Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๕-๗ หน้า ๒๕๑ - ๒๙๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕-๗ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
มหาวรรค ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๒๙. วัสสังวุตถานังอนุปปันนจีวรกถา
เพราะเวทนา ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ ปฏิญญา
เป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ละทิฏฐิบาป เมื่อมีผู้รับแทนที่สมควร สงฆ์ก็พึงให้
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้วเมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น ปฏิญญา
เป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญา
เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่ามารดา ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่า
พระอรหันต์ ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญาเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ปฏิญญา
เป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็น
เจ้าของจีวรนั้น
[๓๗๕] ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้วหลีกไป เมื่อจีวรเกิดขึ้น
แล้วแต่ยังไม่ได้แบ่งกัน เมื่อมีผู้รับแทนที่สมควร สงฆ์พึงให้
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรเกิดขั้นแล้วแต่ยังไม่
ได้แบ่งกัน สึกเสีย มรณภาพลง ปฏิญญาเป็นสามเณร ปฏิญญาเป็นผู้บอกลาสิกขา
ปฏิญญาเป็นผู้ต้ออันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ(จีวรนั้น)
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ได้
แบ่งกัน ปฏิญญาเป็นคนวิกลจริต ปฏิญญาเป็นคนมีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญญาเป็น
คนกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็น
อาบัติ ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญญาเป็น
ผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป เมื่อมีผู้รับแทนที่สมควร สงฆ์ก็
พึงให้
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่
ได้แบ่งกัน ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ ปฏิญญาเป็นผู้ไปเข้ารีต
เดียรถีย์ ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่ามารดา ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดา
ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญาเป็นผู้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๐. สังฆภินเนจีวรุปปาทกถา
ทำลายสงฆ์ ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต ปฏิญญาเป็น
อุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของจีวรนั้น
๒๓๐. สังฆภินเนจีวรุปปาทกถา
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งจีวรเมื่อสงฆ์แตกกัน
เรื่องสงฆ์แตกกัน
[๓๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
ที่จำพรรษาแล้ว สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้นถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวาย
จีวรในฝ่ายหนึ่งด้วยกล่าวว่า “พวกเราขอถวายแก่สงฆ์” นั่นเป็นของสงฆ์เท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษา
แล้ว สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้นถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายนั้น
เหมือนกันด้วยกล่าวว่า “พวกเราขอถวายแก่สงฆ์” นั่นเป็นของสงฆ์เท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษา
แล้ว สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้นถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง
ด้วยกล่าวว่า “พวกเราขอถวายเฉพาะฝ่าย” นั่นเป็นของเฉพาะฝ่ายเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษา
แล้ว สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้นถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายนั้น
เหมือนกันด้วยกล่าวว่า “พวกเราขอถวายเฉพาะฝ่าย” นั่นเป็นของเฉพาะฝ่ายเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาแล้ว
แต่ยังไม่ได้แบ่ง สงฆ์แตกกัน พึงแบ่งส่วนให้ภิกษุทุกรูปเท่า ๆ กัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๑. ทุคคหิตสุคคหิตาทิกถา
๒๓๑. ทุคคหิตสุคคหิตาทิกถา
ว่าด้วยจีวรที่ถือเอาไม่ดีและถือเอาดีเป็นต้น
เรื่องพระเรวตะฝากจีวร
[๓๗๗] สมัยนั้น ท่านพระเรวตะฝากจีวรไปกับภิกษูรูปหนึ่งให้นำไปถวาย
ท่านพระสารีบุตรด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวายจีวรผืนนี้แก่พระเถระ”
ลำดับนั้น ในระหว่างทาง ภิกษุรูปนั้นได้ถือเอาจีวรนั้นเพราะวิสาสะกับท่าน
พระเรวตะ ต่อมา ท่านพระเรวตะมาพบท่านพระสารีบุตรจึงถามว่า “ผมฝากจีวร
มาถวาย ท่านได้รับแล้วหรือขอรับ”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่าน ผมยังไม่เห็นจีวรนั้นเลย”
ต่อมา ท่านพระเรวตะได้ถามภิกษุผู้รับฝากนั้นว่า “ท่าน ผมฝากจีวรกับท่าน
ให้นำไปถวายพระเถระ จีวรนั้นอยู่ที่ไหน”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ท่าน ผมได้ถือเอาจีวรนั้นแล้วเพราะวิสาสะกับท่าน”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
เรื่องการถือเอาของฝากโดยวิสาสะ
และการอธิษฐานเป็นจีวรมรดก
กรณีที่ ๑ ฝากไปด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวาย...”
[๓๗๘] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวร
ไปกับภิกษุด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุ
ผู้รับฝาก ถือเอาจีวรเองเพราะวิสาสะกับภิกษุผู้รับนั้น อย่างนี้ชื่อว่าถือเอาดี แต่
ถือเอาเพราะวิสาสะกับผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาไม่ดี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๑. ทุคคหิตสุคคหิตาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวาย
จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเองเพราะวิสาสะกับ
ผู้รับ อย่างนี้ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง แต่ถือเอาเพราะวิสาสะกับผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอา
ถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวายจีวร
ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากได้ทราบข่าวว่า “ผู้ฝากมรณภาพ
เสียแล้ว” จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้ฝากนั้น อย่างนี้ชื่อว่าอธิษฐาน
ถูกต้อง แต่ถือเอาเองเพราะวิสาสะกับผู้รับชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวายจีวร
ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทางภิกษุผู้รับฝากได้ทราบข่าวว่า “ผู้รับมรณภาพ
เสียแล้ว” จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้รับนั้น อย่างนี้ชื่อว่าอธิษฐานไม่
ถูกต้อง แต่ถือเอาเพราะวิสาสะกับผู้ฝากชื่อว่าถือเอาถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวายจีวร
ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากได้ทราบข่าวว่า “ผู้ฝากและผู้รับ
ทั้ง ๒ มรณภาพเสียแล้ว” จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้ฝาก อย่างนี้ชื่อว่า
อธิษฐานถูกต้อง อธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้รับชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง
กรณีที่ ๒ ฝากไปด้วยกล่าวว่า “ผมขอถวาย...”
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยกล่าวว่า “ผมขอ
ถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเองเพราะวิสาสะ
กับผู้ฝาก อย่างนี้ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง แต่ถือเอาเพราะวิสาสะกับผู้รับชื่อว่าถือเอา
ถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยกล่าวว่า “ผมขอ
ถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเองเพราะวิสาสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๒. อัฏฐจีวรมาติกา
กับผู้รับ อย่างนี้ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง แต่ถือเอาเพราะวิสาสะกับผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอา
ไม่ถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยกล่าวว่า “ผมขอถวาย
จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากได้ทราบข่าวว่า “ผู้ฝาก
มรณภาพเสียแล้ว” จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้ฝากนั้น อย่างนี้ชื่อว่า
อธิษฐานไม่ถูกต้อง แต่ถือเอาเองเพราะวิสาสะกับผู้รับชื่อว่าถือเอาถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยกล่าวว่า “ผมขอถวาย
จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากได้ทราบข่าวว่า “ผู้รับมรณ-
ภาพเสียแล้ว” จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้รับนั้น อย่างนี้ชื่อว่าอธิษฐาน
ถูกต้อง แต่ถือเอาเพราะวิสาสะกับผู้ฝากชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยกล่าวว่า “ท่านจง
ถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากได้ทราบข่าวว่า “ผู้ฝาก
และผู้รับทั้ง ๒ มรณภาพเสียแล้ว” จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้ฝาก
อย่างนี้ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง อธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้รับชื่อว่าอธิษฐาน
ถูกต้อง
๒๓๒. อัฏฐจีวรมาติกา
ว่าด้วยจีวรที่เกิดขึ้นมี ๘ มาติกา
เรื่องมาติกาแห่งจีวร ๘ ข้อ
[๓๗๙] ภิกษุทั้งหลาย มาติกาเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจีวร มี ๘ อย่างนี้ คือ
๑. ถวายแก่สีมา ๒. ถวายตามกติกา
๓. ถวายในที่จัดภิกษาหาร ๔. ถวายแก่สงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๓. รวมเรื่องที่มีในจีวรขันธกะ
๕. ถวายแก่สงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย ๖. ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว
(คือภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)
๗. ถวายเจาะจง ๘. ถวายแก่บุคคล
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สีมา ได้แก่ ภิกษุที่อยู่ในสีมามีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น
พึงแบ่งกัน
ที่ชื่อว่า ถวายตามกติกา ได้แก่ อาวาสจำนวนมาก มีลาภเสมอกัน คือ เมื่อ
ทายกถวายในวัดหนึ่งชื่อว่าเป็นอันถวายทุกวัด
ที่ชื่อว่า ถวายในที่จัดภิกษาหาร ได้แก่ ทายกทำสักการะเป็นประจำแก่สงฆ์
ในที่ใด ถวายในที่นั้น
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สงฆ์ ได้แก่ สงฆ์อยู่พร้อมหน้ากันแบ่ง
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่าย ได้แก่ ภิกษุแม้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่มี
ภิกษุณีอยู่รูปเดียว พึงให้ฝ่ายละครึ่ง ภิกษุณีแม้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่มีภิกษุอยู่
รูปเดียว พึงให้ฝ่ายละครึ่ง
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ได้แก่ ภิกษุมีจำนวนเท่าใดอยู่จำพรรษา
แล้วในอาวาสนั้น ภิกษุเหล่านั้นพึงแบ่งกัน
ที่ชื่อว่า ถวายเจาะจง ได้แก่ ถวายเฉพาะข้าวต้ม ภัตตาหาร ของเคี้ยว จีวร
เสนาสนะ หรือเภสัช
ที่ชื่อว่า ถวายแก่บุคคล ได้แก่ ถวายด้วยกล่าวว่า “เราถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุ
ชื่อนี้”
จีวรขันธกะที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๓. รวมเรื่องที่มีในจีวรขันธกะ
๒๓๓. รวมเรื่องที่มีในจีวรขันธกะ
จีวรขันธกะมี ๙๖ เรื่อง คือ
เรื่องคณะกุฎุมพีชาวกรุงราชคฤห์พบหญิงงามเมือง
ชื่ออัมพปาลีในกรุงเวสาลีกลับมากรุงราชคฤห์แล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นให้พระราชาทรงทราบ
เรื่องบุตรของหญิงงามเมืองชื่อสาลวดี ซึ่งต่อมาเป็นโอรส
ของเจ้าชายอภัย เพราะเหตุที่ยังมีชีวิต เจ้าชายจึงประทานชื่อว่าชีวก
เรื่องชีวกเดินทางไปกรุงตักกสิลา เรียนวิชาแพทย์สำเร็จ
เป็นหมอใหญ่ได้รักษาโรคปวดศีรษะของภรรยาเศรษฐีที่เป็น
เรื้อรังอยู่ ๗ ปี จนหายด้วยการนัตถุ์ยาเพียงครั้งเดียว
เรื่องรักษาโรคริดสีดวงทวารของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
เรื่องพระราชทานตำแหน่งหมอชีวกเป็นแพทย์หลวงประจำ
พระองค์ พระสนม นางกำนัลและอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์
เรื่องรักษาเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ผู้ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะ
เรื่องรักษาโรคเนื้องอกในลำไส้ เรื่องรักษาโรคผอมเหลืองของ
พระเจ้าปัชโชตหายด้วยให้เสวยพระโอสถผสมเนยใส
เรื่องได้รับพระราชทานผ้าคู่สิไวยกะเป็นรางวัล เรื่องสรงพระกาย
ของพระผู้มีพระภาคซึ่งหมักหมมด้วยสิ่งเป็นโทษได้ชุ่มชื่น
เรื่องหมอชีวกทูลถวายพระโอสถ ๓๐ ครั้ง โดยอบก้านอุบล
๓ ก้านด้วยยา
เรื่องหมอชีวกกราบทูลขอพร เมื่อพระผู้มีพระภาคทรง
มีพระกายเป็นปกติแล้ว เรื่องทรงรับผ้าคู่สิไวยกะ
เรื่องทรงอนุญาตคหบดีจีวร
เรื่องจีวรเกิดขึ้นมากในกรุงราชคฤห์ เรื่องทรงอนุญาตผ้าปาวาร
ผ้าไหมและผ้าโกเชาว์ เรื่องผ้ากัมพลราคาครึ่งกาสิยะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๓. รวมเรื่องที่มีในจีวรขันธกะ
เรื่องผ้าเนื้อดีเนื้อหยาบ พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญความสันโดษ
เรื่องภิกษุรอกันและไม่รอกัน เรื่องทายกนำจีวรกลับคืน
เรื่องสมมติเรือนคลัง เรื่องเจ้าหน้าที่รักษาผ้าในเรือนคลัง
เรื่องทรงห้ามย้ายเจ้าหน้าที่เรือนคลัง เรื่องจีวรเกิดขึ้นมาก
เรื่องส่งเสียงดังขณะแจกจีวร เรื่องวิธีแจกจีวร เรื่องวิธีให้ส่วนแบ่ง
เรื่องให้แลกส่วนของตน เรื่องให้ส่วนพิเศษ
เรื่องวิธีให้ส่วนจีวร เรื่องย้อมจีวรด้วยโคมัย เรื่องย้อมด้วยน้ำเย็น
เรื่องน้ำย้อมล้น เรื่องไม่รู้ว่าน้ำย้อมเดือดแล้วหรือยังไม่เดือด
เรื่องยกหม้อน้ำย้อมลง เรื่องไม่มีภาชนะสำหรับย้อม
เรื่องขยำจีวรในถาด เรื่องตากจีวรบนพื้น เรื่องปลวกกัดเครื่อง
รองทำด้วยหญ้า เรื่องแขวนจีวรพับกลาง เรื่องชายจีวรชำรุด
เรื่องน้ำย้อมหยดออกจากชายข้างเดียว
เรื่องจีวรแข็ง เรื่องจีวรหยาบกระด้าง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้จีวรที่ไม่ได้ตัด เรื่องตัดจีวรตามแบบคันนา
เรื่องทอดพระเนตรเห็นภิกษุแบกห่อจีวร เรื่องทรงอนุญาตไตรจีวร
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ทรงอติเรกจีวรชุดอื่นเข้าบ้าน
เรื่องอติเรกจีวรเกิดขึ้น เรื่องทรงอนุญาตผ้าปะเมื่ออันตรวาสกขาดทะลุ
เรื่องฝนตกพร้อมกัน ๔ ทวีป เรื่องนางวิสาขาขอพร
เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝน อาคันตุกภัต คมิกภัต คิลานภัต
คิลานุปัฏฐากภัต เภสัช ธุวยาคู และถวายผ้าอาบน้ำแก่ภิกษุณีสงฆ์
เรื่องภิกษุนอนหลับขาดสติสัมปชัญญะเพราะฉันโภชนะอันประณีต
เรื่องผ้าปูนั่งผืนเล็กเกินไป
เรื่องฝีดาษ เรื่องทรงอนุญาตผ้าเช็ดปาก
เรื่องทรงอนุญาตให้ถือวิสาสะผ้าเปลือกไม้ เรื่องไตรจีวรบริบูรณ์
เรื่องอธิษฐาน เรื่องจีวรมีขนาดเพียงไรจึงต้องวิกัป
เรื่องอุตตราสงค์ที่ทำเป็นผ้าบังสุกุลหนัก เรื่องชายสังฆาฏิไม่เสมอกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๓. รวมเรื่องที่มีในจีวรขันธกะ
เรื่องด้ายหลุดลุ่ย เรื่องแผ่นสังฆาฏิบลุ่ยออก เรื่องผ้าไม่พอ
เรื่องผ้าเพลาะ เรื่องจีวรเกิดขึ้นมาก เรื่องเก็บจีวรไว้ในวิหารอันธวัน
เรื่องท่านพระอานนท์เผลอสติ เรื่องภิกษุรูปเดียวจำพรรษา
เรื่องภิกษุอยู่รูปเดียวตลอดฤดูกาล
เรื่องพระเถระสองพี่น้อง เรื่องภิกษุ ๓ รูปจำพรรษาในกรุงราชคฤห์
เรื่องพระอุปนันทะจำพรรษาแล้วไปอาวาสใกล้บ้าน
เรื่องพระอุปนันทะจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่ง
เรื่องภิกษุอาพาธเป็นโรคท้องร่วง
เรื่องคนไข้ที่พยาบาลได้ง่ายและพยาบาลได้ยาก
เรื่องภิกษุและสามเณรเป็นไข้
เรื่องภิกษุเปลือยกาย เรื่องภิกษุนุ่งผ้าคากรอง ผ้าเปลือกไม้
ผ้าผลไม้ ผ้าทอด้วยผมคน ผ้าทอด้วยขนสัตว์ ผ้าทอด้วยปีกนกเค้า
หนังเสือ
เรื่องภิกษุนุ่งผ้าทำด้วยก้านดอกรัก ผ้าเปลือกปอ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ห่มจีวรสีเขียวห่มจีวรสีเหลือง ห่มจีวรสีแดง
ห่มจีวรสีบานเย็น ห่มจีวรสีดำ ห่มจีวรสีแสด หดจีวรสีชมพู
ห่มจีวรไม่ตัดชาย ห่มจีวรชายยาว ห่มจีวรมีชายลายดอกไม้
ห่มจีวรชายเป็นแผ่นสวมเสื้อ สวมหมวก โพกผ้า
เรื่องจีวรยังไม่เกิดขึ้นภิกษุหลีกไป เรื่องสงฆ์แตกกัน
เรื่องทายกถวายน้ำแก่สงฆ์ฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรแก่สงฆ์อีกฝ่ายหนึ่ง
เรื่องพระเรวตะฝากจีวร เรื่องการถือเอาของฝากโดยถือวิสาสะ
และการอธิษฐานเป็นจีวรมรดก เรื่องมาติกาของจีวร ๘ ข้อ
จีวรขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
๙. จัมเปยยขันธกะ
๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
ว่าด้วยพระกัสสปโคตร
เรื่องพระกัสสปโคตรผู้อยู่ประจำในอาวาส ณ วาสภคาม
[๓๘๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคครา เขต
กรุงจัมปา ครั้งนั้น ในแคว้นกาสี มีหมู่บ้านชื่อวาสภคาม ภิกษุชื่อกัสสปโคตรอยู่ประจำ
ในอาวาสในที่นั้น ฝักใฝ่กังวลอยู่ ขวนขวายอยู่ว่า “ด้วยวิธีใดหนอ ภิกษุผู้มีศีลดีงาม
ที่ยังไม่มาพึงมา และภิกษุผู้มีศีลดีงามที่มาแล้วพึงอยู่เป็นผาสุก และอาวาสนี้จะเจริญ
งอกงามไพบูลย์ได้”
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนหลายรูปเที่ยวจาริกไปในแคว้นกาสี จนถึงวาสภคาม ภิกษุ
กัสสปโคตรได้เห็นภิกษุเหล่านั้นเดินมาแต่ไกล จึงปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกไปรับบาตรและจีวร ต้อนรับด้วยน้ำดื่ม จัดแจงน้ำสรง แม้
ข้าวต้ม ของเคี้ยว ภัตตาหารก็จัดแจงให้
ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุ
อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ดีจริง ได้จัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้ม ของเคี้ยว ภัตตาหาร
ก็จัดแจงให้ เอาเถอะพวกเราพักอยู่ในวาสภคามนี้แหละ” ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น
ได้พักอยู่ในวาสภคามนั้นเอง
ต่อมา ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความคิดดังนี้ว่า “ภิกษุอาคันตุกะเหล่านี้ไม่ต้อง
ลำบากในฐานะที่เป็นพระอาคันตุกะ เวลานี้ภิกษุอาคันตุกะเหล่านี้ที่ไม่ชำนาญทางโคจร๑
ก็ชำนาญแล้ว การทำความจัดแจงในตระกูลคนอื่นจนตลอดชีวิตทำได้ยาก อนึ่ง

เชิงอรรถ :
๑ ทางโคจร หมายถึงหนทางที่จะไปบิณฑบาต สถานที่เที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว (วิ.อ. ๓/๓๕๗/๓๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
การออกปากขอย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของคนทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย เราไม่พึงจัดแจง
ข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหาร” แล้วเลิกจัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหาร
ลำดับนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นปรึกษากันว่า “ท่านทั้งหลาย เมื่อก่อนนี้
ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้จัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหารก็จัดแจงให้
เวลานี้ ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ไม่จัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหารแล้ว ท่าน
ทั้งหลาย บัดนี้ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ไม่ดีเสียแล้ว เอาเถอะพวกเราจงลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ออกไป” ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น
ประชุมกัน ได้กล่าวกะภิกษุกัสสปโคตรนั้นดังนี้ว่า “ท่าน เมื่อก่อน ท่านจัดแจง
น้ำสรง แม้ข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหารก็จัดให้ เวลานี้ไม่จัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหาร
เสียแล้ว ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม”
ภิกษุกัสสปโคตรกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น”
ครั้งนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะได้ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุกัสสปโคตร เพราะการ
ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ลำดับนั้น ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราไม่รู้เรื่องนี้ว่า ‘นั่นเป็นอาบัติ
หรือไม่เป็นอาบัติ เราต้องอาบัติหรือไม่ต้องอาบัติ เราถูกลงอุกเขปนียกรรม หรือ
ไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ด้วยกรรมที่ชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรม ถูกต้องหรือไม่
ถูกต้อง ควรแก่เหตุหรือไม่ควรแก่เหตุ’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเดินทางไปกรุงจัมปา
แล้วกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเกี่ยวกับเรื่องนั้น”
ครั้งนั้น ภิกษุกัสสปโคตรเก็บเสนาสนะถือบาตรและจีวร เดินทางไปกรุงจัมปา
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง
ณ ที่สมควร
พุทธประเพณี
การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย
นั่นเป็นพุทธประเพณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุกัสสปโคตรดังนี้ว่า “ภิกษุ เธอยัง
สบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ เธอเดินทางไกลมาไม่ลำบากหรือ เธอมาจาก
ที่ไหน”
ภิกษุกัสสปโคตรกราบทูลว่า “ยังสบายดี พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า และข้าพระองค์เดินทางไกลมาไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า ในชนบท
แคว้นกาสีมีหมู่บ้านชื่อวาสภะ ข้าพระองค์อยู่ประจำในอาวาสในที่นั้น ฝักใฝ่ในการ
ก่อสร้าง ขวนขวายอยู่ว่า ‘ด้วยวิธีใดหนอ ภิกษุผู้มีศีลดีงามที่ยังไม่มาพึงมา และ
ภิกษุผู้มีศีลดีงามที่มาแล้วพึงอยู่เป็นผาสุก และอาวาสนี้จะเจริญงอกงามไพบูลย์ได้’
พระพุทธเจ้าข้า ต่อมา ภิกษุจำนวนหลายรูปเที่ยวจาริกไปในแคว้นกาสี จนถึง
วาสภคาม ข้าพระองค์ได้เห็นภิกษุเหล่านั้นเดินมาแต่ไกล จึงปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกไปรับบาตรและจีวร ต้อนรับด้วยน้ำดื่ม จัดแจงน้ำสรง
แม้ข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหารก็จัดแจงให้
พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า ‘ท่าน
ทั้งหลาย ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ดีจริง ได้จัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้มของเคี้ยว
ภัตตาหารก็จัดแจงให้ เอาเถอะพวกเราพักอยู่ในวาสภคามนี้แหละ’ ภิกษุอาคันตุกะ
เหล่านั้นได้พักอยู่ในวาสภคามนั้นเอง
พระพุทธเจ้าข้า ต่อมา ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุอาคันตุกะ
เหล่านี้ไม่ต้องลำบากในฐานะที่เป็นพระอาคันตุกะ เวลานี้ภิกษุอาคันตุกะเหล่านี้ที่ไม่
ชำนาญทางโคจรก็ชำนาญแล้ว การทำความจัดแจงในตระกูลคนอื่นจนตลอดชีวิตทำ
ได้ยาก อนึ่ง การออกปากขอย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของคนทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย
เราไม่พึงจัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหาร’ แล้วเลิกจัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหาร
พระพุทธเจ้าข้า ลำดับนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นปรึกษากันว่า ‘ท่านทั้งหลาย
เมื่อก่อนนี้ ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้จัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้มของเคี้ยวภัตตา
หารก็จัดแจงให้ เวลานี้ ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ไม่จัดแจงข้าวต้ม ของเคี้ยว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
ภัตตาหารแล้ว ท่านทั้งหลาย บัดนี้ ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ ไม่ดีเสียแล้ว
เอาเถอะ พวกเราจงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ออกไป”
พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นประชุมกัน ได้กล่าวกับ
ข้าพระองค์ดังนี้ว่า “ท่าน เมื่อก่อนท่านจัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้ม ของเคี้ยว ภัตตาหาร
ก็จัดแจงให้ เวลานี้ไม่จัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหารเสียแล้ว ท่านต้องอาบัติแล้ว
ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม”
ข้าพระองค์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น”
พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะได้ลงอุกเขปนียกรรมข้าพระองค์
เพราะการไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราไม่รู้เรื่องนี้ว่า นั่นเป็นอาบัติหรือไม่เป็นอาบัติ
เราต้องอาบัติหรือไม่ต้องอาบัติ เราถูกลงอุกเขปนียกรรมหรือไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม
ด้วยกรรมที่ชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรม ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ควรแก่เหตุหรือไม่ควร
แก่เหตุ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเดินทางไปกรุงจัมปาแล้วกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค
เกี่ยวกับเรื่องนั้น’ ข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาจากวาสภคามนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ เธอ
ไม่ต้องอาบัติ เธอต้องอาบัติหามิได้ เธอไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม เธอถูกลงอุกเขปนีย
กรรมหามิได้ เธอถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม ไม่ถูกต้อง ไม่ควร
แก่เหตุ เธอจงไปอยู่ในวาสภคามนั่นแหละ”
ภิกษุกัสสปโคตรทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไปสู่วาสภคาม
[๓๘๑] ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นมีความกังวลใจ มีความเดือดร้อน
ใจปรึกษากันว่า “ไม่ใช่ลาภของพวกเรา พวกเราไม่มีลาภหนอ พวกเราได้ชั่วแล้วหนอ
พวกเราได้ไม่ดีแล้วหนอ ที่ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่ต้องอาบัติ เพราะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
เรื่องที่ไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร เอาเถอะ พวกเราจะเดินทางไปกรุงจัมปาแล้ว
แสดงโทษที่ล่วงเกินโดยยอมรับผิดในพุทธสำนัก”
ลำดับนั้น ภิกษุอาคันตุกะพวกนั้น ได้เก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรเดินทาง
ไปกรุงจัมปา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสนทนาปราศรัยกับภิกษุอาคันตุกะ
ทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ พวกเธอเดินทางไกลมาไม่ลำบากหรือ
พวกเธอมาจากที่ไหน”
พวกภิกษุอาคันตุกะกราบทูลว่า “สบายดี พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า และพวกข้าพระองค์เดินทางไกลมาไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า ใน
ชนบทแคว้นกาสี มีหมู่บ้านชื่อวาสภคาม พวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาจากวาสภคาม
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ
ที่อยู่ประจำในอาวาสหรือ”
พวกภิกษุอาคันตุกะกราบทูลว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พวกเธอลงอุกเขปนียกรรมเพราะเรื่องอะไร
เพราะเหตุไร”
พวกภิกษุอาคันตุกะกราบทูลว่า “เพราะเรื่องที่ไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวก
เธอไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ
เพราะเรื่องที่ไม่สมควร เพราะเหตุที่ไม่สมควรเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การทำอย่าง
นี้มิได้เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรง
แสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร สงฆ์หมู่ใด
ลงอุกเขปนียกรรม ต้องอาบัติทุกกฏ”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่งซบ
ศีรษะลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ทั้งหลายได้กระทำความผิดเพราะความโง่เขลาเบาปัญญา ที่ได้ลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องที่ไม่ควร เพราะเหตุไม่สมควร ขอพระ
ผู้มีพระภาคทรงโปรดรับการขอขมา เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เอาเถิด ภิกษุทั้งหลาย การที่พวกเธอทั้งหลายได้
กระทำความผิดเพราะความโง่เขลาเบาปัญญา ที่ได้ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุผู้บริสุทธิ์
ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องที่ไม่ควร เพราะเหตุไม่สมควร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่
พวกเธอเห็นความผิดเป็นความผิดแล้ว แก้ไขให้ถูกต้อง ข้อนั้นเรายอมรับ ภิกษุทั้งหลาย
เพราะการที่บุคคลเห็นความผิดเป็นความผิดแล้วแก้ไขให้ถูกต้องและสำรวมต่อไป
นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๕. อธัมมวัคคาทิกัมมกถา
๒๓๕. อธัมมวัคคาทิกัมมกถา
ว่าด้วยกรรมที่แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมเป็นต้น
เรื่องภิกษุชาวกรุงจัมปาทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมเป็นต้น
[๓๘๒] สมัยนั้น พวกภิกษุในกรุงจัมปาทำกรรมเช่นนี้ คือ ทำกรรม
แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ทำกรรม
แบ่งพวกโดยชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป๑ ทำกรรมพร้อมเพรียง
กันโดยธรรมปฏิรูป ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียวบ้าง ภิกษุรูป
เดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูปบ้าง ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ
หลายรูปบ้าง ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง ภิกษุ ๒ รูปลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียวบ้าง ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูปบ้าง
ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูปบ้าง ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรม
สงฆ์บ้าง ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียวบ้าง ภิกษุหลายรูปลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูปบ้าง ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูปบ้าง
ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมปฏิรูป แปลว่า ธรรมปลอม,ธรรมเทียม,ธรรมที่ไม่แท้ ในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงสัทธรรมที่ไม่แท้
ที่ชื่อว่าสัทธรรมปฏิรูป ๒ อย่างคือ
๑. อธิคมสัทธรรมปฏิรูป คือ ธรรมที่เป็นเหตุเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาญาณ เช่น โอภาส ญาณ ปีติ
ปัสสัทธิ สุข เป็นต้น ที่เป็นเหตุให้จิตหวั่นไหว
๒. ปริยัตติสัทธรรมปฏิรูป ได้แก่ สิ่งที่ไม่ใช่พระพุทธพจน์ คือ คัมภีร์คุฬหวินัย คัมภีร์คุฬห
เวสสันดรชาดก คัมภีร์คุฬหมโหสธชาดก คัมภีร์วรรณปิฎก คัมภีร์องคุลิมาลปิฎก คัมภีร์เวทัลลปิฎก
คัมภีร์รัฏฐปาลคัชชิตะ คัมภีร์อาฬวกคัชชิตะ ที่ไม่ได้ยกขึ้นสู่การสังคายนา ๓ ครั้ง อยู่นอกเหนือจาก
กถาวัตถุ ๕ เหล่านี้ ธาตุกถา อารัมมณกถา อสุภกถา ญาณกถา วิชชากรัณฑกะ (สํ.นิ.อ. ๒/๑๕๖/
๒๒๓-๒๒๔)เป็นคำสอนของอธรรมวาทีนิกายต่าง ๆ ที่แสดงช่วงก่อนสังคายนาครั้งที่ ๓ และมีการสอบ
ถามเมื่อคราวสังคายนาครั้งที่ ๓ ชื่อคัมภีร์เหล่านี้มีกล่าวถึงในอรรถกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๕. อธัมมวัคคาทิกัมมกถา
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุใน
กรุงจัมปาจึงทำกรรมเช่นนี้เล่า คือ ทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ฯลฯ สงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง” ครั้นแล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุในกรุง
จัมปาทำกรรมเช่นนี้ คือ ทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ฯลฯ สงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมสงฆ์บ้าง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิทรงแสดงธรรมีกถา
แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
เรื่องพระผู้มีพระภาคตรัสห้ามเพราะไม่ชอบธรรม
[๓๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ไม่จัดเป็น
กรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ไม่จัดเป็น
กรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยชอบธรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่
ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้า
กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูป
เดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียว ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียว
ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียวลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียวลง
อุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุรูปเดียว ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุ ๒ รูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ
หลายรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่



{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๕. อธัมมวัคคาทิกัมมกถา
จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียว ไม่จัด
เป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูป ไม่จัดเป็น
กรรมและไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูป ไม่จัดเป็นกรรม
และไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
กรรม ๔ ประเภท
[๓๘๔] ภิกษุทั้งหลาย กรรม มี ๔ ประเภทเหล่านี้ คือ
๑. กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม (อธัมมวัคคกรรม)
๒. กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม (อธัมมสมัคคกรรม)
๓. กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม (ธัมมวัคคกรรม)
๔. กรรมพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม (ธัมมสมัคคกรรม)
ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม
นี้ชื่อว่าไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุ เพราะไม่ชอบธรรม เพราะแบ่งพวก ภิกษุทั้งหลาย
กรรมเช่นนี้ไม่ควรทำและเราก็ไม่อนุญาต
ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบ
ธรรมนี้ชื่อว่าไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุ เพราะไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย กรรม
เช่นนี้ไม่ควรทำและเราก็ไม่อนุญาต
ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่แบ่งพวกโดยชอบธรรมนี้ก็
ชื่อว่าไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุ เพราะแบ่งพวก ภิกษุทั้งหลาย กรรมเช่นนี้ไม่ควร
ทำและเราก็ไม่อนุญาต
ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบ
ธรรมนี้ชื่อว่าถูกต้อง ควรแก่เหตุ เพราะชอบธรรม เพราะพร้อมเพรียงกัน ภิกษุ
ทั้งหลาย กรรมเช่นนี้ควรทำและเราก็อนุญาต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘พวกเรา
จะทำกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม”
๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
ว่าด้วยกรรมที่ญัตติวิบัติเป็นต้น
[๓๘๕] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำกรรมเช่นนี้ คือ ทำกรรมแบ่งพวก
โดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดย
ชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ทำกรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป
ทำกรรมที่ญัตติวิบัติแต่อนุสาวนาสมบูรณ์บ้าง ทำกรรมที่อนุสาวนาวิบัติแต่ญัตติ
สมบูรณ์บ้าง ทำกรรมที่ญัตติวิบัติอนุสาวนาวิบัติบ้าง ทำกรรมเว้นจากธรรม๑บ้าง ทำ
กรรมเว้นจากวินัยบ้าง ทำกรรมเว้นจากสัตถุศาสน์บ้าง ทำกรรมที่ถูกค้านแล้วและ
ขืนทำ ไม่ชอบธรรม เป็นกรรมไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงทำกรรมเช่นนี้เล่า คือ ทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป
ทำกรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ทำกรรมที่ญัตติวิบัติแต่อนุสาวนาสมบูรณ์
บ้าง ทำกรรมที่อนุสาวนาวิบัติแต่ญัตติสมบูรณ์บ้าง ทำกรรมที่ญัตติวิบัติอนุสาวนา
วิบัติบ้าง ทำกรรมเว้นจากธรรมบ้าง ทำกรรมเว้นจากวินัยบ้าง ทำกรรมเว้นจาก
สัตถุศาสน์บ้าง ทำกรรมที่ถูกค้านแล้วและขืนทำ ไม่ชอบธรรม เป็นกรรมไม่ถูกต้อง
ไม่ควรแก่เหตุบ้าง
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ เว้นจากธรรม คือ ไม่ทำกรรมด้วยเรื่องที่เป็นจริง ได้แก่ตามเรื่องที่เกิดขึ้น และไม่ทำกรรมโดยธรรม
(วิ.อ. ๓/๓๘๕/๒๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าภิกษุฉัพพัคคีย์ทำ
กรรมเช่นนี้จริงหรือ คือ แบ่งพวกทำกรรมโดยไม่ชอบธรรม ฯลฯ ทำกรรมที่ถูกค้าน
แล้วและขืนทำ ไม่ชอบธรรม เป็นกรรมไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุบ้าง”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมี
กถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
เรื่องแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
[๓๘๖] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ไม่จัดเป็นกรรม
และไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ไม่จัดเป็นกรรม และ
ไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยชอบธรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็น
กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ถ้าเป็นกรรมญัตติวิบัติแต่อนุสาวนาสมบูรณ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้า
เป็นกรรมอนุสาวนาวิบัติแต่ญัตติสมบูรณ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรม
ที่ญัตติวิบัติ อนุสาวนาวิบัติ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
กรรมที่เว้นจากธรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ กรรมที่เว้นจากวินัย ไม่
จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ กรรมที่เว้นจากสัตถุศาสน์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ถ้ากรรมที่ถูกค้านแล้วขืนทำ ไม่ชอบธรรม ไม่ถูกต้องและไม่ควรแก่เหตุ ก็ไม่จัดเป็น
กรรมและไม่ควรทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
กรรม ๖ ประเภท
[๓๘๗] ภิกษุทั้งหลาย กรรมมี ๖ ประเภทเหล่านี้ คือ

๑. กรรมไม่ชอบธรรม(อธัมมกรรม)๑ ๒. กรรมแบ่งพวก(วัคคกรรม)
๓. กรรมพร้อมเพรียงกัน(สมัคคกรรม) ๔. กรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิ-
รูป(ธัมมปฏิรูปวัคคกรรม)
๕. กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรม ๖. กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ปฏิรูป(ธัมมปฏิรูปสมัคคกรรม) ชอบธรรม(ธัมมสมัคคกรรม)

อธิบายกรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ชอบธรรม อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติ
ทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๑ ครั้ง ไม่สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่
ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๒ ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๑ ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๒ ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๑ ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๒ ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้ เป็นชื่อของบาลี (พระไตรปิฎก) (วิ.อ. ๓/๓๗๘/๒๓๙) ไม่ชอบธรรม จึงหมายถึง ไม่ถูกต้อง
ตามพระบาลี ไม่ถูกต้องตามพระพุทธพจน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๓ ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๔ ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๑ ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๒ ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๓ ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๔ ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมไม่ชอบธรรม (๑)
อธิบายกรรมที่แบ่งพวกทำ
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่แบ่งพวก อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติ
ทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้มา
ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็ไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้าก็คัดค้าน ชื่อว่า
กรรมที่แบ่งพวก
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด
ภิกษุเหล่านั้นมา แต่ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้า
กันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด
ภิกษุเหล่านั้นมา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็ได้นำมาแล้ว แต่ภิกษุที่อยู่พร้อม
หน้ากันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด
ภิกษุเหล่านั้นไม่มา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็ยังไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้า
ก็คัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด
ภิกษุเหล่านั้นมา แต่ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้า
กันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก
ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้น
มา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็นำมาแล้ว แต่ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วคัดค้าน
ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมที่แบ่งพวก (๒)
อธิบายกรรมที่พร้อมเพรียงกันทำ
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่พร้อมเพรียงกัน อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ใน
ญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา ฉันทะ
ของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็ได้นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วก็ไม่คัดค้าน ชื่อว่า
กรรมที่พร้อมเพรียงกัน
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด
ภิกษุเหล่านั้นมา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะได้นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้า
กันแล้วก็ไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่พร้อมเพรียงกัน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมที่พร้อมเพรียงกัน (๓)
อธิบายกรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย
ในญัตติทุติยกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
กำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา
พวกที่อยู่พร้อมหน้าก็คัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง
ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา แต่ฉันทะของภิกษุผู้
ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วก็คัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่ง
พวกโดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง
ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่
ฉันทะก็นำมาแล้ว แต่ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก
โดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง
ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มา ฉันทะของภิกษุผู้ควร
แก่ฉันทะก็ไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่ง
พวกโดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง
ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว แต่ฉันทะของภิกษุ
ผู้ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้าก็คัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก
โดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง
ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว ฉันทะของภิกษุ
ผู้ควรแก่ฉันทะก็นำมาแล้ว แต่ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่
แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
อธิบายกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป อะไรบ้าง คือ ภิกษุ
ทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลังภิกษุผู้เข้า
กรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะ
ก็นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วก็ไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง
ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว ฉันทะของภิกษุผู้ควร
แก่ฉันทะก็นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียง
กันโดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป (๕)
อธิบายกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม อะไรบ้าง คือ ภิกษุ
ทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าตั้งญัตติก่อน ทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๑ ครั้ง
ภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว ฉันทะของ
ภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วก็ไม่คัดค้าน ชื่อว่า
กรรมพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าตั้งญัตติก่อน ทำกรรมด้วยกรรม
วาจา ๓ ครั้งภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว
ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วก็ไม่คัดค้าน
ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม (๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๗. จตุวัคคกรณาทิกถา
๒๓๗. จตุวัคคกรณาทิกถา
ว่าด้วยกรรมที่สงฆ์กำหนดจำนวน ๔ รูปทำเป็นต้น
เรื่องสงฆ์ ๕ ประเภท
[๓๘๘] สงฆ์มี ๕ ประเภท คือ

๑. สงฆ์จตุวรรค (กำหนดจำนวน ๔ รูป)
๒. สงฆ์ปัญจวรรค (กำหนดจำนวน ๕ รูป)
๓. สงฆ์ทสวรรค (กำหนดจำนวน ๑๐ รูป)
๔. สงฆ์วีสติวรรค (กำหนดจำนวน ๒๐ รูป)
๕. สงฆ์อติเรกวีสติวรรค (กำหนดจำนวน เกิน ๒๐ รูป)

ภิกษุทั้งหลาย ในสงฆ์เหล่านั้น สงฆ์จตุวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม
เข้ากรรมได้ทุกอย่าง ยกเว้นกรรม ๓ อย่าง คือ อุปสมบท ปวารณา อัพภาน
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ปัญจวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ทุกอย่าง
ยกเว้นกรรม ๒ อย่าง คือ อุปสมบทในมัชฌิมชนบท อัพภาน
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ทสวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ทุกอย่าง
ยกเว้นอัพภานอย่างเดียว
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์วีสติวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ทุกอย่าง
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์อติเรกวีสติวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ทุกอย่าง
เรื่องกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ
[๓๘๙] ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่ ๔
ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๔ ทำ
กรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีสามเณรเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๗. จตุวัคคกรณาทิกถา
กรรมและไม่ควรทำ ... มีสามเณรีเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
... มีภิกษุผู้บอกลาสิกขาเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุ
ผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้ถูก
สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็น
กรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๔
ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีบัณเฑาะก์
เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีคนลักเพศเป็นที่ ๔ ทำกรรม
ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัด
เป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีสัตว์ดิรัจฉาน เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรม
และไม่ควรทำ ... มีคนผู้ฆ่ามารดาเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
... มีคนผู้ฆ่าบิดาเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีคนผู้ฆ่า
พระอรหันต์เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ ... มีคนผู้ประทุษ
ร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้ทำลาย
สงฆ์เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้ทำร้ายพระศาสดา
จนถึงห้อพระโลหิตเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีอุภโต
พยัญชนกเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้เป็นนานา
สังวาสเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้อยู่ในนานา
สีมาเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้อยู่ในอากาศ
ด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... สงฆ์ทำกรรมแก่
ภิกษุใด มีภิกษุนั้นเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
เรื่องกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๗. จตุวัคคกรณาทิกถา
เรื่องกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ
[๓๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่
๕ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๕
ฯลฯ มีสามเณรเป็นที่ ๕ ... ... มีสามเณรีเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้บอกลาสิกขา
เป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่
สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๕ ... ... มีบัณเฑาะก์เป็นที่ ๕ ... ... มีคนลักเพศ เป็นที่ ๕
... ... มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์เป็นที่ ๕ ... ... มีสัตว์ดิรัจฉานเป็นที่ ๕ ... ... มีคน
ผู้ฆ่ามารดาเป็นที่ ๕ ... ... มีคนผู้ฆ่าบิดาเป็นที่ ๕ ... ... มีคนผู้ฆ่าพระอรหันต์
เป็นที่ ๕ ... ... มีคนผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ทำลายสงฆ์เป็น
ที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิตเป็นที่ ๕ ... ... มี
อุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้เป็นนานาสังวาสเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้อยู่
ในนานาสีมาเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้อยู่ในอากาศด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๕ ... สงฆ์ทำ
กรรมแก่ภิกษุใด มีภิกษุนั้นเป็นที่ ๕ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
เรื่องกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ จบ
เรื่องกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ
[๓๙๑] ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่
๑๐ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๑๐ ฯลฯ
มีสามเณรเป็นที่ ๑๐ ... ... มีสามเณรีเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้บอกลาสิกขาเป็นที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๗. จตุวัคคกรณาทิกถา
๑๐ ... ... มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๑๐ ... ... มีบัณเฑาะก์เป็นที่ ๑๐ ... ... มีคน ลักเพศเป็นที่
๑๐ ... ... มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์เป็นที่ ๑๐ ... ... มีสัตว์ดิรัจฉาน เป็นที่ ๑๐ ...
... มีคนผู้ฆ่ามารดาเป็นที่ ๑๐ ... ... มีคนผู้ฆ่าบิดาเป็นที่ ๑๐ ... ... มีคนผู้ฆ่า
พระอรหันต์เป็นที่ ๑๐ ... ... มีคนผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุ
ผู้ทำลายสงฆ์เป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิตเป็นที่
๑๐ ... ... มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้เป็นนานาสังวาสเป็นที่ ๑๐
... ... มีภิกษุผู้อยู่ในนานาสีมาเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้อยู่ในอากาศด้วยฤทธิ์เป็นที่
๑๐ ... สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด มีภิกษุนั้นเป็นที่ ๑๐ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรม
และไม่ควรทำ
เรื่องกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ จบ
เรื่องกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ
[๓๙๒] ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่
๒๐ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๒๐
... มีสามเณรเป็นที่ ๒๐ ... ... มีสามเณรีเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้บอกลาสิกขา
เป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๒๐ ... ... มีบัณเฑาะก์เป็นที่ ๒๐ ... ... มีคน
ลักเพศเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์เป็นที่ ๒๐ ... ... มีสัตว์ดิรัจฉาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๘. ปาริวาสิกาทิกถา
เป็นที่ ๒๐ ... ... มีคนผู้ฆ่ามารดาเป็นที่ ๒๐ ... ... มีคนผู้ฆ่าบิดาเป็นที่ ๒๐ ...
... มีคนผู้ฆ่าพระอรหันต์เป็นที่ ๒๐ ... ... มีคนผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๒๐ ...
... มีภิกษุผู้ทำลายสงฆ์เป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระ
โลหิตเป็นที่ ๒๐ ... ... มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้เป็นนานา
สังวาสเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้อยู่ในนานาสีมาเป็นที่ ๒๐ .. ... มีภิกษุผู้อยู่ใน
อากาศด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๒๐ ... สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด มีภิกษุนั้นเป็นที่ ๒๐ ทำ
กรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
เรื่องกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ จบ
๒๓๘. ปาริวาสิกาทิกถา
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นต้น
เรื่องสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ ทำสังฆกรรมไม่ได้
และสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภานไม่ได้
[๓๙๓] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส ชัก
เข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภาน ไม่จัด
เป็นกรรมและไม่ควรทำ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส
ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมนั้นเป็นที่ ๒๐
อัพภาน ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรมานัตเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส ชักเข้าหา
อาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรมานัตนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภาน ไม่จัดเป็นกรรม
และไม่ควรทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๘. ปาริวาสิกาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส ชักเข้า
หาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภาน ไม่จัด
เป็นกรรมและไม่ควรทำ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรอัพภานเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส ชักเข้าหา
อาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรอัพภานนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภาน ไม่จัดเป็น
กรรมและไม่ควรทำ
ปฏิโกสนา(การกล่าวคัดค้าน) ๒ อย่าง
เรื่องคำคัดค้านของคน ๒๗ จำพวกฟังไม่ขึ้น
[๓๙๔] ภิกษุทั้งหลาย คำคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ของบางคน ฟังขึ้น ของ
บางคนฟังไม่ขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย คำคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ของใครเล่า ฟังไม่ขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย คำคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ของภิกษุณี ฟังไม่ขึ้น ... ของสิกขมานา
... ... ของสามเณร ... ... ของสามเณรี ... ... ของภิกษุผู้บอกลาสิกขา ... ... ของ
ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ ... ... ของภิกษุผู้วิกลจริต ... ... ของภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ...
... ของภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ... ... ของภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ... ... ของภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่
ทำคืนอาบัติ ... ... ของภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ... ...
ของบัณเฑาะก์ ... ... ของคนลักเพศ ... ... ของภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ... .. ของ
สัตว์ดิรัจฉาน ... ... ของคนผู้ฆ่ามารดา ... ... ของคนผู้ฆ่าบิดา ... ... ของคนผู้ฆ่า
พระอรหันต์ ... ... ของคนผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ... ... ของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ... ...
ของภิกษุผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต ... ... ของอุภโตพยัญชนก ... ... ของ
ภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส ... ... ของภิกษุผู้อยู่ในนานาสีมา ... ... ของภิกษุผู้อยู่ใน
อากาศด้วยฤทธิ์ ... ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด คำคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์
ของผู้นั้น ฟังไม่ขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๙. เทฺวนิสสารณาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย คำคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ของบุคคลเหล่านี้แล ฟังไม่ขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย คำคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ของใครเล่า ฟังขึ้น
เรื่องคำคัดค้านของภิกษุที่ฟังขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย คำคัดค้านในท่ามกลางของปกตัตตภิกษุ๑ ภิกษุผู้มีสังวาส
เสมอกัน ภิกษุผู้อยู่ในสมานสังวาสสีมา โดยที่สุดแม้ภิกษุผู้นั่งอยู่บนอาสนะติดกัน
บอกให้กันรู้ ฟังขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย คำคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ของบุคคลเหล่านี้แล ฟังขึ้น
๒๓๙. เทฺวนิสสารณาทิกถา
ว่าด้วยนิสสารณา ๒ อย่างเป็นต้น
เรื่องบุคคลที่ถูกขับออกไปดีและบุคคลที่ถูกขับออกไปไม่ดี
[๓๙๕] ภิกษุทั้งหลาย นิสสารณา(การขับออกจากหมู่) มี ๒ อย่างนี้ คือ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ยังไม่ถูกขับออก ถ้าสงฆ์ขับบุคคลนั้นออกไป บางคนเป็น
อันถูกขับออกดีแล้วก็มี บางคนเป็นอันถูกขับออกไม่ดีก็มี
๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่ยังไม่ถูกขับออก ถ้าสงฆ์ขับบุคคลนั้นออก
เป็นอันขับออกไม่ดี เป็นอย่างไร คือ
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ ถ้าสงฆ์ขับบุคคล
นั้นออก เป็นอันขับออกไม่ดี บุคคลประเภทนี้ เรียกว่ายังไม่ถูกขับออก ถ้าสงฆ์
ขับบุคคลนั้นออก เป็นอันขับออกไม่ดี

เชิงอรรถ :
๑ ปกตัตตภิกษุ คือ ภิกษุผู้มีศีลไม่วิบัติ ไม่ต้องอาบัติปาราชิก (วิ.อ. ๓/๓๙๔/๒๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๙. เทฺวนิสสารณาทิกถา
๒. ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่ยังไม่ถูกขับออก ถ้าสงฆ์ขับบุคคลนั้นออก
เป็นอันขับออกดีแล้ว เป็นอย่างไร คือ
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้อง
อาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่ควร ถ้าสงฆ์ขับบุคคล
นั้นออก เป็นอันขับออกดีแล้ว บุคคลประเภทนี้ เรียกว่ายังไม่ถูกขับออก แต่ถ้าสงฆ์
ขับบุคคลนั้นออก เป็นอันขับออกดีแล้ว
โอสารณา ๒ อย่าง
[๓๙๖] ภิกษุทั้งหลาย โอสารณา(การเรียกเข้าหมู่) มี ๒ อย่างนี้ คือ ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลที่ยังไม่ได้ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับบุคคลนั้นเข้าหมู่ บางคนเป็น
อันรับเข้าดีก็มี บางคนเป็นอันรับเข้าไม่ดีก็มี
เรื่องบุคคลที่ไม่ควรรับเข้าหมู่ ๑๑ จำพวก
๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่ยังไม่ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับบุคคลนั้น
เข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าไม่ดี เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บัณเฑาะก์ที่ยังไม่ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับบัณเฑาะว์นั้นเข้าหมู่
เป็นอันรับเข้าไม่ดี ... ... คนลักเพศ ... ... คนเข้ารีตเดียรถีย์ ... ... สัตว์ดิรัจฉาน ...
... คนผู้ฆ่ามารดา ... ... คนผู้ฆ่าบิดา ... ... คนผู้ฆ่าพระอรหันต์ ... ... คนผู้ประทุษร้าย
ภิกษุณี ... ... คนผู้ทำลายสงฆ์ ... ... คนผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต
... ภิกษุทั้งหลาย อุภโตพยัญชนกที่ยังไม่ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับอุภโตพยัญชนนั้น
เข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าไม่ดี
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประเภทนี้ เรียกว่าที่ยังไม่ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับบุคคล
ประเภทนี้เข้าหมู่เป็นอันรับเข้าไม่ดี
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้ เรียกว่าที่ยังไม่ถูกเรียกเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับพวก
เธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าไม่ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๙. เทฺวนิสสารณาทิกถา
เรื่องบุคคลที่ควรรับเข้าหมู่ ๓๒ จำพวก
๒. ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่ยังไม่ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับบุคคลนั้น
เข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย คนมือด้วนที่ยังไม่ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับ
เข้าดี ... คนเท้าด้วน ... ... คนทั้งมือทั้งเท้าด้วน ... ... คนหูวิ่น ... ... คนจมูกแหว่ง
... ... คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกแหว่ง ... ... คนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด ... ... คนง่ามมือง่ามเท้า
ขาด ... ... คนเอ็นขาด ... ... คนมือเป็นแผ่น ... ... คนค่อม ... ... คนเตี้ย ...
... คนคอพอก ... ... คนถูกสักหมายโทษ ... ... คนมีรอยเฆี่ยนด้วยหวาย ... ... คนมี
หมายจับ ... ... คนเท้าปุก ... ... คนมีโรคเรื้อรัง ... ... คนมีรูปร่างไม่สมประกอบ ...
... คนตาบอดข้างเดียว ... ... คนง่อย ... ... คนกระจอก ... ... คนเป็นโรคอัมพาต
... ... คนเคลื่อนไหวเองไม่ได้ ... ... คนชราทุพพลภาพ ... ... คนตาบอดสองข้าง ...
... คนใบ้ ... ... คนหูหนวก ... ... คนทั้งบอดทั้งใบ้ ... ... คนทั้งบอดทั้งหนวก
... ... คนทั้งใบ้ทั้งหนวก ... ภิกษุทั้งหลาย คนทั้งบอดทั้งใบ้ ทั้งหนวกที่ยังไม่ได้ถูก
รับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประเภทนี้ เรียกว่าที่ยังไม่ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับ
บุคคลประเภทนี้เข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้ เรียกว่าที่ยังไม่ถูกเรียกเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับ
บุคคลเหล่านี้เข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว
วาสภคามภาณวารที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๐. อธัมมกัมมาทิกถา
๒๔๐. อธัมมกัมมาทิกถา
ว่าด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรมเป็นต้น
เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมที่ไม่ชอบธรรม ๗ กรณี
[๓๙๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น สงฆ์ ภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น” สงฆ์จึงลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้น”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน” สงฆ์จึงลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุนั้นเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุนั้นเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ไม่มีอาบัติที่พึง
ทำคืน สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว
เห็นอาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้น
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ หรือเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ไม่มีทิฏฐิบาปที่
พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูปหรือ รูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๐. อธัมมกัมมาทิกถา
เห็นอาบัตินั้นไหม ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
“ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่
ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ไม่มีทิฏฐิบาป
ที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูปหรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว
จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
“ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุนั้นเพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่ชอบ
ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน
ไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน
ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละ
ทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น
ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ
นั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่า
กรรมไม่ชอบธรรม
เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมที่ไม่ชอบธรรมอีก ๗ กรณี
[๓๙๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงเห็น สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม” ภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ขอรับ ผมเห็น” สงฆ์ยังขืนลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๐. อธัมมกัมมาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงทำคืน สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้น” ภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ขอรับ ผมจะทำคืน” สงฆ์ยังขืนลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุนั้นเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ขอรับ ผมจะสละ” สงฆ์ยังขืนลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุนั้นเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงเห็น มีอาบัติที่พึงทำคืน
... ... มีอาบัติที่พึงเห็น มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ ... ... มีอาบัติที่พึงทำคืน มีทิฏฐิบาป
ที่พึงสละ ... ... มีอาบัติที่พึงเห็น มีอาบัติที่พึงทำคืน มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์
ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัติ
นั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าว
อย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ขอรับ ผมเห็น ผมจะทำคืน ผมจะสละทิฏฐิบาป”
สงฆ์ยังขืนลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หรือ เพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมที่ชอบธรรม ๗ กรณี
[๓๙๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงเห็น สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม” ภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงทำคืน สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้น” ภิกษุนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุนั้นเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุนั้นเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงเห็น มีอาบัติที่พึงทำคืน
... ... มีอาบัติที่พึงเห็น มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ ... ... มีอาบัติที่พึงทำคืน มีทิฏฐิบาป
ที่พึงสละ ... ... มีอาบัติที่พึงเห็น มีอาบัติที่พึงทำคืน มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์
ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัติ
นั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าว
อย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ผม
ไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมชอบธรรม
๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
ว่าด้วยพระอุบาลีกราบทูลถามปัญหา
เรื่องกรรมไม่ชอบด้วยธรรมไม่ชอบด้วยวินัย
หมวดที่ ๑ รวม ๑๖ กรณี
[๔๐๐] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระอุบาลีผู้
นั่งแล้ว ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “กรรมที่ควรทำต่อหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันกลับทำลับหลัง กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม
เป็นกรรม ชอบด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วย
ธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย”
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “กรรมที่ควรทำโดยการสอบถาม แต่สงฆ์พร้อม
เพรียงกันทำโดยไม่สอบถาม ... ... กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา แต่สงฆ์พร้อม
เพรียงกันทำโดยไม่ตามปฏิญญา ... ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ...
ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ...
ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ... ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรปัพพาชนียกรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ...
ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม
... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ... อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต ...
... ให้ภิกษุผู้ควรอัพภาน อุปสมบทให้กุลบุตร กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมชอบด้วย
ธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม
เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย
อุบาลี กรรมที่ควรทำต่อหน้า แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันกลับทำลับหลัง อย่างนี้แล
จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมมี
ความผิด
อุบาลี กรรมที่ควรทำโดยการสอบถาม แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันกลับทำ
โดยไม่สอบถาม ... ... กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันกลับ
ทำโดยไม่ตามปฏิญญา ... ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ลงตัสส-
ปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร
ตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ... ลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ... ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร
ปัพพาชนียกรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ...
ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม
... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ... อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต ...
... ให้ภิกษุผู้ควรอัพภาน อุปสมบทให้กุลบุตร อุบาลี อย่างนี้แล จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมมีความผิด”
เรื่องกรรมที่ชอบด้วยธรรมชอบด้วยวินัย
หมวดที่ ๑ รวม ๑๖ กรณี
[๔๐๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “กรรมที่ควรทำต่อหน้า สงฆ์ผู้พร้อม
เพรียงกันทำต่อหน้า กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม จัดว่าเป็นกรรมชอบ
ด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม
เป็นกรรมชอบด้วยวินัย”
พระอุบาลีกราบทูลว่า “กรรมที่ควรทำโดยการสอบถาม สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง
กันทำโดยการสอบถาม ... ... กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน
ก็ทำตามปฏิญญา ... ... ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ให้อมูฬหวินัยแก่
ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกา
กรรม ... ... ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่
ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ... ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ...
... ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่
ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ... ชักภิกษุผู้
ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเข้าหาอาบัติเดิม ... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต ... ...
อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน ... ... อุปสมทให้กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท กรรมนั้นจัด
ว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๙๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม
เป็นกรรมชอบด้วยวินัย
อุบาลี กรรมที่ควรทำต่อหน้า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันก็ทำต่อหน้า อย่างนี้แล
จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมไม่มี
ความผิด
อุบาลี กรรมที่ควรทำโดยการสอบถาม สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันก็ทำโดยการ
สอบถาม ... ... กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันก็ทำตามปฏิญญา
... ... ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย
... ... ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ...
... ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ... ลงปฏิสารณียกรรมแก่
ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม
... ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ... ชักภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเข้าหา
อาบัติเดิม ... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต ... ... อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน
... ... อุปสมบทให้กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อุบาลี อย่างนี้แล จัดว่าเป็นกรรมชอบ
ด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมไม่มีความผิด”
เรื่องกรรมไม่ชอบด้วยธรรมไม่ชอบด้วยวินัย
หมวดที่ ๒ อีก ๑๖ กรณี
[๔๐๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้อมูฬหวินัยแก่
ภิกษุผู้ควรสติวินัย ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม
เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๙๑ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น