Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๗-๓ หน้า ๙๕ - ๑๔๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗-๓ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
มัญจปีฐาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตเตียงและตั่งเป็นต้น
เรื่องเตียงและตั่ง
[๒๙๗] สมัยนั้น เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เกิดขึ้นแก่
สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงชนิดมีแม่แคร่สอด
เข้าในเท้า”
ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้า”
สมัยนั้น เตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงชนิดมีแม่แคร่ติดกับ
เท้า”
ตั่งชนิดมีแม่แคร่ติดกับเท้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งชนิดมีแม่แคร่ติดกับเท้า”
สมัยนั้น เตียงมีเท้าดังก้ามปู ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงชนิดมีเท้าดังก้ามปู”
ตั่งมีเท้าดังก้ามปูที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งชนิดมีเท้าดังก้ามปู”
สมัยนั้น เตียงมีเท้าจดแม่แคร่ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงชนิดมีเท้าจดแม่แคร่”
ตั่งมีเท้าจดแม่แคร่ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งชนิดมีเท้าจดแม่แคร่”
เรื่องม้านั่งชนิดต่าง ๆ
สมัยนั้น ม้านั่งสี่เหลี่ยม เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้านั่งสี่เหลี่ยม”
ม้านั่งสี่เหลี่ยมสูง เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้านั่งสี่เหลี่ยมสูง”
ม้านั่งสี่เหลี่ยมสูงมีพนัก ๓ ด้าน เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้านั่งสี่เหลี่ยมสูงมีพนัก
๓ ด้าน”
ม้านั่งสี่เหลี่ยมมีพนัก ๓ ด้านชนิดสูง เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้านั่งสี่เหลี่ยมมีพนัก ๓
ด้านชนิดสูง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ตั่งหวาย เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งหวาย”
ตั่งหุ้มด้วยผ้า เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งหุ้มด้วยผ้า”
ตั่งขาทราย เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งขาทราย”
ตั่งก้านมะขามป้อม เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งก้านมะขามป้อม”
แผ่นกระดาน เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นกระดาน”
เก้าอี้เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเก้าอี้”
ตั่งฟาง เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งฟาง”
เรื่องห้ามนอนบนเตียงสูง
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นอนบนเตียงสูง คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมวิหาร
เห็นจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนอนบนเตียงสูง รูปใด
นอน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องไม้หนุนเท้าเตียง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนอนบนเตียงต่ำ ถูกงูกัด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้หนุนเท้าเตียง”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ไม้หนุนเท้าเตียงสูง สลักติดกับไม้หนุนเท้าเตียง
คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมวิหารเห็นจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์
ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุไม่พึงใช้ไม้หนุนเท้าเตียงสูง รูปใดใช้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้หนุนเท้าเตียงสูง ๘ นิ้วเป็นอย่างมาก”
เรื่องด้าย
สมัยนั้น ด้ายเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ด้ายถักเตียง”
ตัวแม่แคร่เปลืองด้ายมาก พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้เจาะตัวแม่แคร่แล้วถักเป็นตาหมากรุก”
ท่อนผ้าผืนเล็ก ๆ เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้
มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้าปูพื้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ปุยนุ่นเกิดขึ้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
สางนุ่นแล้วทำเป็นหมอน ปุยนุ่นมี ๓ ชนิด คือ นุ่นจากต้นไม้ นุ่นจากเถาวัลย์
นุ่นจากหญ้า”
เรื่องหมอน
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้หมอนยาวขนาดกึ่งกาย(ยาวครึ่งลำตัวคน)
คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมวิหารเห็น จึงตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “เหมือน
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้หมอนยาวขนาดกึ่งกาย
รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำหมอนพอเหมาะกับศีรษะ”
เรื่องฟูก ๕ ชนิด
สมัยนั้น มีมหรสพบนยอดเขาในกรุงราชคฤห์ คนทั้งหลายจัดฟูก ๕ ชนิดไว้
สำหรับมหาอมาตย์ คือ ฟูกขนสัตว์ ฟูกผ้า ฟูกเปลือกไม้ ฟูกหญ้า ฟูกใบไม้
ครั้นมหรสพเลิกแล้ว เขาได้ถอดเอาปลอกฟูกไป ภิกษุทั้งหลายเห็นขนสัตว์ ท่อนผ้า
เปลือกไม้ หญ้าและใบไม้เป็นจำนวนมาก ที่เขาทิ้งไว้ในที่เล่นมหรสพ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฟูก ๕ ชนิด คือ ฟูก
ขนสัตว์ ฟูกผ้า ฟูกเปลือกไม้ ฟูกหญ้า ฟูกใบไม้”
สมัยนั้น ท่อนผ้าสำหรับใช้สอยประจำเสนาสนะเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุ้มฟูก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
เรื่องเตียงหุ้มด้วยฟูก
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายปูฟูกเตียงลงบนตั่ง ปูฟูกตั่งลงบนเตียง ฟูกขาด ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงหุ้มด้วยฟูก ตั่งหุ้ม
ด้วยฟูก”
ภิกษุปูลงไม่ได้ใช้ผ้ารองข้างล่าง ฟูกย้อยลงข้างล่าง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับ
สั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้ารองปูพื้นแล้วหุ้มฟูก”
โจรเลิกผ้าหุ้มฟูกลักเอาไป ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ใช้เขียนแต้ม”
โจรก็ยังลักเอาไปอีก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ทำตำหนิไว้”
ถึงอย่างนั้นก็ยังลักเอาไปอีก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ตำหนิด้วยนิ้วมือไว้”
เสตวัณณาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตสีขาวเป็นต้น
[๒๙๘] สมัยนั้น ที่อยู่อาศัยของพวกเดียรถีย์ มีสีขาว แต่พื้นทำเป็นสีดำ ทำ
ฝาเป็นสีเหลือง คนทั้งหลายประสงค์จะดูที่อยู่อาศัยจึงเดินทางไป
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสีขาว สีดำ สีเหลืองใน
วิหาร”
สมัยนั้น ฝาเนื้อหยาบ สีขาวจึงไม่เกาะติด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใส่ดินปนแกลบแล้วใช้
เกรียงฉาบให้เรียบ ให้สีขาวเกาะติด”
สีขาวก็ยังไม่ติดสนิท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใส่ดินละเอียดแล้วใช้
เกรียงฉาบให้สีขาวเกาะติด”
สีขาวก็ยังไม่ติดสนิท ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ใช้ยางไม้ แป้งเปียก”
สมัยนั้น ฝาเนื้อหยาบ สีเหลืองจึงไม่เกาะติด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใส่ดินปนแกลบแล้วใช้
เกรียงฉาบให้สีเหลืองเกาะติด”
สีเหลืองก็ยังไม่เกาะติด ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ใส่ดินปนรำแล้วใช้เกรียงฉาบให้สีเหลืองเกาะติด”
สีเหลืองก็ยังไม่ติดสนิท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใส่แป้งเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ขี้ผึ้งเหลว”
แป้งหนาเกินไปภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าเช็ดออก”
สมัยนั้น พื้นหยาบไป สีดำไม่เกาะติด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใส่ดินปนแกลบแล้วใช้
เกรียงฉาบให้สีดำเกาะติด”
สีดำก็ยังไม่ติดสนิท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใส่ดินขุยใส้เดือนแล้วใช้
เกรียงฉาบให้สีดำเกาะติด”
สีดำก็ยังไม่ติดสนิท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยางไม้ น้ำฝาด”
ปฏิภาณจิตตปฏิกเขปะ
ว่าด้วยทรงห้ามภาพจิตรกรรมฝาผนัง
เรื่องทรงอนุญาตภาพดอกไม้
[๒๙๙] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรม คือ ภาพสตรี
ภาพบุรุษไว้ในวิหาร คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมเห็นจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรม
คือ ภาพสตรี ภาพบุรุษ รูปใดให้เขียน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ภาพลวดลายดอกไม้ ภาพลวดลายเถาวัลย์ ภาพลวดลายฟันมังกร ภาพลวดลาย
ดอกจอก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
อิฏฐกาจยาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตให้ก่ออิฐเป็นต้น
เรื่องวิหารพื้นต่ำ
[๓๐๐] สมัยนั้น วิหารมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วย
ไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
เรื่องวิหารมีพื้นเป็นลานโล่ง
สมัยนั้น วิหารมีพื้นเป็นลานโล่ง๑ ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะนอน ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าม่าน”
ภิกษุทั้งหลายเลิกชายผ้าม่านมองดูกัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกั้นฝาครึ่งหนึ่ง”

เชิงอรรถ :
๑ คือมีพื้นที่มีลานเนื่องเป็นอันเดียวกับสถานที่มิใช่วิหาร มีผู้คนพลุกพล่าน (วิ.อ. ๓/๓๐๐/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายก็ยังมองผ่านข้างบนฝานั้นได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตห้องภายใน ๓ ชนิด คือ
ห้องคล้ายเสลี่ยง ห้องคล้ายอุโมงค์ ห้องบนเรือนโล้น”๑
เรื่องวิหารเล็ก
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายกั้นห้องไว้ตรงกลางวิหารเล็ก ไม่มีบริเวณ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กั้นห้องไว้ด้านหนึ่งใน
วิหารเล็ก แต่กั้นห้องไว้ตรงกลางในวิหารใหญ่”
เรื่องฝาวิหารชำรุด
สมัยนั้น เชิงฝาวิหารชำรุด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกรอบเชิงฝา”
ฝาผนังวิหารถูกฝนสาด ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตแผงกันสาด ฝาทำด้วยดินปนเถ้ากับมูลโค”
เรื่องทรงอนุญาตเพดาน
สมัยนั้น งูตกจากหลังคามุงหญ้าลงมาที่คอภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุนั้นตกใจกลัว
ร้องเสียงลั่น ภิกษุทั้งหลายวิ่งเข้าไปถามว่า “อาวุโส ท่านร้องทำไม”
ภิกษุนั้นจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพดาน”

เชิงอรรถ :
๑ หมฺมิยคพฺภ : ห้องบนเรือนโล้น ได้แก่ห้องเรือนยอดบนดาดฟ้า หรือห้องที่มุงหลังคาโล้น (วิ.อ. ๓/๓๐๐/
๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
เรื่องทรงอนุญาตไม้แขวน
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายแขวนถุงไว้ที่เท้าเตียงบ้าง ที่เท้าตั่งบ้าง หนูบ้าง ปลวก
บ้างกัดกิน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้เดือยติดฝา ไม้รูปงาช้าง”
เรื่องทรงอนุญาตราวจีวร
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บจีวรไว้บนเตียงบ้าง บนตั่งบ้าง จีวรเสียหาย ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียงใน
วิหาร”
สมัยนั้น วิหารยังไม่มีระเบียง พักอาศัยไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตระเบียง เฉลียง ลับแล
หน้ามุขมีหลังคา”
ระเบียงโล่ง ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะนอน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผงเลื่อนฝาค้ำ”
อุปัฏฐานสาลาอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตหอฉัน
เรื่องภิกษุฉันร่วมกันในกลางแจ้ง
[๓๐๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารร่วมกันในกลางแจ้ง ต้องลำบากเพราะ
ความหนาวบ้างเพราะความร้อนบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหอฉัน”
หอฉันมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมถึง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดิน ที่ถม ๓ ชนิด คือคันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
ผงหญ้าตกเกลื่อนที่หอฉัน ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้มี
สียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียนลวด
ลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายปูจีวรลงบนพื้นดินกลางแจ้ง จีวรเปื้อนฝุ่น ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียงไว้
กลางแจ้ง ฯลฯ
น้ำดื่มถูกแดดจึงร้อน ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ศาลาน้ำดื่ม ปะรำน้ำดื่ม”
ศาลาน้ำดื่มมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมถึง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ศาลาน้ำดื่ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ
ให้มีสียางไม้เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียนลวด
ลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง”
ไม่มีภาชนะสำหรับตักน้ำ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตสังข์ตักน้ำ ขันน้ำ”
ปาการาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตรั้วล้อมเป็นต้น
เรื่องวิหารไม่มีรั้วล้อม
[๓๐๒] สมัยนั้น วิหารยังไม่มีรั้วล้อม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ ชนิด คือ
รั้วอิฐ รั้วศิลา รั้วไม้”
เรื่องทรงอนุญาตซุ้มประตู
ซุ้มประตูไม่มี ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้ม
ประตู”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ซุ้มประตูมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมถึง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”
ซุ้มประตูไม่มีบานประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง
ลิ่ม กลอน ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก”
ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ซุ้มประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ
ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียน
ลวดลายดอกจอก”
เรื่องทรงอนุญาตท่อระบายน้ำ
สมัยนั้น บริเวณเป็นโคลนตม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยกรวดแร่”
กรวดแร่ไม่เต็ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
ปูศิลาเรียบ”
น้ำขัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบาย
น้ำ”
เรื่องทรงอนุญาตศาลาไฟ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทำที่ตั้งเตาในที่ต่าง ๆ ทั่วบริเวณจึงสกปรก ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำศาลาไฟไว้ในที่สมควร
ด้านหนึ่ง”
โรงไฟมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมถึง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
โรงไฟไม่มีบานประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
บานประตู กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม
กลอน ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก”
ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ศาลาไฟ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ
ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียน
ลวดลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง”
อารามปริกเขปอนุชานนะ
เรื่องทรงอนุญาตรั้วล้อมอาราม
[๓๐๓] สมัยนั้น อารามไม่มีรั้วล้อม แพะบ้าง ปศุสัตว์บ้างทำสิ่งที่ปลูกไว้เสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรั้ว ๓ ชนิด คือ รั้วไม้ไผ่
รั้วหนาม คู”
ซุ้มประตูไม่มี แพะและปศุสัตว์ก็ยังทำสิ่งที่ปลูกไว้เสียหายเหมือนเดิม ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตซุ้มประตู ไม้คร่าว บาน
ประตูคู่ เสาระเนียด กลอนเหล็ก”
ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ซุ้มประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ
ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียน
ลวดลายดอกจอก”
พื้นอารามลื่น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
โรยกรวดแร่”
กรวดแร่ไม่เต็ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
ปูศิลาเรียบ”
น้ำขัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบาย
น้ำ”
สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ มีพระราชประสงค์จะทรงสร้างปราสาท
ฉาบปูนขาวถวายสงฆ์ เวลานั้นภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค
ทรงอนุญาตเครื่องมุงหรือไม่ได้ทรงอนุญาตไว้”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องมุง ๕ ชนิด คือ
กระเบื้อง ศิลา ปูนขาว หญ้า ใบไม้”
ปฐมภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
๒. ทุติยภาณวาร
อนาถปิณฑิกวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องอนาถบิณฑิกคหบดี
[๓๐๔] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี เป็นน้องเขยของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี ได้เดินทางไปกรุงราชคฤห์ด้วยกรณียกิจบางอย่าง
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระผู้มีพระภาคเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศล
ในวันพรุ่งนี้ สั่งทาสและกรรมกรว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงตื่นแต่
เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง ช่วยกันจัดเตรียมแกงอ่อม”
ขณะนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีได้มีความคิดดังนี้ว่า “คราวก่อนเมื่อเรามา คหบดี
ท่านนี้ทำธุระเสร็จก็สนทนาปราศรัยกับเราผู้เดียว เวลานี้เขามีท่าทีวุ่นวายสั่งทาส
และกรรมกรว่า ‘พวกท่านจงตื่นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง ช่วยกันจัด
เตรียมแกงอ่อม’ คหบดีนี้น่าจะมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล มหายัญพิธี หรือ
จะทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ พร้อมด้วยกองทัพมาเลี้ยงอาหารในวัน
พรุ่งนี้กระมัง”
ครั้นเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์สั่งทาสและกรรมกรแล้ว เข้าไปหาอนาถบิณฑิกคหบดี
ถึงที่ ครั้นถึงแล้วได้สนทนากับอนาถบิณฑิกคหบดี แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
อนาถบิณฑิกคหบดีได้กล่าวกับเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ดังนี้ว่า “เมื่อข้าพเจ้ามา
คราวก่อน ท่านทำธุระเสร็จก็สนทนาปราศรัยกับข้าพเจ้าผู้เดียว เวลานี้ท่านมีท่าที
วุ่นวาย สั่งทาสและกรรมกรว่า ‘พวกท่านจงตื่นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง
ช่วยกันจัดเตรียมแกงอ่อม’ ท่านคงจะมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล มหายัญพิธี
หรือจะทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ พร้อมด้วยกองทัพมาเลี้ยงอาหารใน
วันพรุ่งนี้กระมัง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า ข้าพเจ้าไม่มีงานอาวาหมงคลหรือวิวาหมงคล
ทั้งไม่ได้ทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐพร้อมด้วยกองทัพมาเลี้ยงอาหาร
ในวันพรุ่งนี้ ที่จริงข้าพเจ้าจะประกอบมหายัญพิธี คือ นิมนต์พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้”
อนาถบิณฑิกคหบดีถามว่า “ท่านกล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า’ หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า “คหบดี ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า”
อนาถบิณฑิกคหบดีถามซ้ำว่า “ท่านกล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า’ หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า “คหบดี ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า”
อนาถบิณฑิกคหบดีถามซ้ำอีกว่า “ท่านกล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า’ หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ก็คงตอบว่า “คหบดี ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า”
อนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวว่า “แม้เสียงประกาศว่า ‘พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า’
นี้ก็ยากที่จะได้ยินในโลก ท่านคหบดี ข้าพเจ้าสามารถจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในเวลานี้ได้หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า “คหบดี เวลานี้ยังไม่ควรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พรุ่งนี้ท่านจะได้เข้าเฝ้า”
หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีนอนนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ว่า “พรุ่ง
นี้เราจะได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแต่เช้าตรู่”
เล่ากันว่า คหบดีตื่นกลางดึกถึง ๓ ครั้งเพราะเข้าใจว่าสว่างแล้ว
[๓๐๕] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเดินไปทางประตูป่าสีตวัน พวกอมนุษย์
เปิดประตูให้ เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเดินออกจากเมืองไปแล้ว แสงสว่างพลัน
หายไป ปรากฏความมืดแทน ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยอง
เกล้าบังเกิดขึ้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีต้องการจะกลับจากที่นั้น
ขณะนั้น สีวกยักษ์หายตัวอยู่ประกาศให้ได้ยินเสียงว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
“ช้าง ๑ แสนเชือก ม้า ๑ แสนตัว
รถม้าอัสดร ๑ แสนคัน สาวน้อยประดับต่างหูเพชร ๑ แสนคน
ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖๑ แห่งการย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง
เชิญก้าวไปเถิดคหบดี ท่านก้าวไปดีกว่า อย่าถอยกลับเลย”
ทันใดนั้นความมืดพลันหายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยองเกล้าพลันหายไป
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ แสงสว่างพลันหายไป ปรากฏความมืดแทน ความกลัว ความ
หวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีต้องการ
จะกลับจากที่นั้น
แม้ครั้งที่ ๓ สีวกยักษ์ก็หายตัวอยู่แต่ประกาศให้ได้ยินเสียงว่า
“ช้าง ๑ แสนเชือก ม้า ๑ แสนตัว
รถม้าอัสดร ๑ แสนคัน สาวน้อยประดับต่างหูเพชร ๑ แสนคน
ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง
เชิญก้าวไปเถิดคหบดี ท่านก้าวไปดีกว่า อย่าถอยกลับเลย”
แม้ครั้งที่ ๓ ความมืดพลันหายไป แสงสว่างปรากฏแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยองเกล้าพลันหายไป
ลำดับนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเดินเข้าไปยังป่าสีตวัน เช้ามืดวันนั้น พระผู้มี
พระภาคเสด็จลุกขึ้นจงกรมที่กลางแจ้ง ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านอนาถบิณฑิก

เชิงอรรถ :
๑ เสี้ยวที่ ๑๖ ในที่นี้หมายความว่า เมื่อแบ่งเป็น ๑๖ ส่วนแล้วเอาส่วนหนึ่งใน ๑๖ ส่วนนั้นมาแบ่งเป็นอีก
๑๖ ส่วน แล้วเอาส่วนหนึ่งที่แบ่งเป็น ๑๖ ส่วนครั้งที่ ๒ นั้นมาแบ่งเป็น ๑๖ ส่วนอีกครั้งหนึ่ง ส่วน ๑
ใน ๑๖ ส่วนที่แบ่งครั้งที่ ๓ นี้จัดเป็นเสี้ยวที่ ๑๖ สัตว์สิ่งของอย่างละ ๑ แสน ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖
แห่งการก้าวเท้าไปก้าวหนึ่งที่แบ่งแล้ว ๑๖ ครั้ง ๑๖ เที่ยว ๑๖ หน เพราะ ท่านอนาถบิณฑิกะก้าวเท้า
ไปถึงพระพุทธเจ้าแล้วจะสำเร็จโสดาปัตติผล จักเอาของหอมพวงมาลากระทำการบูชา จักไหว้พระเจดีย์
จักฟังธรรม จักนิมนต์พระสงฆ์แล้วถวายทาน จักตั้งมั่นในสรณะและศีล(ตาม แนวคำอธิบายแห่ง สํ.ส.อ.
๑/๒๔๒/๒๙๘, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๓๐๕/๔๗๔-๔๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
คหบดีเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้น
แล้วได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “มาเถิดสุทัตตะ”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีรื่นเริงบันเทิงใจว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกชื่อเรา”
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคประทับอยู่เป็นสุขดีหรือ พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พราหมณ์ผู้ดับกิเลสแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ
ผู้ไม่ติดอยู่ในกาม เป็นคนเยือกเย็น
ไม่มีอุปธิกิเลส ตัดกิเลสเครื่องข้องได้ทุกอย่างแล้ว
กำจัดความกระวนกระวายในใจ
เข้าถึงความสงบ ย่อมอยู่เป็นสุข๑
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ
๑. ทานกถา (เรื่องทาน)
๒. สีลกถา (เรื่องศีล)
๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)
๕. เนกขัมมานิสังสกถา (อานิสงส์แห่งการออกจากกาม) แก่อนาถ-
บิณฑิกคหบดี
เมื่อทรงทราบว่าท่านอนาถบิณฑิกคหบดีมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์
เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนา๒ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๕/๑๙๑
๒ สามุกกังสิกธรรมเทศนา หมายถึงธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงเห็น
ด้วยสยัมภูญาณ ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น คือมิได้รับการแนะนำจากผู้อื่น ทรงตรัสรู้ลำพังพระองค์เองก่อนใครใน
โลก (วิ.อ. ๓/๒๙๓/๑๘๑, สารตฺถ,ฏีกา ๓/๒๖/๒๓๗, ที.สี.ฏีกา อภินว. ๒/๒๙๘/๓๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้
เกิดแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี ณ อาสนะนั้นแลว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา” เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาด
ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว
หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้
แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์ ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดย
ประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้
หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูป พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอ
พระผู้มีพระภาคโปรดจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหาร เพื่อเจริญกุศลใน
วันพรุ่งนี้ด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทราบการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้วจึง
ลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วทำประทักษิณกลับไป
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ได้ทราบข่าวว่า “ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี นิมนต์พระ
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้”
[๓๐๖] ครั้งนั้น เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ได้กล่าวกับท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า “คหบดี ทราบว่าท่านนิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญ
กุศลในวันพรุ่งนี้ ก็ท่านเป็นอาคันตุกะ ข้าพเจ้าจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของเพื่อจัด
ทำภัตตาหาร ถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “อย่าเลย คหบดี ทรัพย์ที่จะจับจ่ายใช้สอย
เพื่อจัดทำภัตตาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานของข้าพเจ้ามีพร้อมแล้ว”
ชาวนิคมในกรุงราชคฤห์ ได้ทราบข่าวว่า “ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีนิมนต์พระ
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้” ลำดับนั้น ชาวนิคมในกรุง
ราชคฤห์จึงได้กล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ทราบว่า ท่านนิมนต์
พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้ ก็ท่านเป็นอาคันตุกะ
ข้าพเจ้าจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของ เพื่อจัดทำภัตตาหารถวายพระสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประธาน”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “อย่าเลย พ่อเจ้า ทรัพย์ที่จะจับจ่ายใช้สอย
เพื่อจัดทำภัตตาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานของข้าพเจ้ามีพร้อมแล้ว”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐพอได้ทราบข่าวว่า “ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้” ลำดับนั้น
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้กล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี
ทราบว่า ท่านนิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้
ก็ท่านเป็นอาคันตุกะ ฉันจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของ เพื่อจัดทำภัตตาหารถวาย
พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทูลตอบว่า “อย่าเลย พระเจ้าข้า ทรัพย์ที่จะจับจ่าย
ใช้สอย เพื่อจัดทำภัตตาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานของข้าพระองค์
มีพร้อมแล้ว”
ครั้นล่วงราตรีนั้นไป ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉัน
อันประณีตในนิเวศน์ของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลว่า “ถึง
เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จไปนิเวศน์ของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวายพร้อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
กับภิกษุสงฆ์ ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีต
ประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยตนเอง จนกระทั่งพระผู้มีพระภาค
เสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ละพระหัตถ์จากบาตร จึงนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่
สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคพร้อม
กับภิกษุสงฆ์จงทรงรับนิมนต์ไปอยู่จำพรรษา ณ กรุงสาวัตถีของข้าพระพุทธเจ้าเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ตถาคตทั้งหลายย่อมยินดีในสุญญาคาร”๑
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีกราบทูลว่า “ทราบแล้วพระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเห็นชัด ชวน
ให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา เสด็จลุกจากอาสนะแล้วเสด็จกลับไป
อนาถบิณฑิกะสร้างพระเชตวัน
[๓๐๗] สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเป็นคนมีมิตรมาก มีสหายมาก
ประชาชนเชื่อถือคำพูด ครั้นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทำธุระในกรุงราชคฤห์เสร็จแล้ว
ก็เดินทางกลับไปกรุงสาวัตถี ระหว่างทางได้ชักชวนคนทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย
จงช่วยกันสร้างอาราม สร้างวิหาร เตรียมทาน เวลานี้พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นใน
โลกแล้วและข้าพเจ้าได้ทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล้ว พระองค์จะเสด็จ
มาทางนี้”
ครั้งนั้น คนทั้งหลายที่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีชักชวนไว้ ได้พากันสร้างอาราม
สร้างวิหารเตรียมทาน
ครั้นท่านอนาถบิณฑิคหบดีถึงกรุงสาวัตถี เที่ยวตรวจดูรอบ ๆ กรุงสาวัตถีคิด
ว่า “พระผู้มีพระภาคควรประทับที่ไหนดีซึ่งไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไป ไม่ใกล้หมู่บ้าน

เชิงอรรถ :
๑ สุญญาคาร คือ สถานที่ว่าง โอกาสที่เงียบสงัด สถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน
(วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เกินไป การคมนาคมสะดวก ผู้อยากจะเข้าเฝ้าไปมาได้ง่าย กลางวันคนไม่พลุกพล่าน
กลางคืนมีเสียงรบกวนน้อย ไม่มีเสียงอึกทึก ไร้ผู้คน เป็นสถานที่พวก มนุษย์จะทำ
กิจที่ลับได้ เป็นสถานที่เหมาะแก่การหลีกเร้น”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นพระอุทยานของเจ้าเชตราชกุมาร เป็นสถานที่
ไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไป ไม่ใกล้หมู่บ้านเกินไป การคมนาคมสะดวก ผู้อยากจะ
เข้าเฝ้าไปมาได้ง่าย กลางวันคนไม่พลุกพล่าน กลางคืนมีเสียงรบกวนน้อย ไม่มีเสียง
อึกทึก ไร้ผู้คน เป็นสถานที่พวกมนุษย์จะทำกิจที่ลับได้ เป็นสถานที่เหมาะแก่การ
หลีกเร้น ครั้นแล้วจึงเข้าเฝ้าเจ้าเชตราชกุมารถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลเจ้าเชต
ราชกุมารดังนี้ว่า “พระลูกเจ้า ขอพระองค์ ทรงโปรดประทานพระอุทยานแก่กระหม่อม
เพื่อจัดสร้างพระอารามเถิด พระเจ้าข้า”
เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า “คหบดี ถึงใช้กหาปณะมาเรียงให้ริมจดกัน เราก็ให้
อุทยานไม่ได้”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทูลถามว่า “พระลูกเจ้า พระองค์ขายอุทยานแล้วหรือ
พระเจ้าข้า”
เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า “คหบดี เรายังไม่ได้ขายอุทยาน”๑
เชตราชกุมารกับอนาถบิณฑิกคหบดีถามพวกมหาอมาตย์ผู้พิพากษาว่า “อุทยาน
เป็นอันขายแล้ว หรือยังไม่ได้ขาย”
พวกมหาอมาตย์ตอบว่า “พระลูกเจ้า เพราะพระองค์ตีราคาแล้ว อุทยานจึง
เป็นอันขายแล้ว”
จากนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้คนงานนำเกวียนบรรทุกเงินออกมาเรียง
ลาดให้ริมจดกันในเชตวัน เงินที่ขนออกมาครั้งเดียวยังไม่เพียงพอแก่พื้นที่อีกหน่อย
หนึ่งใกล้ซุ้มประตู ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีจึงสั่งพวกคนงานว่า “พวกท่านจงไปขน
เงินมา เราจะเรียงให้เต็มในที่นี้”

เชิงอรรถ :
๑ คหิโต อยฺยปุตฺต อาราโมติ. น คหปติ คหิโต อาราโมติ. แปลตามตัวอักษรว่า “พระลูกเจ้า ข้าพเจ้ารับ
สวนไปได้หรือ” คหบดี ท่านยังรับสวนไปไม่ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ขณะนั้น เจ้าเชตราชกุมารได้ทรงมีพระดำริดังนี้ว่า “การกระทำนี้ไม่ใช่ของต่ำต้อย
เพราะคหบดีนี้บริจาคเงินมากมายถึงเพียงนี้” ลำดับนั้น เจ้าเชตราชกุมารได้รับสั่งกับ
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “พอเถอะ ท่านคหบดี ที่ว่างตรงนั้น ท่านอย่าลาด
เงินเลย ให้โอกาสแก่เราบ้าง ส่วนนี้ข้าพเจ้าจะขอร่วมถวายด้วย”
ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดำริว่า “เจ้าเชตราชกุมารพระองค์นี้ ทรงเรือง
พระนาม ประชาชนรู้จัก ความเลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ของผู้ที่ประชาชนรู้จัก
เช่นนี้ มีประโยชน์มาก” จึงได้ถวายที่ว่างนั้นแก่เจ้าเชตราชกุมาร ลำดับนั้น เจ้าเชต
ราชกุมาร รับสั่งให้สร้างซุ้มประตูที่ตรงนั้น
ต่อมา ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีให้สร้างวิหารหลายหลังไว้ในพระเชตวัน สร้าง
บริเวณ สร้างซุ้มประตู สร้างศาลาหอฉัน สร้างโรงไฟ สร้างกัปปิยกุฎี๑ สร้างวัจกุฎี
สร้างสถานที่จงกรม สร้างศาลาจงกรม ขุดบ่อน้ำ สร้างศาลาบ่อน้ำ สร้างเรือนไฟ
สร้างศาลาเรือนไฟ ขุดสระโบกขรณี สร้างมณฑป
นวกัมมทานะ
ว่าด้วยให้นวกรรม(การก่อสร้าง)
เรื่องช่างชุนผ้า
[๓๐๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย
แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงเวสาลี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงเวสาลี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ในกรุงเวสาลีนั้น

เชิงอรรถ :
๑ กัปปิยกุฎี คือสถานที่เก็บอาหาร (ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๒๙๕/๑๒๐) พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเพื่อให้
ภิกษุสงฆ์พ้นจากการเก็บของไว้เองและหุงต้มเอง (วิ.อ. ๓/๒๙๕/๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
สมัยนั้น คนทั้งหลายทำนวกรรมอย่างกระตือรือร้น อุปัฏฐากภิกษุทั้งหลายผู้
ดำเนินงานก่อสร้างด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารโดย
เคารพ
ครั้งนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจคนหนึ่งได้มีความคิดดังนี้ว่า “การทำนวกรรมนี้ไม่ใช่
ของต่ำต้อย เพราะคนทั้งหลายช่วยกันทำนวกรรม ทางที่ดีเราพึงช่วยทำนวกรรมบ้าง”
ลำดับนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นจึงขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝาผนังขึ้น แต่ฝาผนังที่ก่อ
ด้วยความไม่ชำนาญคด จึงพังทะลายลงมา
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นก็ขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝาผนังขึ้น แต่ฝาผนังที่
ก่อด้วยความไม่ชำนาญคด จึงพังทะลายลงมา
ครั้งนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรอบรมสั่งสอนแต่พวกที่ถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน
ปัจจัยเภสัชบริขาร อำนวยการทำนวกรรมแก่คนพวกนั้น ส่วนเราเป็นคนเข็ญใจไม่มี
ใครอบรมสั่งสอน ไม่มีคนอำนวยการทำนวกรรมให้”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุให้นวกรรมได้ ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนักทำนวกรรมต้องขวนขวายว่า ‘ทำอย่างไรหนอวิหารจึงจะสำเร็จได้เร็ว’ ต้อง
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม
วิธีให้นวกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้นวกรรมอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขออนุญาตภิกษุก่อน ครั้น
แล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
[๓๐๙] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วสงฆ์พึงใหนวกรรม
วิหาร๑ของคหบดี แก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้นวกรรมวิหารของคหบดีชื่อนี้แก่
ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้นวกรรมวิหารของคหบดีชื่อนี้แก่ภิกษุชื่อนี้
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
นวกรรมวิหารของคหบดี สงฆ์ให้แก่ชื่อภิกษุนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อัคคาสนาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตอาสนะเลิศเป็นต้น
เรื่องความเคารพ
[๓๑๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงเวสาลีตามพระอัธยาศัย
แล้วเสด็จจาริกไปยังกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุอันเตวาสิกของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ล่วงหน้าไปก่อนพระสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน จับจองวิหาร จับจองที่นอน
โดยกล่าวว่า “ที่นี้เป็นของพระอุปัชฌาย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของพระ
อาจารย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของพวกเรา”
ต่อมา ท่านพระสารีบุตรไปภายหลังพระสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เมื่อ
วิหารถูกจับจองแล้ว เมื่อที่นอนถูกจับจองแล้ว เมื่อไม่ได้ที่นอน จึงนั่ง ณ ควงไม้
ต้นหนึ่ง
ครั้นเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นทรงพระกาสะ แม้ท่านพระสารีบุตร
ก็ได้กระแอมรับ

เชิงอรรถ :
๑ นวกรรมวิหาร คือให้วิหารเพื่อก่อสร้าง หรือให้การก่อสร้างในวิหาร (วิมติ.ฏีกา ๒/๓๐๙/๓๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ใครอยู่ที่นั่น”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้า สารีบุตร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “สารีบุตร ทำไมเธอจึงมานั่งที่นี่เล่า”
ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ
เรื่องผู้ควรได้อาสนะเลิศเป็นต้น
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบ
ถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุอันเตวาสิกของพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ไปก่อนภิกษุสงฆ์ แล้วจับจองวิหาร จับจองที่นอนโดยกล่าวว่า ‘ที่นี้เป็น
ของพระอุปัชฌาย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของพระอาจารย์ทั้งหลายของพวกเรา
ที่นี้เป็นของพวกเรา’ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษทั้งหลาย
จึงไปก่อนภิกษุสงฆ์ แล้วจับจองวิหาร จับจองที่นอนโดยกล่าวว่า ‘ที่นี้เป็นของพระ
อุปัชฌาย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของพระอาจารย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็น
ของพวกเราเล่า’ ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ
ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ใครควรได้อาสนะ
อันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้บวชจากตระกูลกษัตริย์
ควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้บวชจากตระกูลพราหมณ์
ควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้บวชจากตระกูลคหบดี
ควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทรงสุตตันตะควรได้
อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทรงพระวินัยควรได้
อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เป็นธรรมกถึกควรได้
อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ได้ปฐมฌานควรได้
อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ได้ทุติยฌานควรได้
อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ได้ตติยฌานควรได้
อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ได้จตุตถฌานควร
ได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เป็นพระโสดาบัน
ควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี
ควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เป็นพระอนาคามี
ควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ควร
ได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ได้วิชชา ๓ ควรได้
อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ได้อภิญญา ๖ ควร
ได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
เรื่องสัตว์ ๓ สหาย
[๓๑๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เรื่องเคยมีมาแล้ว ในแถบเชิงเขาหิมพานต์ มีต้นไทรใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง สัตว์ ๓ สหาย
คือ นกกระทา ลิง และช้างพลาย อาศัยต้นไทรนั้นอยู่ สัตว์ ๓ สหายนั้นอยู่อย่าง
ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงกันและกัน มีการดำเนินชีวิตไม่เหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย ต่อมา สัตว์ ๓ สหายปรึกษากันว่า “นี่พวกเรา ทำอย่างไรจึง
จะรู้ได้ว่า ‘ในพวกเรา ๓ สหาย ผู้ใดคือผู้สูงวัยกว่ากัน’ จะได้สักการะ เคารพ นับถือ
บูชาและเชื่อฟังผู้นั้น”
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น นกกระทาและลิงถามช้างพลายว่า “เพื่อนเอ๋ย ท่านจำ
เรื่องราวเก่า ๆ อะไรได้บ้างเล่า” ช้างตอบว่า “เมื่อเรายังเล็ก เราเคยเดินคร่อมต้นไทร
ต้นนี้ ยอดไทรพอระท้องของเรา เราจำเรื่องเก่านี้ได้”
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น นกกระทาและช้างพลายถามลิงว่า “เพื่อนจำเรื่อง
ราวเก่า ๆ อะไรได้บ้าง”
ลิงตอบว่า “เมื่อเรายังเล็ก เราเคยนั่งบนพื้นดินเคี้ยวกินยอดไทรต้นนี้ เราจำ
เรื่องเก่านี้ได้”
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ลิงและช้างพลายถามนกกระทาว่า “เพื่อนจำเรื่อง
ราวเก่า ๆ อะไรได้บ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
นกกระทาตอบว่า “เพื่อนทั้งหลาย ที่โน้นมีต้นไทรใหญ่ เรากินผลของต้นไทร
นั้นแล้วถ่ายมูลไว้ที่นี้ ไทรต้นนี้เกิดจากผลของต้นไทรนั้น ดังนั้นเราจึงเป็นผู้ใหญ่โดย
ชาติกำเนิด”
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ลิงกับช้างพลายได้กล่าวกับนกกระทาดังนี้ว่า “เพื่อน
บรรดาเราทั้งหลาย ท่านคือผู้ใหญ่กว่าโดยชาติกำเนิด เราทั้ง ๒ จะสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา และเชื่อฟังท่าน”
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น นกกระทาได้ให้ลิงกับช้างสมาทานศีล ๕ ทั้งตนเอง
ก็รักษาศีล ๕ สหายทั้ง ๓ นั้นต่างเคารพยำเกรง ดำเนินชีวิตอยู่อย่างเสมอภาคกัน
หลังจากสิ้นชีวิตได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัตินี้ เรียกว่า
ติตติริยพรหมจรรย์
นรชนเหล่าใดฉลาดในธรรม
ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อบุคคลผู้เจริญทั้งหลาย
นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ได้รับการสรรเสริญในปัจจุบัน
และมีสุคติภพในเบื้องหน้า๑
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานพวกนั้นยังมีความเคารพยำเกรง ดำเนินชีวิตอยู่
อย่างเสมอภาคกัน ภิกษุทั้งหลาย การที่พวกเธอเป็นผู้บวชแล้ว ในธรรมวินัยที่เรา
กล่าวดีแล้ว มีความเคารพมีความยำเกรงกันและกัน ดำเนินชีวิตอย่างเสมอภาคกัน
จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้
ภิกษุทั้งหลาย การทำเช่นนั้นมิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคน
ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดง
ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ
อัญชลีกรรม สามีจิกรรม อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศตามลำดับ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๓๗/๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พรรษา อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกีดกันเสนาสนะของสงฆ์ตามลำดับพรรษา
ภิกษุรูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
อวันทิยาทิปุคคละ
ว่าด้วยบุคคลที่ไม่ควรไหว้เป็นต้น
เรื่องบุคคลที่ไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก
[๓๑๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ภิกษุไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก เหล่านี้คือ
๑. ผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ผู้อุปสมบทภายหลัง
๒. ไม่ควรไหว้อนุปสัมบัน
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้มีพรรษาแก่กว่า เป็นอธรรมวาที
๔. ไม่ควรไหว้มาตุคาม
๕. ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์
๖. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังอยู่ปริวาส
๗. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม
๘. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรแก่มานัต
๙. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังประพฤติมานัต
๑๐. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ภิกษุไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก เหล่านี้แล
เรื่องบุคคลที่ภิกษุควรไหว้ ๓ จำพวก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ภิกษุควรไหว้ ๓ จำพวก คือ
๑. ผู้อุปสมบทภายหลังควรไหว้ผู้อุปสมบทก่อน
๒. ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้มีพรรษาแก่กว่า เป็นธรรมวาที

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
๓. ควรไหว้พระตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบในโลกพร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดา และมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ภิกษุควรไหว้ ๓ จำพวกเหล่านี้แล
อาสนปฏิพาหนปฏิกเขปะ
ว่าด้วยทรงห้ามการกีดกันอาสนะ
เรื่องอันเตวาสิกของพระฉัพพัคคีย์
[๓๑๓] สมัยนั้น คนทั้งหลายตกแต่งมณฑป จัดเตรียมเครื่องลาด จัดเตรียม
บริเวณไว้เจาะจงพระสงฆ์ พวกภิกษุอันเตวาสิกของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “เสนาสนะ
เฉพาะที่เป็นของสงฆ์เท่านั้นที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตตามลำดับพรรษา ไม่ได้ทรง
อนุญาตของที่ทำเจาะจง” ล่วงหน้าไปก่อนพระสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน จับ
จองมณฑปบ้าง จับจองเครื่องลาดบ้าง จับจองบริเวณบ้างไว้โดยกล่าวว่า “ที่นี้เป็น ของ
พระอุปัชฌาย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของพระอาจารย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้
เป็นของพวกเรา”
ต่อมา ท่านพระสารีบุตรไปภายหลังพระสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เมื่อ
มณฑปถูกจับจองแล้ว เมื่อเครื่องลาดถูกจับจองแล้ว เมื่อบริเวณถูกจับจองแล้ว เมื่อ
ไม่ได้ที่นอนจึงนั่ง ณ ควงไม้ต้นหนึ่ง
ครั้นเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นทรงพระกาสะ แม้ท่านพระสารีบุตร
ก็ได้กระแอมรับ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ใครอยู่ที่นั่น”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้า สารีบุตร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “สารีบุตร ทำไมเธอจึงมานั่งที่นี่เล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบ
ถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุอันเตวาสิกของพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์กล่าวว่า ‘เสนาสนะเฉพาะที่เป็นของสงฆ์เท่านั้นที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต
ตามลำดับพรรษา ไม่ได้ทรงอนุญาตของที่ทำเจาะจง’ แล้วล่วงหน้าไปก่อนพระสงฆ์
ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน จับจองมณฑปบ้าง จับจองเครื่องลาดบ้าง จับจอง
บริเวณบ้างไว้โดยกล่าวว่า ‘ที่นี้เป็นของพระอุปัชฌาย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของ
พระอาจารย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของพวกเรา’ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริงพระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดง
ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกีดกันแม้ของที่เขาทำ
เจาะจงตามลำดับพรรษา รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
คิหิวิกตอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตเครื่องใช้อย่างคฤหัสถ์
[๓๑๔] สมัยนั้น คนทั้งหลายตกแต่งที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ไว้ที่โรงอาหารใน
ละแวกบ้าน คือ

๑. เตียงมีเท้าสูงเกินขนาด ๒. เตียงมีเท้าเป็นรูปสัตว์ร้าย
๓. พรหมขนสัตว์ ๔. เครื่องลาดขนแกะลายวิจิตร
๕. เครื่องลาดขนแกะมีสีขาว ๖. เครื่องลาดมีรูปดอกไม้
๗. เครื่องลาดยัดนุ่น ๘. เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูป
สัตว์ร้ายเช่นราชสีห์และเสือ
๙. เครื่องลาดขนแกะมีขน ๒ ด้าน ๑๐. เครื่องลาดขนแกะมีขนด้านเดียว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร

๑๑. เครื่องลาดปักด้วยไหมประดับรัตนะ ๑๒. เครื่องลาดผ้าไหมประดับรัตนะ
๑๓. เครื่องลาดขนแกะขนาดใหญ่ ๑๔. เครื่องลาดบนหลังช้าง
ที่นางฟ้อน ๑๖ คนร่ายรำ
๑๕. เครื่องลาดบนหลังม้า ๑๖. เครื่องลาดในรถ
๑๗. เครื่องลาดทำด้วยหนังเสือ ๑๘. เครื่องลาดหนังชะมด
๑๙. เครื่องลาดมีเพดาน ๒๐. เครื่องลาดมีหมอน ๒ ข้าง๑

ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมนั่ง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องใช้อย่างคฤหัสถ์
ยกเว้นเครื่องลาด ๓ ชนิด คือ ม้านั่งสี่เหลี่ยม เตียงใหญ่ เครื่องลาดยัดนุ่น นอก
นั้นนั่งได้ แต่ไม่อนุญาตให้นอน”
สมัยนั้น คนทั้งหลายตกแต่งเตียงบ้าง ตั่งบ้างยัดนุ่นไว้ที่โรงอาหารในละแวกบ้าน
พวกภิกษุยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมนั่ง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งบนเครื่องใช้อย่าง
คฤหัสถ์ได้ แต่ไม่อนุญาตให้นอน”
เชตวนวิหารานุโมทนา
ว่าด้วยทรงอนุโมทนาการถวายเชตวันวิหาร
[๓๑๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงสาวัตถี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดีในกรุง
สาวัตถีนั้น

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม.(แปล) ๕/๒๕๔/๒๗, ที.สี.(แปล) ๙/๑๕/๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีผู้นั่ง
ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมกับภิกษุสงฆ์
ทรงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าเพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดีทราบการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุก
จากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไป
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป อนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีต
ให้คนไปกราบทูลภัตกาลว่า “ถึงเวลาภัตตาหารแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จ
แล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จ
ไปนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวายพร้อมกับภิกษุสงฆ์
อนาถบิณฑิกคหบดีได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธานด้วยตนเอง กระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ แล้วทรงห้ามภัตตาหารแล้ว
ละพระหัตถ์จากบาตร จึงนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าพระ
พุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไรในพระเชตวัน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านจงจัดถวายเชตวันแก่สงฆ์จากทิศทั้ง
๔ ผู้มาแล้วและยังไม่มา”
อนาถบิณฑิกะรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วได้ถวายพระเชตวันแก่สงฆ์จากทิศทั้ง
๔ ผู้มาแล้วและยังไม่มา
คาถาอนุโมทนาการถวายวิหาร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาอนาถบิณฑิกคหบดี ด้วยพระคาถา
เหล่านี้ว่า
วิหารย่อมป้องกันความหนาวร้อนและสัตว์ร้าย
นอกจากนั้น ยังป้องกันงู ยุงและฝนในคราวหนาวเย็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
นอกจากนั้น ยังป้องกันลมและแดดอันร้อนจัดที่เกิดขึ้น
การถวายวิหารแก่สงฆ์เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข
เพื่อเพ่งพินิจ และเพื่อเห็นแจ้ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญว่าเป็นทานอันเลิศ
เพราะฉะนั้น ผู้ฉลาดเมื่อเห็นประโยช์ของตน
พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ถวายภิกษุผู้พหูสูตให้อยู่ในที่นี้เถิด
อีกประการหนึ่ง ผู้เป็นบัณฑิตมีจิตเลื่อมใสในภิกษุพหูสูต
ผู้ปฏิบัติตรงพึงถวายข้าว น้ำ ผ้า
และเสนาสนะอันควร แก่ท่านเหล่านั้น
ท่านเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมอันเป็นเหตุบรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา
ซึ่งเมื่อเขารู้ทั่วถึงแล้วจะเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพานได้ในชาตินี้
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาแก่อนาถบิณฑิกคหบดีด้วยพระคาถาเหล่านี้
แล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จกลับ
อาสนปฏิพาหนาทิ
ว่าด้วยการกีดกันอาสนะเป็นต้น
เรื่องบังคับภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่ยังฉัน
[๓๑๖] สมัยนั้น มหาอมาตย์ผู้หนึ่งเป็นสาวกของอาชีวกจัดถวายสังฆภัต ท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรมาภายหลัง บังคับภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลัง
ฉันอยู่ จึงเกิดความวุ่นวายขึ้นในโรงอาหาร
ครั้งนั้น มหาอมาตย์ผู้นั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรมาภายหลังจึงบังคับภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉัน
อยู่เล่า ทำให้เกิดความวุ่นวายในโรงอาหาร ภิกษุผู้นั่งที่อื่นควรจะได้ฉันจนอิ่มมิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายได้ยินมหาอมาตย์นั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ บรรดาภิกษุ
ผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตร
มาภายหลัง จึงบังคับภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉันอยู่เล่า ทำให้เกิด
ความวุ่นวายในโรงอาหาร”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า
เธอมาภายหลังบังคับภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉันอยู่ ทำให้เกิดความ
วุ่นวายในโรงอาหารจริงหรือ”
พระอุปนันทะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ไฉนเธอมาภายหลังจึงบังคับ
ภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉันอยู่ ทำให้เกิดความวุ่นวายในโรงอาหารเล่า
โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรง
ตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงบังคับให้ภิกษุที่นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉันอยู่ รูปใดบังคับให้ลุกขึ้น
ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าบังคับให้ลุกขึ้น ภิกษุที่ลุกขึ้นนั้นย่อมเป็นผู้ห้ามภัตด้วย พึงกล่าว
กับภิกษุนั้นว่า ‘ท่านจงไปหาน้ำมา’ ถ้าพึงได้น้ำนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุ
ที่ถูกบังคับให้ลุกขึ้นนั้นพึงกลืนเมล็ดข้าวให้เรียบร้อยแล้วจึงให้อาสนะแก่ภิกษุผู้แก่
พรรษากว่า ภิกษุทั้งหลาย แต่เราไม่ได้กล่าวว่า “ภิกษุพึงกีดกันอาสะสำหรับภิกษุ
ผู้แก่พรรษากว่า โดยปริยายใด ๆ’ รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไล่ภิกษุอาพาธ
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์บังคับพวกภิกษุเป็นไข้ให้ลุกขึ้น
พวกภิกษุเป็นไข้ตอบว่า “พวกเราไม่สามารถลุกขึ้นได้ (เพราะ) พวกเราเป็นไข้”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกเราจะช่วยพยุงพวกท่านให้ลุกขึ้น” แล้วช่วย
ประคองให้ลุกขึ้น แล้วก็ปล่อยให้พวกภิกษุไข้ยืนอยู่ พวกภิกษุไข้สลบล้มลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ พระผู้
มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงบังคับภิกษุเป็นไข้ให้ลุกขึ้น รูปใดบังคับ
ให้ลุกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกกระผมเป็นไข้ไม่ควรที่จะถูกไล่ให้
ลุกขึ้น” แล้วยึดเอาที่นอนดี ๆ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้ที่นอนที่เหมาะสม
แก่ภิกษุเป็นไข้”
ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ก็กีดกันอาสนะเอาไว้โดยอ้างเลศ ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกีดกันเสนาสนะโดยอ้างเลศ
รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องอนุญาตให้ภิกษุถือเสนาสนะ
สมัยนั้น พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์(พวกภิกษุที่อยู่ในกลุ่มภิกษุ ๑๗ รูป)ซ่อม
แซมวิหารหลังใหญ่แห่งหนึ่งอยู่สุดเขตอาราม ด้วยหมายใจว่า “พวกเราจะจำพรรษา
ในที่นี้”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เห็นพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กำลังซ่อมแซมวิหาร ครั้นเห็น
แล้วจึงกล่าวกันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านี้กำลังซ่อม
แซมวิหาร มาเถิด พวกเราช่วยกันขับไล่พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์นั้นออกไป”
ภิกษุบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย โปรดคอยจนกว่าพวกภิกษุ
สัตตรสวัคคีย์นั้นจะซ่อมวิหารเสร็จแล้วพวกเราค่อยไล่ออกไป”
ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้กล่าวกับพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ดังนี้ว่า “พวก
ท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านควรจะบอกก่อนมิใช่
หรือ พวกเราจะได้ซ่อมแซมวิหารหลังอื่น”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ตอบว่า “ท่านทั้งหลาย วิหารเป็นของสงฆ์มิใช่หรือ”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ใช่ ท่านทั้งหลาย วิหารเป็นของสงฆ์”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “วิหารใหญ่ พวกท่านก็อยู่ได้ พวกเราก็อยู่ได้”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา”
แล้วโกรธ ไม่พอใจ จับคอฉุดลากออกไป
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เมื่อถูกพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉุดลากออกไปก็ร้องไห้
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านี้โกรธ
ไม่พอใจฉุดลากพวกกระผมออกจากวิหารของสงฆ์”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์จึงโกรธไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์เล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดง
ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโกรธไม่พอใจ ไม่พึงฉุดลาก
ภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์ รูปใดฉุดลาก พึงปรับอาบัติตามธรรม๑ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุถือเสนาสนะ”

เชิงอรรถ :
๑ พึงปรับอาบัติตามธรรม หมายถึงพึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ตามความแห่งสิกขาบทที่ ๗ แห่งภูตคามวรรค
(วิ.มหา. แปล ๒/๑๒๔-๑๒๕/๓๐๒-๓๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เสนาสนคาหาปกสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ
[๓๑๗] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ใครจะพึงจัดแจงให้ภิกษุถือ
เสนาสนะ” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่างเป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักเสนาสนะที่ให้ภิกษุถือและเสนาสนะที่ยังมิได้ให้ภิกษุถือ
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ ในเบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ภิกษุผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วสงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุชื่อ
นี้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงให้
ถือเสนาสนะ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือ
เสนาสนะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
เรื่องวิธีการให้ถือเสนาสนะเป็นต้น
[๓๑๘] ครั้งนั้น ภิกษุเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะทั้งหลายปรึกษากันดังนี้
ว่า “พวกเราจะให้ภิกษุถือเสนาสนะอย่างไรหนอ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นับภิกษุทั้งหลายก่อน
ครั้นนับภิกษุทั้งหลายแล้วจึงนับที่นอน แล้วจึงให้ถือตามจำนวนที่นอน”
เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่ทั้งหลายให้ถือตามจำนวนที่นอน ที่นอนเหลือมาก ฯลฯพระ
ผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือตามจำนวนวิหาร”
เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่ทั้งหลายให้ถือตามจำนวนวิหาร วิหารก็ยังเหลือมาก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือตามจำนวนบริเวณ”
เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่ทั้งหลายให้ถือตามจำนวนบริเวณ บริเวณก็ยังเหลือมาก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เพิ่มให้อีก เมื่อภิกษุรับส่วน
เพิ่มไปแล้ว ภิกษุอื่นมา เมื่อไม่ปรารถนา(จะให้)ก็ไม่ต้องให้”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาถือเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุที่อยู่นอกสีมาถือ
เสนาสนะ รูปใดให้ถือ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเสนาสนะแล้วหวงไว้ตลอดเวลา ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถือเสนาสนะแล้วหวงไว้
ตลอดเวลา รูปใดหวงไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หวงไว้ได้
ตลอด ๓ เดือนฤดูฝน แต่จะหวงไว้ตลอดฤดูไม่ได้”
เรื่องให้ถือเสนาสนะ ๓ อย่าง
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “การให้ถือเสนาสนะมีกี่อย่าง” ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย การให้ถือเสนาสนะมี ๓ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
๑. ให้ถือในวันเข้าพรรษาต้น ๒. ให้ถือในวันเข้าพรรษาหลัง
๓. ให้ถือในระหว่างพ้นจากระยะนั้น
เสนาสนะที่จะให้ถือในวันเข้าพรรษาต้น พึงให้ถือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘
เสนาสนะที่จะให้ถือในวันเข้าพรรษาหลัง พึงให้ถือในเมื่อเดือน ๘ ล่วงไป ๑ เดือน
(เดือน ๙) เสนาสนะที่จะให้ถือในระหว่างพ้นจากระยะนั้น พึงให้ถือในวันถัดจากวัน
ปวารณา คือ วันแรม ๑ ค่ำ เพื่ออยู่จำพรรษาต่อไป ภิกษุทั้งหลาย การให้ถือ
เสนาสนะมี ๓ อย่างนี้”
ทุติยภาณวาร จบ
๓. ตติยภาณวาร
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตรจองเสนาสนะ
[๓๑๙] สมัยนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถือเสนาสนะในกรุงสาวัตถี แล้ว
เดินทางไปอาวาสใกล้หมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง ได้ถือเสนาสนะในที่นั้นอีก
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่านอุปนันทศากยบุตรนี้เป็นผู้
ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ ถ้าท่านอุปนันทศากยบุตรจะจำพรรษาในอาวาสนี้ พวกเราทั้งหมดจะอยู่
ไม่ผาสุก อย่ากระนั้นเลย พวกเราจะถามท่านอุปนันทศากยบุตร” ลำดับนั้น ภิกษุ
เหล่านั้นจึงถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรดังนี้ว่า “ท่านอุปนันทะ ท่านถือเสนาสนะ
ในกรุงสาวัตถีแล้วมิใช่หรือ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรตอบว่า “ใช่แล้ว ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านรูปเดียว เหตุใดจึงหวงเสนาสนะไว้ถึง ๒ แห่งเล่า”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรตอบว่า “กระผมจะสละเสนาสนะที่นี่ไปเดี๋ยวนี้แล้ว
จะถือเสนาสนะในกรุงสาวัตถีนั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
บรรดาภิกษุมักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
อุปนันทศากยบุตรจึงหวงเสนาสนะไว้ถึง ๒ แห่งเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอุปนันทะว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอ
เพียงรูปเดียวหวงเสนาสนะไว้ ๒ แห่งจริงหรือ”
พระอุปนันทะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆะบุรุษ ไฉนเธอผู้เดียวจึงหวงเสนาสนะ
ไว้ถึง ๒ แห่งเล่า โมฆบุรุษ เธอถือในที่นั้นแล้วสละในที่นี้ ถือในที่นี้แล้วสละในที่นั้น
โมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้เธอก็จะคลาดจากเสนาสนะทั้ง ๒ แห่ง โมฆบุรุษ การ
กระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ
ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปเดียวไม่พึงหวง
เสนาสนะไว้ ๒ แห่ง รูปใดหวงไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องตรัสวันยกถา
[๓๒๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสวินัยกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงพรรณนา
คุณแห่งพระวินัย ตรัสสรรเสริญการเรียนพระวินัย ทรงพรรณนาคุณของท่านพระ
อุบาลีโดยประการต่าง ๆ
ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสวินัยกถา ทรงพรรรนา
คุณแห่งพระวินัย ตรัสสรรเสริญการเรียนพระวินัย ทรงพรรณนาคุณของท่านพระ
อุบาลีโดยประการต่าง ๆ ขอให้พวกเรามาเรียนพระวินัยในสำนักของท่านพระอุบาลี
กันเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นจำนวนมากเป็นเถระก็มี เป็นนวกะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มีพากันเล่า
เรียนพระวินัยในสำนักของท่านพระอุบาลี ท่านพระอุบาลีก็ยืนสอนด้วยความเคารพ
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ฝ่ายภิกษุเถระทั้งหลายก็ยืนเรียนด้วยความเคารพธรรม
ด้วยเหตุนี้ ภิกษุเถระทั้งหลายก็เมื่อยล้า และท่านพระอุบาลีก็เมื่อยล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนวกะผู้สอนนั่งบน
อาสนะเสมอกันหรือสูงกว่า(ภิกษุผู้เรียนที่เป็นเถระ)ได้ ด้วยความเคารพธรรม ให้ภิกษุ
ผู้เถระผู้เรียนนั่งบนอาสนะเสมอกันหรือต่ำกว่า(พระผู้สอนที่เป็นนวกะ)ได้ ด้วยความ
เคารพธรรม”
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากยืนรอคอยจะเรียนพระวินัยในสำนักของท่านพระอุบาลี
จนเมื่อยล้า
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุมีอาสนะ๑ระดับ
เดียวกันนั่งรวมกันได้”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ที่ชื่อว่าภิกษุมีอาสนะระดับเดียวกัน
ด้วยคุณสมบัติเท่าไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีพรรษาแก่กว่า
กันอ่อนกว่ากันระหว่าง ๓ พรรษานั่งรวมกันได้”
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนหลายรูปมีอาสนะระดับเดียวกันนั่งบนเตียงเดียวกัน ทำให้
เตียงหัก นั่งบนตั่งเดียวกัน ทำให้ตั่งหัก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงละ ๓ รูป ตั่งละ ๓
รูป”
แม้ภิกษุ ๓ รูปนั่งบนเตียงก็ทำให้เตียงหัก นั่งบนตั่งก็ทำให้ตั่งหัก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ อาสนะ ในที่นี้ มีความหมายใช้แทน พรรษา (ดู วิ.อ. ๓/๓๒๐/๓๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงละ ๒ รูป ตั่งละ
๒ รูป”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงที่จะนั่งบนอาสนะยาวร่วมกับภิกษุผู้มีอาสนะ
ต่างระดับกัน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งบนอาสนะยาวร่วม
กับภิกษุที่มีอาสนะต่างระดับกันได้ ยกเว้นบัณเฑาะก์ มาตุคาม อุภโตพยัญชนก”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อาสนะยาวที่สุดกำหนดไว้เท่าไร ฯลฯ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาสนะยาวที่สุดนั่งได้ ๓ รูป”
สมัยนั้น นางวิสาขามิคารมาตาประสงค์จะให้สร้างปราสาทมีระเบียงและมีหลังคา
ดังเทริดตั้งอยู่บนกระพองช้างถวายสงฆ์ ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการใช้สอยปราสาทหรือยังไม่ได้ทรงอนุญาต”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้สอยปราสาททุกอย่าง”
สมัยนั้น สมเด็จพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศลทิวงคต เพราะการทิวงคตนั้น
เครื่องอกัปปิยภัณฑ์จำนวนมากจึงเกิดขึ้นแก่สงฆ์ คือ

๑. เตียงมีเท้าสูงเกินขนาด ๒. เตียงมีเท้าเป็นรูปสัตว์ร้าย
๓. พรมขนสัตว์ ๔. เครื่องลาดขนแกะลายวิจิตร
๕. เครื่องลาดขนแกะมีสีขาว ๖. เครื่องลาดมีรูปดอกไม้
๗. เครื่องลาดยัดนุ่น ๘. เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูป
สัตว์ร้ายเช่นราชสีห์และเสือ
๙. เครื่องลาดขนแกะมีขน ๒ ด้าน ๑๐. เครื่องลาดขนแกะมีขนด้านเดียว
๑๐. เครื่องลาดปักด้วยไหมประดับรัตนะ ๑๒. เครื่องลาดผ้าไหมประดับรัตนะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น