่เร้นจึงให้ภิกษุทั้งหลายทำความสะอาดเงื้อมเขาในกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึงที่พัก ครั้นถึงแล้ว
ได้ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐผู้ประทับ
นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระปิลินทวัจฉะว่า “พระคุณเจ้าให้ภิกษุ
ทั้งหลายทำอะไร”
“ขอถวายพระพร อาตมภาพประสงค์จะทำที่เร้นจึงให้ภิกษุทั้งหลายทำความ
สะอาดเงื้อมเขา”
“พระคุณเจ้าต้องการคนวัดบ้างไหม”
“ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มีคนวัด”
“ถ้าเช่นนั้น พระคุณเจ้าพึงทูลถามพระผู้มีพระภาคแล้วบอกโยมด้วย”
ท่านพระปิลินทวัจฉะทูลสนองพระดำรัสว่า “ขอถวายพระพร อาตมภาพจะทำ
อย่างนั้น” สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะได้ชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้
สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา จากนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐซึ่งท่าน
พระปิลินทวัจฉะได้ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้เสด็จลุกจากราชอาสน์
ทรงอภิวาทพระเถระ ทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
ทรงอนุญาตให้มีคนทำงานวัด
[๖๑๙] สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะส่งทูตไปยังสำนักพระผู้มีพระภาค ให้
กราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐมีพระราชประสงค์จะ
ทรงถวายคนวัด ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค
รับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า “เราอนุญาตให้มีคนวัด” แม้ครั้งที่ ๒ พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
เสด็จเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้ทรงอภิวาทท่านพระ
ปิลินทวัจฉะแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐผู้ประทับ
นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระปิลินทวัจฉะว่า “พระคุณเจ้า พระผู้มีพระ
ภาคทรงอนุญาตให้มีคนวัดแล้วหรือ”
“ขอถวายพระพร ทรงอนุญาตแล้ว”
“ถ้าเช่นนั้น โยมจะถวายคนวัดแก่พระคุณเจ้า”
ท้าวเธอทรงให้สัญญาที่จะถวายคนวัดแก่พระเถระแต่ทรงลืม เมื่อเวลาผ่านไป
นานทรงระลึกได้ ตรัสถามมหาอมาตย์ผู้สนองราชกิจคนหนึ่งว่า “เราถวายคนวัด
ที่ให้สัญญาไว้แก่พระคุณเจ้าแล้วหรือ”
มหาอมาตย์กราบทูลว่า “ขอเดชะ ยังไม่ได้ถวายคนวัดแก่พระคุณเจ้าเลย”
“ผ่านมากี่วันแล้ว”
มหาอมาตย์นับราตรีแล้วกราบทูลว่า “ขอเดชะ ผ่านมา ๕๐๐ ราตรี” พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐรับสั่งว่า “ถ้าอย่างนั้น จงถวายคนวัด ๕๐๐ คน แก่พระคุณ
เจ้า” มหาอมาตย์รับพระราชโองการแล้วจัดคนวัดไปถวายท่านพระปิลินทวัจฉะ
จำนวน ๕๐๐ คน ตั้งหมู่บ้านขึ้น มาต่างหากมีชื่อเรียกว่าอารามิกคามบ้าง
ปิลินทวัจฉคามบ้าง
[๖๒๐] สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะเป็นพระประจำตระกูลในหมู่บ้านนั้น
เช้าวันหนึ่ง ท่านทรงอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านปิลินทวัจฉะ
สมัยนั้น ในหมู่บ้านนั้นกำลังมีมหรสพ พวกเด็กหญิงแต่งกายประดับดอกไม้เล่นอยู่
พอดีท่านพระปิลินทวัจฉะเที่ยวบิณฑบาตมาตามลำดับในหมู่บ้านปิลินทวัจฉะ มาถึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
เรือนคนวัดคนหนึ่ง ครั้นถึงแล้วได้นั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ขณะนั้น ธิดาของสตรี
คนวัดเห็นพวกเด็กอื่นแต่งกายประดับดอกไม้จึงร้องไห้ ขอว่า “พ่อแม่โปรดให้
ดอกไม้ โปรดให้เครื่องประดับแก่หนู” พระเถระถามสตรีนั้นว่า “เด็กคนนี้อยากได้
อะไร” นางตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เด็กคนนี้เห็นพวกเด็กอื่นแต่งกายประดับดอกไม้จึง
ร้องไห้ ขอพวงดอกไม้และเครื่องประดับว่า ‘พ่อแม่โปรดให้ดอกไม้ โปรดให้เครื่อง
ประดับแก่หนู’ เราคนจนจะได้ดอกไม้และเครื่องประดับมาจากไหนกัน”
ท่านพระปิลินทวัจฉะจึงหยิบเสวียนหญ้า๑ อันหนึ่งส่งให้พลางกล่าวว่า “ท่านจง
สวมเสวียนหญ้าอันนี้ที่ศีรษะเด็กหญิงนั้น” หญิงคนวัดหยิบเสวียนหญ้าสวมที่ศีรษะ
เด็กหญิง เสวียนหญ้ากลายเป็นพวงดอกไม้ทองคำงดงามน่าดูน่าชม พวงดอกไม้
ทองคำอย่างนี้แม้ในพระราชฐานก็ยังไม่มี พวกชาวบ้านกราบทูลพระเจ้าพิมพิสารว่า
“ขอเดชะ ที่เรือนคนวัดโน้นมีพวงดอกไม้ทองคำงดงามน่าดูน่าชม พวงดอกไม้ทองคำ
อย่างนี้แม้ในพระราชฐานก็ยังไม่มี เขาเป็นคนเข็ญใจจะได้มาจากไหน ชะรอยจะได้
มาเพราะทำโจรกรรมเป็นแน่แท้” พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้จองจำตระกูลคนวัดนั้น
ต่อมา เช้าวันที่ ๒ ท่านพระปิลินทวัจฉะทรงอันตรวาสกถือบาตรและจีวรไป
บิณฑบาตที่ปิลินทวัจฉคามอีก เมื่อเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับในหมู่บ้านปิลินท
วัจฉะ เดินผ่านไปทางที่อยู่คนวัดคนนั้น ถามคนคุ้นเคยว่า “ครอบครัวคนวัดนี้ไปไหน”
ชาวบ้านตอบว่า “ครอบครัวนี้ถูกจองจำเพราะเรื่องพวงดอกไม้ทองคำ เจ้าข้า”
[๖๒๑] สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะเข้าไปถึงพระราชนิเวศน์ของพระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ครั้นถึงแล้วได้นั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ลำดับนั้น พระ
เจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐเสด็จเข้าไปหาพระเถระจนถึงที่นั่ง ทรงอภิวาทแล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระปิลินทวัจฉะทูลถามพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธ
รัฐว่า “ขอถวายพระพร ครอบครัวคนวัดถูกจองจำเพราะเรื่องอะไร” พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “ที่บ้าน เขามีพวงดอกไม้ทองคำงดงามน่าดูน่าชม
พวงดอกไม้ทองคำอย่างนี้แม้ในวังก็ยังไม่มี เขาเป็นคนจนจะได้มาจากไหน ชะรอยจะ

เชิงอรรถ :
๑ “เสวียน” คือของเป็นวงกลมสำหรับรองก้นหม้อ ทำด้วยหญ้าหรือหวายเป็นต้น, ของที่ทำเป็นวงกลม
สำหรับรองหรือรับสิ่งต่าง ๆ ดู พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕, หน้า ๘๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
ได้มาเพราะทำโจรกรรมเป็นแน่แท้” ทีนั้นท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานให้
ปราสาทของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐเป็นทองคำ ปราสาทกลายเป็นทองคำไ
ปทั้งหลัง แล้วท่านก็ถวายพระพรว่า “ทองคำมากมาย มหาบพิตรได้มาจากไหน”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “โยมทราบแล้ว นี่เป็นฤทธานุภาพของพระ
คุณเจ้า” แล้วรับสั่งให้ปล่อยครอบครัวนั้น พวกชาวบ้านทราบข่าวว่า “พระคุณเจ้า
ปิลินทวัจฉะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นอุตตริมนุสสธรรมในท่ามกลางราชบริษัท”
พากันพอใจเลื่อมใสนำเภสัช ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยมาถวาย
ตามปกติท่านพระปิลินทวัจฉะก็ได้เภสัช ๕ อยู่เสมอ ท่านจึงแบ่งเภสัชให้บริษัทของ
ท่าน แต่บริษัทของท่านมักมาก บรรจุเภสัชที่ได้มาแล้ว ๆ ไว้ในตุ่มบ้าง ในหม้อน้ำบ้าง
จนเต็มแล้วเก็บไว้บรรจุลงในหม้อกรองน้ำบ้าง ในถุงย่ามบ้าง แล้วแขวนไว้ที่หน้าต่าง
เภสัชเหล่านั้นไหลเยิ้มซึม จึงมีสัตว์จำพวกหนู ชุกชุมทั่ววิหาร พวกชาวบ้านเที่ยวไป
วิหารพบเข้าจึงพากันตำหนิประณาม โพนทะนาว่า “พวกพระสมณะเชื้อสายศากย
บุตรเหล่านี้มีเรือนคลังเก็บของเหมือนพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ” พวกภิกษุ
ได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงคิดเพื่อความมักมากเช่นนี้เล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุคิดเพื่อความมักมาก
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงคิดเพื่อความมักมาก
เล่า การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใส
อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๖๒๒] ก็ เภสัชใดควรลิ้มสำหรับภิกษุผู้เป็นไข้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุรับประเคนเภสัชนั้นแล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างมาก
ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระปิลินทวัจฉะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๒๓] คำว่า เภสัชใดควรลิ้มสำหรับภิกษุผู้เป็นไข้ มีอธิบายดังนี้
ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสทำจากน้ำนมโคบ้าง เนยใสทำจากน้ำนมแพะบ้าง
เนยใสทำจากน้ำนมกระบือบ้าง หรือเนยใสทำจากน้ำนมสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ
ที่ชื่อว่า เนยข้น ได้แก่ เนยข้นทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้นแหละ
ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดงา น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดผักกาด
น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดมะซาง น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดละหุ่ง หรือน้ำมันไขสัตว์
ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่ น้ำรสหวานที่แมลงผึ้งทำ
ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ น้ำรสหวานที่เกิดจากอ้อย
คำว่า ภิกษุรับประเคนเภสัชนั้นแล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างมาก คือ
ภิกษุพึงฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างมาก
คำว่า ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ความว่า เมื่อรุ่ง
อรุณวันที่ ๘ เภสัชนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่
บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละเภสัชที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละเภสัชที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ เภสัชของกระผมนี้เ
กินกำหนด ๗ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละเภสัชนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดง
อาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนเภสัชที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เภสัชของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ เภสัช
ของกระผมนี้เกินกำหนด ๗ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละเภสัชนี้แก่ท่านทั้งหลาย”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนเภสัชที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า เภสัชของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ เภสัชของกระผมนี้เกินกำหนด ๗
วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละเภสัชนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนเภสัชที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนเภสัชนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๒๔] เภสัชที่เกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชเกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชเกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าได้สละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงไปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชที่สละแล้ว ภิกษุได้คืนมา ไม่พึงใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับร่างกายและไม่ควร
ฉัน พึงน้อมเข้าไปในการตามประทีปหรือการผสมสี ภิกษุอื่นจะใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับ
ร่างกายก็ได้ แต่ไม่ควรฉัน
ทุกทุกกฏ
เภสัชยังไม่เกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ
เภสัชยังไม่เกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
เภสัชยังไม่เกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๒๕] ๑. ภิกษุอธิษฐานภายใน ๗ วัน
๒. ภิกษุสละให้ไป
๓. ภิกษุผู้มีเภสัชสูญหายภายใน ๗ วัน
๔. ภิกษุผู้มีเภสัชฉิบหายภายใน ๗ วัน
๕. ภิกษุผู้มีเภสัชถูกไฟไหม้ภายใน ๗ วัน
๖. ภิกษุผู้มีเภสัชถูกโจรชิงไปภายใน ๗ วัน
๗. ภิกษุผู้มีเภสัชถูกถือเอาไปโดยวิสาสะภายใน ๗ วัน
๘. ภิกษุผู้ไม่เยื่อใย ให้แก่อนุปสัมบันด้วยจิตสละละวางแล้วกลับได้
ของนั้นมาฉันอีก
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญติ
เภสัชชสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๔.วัสสิกสาฏิกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค
๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท
ว่าด้วยผ้าอาบน้ำฝน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้า
อาบน้ำฝนแก่ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรง
อนุญาตผ้าอาบน้ำฝน จึงแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งก่อนบ้าง เมื่อผ้า
อาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วจึงเปลือยกายอาบน้ำฝน บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ
พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงแสวงหาผ้าอาบน้ำ
ฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งล่วงหน้าก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วจึงเปลือย
กายอาบน้ำฝนเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสวงหาผ้าอาบ
น้ำฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วได้เปลือยกาย
อาบน้ำฝน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงแสวงหาผ้าอาบน้ำ
ฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งล่วงหน้าก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วได้เปลือย
กายอาบน้ำฝนเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๔.วัสสิกสาฏิกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๖๒๗] ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน” พึงแสวงหาจีวรคือผ้า
อาบน้ำฝนได้ รู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน” พึงทำนุ่งได้ ถ้ารู้ว่า “ยังไม่ถึง
เดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” พึงแสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน รู้ว่า “ยังไม่ถึงกึ่ง
เดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” พึงทำนุ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๒๘] คำว่า ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน” พึงแสวงหาจีวรคือ
ผ้าอาบน้ำฝนได้ อธิบายว่า ภิกษุเข้าไปหาพวกชาวบ้านที่เคยถวายผ้าอาบน้ำฝนพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า “ถึงเวลาผ้าอาบน้ำฝนแล้ว ถึงคราวผ้าอาบน้ำฝนแล้ว พวกชาวบ้าน
แม้อื่นก็พากันถวายผ้าอาบน้ำฝน” แต่ไม่ควรกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงถวายผ้า
อาบน้ำฝนแก่อาตมา จงนำผ้าอาบน้ำฝนมาให้อาตมา จงแลกเปลี่ยนผ้าอาบน้ำฝน
มาให้อาตมา จงซื้อผ้าอาบน้ำฝนมาให้อาตมา”
คำว่า รู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน” พึงทำนุ่งได้ คือ เมื่อฤดูร้อนยัง
เหลืออยู่กึ่งเดือน ภิกษุพึงทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่งได้
คำว่า ถ้ารู้ว่า “ยังไม่ถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” คือ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือ
เกินกว่า ๑ เดือน ภิกษุแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คำว่า รู้ว่า “ยังไม่ถึงกึ่งเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” คือ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือ
เกินกว่ากึ่งเดือน ภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่ง เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่
สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละผ้าอาบน้ำฝนที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๔.วัสสิกสาฏิกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละผ้าอาบน้ำฝนที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้
เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน กระผมแสวงหาแล้ว เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกิน
กว่ากึ่งเดือน ทำนุ่งแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนผ้าอาบน้ำฝนที่เธอสละให้ด้วย
ญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้าอาบน้ำฝนของภิกษุชื่อนี้
เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่
ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอาบ
น้ำฝนผืนนี้ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน กระผมแสวงหาแล้ว เมื่อฤดูร้อน
ยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน ทำนุ่งแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่
ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนผ้าอาบน้ำฝนที่เธอสละให้ด้วยกล่าว
ว่า “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ผ้าอาบน้ำฝนของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่
ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ เมื่อฤดูร้อนยัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๔.วัสสิกสาฏิกสิกขาบท บทภาชนีย์
เหลือเกินกว่า ๑ เดือน กระผมแสวงหาแล้ว เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน
ทำนุ่งแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้ว
พึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนผ้าอาบน้ำฝนที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“กระผมคืนผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๒๙] ฤดูร้อนยังเหลือเกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน แสวงหาผ้าอาบ
น้ำฝน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกิน ๑ เดือน ภิกษุไม่แน่ใจ แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกินกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ทำนุ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกินกึ่งเดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ทำนุ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกินกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ทำนุ่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกกฏ
เมื่อมีผ้าอาบน้ำฝน ภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝน ต้องอาบัติทุกกฏ
ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๔.วัสสิกสาฏิกสิกขาบท อนาปัตติวาร
ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ
ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ
ฤดูร้อนที่ยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๓๐] ๑. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน” แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน
๒. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน” ทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่ง
๓. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน” แสวงหาผ้าอาบ
น้ำฝน
๔. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน” ทำผ้าอาบน้ำฝน
นุ่ง เมื่อภิกษุแสวงหาได้ผ้าอาบน้ำฝนแล้ว ฤดูฝนเลื่อนออกไป
เมื่อภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่งแล้ว ฤดูฝนเลื่อนออกไป ควรซัก
เก็บไว้ พึงนุ่งในสมัย
๕. ภิกษุถูกโจรชิงจีวรไป
๖. ภิกษุจีวรสูญหาย
๗. ภิกษุผู้ตกอยู่ในอันตราย
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ
วัสสิกสาฏิกสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๕.จีวรอัจฉินทนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค
๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท
ว่าด้วยการให้จีวรแล้วชิงเอาคืน
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๖๓๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
กล่าวชักชวนสัทธิวิหาริกของภิกษุผู้เป็นพี่ชายว่า “มานี่เถิด ท่าน พวกเราจักไปเที่ยว
ชนบทด้วยกัน” ภิกษุนั้นกล่าวตอบว่า “กระผมไม่ไป กระผมมีจีวรชำรุด” ท่านพระ
อุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ไปเถิด ท่าน ผมจะถวายจีวรแก่ท่าน” แล้วถวายจีวรแก่
ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า “พระผู้มีพระภาคจักเสด็จจาริกไปในชนบท” ทีนั้น
ท่านได้มีความคิดว่า ‘บัดนี้เราจักไม่ไปเที่ยวชนบทกับท่านพระอุปนันทศากยบุตร
แต่จะไปเที่ยวชนบทกับพระผู้มีพระภาค’ ครั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวชัก
ชวนภิกษุนั้นว่า “มาเถิด ท่าน บัดนี้พวกเราจะไปเที่ยวชนบทด้วยกัน” ภิกษุนั้นปฏิเสธ
ว่า “กระผมไม่ไปเที่ยวชนบทกับท่านล่ะ กระผมจะไปเที่ยวชนบทกับพระผู้มีพระภาค”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “เราถวายจีวรท่านเพราะตั้งใจว่า ‘จะไปเที่ยว
ชนบทด้วยกัน” จึงโกรธ ไม่พอใจ ชิงจีวรคืน
ต่อมา ภิกษุนั้นได้เล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรให้
จีวรภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมาเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอให้จีวรภิกษุเองแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๕.จีวรอัจฉินทนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
โกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมา จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอให้
จีวรภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมาเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๓๒] ก็ ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามาหรือใช้
ให้ชิงเอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๓๓] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุรูปอื่น
คำว่า เอง คือ ให้ด้วยตนเอง
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะวิกัป
ได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า ชิงเอามา คือ ยื้อแย่งเอามาด้วยตนเอง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์
คำว่า ใช้ให้ชิงเอามา คือ สั่งผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่ชิงเอามาหลายครั้ง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็น
ของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๕.จีวรอัจฉินทนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผม
ให้ภิกษุเองแล้วชิงคืนมา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้ว
พึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืน
นี้กระผมให้ภิกษุเองแล้วชิงคืนมา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมให้ภิกษุเองแล้วชิง
คืนมา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๕.จีวรอัจฉินทนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๓๔] อุปสัมบัน๑ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้จีวรเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ
ชิงเอามาหรือใช้ให้ชิงเอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ให้จีวรเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามาหรือใช้ให้ชิง
เอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้จีวรเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิง
เอามาหรือใช้ให้ชิงเอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุให้บริขารอย่างอื่นแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามาหรือใช้ให้ชิงเอามา ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ภิกษุให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อนุปสัมบันแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามา
หรือใช้ให้ชิงเอามา ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๓๕] ๑. ภิกษุผู้เป็นเจ้าของเดิมรับจีวรที่เขาให้คืนเอง หรือถือเอาโดย
วิสาสะกับภิกษุผู้รับไป
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
จีวรอัจฉินทนสิกขาบทที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อุปสัมบัน ผู้ได้รับอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว หมายถึงภิกษุ (วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๖.สุตตวิญญัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค
๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท
ว่าด้วยการออกปากขอด้าย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น เมื่อถึงคราวทำจีวร พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ออกปากขอด้ายมาเป็นอันมาก ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ด้ายเหลืออยู่เป็นอันมาก ทีนั้น
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้มีความคิดว่า “เอาเถิด พวกเราจะออกปากขอด้ายอื่นมาใช้
ช่างหูกให้ทอจีวร” ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ไปขอด้ายเป็นอันมากมาใช้ช่างหูก
ทอจีวร เมื่อทอจีวรแล้ว ด้ายก็ยังเหลืออีกมาก แม้ครั้งที่ ๒ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้
ไปออกปากขอด้ายอื่นอีกเป็นอันมากมาใช้ช่างหูกให้ทอจีวร เมื่อทอจีวรแล้ว ด้ายก็
ยังเหลืออยู่มาก แม้ครั้งที่ ๓ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ไปขอด้ายอื่นอีกเป็นอันมากมา
ให้ช่างหูกทอจีวร
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อ
สายศากยบุตรจึงออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวรเล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงออกปากขอ
ด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวรเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอออกปากขอด้าย
มาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวร จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๖.สุตตวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวรเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๓๗] ก็ ภิกษุใดออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวร ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๓๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า เอง คือ ออกปากขอเขามาด้วยตนเอง
ที่ชื่อว่า ด้าย ได้แก่ ด้าย ๖ ชนิด คือ (๑) ด้ายที่ทำด้วยเปลือกไม้ (๒) ด้าย
ที่ทำด้วยฝ้าย (๓) ด้ายที่ทำด้วยไหม (๔) ด้ายที่ทำด้วยขนสัตว์ (๕) ด้ายที่ทำด้วย
ป่าน (๖) ด้ายที่ทำด้วยวัตถุทั้ง ๕ ชนิดผสมกัน
คำว่า ช่างหูก คือ ใช้ช่างหูกให้ทอ
ต้องอาบัติทุกกฏทุกขณะที่พยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของ
จำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๖.สุตตวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของ
กระผมออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกทอ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์
ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
กระผมออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืน
นี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมออกปากขอด้าย
มาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๖.สุตตวิญญัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๓๙] จีวรที่ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าใช้เขาให้ทอ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
จีวรที่ใช้เขาให้ทอ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
จีวรที่ไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าใช้เขาให้ทอ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๔๐] ๑. ภิกษุขอด้ายมาเย็บจีวร
๒. ภิกษุขอด้ายมาทำผ้ารัดเข่า
๓. ภิกษุขอด้ายมาทำประคดเอว
๔. ภิกษุขอด้ายมาทำผ้าอังสะ
๕. ภิกษุขอด้ายมาทำถุงบาตร
๖. ภิกษุขอด้ายมาทำผ้ากรองน้ำ
๗. ภิกษุขอจากญาติ
๘. ภิกษุขอจากคนปวารณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๖.สุตตวิญญัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร
๙. ภิกษุขอเพื่อภิกษุอื่น
๑๐. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน
๑๑. ภิกษุวิกลจริต
๑๒. ภิกษุต้นบัญญัติ
สุตตวิญญัตติสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค
๗. มหาเปสการสิกขาบท
ว่าด้วยการสั่งช่างหูกทอจีวร
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๖๔๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ชายคนหนึ่งจะไปค้างคืนต่างถิ่น
กล่าวกับภรรยาว่า “เธอจงกะด้ายแล้วมอบให้ช่างหูกชื่อโน้น ขอให้เขาทอจีวรเก็บไว้
ฉันกลับมาแล้วจะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร”
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณทบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งได้ยินชายคนนั้นกล่าว จึงเข้าไปหา
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวว่า “ท่านอุปนันทะ ท่านมี
บุญมาก ชายคนหนึ่งในที่โน้นเมื่อจะไปค้างคืนต่างถิ่น กล่าวกับภรรยาว่า ‘เธอจง
กะด้ายแล้วมอบให้ช่างหูกชื่อโน้น ขอให้เขาทอจีวรเก็บไว้ ฉันกลับมาแล้วจะนิมนต์
พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ใช่ ขอรับ เขาเป็นอุปัฏฐากของกระผม”
แม้ช่างหูกนั้นก็เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันทศากยบุตร ต่อมา ท่านพระ
อุปนันทศากยบุตรได้เข้าไปหาช่างหูกนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับช่างหูกว่า
“จีวรผืนนี้เขาให้ท่านทอเจาะจงอาตมา ท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง ให้เนื้อแน่น ขึงให้ดี
ทอให้ดี สางให้ดี และกรีดให้ดี”
ช่างหูกกล่าวว่า “พระคุณเจ้า เขากะด้ายส่งมาให้เท่านี้ ทั้งสั่งกำชับว่า จงเอา
ด้ายนี้ทอจีวร’ กระผมไม่สามารถจะทำให้ยาว ให้กว้าง หรือให้เนื้อแน่นได้ แต่จะขึง
ให้ดี ทอให้ดี สางให้ดี และกรีดให้ดีได้ ขอรับ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “เอาเถอะ ท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง และ
ให้เนื้อแน่นเถิด ไม่ต้องกังวลเรื่องด้าย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท นิทานวัตถุ
ครั้นช่างหูกนำด้ายตามที่เขาส่งมาเข้าเครื่องทอ จึงเข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่
ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับหญิงนั้นว่า “กระผมต้องการด้าย ขอรับ”
หญิงนั้นกล่าวว่า “ดิฉันสั่งคุณแล้วมิใช่หรือว่า ‘จงเอาด้ายนี้ทอจีวร”
ช่างหูกตอบว่า “จริง ขอรับแม่เจ้า ท่านสั่งกระผมว่า ‘จงเอาด้ายนี้ทอจีวร’ แต่
พระคุณเจ้าอุปนันทศากยบุตรกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เอาเถอะ ท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง
และให้เนื้อแน่น ไม่ต้องกังวลเรื่องด้าย” หญิงนั้นจึงให้ด้ายเพิ่มเท่ากับที่ให้คราวแรก
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทราบว่า “ชายคนนั้นกลับมาจากการค้างคืน
ต่างถิ่น” จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วจึงนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ ชายนั้นเข้าไป
หาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่นั่ง ครั้นถึงแล้วจึงไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ถาม
ภรรยาว่า “จีวรทอเสร็จแล้วหรือ” ภรรยาตอบว่า “เสร็จแล้ว” เขาสั่งว่า “เธอจงนำ
มา ฉันจะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทศากยบุตรให้ครองจีวร” ภรรยานำจีวรผืนนั้น
ออกมาให้สามีแล้วเล่าเรื่องให้ทราบ ชายนั้นถวายจีวรนั้นแก่ท่านพระอุปนันทศากย
บุตรแล้วตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้มักมาก
ไม่สันโดษ จะนิมนต์ให้ครองจีวร มิใช่จะทำได้ง่าย ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันทศากยบุตร
ที่เราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงเข้าไปหาช่างหูกแล้วกำหนดจีวรเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรที่เขาไม่ได้
ปวารณาไว้ก่อน จึงเข้าไปหาช่างหูกแล้วกำหนดจีวรเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิ
ท่านอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
แต่เธอเข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์แล้วกำหนดจีวร จริงหรือ” ท่านพระ
อุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
“อุปนันทะ เขาเป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลตอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ คฤหัสถ์ผู้
ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ของที่มีอยู่หรือไม่มีของผู้ไม่ใช่
ญาติ เธอนั้น๑ ซึ่งเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่
ญาติแล้ว กำหนดจีวรเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๔๒] ก็ คฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติ สั่งช่างหูกให้ทอจีวร
เจาะจงภิกษุ ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกแล้วกำหนด
ชนิดจีวรในสำนักของเขาว่า “ท่าน จีวรผืนนี้เขาให้ทอเจาะจงอาตมา ท่านจง
ทำให้ยาว ท่านจงทำให้กว้าง ให้เนื้อแน่น ขึงให้ดี ทอให้ดี สางให้ดี และกรีดให้ดี
เอาเถอะ อาตมาจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน” ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
ถ้าภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัล โดยที่สุดแม้แต่อาหารบิณฑบาต ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๔๓] คำว่า ก็...เจาะจงภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ มุ่ง
เฉพาะภิกษุ ปรารถนาจะให้ภิกษุครองจีวร
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ชาย ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือน

เชิงอรรถ :
๑ ตตฺถ เธอนั้นนี้เป็น ปจฺจตฺตกตฺวตฺถ คือมีอรรถเป็นกัตตา ผู้กระทำ ปฐมาวิภัตติ (ตตฺถ นาม ตฺวนฺติ
โส นาม ตฺวํ - วิมติ. ฏีกา ๑/๕๐๓-๕/๔๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์หญิง ได้แก่ สตรีผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า ช่างหูก ได้แก่ คนทอผ้า
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะทำวิกัป
ได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า สั่ง...ให้ทอ คือ ใช้ให้ทอ
คำว่า ถ้าภิกษุนั้น...ในสำนักของเขา ได้แก่ ภิกษุที่เขาสั่งให้ช่างหูกทอจีวร
เจาะจง
คำว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ ทายกไม่ได้กล่าวไว้ก่อนว่า “ท่านผู้เจริญ
ท่านต้องการจีวรชนิดไหน กระผมจะให้ทอจีวรชนิดไหนถวายท่าน”
คำว่า เข้าไปหาช่างหูก คือ ไปถึงเรือนแล้วเข้าไปหาที่ใดที่หนึ่ง
คำว่า กำหนดชนิดจีวร คือ กำหนดว่า “จีวรผืนนี้ทอเจาะจงอาตมา ท่าน
จงทำให้ยาว ให้กว้าง ให้เนื้อแน่น ขึงให้ดี ทอให้ดี สางให้ดี และกรีดให้ดี เอาเถอะ
อาตมาจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน”
คำว่า ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ถ้าภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลโดยที่สุด
แม้แต่อาหารบิณฑบาต มีความว่า ที่ชื่อว่าบิณฑบาต ได้แก่ ข้าวต้ม ข้าวสวย
ของเคี้ยว ก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน หรือด้ายชายผ้า โดยที่สุดกระทั่งกล่าวธรรม
ช่างหูกทำให้ยาว ให้กว้าง ให้เนื้อแน่นตามคำภิกษุ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะ
พยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละจีวรแก่สงฆ์ แก่คณะ
หรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ
ผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้เขา
ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิด
จีวร เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนด
ชนิดจีวร เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึง
แสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
กระผมเข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิดจีวร เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๔๔] คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้
ก่อน เข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์กำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูก
ของคฤหัสถ์กำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท อนาปัตติวาร
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไป
หาช่างหูกของคฤหัสถ์กำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ไม่ต้อง
อาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๔๕] ๑. ภิกษุกำหนดชนิดจีวรกับช่างหูกของญาติ
๒. ภิกษุกำหนดชนิดจีวรกับช่างหูกของคนปวารณา
๓. ภิกษุกำหนดชนิดจีวรเพื่อภิกษุอื่น
๔. ภิกษุกำหนดชนิดจีวรด้วยทรัพย์ของตน
๕. คฤหัสถ์จะให้ทอจีวรราคาแพงแต่ภิกษุให้ทอจีวรราคาถูก
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญติ
มหาเปสการสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค
๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท
ว่าด้วยอัจเจกจีวร
เรื่องมหาอมาตย์ถวายผ้าจำนำพรรษา
[๖๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น มหาอมาตย์คนหนึ่งจะไปค้างคืน
ต่างถิ่น ส่งทูตไปหาภิกษุว่า “ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายมาเถิด กระผมจะถวายผ้าจำนำ
พรรษา๑” ภิกษุทั้งหลายรังเกียจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าจำนำพรรษาแก่
ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา” จึงไม่ไป
มหาอมาตย์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ทำไมพระคุณเจ้าทั้งหลายเมื่อเรา
ส่งทูตไปจึงไม่มาเล่า เราจะเดินทางไปรบ จะเป็นจะตายก็ยากจะรู้ได้”
พวกภิกษุได้ทราบข่าวที่มหาอมาตย์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตอัจเจกจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับอัจเจกจีวร๒ เก็บไว้ได้”
[๖๔๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้รับ
อัจเจกจีวรเก็บไว้ได้” จึงรับอัจเจกจีวรเก็บไว้จนเกินสมัยจีวรกาล จีวรเหล่านั้นภิกษุ
ห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง
ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามเสนาสนะเห็นจีวรเหล่านั้นแขวนอยู่ที่สาย
ระเดียง จึงกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “จีวรเหล่านี้ของใครแขวนไว้ที่สายระเดียง”

เชิงอรรถ :
๑ ผ้าจำนำพรรษา คือผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาแล้ว (ดูข้อ ๖๔๙ หน้า ๑๖๙ ประกอบ)
๒ อัจเจกจีวร หมายถึงจีวรรีบร้อนหรือผ้าจำนำพรรษาที่ทายกผู้มีเหตุรีบร้อนขอถวายก่อนกำหนดเวลาปกติ
มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับเก็บไว้ได้ แต่ต้องรับก่อนวันปวารณาไม่เกิน ๑๐ วัน (ดูข้อ ๖๔๙ หน้า ๑๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท พระบัญญัติ
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “อัจเจกจีวรของพวกกระผม”
ท่านพระอานนท์ถามว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านเก็บจีวรเหล่านี้ไว้นานกี่
วันแล้ว” ภิกษุเหล่านั้นบอกพระอานนท์ตามที่ได้เก็บไว้
ท่านพระอานนท์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ทำไมภิกษุทั้งหลายรับอัจเจก
จีวรแล้วเก็บไว้จนเกินสมัยจีวรกาลเล่า” ครั้นพระอานนท์ตำหนิพวกภิกษุเหล่านั้น
โดยประการต่าง ๆ แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุรับอัจเจกจีวรเก็บไว้จนเกินสมัย
จีวรกาล จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงรับอัจเจกจีวรเก็บไว้จนเกิน
สมัยจีวรกาลเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๔๘] ก็ เมื่อยังเหลืออีก ๑๐ วันจึงจะถึงวันเพ็ญเดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวัน
ครบไตรมาส๑ อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุรู้อยู่ว่าเป็นอัจเจกจีวรพึงรับไว้
ครั้นรับไว้แล้วควรเก็บไว้ได้ชั่วสมัยที่เป็นจีวรกาล ถ้าเก็บไว้เกินกำหนดนั้น ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องมหาอมาตย์ถวายผ้าจำนำพรรษา จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันที่ครบ ๓ เดือน นับแต่วันเข้าพรรษา (ดูข้อ ๖๔๙ หน้า ๑๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๖๔๙] คำว่า เมื่อยังเหลืออีก ๑๐ วัน คือ อีก ๑๐ วันจะถึงวันปวารณา
คำว่า วันเพ็ญเดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันครบไตรมาส ท่านกล่าวหมายเอาวัน
ปวารณาเดือน ๑๑
ที่ชื่อว่า อัจเจกจีวร อธิบายว่า ผู้ประสงค์จะไปในกองทัพ ประสงค์จะไป
พักแรมต่างถิ่น เจ็บไข้ สตรีมีครรภ์ ผู้ไม่มีศรัทธาได้เกิดศรัทธาขึ้นหรือผู้ไม่เลื่อมใส
ได้เกิดความเลื่อมใสขึ้น ถ้าเขาส่งทูตไปถึงภิกษุว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายมา
เถิด ข้าพเจ้าจะถวายผ้าจำนำพรรษา” ผ้าเช่นนี้ชื่อว่าอัจเจกจีวร
คำว่า รู้อยู่ว่าเป็นอัจเจกจีวรพึงรับไว้ ครั้นรับไว้แล้วควรเก็บไว้ได้ชั่วสมัยที่
เป็นจีวรกาล คือ ภิกษุพึงทำเครื่องหมายว่า “นี้คืออัจเจกจีวร” แล้วเก็บไว้
ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นจีวรกาล คือ เมื่อยังไม่ได้กรานกฐินมีเวลาท้ายฤดูฝน ๑
เดือน เมื่อกรานกฐินแล้ว ขยายเวลาออกไปอีกเป็น ๕ เดือน
คำว่า ถ้าเก็บไว้เกินกำหนดนั้น คือ เมื่อไม่กรานกฐิน ให้เกินวันสุดท้ายฤดูฝน
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เมื่อได้กรานกฐินแล้วเก็บไว้เลยวันกฐินเดาะ เป็น
นิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละอัจเจกจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละอัจเจกจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้
กระผมทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอัจเจกจีวรผืนนี้แก่
สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนอัจเจกจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า อัจเจกจีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น
นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้อัจเจกจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้า
อัจเจกจีวรผืนนี้กระผมทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละ
อัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ ครั้นรับอาบัติแล้ว พึงคืนอัจเจกจีวรที่เธอ
สละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า อัจเจกจีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น
นิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้อัจเจกจีวร
ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้กระผมทำให้
เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติ แล้วคืนอัจเจกจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“กระผมคืนอัจเจกจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๕๐] อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าอัจเจกจีวร ทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
อัจเจกจีวร ภิกษุไม่แน่ใจ ทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อัจเจกจีวร ทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท อนาปัตติวาร
จีวรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ถูกโจรชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงไปแล้ว ให้เกินสมัยที่เป็น
จีวรกาล ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ภิกษุยังไม่ได้สละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าอัจเจกจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อัจเจกจีวร ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๕๑] ๑. ภิกษุอธิษฐานภายในเวลาที่กำหนด
๒. ภิกษุวิกัปไว้ภายในเวลาที่กำหนด
๓. ภิกษุสละให้ไปภายในเวลาที่กำหนด
๔. ภิกษุที่มีจีวรสูญหายภายในเวลาที่กำหนด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท อนาปัตติวาร
๕. ภิกษุที่มีจีวรฉิบหายภายในเวลาที่กำหนด
๖. ภิกษุที่มีจีวรถูกไฟไหม้
๗. ภิกษุที่มีจีวรถูกโจรชิงเอาไป
๘. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะ
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
อัจเจกจีวรสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค
๙. สาสังกสิกขาบท
ว่าด้วยเสนาสนะป่าที่น่าหวาดระแวง
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๖๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเมื่อออกพรรษา
ปวารณาแล้วยังอยู่ในเสนาสนะป่า กลุ่มกัตติกโจร๑ เข้าใจว่า “พวกภิกษุมีลาภ” จึง
เข้าปล้น พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตภิกษุให้เก็บจีวรไว้ในละแวกบ้าน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่าเก็บไตร
จีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้”
สมัยนั้น พวกภิกษุทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ใน
เสนาสนะป่าเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้” จึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืน
หนึ่งไว้ในละแวกบ้านอยู่ปราศเกิน ๖ คืน จีวรเหล่านั้นสูญหายบ้าง ฉิบหายบ้าง
ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัดบ้าง ภิกษุเหล่านั้นมีผ้าไม่ดี มีแต่จีวรเก่า ๆ ภิกษุทั้งหลาย
กล่าวอย่างนี้ว่า “เหตุใดพวกท่านมีผ้าไม่ดี มีแต่จีวรเก่า ๆ ” ทีนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึง
บอกเรื่องนั้นให้ทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืนเล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ กตฺติกโจรกาติ กตฺติกมาเส โจรา หมายถึงพวกโจรเดือน ๑๒ (วิ.อ. ๒/๖๕๒/๒๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุเก็บไตรจีวรผืนใด
ผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านแล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
โมฆบุรุษเหล่านั้นจึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านแล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้ ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๕๓] ก็ ภิกษุจำพรรษาแล้วหวังจะอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาด
ระแวง มีภัยน่ากลัวเช่นนั้น จนถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ พึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืน
หนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้ และภิกษุนั้นควรมีปัจจัยบางอย่างเพื่อการอยู่ปราศ
จากจีวรนั้น ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างมาก ถ้าอยู่ปราศ
เกินกว่ากำหนดนั้น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้รับสมมติ
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๕๔] คำว่า ก็...จำพรรษาแล้ว คือ ออกพรรษาแล้ว
คำว่า วันเพ็ญเดือน ๑๒ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าตรงกับวันปุรณมีดิถีที่ ๔
ในกัตติกามาส
คำว่า เสนาสนะป่า ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่าป่า มีระยะ ๕๐๐ ชั่วธนู
เป็นอย่างต่ำ
ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏที่อยู่
ปรากฏที่กิน ปรากฏที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏมีมนุษย์
ถูกพวกโจรฆ่า ปรากฏมีมนุษย์ถูกปล้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกทุบตี
คำว่า ภิกษุ...จะอยู่ในเสนาสนะป่าเช่นนั้น ความว่า ภิกษุยับยั้งอยู่ใน
เสนาสนะเช่นนั้น
คำว่า หวัง คือ ปรารถนา
คำว่า ไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง ได้แก่ สังฆาฏิ อุตตราสงค์หรืออันตรวาสก
คำว่า พึงเก็บไว้ในละแวกบ้านได้ คือ เก็บไว้ในโคจรคามโดยรอบ
คำว่า ภิกษุนั้นควรมีปัจจัยบางอย่างเพื่อการอยู่ปราศจากจีวรนั้น คือ มี
เหตุผลหรือกรณียกิจ
คำว่า ภิกษุพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างมาก ความว่า อยู่
ปราศได้เพียง ๖ คืนเป็นอย่างมาก
คำว่า เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ ยกเว้นภิกษุที่ได้รับสมมติ
คำว่า ถ้าอยู่ปราศเกินกว่ากำหนดนั้น ความว่า เมื่อรุ่งอรุณวันที่ ๗ มาถึง
จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของ
กระผมอยู่ปราศเกิน ๖ คืน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
ของกระผมอยู่ปราศเกิน ๖ คืน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้ของกระผมอยู่ปราศเกิน
๖ คืน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๕๕] จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน อยู่ปราศ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ
จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุไม่แน่ใจ อยู่ปราศ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้
แต่ภิกษุได้สมมติ
จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า อยู่ปราศ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ
จีวรยังไม่ได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท อนาปัตติวาร
จีวรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกชิงเอาไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงเอาไปแล้ว อยู่ปราศ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ
ติกทุกกฏ
ภิกษุไม่ได้สละจีวรเป็นนิสสัคคีย์ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรหย่อนกว่า ๖ ราตรี ภิกษุสำคัญว่าเกินแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรหย่อนกว่า ๖ ราตรี ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรหย่อนกว่า ๖ ราตรี ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ใช้สอย ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๕๖] ๑. ภิกษุอยู่ปราศ ๖ ราตรี
๒. ภิกษุอยู่ปราศหย่อนกว่า ๖ ราตรี
๓. ภิกษุอยู่ปราศ ๖ ราตรี แล้วกลับมาคามสีมาแล้วจากไป
๔. ภิกษุถอนผ้าภายใน ๖ ราตรี
๕. ภิกษุสละให้ภายใน ๖ ราตรี
๖. ภิกษุที่มีจีวรสูญหายภายใน ๖ ราตรี
๗. ภิกษุที่มีจีวรฉิบหายภายใน ๖ ราตรี
๘. ภิกษุที่มีจีวรถูกไฟไหม้ภายใน ๖ ราตรี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท อนาปัตติวาร
๙. ภิกษุที่มีจีวรถูกโจรชิงเอาไปภายใน ๖ ราตรี
๑๐. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะภายใน ๖ ราตรี
๑๑. ภิกษุได้สมมติ
๑๒. ภิกษุวิกลจริต
๑๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
สาสังกสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑๐.ปริณตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค
๑๐. ปริณตสิกขาบท
ว่าด้วยการน้อมลาภ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สมาคม๑ หนึ่งในกรุงสาวัตถีเตรียม
ภัตตาหารพร้อมจีวรไว้ถวายสงฆ์ด้วยตั้งใจว่า “พวกเราจักนิมนต์ภิกษุให้ฉันแล้วให้
ครองจีวร” ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้เข้าไปหาสมาคมนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้
กล่าวกับสมาคมนั้นดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านโปรดถวายจีวรแก่พวกอาตมา”
สมาคมนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พวกเราจะไม่ถวาย พวกเราจัดภิกษาหาร
พร้อมกับจีวรไว้ถวายสงฆ์เป็นประจำทุกปี”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ทายกของสงฆ์มีหลายคน
ภัตตาหารของสงฆ์ก็มีจำนวนมาก พวกอาตมาอาศัยพวกท่าน เห็นแก่พวกท่าน
จึงอยู่ที่นี่ ถ้าพวกท่านไม่ถวายแก่พวกอาตมา คราวนี้ ใครเล่าจะถวายแก่พวก
อาตมา พวกท่านโปรดถวายจีวรแก่พวกอาตมาเถิด”
ลำดับนั้น เมื่อถูกพวกภิกษุฉัพพัคคีย์รบเร้า สมาคมนั้นจึงถวายจีวรตามที่จัด
ไว้แล้วแก่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วประเคนสงฆ์เฉพาะภัตตาหาร
พวกภิกษุที่ทราบว่า “สมาคมจัดอาหารและจีวรไว้ถวายสงฆ์” แต่ไม่ทราบว่า
“พวกเขาถวายพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปแล้ว” จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวก
ท่านจงถวายจีวรแก่สงฆ์”

เชิงอรรถ :
๑ ปูคสฺสาติ สมูหสฺส, ธมฺมคณสฺส หมู่ชน คือคณะผู้ปฏิบัติธรรม หมายถึงสมาคม (วิ.อ.๒/๖๕๗/๒๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑๐.ปริณตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สมาคมนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ไม่มีจีวรตามที่เคยจัดไว้ พระคุณเจ้า
ฉัพพัคคีย์น้อมไปเพื่อตนแล้ว”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่จึงน้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตนเล่า” ครั้น
ภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอรู้อยู่ น้อมลาภ
ที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอรู้อยู่จึงน้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตนเล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๕๘] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อ
ตน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๕๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑๐.ปริณตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือคนนั้นบอกเธอ
ที่ชื่อว่า เป็นของจะถวายสงฆ์ ได้แก่ เป็นของที่เขาถวายหรือบริจาคแล้ว
แก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
โดยที่สุดกระทั่งก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน หรือด้ายชายผ้า
ที่ชื่อว่า น้อมไว้ คือ เขาเปล่งวาจาว่า “เราจะถวาย จะกระทำ”
ภิกษุน้อมมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม เป็นนิสสัคคีย์เพราะ
ได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละลาภที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละลาภที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ลาภนี้เขาน้อมไว้
เป็นของจะถวายสงฆ์ กระผมรู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละลาภนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนลาภที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ลาภนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ลาภนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ลาภนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑๐.ปริณตสิกขาบท บทภาชนีย์
เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ กระผมรู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นนิสสัคคีย์ กระผม
สละลาภนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนลาภที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ลาภของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้ลาภนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านขอรับ ลาภนี้เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์
กระผมรู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละลาภนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้ว
พึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนลาภที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนลาภนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๖๐] ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้แล้ว น้อมมาเพื่อตน
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ น้อมมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้น้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน ไม่ต้อง
อาบัติ
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อสงฆ์ ภิกษุน้อมมาเพื่อสงฆ์อื่น หรือเพื่อเจดีย์ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑๐.ปริณตสิกขาบท อนาปัตติวาร
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อเจดีย์ ภิกษุน้อมมาเพื่อเจดีย์อื่น เพื่อสงฆ์ เพื่อคณะหรือ
เพื่อบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อบุคคล ภิกษุน้อมมาเพื่อบุคคลอื่น เพื่อสงฆ์ เพื่อคณะ
หรือเพื่อเจดีย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้น้อมไว้ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๖๑] ๑. ภิกษุถูกทายกถามว่า “จะถวายที่ไหน” จึงแนะนำว่า “ไทยธรรม
ของพวกท่านพึงได้รับการใช้สอย ได้รับการปฏิสังขรณ์ หรืออยู่
ได้นานในที่ใด หรือท่านมีจิตเลื่อมใสในที่ใด จงถวายในที่นั้นเถิด”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปริณตสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ปัตตวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] บทสรุป
รวมสิกขาบทที่มีในปัตตวรรค คือ
ปัตตวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. ปัตตสิกขาบท ว่าด้วยบาตร
๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท ว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง
๓. เภสัชชสิกขาบท ว่าด้วยเภสัช
๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท ว่าด้วยผ้าอาบน้ำฝน
๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท ว่าด้วยการให้จีวรแล้วชิงเอาคืน
๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอด้าย
๗. มหาเปสการสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งช่างหูกทอจีวร
๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท ว่าด้วยอัจเจกจีวร
๙. สาสังกสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะป่าที่น่าหวาดระแวง
๑๐. ปริณตสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภ

บทสรุป
[๖๖๒] ท่านทั้งหลาย ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้า
ยกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านั้นว่า
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
นิสสัคคิยกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น