Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๓-๓ หน้า ๑๐๓ - ๑๕๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร
‘การกระทำไม่มีผล’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาวาจา การกระทำมีผล เขากล่าว
ว่า ‘การกระทำไม่มีผล’ ผู้นี้ย่อมทำตนให้เป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ ผู้เป็นกิริยวาทะ
การกระทำมีผล เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘การกระทำไม่มีผล’ การที่เขาทำให้ผู้อื่น
เข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง และเขายังจะยกตนข่มผู้อื่น
ด้วยการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้งความเป็นผู้
มีศีลดีงามแล้วตั้งตนเป็นคนทุศีล เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย บาปอกุศลธรรมเป็น
อเนกเหล่านี้ คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ความเป็นข้าศึกกับ
พระอริยะ การทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การยกตน การข่มผู้อื่น
ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าการกระทำไม่มีผล เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้
หลังจากตายแล้วจักทำตนให้มีความสวัสดีได้ ถ้าการกระทำมีผลจริง เมื่อเป็นอย่างนี้
บุรุษบุคคลนี้ หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ ถ้าการกระทำ
ไม่มีผลจริง คำของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็น
เช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ย่อมถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้ทุศีล
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นอกิริยวาทะ’ ถ้าการกระทำมีผลจริง บุรุษบุคคลผู้เจริญนี้จะได้รับ
โทษในโลกทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบันถูกวิญญูชนติเตียนได้ (๒) หลังจากตายแล้ว
จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้
อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ไม่ดี แพร่ดิ่งไปฝ่ายเดียว
ย่อมละเหตุที่เป็นกุศล ด้วยประการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

คุณแห่งการปฏิบัติชอบ
[๙๙] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้
ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง
ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้
ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้น
เรือนหลังเดียว ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่น
บูชา เขาย่อมมีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น มีบุญมาถึงเขา ย่อมมีบุญที่เกิดจากการ
ให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ มีบุญมาถึงเขา’
สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่
(๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต จักสมาทานกุศล ๓ ประการนี้ ได้แก่
(๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต แล้วประพฤติอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่ง
อกุศลธรรม เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร
อนึ่ง การกระทำมีผล เขาเห็นว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ ความเห็นนั้นของเขา
จึงเป็นสัมมาทิฏฐิ การกระทำมีผลจริง เขาดำริว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ ความ
ดำรินั้นของเขาจึงเป็นสัมมาสังกัปปะ การกระทำมีผลจริง เขากล่าวว่า ‘การกระทำ
มีผลจริง’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นสัมมาวาจา การกระทำมีผลจริง เขากล่าวว่า
‘การกระทำมีผลจริง’ ผู้นี้ชื่อว่าไม่ทำตนเป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ผู้เป็นกิริยวาทะ
การกระทำมีผลจริง เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ การที่เขาทำให้
ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง และเขาย่อมไม่ยกตน
ข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้ง
ความเป็นผู้ทุศีลแล้วตั้งตนเป็นคนมีศีลดีงาม เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย กุศลธรรม
เป็นอเนกเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ความไม่เป็นข้าศึก
กับพระอริยะ การทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น
ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าการกระทำมีผลจริง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้
หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ถ้าการกระทำไม่มีผลจริง คำของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ก็ย่อม
ได้รับคำสรรเสริญจากวิญญูชนในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้มีศีล เป็นสัมมาทิฏฐิ
เป็นกิริยวาทะ’ ถ้าการกระทำมีผลจริง บุรุษบุคคลนี้ก็จะได้รับคุณในโลกทั้ง ๒ คือ
(๑) ในปัจจุบันวิญญูชนย่อมสรรเสริญ (๒) หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ อย่างนี้
อปัณณกธรรม ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ดีแล้ว แพร่ดิ่งไปทั้งสองฝ่าย
ย่อมละเหตุที่เป็นอกุศลได้ ด้วยประการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

เหตุกทิฏฐิกับอเหตุกทิฏฐิ
[๑๐๐] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
เศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
บริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของมนุษย์ ไม่มีความ
พยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะ๑ทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มี
ความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะ
เฉพาะตน ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติ๒ทั้ง ๖’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีวาทะขัดแย้งโดย
ตรงกับสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์
ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
มีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เอง มีกำลัง มีความเพียร มีความสามารถของ
มนุษย์ มีความพยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง ไม่ใช่ไม่มีอำนาจ
ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและ
ตามลักษณะเฉพาะตน เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖’ ท่านทั้งหลายเข้าใจความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ”
พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

โทษแห่งการปฏิบัติผิด
[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเอง
ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เอง ไม่มี
กำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของมนุษย์ ไม่มีความพยายามของมนุษย์
สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไป
ตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะเฉพาะตน ย่อมเสวยสุขและ
ทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖’ สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นกุศลธรรม
๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต จักสมาทาน
อกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต แล้ว
ประพฤติอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง
แห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม
อนึ่ง เหตุมีอยู่ แต่เขากลับเห็นว่า ‘เหตุไม่มี’ ความเห็นนั้นของเขาจึงเป็นมิจฉา-
ทิฏฐิ เหตุมีอยู่ แต่เขาดำริว่า ‘เหตุไม่มี’ ความดำรินั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาสังกัปปะ
เหตุมีอยู่ แต่เขากล่าวว่า ‘เหตุไม่มี’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาวาจา ‘เหตุมีอยู่’
เขากล่าวว่า ‘เหตุไม่มี’ ผู้นี้ย่อมทำตนให้เป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ผู้เป็นเหตุกวาทะ
เหตุมีอยู่ เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘เหตุไม่มี’ การที่เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น
เป็นการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง และเขายังจะยกตนข่มผู้อื่นด้วยการทำให้
เข้าใจผิดจากความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้งความเป็นผู้มีศีลดีงามแล้ว
ตั้งตนเป็นคนทุศีล เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้
คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ความเป็นข้าศึกกับพระอริยะ การทำให้
ผู้อื่นเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การยกตน การข่มผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการ
อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าเหตุไม่มี เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้ หลังจาก
ตายแล้ว จักทำตนให้มีความสวัสดีได้ ถ้าเหตุมีอยู่จริง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษ
บุคคลนี้ หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ ถ้ายอมรับว่า
เหตุไม่มีจริง คำของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็น
เช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ย่อมถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้ทุศีล
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นอเหตุกวาทะ’ ถ้าเหตุมีอยู่จริง บุรุษบุคคลนี้จะได้รับโทษในโลก
ทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบันถูกวิญญูชนติเตียนได้ (๒) หลังจากตายแล้ว จักไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้
อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ไม่ดี แพร่ดิ่งไปฝ่ายเดียว ย่อมละ
เหตุที่เป็นกุศล ด้วยประการอย่างนี้
คุณแห่งการปฏิบัติชอบ
[๑๐๒] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์
ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายจึงเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
มีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายจึงบริสุทธิ์ มีกำลัง มีความเพียร มีความสามารถของ
มนุษย์ มีความพยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ
ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและ
ตามลักษณะเฉพาะของตน ย่อมไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖’ สมณพราหมณ์
เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต
(๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต จักสมาทานกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต
(๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต แล้วประพฤติอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร
ข้อนั้น เพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่ง
อกุศลธรรม เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม
อนึ่ง เหตุมีอยู่ เขาเห็นว่า เหตุมีอยู่จริง’ ความเห็นนั้นของเขาจึงเป็นสัมมาทิฏฐิ
เหตุมีอยู่จริง เขาดำริว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ ความดำรินั้นของเขาจึงเป็นสัมมาสังกัปปะ
เหตุมีอยู่จริง เขากล่าวว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นสัมมาวาจา เหตุมี
อยู่จริง เขากล่าวว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ ผู้นี้ชื่อว่าไม่ทำตนให้เป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ผู้
เป็นเหตุกวาทะ เหตุมีอยู่จริง เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ การที่เขาทำให้
ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง และเขาย่อมไม่ยกตน
ข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้ง
ความเป็นผู้ทุศีลแล้วตั้งตนเป็นคนมีศีลดีงาม เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย กุศลธรรม
เป็นอเนกเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ความไม่เป็นข้าศึก
กับพระอริยะ การทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น
ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าเหตุมีอยู่ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้ หลังจาก
ตายแล้ว จักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ถ้ายอมรับว่าเหตุไม่มีจริง คำของสมณพราหมณ์
เหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ก็ย่อมได้รับคำสรรเสริญ
จากวิญญูชนในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้มีศีล มีสัมมาทิฏฐิ เป็นเหตุกวาทะ’
ถ้าเหตุมีอยู่จริง บุรุษบุคคลนี้ ก็จะได้รับคุณในโลกทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบันวิญญูชน
ย่อมสรรเสริญ (๒) หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้
อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ดีแล้วอย่างนี้ แพร่ดิ่งไปทั้ง
สองฝ่าย ย่อมละเหตุที่เป็นอกุศลได้ ด้วยประการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

ความขัดแย้งกันเรื่องอรูปพรหม
[๑๐๓] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมไม่มีโดยประการทั้งปวง’ สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง
มีวาทะขัดแย้งโดยตรงกับสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหม
มีอยู่โดยประการทั้งปวง’ ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์
เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์พวกนั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘การที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมไม่มีโดยประการทั้งปวง’ เราไม่เห็นด้วย แม้การที่สมณพราหมณ์
ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมมีอยู่โดยประการทั้งปวง’
เราก็ไม่รับรู้ด้วย ส่วนเราเอง เมื่อไม่รู้ ไม่เห็น จะพึงถือเอาฝ่ายเดียว กล่าวว่า
‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย ถ้าคำของสมณ-
พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมไม่มีโดยประการ
ทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เราจักเกิดในเหล่าเทพผู้มีรูปสำเร็จด้วยใจ ซึ่งไม่
ถือว่าผิด ถ้าคำของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘อรูปพรหมมีอยู่โดยประการทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เราจักเกิดในเหล่าเทพ
ผู้ไม่มีรูปสำเร็จด้วยสัญญาซึ่งไม่ถือว่าผิด อนึ่ง การถือท่อนไม้ การถือศัสตรา
การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การพูดขึ้นเสียงว่า ‘เจ้า เจ้า’ การพูดส่อเสียด
และการพูดเท็จซึ่งมีรูปเป็นเหตุย่อมปรากฏ แต่ข้อนี้ย่อมไม่มีในอรูปพรหมโดย
ประการทั้งปวง’ วิญญูชนนั้นครั้นพิจารณาดังนี้แล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับแห่งรูปอย่างเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

ความขัดแย้งเรื่องภพ
[๑๐๔] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพ๑ไม่มีโดยประการทั้งปวง’ สมณพราหมณ์
อีกพวกหนึ่ง มีวาทะขัดแย้งโดยตรงกับสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกเขากล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่โดยประการทั้งปวง’ ท่านทั้งหลายเข้าใจความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘การที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพไม่มีโดยประการทั้งปวง’ เราไม่เห็นด้วย แม้การที่
สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพ
มีอยู่โดยประการทั้งปวง’ เราก็ไม่รับรู้ด้วย ส่วนเราเอง เมื่อไม่รู้ ไม่เห็น จะถือเอา
ฝ่ายเดียวแล้วกล่าวว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควร
แก่เราเลย ถ้าคำของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘ความดับสนิทแห่งภพไม่มีโดยประการทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เรา
จักเกิดในเหล่าเทพผู้ไม่มีรูปสำเร็จด้วยสัญญาซึ่งไม่ถือว่าผิด อนึ่ง ถ้าคำของสมณ-
พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่โดย
ประการทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เราจักปรินิพพานในปัจจุบัน ความเห็น
ของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพ
ไม่มีโดยประการทั้งปวง’ นี้ใกล้ต่อธรรมที่ยังมีความกำหนัด ใกล้ต่อธรรมที่ยังมี
สังโยชน์ ใกล้ต่อธรรมที่ยังมีความเพลิดเพลิน ใกล้ต่อธรรมที่มีความจดจ่อ ใกล้ต่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร
ธรรมที่ยังมีความถือมั่น ส่วนความเห็นของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่โดยประการทั้งปวง’ นี้ใกล้ต่อธรรมที่
ไม่มีความกำหนัด ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีสังโยชน์ ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีความเพลิดเพลิน
ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีความจดจ่อ ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีความถือมั่น วิญญูชนนั้น
ครั้นพิจารณาดังนี้แล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
แห่งภพอย่างเดียว
บุคคล ๔ ประเภท๑
[๑๐๕] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคล ๔ ประเภทนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ ประเภท ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
๒. เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๓. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๔. เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน
บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน
เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร
[๑๐๖] บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้
เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท
เลียมือ ฯลฯ๑ ถือการย่างและอบกายหลายรูปแบบอยู่ ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน
หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
บุคคลเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร ฯลฯ๒ หรือบางพวกเป็นผู้ทำการ
ทารุณ
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วก็ดี
ฯลฯ๓ เหล่าชนผู้เป็นทาสก็ดี เป็นคนรับใช้ก็ดี เป็นคนงานก็ดี ของพระราชานั้น
ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ไปทำงานไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่น
ประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ
ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
บุคคลเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ
มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ๑
ภิกษุนั้นครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเครื่อง
ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุ
ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้วบรรลุจตุตถฌาน
ฯลฯ อยู่
วิชชา ๓
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๒ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้า
หมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ๑ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรม อย่างนี้แล
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้อาสวนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน
ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่น
ประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
จึงเป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน”
ชาวบ้านสาลาแสดงตนเป็นอุบาสก
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านสาลาได้
กราบทูลว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรง
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตา
ดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์ทั้งหลายนี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล
อปัณณกสูตรที่ ๑๐ จบ
คหปติวรรคที่ ๑ จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กันทรกสูตร ๒. อัฏฐกนาครสูตร
๓. เสขปฏิปทาสูตร ๔. โปตลิยสูตร
๕. ชีวกสูตร ๖. อุปาลิวาทสูตร
๗. กุกกุรวติกสูตร ๘. อภยราชกุมารสูตร
๙. พหุเวทนิยสูตร ๑๐. อปัณณกสูตร
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

๒. ภิกขุวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุ

๑. จูฬราหุโลวาทสูตร
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก
[๑๐๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระราหุลพักอยู่ ณ ปราสาทชื่ออัมพลัฏฐิกา
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่หลีกเร้น๑ แล้วเสด็จเข้าไปหาท่าน
พระราหุลจนถึงปราสาทชื่ออัมพลัฏฐิกา ท่านพระราหุลได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จ
มาแต่ไกล จึงปูลาดอาสนะและตั้งน้ำสำหรับล้างพระบาทไว้ พระผู้มีพระภาคประทับ
นั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วทรงล้างพระบาท ท่านพระราหุลถวายอภิวาทพระ
ผู้มีพระภาคแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร๒
[๑๐๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลือน้ำหน่อยหนึ่งไว้ในภาชนะน้ำ
แล้วรับสั่งเรียกท่านพระราหุลมาตรัสว่า “ราหุล เธอเห็นน้ำที่เหลืออยู่หน่อยหนึ่งใน
ภาชนะนี้ไหม”
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล ความเป็นสมณะของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
ก็มีอยู่หน่อยหนึ่งเหมือนน้ำที่เหลืออยู่หน่อยหนึ่งอย่างนี้”
จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเทน้ำที่เหลือหน่อยหนึ่งทิ้ง แล้วตรัสกับท่าน
พระราหุลว่า “ราหุล เธอเห็นน้ำหน่อยหนึ่งที่เราเททิ้งไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร
“ราหุล ความเป็นสมณะของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
ก็มีอยู่หน่อยหนึ่งเหมือนน้ำที่เททิ้งแล้วอย่างนี้”
จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกับท่านพระราหุลว่า
“ราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำที่คว่ำนี้ไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล ความเป็นสมณะของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
ก็เหมือนภาชนะน้ำที่คว่ำแล้วอย่างนี้”
จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหงายภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกับท่านพระราหุล
ว่า “เธอเห็นภาชนะน้ำอันว่างเปล่านี้ไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล ความเป็นสมณะของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
ก็เหมือนภาชนะน้ำที่ว่างเปล่าอย่างนี้ เปรียบเหมือนช้างต้นมีงางอนงาม เป็นช้างทรง
ที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงครามมาแล้ว บุกบั่นสงครามมาแล้ว ทำการงาน
ด้วยเท้าหน้าทั้ง ๒ บ้าง ด้วยเท้าหลังทั้ง ๒ บ้าง ด้วยกายท่อนหน้าบ้าง ด้วยกาย
ท่อนหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้ง ๒ บ้าง ด้วยงาทั้ง ๒ บ้าง ด้วยหางบ้าง
สงวนไว้แต่งวงเท่านั้น เพราะการที่ช้างสงวนงวงไว้นั้น ควาญช้างมีความเห็น
อย่างนี้ว่า ‘ช้างต้น เชือกนี้มีงางอนงาม เป็นช้างทรงที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่า
ศึกสงครามมาแล้ว บุกบั่นสงครามมาแล้ว ทำการงานด้วยเท้าหน้าทั้ง ๒ บ้าง
ด้วยเท้าหลังทั้ง ๒ บ้าง ด้วยกายท่อนหน้าบ้าง ด้วยกายท่อนหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง
ด้วยหูทั้ง ๒ บ้าง ด้วยงาทั้ง ๒ บ้าง ด้วยหางบ้าง สงวนไว้แต่งวงเท่านั้น ชื่อว่า
ช้างต้นยังสละไม่ได้กระทั่งชีวิต’
เมื่อใด ช้างต้นมีงางอนงาม เป็นช้างทรงที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงคราม
มาแล้ว บุกบั่นสงครามมาแล้ว ทำการงานด้วยเท้าหน้าทั้ง ๒ บ้าง ด้วยเท้าหลัง
ทั้ง ๒ บ้าง ฯลฯ ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง เพราะการที่ช้างทำการงานด้วยงวงนั้น
เมื่อนั้น ควาญช้างจึงมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ช้างต้นเชือกนี้ มีงางอนงาม เป็นช้างทรง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร
ที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงครามมาแล้ว บุกบั่นสงครามมาแล้ว ทำการงานด้วย
เท้าหน้าทั้ง ๒ บ้าง ด้วยเท้าหลังทั้ง ๒ บ้าง ด้วยกายท่อนหน้าบ้าง ด้วยกายท่อน
หลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้ง ๒ บ้าง ด้วยงาทั้ง ๒ บ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง
ชื่อว่าช้างต้นสละได้กระทั่งชีวิต’ บัดนี้ ‘ไม่มีอะไรที่ช้างต้นจะทำไม่ได้’ แม้ฉันใด
ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่กล่าวว่า ‘บุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จ
ทั้งที่รู้อยู่ จะไม่ทำบาปกรรมอะไรเลย’
ราหุล เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่
กล่าวเท็จ แม้เพื่อให้หัวเราะกันเล่น’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ราหุล”
ทรงสอนให้พิจารณากายกรรม
[๑๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
กระจกมีประโยชน์อย่างไร”
ท่านพระราหุลทูลตอบว่า “มีประโยชน์สำหรับส่องดู พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่างนั้นเหมือนกัน ราหุล บุคคลควรพิจารณาให้ดี
แล้วจึงทำกรรมทางกาย พิจารณาให้ดีแล้วจึงทำกรรมทางวาจา พิจารณาให้ดีแล้ว
จึงทำกรรมทางใจ
ถ้าเธอปรารถนาจะทำกรรมใดทางกาย เธอพึงพิจารณากายกรรมนั้นเสีย
ก่อนว่า ‘กายกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์
เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ กรรมทางกายเห็นปานนี้
เธออย่าทำเด็ดขาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ไม่เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง
๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ กรรมทางกายเห็น
ปานนี้เธอควรทำ
ราหุล เธอแม้เมื่อกำลังทำกรรมทางกาย ก็พึงพิจารณากายกรรมนั้นแลว่า
‘กายกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็น
กำไร มีทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ เธอพึงละกายกรรมเห็น
ปานนี้เสีย
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราจะทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงเพิ่มพูน
กายกรรมเห็นปานนี้
ราหุล แม้เธอทำกรรมทางกายแล้ว ก็พึงพิจารณากายกรรมนั้นแลว่า
‘กายกรรมที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็น
กำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ กายกรรมเห็นปานนี้
เธอพึงแสดง เปิดเผย ทำให้ง่าย ในศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
แล้วสำรวมต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราทำแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงมีปีติ
และปราโมทย์ สำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วย
กายกรรมนั้นแล
ทรงสอนให้พิจารณาวจีกรรม
[๑๑๐] ราหุล ถ้าเธอปรารถนาจะทำกรรมใดทางวาจา เธอพึงพิจารณา
วจีกรรมนั้นเสียก่อนว่า ‘วจีกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็น
อกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ กรรมทาง
วาจาเห็นปานนี้ เธออย่าทำเด็ดขาด
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ ไม่เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ กรรมทางวาจา
เห็นปานนี้เธอควรทำ
ราหุล เธอแม้เมื่อกำลังทำกรรมทางวาจา ก็พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นแลว่า
‘วจีกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า วจีกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ เธอพึงละวจีกรรมเห็นปานนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราจะทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงเพิ่มพูนวจีกรรมเห็นปานนี้
ราหุล แม้เธอทำกรรมทางวาจาแล้ว ก็พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นแลว่า ‘วจีกรรม
ที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ วจีกรรม
เห็นปานนี้ เธอพึงแสดง เปิดเผย ทำให้ง่าย ในศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารี
ผู้รู้ทั้งหลาย แล้วสำรวมต่อไป
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราทำแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงมีปีติ
และปราโมทย์ สำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วย
วจีกรรมนั้นแล
ทรงสอนให้พิจารณามโนกรรม
[๑๑๑] ราหุล ถ้าเธอปรารถนาจะทำกรรมใดทางใจ เธอพึงพิจารณามโนกรรม
นั้นเสียก่อนว่า ‘มโนกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้
เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ กรรมทางใจ
เห็นปานนี้ เธออย่าทำเด็ดขาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ ไม่
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’
กรรมทางใจเห็นปานนี้เธอควรทำ
ราหุล เธอแม้เมื่อกำลังทำกรรมทางใจ ก็พึงพิจารณามโนกรรมนั้นแลว่า
‘มโนกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ เธอพึงละมโนกรรม
เห็นปานนี้
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราจะทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงเพิ่มพูน
มโนกรรมเห็นปานนี้
ราหุล แม้เธอทำกรรมทางใจแล้ว ก็พึงพิจารณามโนกรรมนั้นแลว่า ‘มโนกรรม
ที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มี
ทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ เธอพึงอึดอัด ระอา
รังเกียจมโนกรรมเห็นปานนี้ แล้วสำรวมต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราทำแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงมีปีติ
และปราโมทย์ สำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วย
มโนกรรมนั้นแล
[๑๑๒] ราหุล สมณะหรือพราหมณ์๑ เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ได้ชำระ
กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
พิจารณาดีแล้วจึงได้ชำระกายกรรม พิจารณาดีแล้วจึงได้ชำระวจีกรรม พิจารณาดี
แล้วจึงได้ชำระมโนกรรม อย่างนี้แล
แม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักชำระกายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ก็พิจารณาดีแล้ว
จักชำระกายกรรม พิจารณาดีแล้วจักชำระวจีกรรม พิจารณาดีแล้วจักชำระมโนกรรม
อย่างนี้แล
ถึงสมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลกำลัง ชำระกายกรรม วจีกรรม
และมโนกรรมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ก็พิจารณาดีแล้วจึงชำระกาย-
กรรม พิจารณาดีแล้วจึงชำระวจีกรรม พิจารณาดีแล้วจึงชำระมโนกรรม อย่างนี้แล
ราหุล เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราพิจารณาดี
แล้วจักชำระกายกรรม พิจารณาดีแล้วจักชำระวจีกรรม พิจารณาดีแล้วจักชำระ
มโนกรรม’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬราหุโลวาทสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

๒. มหาราหุโลวาทสูตร
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรใหญ่
[๑๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี แม้ท่านพระราหุลก็ครอง
อันตรวาสกถือบาตรและจีวร ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงผินพระพักตร์ไปรับสั่งกับท่านพระราหุลว่า
“ราหุล เธอพึงเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลว
หรือประณีต อยู่ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
ท่านพระราหุลทูลถามว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค รูปเท่านั้นหรือ ข้าแต่
พระสุคต รูปเท่านั้นหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราหุล ทั้งรูป ทั้งเวทนา ทั้งสัญญา ทั้งสังขาร
ทั้งวิญญาณ”
หลังจากนั้น ท่านพระราหุลคิดว่า “วันนี้ ใครหนอที่พระผู้มีพระภาคจะทรง
ประทานโอวาทโปรดเฉพาะพระพักตร์ แล้วเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต” กลับจากที่นั้น
แล้วนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ท่านพระ
สารีบุตรได้เห็นท่านพระราหุลนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ
โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงกล่าวกับท่านพระราหุลว่า
“ราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติภาวนาที่
บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]๒. มหาราหุโลวาทสูตร

ธาตุ ๕
[๑๑๔] ครั้นเวลาเย็น ท่านพระราหุลออกจากที่หลีกเร้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้
มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราหุล รูปชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป๑
ที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ คือ ผม ขน เล็บ
ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต๒ หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่
ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูปที่เป็น
ภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุที่
เป็นภายใน
ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน) ที่เป็นภายในและปฐวีธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็นปฐวีธาตุ
นั่งเอง บัณฑิตควรเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ และทำจิต
ให้คลายกำหนัดในปฐวีธาตุได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร
[๑๑๕] อาโปธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อาโปธาตุที่เป็นภายในก็มี อาโปธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
อาโปธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความ
เอิบอาบ คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก
ไขข้อ มูตร หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของ
เฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความเอิบอาบ นี้เรียกว่า อาโปธาตุที่เป็นภายใน
อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) ที่เป็นภายในและอาโปธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็นอาโปธาตุ
นั่นเอง บัณฑิตพึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอาโปธาตุนั้นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุและทำจิต
ให้คลายกำหนัดในอาโปธาตุได้
[๑๑๖] เตโชธาตุ เป็นอย่างไร
คือ เตโชธาตุที่เป็นภายในก็มี เตโชธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
เตโชธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความ
เร่าร้อน ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้อบอุ่น ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำ
ร่างกายให้ทรุดโทรม ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้เร่าร้อน ธรรมชาติที่เป็น
เครื่องย่อยสิ่งที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และลิ้มรสแล้ว หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่ง
ที่เป็นอุปาทินนกรูปซึ่งเป็นภายในเป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน
นี้เรียกว่า เตโชธาตุที่เป็นภายใน
เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) ที่เป็นภายในและเตโชธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็นเตโชธาตุ
นั่นเอง บัณฑิตพึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นเตโชธาตุนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ และทำ
จิตให้คลายกำหนัดในเตโชธาตุได้
[๑๑๗] วาโยธาตุ เป็นอย่างไร
คือ วาโยธาตุที่เป็นภายในก็มี วาโยธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
วาโยธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความ
พัดไปมา คือ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมที่
แล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่ง
ซึ่งเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความพัดไปมา นี้เรียกว่า
วาโยธาตุที่เป็นภายใน
วาโยธาตุ(ธาตุลม) ที่เป็นภายในและวาโยธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็นวาโยธาตุ
นั่นเอง บัณฑิตพึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นวาโยธาตุนั้นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ และทำจิต
ให้คลายกำหนัดในวาโยธาตุได้
[๑๑๘] อากาสธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อากาสธาตุที่เป็นภายในก็มี อากาสธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
อากาสธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของว่างเปล่า มีความ
ว่างเปล่า คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว
ของลิ้มรส ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มรส และช่องสำหรับ
ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มรส ไหลลงเบื้องต่ำ หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่งที่เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร
อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของว่างเปล่า มีความว่างเปล่า
เป็นช่องว่าง เป็นธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง ซึ่งเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องแล้ว นี้เรียกว่า
อากาสธาตุที่เป็นภายใน
อากาสธาตุ(ธาตุคืออากาศ) ที่เป็นภายในและอากาสธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็น
อากาสธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็น
อากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายใน
อากาสธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัดในอากาสธาตุได้๑
ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕
[๑๑๙] ราหุล เธอจงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อเธอ
เจริญภาวนาให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว
จักครอบงำจิตของเธอไม่ได้ คนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง
มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัด
ระอา หรือรังเกียจของนั้นก็หาไม่ แม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญภาวนา
ให้เสมอด้วยแผ่นดิน เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็น
ที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอไม่ได้
เธอจงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอ
ด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอ
ไม่ได้ คนทั้งหลายล้างของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง
น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง น้ำจะอึดอัด ระอา หรือรังเกียจของนั้นก็หาไม่
แม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยน้ำ เพราะเมื่อเธอ
เจริญภาวนาให้เสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว
จักครอบงำจิตของเธอไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร
เธอจงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยไฟเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอ
ด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอ
ไม่ได้ ไฟย่อมเผาของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง
น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ไฟจะอึดอัด ระอา หรือรังเกียจของนั้นก็หาไม่ แม้ฉันใด
เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยไฟ เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้
เสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิต
ของเธอไม่ได้
เธอจงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยลมเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอ
ด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอ
ไม่ได้ ลมย่อมพัดของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง
น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลมจะอึดอัด ระอา หรือรังเกียจของนั้นก็หาไม่ แม้ฉันใด
เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยลม เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
ให้เสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิต
ของเธอไม่ได้
เธอจงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยอากาศเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอ
ด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอ
ไม่ได้ อากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ไหน ๆ แม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญภาวนา
ให้เสมอด้วยอากาศ เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็น
ที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอไม่ได้
การเจริญภาวนา ๖ อย่าง
[๑๒๐] ราหุล
๑. เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่
จักละพยาบาทได้
๒. เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่
จักละการเบียดเบียนได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร
๓. เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่
จักละความริษยาได้
๔. เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่
จักละความหงุดหงิดได้
๕. เธอจงเจริญอสุภภาวนา๑เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละ
ราคะได้
๖. เธอจงเจริญอนิจจสัญญา๒เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาอยู่
จักละความถือตัวได้
อานาปานสติ ๑๖ ขั้น
[๑๒๑] ราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
๑. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’
๒. เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร
๓. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก’
๔. สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขารหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขารหายใจออก’
๕. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก’
๖. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุขหายใจออก’
๗. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก’
๘. สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขารหายใจออก’
๙. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตหายใจออก’
๑๐. สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก’
๑๑. สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่นหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่นหายใจออก’
๑๒. สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิตหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิตหายใจออก’
๑๓. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก’
๑๔. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก’
๑๕. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร
๑๖. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก’
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก๑
ราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ลมอัสสาสะ(หายใจเข้า) ลมปัสสาสะ(หายใจออก) ครั้งสุดท้ายที่ปรากฏชัด ย่อมดับไป
ที่ไม่ปรากฏชัด ยังไม่ดับไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหาราหุโลวาทสูตรที่ ๒ จบ

๓. จูฬมาลุงกยสูตร
ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตร สูตรเล็ก
เหตุแห่งอัพยากตปัญหา ๑๐ ประการ
[๑๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตร หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิด
ความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า
“ทิฏฐิที่พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสตอบ ทรงงด ทรงวางเฉยเหล่านี้ คือ ทิฏฐิว่า
‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต๒เกิดอีก หลังจากตายแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร
ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ การที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงตอบ
ทิฏฐิเหล่านั้นแก่เรา เราไม่ชอบใจ เราไม่พอใจ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอีก
จะทูลถามเนื้อความนั้น
ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราก็จักประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาคต่อไป
ถ้าพระผู้มีพระภาค จักไม่ตรัสตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด
โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลักจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่’ เราก็จักลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์”
[๑๒๓] ครั้นเวลาเย็น ท่านพระมาลุงกยบุตรออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
[๑๒๔] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อข้าพระองค์อยู่ใน
ที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘ทิฏฐิที่พระผู้มีพระภาคไม่
ตรัสตอบ ทรงงด ทรงวางเฉยเหล่านี้ คือ ทิฏฐิว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมี
ที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตาย
แล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่’ การที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตอบทิฏฐิเหล่านั้นแก่เรา เราไม่ชอบใจ
เราไม่พอใจ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอีก จะทูลถามเนื้อความนั้น
ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราก็จักประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาคต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร
ถ้าพระผู้มีพระภาคจักไม่ตรัสตอบแก่เราว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมี
ที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตาย
แล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราก็จักลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกเที่ยง’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า
‘โลกเที่ยง’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า
‘โลกไม่เที่ยง’
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘โลกเที่ยง หรือ โลกไม่เที่ยง, เมื่อไม่ทรงรู้
ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรง ๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกมีที่สุด’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า
‘โลกมีที่สุด’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิด
ว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘โลกมีที่สุด หรือ โลกไม่มีที่สุด’ เมื่อไม่ทรงรู้
ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรง ๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ ขอจงตรัส
ตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ขอจงตรัส
ตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรง ๆ เถิดว่า
‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’ ขอจง
ตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’ ขอจง
ตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือ
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมา
ตรง ๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’
ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคต
จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เมื่อไม่ทรงรู้
ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรง ๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น”
[๑๒๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุงกยบุตร เราได้พูดไว้อย่างนั้นกับเธอ
หรือว่า ‘เธอจงมาประพฤติพรหมจรรย์ในเราเถิด เราจักตอบเธอว่า ‘โลกเที่ยง
โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต
ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต
จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ บ้างไหม”
ท่านพระมาลุงกยบุตรกราบทูลว่า “ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็หรือว่าเธอได้พูดไว้กับเราอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จัก
ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบข้าพระองค์
ว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ บ้างไหม”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“มาลุงกยบุตร ได้ยินว่า เรามิได้พูดไว้กับเธอดังนี้ว่า ‘เธอจงมาประพฤติ
พรหมจรรย์ในเราเถิด เราจักตอบเธอว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หลังจากตาย
แล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ฯลฯ ได้ยินว่า แม้เธอก็มิได้พูด
กับเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบข้าพระองค์ว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ
หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
โมฆบุรุษ เมื่อเป็นอย่างนั้น เธอเป็นใคร จะมาทวงอะไรกับใครเล่า
ทรงอุปมาด้วยบุคคลผู้ต้องศร
[๑๒๖] มาลุงกยบุตร บุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่พระผู้มี
พระภาคยังไม่ทรงตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ตราบนั้น เราก็จักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
ต่อให้บุคคลนั้นสิ้นชีวิตไปตถาคตก็ไม่ตอบเรื่องนั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องลูกศรที่
อาบยาพิษอย่างร้ายแรง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต๑ของบุรุษนั้น พึงไปหาแพทย์
ผู้ชำนาญในการผ่าตัดมารักษาบุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรา
ยังไม่รู้จักคนที่ยิงเราเลยว่า เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ หรือศูทร ตราบนั้น เราก็
จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
เป็นคนสูง ต่ำ หรือปานกลาง ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
เป็นคนผิวดำ ผิวคล้ำ หรือผิวสองสี ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
อยู่ในบ้าน นิคม หรือนครชื่อโน้น ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักธนูที่เขาใช้ยิง
เราว่า เป็นชนิดมีแล่ง หรือชนิดเกาทัณฑ์ ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักสายธนูที่เขาใช้
ยิงเราว่า เป็นสายที่ทำด้วยปอ ผิวไม้ไผ่ เอ็น ป่าน หรือเยื่อไม้ ตราบนั้น เราก็จัก
ไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักลูกธนูที่เขาใช้ยิง
เราว่า เป็นธนูที่ทำด้วยไม้เกิดเองหรือไม้คัดปลูก ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้
ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักหางเกาทัณฑ์ที่เขา
ใช้ยิงเราว่า เป็นหางที่เสียบด้วยขนปีกนกแร้ง นกตระกรุม นกเหยี่ยว นกยูง หรือ
นกปากห่าง ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักเกาทัณฑ์ที่เขา
ใช้ยิงเราว่า เป็นสิ่งที่เขาพันด้วยเอ็นวัว เอ็นควาย เอ็นค่าง หรือเอ็นลิง ตราบนั้น
เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักลูกธนูที่เขาใช้ยิง
เราว่า เป็นลูกศรธรรมดา ลูกศรคม ลูกศรหัวเกาทัณฑ์ ลูกศรหัวโลหะ ลูกศรหัว
เขี้ยวสัตว์ หรือลูกศรพิเศษ ตราบนั้นเราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’ ต่อให้บุรุษนั้น
ตายไป เขาก็จะไม่รู้เรื่องนั้นเลย ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสตอบว่า ‘โลก
เที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ตราบนั้น เราก็จักไม่ประพฤติ
พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค’ ต่อให้บุคคลนั้นตายไป ตถาคตก็ไม่ตอบเรื่องนั้น
ฉันนั้นเหมือนกัน
[๑๒๗] มาลุงกยบุตร เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกเที่ยง’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือ
ก็หามิได้
แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง’ ชาติ(ความเกิด) ชรา
(ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ)
ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) ก็ยังคง
มีอยู่ตามปกติ เราจึงบัญญัติเฉพาะการกำจัดชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกมีที่สุด’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือ
ก็หามิได้
เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กัน
หรือก็หามิได้
แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด’ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ยังคงมีอยู่ตามปกติ เราจึงบัญญัติการกำจัด
ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
เมื่อมีความเห็นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร
เมื่อมีความเห็นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็น
คนละอย่างกัน’ ชาติ ฯลฯ เราจึงบัญญัติเฉพาะการกำจัด ชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก’ ชาติ ฯลฯ เราจึงบัญญัติเฉพาะการกำจัดชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ จักได้มีการ
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
มาลุงกยบุตร แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่
เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ยังคงมีอยู่ตามปกติ เราจึง
บัญญัติเฉพาะการกำจัดชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบปัญหาเชิงปรัชญา
[๑๒๘] มาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำปัญหาที่เราไม่ตอบว่า
เป็นปัญหาที่เราไม่ตอบ และจงจำปัญหาที่เราตอบว่า เป็นปัญหาที่เราตอบเถิด
ปัญหาอะไรเล่าที่เราไม่ตอบ
คือ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระ
เป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราไม่ตอบ
เพราะเหตุไรเราจึงไม่ตอบ
เพราะปัญหานั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
และเพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่ตอบ
ปัญหาอะไรเล่าที่เราตอบ
คือ ปัญหาว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
เราตอบ
เพราะเหตุไรเราจึงตอบ
เพราะปัญหานั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อ
นิพพาน เหตุนั้นเราจึงตอบ
มาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำปัญหาที่เราไม่ตอบว่า เป็นปัญหาที่
เราไม่ตอบ และจงจำปัญหาที่เราตอบว่า เป็นปัญหาที่เราตอบเถิด”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬมาลุงกยสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

๔. มหามาลุงกยสูตร
ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตร สูตรใหญ่
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
[๑๒๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์๑
(สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการที่เราแสดงแล้ว ได้หรือไม่”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
ที่พระองค์ทรงแสดงไว้แล้วได้”
“เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ที่เราแสดงไว้แล้ว อย่างไร”
“ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือสักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัว
ของตน) ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้
ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้
ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือสีลัพพตปรามาส(ความถือมั่นศีลพรต)
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้
ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือกามฉันทะ(ความพอใจในกาม) ที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร
ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือพยาบาท(ความคิดร้าย) ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้แล้วได้
ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
แล้วได้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
“มาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ที่เราแสดงไว้แล้ว
อย่างนี้แก่ใคร อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายจักหักล้างด้วยการนำเรื่องเด็กอ่อน
มาเปรียบเทียบได้ มิใช่หรือ เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า
‘ตัวของตน’ สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร สักกายทิฏฐิของเด็กนั้น
ก็ยังนอนเนื่องอยู่
เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘ธรรมทั้งหลาย’ วิจิกิจฉา
ในธรรมทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร วิจิกิจฉาของเด็กนั้น ก็ยังนอนเนื่องอยู่
เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘ศีลทั้งหลาย’ สีลัพพต-
ปรามาสในศีลทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร สีลัพพตปรามาสของเด็กนั้น
ก็ยังนอนเนื่องอยู่
เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘กามทั้งหลาย’ กามฉันทะ
ในกามทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร กามราคะของเด็กนั้น ก็ยังนอนเนื่องอยู่
เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘สัตว์ทั้งหลาย’ ความ
พยาบาทในสัตว์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร พยาบาทของเด็กนั้น ก็ยัง
นอนเนื่องอยู่
อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายจักหักล้างด้วยการนำเรื่องเด็กอ่อนมาเปรียบเทียบได้
มิใช่หรือ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลที่สมควร ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาล
ที่สมควรที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ภิกษุ
ทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อุบายเครื่องละสังโยชน์
[๑๓๐] “อานนท์ ปุถุชน๑ในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาด
ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ มีจิตถูก
สักกายทิฏฐิกลุ้มรุม ถูกสักกายทิฏฐิครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่องสลัดสักกายทิฏฐิ
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐินั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น ปุถุชน
บรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์
ปุถุชนมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่อง
สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง วิจิกิจฉานั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น
ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์
ปุถุชนมีจิตถูกสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุม ถูกสีลัพพตปรามาสครอบงำอยู่
และไม่รู้อุบายเครื่องสลัดสีลัพพตปรามาสที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สีลัพพต-
ปรามาสนั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิย-
สังโยชน์
ปุถุชนมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่อง
สลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง กามราคะนั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น
ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร
ปุถุชนมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่อง
สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง พยาบาทนั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น
ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์
[๑๓๑] อานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรม
ของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ มีจิตที่สักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้
ที่สักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่ และรู้อุบายเครื่องสลัดสักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละสักกายทิฏฐินั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้
อริยสาวกนั้นมีจิตที่วิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ ที่วิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่ และรู้อุบาย
เครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละวิจิกิจฉานั้น
พร้อมทั้งอนุสัยได้
อริยสาวกนั้นมีจิตที่สีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้ ที่สีลัพพตปรามาสครอบงำ
ไม่ได้อยู่ และรู้อุบายเครื่องสลัดสีลัพพตปรามาสที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
อริยสาวกนั้นย่อมละสีลัพพตปรามาสนั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้
อริยสาวกนั้นมีจิตที่กามราคะกลุ้มรุมไม่ได้ ที่กามราคะครอบงำไม่ได้อยู่ และ
รู้อุบายเครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละ
กามราคะนั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้
อริยสาวกนั้นมีจิตที่พยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ ที่พยาบาทครอบงำไม่ได้อยู่ และรู้
อุบายเครื่องสลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละ
พยาบาทนั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

ข้อปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์
[๑๓๒] อานนท์ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลไม่อาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไป
เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการได้ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลไม่ถากเปลือก ไม่ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่
ประเภทยืนต้นมีแก่นแล้ว จักตัดแก่นเลยทีเดียว แม้ฉันใด เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคล
ไม่อาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล้ว จักรู้
จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นไปได้ที่บุคคลอาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนั้นได้ เป็นไปได้
ที่บุคคลถากเปลือก ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่นแล้ว จักตัด
แก่นนั้นได้ แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่บุคคลอาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนั้นได้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แม่น้ำคงคามีน้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)ดื่มกินได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย
มาด้วยหวังว่า ‘เราจักว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี’ เขาจะ
ไม่อาจว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ แม้ฉันใด คนบางคน
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระธรรมกถึกแสดงธรรมเพื่อดับสักกายะอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่หลุดพ้น พึงเห็นบุคคลเหล่านั้นเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง น้อยนั้น
อานนท์ แม่น้ำคงคามีน้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)ดื่มกินได้ บุรุษผู้มีกำลังมาก
มาด้วยหวังว่า ‘เราจักว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี’ เขาจะ
ไม่อาจว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ แม้ฉันใด คนบางคน
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระธรรมกถึกแสดงธรรมเพื่อดับสักกายะอยู่ จิตย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่น หลุดพ้น พึงเห็นบุคคลเหล่านั้นเหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

รูปฌาน ๔
[๑๓๓] มรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละอกุศลธรรมทั้งหลายด้วยอุปธิวิเวก๑ เพราะ
ระงับความเกียจคร้านทางกายได้โดยประการทั้งปวง จึงสงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอย่อม
พิจารณาเห็น๒ธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีอยู่ใน
ปฐมฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร
เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดุจคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้อง
แตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขาร
ทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด
ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ๓
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น
จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก๔
นี้แล เป็นมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุจึงบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น ฯลฯ
เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

อรูปฌาน ๔
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน
เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดุจคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า
เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่อ
อมตธาตุว่า ‘สภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’
เธอดำรงอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น
ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
นี้แล เป็นมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อมพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลาย คือเวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ฯลฯ
เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคอย
ก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดุจคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย
เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว
จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘สภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความสงบระงับสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร
ทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด
ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็น
โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
ในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
นี้แล เป็นมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ถ้ามรรคและปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้
บางพวกจึงเป็นเจโตวิมุต๑ บางพวกจึงเป็นปัญญาวิมุต๒ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวว่าภิกษุเหล่านั้น
มีอินทรีย์ต่างกัน๓”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหามาลุงกยสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

๕. ภัททาลิสูตร
ว่าด้วยพระภัททาลิ
คุณแห่งการฉันอาหารมื้อเดียว
[๑๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารมื้อเดียว เราเมื่อฉันอาหารมื้อเดียว๑ ย่อมรู้สึก
ว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
ภิกษุทั้งหลาย มาเถิด แม้เธอทั้งหลายก็จงฉันอาหารมื้อเดียวเถิด เธอทั้งหลาย
เมื่อฉันอาหารมื้อเดียว จักรู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัย
สมบูรณ์ อยู่สำราญ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถฉันอาหารมื้อเดียวได้ เพราะเมื่อ
ข้าพระองค์ฉันอาหารมื้อเดียว จะมีความกระวนกระวาย และมีความเดือดร้อน”
“ภัททาลิ ถ้าเช่นนั้น เธอรับนิมนต์ ณ ที่ใดแล้ว พึงฉัน ณ ที่นั้นเสียส่วนหนึ่ง
แล้วนำอีกส่วนหนึ่งมาฉันก็ได้ เมื่อเธอฉันอาหารได้อย่างนี้ ก็จักดำรงชีวิตอยู่ได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถจะฉันแม้ด้วยอาการอย่างนั้น
เพราะเมื่อข้าพระองค์ฉันอย่างนั้น ก็จะมีความกระวนกระวาย และมีความเดือดร้อน”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร
ครั้งนั้น ท่านพระภัททาลิได้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ ตั้งแต่นั้นมา ท่าน
พระภัททาลิไม่กล้าเผชิญพระพักตร์พระผู้มีพระภาคตลอด ๓ เดือนเต็ม เหมือนภิกษุ
ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขา๑ในศาสนาของพระศาสดาให้บริบูรณ์
พระภัททาลิสำนึกผิด
[๑๓๕] สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากช่วยกันทำจีวรกรรม(เย็บจีวร) สำหรับ
พระผู้มีพระภาคด้วยตั้งใจว่า “พระผู้มีพระภาคจะทรงใช้จีวรที่ทำสำเร็จแล้ว เสด็จ
เที่ยวจาริกไปเป็นเวลา ๓ เดือน”
เวลานั้น ท่านพระภัททาลิเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าว
กับท่านพระภัททาลิว่า
“ท่านภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายช่วยกันทำจีวรกรรมนี้สำหรับพระผู้มีพระภาค
ด้วยตั้งใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจะทรงใช้จีวรที่ทำสำเร็จแล้วเสด็จเที่ยวจาริกไปเป็น
เวลา ๓ เดือน’ ท่านภัททาลิ เราขอเตือน ท่านจงใส่ใจความผิดนี้ไว้ให้ดีเถิด ทีหลัง
ท่านอย่าได้ก่อความยุ่งยากอีกเลย”
ท่านพระภัททาลิรับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษ
ได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถ
ใน(การรักษา)สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทาน
ศึกษาอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับรู้โทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ เพื่อ
ความสำรวมระวังต่อไปเถิด”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เอาเถิด ภัททาลิ โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนโง่ เป็น
คนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่เราบัญญัติไว้
(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงรู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อภัททาลิเป็น
ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดาให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ
เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า ภิกษุจำนวนมากเข้าจำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้ภิกษุ
เหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
ให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ
เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า ภิกษุณีจำนวนมากเข้าจำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถี
แม้ภิกษุณีเหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของ
พระศาสดาให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ
เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า อุบาสกจำนวนมากอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้อุบาสก
เหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
ให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ
เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า อุบาสิกาจำนวนมากอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้อุบาสิกา
เหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
ให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ
ภัททาลิ เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า สมณพราหมณ์ต่างลัทธิจำนวนมากเข้า
จำพรรษาในกรุงสาวัตถี แม้สมณพราหมณ์ต่างลัทธิเหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อ
ภัททาลิ สาวกของพระสมณโคดม เป็นพระเถระรูปหนึ่ง ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนา
ของพระศาสดาให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง
ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรง
บัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับรู้โทษของ
ข้าพระองค์โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมระวังต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร
“ภัททาลิ เอาเถิด โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศ
ความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่เราบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทาน
ศึกษาอยู่
[๑๓๖] ภัททาลิ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็น
อุภโตภาควิมุต๑เราจะพึงกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เราจะก้าวไป
ในหล่มด้วยกัน ภิกษุนั้นจะพึงก้าวไป หรือน้อมกายไปทางอื่น หรือจะพึงปฏิเสธ”
“ไม่ปฏิเสธ พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นปัญญาวิมุต๒ เป็น
กายสักขี๓ เป็นทิฏฐิปัตตะ๔ เป็นสัทธาวิมุต๕ เป็นธัมมานุสารี๖ เป็นสัทธานุสารี๗
เราจะพึงกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มด้วยกัน’
ภิกษุนั้นจะพึงก้าวไป หรือน้อมกายไปทางอื่น หรือจะพึงปฏิเสธ”
“ไม่ปฏิเสธ พระพุทธเจ้าข้า”

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น