Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๖-๓ หน้า ๑๒๓ - ๑๘๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๖-๓ วินัยปิฎกที่ ๐๖ จุลวรรค ภาค ๑



พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๑
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
แม้พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ประนมมือ ไม่ทำ
สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ภิกษุฉันนะนั้นอันพวกภิกษุ
ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครเชื่อถือ จึงต้องหวนกลับ
มากรุงโกสัมพีอีกตามเดิม กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้แล้ว เข้าไป
หาพวกภิกษุบอกว่า “กระผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ กลับ
ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้แล้ว กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนั้นไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงระงับอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ”
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๑
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืน
อาบัติอีก
๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ฯลฯ
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ยินดีการลุกรับของปกตัตตภิกษุ
๓. ยินดีการประนมมือของปกตัตตภิกษุ
๔. ยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตภิกษุ
๕. ยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตภิกษุ ฯลฯ
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ยินดีน้ำล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๓. ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๔. ยินดีการรับบาตรและจีวรของปกตัตตภิกษุ
๕. ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ ฯลฯ
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยสีลวิบัติ
๒. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาจารวิบัติ
๓. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยทิฏฐิวิบัติ
๔. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาชีววิบัติ
๕. ยุยงปกตัตตภิกษุให้แตกกัน ฯลฯ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ ๒. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. คบพวกเดียรถีย์ ๔. ไม่คบพวกภิกษุ
๕. ไม่ศึกษาสิกขาบทของภิกษุ ฯลฯ
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. อยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๒. อยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๓. อยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับ
ปกตัตตภิกษุ
๔. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วไม่ลุกจากอาสนะ
๕. รุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ จบ
ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๑
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืน
อาบัติอีก
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ตำหนิกรรม
๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ฯลฯ
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ไม่ยินดีการลุกรับของปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ยินดีการประนมมือของปกตัตตภิกษุ
๔. ไม่ยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตภิกษุ
๕. ไม่ยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตภิกษุ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ไม่ยินดีน้ำล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๔. ไม่ยินดีการรับบาตรและจีวรของปกตัตตภิกษุ
๕. ไม่ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ ฯลฯ
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยสีลวิบัติ
๒. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาจารวิบัติ
๓. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยทิฏฐิวิบัติ
๔. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาชีววิบัติ
๕. ไม่ยุยงปกตัตตภิกษุให้แตกกัน ฯลฯ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ

๑. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ ๒. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. ไม่คบพวกเดียรถีย์ ๔. คบภิกษุ
๕. ศึกษาสิกขาบทของภิกษุ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่อยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๒. ไม่อยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่อยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับ
ปกตัตตภิกษุ
๔. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วลุกจากอาสนะ
๕. ไม่รุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล
ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
วิธีระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติและกรรมวาจา
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติอย่างนี้
คือ ภิกษุฉันนะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ
ผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผม
ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง
กลับตัวได้ กระผมจึงขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะ ไม่ทำคืนอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ
อุกเขปนีย กรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงระงับอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะ
ไม่ทำคืนอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ แก่ภิกษุ
ฉันนะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ฉันนะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
ฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หาย
เย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับอุกเขปนีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
กรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด ไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ระงับแก่ภิกษุฉันนะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย
เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติที่ ๖ จบ
๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
เรื่องภิกษุอริฏฐะ๑
[๖๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุ
ชื่ออริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย
ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”๒
ภิกษุหลายรูปได้ทราบข่าวว่า “ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุชื่ออริฏฐะผู้มี
บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถ
ก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่” ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาภิกษุอริฏฐะผู้
มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพ-
บุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งดังนี้ว่า “ท่านอริฏฐะ ได้ทราบว่า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้น
แก่ท่านว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่

เชิงอรรถ :
๑ วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๕๒๕, ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๓๔/๒๔๕-๒๔๗
๒ ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๕๒๕ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริงไม่’ จริงหรือ”
ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งกล่าวว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น
ท่านทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตาม
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริงไม่”
ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวว่า “ท่านอริฏฐะ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่
พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้
ตรัสอย่างนั้น ท่านอริฏฐะ พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่อ
อันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่อง
เสพได้จริง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มี
ความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาม
ทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของ
ที่ยืมมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษ
อย่างยิ่ง”
ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งถูกภิกษุเหล่านั้นตักเตือนแต่ก็ยัง
กล่าวด้วยความยึดมั่นถือมั่นทิฏฐิบาปนั้นอยู่อย่างนั้นว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริงไม่”
ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจจะปลดเปลื้องภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง
จากทิฏฐิบาปนั้นได้ ครั้นแล้วภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นจึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า “อริฏฐะ ทราบว่า ทิฏฐิบาป
เช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่เธอว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่ง
ว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตราย
แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ จริงหรือ”
ภิกษุอริฏฐะทูลรับว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ทั่ว
ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วได้อย่างไร
โมฆบุรุษ เรากล่าวธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ
และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง มิใช่หรือ เรากล่าวว่า
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้น
มาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง เรากล่าวว่า กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ
เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมมา ฯลฯ เรากล่าวว่า กาม
ทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือน
เขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ เรา
กล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกาม
นี้มีโทษอย่างยิ่ง โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ผิด
ชื่อว่าทำลายตนเอง และชื่อว่าประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก โมฆบุรุษ ข้อนั้นจัก
เป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน โมฆบุรุษ การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมมีกถาแล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นนายพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภค
กับสงฆ์”
วิธีลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปอย่างนี้ คือ
เบื้องต้นพึงโจทภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ครั้นแล้วให้ภิกษุอริฏฐะ
ให้การแล้วจึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์
ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๖๖] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็น
พรานฆ่านกแร้งมีทิฏฐิบาปเกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
จนกระทั่งว่าธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่อ
อันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ ภิกษุอริฏฐะนั้นไม่ยอมสละทิฏฐินั้น ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว
พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี่
เป็นญัตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านก
แร้งมีทิฏฐิบาปเกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่ง
ว่าธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่
ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ ภิกษุอริฏฐะนั้นไม่ยอมละทิฏฐินั้น สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภคกับสงฆ์
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้
มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
อริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งมีทิฏฐิบาปเกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่อ
อันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ ภิกษุอริฏฐะนั้นไม่ยอมละ
ทิฏฐินั้น สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษ
เป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงอุกเขปนีย-
กรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้าม
สมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษ
เป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภคกับสฆ์ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุในอาวาสต่อ ๆ ไปว่า “ภิกษุอริฏฐะผู้มี
บรรพ บุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ห้ามสมโภคกับสงฆ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาปที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์
๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถาม
๓. ไม่ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับ
ไม่ดี
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ฯลฯ
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับ
ไม่ดี
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาปที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วย
องค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน
๓. ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ฯลฯ
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
อากังขมานฉักกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาป ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละ
ทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อ
ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุ ๓ รูป เหล่านี้แล (๔)
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุ ๓ รูป เหล่านี้แล (๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๖)
อากังขมานฉักกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ
เตจัตตาฬีสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๔๓ ข้อ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
[๗๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
พึงประพฤติชอบ การประพฤติชอบในเรื่องนั้น ดังนี้
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละ
ทิฏฐิบาปนั้นอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม
๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
๓๖. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๓๗. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓๘. ไม่พึงทำการไต่สวน
๓๙. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๔๐. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น
๔๑. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๔๒. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๔๓. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
เตจัตตาฬีสวัตตะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ
สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม
[๗๑] ต่อมา สงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มี
บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาปจึงสึก
ภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุอริฏฐะผู้มี
บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปจึงสึกเล่า”
แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์แล้วสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็น
พรานฆ่านกแร้ง ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแล้วสึก จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำนี้ไม่สมควร
ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษนั้นถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
จึงสึกเล่า การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสหรือทำคนที่เลื่อมใส
อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริงกลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป” ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ
ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์
จงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป”
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
หมวดที่ ๑
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะการไม่สละ
ทิฏฐิบาปอีก
๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
ฯลฯ
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
หมวดที่ ๑
[๗๓] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิ
บาปอีก
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ตำหนิกรรม
๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล
ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ
วิธีระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปและกรรมวาจา
[๗๔] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปอย่างนี้
คือ ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว
อย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจึงขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาป”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ
กรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละ
ทิฏฐิบาปแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย
กรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่
ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อ
นี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง
กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูป
นั้นพึงทักท้วง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุนี้ สงฆ์เห็นด้วย
เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปที่ ๗ จบ
กัมมขันธกะที่ ๑ จบ
ในขันธกะนี้มี ๗ เรื่อง
รวมสาระสำคัญที่มีในกัมมขันธกะ
เรื่องภิกษุชื่อปัณฑุกะและชื่อโลหิตกะก่อความบาดหมางเอง
ได้เข้าไปหาภิกษุผู้ประพฤติเหมือนกัน แล้วก่อความบาดหมาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ
ยิ่งขึ้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิด ที่เกิดแล้วก็ขยายตัวออกไป
ภิกษุผู้มักน้อยมีศีลเป็นที่รักพากันตำหนิท่ามกลางบริษัท
พระพุทธชินเจ้าผู้ทรงเป็นพระสยัมภูอัครบุคคล
ทรงพระสัทธรรม รับสั่งให้ลงตัชชนียกรรมที่กรุงสาวัตถี
ตัชชนียกรรมที่เป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่
ชอบด้วยวินัย คือ
หมวดที่ ๑
ลงลับหลัง ลงโดยไม่สอบถาม ไม่ลงตามปฏิญญา
หมวดที่ ๒
ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
หมวดที่ ๓
ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
หมวดที่ ๔
ลงลับหลัง ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง
หมวดที่ ๕
ลงโดยไม่สอบถาม ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง
หมวดที่ ๖
ไม่ลงตามปฏิญญา ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง
หมวดที่ ๗
ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง
หมวดที่ ๘
ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ลงโดยไม่ชอบธรรม
สงฆ์แบ่งพวกกันลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ
หมวดที่ ๙
ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ลงโดยไม่ชอบธรรม
สงฆ์แบ่งพวกกันลง
หมวดที่ ๑๐
ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง
หมวดที่ ๑๑
ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ลงโดยไม่ชอบธรรม
สงฆ์แบ่งพวกกันลง
หมวดที่ ๑๒
ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ลงโดยไม่ชอบธรรม
สงฆ์แบ่งพวกกันลง
นักวินัยพึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงข้ามกับฝ่ายที่ผิด
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ จำพวก คือ
๑. ผู้ก่อความบาดหมาง เป็นพาล และคลุกคลีกับคฤหัสถ์
๒. ผู้วิบัติในอธิสีล ในอัชฌาจาร และในอติทิฏฐิ
๓. ผู้กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง เป็นพาล และคลุกคลีกับคฤหัสถ์
๒. รูปหนึ่งวิบัติในศีล ในอัชฌาจาร และในอติทิฏฐิ
๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วต้องประพฤติโดยชอบอย่างนี้
คือ ไม่ให้อุปสมบท ไม่ให้นิสัย ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก
ไม่สั่งสอนภิกษุณี ถึงได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอน ไม่ต้องอาบัติ
นั้นอีก ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกันนั้นและที่เลวทรามกว่านั้น
ไม่ตำหนิกรรม ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ไม่งดอุโบสถและปวารณา
แก่ปกตัตตภิกษุ ไม่ทำการสอบถาม ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ
ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ไม่โจทภิกษุอื่น ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
และไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ
สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
คือ ให้อุปสมบท ให้นิสัย ใช้สามเณรอุปัฏฐาก สั่งสอนภิกษุณี
แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอน และองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง
คือ ต้องอาบัตินั้น ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกันนั้น ต้องอาบัติ
ที่เลวทรามกว่านั้น ตำหนิกรรม ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ งดอุโบสถ ปวารณา
ทำการไต่สวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจทภิกษุอื่น
ให้ภิกษุอื่นให้การและให้ต่อสู้อธิกรณ์กัน ย่อมไม่พ้นความผิด
จากตัชชนียกรรม
นักวินัยพึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงข้ามกับฝ่ายที่ผิดนั้น
ภิกษุเสยยสกะโง่เขลา มีอาบัติมากและคลุกคลีกับ
คฤหัสถ์ พระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระมหามุนี รับสั่งให้ลง
นิยสกรรม
ภิกษุชื่ออัสสชิและชื่อปุนัพพสุกะอยู่ในกีฏาคีรีชนบท
ไม่สำรวม ประพฤติไม่สมควรต่าง ๆ พระสัมพุทธชินเจ้า
รับสั่งให้ลงปัพพาชนียกรรมในกรุงสาวัตถี
ภิกษุสุธรรมอยู่ประจำในอาวาสของจิตตคหบดี ในเมือง
มัจฉิกาสณฑ์ ด่าจิตตอุบาสกด้วยคำหยาบ กระทบชาติกำเนิด
พระตถาคตรับสั่งให้ลงปฏิสารณียกรรม
ภิกษุฉันนะไม่ปรารถนาจะรู้เห็นอาบัติ พระชินเจ้าผู้อุดม
รับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติในกรุงโกสัมพี
ภิกษุฉันนะไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัตินั้น พระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นนายกพิเศษรับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ
ภิกษุอริฏฐะเกิดทิฏฐิบาปไปเพราะความเขลา พระชินเจ้า
รับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิ
นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรมและปฏิสารนียกรรมก็เหมือนกัน
บทเหล่านี้มีเกินในปัพพาชนียกรรม คือ เล่นคะนอง
ประพฤติไม่สมควร(อนาจาร) ลบล้างพระบัญญัติและมิจฉาชีพ
เพราะไม่เห็นไม่ทำคืนอาบัติ และไม่สละทิฏฐิบาป
บทเหล่านี้มีเกินในปฏิสารณียกรรม คือ มุ่งความไม่มีลาภ
กล่าวตำหนิ มีชื่อว่าปัญจกะ ๒ หมวด ๆ ละ ๕
แม้ตัชชนียกรรมและนิยสกรรมก็เหมือนกัน ปัพพาชนียกรรม
และปฏิสารณียกรรม หย่อนและยิ่งกว่ากัน ๘ ข้อ ๒ หมวด
การจำแนกอุกเขปนียกรรม ๓ อย่างก็เช่นเดียวกัน
นักวินัยพึงทราบกรรมที่เหลือตามนัยแห่งตัชชนียกรรม
กัมมขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
๒. ปาริวาสิกขันธกะ
๑. ปาริวาสิกวัตตะ
ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้อยู่ปริวาส
[๗๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสยินดี
การที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะ
มาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับ
บาตรและจีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุผู้อยู่ปริวาสจึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ
ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้ง
กระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและจีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า” แล้วนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส
ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำ
อาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า
การรับบาตรและจีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุทั้งหลาย
ผู้อยู่ปริวาสจึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
สามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้ง
กระเบื้องเช็ดเท้า รับบาตรและจีวร ถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า ภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ปริวาสไม่พึงยินดีการที่ปกตัตต
ภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำ
ที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและจีวร
การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการที่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสด้วยกันกราบไหว้
ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า
ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและจีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
ตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน
การสละภัต ภัตเพื่อภิกษุผู้อยู่ปริวาสตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาสโดยวิธีที่
ภิกษุผู้อยู่ปริวาสทั้งหลายพึงประพฤติ
วัตร ๙๔ ข้อของภิกษุผู้อยู่ปริวาส
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงประพฤติโดยชอบ การประพฤติโดย
ชอบในเรื่องนั้นดังนี้ ภิกษุผู้อยู่ปริวาส
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้สงฆ์ให้ปริวาสนั้นอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม
๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
๑๙. ไม่พึงเดินนำหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๐. ไม่พึงนั่งข้างหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๑. พึงพอใจอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่จะ
ให้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้น
๒๒. ไม่พึงมีปกตัตตภิกษุเป็นปุเรสมณะ หรือเป็นปัจฉาสมณะเข้าตระกูล
๒๓. ไม่พึงสมาทานอารัญญิกังคธุดงค์
๒๔. ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกังคธุดงค์
๒๕. ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้นด้วยคิดว่า “คนอย่า
ได้รู้จักเรา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
[๗๗] ๒๖. เป็นอาคันตุกะไปก็พึงบอกให้ทราบ๑
๒๗. มีอาคันตุกะมาก็พึงบอกให้ทราบ
๒๘. พึงบอกในวันอุโบสถ
๒๙. พึงบอกในวันปวารณา
๓๐. ถ้าอาพาธ พึงส่งทูตให้ไปบอก
๓๑. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับ
ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๒. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้น
แต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๓. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส ซึ่ง
ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๔. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ
เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๕. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาส
ที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๖. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่
มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๗. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส
ที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๘. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถาน
ที่มิใช่อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มี
อันตราย

เชิงอรรถ :
๑ คือเป็นอาคันตุกะไปวัดอื่น พึงบอกภิกษุทั้งหลายในวัดนั้น (วิ.อ. ๓/๗๗/๒๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
๓๙. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ
เว้นแต่มีอันตราย
[๗๘] ๔๐. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ซึ่งมีภิกษุเป็น
นานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๔๑. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุ
เป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มี
อันตราย
๔๒. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ
เว้นแต่มีอันตราย
๔๓. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุ
เป็นนานาสังวาสอยู่ดัวย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มี
อันตราย
๔๔. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ
เว้นแต่มีอันตราย
๔๕. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับ
ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
[๗๙] ๔๖. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มี
ภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ
เว้นแต่มีอันตราย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
๔๗. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิ
ใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับ
ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๔๘. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย
เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
[๘๐] ๔๙. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปอาวาสที่มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมาน
สังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๐. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุ
เป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๑. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ
ซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงใน
วันนั้นแหละ”
๕๒. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุซึ่งมีภิกษุ
เป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๓. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ
ซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงใน
วันนั้นแหละ”
๕๔. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถ
ไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๕. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ
ซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงใน
วันนั้นแหละ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
๕๖. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถ
ไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๗. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถาน
ที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เรา
สามารถไปถึงในวันนั้นแหละ”
[๘๑] ๕๘. ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ปริวาสไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับ
ปกตัตตภิกษุ
๕๙. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๖๐. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๖๑. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
๖๒. พึงนิมนต์ปกตัตตภิกษุให้นั่ง
๖๓. ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๖๔. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
๖๕. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
๖๖. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๖๗. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดินจงกรมในที่
จงกรมสูง
๖๘. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรม
[๘๒] ๖๙-๘๙. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาสที่มีพรรษา
แก่กว่า ... กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... กับภิกษุผู้ควรแก่
มานัต ... กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต ... กับภิกษุผู้ควรแก่อัพภานไม่พึง
อยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ...
ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้
ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
๙๐. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
๙๑. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
๙๒. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
๙๓. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำไม่พึงเดิน
จงกรมในที่จงกรมสูง
๙๔. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรม
ในที่จงกรม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นรูปที่ ๔ พึงให้ปริวาสชักเข้าหา
อาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นเป็นรูปที่ ๒๐ พึงอัพภาน กรรมนั้น
ไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ
วัตร ๙๔ ข้อของภิกษุผู้อยู่ปริวาส จบ
รัตติเฉท
ว่าด้วยเหตุให้ขาดราตรี ๓ อย่าง
[๘๓] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้
ว่า “รัตติเฉท๑ ของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ อย่าง คือ
(๑) สหวาสะ (การอยู่ร่วมกัน) (๒) วิปปวาสะ (การอยู่ปราศ) (๓) อนาโรจนา
(การไม่บอก)๒ อุบาลี รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ อย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ รัตติเฉท แปลว่า ความขาดราตรี หมายถึงเหตุให้ขาดราตรี นับราตรีที่อยู่ปริวาสไม่ได้ พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุผู้อยู่ปริวาสและภิกษุผู้ประพฤติมานัต (วิ.อ. ๓/๔๗๕/๕๒๘)
๒ สหวาสะ การอยู่ร่วมกัน หมายถึงการอยู่ในที่มุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
วิปปวาสะ การอยู่ปราศ หมายถึงการที่ภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นอยู่รูปเดียว
อนาโรจนา การไม่บอก หมายถึงการไม่บอกแก่พวกภิกษุอาคันตุกะเป็นต้น (วิ.อ. ๓/๘๓/๒๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
ทรงอนุญาตให้เก็บปริวาส
[๘๔] สมัยนั้น ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันเป็นจำนวนมากในกรุงสาวัตถี ภิกษุ
ทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสไม่สามารถจะทำปริวาสให้บริสุทธิ์ได้จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บปริวาส”
วิธีเก็บปริวาส
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเก็บปริวาสอย่างนี้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นพึงเข้าไปหา
ภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้
ว่า “ข้าพเจ้าเก็บปริวาส” ปริวาสย่อมเป็นอันเก็บแล้ว หรือกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเก็บ
วัตร” วัตรย่อมเป็นอันเก็บแล้ว
ทรงอนุญาตให้สมาทานปริวาส
[๘๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเดินทางออกจากกรุงสาวัตถีไปในที่ต่าง ๆ ภิกษุ
ทั้งหลาย ผู้อยู่ปริวาสสามารถทำปริวาสให้บริสุทธิ์ได้ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมาทานปริวาส”
วิธีสมาทานปริวาส
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสมาทานปริวาสอย่างนี้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงเข้าไปหา
ภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว
อย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าสมาทานปริวาส” ปริวาสย่อมเป็นอันสมาทานแล้ว หรือกล่าวว่า
“ข้าพเจ้าสมาทานวัตร” วัตรย่อมเป็นอันสมาทานแล้ว
ปาริวาสิกวัตตะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๒. มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ
๒. มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ
ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๘๖] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม ยินดีการที่
ปกตัตตภิกษุกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้
นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและ
จีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิมยินดีการที่ปกตัตตภิกษุกราบไหว้
ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า
ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและจีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
เล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายผู้ควรแก่การชักเข้าหา
อาบัติเดิม ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราว
อาบน้ำ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “การกระทำของภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้า
หาอาบัติเดิม ไม่สมควร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้า
หาอาบัติเดิมยินดีการที่ปกตัตตภิกษุกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ ถูหลังให้ในคราว
อาบน้ำเล่า ภิกษุทั้งหลาย การทำอย่างนี้มิได้ทำให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ
ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๒. มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ
“ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุ
ทั้งหลายกราบ ไหว้ ลุกรับ ฯลฯ ถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ ผู้ใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการที่ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิมด้วยกัน
กราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้คราวอาบน้ำตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน
การสละภัต ภัตเพื่อภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม ตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหา
อาบัติเดิมโดยวิธีที่ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิมทั้งหลายต้องประพฤติ
วัตร ๗๙ ข้อของภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิมพึงประพฤติชอบ
การประพฤติชอบในเรื่องนั้นดังนี้ ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้สงฆ์ต้องทำให้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติ
เดิมนั้นอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม
๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๒. มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
๑๙. ไม่พึงเดินนำหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๐. ไม่พึงนั่งข้างหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๑. พึงพอใจอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่จะ
ให้เธอ
๒๒. ไม่พึงมีปกตัตตภิกษุเป็นปุเรสมณะ หรือเป็นปัจฉาสมณะเข้าตระกูล
๒๓. ไม่พึงสมาทานอารัญญิกังคธุดงค์
๒๔. ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกังคธุดงค์
๒๕. ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้นด้วยคิดว่า “คนอย่า
ได้รู้จักเรา”
๒๖. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับ
ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๒๗. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ
เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๒๘. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๒. มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ
๒๙. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ
เว้นแต่ไปกับปกตัตต ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๐. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาส
ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๑. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถาน
ที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มี
อันตราย
๓๒. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาส
ที่ไม่มีภิกษุ ฯลฯ
๓๓. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถาน
ที่มิใช่อาวาสไม่มีภิกษุ ฯลฯ
๓๔. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ
เว้นแต่มีอันตราย
๓๕. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ซึ่งมีภิกษุเป็น
นานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๖. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๓๗. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ
เว้นแต่มีอันตราย
๓๘. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๓๙. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๒. มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ
๔๐. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตต-
ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๔๑. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสมีภิกษุ
ฯลฯ
๔๒. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิ
ใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๔๓. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย
เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๔๔. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุซึ่งมีภิกษุ ฯลฯ
๔๕. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๔๖. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ
ซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงใน
วันนั้นแหละ”
๔๗. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ
๔๘. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ
ฯลฯ
๔๙. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถ
ไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๐. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๒. มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ
๕๑. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๕๒. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือ
สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า
“เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๕๔. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๕๕. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๕๖. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
๕๗. พึงนิมนต์ปกตัตตภิกษุให้นั่ง
๕๘. ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๕๙. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
๖๐. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
๖๑. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๖๒. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดินจงกรมในที่
จงกรมสูง
๖๓. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรม
๖๔-๗๔. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส ... กับ
ภิกษุ ผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิมที่มีพรรษาแก่กว่า ... กับภิกษุ
ผู้ควรแก่มานัต ... กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต ... กับภิกษุผู้ควรแก่
อัพภาน ... ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้
ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบัง
เดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับ
ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
๗๕. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๓. มานัตตารหวัตตะ
๗๖. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
๗๗. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
๗๘. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดิน
จงกรมในที่จงกรมสูง
๗๙. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรม
ในที่จงกรม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิมเป็นรูปที่ ๔ พึง
ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติ
เดิมนั้นเป็นรูปที่ ๒๐ พึงอัพภาน กรรมนั้นไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ
วัตร ๗๙ ข้อของภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม จบ
มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ จบ
๓. มานัตตารหวัตตะ
ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้ควรแก่มานัต
[๘๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้ควรแก่มานัตยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลาย
กราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ควรแก่มานัตจึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ
การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์ เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามพวกภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ควรแก่มานัต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๓. มานัตตารหวัตตะ
ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “การกระทำของภิกษุผู้ควรแก่มานัต
ไม่สมควร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุผู้ควรแก่มานัตจึงยินดีการที่ปกตัตต
ภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว
ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ควรแก่
มานัตไม่พึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้
ในคราวอาบน้ำ รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราว
อาบน้ำของภิกษุผู้ควรแก่มานัตด้วยกันตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน
การสละภัต ภัตเพื่อภิกษุผู้ควรแก่มานัตด้วยกันตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้ควรแก่มานัต โดยวิธี
ที่ภิกษุผู้ควรแก่มานัตทั้งหลายต้องประพฤติ
วัตร ๗๙ ข้อของภิกษุผู้ควรแก่มานัต
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ควรแก่มานัตพึงประพฤติโดยชอบ การประพฤติ
โดยชอบในเรื่องนั้นดังนี้ ภิกษุผู้ควรแก่มานัต
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๓. มานัตตารหวัตตะ
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้สงฆ์ต้องทำให้เป็นผู้ควรแก่มานัตอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม
๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
๑๙. ไม่พึงเดินนำหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๐. ไม่พึงนั่งข้างหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๑. พึงพอใจอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่จะ
ให้เธอ
๒๒. ไม่พึงมีปกตัตตภิกษุเป็นปุเรสมณะ หรือเป็นปัจฉาสมณะเข้าตระกูล
๒๓. ไม่พึงสมาทานอารัญญิกังคธุดงค์
๒๔. ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกังคธุดงค์
๒๕. ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้นด้วยคิดว่า “คนอย่า
ได้รู้จักเรา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๓. มานัตตารหวัตตะ
๒๖. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับ
ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๒๗. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ
เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๒๘. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๒๙. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ
ฯลฯ
๓๐. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ
๓๑. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่
มิใช่อาวาส ซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๒. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาส
ซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ
๓๓. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถาน
ที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ
๓๔. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ
เว้นแต่มีอันตราย
๓๕. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ฯลฯ
๓๖. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ฯลฯ
๓๗. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุ ซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตต
ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๓. มานัตตารหวัตตะ
๓๘. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสมีภิกษุซึ่งมี
ภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย ฯลฯ
๓๙. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมี
ภิกษุ ฯลฯ
๔๐. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่
มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับ
ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๔๑. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส
มีภิกษุ ฯลฯ
๔๒. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่
มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๔๓. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย
เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๔๔. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ
๔๕. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๔๖. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไป
ถึงในวันนั้นแหละ”
๔๗. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ
๔๘. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ
ฯลฯ
๔๙. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถ
ไปถึงในวันนั้นแหละ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๓. มานัตตารหวัตตะ
๕๐. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ
ฯลฯ
๕๑. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๕๒. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ
สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า
“เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๕๔. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๕๕. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๕๖. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
๕๗. พึงนิมนต์ปกตัตตภิกษุให้นั่ง
๕๘. ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๕๙. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
๖๐. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
๖๑. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๖๒. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดินจงกรมในที่
จงกรมสูง
๖๓. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรมในที่
จงกรม
๖๔-๗๔. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส ... กับ
ภิกษุ ผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม ... กับภิกษุผู้ควรแก่มานัตที่มี
พรรษาแก่กว่า ... กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต ... กับภิกษุผู้ควรแก่
อัพภาน ... ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๔. มานัตตจาริกวัตตะ
ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบัง
เดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกัน
กับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
๗๕. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
๗๖. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
๗๗. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
๗๘. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดิน
จงกรมในที่จงกรมสูง
๗๙. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรม
ในที่จงกรม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรแก่มานัตเป็นรูปที่ ๔ พึงให้ปริวาสชักเข้า
หาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรแก่มานัตนั้นเป็นรูปที่ ๒๐ พึงอัพภาน
กรรมนั้นไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ
วัตร ๗๙ ข้อของภิกษุผู้ควรแก่มานัต จบ
มานัตตารหวัตตะ จบ
๔. มานัตตจาริกวัตตะ
ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้ประพฤติมานัต
[๙๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติมานัตยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลาย
กราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้
ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและจีวร การถูหลัง
ให้ในคราวอาบน้ำ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุผู้ประพฤติมานัตยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๔. มานัตตจาริกวัตตะ
การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์ เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุผู้ประพฤติมานัต
ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ไม่
สมควร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุผู้ประพฤติมานัตยินดีการที่ปกตัตตภิกษุ
ทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การทำอย่างนี้ มิได้ทำให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว
ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้
ประพฤติมานัต ไม่พึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ
ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบ
น้ำของภิกษุผู้ประพฤติมานัตด้วยกันตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน
การสละภัต ภัตเพื่อภิกษุผู้ประพฤติมานัตด้วยกันตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้ประพฤติมานัตโดยวิธี
ที่ภิกษุผู้ประพฤติมานัตทั้งหลายต้องประพฤติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๔. มานัตตจาริกวัตตะ
วัตร ๙๔ ข้อของภิกษุผู้ประพฤติมานัต
[๙๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประพฤติมานัตพึงประพฤติโดยชอบ การประพฤติ
โดยชอบในเรื่องนั้นดังนี้ ภิกษุผู้ประพฤติมานัต
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้สงฆ์ให้มานัตนั้นอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม
๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
๑๙. ไม่พึงเดินนำหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๐. ไม่พึงนั่งข้างหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๑. พึงพอใจอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่จะ
ให้เธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๔. มานัตตจาริกวัตตะ
๒๒. ไม่พึงมีปกตัตตภิกษุเป็นปุเรสมณะ หรือเป็นปัจฉาสมณะเข้าตระกูล
๒๓. ไม่พึงสมาทานอารัญญิกังคธุดงค์
๒๔. ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกังคธุดงค์
๒๕. ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้นด้วยคิดว่า “คนอย่า
ได้รู้จักเรา”
๒๖. เป็นอาคันตุกะไปก็พึงบอกให้ทราบ
๒๗. มีอาคันตุกะมาก็พึงบอกให้ทราบ
๒๘. พึงบอกในวันอุโบสถ
๒๙. พึงบอกในวันปวารณา
๓๐. พึงบอกทุกวัน
๓๑. ถ้าอาพาท พึงส่งทูตให้ไปบอก
๓๒. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับ
สงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
๓๓. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
๓๔. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่ง
ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
๓๕. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ
ฯลฯ
๓๖. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ
๓๗. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถาน
ที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
๓๘. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาส
ซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๔. มานัตตจาริกวัตตะ
๓๙. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถานที่
มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ
๔๐. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาส ซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มี
อันตราย
๔๑. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ
๔๒. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๔๓. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้น
แต่มีอันตราย
๔๔. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๔๕. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุ ฯลฯ
๔๖. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่
มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับสงฆ์
เว้นแต่มีอันตราย
๔๗. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส
มีภิกษุ ฯลฯ
๔๘. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่
มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๔๙. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
๕๐. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๔. มานัตตจาริกวัตตะ
๕๑. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๕๒. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึง
ในวันนั้นแหละ”
๕๓. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ
๕๔. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ
ฯลฯ
๕๕. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถ
ไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๖. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ
ฯลฯ
๕๗. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๕๘. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ
สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า
“เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๙. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๖๐. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๖๑. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๖๒. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
๖๓. พึงนิมนต์ปกตัตตภิกษุให้นั่ง
๖๔. ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๖๕. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
๖๖. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๔. มานัตตจาริกวัตตะ
๖๗. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๖๘. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดินจงกรมในที่
จงกรมสูง
๖๙. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรมในที่
จงกรม
๗๐-๘๙. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส ... กับภิกษุ
ผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม ... กับภิกษุควรแก่มานัต ... กับ
ภิกษุผู้ประพฤติมานัตที่มีพรรษาแก่กว่า ... กับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
... ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่
อัพภาน ... ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียว
กันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับภิกษุ
ผู้ควรแก่อัพภาน
๙๐. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
๙๑. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
๙๒. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
๙๓. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดิน
จงกรมในที่จงกรมสูง
๙๔. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรม
ในที่จงกรม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตเป็นรูปที่ ๔ พึงให้ปริวาสชักเข้า
หาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตนั้นเป็นรูปที่ ๒๐ พึงอัพภาน
กรรมนั้นไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ
วัตร ๙๔ ข้อของภิกษุผู้ประพฤติมานัต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น