Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๒-๑๑ หน้า ๔๖๓ - ๕๐๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒-๑๑ สุตตันตปิฎกที่ ๐๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๙. มหาอัสสปุรสูตร
ภิกษุชื่อว่าพราหมณ์ เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรม ที่ก่อให้เกิดความเศร้าหมอง นำไปเกิดในภพใหม่ มี
ความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป ภิกษุนั้นลอย
ได้แล้ว ภิกษุชื่อว่าพราหมณ์ เป็นอย่างนี้
ภิกษุชื่อว่านหาตกะ เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรม ที่ก่อให้เกิดความเศร้าหมอง นำไปเกิดในภพใหม่ มี
ความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป ภิกษุนั้นอาบ
ล้างแล้ว ภิกษุชื่อว่านหาตกะ เป็นอย่างนี้
ภิกษุชื่อว่าเวทคู เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรม ที่ก่อให้เกิดความเศร้าหมอง นำไปเกิดในภพใหม่ มี
ความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป ภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้ว
ภิกษุชื่อว่าเวทคู เป็นอย่างนี้
ภิกษุชื่อว่าโสตติยะ เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรม ที่ก่อให้เกิดความเศร้าหมอง นำไปเกิดในภพใหม่ มี
ความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป ภิกษุนั้น
ทำให้หลับหมดแล้ว ภิกษุชื่อว่าโสตติยะ เป็นอย่างนี้
ภิกษุชื่อว่าอริยะ เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรม ที่ก่อให้เกิดความเศร้าหมอง นำไปเกิดในภพใหม่ มี
ความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป ภิกษุนั้น
ทำลายได้แล้ว ภิกษุชื่อว่าอริยะ เป็นอย่างนี้
ภิกษุชื่อว่าอรหันต์ เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรม ที่ก่อให้เกิดความเศร้าหมอง นำไปเกิดในภพใหม่ มี
ความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป ห่างไกลจาก
ภิกษุนั้น ภิกษุชื่อว่าอรหันต์ เป็นอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหาอัสสปุรสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร

๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในอัสสปุรนิคม สูตรเล็ก
การบวชเหมือนมีดสองคม
[๔๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของพระราชกุมาร
ชาวอังคะ ในแคว้นอังคะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระ
ภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย หมู่ชนย่อมรู้จักเธอทั้งหลายว่า ‘สมณะ สมณะ’ ก็เธอ
ทั้งหลายเมื่อเขาถามว่า ‘ท่านทั้งหลายเป็นอะไร’ ก็ปฏิญญาว่า ‘เราทั้งหลายเป็น
สมณะ’ เมื่อเธอทั้งหลายนั้นผู้มีชื่ออย่างนี้ มีปฏิญญาอย่างนี้ ก็ควรสำเหนียกว่า
‘เราทั้งหลายจะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณะ เมื่อเราทั้งหลายปฏิบัติอยู่อย่างนี้
ชื่อและปฏิญญานี้ของเราทั้งหลายก็จักเป็นความจริงแท้ ใช่แต่เท่านั้น เราทั้งหลาย
ใช้สอยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายกเหล่าใด
ปัจจัยทั้งหลายนั้นของทายกเหล่านั้น ก็จักมีผลมาก มีอานิสงส์มากเพราะเรา
ทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง บรรพชานี้ของเราทั้งหลายก็จักไม่เป็นหมัน จักมีผล มี
ความเจริญ’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้แล
[๔๓๖] ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณะ เป็น
อย่างไร
คือ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีอภิชฌามาก ยังละอภิชฌาไม่ได้ มีจิตพยาบาท ยัง
ละพยาบาทไม่ได้ เป็นผู้มักโกรธ ยังละความมักโกรธไม่ได้ มีความผูกโกรธ ยังละ
ความผูกโกรธไม่ได้ มีความลบหลู่ ยังละความลบหลู่ไม่ได้ มีความตีเสมอ ยังละ
ความตีเสมอไม่ได้ มีความริษยา ยังละความริษยาไม่ได้ มีความตระหนี่ ยังละ
ความตระหนี่ไม่ได้ มีความโอ้อวด ยังละความโอ้อวดไม่ได้ มีมารยา ยังละมารยา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร
ไม่ได้ มีความปรารถนาที่เป็นบาป ยังละความปรารถนาที่เป็นบาปไม่ได้ มีความ
เห็นผิด ยังละความเห็นผิดไม่ได้
เพราะยังละกิเลสที่เป็นมลทินของสมณะ เป็นโทษของสมณะ เป็นดุจน้ำฝาด
ของสมณะ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดในอบาย และมีวิบากที่จะพึงเสวยในทุคติเหล่านี้ไม่ได้
เราจึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณะ’
ภิกษุทั้งหลาย อุปมาเหมือนอาวุธที่ชื่อมตชะ๑มีคม ๒ ข้าง ทั้งชุบและ
ลับดีแล้ว สอดไว้ในฝัก แม้ฉันใด เรากล่าวว่าบรรพชาของภิกษุนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น
มิใช่สมณะด้วยเครื่องแบบและวัตร
[๔๓๗] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้นุ่งห่มผ้าซ้อน๒มีความเป็นสมณะ๓
ด้วยอาการเพียงการนุ่งห่มผ้าซ้อน
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ถือเพศเปลือยกายมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการ
เปลือยกาย
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้หมักหมมด้วยธุลีมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการ
หมักหมมด้วยธุลี
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้อาบน้ำมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการลงอาบน้ำ
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการ
อยู่โคนไม้เป็นวัตร

เชิงอรรถ :
๑ อาวุธที่ชื่อมตชะ หมายถึงอาวุธที่ทำจากผงตะไบเหล็กกล้าซึ่งช่างเหล็กคลุกเนื้อให้นกกระเรียนกินแล้วถ่าย
ไม่ได้ตายเองหรือฆ่าให้ตายแล้วนำผงนั้นมาล้างน้ำ คลุกเนื้อให้นกกระเรียนอื่น ๆ กินอีกทำอย่างนี้จนครบ
๗ ครั้ง ชื่อว่ามตชะ เพราะเกิดจากนกที่ตายแล้ว อาวุธนั้นเป็นอาวุธคมกล้ายิ่งนัก (ม.มู.อ. ๒/๔๓๖/๒๓๓)
๒ ผ้าซ้อน ในที่นี้แปลจากคำว่า สังฆาฏิ หมายถึงผ้าที่ใช้ผ้าเก่าฉีกเป็นชิ้น ๆ เย็บซ้อนกันใช้เป็นผ้านุ่งและห่ม
เป็นข้อวัตรของลัทธินอกศาสนา มิได้หมายถึงสังฆาฏิที่เป็นเครื่องบริขารของภิกษุในธรรมวินัยนี้ (ม.มู.อ.
๒/๔๓๗/๒๓๓, ม.มู.ฏีกา ๒/๔๓๗/๒๙๓)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๔๑๖ (มหาอัสสปุรสูตร) หน้า ๔๕๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้อยู่ในที่แจ้งเป็นวัตรมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียง
การอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ยืนแหงนหน้ามีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการ
ยืนแหงนหน้า
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้บริโภคภัตตามวาระมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียง
การบริโภคภัตตามวาระ
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ท่องมนตร์มีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการท่องมนตร์
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ขมวดผมมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการขมวดผม
หากบุคคลนุ่งห่มผ้าซ้อน มีอภิชฌามาก จะพึงละอภิชฌาได้ด้วยอาการเพียง
การนุ่งห่มผ้าซ้อน มีจิตพยาบาท จะพึงละพยาบาทได้ มีความมักโกรธ จะพึงละ
ความมักโกรธได้ มีความผูกโกรธ จะพึงละความผูกโกรธได้ มีความลบหลู่ จะพึงละ
ความลบหลู่ได้ มีความตีเสมอ จะพึงละความตีเสมอได้ มีความริษยา จะพึงละ
ความริษยาได้ มีความตระหนี่ จะพึงละความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวดจะพึงละ
ความโอ้อวดได้ มีมารยา จะพึงละมารยาได้ มีความปรารถนาที่เป็นบาป จะพึงละ
ความปรารถนาที่เป็นบาปได้ มีความเห็นผิด จะพึงละความเห็นผิดได้ ด้วยอาการ
เพียงการนุ่งห่มผ้าซ้อนไซร้ มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตก็จะพึงให้บุคคลนั้นนุ่งห่ม
ผ้าซ้อนตั้งแต่เกิดทีเดียว พึงชักชวนผู้นั้นให้นุ่งห่มผ้าซ้อนอย่างเดียวว่า ‘ท่านผู้มี
หน้าอิ่มเอิบ มาเถิด ท่านจงนุ่งห่มผ้าซ้อน ท่านผู้นุ่งห่มผ้าซ้อนอยู่ มีอภิชฌามาก
ก็จักละอภิชฌาได้ด้วยอาการเพียงนุ่งห่มผ้าซ้อน มีจิตพยาบาทก็จักละพยาบาทได้
มีความมักโกรธก็จักละความมักโกรธได้ มีความผูกโกรธก็จักละความผูกโกรธได้
มีความลบหลู่ก็จักละความลบหลู่ได้ มีความริษยาก็จักละความริษยาได้ มีความตระหนี่
ก็จักละความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวดก็จักละความโอ้อวดได้ มีมารยาก็จักละ
มารยาได้ มีความปรารถนาที่เป็นบาปก็จักละความปรารถนาที่เป็นบาปได้ มีความ
เห็นผิดก็จักละความเห็นผิดได้ ด้วยอาการเพียงการนุ่งห่มผ้าซ้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเราเห็นบุคคลบางคนในโลกนี้แม้นุ่งห่มผ้าซ้อนอยู่ยังมี
อภิชฌามาก มีจิตพยาบาท มีความมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีความลบหลู่
มีความตีเสมอ มีความริษยา มีความตระหนี่ มีความโอ้อวด มีมารยา มีความ
ปรารถนาที่เป็นบาป มีความเห็นผิด ฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าบุคคลที่นุ่งห่มผ้าซ้อน
มีความเป็นสมณะด้วยอาการเพียงนุ่งห่มผ้าซ้อน
หากบุคคลถือเพศเปลือยกาย ฯลฯ หากบุคคลหมักหมมด้วยธุลี ... หาก
บุคคลอาบน้ำ ... หากบุคคลอยู่โคนไม้ ... หากบุคคลอยู่ในที่แจ้ง ... หากบุคคล
ยืนแหงนหน้า ... หากบุคคลบริโภคภัตตามวาระ ... หากบุคคลท่องมนตร์ ... หาก
บุคคลขมวดผม มีอภิชฌามาก จะพึงละอภิชฌาได้ด้วยอาการเพียงการขมวดผม
มีจิตพยาบาท จะพึงละพยาบาทได้ มีความมักโกรธ จะพึงละความมักโกรธได้ มี
ความผูกโกรธ จะพึงละความผูกโกรธได้ มีความลบหลู่ จะพึงละความลบหลู่ได้ มี
ความตีเสมอ จะพึงละความตีเสมอได้ มีความริษยา จะพึงละความริษยาได้ มีความ
ตระหนี่ จะพึงละความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวด จะพึงละความโอ้อวดได้ มีมารยา
จะพึงละมารยาได้ มีความปรารถนาที่เป็นบาป จะพึงละความปรารถนาที่เป็นบาปได้
มีความเห็นผิด จะพึงละความเห็นผิดได้ด้วยอาการเพียงการขมวดผมไซร้ มิตรอำมาตย์
ญาติสาโลหิตก็จะพึงให้บุคคลนั้นขมวดผมตั้งแต่เกิดทีเดียว พึงชักชวนผู้นั้นให้ขมวด
ผมอย่างเดียวว่า ‘ท่านผู้มีหน้าอิ่มเอิบ มาเถิด ท่านจงเป็นผู้ขมวดผม ท่านผู้
ขมวดผมอยู่ มีอภิชฌามากก็จักละอภิชฌาได้ด้วยอาการเพียงการขมวดผม มีจิต
พยาบาทก็จักละพยาบาทได้ มีความมักโกรธก็จักละความมักโกรธได้ มีความผูก
โกรธก็จักละความผูกโกรธได้ มีความลบหลู่ก็จักละความลบหลู่ได้ มีความตีเสมอ
ก็จักละความตีเสมอได้ มีความริษยาก็จักละความริษยาได้ มีความตระหนี่ก็จักละ
ความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวดก็จักละความโอ้อวดได้ มีมารยาก็จักละมารยาได้
มีความปรารถนาที่เป็นบาปก็จักละความปรารถนาที่เป็นบาปได้ มีความเห็นผิดก็
จักละความเห็นผิดได้ ด้วยอาการเพียงการขมวดผม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเราเห็นบุคคลบางคนในโลกนี้แม้ขมวดผมอยู่ ก็ยังมี
อภิชฌามาก มีจิตพยาบาท มีความมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีความลบหลู่ มี
ความตีเสมอ มีความริษยา มีความตระหนี่ มีความโอ้อวด มีมารยา มีความ
ปรารถนาที่เป็นบาป มีความเห็นผิด ฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ขมวดผมมี
ความเป็นสมณะด้วยอาการเพียงการขมวดผม
ข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณะ
[๔๓๘] ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีอภิชฌามากก็ละอภิชฌาได้ มีจิตพยาบาทก็ละพยาบาทได้
มีความมักโกรธก็ละความมักโกรธได้ มีความผูกโกรธก็ละความผูกโกรธได้ มีความ
ลบหลู่ก็ละความลบหลู่ได้ มีความตีเสมอก็ละความตีเสมอได้ มีความริษยาก็ละความ
ริษยาได้ มีความตระหนี่ก็ละความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวดก็ละความโอ้อวดได้ มี
มารยาก็ละมารยาได้ มีความปรารถนาที่เป็นบาปก็ละความปรารถนาที่เป็นบาปได้
มีความเห็นผิดก็ละความเห็นผิดได้ เพราะละกิเลสที่เป็นมลทิน เป็นโทษ เป็นดุจ
น้ำฝาดของสมณะ เป็นเหตุให้เกิดในอบาย และมีวิบากที่ตนจะพึงเสวยในทุคติ
เหล่านี้ได้ เราจึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนั้นเป็นผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณะ’
ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ หลุดพ้นแล้วจากบาปอกุศลธรรมทั้งปวงนี้
เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ หลุดพ้นแล้วจากบาปอกุศลธรรมทั้งปวงนี้ ความ
ปราโมทย์จึงเกิด เมื่อมีความปราโมทย์ปีติจึงเกิด เมื่อใจมีปีติกายจึงสงบ เมื่อมี
กายสงบเธอจึงเสวยสุข เมื่อเธอมีสุขจิตจึงตั้งมั่น
เธอมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
มีกรุณาจิต ... มีมุทิตาจิต ... มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓
... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร
เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
ภิกษุทั้งหลาย สระโบกขรณี มีน้ำใสบริสุทธิ์ เย็นสะอาด มีท่าดี น่ารื่นรมย์
ถ้าบุรุษมาจากทิศตะวันออก ถูกความร้อนแผดเผา ร้อน ลำบาก กระหาย
อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้วก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ และความ
กระวนกระวายเพราะความร้อนได้ ถ้าบุรุษมาจากทิศตะวันตก ... ถ้าบุรุษมาจาก
ทิศเหนือ ... ถ้าบุรุษมาจากทิศใต้ ... ถ้าบุรุษจะมาจากที่ไหน ๆ ก็ตามถูกความร้อน
แผดเผา ร้อน ลำบาก กระหาย อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว
ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำและความกระวนกระวายเพราะความร้อนได้ แม้ฉันใด
ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลกษัตริย์มาบวชเป็นบรรพชิต เธอมาถึงธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้วเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้
ความสงบระงับในภายใน เรากล่าวว่า ‘เป็นผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่สมควรแก่
สมณะ’ เพราะความสงบระงับในภายในนั้น
ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลพราหมณ์ ...
ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลแพศย์ ...
ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลศูทร ...
ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลไหน ๆ ก็ตามมาบวชเป็นบรรพชิต เธอมาถึง
ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขาอย่างนั้น
ได้ความสงบระงับในภายใน เรากล่าวว่า ‘เป็นผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่สมควรแก่
สมณะ’ เพราะความสงบระงับในภายในนั้น
ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลกษัตริย์มาบวชเป็นบรรพชิต เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ในปัจจุบัน กุลบุตรนี้ชื่อว่าสมณะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป’
ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลพราหมณ์ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลแพศย์ ...
ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลศูทร ...
ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลไหน ๆ ก็ตาม มาบวชเป็นบรรพชิต เธอทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน กุลบุตรนี้ชื่อว่าสมณะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ฉันนั้น
เหมือนกันแล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬอัสสปุรสูตรที่ ๑๐ จบ
มหายมกวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จูฬโคสิงคสูตร ๒. มหาโคสิงคสูตร
๓. มหาโคปาลสูตร ๔. จูฬโคปาลสูตร
๕. จูฬสัจจกสูตร ๖. มหาสัจจกสูตร
๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร ๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
๙. มหาอัสสปุรสูตร ๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑. สาเลยยกสูตร

๕. จูฬยมกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่ หมวดเล็ก

๑. สาเลยยกสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา
เหตุปัจจัยนำไปสุคติและทุคติ
[๔๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลกับภิกษุหมู่ใหญ่ถึงบ้าน
พราหมณ์ชื่อสาลาของชาวโกศล พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านสาลาได้ฟังข่าวว่า๑
“ท่านพระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริก
ไปในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลาโดย
ลำดับแล้ว ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค๒’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรงประกาศ
ให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และ
มีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านสาลาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกได้ทูลสนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๒๕๕/๘๗
๒ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๖๔/๒๔๗, วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑. สาเลยยกสูตร
ประนมมือต่อพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและโคตร
ในสำนักของพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็นั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร
แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๑
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวก
ในโลกนี้ หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอคือความประพฤติอธรรมเป็นเหตุ๒
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วไปเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความประพฤติสม่ำเสมอคือความประพฤติธรรมเป็นเหตุ”
พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นกราบทูลว่า “เนื้อความแห่งธรรมที่ท่านพระโคดม
ตรัสไว้โดยย่อไม่ทรงชี้แจงให้พิสดาร ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ทราบโดยพิสดารได้
ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงเนื้อความแห่งธรรมที่พระองค์ตรัสไว้โดยย่อไม่ทรงชี้แจง
ให้พิสดารนี้แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย โดยวิธีที่ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงทราบโดย
พิสดารเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่าน
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
พวกพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านสาลาทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖๘ (อากังเขยยสูตร) หน้า ๖๑ ในเล่มนี้
๒ ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ(วิสมจริยา) คือ ความประพฤติอธรรม(อธัมมจริยา) หมายถึงอกุศล-
กรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๗/๓๔๘) (วิสมจริยา + อธัมมจริยา = กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑. สาเลยยกสูตร

อกุศลกรรมบถ ๑๐
[๔๔๐] “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ
ความประพฤติอธรรมทางกายมี ๓ ประการ ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ
ความประพฤติอธรรมทางวาจามี ๔ ประการ ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ
ความประพฤติอธรรมทางใจมี ๓ ประการ
ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือความประพฤติอธรรมทางกายมี ๓ ประการ
อะไรบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้๑
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ เป็นคนหยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ปักใจอยู่ใน
การฆ่าและการทุบตี ไม่มีความละอาย ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ คือ เป็นผู้ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ
ของผู้อื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรือในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นเหตุขโมย
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่อยู่ในปกครอง
ของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่อยู่ในปกครองของมารดา
บิดา ที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย ที่อยู่ในปกครองของพี่สาว
น้องสาว ที่อยู่ในปกครองของญาติ ที่อยู่ในปกครองของโคตร ที่
ประพฤติธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง โดยที่สุด แม้สตรีที่
บุรุษสวมด้วยพวงมาลัยหมายไว้
ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือความประพฤติอธรรมทางกายมี ๓ ประการ
อย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑๑/๓๔๖-๓๔๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑. สาเลยยกสูตร
ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือความประพฤติอธรรมทางวาจามี ๔ ประการ
อะไรบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้พูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ
อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็น
พยานซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น’ บุรุษนั้นไม่รู้ก็กล่าว
ว่า ‘รู้’ หรือรู้ก็กล่าวว่า ‘ไม่รู้’ ไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘เห็น’ หรือเห็น
ก็กล่าวว่า ‘ไม่เห็น’ กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะ
บุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
๒. เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลาย
ฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น
ยุยงคนที่สามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่แตกแยกกัน ชื่นชมยินดี เพลิดเพลิน
ต่อผู้ที่แตกแยกกัน พูดแต่ถ้อยคำที่ก่อความแตกแยกกัน
๓. เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำหยาบคาย กล้าแข็ง เผ็ดร้อน
หยาบคายร้ายกาจแก่ผู้อื่น กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ
ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ
๔. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดไม่ถูกเวลา พูดคำที่ไม่จริง พูดคำที่ไม่
อิงประโยชน์ พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย พูดคำที่ไม่มีหลักฐาน
ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยไม่
เหมาะแก่เวลา
ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือความประพฤติอธรรมทางวาจามี ๔ ประการ
อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑. สาเลยยกสูตร
ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือความประพฤติอธรรมทางใจมี ๓ ประการ
อะไรบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่อง
ปลื้มใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
๒. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า
จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศไป หรืออย่าได้มี’
๓. เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่
ทำดีและทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ
บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดี
ปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
สอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก’
ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือความประพฤติอธรรมทางใจมี ๓ ประการ
อย่างนี้แล
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือความประพฤติ
อธรรมเป็นเหตุ อย่างนี้
กุศลกรรมบถ ๑๐
[๔๔๑] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ความประพฤติสม่ำเสมอ คือความ
ประพฤติธรรมทางกายมี ๓ ประการ ความประพฤติสม่ำเสมอ คือความ
ประพฤติธรรมทางวาจามี ๔ ประการ ความประพฤติสม่ำเสมอ คือความ
ประพฤติธรรมทางใจมี ๓ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑. สาเลยยกสูตร
ความประพฤติสม่ำเสมอ คือความประพฤติธรรมทางกายมี ๓ ประการ
อะไรบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ
มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ ไม่ถือเอาทรัพย์อันเป็น
อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นซึ่งอยู่ในบ้านหรือในป่าที่เจ้าของมิได้
ให้ด้วยจิตเป็นเหตุขโมย
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือ ไม่เป็นผู้ประพฤติ
ล่วงในสตรีที่อยู่ในปกครองของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา
ที่อยู่ในปกครองของมารดาบิดา ที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย
ที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว ที่อยู่ในปกครองของญาติ ที่อยู่
ในปกครองของญาติ ที่ประพฤติธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง
โดยที่สุด แม้สตรีที่บุรุษสวมด้วยพวงมาลัยหมายไว้
ความประพฤติสม่ำเสมอ คือความประพฤติธรรมทางกายมี ๓ ประการ
อย่างนี้แล
ความประพฤติสม่ำเสมอ คือความประพฤติธรรมทางวาจามี ๔ ประการ
อะไรบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่
ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลาง
ราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าว
สิ่งนั้น’ บุรุษนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า ‘ไม่รู้’ หรือรู้ก็กล่าวว่า ‘รู้’ ไม่เห็น
ก็กล่าวว่า ‘ไม่เห็น’ หรือเห็นก็กล่าวว่า ‘เห็น’ ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้
เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือ
เห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑. สาเลยยกสูตร
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไม่ไป
บอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มา
บอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกแยกกัน ส่งเสริมคน
ที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่
ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ
๔. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดแต่คำจริง
พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่
อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา
ความประพฤติสม่ำเสมอ คือความประพฤติธรรมทางวาจามี ๔ ประการ
อย่างนี้แล
ความประพฤติสม่ำเสมอ คือความประพฤติธรรมทางใจมี ๓ ประการ
อะไรบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์
อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อัน
เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
๒. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ ไม่มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้ จง
เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด’
๓. เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล
ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี
และทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑. สาเลยยกสูตร
โอปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้ง
โลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง มีอยู่
ในโลก’
ความประพฤติสม่ำเสมอ คือความประพฤติธรรมทางใจมีอยู่ ๓ ประการ
อย่างนี้แล
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายบางพวกในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความประพฤติสม่ำเสมอ คือความประพฤติ
ธรรมเป็นเหตุ อย่างนี้
ผลแห่งความประพฤติสม่ำเสมอ
[๔๔๒] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้
ประพฤติธรรมจะพึงหวังว่า ‘ทำอย่างไรหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดในพวก
ขัตติยมหาศาล’ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว บุคคลนั้นจะพึงเกิดในพวก
ขัตติยมหาศาล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือ
เป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแล
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมจะพึงหวังว่า ‘ทำอย่างไร
หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดในพวกพราหมณมหาศาล ฯลฯ เราพึงเกิดในพวก
คหบดีมหาศาล’ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว บุคคลนั้นจะพึงเกิดในพวกคหบดี-
มหาศาล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติสม่ำเสมอคือเป็นผู้
ประพฤติธรรม อย่างนั้นแล
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมจะพึงหวังว่า ‘ทำอย่างไร
หนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดในเทพชั้นจาตุมหาราช’ เป็นไปได้ที่หลังจากตาย
แล้ว บุคคลนั้นจะพึงเกิดในเทพชั้นจาตุมหาราช ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคล
นั้นเป็นผู้ประพฤติสม่ำเสมอคือเป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแล
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมจะพึงหวังว่า ‘ทำอย่างไร
หนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดในเทพชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ เทพชั้นยามา ...
เทพชั้นดุสิต ... เทพชั้นนิมมานรดี ... เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ... เทพผู้นับเนื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑. สาเลยยกสูตร
ในหมู่พรหม’ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว บุคคลนั้นจะพึงเกิดในเทพผู้นับเนื่องใน
หมู่พรหม๑ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือเป็น
ผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแล
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมจะพึงหวังว่า ‘ทำอย่างไร
หนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดในเทพชั้นอาภา’ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว
บุคคลนั้นจะพึงเกิดในเทพชั้นอาภา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้
ประพฤติสม่ำเสมอ คือเป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแล
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมจะพึงหวังว่า ‘ทำอย่างไร
หนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดในเทพชั้นปริตตาภา ... เทพชั้นอัปปมาณาภา ...
เทพชั้นอาภัสสรา ... เทพชั้นปริตตสุภา ... เทพชั้นอัปปมาณสุภา ... เทพชั้น
สุภกิณหา ... เทพชั้นเวหัปผลา ... เทพชั้นอวิหา ... เทพชั้นอตัปปา ... เทพชั้นสุทัสสา
... เทพชั้นสุทัสสี ... เทพชั้นอกนิฏฐภพ ... เทพผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ ...
เทพผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ ... เทพผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ ... เทพผู้
เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ’ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว บุคคลนั้นจะพึงเกิด
ในเทพผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้น
เป็นผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือเป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแล
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติ
ธรรมจะพึงหวังว่า ‘ทำอย่างไรหนอ เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เป็น
ไปได้ที่บุคคลนั้นจะพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคล
นั้นเป็นผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือเป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแล”

เชิงอรรถ :
๑ เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม(เทพชั้นพรหมกายิกา) หมายถึงเทวดาผู้เคยได้บรรลุฌาน มีฌานชั้นปฐมฌาน
เป็นต้น (ม.มู.อ. ๒/๔๔๒/๒๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๒. เวรัญชกสูตร

ชาวบ้านสาลาถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
[๔๔๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พวกพราหมณ์และคหบดี
ชาวบ้านสาลาได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่าน
พระโคดม ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ
ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า
‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์ทั้งหลายนี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้ง
พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล
สาเลยยกสูตรที่ ๑ จบ

๒. เวรัญชกสูตร
ว่าด้วยชาวเมืองเวรัญชา
เหตุปัจจัยนำไปสุคติและทุคติ
[๔๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พวกพราหมณ์และคหบดีชาวเมืองเวรัญชา
พักอยู่ในกรุงสาวัตถีด้วยกรณียกิจบางอย่าง ได้ฟังข่าวว่า
“ท่านพระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวชแล้วจากศากยตระกูล
ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ท่าน
พระโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๒. เวรัญชกสูตร
พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามใน
ที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์
ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้งนั้น พวกพราหมณ์และคหบดีชาวเมืองเวรัญชาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ได้ทูลสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกประนมมือต่อพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อ
และโคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็นั่งนิ่งอยู่ ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกใน
โลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวก
ในโลกนี้ หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ คือความประพฤติอธรรมเป็นเหตุ
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความประพฤติสม่ำเสมอ คือความประพฤติธรรม
เป็นเหตุ”
พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นทูลว่า “เนื้อความแห่งธรรมที่ท่านพระโคดมตรัส
ไว้โดยย่อไม่ทรงชี้แจงให้พิสดาร ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ทราบโดยพิสดารได้ ขอท่าน
พระโคดมจงแสดงเนื้อความแห่งธรรมที่พระองค์ตรัสไว้โดยย่อไม่ทรงชี้แจงให้พิสดาร
แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย โดยวิธีที่ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงทราบโดยพิสดารเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่าน
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
พวกพราหมณ์และคหบดีชาวเมืองเวรัญชาทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๒. เวรัญชกสูตร

อกุศลกรรมบถ ๑๐
[๔๔๕] “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ
ผู้ประพฤติอธรรมทางกายมี ๓ จำพวก บุคคลผู้ประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติ
อธรรมทางวาจามี ๔ จำพวก บุคคลผู้ประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติอธรรม
ทางใจมี ๓ จำพวก
บุคคลผู้ประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติอธรรมทางกายมี ๓ จำพวก
ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ เป็นคนหยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ปักใจอยู่ในการ
ฆ่าและการทุบตี ไม่มีความละอาย ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ คือ เป็นผู้ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้ม
ใจของผู้อื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรือในป่าที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นเหตุ
ขโมย
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่อยู่ในปกครอง
ของมารดา ฯลฯ
บุคคลผู้ประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติอธรรมทางกายมี ๓ จำพวก
อย่างนี้แล
บุคคลผู้ประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติอธรรมทางวาจามี ๔ จำพวก
ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้พูดเท็จ คือ อยู่ในสภา ฯลฯ เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ฯลฯ
๒. เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้น ฯลฯ
พูดแต่ถ้อยคำที่ก่อความแตกแยกกัน
๓. เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำหยาบคาย กล้าแข็ง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๒. เวรัญชกสูตร
๔. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดไม่ถูกเวลา พูดคำที่ไม่จริง ฯลฯ ไม่มีที่
กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยไม่เหมาะแก่เวลา
บุคคลผู้ประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติอธรรมทางวาจามี ๔ จำพวก
อย่างนี้แล
บุคคลผู้ประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติอธรรมทางใจมี ๓ จำพวก
ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ฯลฯ ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
๒. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอให้สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า
ฯลฯ หรืออย่าได้มี’
๓. เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ฯลฯ สอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง
ก็ไม่มีในโลก’
บุคคลผู้ประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติอธรรมทางใจมี ๓ จำพวก
อย่างนี้แล
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติ
อธรรมเป็นเหตุ อย่างนี้
กุศลกรรมบถ ๑๐
[๔๔๖] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้
ประพฤติธรรมทางกายมี ๓ จำพวก บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติ
ธรรมทางวาจามี ๔ จำพวก บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรม
ทางใจมี ๓ จำพวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๒. เวรัญชกสูตร
บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมทางกายมี ๓ จำพวก
ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ
มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากจากการลักทรัพย์ คือ ไม่ถือเอาทรัพย์อันเป็น
อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรือในป่าที่เจ้าของมิได้ให้
ด้วยจิตเป็นเหตุขโมย
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือ ไม่เป็นผู้ประพฤติ
ล่วงในสตรีที่อยู่ในปกครองของมารดา ฯลฯ
บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมทางกายมี ๓ จำพวก
อย่างนี้แล
บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมทางวาจามี ๔ จำพวก
ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ อยู่ในสภา ฯลฯ ไม่กล่าว
เท็จทั้งที่รู้อยู่ ฯลฯ
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ฯลฯ พูดแต่ถ้อยคำที่
สร้างสรรค์ความสามัคคี
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ฯลฯ พูดแต่คำไม่มีโทษ
๔. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด
ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา
บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมทางวาจามี ๔ จำพวก
อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๒. เวรัญชกสูตร
บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมทางใจ ๓ จำพวก ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็น
อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
๒. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ ไม่มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้ จง
เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด’
๓. เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล
ยัญที่บูชาแล้วมีผล ฯลฯ ผู้ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก’
บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมทางใจมี ๓ จำพวก อย่างนี้แล
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้ว ไปเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความประพฤติสม่ำเสมอ คือความประพฤติธรรมเป็นเหตุ
อย่างนี้
ผลแห่งความประพฤติสม่ำเสมอ
[๔๔๗] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือ
ผู้ประพฤติธรรมจะพึงหวังว่า ‘ทำอย่างไรหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดใน
พวกขัตติยมหาศาล’ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว บุคคลนั้นจะพึงเกิดในพวก
ขัตติยมหาศาล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือ
เป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแล
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมจะพึงหวังว่า ‘ทำอย่างไร
หนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดในพวกพราหมณมหาศาล ฯลฯ เราพึงเกิดใน
พวกคหบดีมหาศาล’ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว บุคคลนั้นจะพึงเกิดในคหบดี-
มหาศาล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือเป็น
ผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๒. เวรัญชกสูตร
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมจะพึงหวังว่า ‘ทำอย่างไร
หนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดในเทพชั้นจาตุมหาราช’ เป็นไปได้ที่หลังจาก
ตายแล้ว บุคคลนั้นจะพึงเกิดในเทพชั้นจาตุมหาราช ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
บุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือเป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแล
ถ้าบุคคลประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมจะพึงหวังว่า ‘ทำอย่างไร
หนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดในเทพชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ เทพชั้นยามา ...
เทพชั้นดุสิต ... เทพชั้นนิมมานรดี ... เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ... เทพผู้นับเนื่อง
ในหมู่พรหม’ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว บุคคลนั้นจะพึงเกิดในเทพผู้นับเนื่อง
ในหมู่พรหม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือ
เป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแล
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมจะพึงหวังว่า ‘ทำอย่างไร
หนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดในเทพชั้นอาภา’ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว
บุคคลนั้นจะพึงเกิดในเทพชั้นอาภา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้น เป็นผู้
ประพฤติสม่ำเสมอ คือเป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแล
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมจะพึงหวังว่า ‘ทำอย่างไร
หนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดในเทพชั้นปริตตาภา ... เทพชั้นอัปปมาณาภา ...
เทพชั้นอาภัสสรา ... เทพชั้นปริตตสุภา ... เทพชั้นอัปปมาณสุภา ... เทพชั้นสุภกิณหา
... เทพชั้นเวหัปผลา ... เทพชั้นอวิหา ... เทพชั้นอตัปปา ... เทพชั้นสุทัสสา ...
เทพชั้นสุทัสสี ... เทพชั้นอกนิฏฐภพ ... เทพผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ ...
เทพผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ ... เทพผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ ... เทพผู้
เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ’ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว บุคคลนั้นจะพึง
เกิดในเทพผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคล
นั้นเป็นผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือเป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแล
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติ
ธรรมจะพึงหวังว่า ‘ทำอย่างไรหนอ เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๒. เวรัญชกสูตร
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เป็น
ไปได้ที่บุคคลนั้นจะพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
บุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือเป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแล”
ชาวเมืองเวรัญชาถึงพระรัตนตรัย
[๔๔๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พวกสมณพราหมณ์และ
คหบดีชาวเมืองเวรัญชาได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่าน
พระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทางหรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า
‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์ทั้งหลายนี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้ง
พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล
เวรัญชกสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๓. มหาเวทัลลสูตร

๓. มหาเวทัลลสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปัญญา สูตรใหญ่
ปัญญากับวิญญาณ
[๔๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระมหาโกฏฐิกะออกจากที่
หลีกเร้น๑แล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระมหาโกฏฐิกะครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามเรื่องนี้กับท่านพระสารีบุตรว่า
“ท่านผู้มีอายุ บุคคลที่เรียกว่า ‘ผู้มีปัญญาทราม ผู้มีปัญญาทราม’ เพราะ
เหตุไรหนอแล๒จึงเรียกว่า ‘ผู้มีปัญญาทราม”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ บุคคลไม่รู้ชัด บุคคลไม่รู้ชัด เหตุนั้น
จึงเรียกว่า ‘ผู้มีปัญญาทราม’ บุคคลไม่รู้ชัดอะไร คือ ไม่รู้ชัดว่า ‘นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ เหตุนั้น บุคคลไม่รู้ชัด
บุคคลไม่รู้ชัด จึงเรียกว่า ‘ผู้มีปัญญาทราม’
ท่านพระมหาโกฏฐิกะชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า “ดีละ ท่านผู้
มีอายุ” แล้วได้ถามปัญหาต่อไปว่า “ท่านผู้มีอายุ บุคคลที่เรียกว่า ‘ผู้มีปัญญา
ผู้มีปัญญา’ เพราะเหตุไรหนอแลจึงเรียกว่า ‘ผู้มีปัญญา’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ขัอ ๘๑ (สัลเลขสูตร) หน้า ๗๐ ในเล่มนี้
๒ คำว่า เพราะเหตุไรหนอแล แปลจากคำว่า “กิตฺตาวตา นุ โข” เป็นคำถามหาเหตุ แท้จริงการถามนั้นมี
๕ อย่าง คือ (๑) อทิฏฐโชตนาปุจฉา - การถามให้แสดงเรื่องที่ตนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้มาก่อน (๒) ทิฏฐ-
สังสันทนาปุจฉา - การถามให้ชี้แจงเรื่องที่เคยทราบมาแล้ว เพื่อเทียบกันดูกับเรื่องที่ตนรู้มา (๓) วิมติ-
เฉทนาปุจฉา - การถามเพื่อให้คลายความสงสัย (๔) อนุมติปุจฉา - การถามเพื่อให้มีความคิดเห็นคล้อยตาม
(๕) กเถตุกามยตาปุจฉา - การถามเพื่อมุ่งจะกล่าวชี้แจงต่อ เป็นลักษณะของการถามเอง ตอบเอง ในที่นี้
พระมหาโกฏฐิกะถามในลักษณะของทิฏฐสังสันทนาปุจฉา (ม.มู.อ. ๒/๔๔๙/๒๔๒-๒๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๓. มหาเวทัลลสูตร
“บุคคลรู้ชัด บุคคลรู้ชัด เหตุนั้น จึงเรียกว่า ‘ผู้มีปัญญา’ บุคคลรู้ชัดอะไร
คือ รู้ชัดว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ เหตุนั้น
บุคคลรู้ชัด บุคคลรู้ชัด จึงเรียกว่า ‘ผู้มีปัญญา”
“สภาวะที่เรียกว่า ‘วิญญาณ วิญญาณ’ เพราะเหตุไรหนอแล จึงเรียกว่า
‘วิญญาณ”
“สภาวะรู้แจ้ง สภาวะรู้แจ้ง เหตุนั้น จึงเรียกว่า ‘วิญญาณ’ สภาวะรู้แจ้งอะไร
คือ รู้แจ้งสุขบ้าง รู้แจ้งทุกข์บ้าง รู้แจ้งอทุกขมสุขบ้าง เหตุนั้น สภาวะรู้แจ้ง
สภาวะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า ‘วิญญาณ”
“ปัญญาและวิญญาณ ๒ ประการนี้ รวมกัน หรือแยกกัน และสามารถ
แยกแยะ บัญญัติหน้าที่ต่างกันได้หรือไม่”
“ปัญญาและวิญญาณ ๒ ประการนี้ รวมกัน ไม่แยกกัน และไม่สามารถ
แยกแยะบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้ เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น
วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น เหตุนั้นธรรม ๒ ประการนี้ จึงรวมกัน
ไม่แยกกัน และไม่สามารถแยกแยะบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้”
“ท่านผู้มีอายุ ปัญญาและวิญญาณ ๒ ประการนี้ รวมกัน ไม่แยกกัน แต่
มีกิจที่จะพึงทำต่างกันบ้างหรือไม่”
“ท่านผู้มีอายุ ปัญญาและวิญญาณ ๒ ประการนี้ รวมกัน ไม่แยกกัน แต่
ปัญญา๑ควรเจริญ วิญญาณ๒ควรกำหนดรู้ นี้เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒
ประการนี้”

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงมัคคปัญญา (ปัญญาในอริยมรรค)
๒ วิญญาณ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาวิญญาณ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๑/๒๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๓. มหาเวทัลลสูตร

เวทนา สัญญา และวิญญาณ
[๔๕๐] “ท่านผู้มีอายุ สภาวะที่เรียกว่า ‘เวทนา เวทนา’ เพราะเหตุไรหนอแล
จึงเรียกว่า ‘เวทนา”
“ท่านผู้มีอายุ สภาวะเสวยอารมณ์ สภาวะเสวยอารมณ์ เหตุนั้น จึงเรียกว่า
‘เวทนา’ สภาวะเสวยอารมณ์อะไร คือ เสวยอารมณ์สุขบ้าง เสวยอารมณ์ทุกข์บ้าง
เสวยอารมณ์อทุกขมสุขบ้าง เหตุนั้น สภาวะเสวยอารมณ์ สภาวะเสวยอารมณ์
จึงเรียกว่า ‘เวทนา”
“สภาวะที่เรียกว่า ‘สัญญา สัญญา’ เพราะเหตุไรหนอแลจึงเรียกว่า ‘สัญญา”
“สภาวะกำหนดหมาย สภาวะกำหนดหมาย เหตุนั้น จึงเรียกว่า ‘สัญญา’
สภาวะกำหนดหมายอะไร คือ กำหนดหมายสีเขียวบ้าง กำหนดหมาย
สีเหลืองบ้าง กำหนดหมายสีแดงบ้าง กำหนดหมายสีขาวบ้าง เหตุนั้น สภาวะ
กำหนดหมาย สภาวะกำหนดหมาย จึงเรียกว่า ‘สัญญา”
“เวทนา สัญญา และวิญญาณ ๓ ประการนี้ รวมกัน หรือแยกกัน และ
สามารถแยกแยะบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้หรือไม่”
“เวทนา สัญญา และวิญญาณ ๓ ประการนี้ รวมกัน ไม่แยกกัน และไม่
สามารถแยกแยะบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้ เพราะเวทนาเสวยอารมณ์สิ่งใด สัญญา
ก็กำหนดหมายสิ่งนั้น สัญญากำหนดหมายสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น เหตุนั้น
ธรรม ๓ ประการนี้ จึงรวมกัน ไม่แยกกัน และไม่สามารถแยกแยะบัญญัติหน้าที่
ต่างกันได้”
[๔๕๑] “ท่านผู้มีอายุ พระโยคาวจรผู้มีมโนวิญญาณ๑อันบริสุทธิ์ สละแล้ว
จากอินทรีย์ ๕ จะพึงรู้อะไร”

เชิงอรรถ :
๑ มโนวิญญาณ ในที่นี้หมายถึงจิตในฌานที่ ๔ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๑/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๓. มหาเวทัลลสูตร
“ท่านผู้มีอายุ พระโยคาวจรผู้มีมโนวิญญาณอันบริสุทธิ์สละแล้วจากอินทรีย์ ๕
พึงรู้อากาสานัญจายตนฌานว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ พึงรู้วิญญาณัญจายตนฌานว่า
‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ พึงรู้อากิญจัญญายตนฌานว่า ‘ไม่มีอะไร”๑
“พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมที่ตนจะพึงรู้ด้วยอะไร”
“พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมที่ตนจะพึงรู้ด้วยปัญญาจักษุ”๒
“ปัญญามีไว้เพื่ออะไร”
“ปัญญามีไว้เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อการกำหนดรู้ และเพื่อการละ”
ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ
[๔๕๒] “ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิมีเท่าไร”
“ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิมี ๒ ประการ คือ
๑. ปรโตโฆสะ๓(การได้สดับจากบุคคลอื่น)
๒. โยนิโสมนสิการ๔(การมนสิการโดยแยบคาย)
ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิมี ๒ ประการนี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความนี้หมายถึงพระโยคาวจรผู้บำเพ็ญเพียรอาศัยมโนวิญญาณ กล่าวคือรูปาวจรฌานจิตในฌานที่ ๔
เป็นพื้นฐาน จึงจะสามารถบำเพ็ญให้อรูปาวจรสมาบัติที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนสมาบัติให้เกิดขึ้นได้
สามารถให้อรูปาวจรสมาบัติอื่นเกิดขึ้นต่อมาตามลำดับ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๑/๒๕๓)
๒ ปัญญาจักษุ ในที่นี้หมายถึงสมาธิปัญญา และวิปัสสนาปัญญา สมาธิปัญญา ทำหน้าที่กำจัดโมหะ
วิปัสสนาปัญญา ทำหน้าที่พิจารณาไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๑/๒๕๔)
๓ ปรโตโฆสะ ในที่นี้หมายถึงการฟังธรรมเป็นที่สบายเหมาะสมแก่ตน เช่นพระสารีบุตรเถระได้ฟังธรรมจาก
พระอัสสชิเถระว่า ‘ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ...’ (ดู วิ.ม. (แปล) ๔/๖๐/๗๓) (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔)
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๕ (สัพพาสวสูตร) หน้า ๑๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๓. มหาเวทัลลสูตร
“สัมมาทิฏฐิ๑ซึ่งมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ มีปัญญา-
วิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ เพราะมีองค์ธรรมเท่าไรสนับสนุน”
“สัมมาทิฏฐิซึ่งมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ มีปัญญา-
วิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ เพราะมีองค์ธรรม ๕ ประการ
สนับสนุน คือ
๑. มีศีล๒สนับสนุน
๒. มีสุตะ๓สนับสนุน
๓. มีสากัจฉา๔สนับสนุน
๔. มีสมถะ๕สนับสนุน
๕. มีวิปัสสนา๖สนับสนุน
สัมมาทิฏฐิซึ่งมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ มีปัญญา-
วิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ เพราะมีองค์ธรรม ๕ ประการ
นี้แลสนับสนุน”

เชิงอรรถ :
๑ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมัคคสัมมาทิฏฐิ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔)
๒ ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ เพราะปาริสุทธิศีล ๔ เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุอริยมรรค (ม.มู.อ.
๒/๔๕๒/๒๕๔, ม.มู.ฏีกา ๒/๔๕๒/๓๒๖)
๓ สุตะ ในที่นี้หมายถึงการฟังธรรมที่เป็นสัปปายะ มีความหมายเท่ากับปรโตโฆสะ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔)
๔ สากัจฉา หมายถึงการปรับกัมมัฏฐานให้เกิดความเหมาะสม (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔)
๕ สมถะ หมายถึงสมาบัติที่เป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔)
๖ วิปัสสนา หมายถึงอนุปัสสนา ๗ ประการ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๓. มหาเวทัลลสูตร

ภพและฌาน
[๔๕๓] “ท่านผู้มีอายุ ภพมีเท่าไร”
“ท่านผู้มีอายุ ภพมี ๓ คือ (๑) กามภพ (๒) รูปภพ (๓) อรูปภพ”
“การเกิดในภพใหม่ต่อไป มีได้อย่างไร”
“เพราะความยินดียิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกีดกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพันไว้ การเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้อย่างนี้”
“การเกิดในภพใหม่ต่อไป ไม่มีได้อย่างไร”
“เพราะอวิชชาสิ้นไป เพราะวิชชาเกิดขึ้น และเพราะตัณหาดับไป การเกิด
ขึ้นในภพใหม่ต่อไป ไม่มีได้อย่างนี้”
[๔๕๔] “ท่านผู้มีอายุ ปฐมฌาน เป็นอย่างไร”
“ท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ฌานนี้พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ‘ปฐมฌาน”
“ปฐมฌานมีองค์เท่าไร”
“ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ ภิกษุผู้เข้าปฐมฌานย่อมมี (๑) วิตก (๒) วิจาร
(๓) ปีติ (๔) สุข (๕) เอกัคคตา ปฐมฌานมีองค์ ๕ อย่างนี้”
“ปฐมฌานละองค์เท่าไร ประกอบด้วยองค์เท่าไร”
“ปฐมฌานละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เข้าปฐมฌาน (๑) ละกามฉันทะ (๒) ละพยาบาท (๓) ละถีนมิทธะ (๔) ละอุทธัจจ-
กุกกุจจะ (๕) ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ย่อมมี (๑) วิตก (๒) วิจาร (๓) ปีติ (๔) สุข
(๕) เอกัคคตา ปฐมฌานละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๓. มหาเวทัลลสูตร

อินทรีย์ ๕
[๔๕๕] “ท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ (๑) จักขุนทรีย์
(๒) โสตินทรีย์ (๓) ฆานินทรีย์ (๔) ชิวหินทรีย์ (๕) กายินทรีย์ มีอารมณ์ต่างกัน
มีที่เที่ยวไปต่างกัน ไม่รับรู้อารมณ์อันเป็นที่เที่ยวไปของกันและกัน เมื่ออินทรีย์ ๕
ประการนี้มีอารมณ์ต่างกัน มีที่เที่ยวไปต่างกัน ไม่รับรู้อารมณ์อันเป็นที่เที่ยวไปของ
กันและกัน จะมีอะไรเป็นที่อาศัย และธรรมอะไรรับรู้อารมณ์อันเป็นที่เที่ยวไปแห่ง
อินทรีย์ ๕ ประการนั้น”
“ท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ (๑) จักขุนทรีย์ (๒) โสตินทรีย์
(๓) ฆานินทรีย์ (๔) ชิวหินทรีย์ (๕) กายินทรีย์ มีอารมณ์ต่างกัน มีที่เที่ยวไปต่างกัน
ไม่รับรู้อารมณ์อันเป็นที่เที่ยวไปของกันและกัน เมื่ออินทรีย์เหล่านี้มีอารมณ์ต่างกัน
มีที่เที่ยวไปต่างกัน ไม่รับรู้อารมณ์อันเป็นที่เที่ยวไปของกันและกัน มีใจเป็นที่อาศัย
และใจย่อมรับรู้อารมณ์อันเป็นที่เที่ยวไปแห่งอินทรีย์เหล่านั้น”
[๔๕๖] “ท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ (๑) จักขุนทรีย์
(๒) โสตินทรีย์ (๓) ฆานินทรีย์ (๔) ชิวหินทรีย์ (๕) กายินทรีย์ อินทรีย์ ๕
ประการนี้อาศัยอะไรดำรงอยู่”
“ท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ (๑) จักขุนทรีย์ (๒) โสตินทรีย์
(๓) ฆานินทรีย์ (๔) ชิวหินทรีย์ (๕) กายินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้อาศัยอายุ๑
ดำรงอยู่”
“อายุอาศัยอะไรดำรงอยู่”
“อายุอาศัยไออุ่น๒ดำรงอยู่”
“ไออุ่นอาศัยอะไรดำรงอยู่”
“ไออุ่นอาศัยอายุดำรงอยู่”
“ผมรู้ทั่วถึงภาษิตของท่านพระสารีบุตรในบัดนี้เองอย่างนี้ว่า ‘อายุอาศัยไออุ่น
ดำรงอยู่และไออุ่นอาศัยอายุดำรงอยู่’ แต่ผมจะพึงเข้าใจความแห่งภาษิตนี้ได้อย่างไร”

เชิงอรรถ :
๑ อายุ ในที่นี้หมายถึงรูปชีวิตินทรีย์ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๖/๒๕๗-๒๕๙)
๒ ไออุ่น หมายถึงเตโชธาตุที่เกิดจากกรรม (ม.มู.อ. ๒/๔๕๖/๒๕๗-๒๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๓. มหาเวทัลลสูตร
“ถ้าเช่นนั้น ผมจักอุปมาให้ท่านฟัง เพราะวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ย่อมทราบ
ความแห่งภาษิตได้ด้วยอุปมา เมื่อประทีปน้ำมันกำลังติดไฟอยู่ แสงสว่างอาศัย
เปลวไฟจึงปรากฏ เปลวไฟก็อาศัยแสงสว่างจึงปรากฏอยู่แม้ฉันใด อายุอาศัยไออุ่น
ดำรงอยู่ ไออุ่นก็อาศัยอายุดำรงอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
[๔๕๗] “ท่านผู้มีอายุ อายุสังขาร๑ กับเวทนียธรรม๒เป็นอันเดียวกัน หรือต่างกัน”
“ท่านผู้มีอายุ อายุสังขารกับเวทนียธรรม ไม่เป็นอันเดียวกัน (ถ้า) อายุสังขาร
กับเวทนียธรรมเป็นอันเดียวกันแล้ว การออกจากสมาบัติของภิกษุผู้เข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธ ก็ไม่พึงปรากฏ แต่เพราะอายุสังขารกับเวทนียธรรมต่างกัน ฉะนั้น
การออกจากสมาบัติของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ จึงปรากฏ”
“เมื่อธรรมเท่าไรละกายนี้ไป กายนี้จึงถูกทอดทิ้งนอนนิ่งเหมือนท่อนไม้ที่
ปราศจากเจตนา”
“เมื่อธรรม ๓ ประการ คือ (๑) อายุ (๒) ไออุ่น (๓) วิญญาณ๓ ละกายนี้ไป
กายนี้จึงถูกทอดทิ้ง นอนนิ่งเหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา”
“สัตว์ผู้ตายคือทำกาละไปแล้วกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธต่างกันอย่างไร”
“สัตว์ผู้ตายคือทำกาละไปแล้วมีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร๔ดับระงับไป
มีอายุหมดสิ้นไป ไม่มีไออุ่น มีอินทรีย์แตกทำลาย ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิต-
นิโรธมีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขารดับ ระงับไป แต่อายุยังไม่หมดสิ้น
ยังมีไออุ่นมีอินทรีย์ผ่องใส
สัตว์ผู้ตายคือทำกาละไปแล้วกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธต่างกันอย่างนี้”

เชิงอรรถ :
๑ อายุสังขาร หมายถึงอายุนั่นเอง (ม.มู.อ. ๒/๔๕๗/๒๕๘)
๒ เวทนียธรรม หมายถึงเวทนาธรรม (ม.มู.อ. ๒/๔๕๗/๒๕๘)
๓ วิญญาณ หมายถึงจิต (ม.มู.อ. ๒/๔๕๗/๒๕๙)
๔ กายสังขาร หมายถึงลมหายใจเข้าออก วจีสังขาร หมายถึงวิตกวิจาร จิตตสังขาร หมายถึงสัญญาเวทนา
(ม.มู.อ. ๒/๔๕๗/๒๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๓. มหาเวทัลลสูตร

ปัจจัยแห่งเจโตวิมุตติ
[๔๕๘] “ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขมีเท่าไร”
“ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขมี ๔ ประการ
คือ (๑) เพราะละสุขได้ (๒) เพราะละทุกข์ได้ (๓) เพราะโสมนัสดับไปก่อน
(๔) เพราะโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้จึงบรรลุจตุตถฌาน ซึ่งไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขมี ๔ ประการนี้แล”
“ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิต๑ มีเท่าไร”
“ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี ๒ ประการ คือ
๑. การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง๒
๒. การมนสิการถึงนิพพานธาตุ ซึ่งไม่มีนิมิต๓
ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี ๒ ประการนี้แล”
“ปัจจัยแห่งการตั้งอยู่แห่งเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิต มีเท่าไร”
“ปัจจัยแห่งการตั้งอยู่แห่งเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี ๓ ประการ คือ
๑. ไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง
๒. มนสิการถึงนิพพานธาตุ ซึ่งไม่มีนิมิต
๓. อภิสังขาร๔ในเบื้องต้น
ปัจจัยแห่งการตั้งอยู่แห่งเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี ๓ ประการนี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ นิมิต ในความหมายนี้หมายถึงการออกจากนิโรธสมาบัติด้วยผลสมาบัติซึ่งเป็นผลเกิดจากวิปัสสนา (ม.มู.อ.
๒/๔๕๘/๒๖๐)
๒ นิมิตทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงอารมณ์มีรูปเป็นต้น (ม.มู.อ. ๒/๔๕๘/๒๖๐)
๓ การมนสิการถึงนิพพานซึ่งไม่มีนิมิต หมายถึงการมนสิการถึงธรรมที่เกิดร่วมกับผลสมาบัติ (ม.มู.อ.
๒/๔๕๘/๒๖๐)
๔ อภิสังขาร หมายถึงการกำหนดระยะเวลาอยู่ในสมาธิ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๘/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๓. มหาเวทัลลสูตร
“ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิต มีเท่าไร”
“ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี ๒ ประการ คือ
๑. การมนสิการถึงนิมิตทั้งปวง
๒. การไม่มนสิการถึงนิพพานธาตุ ซึ่งไม่มีนิมิต
ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี ๒ ประการนี้แล”
[๔๕๙] “ท่านผู้มีอายุ ธรรมเหล่านี้ คือ อัปปมาณาเจโตวิมุตติ๑
อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ๒ สุญญตาเจโตวิมุตติ๓ อนิมิตตาเจโตวิมุตติ๔ มีอรรถต่างกัน
มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”
“ท่านผู้มีอายุ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกัน และมี
พยัญชนะต่างกัน เหตุนั้นมีอยู่ อนึ่ง เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถ
อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เหตุนั้นมีอยู่”
“เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน
เหตุนั้นเป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก

เชิงอรรถ :
๑ อัปปมาณาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ธรรม ๑๒ ประการ คือ พรหมวิหาร ๔ มรรค ๔ ผล ๔ พรหมวิหาร
ชื่อว่า อัปปมาณะ เพราะแผ่ไปหาประมาณมิได้ ธรรมที่เหลือชื่อว่าอัปปมาณะ เพราะไม่มีกิเลสเป็นเครื่องวัด
(ม.มู.อ. ๒/๔๕๙/๒๖๒, สํ.สฬา.อ. ๓/๓๔๙/๑๖๐)
๒ อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ธรรม ๙ ประการ คือ อากิญจัญญายตนะ ๑ มรรค ๔ ผล ๔
อากิญจัญญายตนะ ชื่อว่าอากิญจัญญะ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องกังวลเป็นอารมณ์ มรรคและผล ชื่อว่า
อากิญจัญญะ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องกังวลคือกิเลสเครื่องย่ำยีและกิเลสเครื่องผูก (ม.มู.อ. ๒/๔๕๙/๒๖๒,
สํ.สฬา.อ. ๓/๓๔๙/๑๖๐)
๓ สุญญตาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ความหลุดพ้นโดยว่างจากราคะ โทสะ โมหะ เพราะพิจารณานามรูปโดยความ
เป็นอนัตตา (ม.มู.อ. ๒/๔๕๙/๒๖๓, สํ.สฬา.อ. ๓/๓๔๙/๑๖๑)
๔ อนิมิตตาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ธรรม ๑๓ ประการ คือ วิปัสสนา ๑ อรูป ๔ มรรค ๔ ผล ๔ (ม.มู.อ.
๒/๔๕๙/๒๖๓, สํ.สฬา.อ. ๓/๓๔๙/๑๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๓. มหาเวทัลลสูตร
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิต อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ... มีมุทิตาจิต ...
มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
นี้เรียกว่า ‘อัปปมาณาเจโตวิมุตติ’
อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร
คือ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุในพระธรรม-
วินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’
นี้เรียกว่า ‘อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ’
สุญญตาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
พิจารณาเห็นว่า ‘สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนบ้าง’
นี้เรียกว่า ‘สุญญตาเจโตวิมุตติ’
อนิมิตตาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บรรลุอนิมิตตาเจโตสมาธิ เพราะไม่มนสิการถึง
นิมิตทั้งปวงอยู่
นี้เรียกว่า ‘อนิมิตตาเจโตวิมุตติ’
เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน
เหตุนั้น เป็นอย่างนี้แล
เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่
พยัญชนะเท่านั้น เหตุนั้น เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๔๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๓. มหาเวทัลลสูตร
คือ ราคะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องวัด โทสะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องวัด โมหะชื่อว่า
กิเลสเป็นเครื่องวัด กิเลสเหล่านั้นภิกษุผู้ขีณาสพละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้
เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘เลิศกว่าอัปปมาณา-
เจโตวิมุตติที่มีอยู่’ เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้น ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่าง
จากโมหะ ราคะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกังวล โทสะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกังวล
โมหะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกังวล กิเลสเหล่านั้นภิกษุผู้ขีณาสพละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘เลิศกว่าอากิญจัญญาเจโต-
วิมุตติที่มีอยู่’ เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้น ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ
ราคะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องทำนิมิต โทสะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องทำนิมิต โมหะชื่อว่า
กิเลสเป็นเครื่องทำนิมิต กิเลสเหล่านั้นภิกษุผู้ขีณาสพละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก
ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ท่านผู้มีอายุ เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘เลิศกว่า
อนิมิตตาเจโตวิมุตติที่มีอยู่’ เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้น ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ
ว่างจากโมหะ
เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่
พยัญชนะเท่านั้น เหตุนั้น เป็นอย่างนี้แล”
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหาโกฏฐิกะมีใจยินดีชื่นชม
ภาษิตของท่านพระสารีบุตร ดังนี้แล
มหาเวทัลลสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๔. จูฬเวทัลลสูตร

๔. จูฬเวทัลลสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปัญญา สูตรเล็ก
สักกายทิฏฐิ
[๔๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๑
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น อุบาสกชื่อวิสาขะเข้าไปหาภิกษุณีชื่อธัมมทินนาถึงที่อยู่
น้อมไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร แล้วได้ถามธัมมทินนาภิกษุณีว่า “แม่เจ้าขอรับ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สักกายะ สักกายะ’ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
‘สักกายะ”
ธัมมทินนาภิกษุณีตอบว่า “ท่านวิสาขะ อุปาทานขันธ์๒ ๕ ประการ คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

ท่านวิสาขะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
‘สักกายะ”
วิสาขอุบาสกชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของธัมมทินนาภิกษุณีว่า “ดีละ แม่เจ้า”
แล้วได้ถามปัญหาต่อไปว่า “แม่เจ้าขอรับ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สักกายสมุทัย
สักกายสมุทัย’ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ‘สักกายสมุทัย”
“ท่านวิสาขะ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความ
กำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ‘สักกายสมุทัย”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๕๒ (รถวินีตสูตร) หน้า ๒๗๓ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๙๑ (สัมมาทิฏฐิสูตร) หน้า ๘๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๔. จูฬเวทัลลสูตร
“พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สักกายนิโรธ สักกายนิโรธ’ ธรรมอะไรที่พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกว่า ‘สักกายนิโรธ”
“ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ‘สักกายนิโรธ”
“พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา สักกายนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ‘สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา”
“อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ‘สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา”
“แม่เจ้าขอรับ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นอันเดียวกัน หรือต่างกัน”
“ท่านวิสาขะ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ทั้งไม่เป็นอันเดียวกัน ทั้งไม่ต่างกัน
ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ ก็คืออุปาทานนั้นเอง”
[๔๖๑] “แม่เจ้าขอรับ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างไร”
“ท่านวิสาขะ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ยังไม่ได้สดับ ไม่ได้พบพระอริยะทั้งหลาย ไม่
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้พบ
สัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของ
สัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง
พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็นเวทนา
ฯลฯ พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณา
เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง สักกายทิฏฐิ
มีได้ อย่างนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๔. จูฬเวทัลลสูตร
“แม่เจ้าขอรับ สักกายทิฏฐิไม่มีได้อย่างไร”
“ท่านวิสาขะ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับแล้ว ได้พบพระอริยะ
ทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
พบสัตบุรุษทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของ
สัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
บ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็น
เวทนา ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลาย ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน
วิญญาณบ้าง สักกายทิฏฐิไม่มีได้ อย่างนี้แล”
มรรคมีองค์ ๘ กับขันธ์ ๓
[๔๖๒] “แม่เจ้าขอรับ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นอย่างไร”
“ท่านวิสาขะ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ”

“อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตธรรม๑หรือเป็นอสังขตธรรม๒”
“อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตธรรม”
“พระผู้มีพระภาคทรงจัดขันธ์ ๓ ประการ เข้าในอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือว่า
ทรงจัดอริยมรรคมีองค์ ๘ เข้าในขันธ์ ๓ ประการ”

เชิงอรรถ :
๑ สังขตธรรม หมายถึงธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ ขันธ์ ๕ (อภิ.สงฺ.(แปล) ๓๔/๑๐๘๙/๒๗๗)
๒ อสังขตธรรม หมายถึงธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน (อภิ.สงฺ.(แปล) ๓๔/๑๐๙๐/๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๔. จูฬเวทัลลสูตร
“พระผู้มีพระภาคไม่ทรงจัดขันธ์ ๓ ประการ เข้าในอริยมรรคมีองค์ ๘ แต่
ทรงจัดอริยมรรคมีองค์ ๘ เข้าในขันธ์ ๓ ประการ คือ
๑. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ทรงจัดเข้าในสีลขันธ์
๒. สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ทรงจัดเข้าในสมาธิขันธ์
๓. สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ ทรงจัดเข้าในปัญญาขันธ์”
สมาธิและสังขาร
“แม่เจ้าขอรับ ธรรมชนิดใดเป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใดเป็นนิมิตของสมาธิ
ธรรมเหล่าใดเป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การเจริญสมาธิ เป็นอย่างไร”
“ท่านวิสาขะ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเป็นสมาธิ สติปัฏฐาน ๔ เป็น
นิมิตของสมาธิ สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การเสพ๑ การเจริญ
การทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นนั่นแล เป็นการเจริญสมาธิ”
[๔๖๓] “แม่เจ้าขอรับ สังขารมีเท่าไร”
“ท่านวิสาขะ สังขารมี ๓ ประการ คือ (๑) กายสังขาร๒ (๒) วจีสังขาร๓
(๓) จิตตสังขาร๔”
“ก็กายสังขารเป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร จิตตสังขารเป็นอย่างไร”
“ลมอัสสาสะ(ลมหายใจเข้า) และลมปัสสาสะ(ลมหายใจออก) เป็นกายสังขาร
วิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนาเป็นจิตตสังขาร”

เชิงอรรถ :
๑ การเสพ ในที่นี้หมายถึงการเสพที่เป็นไปชั่วขณะจิตเดียว (ม.มู.อ. ๒/๔๖๒/๒๗๑)
๒ กายสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ลมหายใจ (ม.มู.อ. ๒/๔๖๓/๒๗๒, องฺ.ติก.อ.
๒/๒๓/๑๐๑)
๓ วจีสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร หรือวจีสัญเจตนา คือความ
จงใจทางวาจา (ม.มู.อ. ๒/๔๖๓/๒๗๒, องฺ.ติก.อ.�๒/๒๓/๑๐๑)
๔ จิตตสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา หรือมโนสัญเจตนา คือ
ความจงใจทางใจ (ม.มู.อ. ๒/๔๖๓/๒๗๒, องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๔. จูฬเวทัลลสูตร
“แม่เจ้าขอรับ เพราะเหตุไร ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะจึงเป็นกายสังขาร
วิตกและวิจารจึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนาจึงเป็นจิตตสังขาร”
“ท่านวิสาขะ ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะเหล่านี้เป็นธรรมที่มีอยู่คู่กาย เนื่อง
กับกาย ฉะนั้น ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะจึงเป็นกายสังขาร บุคคลตรึกและตรอง
ก่อนแล้วจึงเปล่งวาจา ฉะนั้น วิตกและวิจารจึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา
เป็นธรรมที่มีอยู่คู่จิต เนื่องกับจิต ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงเป็นจิตตสังขาร”
สัญญาเวทยิตนิโรธ
[๔๖๔] “แม่เจ้าขอรับ การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นอย่างไร”
“ท่านวิสาขะ ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรา
จักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือเราเข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธแล้ว’ ที่แท้ จิตที่ท่านอบรมไว้ในเบื้องต้นอย่างนั้น ย่อมนำเข้าไปใน
ภาวะนั้นได้เอง”
“เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ธรรมเหล่าไหนที่ดับไปก่อน กายสังขาร
วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร”
“เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารดับไปก่อน จากนั้นกายสังขารจึงดับ
ส่วนจิตตสังขารดับทีหลัง”
“การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นอย่างไร”
“ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรา
จักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
หรือเราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว’ ที่แท้ จิตที่ท่านอบรมไว้ในเบื้อง
ต้นอย่างนั้น ย่อมนำเข้าไปในภาวะนั้นได้เอง”
“เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนเกิดขึ้นก่อน
กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๔. จูฬเวทัลลสูตร
“เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิดขึ้นก่อน จากนั้น
กายสังขารก็เกิดขึ้น ส่วนวจีสังขารเกิดขึ้นทีหลัง”
“ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”
“ผัสสะ ๓ อย่าง คือ (๑) ผัสสะชื่อสุญญตะ(ว่าง) (๒) ผัสสะชื่อ
อนิมิตตะ(ไม่มีนิมิต) (๓) ผัสสะชื่ออัปปณิหิตะ(ไม่มีที่ตั้ง) ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออก
จากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”
“แม่เจ้าขอรับ ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติมีจิตน้อมไปใน
ธรรมอะไร โน้มไปในธรรมอะไร และโอนไปในธรรมอะไร”
“ท่านวิสาขะ ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีจิตน้อมไปใน
วิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก”
เวทนา
[๔๖๕] “แม่เจ้าขอรับ เวทนามีเท่าไร”
“ท่านวิสาขะ เวทนามี ๓ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา
(๓) อทุกขมสุขเวทนา”
“สุขเวทนาเป็นอย่างไร ทุกขเวทนาเป็นอย่างไร อทุกขมสุขเวทนาเป็นอย่างไร”
“การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข สำราญทางกาย หรือทางใจ นี้เป็นสุขเวทนา
การเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ ไม่สำราญทางกาย หรือทางใจ นี้เป็นทุกขเวทนา
การเสวยอารมณ์ที่มิใช่ความสำราญและที่มิใช่ความไม่สำราญทางกายหรือทางใจ นี้เป็น
อทุกขมสุขเวทนา”
“สุขเวทนาเป็นสุขเพราะอะไร เป็นทุกข์เพราะอะไร ทุกขเวทนาเป็นสุขเพราะ
อะไร เป็นทุกข์เพราะอะไร อทุกขมสุขเวทนาเป็นสุขเพราะอะไร เป็นทุกข์เพราะอะไร”
“สุขเวทนาเป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป ทุกขเวทนาเป็นทุกข์
เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป อทุกขมสุขเวทนาเป็นสุขเพราะรู้ เป็นทุกข์เพราะไม่รู้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๔. จูฬเวทัลลสูตร
“อนุสัยชนิดไหนนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา อนุสัยชนิดไหนนอนเนื่องอยู่ใน
ทุกขเวทนา อนุสัยชนิดไหนนอนเนื่องอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา”
“ราคานุสัย(กิเลสที่นอนเนื่องคือความกำหนัด) นอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา
ปฏิฆานุสัย(กิเลสที่นอนเนื่องคือความขัดเคือง) นอนเนื่องอยู่ในทุกขเวทนา
อวิชชานุสัย(กิเลสที่นอนเนื่องคือความไม่รู้จริง) นอนเนื่องอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา”
“ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมดหรือ ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ใน
ทุกขเวทนาทั้งหมดหรือ อวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมดหรือ”
“ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมดหามิได้ ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่
ในทุกขเวทนาทั้งหมดหามิได้ อวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด
หามิได้”
“ธรรมอะไรจะพึงละได้ในสุขเวทนา ธรรมอะไรจะพึงละได้ในทุกขเวทนา
ธรรมอะไรจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา”
“ราคานุสัยจะพึงละได้ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยจะพึงละได้ในทุกขเวทนา
อวิชชานุสัยจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา”
“แม่เจ้าขอรับ ราคานุสัยจะพึงละได้ในสุขเวทนาทั้งหมดหรือ ปฏิฆานุสัยจะ
พึงละได้ในทุกขเวทนาทั้งหมดหรือ อวิชชานุสัยจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา
ทั้งหมดหรือ”
“ท่านวิสาขะ ราคานุสัยจะพึงละได้ในสุขเวทนาทั้งหมดหามิได้ ปฏิฆานุสัยจะ
พึงละได้ในทุกขเวทนาทั้งหมดหามิได้ อวิชชานุสัยจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา
ทั้งหมดหามิได้ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ย่อมละราคะได้ด้วย
ปฐมฌานนั้น ราคานุสัยมิได้นอนเนื่องอยู่ในปฐมฌานนั้น
อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นอยู่ว่า ‘เมื่อไร เราจะได้บรรลุ
อายตนะ ที่พระอริยะทั้งหลายบรรลุแล้ว ดำรงอยู่ในบัดนี้’ เมื่อภิกษุนั้นตั้งความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๔. จูฬเวทัลลสูตร
ปรารถนาในวิโมกข์ทั้งหลายอันเป็นอนุตตรธรรม๑อย่างนี้ โทมนัสย่อมเกิดขึ้นเพราะ
ความปรารถนาเป็นปัจจัย ท่านละปฏิฆะได้ด้วยโทมนัสนั้น ปฏิฆานุสัยมิได้นอน
เนื่องอยู่ในโทมนัสนั้น อนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ
ไปก่อนแล้ว ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ย่อมละอวิชชาได้ด้วยจตุตถฌานนั้น อวิชชานุสัยมิได้
นอนเนื่องอยู่ในจตุตถฌานนั้น”
[๔๖๖] “แม่เจ้าขอรับ อะไรเป็นคู่เปรียบ๒แห่งสุขเวทนา”
“ท่านวิสาขะ ทุกขเวทนาเป็นคู่เปรียบแห่งสุขเวทนา”
“อะไรเป็นคู่เปรียบแห่งทุกขเวทนา”
“สุขเวทนาเป็นคู่เปรียบแห่งทุกขเวทนา”
“อะไรเป็นคู่เปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา”
“อวิชชาเป็นคู่เปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา”
“อะไรเป็นคู่เปรียบแห่งอวิชชา”
“วิชชาเป็นคู่เปรียบแห่งอวิชชา”
“อะไรเป็นคู่เปรียบแห่งวิชชา”
“วิมุตติเป็นคู่เปรียบแห่งวิชชา”
“อะไรเป็นคู่เปรียบแห่งวิมุตติ”
“นิพพานเป็นคู่เปรียบแห่งวิมุตติ”
“แม่เจ้าขอรับ อะไรเป็นคู่เปรียบแห่งนิพพาน”
“ท่านวิสาขะ ท่านก้าวเลยปัญหาไปเสียแล้ว ไม่อาจกำหนดที่สุดแห่งปัญหาได้
เพราะพรหมจรรย์มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นจุดหมาย มีนิพพานเป็นที่สุด
ถ้าท่านยังหวังอยู่ก็ควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามเนื้อความนี้เถิด พระผู้มี-
พระภาคทรงตอบแก่ท่านอย่างไร ท่านควรทรงจำคำตอบไว้อย่างนั้นเถิด”

เชิงอรรถ :
๑ อนุตตรธรรม หมายถึงมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ (อภิ.สงฺ.(แปล) ๓๔/๑๓๐๐/๓๒๘)
๒ คู่เปรียบ ในที่นี้มี ๒ ความหมาย (๑) หมายถึงคู่เปรียบที่ขัดแย้งกัน เช่น สุขกับทุกข์ (๒) หมายถึง
คู่เปรียบที่คล้อยตามกันคือวิมุตติและนิพพานอันเป็นโลกุตตรธรรม (ม.มู.อ. ๒/๔๖๖/๒๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๕. จูฬธัมมสมาทานสูตร

ทรงสรรเสริญธัมมทินนาภิกษุณี
[๔๖๗] ลำดับนั้น วิสาขอุบาสกชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของธัมมทินนา-
ภิกษุณีแล้ว ลุกจากอาสนะ น้อมไหว้ธัมมทินนาภิกษุณี กระทำประทักษิณแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลเรื่องที่ตนสนทนาธรรมีกถากับธัมมทินนาภิกษุณีให้ทรงทราบทุกประการ
เมื่อวิสาขอุบาสกกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า “วิสาขะ
ธัมมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก หากเธอจะพึงสอบถามเนื้อความนั้น
กับเรา แม้เราก็จะพึงตอบเนื้อความนั้นเหมือนอย่างที่ธัมมทินนาภิกษุณีตอบแล้ว
เนื้อความแห่งคำตอบนั้นเป็นดังนั้นนั่นแล ท่านควรทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว วิสาขอุบาสกมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬเวทัลลสูตรที่ ๔ จบ

๕. จูฬธัมมสมาทานสูตร
ว่าด้วยการสมาทานธรรม๑สูตรเล็ก
[๔๖๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรม ๔ ประการนี้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า การสมาทานธรรม แปลจากคำว่า “ธัมมสมาทาน” แยกอธิบายดังนี้ คือ หมายถึงลัทธิหรือข้อวัตร
ปฏิบัติ ได้แก่ จริยาที่ตนยึดถือ คำว่า สมาทาน หมายถึงถือปฏิบัติ (ม.มู.อ. ๒/๔๖๘/๒๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๐๘ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น