Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๗-๘ หน้า ๓๑๘ - ๓๖๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗-๘ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๔. จตุตถคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่น
ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๔. จตุตถคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
อทุกขมสุขีสูตรที่ ๒๖ จบ
ในวรรคก่อนมีการตอบปัญหา ๑๘ ข้อ
พึงขยายพระสูตร ๒๖ สูตร ในทุติยคมนวรรคให้พิสดาร
พึงขยายพระสูตร ๒๖ สูตร ในตติยคมนวรรคให้พิสดาร
พึงขยายพระสูตร ๒๖ สูตร ในจตุตถคมนวรรคให้พิสดาร
ทิฏฐิสังยุต จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๑. จักขุสูตร

๔. โอกกันตสังยุต
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักขุ
[๓๐๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุ (ตา) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน
มีภาวะโดยอาการอื่น
โสตะ (หู) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ฆานะ (จมูก) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ชิวหา (ลิ้น) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
กายไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
มโน (ใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘สัทธานุสารี๑
ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำ
กรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควร
ตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใดประจักษ์ชัดโดยยิ่งด้วยปัญญาอย่างนี้ ผู้
นี้เราเรียกว่า ‘ธัมมานุสารี๒ ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิ
ของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต ] ๒. รูปสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
จักขุสูตรที่ ๑ จบ

๒. รูปสูตร
ว่าด้วยรูป
[๓๐๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง มีความแปรผัน มี
ภาวะโดยอาการอื่น
สัททะ(เสียง)ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
คันธะ(กลิ่น)ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
รสไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องกาย) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิของปุถุชนได้
แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต
ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใดประจักษ์ชัดโดยยิ่งด้วยปัญญาอย่างนี้ ผู้
นี้เราเรียกว่า‘ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิ
ของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
รูปสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๔.สัมผัสสสูตร

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ
[๓๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา)
ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู) ฯลฯ
ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก) ...
ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น) ...
กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย) ...
มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ
โดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ฯลฯ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใด ฯลฯ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
วิญญาณสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัมผัสสสูตร
ว่าด้วยสัมผัส
[๓๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา)
ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
โสตสัมผัส (ความกระทบทางหู) ฯลฯ
ฆานสัมผัส (ความกระทบทางจมูก) ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๕. สัมผัสสชาสูตร
ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น) ...
กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย) ...
มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย
อาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
สัมผัสสสูตรที่ ๔ จบ

๕. สัมผัสสชาสูตร
ว่าด้วยสัมผัสสชาเวทนา
[๓๐๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิด
จากสัมผัสทางตา) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู) ฯลฯ
ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก) ...
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น) ...
กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย) ...
มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน
มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
สัมผัสสชาสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๗. รูปสัญเจตนาสูตร

๖. รูปสัญญาสูตร
ว่าด้วยรูปสัญญา
[๓๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) ไม่เที่ยง
มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง) ฯลฯ
คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น) ...
รสสัญญา (ความหมายรู้รส) ...
โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้โผฏฐัพพะ) ...
ธัมมสัญญา (ความหมายรู้ธรรมารมณ์) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มี
ภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
รูปสัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. รูปสัญเจตนาสูตร
ว่าด้วยรูปสัญเจตนา
[๓๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ไม่
เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ฯลฯ
คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๘. รูปตัณหาสูตร
รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ...
โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ...
ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มี
ภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
รูปสัญเจตนาสูตรที่ ๗ จบ

๘. รูปตัณหาสูตร
ว่าด้วยรูปตัณหา
[๓๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูป)
ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
สัททตัณหา (ความทะยานอยากในเสียง) ฯลฯ
คันธตัณหา (ความทะยานอยากในกลิ่น) ...
รสตัณหา (ความทะยานอยากในรส) ...
โผฏฐัพพตัณหา (ความทะยานอยากในโผฏฐัพพะ) ...
ธัมมตัณหา (ความทะยานอยากในธรรมารมณ์) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน
มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’'
รูปตัณหาสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๑๐. ขันธสูตร

๙. ปฐวีธาตุสูตร
ว่าด้วยปฐวีธาตุ
[๓๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ไม่เที่ยง มี
ความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ฯลฯ
เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ...
วาโยธาตุ (ธาตุลม) ...
อากาสธาตุ (ธาตุอากาศ) ...
วิญญาณธาตุ (ธาตุวิญญาณ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ปฐวีธาตุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์
[๓๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง มีความแปรผัน มี
ภาวะโดยอาการอื่น
เวทนาไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
สัญญา ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
วิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิของปุถุชน
ได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่ง
เปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใดประจักษ์ชัดโดยยิ่งด้วยปัญญาอย่างนี้ ผู้
นี้เราเรียกว่า ‘ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิ
ของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘อริยสาวกผู้
เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ
โอกกันตสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสสูตร
๕. สัมผัสสชาสูตร ๖. รูปสัญญาสูตร
๗. รูปสัญเจตนาสูตร ๘. รูปตัณหาสูตร
๙. ปฐวีธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [ ๕. อุปปาทสังยุต] ๑. จักขุสูตร

๕. อุปปาทสังยุต
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักขุ
[๓๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งจักขุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งโสตะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งฆานะ ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งชิวหา ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งกาย ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งมโน นี้เป็นความ
เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งจักขุ นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ... แห่งโสตะ ฯลฯ
ความดับ ... แห่งฆานะ ...
ความดับ ... แห่งชิวหา ...
ความดับ ... แห่งกาย ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งมโน นี้เป็นความดับแห่งทุกข์
เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”๑
จักขุสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต] ๓. วิญญาณสูตร

๒. รูปสูตร
ว่าด้วยรูป
[๓๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งสัททะ ฯลฯ แห่งคันธะ ... แห่งรส ...
แห่งโผฏฐัพพะ ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธรรมารมณ์ นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งสัททะ ฯลฯ แห่งคันธะ ...
แห่งรส ... แห่งโผฏฐัพพะ ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”๑
รูปสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ
[๓๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต] ๕. สัมผัสสชาสูตร
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งมโนวิญญาณ ฯลฯ เป็นความปรากฏ
แห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ... แห่งมโนวิญญาณ ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”
วิญญาณสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัมผัสสสูตร
ว่าด้วยสัมผัส
[๓๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งจักขุสัมผัส ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งมโนสัมผัส ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่ง
ชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งจักขุสัมผัส ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่
ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ... แห่งมโนสัมผัส ... เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”
สัมผัสสสูตรที่ ๔ จบ

๕. สัมผัสสชาสูตร
ว่าด้วยสัมผัสสชาเวทนา
[๓๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต] ๖. สัญญาสูตร
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งมโนสัมผัสสชา-
เวทนา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏ
แห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ... แห่งจักขุสัมผัสสชาเวทนา
ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ”
สัมผัสสชาสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา
[๓๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งรูปสัญญา ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธัมมสัญญา นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งรูปสัญญา ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่
ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธัมมสัญญา นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”
สัญญาสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต]
๘. ตัณหาสูตร

๗. สัญเจตนาสูตร
ว่าด้วยสัญเจตนา
[๓๑๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งรูปสัญเจตนา ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธัมมสัญเจตนา
นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งรูปสัญเจตนา ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธัมมสัญเจตนา นี้เป็นความ
ดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”
สัญเจตนาสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา
[๓๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งรูปตัณหา ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธัมมตัณหา นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งรูปตัณหา ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่
ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต] ๙. ธาตุสูตร
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธัมมตัณหา นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”
ตัณหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ
[๓๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งปฐวีธาตุ ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ...
แห่งอาโปธาตุ ฯลฯ แห่งเตโชธาตุ ... แห่งวาโยธาตุ ... แห่งอากาสธาตุ ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งวิญญาณธาตุ นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งปฐวีธาตุ ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้
แห่งชราและมรณะ
ความดับ ... แห่งอาโปธาตุ ฯลฯ
ความดับ ... แห่งเตโชธาตุ ...
ความดับ ... แห่งวาโยธาตุ ...
ความดับ ... แห่งอากาสธาตุ ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณธาตุ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”
ธาตุสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์
[๓๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ... แห่ง
สังขาร ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งวิญญาณ นี้เป็น
ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ความสงบระงับ ... แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ... แห่ง
สังขาร ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”
ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ
อุปปาทสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสสูตร
๕. สัมผัสสชาสูตร ๖. สัญญาสูตร
๗. สัญเจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๑. จักขุสูตร

๖. กิเลสสังยุต
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักขุ
[๓๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในจักขุ นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในโสตะ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในฆานะ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในชิวหา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในกาย นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในมโน นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ๑ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”
จักขุสูตรที่ ๑ จบ

๒. รูปสูตร
ว่าด้วยรูป
[๓๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูป นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๓. วิญญาณสูตร
ฉันทราคะในสัททะ ฯลฯ
ฉันทราคะในคันธะ ...
ฉันทราคะในรส ...
ฉันทราคะในโผฏฐัพพะ ...
ฉันทราคะในธรรมารมณ์ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”
รูปสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ
[๓๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในจักขุวิญญาณ นี้เป็น
ความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในโสตวิญญาณ ฯลฯ
ฉันทราคะในฆานวิญญาณ ...
ฉันทราคะในชิวหาวิญญาณ ...
ฉันทราคะในกายวิญญาณ ...
ฉันทราคะในมโนวิญญาณ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”
วิญญาณสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๕. สัมผัสสชาสูตร

๔. สัมผัสสสูตร
ว่าด้วยสัมผัส
[๓๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในจักขุสัมผัส นี้เป็น
ความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในโสตสัมผัส ฯลฯ
ฉันทราคะในฆานสัมผัส ...
ฉันทราคะในชิวหาสัมผัส ...
ฉันทราคะในกายสัมผัส ...
ฉันทราคะในมโนสัมผัส นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”
สัมผัสสสูตรที่ ๔ จบ

๕. สัมผัสสชาสูตร
ว่าด้วยสัมผัสสชาเวทนา
[๓๒๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในจักขุสัมผัสสชาเวทนา
นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ฉันทราคะในฆานสัมผัสสชาเวทนา ...
ฉันทราคะในชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ...
ฉันทราคะในกายสัมผัสสชาเวทนา ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๗. สัญเจตนาสูตร
ฉันทราคะในมโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”
สัมผัสสชาสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา
[๓๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูปสัญญา นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในสัททสัญญา ฯลฯ
ฉันทราคะในคันธสัญญา ...
ฉันทราคะในรสสัญญา ...
ฉันทราคะในโผฏฐัพพสัญญา ...
ฉันทราคะในธัมมสัญญา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”
สัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัญเจตนาสูตร
ว่าด้วยสัญเจตนา
[๓๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูปสัญเจตนา นี้เป็น
ความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในสัททสัญเจตนา ฯลฯ
ฉันทราคะในคันธสัญเจตนา ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๙. ธาตุสูตร
ฉันทราคะในรสสัญเจตนา ...
ฉันทราคะในโผฏฐัพพสัญเจตนา ...
ฉันทราคะในธัมมสัญเจตนา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”
สัญเจตนาสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา
[๓๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูปตัณหา นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในสัททตัณหา ฯลฯ
ฉันทราคะในคันธตัณหา ...
ฉันทราคะในรสตัณหา ...
ฉันทราคะในโผฏฐัพพตัณหา ...
ฉันทราคะในธัมมตัณหา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”
ตัณหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ
[๓๓๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในปฐวีธาตุ นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๑๐. ขันธสูตร
ฉันทราคะในอาโปธาตุ ฯลฯ
ฉันทราคะในเตโชธาตุ ...
ฉันทราคะในวาโยธาตุ ...
ฉันทราคะในอากาสธาตุ ...
ฉันทราคะในวิญญาณธาตุ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”
ธาตุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์
[๓๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูป นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ฯลฯ
ฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”
ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ
กิเลสสังยุต จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสสูตร
๕. สัมผัสสชาสูตร ๖. สัญญาสูตร
๗. สัญเจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [ ๗. สารีปุตตสังยุต] ๑. วิเวกชสูตร

๗. สารีปุตตสังยุต
๑. วิเวกชสูตร
ว่าด้วยปฐมฌานมีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
[๓๓๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวัน
แล้วนั่งพักอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
ต่อมาเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปยังพระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรกำลังเดิน
มาแต่ไกลจึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีหน้า
ก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมสงัดจากกาม และอกุศล-
ธรรมทั้งหลายแล้วเข้าปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่‘๑
ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้าปฐมฌานอยู่ หรือเข้าปฐมฌานแล้ว หรือออกจาก
ปฐมฌานแล้ว”
อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
นานแล้ว ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงไม่คิดว่า “เราเข้าปฐมฌานอยู่ หรือเข้า
ปฐมฌานแล้ว หรือออกจากปฐมฌานแล้ว”
วิเวกชสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต] ๓. ปีติสูตร

๒. อวิตักกสูตร
ว่าด้วยทุติยฌานไม่มีวิตก
[๓๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ จึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่าน
ผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป วันนี้
ผมเข้าทุติยฌานมีความผ่องใสในจิตภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๑ ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่‘๒ ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้าทุติยฌานอยู่
หรือเข้าทุติยฌานแล้ว หรือออกจากทุติยฌานแล้ว”
อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าทุติยฌานอยู่ หรือเข้าทุติยฌานแล้ว
หรือออกจากทุติยฌานแล้ว”
อวิตักกสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปีติสูตร
ว่าด้วยตติยฌานที่มีปีติ
[๓๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ จึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่าน
ผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าบริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต] ๔. อุเปกขาสูตร
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เพราะปีติจางคลายไป วันนี้ ผมมี
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายอยู่ เข้าตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข‘๑ ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้า
ตติยฌานอยู่ หรือเข้าตติยฌานแล้ว หรือออกจากตติยฌานแล้ว”
อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าตติยฌานอยู่ หรือเข้าตติยฌานแล้ว
หรือออกจากตติยฌานแล้ว”
ปีติสูตรที่ ๓ จบ

๔. อุเปกขาสูตร
ว่าด้วยจตุตถฌานที่มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
[๓๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ จึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่าน
ผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ
โสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว วันนี้ ผมเข้าจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่๒ ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้าจตุตถฌานอยู่ หรือเข้า
จตุตถฌานแล้ว หรือออกจากจตุตถฌานแล้ว”
อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าจตุตถฌานอยู่ หรือเข้าจตุตถฌานแล้ว
หรือออกจากจตุตถฌานแล้ว”
อุเปกขาสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต]
๗. อากิญจัญญายตนสูตร

๕. อากาสานัญจายตนสูตร
ว่าด้วยอากาสานัญจายตนฌาน
[๓๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมเข้าอากาสานัญจายตนฌาน
(ฌานอันกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) อยู่โดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวงอยู่๑ ฯลฯ หรือออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้ว”
อากาสานัญจายตนสูตรที่ ๕ จบ

๖. วิญญาณัญจายตนสูตร
ว่าด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน
[๓๓๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมล่วงอากาสานัญจายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวงเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน (ฌานอันกำหนดวิญญาณหา
ที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้‘๒ ฯลฯ หรือออก
จากวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว”
วิญญาณัญจายตนสูตรที่ ๖ จบ

๗. อากิญจัญญายตนสูตร
ว่าด้วยอากิญจัญญายตนฌาน
[๓๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ฯลฯ ได้ตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน (ฌานอัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต] ๙. นิโรธสมาปัตติสูตร
กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร‘๑ ฯลฯ หรือ
ออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว”
อากิญจัญญายตนสูตรที่ ๗ จบ

๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสูตร
ว่าด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
[๓๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ฯลฯ ได้ตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (ฌาน
อันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่)๒ ฯลฯ หรือออกจากเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานแล้ว”
เนวสัญญานาสัญญายตนสูตรที่ ๘ จบ

๙. นิโรธสมาปัตติสูตร
ว่าด้วยนิโรธสมาบัติ
[๓๔๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวัน
แล้วนั่งพักอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
ต่อมาเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นแล้วเข้าไปยังพระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรกำลังเดิน
มาแต่ไกลจึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์
ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต] ๑๐. สุจิมุขีสูตร
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมล่วงเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนฌานโดยประการทั้งปวงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)
อยู่ ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ หรือเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว
หรือว่าออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว”
อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ หรือเข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธแล้ว หรือออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว”
นิโรธสมาปัตติสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สุจิมุขีสูตร
ว่าด้วยสุจิมุขีปริพาชิกา
[๓๔๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ อาศัยเชิงฝาแห่งหนึ่งฉันบิณฑบาต
นั้น ครั้งนั้น ปริพาชิกาชื่อสุจิมุขี เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า
“สมณะ ทำไมท่านจึงก้มหน้าฉันเล่า”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “น้องหญิง เรามิได้ก้มหน้าฉัน”
“สมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านเงยหน้าฉันหรือ”
“น้องหญิง เรามิได้เงยหน้าฉัน”
“สมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศใหญ่ฉันหรือ”
“น้องหญิง เรามิได้มองดูทิศใหญ่ฉัน”
“สมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศน้อยฉันหรือ”
“น้องหญิง เรามิได้มองดูทิศน้อยฉัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต] ๑๐. สุจิมุขีสูตร
“ดิฉันถามว่า ‘สมณะ ทำไมท่านจึงก้มหน้าฉันเล่า’ ท่านก็ตอบว่า ‘เรามิได้
ก้มหน้าฉัน’
ดิฉันถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านเงยหน้าฉันหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘เรามิได้เงย
หน้าฉัน’
ดิฉันถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศใหญ่ฉันหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘เรา
มิได้มองดูทิศใหญ่ฉัน’
ดิฉันถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศน้อยฉันหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘เรา
มิได้มองดูทิศน้อยฉัน’
สมณะ ก็บัดนี้ ท่านฉันอย่างไรเล่า”
“น้องหญิง ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะ
ดิรัจฉานวิชา๑ คือวิชาดูพื้นที่๒ สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกได้ว่า ก้มหน้าฉัน
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชา
คือ วิชาดูดาวดูฤกษ์ สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกได้ว่า เงยหน้าฉัน
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะทำหน้าที่เป็น
ตัวแทนและผู้สื่อสาร สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกได้ว่า มองดูทิศใหญ่ฉัน
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชา
คือวิชาดูอวัยวะ สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกได้ว่า มองดูทิศน้อยฉัน
น้องหญิง เรานั้นมิได้เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาคือวิชาดู
พื้นที่ มิได้เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาคือวิชาดูดาวดูฤกษ์ มิได้เลี้ยง
ชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร มิได้เลี้ยงชีวิตด้วย
มิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาคือวิชาดูอวัยวะ (แต่)เราแสวงหาภิกษาโดยชอบธรรม
แล้วจึงฉัน”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต
ลำดับนั้น สุจิมุขีปริพาชิกาเข้าไปในกรุงราชคฤห์แล้ว ประกาศตามถนนสาย
หนึ่งไปยังอีกสายหนึ่ง ตามตรอกหนึ่งไปยังอีกตรอกหนึ่งอย่างนี้ว่า “ท่าน
สมณศากยบุตรทั้งหลายฉันอาหารที่ได้มาโดยชอบธรรม ไม่มีโทษ ขอเชิญท่าน
ทั้งหลายถวายบิณฑบาตแก่สมณศากยบุตรทั้งหลายเถิด”
สุจิมุขีสูตรที่ ๑๐ จบ
สารีปุตตสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. วิเวกชสูตร ๒. อวิตักกสูตร
๓. ปีติสูตร ๔. อุเปกขาสูตร
๕. อากาสานัญจายตนสูตร ๖. วิญญาณัญจายตนสูตร
๗. อากิญจัญญายตนสูตร ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสูตร
๙. นิโรธสมาปัตติสูตร ๑๐. สุจิมุขีสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] ๒.ปณีตตรสูตร

๘. นาคสังยุต
๑. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยกำเนิดนาคล้วน ๆ
[๓๔๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ ประเภทนี้
กำเนิดของนาค ๔ ประเภท อะไรบ้าง คือ
๑. นาคที่เป็นอัณฑชะ (เกิดในไข่)
๒. นาคที่เป็นชลาพุชะ (เกิดในครรภ์)
๓. นาคที่เป็นสังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคลหรือที่ชื้นแฉะ)
๔. นาคที่เป็นโอปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น)
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ ประเภทนี้”
สุทธิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปณีตตรสูตร
ว่าด้วยกำเนิดนาคที่ประณีตกว่ากัน
[๓๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ ประเภทนี้
กำเนิดของนาค ๔ ประเภท อะไรบ้าง คือ
๑. นาคที่เป็นอัณฑชะ ๒. นาคที่เป็นชลาพุชะ
๓. นาคที่เป็นสังเสทชะ ๔. นาคที่เป็นโอปปาติกะ
ในนาค ๔ ประเภทนั้น นาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ และโอปปาติกะ
ประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] ๓. อุโปสถสูตร
นาคที่เป็นสังเสทชะ และโอปปาติกะ ประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะและ
ชลาพุชะ
นาคที่เป็นโอปปาติกะประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ และสังเสทชะ
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ ประเภทนี้”
ปณีตตรสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ
[๓๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวก
ในโลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวกในโลกนี้มี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน พวกเราได้เป็นผู้มีปกติกระทำกรรมทั้ง ๒ (๑) ด้วยกาย
วาจา และใจ พวกเรานั้นมีปกติกระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ
หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ ถ้าวันนี้
พวกเราพึงประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา และใจ เมื่อทำได้อย่างนี้ พวกเราหลัง
จากตายแล้วก็จะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เชิญพวกเราประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา
และใจในบัดนี้เถิด’
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวกในโลกนี้รักษา
อุโบสถและสละกายได้”
อุโปสถสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] ๕. ตติยอุโปสถสูตร

๔. ทุติยอุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ สูตรที่ ๒
[๓๔๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นชลาพุชะบางพวกในโลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้
(พึงขยายข้อความที่เหลือทั้งหมดให้พิสดาร)
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็น
ชลาพุชะบางพวกในโลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้”
ทุติยอุโปสถสูตรที่ ๔ จบ

๕. ตติยอุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ สูตรที่ ๓
[๓๔๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นสังเสทชะบางพวกใน
โลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้ (พึงขยายข้อความที่เหลือทั้งหมดให้พิสดาร)
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็น
สังเสทชะบางพวกในโลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้”
ตติยอุโปสถสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] ๗. สุตสูตร

๖. จตุตถอุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ สูตรที่ ๔
[๓๔๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นโอปปาติกะบางพวกในโลก
นี้รักษาอุโบสถและสละกายได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นาคที่เป็นโอปปาติกะบางพวกในโลกนี้มี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน พวกเราได้เป็นผู้มีปกติกระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย
วาจา และใจ พวกเรานั้นมีปกติกระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ
หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ ถ้าวันนี้
พวกเราพึงประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา และใจ เมื่อทำได้อย่างนี้ หลังจากตายแล้ว
พวกเราก็จะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เชิญพวกเราประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา
และใจในบัดนี้เถิด’
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นโอปปาติกะบางพวกในโลกนี้
รักษาอุโบสถและสละกายได้”
จตุตถอุโปสถสูตรที่ ๖ จบ

๗. สุตสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ได้ฟังมา
[๓๔๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] ๙. ตติยสุตสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกนาคที่เป็น
อัณฑชะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็น
อัณฑชะ’ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ’
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ”
สุตสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยสุตสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ได้ฟังมา สูตรที่ ๒
[๓๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ”
ทุติยสุตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตติยสุตสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ได้ฟังมา สูตรที่ ๓
[๓๕๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต]
๑๑-๒๐. อัณฑชาทานูปการสุตตทสกะ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ”
ตติยสุตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จตุตถสุตสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ได้ฟังมา สูตรที่ ๔
[๓๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกนาคที่เป็น
โอปปาติกะ มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวก
นาคที่เป็นโอปปาติกะ’ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่
เป็นโอปปาติกะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงการอยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ”
จตุตถสุตสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑-๒๐. อัณฑชทานูปการสุตตทสกะ
ว่าด้วยความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ ๑๐ สูตร
[๓๕๒-๓๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต]
๒๑-๕๐. ชลาพุชาทิทานูปการสุตตติงสกะ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกนาคที่เป็น
อัณฑชะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็น
อัณฑชะ’ จึงให้ข้าว หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่
เป็นอัณฑชะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุ ฯลฯ จะเข้าถึง ฯลฯ จึงให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน
... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ...
ให้เครื่องประทีป หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็น
อัณฑชะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้ว
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ”
อัณฑชทานูปการสุตตทสกะที่ ๑๑-๒๐ จบ

๒๑-๕๐. ชลาพุชาทิทานูปการสุตตติงสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๓๐ สูตร มีชลาพุชทานูปการสูตรเป็นต้น
[๓๖๒-๓๙๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ ฯลฯ พวกนาคที่เป็น
สังเสทชะ ... จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกนาคที่เป็น
โอปปาติกะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต
โอปปาติกะ’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม
... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจาก
ตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ”
ภิกษุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะเข้า
ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ
(พึงเพิ่มสูตรคราวละ ๑๐ สูตร ที่ละไว้นี้เข้ามาให้เต็ม การตอบปัญหาทั้ง ๔๐
ในกำเนิด ๔ ก็พึงเพิ่มเข้ามาให้เต็มอย่างนี้ เมื่อรวมพระสูตรทั้ง ๑๐ กับสูตร
ก่อน ๆ เข้าด้วยกันจึงมี ๕๐ สูตร)
ชลาพุชาทิทานูปการสุตตติงสกะที่ ๒๑-๕๐ จบ
นาคสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. ปณีตตรสูตร
๓. อุโปสถสูตร ๔. ทุติยอุโปสถสูตร
๕. ตติยอุโปสถสูตร ๖. จตุตถอุโปสถสูตร
๗. สุตสูตร ๘. ทุติยสุตสูตร
๙. ตติยสุตสูตร ๑๐. จตุตถสุตสูตร
๑๑-๒๐. อัณฑชทานูปการสุตตทสกะ
๒๑-๕๐. ชลาพุชาทิทานูปการสุตตติงสกะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๙. สุปัณณสังยุต] ๑. สุทธิกสูตร

๙. สุปัณณสังยุต
๑. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยกำเนิดครุฑล้วน ๆ
[๓๙๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภทนี้
กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภท อะไรบ้าง คือ
๑. ครุฑที่เป็นอัณฑชะ (เกิดในไข่)
๒. ครุฑที่เป็นชลาพุชะ (เกิดในครรภ์)
๓. ครุฑที่เป็นสังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคลหรือที่ชื้นแฉะ)
๔. ครุฑที่เป็นโอปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น)
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภทนี้”
สุทธิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. หรันติสูตร
ว่าด้วยครุฑฉุดนาค
[๓๙๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภทนี้
กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภท อะไรบ้าง คือ
๑. ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ๒. ครุฑที่เป็นชลาพุชะ
๓. ครุฑที่เป็นสังเสทชะ ๔. ครุฑที่เป็นโอปปาติกะ
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภทนี้
ในครุฑ ๔ จำพวกนั้น ครุฑที่เป็นอัณฑชะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะไปได้ แต่
นำนาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ และโอปปาติกะไปไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๙. สุปัณณสังยุต] ๓. ทวยการีสูตร
ครุฑที่เป็นชลาพุชะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะ และชลาพุชะไปได้ แต่นำนาคที่
เป็นสังเสทชะ และโอปปาติกะไปไม่ได้
ครุฑที่เป็นสังเสทชะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ และสังเสทชะไปได้
แต่นำนาคที่เป็นโอปปาติกะไปไม่ได้
ส่วนครุฑที่เป็นโอปปาติกะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ สังเสทชะ และ
โอปปาติกะไปได้
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภทนี้”
หรันติสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทวยการีสูตร
ว่าด้วยผู้มีปกติกระทำกรรมทั้ง ๒
[๓๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกครุฑที่เป็น
อัณฑชะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็น
อัณฑชะ’ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ”
ทวยการีสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๙. สุปัณณสังยุต]
๑๗-๔๖. ชลาพุชทานูปการสูตร

๔-๖. ทุติยาทิทวยการีสุตตัตติกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๓ สูตร มีทุติยทวยการีสูตรเป็นต้น
[๓๙๕-๓๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นชลาพุชะ ฯลฯ พวกครุฑที่เป็น
สังเสทชะ ฯลฯ จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกครุฑที่เป็น
โอปปาติกะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็น
โอปปาติกะ’ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็น
โอปปาติกะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ”
ทุติยาทิทวยการีสุตตัตติกะที่ ๔-๖ จบ

๗-๑๖. อัณฑชทานูปการสุตตทสกะ
ว่าด้วยความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ ๑๐ สูตร
[๓๙๘-๔๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๙. สุปัณณสังยุต]
๑๗-๔๖. ชลาพุชทานูปการสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกครุฑที่เป็น
อัณฑชะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็น
อัณฑชะ’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม
... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจาก
ตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ”
อัณฑชทานูปการสุตตทสกะที่ ๗-๑๖ จบ

๑๗-๔๖. ชลาพุชทานูปการสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นชลาพุชะ
[๔๐๘-๔๓๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นชลาพุชะ ฯลฯ พวกครุฑที่
เป็นสังเสทชะ ฯลฯ จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติกระทำ
กรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะมี
อายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ’
จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ...
ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจากตาย
แล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๙. สุปัณณสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ”
ชลาพุชทานูปการสูตรที่ ๑๗-๔๖ จบ
(ด้วยการรวบรวมอย่างนี้จึงมีพระสูตร ๔๖ สูตร)
สุปัณณสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. หรันติสูตร
๓. ทวยการีสูตร ๔-๖. ทุติยาทิทวยการีสุตตัตติกะ
๗-๑๖. อัณฑชทานูปการสุตตทสกะ
๑๗-๔๖. ชลาพุชทานูปการสูตร

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น