Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๖-๖ หน้า ๓๐๙ - ๓๖๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๖-๖ วินัยปิฎกที่ ๐๖ จุลวรรค ภาค ๑



พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๑
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๓. อมูฬหวินัย
มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์
สงฆ์ให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สติวินัย สงฆ์ให้แล้วแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว
สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
การให้สติวินัยที่ชอบธรรม ๕ อย่าง
[๑๙๕] ภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่ชอบธรรมมี ๕ อย่างนี้ คือ

๑. ภิกษุเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ต้องอาบัติ ๒. ผู้อื่นโจทภิกษุนั้น
๓. ภิกษุนั้นขอ ๔. สงฆ์ให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น
๕. สงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมให้

ภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่ชอบธรรมมี ๕ อย่างนี้แล
สติวินัย จบ
๓. อมูฬหวินัย
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์ให้ว่าต้องอาบัติในขณะเป็นบ้า
เรื่องภิกษุชื่อคัคคะ
[๑๙๖] สมัยนั้น พระคัคคะวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิด
สิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย
กาย ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุชื่อคัคคะด้วยอาบัติที่ภิกษุชื่อคัคคะนั้นเป็นผู้วิกลจริต มี
จิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดเป็นอาจิณว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ
เห็นปานนี้”
ภิกษุชื่อคัดคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
เสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๐๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๓. อมูฬหวินัย
เป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้น
ไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว”
ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้น
อยู่นั่นเองว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจึงได้โจทภิกษุชื่อคัคคะ ด้วยอาบัติที่ภิกษุชื่อคัคคะนั้นผู้วิกลจริต มีจิตแปร
ปรวน ประพฤติละเมิดเป็นอาจิณว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้’
ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสีย
แล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ควรแก่สมณะเป็น
อาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้น
ไม่ได้ ผมหลง ได้ทำ สิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้ท่านกล่าวอยู่อย่างนั้น
ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้นอยู่นั่นเองว่า ‘ท่าน ต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้”
แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุ
ทั้งหลายโจทภิกษุชื่อคัคคะ จริงหรือ ฯลฯ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา
แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้อมูฬหวินัยแก่
ภิกษุชื่อคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว”
วิธีให้อมูฬหวินัย และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬวินัยอย่างนี้ คือ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว
ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๑๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๓. อมูฬหวินัย
อาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจท
กระผมด้วยอาบัติที่กระผมผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่
สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมายว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้’
กระผมกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มีจิต
แปรปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่
สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย
กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้กระผม
กล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยัง โจทกระผมอยู่นั่นเองว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น
ปานนี้’ ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว
กระผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็น
อาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจท
กระผม ด้วยอาบัติที่กระผมผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่
สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมายแล้วว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น
ปานนี้’ กระผมกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มี
จิตแปรปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่
ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย
กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้กระผม
กล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังโจทกระผมอยู่นั้นเองว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ
เห็นปานนี้’ ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกับสงฆ์”
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๙๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อคัคคะนี้วิกลจริต มีจิต
แปรปรวน ภิกษุชื่อคัคคะนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่
สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๑๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๓. อมูฬหวินัย
ภิกษุทั้งหลายโจท ภิกษุชื่อคัคคะด้วยอาบัติที่ท่านผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมายว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว
จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้’ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ กระผม
วิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติ
ละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม
ทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย
แม้ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้นอยู่นั่นเองว่า ‘ท่าน
ต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้’ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นหายวิกล จริตแล้วขอ
อมูฬวินัยกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุชื่อคัคคะ ผู้
หายวิกลจริตแล้ว นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อคัคคะนี้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ท่านวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณ
มากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุชื่อ
คัคคะด้วยอาบัติที่ภิกษุชื่อคัคคะนั้นผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่
ไม่สมควรแก่สมณะ เป็นอาจิณมากมายว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น
ปานนี้’ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปร
ปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกล จริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่
สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย
กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้ภิกษุชื่อ
คัคคะนั้นกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้นอยู่อย่างนั่นเองว่า ‘ท่านต้องอาบัติ
แล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุชื่อคัคคะนั้นหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัย
กับสงฆ์ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุชื่อคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุชื่อคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๑๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๓. อมูฬหวินัย
อมูฬหวินัย สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว สงฆ์เห็นด้วย
เพราะ ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อมูฬหวินัย ไม่ชอบธรรม ๓ กรณี
[๑๙๘] ภิกษุทั้งหลาย การให้อมูฬหวินัย ไม่ชอบธรรม ๓ หมวด ชอบธรรม
๓ หมวดนี้ การให้อมูฬหวินัย ไม่ชอบธรรม ๓ หมวด เป็นไฉน
หมวดที่ ๑
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุ
รูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้น
กำลังระลึก กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมต้องอาบัติแล้ว แต่ระลึกอาบัติเห็นปานนี้
ไม่ได้” สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น การให้อมูฬหวินัยไม่ชอบธรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือ
ภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุ
นั้นระลึกได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมระลึกได้เหมือนความฝัน” สงฆ์ให้อมูฬห-
วินัยแก่ภิกษุนั้น การให้อมูฬหวินัยไม่ชอบธรรม
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือ
ภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุ
นั้นหายวิกลจริตแล้ว แต่ยังทำเป็นวิกลจริตว่า “ผมก็ทำอย่างนี้ ท่านทั้งหลายก็ทำ
อย่างนี้ สิ่งนี้ควรแก่ผม สิ่งนี้ควรแม้แก่ท่านทั้งหลาย” สงฆ์ให้อมูฬวินัยแก่ภิกษุนั้น
การให้อมูฬหวินัยไม่ชอบธรรม
การให้อมูฬหวินัยไม่ชอบธรรม ๓ หมวดเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๑๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๓. อมูฬหวินัย
อมูฬหวินัยชอบธรรม ๓ กรณี
หมวดที่ ๑
[๑๙๙] การให้อมูฬหวินัยชอบธรรม ๓ หมวด เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ภิกษุนั้นผู้วิกลจริต
มีจิตแปรปรวนได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าว
ด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุ
นั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้นระลึกไม่ได้จึงกล่าว
อย่างนี้ว่า “ท่าน ผมต้องอาบัติแล้ว แต่ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ไม่ได้” สงฆ์ให้อมูฬห-
วินัยแก่ภิกษุนั้น การให้อมูฬหวินัยชอบธรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุที่วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ภิกษุนั้น
ผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณ
มากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือ
ภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้น
ระลึกไม่ได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมระลึกได้เหมือนความฝัน” สงฆ์ให้อมูฬหวินัย
แก่ภิกษุนั้น การให้อมูฬหวินัยชอบธรรม
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ภิกษุนั้น
ผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณ
มากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือ
ภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้วจงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้น
ยังวิกลจริตอยู่ ทำเป็นวิกลจริตว่า “ผมก็ทำอย่างนี้ แม้ท่านทั้งหลายก็ทำอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๑๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๔. ปฏิญญาตกรณะ
สิ่งนี้ควรแม้แก่ผม สิ่งนี้ควรแม้แก่ท่านทั้งหลาย” สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น การ
ให้อมูฬหวินัยชอบธรรม
การให้อมูฬหวินัยชอบธรรม ๓ หมวดเหล่านี้
อมูฬหวินัย จบ
๔. ปฏิญญาตกรณะ
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์ตามคำรับของจำเลย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๒๐๐] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ลงโทษภิกษุทั้งหลายโดยมิได้ปฏิญญา คือ
ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง
อุกเขปนียกรรมบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงลงโทษภิกษุทั้งหลายโดยมิได้ปฏิญญาเล่า คือ ลงตัชชนียกรรมบ้าง
นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง”
แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ฯลฯ
จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงลงโทษภิกษุทั้งหลายโดยมิได้ปฏิญญา
คือ ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง
อุกเขปนียกรรมบ้าง รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๑๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๔. ปฏิญญาตกรณะ
ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
[๒๐๑] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรมอย่างนี้ ที่ชอบธรรม
อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิญญากรณะที่ไม่ชอบธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจท
ภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้
ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส” สงฆ์ปรับอาบัติสังฆาทิเสสภิกษุนั้น
(การปรับอย่างนี้) ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น
ว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ
ปาราชิก ฯลฯ ผมต้องอาบัติถุลลัจจัย” สงฆ์ปรับอาบัติถุลลัจจัยภิกษุนั้น (การปรับ
อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น
ว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ
ปาราชิก ผมต้องอาบัติปาจิตตีย์” สงฆ์ปรับอาบัติปาจิตตีย์ภิกษุนั้น (การปรับ
อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น
ว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ
ปาราชิก ผมต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ” สงฆ์ปรับอาบัติปาฏิเทสนียะภิกษุนั้น (การ
ปรับอย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น
ว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ
ปาราชิก ผมต้องอาบัติทุกกฏ” สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น (การปรับอย่างนี้)
ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๑๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๔. ปฏิญญาตกรณะ
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น
ว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ
ปาราชิก ผมต้องอาบัติทุพภาสิต” สงฆ์ปรับอาบัติทุพภาสิตภิกษุนั้น (การปรับ
อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น
ว่า “ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ
ทุพภาสิต ผมต้องอาบัติปาราชิก” สงฆ์ปรับอาบัติปาราชิกภิกษุนั้น (การปรับ
อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น
ว่า “ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ
ทุพภาสิต ผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส” ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ” สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น (การปรับ
อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียว
โจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ถูกละท่าน
ผมต้องอาบัติปาราชิก” สงฆ์ปรับอาบัติปาราชิกภิกษุนั้น (การปรับอย่างนี้) ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๑๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๕. เยภุยยสิกา
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น
ว่า “ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ถูกละท่าน ผมต้องอาบัติ
ทุพภาสิต” สงฆ์ปรับอาบัติทุพภาสิตภิกษุนั้น (การปรับอย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาต-
กรณะที่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
ปฏิญญาตกรณะ จบ
๕. เยภุยยสิกา
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์ตามเสียงข้างมาก
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๒๐๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้บาดหมาง ทะเลาะวิวาทกัน ในท่าม
กลางสงฆ์ กล่าวทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนั้นไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้
ด้วยเยภุยยสิกา สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ให้จับสลาก คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักสลากที่จับแล้วและยังมิได้จับ
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ให้จับสลากอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอ
ให้ภิกษุรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย-
กรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๑๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๕. เยภุยยสิกา
[๒๐๓] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุ
ชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับสลาก นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับสลากแล้ว
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับสลาก ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้ให้จับสลากแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
การจับสลากที่ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
[๒๐๔] ภิกษุทั้งหลาย การจับสลากที่ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง ที่ชอบธรรม
๑๐ อย่างเหล่านี้
การจับสลากที่ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไฉน คือ

๑. อธิกรณ์เป็นเรื่องเล็กน้อย ๒. ไม่ลุกลามไปไกล
๓. ภิกษุพวกนั้นระลึกไม่ได้เอง ๔. รู้ว่า อธรรมวาทีมากกว่า
และพวกอื่นก็ให้ระลึกไม่ได้
๕. รู้ว่า ไฉนอธรรมวาทีพึงมีมากกว่า ๖. รู้ว่า สงฆ์จักแตกกัน
๗. รู้ว่า ไฉนสงฆ์พึงแตกกัน ๘. อธรรมวาทีภิกษุจับโดยไม่
ชอบธรรม
๙. อธรรมวาทีภิกษุแบ่งพวกกันจับ ๑๐. ไม่จับตามความเห็น

การจับสลากที่ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้
การจับสลากที่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
การจับสลากที่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไฉน คือ

๑. อธิกรณ์ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ๒. ลุกลามไปไกล
๓. ภิกษุพวกนั้นระลึกได้เอง ๔. รู้ว่า ธรรมวาทีมากกว่า
และพวกอื่นก็ให้ระลึกได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๑๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๖. ตัสสปาปิยสิกา

๕. รู้ว่า ไฉนธรรมวาทีพึงมีมากกว่า ๖. รู้ว่า สงฆ์จักไม่แตกกัน
๗. รู้ว่า ไฉนสงฆ์ไม่พึงแตกกัน ๘. ธรรมวาทีภิกษุจับโดยชอบ
ธรรม
๙. ธรรมวาทีภิกษุพร้อมเพรียงกันจับ ๑๐. จับตามความเห็น

การจับสลากที่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้
เยภุยยสิกา จบ
๖. ตัสสปาปิยสิกา
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์โดยการลงโทษแก่ผู้ทำผิด
เรื่องพระอุปวาฬะ
[๒๐๕] สมัยนั้น พระอุปวาฬะถูกซักถามอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วรับ
รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้
บรรดาภิกษุผู้มักนัอย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระ อุปวาฬะถูกซักถามอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงได้ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ
เอา เรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้เล่า” แล้วได้นำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า
ภิกษุ อุปวาฬะถูกซักถามอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ
เอาเรื่อง หนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรง
แสดง ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงลง
ตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๒๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๖. ตัสสปาปิยสิกา
วิธีลงตัสสปาปิยสิกากรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมอย่างนี้ คือเบื้องต้นพึงโจทภิกษุ
อุปวาฬะก่อน ครั้นแล้วพึงให้ภิกษุอุปวาฬะนั้นให้การแล้วพึงปรับอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๒๐๖] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุปวาฬะนี้ถูกซักถามอาบัติ
ในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อน
อีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ
อุปวาฬะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุปวาฬะนี้ถูกซักถามอาบัติในท่ามกลาง
สงฆ์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง
กล่าวเท็จทั้งที่รู้ สงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬะแล้ว ท่านรูปใดเห็น
ด้วยกับการลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกากรรม สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุอุปวาฬะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ชอบธรรม ๕ อย่าง
[๒๐๗] ภิกษุทั้งหลาย การลงตัสสปาปิยสิกากรรมชอบธรรม ๕ อย่างนี้ คือ

๑. ภิกษุเป็นผู้ไม่สะอาด ๒. เป็นอลัชชี
๓. เป็นผู้ถูกโจท ๔. สงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่
ภิกษุนั้น
๕. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงโดยธรรม

ภิกษุทั้งหลาย การลงตัสสปาปิยสิกากรรมชอบธรรม ๕ อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๒๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๖. ตัสสปาปิยสิกา
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยตัสสปาปยสิกากรรมที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๐๘] ภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถามก่อน
๓. ลงโดยมิได้ปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล
เป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
ฯลฯ
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล
เป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
อธัมมกัมมทวาทสกะ จบ
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยตัสสปาปิยสิกากรรมที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดีแล้ว คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๒๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน
๓. ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล เป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดีแล้ว
ฯลฯ
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดีแล้ว คือ
๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล เป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดีแล้ว
ธัมมกัมมทวาทสกะ จบ
อากังขมานฉักกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังที่จะลงตัสสปาปิยสิกากรรม ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๑๐] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวังพึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๒๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๖. ตัสสปาปิยสิกา
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวังพึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. เป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฐิ
ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ เหล่านี้แล (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวังพึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวังพึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ เหล่านี้แล (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวังพึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท
ก่อความอื้อฉาว ก่อ อธิกรณ์ในสงฆ์
๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัตกำหนดไม่ได้
๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวังพึงลงตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่า
นี้แล (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๒๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๖. ตัสสปาปิยสิกา
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวังพึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป
คือ

๑. รูปหนึ่งเป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติใน
อัชฌาจาร
๓. รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฐิ

ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ รูปเหล่านี้แล (๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวังพึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวังพึงลงตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุ ๓ รูป
เหล่านี้แล (๖)
อากังขมานฉักกะ จบ
อัฏฐารสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๑๘ ข้อในตัสสปาปิยสิกากรรม
[๒๑๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแล้ว พึงประพฤติ
โดยชอบ การประพฤติโดยชอบในเรื่องนั้นดังนี้

๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอน
ภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอน ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๒๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๗. ติณวัตถารกะ
๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่พระอุปวาฬะแล้ว
ตัสสปาปิยสิกา จบ
๗. ติณวัตถารกะ
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์โดยการประนีประนอม
เรื่องภิกษุก่อความวุ่นวาย
[๒๑๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติ
ละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม
ทำด้วยกาย
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาท
กันอยู่ ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วย
วาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางที
อธิกรณ์นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน
ก็ได้ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ
พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้
พวกภิกษุบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะ
เป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกภิกษุใน
หมู่นั้นปรึกษาอย่างนี้ว่า ‘พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติละเมิด
สิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๒๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๗. ติณวัตถารกะ
กาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อ
ความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยติณวัตถารกะ”
วิธีระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอย่างนี้ ภิกษุทุก ๆ รูปพึงประชุมในที่แห่งเดียวกัน
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์
นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้วพึงระงับอธิกรณ์นี้ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ๑ เว้น
อาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์”๒
ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ฝ่าย
ของตนทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้
ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ
พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้น
จะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าท่าน
ทั้งหลายพร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตน

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติที่มีโทษหยาบ คืออาบัติปาราชิกและอาบัติสังฆาทิเสส (วิ.อ. ๓/๒๑๓/๒๙๕)
๒ อาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ คืออาบัติที่ต้องเพราะด่า,ขู่คฤหัสถ์และเพราะรับคำของคฤหัสถ์(แล้วไม่ทำตาม)
(วิ.อ. ๓/๒๐๓/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๒๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๗. ติณวัตถารกะ
ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่อง ด้วย
คฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน”
ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง
ประกาศ ให้ฝ่ายของตนทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้
ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ
พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้น
จะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าสงฆ์
พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลาง
สงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อ
ประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน”
[๒๑๓] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ
พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์
นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตน ใน
ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๒๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๗. ติณวัตถารกะ
นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้
ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ
เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้
และเพื่อประโยชน์แก่ตน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเราใน
ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
[๒๑๔] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์
นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่าม
กลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์
นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ข้าพเจ้า
แสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ
เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๒๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๘. อธิกรณะ
และเพื่อประโยชน์แก่ตน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเราใน
ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ออกแล้วจากอาบัติ
เหล่านั้น เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เว้นผู้แสดงความ
เห็น เว้นผู้ไม่ได้อยู่ในที่นั้น
ติณวัตถารกะ จบ
๘. อธิกรณะ
ว่าด้วยอธิกรณ์ ๔ อย่าง
เรื่องภิกษุและภิกษุณีวิวาทกัน
[๒๑๕] สมัยนั้น พวกภิกษุวิวาทกับพวกภิกษุณีบ้าง พวกภิกษุณีวิวาทกับ
พวก ภิกษุบ้าง ฝ่ายพระฉันนะเข้าข้างพวกภิกษุณีแล้ววิวาทกับพวกภิกษุชักชวนพวกภิกษุ
ให้ไปเข้าข้างภิกษุณี
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระฉันนะจึงได้เข้าข้างพวกภิกษุณี แล้ววิวาทกับพวกภิกษุชักชวนพวกภิกษุให้ไป
เข้าข้างภิกษุณีเล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุฉันนะเข้าข้าง
พวกภิกษุณีแล้ววิวาทกับพวกภิกษุชักชวนพวกภิกษุให้ไปเข้าข้างภิกษุณี จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๓๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๘. อธิกรณะ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรง
แสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์มี ๔ นี้ คือ

๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์

๑. วิวาทาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น วิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมวิวาทกันว่า
๑. นี้ธรรม นี้อธรรม
๒. นี้วินัย นี้มิใช่วินัย
๓. นี้ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ นี้ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้
๔. นี้จริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมา นี้จริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา
๕. นี้ตถาคตบัญญัติไว้ นี้ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้
๖. นี้อาบัติ นี้อนาบัติ
๗. นี้อาบัติเบา นี้อาบัติหนัก
๘. นี้อาบัติมีส่วนเหลือ นี้อาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความกล่าวต่างกัน
ความกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ การด่าทอในเรื่องนั้นใด
นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์
๒. อนุวาทาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมโจทภิกษุด้วยสีลวิบัติ
อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๓๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๘. อธิกรณะ
การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้
ในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่าอนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน
อาบัติทั้ง ๕ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๗ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์
นี้เรียกว่าอาปัตตาธิกรณ์
๔. กิจจาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น กิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน
ความเป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์ใด คือ (๑) อปโลกนกรรม (๒) ญัตติ-
กรรม (๓) ญัตติทุติยกรรม (๔) ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์ ๔ อย่าง จบ
มูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
[๒๑๖] อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ อกุศลมูลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่ง
วิวาทาธิกรณ์ กุศลมูลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
วิวาทมูล ๖๑
มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ อะไรบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ป. ๘/๒๗๒/๒๐๗, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๖/๔๘๔-๔๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๓๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๘. อธิกรณะ
๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใด เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้
ภิกษุนั้น ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มี
ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มี
ความยำเกรงในพระสงฆ์อยู่และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในพระศาสดา ไม่มี
ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์นั้น ย่อม
ก่อวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อ
ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลแห่งการวิวาทเช่นนี้
ภายในหรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูล
แห่งวิวาทที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่
พิจารณาเห็นมูลแห่งวิวาทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก ในข้อนั้น
เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อ แห่งมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็น
บาปนั้นแล การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีด้วยอาการ
อย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมมี
ต่อไปด้วยอาการอย่างนี้
๒. เป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอท่าน ฯลฯ
๓. เป็นผู้มีปกติริษยา ตระหนี่ ฯลฯ
๔. เป็นผู้อวดดี เจ้ามายา ฯลฯ
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น
สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความ
ยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๓๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๘. อธิกรณะ
ธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำ
สิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความ
ยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระ
ธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำ
สิกขาให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไป
เพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการวิวาทเช่นนี้
ภายในหรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูล
เหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาป ภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลาย
ไม่พิจารณาเห็นมูลแห่งวิวาทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก ในข้อนั้น
เธอทั้งหลาย พึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็น
บาปนั้นแล การละมูลแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นแล ย่อมมีด้วยอาการ
อย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมมี
ต่อไปด้วยอาการอย่างนี้
มูลแห่งการวิวาท ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
อกุศลมูล ๓
อกุศลมูล ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย มีจิตโลภ วิวาทกัน มีจิตโกรธ
วิวาทกัน มีจิตหลงวิวาทกันว่า
๑. นี้ธรรม นี้อธรรม
๒. นี้วินัย นี้มิใช่วินัย
๓. นี้ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ นี้ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้
๔. นี้จริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมา นี้จริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๓๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๘. อธิกรณะ
๕. นี้ตถาคตทรงบัญญัติไว้ นี้ตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
๖. นี้อาบัติ นี้อนาบัติ
๗. นี้อาบัติเบา นี้อาบัติหนัก
๘. นี้อาบัติมีส่วนเหลือ นี้อาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
อกุศลมูล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
กุศลมูล ๓
กุศลมูล ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย มีจิตไม่โลภวิวาทกัน มีจิตไม่
โกรธวิวาทกัน มีจิตไม่หลงวิวาทกันว่า
๑. นี้ธรรม นี้อธรรม
ฯลฯ
๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
กุศลมูล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
มูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์
[๒๑๗] อะไรเป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์
อนุวาทมูล ๖ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ อกุศลมูลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่ง
อนุวาทาธิกรณ์ กุศลมูลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ แม้กายก็เป็นมูลแห่ง
อนุวาทาธิกรณ์ แม้วาจาก็เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์
อนุวาทมูล ๖
มูลแห่งการโจท ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุที่มัก
โกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้นไม่มีเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๓๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๘. อธิกรณะ
เคารพ ไมมีความยำเกรง ในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระ
สงฆ์อยู่ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ไม่มี
ความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มี
ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์นั้น ย่อม
ยังการโจทกันให้เกิดในสงฆ์ การโจทย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่
ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่
เทวดาและมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลแห่งการโจทเช่นนี้ ภายในหรือ
ภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลแห่งการโจทที่เป็นบาปภายใน
หรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลแห่งการโจทย์เช่นนี้ ภายใน
หรือภายนอก ในข้อนี้ เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อ แห่งมูลเหตุแห่ง
การโจทย์ที่เป็นบาปนั้นแล การละมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีด้วยอาการ
อย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้น ย่อมมีต่อไปด้วยอาการ
อย่างนี้
เป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอท่าน ฯลฯ
เป็นผู้มีปรกติริษยา ตระหนี่ ฯลฯ
เป็นผู้อวดดี เจ้ามายา ฯลฯ
เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุใดเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้น
ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความ
ยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำ
สิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระ
ศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มี
ความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการโจทให้เกิดขึ้น
ในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื่อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื่อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๓๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๘. อธิกรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ ภายใน
หรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาป
ภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลแห่งการโจทเช่นนี้
ภายในหรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อความยือเยื้อแห่งมูลเหตุ
แห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแล การละมูลแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแล ย่อมมีด้วย
อาการอย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้น ย่อมมีต่อไป
ด้วยอาการอย่างนี้
มูลแห่งการโจทกัน ๖ อย่างเหล่านี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์
อกุศลมูล ๓
อกุศลมูล ๓ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมมีจิตโลภโจท ย่อมมีจิต
โกรธโจท ย่อมมีจิตหลงโจทภิกษุ ด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ
อกุศลมูล ๓ อย่างเหล่านี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์
กุศลมูล ๓
กุศลมูล ๓ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีจิตไม่โลภโจท ย่อมมี
จิตไม่โกรธโจท ย่อมมีจิตไม่หลงโจท ด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรือ
อาชีววิบัติ กุศลมูล ๓ อย่างเหล่านี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์
กาย
อนึ่ง กาย เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ในกรณีนี้ ภิกษุบางรูปเป็นผู้มีผิวพรรณน่ารังเกียจ ไม่น่าดู มีรูปร่างเล็ก มี
อาพาธมาก เป็นคนบอด ง่อย กระจอก หรืออัมพาต ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุนั้น
ด้วยกายใด กายนี้เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๓๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๘. อธิกรณะ
วาจา
อนึ่ง วาจาเป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ในกรณีนี้ ภิกษุบางรูปเป็นคนพูดไม่ดี พูดไม่ชัด พูดระราน ภิกษุทั้งหลายย่อม
โจทภิกษุนั้นด้วยวาจาใด วาจานี้เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์
มูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์
[๒๑๘] อะไรเป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์ คือ
๑. อาบัติเกิดทางกาย ไม่ใช่ทางวาจา ไม่ใช่ทางจิตก็มี
๒. อาบัติเกิดทางวาจา ไม่ใช่ทางกาย ไม่ใช่ทางจิตก็มี
๓. อาบัติเกิดทางกายกับวาจา ไม่ใช่ทางจิตก็มี
๔. อาบัติเกิดทางกายกับจิต ไม่ใช่ทางวาจาก็มี
๕. อาบัติเกิดทางวาจากับจิต ไม่ใช่ทางกายก็มี
๖. อาบัติเกิดทางกาย วาจา กับจิตก็มี
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้ เป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์
มูลแห่งกิจจาธิกรณ์
[๒๑๙] อะไรเป็นมูลแห่งกิจจาธิกรณ์
สงฆ์เป็นมูลเดียวแห่งกิจจาธิกรณ์
[๒๒๐] วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล อกุศล หรืออัพยากฤต วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล
ก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์ เป็นกุศล เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายมีจิตเป็นกุศล วิวาทกันว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๓๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๘. อธิกรณะ
๑. นี้ธรรม นี้อธรรม
ฯลฯ
๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้นใด
นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล
บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายมีจิตเป็นอกุศล วิวาทกันว่า
๑. นี้ธรรม นี้อธรรม
ฯลฯ
๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่น ในเรื่องนั้นใด
นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล
บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายมีจิตเป็นอัพยากฤต วิวาทกันว่า
๑. นี้ธรรม นี้อธรรม
ฯลฯ
๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่น ในเรื่องนั้นใด
นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๓๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๘. อธิกรณะ
[๒๒๑] อนุวาทาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤตหรือ อนุวาทาธิกรณ์
เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นกุศล เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตเป็นกุศล ย่อมโจทภิกษุ
ด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การ
ฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตาม
เพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นกุศล
บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตเป็นอกุศล ย่อมโจท
ภิกษุด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา
การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การ
ตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล
บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้มีจิตเป็นอัพยากฤต ย่อมโจท
ภิกษุด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา
การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การ
ตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต
[๒๒๒] อาปัตตาธิกรณ์เป็นอกุศล หรืออัพยากฤต อาปัตตาธิกรณ์เป็น
อกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี อาปัตตาธิกรณ์เป็นกุศลไม่มี
บรรดาอาปัตตาธิกรณ์นั้น อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
ภิกษุรู้อยู่ เข้าใจอยู่ จงใจ ฝ่าฝืน ล่วงละเมิดอาบัติใด นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์
เป็นอกุศล
บรรดาอาปัตตาธิกรณ์นั้น อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๔๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๘. อธิกรณะ
ภิกษุไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่จงใจ ไม่ฝ่าฝืน ล่วงละเมิดอาบัติใด นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์
เป็นอัพยากฤต
[๒๒๓] กิจจาธิกรณ์เป็นกุศล อกุศล หรืออัพยากฤต กิจจาธิกรณ์เป็นกุศลก็มี
เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นกุศล เป็นไฉน
สงฆ์มีจิตเป็นกุศล ทำกรรมใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม
ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์เป็นกุศล
บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
สงฆ์มีจิตเป็นอกุศล ทำกรรมใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยิ-
กรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์เป็นอกุศล
บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
สงฆ์มีจิตเป็นอัพยากฤต ทำกรรมใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม
ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต
วิวาทาธิกรณ์
[๒๒๔] วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท
เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย หรือวิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ก็มี วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์
ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วยก็มี
บรรดาวิวาทนั้น วิวาทที่เป็นวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมวิวาทกันว่า
๑. นี้ธรรม นี้อธรรม
ฯลฯ
๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๔๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๘. อธิกรณะ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความกล่าวต่างกัน
ความกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้นใด
นี้ชื่อว่า วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์
บรรดาวิวาทนั้น วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน
มารดาวิวาทกับบุตรบ้าง บุตรวิวาทกับมารดาบ้าง บิดาวิวาทกับบุตรบ้าง บุตร
วิวาทกับบิดาบ้าง พี่ชายวิวาทกับน้องชายบ้าง พี่ชายวิวาทกับน้องหญิงบ้าง น้อง
หญิงวิวาทกับพี่ชายบ้าง สหายวิวาทกับสหายบ้าง นี้ชื่อว่าวิวาท ไม่เป็นอธิกรณ์
บรรดาวิวาทนั้น อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท เป็นไฉน
อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ นี้ชื่อว่าอธิกรณ์ ไม่เป็นวิวาท
บรรดาวิวาทนั้น อธิกรณ์เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วยเป็นไฉน
วิวาทาธิกรณ์เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย
อนุวาทาธิกรณ์
[๒๒๕] การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ การโจทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็น
การโจท เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วยหรือ การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ก็มี
การโจทไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นการโจทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจท
ด้วยก็มี
บรรดาการโจทนั้น การโจทที่เป็นอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความ
เป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นใด นี้
ชื่อว่า การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์
บรรดาการโจทนั้น การโจทที่ไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๔๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๘. อธิกรณะ
มารดากล่าวหาบุตรบ้าง บุตรกล่าวหามารดาบ้าง บิดากล่าวหาบุตรบ้าง บุตร
กล่าวหาบิดาบ้าง พี่ชายกล่าวหาน้องชายบ้าง พี่ชายกล่าวหาน้องหญิงบ้าง น้อง
หญิงกล่าวหาพี่ชายบ้าง สหายกล่าวหาสหายบ้าง นี้ชื่อว่าการโจท ไม่เป็นอธิกรณ์
บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่ไม่เป็นการโจท เป็นไฉน
อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท
บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย เป็นไฉน
อนุวาทาธิกรณ์เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย
อาปัตตาธิกรณ์
[๒๒๖] อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ
เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ก็มี อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี
อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วยก็มี
บรรดาอธิกรณ์นั้น อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน
อาบัติ ๕ กองเป็นอาปัตตาธิกรณ์บ้าง อาบัติ ๗ กองเป็นอาปัตตาธิกรณ์บ้าง
นี้ชื่อว่า อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาอาบัตินั้น อาบัติที่ไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน
โสดาบัติ สมาบัติ นี้ชื่อว่า อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์
บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่ไม่เป็นอาบัติ เป็นไฉน
กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ
บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย เป็นไฉน
อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย
[๒๒๗] กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ กิจไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ เป็นอธิกรณ์
ด้วย เป็นกิจด้วย หรือกิจเป็นกิจจาธิกรณ์ก็มี กิจไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็น
กิจก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วยก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๔๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
บรรดาอธิกรณ์นั้น กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน
ความเป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์ใด คือ อปโลกนกรรม
ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้ชื่อว่า กิจเป็นกิจจาธิกรณ์
บรรดาอธิกรณ์นั้น กิจไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน
กิจที่จะต้องทำแก่พระอาจารย์ กิจที่จะต้องทำแก่พระอุปัชฌาย์ กิจที่จะต้อง
ทำแก่ภิกษุผู้เสมออุปัชฌาย์ กิจที่จะต้องทำแก่ภิกษุผู้เสมอพระอาจารย์ นี้ชื่อว่ากิจไม่
เป็นอธิกรณ์
บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ เป็นไฉน
วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ
บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย เป็นไฉน
กิจจาธิกรณ์เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย
อธิกรณะ จบ
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ว่าด้วยความสงบระงับอธิกรณ์
สัมมุขาวินัย
วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง
[๒๒๘] วิวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร
วิวาทาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ ๒ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) เยภุยยสิกา
บางทีวิวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ เยภุยยสิกา พึงระงับด้วย
สมถะอย่างเดียว คือ สัมมุขาวินัย บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมวิวาทกันว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๔๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
๑. นี้ธรรม นี้อธรรม
๒. นี้วินัย นี้มิใช่วินัย
๓. นี้ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ นี้ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้
๔. นี้จริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมา นี้จริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา
๕. นี้ตถาคตทรงบัญญัติไว้ นี้ตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
๖. นี้อาบัติ นี้อนาบัติ
๗. นี้อาบัติเบา นี้อาบัติหนัก
๘. นี้อาบัติมีส่วนเหลือ นี้อาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพวกนั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่า อธิกรณ์
ระงับแล้ว
อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร
ด้วยสัมมุขาวินัย
ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง
มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ
พร้อมหน้าบุคคล
อนึ่ง ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควร
ฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัย
นั้น
อนึ่ง ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัยและโดยสัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่า ความพร้อม
หน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัยในสัมมุขาวินัยนั้น
อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๔๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
โจทก์และจำเลยทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อม
หน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อ
ฟื้น๑ ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน๒
[๒๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาส
นั้นได้ พวกเธอพึงไปสู่อาวาสที่มีภิกษุมากกว่า ถ้าพวกเธอกำลังไปสู่อาวาสนั้นสามารถ
ระงับอธิกรณ์นั้นได้ในระหว่างทาง นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว
อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร
ด้วยสัมมุขาวินัย
ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง
มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ
พร้อมหน้าบุคคล
อนึ่ง ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควร
ฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัย นั้น
อนึ่ง ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่า ความ
พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัยในสัมมุขาวินัยนั้น
อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
โจทก์และจำเลยทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อม
หน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น เรียกว่า อุกโกฏนกปาจิตตีย์
๒ อาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน เรียกว่า ขียนกปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๔๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่
รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน
[๒๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นกำลังไปสู่อาวาสนั้น ไม่สามารถระงับ
อธิกรณ์นั้นในระหว่างทางได้ พวกเธอไปถึงอาวาสนั้นแล้ว พึงกล่าวกับภิกษุที่อยู่
ประจำในอาวาสว่า “ท่านทั้งหลาย อธิกรณ์นี้เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้วอย่างนี้
ขอโอกาสท่านทั้งหลาย จงระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์
ตามวิถีทางที่อธิกรณ์นี้จะระงับด้วยดี”
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสเป็นผู้แก่พรรษากว่า พวก
ภิกษุอาคันตุกะอ่อนพรรษากว่า พวกเธอพึงกล่าวกับภิกษุอาคันตุกะว่า “ท่านทั้งหลาย
ขอนิมนต์ท่านทั้งหลายจงรวมอยู่ ณ ที่สมควรสักครู่หนึ่ง ตลอดเวลาที่พวกผมจะ
ปรึกษากัน” แต่ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสเป็นผู้อ่อนกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะ
แก่กว่า พวกเธอพึงกล่าวกับภิกษุอาคันตุกะว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่าน
ทั้งหลายจงอยู่ ณ ที่นี้สักครู่หนึ่งจนกว่าพวกผมจะปรึกษากัน”
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสกำลังปรึกษา คิดกันอย่างนี้ว่า
“พวกเราไม่สามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัยและโดยสัตถุศาสน์” พวกเธอ
ไม่พึงรับอธิกรณ์นั้นไว้ แต่ถ้ากำลังปรึกษา คิดกันอย่างนี้ว่า “พวกเราสามารถ ระงับ
อธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์” พวกเธอพึงกล่าวกะพวก ภิกษ
ุอาคันตุกะว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าพวกท่านจักแจ้งอธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้ว ตามที่อุบัติ
แล้วแก่พวกเรา เหมือนอย่างพวกเราจักระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดย
สัตถุศาสน์ ฉันใด อธิกรณ์นี้จักระงับด้วยดีฉันนั้น อย่างนี้พวกเราจึงจักรับ อธิกรณ์นี้
ถ้าพวกท่านจักไม่แจ้งอธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้ว ตามที่อุบัติแล้วแก่พวกเรา เหมือนอย่าง
พวกเราจักระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ฉันใด อธิกรณ์นี้
จักไม่ระงับด้วยดี ฉันนั้น พวกเราจักไม่รับอธิกรณ์นี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๔๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสพึงรอบคอบอย่างนี้แล้วรับอธิกรณ์
นั้นไว้ พวกภิกษุอาคันตุกะนั้น พึงกล่าวกะพวกภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสว่า “พวกผม
จักแจ้งอธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้ว ตามที่อุบัติแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลาย
สามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ระหว่างเวลาเท่านี้ได้
อธิกรณ์จักระงับด้วยดีเช่นว่านั้น อย่างนี้ พวกผมจักมอบอธิกรณ์แก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายไม่สามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัยและโดยสัตถุศาสน์
ระหว่างเวลาเท่านี้ได้ อธิกรณ์จักไม่ระงับด้วยดีเช่นว่านั้น พวกผมจักไม่มอบอธิกรณ์นี้
แก่ท่านทั้งหลาย พวกผมนี้แหละจักเป็นเจ้าของอธิกรณ์นี้”
ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุอาคันตุกะพึงรอบคอบอย่างนี้ แล้วจึงมอบอธิกรณ์นั้น
แก่พวกภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาส
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่า อธิกรณ์
ระงับดีแล้ว
อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร
ด้วยสัมมุขาวินัย
ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม
ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๔๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
อุพพาหิกายวูปสมนะ
ว่าด้วยการระงับอธิกรณ์ด้วยอุพพาหิกวิธี๑
[๒๓๑] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ มีเสียงเซ็ง
แซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุดและไม่มีใครทราบความแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น เราอนุญาต
ให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๐ ประการ
สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกวิธี คือ
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษา
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด ที่งามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง และงามในที่สุด ย่อมสรรเสริญพรหมจรรย์พร้อม
ทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ธรรมทั้งหลาย
เห็นปานนั้น ย่อมเป็นอันเธอสดับมาก ทรงไว้ สั่งสมด้วยวาจาเข้าไป
เพ่งด้วยใจ ประจักษ์ชัดดีแล้วด้วยทิฏฐิ
๓. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ ได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี สวดดี วินิจฉัยถูก
ต้องโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ
๔. เป็นผู้ตั้งมั่นในพระวินัย ไม่คลอนแคลน
๕. เป็นผู้อาจชี้แจงให้คู่ต่อสู้ในอธิกรณ์ยินยอม เข้าใจ เพ่ง เห็น เลื่อมใส
๖. เป็นผู้ฉลาดเพื่อยังอธิกรณ์อันเกิดขึ้นให้ระงับ
๗. รู้อธิกรณ์
๘. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์
๙. รู้ความระงับแห่งอธิกรณ์
๑๐. รู้ทางระงับอธิกรณ์

เชิงอรรถ :
๑ อุพพาหิกวิธี คือ วิธีระงับวิวาทาธิกรณ์ ในกรณีที่ประชุมสงฆ์มีความไม่สะดวกด้วยเหตุบางอย่าง สงฆ์จึง
เลือกภิกษุบางรูปในที่ประชุมนั้น ตั้งเป็นคณะแล้วมอบเรื่องให้นำไปวินิจฉัย (วิ.อ. ๓/๒๓๑/๒๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๔๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๐ นี้ ด้วย
อุพพาหิกวิธี
วิธีแต่งตั้ง และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ
ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๒๓๒] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่
มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีใครทราบอรรถแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น
ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ด้วย ชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วย
อุพพาหิกวิธี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่ มีเสียง
เซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีใครทราบความแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น สงฆ์
แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ด้วย ชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี ท่านรูปใดเห็น
ด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ด้วย ชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้ด้วย ชื่อนี้ด้วย สงฆ์แต่งตั้งแล้ว เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี
สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นด้วยอุพพาหิกวิธี นี้
เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว
อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร
ด้วยสัมมุขาวินัย
ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง
มีความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่รื้อฟื้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๕๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
[๒๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ ในบริษัท
นั้นเกิดมีภิกษุธรรมกถึก ภิกษุนั้นจำสูตรไม่ได้เลย จำวิภังค์แห่งสูตรก็ไม่ได้ ภิกษุนั้น
ไม่ได้สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตามเค้าพยัญชนะ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง
ประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบด้วยญัตติกรรมวาจา
ญัตติกรรมวาจา
“ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นธรรมกถึก ท่านจำสูตรไม่
ได้เลย จำวิภังค์แห่งสูตรก็ไม่ได้ ท่านไม่ได้สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตามเค้า
พยัญชนะ ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้ว พวกเราพึงขับภิกษุชื่อนี้ให้ออกไปแล้วที่
เหลือพึงระงับอธิกรณ์นี้”
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นขับภิกษุนั้นออกไปแล้ว สามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้
นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว
อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร
ด้วยสัมมุขาวินัย
ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง
มีความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่รื้อฟื้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ ในบริษัทนั้นเกิดมี
ภิกษุธรรมกถึก ท่านจำสูตรได้ แต่จำวิภังค์แห่งสูตรไม่ได้เลย ท่านไม่ได้สังเกตใจความ
ย่อมค้านใจความตามเค้าพยัญชนะ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้น
ทราบด้วยคณญัตติว่า
ญัตติกรรมวาจา
“ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นธรรมกถึก ท่านจำสูตรได้แต่
จำวิภังค์แห่งสูตรไม่ได้เลย ท่านไม่สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตามเค้าพยัญชนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๕๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้ว พวกเราพึงขับภิกษุชื่อนี้ให้ออกไป แล้วที่เหลือพึงระงับ
อธิกรณ์นี้”
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นขับภิกษุนั้นออกไปแล้ว สามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้
นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว
อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร
ด้วยสัมมุขาวินัย
ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง
มีความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่
รื้อฟื้น
เยภุยยสิกาวินัย
[๒๓๔] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถระงับอธิกรณ์นั้นด้วย
อุพพาหิก วิธี ภิกษุเหล่านั้นพึงมอบอธิกรณ์นั้นแก่สงฆ์ว่า “ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้า
ไม่สามารถ ระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ขอสงฆ์นั่นแหละจงระงับอธิกรณ์นี้”
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยเยภุยยสิกา พึงแต่งตั้ง
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๕ ให้เป็นผู้ให้จับสลาก คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. พึงรู้จักสลากที่จับแล้วและยังไม่จับ ฯลฯ
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้ว
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้
ให้เป็นผู้ให้จับสลาก นี่เป็นญัตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๕๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับสลาก
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับสลาก ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์แต่งตั้งแล้วให้เป็นผู้ให้จับสลาก สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้นพึงให้ภิกษุทั้งหลายจับสลาก พวกธรรมวาทีภิกษุมากกว่า
ย่อมกล่าวฉันใด พึงระงับอธิกรณ์นั้นฉันนั้น นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว
อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร
ด้วยสัมมุขาวินัย และเยภุยยสิกา
ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง
มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ
พร้อมหน้าบุคคล
อนึ่ง ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควร
ฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขา
วินัยนั้น
อนึ่ง ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่า ความพร้อม
หน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัยในสัมมุขาวินัยนั้น
อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
โจทก์และจำเลยทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อม
หน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้น
อนึ่ง ในเยภุยยสิกานั้นมีอะไรบ้าง
มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่
คัดค้านกรรมในเยภุยยสิกาอันใด มีในเยภุยยสิกานั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๕๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น
ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน
ติวิธสลากคาหะ
ว่าด้วยการจับสลาก ๓ วิธี
[๒๓๕] สมัยนั้น อธิกรณ์เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้วอย่างนี้ ในกรุงสาวัตถี
ภิกษุเหล่านั้นไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของสงฆ์ในกรุงสาวัตถี ได้ทราบข่าวว่า “ใน
อาวาสโน้น มีพระเถระอยู่หลายรูป เป็นพหูสูต ชำนาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง
ใฝ่การศึกษา ถ้าพระเถระเหล่านั้นพึงระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดย
สัตถุศาสน์ อย่างนี้อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วยดี” จึงไปสู่อาวาสนั้นแล้วเรียนกับพระเถระ
พวกนั้นว่า “ท่านผู้เจริญ อธิกรณ์นี้เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้ว อย่างนี้ ขอโอกาสขอรับ
ขอพระเถระทั้งหลายจงระงับอธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์
ตามวิถีทางที่อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วยดี”
พระเถระพวกนั้นช่วยระงับอธิกรณ์นั้นแล้ว เหมือนอย่างที่สงฆ์ในกรุงสาวัตถี
ระงับแล้ว ตามวิธีที่ระงับด้วยดีแล้วฉะนั้น ครั้งนั้น ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่พอใจ ด้วยการ
ระงับอธิกรณ์ของสงฆ์ในกรุงสาวัตถีนั้น ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระ
มากรูป ได้ทราบข่าวว่า “ในอาวาสโน้น มีพระเถระอยู่ ๓ รูป ฯลฯ มีพระเถระอยู่
๒ รูป ฯลฯ มีพระเถระอยู่รูปเดียว เป็นพหูสูต ชำนาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง
ใฝ่การศึกษา ถ้าพระเถระนั้นพึงระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์
อย่างนี้อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วยดี” จึงไปสู่อาวาสนั้น แล้วกราบเรียนพระเถระนั้นว่า
“ท่านขอรับ อธิกรณ์นี้เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้วอย่างนี้ ขอโอกาสขอรับ ขอพระเถระ
จงระงับอธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ตามวิถีทางที่อธิกรณ์นี้
จะพึงระงับด้วยดี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๕๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
พระเถระนั้นช่วยระงับอธิกรณ์นั้นแล้ว เหมือนอย่างที่สงฆ์ในกรุงสาวัตถีระงับแล้ว
เหมือนอย่างที่พระเถระมากรูประงับแล้ว เหมือนอย่างที่พระเถระ ๓ รูประงับแล้ว
และเหมือนอย่างที่พระเถระ ๒ รูประงับแล้ว ตามวิธีที่ระงับด้วยดีแล้ว ฉะนั้น
ครั้งนั้น พวกภิกษุเหล่านั้นผู้ที่ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของสงฆ์ในกรุง
สาวัตถี ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระมากรูป ไม่พอใจด้วยการระงับ
อธิกรณ์ของพระเถระ ๓ รูป ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระ ๒ รูป
ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระรูปเดียว แล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มี
พระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ที่พิจารณาแล้วนั้นเป็นอัน
สงบระงับ ระงับดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวิธีจับสลาก ๓ อย่าง คือ ปกปิด
๑ กระซิบบอก ๑ เปิดเผย ๑ ตามความยินยอมของภิกษุพวกนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง วิธีจับสลากปกปิด เป็นไฉน
ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้นพึงทำสลากให้มีสี และไม่มีสี แล้วเข้าไปหาภิกษุทีละรูป ๆ
แล้วแนะนำอย่างนี้ว่า “นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ ท่าน
จงจับสลากที่ชอบใจ” เมื่อภิกษุนั้นจับแล้ว พึงแนะนำว่า “ท่านอย่าแสดงแก่ใคร ๆ”
ถ้ารู้ว่า “อธรรมวาทีมากกว่า” พึงบอกว่า “สลากจับไม่ดี” แล้วให้จับใหม่ ถ้ารู้ว่า
“ธรรมวาทีมากกว่า” พึงประกาศว่า “สลากจับดีแล้ว” ภิกษุทั้งหลาย วิธีจับสลาก
ปกปิดเป็นอย่างนี้แหละ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง วิธีจับสลากกระซิบบอก เป็นไฉน
ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้น พึงกระซิบบอกที่ใกล้หูของภิกษุแต่ละรูป ๆ ว่า “นี้
สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ ท่านจงจับสลากที่ชอบใจ” เมื่อ
ภิกษุนั้นจับแล้ว พึงแนะนำว่า “ท่านอย่าบอกแก่ใคร ๆ” ถ้ารู้ว่า “อธรรมวาทีมาก
กว่า” พึงบอกว่า “สลากจับไม่ดี” แล้วให้จับใหม่ ถ้ารู้ว่า “ธรรมวาทีมากกว่า” พึง
ประกาศว่า “สลากจับดีแล้ว” ภิกษุทั้งหลาย วิธีจับสลาก กระซิบบอกเป็นอย่าง
นี้แหละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๕๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง วิธีจับสลากเปิดเผย เป็นไฉน
ถ้ารู้ว่าธรรมวาทีมากกว่า พึงให้จับสลากเปิดเผย อย่างแจ่มแจ้ง วิธีจับสลาก
เปิดเผยเป็นอย่างนี้แหละ
ภิกษุทั้งหลาย วิธีจับสลาก ๓ อย่างนี้แล
สติวินัย
อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ อย่าง
[๒๓๖] อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร
อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ ๔ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย
(๓) อมูฬหวินัย (๔) ตัสสปาปิยสิกา
บางทีอนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) อมูฬหวินัย (๒) ตัสส-
ปาปิยสิกา แต่ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย
บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุ
ทั้งหลายใส่ความภิกษุด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้ถึงความ
ไพบูลย์แห่งสติอยู่แล้ว
วิธีให้สติวินัย และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สติวินัยอย่างนี้ คือ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่ม-
อุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ฯลฯ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายใส่
ความข้าพเจ้าด้วยสีลวิบัติ ที่ไม่มีมูล ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้านั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติ
แล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๕๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายใส่ความภิกษุชื่อนี้ ด้วย
สีลวิบัติที่ไม่มีมูล เธอถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์
พร้อมกันแล้วพึงให้สติวินัยแก่ภิกษุชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายใส่ความภิกษุชื่อนี้ ด้วย
สีลวิบัติที่ไม่มีมูล เธอถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ สงฆ์ให้
สติวินัยแก่ภิกษุชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้
สติวินัยแก่ภิกษุชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่
เห็นด้วย ท่าน รูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
สติวินัยอันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว
อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร
ด้วยสัมมุขาวินัยกับสติวินัย
ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง
มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ
พร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ
อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
โจทก์และจำเลยทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าบุคคลใน
สัมมุขาวินัยนั้น
ในสติวินัยนั้นมีอะไรบ้าง
มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่
คัดค้านกรรม คือสติวินัยอันใด นี้มีในสติวินัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๕๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน
อมูฬหวินัย
[๒๓๗] บางทีอนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สติวินัย
(๒) ตัสสปาปิยสิกา แต่พึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) อมูฬหวินัย
บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณ
มากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทด้วย
อาบัติที่ผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดแล้วว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว
จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มี
จิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าว
ด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว”
ภิกษุทั้งหลายแม้ภิกษุนั้นกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุนั้นอยู่ตามเดิมว่า “ท่าน
ต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้”
คำขออมูฬหวินัย และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้หายหลงแล้ว ก็แล สงฆ์
พึงให้อมูฬวินัยอย่างนี้
ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ฯลฯ แล้วกล่าวคำขอว่า
ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควร
แก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุ
ทั้งหลายโจทกระผม ด้วยอาบัติที่กระผมผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิด
แล้วว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” กระผมผู้กล่าวกับภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๕๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
พวกนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติ
ละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม
ทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว” ภิกษุทั้งหลาย
แม้กระผมกล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังโจทกระผมอยู่ตามเดิมว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จง
ระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกับสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติที่เธอผู้วิกลจริต มี
จิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น
ปานนี้ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว”
ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุนั้นอยู่ตามเดิมว่า
“ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้นหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัย
กับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้นผู้หายหลงแล้ว นี่
เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม
ทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติที่ภิกษุนั้นผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ประพฤติละเมิดแล้วว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” เธอกล่าว
อย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๕๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย
กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้น
กล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ
เห็นปานนี้ เธอหายหลงแล้วขออมูฬหวินัยกับสงฆ์ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุ
ชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุชื่อนี้ ผู้หาย
หลงแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
อมูฬหวินัยสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ผู้หายหลงแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย
กับอมูฬหวินัย
ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม
ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ
ในอมูฬหวินัยนั้น มีอะไรบ้าง
มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความ
ไม่คัดค้านกรรม คือ อมูฬหวินัยอันใด นี้มีในอมูฬหวินัยนั้น
ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่
รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน
ตัสสปาปิยสิกาวินัย
[๒๓๘] บางที อนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สติวินัย
(๒) อมูฬหวินัย แต่พึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ตัสสปาปิยสิกา บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๖๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยครุกาบัติ(อาบัติหนัก)ใน
ท่ามกลางสงฆ์ว่า “ท่านต้องครุกาบัติ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิกแล้ว
จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้”
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมระลึกไม่ได้เลยว่า ต้องครุกาบัติเห็น
ปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก”
ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า “เอาเถิด
ท่าน จงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่าต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรือ
อาบัติที่ใกล้ปาราชิกไซร้”
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมระลึกไม่ได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้
คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก แต่ระลึกได้ว่า ต้องอาบัติแม้เล็กน้อย
เห็นปานนี้”
ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า “เอาเถิด
ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรือ
อาบัติที่ใกล้ปาราชิก”
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมต้องอาบัติเล็กน้อยชื่อนี้ ผมไม่ถูก
ถามก็ปฏิญญา ผมต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิกหรืออาบัติที่ใกล้
ปาราชิก ผมถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญญาหรือ”
ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน อนึ่ง ท่านต้องอาบัติแม้เล็กน้อยข้อนี้
ท่านไม่ถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญญา ท่านต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก
หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ท่านไม่ถูกถามแล้วจักปฏิญญาหรือ เอาเถิด ท่านจงรู้
ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติ
ที่ใกล้ปาราชิก”
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้
คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก คำนั้นผมพูดเล่น คำนั้นผมพูดพล่อยไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๖๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ผมระลึกไม่ได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้
ปาราชิก”
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมนั่นแก่ภิกษุนั้นแล
วิธีลงตัสสปาปิยสิกากรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สงฆ์พึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด
ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ถูกซักถามถึงครุกาบัติใน
ท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีก
เรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่
ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ถูกซักถามถึงครุกาบัติใน
ท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อน
อีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ สงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกากรรม สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว
ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัยกับตัสสปาปิยสิกา
ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม
ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๖๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ในตัสสปาปิยสิกานั้นมีอะไรบ้าง
มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่
คัดค้านกรรมคือตัสสปาปิยสิกาอันใด นี้มีในตัสสปาปิยสิกานั้น
ภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน
ปฏิญญาตกรณะ
อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง
[๒๓๙] อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ
๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ
บางทีอาปัตตาธิกรณ์ ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ ติณวัตถารกะ พึงระงับ
ด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ บางทีพึงตกลง
กันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องลหุกาบัติแล้ว เธอพึงเข้าไปหาภิกษุ
รูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมต้องอาบัติชื่อนี้ ผม
แสดงคืนอาบัตินั้น”
ภิกษุผู้รับนั้นพึงกล่าวว่า “ท่านเห็นหรือ”
ภิกษุผู้แสดงนั้นพึงกล่าวว่า “ขอรับ ผมเห็น”
ภิกษุผู้รับนั้นพึงกล่าวว่า “ท่านพึงสำรวมต่อไป”
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว
ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัยกับปฏิญญาตกรณะ
ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย
ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๖๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ ผู้แสดงกับผู้รับ
แสดงทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้น
ในปฏิญญาตกรณะนั้น มีอะไรบ้าง
มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความ
ไม่คัดค้านกรรมคือปฏิญาตกรณะอันใด นี้มีในปฏิญญาตกรณะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่รื้อฟื้น ถ้าได้การแสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นความดี หากไม่ได้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา
ภิกษุมากรูปด้วยกัน ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา
ทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าต้อง
อาบัติชื่อนี้ ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัตินั้น”
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุพวกนั้นทราบด้วยญัตติว่า “ขอท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ระลึก เปิดเผย ทำให้ตื้น แสดงอาบัติ ถ้า
ท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าขอรับอาบัติของภิกษุชื่อนี้แล้ว พึงกล่าวว่า “ท่าน
เห็นหรือ”
ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า “ขอรับ ผมเห็น”
ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า “ท่านพึงสำรวมต่อไป”
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย
กับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าธรรม ความ
พร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ
อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ ผู้แสดงกับผู้รับ
แสดง ทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้น
ในปฏิญญาตกรณะนั้น มีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความ
เข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรมคือปฏิญญาตกรณะอันใด นี้มีใน
ปฏิญญาตกรณะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๖๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่รื้อฟื้น หากได้การแสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นความดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา
สงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผมต้องอาบัติชื่อนี้ ผมแสดงคืน
อาบัตินั้น”
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมว่า “ท่านผู้เจริญ
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ระลึก เปิดเผย ทำให้ตื้น แสดงอาบัติ ถ้าสงฆ์
พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของภิกษุชื่อนี้” แล้วพึงกล่าวว่า “ท่านเห็นหรือ”
ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า “ขอรับ ผมเห็น”
ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า “ท่านพึงสำรวมต่อไป”
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย
กับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความ
พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน
ติณวัตถารกะ
[๒๔๐] บางทีอาปัตตาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ ปฏิญญาตกรณะ
พึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ติณวัตถารกะ บางที
พึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ
พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกภิกษุในหมู่นั้นปรึกษากันอย่างนี้ว่า “พวกเราบาดหมาง
ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะ เป็นอาจิณมากมาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๖๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับ อาบัติเหล่านี้กันและกัน
บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน
ก็ได้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปาน นี้ด้วยติณวัตถารกะ”
วิธีระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์อย่างนี้ คือ ภิกษุทุก ๆ รูปพึงประชุมในที่
แห่งเดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ
พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้น
จะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าสงฆ์
พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ
เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์”
ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ฝ่าย
ของตนทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ประพฤติ
ละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม
ทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงลุกลาม
ไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าท่านทั้งหลาย
พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลายและอาบัติของตนในท่าม
กลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์
เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๖๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
[๒๔๑] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ
พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้
ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ
พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้น
จะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าท่าน
ทั้งหลายพร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตน
ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วย
คฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน”
[๒๔๒] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน อีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์
นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนใน
ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์
เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายและเพื่อประโยชน์แก่ตน นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้
ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ
พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้น
จะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ข้าพเจ้า
แสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ
เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๖๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
และเพื่อประโยชน์แก่ตน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเราใน
ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์
ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ สงฆ์เห็นด้วยเพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน อีกพวกหนึ่ง ฯลฯ ข้าพเจ้าขอถือความ
นิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ระงับด้วยสัมมุขา-
วินัยกับติณวัตถารกะ
ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม
ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล
อนึ่ง ความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควร
ฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขา-
วินัยนั้น
อนึ่ง ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่าความพร้อม
หน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัยในสัมมุขาวินัยนั้น
อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
ผู้แสดงและผู้รับแสดงทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าบุคคล
ในสัมมุขาวินัยนี้
ในติณวัตถารกะนั้น มีอะไรบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๖๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความ
ไม่คัดค้านกรรมคือติณวัตถารกะอันใด นี้มีในติณวัตถารกะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน
กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะอย่างเดียว คือ สัมมุขาวินัย
อธิกรณวูปสมนสมถะ จบ
สมถขันธกะที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๖๙ }

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๖ วินัยปิฎกที่ ๐๖ จุลวรรค ภาค ๑ จบ

ทดสอบระบบค้นหา

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น