Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๕-๖ หน้า ๒๘๗ - ๓๔๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕-๖ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์



พระอภิธรรมปิฎก
วิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะ
อธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๒๐] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เป็นไฉน
ศรัทธา ความเชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง นี้เรียกว่า เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี
เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้
เรียกว่า เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
รูปาวจรวิปากจิต
[๓๒๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็
เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ซึ่ง
เป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรม อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนาม
เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะ
เป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย
ชาตจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อรูปาวจรวิปากจิต
[๓๒๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญา-
ยตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญา-
ยตนะได้โดยประการทั้งปวง เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ จึงบรรลุจตุตถฌานที่
สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสม
อรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะ
ที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์
จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติ
เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
โลกุตตรวิปากจิต
[๓๒๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขา-
ปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้น
นั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะ
ที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย
ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
สภาวธรรมเหล่านี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อกุศลวิปากจิต ๗
๑ - ๕. จักขุ - กายวิญญาณจิต
[๓๒๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ
ได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ
จึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๘๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๒๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ กายวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นเวทนาแล้ว สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
๖. สัมปฏิจฉนจิต
[๓๒๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะ
เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๒๗] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้
เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
๗. อุเบกขาสันตีรณจิต
[๓๒๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็น
ปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๒๙] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อเหตุกกิริยาจิต ๓
[๓๓๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม
สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ฯลฯ หรือมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง
กรรม สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ หรือมีธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง
กรรม สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภ
อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะ
ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
กามาวจรกิริยาจิต ๘
[๓๓๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง
กรรม สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุต
ด้วยญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ
สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณเกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ
ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคต
ด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์หรือ
ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัยเวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย
อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
รูปาวจรกิริยาจิต
[๓๓๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่
เป็นวิบากของกรรม แต่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย วิญญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์
จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติ
เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๒.อวิชชามูลกกุสลนิทเทส
[๓๓๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญอรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่
เป็นวิบากแห่งกรรม แต่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะก้าวล่วง
อากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่
ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็น
ปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย
ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อัพยากตนิทเทส จบ
๑๒. อวิชชามูลกกุสลนิทเทส
กามาวจรกุศลจิต ๘
มหากุศลจิตดวงที่ ๑
[๓๓๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจร ซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด
ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็น
ปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๒.อวิชชามูลกกุสลนิทเทส
[๓๓๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เป็นไฉน
ศรัทธา ความเชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง นี้เรียกว่า เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี
เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า
เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๓๖] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะ
ปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็น
ปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๒.อวิชชามูลกกุสลนิทเทส
[๓๓๗] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย
อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๓๘] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
อายตนะ ที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย
อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
มหากุศลจิตดวงที่ ๒ - ๘
[๓๓๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต
ด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ
สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ
มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมี
เหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขาร
เป็นปัจจัยวิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๒.อวิชชามูลกกุสลนิทเทส
เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์
จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะ
ชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
รูปาวจรกุศล
[๓๔๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะ
ปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็น
ปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อรูปาวจรกุศล
[๓๔๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญา-
ยตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์
เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ
จึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๓.กุสลมูลกวิปากนิทเทส
โลกุตตรกุศล
[๓๔๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขาร
จึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะ
จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะ
ปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็น
ปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อวิชชามูลกกุสลนิทเทส จบ
๑๓. กุสลมูลกวิปากนิทเทส
อเหตุกกุศลวิปากจิต
๑. จักขุวิญญาณจิต
[๓๔๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ
ได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็น
ปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๓.กุสลมูลกวิปากนิทเทส
[๓๔๔] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขาร
จึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
๒ - ๘. โสตวิญญาณ - อุเบกขาสันตีรณจิต
[๓๔๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยสุข มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ หรือมีโผฏฐัพพะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ฯลฯ มโน-
วิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรม
เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศล-
กรรม ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
กามาวจรวิปากจิต ๘
[๓๔๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๓.กุสลมูลกวิปากนิทเทส
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณฯลฯ โดยมี
เหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจาก
ญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรม
เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง เพราะได้ทำได้สั่งสม
กามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะ
นามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็น
ปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ
จึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
รูปาวจรวิปากจิต
[๓๔๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็
เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นวิบากซึ่งมีปฐวีกสิณ
เป็นอารมณ์ เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็น
ปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๓.กุสลมูลกวิปากนิทเทส
อรูปาวจรวิปากจิต
[๓๔๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญา-
ยตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนสัญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์
จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติ
เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
โลกุตตรวิปากจิต
[๓๔๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็
เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศล
นั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๔.อกุสลมูลกวิปากนิทเทส
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็น
ปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย
อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
กุสลมูลกวิปากนิทเทส จบ
๑๔. อกุสลมูลกวิปากนิทเทส
อกุศลวิปากจิต ๗
๑. จักขุวิญญาณจิต
[๓๕๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ
ได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขาร
จึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะ
จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพ
เป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๕๑] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอกุศลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๔.อกุสลมูลกวิปากนิทเทส
๒ - ๖. โสตวิญญาณ - สัมปฏิจฉนจิต
[๓๕๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็น
อารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะ
ที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา
จึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะ
ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
๗. อุเบกขาสันตีรณจิต
[๓๕๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรม
ไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย
ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๔.อกุสลมูลกวิปากนิทเทส
[๓๕๔] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
นามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินใจ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๔.อกุสลมูลกวิปากนิทเทส
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ
แห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เป็นไฉน
ชรา ๑ มรณะ ๑
ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน
ความแก่ ความคร่ำคร่า ความเสื่อมอายุแห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา
มรณะ เป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความแตกสลาย ความไม่เที่ยง ความ
หายไปแห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
คำว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ได้แก่ กองทุกข์
ทั้งมวลนี้ไปร่วม มาร่วม ประชุมร่วม ปรากฏขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อกุสลมูลกวิปากนิทเทส จบ
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
๗. สติปัฏฐานวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๓๕๕] สติปัฏฐาน๑ ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายภายในตนอยู่
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกตนอยู่
พิจารณาเห็นกายในกายภายในตนและภายนอกตนอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนอยู่
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกตนอยู่
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและภายนอกตนอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนอยู่
พิจารณเห็นจิตในจิตภายนอกตนอยู่
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตนอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนอยู่
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกตนอยู่
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนและภายนอกตนอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. ๑๐/๓๗๓/๒๔๘, ม.มู. ๑๒/๑๐๕-๑๓๘/๗๗-๙๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑. กายานุปัสสนานิทเทส
๑. กายานุปัสสนานิทเทส
เห็นกายในกายภายในตน
[๓๕๖] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายภายในตน เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งไม่สะอาดต่าง ๆ ว่า
ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ
พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด
เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้
มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในกายภายนอกตน
เห็นกายในกายภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายภายนอกตน เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดต่าง ๆ
ว่า ในกายของเขามี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต
หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด
หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้
มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในกายภายในตนและภายนอกตน
เห็นกายในกายภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในตนและภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายภายในตนและภายนอกตน เบื้องบน
แต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่
สะอาดต่าง ๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.กายานุปัสสนานิทเทส
กระดูก ไต หัวใจ ตับ พังพืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายภายในตนและภายนอก
ตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
[๓๕๗] ในคำว่า พิจารณาเห็น นั้น การพิจารณาเห็น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า การพิจารณาเห็น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยการพิจารณาเห็นนี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า พิจารณาเห็น
[๓๕๘] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น
ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[๓๕๙] ในคำว่า มีความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้า
ถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีความเพียร
[๓๖๐] ในคำว่า มีสัมปชัญญะ นั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้ว
ด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.กายานุปัสสนานิทเทส
[๓๖๑] ในคำว่า มีสติ นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้ว
ด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีสติ
[๓๖๒] ในคำว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็น
ไฉน
กายนั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก๑ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก
อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส
อภิชฌาและโทมนัสนี้ ดังที่กล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
สงบเงียบ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศย่อยยับไป
ถูกทำให้เหือดแห้งไป ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้สิ้นไปในโลกนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
กายานุปัสสนานิทเทส จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า โลก ในสติปัฏฐานนี้หมายถึง กาย เวทนา จิต ธรรม และอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ดูข้อต่อไปนี้
คือข้อ ๓๖๔,๓๖๖,๓๗๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.เวทนานุปัสสนานิทเทส
๒. เวทนานุปัสสนานิทเทส
เห็นเวทนาในเวทนาภายในตน
[๓๖๓] ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา เมื่อ
เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัด
ว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวย
สุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มี
อามิส เมื่อเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือเมื่อ
เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส เมื่อเสวย
อทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวย
อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำ
ให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในเวทนาภายนอกตน
เห็นเวทนาในเวทนาภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดบุคคลผู้กำลังเสวยสุขเวทนาว่า เขากำลังเสวยสุข-
เวทนา รู้ชัดบุคคลผู้กำลังเสวยทุกขเวทนาว่า เขากำลังเสวยทุกขเวทนา รู้ชัดบุคคลผู้
กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาว่า เขากำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัดบุคคลผู้กำลัง
เสวยสุขเวทนามีอามิสว่า เขากำลังเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลผู้กำลัง
เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขากำลังเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดบุคคลผู้กำลัง
เสวยทุกขเวทนามีอามิสว่า เขากำลังเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลผู้กำลัง
เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขากำลังเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดบุคคลผู้
กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เขากำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือ
รู้ชัดบุคคลผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขากำลังเสวยอทุกขมสุข-
เวทนาไม่มีอามิส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.เวทนานุปัสสนานิทเทส
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำ
ให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในเวทนาภายในตนและภายนอกตน
เห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและภายนอกตนอยู่ เป็น
อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดสุขเวทนาว่า เป็นสุขเวทนา รู้ชัดทุกขเวทนาว่า เป็น
ทุกขเวทนา รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัดสุขเวทนามีอามิสว่า
เป็นสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นสุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัด
ทุกขเวทนามีอามิสว่า เป็นทุกขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า
เป็นทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนามี
อามิส หรือรู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและ
ภายนอกตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้
[๓๖๔] ในคำว่า พิจารณาเห็น ฯลฯ ในคำว่า อยู่ ฯลฯ ในคำว่า มี
ความเพียร ฯลฯ ในคำว่า มีสัมปชัญญะ ฯลฯ ในคำว่า มีสติ ฯลฯ ในคำว่า
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็นไฉน
เวทนานั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า
โลก
อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โทมนัส เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.จิตตานุปัสสนานิทเทส
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส
อภิชฌาและโทมนัสนี้ ดังที่กล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
สงบเงียบ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศย่อยยับ
ไป ถูกทำให้เหือดแห้งไป ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้สิ้นไปในโลกนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
เวทนานุปัสสนานิทเทส จบ
๓. จิตตานุปัสสนานิทเทส
เห็นจิตในจิตภายในตน
[๓๖๕] ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดจิตมีราคะว่า จิตของเรามีราคะ หรือรู้ชัดจิตปราศจาก
ราคะว่า จิตของเราปราศจากราคะ รู้ชัดจิตมีโทสะว่า จิตของเรามีโทสะ หรือรู้ชัด
จิตปราศจากโทสะว่า จิตของเราปราศจากโทสะ รู้ชัดจิตมีโมหะว่า จิตของเรามีโมหะ
หรือรู้ชัดจิตปราศจากโมหะว่า จิตของเราปราศจากโมหะ รู้ชัดจิตหดหู่ว่า จิตของเรา
หดหู่ รู้ชัดจิตฟุ้งซ่านว่า จิตของเราฟุ้งซ่าน รู้ชัดจิตเป็นมหัคคตะว่า จิตของเราเป็น
มหัคคตะ หรือรู้ชัดจิตที่ไม่เป็นมหัคคตะว่า จิตของเราไม่เป็นมหัคคตะ รู้ชัดจิตที่
เป็นสอุตตระว่า จิตของเราเป็นสอุตตระ หรือรู้ชัดจิตเป็นอนุตตระว่า จิตของเราเป็น
อนุตตระ รู้ชัดจิตเป็นสมาธิว่า จิตของเราเป็นสมาธิ หรือรู้ชัดจิตไม่เป็นสมาธิ
ว่าจิตของเราไม่เป็นสมาธิ รู้ชัดจิตหลุดพ้นว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว หรือรู้ชัดจิต
ที่ยังไม่หลุดพ้นว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้
มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในจิตภายนอกตน
เห็นจิตในจิตภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.จิตตานุปัสสนานิทเทส
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งมีราคะว่า จิตของเขามีราคะ หรือ
รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งปราศจากราคะ๑ว่า จิตของเขาปราศจากราคะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่ง
มีโทสะว่า จิตของเขามีโทสะ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งปราศจากโทสะว่า จิตของเขา
ปราศจากโทสะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งมีโมหะว่า จิตของเขามีโมหะ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้น
ซึ่งปราศจากโมหะว่า จิตของเขาปราศจากโมหะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งหดหู่ว่า จิตของ
เขาหดหู่ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งฟุ้งซ่านว่า จิตของเขาฟุ้งซ่าน รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่ง
เป็นมหัคคตะว่า จิตของเขาเป็นมหัคคตะ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งไม่เป็นมหัคคตะว่า
จิตของเขาไม่เป็นมหัคคตะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งเป็นสอุตตระว่า จิตของเขาเป็นสอุตตระ
หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งเป็นอนุตตระว่า จิตของเขาเป็นอนุตตระ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่ง
เป็นสมาธิว่า จิตของเขาเป็นสมาธิ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งไม่เป็นสมาธิว่า จิตของ
เขาไม่เป็นสมาธิ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งหลุดพ้นแล้วว่า จิตของเขาหลุดพ้นแล้ว หรือ
รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งยังไม่หลุดพ้นว่า จิตของเขายังไม่หลุดพ้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้
มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในจิตภายในตนและภายนอกตน
เห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดจิตมีราคะว่า จิตมีราคะ หรือรู้ชัดจิตปราศจากราคะ
ว่า จิตปราศจากราคะ รู้ชัดจิตมีโทสะว่า จิตมีโทสะ หรือรู้ชัดจิตปราศจากโทสะว่า
จิตปราศจากโทสะ รู้ชัดจิตมีโมหะว่า จิตมีโมหะ หรือรู้ชัดจิต ปราศจากโมหะว่า จิต
ปราศจากโมหะ รู้ชัดจิตหดหู่ว่า จิตหดหู่ หรือรู้ชัดจิตฟุ้งซ่านว่า จิตฟุ้งซ่าน รู้ชัด
จิตที่เป็นมหัคคตะว่า จิตเป็นมหัคคตะ หรือรู้ชัดจิตที่ไม่เป็นมหัคคตะว่า จิตไม่เป็น
มหัคคตะ รู้ชัดจิตที่เป็นสอุตตระว่า จิตเป็นสอุตตระ หรือรู้ชัดจิตที่เป็นอนุตตระว่า
จิตเป็นอนุตตระ รู้ชัดจิตที่เป็นสมาธิว่า จิตเป็นสมาธิ หรือรู้ชัดจิตไม่เป็นสมาธิว่า
จิตไม่เป็นสมาธิ รู้ชัดจิตที่หลุดพ้นแล้วว่า จิตหลุดพ้นแล้ว หรือรู้ชัดจิตที่ยังไม่หลุด
พ้นว่า จิตยังไม่หลุดพ้น

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “จิตปราศจากราคะ” เป็นต้นในที่นี้หมายถึงโลกิยจิตที่เป็นกุศล ๑๗ วิปากจิต ๓๒ อเหตุกกิริยา-
จิต ๒ เว้นหสิตุปปาทะ (อภิ.วิ.อ. ๓๖๕/๒๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.ธัมมานุปัสสนานิทเทส
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตน
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
[๓๖๖] ในคำว่า พิจารณาเห็น ฯลฯ ในคำว่า อยู่ ฯลฯ ในคำว่า มีความ
เพียร ฯลฯ ในคำว่า มีสัมปชัญญะ ฯลฯ ในคำว่า มีสติ ฯลฯ ในคำว่า พึง
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็นไฉน
จิตนั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก
อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส
อภิชฌาและโทมนัสนี้ดังที่กล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
สงบเงียบ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศย่อยยับไป
ถูกทำให้เหือดแห้งไป ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้สิ้นไปในโลกนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
จิตตานุปัสสนานิทเทส จบ
๔. ธัมมานุปัสสนานิทเทส
เห็นธรรมในธรรมภายในตน
[๓๖๗] ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร
นีวรณปัพพะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้กามฉันทะภายในตนซึ่งมีอยู่ว่า กามฉันทะภายในตนของ
เรามีอยู่ หรือรู้กามฉันทะภายในตนซึ่งไม่มีอยู่ว่า กามฉันทะภายในตนของเราไม่มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.ธัมมานุปัสสนานิทเทส
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิด เหตุละกามฉันทะที่เกิดแล้ว และ
เหตุที่กามฉันทะซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป รู้พยาบาทภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้
ถีนมิทธะภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้อุทธัจจกุกกุจจะภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้
วิจิกิจฉาภายในตนซึ่งมีอยู่ว่า วิจิกิจฉาภายในตนของเรามีอยู่ หรือรู้วิจิกิจฉาภายใน
ตนซึ่งไม่มีอยู่ว่า วิจิกิจฉาภายในตนของเราไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เหตุละวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว และเหตุที่
วิจิกิจฉาซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป
โพชฌังคปัพพะ
รู้สติสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ภายในตนของเรามีอยู่ รู้
สติสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งไม่มีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ภายในตนของเราไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์แห่ง
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว รู้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้วิริย-
สัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ปีติสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้สมาธิสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่
ฯลฯ รู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ภายในตนของ
เรามีอยู่ หรือรู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ภายในตนของเราซึ่งไม่มีอยู่ว่า อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ภายในตนของเราไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์
แห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้
มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในธรรมภายนอกตน
เห็นธรรมในธรรมภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
นีวรณปัพพะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้กามฉันทะของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ว่า กามฉันทะของเขามีอยู่
หรือรู้กามฉันทะของผู้นั้นซึ่งไม่มีอยู่ว่า กามฉันทะของเขาไม่มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.ธัมมานุปัสสนานิทเทส
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิด เหตุละกามฉันทะที่เกิดแล้ว และ
เหตุที่กามฉันทะซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป รู้พยาบาทของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้
ถีนมิทธะของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้อุทธัจจกุกกุจจะของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้วิจิกิจฉา
ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ว่า วิจิกิจฉาของเขามีอยู่ หรือรู้วิจิกิจฉาของเขาซึ่งไม่มีอยู่ว่า วิจิกิจฉา
ของเขาไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เหตุละวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว และเหตุที่
วิจิกิจฉาซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป
โพชฌังคปัพพะ
รู้สติสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเขามีอยู่ หรือรู้
สติสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งไม่มีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเขาไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์แห่ง
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว รู้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้
วิริยสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ปีติสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้สมาธิสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ
รู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ของเขามีอยู่ หรือรู้
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งไม่มีอยู่ว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ของเขาไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์
แห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำ
ให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในธรรมภายในตนและภายนอกตน
เห็นธรรมในธรรมภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมในภายตนและภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
นีวรณปัพพะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้กามฉันทะซึ่งมีอยู่ว่า กามฉันทะมีอยู่ หรือรู้กามฉันทะ
ซึ่งไม่มีอยู่ว่า กามฉันทะไม่มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.ธัมมานุปัสสนานิทเทส
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิด เหตุละกามฉันทะที่เกิดแล้ว และเหตุ
ที่กามฉันทะซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป รู้พยาบาทซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ถีนมิทธะซึ่งมี
อยู่ ฯลฯ รู้อุทธัจจกุกกุจจะซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้วิจิกิจฉาซึ่งมีอยู่ว่า วิจิกิจฉามีอยู่ หรือ
รู้วิจิกิจฉาซึ่งไม่มีอยู่ว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เหตุละวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว และเหตุที่
วิจิกิจฉาซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป
โพชฌังคปัพพะ
รู้สติสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือรู้สติสัมโพชฌงค์ซึ่งไม่มี
อยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์แห่ง
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว รู้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้วิริยสัมโพชฌงค์
ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ปีติสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ
รู้สมาธิสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ว่า อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือรู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ซึ่งไม่มีอยู่ว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์
ไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์แห่ง
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนและภาย
นอกตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
[๓๖๘] ในคำว่า พิจารณาเห็น นั้น การพิจารณาเห็น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ นี้เรียกว่า พิจารณาเห็น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยการพิจารณาเห็นนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า พิจารณาเห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.ธัมมานุปัสสนานิทเทส
[๓๖๙] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไป
อยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[๓๗๐] ในคำว่า มีความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีความเพียร
[๓๗๑] ในคำว่า มีสัมปชัญญะ นั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า มีสัมปชัญญะ
[๓๗๒] ในคำว่า มีสติ นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีสติ
[๓๗๓] ในคำว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็นไฉน
ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า
โลก
อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โทมนัส เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส
อภิชฌาและโทมนัสนี้ ดังที่กล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
สงบเงียบ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศย่อยยับไป
ถูกทำให้เหือดแห้งไป ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้สิ้นไปในโลกนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ธัมมานุปัสสนานิทเทส จบ
สุตตันตภาชนีย์ จบ
๒. อภิธรรมภาชนีย์
สติปัฏฐานอุทเทส
[๓๗๔] สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
สติปัฏฐานนิทเทส
กายานุปัสสนา
[๓๗๕] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นกายในกาย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
เวทนานุปัสสนา
[๓๗๖] ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ
เนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
จิตตานุปัสสนา
[๓๗๗] ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนา
[๓๗๘] ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่อง
ในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
สติปัฏฐานธรรม
[๓๗๙] ในสภาวธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วย
สติปัฏฐาน
สติปัฏฐานอุทเทส
[๓๘๐] สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
สติปัฏฐานนิทเทส
กายานุปัสสนา
[๓๘๑] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
พิจารณาเห็นกายในกาย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ
สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
เวทนานุปัสสนา
[๓๘๒] ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ
สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
จิตตานุปัสสนา
[๓๘๓] ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้กระทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้น
นั่นแหละ พิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ
สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนา
[๓๘๔] ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ
สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
สติปัฏฐานธรรม
[๓๘๕] ในสภาวธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๓๘๖] สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๓๘๗] บรรดาสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐานเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์
ร้องไห้
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๓๘๘] สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ*
สติปัฏฐาน ๔ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
สติปัฏฐาน ๔ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน

เชิงอรรถ :
* ข้อความที่ละไว้ พึงดูในบทมาติกาของพระไตรปิฎกแปล เล่ม ๓๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สติปัฏฐาน ๔ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สติปัฏฐาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี
สติปัฏฐาน ๔ เป็นอัปปมาณะ
สติปัฏฐาน ๔ มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
สติปัฏฐาน ๔ เป็นชั้นประณีต
สติปัฏฐาน ๔ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่มีมรรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี ที่กล่าวไม่
ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็น
อารมณ์ก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
สติปัฏฐาน ๔ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
สติปัฏฐาน ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๓๘๙] สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ สติปัฏฐาน ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ
สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุ แต่ไม่เป็นเหตุ
สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุต
ด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง สติปัฏฐาน ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
สติปัฏฐาน ๔ เห็นไม่ได้ สติปัฏฐาน ๔ กระทบไม่ได้
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นรูป สติปัฏฐาน ๔ เป็นโลกุตตระ
สติปัฏฐาน ๔ จิตบางดวงรู้ได้ สติปัฏฐาน ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นอาสวะ สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สติปัฏฐาน ๔ วิปปยุตจากอาสวะ สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะ
และเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
สติปัฏฐาน ๔ วิปปยุตจากอาสวะ สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
๔-๑๐. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ๔ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
สติปัฏฐาน ๔ รับรู้อารมณ์ได้ สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นจิต
สติปัฏฐาน ๔ เป็นเจตสิก สติปัฏฐาน ๔ สัมปยุตด้วยจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ ระคนกับจิต สติปัฏฐาน ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
สติปัฏฐาน ๔ เกิดพร้อมกับจิต สติปัฏฐาน ๔ เป็นไปตามจิต
สติปัฏฐาน ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน สติปัฏฐาน ๔ ระคนกับ
จิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
สติปัฏฐาน ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต สติปัฏฐาน ๔
เป็นภายนอก
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป สติปัฏฐาน ๔ กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือ
๑๑-๑๓. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ
สติปัฏฐาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน ๓
สติปัฏฐาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค และด้วยมรรค
เบื้องบน ๓
สติปัฏฐาน ๔ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี สติปัฏฐาน ๔ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่
มีวิจารก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี สติปัฏฐาน ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นกามาวจร สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นรูปาวจร
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นอรูปาวจร สติปัฏฐาน ๔ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ก็มี สติปัฏฐาน ๔ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
ปัญหาปุจฉกะ จบ
สติปัฏฐานวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๘. สัมมัปปธานวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๓๙๐] สัมมัปปธาน ๔๑ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
เพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด
[๓๙๑] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด เป็นอย่างไร
บรรดาธรรมเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เป็นไฉน
อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกับอกุศลมูล
นั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วย
อกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อป้องกัน
บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดด้วยประการฉะนี้

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๗๗/๓๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
[๓๙๒] ในคำว่า สร้างฉันทะ นั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด
ความพอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
ภิกษุทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้
บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สร้างฉันทะ
[๓๙๓] ในคำว่า พยายาม นั้น ความพยายาม เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความพยายาม
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า พยายาม
[๓๙๔] ในคำว่า ปรารภความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า ปรารภความเพียร
[๓๙๕] ในคำว่า ประคองจิต นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุประคอง ประคองด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชูจิตนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
ประคองจิต
[๓๙๖] ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น ความมุ่งมั่น๑ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความมุ่งมั่นนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า มุ่งมั่น

เชิงอรรถ :
๑ อรรถกถาขยายเป็น สาตัจจกิริยา หมายถึงการกระทำอย่างต่อเนื่อง (อภิ.วิ.อ. ๓๙๐/๓๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
[๓๙๗] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตมุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นอย่างไร
บรรดาธรรมเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นไฉน
อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะและกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ
อกุศลมูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วย
อกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า บาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้วเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้
[๓๙๘] ในคำว่า สร้างฉันทะ นั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
ภิกษุทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด
ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สร้างฉันทะ
[๓๙๙] ในคำว่า พยายาม นั้น ความพยายาม เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความพยายาม
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า พยายาม
[๔๐๐] ในคำว่า ปรารภความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า ปรารภความเพียร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๔๐๑] ในคำว่า ประคองจิต นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุประคอง ประคองด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชูจิตนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
ประคองจิต
[๔๐๒] ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น ความมุ่งมั่น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยการตั้งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า มุ่งมั่น
เพียรสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด
[๔๐๓] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด เป็นอย่างไร
บรรดาธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เป็นไฉน
กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรมที่มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศล
ธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดด้วยประการฉะนี้
[๔๐๔] ในคำว่า สร้างฉันทะ ฯลฯ ในคำว่า พยายาม ฯลฯ ในคำว่า
ปรารภความเพียร ฯลฯ ในคำว่า ประคองจิต ฯลฯ ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น
ความมุ่งมั่น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยการตั้งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า มุ่งมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดแล้วไม่ให้เสื่อม
[๔๐๕] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นไฉน
บรรดาธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นไฉน
กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรมที่มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความ
ดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้วด้วย
ประการฉะนี้
[๔๐๖] คำว่า เพื่อความดำรงอยู่ อธิบายว่า ความดำรงอยู่อันใด นั้นเป็น
ความไม่เลือนหาย ความไม่เลือนหายอันใด นั้นเป็นความภิยโยภาพ ความ
ภิยโยภาพอันใด นั้นเป็นความไพบูลย์ ความไพบูลย์อันใด นั้นเป็นความเจริญ ความ
เจริญอันใด นั้นเป็นความบริบูรณ์
[๔๐๗] ในคำว่า สร้างฉันทะ ฯลฯ ในคำว่า พยายาม ฯลฯ ในคำว่า
ปรารภความเพียร ฯลฯ ในคำว่า ประคองจิต ฯลฯ ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น
ความมุ่งมั่น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยการตั้งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า มุ่งมั่น
สุตตันตภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๔๐๘] สัมมัปปธาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิด
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อเพื่อละสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลธรรมซึ่งเกิดแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อเพื่อทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดให้เกิด
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้ว
เพียรป้องกันสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศล
ซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิด
[๔๐๙] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิด เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าสร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อป้องกันสภาวธรรมที่เป็น
บาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิด
[๔๑๐] ในคำว่า สร้างฉันทะ นั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด
ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สร้างฉันทะ
[๔๑๑] ในคำว่า พยายาม นั้น ความพยายาม เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่
ธุระด้วยดี วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ความพยายาม
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า พยายาม
[๔๑๒] ในคำว่า ปรารภความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งความเพียรนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร
[๔๑๓] ในคำว่า ประคองจิต นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุประคอง ประคองด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชูจิตนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
ประคองจิต
[๔๑๔] ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น สัมมัปปธาน (ความมุ่งมั่นโดยชอบ) เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
เพียรละสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดแล้ว
[๔๑๕] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดแล้ว เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าสร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศล
ซึ่งเกิดแล้ว
[๔๑๖] ในคำว่า สร้างฉันทะ ฯลฯ ในคำว่า พยายาม ฯลฯ ในคำ
ว่า ปรารภความเพียร ฯลฯ ในคำว่า ประคองจิต ฯลฯ ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น
สัมมัปปธาน เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน
เพียรสร้างสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดให้เกิด
[๔๑๗] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดให้เกิด เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าสร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมซึ่งยังไม่เกิด
ให้เกิด
[๔๑๘] ในคำว่า สร้างฉันทะ ฯลฯ ในคำว่า พยายาม ฯลฯ ในคำว่า
ปรารภความเพียร ฯลฯ ในคำว่า ประคองจิต ฯลฯ ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น
สัมมัปปธาน เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน
เพียรรักษาสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้วไม่ให้เสื่อม
[๔๑๙] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้ว เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าสร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ไม่เลือนหาย
ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้ว
[๔๒๐] คำว่า เพื่อความดำรงอยู่ อธิบายว่า ความดำรงอยู่อันใด นั้น
เป็นความไม่เลอะเลือน ความไม่เลอะเลือนอันใด นั้นเป็นความภิยโยภาพ ความ
ภิยโยภาพอันใด นั้นเป็นความไพบูลย์ ความไพบูลย์อันใด นั้นเป็นความเจริญ ความ
เจริญอันใด นั้นเป็นความบริบูรณ์
[๔๒๑] ในคำว่า สร้างฉันทะ นั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
ภิกษุทำฉันทะให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด
ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สร้างฉันทะ
[๔๒๒] ในคำว่า พยายาม นั้น ความพยายาม เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ความพยายาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า พยายาม
[๔๒๓] ในคำว่า ปรารภความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า ปรารภความเพียร
[๔๒๔] ในคำว่า ประคองจิต นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุประคอง ประคองด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชูจิตนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
ประคองจิต
[๔๒๕] ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น สัมมัปปธาน เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน
[๔๒๖] บรรดาธรรมเหล่านั้น สัมมัปปธาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น การปรารภความเพียร
ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค
นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๔๒๗] สัมมัปปธาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิด
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดให้เกิด
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่
แห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้ว
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๔๒๘] บรรดาสัมมัปปธาน ๔ สัมมัปปธานเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์
ร้องไห้
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๔๒๙] สัมมัปปธาน ๔ เป็นกุศลอย่างเดียว
สัมมัปปธาน ๔ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ก็มี
สัมมัปปธาน ๔ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
สัมมัปปธาน ๔ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
สัมมัปปธาน ๔ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สัมมัปปธาน ๔ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มี
ทั้งวิตกและวิจารก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สัมมัปปธาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สัมมัปปธาน ๔ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
สัมมัปปธาน ๔ เป็นของเสขบุคคล
สัมมัปปธาน ๔ เป็นอัปปมาณะ
สัมมัปปธาน ๔ มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
สัมมัปปธาน ๔ เป็นชั้นประณีต
สัมมัปปธาน ๔ มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
สัมมัปปธาน ๔ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์
สัมมัปปธาน ๔ มีมรรคเป็นเหตุ
สัมมัปปธาน ๔ ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้น
แน่นอน
สัมมัปปธาน ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์ก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
สัมมัปปธาน ๔ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
สัมมัปปธาน ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๔๓๐] สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นเหตุ แต่มีเหตุ
สัมมัปปธาน ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ แต่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือ
มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
สัมมัปปธาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วย
เหตุแต่ไม่เป็นเหตุ สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
สัมมัปปธาน ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง สัมมัปปธาน ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
สัมมัปปธาน ๔ เห็นไม่ได้ สัมมัปปธาน ๔ กระทบไม่ได้
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นรูป สัมมัปปธาน ๔ เป็นโลกุตตระ
สัมมัปปธาน ๔ จิตบางดวงรู้ได้ สัมมัปปธาน ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นอาสวะ สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สัมมัปปธาน ๔ วิปปยุตจากอาสวะ สัมมัปปธาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
สัมมัปปธาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือ
สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
สัมมัปปธาน ๔ วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
๔-๑๐. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ
ฯลฯ ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
สัมมัปปธาน ๔ รับรู้อารมณ์ได้ สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นจิต
สัมมัปปธาน ๔ เป็นเจตสิก สัมมัปปธาน ๔ สัมปยุตด้วยจิต
สัมมัปปธาน ๔ ระคนกับจิต สัมมัปปธาน ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สัมมัปปธาน ๔ เกิดพร้อมกับจิต สัมมัปปธาน ๔ เป็นไปตามจิต
สัมมัปปธาน ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน สัมมัปปธาน ๔ ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
สัมมัปปธาน ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต สัมมัปปธาน
๔ เป็นภายนอก
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป สัมมัปปธาน ๔ กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
๑๑-๑๓. อุปาทานาโคจฉกาทิวิสัชนา
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ
สัมมัปปธาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สัมมัปปธาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สัมมัปปธาน ๔ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นกามาวจร
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นรูปาวจร
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นอรูปาวจร
สัมมัปปธาน ๔ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
สัมมัปปธาน ๔ เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
สัมมัปปธาน ๔ ให้ผลแน่นอน
สัมมัปปธาน ๔ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
ปัญหาปุจฉกะ จบ
สัมมัปปธานวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙. อิทธิปาทวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. ฉันทิทธิบาท
๙. อิทธิปาทวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๔๓๑] อิทธิบาท ๔๑ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
๑. ฉันทิทธิบาท
[๔๓๒] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ถ้าภิกษุทำฉันทะให้เป็นอธิบดีแล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า ฉันท-
สมาธิ
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ประมวลย่อฉันทสมาธิและปธานสังขารเข้าเป็นอย่างเดียวกัน จึงนับได้ว่า
ฉันทสมาธิและปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๔๓๑/๓๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙. อิทธิปาทวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. ฉันทิทธิบาท
[๔๓๓] บรรดาธรรมเหล่านั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่ ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ส่ายไป ความไม่ฟุ้งซ่าน
แห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า
สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่
ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารนี้ ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
[๔๓๔] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น๑
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

เชิงอรรถ :
๑ อรรถกถาอธิบายว่า ผู้เป็นโดยอาการนั้น คือผู้ได้ธรรมที่มีฉันทะเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. ๔๓๓/๓๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒. วิริยิทธิบาท
๒. วิริยิทธิบาท
[๔๓๕] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ถ้าภิกษุทำวิริยะให้เป็นอธิบดีแล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า วิริย-
สมาธิ
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด
ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ฯลฯ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความ
ดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ประมวลย่อวิริยสมาธิและปธานสังขารเข้าเป็นอย่างเดียวกัน จึงนับได้ว่า
วิริยสมาธิและปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
[๔๓๖] บรรดาธรรมเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า วิริยะ
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่ ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ส่ายไป ความไม่ฟุ้งซ่าน
แห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ นี้
เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขารนี้
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น