Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๓-๕ หน้า ๒๐๕ - ๒๕๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓-๕ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว สัมผัสแล้วด้วย
ปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อม
เจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนาเห็น
ปานนี้เถิด’ ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่สัมผัสด้วยปัญญาว่า
‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศล
ธรรมย่อมเจริญ” เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้จะพึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงเข้าถึงสุขเวทนา
เห็นปานนี้อยู่เถิด’ ข้อนี้จักเป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
สัมผัสแล้วด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลาย
จงเข้าถึงสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’
[๑๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง
ไม่สัมผัสด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า
‘เธอทั้งหลายจงละทุกขเวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้เป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว สัมผัสแล้วด้วย
ปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรม
ย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงละทุกข-
เวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่สัมผัสด้วย
ปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรม
ย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลาย
จงเข้าถึงทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’ ข้อนี้จักเป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
สัมผัสแล้วด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลาย
จงเข้าถึงทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’
[๑๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง
ไม่สัมผัสแล้วด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็น
ปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้ จะพึง
กล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงละอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้เป็นการสมควรแก่
เราหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว สัมผัสแล้วด้วย
ปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรม
ย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงละอทุกขม-
สุขเวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่สัมผัส
ด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า
‘เธอทั้งหลายจงเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’ ข้อนี้จักเป็นการสมควร
แก่เราหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
สัมผัสแล้วด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็น
ปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
‘เธอทั้งหลายจงเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร
[๑๘๑] ภิกษุทั้งหลาย เรามิได้กล่าวว่า ‘ภิกษุทั้งหมดจะต้องทำกิจที่ควรทำ
ด้วยความไม่ประมาท’ ทั้งมิได้กล่าวว่า ‘ภิกษุทั้งหมดไม่ต้องทำกิจที่ควรทำด้วย
ความไม่ประมาท’ ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้น
แล้วเพราะรู้โดยชอบ เราย่อมกล่าวว่า ‘ภิกษุเห็นปานนั้นไม่ต้องทำกิจที่ควรทำด้วย
ความไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นได้ทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทเสร็จแล้ว และภิกษุเหล่านั้น
จัดเป็นผู้ไม่ประมาทต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่สำเร็จเป็นอรหันต์ ยังปรารถนาธรรม
ที่เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ เรากล่าวว่า ‘ภิกษุเห็นปานนั้น ต้องทำกิจ
ที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุเหล่านี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี
ถ้าท่านเหล่านี้ เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร๑ คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ
จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุเห็นปานนั้นต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

บุคคล ๗ จำพวก
[๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ ๑มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๗ จำพวก ไหนบ้าง คือ

๑. ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต ๒. ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต
๓. ท่านผู้เป็นกายสักขี ๔. ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
๕. ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต ๖. ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี
๗. ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี๒

ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สัมผัสสันตวิโมกข์๓ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกาย๔อยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้
เราเรียกว่า เป็นอุภโตภาควิมุต เรากล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ไม่ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความ
ไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นได้ทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทเสร็จแล้ว และภิกษุนั้น
จัดเป็นผู้ไม่ประมาทต่อไป (๑)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร
ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้
เราเรียกว่า เป็นปัญญาวิมุต เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ไม่ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความ
ไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นได้ทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทเสร็จแล้ว และภิกษุนั้น
จัดเป็นผู้ไม่ประมาทต่อไป (๒)
ท่านผู้เป็นกายสักขี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูป เพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้
เราเรียกว่า เป็นกายสักขี เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่
ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี ถ้าท่าน
ผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอจะพึง
ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ จึงกล่าว
ว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (๓)
ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร
ทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรมที่ผู้นั้นเห็นแจ้งด้วยปัญญา ประพฤติดีแล้ว
บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นทิฏฐิปัตตะ เรากล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความ
ไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี ถ้าท่าน
ผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ จะพึง
ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (๔)
ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง
ความเชื่อในตถาคตของผู้นั้นตั้งมั่นแล้ว มีรากหยั่งลงมั่นคงแล้ว บุคคลนี้เราเรียกว่า
เป็นสัทธาวิมุต เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี
ถ้าท่านผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ
จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร
ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรม
ทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้วควรเพื่อพินิจโดยประมาณด้วยปัญญาของผู้นั้น
อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์(อินทรีย์คือศรัทธา) วิริยินทรีย์
(อินทรีย์คือวิริยะ) สตินทรีย์(อินทรีย์คือสติ) สมาธินทรีย์(อินทรีย์คือสมาธิ)
ปัญญินทรีย์(อินทรีย์คือปัญญา) ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นธัมมานุสารี
เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี
ถ้าท่านผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ
จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (๖)
ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ผู้นั้นมี
แต่เพียงความเชื่อ ความรักในตถาคต
อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นสัทธานุสารี เรากล่าวว่า
‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี
ถ้าท่านผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ
จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (๗)
การดำรงอยู่ในอรหัตตผล
[๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการบรรลุอรหัตตผลด้วยขั้นเดียวเท่านั้น
แต่การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขา๑โดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญ
กิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ
การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขาโดยลำดับ ด้วยการ
บำเพ็ญกิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในศาสนานี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปหา เมื่อเข้าไปหาย่อม
นั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ เงี่ยโสตลงสดับแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟัง
ธรรมแล้วย่อมทรงจำไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว เมื่อพิจารณา
เนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรเพ่งพินิจ เมื่อมีการเพ่งพินิจธรรมอยู่ ฉันทะ
ย่อมเกิด กุลบุตรนั้นเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง
ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมอุทิศกายและใจ เมื่ออุทิศกายและใจแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง
สัจจะอันยอดเยี่ยม๒ด้วยนามกาย และเห็นแจ่มแจ้งสัจจะอันยอดเยี่ยมนั้นด้วย
ปัญญา๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าศรัทธาไม่มี การเข้าไปหา การนั่งใกล้ การเงี่ยโสตลงสดับ
การฟังธรรม การทรงจำธรรม การพิจารณาเนื้อความ ความเพ่งพินิจธรรม ฉันทะ
อุตสาหะ การไตร่ตรอง และการอุทิศกายและใจก็ไม่มี เธอทั้งหลายเป็นผู้ปฏิบัติพลาด
เป็นผู้ปฏิบัติผิด โมฆบุรุษเหล่านี้ได้ก้าวออกไปจากธรรมวินัยนี้ไกลเท่าไร
[๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย คำอธิบายสัจจะ ๔ ประการมีอยู่ เมื่อยกคำอธิบาย
ดังกล่าวขึ้นมาแสดง วิญญูชนพึงเข้าใจเนื้อความได้ด้วยปัญญาในไม่ช้า เราจักแสดง
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักเข้าใจถึงเนื้อความได้”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นคน
เช่นไร และผู้เข้าใจถึงธรรมได้ เป็นคนเช่นไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับแต่
อามิสอยู่ ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นก็ยังไม่ต่อรองเลยว่า ‘เมื่อสิ่งเช่นนี้พึง
มีแก่เรา เราพึงทำสิ่งนั้น เมื่อสิ่งเช่นนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราก็ไม่พึงทำสิ่งนั้น’ ตถาคต
ไม่ข้องอยู่ด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงจะสมควรกับการต่อรองหรือ สาวกผู้มีศรัทธา
ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา ย่อมมีหลักปฏิบัติว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดา
เราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคทรงรู้ เราไม่รู้’
คำสอนของศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอน
ของศาสดา
สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา ย่อมมีหลักปฏิบัติว่า
‘หนัง เอ็น และกระดูกจงเหือดแห้งไปเถิด เนื้อและเลือดในสรีระของเรา จงเหือดแห้ง
ไปก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของ
บุรุษด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรนั้น๑’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา จะพึงหวังได้
ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ (๑) อรหัตตผลในปัจจุบัน (๒) เมื่อมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จะเป็นอนาคามี”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
กีฏาคิริสูตรที่ ๑๐ จบ
ภิกขุวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จูฬราหุโลวาทสูตร ๒. มหาราหุโลวาทสูตร
๓. จูฬมาลุงกยสูตร ๔. มหามาลุงกยสูตร
๕. ภัททาลิสูตร ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
๗. จาตุมสูตร ๘. นฬกปานสูตร
๙. โคลิสสานิสูตร ๑๐. กีฏาคิริสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร

๓. ปริพพาชกวรรค
หมวดว่าด้วยปริพาชก

๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อวัจฉโคตร สูตรเล็ก
[๑๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี
สมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อวัจฉโคตรอาศัยอยู่ในอารามของปริพาชกชื่อเอกบุณฑริก
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า “ยังเช้าเกินไปที่จะ
เที่ยวบิณฑบาตในกรุงเวสาลี ทางที่ดี เราควรเข้าไปหาวัจฉโคตรปริพาชก จนถึงอาราม
ของปริพาชกชื่อเอกบุณฑริก”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาวัจฉโคตรปริพาชก ถึงอารามของ
ปริพาชกชื่อเอกบุณฑริก วัจฉโคตรปริพาชกได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล
ได้กราบทูลว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จเข้ามาเถิด ขอต้อนรับเสด็จ นาน ๆ
พระผู้มีพระภาคจะมีเวลาเสด็จมาถึงที่นี้ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคประทับนั่งเถิด อาสนะ
นี้ปูลาดไว้แล้ว”
พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว แม้วัจฉโคตรปริพาชก
ก็เลือกนั่ง ณ ที่สมควร๑ที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า แล้วได้กราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร
“ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู
มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสสนะ๑ อย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเรา
เดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’
ท่านผู้เจริญ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรม
ทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดินอยู่ หยุดอยู่
หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ เป็นผู้กล่าวตาม
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่จริง
และชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลละหรือ อนึ่ง ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้น
และคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดม
เป็นสัพพัญญู’ มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า
‘เมื่อเราเดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’
ยังกล่าวไม่ตรงกับคำที่เรากล่าวแล้ว และชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่เป็นจริง ไม่มีจริง”
วิชชา ๓
[๑๘๖] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
จะอธิบายอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่
พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จและชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลละหรือ อนึ่ง ไม่มี
บ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ บุคคลผู้อธิบายว่า ‘พระสมณโคดมเป็น
ผู้มีวิชชา๒ ๓’ ชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร
ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล อนึ่ง ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
เมื่อไรก็ตามที่เราต้องการจะรู้ เราย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑ เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้
เราเพียงต้องการจะรู้เท่านั้น เราก็เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้น
ต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ฯลฯ๒ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม อย่างนี้แล
เราทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ๓ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
วัจฉะ บุคคลผู้อธิบายว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้มีวิชชา ๓’ ชื่อว่าเป็นผู้พูดตรง
ตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ และชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุ
สมผล อนึ่ง ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูก
ตำหนิได้”
ลัทธิเดียรถีย์ว่างจากคุณความดี
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัจฉโคตรปริพาชกได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม คฤหัสถ์บางคน ผู้ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์๔
ไม่ได้ หลังจากตายแล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ มีอยู่หรือ”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ คฤหัสถ์ที่ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้
หลังจากตายแล้วย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ไม่มีเลย”
“คฤหัสถ์บางคนยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ หลังจากตายแล้วไปเกิดใน
สวรรค์มีอยู่หรือ ท่านพระโคดม”
“คฤหัสถ์ผู้ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสวรรค์นั้น
มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน หรือ ๕๐๐ คนเท่านั้น
ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”
“อาชีวกบางคนหลังจากตายแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์๑ได้ มีอยู่หรือ ท่าน
พระโคดม”
“อาชีวกบางคน หลังจากตายแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ไม่มีเลย”
“อาชีวกบางคนหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสวรรค์ มีอยู่หรือ ท่านพระโคดม”
“จากภัทรกัปนี้ไป ๙๑ กัปที่เราระลึกได้ เราไม่รู้จักอาชีวกคนอื่นผู้ไปเกิดใน
สวรรค์ นอกจากอาชีวกเพียงคนเดียวผู้เป็นกรรมวาที๒ เป็นกิริยวาที๓”
“ท่านพระโคดม เมื่อเป็นอย่างนี้ ลัทธิเดียรถีย์ก็เป็นลัทธิที่ว่างเปล่าจาก
คุณความดี โดยที่สุดแม้แต่คุณความดีที่จะให้ไปเกิดในสวรรค์”
“อย่างนั้น วัจฉะ เมื่อเป็นอย่างนี้ ลัทธิเดียรถีย์นั้นเป็นลัทธิที่ว่างเปล่าจาก
คุณความดี โดยที่สุดแม้แต่คุณความดีที่จะให้ไปเกิดในสวรรค์”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว วัจฉโคตรปริพาชกมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬวัจฉโคตตสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงเรื่องไฟแก่ปริพาชกชื่อวัจฉโคตร
ทิฏฐิ ๑๐ ประการ
[๑๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า '‘ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่าน
พระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘โลกเที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘โลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘โลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะ๑กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง''
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคต๑เกิดอีก นี้เท่านั้น
จริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่
เกิดอีก๒ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่๓ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร
“วัจฉะ เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะ
ว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
[๑๘๘] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ข้าแต่
ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘วัจฉะ เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘โลกเที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่เที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า
‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกมีที่สุด
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า
‘โลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่มี
ที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘เราไม่มีทิฏฐิ
อย่างนั้นว่า ‘โลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า
‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า
เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า
‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า
‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็
ตรัสตอบว่า ‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงมี
ทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘วัจฉะ เราไม่มีทิฏฐิ
อย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ท่านพระโคดมทรงเห็นโทษอะไรหรือ จึงไม่ทรงยอมรับ
ทิฏฐิเหล่านี้ โดยประการทั้งปวง เช่นนี้”
[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ทิฏฐิว่า ‘โลกเที่ยง’ นั้น เป็น
รกชัฏคือทิฏฐิ เป็นกันดารคือทิฏฐิ เป็นเสี้ยนหนามคือทิฏฐิ เป็นความดิ้นรนคือทิฏฐิ
เป็นสังโยชน์คือทิฏฐิ ก่อให้เกิดความทุกข์๑ ความลำบาก ความคับแค้น และความ
เร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน ทิฏฐิว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ ฯลฯ ‘โลกมีที่สุด’ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร
‘โลกไม่มีที่สุด’ ฯลฯ ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ ฯลฯ ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละ
อย่างกัน’ ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’ ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้วตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ฯลฯ ทิฏฐิว่า
‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นั้น เป็นรกชัฏ
คือทิฏฐิ เป็นกันดารคือทิฏฐิ เป็นเสี้ยนหนามคือทิฏฐิ เป็นความดิ้นรนคือทิฏฐิ เป็น
สังโยชน์คือทิฏฐิ ก่อให้เกิดความทุกข์ ความลำบาก ความคับแค้น และความ
เร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
วัจฉะ เราเห็นโทษนี้จึงไม่ยอมรับทิฏฐิเหล่านั้นโดยประการทั้งปวง อย่างนี้”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิบางอย่างหรือไม่”
“วัจฉะ คำว่า ‘ทิฏฐิ’ นั้น ตถาคตกำจัดได้แล้ว ตถาคตเห็นแล้วว่า ‘รูปเป็น
ดังนี้ ความเกิดแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิด
แห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดแห่ง
สัญญาเป็นดังนี้ ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งสังขาร
เป็นดังนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณ
เป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้’ เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘ตถาคต
หลุดพ้นแล้วด้วยความไม่ถือมั่น เพราะความสิ้นไป เพราะความคลายไป เพราะ
ความดับ เพราะความสละ เพราะความสละคืน เพราะความไม่ถือมั่น อหังการ
มมังการ และมานานุสัย๑ทั้งปวง ที่เข้าใจแล้ว ย่ำยีได้แล้วทั้งหมด”
ปัญหาเรื่องความหลุดพ้น
[๑๙๐] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ จะเกิด ณ ที่ไหน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ คำว่า ‘เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้”
“ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นจะไม่เกิดหรือ ท่านพระโคดม”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร
“คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้”
“ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นเกิดและไม่เกิดหรือ ท่านพระโคดม”
“คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้”
“ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ ท่าน
พระโคดม”
“คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นำมาใช้ไม่ได้”
“เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว
อย่างนี้ จะเกิด ณ ที่ไหน’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘คำว่า ‘เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นจะไม่เกิดหรือ ท่านพระ-
โคดม’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นเกิดและไม่เกิดหรือ ท่าน
พระโคดม’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ ท่านพระโคดม’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘คำว่า ‘จะว่าเกิดอีก
ก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นำมาใช้ไม่ได้’
ข้าแต่ท่านพระโคดม ในข้อนี้ ข้าพระองค์ไม่รู้แล้ว ในข้อนี้ ข้าพระองค์หลง
ไปแล้ว ความเลื่อมใสซึ่งมีอยู่บ้างจากการสนทนาปราศรัยกับท่านพระโคดมใน
ตอนแรก บัดนี้ได้หมดสิ้นไปแล้ว”
“วัจฉะ ควรแล้วที่ท่านจะไม่รู้ ควรแล้วที่ท่านจะหลง เพราะว่าธรรมนี้๑ลึกซึ้ง
เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่ใช่ธรรมที่จะหยั่งถึงได้ด้วยความตรึก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร
ละเอียด เฉพาะบัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจ
เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของ
อาจารย์อื่น รู้ได้ยาก
[๑๙๑] วัจฉะ เอาเถิด เราจะย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านเห็นควรอย่างไร
ก็พึงตอบอย่างนั้น ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน
ท่านรู้ได้ไหมว่า ‘ไฟนี้กำลังลุกโพลงต่อหน้าเรา”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟลุกโพลงต่อหน้าข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็รู้ได้ว่า
‘ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าข้าพระองค์”
“ถ้าใคร ๆ จะพึงถามท่านอย่างนี้ว่า ‘ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร
จึงลุกโพลง’ ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงตอบอย่างไร”
“ถ้าใคร ๆ ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร
จึงลุกโพลง’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว ก็จะตอบอย่างนี้ว่า ‘ไฟที่ลุกโพลงอยู่
ต่อหน้าข้าพระองค์นี้ อาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุกโพลง ท่านพระโคดม”
“ถ้าไฟนั้นจะพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านรู้ได้ไหมว่า ‘ไฟนี้ดับไปต่อหน้าท่านแล้ว”
“ถ้าไฟนั้นจะพึงดับไปต่อหน้าข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็รู้ได้ว่า ‘ไฟนี้ดับไปต่อหน้า
ข้าพระองค์แล้ว ท่านพระโคดม”
“วัจฉะ ถ้าใคร ๆ จะพึงถามท่านว่า ‘ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ดับจาก
ทิศนี้แล้วไปยังทิศไหน คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือ ทิศเหนือ’
ท่านถูกถามอย่างนี้แล้วจะพึงตอบอย่างไร”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ไม่ควรถามเช่นนั้น เพราะไฟอาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึง
ลุกโพลง แต่เพราะเชื้อนั้นถูกไฟเผามอดไหม้และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึง
นับได้ว่าไม่มีเชื้อ ดับสนิทแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร
[๑๙๒] “วัจฉะ อย่างนั้นเหมือนกัน บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต๑ พึงบัญญัติ
ด้วยรูปใด รูปนั้นตถาคต๒ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการ
เรียกว่ารูป มีคุณอันลึกล้ำ อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือน
มหาสมุทร คำว่า ‘เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิด
และไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมา
ใช้ไม่ได้
บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยเวทนาใด เวทนานั้น ตถาคตละ
ได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการเรียกว่าเวทนา มีคุณอันลึกล้ำ
อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร คำว่า ‘เกิด’
นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้
ไม่ได้ คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมาใช้ไม่ได้
บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยสัญญาใด สัญญานั้น ตถาคต
ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการเรียกว่าสัญญา มีคุณอัน
ลึกล้ำอันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร คำว่า
‘เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้
ไม่ได้ คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมาใช้ไม่ได้
บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยสังขารใด สังขารนั้น ตถาคตละ
ได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการเรียกว่าสังขาร มีคุณอันลึกล้ำ
อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร คำว่า ‘เกิด’
นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้
คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมาใช้ไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร
บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยวิญญาณใด วิญญาณนั้น ตถาคตละ
ได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการเรียกว่าวิญญาณ มีคุณอันลึกล้ำ
อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร คำว่า ‘เกิด’
นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้
คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมาใช้ไม่ได้”
วัจฉโคตรปริพาชกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัจฉโคตรปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ต้นสาละใหญ่ ในที่ใกล้บ้านหรือนิคม กิ่ง ใบ เปลือก
สะเก็ด และกระพี้ ของต้นสาละใหญ่นั้น จะหลุด ร่วง กระเทาะไป เพราะเป็นของ
ไม่เที่ยง สมัยต่อมา ต้นสาละใหญ่นั้น ก็ไร้กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้ คงอยู่
แต่แก่นล้วน ๆ แม้ฉันใด ปาพจน์๑ของท่านพระโคดมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปราศจาก
กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้ คงอยู่แต่คำอันเป็นแก่น๒ล้วน ๆ
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม
แจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต” ดังนี้แล
อัคคิวัจฉโคตตสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อวัจฉโคตร สูตรใหญ่
เรื่องกุศลธรรมและอกุศลธรรม
[๑๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าพระองค์เคยสนทนากับท่านพระโคดมเป็นเวลานานมาแล้ว ขอประทาน
วโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลแก่ข้าพระองค์
โดยย่อเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เราจะแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศล
แก่ท่านโดยย่อก็ได้ เราจะแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลแก่ท่านโดยพิสดาร
ก็ได้ แต่เราจักแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลแก่ท่านโดยย่อ ท่านจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
วัจฉโคตรปริพาชก ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๑๙๔] “วัจฉะ โลภะเป็นอกุศล อโลภะเป็นกุศล โทสะเป็นอกุศล อโทสะเป็น
กุศล โมหะเป็นอกุศล อโมหะเป็นกุศล รวมความว่า ธรรมที่เป็นอกุศลมี ๓ ประการ
ธรรมที่เป็นกุศลมี ๓ ประการ
ปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) เป็นอกุศล ปาณาติปาตา เวรมณี(การงดเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์) เป็นกุศล
อทินนาทาน(การลักทรัพย์) เป็นอกุศล อทินนาทานา เวรมณี(การงดเว้นจาก
การลักทรัพย์) เป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร
กาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติผิดในกาม) เป็นอกุศล กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี
(การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม) เป็นกุศล
มุสาวาท(การพูดเท็จ) เป็นอกุศล มุสาวาทา เวรมณี(การงดเว้นจากการ
พูดเท็จ) เป็นกุศล
ปิสุณาวาจา(การพูดส่อเสียด) เป็นอกุศล ปิสุณาย วาจาย เวรมณี(การงดเว้น
จากการพูดส่อเสียด) เป็นกุศล
ผรุสวาจา(การพูดคำหยาบ) เป็นอกุศล ผรุสาย วาจาย เวรมณี(การงดเว้น
จากการพูดคำหยาบ) เป็นกุศล
สัมผัปปลาปะ(การพูดเพ้อเจ้อ) เป็นอกุศล สัมผัปปลาปา เวรมณี(การงดเว้น
จากการพูดเพ้อเจ้อ) เป็นกุศล
อภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) เป็นอกุศล อนภิชฌา(ความไม่
เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) เป็นกุศล
พยาบาท(ความคิดร้าย) เป็นอกุศล อพยาบาท(ความไม่คิดร้าย) เป็นกุศล
มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) เป็นอกุศล สัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ) เป็นกุศล
รวมความว่า ธรรมที่เป็นอกุศลมี ๑๐ ประการ ธรรมที่เป็นกุศลมี ๑๐ ประการ
วัจฉะ เพราะภิกษุละตัณหาได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ จึงเป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ๑เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๒ หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

พุทธบริษัทผู้ทำให้แจ้งวิมุตติ
[๑๙๕] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “ยกเว้นท่านพระโคดม ภิกษุแม้รูป
หนึ่งผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดม ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ๑ อันไม่มี
อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ผู้ทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มิใช่มีเพียง ๑๐๐ รูป ๒๐๐ รูป ๓๐๐ รูป ๔๐๐ รูป ๕๐๐ รูป
ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”
“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณีแม้รูปหนึ่งผู้เป็นสาวิกาของท่าน
พระโคดม ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่หรือ”
“ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มิใช่
มีเพียง ๑๐๐ รูป ๒๐๐ รูป ๓๐๐ รูป ๔๐๐ รูป ๕๐๐ รูป ความจริงแล้วมีอยู่
จำนวนมากทีเดียว”
“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย อุบาสก
แม้คนหนึ่งผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดม ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน
พรหมจารี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จะปรินิพพาน
ในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มีอยู่หรือ”
“อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน
พรหมจารี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จะปรินิพพาน
ในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน
๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร
“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย ยกเว้น
อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี อุบาสกแม้คนหนึ่ง
ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท
หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีก ในหลัก
คำสอนของพระศาสดา มีอยู่หรือ”
“อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม
ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความ
แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีก ในหลักคำสอนของพระศาสดา มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน
๒๐๐ คน ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”
“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย ยกเว้น
อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ยกเว้นอุบาสก
ทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม อุบาสิกาแม้คนหนึ่งผู้เป็นสาวิกา
ของท่านพระโคดม ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี เป็น
โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จะปรินิพพานในภพนั้น
ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มีอยู่หรือ”
“อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็น
เพื่อนพรหมจาริณี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
จะปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน ๒๐๐ คน
๓๐๐ คน ๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”
“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย ยกเว้น
อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ยกเว้นอุบาสก
ทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ยกเว้นพวกอุบาสิกาผู้เป็น
คฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี อุบาสิกาแม้คนหนึ่งผู้เป็นสาวิกา
ของท่านพระโคดมผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ทำตามคำสั่งสอน
ทำถูกตามโอวาท หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้อง
เชื่อใครอีก ในหลักคำสอนของพระศาสดาของตน มีอยู่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร
“วัจฉะ อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
บริโภคกาม ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท หมดความสงสัย ไม่มีคำถาม
ใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีก ในหลักคำสอนของพระศาสดา มิใช่มีเพียง
๑๐๐ คน ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมาก
ทีเดียว”
การบำเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์
[๑๙๖] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถาม(ต่อไป)ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าท่าน
พระโคดมเท่านั้นได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ แต่พวกภิกษุจักไม่ได้บำเพ็ญให้
บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดม
ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์
นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้
ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุได้บำเพ็ญให้
บริบูรณ์ แต่พวกภิกษุณีไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะ
ไม่บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุ
ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ทั้งพวกภิกษุณีก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์
นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้
ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
และทั้งพวกภิกษุณีก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
เป็นเพื่อนพรหมจารี ไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่บริบูรณ์
เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้
บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
เป็นเพื่อนพรหมจารี ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้
เช่นนี้
ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร
เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาว
ห่มขาว บริโภคกาม ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่
บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ
ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์
นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็น
คฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกามก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์
นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้
ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน
พรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
เป็นเพื่อนพรหมจาริณี ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะ
ไม่บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ
ได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก
ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก
ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกา
ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น
พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้
ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน
พรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม
ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน
พรหมจาริณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
บริโภคกาม ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่บริบูรณ์
เช่นนี้
แต่เพราะท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญ
ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร
ห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์
นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์
นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกา
ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น
พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้
วัจฉโคตรปริพาชกขอบรรพชา
[๑๙๗] ข้าแต่ท่านพระโคดม แม่น้ำคงคามีแต่จะไหลหลั่งล้นไปสู่มหาสมุทร
รวมกันอยู่ในมหาสมุทร แม้ฉันใด บริษัทของท่านพระโคดมซึ่งมีทั้งคฤหัสถ์และ
บรรพชิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีแต่มุ่งไป ก้าวไป และดำเนินไปสู่นิพพาน บรรลุ
นิพพานอยู่ ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของท่านพระโคดมเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชา
อุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส๑ ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว
เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจจึงจะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุได้ อนึ่ง ในเรื่องนี้ เราคำนึง
ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบท
ในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร
เมื่อภิกษุทั้งหลายพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ ข้าพระองค์จักขออยู่ปริวาส
๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายพอใจก็จงให้บรรพชาอุปสมบท
เป็นภิกษุเถิด”
วัจฉโคตรปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว
สมถวิปัสสนา
ท่านพระวัจฉโคตรอุปสมบทแล้วไม่นาน คืออุปสมบทได้กึ่งเดือน ก็ได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผล ๓ เบื้องต่ำมีประมาณเท่าใดซึ่งบุคคลจะพึงบรรลุด้วย
ญาณของพระเสขะ และด้วยวิชชาของพระเสขะ๑ ผลนั้นทั้งหมดข้าพระองค์บรรลุแล้ว
ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรม ๒ ประการ คือ
(๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา ให้ยิ่งขึ้นไปเถิด ธรรม ๒ ประการ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา
นี้ซึ่งเธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อรู้แจ้งธรรมธาตุหลายประการ
อภิญญา ๖
[๑๙๘] วัจฉะ เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรบรรลุอิทธิวิธญาณแสดงฤทธิ์ได้
หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้
แสดงให้ปรากฏ หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือน
ไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำ
ไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้
ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจ
ทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร
เมื่อมีเหตุ๑อยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้สามารถในอิทธิวิธญาณแสดงฤทธิ์ได้
หลายอย่างนั้นได้แน่ (๑)
เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียง
มนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’
เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในทิพพโสตธาตุได้แน่ (๒)
เธออาจจะหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์ และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ
จิตมีราคะก็รู้ว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะก็รู้ว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’
จิตมีโมหะก็รู้ว่า ‘จิตมีโมหะ’ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’
จิตหดหู่ก็รู้ว่า ‘จิตหดหู่’ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’
จิตเป็นมหัคคตะ๒(จิตถึงความเป็นใหญ่)ก็รู้ว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’ หรือจิตไม่
เป็นมหัคคตะก็รู้ว่า ‘จิตไม่เป็นมหัคคตะ’
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’ หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า
‘จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า’
จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตไม่เป็นสมาธิ’
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’
เมื่อมีเหตุอยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้สามารถในเจโตปริยญาณนั้นได้แน่ (๓)
เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร
ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป
และวิวัฏฏกัป๑เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และ
มีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้’
เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในปุพเพนิวาสานุสสติญาณนั้น
ได้แน่ (๔)
เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ
ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด
พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๒ แต่หมู่สัตว์ที่
ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ
และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์’ เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรมอย่างนี้แล’
เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในจุตูปปาตญาณนั้นได้แน่ (๕)
วัจฉะ เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในอาสวักขยญาณนั้นได้แน่” (๖)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร
[๑๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระวัจฉโคตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกออกไปอยู่
คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้ง
ประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป๑’
ท่านพระวัจฉโคตรได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
[๒๐๐] สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากพากันไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ท่านพระ
วัจฉโคตรได้เห็นภิกษุเหล่านั้นกำลังเดินมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นจนถึง
ที่อยู่ แล้วถามว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านกำลังจะไปไหนกัน”
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พวกเราจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค”
ท่านพระวัจฉโคตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอพวกท่านจง
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และจงกราบทูลอย่างนี้
ตามคำของกระผมว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อวัจฉโคตรขอถวายอภิวาท
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และขอกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าพระ
องค์ได้ปรนนิบัติ๒พระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพระองค์ได้ปรนนิบัติพระสุคตแล้ว”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระวัจฉโคตร
ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และขอให้กราบทูล
อย่างนี้ว่า ‘ข้าพระองค์ได้ปรนนิบัติพระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพระองค์ได้ปรนนิบัติ
พระสุคตแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้จิตของภิกษุชื่อวัจฉ-
โคตรด้วยจิตของเราก่อนแล้วว่า ‘ภิกษุชื่อวัจฉโคตรเป็นผู้มีวิชชา ๓ มีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมาก’ แม้เทวดาทั้งหลายก็บอกเนื้อความนี้แก่เราแล้วว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ภิกษุชื่อวัจฉโคตรเป็นผู้มีวิชชา ๓ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหาวัจฉโคตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทีฆนขสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อทีฆนขะ
[๒๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสูกรขาตา ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อทีฆนขะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริง ข้าพระองค์มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่เป็นที่พอใจแก่เรา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อัคคิเวสสนะ แม้ทิฏฐิของท่านที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่
เป็นที่พอใจแก่เรา’ นั้น ก็ไม่น่าเป็นที่พอใจแก่ท่านด้วย”
“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ก็ยังพอใจทิฏฐินั้นว่า ‘แม้คำกล่าวนั้นก็จะพึงเป็น
เช่นนั้น แม้คำกล่าวนั้นก็จะพึงเป็นเช่นนั้น”
“อัคคิเวสสนะ คนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้คำกล่าวนั้นก็จะพึงเป็นเช่นนั้น
แม้คำกล่าวนั้นก็จะพึงเป็นเช่นนั้น’ ในโลกนี้ คนเหล่านั้นละทิฏฐินั้นไม่ได้ และยังยึด
ถือทิฏฐิอื่นอยู่ คนเหล่านั้นมีจำนวนมากกว่าคนที่ละได้
คนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้คำกล่าวนั้นก็จะพึงเป็นเช่นนั้น แม้คำกล่าวนั้น
ก็จะพึงเป็นเช่นนั้น’ ในโลกนี้ คนเหล่านั้นละทิฏฐินั้นได้ และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น คนเหล่านั้น
มีจำนวนน้อยกว่าคนที่ละไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร

ทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงเป็นที่
พอใจแก่เรา’
มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่
เป็นที่พอใจแก่เรา’
มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บางสิ่งเป็นที่
พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’
บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘สิ่งทั้งปวงเป็นที่พอใจแก่เรา‘นั้น อยู่ใกล้ความกำหนัด ใกล้กิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้
ใกล้กิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้กิเลสเป็นเหตุเกาะติด ใกล้กิเลสเป็นเหตุยึดมั่น
อัคคิเวสสนะ บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’ นั้น อยู่ใกล้ความไม่กำหนัด ใกล้ธรรม
เป็นเครื่องเปลื้องสัตว์ ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุ
เกาะติด ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุยึดมั่น”
[๒๐๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดมยกย่องทิฏฐิของข้าพระองค์หรือ ท่านพระโคดม
ยกย่องทิฏฐิของข้าพระองค์หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อัคคิเวสสนะ บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณ-
พราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บางสิ่งเป็นที่พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็น
ที่พอใจแก่เรา’ นั้น ส่วนที่เห็นว่าเป็นที่พอใจ อยู่ใกล้ความกำหนัด ใกล้กิเลสเป็น
เครื่องผูกสัตว์ไว้ ใกล้กิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้กิเลสเป็นเหตุเกาะติด ใกล้กิเลส
เป็นเหตุยึดมั่น ส่วนที่เห็นว่าไม่เป็นที่พอใจ อยู่ใกล้ความไม่กำหนัด ใกล้ธรรม
เป็นเครื่องเปลื้องสัตว์ ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุ
เกาะติด ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุยึดมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร
บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘สิ่งทั้งปวงเป็นที่พอใจแก่เรา’ นั้น วิญญูชนย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ถ้าเราจะ
ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิของเราว่า ‘สิ่งทั้งปวงเป็นที่พอใจแก่เรา’ แล้วยืนยันอย่าง
แข็งขันว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราก็จะพึงถือผิดจากสมณพราหมณ์
๒ พวกนี้ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวง
ไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’
๒. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บางสิ่งเป็น
ที่พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’
เมื่อเราถือผิดจากสมณพราหมณ์ ๒ พวกนี้ ก็จะมีการทุ่มเถียงกัน เมื่อมี
การทุ่มเถียงกัน ก็จะมีการทำลายกัน เมื่อมีการทำลายกัน ก็จะมีการเบียดเบียนกัน
วิญญูชนนั้นเมื่อพิจารณาเห็นการถือผิดกัน การทุ่มเถียงกัน การทำลายกัน และการ
เบียดเบียนกันในตน จึงละทิฏฐินั้น และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น การละ การสลัดทิ้งทิฏฐิ
เหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้
[๒๐๓] อัคคิเวสสนะ บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’ วิญญูชนย่อมพิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ‘ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นทิฏฐิของเราว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’ แล้วยืนยัน
อย่างแข็งขันว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราก็จะพึงถือผิดจากสมณพราหมณ์
๒ พวกนี้ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวง
เป็นที่พอใจแก่เรา’
๒. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บางสิ่งเป็น
ที่พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’
เมื่อเราถือผิดจากสมณพราหมณ์ ๒ พวกนี้ ก็จะมีการทุ่มเถียงกัน เมื่อมีการ
ทุ่มเถียงกัน ก็จะมีการทำลายกัน เมื่อมีการทำลายกัน ก็จะมีการเบียดเบียนกัน
วิญญูชนนั้นเมื่อพิจารณาเห็นการถือผิดกัน การทุ่มเถียงกัน การทำลายกัน และการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร
เบียดเบียนกันในตน จึงละทิฏฐินั้น และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น การละ การสลัดทิ้งทิฏฐิ
เหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้
[๒๐๔] อัคคิเวสสนะ บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บางสิ่งเป็นที่พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’ นั้น
วิญญูชนย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นทิฏฐิของเราว่า ‘บางสิ่งเป็น
ที่พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’ แล้วยืนยันอย่างแข็งขันว่า ‘นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’ เราก็จะพึงถือผิดจากสมณพราหมณ์ ๒ พวกนี้ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวง
เป็นที่พอใจแก่เรา’
๒. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่
เป็นที่พอใจแก่เรา’
เมื่อเราถือผิดจากสมณพราหมณ์ ๒ พวกนี้ ก็จะมีการทุ่มเถียงกัน เมื่อมีการ
ทุ่มเถียงกัน ก็จะมีการทำลายกัน เมื่อมีการทำลายกัน ก็จะมีการเบียดเบียนกัน
วิญญูชนนั้นเมื่อพิจารณาเห็นการถือผิดกัน การทุ่มเถียงกัน การทำลายกัน และ
การเบียดเบียนกันในตน จึงละทิฏฐินั้น และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น การละ การสลัดทิ้ง
ทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้
[๒๐๕] อัคคิเวสสนะ รูปกายนี้เกิดจากมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็น
แดนเกิด เติบโตด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาส มีความไม่เที่ยง มีการไล้ทาบีบนวด แตก
สลาย และกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่ง
เบียดเบียน เป็นดุจผู้อื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เมื่อท่าน
พิจารณาเห็นกายนี้โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็น
ดุจลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่งเบียดเบียน เป็นดุจผู้อื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย
เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา ท่านย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใยในกาย
และความยอมตามกายได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร

เวทนา ๓
เวทนา ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา
๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา

เมื่อใดบุคคลได้เสวยสุขเวทนา เมื่อนั้นเขาไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวย
อทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น เมื่อใดบุคคลเสวยทุกขเวทนา เมื่อนั้น
เขาไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น
เมื่อใดบุคคลเสวยอทุกขมสุขเวทนา เมื่อนั้น เขาย่อมไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวย
ทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น
สุขเวทนาไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป และดับไปเป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป และดับไปเป็น
ธรรมดา แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป และดับไปเป็นธรรมดา
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายสุขเวทนา ทุกข-
เวทนา และอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป’
อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ย่อมไม่ทะเลาะวิวาททุ่มเถียงกับใคร ๆ
โวหารใดที่ชาวโลกนิยมพูดกันก็ไม่ยึดมั่นกล่าวไปตามโวหารนั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร
[๒๐๖] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรยืนถวายงานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์
พระผู้มีพระภาค ได้คิดว่า “ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้ยิ่งแล้ว ตรัสการละธรรม
เหล่านั้น ๆ แก่เราทั้งหลาย พระสุคตทรงรู้ยิ่งแล้ว ตรัสการสลัดทิ้งธรรมเหล่านั้น ๆ
แก่เราทั้งหลาย” เมื่อท่านพระสารีบุตรพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะ
ทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี และปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแล้วแก่ทีฆนข-
ปริพาชกว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความ
ดับไปเป็นธรรมดา๑”
ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก
ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชกเห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม
หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีกในหลัก
คำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่าน
พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอด
ชีวิต” ดังนี้แล
ทีฆนขสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

๕. มาคัณฑิยสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อมาคัณฑิยะ
[๒๐๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับบนเครื่องปูลาดซึ่งทำด้วยหญ้า ในโรงบูชาไฟ
ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร นิคมของชาวกุรุชื่อกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ ครั้นเวลาเช้า
พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังนิคมชื่อ
กัมมาสธัมมะ ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกัมมาสธัมมนิคมแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จเข้าไปยังราวป่าแห่งหนึ่งเพื่อประทับพักผ่อน
กลางวัน ได้ประทับนั่งพักผ่อนกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น ปริพาชกชื่อ
มาคัณฑิยะเดินเที่ยวเล่นอยู่ เข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้เห็น
เครื่องปูลาดทำด้วยหญ้าในโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร จึงถามว่า
“สหาย เครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้าซึ่งปูลาดไว้ในโรงบูชาไฟของท่านภารทวาชะนี้
เป็นของใคร ดูเหมือนจะเป็นที่นอนของสมณะกระมัง”
ภารทวาชโคตรพราหมณ์ตอบว่า “ใช่ ท่านมาคัณฑิยะ พระสมณโคดมผู้
เป็นศากยบุตรออกผนวชจากศากยะตระกูล ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงาม
ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ที่นอนนี้ปูลาดไว้สำหรับท่านพระโคดมนั้น”
“ท่านภารทวาชะ พวกเราผู้ที่ได้เห็นที่นอนของท่านพระโคดมผู้ทำลายความ
เจริญนั้น นับว่าได้เห็นสิ่งที่ไม่เป็นมงคล”
“ท่านมาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจานี้ไว้ ท่านมาคัณฑิยะ ท่านจงรักษา
วาจานี้ไว้ ความจริง กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี คหบดีผู้
เป็นบัณฑิตก็ดี สมณะผู้เป็นบัณฑิตก็ดี มีจำนวนมาก พากันเลื่อมใสท่านพระสมณ-
โคดมพระองค์นั้นเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านพระสมณโคดมทรงแนะนำแต่ธรรมที่ทำให้
คนฉลาด รอบรู้ และเป็นอริยะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร
“ท่านภารทวาชะ ถ้าเราเผชิญหน้ากับท่านพระโคดมนั้น เราก็กล้าพูดต่อหน้า
ท่านพระโคดมว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะคำพูดอย่างนี้อยู่ในสูตรของเรา”
“ท่านมาคัณฑิยะ ถ้าการกล่าวคำนั้น ไม่เป็นการหนักใจแก่ท่านมาคัณฑิยะละก็
ข้าพเจ้าจักกราบทูลพระสมณโคดมพระองค์นั้นให้ทรงทราบ”
“ท่านภารทวาชะ อย่ากังวลเลย เราได้พูดไว้แล้ว เชิญท่านพูดกับพระสมณ-
โคดมนั้นเถิด”
[๒๐๘] พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำสนทนานี้ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร
กับมาคัณฑิยปริพาชกด้วยทิพพโสตอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ครั้นเวลาเย็น พระผู้มี
พระภาค ทรงออกจากที่หลีกเร้น๑ เสด็จเข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร
ประทับนั่งบนเครื่องปูลาดซึ่งทำด้วยหญ้าที่ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น พราหมณ์ภาร-
ทวาชโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสกับพราหมณ์
ภารทวาชโคตรนั้นว่า “ภารทวาชะ ท่านกับมาคัณฑิยปริพาชกปรารภถึงเครื่องปูลาด
ซึ่งทำด้วยหญ้านี้ ได้เจรจาโต้ตอบกันอย่างไรบ้าง”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภารทวาชโคตรพราหมณ์ถึงกับตะลึง
ขนลุก ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าพระองค์ปรารถนาที่จะกราบทูลเรื่องนี้แก่
ท่านพระโคดมอยู่แล้ว แต่ท่านพระโคดมได้ตรัสถามก่อนที่ข้าพระองค์จะได้กราบทูล”
เมื่อพระผู้มีพระภาคกับพราหมณ์ภารทวาชโคตรสนทนากันค้างอยู่นั้น
มาคัณฑิยปริพาชกผู้กำลังเดินเที่ยวเล่นอยู่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่โรงบูชาไฟ
ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับมาคัณฑิยปริพาชกว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

ตรัสถามมาคัณฑิยปริพาชกเรื่องการสำรวมอินทรีย์
[๒๐๙] “มาคัณฑิยะ ตามีรูปเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในรูป อันรูปให้บันเทิงแล้ว
ตานั้นตถาคตฝึกดีแล้ว คุ้มครองดีแล้ว รักษาดีแล้ว สำรวมดีแล้ว อนึ่ง ตถาคต
ย่อมแสดงธรรมเพื่อสำรวมตานั้น
มาคันฑิยะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ‘’ นั้น
ท่านคงจะหมายถึงความข้อนี้กระมัง”
มาคัณฑิยปริพาชกกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม คำที่ข้าพระองค์กล่าวว่า
‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ’ นี้ ข้าพระองค์หมายถึงความข้อนั้นแล
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำที่พูดอย่างนี้อยู่ในสูตรของข้าพระองค์”
“มาคัณฑิยะ หูมีเสียงเป็นที่ยินดี ฯลฯ จมูกมีกลิ่นเป็นที่ยินดี ฯลฯ ลิ้นมีรส
เป็นที่ยินดี ฯลฯ กายมีการสัมผัสเป็นที่ยินดี ฯลฯ ใจมีธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี
ยินดีแล้วในธรรมารมณ์ อันธรรมารมณ์ให้บันเทิงแล้ว ใจนั้นตถาคตฝึกดีแล้ว
คุ้มครองดีแล้ว รักษาดีแล้ว สำรวมดีแล้ว อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อ
สำรวมใจนั้น
มาคัณฑิยะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ’ นั้น
ท่านคงจะหมายถึงความข้อนี้กระมัง”
“ท่านพระโคดม คำที่ข้าพระองค์กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลาย
ความเจริญ’ นี้ ข้าพระองค์หมายถึงความข้อนั้นแล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำ
ที่พูดอย่างนี้อยู่ในสูตรของข้าพระองค์”
[๒๑๐] “มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนบางคนในโลกนี้
เป็นผู้เคยได้รับการบำเรอด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด สมัยต่อมา เขารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในรูปได้ บรรเทา
ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะรูปได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่
มาคัณฑิยะ ท่านมีอะไรที่จะกล่าวกับท่านผู้นี้เล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร
“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่มีอะไรที่จะกล่าว”
“มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนบางคนในโลกนี้เป็นผู้เคยได้รับ
การบำเรอด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึง
รู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด สมัยต่อมา เขารู้ความเกิด ความดับ คุณ
โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดโผฏฐัพพะให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหา
ในโผฏฐัพพะได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะโผฏฐัพพะได้ เป็นผู้ปราศจากความ
กระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ มาคัณฑิยะ ท่านมีอะไรที่จะกล่าวกับท่านผู้นี้เล่า”
“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่มีอะไรที่จะกล่าว”
[๒๑๑] “มาคัณฑิยะ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน เป็นผู้เอิ่บอิ่ม
พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ด้วยเสียง
ที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น
ฯลฯ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน เป็นผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ
๕ ประการ บำเรอตนอยู่ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ปราสาทของเรานั้นมีอยู่ถึง ๓ หลัง คือ
๑. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน
๒. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว
๓. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน
เรานั้นไม่มีบุรุษเจือปน มีแต่สตรีคอยบำเรอขับกล่อมดนตรี อยู่ในปราสาทเป็นที่
อยู่ในฤดูฝนตลอด ๔ เดือน ไม่ได้ลงจากปราสาทเลย
สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด
กามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร
เราเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่
ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราก็ไม่กระหยิ่มต่อสัตว์
เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย๑ อัน
เข้าถึงความสุขที่เป็นทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่ำ๒และไม่ยินดีในความสุข
ขั้นต่ำนั้น
เปรียบเทียบกามของมนุษย์กับกามทิพย์
[๒๑๒] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคหบดีหรือบุตรคหบดี เป็นผู้มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่
ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก
ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ คหบดีหรือบุตรคหบดี เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์
มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่
ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตาย
แล้วจะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ จะพึงไปเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรนั้น
มีหมู่นางอัปสรแวดล้อมอยู่ในสวนนันทวัน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณที่เป็นทิพย์
บำเรอตนอยู่ในดาวดึงส์เทวโลกนั้น เทพบุตรนั้นได้เห็นคหบดีหรือบุตรของคหบดีผู้
อิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพบุตรนั้นมีหมู่นางอัปสร
แวดล้อม อยู่ในสวนนันทวัน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอ
ตนอยู่ จะพึงกระหยิ่มต่อคหบดีหรือบุตรของคหบดีโน้น หรือต่อกามคุณ ๕ ประการ
ของมนุษย์ หรือจะเวียนกลับมาหากามของมนุษย์ไหม”
“ไม่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกามที่เป็นทิพย์เป็นสิ่งที่น่าใคร่
ยิ่งกว่าและประณีตยิ่งกว่ากามของมนุษย์”
“มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน
เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ
ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึง
รู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วย
กามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
สมัยต่อมา เรารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด
กามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่
เรานั้นเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหา
เกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราจึงไม่
กระหยิ่มต่อสัตว์เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
อันเข้าถึงความสุขที่เป็นทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่ำ และไม่ยินดีในความ
สุขขั้นต่ำนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนเป็นโรคเรื้อน
[๒๑๓] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัว
พุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน มิตร
อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้นั้น
พึงประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน หายจากโรคร้าย
มีความสบายขึ้น ลุกเดินได้เอง ไปไหนมาไหนได้เองตามความพอใจ บุรุษนั้นเห็น
บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อนคนอื่น มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลาย
ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะพึงกระหยิ่มต่อบุรุษ
ผู้เป็นโรคเรื้อนคนโน้น ต่อหลุมถ่านเพลิง หรือต่อการกล้ำกลืนฝืนใช้ยา ใช่หรือไม่”
“ไม่ใช่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อยังมีโรค กิจที่เกี่ยวกับ
การใช้ยาก็ต้องมี เมื่อหายโรค กิจที่เกี่ยวกับยาก็หมดไป”
“มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน
เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ด้วยเสียง
ที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น
ฯลฯ เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ
บำเรอตนอยู่ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
สมัยต่อมา เรารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด
กามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่
เรานั้นเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหา
เกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราจึงไม่
กระหยิ่มต่อสัตว์เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร
เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
อันเข้าถึงความสุขที่เป็นทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่ำ และไม่ยินดีใน
ความสุขขั้นต่ำนั้น
[๒๑๔] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัว
พุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน มิตร
อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้นั้น
พึงประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน หายจากโรคร้าย
มีความสบายขึ้น ลุกเดินได้เอง ไปไหนมาไหนได้เองตามความพอใจ ทีนั้น คนที่
แข็งแรง ๒ คนช่วยกันจับเขาที่แขนคนละข้าง ฉุดเขาให้เข้าไปที่หลุมถ่านเพลิง
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นต้องดิ้นรนไปมาข้างนี้
และข้างโน้น ใช่ไหม”
“ใช่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไฟมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความ
ร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก”
“มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์
มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก เฉพาะในบัดนี้เท่านั้นหรือ หรือว่าแม้
เมื่อก่อน ไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก มีความเร่าร้อนมาก
เหมือนกัน”
“ท่านพระโคดม ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อน
มากทั้งในบัดนี้ และแม้เมื่อก่อนไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก มีความ
เร่าร้อนมากเหมือนกัน แต่บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง ถูกเชื้อโรค
คอยบ่อนทำลายอยู่ ใช้เล็บเกาปากแผล ถูกโรคเรื้อนเบียดเบียนร่างกาย กลับเข้าใจ
ไฟซึ่งมีสัมผัสเป็นทุกข์ว่าเป็นความสุข”
“มาคัณฑิยะ กามทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน แม้ในอดีตก็มีสัมผัสเป็นทุกข์
มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก ในอนาคต กามทั้งหลายก็มีสัมผัส
เป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก แม้ในปัจจุบัน กามทั้งหลายก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร
สัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้เป็นผู้ยัง
ไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิด
เพราะกามแผดเผาอยู่ มีอินทรีย์๑ถูกกามกำจัดแล้ว กลับเข้าใจกามซึ่งมีสัมผัสเป็น
ทุกข์ว่าเป็นความสุขไป
[๒๑๕] มาคัณฑิยะ บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรค
คอยบ่อนทำลายอยู่ ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน บุรุษผู้เป็น
โรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลายอยู่ ใช้เล็บเกา
ปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อนด้วยประการใด ๆ ปากแผลเหล่านั้นของบุรุษผู้
เป็นโรคเรื้อนนั้นก็เป็นของไม่สะอาดมากขึ้น มีกลิ่นเหม็นมากขึ้น และเน่ามากขึ้น
ด้วยประการนั้น ๆ แต่เขาจะมีเพียงความยินดี และความพอใจอยู่บ้าง ก็เพราะการ
เกาปากแผลเท่านั้น แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้ยังไม่ปราศจาก
ความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกาม
แผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม
ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่
ด้วยประการใด ๆ กามตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์เหล่านั้น และสัตว์เหล่านั้นก็ถูก
ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ด้วยประการนั้น ๆ และเขาเหล่านั้นจะมี
ความยินดี และความพอใจอยู่บ้างก็เพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนั่นเอง
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้าง
ไหมว่า ‘พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วย
กามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามไม่ได้ แต่เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายใน
อยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่”
“ไม่ ท่านพระโคดม”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร
“ดีละ มาคัณฑิยะ ข้อนี้แม้เราก็ไม่ได้เห็นมา ไม่ได้ฟังมาว่า ‘พระราชาหรือ
มหาอำมาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอ
ตนอยู่ ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามไม่ได้ แต่เป็น
ผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่’
มาคัณฑิยะ ที่แท้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นผู้ปราศจาก
ความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่ เพราะสมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย
เป็นเครื่องสลัดกามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละกามตัณหาได้ บรรเทา
ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ จึงเป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายใน
อยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
“ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม
ทางมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม”
[๒๑๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านพระ
โคดมตรัสไว้ดีแล้วว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’
ข้าพระองค์ก็ได้ฟังมาจากปริพาชกทั้งหลายในกาลก่อน ผู้เป็นอาจารย์และเป็น
ปาจารย์ผู้กล่าวว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’
ความข้อนั้นจึงสมกัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร
“มาคันทิยะ ข้อที่เธอได้ฟังมาจากปริพาชกทั้งหลาย ในกาลก่อน ผู้เป็น
อาจารย์และเป็นปาจารย์ผู้กล่าวว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’
ความไม่มีโรคนั้น เป็นอย่างไร
นิพพานนั้น เป็นอย่างไร”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ทราบว่า มาคัณฑิยปริพาชกเอาฝ่ามือ
ลูบตัวเองแล้วกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้น
คืออันนี้ บัดนี้ ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข โรคอะไร ๆ มิได้เบียดเบียน
ข้าพระองค์”
เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด
[๒๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอด
มาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปสีดำ รูปสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด
ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวง
อาทิตย์ เขาได้ฟังจากคนมีตาดีผู้กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก
ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’
เขาจึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาว บุรุษผู้หนึ่งเอาผ้าเนื้อหยาบเปื้อนน้ำมันมาลวงคนตาบอด
มาแต่กำเนิดนั้นว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ เป็นผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาด
สะอ้าน เป็นของท่าน’
เขารับเอาผ้านั้นมาห่ม พูดออกมาด้วยความดีใจว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงาม
ยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้านจริง ๆ’
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนตาบอดมาแต่กำเนิดนั้น รู้อยู่
เห็นอยู่ จึงรับเอาผ้าเนื้อหยาบเปื้อนน้ำมันนั้นมาห่ม พลางพูดออกมาด้วยความดีใจ
ว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’ หรือว่าเปล่งวาจา
แสดงความดีใจอย่างนั้นเพราะเชื่อคนมีตาดี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๕ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น