Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๔-๙ หน้า ๓๕๑ - ๓๙๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๔-๙ วินัยปิฎกที่ ๐๔ มหาวรรค ภาค ๑



พระวินัยปิฎก
มหาวรรค ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๘. อนาปัตติปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง
ในวันปวารณานั้น มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง
เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่
พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
ไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือพึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
ไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือพึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
ไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๘. อนาปัตติปัณณรสกะ
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวก
ภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวก
ภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๕)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวก
ภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
ไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทัน
ลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่าภิกษุเหล่านั้น
พึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๗)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณา ในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๘)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๘. อนาปัตติปัณณรสกะ
มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๙)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
ไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน
ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึง
ปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๑๐)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๑๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๑๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
ไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด
ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึง
ปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๑๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๙. วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ
จำนวนเท่ากัน ภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๑๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๑๕)
อนาปัตติปัณณรสกะ จบ
๑๒๙. วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ
ว่าด้วยแบ่งพวกกันอยู่สำคัญว่าพร้อมเพรียง ๑๕ กรณี
[๒๒๓] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่
พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน ภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือ
พึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ฯลฯ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือ
พึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๙. วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้น รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่
สำคัญว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่
พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๔)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกภิกษุผู้
มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติ
ทุกกฏ (๕)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญว่า
เป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น
ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึง
ปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๗)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลัง พึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่
ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๘)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๙)
... พอภิกษุเหล่านั้น ปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๐)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๑)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๐. เวมติกปัณณรสกะ
... พอภิกษุเหล่านั้น ปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๓)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๔)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๕)
วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ จบ
๑๓๐. เวมติกปัณณรสกะ
ว่าด้วยภิกษุไม่แน่ใจปวารณา ๑๕ กรณี
[๒๒๔] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเรา
ควรปวารณาหรือไม่ควร” ปวารณา เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้นภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่
พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือพึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติ
ทุกกฏ (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณา
ดีแล้ว ภิกษุที่เหลือพึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเราควร
ปวารณาหรือไม่ควร” ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๐. เวมติกปัณณรสกะ
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวก
ภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๔)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๕)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเราควร
ปวารณาหรือไม่ควร” ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทัน
ลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้น
พึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๗)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่
ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๘)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๙)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๐)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๑)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๒)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๓)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๔)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๕)
เวมติกปัณณรสกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๑. กุกกุจจปกตปัณณรสกะ
๑๓๑. กุกกุจจปกตปัณณรสกะ
ว่าด้วยภิกษุกังวลใจทำปวารณา ๑๕ กรณี
[๒๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจปวารณาด้วย
คิดว่า “พวกเรา ควรปวารณาแท้ ไม่ใช่ไม่ควร” เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา
ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้น
พึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือพึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติ
ทุกกฏ (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวน
น้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือพึงปวารณา
พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจปวารณาด้วยคิดว่า
“พวกเราควรปวารณาแท้ ไม่ใช่ไม่ควร” พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่
พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๑. กุกกุจจปกตปัณณรสกะ
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๕)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจปวารณาด้วย
คิดว่า “พวกเรา ควรปวารณาแท้ ไม่ใช่ไม่ควร” พอภิกษุเหล่านั้น ปวารณาเสร็จ
บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า
ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๗)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่
ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๘)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๙)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๐)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๑)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๒)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๓)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๔)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๕)
กุกกุจจปกตปัณณรสกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๒. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
๑๓๒. เภทปุเรกขารปัณณสรกะ
ว่าด้วยมุ่งทำความแตกร้าวทำปวารณา ๑๕ กรณี
[๒๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้อง
อาบัติถุลลัจจัย (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือ
พึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือ
พึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๒. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้อง
อาบัติถุลลัจจัย (๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๕)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุ
ที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๗)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๒. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอ
ภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดี
แล้ว ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้อง
อาบัติถุลลัจจัย (๘)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่
ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๙)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
พวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณา
แล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๐)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๒. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
ดีแล้ว ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว
ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่
ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุ
ที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดี
แล้ว ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว
ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๓. สีโมกกันติกเปยยาล
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
พวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว
ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้อง
อาบัติถุลลัจจัย (๑๕)
เภทปุเรกขารปัณณรสกะ จบ
ปัญจวีสติติกะ ๑ จบ
๑๓๓. สีโมกกันติกเปยยาล
ว่าด้วยการละข้อความเกี่ยวกับภิกษุเข้าสู่สีมา
เปยยาลมุข ๗๐๐ ติกะ
[๒๒๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป
๑. ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง
๒. ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า “มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นกำลังเข้ามาในสีมา...”
๓. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า “ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นเข้ามาภายในสีมา
แล้ว ...”
๔. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นกำลังเข้ามาภายใน
สีมา ...
๕. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นเข้ามาภายในสีมา
แล้ว ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๔. ทิวสนานัตตะ
๖. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้ยินว่า “ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นกำลังเข้ามา
ภายในสีมา ...”
๗. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้ยินว่า “ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นเข้ามาภายใน
สีมาแล้ว ...”
โดยนัย ๑๗๕ ติกะ
๑. ภิกษุที่อยู่ในอาวาสกับภิกษุที่อยู่ในอาวาส
๒. ภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุที่อยู่ในอาวาส
๓. ภิกษุที่อยู่ในอาวาสกับภิกษุอาคันตุกะ
๔. ภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุอาคันตุกะ
รวมเป็น ๗๐๐ ติกะ โดยเปยยาลมุข๑
๑๓๔. ทิวสนานัตตะ
ว่าด้วยการนับวันปวารณาต่างกัน
[๒๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ วันปวารณาของภิกษุที่อยู่ในอาวาส เป็นวัน
๑๔ ค่ำ ของภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑๕ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสมีจำนวน
มากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตรตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส ถ้ามีจำนวน
เท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตรตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส ถ้าพวกภิกษุ
อาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงอนุวัตรตามพวกภิกษุอาคันตุกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ วันปวารณาของภิกษุที่อยู่ในอาวาส เป็นวัน
๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑๔ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสมี
จำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะ พึงอนุวัตรตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะ พึงอนุวัตรตามภิกษุที่อยู่ในอาวาส ถ้าพวก

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๑๗๗ หน้า ๒๗๙ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๕. ลิงคาทิทัสสนะ
ภิกษุอาคันตุกะ มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส พึงอนุวัตรตามพวกภิกษุ
อาคันตุกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ วันปวารณาของภิกษุที่อยู่ในอาวาส เป็นวันแรม
๑ ค่ำ ของภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑๕ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส มีจำนวน
มากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสไม่ปรารถนา ก็ไม่พึงให้ความพร้อมเพรียงแก่
พวกภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุอาคันตุกะ พึงไปนอกสีมาปวารณาเถิด ถ้ามีจำนวน
เท่ากัน พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสไม่ปรารถนา ก็ไม่พึงให้ความพร้อมเพรียงแก่พวก
ภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุอาคันตุกะ พึงไปนอกสีมาปวารณาเถิด ถ้าพวกภิกษุ
อาคันตุกะ มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงให้ความพร้อมเพรียงแก่
พวกภิกษุอาคันตุกะ หรือไปนอกสีมา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ วันปวารณาของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส เป็นวัน
๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวันแรม ๑ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงให้ความพร้อมเพรียงแก่พวกภิกษุที่อยู่ใน
อาวาส หรือไปนอกสีมา ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงให้ความพร้อมเพรียง
แก่พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส หรือไปนอกสีมา ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะ มีจำนวน
มากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะไม่ปรารถนา ก็ไม่พึงให้ความพร้อมเพรียงแก่พวกภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาส พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงไปนอกสีมาปวารณาเถิด
๑๓๕. ลิงคาทิทัสสนะ
ว่าด้วยการเห็นลักษณะเป็นต้น
เรื่องลักษณะของภิกษุที่อยู่ในอาวาส
[๒๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะได้เห็นอาการของ
ภิกษุที่อยู่ในอาวาส ลักษณะของภิกษุที่อยู่ในอาวาส เครื่องหมายของภิกษุที่อยู่ใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๕. ลิงคาทิทัสสนะ
อาวาส สิ่งส่อแสดงภิกษุที่อยู่ในอาวาสของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส เตียง ตั่ง ฟูก
หมอน น้ำฉัน น้ำใช้ จัดไว้ดี บริเวณกวาดสะอาด ครั้นแล้ว ไม่แน่ใจว่า “มีพวก
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสอยู่หรือไม่มีหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจแต่ไม่ค้นหา ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ปวารณา ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะได้ยินอาการของภิกษุที่
อยู่ในอาวาส ลักษณะของภิกษุที่อยู่ในอาวาส เครื่องหมายของภิกษุที่อยู่ในอาวาส
สิ่งส่อแสดงภิกษุที่อยู่ในอาวาสของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส ได้ยินเสียงเท้าของพวก
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสกำลังจงกรม เสียงสาธยาย เสียงไอ เสียงจาม ครั้นแล้ว
ไม่แน่ใจว่า “มีพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสอยู่หรือไม่มีหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจ แต่ไม่ค้นหา ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ปวารณา ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสได้เห็นอาการของ
พวกภิกษุอาคันตุกะ ลักษณะของพวกภิกษุอาคันตุกะ เครื่องหมายของพวกภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๕. ลิงคาทิทัสสนะ
อาคันตุกะ สิ่งส่อแสดงพวกภิกษุอาคันตุกะของพวกภิกษุอาคันตุกะ ได้เห็นบาตร
จีวร ผ้านิสีทนะ รอยน้ำล้างเท้า อันเป็นของพวกภิกษุพวกอื่น ครั้นแล้ว ไม่แน่ใจว่า
“มีพวกภิกษุอาคันตุกะอยู่หรือไม่มีหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจ แต่ไม่ค้นหา ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ปวารณา ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสได้ยินอาการของ
อาคันตุกะ ลักษณะของพวกภิกษุอาคันตุกะ เครื่องหมายของพวกภิกษุอาคันตุกะ
สิ่งส่อแสดงพวกภิกษุอาคันตุกะของพวกภิกษุอาคันตุกะ ได้ยินเสียงเท้าของพวก
ภิกษุอาคันตุกะกำลังเดินมา เสียงรองเท้ากระทบพื้น เสียงไอ เสียงจาม ครั้นแล้ว
ไม่แน่ใจว่า “มีพวกภิกษุอาคันตุกะอยู่หรือไม่มีหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจ แต่ไม่ค้นหา ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ปวารณา ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๖. นานาสังวาสกาทิปวารณา
๑๓๖. นานาสังวาสกาทิปวารณา
ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นนานาสังวาสเป็นต้นปวารณา
เรื่องภิกษุ ๒ สังวาสปวารณา
[๒๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะเห็นพวกภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสผู้เป็นนานาสังวาส๑เข้าใจว่าเป็นสมานสังวาส ไม่ไต่ถาม ปวารณาร่วมกัน
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ปวารณาร่วมกัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ แยกกันปวารณา ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะเห็นพวกภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสผู้เป็นสมานสังวาส เข้าใจว่าเป็นนานาสังวาส ไม่ไต่ถาม ปวารณาร่วมกัน
ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสเห็นพวกภิกษุ
อาคันตุกะผู้เป็นนานาสังวาส เข้าใจว่าเป็นสมานสังวาส ไม่ไต่ถาม ปวารณาร่วมกัน
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ปวารณาร่วมกัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ แยกกันปวารณา ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสเห็นพวกภิกษุ
อาคันตุกะผู้เป็นสมานสังวาส เข้าใจว่าเป็นนานาสังวาส ไม่ไต่ถาม ปวารณาร่วมกัน
ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ นานาสังวาส ดูข้อ ๑๘๐ หน้า ๒๘๓ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๗. นคันตัพพวาร
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ แยกกันปวารณา ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
๑๓๗. นคันตัพพวาร
ว่าด้วยไม่ควรไปไหนในวันปวารณา
[๒๓๑] ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ๑ไป
สู่อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่
มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสซึ่งมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย

เชิงอรรถ :
๑ อาวาสที่มีภิกขุ ดูข้อ ๑๘๑ หน้า ๒๘๔ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๗. นคันตัพพวาร
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์
เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มี
ภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่
มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์
เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไป
กับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์
เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไป
กับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไป
กับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๘. คันตัพพวาร
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็น
นานาสังวาส เว้นไว้แต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
๑๓๘. คันตัพพวาร
ว่าด้วยสถานที่ควรไปในวันปวารณา
[๒๓๒] ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่
อาวาสที่มีภิกษุซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นสมานสังวาส ซึ่งรู้ว่า “เราสามารถไป
ถึงในวันนี้แหละ”
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่
อาวาสซึ่งมีภิกษุ ฯลฯ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุซึ่งเป็นที่อยู่ของ
พวกภิกษุผู้เป็นสมานสังวาส ซึ่งรู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนี้แหละ”
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุไป
สู่อาวาสที่มีภิกษุ...
... ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ...
... ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็น
สมานสังวาส ซึ่งรู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนี้แหละ”
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ...
... ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ...
... ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็น
สมานสังวาส ซึ่งรู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนี้แหละ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๙. วัชชนียปุคคลสันทัสสนา
๑๓๙. วัชชนียปุคคลสันทัสสนา
ว่าด้วยการแสดงบุคคลควรเว้นในปวารณากรรม
[๒๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย รูปใด
ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
... ในบริษัทที่มีสิกขมานานั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีสามเณรนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีสามเณรีนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีภิกษุผู้บอกคืนสิกขานั่งอยู่ด้วย ...
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุต้องอันติมวัตถุนั่งอยู่ด้วย
รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่เห็นอาบัตินั่งอยู่ด้วย รูปใดปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม
... ในบริษัทที่มีภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัตินั่งอยู่ด้วย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาปนั่งอยู่ด้วย รูปใดปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีบัณเฑาะก์นั่งอยู่ด้วย รูปใด
ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
... ในบริษัทที่มีคนลักเพศนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์นั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีสัตว์ดิรัจฉานอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนฆ่ามารดานั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนฆ่าบิดานั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนฆ่าพระอรหันต์นั่งอยู่ด้วย ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๐. เทฺววาจิกาทิปวารณา
... ในบริษัทที่มีคนประทุษร้ายภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิตนั่งอยู่ด้วย ...
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีอุภโตพยัญชนกนั่งอยู่ด้วย รูปใด
ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่องห้ามปวารณาในวันมิใช่วันปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงปวารณาด้วยการให้ปาริวาสิกปวารณา๑ เว้นแต่บริษัทยัง
ไม่ลุกขึ้น ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ไม่พึงปวารณาในวันมิใช่วันปวารณา เว้นแต่วันที่
สงฆ์สามัคคี๒
ภาณวารที่ ๒ จบ
๑๔๐. เทฺววาจิกาทิปวารณา
ว่าด้วยสงฆ์ปวารณา ๒ หนเป็นต้น
เรื่องชาวป่า
[๒๓๔] สมัยนั้น ณ อาวาสแห่งหนึ่ง ในแคว้นโกศล ในวันปวารณานั้น
มีชาวป่ามาพลุกพล่าน ภิกษุทั้งหลายไม่อาจปวารณา ๓ หน จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปวารณา ๒ หน”
ชาวป่าได้มาพลุกพล่านมากขึ้น ภิกษุทั้งหลายไม่อาจปวารณา ๒ หน
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๑๘๓ หน้า ๒๘๘ (เชิงอรรถ)
๒ ดูนัยใน วิ.ม. ๕/๔๗๕/๒๕๖-๒๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๐. เทฺววาจิกาทิปวารณา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปวารณาหนเดียว”
ชาวป่าได้มาพลุกพล่านมากยิ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายไม่อาจปวารณาหนเดียว
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปวารณามีพรรษา
เท่ากัน”๑
เรื่องปวารณาเมื่อราตรีจวนสว่าง
สมัยนั้น ณ อาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น ชาวบ้านมัวให้ทานจน
ราตรีจวนสว่าง ครั้นแล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ชาวบ้านมัวให้ทาน
จนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้ สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อ
เป็นเช่นนี้ ราตรีก็จักสว่าง พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง
ในวันปวารณานั้น ชาวบ้านให้ทานจนราตรีจวนสว่าง ถ้าภิกษุทั้งหลายในอาวาส
นั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า ”ชาวบ้านมัวให้ทานจนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา
๓ หนไซร้ สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ราตรีก็จักสว่าง”
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ชาวบ้านให้ทานอยู่จนราตรีจวนสว่าง
ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้ สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ราตรีก็จักสว่าง
ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน ปวารณาหนเดียว ปวารณามี
พรรษาเท่ากัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น ภิกษุ
ทั้งหลายกล่าวธรรมกัน ฯลฯ
... ภิกษุผู้ชำนาญพระสูตรก็สาธยายพระสูตรกัน...
... พระวินัยธรก็วินิจฉัยพระวินัยกัน...

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึง ให้ภิกษุที่มีพรรษาเท่ากัน ปวารณาพร้อมกัน (วิ.อ. ๓/๒๓๔/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๐. เทฺววาจิกาทิปวารณา
... พระธรรมกถึกก็สนทนาธรรมกัน...
... ภิกษุทั้งหลายทะเลาะกันจนราตรีจวนสว่าง ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากัน
ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายทะเลาะกันจนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้
สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ราตรีก็จักสว่าง
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายทะเลาะกันจนราตรีจวนสว่าง
ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้ สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ราตรีก็จักสว่าง
ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน ปวารณาหนเดียว ปวารณามี
พรรษาเท่ากัน”
เรื่องปวารณาขณะที่ฝนตั้งเค้า
สมัยนั้น ณ อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ในวันปวารณานั้น ภิกษุสงฆ์มา
ประชุมกันมาก ที่ประชุมจึงคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนก็ตั้งเค้าใหญ่ ภิกษุเหล่านั้น
ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมาก ที่ประชุมจึงคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้
และฝนก็ตั้งเค้าใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้ สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน
เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝนก็จักตกเสียก่อน พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง
ในวันปวารณานั้น ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมาก ที่ประชุมจึงคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และ
ฝนก็ตั้งเค้าใหญ่ ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมาก
ที่ประชุมจึงคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนก็ตั้งเค้าใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้
สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝนก็จักตกเสียก่อน
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมาก ที่ประชุม
ก็คับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ ทั้งฝนก็ตั้งเค้าใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้
สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝนก็จักตกเสียก่อน ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว
สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน ปวารณาหนเดียว ปวารณามีพรรษาเท่ากัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
เรื่องปวารณาเมื่อมีอันตราย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น

๑. พระราชาเสด็จมา ๒. โจรมาปล้น
๓. ไฟไหม้ ๔. น้ำหลากมา
๕. คนมามาก ๖. ผีเข้าสิงภิกษุ
๗. สัตว์ร้ายเข้ามา ๘. งูร้ายเลื้อยเข้ามา
๙. ภิกษุจะถึงแก่ชีวิต ๑๐. มีอันตรายต่อพรหมจรรย์

ในอันตรายนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า เหตุนี้แหละ คืออันตราย
ต่อพรหมจรรย์ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้ สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อ
เป็นเช่นนี้ อันตรายต่อพรหมจรรย์ก็จักเกิดเสียก่อน
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เหตุนี้แหละ คืออันตรายต่อพรหมจรรย์
ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ อันตราย
ต่อพรหมจรรย์ก็จักเกิดเสียก่อน ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน
ปวารณาหนเดียว ปวารณามีพรรษาเท่ากัน
๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
ว่าด้วยการงดปวารณา
เรื่องพระฉัพพัคคีย์มีอาบัติติดตัวปวารณา
[๒๓๕] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีอาบัติติดตัวปวารณา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีอาบัติติดตัว ไม่พึงปวารณา
รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดมีอาบัติติดตัวปวารณา
เราอนุญาตให้ขอโอกาสแล้วโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
เรื่องไม่ยอมให้โอกาส
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถูกสงฆ์ขอโอกาสก็ไม่ปรารถนาจะให้โอกาส
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดปวารณาแก่ภิกษุ
ผู้ไม่ยอมให้โอกาส”
วิธีงดปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงงดปวารณาอย่างนี้
ในวันปวารณา ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อภิกษุนั้นอยู่พร้อมหน้า
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านผู้เจริญ ภิกษุชื่อนี้มีอาบัติติดตัว ข้าพเจ้าของดปวารณาของภิกษุนั้นเสีย
เมื่อภิกษุนั้นยังอยู่พร้อมหน้า สงฆ์ไม่พึงปวารณา เท่านี้ เป็นอันได้งดปวารณาแล้ว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์งดปวารณาของภิกษุบริสุทธิ์
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่า “ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลดีงามจะงด
ปวารณาแก่พวกเราก่อน” จึงชิงงดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเพราะ
เรื่องอันไม่ควร เพราะเหตุอันไม่ควรเสียก่อน ทั้งงดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลายที่
ปวารณาเสร็จแล้วด้วย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเพราะเรื่องอันไม่ควร เพราะเหตุอันไม่ควร รูปใดงด ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลายที่ปวารณาเสร็จแล้ว
รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องลักษณะปวารณาที่ไม่เป็นอันงด
[๒๓๖] ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาเป็นอันงดอย่างนี้ ไม่เป็นอันงดอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาไม่เป็นอันงดอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา ๓ หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
จนจบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา ๒ หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
จนจบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณาหนเดียว ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณามีพรรษาเท่ากัน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณา
ออกมา จนจบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาไม่เป็นอันงดอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาเป็นอันงดอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา ๓ หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา ๒ หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณาหนเดียว ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณามีพรรษาเท่ากัน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณา
ออกมา แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาเป็นอันงดอย่างนี้แล
เรื่องงดปวารณาของภิกษุ
[๒๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของ
ภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกาย
ไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา
ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ
อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ แต่มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ มีอาชีวะบริสุทธิ์ แต่เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา
เรื่องเหตุผลในการงดปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ มีอาชีวะบริสุทธิ์ เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม สามารถตอบข้อซักถามได้” สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านงดปวารณา
ของภิกษุนี้ทำไม งดเพราะเรื่องอะไร งดเพราะสีลวิบัติ หรืองดเพราะอาจารวิบัติ หรือ
งดเพราะทิฏฐิวิบัติ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมงดเพราะสีลวิบัติบ้าง งดเพราะอาจารวิบัติบ้าง
งดเพราะทิฏฐิวิบัติบ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “คุณรู้สีลวิบัติหรือ รู้อาจารวิบัติหรือ รู้ทิฏฐิ
วิบัติหรือ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมรู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิ
วิบัติ”
สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ก็สีลวิบัติเป็นอย่างไร อาจารวิบัติเป็น
อย่างไร ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้ชื่อว่าสีลวิบัติ
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้ชื่อว่าอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ
อันตคาหิกทิฏฐิ นี้ชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ” สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงด
ปวารณาของภิกษุนี้ทำไม งดด้วยได้เห็นหรือ งดด้วยได้ยินหรือ งดด้วยนึกสงสัยหรือ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “งดด้วยได้เห็นบ้าง งดด้วยได้ยินบ้าง งดด้วยนึก
สงสัยบ้าง”
สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้เห็น
อย่างใด ท่านเห็นอะไร ท่านเห็นว่าอย่างไร ท่านเห็นเมื่อไร ท่านเห็นที่ไหน
ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิก ท่านเห็นหรือ ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ท่านเห็นหรือ
ภิกษุนี้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย... อาบัติปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ... อาบัติทุกกฏ...
อาบัติทุพภาสิต ท่านเห็นหรือ ท่านอยู่ที่ไหน ภิกษุนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไร
ภิกษุนี้ทำอะไร”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมิได้งดปวารณาของภิกษุนี้
ด้วยได้เห็นดอก แต่ผมงดปวารณาด้วยได้ยินต่างหาก”
สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้ยิน
อย่างใด ท่านได้ยินอะไร ท่านได้ยินว่าอย่างไร ท่านได้ยินเมื่อไร ท่านได้ยินที่ไหน
ท่านได้ยินว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิกหรือ ได้ยินว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ได้ยินว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย... อาบัติปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ...
อาบัติทุกกฏ... อาบัติทุพภาสิตหรือ ได้ยินจากภิกษุหรือ ได้ยินจากภิกษุณีหรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
ได้ยินจากสิกขมานาหรือ ได้ยินจากสามเเณรหรือ ได้ยินจากสามเณรีหรือ ได้ยิน
จากอุบาสกหรือ ได้ยินจากอุบาสิกาหรือ ได้ยินจากพระราชาทั้งหลายหรือ ได้ยิน
จากราชมหาอมาตย์ทั้งหลายหรือ ได้ยินจากพวกเดียรถีย์หรือ ได้ยินจากพวกสาวก
เดียรถีย์หรือ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมิได้งดปวารณาของภิกษุนี้
ด้วยได้ยินดอก แต่ผมงดปวารณาด้วยนึกสงสัยต่างหาก”
สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยนึก
สงสัยอย่างใด ท่านนึกสงสัยอะไร ท่านนึกสงสัยว่าอย่างไร ท่านนึกสงสัยเมื่อไร
ท่านนึกสงสัยที่ไหน ท่านนึกสงสัยว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิกหรือ นึกสงสัยว่า
ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ นึกสงสัยว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย... อาบัติ
ปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ... อาบัติทุกกฏ... อาบัติทุพภาสิตหรือ ท่านได้
ยินจากภิกษุแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากภิกษุณีแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากสิก
ขมานาแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากสามเณรแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากสาม
เณรีแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากอุบาสกแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากอุบาสิกาแล้ว
นึกสงสัยหรือ ได้ยินจากพระราชาทั้งหลายแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากราชมหา
อำมาตย์ทั้งหลายแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากพวกเดียรถีย์แล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยิน
จากพวกสาวกเดียรถีย์แล้วนึกสงสัยหรือ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมิได้งดปวารณาของภิกษุนี้
ด้วยนึกสงสัย อีกทั้งผมก็ไม่ทราบว่า ผมงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยเหตุอะไร”
ฟังคำปฏิญญาของโจทก์และจำเลย
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นตอบข้อซักถามไม่เป็นที่พอใจของเพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย สงฆ์พึงบอกว่า ท่านไม่ควรฟ้องภิกษุจำเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นตอบข้อซักถามเป็นที่พอใจของเพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย สงฆ์พึงบอกว่า ท่านควรฟ้องภิกษุจำเลย
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นปฏิญญาว่า ภิกษุนั้นถูกตนใส่ความ
ด้วยอาบัติปาราชิกอันไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแล้วจึงปวารณา๑
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นปฏิญญาว่า ภิกษุนั้นถูกตนใส่ความ
ด้วยอาบัติสังฆาทิเสสอันไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรมแล้วจึงปวารณา๒
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นปฏิญญาว่า ภิกษุนั้นถูกตนใส่ความ
ด้วยอาบัติถุลลัจจัยอันไม่มีมูล... ด้วยอาบัติปาจิตตีย์... ด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ...
ด้วยอาบัติทุกกฏ... ด้วยอาบัติทุพภาสิตอันไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรม
แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจำเลยนั้นปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาราชิก
สงฆ์พึงนาสนะเสีย๓ แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจำเลยนั้นปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สงฆ์พึงปรับอาบัติสังฆาทิเสส แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจำเลยนั้นปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติถุลลัจจัย...
อาบัติปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ... อาบัติทุกกฏ... อาบัติทุพภาสิต สงฆ์พึงปรับ
อาบัติตามธรรม แล้วจึงปวารณา

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึง ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นยอมรับว่า ตนใส่ความภิกษุอื่นด้วยอาบัตปาราชิกไม่มีมูล ในกรณีเช่นนี้สงฆ์
ปรับภิกษุผู้เป็นโจทก์ด้วยสังฆาทิเสส (วิ.อ. ๓/๒๓๗/๑๕๙)
๒ หมายถึง พึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะใส่ความ (โจท) ภิกษุอื่นด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล พึงปรับอาบัติ
ทุกกฏ เพราะใส่ความภิกษุอื่นด้วยอาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ หรือทุพภาสิต
ที่ไม่มีมูล (วิ.อ. ๓/๒๓๗/๑๕๙)
๓ นาสนะ ในที่นี้หมายถึง ให้สึกจากความเป็นภิกษุ (วิ.อ. ๓/๒๓๗/๑๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๒. ถุลลัจจยวัตถุกาทิ
๑๔๒. ถุลลัจจยวัตถุกาทิ
ว่าด้วยการต้องอาบัติถุลลัจจัยเป็นต้น
เรื่องต้องอาบัติถุลลัจจัยเป็นต้น
[๒๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุบางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย พึงนำภิกษุนั้นไป
ณ ที่อันควร ปรับอาบัติตามธรรม แล้วเข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
อาบัติที่ภิกษุนั้นต้อง ภิกษุนั้นได้ทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึง
ปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุบางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่า ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์...
บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ... บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่า
ต้องอาบัติทุกกฏ...
บางพวกมีความเห็นว่า ต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ
ทุพภาสิต
ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีความเห็นว่า ต้องอาบัติถุลลัจจัย พึงนำภิกษุนั้นไป
ณ ที่อันควร ปรับอาบัติตามธรรม แล้วเข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
อาบัติที่ภิกษุนั้นต้อง ภิกษุนั้นได้ทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึง
ปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในปวารณานั้น ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์...
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ... ต้องอาบัติทุกกฏ... ต้องอาบัติทุพภาสิต ภิกษุบางพวก
มีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๓. วัตถุฐปนาทิ
ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต พึงนำภิกษุนั้นไป
ณ ที่อันควร ปรับอาบัติตามธรรม แล้วเข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
อาบัติที่ภิกษุนั้นต้อง ภิกษุนั้นได้ทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์
พึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต
ภิกษุบางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย...
บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์...
บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ...
บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต พึงนำภิกษุนั้นไป
ณ ที่อันควร ปรับอาบัติตามธรรม แล้วเข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
อาบัติที่ภิกษุนั้นต้อง ภิกษุนั้นได้ทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์
พึงปวารณา
๑๔๓. วัตถุฐปนาทิ
ว่าด้วยการงดวัตถุเป็นต้น
เรื่องวัตถุและบุคคลปรากฏ
[๒๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุจะพึงประกาศ ณ
ท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุนี้ปรากฏ บุคคลไม่ปรากฏ ถ้าสงฆ์
พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงงดวัตถุ แล้วปวารณาเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๔. ภัณฑนการกวัตถุ
สงฆ์พึงกล่าวกับภิกษุนั้นว่า ท่าน พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปวารณาไว้
สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ ถ้าวัตถุปรากฏ บุคคลไม่ปรากฏ ท่าน จงระบุ
บุคคลนั้นเดี๋ยวนี้เถิด
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ในวันปวารณานั้น ภิกษุจะพึงประกาศ ณ ท่าม
กลางสงฆ์ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลนี้ปรากฏ วัตถุไม่ปรากฏ ถ้าสงฆ์
พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงงดบุคคล แล้วปวารณาเถิด
สงฆ์พึงกล่าวกับภิกษุนั้นว่า ท่าน พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปวารณาไว้
สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน ถ้าบุคคลปรากฏ วัตถุไม่ปรากฏ ท่านจงระบุ
วัตถุนั้นเดี๋ยวนี้เถิด
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุจะพึงประกาศ ณ ท่าม
กลางสงฆ์ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ทั้งวัตถุและบุคคลนี้ปรากฏ ถ้าสงฆ์พร้อม
กันแล้ว สงฆ์พึงงดทั้งวัตถุและบุคคล แล้วปวารณาเถิด
สงฆ์พึงกล่าวกับภิกษุนั้นว่า ท่าน พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปวารณาไว้
สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์และพร้อมเพรียงกัน ถ้าวัตถุและบุคคลปรากฏ ท่าน
จงระบุวัตถุและบุคคลนั้นเดี๋ยวนี้เถิด
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าวัตถุปรากฏก่อนปวารณา บุคคลปรากฏภายหลัง ควร
กล่าวขึ้น ถ้าบุคคลปรากฏก่อนปวารณา วัตถุปรากฏภายหลัง ก็ควรกล่าวขึ้น
ถ้าทั้งวัตถุและบุคคลปรากฏก่อนปวารณา ถ้าทำปวารณาเสร็จแล้ว รื้อฟื้นเรื่องขึ้น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะรื้อฟื้นเรื่องนั้น
๑๔๔. ภัณฑนการกวัตถุ
ว่าด้วยการก่อความบาดหมาง
[๒๔๐] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเคยเห็นเคยคบกันมา เข้าจำพรรษา ณ
อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ภิกษุเหล่าอื่นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๔. ภัณฑนการกวัตถุ
ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ก็เข้าจำพรรษา ณ ที่ใกล้
เคียงกับภิกษุเหล่านั้นด้วยประสงค์ว่า “ในวันปวารณาพวกเราจักงดปวารณาของ
พวกภิกษุที่เข้าจำพรรษาเหล่านั้นเสีย”
ภิกษุเหล่านั้นได้ทราบข่าวว่า “ภิกษุเหล่าอื่นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ก็เข้าจำพรรษา ณ
ที่ใกล้เคียงกับภิกษุเหล่านั้นด้วยประสงค์ว่า ในวันปวารณาพวกเราจักงดปวารณา
ของพวกภิกษุที่เข้าจำพรรษาเหล่านั้นเสีย ดังนี้ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ”
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุหลายรูปเคยเห็น
เคยคบกันมา เข้าจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง ภิกษุเหล่าอื่นผู้ก่อความบาดหมาง
ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ก็เข้าจำพรรษา
ณ ที่ใกล้เคียงกับภิกษุเหล่านั้นด้วยประสงค์ว่า ในวันปวารณาพวกเราจักงด
ปวารณาของพวกภิกษุที่เข้าจำพรรษาเหล่านั้นเสีย ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้นทำ ๒ (และ) ๓ อุโบสถ ให้เป็นอุโบสถวัน ๑๔ ค่ำ๑
ด้วยประสงค์ว่า ไฉนพวกเราพึงปวารณาก่อนภิกษุพวกนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท
ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์พวกนั้นพากันมาสู่อาวาสนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
เหล่านั้นพึงรีบประชุมปวารณากันโดยเร็ว ครั้นแล้วพึงบอกว่า ท่านทั้งหลาย
พวกเราปวารณาเสร็จแล้ว ท่านทั้งหลายสำคัญอย่างใด จงทำอย่างนั้นเถิด
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท
ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ พวกนั้นไม่แจ้งให้ทราบก่อน มาสู่อาวาสนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นพึงปูอาสนะ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้

เชิงอรรถ :
๑ ๒ อุโบสถ คือ อุโบสถที่ ๓ และที่ ๔
๓ อุโบสถ คือ อุโบสถที่ ๓, ที่ ๔ และที่ ๕ (วิ.อ. ๓/๒๔๐/๑๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๔. ภัณฑนการกวัตถุ
พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร ต้อนรับด้วยน้ำดื่ม ทำภิกษุพวกนั้นให้ตายใจแล้วไป
ปวารณานอกสีมา ครั้นแล้วพึงบอกว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราปวารณาเสร็จแล้ว
ท่านทั้งหลายสำคัญอย่างใด จงทำอย่างนั้นเถิด ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุที่อยู่ในอาวาสทั้งหลายทราบว่า
ขอภิกษุที่อยู่ในอาวาสทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้ว
บัดนี้พวกเราพึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พึงปวารณาในกาฬปักษ์
ที่จะมาถึงเถิด
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท
ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์นั้นจะพึงกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า ดีละ ท่าน
ทั้งหลาย ขอจงปวารณาต่อพวกเราในบัดนี้เถิด
ภิกษุเหล่านั้นพึงถูกว่ากล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านไม่เป็นใหญ่ ใน
ปวารณาของพวกเรา พวกเราจะยังปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท
ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์พวกนั้นจะพึงอยู่จนถึงกาฬปักษ์นั้นไซร้ ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุที่อยู่ในอาวาสทั้งหลายทราบว่า
ขอภิกษุที่อยู่ในอาวาสทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้ว
บัดนี้พวกเราพึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พึงปวารณาในชุณหปักษ์ที่จะ
มาถึงเถิด
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท
ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์นั้น จะพึงกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า ดีละ ท่าน
ทั้งหลาย ขอจงปวารณาต่อพวกเราในบัดนี้เถิด
ภิกษุเหล่านั้นพึงถูกว่ากล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านไม่เป็นใหญ่ ใน
ปวารณาของพวกเรา พวกเรายังไม่ปวารณาก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๔. ภัณฑนการกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความ
วิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์นั้นจะพึงอยู่จนถึงชุณหปักษ์แม้นั้นไซร้
ภิกษุเหล่านั้น ทั้งหมดไม่ประสงค์จะปวารณา ก็ต้องปวารณาในวันเพ็ญเดือน
๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ที่จะมาถึงเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณาอยู่ ภิกษุไข้งดปวารณาของ
ภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวว่า ท่านกำลังเป็นไข้ ภิกษุไข้พระผู้มี
พระภาคตรัสว่าไม่อดทนในการซักถาม ท่าน ขอท่านจงรอจนกว่าจะหายเป็นไข้
ท่านหายไข้แล้ว เมื่อจำนงจึงค่อยโจท ดังนี้ ถ้าภิกษุนั้นถูกว่ากล่าวอย่างนี้ ยังขืน
โจท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณาอยู่ ภิกษุผู้ไม่เป็นไข้งด
ปวารณาของภิกษุไข้ ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวว่า ท่าน ภิกษุนี้กำลังเป็นไข้ อันผู้
เป็นไข้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าไม่อดทนในการซักถาม ท่าน ขอท่านจงรอจนกว่า
ภิกษุนี้จะหายเป็นไข้ ท่านจำนงจึงค่อยโจทภิกษุผู้หายไข้แล้วนั้น ดังนี้ ถ้าภิกษุนั้น
ถูกว่ากล่าวอย่างนี้ ยังขืนโจท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณาอยู่ ภิกษุไข้งดปวารณาของ
ภิกษุไข้ ภิกษุไข้นั้นถูกว่ากล่าวว่า พวกท่านกำลังเป็นไข้ ภิกษุไข้พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ไม่อดทนในการซักถาม ท่าน ขอท่านจงรอจนกว่าจะหายเป็นไข้
ท่านหายไข้แล้ว เมื่อจำนงจึงค่อยโจทภิกษุนั้นผู้หายไข้แล้ว ดังนี้ ถ้าภิกษุไข้นั้น
ถูกว่ากล่าวอย่างนี้ ยังขืนโจท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณาอยู่ ภิกษุผู้ไม่เป็นไข้งด
ปวารณาของภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว ปรับอาบัติ
ตามธรรม ปวารณาเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๕. ปวารณาสังคหะ
๑๔๕. ปวารณาสังคหะ
ว่าด้วยการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา
[๒๔๑] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเคยเห็นเคยคบกันมา เข้าจำพรรษา ณ
อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล เมื่อภิกษุเหล่านั้นพร้อมเพรียงร่วมใจกันไม่ทะเลาะกันอยู่
ย่อมบรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อมา ได้มีการสนทนาดังนี้ว่า เมื่อ
พวกเราพร้อมเพรียงร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวกเราจักปวารณาในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้งหลายปวารณาแล้ว
จะพึงหลีกไปสู่ที่จาริก เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็จักเป็นผู้เหินห่างผาสุวิหารธรรมนี้
พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอจึงนำเรื้องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้สงเคราะห์กันด้วยปวารณา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุหลายรูปเคยเห็น
เคยคบกันมา เข้าจำพรรษา ณ อาวาสแห่งหนึ่ง เมื่อภิกษุเหล่านั้นพร้อมเพรียง
ร่วมใจกันไม่ทะเลาะกันอยู่ ย่อมบรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายในที่นั้น สนทนากันว่า เมื่อพวกเราพร้อมเพรียงร่วมใจกันไม่ทะเลาะกันอยู่
ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวกเราจักปวารณาในบัดนี้ บาง
ทีภิกษุทั้งหลายปวารณาแล้ว จะพึงหลีกไปสู่ที่จาริก จะมีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้
พวกเราก็จักเป็นผู้เหินห่างผาสุวิหารธรรมนี้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเหล่า
นั้นทำการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา
วิธีสงเคราะห์กันด้วยปวารณาและกรรมวาจาสงเคราะห์กันด้วยปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงทำการสงเคราะห์กันปวารณาอย่างนี้
ภิกษุทุกรูปต้องประชุมในที่เดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๙๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๕. ปวารณาสังคหะ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อภิกษุเหล่านั้นพร้อมเพรียงร่วมใจกัน
ไม่ทะเลาะกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวกเราจัก
ปวารณาในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้งหลายปวารณาแล้ว จะพึงหลีกไปสู่ที่จาริก จะมีบ้าง
เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็จักเป็นผู้เหินห่างผาสุวิหารธรรมนี้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว
สงฆ์พึงทำการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา บัดนี้สงฆ์พึงทำอุโบสถ พึงยกปาฏิโมกข์
ขึ้นแสดง พึงปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ที่จะมา
ถึงเถิด นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อภิกษุเหล่านั้นพร้อมเพรียงร่วมใจกัน
ไม่ทะเลาะกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวกเราจัก
ปวารณาในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้งหลายปวารณาแล้ว จะพึงหลีกไปสู่ที่จาริก จะมีบ้าง
เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็จักเป็นผู้เหินห่างผาสุวิหารธรรมนี้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว
สงฆ์พึงทำการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา บัดนี้สงฆ์จักทำอุโบสถ จักยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดง จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ที่จะ
มาถึง ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการที่ทำการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา บัดนี้สงฆ์จักทำ
อุโบสถ จักยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ
๔ เดือน ที่จะมาถึง ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
การเลื่อนปวารณาสงฆ์ได้ทำแล้ว บัดนี้สงฆ์จักทำอุโบสถ จักยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดง จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ที่จะมาถึง
สงฆ์เห็นด้วย เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
เรื่องไม่มีใครเป็นใหญ่ในปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำการสงเคราะห์กันด้วยปวารณาแล้ว ถ้ามี
ภิกษุสักรูปหนึ่งกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ผมปรารถนาจะหลีกจาริกไปยังชนบท
เพราะผมมีธุระในชนบท
ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับภิกษุนั้นว่า ดีแล้ว ท่าน ท่านจงปรารถนาแล้วไปเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๙๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๖. รวมเรื่องที่มีในปวารณาขันธกะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุนั้นปวารณาอยู่ งดปวาณาของภิกษุรูปหนึ่งเสีย
ภิกษุผู้ถูกงดปวารณาพึงกล่าวกับภิกษุผู้งดปวารณาว่า “ท่าน ท่านไม่เป็นใหญ่ใน
ปวารณาของผม ผมจะยังไม่ปวารณาก่อน”
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นปวารณาอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งงดปวาณาของภิกษุ
นั้นเสีย สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว ปรับอาบัติตามธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุนั้นทำธุระจำเป็นในชนบทเสร็จแล้ว กลับมายังอาวาส
นั้นอีกภายในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้น
ปวารณาอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งงดปวาณาของภิกษุนั้นเสีย ภิกษุผู้ถูกห้ามปวารณาพึง
กล่าวกับภิกษุผู้งดปวารณาว่า “ท่าน ท่านไม่เป็นใหญ่ในปวารณาของผม เพราะ
ผมปวารณา เสร็จแล้ว”
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นปวารณาอยู่ ภิกษุนั้นงดปวารณาของภิกษุ
รูปหนึ่ง สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว ปรับอาบัติตามธรรมปวารณาเถิด
ปวารณาขันธกะที่ ๔ จบ

๑๔๖. รวมเรื่องที่มีในปวารณาขันธกะ
ปวารณาขันธกะ มี ๔๖ เรื่อง คือ
เรื่องภิกษุหลายรูปเข้าจำพรรษาในแคว้นโกศลมาเฝ้าพระศาสดา
เรื่องเข้าพรรษาไม่ผาสุกดังปศุสัตว์อยู่ร่วมกัน
เรื่องทรงอนุญาตพิธีปวารณาเพื่อว่ากล่าวซึ่งกันและกัน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์นั่งราบบนอาสนะปวารณา
เรื่องวันปวารณามี ๒ วัน เรื่องอาการที่ทำปวารณามี ๔ อย่าง
เรื่องภิกษุเป็นไข้มอบปวารณา เรื่องภิกษุถูกพวกญาติจับไว้
เรื่องภิกษุถูกพระราชา พวกโจร พวกนักเลง พวกภิกษุผู้เป็น
ข้าศึกจับไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๙๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๖. รวมเรื่องที่มีในปวารณาขันธกะ
เรื่องภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์
เรื่องภิกษุ ๔ รูป ปวารณาเป็นการคณะ
เรื่องภิกษุ ๓ รูป ปวารณาเป็นการคณะ
เรื่องภิกษุ ๒ รูป ปวารณาต่อกัน
เรื่องภิกษุรูปเดียวทำอธิษฐานปวารณา
เรื่องภิกษุต้องอาบัติในวันปวารณา
เรื่องภิกษุไม่แน่ใจในอาบัติ เรื่องภิกษุระลึกอาบัติได้
เรื่องสงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ
เรื่องสงฆ์ทั้งหมดไม่แน่ใจสภาคาบัติ
เรื่องภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมามากกว่า มาเท่ากัน มาน้อยกว่า
เรื่องวันปวารณาของภิกษุที่อยู่ในอาวาสเป็น ๑๔ ค่ำ
เรื่องลักษณะของภิกษุที่อยู่ในอาวาส เรื่องภิกษุ ๒ สังวาสปวารณา
เรื่องไม่ควรไปไหนในวันปวารณา
เรื่องไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย เรื่องให้ฉันทะ
เรื่องห้ามปวารณาในวันมิใช่วันปวารณา
เรื่องชาวป่า เรื่องปวารณาเมื่อราตรีจวนสว่าง
เรื่องปวารณาขณะที่ฝนตั้งเค้า เรื่องปวารณาเมื่อมีอันตราย ๑๐ อย่าง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์มีอาบัติติดตัวปวารณา
เรื่องไม่ยอมให้โอกาส เรื่องพระฉัพพัคคีย์งดปวารณา
ของภิกษุผู้บริสุทธิ์ เรื่องปวารณาที่ไม่เป็นอันงด
เรื่องเหตุผลในการงดปวารณา คือ
(๑) งดปวารณาเพราะเหตุไร (๒) งดปวารณาเพราะเรื่องอะไร
(๓) งดปวารณาด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน หรือด้วยนึกสงสัย
เรื่องต้องอาบัติถุลลัจจัยเป็นต้น เรื่องวัตถุและบุคคลปรากฏ
เรื่องการก่อความบาดหมาง เรื่องการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา
เรื่องไม่มีใครเป็นใหญ่ในปวารณา
ปวารณาขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๙๓ }

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๔ วินัยปิฎกที่ ๐๔ มหาวรรค ภาค ๑ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น