Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๘-๓ หน้า ๑๑๑ - ๑๖๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๘. ปฐมนตุมหากสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายหลีกเร้นแล้ว จงประกอบความเพียรเถิด ภิกษุผู้
หลีกเร้นแล้วย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง”
ปฏิสัลลานสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมนตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๑
[๑๐๑] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้น
สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
จักขุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุนั้น จักขุที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้ว
นั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุวิญญาณนั้น จักขุ-
วิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุสัมผัสนั้น จักขุสัมผัส
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
ชิวหาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละชิวหานั้น ชิวหาที่เธอทั้งหลาย
ละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๘. ปฐมนตุมหากสูตร
รสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรสนั้น รสที่เธอทั้งหลายละได้
แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ชิวหาวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละชิวหาวิญญาณนั้น
ชิวหาวิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ชิวหาสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละชิวหาสัมผัสนั้น ชิวหา-
สัมผัสที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส
เป็นปัจจัยก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
มโนไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนนั้น มโนที่เธอทั้งหลายละได้
แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้น
ธรรมารมณ์ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
มโนวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนวิญญาณนั้น มโน-
วิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
มโนสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนสัมผัสนั้น มโนสัมผัส
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น
ปัจจัยที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๙. ทุติยนตุมหากสูตร
เปรียบเหมือนคนพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป เผา หรือ
จัดการไปตามเรื่อง เธอทั้งหลายจะพึงมีความคิดอย่างนี้บ้างไหมว่า ‘คนนำเรา
ทั้งหลายไป เผา หรือจัดการไปตามเรื่อง”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะหญ้าเป็นต้นนั้นไม่ใช่อัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักขุไม่ใช่ของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุนั้น จักขุที่เธอทั้งหลายละได้แล้วจักเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ
จักขุสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละ
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยนั้น ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูลเพื่อความสุข”
ปฐมนตุมหากสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยนตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๒
[๑๐๒] “ภิกษุทั้งหลาย แม้สิ่งใดที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละ
สิ่งนั้น สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
จักขุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุนั้น จักขุที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๑๐. อุทกสูตร
รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุวิญญาณนั้น จักขุ-
วิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุสัมผัสนั้น จักขุสัมผัส
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ภิกษุทั้งหลาย แม้สิ่งใดที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้น
สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข”
ทุติยนตุมหากสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุทกสูตร
ว่าด้วยอุทกดาบส
[๑๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าอุทกดาบส รามบุตรกล่าววาจาอย่างนี้ว่า
‘เรา เป็นผู้ถึงเวทแน่นอน เราเป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวงแน่นอน รากเหง้าแห่งทุกข์ที่
ใคร ๆ ขุดไม่ได้ เราขุดได้แล้วแน่นอน’ อุทกดาบส รามบุตร ยังเป็นผู้ไม่ถึงเวท
แต่กล่าวว่า ‘เราเป็นผู้ถึงเวท’ ยังเป็นผู้ไม่ชนะวัฏฏะทั้งปวง แต่กล่าวว่า ‘เราชนะ
วัฏฏะทั้งปวง’ ยังขุดรากเหง้าแห่งทุกข์ไม่ได้ แต่กล่าวว่า ‘เราขุดรากเหง้าแห่งทุกข์
ได้แล้ว’
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อจะกล่าวเรื่องนั้นให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘เราเป็น
ผู้ถึงเวทแน่นอน เราเป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวงแน่นอน รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ ขุด
ไม่ได้ เราขุดได้แล้วแน่นอน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๑๐. อุทกสูตร
ภิกษุเป็นผู้ถึงเวท อย่างไร
คือ ภิกษุย่อมรู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง
ภิกษุเป็นผู้ถึงเวทอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวง อย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
ผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
ภิกษุเป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวงอย่างนี้แล
รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ ขุดไม่ได้ ภิกษุขุดได้แล้ว อย่างไร
คือ คำว่า คัณฑะ นี้ เป็นชื่อของกายนี้ ซึ่งประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔
เกิดจากมารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส๑ ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ
ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา
คำว่า คัณฑมูล นี้เป็นชื่อของตัณหา ภิกษุละตัณหาได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้
รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ ขุดไม่ใด้ ภิกษุขุดได้แล้วอย่างนี้แล
ได้ยินว่าอุทกดาบส รามบุตรกล่าววาจาอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถึงเวทแน่นอน เรา
เป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวงแน่นอน รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ ขุดไม่ได้ เราขุดได้แล้ว
แน่นอน’ อุทกดาบส รามบุตรยังเป็นผู้ไม่ถึงเวท แต่กล่าวว่า ‘เราเป็นผู้ถึงเวท’
ยังไม่ชนะวัฏฏะทั้งปวง แต่กล่าวว่า ‘เราชนะวัฏฏะทั้งปวง’ ยังขุดรากเหง้าแห่งทุกข์
ไม่ได้ แต่กล่าวว่า ‘เราขุดรากเหง้าแห่งทุกข์ได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เมื่อจะกล่าวเรื่องนั้นให้ถูกต้อง ควรกล่าว
ว่า ‘เราเป็นผู้ถึงเวทแน่นอน เราชนะวัฏฏะทั้งปวงแน่นอน รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ
ขุดไม่ได้ เราขุดได้แล้วแน่นอน”
อุทกสูตรที่ ๑๐ จบ
ฉฬวรรคที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อทันตอคุตตสูตร ๒. มาลุกยปุตตสูตร
๓. ปริหานธัมมสูตร ๔. ปมาทวิหารีสูตร
๕. สังวรสูตร ๖. สมาธิสูตร
๗. ปฏิสัลลานสูตร ๘. ปฐมนตุมหากสูตร
๙. ทุติยนตุมหากสูตร ๑๐. อุทกสูตร

ทุติยปัณณาสก์ในสฬายตนวรรค จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในทุติยปัณณาสก์นี้ คือ

๑. อวิชชาวรรค ๒. มิคชาลวรรค
๓. คิลานวรรค ๔. ฉันนวรรค
๕. ฉฬวรรค

ทุติยปัณณาสก์ จบ
๑๐๐ สูตรแรกจบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๑. โยคักเขมิสูตร

๓. ตติยปัณณาสก์
๑. โยคักเขมิวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ
๑. โยคักเขมิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ
[๑๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยาย๑ที่เป็นเหตุ
ให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ๒แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมบรรยายที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ตถาคตละรูปเหล่านั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคต
ได้บอกความเพียรที่ควรประกอบ๓เพื่อละรูปเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นบัณฑิตจึง
กล่าวว่า ‘ตถาคตเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ’ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ตถาคตละธรรมารมณ์นั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้ ตถาคตได้บอกความเพียรที่ควรประกอบเพื่อละธรรมารมณ์นั้น เพราะ
เหตุนั้นบัณฑิตจึงกล่าวว่า ‘ตถาคตเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะเป็น
อย่างนี้แล”
โยคักเขมิสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๒. อุปาทายสูตร

๒. อุปาทายสูตร
ว่าด้วยสุขทุกข์อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
[๑๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร สุขและทุกข์ภายใน
จึงเกิดขึ้น”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก”
“เมื่อมีจักขุ เพราะอาศัยจักขุ สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เมื่อมีชิวหา เพราะอาศัยชิวหา สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เมื่อมีมโน เพราะอาศัยมโน สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายใน
พึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายใน
พึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๓. ทุกขสมุทยสูตร
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายใน
พึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ฯลฯ แม้ในชิวหา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อุปาทายสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุกขสมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดแห่งทุกข์
[๑๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์๑ เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด
ความเกิดแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๓. ทุกขสมุทยสูตร
ความเกิดแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
ความเกิดแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล
ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ๑ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติ (ความเกิด) จึงดับ เพราะชาติดับ
ชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความ
คร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความ
คับแค้นใจ) จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
ความดับแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึง
ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล”
ทุกขสมุทยสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๔. โลกสมุทยสูตร

๔. โลกสมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดแห่งโลก
[๑๐๗] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งโลก๑ เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
ความเกิดแห่งโลก เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิด เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด
ความเกิดแห่งโลกเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิด เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด
ความเกิดแห่งโลกเป็นอย่างนี้แล
ความดับแห่งโลก เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๕. เสยโยหมัสมิสูตร
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้
ความดับแห่งโลกเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ
ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งโลกเป็นอย่างนี้แล”
โลกสมุทยสูตรที่ ๔ จบ

๕. เสยโยหมัสมิสูตร
ว่าด้วยความถือตัวว่าเราเลิศกว่าเขา
[๑๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะยึดมั่นอะไร เพราะถือมั่นอะไร
ความถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ จึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาค
เป็นหลัก”
“เมื่อมีจักขุ เพราะยึดมั่นจักขุ เพราะถือมั่นจักขุ ความถือตัวว่า ‘เราเลิศ
กว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ จึงมี
ฯลฯ
เมื่อมีชิวหา ฯลฯ เมื่อมีมโน เพราะยึดมั่นมโน เพราะถือมั่นมโน ความ
ถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ จึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๕. เสยโยหมัสมิสูตร
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ยึดมั่นสิ่งนั้น
ความถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ จะพึงมีหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ยึดมั่นสิ่งนั้น
ความถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ จะพึงมีหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จ
แล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
เสยโยหมัสมิสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๗. อุปาทานิยสูตร

๖. สัญโญชนิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
[๑๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์และสังโยชน์
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร และสังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ จักขุชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฉันทราคะในจักขุนั้นชื่อว่าสังโยชน์
ฯลฯ ชิวหาชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฯลฯ มโนชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ฉันทราคะในมโนนั้นชื่อว่าสังโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
นี้เราเรียกว่า สังโยชน์”
สัญโญชนิยสูตรที่ ๖ จบ

๗. อุปาทานิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
[๑๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทานและอุปาทาน
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน เป็นอย่างไร และอุปาทาน เป็นอย่างไร
คือ จักขุชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฉันทราคะในจักขุนั้นชื่อว่าอุปาทาน
ฯลฯ ชิวหาชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฯลฯ มโนชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่
อุปาทาน ฉันทราคะในมโนนั้นชื่อว่าอุปาทาน
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
นี้เราเรียกว่า อุปาทาน”
อุปาทานิยสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๙. พาหิรายตนปริชานนสูตร

๘. อัชฌัตติกายตนปริชานนสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้อายตนะภายใน
[๑๑๑] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละจักขุ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ
กาย ฯลฯ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละมโน เป็นผู้
ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุได้ เป็น
ผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้
คลายกำหนัด ละมโนได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”
อัชฌัตติกายตนปริชานนสูตรที่ ๘ จบ

๙. พาหิรายตนปริชานนสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้อายตนะภายนอก
[๑๑๒] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละรูป เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ
... บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละธรรมารมณ์ เป็นผู้
ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละรูปได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ...
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละธรรมารมณ์ได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์”
พาหิรายตนปริชานนสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๑๐. อุปัสสุติสูตร

๑๐. อุปัสสุติสูตร
ว่าด้วยการแอบฟังธรรม
[๑๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระตำหนักอิฐในหมู่บ้าน
ญาติกะ๑ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดได้ตรัสธรรมบรรยายนี้ว่า
“เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิด เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด ความเกิดแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้ ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิด เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด ความ
เกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด
เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วย
ประการฉะนี้ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยมโนและ
ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคอยู่ พระผู้มีพระภาคได้
ทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นผู้ยืนแอบฟังอยู่ ได้ตรัสถามภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ภิกษุ เธอ
ได้ฟังธรรมบรรยายนี้หรือไม่”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “ได้ฟัง พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอจงศึกษาธรรมบรรยายนี้ เธอจงเล่าเรียนธรรมบรรยายนี้ เธอ
จงทรงจำธรรมบรรยายนี้ไว้เถิด เพราะว่าธรรมบรรยายนี้ ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์”
อุปัสสุติสูตรที่ ๑๐ จบ
โยคักเขมิวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โยคักเขมิสูตร ๒. อุปาทายสูตร
๓. ทุกขสมุทยสูตร ๔. โลกสมุทยสูตร
๕. เสยโยหมัสมิสูตร ๖. สัญโญชนิยสูตร
๗. อุปาทานิยสูตร ๘. อัชฌัตติกายตนปริชานนสูตร
๙. พาหิรายตนปริชานนสูตร ๑๐. อุปัสสุติสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๑. ปฐมมารปาสสูตร

๒. โลกกามคุณวรรค
หมวดว่าด้วยโลกและกามคุณ
๑. ปฐมมารปาสสูตร
ว่าด้วยบ่วงมาร สูตรที่ ๑
[๑๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้า
ภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด รูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘ไปสู่ที่อยู่ของ
มาร ไปสู่อำนาจของมาร ถูกบ่วงมารคล้องไว้ ถูกเครื่องผูกของมารมัดไว้ ถูกมาร
ใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไปสู่อำนาจของมาร ถูกบ่วงมาร
คล้องไว้ ถูกเครื่องผูกของมารมัดไว้ ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้
เรากล่าวว่า ‘ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ไม่ถูกบ่วงมารคล้องไว้
พ้นจากเครื่องผูกของมาร ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรสนั้นอยู่ ภิกษุนี้
เรากล่าวว่า ‘ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ไม่ถูกบ่วงมารคล้องไว้
พ้นจากเครื่องผูกของมาร ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๒. ทุติยมารปาสสูตร
ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจ
ของมาร ไม่ถูกบ่วงมารคล้องไว้ พ้นจากเครื่องผูกของมาร ไม่ถูกมารใจบาปทำได้
ตามใจปรารถนา”
ปฐมมารปาสสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยมารปาสสูตร
ว่าด้วยบ่วงมาร สูตรที่ ๒
[๑๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
รูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พัวพันอยู่ในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ไปสู่ที่อยู่ของมาร
ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พัวพันอยู่ในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ไปสู่ที่อยู่ของมาร
ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’
ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึด
ติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พ้นแล้วจากรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ไม่ไปสู่ที่อยู่ของ
มาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่
ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พ้นแล้วจากธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
ทางใจ ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตาม
ใจปรารถนา”
ทุติยมารปาสสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร

๓. โลกันตคมนสูตร
ว่าด้วยการถึงที่สุดแห่งโลก
[๑๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลก๑บุคคลพึงรู้ พึงเห็น
พึงถึงด้วยการไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก๒แล้ว จะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้” ครั้นตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษากันว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทส๓ นี้โดย
ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลก บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วย
การไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’
ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่
ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า “ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา
ทรงสรรเสริญแล้วและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะ
จำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้
โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่
แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน”
ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนว่า
“ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลก บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’
แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร
จำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน พวกกระผมจึงได้ปรึกษากันว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรา
ไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’ แต่เราก็ไม่กล่าว
ว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความ
ไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้
ผู้มีอายุ พวกกระผมได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา
ทรงสรรเสริญแล้วและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะ
จำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้
โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่
แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’ ขอท่านอานนท์จงจำแนกเถิด”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะ
หน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสีย
สำคัญเนื้อความนี้ว่าควรถามผม เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหา
แก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นมีอยู่ ก็มองข้ามรากและลำต้น
ไปเสีย สำคัญกิ่งและใบว่าเป็นแก่นไม้ที่ตนแสวงหา ผู้มีอายุทั้งหลาย แท้จริง พระ
ผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้มีพระจักษุ๑ มีพระญาณ มีพระธรรม๒ เป็นผู้ประเสริฐ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร
ตรัสบอกได้๑ ทรงให้เป็นไปได้๒ ทรงแสดงประโยชน์๓ ประทานอมตธรรม๔ เป็นเจ้าของ
ธรรม๕ เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานี้แล
เป็นเวลาสมควรที่ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้
พึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีพระจักษุ
มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ตรัสบอกได้ ทรงให้เป็นไปได้ ทรง
แสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคตทรงรู้ธรรม
ที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานี้แลเป็นเวลาสมควรที่พวกกระผมพึงเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ และทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงตอบแก่พวกกระผมอย่างแน่นอน ท่านอานนท์เองพระศาสดาทรง
สรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ถ้าท่านอานนท์ไม่มีความหนักใจแล้ว ขอจงจำแนกเถิด”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าว
เรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของท่านทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อ
ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วย
การไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’
ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดารเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลมีความ
หมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยธรรมใด นี้เรียกว่าโลกในอริยวินัย
บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยธรรมอะไรเล่า
คือ บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยจักขุ ... ด้วย
โสตะ ... ด้วยฆานะ บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยชิวหา
... ด้วยกาย บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายในโลกว่าเป็นโลกด้วยมโน ผู้มี
อายุทั้งหลาย เหตุที่บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลก นี้เรียกว่า
โลกในอริยวินัย
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของท่านทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’
แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรง
จำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้อย่างนี้ ก็ท่านทั้งหลายเมื่อหวัง
อยู่พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้เถิด ขอท่านทั้งหลายพึง
ทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบแก่ท่านทั้งหลายเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำท่านพระอานนท์แล้วลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคของข้าพระองค์ทั้งหลาย
ทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคล
พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก
แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดารเสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร
‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’
แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรง
จำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใคร
หนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่
ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านั้นได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่าน
อานนท์นี้แลพระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และ
ท่านสามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ
ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่าน
อานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’
ครั้นแล้วข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถาม
เนื้อความดังนี้ ท่านอานนท์ได้จำแนกเนื้อความอย่างชัดเจนแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก
แม้หากเธอทั้งหลายจะพึงถามเนื้อความนี้กับเรา ถึงเราเองก็พึงตอบเนื้อความนั้น
อย่างที่อานนท์ได้ตอบแล้วนั่นเอง นี้แลเป็นเนื้อความแห่งอุทเทสนั้น และเธอ
ทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”
โลกันตคมนสูตรที่ ๓ จบ

๔. กามคุณสูตร
ว่าด้วยกามคุณ
[๑๑๗] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความ
คิดดังนี้ว่า ‘กามคุณ๑ ๕ ประการที่ใจของเราเคยสัมผัส ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว
แปรผันไปแล้ว จิตของเราเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในกามคุณ ๕ ประการที่เป็นปัจจุบันมาก
หรือที่เป็นอนาคตน้อย’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร
เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘กามคุณ ๕ ประการที่ใจของเราเคยสัมผัส ล่วง
ไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว เราผู้ต้องการประโยชน์ตน พึงทำความ
ไม่ประมาทในกามคุณ ๕ นั้นและทำให้สติเป็นเครื่องรักษาจิต’
เพราะเหตุนั้นแล กามคุณ ๕ แม้ที่ใจของเธอทั้งหลายเคยสัมผัส ก็ล่วงไปแล้ว
ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว จิตของเธอทั้งหลายเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในกามคุณ ๕
ประการที่เป็นปัจจุบันมากหรือที่เป็นอนาคตน้อย
เพราะเหตุนั้นแล กามคุณ ๕ แม้ที่ใจของเธอทั้งหลายเคยสัมผัส ก็ล่วงไปแล้ว
ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว เธอทั้งหลายผู้ต้องการประโยชน์ตน พึงทำความไม่
ประมาทในกามคุณ ๕ นั้นและทำให้สติเป็นเครื่องรักษาจิต
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า
‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญา (ความหมายรู้ในรูป) ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า
‘ชิวหาดับในที่ใด รสสัญญา (ความหมายรู้ในรส) ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะ
ว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญา (ความหมายรู้ในธรรมารมณ์) ก็ดับในที่นั้น”
พระผู้มีพระภาคครั้นตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษา
กันว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดย
ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า
‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘ชิวหาดับในที่ใด
รสสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับ
ในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไป
ยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า “ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา
ทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้ว
เรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร
ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนว่า
“ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับ
ในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘ชิวหาดับในที่ใด รสสัญญา
ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’
ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ผู้มีอายุ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน พวกกระผมจึงได้ปรึกษา
กันว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดย
ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า
‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘ชิวหาดับในที่ใด
รสสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับ
ในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไป
ยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ผู้มีอายุ พวกกระผมได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา
ทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่ แล้ว
เรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’ ขอท่านอานนท์จงจำแนกเถิด”
ท่านพระอานน์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะ
หน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสีย
สำคัญเนื้อความนี้ว่าควรถามผม เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหา
แก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่ ฯลฯ ถ้าท่านอานนท์ไม่มีความ
หนักใจแล้ว ขอจงจำแนกเถิด”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของท่านทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อ
ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า
‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด
ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
ไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ พระดำรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญา
ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’
ตรัสหมายถึงความดับอายตนะ ๖ ประการ
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูป-
สัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’
ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้อย่างนี้ ก็ท่านทั้งหลายเมื่อหวัง
อยู่พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้เถิด ขอท่านทั้งหลายพึง
ทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบแก่ท่านทั้งหลายเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคของข้าพระองค์ทั้งหลายทรงแสดง
อุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร
รู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า
‘ชิวหาดับในที่ใด รสสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด
ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับ
ในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญา
ก็ดับในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านั้นได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่าน
อานนท์นี้แลพระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และ
ท่านสามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ
ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่าน
อานนท์ถึงที่อยู่แล้ว เรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’
ครั้นแล้วข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถาม
เนื้อความนี้ ท่านอานนท์ได้จำแนกเนื้อความอย่างชัดเจนแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก
แม้หากเธอทั้งหลายจะพึงถามเนื้อความนี้กับเรา ถึงเราเองก็พึงตอบเนื้อความนั้น
อย่างที่อานนท์ได้ตอบแล้วนั่นเอง นี้แลเป็นเนื้อความแห่งอุทเทสนั้น และเธอ
ทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”
กามคุณสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๕. สักกปัญหสูตร

๕. สักกปัญหสูตร
ว่าด้วยท้าวสักกะทูลถามปัญหา
[๑๑๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่
ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ท่านจอมเทพ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน
เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น วิญญาณที่
อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน (ความยึดมั่น)
ย่อมไม่ปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
อยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น
ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน
ท่านจอมเทพ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพาน
ในปัจจุบัน
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี
ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๖. ปัญจสิขสูตร
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน
ย่อมปรินิพพาน
ท่านจอมเทพ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานใน
ปัจจุบัน”
สักกปัญหสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปัญจสิขสูตร
ว่าด้วยปัญจสิขเทพบุตร
[๑๑๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้งนั้น คันธัพพเทพบุตรนามว่าปัญจสิขะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปัญจสิขะ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ ธรรมารมณ์
ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้
กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอ
เพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นความยึดมั่น
ตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน
ปัญจสิขะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานใน
ปัจจุบัน
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๗. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน
ย่อมปรินิพพาน
ปัญจสิขะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”
ปัญจสิขสูตรที่ ๖ จบ

๗. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร
ว่าด้วยสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตร
[๑๒๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็น
สัทธิวิหาริกบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์แล้ว”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ ย่อมเ
ป็นอย่างนี้ เป็นไปไม่ได้เลย๑ที่ภิกษุนั้นไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้
ประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ จักสืบ
ต่อพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้จนตลอดชีวิต เป็นไปได้๒ที่ภิกษุนั้นคุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ จักสืบต่อพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้จนตลอดชีวิต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๗. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร
ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ๑ ไม่แยกถือ๒ ปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุ) ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูก
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา) และโทมนัส (ความ
ทุกข์ใจ) ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
(อินทรีย์คือมโน) ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศล
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น
ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้
แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษและการอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา’
ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหารเป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร
ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็นตัวขัดขวาง
ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็น
ตัวขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์
โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นตลอด
มัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็นตัวขัดขวาง
ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักเป็นผู้คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นผู้ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ’
ผู้มีอายุ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตรที่ ๗ จบ

๘. ราหุโลวาทสูตร
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล
[๑๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่
ในที่สงัด ทรงเกิดความรำพึงขึ้นอย่างนี้ว่า “ธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ๑ของราหุล
แก่กล้าแล้ว ทางที่ดี เราพึงแนะนำราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป” ครั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร
เวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร๑ เสด็จเข้าไปยังกรุง
สาวัตถีเพื่อบิณฑบาต เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จ
แล้ว รับสั่งเรียกท่านพระราหุลมาตรัสว่า “ราหุล เธอจงถือผ้านิสีทนะ๒ เราจัก
เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักผ่อนกลางวัน” ท่านพระราหุลทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ได้ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปเบื้องพระปฤษฎางค์
สมัยนั้น เทวดาหลายพันตนก็ติดตามพระผู้มีพระภาคไปด้วยคิดว่า “วันนี้
พระผู้มีพระภาคจักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป” ต่อมา
พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ซึ่งพระราหุลปูลาด
ถวายที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่ายท่านพระราหุลถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระราหุลดังนี้ว่า
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร
“จักขุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“จักขุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“รสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ชิวหาวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ชิวหาสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
ชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ฯลฯ ย่อมเบื่อ
หน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อ
จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของท่านพระ
ราหุลก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น และธรรมจักษุ๑อันปราศจากธุลี ปราศ
จากมลทินได้เกิดแก่เทวดาหลายพันตนว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”
ราหุโลวาทสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๑๐. อุปาทานิยธัมมสูตร

๙. สัญโญชนิยธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
[๑๒๒] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์และสังโยชน์
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร และสังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ฉันทราคะในรูปนั้นชื่อว่าสังโยชน์ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้นชื่อว่าสังโยชน์”
สัญโญชนิยธัมมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุปาทานิยธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
[๑๒๓] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทานและอุปาทาน
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน เป็นอย่างไร และอุปาทาน เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
ฉันทราคะในรูปนั้นชื่อว่าอุปาทาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
ฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้นชื่อว่าอุปาทาน”
อุปาทานิยธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
โลกกามคุณวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมมารปาสสูตร ๒. ทุติยมารปาสสูตร
๓. โลกันตคมนสูตร ๔. กามคุณสูตร
๕. สักกปัญหสูตร ๖. ปัญจสิขสูตร
๗. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร ๘. ราหุโลวาทสูตร
๙. สัญโญชนิยธัมมสูตร ๑๐. อุปาทานิยธัมมสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๑. เวสาลีสูตร

๓. คหปติวรรค
หมวดว่าด้วยคหบดี
๑. เวสาลีสูตร
ว่าด้วยคหบดีชาวเมืองเวสาลี
[๑๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น อุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม
ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น วิญญาณที่อาศัย
ตัณหานั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน (ความยึดมั่น) ย่อม
ไม่ปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
อยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณที่อาศัยตัณหา
นั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน
คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี
ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๓. นาฬันทสูตร
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน
ย่อมปรินิพพาน
คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”
เวสาลีสูตรที่ ๑ จบ

๒. วัชชีสูตร
ว่าด้วยคหบดีชาวแคว้นวัชชี
[๑๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หัตถิคาม แคว้นวัชชี
ครั้งนั้น อุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
(สูตรนี้ พึงให้พิสดารเหมือนสูตรก่อน)
“คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”
วัชชีสูตรที่ ๒ จบ

๓. นาฬันทสูตร
ว่าด้วยคหบดีชาวเมืองนาฬันทา
[๑๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขตเมือง
นาฬันทา ครั้งนั้น อุบาลีคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๔. ภารทวาชสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
(สูตรนี้ พึงให้พิสดารเหมือนสูตรก่อน)
“คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”
นาฬันทสูตรที่ ๓ จบ

๔. ภารทวาชสูตร
ว่าด้วยพระปิณโฑลภารทวาชะ
[๑๒๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนเสด็จเข้าไปหาท่านพระปิณโฑลภารทวาชะถึงที่อยู่
ได้ทรงสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ
ที่สมควร ได้ตรัสถามท่านพระปิณโฑลภารทวาชะดังนี้ว่า
“ท่านภารทวาชะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น
มีผมดำสนิท หนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความร่าเริงในกามทั้งหลาย
ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะถวายพระพรว่า
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งจิตไว้ในสตรีทั้งหลายคราวมารดาว่า
เป็นมารดา ตั้งจิตไว้ในสตรีทั้งหลายคราวพี่สาวน้องสาวว่าเป็นพี่สาวน้องสาว ตั้งจิต
ไว้ในสตรีทั้งหลายคราวธิดาว่าเป็นธิดา’
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท หนุ่มแน่น
อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความร่าเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์
บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๔. ภารทวาชสูตร
“ท่านภารทวาชะ จิตเป็นธรรมชาติโลเลนัก บางครั้งเกิดความโลภในสตรี
ทั้งหลายคราวมารดาบ้าง บางครั้งเกิดความโลภในสตรีทั้งหลายคราวพี่สาวน้องสาว
บ้าง บางครั้งเกิดความโลภในสตรีทั้งหลายคราวธิดาบ้าง
มีอยู่หรือ ท่านภารทวาชะ อย่างอื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้
ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท ฯลฯ และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณากายนี้ขึ้นเบื้องบนแต่พื้นเท้า
ขึ้นไป พิจารณาลงเบื้องล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของ
ไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า
‘ในร่างกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
ไต๑ หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม๒ ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก
ไขข้อ มูตร๓’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๔. ภารทวาชสูตร
แม้นี้แลก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท ฯลฯ
และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
“ท่านภารทวาชะ ภิกษุเหล่าใดได้อบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรม
ปัญญาแล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้นไม่ใช่กิจที่ภิกษุเหล่านั้นจะทำได้ยาก
ส่วนภิกษุเหล่าใดยังไม่ได้อบรมกาย ไม่ได้อบรมศีล ไม่ได้อบรมจิต ไม่ได้
อบรมปัญญา การเจริญอสุภกัมมัฏฐานนั้นเป็นกิจที่ภิกษุเหล่านั้นทำได้ยาก
บางครั้งเมื่อบุคคลตั้งใจว่า ‘เราจักใส่ใจโดยความเป็นของไม่งาม’ (แต่อารมณ์)
กลับปรากฏโดยความเป็นของงามก็มี
มีอยู่หรือ ท่านภารทวาชะ อย่างอื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้
ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท ฯลฯ และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
อยู่เถิด เธอทั้งหลายเห็นรูปทางตาแล้วอย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง
ทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย
ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วอย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์’
แม้นี้แลก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท หนุ่ม
แน่น อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความร่าเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์
บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
“ท่านภารทวาชะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๕. โสณสูตร
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท หนุ่มแน่น
อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความร่าเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์
บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน
สมัยใดแม้ข้าพเจ้าเอง ไม่ได้รักษากาย วาจา ใจ ไม่ตั้งสติไว้มั่น ไม่สำรวม
อินทรีย์ เข้าไปภายในวัง สมัยนั้น ความโลภก็ครอบงำข้าพเจ้ายิ่งนัก
แต่สมัยใดข้าพเจ้าได้รักษากาย วาจา ใจ ตั้งสติไว้มั่น สำรวมอินทรีย์
เข้าไปภายในวัง สมัยนั้น ความโลภก็ไม่ครอบงำข้าพเจ้า
ท่านภารทวาชะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านภารทวาชะ ภาษิต
ของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านภารทวาชะประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการ
ต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลง
ทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ท่านภารทวาชะ
ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอท่านภารทวาชะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”
ภารทวาชสูตรที่ ๔ จบ

๕. โสณสูตร
ว่าด้วยโสณคหบดีบุตร
[๑๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น บุตรคหบดีชื่อโสณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
(สูตรนี้พึงให้พิสดารเหมือนสูตรก่อน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๖. โฆสิตสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โสณะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลก
นี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”
โสณสูตรที่ ๕ จบ

๖. โฆสิตสูตร
ว่าด้วยโฆสิตคหบดี
[๑๒๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
โฆสิตคหบดีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียน
ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า ‘ธาตุต่าง ๆ ธาตุต่าง ๆ ‘ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ธาตุต่าง ๆ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี จักขุธาตุ รูปที่น่าพอใจ และจักขุวิญญาณ
มีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา (ความรู้สึกสุข) สุขเวทนาจึงเกิด
จักขุธาตุ รูปที่ไม่น่าพอใจ และจักขุวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็น
ที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์) ทุกขเวทนาจึงเกิด
จักขุธาตุ รูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา และจักขุวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะ
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกมิใช่สุขมิใช่ทุกข์) อทุกขมสุขเวทนา
จึงเกิด ฯลฯ
ชิวหาธาตุ รสที่น่าพอใจ และชิวหาวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็น
ที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด
ชิวหาธาตุ รสที่ไม่น่าพอใจ และชิวหาวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่ง
เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
ชิวหาธาตุ รสที่น่าพอใจ และชิวหาวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็น
ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิด ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๗. หาลิททกานิสูตร
มโนธาตุ ธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ และมโนวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะ
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด
มโนธาตุ ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ และมโนวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะ
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
มโนธาตุ ธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา และมโนวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัย
ผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิด
คหบดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ”
โฆสิตสูตรที่ ๖ จบ

๗. หาลิททกานิสูตร
ว่าด้วยหาลิททกานิคหบดี
[๑๓๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่เรือนตระกูลใกล้ภูเขาสังปวัตตะ
แคว้นอวันตี ครั้งนั้นแล หาลิททกานิคหบดีเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดังนี้ว่า ‘เพราะอาศัยธาตุต่าง ๆ
ผัสสะต่าง ๆ จึงเกิด เพราะอาศัยผัสสะต่าง ๆ เวทนาต่าง ๆ จึงเกิด’ เพราะอาศัย
ธาตุต่าง ๆ ผัสสะต่าง ๆ จึงเกิด เพราะอาศัยผัสสะต่าง ๆ เวทนาต่าง ๆ จึงเกิด
เป็นอย่างไร”
ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “คหบดี คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทาง
ตาแล้วรู้ชัดว่า ‘รูปอย่างนี้ น่าพอใจ’
เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด
อนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘รูปอย่างนี้ไม่น่าพอใจ’
เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนา
จึงเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๗. หาลิททกานิสูตร
อนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘รูปอย่างนี้เป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขา’
เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขม-
สุขเวทนาจึงเกิด
อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วรู้ชัดว่า ‘ธรรมารมณ์อย่างนี้น่าพอใจ’
เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนา
จึงเกิด
อนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘ธรรมารมณ์อย่างนี้
ไม่น่าพอใจ’
เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึง
เกิด
อนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘ธรรมารมณ์อย่างนี้
เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา’
เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขม-
สุขเวทนาจึงเกิด
คหบดี เพราะอาศัยธาตุต่าง ๆ ผัสสะต่าง ๆ จึงเกิด เพราะอาศัยผัสสะ
ต่าง ๆ เวทนาต่าง ๆ จึงเกิดเป็นอย่างนี้แล”
หาลิททกานิสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๘. นกุลปิตุสูตร

๘. นกุลปิตุสูตร
ว่าด้วยนกุลปิตุคหบดี
[๑๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน อันเป็นที่พระ
ราชทานอภัยแก่หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น นกุลปิตุคหบดี
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “คหบดี รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่า
ใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน
เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น วิญญาณ
ที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่
ปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัย
ตัณหานั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน
คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี
ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๙. โลหิจจสูตร
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน
ย่อมปรินิพพาน
คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”
นกุลปิตุสูตรที่ ๘ จบ

๙. โลหิจจสูตร
ว่าด้วยโลหิจจพราหมณ์
[๑๓๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ กุฎีป่า เขตเมืองมักกรกฏะ
แคว้นอวันตี ครั้งนั้น มาณพผู้หาฟืนซึ่งเป็นศิษย์ของโลหิจจพราหมณ์จำนวนมาก
เข้าไปยังกุฎีป่าของท่านพระมหากัจจานะ เที่ยวเดินไปมารอบ ๆ กุฎี เล่นกระโดด
ปล้ำกัน ส่งเสียงอื้ออึงเซ็งแซ่ว่า
“สมณะศีรษะโล้นเหล่านี้ เป็นคนรับใช้ เป็นคนวรรณะต่ำ (กัณหโคตร) เกิด
จากบาทของท้าวมหาพรหมอันชาวภารตะ๑เหล่านี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชา
นอบน้อม”
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัจจานะออกจากที่อยู่แล้วได้กล่าวกับมาณพเหล่านั้น
ดังนี้ว่า
“มาณพทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้ส่งเสียงดัง เราจักกล่าวธรรมแก่เธอ
ทั้งหลาย”
เมื่อท่านพระมหากัจจานะกล่าวอย่างนี้แล้ว มาณพเหล่านั้นก็นิ่งเฉย ลำดับนั้น
ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกับมาณพเหล่านั้นด้วยคาถาทั้งหลายว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๙. โลหิจจสูตร
“พราหมณ์เหล่าใดระลึกถึงธรรมดั้งเดิมได้
พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีศีลสูงสุด เก่าแก่กว่า
พราหมณ์เหล่านั้นคุ้มครอง รักษาทวารทั้งหลายดีแล้ว
เพราะครอบงำความโกรธได้
พราหมณ์เหล่าใดระลึกถึงธรรมดั้งเดิมได้
พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ยินดีในธรรมและฌาน๑
อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายละเลยธรรมเหล่านี้
สำคัญว่า ‘เราสาธยายมนตร์’ เมาเพราะโคตร
ถูกความโกรธครอบงำ มีอาชญาในตนมาก
ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลายทั้งที่สะดุ้งกลัวและไม่สะดุ้งกลัว
จึงประพฤติไม่สม่ำเสมอ
การสมาทานวัตรทั้งปวง คือ การไม่กิน
การนอนบนพื้นดิน การอาบน้ำเวลาเช้า
และพระเวท ๓ ของพราหมณ์ผู้ไม่คุ้มครองทวารย่อมไร้ผล
เหมือนคนได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจในความฝันฉะนั้น
หนังเสือที่หยาบ การมุ่นผม การไม่ชำระฟัน
มนตร์ ศีลและพรตเป็นตบะ (ของพราหมณ์)
การหลอกลวง ไม้เท้าที่คด และการใช้น้ำลูบหน้า
ข้อวัตรที่พรรณนามาเหล่านี้
พวกพราหมณ์ทำเพราะต้องการอามิส
ส่วนจิตที่ตั้งมั่นดีแล้วย่อมผ่องใส ไม่ขุ่นมัว
อ่อนโยนในสัตว์ทั้งปวง นั้นเป็นทางเพื่อถึงความเป็นพรหม”
ลำดับนั้น มาณพเหล่านั้นโกรธเคือง ไม่พอใจ ได้เข้าไปหาโลหิจจพราหมณ์
ถึงที่อยู่แล้วกล่าวกับโลหิจจพราหมณ์ดังนี้ว่า “ขอท่านผู้เจริญโปรดทราบ พระ
มหากัจจานะข้อนขอด คัดค้านมนตร์ของพราหมณ์ทั้งหลายโดยส่วนเดียว” เมื่อ
มาณพเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้วโลหิจจพราหมณ์ก็โกรธเคือง ไม่พอใจ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๙. โลหิจจสูตร
ทีนั้น โลหิจจพราหมณ์ได้มีความคิดดังนี้ว่า
“เป็นการไม่สมควรเลยที่เราจะพึงด่า เหน็บแนม บริภาษพระมหากัจจานะ
เพราะฟังคำของพวกมาณพแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น ทางที่ดี เราควรเข้าไปถาม”
ต่อมา โลหิจจพราหมณ์กับมาณพเหล่านั้นเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึง
ที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร ได้เรียนถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านกัจจานะ มาณพผู้หาฟืน
ซึ่งเป็นศิษย์ของข้าพเจ้าจำนวนมากได้มาในที่นี้หรือ”
ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “พราหมณ์ มาณพผู้หาฟืนซึ่งเป็นศิษย์ของ
ท่านจำนวนมาก ได้มาในที่นี้”
“ท่านกัจจานะได้สนทนาอะไรบ้างกับมาณพเหล่านั้น”
“พราหมณ์ อาตมภาพได้สนทนาบางอย่างกับมาณพเหล่านั้นเหมือนกัน”
“ท่านกัจจานะได้สนทนากับมาณพเหล่านั้นอย่างไร”
“พราหมณ์ อาตมภาพได้สนทนากับมาณพเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘พราหมณ์เหล่าใดระลึกถึงธรรมดั้งเดิมของพราหมณ์ได้
พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีศีลสูงสุด เก่าแก่กว่า
ฯลฯ
อ่อนโยนในสัตว์ทั้งปวง นั้นเป็นทางเพื่อถึงความเป็นพรหม’
พราหมณ์ อาตมภาพได้สนทนากับมาณพเหล่านั้นอย่างนี้แล”
“ท่านกัจจานะได้กล่าวว่า ‘บุคคลชื่อว่าไม่คุ้มครองทวาร’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
หนอ บุคคลจึงชื่อว่าไม่คุ้มครองทวาร”
“พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปทางตาแล้วย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก
ย่อมยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิต๑อยู่ และไม่รู้ชัด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๙. โลหิจจสูตร
เจโตวิมุตติ๑และปัญญาวิมุตติ๒ตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้น
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมยินร้าย
ในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัด
เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้น
พราหมณ์ บุคคลชื่อว่าไม่คุ้มครองทวารเป็นอย่างนี้แล”
พราหมณ์กล่าวว่า “ท่านกัจจานะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่าน
กัจจานะเรียกบุคคลผู้ไม่คุ้มครองทวารแล้วแลว่า ‘ไม่คุ้มครองทวาร’ ท่านกัจจานะ
ได้กล่าวว่า ‘บุคคลชื่อว่าคุ้มครองทวาร’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่า
คุ้มครองทวาร”
“พราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมไม่ยินดีใน
รูปที่น่ารัก ไม่ยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิต๓อยู่
และรู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือ
แห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๑๐. เวรหัญจานิสูตร
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้าย
ในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัด
เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น
พราหมณ์ บุคคลชื่อว่าคุ้มครองทวารเป็นอย่างนี้แล”
“ท่านกัจจานะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านกัจจานะเรียกบุคคลผู้
คุ้มครองทวารแล้วแลว่า ‘คุ้มครองทวาร’
“ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านกัจจานะ ภาษิตของ
ท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านกัจจานะประกาศธรรมโดยประการต่าง ๆ เปรียบ
เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตาม
ประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค
พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต อนึ่ง ขอท่านกัจจานะจงเข้า
ไปสู่โลหิจจตระกูลเหมือนดังที่เข้าไปสู่ตระกูลอุบาสกทั้งหลายในเมืองมักกรกฏะเถิด
เหล่ามาณพหรือมาณวิกาในโลหิจจตระกูลจักไหว้ ลุกรับ ถวายอาสนะหรือน้ำแก่
ท่าน ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่พวกเขาตลอดกาลนาน”
โลหิจจสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เวรหัญจานิสูตร
ว่าด้วยเวรหัญจานีพราหมณี
[๑๓๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุทายีอยู่ ณ สวนมะม่วงของโตเทยยพราหมณ์
เขตเมืองกามัณฑะ ครั้งนั้น มาณพผู้เป็นศิษย์ของพราหมณีเวรหัญจานิโคตร
เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๑๐. เวรหัญจานิสูตร
ท่านพระอุทายีได้ชี้แจงให้มาณพนั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ครั้งนั้น มาณพผู้ที่พระอุทายีชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกขึ้น
จากอาสนะเข้าไปหาพราหมณีเวรหัญจานิโคตรถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกับพราหมณี
เวรหัญจานิโคตรดังนี้ว่า
“ขอแม่เจ้าผู้เจริญโปรดทราบ พระอุทายีแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น
มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน”
พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า “พ่อมาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนิมนต์
พระอุทายีตามคำของฉัน เพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้”
มาณพนั้นรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้กราบเรียนท่านพระ
อุทายีดังนี้ว่า “นัยว่า ขอท่านพระอุทายี โปรดรับภัตตาหารของพราหมณี
เวรหัญจานิโคตรผู้เป็นภรรยาของอาจารย์ของพวกกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด”
ท่านพระอุทายีรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้า ท่าน
พระอุทายีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณี
เวรหัญจานิโคตร นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น พราหมณีเวรหัญจานิโคตรได้นำของขบฉันอันประณีตประเคนท่าน
พระอุทายีให้อิ่มหนำด้วยตนเอง เมื่อท่านพระอุทายีฉันเสร็จวางมือจากบาตรแล้ว
จึงสวมรองเท้านั่งคลุมศีรษะบนอาสนะสูง ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “ท่าน
จงกล่าวสมณธรรมสิ”
ท่านพระอุทายีกล่าวว่า “ยังมีเวลา น้องหญิง” ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป
แม้ครั้งที่ ๒ มาณพนั้นก็เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอุทายีได้ชี้แจง
ให้มาณพนั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๖๕ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น