Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ สกทาคามิผล-สันตติ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) หรือ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ออนไลน์

สกทาคามิผล ผลที่ได้รับจากการละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสกับทำ ราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง ซึ่งสืบ เนื่องมาแต่สกทาคามิมรรค, สกิทาคามิผล ก็เขียน

สกทาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระสกทาคามี, ญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สัก- กายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำ ราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง, สกิทาคามิมรรค ก็เขียน

สกทาคามี พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุสกทาคามิผล, สกิทาคามี ก็เขียน

สกสัญญา ความสำคัญว่าเป็นของตน, นึกว่าเป็นของตนเอง

สกุล วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์

สงกรานต์ การย้าย คือ ดวงอาทิตย์ย้ายราศี ในที่นี้หมายถึงมหาสงกรานต์คือพระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ราศีเมษ นับเป็นเวลา ขึ้นปีใหม่อย่างเก่า จัดเป็นนักขัตฤกษ์ ซึ่งตามสุริยคติตกวันที่ ๑๓, ๑๔, ๑๕ เมษายน ตามปรกติ

สงคราม การรบกัน, เป็นโวหารทางพระวินัย เรียกภิกษุผู้จะเข้าสู่การวินิจฉัยอธิกรณ์ ว่าเข้าสู่สงคราม

สงเคราะห์ 1. การช่วยเหลือ, การเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ดู สังคหวัตถุ 2. การรวมเข้า, ย่นเข้า, จัดเข้า

สงฆ์ หมู่, ชุมนุม 1. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษ บุทคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ต่างจาก ภิกษุสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒), ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์ 2. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศ- วรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง

สงฆ์จตุวรรค สงฆ์พวก ๔ คือ มีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด, สงฆ์จตุวรรค ก็เขียน ดู วรรค

สงฆ์ทศวรรค สงฆ์พวก ๑๐ คือ มีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด ดู วรรค

สงฆ์ปัญจวรรค สงฆ์พวก ๕ คือ มีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด ดู วรรค

สงฆมณฑล หมู่พระ, วงการพระ

สงฆ์วีสติวรรค สงฆ์พวก ๒๐ คือ มีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด ดู วรรค

สงสาร 1. การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด 2. ในภาษาไทยมักหมายถึงรู้สึกในความเดือดร้อนหรือความ ทุกข์ของผู้อื่น (= กรุณา)

สงสารทุกข์ ทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด

สงสารวัฏฏ์ วังวนแห่งสงสาร คือ ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

สงสารสาคร ห้วงน้ำคือการเวียนว่ายตายเกิด

สงสารสุทธิ ดู สังสารสุทธิ

สจิตตกะ มีเจตนา, เป็นไปโดยตั้งใจ, เป็นชื่อของอาบัติพวกหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยสมุฏฐานมีเจตนา คือ ต้องจงใจทำจึงจะ ต้องอาบัตินั้น เช่น ภิกษุหลอนภิกษุให้กลัวผี ต้องปาจิตตีย์ ข้อนี้เป็นสจิตตกะ คือตั้งใจหลอกจึงต้องปาจิตตีย์ แต่ถ้าไม่ ได้ตั้งใจจะหลอก ไม่ต้องอาบัติ

สญชัย ดู สัญชัย

สดัปกรณ์ “เจ็ดคัมภีร์” หมายถึงคัมภีร์พระอภิธรรมทั้ง ๗ ในพระอภิธรรมปิฎก เขียนเต็มว่า สัตตัปปกรณ์ (ดู ในคำว่า ไตรปิฎก) แต่ในภาษาไทยคำนี้มีความหมายกร่อนลงมา เป็นคำสำหรับใช้ในพิธีกรรม เรียกกิริยาที่พระภิกษุกล่าวคำ พิจารณาสังขารเมื่อจะชักผ้าบังสุกุลในพิธีศพเจ้านายว่าสดับปกรณ์ ตรงกับที่เรียกในพิธีศพทั่วๆ ไปว่า บังสุกุล (ซึ่งก็ เป็นศัพท์ที่มีความหมายกร่อนเช่นเดียวกัน); ใช้เป็นคำนาม หมายถึง พิธีสวดมาติกาบังสุกุลในงานศพ ปัจจุบันใช้ เฉพาะศพเจ้านาย

สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูด แล้ว แม้นานได้ (ข้อ ๑ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒, ข้อ ๓ ในพละ ๕, ข้อ ๑ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๖ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๙ ในนาถกรณธรรม ๑๐)

สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทัน ตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบ งำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ ๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้ง สติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย ๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติ กำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา ๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต ๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณา ธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม; เรียกสั้นๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม

สติวินัย ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลัก ได้แก่กิริยาที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ ว่าเป็นผู้มีสติเต็มที่ เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ ที่มีผู้โจทท่านด้วยศีลวิบัติ หมายความว่าจำเลยเป็นพระอรหันต์ สงฆ์เห็นว่าไม่เป็นฐานะที่ จำเลยจะทำการล่วงละเมิดดังโจทก์กล่าวหา จึงสวดกรรมวาจาประกาศความข้อนี้ไว้ เรียกว่าให้สติวินัย แล้วยกฟ้อง ของโจทก์เสีย ภายหลังจำเลยจะถูกผู้อื่นโจทด้วยอาบัติอย่างนั้นอีก ก็ไม่ต้องพิจารณา ให้อธิกรณ์ระงับด้วยสติวินัย

สติสังวร ดู สังวร

สติสมฺโมสา อาการที่จะต้องอาบัติด้วยลืมสติ

สตูป สิ่งก่อสร้างสำหรับบรรจุของควรบูชา นิยมเรียก สถูป

สเตกิจฉา อาบัติที่ยังพอเยียวยาหรือแก้ไขได้ ได้แก่ อาบัติอย่างกลางและอย่างเบา คือตั้งแต่สังฆาทิเสสลงมา; คู่กับ อเตกิจฉา

สถลมารค ทางบก

สถาปนา ก่อสร้าง, ยกย่องโดยแต่งตั้งให้สูงขึ้น

สถาพร มั่นคง, ยั่งยืน, ยืนยง

สถิต อยู่, ยืนอยู่, ตั้งอยู่

สถูป สิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา เป็นอนุสรณ์ที่เตือนใจให้เกิดปสาทะและกุศลธรรมอื่นๆ เช่น พระสารีริกธาตุ อัฐิแห่งพระสาวกหรือกระดูกแห่งบุคคลที่นับถือ (บาลี: ถูป, สันสกฤต: สฺตูป) ดู ถูปารหบุคคล

สทารสันโดษ ความพอใจด้วยภรรยาของตน, ความยินดีเฉพาะภรรยาของตน (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม), จัดเป็น พรหมจรรย์อย่างหนึ่ง

สนตพาย ร้อยเชือกสำหรับร้อยจมูกควาย ที่จมูกควาย (สน=ร้อย, ตพาย=เชือกที่ร้อยจมูกควาย) (พจนานุกรมเขียน สน- ตะพาย)

สนาน อาบน้ำ, การอาบน้ำ

สบง ผ้านุ่งของภิกษุสามเณร, คำเดิมเรียก อันตรวาสก; ดู ไตรจีวร

สปทานจาริกังคะ องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับบ้านเป็นวัตรคือรับตามลำดับบ้านตามแถวเดียวกันไม่รับ ข้ามบ้านข้ามแถว, เที่ยวบิณฑบาตไปตามตรอก ตามห้องแถวเรียงลำดับเรื่อยไปเป็นแนวเดียวกัน ไม่ข้ามไปเลือกรับที่ โน้นที่นี่ตามใจชอบ (ข้อ ๔ ในธุดงค์ ๑๓)

สปิณฑะ ผู้ร่วมก้อนข้าว, พวกพราหมณ์ หมายเอาบุรพบิดร ๓ ชั้น คือ บิดา, ปู่, ทวด ซึ่งเป็นผู้ควรที่ลูกหลานเหลนจะ เซ่นด้วยก้อนข้าว

สพรหมจารี ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ร่วมกัน, เพื่อนพรหมจรรย์, เพื่อนบรรพชิต, เพื่อนนักบวช

สภา “ที่เป็นที่พูดร่วมกัน”, ที่ประชุม,สถาบันหรือองค์การอันประกอบด้วยคณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัย หรืออำนวยกิจการ ด้วยการประชุมปรึกษาหารือออกความคิดเห็นร่วมกัน

สภาค มีส่วนเสมอกัน, เท่ากัน, ถูกกัน, เข้ากันได้, พวกเดียวกัน

สภาคาบัติ ต้องอาบัติอย่างเดียวกัน

สภาพ, สภาวะ ความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเอง, ธรรมดา

สภาวทุกข์ ทุกข์ที่เป็นเองตามคติแห่งธรรมดา ได้แก่ ทุกข์ประจำสังขาร คือ ชาติ ชรา มรณะ

สภาวธรรม หลักแห่งความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย

สภิยะ พระเถระผู้ใหญ่ชั้นมหาสาวกเคยเป็นปริพาชกมาก่อน ได้ฟังพระพุทธเจ้าพยากรณ์ปัญหาที่ตนถาม มีความ เลื่อมใส ขอบวช หลังจากบวชแล้วไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหัต

สโภชนสกุล สกุลที่กำลังบริโภคอาหารอยู่, ครอบครัวที่กำลังบริโภคอาหารอยู่ (ห้ามมิให้ภิกษุเข้าไปนั่งแทรกแซงตาม สิกขาบทที่ ๓ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)

สมจารี ผู้ประพฤติสม่ำเสมอ, ประพฤติถูกต้องเหมาะสม (มาคู่กับธรรมจารี)

สมโจร เป็นใจกับโจร

สมชีวิตา มีความเป็นอยู่พอเหมาะพอดีคือเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ฝืดเคืองนัก ไม่ฟูมฟายนัก (ข้อ ๔ ในทิฏฐธัมมิกัตถฯ ๔)

สมณะ ผู้สงบ หมายถึงนักบวชทั่วไป แต่ในพระพุทธศาสนา ท่านให้ความหมายจำเพาะ หมายถึงผู้ระงับบาปได้แก่ พระอริยบุคคล และผู้ปฏิบัติเพื่อระงับบาป ได้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอริยบุคคล

สมณคุณ คุณธรรมของสมณะ, ความดีที่สมณะควรมี

สมณโคดม คำที่คนทั่วไปหรือคนภายนอกพระศาสนา นิยมใช้เรียกพระพุทธเจ้า

สมณพราหมณ์ สมณะและพราหมณ์ (เคยมีการสันนิษฐานว่าอาจแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า พราหมณ์ผู้เป็นสมณะหรือ พราหมณ์ผู้ถือบวช แต่หลักฐานไม่เอื้อ)

สมณวัตต์ ดู สมณวัตร

สมณวัตร หน้าที่ของสมณะ, กิจที่พึงทำของสมณะ, ข้อปฏิบัติของสมณะ

สมณวิสัย วิสัยของสมณะ, ลักษณะที่เป็นอยู่ของสมณะ, ลักษณะที่เป็นอยู่ของผู้สงบ

สมณสัญญา ความสำคัญว่าเป็นสมณะ, ความกำหนดใจไว้ว่าตนเป็นสมณะ, ความสำนึกในความเป็นสมณะของตน

สมณสารูป ความประพฤติอันสมควรของสมณะ

สมณุทเทส, สมณุเทศ สามเณร

สมเด็จ เป็นคำยกย่อง หมายความว่ายิ่งใหญ่ หรือประเสริฐ

สมถะ ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑ ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)

สมถกัมมัฏฐาน กรรมฐานคือสมถะ, งานฝึกจิตให้สงบ ดู สมถะ

สมถขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๔ แห่งจุลวรรค ในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยวิธีระงับอธิกรณ์

สมถภาวนา การเจริญสมถกัมมัฏฐาน ทำจิตให้แน่วแน่เป็นสมาธิ ดู ภาวนา

สมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นยาน หมายถึงผู้เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อ

สมถวิธี วิธีระงับอธิกรณ์ ดู อธิกรณสมถะ

สมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนา

สมนุภาสนา การสวดสมนุภาสน์, สวดประกาศห้ามไม่ให้ถือรั้นการอันมิชอบ

สมบัติ ความถึงพร้อม, สิ่งที่ได้ที่ถึงด้วยดี, เงินทองของมีค่า, สิ่งที่มีอยู่ในสิทธิอำนาจของตน, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์, สมบัติ ๓ ได้แก่ มนุษยสมบัติ สมบัติในชั้นมนุษย์ สวรรคสมบัติ สมบัติ ในสวรรค์ (เทวสมบัติ หรือทิพยสมบัติก็เรียก) และนิพพานสมบัติ สมบัติคือนิพพาน

สมบัติ ความถึงพร้อม, ความสมบูรณ์, ความครบถ้วนของสังฆกรรม เช่นอุปสมบท เป็นต้น ที่จะทำให้สังฆกรรม นั้นถูกต้อง ใช้ได้ มีผลสมบูรณ์ มี ๔ คือ ๑. วัตถุสมบัติ วัตถุถึงพร้อม เช่นผู้อุปสมบทเป็นชายอายุครบ ๒๐ ปี ๒. ปริส- สมบัติ บริษัทคือที่ประชุมถึงพร้อม สงฆ์ครบองค์กำหนด ๓. สีมาสมบัติ เขตชุมนุมถึงพร้อม เช่น สีมามีนิมิตถูกต้อง ตามพระวินัย และประชุมทำในเขตสีมา ๔. กรรมวาจาสมบัติ กรรมวาจาถึงพร้อม สวดประกาศถูกต้องครบถ้วน (ข้อ ๔ อาจแยกเป็น ๒. ข้อ คือเป็น ๔ ญัตติสมบัติ ญัตติถึงพร้อม คือคำเผดียงสงฆ์ถูกต้อง ๕. อนุสาวนาสมบัติ อนุสาวนา ถึงพร้อม คำหารือตกลงถูกต้อง รวมเป็นสมบัติ ๕); เทียบ วิบัติ

สมบัติของอุบาสก ๕ คือ ๑. มีศรัทธา ๒. มีศีลบริสุทธิ์ ๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล ๔. ไม่แสวงหา เขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา ๕. ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา (ข้อ ๕ ตามแบบเรียนว่าบำเพ็ญ บุญแต่ในพุทธศาสนา)

สมผุส เป็นคำเฉพาะในโหราศาสตร์ หมายถึงการคำนวณชนิดหนึ่ง เกี่ยวกับโลกและดาวนพเคราะห์เล็งร่วมกัน และ ดู มัธยม

สมพงศ์ การร่วมวงศ์หรือตระกูลกัน, ร่วมวงศ์กันได้ ลงกันได้

สมเพช ในภาษาไทย ใช้ในความหมายว่า สลดใจ ทำให้เกิดความสงสารแต่ตามหลักภาษาตรงกับ สังเวช

สมโพธิ การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

สมโภค การกินร่วม; ดู กินร่วม

สมโภช งานฉลองในพิธีมงคลเพื่อความรื่นเริงยินดี

สมภพ การเกิด

สมมติ การรู้ร่วมกัน, การตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน; การที่สงฆ์ ประชุมกันตกลงมอบหมายหรือ แต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจหรือเป็นเจ้าหน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี สมมติภิกษุ เป็นภัตตุเทศก์ เป็นต้น; ในภาษาไทย ใช้ในความหมายว่า ตกลงกันว่า ต่างว่า

สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ คือโดยความตกลงหรือยอมรับร่วมกันของมนุษย์ ได้แก่พระราชา พระราชเทวี พระราช กุมาร (ข้อ ๑ ในเทพ ๓)

สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น ซึ่งเมือกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือ ขันธ์ ๕ เท่านั้น; คู่กับปรมัตถสัจจะ

สมรภูมิ ที่ร่วมตาย, สนามรบ

สมสีสี บุคคลผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต คือ บรรลุอรหัตตผล ในขณะเดียวกับที่สิ้นชีวิต; นี้เป็นความหมายหลัก ตามพระบาลี แต่ในมโนรถปูรณี อรรถกถาแห่งอังคุตตรนิกาย ให้ความหมายสมสีสี ว่าเป็นการสิ้นอาสวะพร้อมกับ สิ้นอย่างอื่นอันใดอันหนึ่งใน ๔ อย่างและแสดงสมสีสีไว้ ๔ ประเภทคือ ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับหายโรค เรียกว่าโรค สมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับที่เวทนา ซึ่งกำลังเสวยอยู่สงบระงับไปเรียกว่า เวทนาสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับการ สิ้นสุดของอิริยาบถอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า อิริยาบถสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต เรียกว่า ชีวิตสมสีสี สมสีสี ในความหมายหลักข้างต้น ก็คือ ชีวิตสมสีสี; อย่างไรก็ดีในอรรถกถาแห่งปุคคลปัญญัติ เป็นต้น แสดงสมสีสีไว้ ๓ ประเภท และอธิบายต่างออกไปบ้าง ไม่ขอนำมาแสดงในที่นี้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ

สมันตจักขุ จักษุรอบคอบ, ตาเห็นรอบ ได้แก่พระสัพพัญญุตญาณ อันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ เป็นคุณสมบัติพิเศษของ พระพุทธเจ้า (ข้อ ๕ ในจักขุ ๕)

สมันตปาสาทิกา ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ. ใกล้ จะถึง ๑๐๐๐ โดยปรึกษาอรรถกถาภาษาสิงหฬที่มีอยู่ก่อน ชื่อมหาปัจจริย และกุรุนที

สมัย คราว, เวลา; ลัทธิ; การประชุม; การตรัสรู้

สมาคม การประชุม, การเข้าร่วมพวก ร่วมคณะ

สมาจาร ความประพฤติที่ดี; มักใช้ในความหมายที่เป็นกลางๆ ว่า ความประพฤติ โดยมีคำอื่นประกอบขยายความ เช่น กายสมาจาร วจีสมาจาร ปาปสมาจาร เป็นต้น

สมาทปนา การให้สมาทาน หรือชวนให้ปฏิบัติคือ อธิบาย ให้เห็นว่าเป็นความจริง ดีจริง จนใจยอมรับที่จะนำไป ปฏิบัติ; เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการสอนที่ดี (ข้อก่อนคือสันทัสสนา, ข้อต่อไปคือ สมุตเตชนา)

สมาทาน การถือเอารับเอาเป็นข้อปฏิบัติ, การถือปฏิบัติ เช่น สมาทาน ศีล คือรับเอาศีลมาปฏิบัติ

สมาทานวัตร ดู ขึ้นวัตร

สมาทานวิรัติ การเว้นด้วยการสมาทาน คือ ได้สมาทานศีลไว้ก่อนแล้ว เมื่อประสบเหตุที่จะให้ทำความชั่ว ก็งดเว้นได้ ตามที่สมาทานนั้น (ข้อ ๒ ในวิรัติ ๓)

สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใด สิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับ อธิจิตตสิกขา; ดู เอกัคคตา, อธิจิตตสิกขา

สมาธิ ๒ คือ ๑. อุปจารสมาธิ สมาธิจวนเจียน หรือสมาธิเฉียดๆ ๒. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่

สมาธิ ๓ คือ ๑. สุญญตสมาธิ ๒. อนิมิตตสมาธิ ๓. อัปปณิหิตสมาธิ; อีกหมวดหนึ่งได้แก่ ๑. ขณิกสมาธิ ๒. อุปจาร- สมาธิ ๓. อัปปนาสมาธิ

สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักชวนให้ทำใจให้สงบตั้งมั่น (ข้อ ๗ ในกถาวัตถุ ๑๐)

สมาธิขันธ์ หมวดธรรมจำพวกสมาธิ เช่น ฉันทะ วิริยะ จิตตะ ชาคริยานุโยค กายคตาสติ เป็นต้น

สมานกาล เวลาปัจจุบัน

สมานฉันท์ มีความพอใจร่วมกัน,พร้อมใจกัน

สมานลาภสีมา แดนมีลาภเสมอกัน ได้แก่เขตที่สงฆ์ตั้งแต่ ๒ อาวาสขึ้นไปทำกติกากันไว้ว่า ลาภเกิดขึ้นในอาวาสหนึ่ง สงฆ์อีกอาวาสหนึ่งมีส่วนได้รับแจกด้วย; ดู กติกา ด้วย

สมานสังวาส มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมเสมอกัน, ผู้ร่วมสังวาส หมายถึงภิกษุสงฆ์ผู้สามัคคีร่วมอุโบสถสังฆกรรมกัน; เหตุให้ภิกษุผู้แตกกันออกไปแล้วกลับเป็นสมานสังวาสกันได้อีกมี ๒ อย่าง คือ ๑. ทำตนให้เป็นสมานสังวาสเอง คือ สงฆ์ปรองดองกันเข้าได้ หรือภิกษุนั้นแตกจากหมู่แล้วกลับเข้าหมู่เดิม ๒. สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรมที่ลงโทษภิกษุ นั้น แล้วรับเข้าสังวาสตามเดิม

สมานสังวาสสีมา แดนมีสังวาสเสมอกัน, เขตที่กำหนดความพร้อมเพรียงและสิทธิในการเข้าอุโบสถปวารณา และ สังฆกรรมด้วยกัน

สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอ หมายถึง การทำตัวให้เข้ากันได้ ด้วยการร่วมสุขร่วมทุกข์ ไม่ถือตัว มีความเสมอ ภาค และวางตัวเหมาะสม (ข้อ ๔ ในสังคหวัตถุ ๔)

สมานาจริยกะ ภิกษุผู้ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน

สมานาสนิกะ ผู้ร่วมอาสนะกัน หมายถึงภิกษุผู้มีพรรษารุ่นราวคราวเดียวกันแก่หรืออ่อนกว่ากันไม่ถึง ๓ พรรษา นั่ง ร่วมอาสนะเสมอกันได้ เทียบ อสมานาสนิกะ

สมานุปัชฌายกะ ภิกษุผู้ร่วมพระอุปัชฌายะเดียวกัน

สมาโนทก ผู้ร่วมน้ำ, ตามธรรมเนียมพราหมณ์ หมายถึง บุรพบิดรพ้นจากทวดขึ้นไปก็ดี ญาติผู้มิได้สืบสายตรงก็ดี ซึ่ง เป็นผู้จะพึงได้รับน้ำกรวด (คู่กับ สปิณฑะ)

สมาบัติ ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง; สมาบัติมีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติผลสมาบัติ อนุปุพพวิหารสมาบัติ เป็นต้น สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติกล่าวคือ สมาบัติ ๘ อันได้แก่ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ถ้าเพิ่มนิโรธสมาบัติ ต่อท้ายสมาบัติ ๘ นี้ รวมเรียกว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙

สมุจจยขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๓ ในจุลวรรคแห่งพระวินัยปิฎก ว่าด้วยวุฏฐานวิธีบางเรื่อง

สมุจเฉท การตัดขาด

สมุจเฉทปหาน การละกิเลสได้โดยเด็ดขาดด้วยอริยมรรค

สมุจเฉทวิมุตติ หลุดพ้นด้วยตัดขาดได้แก่ พ้นจากกิเลสด้วยอริยมรรค กิเลสเหล่านั้นขาดเด็ดไป ไม่กลับเกิดขึ้นอีก เป็นโลกุตตรวิมุตติ (ข้อ ๓ ในวิมุตติ ๕)

สมุจเฉทวิรัติ การเว้นด้วยตัดขาด หมายถึงการเว้นความชั่วได้เด็ดขาดของพระอริยเจ้า เพราะไม่มีกิเลสที่จะเป็นเหตุ ให้ทำความชั่วนั้นๆ (ข้อ ๓ ในวิรัติ ๓)

สมุฏฐาน ที่เกิด, ที่ตั้ง, เหตุ; ทางที่เกิดอาบัติ โดยตรงมี ๔ คือ ๑. ลำพังกาย ๒. ลำพังวาจา ๓. กายกับจิต ๔. วาจากับจิต และที่ควบกันอีก ๒ คือ ๑. กายกับวาจา ๒. กายกับวาจากับทั้งจิต

สมุตเตชนา การทำให้อาจหาญ คือ เร้าใจให้แกล้วกล้า ปลุกใจให้คึกคักเกิดความกระตือรือร้น มีกำลังใจแข็งขัน มั่นใจที่จะทำให้สำเร็จ ไม่กลัวเหน็ดเหนื่อยหรือยากลำบาก; เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการสอนที่ดี (ข้อก่อนคือสมาทปนา, ข้อสุดท้ายคือสัมปหังสนา)

สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา คือความทะยานอยาก เช่น อยากได้นั่นได้นี่ อยากเป็นโน่นเป็นนี่ อยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ (ข้อ ๒ ในอริยสัจ ๔) ดู ตัณหา

สโมธานปริวาส ปริวาสแบบประมวลเข้าด้วยกันคือ ปริวาสที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสต่างคราว มีจำนวนวันปิด ต่างกันบ้าง ไม่ต่างบ้าง ปรารถนาจะออกจากอาบัตินั้น จึงอยู่ปริวาสโดยประมวลอาบัติและราตรีเข้าด้วยกันจำแนก เป็น ๓ อย่างคือ ๑. โอธานสโมธาน สำหรับอาบัติมากกว่าหนึ่งแต่ปิดไว้นานเท่ากัน เช่น ต้องอาบัติ ๒ คราว ปิดไว้คราวละ ๕ วัน ประมวลเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาส ๕ วัน ๒. อัคฆสโมธาน สำหรับอาบัติมากกว่าหนึ่งและปิดไว้นานไม่เท่ากัน เช่น ต้องอาบัติ ๓ คราว ปิดไว้ ๓ วันบ้าง ๕ วันบ้าง ๗ วันบ้าง ประมวลเข้าด้วยกันอยู่ปริวาสเท่าจำนวนวันที่ มากที่สุด (คือ ๗ วัน) ๓. มิสสกสโมธาน สำหรับอาบัติที่ต่างวัตถุกัน (เช่น กายสังสัคคะก็มี ทุฏฐุลลวาจาก็มี สัญจริตตะก็มี) มีวันปิดเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง ประมวลเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาสรวมเป็นคราวเดียว

สยัมภู พระผู้เป็นเอง คือตรัสรู้ได้เอง โดยไม่มีใครสั่งสอน หมายถึงพระพุทธเจ้า

สยัมภูญาณ ญาณของพระสยัมภู, ปรีชาหยั่งรู้ของพระสยัมภู

สยามนิกาย 1. นิกายสยาม หมายถึงพวกพระไทย เรียกชื่อโดยสัญชาติ 2. ดู สยามวงศ์

สยามวงศ์ ชื่อนิกายพระสงฆ์ลังกาที่บวชจากพระสงฆ์สยาม (คือพระสงฆ์ไทย) ในสมัยอยุธยา ซึ่งพระอุบาลีเป็นหัวหน้าไปประดิษฐาน ใน พ.ศ. ๒๒๙๖

สรณะ ที่พึ่ง, ที่ระลึก

สรณคมน์ การถึงสรณะ, การยึดเอาเป็นที่พึ่ง, การยึดเอาเป็นที่ระลึก ดู ไตรสรณคมน์, รัตนตรัย

สรณคมนอุปสัมปทา วิธีอุปสมบทด้วยการเปล่งวาจาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะเป็นวิธีที่ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกใช้อุปสมบทกุลบุตรในตอนปฐมโพธิกาล ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาต การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว การบวชด้วยสรณคมน์ ก็ใช้สำหรับบรรพชาสามเณรสืบมา ติสรณคมนูป สัมปทา ก็เรียก; ดู อุปสัมปทา

สรณตรัย ที่พึ่งทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ดู รัตนตรัย

สรภังคะ นามของศาสดาคนหนึ่งในอดีต เป็นพระโพธิสัตว์ มีคุณสมบัติคือ เป็น ผู้ปราศจากราคะในกามทั้งหลาย ได้ ประกาศคำสอน มีศิษย์จำนวนมากมาย

สรภัญญะ ทำนองสวดคำฉันท์

สรร เลือก, คัด

สรรค์ สร้าง

สรรพ ทั้งปวง, ทั้งหมด, ทุกสิ่ง

สรรพางค์ ทุกๆ ส่วนแห่งร่างกาย, ร่างกายทุกๆ ส่วน

สรรเพชญ ผู้รู้ทั่ว, ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง หมายถึงพระพุทธเจ้า (=สัพพัญญู)

สรีระ ร่างกาย

สรีรยนต์ กลไกคือร่างกาย

สรีราพยพ ส่วนของร่างกาย, อวัยวะในร่างกาย

สลาก เครื่องหมายหรือวัตถุที่ใช้ในการเสี่ยงโชค เช่น สลากภัต ก็ได้แก่อาหารที่เขาถวายสงฆ์โดยเขียนชื่อเจ้าภาพลง ในกระดาษใบละชื่อ ม้วนรวมคละกันเข้าแล้วให้ภิกษุทั้งหลายจับตามลำดับพรรษากันมา หรือเขียนเลขหมายไว้ที่ของ จำนวนหนึ่ง ภิกษุจับได้สลากของผู้ใดก็ได้รับอาหารของทายกนั้น; ฉลาก ก็เรียก

สลากภัต อาหารถวายตามสลาก หมายเอาสังฆภัตอันทายกเข้ากันถวาย ต่างคนต่างจัดมา เป็นของต่างกัน เขามักทำใน เทศกาลที่ผลไม้เผล็ดแล้วถวายพระด้วยวิธีจับสลาก; ดู สลาก

ส่วนข้างปลายทั้งสอง อดีต กับอนาคต

ส่วนท่ามกลาง ในประโยคว่า “ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง” ปัจจุบัน

สวนานุตตริยะ การสดับที่ยอดเยี่ยม เช่น ได้สดับธรรมของพระพุทธเจ้า (ข้อ ๒ ในอนุตตริยะ ๖)

สวรรค์ แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วยกามคุณทั้ง ๕, โลกของเทวดา ตามปกติหมายถึงกามาพจรสวรรค์ (สวรรค์ที่ยังเกี่ยว ข้องกาม) ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี

สวรรคต ไปสู่สวรรค์ คือ ตาย (ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จ พระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น)

สวัสดิ์, สวัสดี ความดีความงาม, ความเจริญรุ่งเรือง, ความปลอดโปร่ง, ความปลอดภัยไร้อันตราย

สวัสดิมงคล มงคล คือ ความสวัสดี

สวากขาตธรรม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว คือ ตรัสได้จริงไม่วิปริต ไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด

สวากขาตนิยยานิกธรรม ธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว นำผู้ประพฤติตามให้ออกไปจากทุกข์

สวาธยาย ดู สาธยาย

สวิญญาณกะ สิ่งที่มีวิญญาณ ได้แก่ สัตว์ต่างๆ เช่น แพะ แกะ สุกร โค กระบือ เป็นต้น เทียบ อวิญญาณกะ

สสังขารปรินิพพายี พระอนาคามีผู้จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียร ดู อนาคามี

สสังขาริก “เป็นไปกับด้วยการชักนำ”, มีการชักนำ ใช้แก่จิตที่คิดดีหรือชั่วโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก มิใช่ เริ่มขึ้นเอง และมีกำลังอ่อน ตรงข้ามกับ อสังขาริก ซึ่งแปลว่าไม่มีการชักนำ คือ จิตคิดดีหรือชั่ว โดยเริ่มขึ้นเอง มิใช่ ถูกกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก จึงมีกำลังมาก

สหคตทุกข์ ทุกข์ในด้วยกัน, ทุกข์กำกับได้แก่ทุกข์ที่พ่วงมาด้วยกับผลอันไพบูลย์ มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นต้น แต่ ละอย่างย่อมพัวพันด้วยทุกข์

สหชาต, สหชาติ  “ผู้เกิดร่วมด้วย” หมายถึง บุคคล (ตลอดจนสัตว์และสิ่งของ) ที่เกิดร่วมวันเดือนปีเดียวกันอย่างเพลา หมายถึง ผู้เกิดร่วมปีกัน; ตำนาน กล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูตินั้น มีสหชาต ๗ คือ พระมารดาของเจ้าชายราหุล (เจ้าหญิงยโสธราหรือพิมพา) พระอานนท์ นายฉันนะ อามาตย์กาฬุกายี ม้ากัณฐกะ ต้นมหาโพธิ์ และขุมทรัพย์ทั้ง ๔ (นิธิกุมภี)

สหชาตธรรม ธรรมที่เกิดพร้อมกัน

สหชีวินี คำเรียกแทนคำว่า ลัทธิวิหารินีของภิกษุณี ทั้ง ๒ คำนี้แปลว่าผู้อยู่ร่วมตรงกับสัทธิวิหาริกในฝ่ายภิกษุ; ศิษย์ ของปวัตตินี

สหธรรมิก ผู้มีธรรมร่วมกัน, ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน แสดงไว้ในคัมภีร์มหานิทเทส แห่งพระสุตตันตปิฎก มี ๗ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา; ในสัตตาหกรณียะ หมายถึง ๕ อย่างแรก เท่านั้น เรียกว่า สหธรรมิก ๕ (คัมภีร์ฝ่ายวินัยทั่วไปก็มักหมายเฉพาะจำนวน ๕)

สหธรรมิกวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องภิกษุถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม เป็นต้น เป็นวรรคที่ ๘ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ มี ๑๒ สิกขาบท

สหรคต ไปด้วยกัน, กำกับกัน, ร่วมกัน

สหวาส อยู่ร่วม เป็นประการหนึ่งในรัตติเฉท คือเหตุขาดราตรีแห่งการประพฤติมานัตและการอยู่ปริวาสหมายถึง การอยู่ร่วมในชายคาเดียวกับปกตัตตภิกษุ ดู รัตติเฉท

สหเสยยสิกขาบท สิกขาบทเกี่ยวกับการนอนร่วมมี ๒ ข้อ ข้อหนึ่งปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัม- บันเกิน ๒-๓ คืน อีกข้อหนึ่ง ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วม (คือนอนในที่มุงที่บังเดียวกัน) กับหญิงแม้ในคืนแรก (ข้อ ๕ และ ๖ ในมุสาวาทวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)

สหไสย การนอนด้วยกัน, การนอนร่วม

สหัมบดี ชื่อพระพรหมผู้อาราธนาพระพุทธเจ้าให้แสดงธรรมโปรดสัตว์

สหาย เพื่อน, เพื่อนร่วมการงาน (แปลตามศัพท์ว่า ผู้ไปด้วยในกิจทั้งหลายหรือผู้มีความเสื่อมและความเจริญร่วมกัน)

สองต่อสอง สองคนโดยเฉพาะ ไม่มีผู้อื่นอยู่ด้วย, ตัวต่อตัว

ส่อเสียด ยุให้แตกกัน คือฟังคำของข้างนี้แล้ว เก็บเอาไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายข้างนี้ ฟังคำของข้างโน้นแล้วเก็บเอา มาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายข้างโน้น ดู ปิสุณาวาจา

สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ คือนิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิต อยู่, นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ; เทียบ อนุปาทิเสสนิพพาน

สอุปาทิเสสบุคคล บุคคลผู้ยังมีเชื้อกิเลสเหลืออยู่, ผู้ยังไม่สิ้นอุปาทานได้แก่ พระเสขะ คือ พระอริยบุคคลทั้งหมด ยกเว้นพระอรหันต์; เทียบ อนุปาทิเสสบุคคล

สักกะ 1. พระนามจอมเทพ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกกันว่า ท้าวสักกะหรือพระอินทร์; ดู วัตรบท ๗ 2. ชื่อดงไม้ที่ อยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ แถบเขาหิมาลัยในเขตป่าหิมพานต์ 3. ชื่อชนบทที่ตั้งอยู่ในดงไม้สักกะ ดู สักกชนบท

สักกชนบท ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปตอนเหนือ นครหลวงชื่อกบิลพัสดุ์ เป็นชาติภูมิของพระพุทธเจ้ามีการปกครอง โดยสามัคคีธรรม มีประวัติสืบมาแต่สมัยพระเจ้าโอกกากราช บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล

สักกรนิคม เป็นนิคมหนึ่งอยู่ในสักกชนบท; สักขรนิคม ก็เรียก

สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่นเห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)

สักการ, สักการะ เคารพนับถือบูชา, เครื่องแสดงความเคารพบูชา

สักขิสาวก สาวกที่ทันเห็นองค์พระพุทธเจ้า, พระสุภัททะผู้เคยเป็นปริพาชก เป็นสักขิสาวกองค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้า

สักยปุตติยะ ผู้เป็นเหล่ากอแห่งพระศากยบุตร (ศากยบุตร หรือ สักยปุตต หมายถึงพระพุทธเจ้า), โดยใจความคือ ผู้ เป็นลูกพระพุทธเจ้า ได้แก่พระภิกษุ (ภิกษุณีเรียกว่าสักยธิดา)

สักยราช กษัตริย์วงศ์ศากยะ, พระราชาวงศ์ศากยะ

สังกัจฉิกะ ผ้ารัดหรือโอบรักแร้ เป็นจีวรอย่างหนึ่งในจีวร ๕ ของภิกษุณี คือสังฆาฏิ ผ้าทาบ ๑ อุตตราสงค์ ผ้าห่ม ๑ อันตรวาสก สบง๑ สังกัจฉิกะ ผ้ารัดหรือผ้าโอบรักแร้ ๑ อุทกสาฏิกา ผ้าอาบ ๑ (มากกว่าของภิกษุณีซึ่งมีจำนวนเพียง ๓ อย่างข้างต้น)

สังกิเลส เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง

สังขตะ สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยแต่งขึ้น ได้แก่สภาพที่เกิดแต่เหตุทั้งปวง, สังขตธรรม; ตรงข้ามกับ อสังขตะ

สังขตธรรม ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ตรงกับสังขารในคำว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น; ตรงข้ามกับ อสังขตธรรม

สังขตลักษณะ ลักษณะแห่งสังขตธรรม, ลักษณะของปรุงแต่ง มี ๓ อย่าง ๑. ความเกิดขึ้น ปรากฏ ๒. ความดับสลาย ปรากฏ ๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปร ปรากฏ

สังขาร 1. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น

2. สภาพที่ปรุงแต่งใจ ให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล ที่ กลางๆ เป็นอัพยากฤตได้แก่เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือเจตสิกทั้งปวงเว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรง กับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่ารูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้ เป็นต้น; อธิบายอีกปริยายหนึ่งสังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่าง คือ ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา ๓. จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่ง การกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา

3. สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่วิตกและวิจาร ๓. จิตต- สังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่สัญญาและเวทนา

สังขาร ๒ คือ ๑. อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมครอบครอง ๒. อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ครอบครอง, โดยปริยายแปลว่า สังขารที่มีใจครอง และสังขารที่ไม่มีใจครอง

สังขารทุกข์ ทุกข์เพราะเป็นสังขาร คือ เพราะเป็นสภาพอันถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น จึงต้องผันแปรไปตามเหตุปัจจัยเป็น สภาพอันปัจจัยบีบคั้นขัดแย้ง คงทนอยู่มิได้

สังขารโลก โลกคือสังขาร ได้แก่ชุมนุมแห่งสังขารทั้งปวงอันต้องเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย

สังขารุเปกขาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ถึงขั้นเกิดความวางเฉยในสังขาร, ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือรู้ เท่าทันสภาวะของสังขารว่าที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นต้นนั้น มันเป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงเลิกเบื่อหน่าย เลิกคิดหาทางแต่จะหนี วางใจเป็นกลางต่อมันได้เลิกเกี่ยวเกาะและให้ญาณแล่นมุ่งสู่นิพพานอย่างเดียว (ข้อ ๘ ใน วิปัสสนาญาณ ๙)

สังเขป ย่อ, การย่อ, ใจความ, เค้าความ

สังคหวัตถุ เรื่องสงเคราะห์กัน, คุณเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้, หลักการสงเคราะห์ คือ ช่วยเหลือกันยึด เหนี่ยวใจกันไว้ และเป็นเครื่องเกาะกุมประสานโลกคือสังคมแห่งหมู่สัตว์ไว้ ดุจสลักเกาะยึดรถที่กำลังแล่นไปให้คง เป็นรถและวิ่งแล่นไปได้ มี ๔ อย่าง คือ ๑. ทาน การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ๒. ปิยวาจา พูดจาน่ารักน่านิยมนับถือ ๓. อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์ ๔. สมานัตตตา ความมีตนเสมอ คือ ทำตัวให้เข้ากันได้ เช่น ไม่ถือตัว ร่วมสุขร่วม ทุกข์กัน เป็นต้น

สังคายนา การสวดพร้อมกัน, การร้อยกรองพระธรรมวินัย, การประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่ง สอนของพระพุทธเจ้าวางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียว; สังคายนาครั้งที่ ๑ ถึง ๕ มีดังนี้:

ครั้งที่ ๑ ปรารภเรื่องสุภัททภิกษุผู้บวชเมื่อแก่กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย และปรารภที่จะทำให้ธรรมรุ่งเรือง อยู่สืบไป พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน และเป็นผู้ถาม พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาพระธรรมประชุมสังคายนาที่ถ้ำสัตตบรรณคูหาภูเขาเวภารบรรพต เมืองราชคฤห์ เมื่อหลังพุทธ ปรินิพพาน ๓ เดือน โดยพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภ์ สิ้นเวลา ๗ เดือนจึงเสร็จ

ครั้งที่ ๒ ปรารภพวกภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการนอกธรรมนอกวินัย พระยศกากัณฑกบุตรเป็นผู้ชัก ชวน ได้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามี เป็นผู้วิสัชนา ประชุมทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี เมื่อ พ.ศ. ๑๐๐ โดยพระเจ้ากาลาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๘ เดือนจึงเสร็จ

ครั้งที่ ๓ ปรารภเดียรถีย์มากมายปลอมบวชในพระศาสนาเพราะมีลาภสักการะเกิดขึ้นมาก พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ รูป มีพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน ประชุมทำที่อโศการามเมืองปาฏลีบุตร เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๔ (พ.ศ. ๒๑๘ เป็นปีที่พระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์) โดยพระเจ้าอโศก หรือ ศรีธรรมาโศกราชเป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๙ เดือนจึงเสร็จ

ครั้งที่ ปรารภจะให้พระศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกาทวีป พระสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ รูป มีพระมหินทเถระ เป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอริฏฐะเป็นผู้วิสัชนา ประชุมทำที่ถูปาราม เมืองอนุราธบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖ โดยพระ เจ้าเทวานัมปิยติสสะ เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๑๐ เดือน จึงเสร็จ

ครั้งที่ ปรารภพระสงฆ์แตกกันเป็น ๒ พวกคือ พวกมหาวิหารกับพวกอภัยคีรีวิหาร และคำนึงว่าสืบไปภาย หน้ากุลบุตรจะถอยปัญญา ควรจารึกพระธรรมวินัยลงในใบลาน พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ประชุมกันสวดซ้อมแล้วจาร พุทธพจน์ลงในใบลาน ณ อาโลกเลณสถาน ในมลยชนบท ในลังกาทวีป เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ (ว่า ๔๓๖ ก็มี) โดยพระเจ้า วัฏฏคามณีอภัย เป็นศาสนูปถัมภก์(ครั้งที่ ๔ และ ๕ ไม่เป็นที่รับรองทั่วไป)

สังคีติ 1. การสังคายนา ดู สังคายนา 2. ในคำว่า “บอกสังคีติ” ซึ่งเป็นปัจฉิมกิจอย่างหนึ่งของการอุปสมบท ท่านสันนิษฐานว่า หมายถึงการประมวลบอกอย่างอื่นนอกจากที่ระบุไว้ เช่น สีมาหรืออาวาสที่อุปสมบท อุปัชฌายะ กรรมวาจาจารย์ จำนวนสงฆ์

สังคีติกถา ถ้อยคำที่กล่าวถึงเรื่องสังคายนา,แถลงความเรื่องสังคายนา

สังคีติปริยาย บรรยายเรื่องการสังคายนา,การเล่าเรื่องการสังคายนา

สังฆกรรม งานของสงฆ์,กรรมที่สงฆ์พึงทำ,กิจที่พึงทำโดยที่ประชุมสงฆ์มี ๔ คือ ๑. อปโลกนกรรม กรรมที่ทำเพียง ด้วยบอกกันในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้งญัตติและไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น แจ้งการลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ ๒. ญัตติ- กรรม กรรมที่ทำเพียงตั้งญัตติไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น อุโบสถและปวารณา ๓. ญัตติทุติยกรรรม กรรมที่ทำด้วยตั้ง ญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนหนึ่ง เช่น สมมติสีมา ให้ผ้ากฐิน ๔. ญัตติจตุตถกรรม กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุ- สาวนา ๓ หน เช่น อุปสมบท ให้ปริวาส ให้มานัต

สังฆการี เจ้าหน้าที่ผู้ทำการสงฆ์,เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับสงฆ์ในงานหลวง,เจ้าหน้าที่ผู้เป็นพนักงานในการพิธี สงฆ์ มีมาแต่โบราณสมัยอยุธยาสังกัดกรมสังฆการี ซึ่งรวมอยู่ด้วยกันกับกรมธรรมการเรียกรวมว่ากรมธรรมการสังฆ- การี เดิมเรียกว่า สังกะรี หรือสังการี เปลี่ยนเรียกสังฆการีในรัชกาลที่ ๔ ต่อมาเมื่อตั้งกระทรวงธรรมการใน พ.ศ. ๒๔๓๒ กรมธรรมการสังฆการีเป็นกรมหนึ่งในสังกัดของกระทรวงนั้น จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๔ กรมสังฆการีจึงแยกเป็น กรมต่างหากกันกับกรมธรรมการ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๖ กรมสังฆการีถูกยุบลงเป็นกองสังกัดในกรมธรรมการ กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาอีกใน พ.ศ. ๒๔๘๔ กรมธรรมการเปลี่ยนชื่อเป็นกรมการศาสนา และในคราวท้ายสุด พ.ศ.๒๕๑๕ กองสังฆการีได้ถูกยุบเลิกไป และมีกองศาสนูปถัมภ์ขึ้นมาแทน ปัจจุบันจึงไม่มีสังฆการี;บางสมัยสังฆ การีมีอำนาจหน้าที่กว้างขวาง มิใช่เป็นเพียงเจ้าพนักงานในราชพิธีเท่านั้น แต่ทำหน้าที่ชำระอธิกรณ์พิจารณาโทษแก่ พระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดสิกขาบทประพฤติผิดธรรมวินัยด้วย

สังฆคารวตา ดู คารวะ

สังฆคุณ คุณของพระสงฆ์ (หมายถึงสาวกสงฆ์ หรือ อริยสงฆ์) มี ๙ คือ ๑.สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี ๒. อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง ๓. ญายปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง ๔. สามีจิปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร (ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา ได้แก่ คู่บุรุษ ๔ ตัวบุคคล ๘ เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้) ๕. อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่ของคำนับคือควรรับของที่เขา นำมาถวาย ๖. ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ ๗.ทกฺขิเณยฺโย เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา คือควรแก่ของทำบุญ ๘. อญฺ ชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คือควรแก่การกราบไหว้ ๙. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตตํ โลกสฺส เป็นนาบุญอันยอด เยี่ยมของโลก คือเป็นแหล่งเพาะปลูกและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก

สังฆเถระ ภิกษุผู้เป็นเถระในสงฆ์คือ เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์,ภิกษุผู้มีพรรษามากกว่าภิกษุอื่นในชุมนุมนั้นทั้งหมด

สังฆทาน ทานเพื่อสงฆ์,การถวายแก่สงฆ์ คือ ถวายเป็นกลางๆ ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เช่น จะทำพิธีถวายของที่มีจำนวนจำกัดพึงแจ้งแก่ทางวัดให้จัดพระไปรับตามจำนวนที่ต้องการ หัวหน้าสงฆ์จัดภิกษุใดไปพึงทำใจว่า ท่านมารับในนามของสงฆ์ หรือเป็นผู้แทนของสงฆ์ทั้งหมด ไม่พึงเพ่งเล็งว่าเป็นบุคคลใด คิดตั้งใจแต่ว่า จะถวายอุทิศแก่สงฆ์;ในพิธีพึงจุดธูปเทียนบูชาพระ อาราธนาศีล รับศีล จบแล้วตั้งนโม ๓ จบ กล่าวคำถวายเสร็จแล้วประเคนของ และเมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา พึงกรวดน้ำ รับพร เป็นเสร็จพิธี, คำถวายสังฆทานว่าดังนี้:อิมานิ มยํ ภนฺเต, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โนภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหา กํ,ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, แปลว่า : ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ อนึ่ง ถ้าเป็นสังฆทานประเภทอุทิศผู้ตาย เรียกว่า มตกภัต ถึงเปลี่ยนแลงคำถวายที่พิมพ์ตัวเอนไว้คือ ภตฺตานิ เป็น มตกภตฺตานิ, อมฺหากํ เป็น อมฺหากญฺเจว มาตาปิตุอาทีนญฺจ ญาตกานํ กาลกตานํ; ภัตตาหาร เป็น่ มตกภัตตาหาร, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็น แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีมารดา บิดา เป็นต้น ผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย

สังฆนวกะ ภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์ คือบวชภายหลังภิกษุทั้งหมดในชุมนุมสงฆ์นั้น

สังฆภัต อาหารถวายสงฆ์ หมายถึงอาหารที่เจ้าของนำมา หรือส่งมาถวายสงฆ์ในอารามพอแจกทั่วกัน

สังฆเภท ความแตกแห่งสงฆ์,การทำสงฆ์ให้แตกจากกัน (ข้อ ๕ ในอนันตริยกรรม ๕ ), กำหนดด้วยไม่ทำอุโบสถ ปวารณา และทำสังฆกรรมด้วยกัน

สังฆเภทขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๗ แห่งจุลวรรคในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องพระเทวทัตทำลายสงฆ์และเรื่องควรทราบ เกี่ยวกับสังฆเภท สังฆสามัคคี

สังฆมิตตา พระราชบุตรีของพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงผนวชเป็นภิกษุณีและไปประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์ที่ลังกาทวีป พร้อมทั้งนำกิ่งพระศรีมหาโพธิไปถวายแก่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะด้วย

สังฆราชี ความร้าวรานแห่งสงฆ์ คือจะแตกแยกกัน แต่ยังไม่ถึงกับแยกทำอุโบสถปวารณาและสังฆกรรมต่างหากกัน เทียบ สังฆเภท

สังฆสัมมุขตา ความเป็นต่อหน้าสงฆ์หมายความว่า การระงับอธิกรณ์นั้นกระทำในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ซึ่งภิกษุผู้เข้า ประชุมมีจำนวนครบองค์เป็นสงฆ์ ได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมาแล้ว และผู้อยู่พร้อมหน้ากันนั้นไม่คัดค้าน

สังฆสามัคคี ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์

สังฆอุโบสถ อุโบสถของสงฆ์คือ การทำอุโบสถของสงฆ์ที่ครบองค์กำหนด คือ มีภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป สวดปาฏิ- โมกข์ได้ตามปกติ (ถ้ามีภิกษุอยู่ ๒-๓ รูป ต้องทำคณอุโบสถ คือ อุโบสถของคณะ ซึ่งเป็น ปาริสุทธิอุโบสถ คืออุโบ- สถที่ทำโดยบอกความบริสุทธิ์ของกั้นและกัน ถ้ามีภิกษุรูปเดียว ต้องทำบุคคลอุโบสถ คือ อุโบสถของบุคคล ซึ่งเป็น อธิษฐานอุโบสถ คือ อุโบสถที่ทำโดยการอธิษฐานกำหนดใจว่าวันนั้นเป็นวันอุโบสถ) ดู อุโบสถ

สังฆาฏิ ผ้าทาบ,ผ้าคลุมกันหนาวที่พระใช้ทาบบนจีวร เป็นผ้าผืนหนึ่งในสามผืนที่เรียกว่า ไตรจีวร

สังฆาทิเสส ชื่อหมวดอาบัติหนักรองจากปาราชิก ต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้ คือเป็นครุกาบัติ (อาบัติหนัก) แต่ยังเป็น สเต- กิจฉา (แก้ไขหรือเยียวยาได้), ตามศัพท์ สังฆาทิเสส แปลว่า หมวดอาบัติ อันจำปรารถนาสงฆ์ในกรรมเบื้องต้น และกรรมที่เหลือ, หมายความว่า วิธีการที่จะออกจากอาบัตินี้ ต้องอาศัยสงฆ์ ตั้งแต่ต้นไปจนตลอด กล่าวคือ เริ่มต้นจะอยู่ปริวาส ก็ต้องขอปริวาสจากสงฆ์ ต่อจากนั้น จะประพฤติมานัตก็ต้องอาศัยสงฆ์เป็นผู้ให้ ถ้ามีมูลายปฏิกัสสนาก็ต้องสำเร็จด้วยสงฆ์อีก และท้ายที่สุดก็ต้องขออัพภานจากสงฆ์, สิกขาบทที่ภิกษุละเมิดแล้ว จะต้องอาบัติสังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ คำว่าสังฆาทิเสส ใช้เป็นชื่อเรียกสิกขาบท ๑๓ ข้อนี้ด้วย

สังฆาทิเสสภัณฑ์ ตอนอันว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส, ในพระวินัยปิฎก ท่านเรียกว่าเตรสกัณฑ์ (ตอนว่าด้วยสิกขาบท ๑๓) อยู่ในคัมภีร์มหาวิภังค์เล่มแรก

สังฆานุสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ (ข้อ ๓ ในอนุสติ ๑๐ ) ดู สังฆคุณ

สังฆิกาวาส อาวาสที่เป็นของสงฆ์,อาวาสของสงฆ์

สังยมะ ดู สัญญมะ

สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่างคือ ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่ ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีล พรต ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้อง สูง ๕ ได้แก่ ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๘. มานะ ความถือ ว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่ ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง, พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระ สกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ละ สังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ, ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑. กามราคะ ๒. ปฏิฆะ ๓. มานะ ๔. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕. วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗. ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘. อิสสา (ความริษยา) ๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา

สังวร ความสำรวม,การระวังปิดกั้นบาป อกุศล มี ๕ อย่าง คือ ๑. ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในปาฏิโมกข์ (บางแห่งเรียก สีลสังวร สำรวมในศีล) ๒. สติสังวร สำรวมด้วยสติ ๓. ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ ๔. ขันติสังวร สำรวมด้วยขันติ ๕. วิริยสังวร สำรวมด้วยความเพียร

สังวรปธาน เพียรระวัง คือ เพียรระวังบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น (ข้อ ๑ ในปธาน ๔)

สังวรปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยสังวร,ความสำรวมที่เป็นความบริสุทธิ์ หรือเป็นเครื่องทำให้บริสุทธิ์ หมายถึง ศีลที่ ประพฤติถูกต้อง เป็นไปเพื่อความไม่มีวิปฏิสาร เป็นต้น ตามลำดับจนถึงพระนิพพาน จัดเป็น อธิศีล

สังวรรณนา พรรณนาด้วยดี, อธิบายความ

สังวรสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยสังวร,ความสำรวมที่เป็นเครื่องทำให้บริสุทธิ์หมายถึง อินทรียสังวร

สังวาส ธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมกันของสงฆ์ ได้แก่การทำสังฆกรรมร่วมกัน สวดปาฏิโมกข์ร่วมกัน มีสิกขาบทเสมอ กัน เรียกง่ายๆ ว่า ทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน คือ เป็นพวกเดียวกัน อยู่ด้วยกันได้ มีฐานะและสิทธิเสมอกัน; ใน ภาษาไทย ใช้หมายถึง ร่วมประเวณี ด้วย

สังวาสนาสนา ให้ฉิบหายจากสังวาส หมายถึงการทำอุกเขปนียกรรมยกเสียจากสังวาส คือทำให้หมดสิทธ์ที่จะอยู่ร่วม กับสงฆ์

สังเวคกถา ถ้อยคำแสดงความสลดใจให้เกิดความสังเวชคือเร้าเตือนสำนึก

สังเวควัตถุ เรื่องที่น่าสลดใจ, เรื่องที่พิจารณาแล้วจะทำให้เกิดความสังเวช คือเร้าเตือนสำนึกให้มีจิตใจน้อมมาในทาง กุศล เกิดความไม่ประมาทและมีกำลังใจที่จะทำความเพียรปฏิบัติธรรมต่อไป เช่น ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และอาหารปริเยฏฐิทุกข์ คือทุกข์ในการหากิน เป็นต้น

สังเวช ความสลดใจ, ความกระตุ้นให้คิด, ความรู้สึกเตือนสำนึก; ในทางธรรมความรู้สึกสลดใจที่ทำให้คิดได้ ทำให้จิตใจหันมานึกถึงสิ่งที่ดีงาม เกิดความไม่ประมาท เพียรพยายามทำสิ่งที่เป็นกุศลต่อไป จึงจะเรียกว่า สังเวช ความสลดใจ แล้วหงอยหรือหดหู่เสีย ไม่เรียกว่าเป็นความสังเวช

สังเวชนียสถาน สถานเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช, ที่ที่ให้เกิดความสังเวช มี ๔ คือ ๑. ที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือ อุทยาน ลุมพินี ปัจจุบันเรียกลุมพินีหรือรุมมินเด (Lumbini หรือ Rummindei) ๒. ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ควงโพธิ์ ที่ตำบล พุทธคยา (Buddha Gaya หรือ Bodh-Gaya) ๓. ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันเรียก สารนาถ ๔. ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน คือที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา หรือกุสินคร บัดนี้เรียกกาเซีย (Kasia หรือ Kusinara ) ดู สังเวช ด้วย

สังเวย บวงสรวง, เซ่นสรวง (ใช้กับผีและเทวดา)

สังสารวัฏ ภพที่เวียนเกิดเวียนตาย, การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลก; สังสารวัฏฏ์ หรือ สงสารวัฏ ก็เขียน

สังสารสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยการเวียนว่ายตายเกิด คือ ลัทธิของมักขลิโคสาล ซึ่งถือว่า สัตว์ทั้งหลาย ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อยๆ ก็จะค่อยบริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ไปเอง การปฏิบัติธรรม ไร้ประโยชน์ ไม่อาจช่วยอะไรได้

สังสุทธคหณี มีครรภ์ที่ถือปฏิสนธิสะอาดหมดจดดี

สังเสทชะ สัตว์เกิดในของชื้นแฉะโสโครก เช่น หมู่หนอน (ข้อ ๓ ในโยนิ ๔)

สังหาร การทำลาย, ฆ่า, ล้างผลาญชีวิต

สังหาริมะ สิ่งที่เคลื่อนที่ได้ คือนำไปได้เช่น สัตว์และสิ่งของที่ตั้งอยู่ลอยๆ ไม่ติดที่ ได้แก่ เงิน ทอง เป็นต้น เทียบ อสังหาริมะ

สังหาริมทรัพย์ ทรัพย์เคลื่อนที่ได้ เช่น สัตว์เลี้ยง เตียง ตั่ง ถ้วย ชาม เป็นต้น คู่กับ อสังหาริมทรัพย์

สัจจะ 1.ความจริง มี ๒ คือ ๑. สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น คน พ่อค้า ปลา แมว โต๊ะ เก้าอี้ ๒. ปรมัตถสัจจ จริง โดยปรมัตถ์ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 2. ความจริงคือ จริงใจ ได้แก่ ซื่อสัตย์ จริงวาจา ได้แก่พูดจริง และ จริงการ ได้แก่ทำจริง (ข้อ ๑. ในฆราวาสธรรม ๔, ข้อ ๒ ในอธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๔ ในเบญจธรรม, ข้อ ๗ ใน บารมี ๑๐)

สัจจญาณ ปรีชากำหนดรู้ความจริงความหยั่งรู้สัจจะ คือรู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่างตามภาวะที่เป็นจริง ว่านี้ทุกข์ นี้ทุกข- สมุทัย เป็นต้น (ข้อ ๑ ในญาณ ๓)

สัจธรรม, สัจจธรรม ธรรมที่จริงแท้, หลักสัจจะ เช่น ในคำว่า อริยสัจธรรมทั้งสี่

สัจจานุโลมญาณ ดู สัจจานุโลมิกญาณ

สัจจานุโลมิกญาณ ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจ, ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ, อนุโลมญาณ ก็เรียก (ข้อ ๙. ในวิปัสสนาญาณ ๙)

สัจฉิกรณะ การทำให้แจ้ง, การประสบ, การเข้าถึง, การบรรลุ เช่น ทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน คือ บรรลุนิพพาน

สัญจร เที่ยวไป, เดินไป, ผ่านไป, ผ่านไปมา, เดินทางกันไปมา

สัญจริตตะ การชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน เป็นชื่อสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ ที่ห้ามการชักสื่อ

สัญเจตนา ความจงใจ,ความแสวงหาอารมณ์, เจตนาที่แต่งกรรม, ความคิดอ่าน; มี ๓ คือ กายสัญเจตนา วจีสัญเจตนา และมโนสัญเจตนา; ดู สังขาร ๓; มี ๖ คือ รูปสัญเจตนา สัทท- คันธ- รส- โผฏฐัพพ- และธัมมสัญเจตนา, ดู ปิยรูปสาตรูป

สัญเจตนิกา มีความจงใจ, มีเจตนา, เป็นชื่อสังฆาทิเสสสิกขาบทที่หนึ่ง ข้อที่จงใจทำอสุจิให้เคลื่อน เรียกเต็มว่า สัญ- เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ

สัญชัย ชื่อปริพาชกผู้เป็นอาจารย์ใหญ่คนหนึ่ง ในพุทธกาล ตั้งสำนักสอนลัทธิอยู่ในกรุงราชคฤห์ มีศิษย์มาก พระสารี- บุตรและพระโมคคัลลานะเคยบวชอยู่ในสำนักนี้ ภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกพระสารีบุตรและพระโมค- คัลลานะพร้อมด้วยศิษย์ ๒๕๐ คน พากันไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า สัญชัยเสียใจเป็นลมและอาเจียนเป็นโลหิต; นิยม เรียกว่า สญชัยปริพาชก เป็นคนเดียวกับ สัญชัยเวลัฏฐบุตร คนหนึ่งใน ติตถกร หรือครูทั้ง ๖

สัญญมะ การยับยั้ง, การงดเว้น (จากบาป หรือจากการเบียดเบียน), การบังคับควบคุมตน; ท่านมักอธิบายว่าสัญญมะ ได้แก่ ศีล, บางทีแปลว่าสำรวม เหมือนอย่าง “สังวร”; เพื่อความเข้าใจชัดเจนในเบื้องต้น พึงเทียบความหมายระหว่าง ข้อธรรม ๓ อย่าง คือ สังวร เน้นความระวังในการรับเข้า คือปิดกั้นสิ่งเสียหายที่จะเข้ามาจากภายนอก สัญญมะ ความ คุมตนในการแสดงออก มิให้เป็นไปเพื่อการเบียดเบียน เป็น ทมะ ฝึกฝนแก้ไขปรับปรุงตน ข่มกำจัดส่วนร้ายและเสริม ส่วนที่ดีงามให้ยิ่งขึ้นไป; สังยมะ ก็เขียน

สัญญัติ (ในคำว่า “อุปัชฌายะชื่ออะไรก็ตาม ตั้งสัญญัติลงในเวลานั้นว่าชื่อติสสะ)” การหมายรู้, ความหมายรู้ร่วมกัน, ข้อสำหรับหมายรู้ร่วมกัน, ข้อตกลง

สัญญา การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและอารมณ์ที่เกิดกับใจ ว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่นทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้นๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก (ข้อ ๓ ในขันธ์ ๕) มี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น; ความหมายสามัญในภาษาบาลีว่าเครื่องหมาย ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้นๆ, ในภาษาไทยมักใช้หมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น

สัญญา ๑๐ ความกำหนดหมาย, สิ่งที่ควรกำหนดหมายไว้ในใจ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑. อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่ เที่ยงแห่งสังขาร ๒. อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง ๓. อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย ๔. อาทีนวสัญญา กำหนดหมายโทษแห่งกาย คือ มีอาพาธต่างๆ ๕. ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม ๖. วิราคสัญญา กำหนดหมายวิราคะ คืออริยมรรคว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต ๗. นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธ คืออริยผล ว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต ๘. สัพพโลเก อนิภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง ๙. สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง ๑๐. อานาปานัสสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

สัญญาเวทยิตนิโรธ การดับสัญญาและเวทนา เป็นสมาบัติ เรียกเต็มว่าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เรียกสั้นๆ ว่า นิโรธสมาบัติ (ข้อ ๙ ในอนุปุพพวิหาร ๙) ดู นโรธสมาบัติ

สัญโญชน์ ดู สังโยชน์

สัณฐาน ซวดทรง, ลักษณะ, รูปร่าง

สัตตกะ หมวด ๗

สัตตบรรณคูหา ชื่อถ้ำที่ภูเขาเวภารบรรพต ในกรุงราชคฤห์ เป็นที่พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระ อานนท์ และเป็นที่ทำ สังคายนาครั้งแรก; เขียน สัตตปัณณิคูหา หรือสัตตบัณณคูหา ก็มี

สัตตบริภัณฑ์ “เขาล้อมทั้งเจ็ด” คำเรียกหมู่ภูเขา ๗ เทือก ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ หรือสิเนรุ คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสสนะ เนมินธร วินตกและอัสสกัณณ์

สัตตมวาร วันที่ ๗, วันที่ครบ ๗; พจนานุกรมเขียน สัตมวาร

สัตตสติกขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๑๒ แห่งจุลวรรคในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยการสังคายนาครั้งที่ ๒

สัตตักขัตตุปรมะ พระโสดาบัน ซึ่งจะไปเกิดในภพอีก ๗ ครั้ง เป็นอย่างมากจึงจะได้บรรลุพระอรหัต (ข้อ ๓ ใน โสดาบัน ๓)

สัตตังคะ เก้าอี้มีพนักสามด้าน, เก้าอี้มีแขน

สัตตัพภันตรสีมา อพัทธสีมาชนิดที่กำหนดเขตแห่งสามัคคีขึ้นในป่า อันหาคนตั้งบ้านเรือนมิได้ โดยวัดจากที่สุดแนว แห่งสงฆ์ออกไปด้านละ ๗ อัพภันดรโดยรอบ

สัตตัมพเจดีย์ เจดียสถานแห่งหนึ่งที่นครเวสาลี แคว้นวัชชี ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

สัตติบัญชร เรือนระเบียบหอก, ซี่กรงทำด้วยหอก

สัตตาวาส ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์มี ๙ เหมือนกับ วิญญาณัฏฐิติ ๗ ต่างแต่เพิ่มข้อ ๕ เข้ามาเป็น ๕. สัตว์เหล่าหนึ่งไม่มี สัญญา ไม่มีการเสวยเวทนา เช่นพวกเทพผู้เป็นอสัญญีสัตว์, เลื่อนข้อ ๕-๖-๗ ออกไปเป็นข้อ ๖-๗-๘ แล้วเติมข้อ ๙. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ

สัตตาหะ สัปดาห์, เจ็ดวัน; มักใช้เป็นคำเรียกย่อ หมายถึง สัตตาหกรณียะ

สัตตาหกรณียะ ธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดในระหว่างพรรษาได้ ๗ วัน ได้แก่ ๑. ไปเพื่อพยาบาลสหธรรมิกหรือ มารดาบิดาผู้เจ็บไข้ ๒. ไปเพื่อระงับสหธรรมิกที่กระสันจะสึก ๓. ไปเพื่อกิจสงฆ์ เช่น ไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อม วิหารที่ชำรุดลงในเวลานั้น ๔.ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของทายกซึ่งส่งมานิมนต์เพื่อการบำเพ็ญกุศลของเขา และธุระอื่น จากนี้ที่เป็นกิจลักษณะอนุโลมตามนี้ได้

สัตตาหกาลิก ของที่รับประเคนเก็บไว้ฉันได้ชั่ว ๗ วัน ได้แก่เภสัชทั้ง ๕ คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ดู กาลิก

สัตติกำลัง ในคำว่า “ตามสัตติกำลัง” แปลว่า ตามความสามรถ และตามกำลัง หรือตามกำลังความสามารถ (สัตติ = ความสามารถ) มาจากคำบาลีว่า ยถาสตฺติ ยถาพลํ; พูดเพี้ยนกันไปเป็น ตามสติกำลัง ก็มี

สัตตุ ข้าวคั่วผง,ขนมผง ขนมแห้งที่ไม่บูด เช่น ขนมที่เรียกว่า จันอับและขนมปัง เป็นต้น

สัตตุผง สัตตุก้อน ข้าวตู เสบียงเดินทางที่สองพ่อค้า คือ ตปุสสะ กับภัลลิกะ ถวายแด่พระพุทธ เจ้าขณะที่ประ ทับอยู่ ใต้ต้นราชายตนะ

สัตถะ เกวียน, ต่าง, หมู่เกวียน, หมู่พ่อค้าเกวียน

สัตถกรรม การผ่าตัด

สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ, ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครูและทรงทำหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี คือทรงพร่ำสอนด้วยมหากรุณาหวังให้ผู้อื่นได้ ความรู้อย่างแท้จริง, ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นที่ตั้ง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ด้วยประโยชน์ทั้งทิฏฐธัมมิ กัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ, ทรงรู้จริงและปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่นให้รู้และปฏิบัติตาม ทรงทำกับตรัสเหมือนกัน ไม่ใช่ตรัสสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง, ทรงฉลาดในวิธีสอน, และทรงเป็นผู้นำหมู่ดุจนาย กองเกวียน (ข้อ ๗ ในพุทธคุณ ๙)

สัตถุศาสน์, สัตถุสาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา หมายถึงพระพุทธพจน์ ดู นวังคสัตถุศาสน์

สัตบุรุษ คนสงบ, คนดี, คนมีศีลธรรม,คนที่ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม

สัตมวาร วันที่ ๗, วันที่ครบ ๗ ; เขียนเต็มรูปเป็น สัตตมวาร

สัตย์ ความจริง,ความซื่อตรง,ความจริงใจ

สัตยาธิษฐาน การตั้งความจริงเป็นหลักอ้าง, ความตั้งใจแน่วแน่มุ่งต่อผล อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยการอ้างความจริงเป็นหลักประกัน

สัตว์ “ผู้ติดข้องในรูปารมณ์เป็นต้น”, สิ่งที่มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น, ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน

สัตวนิกาย หมู่สัตว์

สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์

สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษมี ๓ อย่าง คือ ๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่ พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์ ๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่ถึงปฏิบัติได้แก่ไตรสิกขา ๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่ถึงบรรลุ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน, สัทธรรม ๗ คือ ๑. ศรัทธา ๒. หิริ ๓. โอตตัปปะ ๔. พาหุ- สัจจะ ๕. วิริยารัมภะ ๖. สติ ๗. ปัญญา

สัทธรรมปฏิรูป สัทธรรมปลอม, สัทธรรมเทียม

สัทธรรมมัสสวนะ ฟังสัทธรรม, ฟังคำสั่งสอนของสัตบุรุษ, ฟังคำสั่งสอนของท่านที่ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ, สดับเล่าเรียนอ่านคำสอนเรื่องราวที่แสดงหลักความจริงความดีงาม (ข้อ ๒ ในวุฑฒิ ๔)

สัทธัมมปกาสินี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในปฏิสัมภิทามรรค แห่งพระสุตตันตปิฎก พระมหานามรจนาใน เกาะลังกา ประมาณ พ.ศ. ๑๐๖๐

สัทธา ความเชื่อ; ในทางธรรม หมายถึงเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริง ความดี สิ่งดีงาม และในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ท่านแสดง สืบ ๆ กันมาว่ามี ๔ อย่างคือ ๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม ๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ ตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต; เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ศรัทธา

สัทธาจริต พื้นนิสัยหนักในสัทธา เชื่อง่าย พึงแก้ด้วยปสาทนียกถา คือ ถ้อยคำที่นำให้เกิดความเลื่อมใสในทางที่ถูกที่ ควร และด้วยความเชื่อที่มีเหตุผล (ข้อ ๔ ในจริต ๖)

สัทธานุสารี “ผู้เล่นไปตามศรัทธา”, “ผู้เล่นตามไปด้วยศรัทธา”, พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ที่มีสัทธิน- ทรีย์แรงกล้า (ถ้าบรรลุผล กลายเป็น สัทธาวิมุต) ดู อริยบุคคล ๗

สัทธาวิมุต “ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา”, พระอริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปจนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรคที่มีสัทธิน- ทรีย์แรงกล้า (ถ้าบรรลุอรหัตตผลกลายเป็น ปัญญาวิมุต) ดู อริยบุคคล ๗

สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธาคือเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ เช่นเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น (ข้อ ๑ ในสัมปรายิกัตถฯ ๔)

สัทธิวิหาริก, สัทธิงวิหาริก ศิษย์, ผู้อยู่ด้วย เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌายะองค์ใด ก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะองค์นั้น

สัทธิวิหาริกวัตร ข้อควรปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริก, หน้าที่อันอุปัชฌาย์จะพึงกระทำแก่สัทธิวิหาริก คือ ๑. เอาธุระในการศึกษา ๒. สงเคราะห์ด้วยบาตร จีวร และบริขารอื่นๆ ๓. ขวนขวายป้องกัน หรือ ระงับความเสื่อมเสีย เช่น ระงับความคิดจะสึก เปลื้องความเห็นผิด ฯลฯ ๔. พยาบาลเมื่ออาพาธเทียบอุปัชฌายวัตร

สัทธิวิหารินี สัทธิวิหาริกผู้หญิง คือสัทธิวิหาริกในฝ่ายภิกษุณี แต่ตามปกติไม่เรียกอย่างนี้ เพราะมีคำเฉพาะเรียกว่า สหชีวินี

สันดาน ความสืบต่อแห่งจิต คือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกันมา, ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่าอุปนิสัยที่มีมา แต่กำเนิด, อัธยาศัยที่มีติดต่อมา

สันโดษ ความยินดี, ความพอใจ, ยินดีด้วยปัจจัย ๔ คือ ผ้านุ่งผ้าห่ม อาหาร ที่นอนที่นั่ง และยา ตามมีตามได้, ยินดีของของตน, การมีความสุขความพอใจด้วยเครื่องเลี้ยงชีพที่หามาได้ด้วยความเพียรพยายามอันชอบธรรมของตน ไม่โลภ ไม่ริษยาใคร, สันโดษ ๓ คือ ๑. ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ คือ ได้สิ่งใดมาด้วยความเพียรของตน ก็พอใจด้วยสิ่ง นั้น ไม่เดือดร้อนเพราะของที่ไม่ได้ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่นไม่ริษยาเขา ๒. ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง คือ พอใจเพียงแค่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและขอบเขตการใช้สอยของตน ของที่เกินกำลังก็ไม่หวงแหนเสียดาย ไม่เก็บไว้ให้เสียเปล่า หรือฝืนใช้ให้เป็นโทษแก่ตน ๓. ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร คือ พอใจตามที่สมควรแก่ภาวะ ฐานะ แนวทางชีวิต และจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน เช่น ภิกษุพอใจแต่ของอันเหมาะสมกับสมณภาวะ หรือได้ของใช้ที่ไม่เหมาะกับตนแต่จะมีประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็นำไปมอบให้แก่เขา เป็นต้น;สันโดษ ๓ นี้เป็นไปในปัจจัย ๔ แต่ละอย่าง จึงรวมเรียกว่า สันโดษ ๑๒

สันตติ
การสืบต่อ คือ การเกิดดับต่อเนื่องกันไปโดยอาการที่เป็นปัจจัยส่งผลแก่กัน ในทางรูปธรรม ที่พอมองเห็นอย่างหยาบ เช่น ขนเก่าหลุดร่วงไปขนใหม่เกิดขึ้นมาแทน ความสืบต่อแห่งรูปธรรม จัดเป็นอุปาทายรูปอย่างหนึ่ง; ในทางนามธรรม จิตก็มีสันตติ คือเกิดดับเป็นปัจจัยสืบเนื่องต่อกันไป

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น