Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๓-๑๒ หน้า ๕๑๘ - ๕๖๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓-๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๘.เทวาสุรสังคามสูตร
ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตน-
ฌานอยู่ เราก็เรียกว่า ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึง
ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราก็
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิต-
นิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา เราเรียกว่า
ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก ข้ามพ้นตัณหาเครื่องข้องในโลกได้”
โลกายติกสูตรที่ ๗ จบ
๘. เทวาสุรสังคามสูตร
ว่าด้วยสงครามระหว่างเทวดากับอสูร
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรได้
ประจัญหน้ากันแล้ว ในสงครามครั้งนั้น พวกอสูรชนะ พวกเทวดาแพ้ พวกเทวดาที่
แพ้ได้พากันหลบหนีมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ พวกอสูรได้ไล่ตามไป ครั้งนั้นแล
พวกเทวดาได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พวกอสูรกำลังไล่ตามมา ทางที่ดี เราควรรบกับ
พวกอสูรเป็นครั้งที่ ๒’ พวกเทวดาได้รบกับพวกอสูรเป็นครั้งที่ ๒ แล้ว แม้ครั้งที่ ๒
พวกอสูรก็ชนะอีก พวกเทวดาแพ้ และพวกเทวดาที่แพ้ได้พากันหลบหนีมุ่งหน้าไป
ทางทิศเหนือ พวกอสูรได้ไล่ตามไป
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเทวดาได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พวกอสูรกำลังไล่
ตามมา ทางที่ดี เราควรรบกับพวกอสูรเป็นครั้งที่ ๓’ พวกเทวดาได้รบกับพวกอสูร
เป็นครั้งที่ ๓ แล้ว แม้ครั้งที่ ๓ พวกอสูรก็ชนะอีก พวกเทวดาแพ้ พวกเทวดาที่แพ้
ต่างก็กลัวพากันเข้าไปยังเทพบุรี ก็แลพวกเทวดาที่อยู่ในเทพบุรีได้มีความคิดดังนี้ว่า
‘บัดนี้ พวกเราได้เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่ พวกอสูรจะทำอะไรเรา
ไม่ได้’ แม้พวกอสูรก็ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘บัดนี้ พวกเทวดาได้มีเครื่องป้องกันตน
จากความขลาดกลัวอยู่ พวกเราจะทำอะไรพวกเทวดาไม่ได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๘.เทวาสุรสังคามสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรได้
ประจัญหน้ากันแล้ว ในสงครามครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ พวกอสูรที่
แพ้ได้พากันหลบหนีมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ พวกเทวดาได้ไล่ตามไป ครั้งนั้นแล พวกอสูร
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พวกเทวดากำลังไล่ตามมา ทางที่ดี เราควรรบกับพวกเทวดา
เป็นครั้งที่ ๒’ พวกอสูรได้รบกับพวกเทวดาเป็นครั้งที่ ๒ แล้ว แม้ครั้งที่ ๒ เทวดาก็
ชนะอีก พวกอสูรแพ้ พวกอสูรที่แพ้ได้พากันหลบหนีมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ พวกเทวดา
ได้ไล่ตามไป
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกอสูรได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พวกเทวดากำลังไล่
ตามมา ทางที่ดี เราควรรบกับพวกเทวดาเป็นครั้งที่ ๓’ พวกอสูรได้รบกับพวกเทวดา
เป็นครั้งที่ ๓ แล้ว แม้ครั้งที่ ๓ พวกเทวดาก็ชนะอีก พวกอสูรแพ้ พวกอสูรที่แพ้
ต่างก็กลัวพากันเข้าไปยังอสูรบุรี ก็แลพวกอสูรที่อยู่ในอสูรบุรีได้มีความคิดดังนี้ว่า
‘บัดนี้ เราได้เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่ พวกเทวดาทำอะไรเราไม่ได้’
แม้พวกเทวดาก็ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘บัดนี้ พวกอสูรได้เครื่องป้องกันตนจากความ
ขลาดกลัวอยู่ พวกเราจะทำอะไรพวกอสูรไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน สมัยใด ภิกษุสงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ สมัยนั้น
ภิกษุมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ เราได้เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่
มารจะทำอะไรเราไม่ได้’ แม้มารผู้มีบาปก็ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ภิกษุได้
เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่ เราจะทำอะไรภิกษุไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ สมัยนั้น ภิกษุได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ เราได้
เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่ มารจะทำอะไรเราไม่ได้’ แม้มารผู้มีบาป
ก็ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ภิกษุได้เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่
เราจะทำอะไรภิกษุไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญา ภิกษุนี้เราเรียกว่า ทำให้มารสิ้นสุด ไร้ร่องรอย ปิดตามารผู้มีบาปจนมอง
ไม่เห็น ข้ามพ้นตัณหาเครื่องข้องในโลกได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๙.นาคสูตร
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ฯลฯ
ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดย
กำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ฯลฯ ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ฯลฯ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมด
สิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา เราเรียกว่า ภิกษุนี้ทำให้มารสิ้นสุด ไร้ร่องรอย
ปิดตามารผู้มีบาปจนมองไม่เห็น ข้ามพ้นตัณหาเครื่องข้องในโลกได้แล้ว
เทวาสุรสังคามสูตรที่ ๘ จบ
๙. นาคสูตร
ว่าด้วยการหาความสงบของพญาช้าง
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อพญาช้างที่อยู่ในป่าขวนขวายเที่ยวหากินอยู่
เหล่าช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็ก เดินไปข้างหน้าๆ ทำลาย
ยอดหญ้า พญาช้างที่อยู่ในป่าย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อพญาช้างที่อยู่ในป่า ขวนขวายเที่ยวหากินอยู่ เหล่า
ช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็กต่างก็พากันกินกิ่งไม้ที่หักลงมา
พญาช้างที่อยู่ในป่าย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อพญาช้างที่อยู่ในป่าลงสู่ท่าน้ำ เหล่าช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่
และลูกช้างเล็กต่างก็เดินไปข้างหน้าๆ ใช้งวงกวนน้ำให้ขุ่น พญาช้างที่อยู่ในป่า ย่อม
อึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อพญาช้าง
ที่อยู่ในป่า ขึ้นจากท่าน้ำแล้ว ช้างพังย่อมเดินเสียดสีกายไป พญาช้างที่อยู่ในป่า
ย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น พญาช้างที่อยู่ในป่าได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้
เราอยู่พลุกพล่านไปด้วยช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็ก กินหญ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๙.นาคสูตร
ยอดด้วน ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่เราหักลงมา ดื่มน้ำที่ขุ่น และเมื่อเรา
ขึ้นจากท่าน้ำ ช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป ทางที่ดี เราควรหลีกออกจากโขลงไปอยู่
ผู้เดียว‘๑ ต่อมา พญาช้างนั้นได้หลีกออกจากโขลงไปอยู่ผู้เดียว กินหญ้ายอดไม่ด้วน
ไม่ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่ตนหักลงมา ดื่มน้ำที่ไม่ขุ่น และเมื่อพญาช้างนั้นขึ้น
จากท่าน้ำก็ไม่ถูกช้างพังเดินเสียดสีกายไป
ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น พญาช้างที่อยู่ในป่ามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน
เราอยู่พลุกพล่านไปด้วยช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็ก กินหญ้า
ยอดด้วน ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่เราหักลงมา ดื่มน้ำที่ขุ่น และเมื่อเราขึ้น
จากท่าน้ำ ก็ถูกช้างพังเดินเสียดสีกายไป บัดนี้ เรานั้นได้หลีกออกจากโขลงมาอยู่
ผู้เดียว กินหญ้ายอดไม่ด้วน ไม่ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่เราหักลงมา ดื่มน้ำที่
ไม่ขุ่น และเมื่อเราขึ้นจากท่าน้ำก็ไม่ถูกช้างพังเดินเสียดสีกายไป’ พญาช้างนั้นใช้งวง
หักกิ่งไม้ ใช้กิ่งไม้ปัดกาย มีใจเบิกบาน บำบัดโรคคัน
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน สมัยใด ภิกษุอยู่พลุกพล่านไปด้วยภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และพวก
สาวกของเดียรถีย์ สมัยนั้น ภิกษุมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ เราแลอยู่พลุกพล่าน
ไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
เดียรถีย์ และพวกสาวกของเดียรถีย์ ทางที่ดี เราควรหลีกออกจากหมู่ไปอยู่ผู้เดียว’
เธอใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ
ที่กลางแจ้ง ลอมฟาง’ เธอไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี หรือไปสู่เรือนว่างก็ดี ย่อมนั่งคู้
บัลลังก์๒ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๓

เชิงอรรถ :
๑ ดู ขุ.อุ. ๒๕/๓๕/๑๔๘
๒ นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้งสองข้าง เรียกว่านั่งสมาธิ (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)
๓ ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า หมายถึงตั้งสติกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๙.นาคสูตร
เธอละอภิชฌาในโลกได้ มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาทได้แล้ว มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูล
ต่อสรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ
ปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา(กำหนดหมายแสงสว่าง) มีสติสัมปชัญญะอยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ
ภายในอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว
ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์
๕ ประการนี้ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา สงัดจากกามและอกุศล
ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
เธอมีใจเบิกบาน บำบัดกิเลสดังโรคคันได้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ
จตุตถฌาน ฯลฯ เธอมีใจเบิกบานบำบัดกิเลสดังโรคคันได้
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เธอมีใจเบิกบาน
บำบัดกิเลสดังโรคคันได้ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ฯลฯ ภิกษุล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนด
ว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ฯลฯ ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่๑ ฯลฯ ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว
เพราะเห็นด้วยปัญญา เธอเป็นผู้มีใจเบิกบานบำบัดกิเลสดังโรคคันได้
นาคสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๓/๒๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
๑๐. ตปุสสสูตร
ว่าด้วยตปุสสคหบดี
[๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวมัลละ ชื่อว่า
อุรุเวลกัปปะ แคว้นมัลละ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก
ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิคมชื่ออุรุเวลกัปปะเพื่อบิณฑบาต ครั้นแล้ว
เสด็จกลับจากบิณฑบาต หลังจากเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่าน
พระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงรออยู่ที่นี้ก่อน จนกว่าเราจะไปถึงป่ามหาวัน
เพื่อพักผ่อนกลางวัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินไปถึงป่ามหาวันแล้ว จึงประทับนั่งพัก
ผ่อนกลางวันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
ลำดับนั้นแล ตปุสสคหบดีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทท่านพระ
อานนท์แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านพระอานนท์
ผู้เจริญ พวกกระผมเป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี มีกามเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม
บันเทิงในกาม เนกขัมมะ๑จึงปรากฏดุจเหวแก่พวกกระผมผู้เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี
มีกามเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิงในกาม ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ กระผมได้
ทราบมาดังนี้ว่า ‘จิตของภิกษุหนุ่ม ๆ ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
ในเนกขัมมะ หลุดพ้น๒ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ ท่านผู้เจริญ ภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้มีส่วนต่างกับคนส่วนมาก คือ เนกขัมมะหรือ”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี มีเหตุแห่งถ้อยคำที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้
มาเถิด คหบดี เราจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จักกราบทูล


เชิงอรรถ :
๑เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงการบรรพชา (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๑/๓๑๔)
๒หลุดพ้น ในที่นี้หมายถึงหลุดพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึก (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๑/๓๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
เนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาค จักทรงจำเนื้อความตามที่พระผู้มีพระภาคจะทรงตอบ
แก่พวกเรา” ตปุสสคหบดีรับคำท่านพระอานนท์แล้ว
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยตปุสสคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตปุสสคหบดีนี้ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ
พวกกระผมผู้เป็นคฤหัสถ์เป็นกามโภคี มีกามเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิง
ในกาม เนกขัมมะจึงปรากฏดุจเหวแก่พวกกระผมผู้เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี มีกาม
เป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิงในกาม ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ กระผมได้ทราบ
มาดังนี้ว่า ‘จิตของภิกษุหนุ่ม ๆ ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นใน
เนกขัมมะ หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ ท่านผู้เจริญ ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้มีส่วนต่างกับคนส่วนมาก คือ เนกขัมมะหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์
แม้เราเองก่อนจะตรัสรู้ ยังมิได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่นั่นแล ได้มีความดำริดังนี้ว่า
‘เนกขัมมะเป็นความดี ความสงบเป็นความดี’ จิตของเรานั้น ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ เรานั้นจึง
มีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ เราจึงมี
ความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในกามทั้งหลายเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก และอานิสงส์
ในเนกขัมมะเรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะ
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วทำให้มาก
ได้บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนกขัมมะ หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ ต่อมา
เราได้เห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสพ
อานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนกขัมมะ หลุดพ้น เมื่อพิจารณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
เห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ อานนท์ เราสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขก็เพียงเพื่อความกดดัน๑ ฉันใด สัญญาและมนสิการที่ประกอบ
ด้วยกามย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
จิตของเรานั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก ไม่หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ เรานั้นจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแล
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษใน
วิตกเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในทุติยฌานที่ไม่มีวิตกเรายังไม่ได้
บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นใน
ทุติยฌานที่ไม่มีวิตก ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ เราจึงมี
ความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในวิตกแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในทุติยฌาน
ที่ไม่มีวิตกแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
ในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ ต่อมา
เราได้เห็นโทษในวิตกแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในทุติยฌานที่ไม่มีวิตกแล้ว
เสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก หลุดพ้น
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เมื่อเรา
อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตกยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความ
กดดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุข เพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญา-
มนสิการที่ประกอบด้วยวิตกย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น


เชิงอรรถ :
๑ ดูความหมายในเชิงอรรถที่ ๑ นวกนิบาต ข้อ ๓๔ (นิพพานสูตร) หน้า ๕๐๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัม-
ปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’
เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้จิตของเราไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า
‘ติยฌานนั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในปีติเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำ
ให้มาก อานิสงส์ในตติยฌานที่ไม่มีปีติ เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น
จิตของเรา จึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ ไม่หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในปีติแล้ว
ทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในตติยฌานที่ไม่มีปีติแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้
ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณา
เห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในปีติแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์
ในตติยฌานที่ไม่มีปีติแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นใน
ตติยฌานที่ไม่มีปีติ หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ อานนท์
เพราะปีติจางคลายไป เราจึงบรรลุตติยฌาน ฯลฯ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยปีติยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยปีติ
ย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์
และไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว มีสติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในจตุตถฌาน
ที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ไม่หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ เราจึง
มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
ไม่ตั้งมั่นในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า
‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในอุเบกขาและสุข เรายังไม่ได้เห็น
และไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข เรายังไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นใน
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌาน
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในอุเบกขาและสุขแล้วทำให้มาก
ได้บรรลุอานิสงส์ในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุขแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้
ที่จิตของเราพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในอุเบกขาและสุขแล้ว
ทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุขแล้วเสพอานิสงส์นั้น
จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข หลุดพ้น
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราบรรลจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์
และไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-
มนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขาย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อุเบกขาย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญา จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากาสานัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความ
ดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น
ในอากาสานัญจายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตน-
ฌานนั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในรูปทั้งหลายเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้
ทำให้มาก อานิสงส์ในอากาสานัญจายตนฌาน เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากาสานัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมี
ความดำริดังนี้ว่า ถ้าเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ใน
อากาสานัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่นในอากาสานัญจายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตน-
ฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ใน
อากาสานัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
ในอากาสานัญจายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตนฌาน
นั่นสงบ’ อานนท์ เราบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด
มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เมื่อเราอยู่
ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกด
ดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยรูป ย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากาสานัญจายตน-
ฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริ
ดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น
ในวิญญาณัญจายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌาน
นั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในอากาสานัญจายตนฌานเรายังไม่ได้เห็นและ
ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌานเรายังไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เสพ
เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ในวิญญาณัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริ
ดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
ในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า
‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌาน
แล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น
จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราล่วงอากาสานัญจายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อากาสานัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้น
แก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อากาสานัญจายตนฌานย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่
จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า
‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นใน
อากิญจัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตนฌาน
นั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในวิญญาณัญจายตนฌาน เรายังไม่ได้เห็นและ
ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌาน เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ
เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริ
ดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ใน
อากิญจัญญายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตน-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
ฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุ
อานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตน-
ฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกด
ดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่
ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากิญจัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ จิตของเราไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณา
เห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไร
หนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
นั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในอากิญจัญญายตนฌาน เรายังไม่ได้เห็นและ
ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้
เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในอากิญจัญญายตนฌานแล้วทำ
ให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็น
ไปได้ที่จิตของเราพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษใน
อากิญจัญญายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
แล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั่นสงบ’ อานนท์
เราล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน
ยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความ
กดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานย่อมฟุ้งขึ้น ข้อ
นั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธ
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้จิตของเรา
ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณา
เห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ
เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธ
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
แล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไป
ได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้น เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วเสพ
อานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้น
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธนั่นสงบ’ อานนท์ เราล่วงเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลาย
ของเราได้ถึงความหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
อานนท์ เมื่อใด อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ เรายังเข้าไม่ได้ ออกไม่ได้
ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ เมื่อนั้น เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา-
สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
แต่เมื่อใด อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ เราเข้าก็ได้ ออกก็ได้ ทั้งโดย
อนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แลญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ‘เจโตวิมุตติ
ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก”
ตปุสสสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนุปุพพวิหารสูตร ๒. อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
๓. นิพพานสุขสูตร ๔. คาวีอุปมาสูตร
๕. ฌานสูตร ๖. อานันทสูตร
๗. โลกายติกสูตร ๘. เทวาสุรสังคามสูตร
๙. นาคสูตร ๑๐. ตปุสสสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๑.สัมพาธสูตร
๕. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยสามัญญธรรม
๑. สัมพาธสูตร
ว่าด้วยวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ๑
[๔๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอุทายีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ สนทนาปราศรัยกับ
ท่านพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่าน
พระอานนท์ดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ ปัญจาลจัณฑเทพบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า
‘พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงหลีกเร้นอยู่
ทรงเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ ได้ตรัสรู้ฌานแล้ว
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระปัญญากว้างขวาง
ได้ทรงรู้วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ’
ผู้มีอายุ ที่คับแคบ เป็นอย่างไร วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้อย่างไร”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้ พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ที่คับแคบ
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๔ (นิพพานสุขสูตร) หน้า ๕๐๐ และดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๗ หน้า ๕๑๓ ในเล่มนี้ และดู ที.ม.
๑๐/๒๘๘/๑๘๓, ที.ม.อ. ๒/๒๘๘/๒๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๑.สัมพาธสูตร
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ที่คับแคบ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยาย๑หนึ่งด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ แม้ในปฐมฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในปฐมฌานนั้น
วิตกและวิจารที่ยังไม่ดับในปฐมฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในปฐมฌานนี้
ภิกษุ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาค
ตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในทุติยฌาน
นั้น ก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในทุติยฌานนั้น ปีติที่ยังไม่ดับในทุติยฌานนั้น
ชื่อว่าที่คับแคบในทุติยฌานนี้
ภิกษุ เพราะปีติจางคลายไป เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ
โดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในตติยฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่า
ที่คับแคบในตติยฌานนั้น อุเบกขาและสุขที่ยังไม่ดับในตติยฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบ
ในตติยฌานนี้
ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุถึงช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในจตุตถฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบใน
จตุตถฌานนั้น รูปสัญญาที่ยังไม่ดับในจตุตถฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในจตุตถฌานนี้

เชิงอรรถ :
๑ ปริยาย ในที่นี้หมายถึงเหตุหนึ่ง ๆ หรือวิธีหนึ่ง ๆ กล่าวคือทรงแสดงว่าวิธีแต่ละอย่าง ต่างก็เป็น “ช่องว่าง”
ในที่คับแคบแต่ละอย่าง เช่น ปฐมฌาน เป็นช่องว่างในที่คับแคบคือกามคุณ ๕ และนิวรณ์ ๕ ทุติยฌาน
เป็นช่องว่างในที่คับแคบคือวิตกและวิจาร (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๒/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๑.สัมพาธสูตร
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา พระผู้มีพระภาค
ตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ใน
อากาสานัญจายตนฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในอากาสานัญจายตน-
ฌานนั้น อากาสานัญจายตนสัญญาที่ยังไม่ดับในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ชื่อว่า
ที่คับแคบในอากาสานัญจายตนฌานนี้
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่าง
ในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในวิญญาณัญจายตนฌานก็ยังมี
ที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น วิญญาณัญจายตนสัญญา
ที่ยังไม่ดับในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในวิญญาณัญจายตนฌานนี้
ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดย
ปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในอากิญจัญญายตนฌานก็ยังมีที่คับแคบ อะไร
ชื่อว่าที่คับแคบในอากิญจัญญายตนฌานนั้น อากิญจัญญายตนสัญญาที่ยังไม่ดับใน
อากิญจัญญายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในอากิญจัญญายตนฌานนี้
ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่า
ที่คับแคบในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
ที่ยังไม่ดับในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๒.กายสักขีสูตร
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ผู้มีอายุ
พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยนิปปริยาย๑แล้ว ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้
สัมพาธสูตรที่ ๑ จบ
๒. กายสักขีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นกายสักขี
[๔๓] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘กายสักขี
กายสักขี’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคล
ว่า กายสักขี”๒
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ และอายตนะคือปฐมฌานนั้นมีอยู่โดยประการใด ๆ เธอสัมผัส
อายตนะคือปฐมฌานนั้นด้วยกาย๓ โดยประการนั้น ๆ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว (๑)
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
และอายตนะคือจตุตถฌานนั้นมีอยู่โดยประการใด ๆ เธอสัมผัสอายตนะคือจตุตถฌาน
นั้นด้วยกายโดยประการนั้น ๆ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียก
บุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว (๒-๔)

เชิงอรรถ :
๑ นิปปริยาย วิธีนี้เป็นวิธีบรรลุช่องว่างคือการสิ้นอาสวะได้อย่างดีเยี่ยม เพราะเป็นวิธีที่ละที่คับแคบได้อย่าง
สิ้นเชิง (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๒/๓๑๕)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๔ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๔ (ปุคคลสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้
๓ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๓/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๓.ปัญญาวิมุตตสูตร
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา และอายตนะคือ
อากาสานัญจายตนฌานนั้นมีอยู่โดยประการใด ๆ เธอสัมผัสอายตนะคือ
อากาสานัญจายตนฌานนั้นด้วยกายโดยประการนั้น ๆ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว (๕-๘)
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา และ
อายตนะคือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นมีอยู่ โดยประการใด ๆ เธอสัมผัสอายตนะคือ
สัญญาเวทยิตนิโรธนั้นด้วยกายโดยประการนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มี
พระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยนิปปริยายแล้ว” (๙)
กายสักขีสูตรที่ ๒ จบ
๓. ปัญญาวิมุตตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุต
[๔๔] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกบุคคลว่า
‘ปัญญาวิมุต ปัญญาวิมุต’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
เรียกบุคคลว่า ปัญญาวิมุต”๑
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ และเธอย่อมรู้ชัดปฐมฌานนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘ปัญญาวิมุต’ โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๒

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๓ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๔ (ปุคคลสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มเทียบกับข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๔.อุภโตภาควิมุตตสูตร
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา และเธอ
ย่อมรู้ชัดสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘ปัญญาวิมุต’ โดยนิปปริยายแล้ว”
ปัญญาวิมุตตสูตรที่ ๓ จบ
๔. อุภโตภาควิมุตตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุต
[๔๕] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกบุคคลว่า
‘อุภโตภาควิมุต อุภโตภาควิมุต’ “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘อุภโตภาควิมุต”๑
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ และอายตนะคือปฐมฌานนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัส
อายตนะคือปฐมฌานนั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ อยู่ และเธอรู้ชัดอายตนะคือ
ปฐมฌานนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า
‘อุภโตภาควิมุต’ โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๒
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา อายตนะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (ปุคคลสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มเทียบกับข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๕.สันทิฏฐิกธัมมสูตร
คือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัสอายตนะคือสัญญา-
เวทยิตนิโรธนั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ อยู่ และเธอรู้ชัดอายตนะคือสัญญา-
เวทยิตนิโรธนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคล
ว่า ‘อุภโตภาควิมุต’ โดยนิปปริยายแล้ว”
อุภโตภาควิมุตตสูตรที่ ๔ จบ
๕. สันทิฏฐิกธัมมสูตร
ว่าด้วยสันทิฏฐิกธรรม
[๔๖] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สันทิฏฐิก-
ธรรม๑ สันทิฏฐิกธรรม’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
สันทิฏฐิกธรรม”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสันทิฏฐิกธรรม
โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๒
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสันทิฏฐิกธรรม โดยนิปปริยายแล้ว”
สันทิฏฐิกธัมมสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สันทิฏฐิกธรรม หมายถึงธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๖-๕๑/๓๑๖)
๒ ดูความเต็มเทียบกับข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๗.นิพพานสูตร
๖. สันทิฏฐิกนิพพานสูตร
ว่าด้วยสันทิฏฐิกนิพพาน
[๔๗] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สันทิฏฐิก-
นิพพาน สันทิฏฐิกนิพพาน’ ท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสสันทิฏฐิกนิพพาน”๑
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสันทิฏฐิกนิพพาน
โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสันทิฏฐิกนิพพาน โดยนิปปริยายแล้ว”
สันทิฏฐิกนิพพานสูตรที่ ๖ จบ
๗. นิพพานสูตร
ว่าด้วยนิพพาน
[๔๘] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘นิพพาน
นิพพาน’
ฯลฯ
นิพพานสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สันทิฏฐิกนิพพาน หมายถึงนิพพานที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง นิพพาน ในที่นี้หมายถึงความดับกิเลส (องฺ.
นวก.อ. ๓/๔๖-๕๑/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๑๐.ทิฏฐธัมมนิพพานสูตร
๘. ปรินิพพานสูตร
ว่าด้วยปรินิพพาน
[๔๙] ท่านพระอุทายีถามว่า ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ปรินิพพาน ปรินิพพาน’
ฯลฯ
ปรินิพพานสูตรที่ ๘ จบ
๙. ตทังคนิพพานสูตร
ว่าด้วยตทังคนิพพาน
[๕๐] ท่านพระอุทายีถามว่า ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ตทังคนิพพาน๑
ตทังคนิพพาน’
ฯลฯ
ตทังคนิพพานสูตรที่ ๙ จบ
๑๐ . ทิฏฐธัมมนิพพานสูตร
ว่าด้วยทิฏฐธัมมนิพพาน
[๕๑] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ทิฏฐ-
ธัมมนิพพาน๒ ทิฏฐธัมมนิพพาน’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มี
พระภาคจึงตรัสทิฏฐธัมมนิพพาน

เชิงอรรถ :
๑ ตทังคนิพพาน หมายถึงความดับกิเลสด้วยองค์นั้น ๆ คือดับกิเลสด้วยฌานนั้น ๆ มีปฐมฌานเป็นต้น
(องฺ.นวก.อ. ๓/๔๖-๕๑/๓๑๖)
๒ ทิฏฐธัมมนิพพาน หมายถึงนิพพานในปัจจุบัน (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๖-๕๑/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม และ
กุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสทิฏฐธัมมนิพพาน โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสทิฏฐธัมมนิพพาน โดยนิปปริยายแล้ว”
ทิฏฐธัมมนิพพานสูตรที่ ๑๐ จบ
สามัญญวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัมพาธสูตร ๒. กายสักขีสูตร
๓. ปัญญาวิมุตตสูตร ๔. อุภโตภาควิมุตตสูตร
๕. สันทิฏฐิกธัมมสูตร ๖. สันทิฏฐิกนิพพานสูตร
๗. นิพพานสูตร ๘. ปรินิพพานสูตร
๙. ตทังคนิพพานสูตร ๑๐. ทิฏฐธัมมนิพพานสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.เขมวรรค ๒. เขมัปปัตตสูตร
๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. เขมวรรค
หมวดว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า เขมะ
๑. เขมสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า เขมะ
[๕๒] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘เขมะ๑ เขมะ’
ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเขมะ”
พระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเขมะ โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๒
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเขมะ โดยนิปปริยายแล้ว”
เขมสูตรที่ ๑ จบ
๒. เขมัปปัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า เขมปัตตะ
[๕๓] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘เขมปัตตะ
เขมปัตตะ’
ฯลฯ
เขมัปปัตตสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เขมะ ในที่นี้หมายถึงไม่มีอุปัททวะ (องฺ.นวก.อ. ๓/๕๒/๓๑๗)
๒ ดูความเต็มเทียบกับนวกนิบาต ข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.เขมวรรค ๖. อภยัปปัตตสูตร
๓. อมตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อมตะ
[๕๔] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อมตะ อมตะ’
ฯลฯ
อมตสูตรที่ ๓ จบ
๔. อมตัปปัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อมตปัตตะ
[๕๕] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อมตปัตตะ
อมตปัตตะ’
ฯลฯ
อมตัปปัตตสูตรที่ ๔ จบ
๕. อภยสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อภยะ
[๕๖] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อภยะ อภยะ’
ฯลฯ
อภยสูตรที่ ๕ จบ
๖. อภยัปปัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อภยปัตตะ
[๕๗] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อภยปัตตะ
อภยปัตตะ’
ฯลฯ
อภยัปปัตตสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.เขมวรรค ๑๐.อนุปุพพนิโรธสูตร
๗. ปัสสัทธิสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า ปัสสัทธิ
[๕๘] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ปัสสัทธิ
ปัสสัทธิ’
ฯลฯ
ปัสสัทธิสูตรที่ ๗ จบ
๘. อนุปุพพปัสสัทธิสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อนุปุพพปัสสัทธิ
[๕๙] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อนุปุพพ-
ปัสสัทธิ อนุปุพพปัสสัทธิ’
ฯลฯ
อนุปุพพปัสสิทธิสูตรที่ ๘ จบ
๙. นิโรธสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า นิโรธ
[๖๐] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘นิโรธ นิโรธ’
ฯลฯ
นิโรธสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อนุปุพพนิโรธสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อนุปุพพนิโรธ
[๖๑] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อนุปุพพ-
นิโรธ อนุปุพพนิโรธ’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
อนุปุพพนิโรธ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.เขมวรรค ๑๑.อภัพพสูตร
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอนุปุพพนิโรธ
โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๑
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอนุปุพพนิโรธ โดยนิปปริยายแล้ว”
อนุปุพพนิโรธสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. อภัพพสูตร
ว่าด้วยผู้อาจและไม่อาจเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ราคะ (ความกำหนัด) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. โมหะ (ความหลง) ๔. โกธะ (ความโกรธ)
๕. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ๖. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน)
๗. ปลาสะ (ความตีเสมอ) ๘. อิสสา (ความริษยา)
๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการได้แล้ว อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มเทียบกับนวกนิบาต ข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.เขมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ราคะ ๒. โทสะ
๓. โมหะ ๔. โกธะ
๕. อุปนาหะ ๖. มักขะ
๗. ปลาสะ ๘. อิสสา
๙. มัจฉริยะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการนี้ได้แล้ว อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
อภัพพสูตรที่ ๑๑ จบ
เขมวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เขมสูตร ๒. เขมัปปัตตสูตร
๓. อมตสูตร ๔. อมตัปปัตตสูตร
๕. อภยสูตร ๖. อภยัปปัตตสูตร
๗. ปัสสัทธิสูตร ๘. อนุปุพพปัสสัทธิสูตร
๙. นิโรธสูตร ๑๐. อนุปุพพนิโรธสูตร
๑๑. อภัพพสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๑.สิกขาทุพพัลยสูตร
๒. สติปัฏฐานวรรค
หมวดว่าด้วยสติปัฏฐาน
๑. สิกขาทุพพัลยสูตร
ว่าด้วยเหตุท้อแท้ในสิกขา๑
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้
เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์ ๒. การลักทรัพย์
๓. การประพฤติผิดในกาม ๔. การพูดเท็จ
๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อละเหตุท้อแท้ในสิกขา
๕ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า เหตุท้อแท้ในสิกขา แยกอธิบายได้ดังนี้ คือ (๑) เหตุท้อแท้ หมายถึงเหตุให้เบื่อหน่ายในการ
ประพฤติพรหมจรรย์ ได้แก่ การล่วงละเมิดศีล ๕ (๒) สิกขา หมายถึงสิกขา ๓ ประการ คือ อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา และในสิกขา ๓ นั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาอธิสีลสิกขา (เทียบ วิ.มหา.
(แปล) ๑/๔๕-๕๔/๓๓-๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๒.นีวรณสูตร
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละเหตุท้อแท้ใน
สิกขา ๕ ประการนี้แล
สิกขาทุพพัลยสูตรที่ ๑ จบ
๒. นีวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ (ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี) ๕ ประการนี้
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ (นิวรณ์คือความพอใจในกาม)
๒. พยาปาทนิวรณ์ (นิวรณ์คือความคิดร้าย)
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (นิวรณ์คือความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (นิวรณ์คือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (นิวรณ์คือความลังเลสงสัย)
ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อละนิวรณ์ ๕ ประการนี้แล
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๓.กามคุณสูตร
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละนิวรณ์ ๕ ประการ นี้แล
นีวรณสูตรที่ ๒ จบ
๓. กามคุณสูตร
ว่าด้วยกามคุณ
[๖๕] ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ๑ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อละกามคุณ ๕ ประการ
นี้แล
ฯลฯ
กามคุณสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๓ นวกนิบาต ข้อ ๒๐ หน้า ๔๗๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๔.อุปาทานักขันธสูตร
๔. อุปาทานักขันธสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์
[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์๑ (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕
ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละอุปาทานขันธ์
๕ ประการนี้แล
ฯลฯ
อุปาทานักขันธสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๕๖ (ติสสพรหมสูตร) หน้า ๑๐๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๕. โอรัมภาคิยสูตร
๕. โอรัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยโอรัมภาคิยสังโยชน์
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการนี้
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความยึดมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคิดร้าย)
ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
ฯลฯ
โอรัมภาคิยสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๗.มัจฉริยสูตร
๖. คติสูตร
ว่าด้วยคติ
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย คติ ๕ ประการนี้
คติ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. นิรยะ (นรก) ๒. ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน)
๓. เปตติวิสัย (แดนเปรต) ๔. มนุษย์
๕. เทวดา

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละคติ ๕ ประการ
นี้แล
ฯลฯ
คติสูตรที่ ๖ จบ
๗. มัจฉริยสูตร
ว่าด้วยมัจฉริยะ
[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๕ ประการนี้
มัจฉริยะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่) ๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) ๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ)
๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

ภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละมัจฉริยะ ๕
ประการนี้แล
ฯลฯ
มัจฉริยสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๘.อุทธัมภาคิยสูตร
๘. อุทธัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์๑
[๗๐] ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน)
๓. มานะ (ความถือตัว)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๕. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละอุทธัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
ฯลฯ
อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๕/๒๐๘, สํ.ม. ๑๙/๑๘๐/๕๖, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๙.เจโตขีลสูตร
๙. เจโตขีลสูตร๑
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
[๗๑] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา๒ จิตของ
ภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดานั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการ
ที่ ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม ฯลฯ
๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์ ฯลฯ
๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา (ข้อที่จะต้อง
ศึกษา) ฯลฯ
๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) กระทบ
มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ
ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารี

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๙/๒๑๑, ม.มู. ๑๒/๑๘๕-๑๘๙/๑๕๖-๑๖๑, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๕/๓๔๗, องฺ.ทสก.
(แปล) ๒๔/๑๔/๒๒-๒๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๓-๕๙๔
๒ ไม่เลื่อมใสในศาสดา ในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒
ประการ ไม่เชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าสามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๒๐๕/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๑๐.เจตโสวินิพันธสูตร
ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจ
ตะปูประการที่ ๕ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องตรึง
จิตดุจตะปู ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
เจโตขีลสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร๑
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่
ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยัง
ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก
ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน
ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ
เพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไป

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๒๐/๒๑๑-๒๑๒, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๖/๓๔๘, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๓-๒๔, อภิ.วิ.
(แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๑๐.เจตโสวินิพันธสูตร
เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ
เพียร
๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ
๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ
๔. ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการนอน
ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ
๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่
หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้๑ เราจักเป็นเทพเจ้า
หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วย
ความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ
หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๕ ของ
ผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
๕ ประการนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ศีล หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ คือ (๑) ปาติโมกขสังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์
เว้นจากข้อห้ามทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย (๒) อินทรียสังวรศีล คือ ความ
สำรวมอินทรีย์ระวังไม่ให้บาปอกุศลครอบงำ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (๓) อาชีวปาริสุทธิศีล ศีล
คือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบไม่ประกอบอเนสนา(การแสวงหาอันไม่สมควร) มีหลอกลวง
เขาเลี้ยงชีพเป็นต้น (๔) ปัจจยสันนิสิตศีล ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย ๔ ได้แก่ ปัจจัยปัจจเวกขณะ คือ พิจารณา
ใช้สอยปัจจัย ๔ ให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา (วิสุทธิ. ๑/๑๔-
๑๘/๑๗-๓๖)
วัตร หมายถึงวัตตสมาทาน (การประพฤติข้อปฏิบัติ)
ตบะ หมายถึงตปจรณะ (การประพฤติตบะ)
พรหมจรรย์ หมายถึงเมถุนวิรัติ (การงดเว้นจากการร่วมประเวณี) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัย
๑. พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
๕ ประการนี้แล
เจตโสวินิพันธสูตรที่ ๑๐ จบ
สติปัฏฐานวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สิกขาทุพพัลยสูตร ๒. นีวรณสูตร
๓. กามคุณสูตร ๔. อุปาทานักขันธสูตร
๕. โอรัมภาคิยสูตร ๖. คติสูตร
๗. มัจฉริยสูตร ๘. อุทธัมภาคิยสูตร
๙. เจโตขีลสูตร ๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.สัมมัปปธานวรรค ๑.สิกขาสูตร
๓. สัมมัปปธานวรรค
หมวดว่าด้วยสัมมัปปธาน
๑. สิกขาสูตร
ว่าด้วยเหตุท้อแท้ในสิกขา
[๗๓] ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้
เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์
ฯลฯ๑
๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) ๔ ประการ เพื่อ
ละเหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้แล
สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนี้ เพื่อละเหตุท้อแท้ใน
สิกขา ๕ ประการนี้แล
สิกขาสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในนวกนิบาต ข้อ ๖๓ (สิกขาทุพพัลยสูตร) หน้า ๕๔๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.สัมมัปปธานวรรค ๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร
[๗๔-๘๑] (พึงขยายหมวดธรรมว่าด้วยสัมมัปปธานเหมือนในสติปัฏฐานวรรค)
๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ
[๘๒] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
ฯลฯ๑
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
๕ ประการนี้แล
สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
๕ ประการนี้แล
เจตโสวินิพันธสูตรที่ ๑๐ จบ
สัมมัปปธานวรรคที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในนวกนิบาต ข้อ ๗๒ (เจตโสวินิพันธสูตร) หน้า ๕๕๖-๕๕๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.อิทธิปาทวรรค ๑.สิกขาสูตร
๔. อิทธิปาทวรรค
หมวดว่าอิทธิบาท
๑. สิกขาสูตร
ว่าด้วยเหตุท้อแท้ในสิกขา
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้
เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์
ฯลฯ๑
๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละเหตุท้อแท้ใน
สิกขา ๕ ประการนี้แล
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละเหตุท้อแท้ในสิกขา ๕
ประการนี้แล
สิกขาสูตรที่ ๑ จบ
[๘๔-๙๑] (พึงขยายหมวดธรรมว่าด้วยอิทธิบาทเหมือนในสติปัฏฐานวรรค)

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในนวกนิบาต ข้อ ๖๓ (สิกขาทุพพัลยสูตร) หน้า ๕๔๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.อิทธิปาทวรรค ๑๐.เจตโสวินิพันธสูตร
๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ
[๙๒] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
ฯลฯ๑
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่อง
ผูกใจ ๕ ประการนี้แล
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๒(สมาธิที่เกิด
จากฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์)
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
วิริยะและความเพียรสร้างสรรค์)
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
จิตตะและความเพียรสร้างสรรค์)
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิด
จากวีมังสาและความเพียรสร้างสรรค์)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
๕ ประการนี้แล
เจตโสวินิพันธสูตรที่ ๑๐ จบ
อิทธิปาทวรรคที่ ๔ จบ
(ผู้ศึกษาพึงประกอบสัมมัปปธาน ๔ และอิทธิบาท ๔ เหมือนสติปัฏฐาน ๔)

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๗๒ (เจตโสวินิพันธสูตร) หน้า ๕๕๖ ในเล่มนี้
๒ ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น (ปธาน) คำว่า ฉันท-
สมาธิปธานสังขาร หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ และความเพียรที่มุ่งมั่น วิริยสมาธิ จิตตสมาธิ และ
วีมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๘/๔๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ราคเปยยาล
ราคเปยยาล
[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน
โลกทั้งปวง)
๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
แห่งสังขาร)
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
๘. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๙. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑)
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
๕. อากาสานัญจายตฌาน ๖. วิญญาณัญจายตนฌาน
๗. อากิญจัญญายตนฌาน ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
๙. สัญญาเวทยิตนิโรธ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒)
[๙๕-๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อกำหนดรู้ราคะ
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ราคเปยยาล
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ (๓-๒๐)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อความสละคืนราคะ
[๑๑๓-๔๓๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งโทสะ
... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ
... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ...
อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ(ความตีตัวเสมอ)
... อิสสา(ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มายา) ... สาเถยยะ
(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว)
... อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความประมาท) ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ
(๒๑-๓๔๐)
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล
ราคเปยยาล จบ
นวกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖๔ }

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น