Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๕-๑๒ หน้า ๖๓๔ - ๖๙๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕-๑๒ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์



พระอภิธรรมปิฎก
วิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
[๙๗๗] บรรดามาติกานั้น ทิฏฐิ ๖๒ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในพรหม-
ชาลสูตร เป็นไฉน
ทิฏฐิ ๖๒ คือ

๑. สัสสตวาทะ (วาทะว่าอัตตาและโลกเที่ยง) ๔
๒. เอกัจจสัสสติกวาทะ (วาทะว่าอัตตาและโลกเที่ยงบางอย่าง) ๔
๓. อันตานันติกวาทะ (วาทะว่าอัตตาและโลกไม่มีที่สุด) ๔
๔. อมราวิกเขปิกวาทะ (วาทะที่ลี้หลบเลี่ยงไม่แน่นอน) ๔
๕. อธิจจสมุปปันนิกวาทะ (วาทะว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัย) ๒
๖. สัญญีวาทะ (วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญา) ๑๖
๗. อสัญญีวาทะ (วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา) ๘
๘. เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ (วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ไม่
มีสัญญาก็มิใช่) ๘
๙. อุจเฉทวาทะ (วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วขาดสูญ) ๗
๑๐. ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ (วาทะว่ามีสภาพบางอย่างเป็นนิพพานปัจจุบัน) ๕

ทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร
ขุททกวัตถุวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘. ธัมมหทยวิภังค์] ๑. สัพพสังคาหิกวาร
๑๘. ธัมมหทยวิภังค์
๑. สัพพสังคาหิกวาร
(วาระว่าด้วยการรวบรวมสภาวธรรมทั้งหมด)
[๙๗๘] ขันธ์มีเท่าไร อายตนะมีเท่าไร ธาตุมีเท่าไร สัจจะมีเท่าไร อินทรีย์
มีเท่าไร เหตุมีเท่าไร อาหารมีเท่าไร ผัสสะมีเท่าไร เวทนามีเท่าไร สัญญามีเท่าไร
เจตนามีเท่าไร จิตมีเท่าไร
ขันธ์มี ๕ อายตนะมี ๑๒ ธาตุมี ๑๘ สัจจะมี ๔ อินทรีย์มี ๒๒ เหตุมี ๙
อาหารมี ๔ ผัสสะมี ๗ เวทนามี ๗ สัญญามี ๗ เจตนามี ๗ จิตมี ๗
[๙๗๙] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๕ เป็นไฉน
ขันธ์มี ๕ คือ

๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์
๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์

เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ (๑)
[๙๘๐] อายตนะ ๑๒ เป็นไฉน
อายตนะ ๑๒ คือ

๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
๓. โสตายตนะ ๔. สัททายตนะ
๕. ฆานายตนะ ๖. คันธายตนะ
๗. ชิวหายตนะ ๘. รสายตนะ
๙. กายายตนะ ๑๐. โผฏฐัพพายตนะ
๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ

เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๑๒ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑.สัพพสังคาหิกวาร
[๙๘๑] ธาตุ ๑๘ เป็นไฉน
ธาตุ ๑๘ คือ

๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ ๓. จักขุวิญญาณธาตุ
๔. โสตธาตุ ๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ
๗. ฆานธาตุ ๘. คันธธาตุ ๙. ฆานวิญญาณธาตุ
๑๐. ชิวหาธาตุ ๑๑. รสธาตุ ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๓. กายธาตุ ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ ๑๕. กายวิญญาณธาตุ
๑๖. มโนธาตุ ๑๗. ธัมมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๑๘ (๓)
[๙๘๒] สัจจะ ๔ เป็นไฉน
สัจจะ ๔ คือ
๑. ทุกขสัจ ๒. สมุทยสัจ
๓. มัคคสัจ ๔. นิโรธสัจ
เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๔ (๔)
[๙๘๓] อินทรีย์ ๒๒ เป็นไฉน
อินทรีย์ ๒๒ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ ๘. ปุริสินทรีย์
๙. ชีวิตินทรีย์ ๑๐. สุขินทรีย์
๑๑. ทุกขินทรีย์ ๑๒. โสมนัสสินทรีย์
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ๑๔. อุเปกขินทรีย์
๑๕. สัทธินทรีย์ ๑๖. วิริยินทรีย์
๑๗. สตินทรีย์ ๑๘. สมาธินทรีย์
๑๙. ปัญญินทรีย์ ๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๒๑. อัญญินทรีย์ ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์

เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๒๒ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑.สัพพสังคาหิกวาร
[๙๘๔] เหตุ ๙ เป็นไฉน
เหตุ ๙ คือ
กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ และอัพยากตเหตุ ๓
บรรดาเหตุ ๙ เหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน
กุศลเหตุ ๓ คือ กุศลเหตุคืออโลภะ กุศลเหตุคืออโทสะ และกุศลเหตุคือ
อโมหะ เหล่านี้ชื่อว่ากุศลเหตุ ๓
อกุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน
อกุศลเหตุ ๓ คือ อกุศลเหตุคือโลภะ อกุศลเหตุคือโทสะ และอกุศลเหตุ
คือโมหะ เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลเหตุ ๓
อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน
อัพยากตเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นกุศล หรือในสภาวธรรมที่เป็นอัพยากตกิริยา เหล่านี้ชื่อว่าอัพยากตเหตุ ๓
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๙ (๖)
[๙๘๕] อาหาร ๔ เป็นไฉน
อาหาร ๔ คือ

๑. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว)
๒. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ)
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา)
๔. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ)

เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๔ (๗)
[๙๘๖] ผัสสะ ๗ เป็นไฉน
ผัสสะ ๗ คือ

๑. จักขุสัมผัส ๒. โสตสัมผัส
๓. ฆานสัมผัส ๔. ชิวหาสัมผัส
๕. กายสัมผัส ๖. มโนธาตุสัมผัส
๗. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส

เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๗ (๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑.สัพพสังคาหิกวาร
[๙๘๗] เวทนา ๗ เป็นไฉน
เวทนา ๗ คือ
๑. เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ๒. เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส
๓. เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ๔. เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส
๕. เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ๖. เวทนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส
๗. เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า เวทนา ๗ (๙)
[๙๘๘] สัญญา ๗ เป็นไฉน
สัญญา ๗ คือ
๑. สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ๒. สัญญาที่เกิดแต่โสตสัมผัส
๓. สัญญาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ๔. สัญญาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส
๕. สัญญาที่เกิดแต่กายสัมผัส ๖. สัญญาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส
๗. สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า สัญญา ๗ (๑๐)
[๙๘๙] เจตนา ๗ เป็นไฉน
เจตนา ๗ คือ
๑. เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ๒. เจตนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส
๓. เจตนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ๔. เจตนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส
๕. เจตนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ๖. เจตนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส
๗. เจตนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า เจตนา ๗ (๑๑)
[๙๙๐] จิต ๗ เป็นไฉน
จิต ๗ คือ
๑. จักขุวิญญาณ ๒. โสตวิญญาณ
๓. ฆานวิญญาณ ๔. ชิวหาวิญญาณ
๕. กายวิญญาณ ๖. มโนธาตุ
๗. มโนวิญญาณธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า จิต ๗ (๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๑.กามธาตุ
๒. อุปปัตตานุปปัตติวาร
(วาระว่าด้วยการแสดงสภาวธรรมที่เกิดได้และไม่ได้)
๑. กามธาตุ
(ธาตุในกามภูมิ)
[๙๙๑] ในกามธาตุ ขันธ์มีเท่าไร อายตนะมีเท่าไร ธาตุมีเท่าไร สัจจะ
มีเท่าไร อินทรีย์มีเท่าไร เหตุมีเท่าไร อาหารมีเท่าไร ผัสสะมีเท่าไร เวทนา
มีเท่าไร สัญญามีเท่าไร เจตนามีเท่าไร จิตมีเท่าไร
ในกามธาตุ ขันธ์มี ๕ อายตนะมี ๑๒ ธาตุมี ๑๘ สัจจะมี ๓ อินทรีย์มี
๒๒ เหตุมี ๙ อาหารมี ๔ ผัสสะมี ๗ เวทนามี ๗ สัญญามี ๗ เจตนามี ๗
จิตมี ๗
[๙๙๒] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๕ ในกามธาตุ เป็นไฉน
ขันธ์ ๕ ในกามธาตุ คือ

๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์
๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์

เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ ในกามธาตุ (๑)
อายตนะ ๑๒ ในกามธาตุ เป็นไฉน
อายตนะ ๑๒ ในกามธาตุ คือ
๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
ฯลฯ
๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ
เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๑๒ ในกามธาตุ (๒)
ธาตุ ๑๘ ในกามธาตุ เป็นไฉน
ธาตุ ๑๘ ในกามธาตุ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๑.กามธาตุ

๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ ๓. จักขุวิญญาณธาตุ

ฯลฯ

๑๖. มโนธาตุ ๑๗. ธัมมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๑๘ ในกามธาตุ (๓)
สัจจะ ๓ ในกามธาตุ เป็นไฉน
สัจจะ ๓ ในกามธาตุ คือ
๑. ทุกขสัจ ๒. สมุทยสัจ
๓. มัคคสัจ
เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓ ในกามธาตุ (๔)
อินทรีย์ ๒๒ ในกามธาตุ เป็นไฉน
อินทรีย์ ๒๒ ในกามธาตุ คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
ฯลฯ
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์
เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๒๒ ในกามธาตุ (๕)
เหตุ ๙ ในกามธาตุ เป็นไฉน
เหตุ ๙ ในกามธาตุ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ และอัพยากตเหตุ ๓ ฯลฯ
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๙ ในกามธาตุ (๖)
อาหาร ๔ ในกามธาตุ เป็นไฉน
อาหาร ๔ ในกามธาตุ คือ

๑. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว)
๒. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ)
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา)
๔. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ)

เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๔ ในกามธาตุ (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๑.กามธาตุ
ผัสสะ ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน
ผัสสะ ๗ ในกามธาตุ คือ
๑. จักขุสัมผัส
ฯลฯ
๗. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๗ ในกามธาตุ (๘)
เวทนา ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน
เวทนา ๗ ในกามธาตุ คือ
๑. เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
ฯลฯ
๗. เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า เวทนา ๗ ในกามธาตุ (๙)
สัญญา ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน
สัญญา ๗ ในกามธาตุ คือ
๑. สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
ฯลฯ
๗. สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า สัญญา ๗ ในกามธาตุ (๑๐)
เจตนา ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน
เจตนา ๗ ในกามธาตุ คือ
๑. เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
ฯลฯ
๗. เจตนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า เจตนา ๗ ในกามธาตุ (๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๒.รูปธาตุ
จิต ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน
จิต ๗ ในกามธาตุ คือ
๑. จักขุวิญญาณ ๒. โสตวิญญาณ
๓. ฆานวิญญาณ ๔. ชิวหาวิญญาณ
๕. กายวิญญาณ ๖. มโนธาตุ
๗. มโนวิญญาณธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า จิต ๗ ในกามธาตุ (๑๒)
๒. รูปธาตุ
(ธาตุในรูปภูมิ)
[๙๙๓] ในรูปธาตุ ขันธ์มีเท่าไร ฯลฯ จิตมีเท่าไร
ในรูปธาตุ ขันธ์มี ๕ อายตนะมี ๖ ธาตุมี ๙ สัจจะมี ๓ อินทรีย์มี ๑๔ เหตุ
มี ๘ อาหารมี ๓ ผัสสะมี ๔ เวทนามี ๔ สัญญามี ๔ เจตนามี ๔ จิตมี ๔
[๙๙๔] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๕ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
ขันธ์ ๕ ในรูปธาตุ คือ
๑. รูปขันธ์
ฯลฯ
๕. วิญญาณขันธ์
เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ ในรูปธาตุ (๑)
อายตนะ ๖ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
อายตนะ ๖ ในรูปธาตุ คือ
๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
๓. โสตายตนะ ๔. สัททายตนะ
๕. มนายตนะ ๖. ธัมมายตนะ
เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๖ ในรูปธาตุ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๒.รูปธาตุ
ธาตุ ๙ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
ธาตุ ๙ ในรูปธาตุ คือ
๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ ๓. จักขุวิญญาณธาตุ
๔. โสตธาตุ ๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ
๗. มโนธาตุ ๘. ธัมมธาตุ ๙. มโนวิญญาณธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๙ ในรูปธาตุ (๓)
สัจจะ ๓ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
สัจจะ ๓ ในรูปธาตุ คือ
๑. ทุกขสัจ ๒. สมุทยสัจ
๓. มัคคสัจ
เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓ ในรูปธาตุ (๔)
อินทรีย์ ๑๔ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
อินทรีย์ ๑๔ ในรูปธาตุ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. มนินทรีย์ ๔. ชีวิตินทรีย์
๕. โสมนัสสินทรีย์ ๖. อุเปกขินทรีย์
๗. สัทธินทรีย์ ๘. วิริยินทรีย์
๙. สตินทรีย์ ๑๐. สมาธินทรีย์
๑๑. ปัญญินทรีย์ ๑๒. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๑๓. อัญญินทรีย์ ๑๔. อัญญาตาวินทรีย์

เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๑๔ ในรูปธาตุ (๕)
เหตุ ๘ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
เหตุ ๘ ในรูปธาตุ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๒ และอัพยากตเหตุ ๓
บรรดาเหตุ ๘ นั้น กุศลเหตุ ๓ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
กุศลเหตุ ๓ ในรูปธาตุ คือ กุศลเหตุคืออโลภะ กุศลเหตุคืออโทสะ และ
กุศลเหตุคืออโมหะ
เหล่านี้ชื่อว่ากุศลเหตุ ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๒.รูปธาตุ
อกุศลเหตุ ๒ เป็นไฉน
อกุศลเหตุ ๒ คือ อกุศลเหตุคือโลภะ และอกุศลเหตุคือโมหะ
เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลเหตุ ๒
อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน
อัพยากตเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฝ่ายวิปากแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นกุศล หรือในสภาวธรรมที่เป็นอัพยากตกิริยา เหล่านี้ชื่อว่าอัพยากตเหตุ ๓
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๘ ในรูปธาตุ (๖)
อาหาร ๓ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
อาหาร ๓ ในรูปธาตุ คือ
๑. ผัสสาหาร ๒. มโนสัญเจตนาหาร
๓. วิญญาณาหาร
เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๓ ในรูปธาตุ (๗)
ผัสสะ ๔ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
ผัสสะ ๔ ในรูปธาตุ คือ

๑. จักขุสัมผัส ๒. โสตสัมผัส
๓. มโนธาตุสัมผัส ๔. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส

เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๔ ในรูปธาตุ (๘)
เวทนา ๔ ฯลฯ สัญญา ๔ ฯลฯ เจตนา ๔ ฯลฯ จิต ๔ ในรูปธาตุ
เป็นไฉน
จิต ๔ ในรูปธาตุ คือ

๑. จักขุวิญญาณ ๒. โสตวิญญาณ
๓. มโนธาตุ ๔. มโนวิญญาณธาตุ

เหล่านี้เรียกว่า จิต ๔ ในรูปธาตุ (๙-๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๓.อรูปธาตุ
๓. อรูปธาตุ
(ธาตุในอรูปภูมิ)
[๙๙๕] ในอรูปธาตุ ขันธ์มีเท่าไร ฯลฯ จิตมีเท่าไร
ในอรูปธาตุ ขันธ์มี ๔ อายตนะมี ๒ ธาตุมี ๒ สัจจะมี ๓ อินทรีย์มี ๑๑
เหตุมี ๘ อาหารมี ๓ ผัสสะมี ๑ เวทนามี ๑ สัญญามี ๑ เจตนามี ๑ จิต
มี ๑
[๙๙๖] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๔ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
ขันธ์ ๔ ในอรูปธาตุ คือ
๑. เวทนาขันธ์ ๒. สัญญาขันธ์
๓. สังขารขันธ์ ๔. วิญญาณขันธ์
เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๔ ในอรูปธาตุ (๑)
อายตนะ ๒ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
อายตนะ ๒ ในอรูปธาตุ คือ มนายตนะ และธัมมายตนะ
เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๒ ในอรูปธาตุ (๒)
ธาตุ ๒ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
ธาตุ ๒ ในอรูปธาตุ คือ มโนวิญญาณธาตุ และธัมมธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๒ ในอรูปธาตุ (๓)
สัจจะ ๓ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
สัจจะ ๓ ในอรูปธาตุ คือ
๑. ทุกขสัจ ๒. สมุทยสัจ
๓. มัคคสัจ
เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓ ในอรูปธาตุ (๔)
อินทรีย์ ๑๑ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๓.อรูปธาตุ
อินทรีย์ ๑๑ ในอรูปธาตุ คือ

๑. มนินทรีย์ ๒. ชีวิตินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. อุเปกขินทรีย์
๕. สัทธินทรีย์ ๖. วิริยินทรีย์
๗. สตินทรีย์ ๘. สมาธินทรีย์
๙. ปัญญินทรีย์ ๑๐. อัญญินทรีย์
๑๑. อัญญาตาวินทรีย์

เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๑๑ ในอรูปธาตุ (๕)
เหตุ ๘ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
เหตุ ๘ ในอรูปธาตุ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๒ อัพยากตเหตุ ๓ ฯลฯ
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๘ ในอรูปธาตุ (๖)
อาหาร ๓ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
อาหาร ๓ ในอรูปธาตุ คือ
๑. ผัสสาหาร ๒. มโนสัญเจตนาหาร
๓. วิญญาณาหาร
เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๓ ในอรูปธาตุ (๗)
ผัสสะ ๑ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
ผัสสะ ๑ ในอรูปธาตุ คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
นี้เรียกว่า ผัสสะ ๑ ในอรูปธาตุ (๘)
เวทนา ๑ ฯลฯ สัญญา ๑ ฯลฯ เจตนา ๑ ฯลฯ จิต ๑ ในอรูปธาตุ เป็น
ไฉน
จิต ๑ ในอรูปธาตุ คือ มโนวิญญาณธาตุ
นี้เรียกว่า จิต ๑ ในอรูปธาตุ (๙-๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๔.อปริยาปันนะ
๔. อปริยาปันนะ
(ธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์)
[๙๙๗] ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ขันธ์มีเท่าไร ฯลฯ จิตมีเท่าไร
ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ขันธ์มี ๔ อายตนะมี ๒ ธาตุมี ๒ สัจจะมี
๒ อินทรีย์มี ๑๒ เหตุมี ๖ อาหารมี ๓ ผัสสะมี ๑ เวทนามี ๑ สัญญามี ๑
เจตนามี ๑ จิตมี ๑
[๙๙๘] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๔ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
ขันธ์ ๔ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ
๑. เวทนาขันธ์ ๒. สัญญาขันธ์
๓. สังขารขันธ์ ๔. วิญญาณขันธ์
เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๔ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๑)
อายตนะ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
อายตนะ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ มนายตนะ และธัมมายตนะ
เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๒)
ธาตุ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
ธาตุ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ มโนวิญญาณธาตุ และธัมมธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๓)
สัจจะ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
สัจจะ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ มัคคสัจ และนิโรธสัจ
เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๔)
อินทรีย์ ๑๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
อินทรีย์ ๑๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๔.อปริยาปันนะ

๑. มนินทรีย์ ๒. ชิวหินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. อุเปกขินทรีย์
๕. สัทธินทรีย์ ๖. วิริยินทรีย์
๗. สตินทรีย์ ๘. สมาธินทรีย์
๙. ปัญญินทรีย์ ๑๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๑๑. อัญญินทรีย์ ๑๒. อัญญาตาวินทรีย์

เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๑๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๕)
เหตุ ๖ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
เหตุ ๖ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ กุศลเหตุ ๓ และอัพยากต-
เหตุ ๓
บรรดาเหตุ ๖ เหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน
กุศลเหตุ ๓ คือ
๑. กุศลเหตุคืออโลภะ ๒. กุศลเหตุคืออโทสะ
๓. กุศลเหตุคืออโมหะ
เหล่านี้ชื่อว่ากุศลเหตุ ๓
อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน
อัพยากตเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นกุศล เหล่านี้ชื่อว่าอัพยากตเหตุ ๓
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๖ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๖)
อาหาร ๓ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
อาหาร ๓ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ
๑. ผัสสาหาร ๒. มโนสัญเจตนาหาร
๓. วิญญาณาหาร
เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๓ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๓.ปริยาปันนาปริยาปันนวาร ๑.กามธาตุ
ผัสสะ ๑ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
ผัสสะ ๑ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
นี้เรียกว่า ผัสสะ ๑ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๘)
เวทนา ๑ ฯลฯ สัญญา ๑ ฯลฯ เจตนา ๑ ฯลฯ จิต ๑ ในธรรมที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
จิต ๑ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ มโนวิญญาณธาตุ
นี้เรียกว่า จิต ๑ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๙-๑๒)
๓. ปริยาปันนาปริยาปันนวาร
(วาระว่าด้วยธรรมที่นับเนื่องและไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์)
๑. กามธาตุ
(ธาตุในกามภูมิ)
[๙๙๙] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรนับเนื่องในกามธาตุ เท่าไรไม่นับเนื่องในกามธาตุ
[๑๐๐๐] รูปขันธ์เป็นโลกิยะ ขันธ์ ๔ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
อายตนะ ๑๐ นับเนื่องในกามธาตุ อายตนะ ๒ ที่นับเนื่องในกามธาตุก็มี
ที่ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี
ธาตุ ๑๖ นับเนื่องในกามธาตุ ธาตุ ๒ ที่นับเนื่องในกามธาตุก็มี ที่ไม่นับ
เนื่องในกามธาตุก็มี
สมุทยสัจนับเนื่องในกามธาตุ สัจจะ ๒ ไม่นับเนื่องในกามธาตุ ทุกขสัจที่
นับเนื่องในกามธาตุก็มี ที่ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี
อินทรีย์ ๑๐ นับเนื่องในกามธาตุ อินทรีย์ ๓ ไม่นับเนื่องในกามธาตุ อินทรีย์
๙ ที่นับเนื่องในกามธาตุก็มี ที่ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๓.ปริยาปันนาปริยาปันนวาร ๒. รูปธาตุ
อกุศลเหตุ ๓ นับเนื่องในกามธาตุ เหตุ ๖ ที่นับเนื่องในกามธาตุก็มี ที่ไม่
นับเนื่องในกามธาตุก็มี
กวฬิงการาหารนับเนื่องในกามธาตุ อาหาร ๓ ที่นับเนื่องในกามธาตุก็มี ที่
ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี
ผัสสะ ๖ นับเนื่องในกามธาตุ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ที่นับเนื่องในกามธาตุ ก็มี
ที่ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี
เวทนา ๖ ฯลฯ สัญญา ๖ ฯลฯ เจตนา ๖ ฯลฯ จิต ๖ นับเนื่องในกามธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ ที่นับเนื่องในกามธาตุก็มี ที่ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี
๒. รูปธาตุ
(ธาตุในรูปภูมิ)
[๑๐๐๑] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรนับเนื่องในรูปธาตุ เท่าไรไม่นับเนื่องใน
รูปธาตุ ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรนับเนื่องในรูปธาตุ เท่าไรไม่นับเนื่องใน
รูปธาตุ
[๑๐๐๒] รูปขันธ์ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ ขันธ์ ๔ ที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่
ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี
อายตนะ ๑๐ นับเนื่องในรูปธาตุ อายตนะ ๒ ที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่
ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ ธาตุ ๒ ที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่ไม่นับ
เนื่องในรูปธาตุก็มี
สัจจะ ๓ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ ทุกขสัจที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่ไม่นับ
เนื่องในรูปธาตุก็มี
อินทรีย์ ๑๓ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ อินทรีย์ ๙ ที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่
ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๓.ปริยาปันนาปริยาปันนวาร ๓.อรูปธาตุ
อกุศลเหตุ ๓ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ เหตุ ๖ ที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่ไม่
นับเนื่องในรูปธาตุก็มี
กวฬิงการาหารไม่นับเนื่องในรูปธาตุ อาหาร ๓ ที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่
ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี
ผัสสะ ๖ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี
ที่ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี
เวทนา ๖ ฯลฯ สัญญา ๖ ฯลฯ เจตนา ๖ ฯลฯ จิต ๖ ไม่นับเนื่องใน
รูปธาตุ มโนวิญญาณธาตุที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี
๓. อรูปธาตุ
(ธาตุในอรูปภูมิ)
[๑๐๐๓] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรนับเนื่องในอรูปธาตุ เท่าไรไม่นับเนื่อง
ในอรูปธาตุ ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรนับเนื่องในอรูปธาตุ เท่าไรไม่นับเนื่องใน
อรูปธาตุ
[๑๐๐๔] รูปขันธ์ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ ขันธ์ ๔ ที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
ที่ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ อายตนะ ๒ ที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
ที่ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ ธาตุ ๒ ที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ที่ไม่
นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
สัจจะ ๓ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ ทุกขสัจที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ที่ไม่นับ
เนื่องในอรูปธาตุก็มี
อินทรีย์ ๑๔ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ อินทรีย์ ๘ ที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ที่
ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๓.ปริยาปันนาปริยาปันนวาร ๔. ปริยาปันนาปริยาปันนะ
อกุศลเหตุ ๓ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ เหตุ ๖ ที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ที่
ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
กวฬิงการาหารไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ อาหาร ๓ ที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
ที่ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
ผัสสะ ๖ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่นับเนื่องในอรูปธาตุ
ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
เวทนา ๖ ฯลฯ สัญญา ๖ ฯลฯ เจตนา ๖ ฯลฯ จิต ๖ ไม่นับเนื่องใน
อรูปธาตุ มโนวิญญาณธาตุที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ที่ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
๔. ปริยาปันนาปริยาปันนะ
(ธรรมที่นับเนื่องและไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์)
[๑๐๐๕] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ
[๑๐๐๖] รูปขันธ์เป็นโลกิยะ ขันธ์ ๔ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นโลกิยะ อายตนะ ๒ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นโลกิยะ ธาตุ ๒ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
สัจจะ ๒ เป็นโลกิยะ สัจจะ ๒ เป็นโลกุตตระ
อินทรีย์ ๑๐ เป็นโลกิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตตระ อินทรีย์ ๙ ที่เป็นโลกิยะก็มี
ที่เป็นโลกุตตระก็มี
อกุศลเหตุ ๓ เป็นโลกิยะ เหตุ ๖ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
กวฬิงการาหารเป็นโลกิยะ อาหาร ๓ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ผัสสะ ๖ เป็นโลกิยะ มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระ
ก็มี
เวทนา ๖ ฯลฯ สัญญา ๖ ฯลฯ เจตนา ๖ ฯลฯ จิต ๖ เป็นโลกิยะ
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ
๔. ธัมมทัสสนวาร
(วาระว่าด้วยการแสดงธรรม)
๑. กามธาตุ
(ธาตุในกามภูมิ)
[๑๐๐๗] ในขณะเกิดในกามธาตุ ขันธ์เท่าไรปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไรปรากฏ
ในขณะเกิดในกามธาตุ ขันธ์ ๕ ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก อายตนะ ๑๑
ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อายตนะ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อายตนะ ๑๐ เหล่า
อื่นอีกปรากฏแก่สัตว์บางพวก อายตนะ ๙ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อายตนะ ๗
ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
ธาตุ ๑๑ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก ธาตุ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก ธาตุ
๑๐ เหล่าอื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์บางพวก ธาตุ ๙ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก ธาตุ ๗
ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
สัจจะ ๑ ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
อินทรีย์ ๑๔ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๑๓ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
อินทรีย์ ๑๓ เหล่าอื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๑๒ ปรากฏแก่สัตว์
บางพวก อินทรีย์ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๙ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
อินทรีย์ ๙ เหล่าอื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๘ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
อินทรีย์ ๘ เหล่าอื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๗ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
อินทรีย์ ๕ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๔ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
เหตุ ๓ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก เหตุ ๒ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อเหตุกวิบาก
ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
อาหาร ๔ ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก ผัสสะ ๑ ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ
[๑๐๐๘] ในขณะเกิดในกามธาตุ ขันธ์ ๕ เหล่าไหนปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในขณะเกิดในกามธาตุ ขันธ์ ๕ เหล่านี้
ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
[๑๐๐๙] ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๑ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๑ คือ

๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
๓. โสตายตนะ ๔. ฆานายตนะ
๕. คันธายตนะ ๖. ชิวหายตนะ
๗. รสายตนะ ๘. กายายตนะ
๙. โผฏฐัพพายตนะ ๑๐. มนายตนะ
๑๑. ธัมมายตนะ

ปรากฏแก่เทวดาชั้นกามาวจร มนุษย์ผู้เกิดในสมัยต้นกัป เปรต อสุรกาย สัตว์
เดรัจฉานผู้เป็นโอปปาติกสัตว์และสัตว์นรก ซึ่งมีอายตนะครบบริบูรณ์ ในขณะเกิด
ในกามธาตุ อายตนะ ๑๑ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๐ คือ

๑. รูปายตนะ ๒. โสตายตนะ
๓. ฆานายตนะ ๔. คันธายตนะ
๕. ชิวหายตนะ ๖. รสายตนะ
๗. กายายตนะ ๘. โผฏฐัพพายตนะ
๙. มนายตนะ ๑๐. ธัมมายตนะ

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่งมี
ตาบอดมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๐ อื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๐ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ

๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
๓. ฆานายตนะ ๔. คันธายตนะ
๕. ชิวหายตนะ ๖. รสายตนะ
๗. กายายตนะ ๘. โผฏฐัพพายตนะ
๙. มนายตนะ ๑๐. ธัมมายตนะ

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่งมี
หูหนวกมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๙ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๙ คือ

๑. รูปายตนะ ๒. ฆานายตนะ
๓. คันธายตนะ ๔. ชิวหายตนะ
๕. รสายตนะ ๖. กายายตนะ
๗. โผฏฐัพพายตนะ ๘. มนายตนะ
๙. ธัมมายตนะ

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่ง
มีตาบอดและหูหนวกมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๙ ปรากฏ
แก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๗ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๗ คือ

๑. รูปายตนะ ๒. คันธายตนะ
๓. รสายตนะ ๔. กายายตนะ
๕. โผฏฐัพพายตนะ ๖. มนายตนะ
๗. ธัมมายตนะ

ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๗ เหล่านี้ปรากฏ
แก่สัตว์พวกนี้ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ
[๑๐๑๐] ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๑ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๑ คือ

๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ
๓. โสตธาตุ ๔. ฆานธาตุ
๕. คันธธาตุ ๖. ชิวหาธาตุ
๗. รสธาตุ ๘. กายธาตุ
๙. โผฏฐัพพธาตุ ๑๐. มโนวิญญาณธาตุ
๑๑. ธัมมธาตุ

ปรากฏแก่เทวดาชั้นกามาวจร มนุษย์ผู้เกิดในสมัยต้นกัป เปรต อสุรกาย สัตว์
เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่งมีอายตนะครบบริบูรณ์ ในขณะ
เกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๑ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๐ คือ

๑. รูปธาตุ ๒. โสตธาตุ
๓. ฆานธาตุ ๔. คันธธาตุ
๕. ชิวหาธาตุ ๖. รสธาตุ
๗. กายธาตุ ๘. โผฏฐัพพธาตุ
๙. มโนวิญญาณธาตุ ๑๐. ธัมมธาตุ

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก
ซึ่งมีตาบอดมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๐ อื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๐ คือ

๑. จักจุธาตุ ๒. รูปธาตุ
๓. ฆานธาตุ ๔. คันธธาตุ
๕. ชิวหาธาตุ ๖. รสธาตุ
๗. กายธาตุ ๘. โผฏฐัพพธาตุ
๙. มโนวิญญาณธาตุ ๑๐. ธัมมธาตุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ
ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก
ซึ่งมีหูหนวกมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๙ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๙ คือ

๑. รูปธาตุ ๒. ฆานธาตุ
๓. คันธธาตุ ๔. ชิวหาธาตุ
๕. รสธาตุ ๖. กายธาตุ
๗. โผฏฐัพพธาตุ ๘. มโนวิญญาณธาตุ
๙. ธัมมธาตุ

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก
ซึ่งมีตาบอดและหูหนวกมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๙ เหล่านี้ ปรากฏ
แก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๗ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๗ คือ

๑. รูปธาตุ ๒. คันธธาตุ
๓. รสธาตุ ๔. กายธาตุ
๕. โผฏฐัพพธาตุ ๖. มโนวิญญาณธาตุ
๗. ธัมมธาตุ

ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๗ เหล่านี้ปรากฏ
แก่สัตว์พวกนี้ (๓)
[๑๐๑๑] ในขณะเกิดในกามธาตุ สัจจะ ๑ ข้อไหนปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
สัจจะ ๑ ข้อนี้คือ ทุกขสัจ ในขณะเกิดในกามธาตุ สัจจะนี้ปรากฏแก่สัตว์
ทุกจำพวก (๔)
[๑๐๑๒] ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๔ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๔ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๘. ชีวิตินทรีย์
๙. โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์ ๑๐. สัทธินทรีย์
๑๑. วิริยินทรีย์ ๑๒. สตินทรีย์
๑๓. สมาธินทรีย์ ๑๔. ปัญญินทรีย์

ปรากฏแก่เทวดาชั้นกามาวจรผู้เป็นสเหตุกสัตว์ สัมปยุตด้วยญาณ ในขณะเกิดใน
กามธาตุ อินทรีย์ ๑๔ เหล่านี้ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๓ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๓ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๘. ชีวิตินทรีย์
๙. โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์ ๑๐. สัทธินทรีย์
๑๑. วิริยินทรีย์ ๑๒. สตินทรีย์
๑๓. สมาธินทรีย์

ปรากฏแก่เทวดาชั้นกามาวจรผู้เป็นสเหตุกสัตว์ วิปปยุตจากญาณ ในขณะเกิดใน
กามธาตุ อินทรีย์ ๑๓ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๓ อื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๓ อื่นอีก คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๘. ชีวิตินทรีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ

๙. โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์ ๑๐. สัทธินทรีย์
๑๑. วิริยินทรีย์ ๑๒. สตินทรีย์
๑๓. สมาธินทรีย์

ปรากฏแก่มนุษย์ผู้เกิดในสมัยต้นกัป ผู้เป็นสเหตุกสัตว์ สัมปยุตด้วยญาณ ในขณะ
เกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๓ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๒ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๒ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. ชีวิตินทรีย์ ๘. โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์
๙. สัทธินทรีย์ ๑๐. วิริยินทรีย์
๑๑. สตินทรีย์ ๑๒. สมาธินทรีย์

ปรากฏแก่มนุษย์ผู้เกิดในสมัยต้นกัป ผู้เป็นสเหตุกสัตว์ วิปปยุตจากญาณ ในขณะ
เกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๒ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๐ คือ

๑. กายินทรีย์ ๒. มนินทรีย์
๓. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๔. ชีวิตินทรีย์
๕. โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์ ๖. สัทธินทรีย์
๗. วิริยินทรีย์ ๘. สตินทรีย์
๙. สมาธินทรีย์ ๑๐. ปัญญินทรีย์

ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ผู้เป็นสเหตุกสัตว์ สัมปยุตด้วยญาณ ในขณะเกิดใน
กามธาตุ อินทรีย์ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๙ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๙ คือ

๑. กายินทรีย์ ๒. มนินทรีย์
๓. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๔. ชีวิตินทรีย์
๕. โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์ ๖. สัทธินทรีย์
๗. วิริยินทรีย์ ๘. สตินทรีย์
๙. สมาธินทรีย์

ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ผู้เป็นสเหตุกสัตว์ วิปปยุตจากญาณ ในขณะเกิด
ในกามธาตุ อินทรีย์ ๙ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๙ อื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๙ อื่นอีก คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๘. ชีวิตินทรีย์
๙. อุเปกขินทรีย์

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่ง
มีอายตนะครบบริบูรณ์ ในขณะที่เกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๙ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๘ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๘ คือ

๑. โสตินทรีย์ ๒. ฆานินทรีย์
๓. ชิวหินทรีย์ ๔. กายินทรีย์
๕. มนินทรีย์ ๖. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์
๗. ชีวิตินทรีย์ ๘. อุเปกขินทรีย์

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่งมี
ตาบอดมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๘ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๘ อื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๘ อื่นอีก คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. ฆานินทรีย์
๓. ชิวหินทรีย์ ๔. กายินทรีย์
๕. มนินทรีย์ ๖. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์
๗. ชีวิตินทรีย์ ๘. อุเปกขินทรีย์

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่ง
มีหูหนวกมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๘ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๗ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๗ คือ

๑. ฆานินทรีย์ ๒. ชิวหินทรีย์
๓. กายินทรีย์ ๔. มนินทรีย์
๕. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๖. ชีวิตินทรีย์
๗. อุเปกขินทรีย์

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่ง
มีตาบอดและหูหนวกมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๗ เหล่านี้
ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๕ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๕ คือ

๑. กายินทรีย์ ๒. มนินทรีย์
๓. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๔. ชีวิตินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์

ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ เว้นนปุงสกสัตว์ ผู้เป็นอเหตุกะ ในขณะเกิดในกามธาตุ
อินทรีย์ ๕ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๔ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๔ คือ
๑. กายินทรีย์ ๒. มนินทรีย์
๓. ชีวิตินทรีย์ ๔. อุเปกขินทรีย์
ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ผู้เป็นอเหตุกะเป็นนปุงสกสัตว์ ในขณะเกิดในกามธาตุ
อินทรีย์ ๔ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
[๑๐๑๓] ในขณะเกิดในกามธาตุ เหตุ ๓ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ เหตุ ๓ คือ วิปากเหตุคืออโลภะ วิปากเหตุคือ
อโทสะ และวิปากเหตุคืออโมหะ ปรากฏแก่เทวดาชั้นกามาวจร มนุษย์ผู้เกิดใน
สมัยต้นกัป สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ซึ่งเป็นสเหตุกสัตว์ สัมปยุตด้วยญาณ ในขณะ
เกิดในกามธาตุ เหตุ ๓ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ เหตุ ๒ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ เหตุ ๒ คือ วิปากเหตุคืออโลภะ และวิปากเหตุคือ
อโทสะ ปรากฏแก่เทวดาชั้นกามาวจร มนุษย์ผู้เกิดในสมัยต้นกัป สัตว์ผู้เกิดในครรภ์
ซึ่งเป็นสเหตุกสัตว์ วิปปยุตจากญาณ ในขณะเกิดในกามธาตุ เหตุ ๒ ปรากฏ
แก่สัตว์พวกนี้ อเหตุกวิบาก ปรากฏแก่สัตว์ที่เหลือจากนั้น (๖)
[๑๐๑๔] ในขณะเกิดในกามธาตุ อาหาร ๔ เหล่าไหนปรากฏแก่สัตว์ทุก
จำพวก
อาหาร ๔ คือ
๑. กวฬิงการาหาร ๒. ผัสสาหาร
๓. มโนสัญเจตนาหาร ๔. วิญญาณาหาร
ในขณะเกิดในกามธาตุ อาหาร ๔ ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก (๗)
ในขณะเกิดในกามธาตุ ผัสสะ ๑ ข้อไหนปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
ผัสสะ ๑ ข้อนี้คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ในขณะเกิดในกามธาตุ ผัสสะ ๑
ข้อนี้ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก (๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๒.รูปธาตุ
ในขณะเกิดในกามธาตุ เวทนา ๑ ฯลฯ สัญญา ๑ ฯลฯ เจตนา ๑ ฯลฯ
จิต ๑ อย่างไหนปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
จิต ๑ คือ มโนวิญญาณธาตุ
ในขณะเกิดในกามธาตุ จิต ๑ นี้ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก (๙-๑๒)
๒. รูปธาตุ
(ธาตุในรูปภูมิ)
[๑๐๑๕] ในขณะเกิดในรูปธาตุ ขันธ์เท่าไรปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไรปรากฏ
ในขณะเกิดในรูปธาตุ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๕ ธาตุ ๕ สัจจะ ๑ อินทรีย์ ๑๐
เหตุ ๓ อาหาร ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ปรากฏแก่เทวดา
เว้นอสัญญสัตตพรหม
[๑๐๑๖] ในขณะเกิดในรูปธาตุ ขันธ์ ๕ เหล่าไหนปรากฏ
ขันธ์ ๕ คือ

๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์
๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์

ในขณะเกิดในรูปธาตุ ขันธ์ ๕ เหล่านี้ปรากฏ (๑)
ในขณะเกิดในรูปธาตุ อายตนะ ๕ เหล่าไหนปรากฏ
อายตนะ ๕ คือ

๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
๓. โสตายตนะ ๔. มนายตนะ
๕. ธัมมายตนะ

ในขณะเกิดในรูปธาตุ อายตนะ ๕ เหล่านี้ปรากฏ (๒)
ในขณะเกิดในรูปธาตุ ธาตุ ๕ เหล่าไหนปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๒.รูปธาตุ
ธาตุ ๕ เหล่านี้คือ

๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ
๓. โสตธาตุ ๔. มโนวิญญาณธาตุ
๕. ธัมมธาตุ

ในขณะเกิดในรูปธาตุ ธาตุ ๕ เหล่านี้ปรากฏ (๓)
ในขณะเกิดในรูปธาตุ สัจจะ ๑ ข้อไหนปรากฏ
สัจจะ ๑ ข้อนี้คือ ทุกขสัจ ในขณะเกิดในรูปธาตุสัจจะ ๑ ข้อนี้ปรากฏ (๔)
ในขณะเกิดในรูปธาตุ อินทรีย์ ๑๐ เหล่าไหนปรากฏ
อินทรีย์ ๑๐ เหล่านี้ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. มนินทรีย์ ๔. ชีวิตินทรีย์
๕. โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์ ๖. สัทธินทรีย์
๗. วิริยินทรีย์ ๘. สตินทรีย์
๙. สมาธินทรีย์ ๑๐. ปัญญินทรีย์

ในขณะเกิดในรูปธาตุ อินทรีย์ ๑๐ เหล่านี้ปรากฏ (๕)
ในขณะเกิดในรูปธาตุ เหตุ ๓ เหล่าไหนปรากฏ
เหตุ ๓ คือ วิปากเหตุคืออโลภะ วิปากเหตุคืออโทสะ และวิปากเหตุคืออโมหะ
ในขณะเกิดในรูปธาตุ เหตุ ๓ เหล่านี้ปรากฏ (๖)
ในขณะเกิดในรูปธาตุ อาหาร ๓ เหล่าไหนปรากฏ
อาหาร ๓ คือ
๑. ผัสสาหาร ๒. มโนสัญเจตนาหาร
๓. วิญญาณาหาร
ในขณะเกิดในรูปธาตุ อาหาร ๓ เหล่านี้ปรากฏ (๗)
ในขณะเกิดในรูปธาตุ ผัสสะ ๑ อย่างไหนปรากฏ
ผัสสะ ๑ คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ในขณะเกิดในรูปธาตุ ผัสสะ ๑ นี้
ปรากฏ (๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๔.อรูปธาตุ
ในขณะเกิดในรูปธาตุ เวทนา ๑ ฯลฯ สัญญา ๑ ฯลฯ เจตนา ๑ ฯลฯ
จิต ๑ อย่างไหนปรากฏ
จิต ๑ คือ มโนวิญญาณธาตุ
ในขณะที่เกิดในรูปธาตุ จิต ๑ นี้ปรากฏ (๙-๑๒)
๓. อสัญญสัตว์
(สัตว์ที่ไม่มีสัญญา)
[๑๐๑๗] ในขณะเกิด ขันธ์เท่าไรปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไรปรากฏแก่
อสัญญสัตตพรหม
ในขณะเกิด ขันธ์ ๑ คือ รูปขันธ์
อายตนะ ๒ คือ รูปายตนะ และธัมมายตนะ
ธาตุ ๒ คือ รูปธาตุ และธัมมธาตุ
สัจจะ ๑ คือ ทุกขสัจ
อินทรีย์ ๑ คือ รูปชีวิตินทรีย์
ปรากฏแก่อสัญญสัตตพรหม อสัญญสัตตพรหม ไม่มีเหตุ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะ
ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีเจตนา ไม่มีจิตปรากฏ
๔. อรูปธาตุ
(ธาตุในอรูปภูมิ)
[๑๐๑๘] ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ขันธ์เท่าไรปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไรปรากฏ
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๑ อินทรีย์ ๘
เหตุ ๓ อาหาร ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ปรากฏ
[๑๐๑๙] ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ขันธ์ ๔ เหล่าไหนปรากฏ
ขันธ์ ๔ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๔.อรูปธาตุ
๑. เวทนาขันธ์ ๒. สัญญาขันธ์
๓. สังขารขันธ์ ๔. วิญญาณขันธ์
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ขันธ์ ๔ เหล่านี้ปรากฏ (๑)
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ อายตนะ ๒ เหล่าไหนปรากฏ
อายตนะ ๒ คือ มนายตนะ และธัมมายตนะ
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ อายตนะ ๒ เหล่านี้ปรากฏ (๒)
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ธาตุ ๒ เหล่าไหนปรากฏ
ธาตุ ๒ คือ มโนวิญญาณธาตุ และธัมมธาตุ
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ธาตุ ๒ เหล่านี้ปรากฏ (๓)
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ สัจจะ ๑ ข้อไหนปรากฏ
สัจจะ ๑ ข้อนี้คือ ทุกขสัจ
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ สัจจะ ๑ ข้อนี้ปรากฏ (๔)
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ อินทรีย์ ๘ เหล่าไหนปรากฏ
อินทรีย์ ๘ คือ

๑. มนินทรีย์ ๒. ชีวิตินทรีย์
๓. อุเปกขินทรีย์ ๔. สัทธินทรีย์
๕. วิริยินทรีย์ ๖. สตินทรีย์
๗. สมาธินทรีย์ ๘. ปัญญินทรีย์

ในขณะเกิดในอรูปธาตุ อินทรีย์ ๘ เหล่านี้ปรากฏ (๕)
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ เหตุ ๓ เหล่าไหนปรากฏ
เหตุ ๓ คือ วิปากเหตุคืออโลภะ วิปากเหตุคืออโทสะ และวิปากเหตุคือ
อโมหะ
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ เหตุ ๓ เหล่านี้ปรากฏ (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๕.ภูมันตรทัสสนวาร
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ อาหาร ๓ เหล่าไหนปรากฏ
อาหาร ๓ คือ
๑. ผัสสาหาร ๒. มโนสัญเจตนาหาร
๓. วิญญาณาหาร
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ อาหาร ๓ เหล่านี้ปรากฏ (๗)
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ผัสสะ ๑ อย่างไหนปรากฏ
ผัสสะ ๑ คือ มโนวิญญาณาธาตุสัมผัส
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ผัสสะ ๑ นี้ปรากฏ (๘)
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ เวทนา ๑ ฯลฯ สัญญา ๑ ฯลฯ เจตนา ๑ ฯลฯ
จิต ๑ อย่างไหนปรากฏ
จิต ๑ คือ มโนวิญญาณธาตุ
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ จิต ๑ นี้ปรากฏ (๙-๑๒)
๕. ภูมันตรทัสสนวาร
(วาระว่าด้วยการแสดงระหว่างภูมิ)
[๑๐๒๐] สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร สภาว-
ธรรมที่เป็นรูปาวจร สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจร สภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร เป็นไฉน
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ท่องเที่ยวอยู่ใน
ภูมินี้ ที่นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้ คือ เบื้องล่างกำหนดเอาอเวจีนรกเป็น
ที่สุด เบื้องบนกำหนดเอาเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกามาวจร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๕.ภูมันตรทัสสนวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร ที่เป็นอรูปาวจร ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นกามาวจร
สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในรูปภูมิ หรือ
พระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ใน
ระหว่างนี้คือ เบื้องล่างกำหนดเอาพรหมโลกเป็นที่สุด (ชั้นพรหมปาริสัชชา) เบื้อง
บนกำหนดเอาพรหมชั้นอกนิฏฐภพเป็นที่สุด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นรูปาวจร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร ที่เป็นอรูปาวจร ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปาวจร
สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในอรูปภูมิ หรือ
พระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ใน
ระหว่างนี้ คือ เบื้องล่างกำหนดเอาพรหมผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพเป็นที่สุด
เบื้องบนกำหนดเอาเหล่าพรหมผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็น ที่สุด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอรูปาวจร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร ที่เป็นรูปาวจร ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาว-
ธรรม เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอรูปาวจร
สภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
สภาวธรรมคือกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร
ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่านับเนื่องในวัฏฏทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๖. อุปปาทกกัมมอายุปปมาณวาร ๑. อุปปาทกกรรม
สภาวธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
มรรค ผลแห่งมรรค ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง (นิพพาน) สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อ
ว่าไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
๖. อุปปาทกกัมมอายุปปมาณวาร
(วาระว่าด้วยกรรมเป็นเหตุให้เกิดและประมาณอายุของสัตว์)
๑. อุปปาทกกรรม
(กรรมเป็นเหตุให้เกิด)
[๑๐๒๑] ที่ชื่อว่า เทวดา ได้แก่
เทวดา ๓ จำพวก คือ
๑. สมมติเทวดา (เทวดาโดยสมมติ)
๒. อุปปัตติเทวดา (เทวดาโดยอุบัติ)
๓. วิสุทธิเทวดา (เทวดาโดยความบริสุทธิ์)
พระราชา พระราชเทวี พระราชกุมาร๑ เรียกว่า สมมติเทวดา
เทวดาเบื้องบนนับแต่เทวดาชั้นจาตุมหาราชขึ้นไปเรียกว่า อุปปัตติเทวดา
พระอรหันต์ทั้งหลายเรียกว่า วิสุทธิเทวดา
พวกมนุษย์ผู้ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วไปเกิดที่ไหน
พวกมนุษย์ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว บางพวกไปเกิดเป็นสหาย
ของกษัตริย์มหาศาล บางพวกไปเกิดเป็นสหายของพราหมณ์มหาศาล บางพวกไป
เกิดเป็นสหายของคฤหบดีมหาศาล บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นจาตุ-
มหาราช บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ บางพวกไปเกิดเป็น
สหายของเทวดาชั้นยามา บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นดุสิต บางพวก
ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นนิมมานรดี บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้น
ปรนิมมิตวสวัตตี

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๑๐๒๑/๕๖๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๖.อุปปาทกกัมมอายุปปมาณวาร ๒.อายุปปมาณะ
๒. อายุปปมาณะ
(ประมาณอายุ)
[๑๐๒๒] อายุของมนุษย์ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑๐๐ ปี ต่ำกว่านั้นบ้าง เกินกว่านั้นบ้างก็มี (๑)
[๑๐๒๓] อายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช มีประมาณเท่าไร
๕๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐
ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปี
ทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๙ ล้านปี (๒)
อายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ มีประมาณเท่าไร
๑๐๐ ปีของมนุษย์นับเป็นวันหนึ่ง คืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปี
ทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๓ โกฏิ ๖ ล้านปี (๓)
อายุของเทวดาชั้นยามา มีประมาณเท่าไร
๒๐๐ ปีของมนุษย์นับเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาชั้นยามา ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นยามา
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑๔ โกฏิ ๔ ล้านปี (๔)
อายุของเทวดาชั้นดุสิต มีประมาณเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๖.อุปปาทกกัมมอายุปปมาณวาร ๒.อายุปปมาณะ
๔๐๐ ปีของมนุษย์นับเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปี (๕)
อายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี มีประมาณเท่าไร
๘๐๐ ปีของมนุษย์นับเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๘,๐๐๐ ปีทิพย์
โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๒๓๐ โกฏิ ๔ ล้านปี (๖)
อายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี มีประมาณเท่าไร
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์นับเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ๓๐
ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปี
ทิพย์เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๙๒๑ โกฏิ ๖ ล้านปี (๗)
เทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้นเพียบพร้อมด้วยกามคุณทุกอย่าง
อายุของเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น นับรวมกันทั้งหมดเป็นเท่าไร
เป็น ๑,๒๒๘ โกฏิ ๕ ล้านปี โดยนับอย่างปีของมนุษย์
[๑๐๒๔] บุคคลเจริญปฐมฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน
บุคคลเจริญปฐมฌานได้อย่างสามัญแล้วไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นพรหม-
ปาริสัชชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๖.อุปปาทกกัมมอายุปปมาณวาร ๒.อายุปปมาณะ
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณเท่าส่วนที่ ๓ แห่งกัป (๘)
บุคคลเจริญปฐมฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน
ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นพรหมปุโรหิตา
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณกึ่งกัป (๙)
บุคคลเจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน
บุคคลเจริญปฐมฌานได้อย่างประณีตแล้ว ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้น
มหาพรหม
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑ กัป (๑๐)
[๑๐๒๕] บุคคลเจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน
บุคคลผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญแล้ว ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้น
ปริตตาภา
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๒ กัป (๑๑)
บุคคลเจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน
บุคคลเจริญทุติยฌานได้อย่างกลางแล้ว ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้น
อัปปมาณาภา
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๔ กัป (๑๒)
บุคคลเจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน
บุคคลเจริญทุติยฌานได้อย่างประณีตแล้วไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นอาภัสสรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๖.อุปปาทกกัมมอายุปปมาณวาร ๒.อายุปปมาณะ
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๘ กัป (๑๓)
[๑๐๒๖] บุคคลเจริญตติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน
บุคคลเจริญตติยฌานได้อย่างสามัญแล้ว ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นปริตต-
สุภา
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑๖ กัป (๑๔)
บุคคลเจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน
บุคคลเจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นอัปปมาณสุภา
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๓๒ กัป (๑๕)
บุคคลเจริญตติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน
บุคคลเจริญตติยฌานได้อย่างประณีตแล้ว ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้น
สุภกิณหา
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๖๔ กัป (๑๖)
[๑๐๒๗] บุคคลเจริญจตุตถฌานแล้ว บางพวกไปเกิดเป็นสหายของอสัญญสัตต-
เทวดา บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นเวหัปผลา บางพวกไปเกิดเป็นสหาย
ของเทวดาชั้นอวิหา บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นอตัปปา บางพวกไปเกิด
เป็นสหายของเทวดาชั้นสุทัสสา บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นสุทัสสี
บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นอกนิฏฐา บางพวกไปเกิดเป็นสหายของ
เทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาผู้เข้าถึง
วิญญาณัญจายตนภพ บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตน-
ภพ บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๖.อุปปาทกกัมมอายุปปมาณวาร ๒.อายุปปมาณะ
มีอารมณ์ต่างกัน เพราะมีมนสิการต่างกัน เพราะมีฉันทะต่างกัน เพราะมีปณิธาน
ต่างกัน๑ เพราะมีอธิโมกข์ต่างกัน เพราะมีอภินิหารต่างกัน เพราะมีปัญญาต่างกัน
อายุของอสัญญสัตตเทวดาและเทวดาชั้นเวหัปผลา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๕๐๐ กัป (๑๗-๑๘)
อายุของเทวดาชั้นอวิหา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑,๐๐๐ กัป (๑๙)
อายุของเทวดาชั้นอตัปปา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๒,๐๐๐ กัป (๒๐)
อายุของเทวดาชั้นสุทัสสา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๔,๐๐๐ กัป (๒๑)
อายุของเทวดาชั้นสุทัสสี มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๘,๐๐๐ กัป (๒๒)
อายุของเทวดาชั้นอกนิฏฐา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑๖,๐๐๐ กัป (๒๓)
[๑๐๒๘] อายุของเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๒๐,๐๐๐ กัป (๒๔)
อายุของเทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๔๐,๐๐๐ กัป (๒๕)
อายุของเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๖๐,๐๐๐ กัป (๒๖)
อายุของเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๘๔,๐๐๐ กัป (๒๗)

เชิงอรรถ :
๑ คือทำความปรารถนาในปฐวีกสิณเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. ๑๐๒๗/๕๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๗.อภิญเญยยาทิวาร
[๑๐๒๙] เหล่าสัตว์ผู้อันอำนาจแห่งบุญส่งเสริมแล้ว
ไปสู่กามภพและรูปภพหรือไปถึงภวัคคพรหมบ้าง
แต่ยังกลับไปสู่ทุคติภูมิได้อีก
เหล่าสัตว์ที่มีอายุยืนถึงเพียงนั้นก็ยังจุติได้เพราะหมดอายุ
ไม่ว่าภพไหน ๆ ที่ชื่อว่าเที่ยงไม่มี พระผู้มีพระภาคผู้ทรง
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสไว้แล้วอย่างนี้
เพราะฉะนั้นแล เหล่านักปราชญ์ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด
รอบคอบคำนึงถึงความจริงข้อนี้ จึงเจริญมรรคอันสูงสุด
เพื่อพ้นจากชรามรณะ
ครั้นเจริญมรรคที่บริสุทธิ์สะอาดซึ่งมีปกติยังสัตว์ให้หยั่ง
ถึงนิพพานแล้ว จึงเป็นผู้ปราศจากอาสวะ ปรินิพพานเพราะ
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงฉะนี้แล
๗. อภิญเญยยาทิวาร
(วาระว่าด้วยธรรมที่พึงรู้ยิ่งเป็นต้น)
[๑๐๓๐] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรพึงรู้ยิ่ง เท่าไรพึงกำหนดรู้ เท่าไรพึงละ
เท่าไรพึงเจริญ เท่าไรพึงทำให้แจ้ง เท่าไรไม่พึงละ เท่าไรไม่พึงเจริญ เท่าไรไม่พึง
ทำให้แจ้ง ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรพึงรู้ยิ่ง เท่าไรพึงกำหนดรู้ เท่าไรพึงละ
เท่าไรพึงเจริญ เท่าไรพึงทำให้แจ้ง เท่าไรไม่พึงละ เท่าไรไม่พึงเจริญ เท่าไรไม่พึง
ทำให้แจ้ง
[๑๐๓๑] รูปขันธ์พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
ขันธ์ ๔ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๑)
อายตนะ ๑๐ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
อายตนะ ๒ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘. ธัมมหทยวิภังค์] ๗. อภิญเญยยาทิวาร
ธาตุ ๑๖ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
ธาตุ ๒ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๓)
สมุทยสัจพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ พึงละ แต่ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
มัคคสัจพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ พึงเจริญ แต่ไม่พึงทำให้แจ้ง
นิโรธสัจพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ แต่พึงทำให้แจ้ง
ทุกขสัจพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละ แต่ไม่พึงเจริญก็มี ที่ไม่พึงทำให้แจ้ง
และไม่พึงละก็มี (๔)
อินทรีย์ ๙ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
โทมนัสสินทรีย์พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ พึงละ แต่ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ พึงเจริญ แต่ไม่
พึงทำให้แจ้ง
อัญญินทรีย์พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
อัญญาตาวินทรีย์พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ แต่พึงทำให้แจ้ง
อินทรีย์ ๓ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
ที่ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี
อินทรีย์ ๖ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๕)
อกุศลเหตุ ๓ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ พึงละ แต่ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
กุศลเหตุ ๓ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ไม่พึงละ ที่พึงเจริญก็มี ที่ไม่พึงทำให้แจ้ง
และไม่พึงเจริญก็มี
อัพยากตเหตุ ๓ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ที่พึงทำให้
แจ้งก็มี ที่ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๘.สารัมมณานารัมมณวาร
กวฬิงการาหารพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
อาหาร ๓ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๗)
ผัสสะ ๖ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
มโนวิญญาณธาตุสัมผัสพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่
พึงทำให้แจ้งก็มี ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๘)
เวทนา ๖ ฯลฯ สัญญา ๖ ฯลฯ เจตนา ๖ ฯลฯ จิต ๖ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้
แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
มโนวิญญาณธาตุพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้
แจ้งก็มี ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๙-๑๒)
๘. สารัมมณานารัมมณวาร
(วาระว่าด้วยธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้และไม่ได้)
[๑๐๓๒] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรรับรู้อารมณ์ได้ เท่าไรรับรู้อารมณ์ไม่ได้
ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรรับรู้อารมณ์ได้ เท่าไรรับรู้อารมณ์ไม่ได้
[๑๐๓๓] รูปขันธ์รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ขันธ์ ๔ รับรู้อารมณ์ได้ (๑)
อายตนะ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ มนายตนะรับรู้อารมณ์ได้ ธัมมายตนะที่รับ
รู้อารมณ์ได้ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี (๒)
ธาตุ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ธาตุ ๗ รับรู้อารมณ์ได้ ธัมมธาตุที่รับรู้
อารมณ์ได้ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี (๓)
สัจจะ ๒ รับรู้อารมณ์ได้ นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ทุกขสัจที่รับรู้อารมณ์ได้ก็มี
ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี (๔)
อินทรีย์ ๗ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อินทรีย์ ๑๔ รับรู้อารมณ์ได้ ชีวิตินทรีย์ที่
รับรู้อารมณ์ได้ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๘.สารัมมณานารัมมณวาร
เหตุ ๙ รับรู้อารมณ์ได้
กวฬิงการาหารรับรู้อารมณ์ไม่ได้ อาหาร ๓ รับรู้อารมณ์ได้
ผัสสะ ๗ เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ และจิต ๗ รับรู้อารมณ์ได้ (๕-
๑๒)
[๑๐๓๔] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรมีธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ เท่า
ไรมีธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ เท่าไรที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ฯลฯ บรรดาจิต
๗ จิตเท่าไรมีธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ เท่าไรมีธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอารมณ์ เท่าไรรับรู้อารมณ์ไม่ได้๑
[๑๐๓๕] รูปขันธ์รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ขันธ์ ๔ ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี (๑)
อายตนะ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ มนายตนะที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี ธัมมายตนะมี
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็น
อารมณ์ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี (๒)
ธาตุ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ธาตุ ๖ มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็น
อารมณ์ มโนวิญญาณธาตุที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาว-
ธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี ธัมมธาตุที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ก็มี (๓)
นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ มัคคสัจมีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์
สมุทยสัจที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้
อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี ทุกขสัจที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี (๔)

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๗-๑๓/๙๕,๑๑๐๑/๔๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๙.ทิฏฐสุตาทิทัสสนวาร
อินทรีย์ ๗ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อินทรีย์ ๕ มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอารมณ์ อินทรีย์ ๙ ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี มี
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี ชีวิตินทรีย์มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ได้เป็นอารมณ์ก็มี มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ก็มี (๕)
เหตุ ๙ มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้
อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี
กวฬิงการาหารรับรู้อารมณ์ไม่ได้ อาหาร ๓ ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี
ผัสสะ ๖ มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอารมณ์ก็มี
เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ และจิต ๖ มีสภาวธรรมรับรู้อารมณ์ไม่
ได้เป็นอารมณ์ มโนวิญญาณธาตุที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่
มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี (๖-๑๒)
๙. ทิฏฐสุตาทิทัสสนวาร
(วาระว่าด้วยการแสดงสภาวธรรมที่เห็นได้และสดับได้เป็นต้น)
[๑๐๓๖] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ เท่าไรเป็นสภาว-
ธรรมที่ฟังได้ เท่าไรเป็นสภาวธรรมที่รู้ได้ เท่าไรเป็นสภาวธรรมที่เข้าใจได้ เท่าไร
เป็นสภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ และเข้าใจไม่ได้ ฯลฯ บรรดาจิต ๗
จิตเท่าไรเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ เท่าไรเป็นสภาวธรรมที่ฟังได้ เท่าไรเป็นสภาวธรรม
ที่รู้ได้ เท่าไรเป็นสภาวธรรมที่เข้าใจได้ เท่าไรเป็นสภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้
รู้ไม่ได้ และเข้าใจไม่ได้
[๑๐๓๗] รูปขันธ์ที่เห็นได้ก็มี ที่ฟังได้ก็มี ที่รู้ได้ก็มี ที่เข้าใจได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้
ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ และเข้าใจไม่ได้ก็มี ขันธ์ ๔ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๑. กุสลติกะ
รูปายตนะ เห็นได้ แต่ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้ สัททายตนะ
เห็นไม่ได้ แต่ฟังได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ
เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ แต่รู้ได้ เข้าใจได้ อายตนะ ๗ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้
แต่เข้าใจได้
รูปธาตุ เห็นได้ แต่ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้ สัททธาตุ เห็นไม่ได้ แต่ฟังได้
รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้ คันธธาตุ รสธาตุและโผฏสัพพธาตุ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ แต่รู้ได้
เข้าใจได้ ธาตุ ๑๓ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้
สัจจะ ๓ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้ ทุกขสัจ ที่เห็นได้ก็มี ที่ฟังได้
ก็มี ที่รู้ได้ก็มี ที่เข้าใจได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้ก็มี
อินทรีย์ ๒๒ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้
เหตุ ๙ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้
อาหาร ๔ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้
ผัสสะ ๗ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้
เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ และจิต ๗ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้
แต่เข้าใจได้
๑๐. ติกาทิทัสสนวาร
(วาระว่าด้วยการแสดงรวบรวมติกมาติกาเป็นต้น)
๑. กุสลติกะ
[๑๐๓๘] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็น
อัพยากฤต
รูปขันธ์เป็นอัพยากฤต ขันธ์ ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็น
อัพยากฤตก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๒.เวทนาติกะ
อายตนะ ๑๐ เป็นอัพยากฤต อายตนะ ๒ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอัพยากฤต ธาตุ ๒ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็น
อัพยากฤตก็มี
สมุทยสัจเป็นอกุศล มัคคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต ทุกขสัจที่เป็น
กุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอัพยากฤต โทมนัสสินทรีย์เป็นอกุศล อนัญญาตัญ-
ญัสสามีตินทรีย์เป็นกุศล อินทรีย์ ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี อินทรีย์
๖ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
กุศลเหตุ ๓ เป็นกุศล อกุศลเหตุ ๓ เป็นอกุศล อัพยากตเหตุ ๓ เป็น
อัพยากฤต
กวฬิงการาหารเป็นอัพยากฤต อาหาร ๓ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ผัสสะ ๖ เป็นอัพยากฤต มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็น
อกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ และจิต ๖ เป็นอัพยากฤต มโนวิญญาณธาตุ
ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
๒. เวทนาติกะ
[๑๐๓๙] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เท่าไรสัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนา เท่าไรสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไร
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เท่าไรสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เท่าไรสัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนา
ขันธ์ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือ
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๒.เวทนาติกะ
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา มนายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ธัมมายตนะที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาก็มี (๒)
ธาตุ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือ
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ธาตุ ๕ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา กายวิญญาณ-
ธาตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี มโนวิญญาณธาตุที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนาก็มี ธัมมธาตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี (๓)
สัจจะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี (๔)
อินทรีย์ ๑๒ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา อินทรีย์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี อินทรีย์ ๓ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ชีวิตินทรีย์ที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือ
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๓.วิปากติกะ
อกุศลเหตุคือโทสะสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เหตุ ๗ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี
ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี อกุศลเหตุคือโมหะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี (๖)
กวฬิงการาหารกล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา อาหาร ๓ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี (๗)
ผัสสะ ๕ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา กายวิญญาณธาตุสัมผัสที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ก็มี (๘)
เวทนา ๗ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
สัญญา ๕ เจตนา ๕ และจิต ๕ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
กายวิญญาณธาตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี
มโนวิญญาณธาตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี (๙-๑๒)
๓. วิปากติกะ
[๑๐๔๐] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรเป็นวิบาก เท่าไรเป็นเหตุให้เกิดวิบาก
เท่าไรไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรเป็น
วิบาก เท่าไรเป็นเหตุให้เกิดวิบาก เท่าไรไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
รูปขันธ์ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบากก็มี ที่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี (๑)
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อายตนะ ๒ ที่เป็น
วิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
ก็มี (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๔.อุปาทินนติกะ
ธาตุ ๑๐ ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ธาตุ ๕ เป็นวิบาก มโน-
ธาตุที่เป็นวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ธาตุ ๒ ที่เป็นวิบาก
ก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี (๓)
สัจจะ ๒ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก นิโรธสัจไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
ทุกขสัจที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากก็มี (๔)
อินทรีย์ ๗ ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อินทรีย์ ๓ เป็นวิบาก
อินทรีย์ ๒ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อัญญินทรีย์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี อินทรีย์ ๙ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี (๕)
เหตุ ๖ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อัพยากตเหตุ ๓ ที่เป็นวิบากก็มี ที่ไม่เป็น
วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี (๖)
กวฬิงการาหารไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อาหาร ๓ ที่เป็นวิบาก
ก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
ผัสสะ ๕ เป็นวิบาก มโนธาตุสัมผัสที่เป็นวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็น
เหตุให้เกิดวิบากก็มี มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
ก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
เวทนา ๕ สัญญา ๕ เจตนา ๕ และจิต ๕ เป็นวิบาก
มโนธาตุที่เป็นวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี (๗-๑๒)
๔. อุปาทินนติกะ
[๑๐๔๑] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เท่าไรที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เท่าไรที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๔.อุปาทินนติกะ
บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน เท่าไรที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน เท่าไรที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
รูปขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ขันธ์ ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี (๑)
อายตนะ ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน สัททายตนะกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน อายตนะ ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี อายตนะ ๒ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึด
ถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึด
ถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๒)
ธาตุ ๑๐ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน สัททธาตุกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน ธาตุ ๕ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ธาตุ ๒ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๔.อุปาทินนติกะ
สมุทยสัจ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน สัจจะ ๒ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน ทุกขสัจที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี (๔)
อินทรีย์ ๙ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน โทมนัสสินทรีย์กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน อินทรีย์ ๓ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อินทรีย์ ๙ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
อกุศลเหตุ ๓ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน กุศลเหตุ ๓ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี อัพยากตเหตุ ๓ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๕)
กวฬิงการาหารที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี อาหาร ๓ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๕.วิตักกติกะ
ผัสสะ ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน มโนธาตุสัมผัสที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
เวทนา ๕ สัญญา ๕ เจตนา ๕ และจิต ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน มโนธาตุที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี มโนวิญญาณธาตุที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๗-๑๒)
๕. วิตักกติกะ
[๑๐๔๒] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรมีทั้งวิตกและวิจาร เท่าไรไม่มีวิตกมีเพียง
วิจาร เท่าไรไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรมีทั้งวิตกและวิจาร
เท่าไรไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร เท่าไรไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
รูปขันธ์ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ขันธ์ ๓ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตก
มีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี สังขารขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่
ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีทั้งวิตกและ
วิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี (๑)
อายตนะ ๑๐ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร มนายตนะที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่
มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ธัมมายตนะที่มีทั้งวิตกและวิจาร
ก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีทั้ง
วิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๑. รูปทุกะ
ธาตุ ๑๕ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร มโนธาตุมีทั้งวิตกและวิจาร มโนวิญญาณ-
ธาตุที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
ธัมมธาตุที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและ
วิจารก็มี (๓)
สมุทยสัจมีทั้งวิตกและวิจาร นิโรธสัจไม่มีทั้งวิตกและวิจาร มัคคสัจที่มีทั้งวิตก
และวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ทุกขสัจที่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่กล่าวไม่
ได้ว่า มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี (๔)
อินทรีย์ ๙ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร โทมนัสสินทรีย์มีทั้งวิตกและวิจาร
อุเปกขินทรีย์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี อินทรีย์ ๑๑ ที่มี
ทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี (๕)
อกุศลเหตุ ๓ มีทั้งวิตกและวิจาร เหตุ ๖ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
กวฬิงการาหารไม่มีทั้งวิตกและวิจาร อาหาร ๓ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่
ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
ผัสสะ ๕ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร มโนธาตุสัมผัสมีทั้งวิตกและวิจาร มโน-
วิญญาณธาตุสัมผัสที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี
เวทนา ๕ สัญญา ๕ เจตนา ๕ และจิต ๕ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
มโนธาตุ มีทั้งวิตกและวิจาร มโนวิญญาณธาตุที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตก
มีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี (๖-๑๒)
๑. รูปทุกะ
[๑๐๔๓] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรเป็นรูป เท่าไรไม่เป็นรูป ฯลฯ บรรดา
จิต ๗ จิตเท่าไรเป็นรูป เท่าไรไม่เป็นรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๒.โลกิยทุกะ
รูปขันธ์เป็นรูป ขันธ์ ๔ ไม่เป็นรูป
อายตนะ ๑๐ เป็นรูป มนายตนะไม่เป็นรูป ธัมมายตนะที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่
เป็นรูปก็มี
ธาตุ ๑๐ เป็นรูป ธาตุ ๗ ไม่เป็นรูป ธัมมธาตุที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่เป็นรูปก็มี
สัจจะ ๓ ไม่เป็นรูป ทุกขสัจที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่เป็นรูปก็มี
อินทรีย์ ๗ เป็นรูป อินทรีย์ ๑๔ ไม่เป็นรูป ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่
เป็นรูปก็มี
เหตุ ๙ ไม่เป็นรูป
กวฬิงการาหารเป็นรูป อาหาร ๓ ไม่เป็นรูป
ผัสสะ ๗ ไม่เป็นรูป
เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ และจิต ๗ ไม่เป็นรูป
๒. โลกิยทุกะ
[๑๐๔๔] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ บรรดา
อายตนะ ๑๒ อายตนะเท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ บรรดาธาตุ ๑๘
ธาตุเท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ
บรรดาสัจจะ ๔ สัจจะเท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ ฯลฯ บรรดาจิต
๗ จิตเท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ
รูปขันธ์เป็นโลกิยะ ขันธ์ ๔ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นโลกิยะ อายตนะ ๒ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นโลกิยะ ธาตุ ๒ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
สัจจะ ๒ เป็นโลกิยะ สัจจะ ๒ เป็นโลกุตตระ
อินทรีย์ ๑๐ เป็นโลกิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตตระ อินทรีย์ ๙ ที่เป็นโลกิยะ
ก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๒.โลกิยทุกะ
อกุศลเหตุ ๓ เป็นโลกิยะ เหตุ ๖ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
กวฬิงการาหารเป็นโลกิยะ อาหาร ๓ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ผัสสะ ๖ เป็นโลกิยะ มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระ
ก็มี
เวทนา ๖ เป็นโลกิยะ เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ที่เป็นโลกิยะก็มี
ที่เป็นโลกุตตระก็มี
สัญญา ๖ เป็นโลกิยะ สัญญาเกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่เป็นโลกิยะก็มี
ที่เป็นโลกุตตระก็มี
เจตนา ๖ เป็นโลกิยะ เจตนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่เป็นโลกิยะก็มี
ที่เป็นโลกุตตระก็มี
จิต ๖ เป็นโลกิยะ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
สรุปหัวข้อธรรมที่แสดงมา
อภิญญา สารัมมณะ ๒ ทิฏฐะ กุสละ เวทนา
วิปากะ อุปาทินนะ วิตักกะ รูป และโลกิยะ ฉะนี้แล
ธัมมหทยวิภังค์ จบบริบูรณ์
วิภังคปกรณ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๙๐ }

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น