Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๖-๑ หน้า ๑ - ๖๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๖-๑ วินัยปิฎกที่ ๐๖ จุลวรรค ภาค ๑



พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม

พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๑
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. กัมมขันธกะ
๑. ตัชชนียกรรม
เรื่องภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
[๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะ
และพระโลหิตกะ๑ ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความ
บาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์แล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบให้แข็งขัน
พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถกว่าภิกษุ
นั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน” ทำให้ความบาดหมาง
ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป

เชิงอรรถ :
๑ ปณฺฑุกโลหิตกา ตามศัพท์แปลว่า พระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ แต่ในที่นี้ ท่านหมายเอาพวกภิกษุผู้เป็น
นิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ (วิ.อ. ๓/๑/๒๕๑, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑/๔๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
จึงก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่าน
เป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถกว่าภิกษุนั้น อย่า
กลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’ ดังนี้เล่า ทำให้ความบาดหมาง
ที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป”
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
[๒] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะ
และพระโลหิตกะก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความ
บาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบ
ให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถ
กว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’ ดังนี้
ทำให้ ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ
เหล่านั้นไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
ทำเลย ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษทั้งหลายจึงก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่อ
อธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลาย
จงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และ
สามารถกว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอย เป็นฝ่ายพวกท่าน’
ดังนี้เล่า ทำให้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออก
ไป ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคน
ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริงกลับจะ ทำให้คนที่ไม่เลื่อมใส ก็ไม่เลื่อมใส
ไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่บางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป”
ทรงรับสั่งให้ลงตัชชนียกรรม
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ
โลหิตกะโดยประการต่าง ๆ แล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก
มักมาก ไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคน
เลี้ยงง่าย บำรุงง่าย มักน้อย สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัดกิเลส อาการน่า
เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ ทรงแสดงธรรมีกถา
ให้เหมาะสม ให้คล้อยตามกับเรื่องนั้นแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ”
วิธีลงตัชชนียกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงโจทพวกภิกษุ
นิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ครั้นแล้วให้ภิกษุเหล่านั้นให้การแล้วจึงปรับ
อาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
จตุตถกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
[๓] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและ
พระโลหิตกะ ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง
ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบให้แข็งขัน
พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถกว่าภิกษุนั้น
อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’ ทำให้ความบาดหมางที่
ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึง
ลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ
โลหิตกะ ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไป
หาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
“ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็น
บัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถกว่าภิกษุนั้น อย่ากลัว
ภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน” ทำให้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด
ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป สงฆ์ลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุ
นิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงตัชชนียกรรม
แก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่
เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่อ
อธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลาย
จงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า
และสามารถกว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
ทำให้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป สงฆ์
ลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปใดเห็น
ด้วยกับการลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุ พวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่อ
อธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลาย
จงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า
และสามารถกว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’
ทำให้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป สงฆ์
ลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูป
นั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ตัชชนียกรรมสงฆ์ลงแล้วแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยตัชชนียกรรมที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๔] ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบ
ด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
๑. ลงลับหลัง๑ ๒. ลงโดยไม่สอบถาม
๓. ไม่ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี๒
๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๓)

เชิงอรรถ :
๑ ลงลับหลัง หมายถึงลงโดยที่สงฆ์ ธรรมวินัยและบุคคลไม่อยู่พร้อมหน้ากัน (วิ.อ. ๓/๔/๒๕๑)
๒ อาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ได้แก่ อาบัติปาราชิกและอาบัติสังฆาทิเสส (วิ.อ. ๓/๔/๒๕๑) ที่ชื่อว่าอเทสนา-
คามินี เพราะเป็นอาบัติที่ไม่อาจพ้นได้ด้วยการแสดง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๔)
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๗)
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๘)
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๐)
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๑)
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๒)
อธัมมกัมมทวาทสกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยตัชชนียกรรมที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๕] ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบ
ด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน
๓. ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี๑
๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ได้แก่ อาบัติเบา ๕ อย่าง (คือ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ
ทุพภาสิต) (วิ.อ. ๓/๔๗๕/๕๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๔)
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๖)
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๗)
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๘)
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๙)
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๐)
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๑)
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๒)
ธัมมกัมมทวาทสกะ จบ
อากังขมานฉักกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงตัชชนียกรรม ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้๑
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ๒

เชิงอรรถ :
๑ ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ คือ เว้นจากการกำหนดอาบัติ หมายถึงต้องอาบัติไม่มีขอบเขต (วิ.อ. ๓/
๔๐๗/๒๔๒)
๒ มีสีลวิบัติในอธิสีล คือ ต้องอาบัติปาราชิก หรืออาบัติสังฆาทิเสส
มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร คือ ต้องอาบัติที่เหลืออีก ๕ มีถุลลัจจัยเป็นต้น
มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ คือ ประกอบด้วยความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลก
ไม่มีที่สุดเป็นต้น (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘-๔๙, (แปล) ดู.ที.สี. ๙/๕๓/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์
๓ เหล่านี้แล (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุที่ประกอบด้วยองค์
๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์
๓ เหล่านี้แล (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล
(๔)
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล
(๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๖)
อากังขมานฉักกะ จบ
อัฏฐารสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๑๘ ข้อในตัชชนียกรรม
[๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมพึงประพฤติชอบ การประพฤติ
ชอบในเรื่องนั้น ดังนี้

๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่ง ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์
สอนภิกษุณี ลงตัชชนียกรรมอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ๑ ๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ

อัฏฐารสวัตตะในตัชชนียกรรม จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปกตัตตภิกษุ ได้แก่ ภิกษุผู้มีศีลและอาจาระเสมอกับภิกษุทั้งหลาย หรือภิกษุโดยปกติที่ไม่ถูกลงโทษ หรือ
ไม่ต้องอาบัติปาราชิก (วิ.อ. ๓/๓๙๔/๒๔๐,๗๕/๒๕๖,๑๐๒/๒๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรม
[๘] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ
โลหิตกะ พวกเธอถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้
เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวว่า “พวกกระผมถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วกลับ
ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ พวกกระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงระงับตัชชนียกรรม
แก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะเถิด”
หมวดที่ ๑
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้แล (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีก
อย่างหนึ่ง คือ
๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม
๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้
แล (๓)
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ จบ
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรม
หมวดที่ ๑
[๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีก
อย่างหนึ่งคือ
๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมอีก
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ตำหนิกรรม
๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้
แล (๓)
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๑. ตัชชนียกรรม
วิธีระงับตัชชนียกรรมและกรรมวาจา
[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมอย่างนี้ คือ พวกภิกษุนิสิต
ของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน
ผู้เจริญ พวกกระผมถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับ
ตัวได้ พวกกระผมจึงขอระงับตัชชนียกรรม”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ
โลหิตกะเหล่านี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้
ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงระงับตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิต
ของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ
โลหิตกะเหล่านี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับ
ตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม สงฆ์ระงับตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะ
และพระโลหิตกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิต
ของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น
พึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯลฯ
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและ
พระโลหิตกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวก
ภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะเหล่านี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม สงฆ์ระงับตัชชนีย
กรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ
การระงับตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ตัชชนียกรรมสงฆ์ระงับแล้วแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ตัชชนียกรรมที่ ๑ จบ
๒. นิยสกรรม
เรื่องภิกษุเสยยสกะ
[๑๑] สมัยนั้น ท่านพระเสยยสกะเป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้อง
อาบัติกำหนดไม่ได้ ชอบอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนภิกษุเสยยสกะ ผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่
คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุ
ก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่เล่า” แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุเสยยสกะเป็นคนโง่เขลา
ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
กับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม
ให้มานัตและอัพภานอยู่ จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ
นั้น ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย
ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุเสยยสกะ ผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติ
กำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้ง ๆ
ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่เล่า การ
กระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วจึงทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น สงฆ์จงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้
กลับไปถือนิสัยใหม่”
วิธีลงนิยสกรรมและกรรมวาจา
สงฆ์พึงลงนิยสกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงโจทภิกษุเสยยสกะ ครั้นแล้วให้
เธอให้การแล้วปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้
สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๒] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้โง่เขลา ไม่ฉลาด
มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
ที่ไม่สมควร ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาสชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต
และอัพภานอยู่ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้
กลับไปถือนิสัยใหม่ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก
ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับ ไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปนั้น พึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
เสยยสกะนี้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับ
คฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส
ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่ สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ
โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ
โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น
พึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯลฯ
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
นิยสกรรม สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ สงฆ์
เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยนิยสกรรมที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบ
ด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถาม
๓. ไม่ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๖)
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็น ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
อเทสนาคามินี
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๘)
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๙)
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๑)
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๒)
อธัมมกัมมทวาทสกะ จบ
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยนิยสกรรมที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบ
ด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน
๓. ลงตามปฏิญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรม ชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๔)
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๖)
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๗)
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๘)
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๙)
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๐)
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๑)
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๒)
ธัมมกัมมทวาทสกะ จบ
อากังขมานฉักกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงนิยสกรรม ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อ
ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๔)
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติใน
อัชฌาจาร
๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๖)
อากังขมานฉักกะ จบ
อัฏฐารสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๑๘ ข้อในนิยสกรรม
หมวดที่ ๑
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมพึงประพฤติชอบ การประพฤติ
ชอบในเรื่องนั้น ดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม

๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอน ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์
ภิกษุณี ลงนิยสกรรมอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ

อัฏฐารสวัตตะในนิยสกรรม จบ
[๑๗] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงนิยสกรรมภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัย
ใหม่ ภิกษุเสยยกะนั้นถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้วเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตร
ขอให้แนะนำ ซักถามอยู่ จึงเป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัด
ระวัง ใฝ่การศึกษา กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ เข้าไปหาพวกภิกษุ
แล้วกล่าวว่า “กระผมถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง
กลับตัวได้ กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงระงับนิยสกรรม
แก่ภิกษุเสยยสกะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรม
หมวดที่ ๑
[๑๘] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
คือ
๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีก
อย่างหนึ่ง คือ
๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูก ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
สงฆ์ลงนิยสกรรม
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ อีก
อย่างหนึ่ง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม

๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้
แล
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ จบ
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับนิยสกรรม
หมวดที่ ๑
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีก
อย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูก ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
สงฆ์ลงนิยสกรรมอีก
๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ตำหนิกรรม
๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้
แล
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ จบ
วิธีระงับนิยสกรรมและกรรมวาจา
[๒๐] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุเสยยสกะพึง
เข้าไปหา สงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่ง
กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ กระผมถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง
กลับตัวได้ กระผมจึงขอระงับนิยสกรรม
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับนิยสกรรม ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว
พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยกะ นี่เป็นญัตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยส
กรรมแก่ภิกษุเสยยสกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
เสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอ
ระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ
การระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่าน
รูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
เสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้
ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
นิยสกรรม สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุเสยยสกะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
นิยสกรรมที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
๓. ปัพพาชนียกรรม
เรื่องภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ๑
[๒๑] สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ๒ เป็นผู้อยู่ประจำในอาวาส เป็น
ภิกษุอลัชชี เลวทราม อยู่ในกีฏาคิรีชนบท ภิกษุพวกนั้น ประพฤติไม่เหมาะสม
เห็นปานนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ผู้อื่นรดบ้าง
เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง ทำมาลัย
ต่อก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง จัดดอก
ไม้ช่อเองบ้าง ใช้ผู้อื่นจัดบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริด
เองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงประดับ
อกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ผู้
อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง
ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้เทริด นำไป
เองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้
แผงประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้ของตระกูล เพื่อทาส
หญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่ง
บนอาสนะเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดเดียวกันบ้าง
นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้างกับ
กุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้ของตระกูล ทาสหญิงในตระกูล

เชิงอรรถ :
๑ วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๓๑/๔๕๙-๔๖๐, วิ.จู. (แปล) ๗/๒๙๓/๗๘-๘๐
๒ ภิกษุ ๒ รูปนี้อยู่ในพวกฉัพพัคคีย์ (ดู วิ.จู. (แปล) ๗/๒๔๓/๑ : เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของ
หอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อน
รำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้น
รำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคม
กับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้อง
กับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อน
รำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำ
กับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง แถวละ ๑๐ ตาบ้าง เล่นหมาก
เก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาด
ให้เป็นรูปต่าง ๆ บ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อย ๆ บ้าง เล่นหก
คะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อย ๆ บ้าง เล่น
ธนูน้อย ๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่
ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง
วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง
ปล้ำกันบ้าง ชกมวยบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิท่ามกลางเวทีเต้นรำแล้วพูดกับหญิงฟ้อน
รำอย่างนี้ว่า “น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำในที่นี้” ดังนี้แล้ว ให้การ คำนับบ้าง ประพฤติ
ไม่เหมาะสมต่าง ๆ บ้าง
อุบาสกเล่าเรื่องให้ฟัง
[๒๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาในแคว้นกาสีแล้ว เดินทางไปกรุง
สาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค เดินทางไปจนถึงกีฏาคิรีชนบท ครั้นเวลาเช้า ท่าน
ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรไปบิณฑบาตที่กีฏาคิรีชนบท มีการก้าวไป การ
ถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออกที่น่าเลื่อมใส สายตา
มองทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ
พวกชาวบ้านเห็นภิกษุนั้นแล้วพากันกล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุนี้เป็นใคร ดูคล้าย
ไม่ค่อยมีกำลัง เหมือนคนอ่อนแอ เหมือนคนขมวดคิ้วก้มหน้า เมื่อท่านรูปนี้เข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
ไปบิณฑบาต ใครเล่าจะถวายอาหารบิณฑบาต ส่วนพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
ของพวกเรา เป็นคนอ่อนโยน พูดไพเราะ อ่อนหวาน ยิ้มแย้มก่อน มักกล่าวว่า
มาเถิด และมาดีแล้ว ไม่ก้มหน้า หน้าตาชื่นบาน ทักทายก่อน ใคร ๆ ก็อยาก
จะถวายอาหารท่านเหล่านั้น”
อุบาสกคนหนึ่งเห็นภิกษุนั้นกำลังบิณฑบาตในกีฏาคิรีชนบท ครั้นแล้วได้เข้า
ไปหาภิกษุนั้นไหว้แล้วกล่าวกับท่านว่า “พระคุณเจ้าได้อาหารบิณฑบาตบ้างไหม ขอรับ”
ภิกษุนั้นตอบว่า “อาตมายังไม่ได้อาหารเลย”
อุบาสกกล่าวนิมนต์ว่า “นิมนต์ไปเรือนกระผมเถิด ขอรับ” แล้วพาภิกษุนั้น
ไปเรือน นิมนต์ให้ฉันแล้วถามว่า “พระคุณเจ้า ท่านจะไปที่ไหน ขอรับ”
ภิกษุนั้นตอบว่า “เจริญพร อาตมาจะไปกรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค”
อุบาสกกล่าวว่า “ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงถวายอภิวาทพระบาท
ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของกระผม
อย่างนี้ด้วยว่า ,พระพุทธเจ้าข้า วัดในกีฏาคิรีชนบททรุดโทรม ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะเป็นผู้อยู่ประจำในอาวาส อยู่ในกีฏาคิรีชนบท เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม
พวกเธอประพฤติไม่เหมาะสมเห็นปานนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง
รดน้ำเองบ้าง ใช้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยดอกไม้ เองบ้าง
ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้าน เองบ้าง
ใช้ผู้อื่นทำบ้าง จัดดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ผู้อื่นจัดบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ผู้อื่น
ทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ผู้ อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้แผงประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้
ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้ช่อ นำไป
เองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้เทริด
นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำ ไปบ้างซึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
ดอกไม้แผงประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้ ของตระกูล
เพื่อทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบน
อาสนะเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดเดียวกันบ้าง
นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้างกับ
กุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้ของตระกูล ทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ ของ หอม
และเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับ
หญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้น รำ
กับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคม
กับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้อง
กับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อนรำ
กับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำ
กับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง แถวละ ๑๐ ตาบ้าง เล่นหมาก
เก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่น
ฟาดให้เป็นรูปต่าง ๆ บ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อย ๆ บ้าง
เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อย ๆ บ้าง
เล่นธนูน้อย ๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัด
ขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง
วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง
ปล้ำกันบ้าง ชกมวยบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิท่ามกลางเวทีเต้นรำแล้วพูดกับหญิง ฟ้อน
รำอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำในที่นี้’ ดังนี้แล้ว ให้การคำนับบ้าง ประพฤติ
ไม่เหมาะสมต่าง ๆ บ้าง
แม้พวกชาวบ้านที่เคยศรัทธา เลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใสทาน
ที่เคยถวายประจำแก่สงฆ์ บัดนี้ ทายกทายิกาเลิกถวายแล้ว ภิกษุผู้มีศีลพากันจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
พวกภิกษุผู้เลวทรามอยู่ครอบครอง ขอประทานวโรกาสเถิดพระพุทธเจ้าข้า ขอ
พระผู้มีพระภาคโปรดส่งภิกษุทั้งหลายไปสู่กีฏาคิรีชนบทเพื่อวัดจะได้ตั้งมั่นอยู่สืบไป
ในที่นั้น”
ภิกษุนั้นรับคำของอุบาสกแล้วเดินทางไปทางกรุงสาวัตถี ไปถึงกรุงสาวัตถี ถึง
พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีโดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคนั่งลง ณ ที่สมควร
พุทธประเพณี
อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะ
ทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ เธอยังสบายดีหรือ ยัง
พอเป็นอยู่ได้หรือ เธอเดินทางมาโดยไม่ลำบากหรือ เธอมาจากไหน”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “สบายดี พระพุทธเจ้าข้า พอเป็นอยู่ได้ พระพุทธเจ้าข้า
ข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจำพรรษา
ในแคว้นกาสี เมื่อจะมาเฝ้าพระองค์ที่เมืองนี้ เดินทางผ่านกีฏาคิรีชนบท เวลาเช้า
ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกีฏาคิรีชนบท อุบาสกคนหนึ่ง
เห็นข้าพระพุทธเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาต เข้ามาหา ไหว้แล้วถามว่า ‘พระคุณเจ้า
ได้อาหารบิณฑบาตบ้างไหม ขอรับ’ ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า ‘อาตมายังไม่ได้อาหารเลย’
อุบาสกกล่าวนิมนต์ว่า ‘นิมนต์ไปเรือนกระผมเถิด ขอรับ’ แล้วพาข้าพระพุทธเจ้าไป
เรือน นิมนต์ให้ฉันแล้วถามว่า ‘พระคุณเจ้า ท่านจะไปที่ไหน ขอรับ’ ข้าพระพุทธเจ้า
ตอบว่า ‘เจริญพร อาตมาจะไปกรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค’ เขากล่าวว่า
‘ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า
และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของกระผมอย่างนี้ด้วยว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า วัดใน
กีฏาคิรีชนบททรุดโทรม ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะเป็นผู้อยู่ประจำในอาวาส
อยู่ในกีฏาคิรีชนบท เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม พวกเธอประพฤติไม่เหมาะสมเห็นปาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
นี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง ฯลฯ ประพฤติไม่เหมาะสมต่าง ๆ บ้าง
แม้พวกชาวบ้านที่เคยศรัทธา เลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส ทานที่
เคยถวายประจำแก่สงฆ์ บัดนี้ทายกทายิกาเลิกถวายแล้ว ภิกษุผู้มีศีลพากันจากไป
พวกภิกษุผู้เลวทรามอยู่ครอบครอง ขอประทานวโรกาสเถิดพระพุทธเจ้าข้า ขอพระ
ผู้มีพระภาคโปรดส่งภิกษุทั้งหลายไปสู่กีฏาคิรีชนบท เพื่อวัดจะได้ตั้งมั่นอยู่สืบไปในที่นั้น’
ข้าพระพุทธเจ้ามาจากกีฏาคิรีชนบทนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
ทรงสอบถามแล้วตำหนิ
[๒๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะเป็นผู้อยู่ประจำในอาวาส เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม อยู่ในกีฏาคิรีชนบท
ประพฤติไม่เหมาะสมเห็นปานนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง ฯลฯ
ประพฤติไม่เหมาะสมต่าง ๆ บ้าง แม้พวกชาวบ้านที่เคยศรัทธา เลื่อมใส แต่เดี๋ยว
นี้ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส ทานที่เคยถวายประจำแก่สงฆ์ บัดนี้ทายกทายิกาเลิก
ถวายแล้ว ภิกษุผู้มีศีลทั้งหลายพากันจากไป ภิกษุผู้เลวทรามอยู่ครอบครอง
จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ
เหล่านั้นไม่สมควร ฯลฯ ไม่ควรทำ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงประพฤติ
ไม่เหมาะสมอย่างนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้
ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง
ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง
จัดดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ผู้อื่นจัดบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้
เทริดเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผง
ประดับอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้
ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้ช่อ นำไป
เองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม่พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้
เทริด นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งดอกไม้แผงประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้ของ
ตระกูล เพื่อทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบน
อาสนะเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดเดียวกันบ้าง
นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้างกับ
กุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้ของตระกูล ทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของ
หอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำ
กับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้น
รำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง
ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง
ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง
ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง
เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง แถวละ ๑๐ ตาบ้าง
เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง
เล่นฟาดให้เป็นรูปต่าง ๆ บ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถ น้อย ๆ บ้าง
เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่น รถน้อย ๆ บ้าง
เล่นธนูน้อย ๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียน คนพิการบ้าง
หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลง อาวุธบ้าง วิ่งผลัด
ช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวบ้าง ผิวปากบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิท่ามกลางเวทีเต้นรำแล้วพูด
กับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำในที่นี่’ ดังนี้แล้ว ให้การคำนับบ้าง
ประพฤติไม่เหมาะสมต่าง ๆ บ้าง
แม้พวกชาวบ้านที่เคยศรัทธา เลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใสทาน
ที่เคยถวายประจำแก่สงฆ์ บัดนี้ทายกทายิกาได้เลิกถวายแล้ว ภิกษุผู้มีศีลทั้งหลาย
พากันจากไป พวกภิกษุผู้เลวทรามอยู่ครอบครอง ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ
รับสั่งให้ลงปัพพาชนียกรรม
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถาตรัสเรียกพระสารีบุตร
และพระโมคคัลลานะมารับสั่งว่า “ไปเถิด สารีบุตร โมคคัลลานะ เธอทั้งสองจงไป
กีฏาคิรีชนบท จงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจาก
กีฏา คีรีชนบท เพราะภิกษุพวกนั้นเป็นสัทธิวิหาริกของเธอทั้งสอง”
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระ
พุทธเจ้าจะลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏาคิรี
ชนบทได้อย่างไร เพราะพวกเธอดุร้าย หยาบคาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งสองจงไปกับภิกษุหลาย ๆ รูป”
พระเถระทั้งสอง ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว
วิธีลงปัพพาชนียกรรมและกรรมวาจาลงปัพพาชนียกรรม
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงปัพพาชนียกรรมอย่างนี้ คือ
เบื้องต้น พึงโจทภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ ครั้นแล้วให้ภิกษุเหล่านั้นให้การแล้ว
จึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
[๒๔] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ ๒
รูปนี้ ประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านั้น
เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่วและตระกูลทั้งหลายที่ถูกภิกษุเหล่านั้นประทุษร้าย เขาก็ได้เห็น
และได้ยินกันทั่ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิ
และปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะ
ไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะเหล่านี้
ประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติของภิกษุเหล่านั้น เขาได้เห็น
และได้ยินกันทั่ว และตระกูลทั้งหลายที่ถูกภิกษุเหล่านั้นประทุษร้าย เขาก็ได้เห็น
และได้ยินกันทั่ว สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมพวกภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจาก
กีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า “ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในกีฏา-
คิรีชนบท” ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ
ไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึง
ทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะเหล่านี้ประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความ
ประพฤติของภิกษุเหล่านั้น เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว และตระกูลทั้งหลายที่ถูกภิกษุ
เหล่านั้นประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมพวกภิกษุ
ชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า “ภิกษุชื่อว่าอัสสชิ และ
ปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท” ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงปัพพาชนียกรรม
แก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่า
อัสสชิและปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็น
ด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะเหล่านี้ประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความ
ประพฤติของภิกษุเหล่านั้น เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว และตระกูลทั้งหลายที่ถูกภิกษุ
เหล่านั้นประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมพวกภิกษุ
ชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่าอัสสชิ และ
ปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงปัพพาชนียกรรม
แก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่า
อัสสชิและปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ปัพพาชนียกรรมให้ไปจากกีฏาคิรีชนบท สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะ โดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’
สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยปัพพาชนียกรรมที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถาม
๓. ไม่ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่า
เป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนา
คามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
อธัมมกัมมทวาทสกะ จบ
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยปัพพาชนียกรรมที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน
๓. ลงตามปฏิญญา ฯลฯ
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
ธัมมกัมมทวาทสกะ จบ
อากังขมานจุททสกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงปัพพาชนียกรรม ๑๔ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ เหล่านี้แล (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ เหล่านี้แล (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ เหล่านี้แล (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. เล่นคะนองกาย ๒. เล่นคะนองวาจา
๓. เล่นคะนองทั้งกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ เหล่านี้แล (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ประพฤติไม่สมควรทางกาย
๒. ประพฤติไม่สมควรทางวาจา
๓. ประพฤติไม่สมควรทั้งทางกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ เหล่านี้แล (๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ทำลายพระบัญญัตติทางกาย๑
๒. ทำลายพระบัญญัติทางวาจา
๓. ทำลายพระบัญญัติทั้งทางกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ เหล่านี้แล (๖)
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ

เชิงอรรถ :
๑ ทำลายพระบัญญัติทางกาย คือทำลายด้วยการไม่ศึกษาสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัตติเกี่ยวกับ
ข้อปฏิบัติทางกาย (วิ.อ. ๓/๒๗/๒๕๓, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๓๒๓/๕๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
๑. ประกอบมิจฉาชีพทางกาย ๒. ประกอบมิจฉาชีพทางวาจา๑
๓. ประกอบมิจฉาชีพทั้งทางกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ เหล่านี้แล (๗)
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อ
ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้
แล (๘)
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้
แล (๙)

เชิงอรรถ :
๑ มิจฉาชีพทางกาย คือ การหุงน้ำมันและต้มยาอริฏฐะเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งเวชกรรมที่ทรงห้ามเป็นต้น
มิจฉาชีพทางวาจา คือ การรับและการบอกข่าวแก่พวกคฤหัสถ์ (วิ.อ. ๓/๒๗/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้
แล (๑๐)
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งเล่นคะนองกาย ๒. รูปหนึ่งเล่นคะนองวาจา
๓. รูปหนึ่งเล่นคะนองทั้งกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้
แล (๑๑)
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป
คือ
๑. รูปหนึ่งประพฤติไม่สมควรทางกาย
๒. รูปหนึ่งประพฤติไม่สมควรทางวาจา
๓. รูปหนึ่งประพฤติไม่สมควรทั้งทางกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้
แล (๑๒)
หมวดที่ ๑๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
๑. รูปหนึ่งทำลายพระบัญญัติทางกาย
๒. รูปหนึ่งทำลายพระบัญญัติทางวาจา
๓. รูปหนึ่งทำลายพระบัญญัติทั้งทางกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้
แล (๑๓)
หมวดที่ ๑๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป
คือ
๑. รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทางกาย
๒. รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทางวาจา
๓. รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทั้งทางกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้
แล (๑๔)
อากังขมานจุททสกะ จบ
อัฏฐารสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๑๘ ข้อในปัพพาชนียกรรม
[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมพึงประพฤติชอบ การ
ประพฤติชอบในเรื่องนั้น ดังนี้

๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึง ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์
สั่งสอนภิกษุณี ลงปัพพาชนียกรรมอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม

๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ

อัฏฐารสวัตตะในปัพพาชนียกรรม จบ
[๒๙] ครั้งนั้น ภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะเป็นประธานเดินทาง
ไปกีฏาคีรีชนบท ได้ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏา
คีรีชนบทว่า “ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะไม่ควรอยู่ในกีฏาคีรีชนบท”
ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้วก็ยังไม่ยอม
ประพฤติชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ยอมกลับตัว ไม่ขอขมาพวกภิกษุ ยังด่าบริภาษ
การกสงฆ์๑ ใส่ความว่าทำเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะความหลง เพราะ
ความกลัว หลีกไปบ้าง สึกไปบ้าง
ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุชื่อ
อัสสชิและปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้วก็ยังไม่ยอมประพฤติชอบ ไม่หาย
เย่อหยิ่ง ไม่ยอมกลับตัว ไม่ขอขมาพวกภิกษุ ยังด่าบริภาษการกสงฆ์ ใส่ความว่า
ทำเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะความหลง เพราะความกลัว หลีกไปบ้าง
สึกไปบ้าง” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะ

เชิงอรรถ :
๑ การกสงฆ์ คือ ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เป็นผู้ดำเนินการในกิจการสำคัญอันเป็นสังฆกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
ถูกสงฆ์ลงปัพพชานียกรรมแล้วยังไม่ยอมประพฤติชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ยอม
กลับตัว ไม่ขอขมาพวกภิกษุ ยังด่าบริภาษการกสงฆ์ ใส่ความว่าทำเพราะความชอบ
เพราะความชัง เพราะความหลง เพราะความกลัว หลีกไปบ้าง สึกไปบ้าง จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น
ไม่สมควร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นถูกสงฆ์ลงปัพพชานียกรรมแล้ว
ยังไม่ยอมประพฤติชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ยอมกลับตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย
ยังด่าบริภาษการกสงฆ์ ใส่ความว่าทำเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะความ
หลง เพราะความกลัว หลีกไปบ้าง สึกไปบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่ง
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับปัพพาชนียกรรม”
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๑
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์
๕ คือ
๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๑ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น