Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๖-๒ หน้า ๖๒ - ๑๒๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๖-๒ วินัยปิฎกที่ ๐๖ จุลวรรค ภาค ๑



พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๑
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
อีกอย่างหนึ่ง คือ

๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูก ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอีก
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้ แล
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์
๘ เหล่านี้แล
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะในปัพพาชนียกรรม จบ
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๑
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้แล
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
อีกอย่างหนึ่ง คือ

๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูก ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอีก
๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ตำหนิกรรม
๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘
เหล่านี้แล
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะในปัพพาชนียกรรม จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
วิธีระงับปัพพาชนียกรรมและกรรมวาจา
[๓๒] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ถูกสงฆ์
ลงปัพพาชนียกรรม พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
กระผมถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้
กระผมจึงขอระงับปัพพาชนียกรรม”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม ถ้าสงฆ์
พร้อมกันแล้ว พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม สงฆ์ระงับ
ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับปัพพาชนียกรรม
แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
ชื่อนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้
ขอระงับปัพพาชนียกรรม สงฆ์ระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่านรูปใดเห็น
ด้วยกับการระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
ปัพพาชนียกรรมสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ปัพพาชนียกรรมที่ ๓ จบ
๔. ปฏิสารณียกรรม
เรื่องพระสุธรรม
[๓๓] สมัยนั้น ท่านพระสุธรรมเป็นพระนักก่อสร้าง รับภัตตาหารประจำใน
อาวาสของจิตตคหบดี เมืองมัจฉิกาสณฑ์ ทุกครั้งที่จิตตคหบดีต้องการนิมนต์สงฆ์
คณะ หรือบุคคล ถ้ายังไม่เรียนให้ท่านสุธรรมทราบ จะไม่นิมนต์
ต่อมา พระเถระหลายรูป คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระมหา
จุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอุบาลี ท่านพระอานนท์ และท่าน
พระราหุล เที่ยวจาริกไปแคว้นกาสีลุถึงเมืองมัจฉิกาสณฑ์
จิตตคหบดีต้อนรับพระอาคันตุกะ
จิตตคหบดีทราบว่า “พระเถระหลายรูปเดินทางมาถึงเมืองมัจฉิกาสณฑ์แล้ว”
ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายที่สำนัก ไหว้แล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ท่านพระสารีบุตรได้ชี้แจงให้จิตตคหบดีผู้นั่ง ณ ที่สมควรให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไป
ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ลำดับนั้น จิตตคหบดีผู้ซึ่งพระสารีบุตรเถระชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไป
ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว
จึงกราบอาราธนาพระเถระว่า “ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระทั้งหลาย โปรดรับอาคันตุก
ภัตของกระผม เพื่อเจริญกุศลในวันรุ่งขึ้นเถิด”
พระเถระรับคำนิมนต์โดยดุษณีภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
ครั้นเขาทราบว่าพระเถระรับคำนิมนต์แล้ว ได้ลุกขึ้นไหว้พระเถระทั้งหลาย ทำ
ประทักษิณแล้วเข้าไปหาท่านพระสุธรรม ไหว้แล้วยืน ณ ที่สมควร เรียนท่านพระ
สุธรรมว่า “ท่านผู้เจริญ นิมนต์รับภัตตาหารของกระผม เพื่อเจริญกุศลในวันรุ่งขึ้น
พร้อมกับพระเถระทั้งหลายเถิด”
ลำดับนั้น พระสุธรรมคิดว่า “แต่ก่อนจิตตคหบดีนี้เมื่อต้องการจะนิมนต์สงฆ์
คณะ หรือบุคคลก็ต้องบอกเราก่อนทุกครั้ง แต่เวลานี้กลับไม่บอกเราก่อนแล้วไปนิมนต์
พระเถระทั้งหลาย บัดนี้จิตตคหบดีคงจะโกรธไม่สนใจใยดี เบื่อหน่ายเราเสียแล้ว” จึง
ตอบว่า “อย่าเลย จิตตคหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์”
แม้ครั้งที่ ๒ จิตตคหบดี ก็กราบเรียนท่านพระสุธรรมดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ นิมนต์
รับภัตตาหารของกระผม เพื่อเจริญกุศลในวันรุ่งขึ้นพร้อมกับพระเถระทั้งหลายเถิด”
ท่านพระสุธรรมตอบว่า “อย่าเลย จิตตคหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์”
แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคหบดี ก็กราบเรียนท่านพระสุธรรมดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ นิมนต์
รับภัตตาหารของกระผม เพื่อเจริญกุศลในวันรุ่งขึ้นพร้อมกับพระเถระทั้งหลายเถิด”
ท่านพระสุธรรมตอบว่า “อย่าเลย จิตตคหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์”
เวลานั้น จิตตคหบดีคิดว่า “พระสุธรรมจะรับหรือไม่รับนิมนต์ก็ทำอะไรเราไม่ได้”
ไหว้พระสุธรรมแล้วทำประทักษิณจากไป
พระสุธรรมวิวาทกับจิตตคหบดี
[๓๔] ครั้นล่วงราตรีนั้นไป จิตตคหบดีให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีต
ไว้ถวายภิกษุผู้เถระทั้งหลาย สมัยนั้น ท่านพระสุธรรมคิดว่า “ถ้ากระไร เราควร
ตรวจดูของเคี้ยวของฉันที่จิตตคหบดีเตรียมถวายภิกษุผู้เถระทั้งหลาย” พอถึงเวลาเช้า
จึงนุ่งอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปนิเวศน์ของจิตตคหบดี นั่งบนอาสนะที่เขา
จัดถวาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
ลำดับนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระสุธรรม ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระสุธรรมบอกจิตตคหบดีผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วว่า “ท่านเตรียมของเคี้ยว
ของฉันไว้อย่างเพียงพอ แต่สิ่งหนึ่ง คือ ขนมแดกงา ไม่มีในที่นี้”
จิตตคหบดีกล่าวตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อพระพุทธพจน์มีอยู่มากมาย แต่
พระสุธรรมกลับมาพูดว่า ขนมแดกงา ท่านผู้เจริญ เคยมีเรื่องเล่าว่า พวกพ่อค้าชาว
ทักขิณาบถ เดินทางไปค้าขายแถบตะวันออก พวกเธอนำแม่ไก่มาจากที่นั้น ต่อมา
แม่ไก่สมสู่กับพ่อกาก็ออกลูก เวลาที่ลูกไก่ตัวนั้นจะร้องอย่างกา มันก็ร้องเสียงกา
ผสมเสียงไก่ เวลาที่จะขันอย่างไก่ มันก็ขันเสียงไก่ผสมเสียงกา ฉันใด ท่านผู้เจริญ
เมื่อพระพุทธพจน์มีอยู่มากมาย พระสุธรรมมาพูดคำว่า ขนมแดกงาก็เหมือนกัน”
ท่านพระสุธรรมกล่าวว่า “คหบดี ท่านด่าบริภาษอาตมา นั่นวัดของท่าน
อาตมาจะไปละ”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมมิได้ด่าบริภาษท่าน ขออาราธนา
ท่านอยู่ในอัมพาฏกวันอันรื่นรมย์ เมืองมัจฉิกาสณฑ์เถิด กระผมจะดูแลเรื่องจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารสำหรับท่าน”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระสุธรรมก็กล่าวกับจิตตคหบดีว่า “คหบดี ท่านด่า บริภาษ
อาตมา นั่นวัดของท่าน อาตมาจะไปละ”
จิตตคหบดีก็กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมมิได้ด่าบริภาษท่าน ขออาราธนา
ท่านอยู่ในอัมพาฏกวันอันรื่นรมย์ เมืองมัจฉิกาสณฑ์เถิด กระผมจะดูแลเรื่องจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารสำหรับท่าน”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสุธรรมก็กล่าวกับจิตตคหบดีว่า “คหบดี ท่านด่าบริภาษ
อาตมา นั่นวัดของท่าน อาตมาจะไปละ”
จิตตคหบดีถามว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านจะไปไหน”
ท่านพระสุธรรมตอบว่า “คหบดี อาตมาจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่กรุงสาวัตถี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงกราบทูลคำที่ท่านและ
ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วให้พระผู้มีพระภาคทรงรับทราบทั้งหมด การที่ท่านจะกลับมาเมือง
มัจฉิกาสณฑ์อีก ไม่ใช่เรื่องน่าอัศจรรย์แต่อย่างใด”
พระสุธรรมเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
[๓๕] ต่อมา ท่านพระสุธรรมเก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรเดินทางไป
ทางกรุงสาวัตถี จนลุถึงพระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกะโดยลำดับ เข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องที่ตนกล่าว และ
เรื่องที่จิตตคบหดีกล่าวนั้นทั้งหมดให้ทรงทราบ
ทรงตำหนิพระสุธรรม
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนั้น ไม่สมควร ไม่
คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ โมฆบุรุษ จิตต
คหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์ ไฉนเธอ
จึงด่าด้วยคำต่ำช้า ข่มขู่ด้วยคำต่ำช้าเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ
สุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมนั้นไปขอขมาจิตตคหบดี”
วิธีลงปฏิสารณียกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงปฏิสารณียกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้น พึงโจทภิกษุ
สุธรรม ครั้นแล้วให้ภิกษุสุธรรมให้การแล้วจึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุ
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๓๖] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จิตตคหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส
เป็นทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์ ภิกษุสุธรรมนี้ด่าด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
คำต่ำช้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้
เธอไปขอขมาจิตตคหบดี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จิตตคหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็น
ทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์ ภิกษุสุธรรมนี้ด่าด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า
สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมไปขอขมาจิตตคหบดี
ท่านรูปใด เห็นด้วยกับการลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมคือ ให้ภิกษุสุธรรมขอขมา
จิตตคหบดี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
จิตตคหบดี เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์
ภิกษุสุธรรมนี้ด่าด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม
คือ ให้ภิกษุสุธรรมขอขมาจิตตคหบดี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงปฏิสาณียกรรม
แก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมไปขอขมาจิตตคหบดี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ปฏิสารณียกรรม สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมไปขอขมา
จิตตคหบดี สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติ
อย่างนี้”
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยปฏิสารณียกรรมที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถาม
๓. ไม่ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
อธัมมกัมมทวาทสกะในปฏิสารณียกรรม จบ
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยปฏิสารณียกรรมที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน
๓. ลงตามปฏิญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่า
เป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
ธัมมกัมมทวาทสกะในปฏิสารณียกรรม จบ
อากังขมานจตุกกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงปฏิสารณียกรรม ๔ หมวด
หมวดที่ ๑
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของพวกคฤหัสถ์
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของพวกคฤหัสถ์
๓. ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งพวกคฤหัสถ์
๔. ด่าบริภาษพวกคฤหัสถ์
๕. ยุยงพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๕ เหล่านี้แล (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์
๒. กล่าวติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์๑

เชิงอรรถ :
๑ ติเตียนพระพุทธเจ้า,พระธรรม,พระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์ หมายถึงติเตียนต่อหน้าพวกคฤหัสถ์ (วิ.อ. ๓/๓๙/
๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
๔. ด่าพวกคฤหัสถ์ด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า
๕. รับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แต่ไม่ทำตาม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๕ เหล่านี้แล (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภแก่พวกคฤหัสถ์
๒. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของพวกคฤหัสถ์
๓. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งพวกคฤหัสถ์
๔. รูปหนึ่งด่าปริภาษพวกคฤหัสถ์
๕. รูปหนึ่งยุยงพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูปเหล่านี้
แล (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๕ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์
๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์
๓. พวกหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์
๔. รูปหนึ่งด่าพวกคฤหัสถ์ด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า
๕. รูปหนึ่งรับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แต่ไม่ทำตาม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูป
เหล่านี้แล (๔)
อากังขมานจตุกกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
อัฏฐารสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๑๘ ข้อในปฏิสารณียกรรม
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมพึงประพฤติชอบ การ
ประพฤติชอบในเรื่องนั้น ดังนี้

๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึง ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์
สั่งสอนภิกษุณี ลงปฏิสารณียกรรมอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ

อัฏฐารสวัตตะในปฏิสารณียกรรม จบ
สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม
[๔๑] ต่อมา สงฆ์ได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรม
นั้นไปขอขมาจิตตคหบดี ภิกษุสุธรรมนั้นถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว เดินทาง
ไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ต้องเก้อเขิน ไม่อาจขอขมาจิตตคหบดีได้จึงกลับมายังกรุง
สาวัตถีอีก
ภิกษุทั้งหลายถามเธอว่า “ท่านขอขมาจิตตคหบดีแล้วหรือ”
ภิกษุสุธรรมตอบว่า “ผมเดินทางไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์เพราะเรื่องนี้ ต้องเก้อเขิน
ไม่อาจขอขมาจิตตคหบดีได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงให้ภิกษุอนุทูต
แก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอขมาจิตตคหบดี”
วิธีให้พระอนุทูตและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้พระอนุทูตอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงให้ภิกษุยอมรับ
ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงให้ภิกษุนี้เป็น
พระอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอขมาจิตตคหบดี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้ภิกษุเป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อ
ขอขมาจิตตคหบดี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ภิกษุนี้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อ
ขอขมาจิตตคหบดี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุนี้สงฆ์ให้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมแล้วเพื่อขอขมาจิตตคหบดี สงฆ์เห็นด้วย
เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
วิธีขอขมาของภิกษุสุธรรม
[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ภิกษุสุธรรมพึงไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับ
พระอนุทูต แล้วขอขมาจิตตคหบดีว่า “จิตตคหบดี ท่านโปรดยกโทษ อาตมาจะ
ทำให้ท่านเลื่อมใส” ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้เขายกโทษให้ นั่นเป็นการดี ถ้ายังไม่ยอม
ยกโทษให้ พระอนุทูตพึงกล่าวว่า “จิตตคหบดี ขอท่านจงยกโทษแก่ภิกษุนี้ ภิกษุนี้
จะทำให้ท่านเลื่อมใส” ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขายอมยกโทษให้ นั่นเป็นการดี ถ้ายัง
ไม่ยอมยกโทษให้ พระอนุทูตพึงกล่าวว่า “จิตตคหบดี ท่านจงยกโทษแก่ภิกษุนี้
อาตมาจะทำท่านให้เลื่อมใส” ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้เขายอมยกโทษให้ นั่นเป็นการดี
ถ้ายังไม่ยอมยกโทษให้ พระอนุทูตพึงกล่าวว่า “จิตตคหบดี ท่านจงยกโทษให้ตาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
คำของสงฆ์” ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขายอมยกโทษให้ นั่นเป็นการดี ถ้ายังไม่ยอม
ยกโทษให้ พระอนุทูตพึงให้ภิกษุสุธรรม ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ให้นั่ง
กระโหย่ง ให้ประนมมือแล้วให้แสดงอาบัตินั้นไม่เลยเขตที่จิตตคหบดีจะมองเห็น
จะได้ยิน
ต่อมา ท่านภิกษุสุธรรมเดินทางไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับพระอนุทูตแล้วขอ
ขมาจิตตคหบดี ท่านกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ เข้าไปหาภิกษุ
ทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ “กระผมถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ
หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์พึงระงับปฏิสารณีย
กรรมแก่ภิกษุสุธรรม”
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรม
หมวดที่ ๑
[๔๓] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๕ คือ
๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
อีกอย่างหนึ่ง คือ

๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูก ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอีก
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้แล
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘
คือ

๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘
เหล่านี้แล
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะในปฏิสารณียกรรม จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรม
หมวดที่ ๑
[๔๔] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์
๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้แล
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
อีกอย่างหนึ่ง คือ

๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูก ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอีก
๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ตำหนิกรรม
๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘
คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม

๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘
เหล่านี้แล
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะในปฏิสารณียกรรม จบ
วิธีระงับปฏิสารณียกรรมและกรรมวาจา
[๔๕] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุสุธรรม
พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา
ทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมถูกสงฆ์ลง
ปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจึงขอ
ระงับปฏิสารณียกรรม
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม ถ้าสงฆ์พร้อม
กันแล้ว พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับ
ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับปฏิสารณียกรรม
แก่ภิกษุสุธรรม ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับ
ตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมแล้ว
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับ
ตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับแล้วแก่พระสุธรรม สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ปฏิสารณียกรรมที่ ๔ จบ
๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
เรื่องภิกษุพระฉันนะ
[๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขต
กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ๑
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุชื่อ
ฉันนะต้องอาบัติแล้ว จึงไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติเล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไป กราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ คือจะไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุฉันนะต้องอาบัติแล้วไม่
ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำเช่นนั้น
ไม่สมควร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษนั้น ต้องอาบัติแล้ว จึงไม่ปรารถนา
จะเห็นว่าเป็นอาบัติเล่า การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ครั้น
ทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุฉันนะเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ห้ามสมโภค๑กับสงฆ์
วิธีลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงอุกเขปนียกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงโจทภิกษุชื่อ
ฉันนะ ครั้นแล้วให้ภิกษุฉันนะให้การแล้วจึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาด สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๔๗] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่
ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุชื่อฉันนะ
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนา
จะเห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุฉันนะเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปใดเห้นด้วยกับการลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุฉันนะ

เชิงอรรถ :
๑ สมโภค หมายถึงการคบหากันและการให้หรือรับอามิส กินร่วมกัน อยู่ร่วมกัน นอนร่วมกัน (สารตฺถ.
ฏีกา ๓/๑๓๐/๓๒๔-๓๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
ชื่อฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมแก่
ภิกษุชื่อฉันนะเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุฉันนะเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ห้ามสมโภค
กับสงฆ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ลงแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ห้าม
สมโภคกับสงฆ์ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็น
มติอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต่อ ๆ ไปว่า “ภิกษุชื่อฉันนะ
ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ห้ามสมโภคกับสงฆ์”
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วย
องค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับ
ไม่ดี คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถาม
๓. ไม่ลงตามปฏิญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์
๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และ
ระงับไม่ดี
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และ
ระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ฯลฯ
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ฯลฯ
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติn
๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน
๓. ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ฯลฯ
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ
อากังขมานฉักกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงอุกเขปนียกรรม ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุ ๓ จำพวก คือ
๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
แก่ภิกษุ ๓ จำพวกเหล่านี้แล
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
แก่ภิกษุอื่นอีก ๓ จำพวก คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุ ๓ จำพวกเหล่านี้แล
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ จำพวก คือ
๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุ ๓ จำพวกเหล่านี้แล
อากังขมานฉักกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ
เตจัตตาฬีสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๔๓ ข้อ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
[๕๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
พึงประพฤติโดยชอบ การประพฤติโดยชอบในเรื่องนั้น ดังนี้
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะการไม่
เห็นว่าเป็นอาบัติอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม
๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตภิกษุ
๑๒. ไม่พึงยินดีการลุกรับของปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงยินดีการประนมมือของปกตัตตภิกษุ
๑๔. ไม่พึงยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตภิกษุ
๑๕. ไม่พึงยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๖. ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๗. ไม่พึงยินดีน้ำล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๘. ไม่พึงยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๙. ไม่พึงยินดีการรับบาตรและจีวรของปกตัตตภิกษุ
๒๐. ไม่พึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
๒๑. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยสีลวิบัติ
๒๒. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาจารวิบัติ
๒๓. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยทิฏฐิวิบัติ
๒๔. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาชีววิบัติ
๒๕. ไม่พึงยุยงปกตัตตภิกษุให้แตกกัน
๒๖. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
๒๗. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
๒๘. ไม่พึงคบพวกเดียรถีย์
๒๙. พึงคบพวกภิกษุ
๓๐. พึงศึกษาสิกขาบทของภิกษุ
๓๑. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๓๒. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๓๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับ
ปกตัตตภิกษุ
๓๔. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
๓๕. ไม่พึงรุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร
๓๖. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๓๗. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓๘. ไม่พึงทำการไต่สวน
๓๙. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๔๐. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น
๔๑. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๔๒. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๔๓. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
เตจัตตาฬีสวัตตะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ
สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม
[๕๒] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุฉันนะเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ภิกษุฉันนะนั้นถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ภิกษุฉันนะนั้นได้ออกจากอาวาสนั้นไปอาวาสอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ประนมมือ ไม่ทำ
สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ภิกษุฉันนะนั้นอันพวกภิกษุ
ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครเชื่อถือ จึงเดินทางไปจาก
อาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ประนมมือ ไม่ทำ
สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ภิกษุฉันนะนั้นอันพวกภิกษุ
ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครเชื่อถือ จึงเดินทางจาก
อาวาสนั้นไปสู่อาวาสอื่น
แม้พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ประนมมือ ไม่ทำ
สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ภิกษุฉันนะนั้นอันพวกภิกษุ
ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครเชื่อถือ จึงต้องหวนกลับ
มากรุงโกสัมพีอีกตามเดิม กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้แล้วเข้าไป
หาพวกภิกษุบอกว่า “กระผม ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้แล้ว กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับอุกเขปนีย-
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ”
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๑
[๕๓] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่าเหล่านี้แล (๕)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติอีก
๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่าเหล่านี้แล (๑๐)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ยินดีการลุกรับของปกตัตตภิกษุ
๓. ยินดีการประนมมือของปกตัตตภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
๔. ยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตภิกษุ
๕. ยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๑๕)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ยินดีน้ำล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๓. ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าของปกตัตตภิกษุ
๔. ยินดีการรับบาตรและจีวรของปกตัตตภิกษุ
๕. ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๒๐)
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยสีลวิบัติ
๒. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาจารวิบัติ
๓. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยทิฏฐิวิบัติ
๔. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาชีววิบัติ
๕. ยุยงปกตัตตภิกษุให้แตกกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๒๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ

๑. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ ๒. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. คบพวกเดียรถีย์ ๔. ไม่คบพวกภิกษุ
๕. ไม่ศึกษาสิกขาบทของภิกษุ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๓๐)
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. อยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๒. อยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๓. อยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๔. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วไม่ลุกจากอาสนะ
๕. รุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๓๕)
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ อีกอย่างหนึ่ง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล (๔๓)
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ
ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๑
[๕๔] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติอีก
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ตำหนิกรรม
๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๑๐)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ไม่ยินดีการลุกรับของปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ยินดีการประนมมือของปกตัตตภิกษุ
๔. ไม่ยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตภิกษุ
๕. ไม่ยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ไม่ยินดีน้ำล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๔. ไม่ยินดีการรับบาตรและจีวรของปกตัตตภิกษุ
๕. ไม่ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๒๐)
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยสีลวิบัติ
๒. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาจารวิบัติ
๓. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยทิฏฐิวิบัติ
๔. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาชีววิบัติ
๕. ไม่ยุยงปกตัตตภิกษุให้แตกกัน
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ

๑. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ ๒. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. ไม่คบพวกเดียรถีย์ ๔. คบพวกภิกษุ
๕. ศึกษาสิกขาบทของภิกษุ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๓๐)
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่อยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๒. ไม่อยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่อยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๔. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วลุกจากอาสนะ
๕. ไม่รุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๓๕)
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล (๔๓)
ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ
วิธีระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติและกรรมวาจา
[๕๕] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
อย่างนี้ คือ ภิกษุฉันนะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
กระผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ
หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจึงขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะ ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงระงับอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
อาบัติแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่
เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่าน
รูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
ฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ
หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ระงับ
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ
การระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุฉันนะ สงฆ์
เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติที่ ๕ จบ
๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ(แสดงอาบัติ)
เรื่องภิกษุชื่อฉันนะ
[๕๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี ครั้งนั้น ภิกษุชื่อฉันนะต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ
ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุชื่อ
ฉันนะ ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติเล่า” ดังนี้แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
ทรงสอบถามแล้วตำหนิ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุชื่อฉันนะต้องอาบัติแล้ว
ไม่ปรารถนาจะทำคืน จริงหรือ”
พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้น ไม่
สมควร ฯลฯ ไม่ควรทำเลย ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษนั้นต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนา
ทำคืนอาบัติเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุชื่อ
ฉันนะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์”
วิธีลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติอย่างนี้ คือ
เบื้องต้นโจทภิกษุชื่อฉันนะครั้นแล้วให้ภิกษุชื่อฉันนะนั้นให้การปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติ
แล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนา
จะทำคืนอาบัติ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุชื่อฉันนะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนา
จะทำคืนอาบัติ สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุชื่อฉันนะ ห้าม
สมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
แก่ภิกษุชื่อฉันนะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
ชื่อฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุชื่อฉันนะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุชื่อฉันนะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่าน
รูปนั้น พึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ลงแก่ภิกษุชื่อฉันนะแล้ว ห้ามสมโภค
กับสงฆ์ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติ
อย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุในอาวาสต่อ ๆ ไปว่า “ภิกษุชื่อฉันนะ
ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ห้ามสมโภคกับสงฆ์”
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๕๗] ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วย
องค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับ
ไม่ดี คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถาม
๓. ไม่ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้
แล ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย แลระงับไม่ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และ
ระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ฯลฯ
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ฯลฯ
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และ
ระงับไม่ดี
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ จบ
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๕๘] ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์
๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน
๓. ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้
แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่งที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้
แล ฯลฯ
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้
แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้
แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้
แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ จบ
อากังขมานฉักกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติ ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๕๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุ ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อ
ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล
อากังขมานฉักกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ จบ
เตจัตตาฬีสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๔๓ ข้อ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
[๖๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติ
พึงประพฤติชอบ การประพฤติชอบในเรื่องนั้น ดังนี้
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำ
คืนอาบัติอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตภิกษุ
๑๒. ไม่พึงยินดีการลุกรับของปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงยินดีการประนมมือของปกตัตตภิกษุ
๑๔. ไม่พึงยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตภิกษุ
๑๕. ไม่พึงยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๖. ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๗. ไม่พึงยินดีน้ำล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๘. ไม่พึงยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๙. ไม่พึงยินดีการรับบาตรและจีวรของปกตัตตภิกษุ
๒๐. ไม่พึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
๒๑. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยสีลวิบัติ
๒๒. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาจารวิบัติ
๒๓. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยทิฏฐิวิบัติ
๒๔. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาชีววิบัติ
๒๕. ไม่พึงยุยงปกตัตตภิกษุให้แตกกัน
๒๖. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
๒๗. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๒๘. ไม่พึงคบพวกเดียรถีย์
๒๙. พึงคบพวกภิกษุ
๓๐. พึงศึกษาสิกขาบทของภิกษุ
๓๑. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๓๒. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๓๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับ
ปกตัตตภิกษุ
๓๔. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๓๕. ไม่พึงรุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร
๓๖. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๓๗. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓๘. ไม่พึงทำการไต่สวน
๓๙. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๔๐. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น
๔๑. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๔๒. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๔๓. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
เตจัตตาฬีสวัตตะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ จบ
สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม
[๖๑] ต่อมา สงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุฉันนะ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ ห้าม
สมโภคกับสงฆ์ ภิกษุฉันนะนั้นถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ภิกษุ
ฉันนะนั้นได้ออกจากอาวาสนั้นไปสู่อาวาสอื่น
พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ประนมมือ ไม่ทำสามีจิกรรม
ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ภิกษุฉันนะนั้นอันพวกภิกษุไม่สักการะ
ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครเชื่อถือ จึงได้เดินทางจากอาวาสนั้นไป
สู่อาวาสอื่น
แม้พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ประนมมือ ไม่ทำสามีจิ
กรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ภิกษุฉันนะนั้นอันพวกภิกษุไม่สักการะ
ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครเชื่อถือ จึงได้เดินทางจากอาวาสนั้นไป
สู่อาวาสอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๒ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น