Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๗-๔ หน้า ๑๔๑ - ๑๘๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗-๔ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร

๑๓. เครื่องลาดขนแกะขนาดใหญ่ ๑๔. เครื่องลาดบนหลังช้าง
ที่นางฟ้อน ๑๖ คนร่ายรำ
๑๕. เครื่องลาดบนหลังม้า ๑๖. เครื่องลาดในรถ
๑๗. เครื่องลาดทำด้วยหนังเสือ ๑๘. เครื่องลาดหนังชะมด
๑๙. เครื่องลาดมีเพดาน ๒๐. เครื่องลาดมีหมอน ๒ ข้าง

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดเท้าเก้าอี้นอนแล้ว
ใช้สอยได้ ให้ทำลายรูปสัตว์ร้ายเตียงใหญ่แล้วใช้สอยได้ ให้รื้อฟูกที่ยัดนุ่นทำเป็นหมอน
แล้วใช้สอยได้ นอกจากนี้ให้ทำเป็นเครื่องลาดพื้น”
อวิสสัชชิยวัตถุ
ว่าด้วยของที่ไม่พึงสละ
[๓๒๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ประจำในอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง ไม่ห่าง
จากกรุงสาวัตถี จัดแจงเสนาสนะแก่พวกภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมจะออกเดินทาง
ได้รับความลำบาก ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “เวลานี้พวกเราจัด
แจงเสนาสนะแก่พวกภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมจะออกเดินทางได้รับความลำบาก
ท่านทั้งหลาย เอาเถอะ พวกเราจะมอบเสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมด แก่ภิกษุรูปหนึ่ง
จะใช้สอยเสนาสนะของเธอ” ภิกษุเหล่านั้นได้ให้เสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมดแก่ภิกษุรูป
หนึ่ง ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ประจำในอาวาสเหล่านั้น
ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านโปรดจัดเสนาสนะให้พวกกระผมเถิด”
ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายตอบว่า “เสนาสนะของสงฆ์ไม่มีหรอกท่าน
เสนาสนะทั้งหมด พวกเรามอบให้ภิกษุรูปหนึ่งไปแล้ว”
ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายถามว่า “พวกท่านมอบเสนาสนะของสงฆ์ให้ภิกษุรูป
หนึ่งไปแล้วหรือ”
ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายตอบว่า “ใช่แล้ว ท่านทั้งหลาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจึงสละเสนาสนะที่เป็นของสงฆ์เล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก
ภิกษุสละเสนาสนะของสงฆ์ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงสละเสนาสนะของสงฆ์เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ไม่ได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ของที่สละไม่ได้ ๕ หมวด สงฆ์ คณะหรือบุคคลไม่พึงสละ แม้สละ
แล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ของที่ไม่ควรสละ ๕ หมวด คืออะไรบ้าง คือ
๑. อาราม พื้นที่อาราม นี้เป็นของที่ไม่ควรสละอันดับที่ ๑ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๒. วิหาร พื้นที่วิหาร นี้เป็นของที่ไม่ควรสละอันดับที่ ๒ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๓. เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้เป็นของที่ไม่ควรสละอันดับที่ ๓ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคล ไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๔. หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง
จอบ สว่าน นี้เป็นของที่ไม่ควรสละอันดับที่ ๔ สงฆ์ คณะหรือ
บุคคลไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
๕. เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดิน
เครื่องไม้และ เครื่องดินนี้เป็นของที่ไม่ควรสละอันดับที่ ๕ สงฆ์ คณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
หรือบุคคลไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ
ต้อง อาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ของที่สละไม่ได้ ๕ หมวดเหล่านี้แล สงฆ์ คณะหรือบุคคล
ไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
อเวภังคิยวัตถุ
ว่าด้วยของที่ไม่พึงแบ่ง
เรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
[๓๒๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ตามพระอัธยาศัย
แล้ว ได้เสด็จจาริกไปกีฏาคิรีชนบท พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป
รวมทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะทราบข่าวแล้วปรึกษากันว่า “พระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมากีฏาคิรีชนบท พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป รวมทั้ง
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ พวกเราจะแบ่งเสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมด พระ
สารีบุตรและพระโมคคัลลานะมีความปรารถนาชั่ว ตกอยู่ในอำนาจความปรารถนาชั่ว
พวกเราจะไม่จัดเสนาสนะให้ท่านทั้ง ๒ นั้น” พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะนั้น จึง
แบ่งเสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมด
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกีฏาคิรีชนบทแล้ว ครั้น
แล้วได้รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไปหาภิกษุอัสสชิและภิกษุ
ปุนัพพสุกะแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคเสด็จมาพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป รวมทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ขอให้ท่านทั้งหลายจง
จัดเสนาสนะถวายพระผู้มีพระภาค ภิกษุสงฆ์ รวมทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ”
ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วเข้าไปหาพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
จนถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะดังนี้ว่า “พระผู้มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระภาคเสด็จมาพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป รวมทั้งพระสารีบุตร
และพระโมคคัลลานะ ขอให้ท่านทั้งหลายจงจัดเสนาสนะถวายพระผู้มีพระภาค
ภิกษุสงฆ์รวมทั้งพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ”
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะตอบว่า “ท่านทั้งหลาย เสนาสนะของสงฆ์ไม่มี
พวกเราแบ่งกันหมดแล้ว พระผู้มีพระภาคเสด็จมาดีแล้ว โปรดประทับในวิหารที่ทรง
พระประสงค์เถิด พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะผู้มีความปรารถนาชั่ว ตกอยู่ใน
อำนาจความปรารถนาชั่ว พวกเราไม่จัดเสนาสนะให้ท่านทั้ง ๒ นั้น”
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “พวกท่านแบ่งเสนาสนะของสงฆ์หรือ”
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะตอบว่า “ใช่แล้ว ท่านทั้งหลาย”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจึงแบ่งเสนาสนะของสงฆ์เล่า”
ลำดับนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพระ
อัสสชิและภิกษุปุนัพพสุกะแบ่งเสนาสนะของสงฆ์จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึง
แบ่งเสนาสนะของสงฆ์เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ไม่ได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวด สงฆ์ คณะหรือบุคคลไม่พึงแบ่ง แม้
แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวด คือ
๑. อาราม พื้นที่อาราม นี้เป็นของ ที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ ๑ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
๒. วิหาร พื้นที่วิหาร นี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ ๒ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคล ไม่พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๓. เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ ๓ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๔. หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง
จอบ สว่าน นี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ ๔ สงฆ์ คณะหรือ
บุคคลไม่พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
๕. เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดิน
เครื่องไม้และ เครื่องดินนี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ ๕ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงแบ่ง แม้แบ่ง แล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวดเหล่านี้แล สงฆ์ คณะหรือบุคคลไม่
พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
นวกัมมทานกถา
ว่าด้วยวิธีการที่ภิกษุให้นวกรรม
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวีให้นวกรรม
[๓๒๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กีฏาคิรีชนบทตามพระอัธยาศัย
แล้ว ได้เสด็จจาริกไปทางเมืองอาฬวี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงเมืองอาฬวี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ ในเมืองอาฬวีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ให้นวกรรมอย่างนี้ คือ ให้นวกรรม๑
ด้วยอาการเพียงวางก้อนดินบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงฉาบทาฝาบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงติดตั้งประตูบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดสายยูบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงติดตั้งกรอบเช็ดหน้าบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีขาวบ้าง
ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีดำบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีเหลืองบ้าง
ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงมุงหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงผูกมัดหลังคาบ้าง
ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดไม้หลบหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียง
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรมบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงขัดถูบ้าง ให้นวกรรม
๒๐ ปีบ้าง ให้นวกรรม ๓๐ ปีบ้าง ให้นวกรรมตลอดชีวิตบ้าง ให้นวกรรมวิหาร
ที่สร้างเสร็จแล้ว ชั่วเวลาแห่งควันไฟบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุชาวเมืองอาฬวีจึงมอบนวกรรมให้อย่างนี้ คือ ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงวาง
ก้อนดินบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงฉาบทาฝาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียง
ติดตั้งประตูบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดสายยูให้บ้าง ให้นวกรรมด้วย
อาการเพียงติดกรอบเช็ดหน้าบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีขาวบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงทาสีดำบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีเหลืองบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงมุงหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงผูกมัดหลังคาบ้าง ให้
นวกรรมด้วยอาการเพียงติดไม้หลบหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงปฏิสังขรณ์
เสนาสนะที่ทรุดโทรมบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงขัดถูบ้าง ให้นวกรรม ๒๐
ปีบ้าง ให้นวกรรม ๓๐ ปีบ้าง ให้นวกรรมตลอดชีวิตบ้าง ให้นวกรรมวิหารที่สร้าง
เสร็จแล้ว ชั่วเวลาแห่งควันไฟบ้าง”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ให้นวกรรม หมายถึงให้นวกรรมสมมติ (วิมติ.ฏีกา ๒/๓๒๓/๓๒๑) คืออนุมัติการก่อสร้าง หรืออนุญาต
ให้ก่อสร้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ฯลฯ
จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงวางก้อนดิน ... ไม่พึงให้
นวกรรมด้วยอาการเพียงฉาบทาฝา ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดตั้งประตู
... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดสายยู ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติด
ตั้งกรอบเช็ดหน้า ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีขาว ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วย
อาการเพียงทาสีดำ ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีเหลือง ... ไม่พึงให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงมุงหลังคา ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงผูกหลังคา ... ไม่
พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดให้หลบหลังคา ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียง
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงขัดถู ... ไม่พึงให้
นวกรรม ๒๐ ปี ... ไม่พึงให้นวกรรม ๓๐ ปี ... ไม่พึงให้นวกรรมตลอดชีวิต ... ไม่พึง
ให้นวกรรมวิหารที่สร้างเสร็จแล้ว ชั่วเวลาแห่งควันไฟ รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุให้นวกรรมวิหารที่ยังไม่ได้สร้าง หรือที่สร้าง
ค้างไว้ ให้ตรวจดูวิหารเล็กแล้วให้นวกรรม ๕-๖ ปี ให้ตรวจดูงานในเรือนมุงแถบ
เดียวแล้ว ให้นวกรรม ๗-๘ ปี ให้ตรวจดูงานในวิหารใหญ่หรือปราสาทแล้วให้
นวกรรม ๑๐-๑๒ ปี”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง
รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมใน ๒ แห่งแก่ภิกษุรูปเดียว ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมวิหาร ๒ แห่ง
แก่ภิกษุรูปเดียว รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วมอบให้ภิกษุอื่น ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับนวกรรมแล้วมอบให้
ผู้อื่น รูปใดรับนวกรรมแล้วมอบให้ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วกีดกันเสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับนวกรรมแล้วกีดกัน
เสนาสนะของสงฆ์ รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือ
เอาที่นอนอย่างดีแห่งหนึ่ง”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมแก่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ให้นวกรรมแก่ภิกษุผู้อยู่นอก
สีมา รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วกีดกันอยู่ตลอดเวลา ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับนวกรรมแล้วกีดกัน
ตลอด เวลา รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กันไว้ชั่ว
๓ เดือน ฤดูฝน แต่ไม่ให้กีดกันไว้ตลอดฤดูกาล”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วหลีกไปบ้าง สึกบ้าง มรณภาพบ้าง
ปฏิญญาเป็นสามเณรบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้บอกคืนสิกขาบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติม-
วัตถุบ้าง๑ ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริตบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้

เชิงอรรถ :
๑ อันติมวัตถุ หมายถึง อาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
กระสับกระส่ายเพราะเวทนาบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติบ้าง ปฏิญญา
เป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ยอมสละทิฏฐิบาปบ้าง ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์บ้าง
ปฏิญญาเป็นคนลักเพศบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์บ้าง ปฏิญญาเป็นสัตว์
ดิรัจฉานบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดาบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่ามารดาบ้าง ปฏิญญาเป็น
ผู้ฆ่าพระอรหันต์บ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณีบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ทำสงฆ์
ให้แตกกันบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิตบ้าง ปฏิญญาเป็น
อุภโตพยัญชนกบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้ว
หลีกไป สงฆ์พึงให้นวกรรมแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่าได้เสียหาย”
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วสึก ฯลฯ มรณภาพ
ปฏิญญาเป็นสามเณร ปฏิญญาเป็นผู้บอกคืนสิกขา ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ
ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่าย
เพราะเวทนา ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ปฏิญญา
เป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาป ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ ปฏิญญา
เป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญญาเป็น
ผู้ฆ่ามารดา ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญา
เป็นผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต ปฏิญญา
เป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึงให้นวกรรมแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่า
ได้เสียหาย”
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วหลีกไปเมื่อยังทำไม่เสร็จ
สงฆ์พึงมอบนวกรรมให้ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่าได้เสียหาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วสึกไปเมื่อยังทำไม่เสร็จ
ฯลฯ มรณภาพ ฯลฯ ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึงมอบนวกรรมให้ภิกษุอื่น
ด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่าได้เสียหาย”
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วหลีกไป เมื่อทำเสร็จแล้ว
นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วสึกไปเมื่อทำเสร็จแล้ว ฯลฯ
มรณภาพ ปฏิญญาเป็นสามเณร ผู้บอกลาสิกขา ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้ว พอทำเสร็จก็ปฏิญญา
เป็นผู้วิกลจริต ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะ
เวทนา ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ปฏิญญาเป็น
ผู้ถูกลง อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาป นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้ว พอทำเสร็จก็ปฏิญญา
เป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็น
สัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญญาเป็นคนฆ่าบิดา ปฏิญญาเป็นคนฆ่ามารดา ปฏิญญาเป็นคน
ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญาเป็นผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน
ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก
สงฆ์เป็นเจ้าของ
อัญญตรปริโภคปฏิกเขปาทิ
ว่าด้วยการห้ามใช้เสนาสนะผิดที่เป็นต้น
[๓๒๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้นำเสนาสนะเครื่องใช้สอยประจำในวิหารของ
อุบาสกคนหนึ่งไปใช้สอยที่อื่น อุบาสกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ท่านพระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงนำเครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่งไปใช้สอยในที่แห่งหนึ่งเล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่ง ไม่พึงนำ
ไปใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่ง รูปใดนำไปใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”๑
เรื่องทรงอนุญาตให้ยืมเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงที่จะนำเสนาสนะเครื่องใช้สอยไปโรงอุโบสถบ้าง
ที่ประชุมบ้าง จึงนั่งบนพื้นดิน เนื้อตัวและจีวรจึงเปื้อนฝุ่น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปใช้ได้ชั่วคราว”๑
เรื่องทรงอนุญาตให้เก็บรักษาเสนาสนะ
สมัยนั้น วิหารหลังใหญ่ของสงฆ์เกิดชำรุด ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่จึงไม่นำ
เสนาสนะออกไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปเก็บรักษาไว้”
เรื่องทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยน(เรื่องที่ ๑)
สมัยนั้น ผ้ากัมพลราคาแพงซึ่งเป็นบริขารประจำเสนาสนะเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์
แก่ผาติกรรม”๒

เชิงอรรถ :
๑ วิ.มหา. (แปล) ๑/๑๕๗/๑๓๐
๒ ผาติกรรม หมายถึงการทำให้เพิ่มพูนโดยนำไปแลกเปลี่ยนกับเตียงตั่งเป็นต้นที่มีราคาเท่ากันหรือมีราคา
มากกว่า ไม่ให้ต่ำว่าราคาของเดิม (วิ.อ. ๓/๓๒๔/๓๕๕, วิมติ.ฏีกา ๒/๓๒๔/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยน(เรื่องที่ ๒)
สมัยนั้น ผ้าราคาแพงซึ่งเป็นบริขารประจำเสนาสนะเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์
แก่ผาติกรรม”
เรื่องทรงอนุญาตผ้าเช็ดเท้า
สมัยนั้น หนังหมีเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้
มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นเครื่องเช็ดเท้า”
สมัยนั้น เครื่องเช็ดเท้าทรงกลมเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นเครื่องเช็ดเท้า”
สมัยนั้น ผ้าท่อนน้อยเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า”
เรื่องห้ามภิกษุเท้าเปื้อนเหยียบเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุไม่ล้างเท้าเหยียบเสนาสนะ เสนาสนะเสียหาย ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ล้างเท้าไม่พึงเหยียบเสนาสนะ
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องห้ามภิกษุเท้าเปียกเหยียบเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุเท้าเปียกเหยียบเสนาสนะ เสนาสนะเสียหาย ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเท้าเปียกไม่พึงเหยียบเสนาสนะ
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องห้ามภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ เสนาสนะเสียหาย ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ
ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องห้ามภิกษุถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม พื้นผิวเสียหาย ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม
รูปใดถ่ม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้กระโถน”
เรื่องทรงอนุญาตผ้าพันเท้าเตียงและตั่ง
สมัยนั้น เท้าเตียงและตั่งครูดพื้นที่ทำบริกรรม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าพัน”
สมัยนั้น ภิกษุพิงฝาที่ทำบริกรรม๑ ความงดงามเสียไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงพิงฝาที่ทำบริกรรม รูปใดพิง
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตพนักพิง”

เชิงอรรถ :
๑ ฝาที่ทำบริกรรม หมายถึงฝาสีขาว หรือฝาที่มีลวดลายจิตรกรรม (วิ.อ. ๓/๓๒๔/๓๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พนักพิงส่วนล่างครูดพื้น ส่วนบนครูดฝา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าพันทั้งข้างล่างและ
ข้างบน”
เรื่องทรงอนุญาตให้ปูผ้านอน
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายล้างเท้าแล้วยำเกรงที่จะนอน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูผ้านอน”
สังฆภัตตาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตสังฆภัตเป็นต้น
[๓๒๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองอาฬวีตามพระอัธยาศัยแล้ว
เสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงราชคฤห์ ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต ในกรุงราชคฤห์นั้น
สมัยนั้น กรุงราชคฤห์เกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนไม่สามารถจะจัดสังฆภัต
แต่ปรารถนาจัดอุทเทสภัต นิมันตนภัต สลากภัต ปักขิกภัต อุโปสถิกภัต ปาฏิปทิกภัต
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆภัต อุทเทสภัต
นิมันตนภัต สลากภัต ปักขิกภัต อุโปสถิกภัต ปาฏิปทิกภัต”
ภัตตุทเทสกสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งพระภัตตุเทสก์
[๓๒๖] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับภัตตาหารอันประณีตไว้เพื่อตัวเอง
ให้ภัตตาหารเลวแก่ภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่างเป็นพระภัตตุทเทสก์ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักอาหารที่แจกและอาหารที่ยังไม่ได้แจก
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ครั้นแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็น
ภัตตุทเทศก์ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นภัตตุทเทสก์ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นภัตตุทเทสก์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นภัตตุทเทสก์แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
วิธีแจกภัต
ครั้งนั้น ภิกษุภัตตุทเทสก์ทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราพึงแจกภัต
อย่างไร” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เขียนชื่อลงในสลากหรือ
แผ่นผ้ารวมกันแล้วแจกภัต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เสนาสนปัญญาปกาทิสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะเป็นต้น
[๓๒๗] สมัยนั้น สงฆ์ยังไม่มีภิกษุผู้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ฯลฯ ไม่มีภิกษุผู้
รักษาเรือนคลัง ไม่มีภิกษุผู้รับจีวร ไม่มีภิกษุผู้แจกจีวร ไม่มีภิกษุผู้แจกข้าวต้ม ไม่มี
ภิกษุผู้แจกผลไม้ ไม่มีภิกษุผู้แจกของเคี้ยว ของเคี้ยวที่ยังไม่ได้แจกย่อมเสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่างเป็นผู้แจกของเคี้ยว คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักของเคี้ยวที่แจกและของเคี้ยวที่ยังไม่ได้แจก
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ครั้นแล้ว
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็พึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็น
ผู้แจกของเคี้ยว นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้แจกของเคี้ยว
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้แจกของเคี้ยว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้แจกของเคี้ยว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
อัปปมัตตกวิสสัชชกสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุผู้แจกของเล็กน้อย
[๓๒๘] สมัยนั้น สงฆ์ได้บริขารเล็ก ๆ น้อย ๆ ในเรือนคลังเหลือเฟือ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่างเป็นผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แจกและของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ยังไม่ได้แจก
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ครั้นแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็น
ผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้แจกของเล็ก ๆ
น้อย ๆ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่าน
รูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุ
นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
เรื่องของเล็กน้อยที่ควรแจก
ภิกษุผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ พึงให้เข็ม ๑ เล่ม พึงให้มีด พึงให้รองเท้า พึง
ให้ประคดเอว พึงให้สายโยกบาตร พึงให้ผ้ากรองน้ำ พึงให้ที่กรองน้ำ พึงให้ผ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
กุสิ๑ พึงให้ผ้าอัฑฒกุสิ๒ พึงให้ผ้ามณฑล๓ พึงให้ผ้าอัฑฒมณฑล๔ พึงให้ผ้าอนุวาต๕
พึงให้ผ้าปริภัณฑ์ ถ้าสงฆ์มีเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้งหรือน้ำอ้อยก็ควรให้ลิ้มได้คราวหนึ่ง
ถ้าต้องการอีกก็ควรให้อีก
สาฏิยัคคาหาปกาทิสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุผู้แจกผ้าเป็นต้น
สมัยนั้น สงฆ์ยังไม่มีภิกษุผู้แจกผ้า ฯลฯ ไม่มีภิกษุผู้แจกบาตร ฯลฯ
ไม่มีภิกษุผู้ใช้คนวัด ฯลฯ ไม่มีภิกษุผู้ใช้สามเณร สามเณรทั้งหลายที่ภิกษุไม่ใช้ ย่อม
ไม่ทำงาน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่างเป็นผู้ใช้สามเณร คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักงานที่ควรใช้และงานที่ยังไม่ได้ใช้
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ครั้นแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้
ใช้สามเณร นี่เป็นญัตติ

เชิงอรรถ :
๑ กุสิ คือ ผ้ายาวที่ตั้งติดขอบจีวรทั้ง ๒ ด้าน คั่นระหว่างขัณฑ์กับขัณฑ์ของจีวร
๒ อัฑฒกุสิ คือ ผ้าสั้นที่แทรกอยู่เป็นตอน ๆ ในระหว่างผ้ายาว ดุจคันนาขวาง
๓ มณฑล คือ ผ้ามีบริเวณกว้างใหญ่ในแต่ละขัณฑ์ของจีวร ๕ ขัณฑ์
๔ อัฑฒมณฑล คือ ผ้าชิ้นส่วนของจีวรที่มีบริเวณเล็ก ๆ
๕ อนุวาต คือ ผ้าขอบจีวร (คำอธิบายศัพท์เหล่านี้ทั้งหมด ดู วิ.อ.๓/๓๔๕/๒๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้ใช้สามเณร ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้ใช้สามเณร ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้ใช้สามเณร สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ตติยภาณวาร จบ
เสนาสนขันธกะที่ ๖ จบ
รวมเรื่องที่มีในเสนาสนขันธกะ
เรื่องที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ได้ทรงบัญญัติเสนาสนะ
พระสาวกของพระองค์อยู่ตามป่าและโคนไม้เป็นต้นนั้น ๆ
ตอนเช้าตรู่ออกมาจากที่อยู่ เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์เห็นแล้ว
ได้กล่าวแก่ภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหาร
พระคุณเจ้าทั้งหลายจะอยู่หรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด คือ
วิหาร เรือนมุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์สร้างวิหารถวาย ๖๐ หลัง
เรื่องประชาชนสร้างวิหาร เรื่องวิหารไม่มีบานประตู
ภิกษุไม่ระวัง งู แมงป่อง ตะขาบจึงเข้าไป
เรื่องพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตบานประตู
กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน
ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก สายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม
กลอน ลูกดาลโลหะ ลูกดาลไม้ ลูกดาลเขาสัตว์ ลิ่มยนต์
ทรงอนุญาตหลังคาโบกฉาบดินทั้งภายในภายนอก
หน้าต่างมีลวดลายทำเป็นกะบัง(ชุกชี) หน้าต่างมีตาข่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
หน้าต่างมีลูกกรง ผ้าผืนเล็กสำหรับกั้นหน้าต่าง
ม่านหน้าต่าง
ทรงอนุญาตหญ้ารองนั่ง ตั่งไม้ เตียงสาน
เตียงชนิดมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้าที่ทิ้งไว้ในป่าช้า
ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้า เตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า
ตั่งมีแม่แคร่ติดกับเท้า เตียงมีเท้าดังก้ามปู ตั่งมีเท้าดังก้ามปู
เตียงมีเท้าจดแม่แคร่ ตั่งมีเท้าจดแม่แคร่ ม้านั่งสี่เหลี่ยม
ม้าสี่เหลี่ยมสูง ม้านั่งสี่เหลี่ยมสูงมีพนัก ๓ ด้าน
ม้านั่งสี่เหลี่ยมมีพนัก ๓ ด้านชนิดสูง
ทรงอนุญาตตั่งหวาย ตั่งหุ้มด้วยผ้า ตั่งขาทราย
ตั่งก้านมะขามป้อม แผ่นกระดาน เก้าอี้ ตั่งฟาง
เรื่องทรงห้ามนอนบนเตียงสูง เรื่องภิกษุนอนเตียงต่ำ
ถูกงูกัดจึงทรงอนุญาตไม้หนุนเท้าเตียง
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไม้หนุนเท้าเตียงสูง ๘ นิ้ว
เป็นอย่างมาก
ทรงอนุญาตด้ายถักเตียง ทรงอนุญาตให้เจาะตัวแม่แคร่แล้ว
ถักเป็นตาหมากรุก ทรงอนุญาตให้ทำท่อนผ้าผืนเล็ก ๆ
เป็นผ้าปูพื้น ทรงอนุญาตให้สางนุ่นแล้วทำเป็นหมอน
ทรงห้ามใช้หมอนยาวขนาดกึ่งกาย(หมอนข้าง)
เรื่องมหรสพบนยอดเขา ทรงอนุญาตฟูก ๕ ชนิด
ทรงอนุญาตผ้าสำหรับใช้สอยประจำเสนาสนะหุ้มฟูก
ทรงอนุญาตเตียงหุ้มฟูกและตั่งหุ้มฟูก
ฟูกย้อยลงข้างล่าง โจรลักเอาผ้าหุ้มฟูกไป
ทรงอนุญาตให้เขียนแต้มไว้ ให้ทำตำหนิด้วยรอยนิ้วมือไว้
เรื่องที่อยู่พวกเดียรถีย์มีสีขาวแต่พื้นสีดำ
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตสีขาว สีดำ สีเหลืองในวิหาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
ทรงอนุญาตดินปนแกลบ ดินละเอียด ยางไม้
แป้งเปียก ดินปนแกลบ แป้งเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ขี้ผึ้งเหลว แป้งหนาเกินไป ทรงอนุญาตให้ใช้ผ้าเช็ดออก
พื้นหยาบ สีดำไม่เกาะติด ทรงอนุญาตให้ใส่ดินปนแกลบ
ทำให้สีดำเกาะติด ทรงอนุญาตยางไม้ น้ำฝาด
เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรม
เรื่องวิหารมีพื้นที่ต่ำ เรื่องดินที่ถมพังทะลาย
เรื่องภิกษุขึ้นลงลำบาก เรื่องภิกษุขึ้นลงพลัดตกลงมา
เรื่องวิหารมีพื้นเป็นลานโล่ง
ทรงอนุญาตกั้นฝาครึ่งหนึ่ง ทรงอนุญาตห้องภายใน ๓ ชนิด
ทรงอนุญาตให้กั้นห้องไว้ด้านหนึ่งในวิหารเล็ก
เรื่องเชิงฝาวิหารชำรุด ฝาผนังวิหารถูกฝนสาด
เรื่องงูตกจากหลังคามุ่งหญ้าลงมาที่คอของภิกษุ
ท่านตกใจร้องเสียงลั่น ทรงอนุญาตไม้เดือยติดฝา
ราวจีวร ระเบียงกับแผงเลื่อนฝาค้ำ
เรื่องทรงอนุญาตราวสำหรับยึดขึ้นหอฉัน
ผงหญ้าที่มุงหอฉันดังกล่าวในหนหลังตกเกลื่อน
ภิกษุปูจีวรบนพื้นดินกลางแจ้ง
น้ำดื่มถูกแดดจึงร้อน ทรงอนุญาตศาลาน้ำดื่ม
ไม่มีภาชนะสำหรับตักน้ำ
เรื่องวิหารไม่มีรั้วล้อม ซุ้มประตูไม่มี บริเวณเป็นโคลนตม
ทรงอนุญาตศาลาไฟ เรื่องอารามไม่มีรั้วล้อม
ซุ้มประตูดังกล่าวในหนหลังไม่มี ทรงอนุญาตปูนขาว
เรื่องอนาถบิณฑิกคหบดีมีศรัทธาไปป่าสีตวัน เห็นธรรมแล้ว
กราบทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคพร้อมกับภิกษุสงฆ์
ไปจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
ระหว่างทางท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้ชักชวนประชาชนสร้างอาราม
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตนวกรรมในกรุงเวสาลี
เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ล่วงหน้ารีบไปจองเสนาสนะ
เรื่องใครควรได้ภัตอันเลิศ ทรงแสดงติตติริยพรหมจรรย์
ทรงแสดงบุคคลที่ไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก
เรื่องพวกอันเตวาสิกของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จับจองเสนาสนะ
เรื่องประชาชนตกแต่งที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ในละแวกบ้าน
ตกแต่งเตียงตั่งยัดนุ่น
พระผู้มีพระภาคเสด็จกรุงสาวัตถี
อนาถบิณฑิกคหบดีถวายอาราม
เกิดเหตุการณ์วุ่นวายในโรงอาหาร
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์บังคับภิกษุเป็นไข้ให้ย้ายที่
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยึดเอาที่นอนดี ๆ
กีดกันอาสนะไว้โดยอ้างเลิศ
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ซ่อมแซมวิหารอยู่จำพรรษาในที่นั้น
ภิกษุปรึกษากันว่าใครจะพึงจัดแจงให้ภิกษุถือเสนาสนะ
ภิกษุเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะปรึกษากันว่า
ควรให้ถือเสนาสนะอย่างไร
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้แจกตามจำนวนที่นอน
ตามจำนวนวิหาร ตามจำนวนบริเวณ
ทรงอนุญาตให้แจกส่วนเพิ่มอีก เมื่อไม่ปรารถนาก็อย่าให้
พวกภิกษุให้ภิกษุอยู่นอกสีมาถือเสนาสนะ
พวกภิกษุหวงเสนาสนะไว้ตลอดเวลา
ทรงแสดงการให้ถือเสนาสนะ ๓ อย่าง
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจองเสนาสนะ
พระผู้มีพระภาคทรงพรรณนาคุณแห่งพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
พวกภิกษุยืนเรียนพระวินัย ทรงอนุญาตให้นั่งบนอาสนะ
เสมอกันเรียนพระวินัย ภิกษุหลายรูปนั่งบนอาสนะระดับเดียวกัน
ทำให้เตียงหัก ทรงอนุญาตให้นั่งได้เตียงละ ๓ รูป ๒ รูป
ทรงอนุญาตให้นั่งบนอาสนะยาวร่วมกับผู้มีอาสนะต่างระดับ
ทรงอนุญาตให้ใช้สอยปราสาทมีระเบียง
สมเด็จพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศลทิวงคต
เครื่องกัปปิยภัณฑ์เป็นจำนวนมากเกิดขึ้นแก่สงฆ์
ภิกษุจัดแจงเสนาสนะสงฆ์อยู่ไม่ไกลกรุงราชคฤห์
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะอยู่ที่กีฏาคิรีชนบท
แบ่งเสนาสนะสงฆ์
ภิกษุชาวเมืองอาฬวี ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงวางก้อนดิน
ฉาบทาฝา ติดตั้งบานประตู ติดสายยู ติดตั้งกรอบเช็ดหน้า
ทาสีขาว ทาสีดำ ทาสีเหลือง มุงหลังคา ผูกมัดหลังคา
ติดไม้หลบหลังคา ปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดทรุดโทรม ขัดถู
ให้นวกรรม ๒๐-๓๐ ปี ให้ในวิหารที่สร้างเสร็จแล้ว
ชั่วเวลาควันไฟ
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุให้นวกรรมวิหารที่ยังไม่ได้สร้าง
ที่สร้างค้างไว้ ให้ตรวจดูงานในวิหารเล็กแล้วให้นวกรรม
๕-๖ ปี ให้ตรวจดูงานในเรือนที่มุงแถบเดียว
แล้วให้นวกรรม ๗-๘ ปี ให้ตรวจดูงาน
ในวิหารหรือปราสาทใหญ่ แล้วให้นวกรรม ๑๐ ปี ๑๒ ปี
ภิกษุให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง ภิกษุให้นวกรรม ๒ แห่ง
แก่ภิกษุรูปเดียว ภิกษุรับนวกรรมแล้วมอบให้ภิกษุอื่น
ภิกษุรับนวกรรมแล้วกีดกันเสนาสนะสงฆ์ไว้
ภิกษุให้นวกรรมแก่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
ภิกษุรับเอานวกรรมแล้วหวงไว้ตลอดเวลา
ภิกษุรับเอานวกรรมแล้วหลีกไป สึก มรณภาพ
ปฏิญญาเป็นสามเณร ปฏิญญาเป็นผู้บอกคืนสิกขา
ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริต
ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ
ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ปฏิญญาเป็นคนฆ่าบิดา ปฏิญญาเป็นคนฆ่ามารดา
ปฏิญญาเป็นคนฆ่าพระอรหันต์
ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญาเป็นผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน
ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต
ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก พึงมอบนวกรรมแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า
ท่านอย่าให้ของสงฆ์เสียหาย เมื่อยังไม่เสร็จควรมอบให้ภิกษุอื่น
เมื่อทำเสร็จแล้วหลีกไป นวกรรมเป็นของภิกษุนั้นเอง
ภิกษุสึก มรณภาพ ปฏิญญาเป็นสามเณร ลาสิกขา
เป็นปาราชิก สงฆ์เป็นเจ้าของ ภิกษุวิกลจริต
มีจิตฟุ้งซ่าน กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ถูกสงฆ์อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
เพราะไม่ทำคืนอาบัติ เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
นวกรรมนั้นเป็นของภิกษุนั้นเอง ภิกษุปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์
เป็นคนลักเพศ เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ปฏิญญาเป็นคนฆ่าบิดามารดา ปฏิญญาเป็นคนฆ่าพระอรหันต์
ปฏิญญาเป็นคนประทุษร้ายภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
ปฏิญญาเป็นคนทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต
เป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของ
เรื่องภิกษุนำเสนาสนะเครื่องใช้สอยประจำวิหารไปใช้ที่อื่น
พวกภิกษุยำเกรงที่จะนำเสนาสนะไปใช้ในโรงอุโบสถ
มหาวิหารของสงฆ์ชำรุด ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยนผ้ากัมพล
เพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรม ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยนผ้าราคาแพง
เพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรม ทรงอนุญาตให้ทำหนังหมี
เป็นเครื่องเช็ดเท้า ทรงอนุญาตเครื่องเช็ดเท้าทรงกลม
ทรงอนุญาตให้ทำผ้าท่อนน้อยเป็นผ้าเช็ดเท้า
ภิกษุไม่ล้างเท้าเหยียบเสนาสนะ ภิกษุเท้าเปียก
เหยียบเสนาสนะ ภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ
ภิกษุถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม
เท้าเตียงและเท้าตั่งครูดพื้น ภิกษุพิงฝาที่ทำบริกรรม
พนักพิงครูดพื้น
ภิกษุล้างเท้าแล้วยำเกรงที่จะนอน
เรื่องประชาชนไม่สามารถจะจัดสังฆภัต
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ภัตตาหารเลวแก่ภิกษุทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้แต่งตั้งพระภัตตุทเทสก์
ภิกษุภัตตุทเทสก์ปรึกษากันว่า จะแจกภัตตาหารอย่างไร
ทรงอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุเป็นเสนาสนปัญญาปกะ
ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ภิกษุผู้รับจีวร
ภิกษุผู้แจกจีวร ภิกษุผู้แจกข้าวต้ม
ภิกษุผู้แจกผลไม้ ภิกษุผู้แจกของเคี้ยว
ภิกษุผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ ภิกษุผู้แจกผ้า
ภิกษุผู้แจกบาตร ภิกษุผู้ใช้คนวัด ภิกษุผู้ใช้สามเณร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงครอบงำสรรพธรรม
ทรงรู้แจ้งโลก มีพระหทัยเกื้อกูล เป็นผู้นำยอดเยี่ยม
ทรงอนุญาตเสนาสนะไว้เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข
เพื่อเพ่งพินิจ และเพื่อเห็นแจ้ง ดังนี้แล
เสนาสนขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
๗. สังฆเภทขันธกะ
๑. ปฐมภาณวาร
ฉสักยปัพพัชชากถา
ว่าด้วยการบรรพชาของเจ้าศากยะ ๖ องค์
[๓๓๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อนุปิยนิคมของพวกมัลล-
กษัตริย์ ครั้งนั้น พวกศากยกุมารที่มีชื่อเสียงออกผนวชตามพระผู้มีพระภาคผู้ทรง
ผนวชแล้ว
สมัยนั้น เจ้ามหานามศากยะและเจ้าอนุรุทธศากยะทั้งสองเป็นพี่น้องกัน
เจ้าอนุรุทธศากยะเป็นกษัตริย์ผู้สุขุมาลชาติ มีปราสาท ๓ หลัง คือ ปราสาทสำหรับ
อยู่ในฤดูหนาว ๑ หลัง ปราสาทสำหรับอยู่ในฤดูร้อน ๑ หลัง ปราสาทสำหรับอยู่
ในฤดูฝน ๑ หลัง เจ้าอนุรุทธศากยะนั้นได้รับการบำรุงบำเรอด้วยดนตรีที่มีเหล่าสตรี
ล้วนขับกล่อมตลอด ๔ เดือน ในปราสาทฤดูฝน ไม่ลงมาที่ปราสาทชั้นล่างเลย
ต่อมา เจ้ามหานามศากยะได้ทรงดำริดังนี้ว่า “เวลานี้พวกศากยกุมารที่มีชื่อ
เสียงต่างออกบวชตามเสด็จพระผู้มีพระภาคผู้ทรงผนวชแล้ว แต่ตระกูลของเรายังไม่
มีใครออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ถ้ากระไร เราหรืออนุรุทธะควรบวช”
ลำดับนั้น เจ้ามหานามศากยะเข้าไปหาเจ้าอนุรุทธศายกะถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว
ได้ตรัสกับเจ้าอนุรุทธศากยะดังนี้ว่า “เวลานี้พวกศากยกุมารที่มีชื่อเสียงต่างออกบวช
ตามพระผู้มีพระภาคผู้ทรงผนวชแล้ว แต่ตระกูลของเรายังไม่มีใครออกจากเรือน บวช
เป็นบรรพชิตเลย น้องจงบวชหรือว่าพี่จะบวช”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “หม่อมฉันเป็นสุขุมาลชาติ ไม่สามารถออกบวชได้
เจ้าพี่จงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
เจ้ามหานามศากยะตรัสว่า “ดีแล้วน้องอนุรุทธะ พี่จะสั่งสอนวิธีการครองเรือน
แก่เธอเพื่อจะได้ครองเรือนต่อไป อันดับแรก ผู้ครองเรือนต้องให้ไถนา ครั้นแล้วให้
หว่านข้าว ครั้นแล้วให้ไขน้ำเข้า ครั้นแล้วให้ระบายน้ำออก ครั้นแล้วให้ถอนหญ้า ครั้น
แล้วให้เกี่ยวข้าว ครั้นแล้วให้ขนข้าว ครั้นแล้วให้ตั้งลอม ครั้นแล้วให้นวด ครั้นแล้ว
ให้สางฟางออก ครั้นแล้วฝัดข้าวลีบออก ครั้นแล้วฝัดละอองออก ครั้นแล้วให้ขนเก็บ
ในฉาง ครั้นพอถึงฤดูฝนก็ต้องทำอย่างนี้ต่อเรื่อยไป”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลถามว่า “การงานไม่มีที่จบสิ้น ที่สุดของการทำงานไม่ปรากฏ
การงานจะสิ้นไปเมื่อไร ที่สุดของการงานจักปรากฏเมื่อไร เมื่อไรเล่าที่พวกเราจักว่าง
จากการงาน เพียบพร้อมสมบูรณ์ด้วยกามคุณ ๕ บำรุงบำเรออยู่”
เจ้ามหานามศากยะตรัสตอบว่า “น้องอนุรุทธะ การงานไม่มีที่จบสิ้น ที่สุดของ
การงานไม่ปรากฏ ในเมื่อการงานยังไม่จบสิ้น มารดาบิดา ปู่ย่า ตายายก็พากันตาย
จากไป”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “ถ้าเช่นนั้น เจ้าพี่จงเรียนรู้ถึงวิธีครองเรือนจะดีกว่า
หม่อมฉันจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
จากนั้น เจ้าอนุรุทธศากยะเข้าไปเฝ้าพระมารดาถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้
กราบทูลพระมารดาดังนี้ว่า “เสด็จแม่ หม่อมฉันอยากจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เสด็จแม่โปรดอนุญาตให้หม่อมฉันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”
เมื่อเจ้าอนุรุทธศากยะกราบทูลอย่างนี้ พระมารดาตรัสตอบเจ้าอนุรุทธศากยะ
ดังนี้ว่า “ลูกอนุรุทธะ พวกเธอเป็นลูก ๒ คน เป็นที่รักที่ชอบใจของแม่เหลือเกิน
ถึงพวกเธอจะตายไป แม่ก็ไม่ปรารถนาจะจาก แล้วเหตุไฉนแม่จะยอมให้พวกเธอผู้
ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิตเล่า”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าอนุรุทธศากยะก็กราบทูลพระมารดาดังนี้ว่า “เสด็จแม่ หม่อม
ฉันอยากออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เสด็จแม่โปรดอนุญาตให้หม่อมฉันออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
เรื่องพระเจ้าภัททิยศากยะ
สมัยนั้น พระเจ้าภัททิยศากยะครองราชสมบัติของชาวศากยวงศ์ พระองค์ทรง
เป็นพระสหายของเจ้าอนุรุทธศากยะ
ครั้งนั้น พระมารดาของเจ้าอนุรุทธศากยะทรงดำริว่า “พระเจ้าภัททิยศากยะนี้
ครองราชสมบัติของชาวศากยวงศ์ ทรงเป็นพระสหายของลูกอนุรุทธะ พระองค์จะไม่
สามารถเสด็จออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิตแน่” จึงตรัสกับเจ้าอนุรุทธศากยะดังนี้
ว่า “ลุกอนุรุทธะ ถ้าพระเจ้าภัททิยศากยะจะเสด็จออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิตด้วย
ลูกก็จงบวชเถิด”
ต่อมา เจ้าอนุรุทธศากยะจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าภัททิยศากยะถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วได้ทูลพระเจ้าภัททิยศากยะดังนี้ว่า “เพื่อนรัก การบวชของเราเกี่ยวเนื่องกับ
ท่าน”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก การบวชของท่านจะเกี่ยวเนื่องกับเรา
หรือไม่เกี่ยวเนื่องกับเรา ก็ช่างเถิด เรากับท่าน ท่านจงบวชตามสบายเถิด”๑
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “มาเถิด เพื่อนรัก เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตด้วยกัน”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วย
ไม่ได้ เพื่อนบวชคนเดียวเถิด เรายินดีช่วยเหลือเรื่องที่อาจช่วยได้”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “พระมารดาของเรารับสั่งว่า ‘ลูกอนุรุทธะ ถ้าพระเจ้า
ภัททิยศากยะจะเสด็จออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิตด้วย ลูกก็จงบวชเถิด’ ก็เพื่อน
ได้กล่าววาจานี้ว่า ‘การบวชของท่านจะเกี่ยวเนื่องกับเรา หรือไม่เกี่ยวเนื่องกับเรา ก็
ช่างเถิด เรากับท่าน ท่านไปบวชตามสบายเถิด’ มาเถิด เพื่อนรัก เราทั้ง ๒ จะ
ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน”

เชิงอรรถ :
๑ ด้วยความรักเพื่อน พระเจ้าภัททิยศากยะต้องการจะรับสั่งว่า “เราจะบวชกับท่าน” แต่ยังทรงห่วงราชสมบัติ
จึงรับสั่งได้เพียงว่า “อยํ ตยา : เรากับท่าน” แล้วรับสั่งไม่ออก (วิ.อ. ๓/๓๓๐/๓๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
สมัยนั้น ประชาชนพูดจริงทำจริง พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสกับอนุรุทธศากยะ
ดังนี้ว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรออยู่สัก ๗ ปีเถิด พอพ้น ๗ ปี เราทั้ง ๒ จะออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “๗ ปี นานเกินไป เราไม่สามารถจะรอถึง ๗ ปีได้”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก โปรดรอสัก ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี
... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี ... เมื่อล่วง ๑ ปี เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตด้วยกัน”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “๑ ปี ก็ยังนานเกินไป เราไม่สามารถรอถึง ๑ ปีได้”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรอสัก ๗ เดือน พอพ้น ๗
เดือน เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “๗ เดือนก็ยังนานเกินไป เราไม่สามารถรอถึง ๗ เดือน
ได้”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรอสัก ๖ เดือน ... ๕
เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... ครึ่งเดือน พอพ้น
ครึ่งเดือน เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “ครึ่งเดือนก็ยังนานเกินไป เราไม่สามารถรอถึงครึ่ง
เดือนได้”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรอสัก ๗ วันเถิด พอให้เรา
ได้มอบราชสมบัติแก่พวกลูก ๆ และญาติพี่น้อง”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “เพื่อนรัก ๗ วันไม่นานเกินไป เราจะรอ”
เรื่องเจ้าศากยะทรงผนวช
[๓๓๑] ครั้งนั้น พระเจ้าภัททิยศากยะ เจ้าอนุรุทธะ เจ้าอานนท์ เจ้าภคุ เจ้า
กิมพิละและเจ้าเทวทัต กับอุบาลีซึ่งเป็นช่างกัลบก รวมเป็น ๗ คน เสด็จออกพร้อม
ด้วยเสนา ๔ เหล่า เหมือนเสด็จประพาสราชอุทยานพร้อมเสนา ๔ เหล่าในครั้ง
ก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ทั้ง ๖ พระองค์นั้นเสด็จไปห่างไกลแล้วรับสั่งให้เสนากลับ เข้าพรมแดนของ
เจ้าเมืองอื่น ทรงเปลื้องเครื่องประดับเอาผ้าห่อแล้ว ได้ตรัสกับอุบาลีช่างกัลบกดังนี้
ว่า “อุบาลี เชิญท่านกลับเถิด ทรัพย์เหล่านี้พอเลี้ยงชีพได้”
ขณะเมื่ออุบาลีช่างกัลบกจะกลับได้มีความคิดดังนี้ว่า “พวกเจ้าศากยะทั้งหลาย
โหดร้ายนัก จะพึงให้ฆ่าเราด้วยเข้าพระทัยไปว่า ‘อุบาลีนี้ให้พระกุมารทั้งหลายหนีไป’
ก็พระศากยะกุมารเหล่านี้ยังออกจากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพชิตได้ ไฉนเราจะบวช
บ้างไม่ได้” อุบาลีช่างกัลบกนั้นจึงแก้ห่อเครื่องประดับแล้วแขวนสิ่งของไว้บนต้นไม้แล้ว
กล่าวว่า “ผู้พบเห็นจงนำสิ่งของที่เราให้แล้วไปเถิด” แล้วเข้าไปเฝ้าศากยกุมาร เหล่านั้น
ถึงที่ประทับ ศากยกุมารเหล่านั้นได้ทอดพระเนตรเห็นอุบาลีกำลังเดินมาแต่ไกล
ครั้นแล้วได้รับสั่งกับอุบาลีช่างกัลบกดังนี้ว่า “นี่ อุบาลี ท่านกลับมาทำไม”
อุบาลีช่างกัลบกจึงกราบทูลว่า “พระลูกเจ้าทั้งหลาย เมื่อหม่อมฉันกำลังกลับ
ได้มีความคิดดังนี้ ว่า “พวกเจ้าศากยะทั้งหลายโหดร้ายนัก จะพึงให้ฆ่าเราด้วยเข้า
พระทัยไปว่า ‘อุบาลีนี้ให้พระกุมารทั้งหลายหนีไป’ ก็พระศากยกุมารเหล่านี้ยังออก
จากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพชิตได้ ไฉนเราจะบวชบ้างไม่ได’ ข้าแต่พระลูกเจ้า
หม่อมฉันนั้นแก้ห่อเครื่องประดับแล้วแขวนสิ่งของไว้บนต้นไม้แล้วกล่าวว่า ‘ผู้พบเห็น
จงนำสิ่งของที่เราให้แล้วไปเถิด’ กลับจากที่นั้นแล้ว”
ศากยกุมารทั้งหลายตรัสว่า “ท่านทำดีแล้วที่ไม่ได้กลับไป เจ้าศากยะทั้งหลาย
ผู้โหดร้ายจะพึงให้ฆ่าท่าน ด้วยเข้าใจว่า ‘อุบาลีนี้ให้กุมารทั้งหลายหนีไป”
ต่อมา เหล่าศากยกุมารทั้งหลายพาอุบาลีผู้เป็นช่างกัลบกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีความถือตัว อุบาลีผู้นี้เป็นช่าง
กัลบกรับใช้พวกข้าพระ พุทธเจ้ามานาน ขอพระองค์ทรงโปรดให้เขาบวชก่อน พวกข้า
พระพุทธเจ้าจะอภิวาท ลุกต้อนรับ ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรมแก่เขา เมื่อเป็นเช่นนี้
ความถือตัวว่าเป็นศากยะของพวกหม่อมฉันจักบรรเทาไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคจึงโปรดให้อุบาลีผู้เป็นช่างกัลบกบวชก่อน แล้วให้
ศากยกุมารบวชภายหลัง ต่อมา ในระหว่างพรรษานั้นเอง ท่านพระภัททิยะได้บรรลุ
วิชชา ๓ ท่าน พระอนุรุทธะได้บรรลุทิพยจักษุ ท่านพระอานนท์ได้บรรลุโสดาปัตติผล
พระเทวทัตได้ฤทธิ์ชั้นปุถุชน
เรื่องพระภัททิยะเปล่งอุทานว่า “สุขหนอ”๑
[๓๓๒] สมัยนั้น ท่านพระภัททิยะจะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปใน
สุญญาคารก็ดี ย่อมเปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า “สุขหนอ สุขหนอ” ครั้งนั้น ภิกษุ
หลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วอภิวาทพระผู้มีพระภาค
นั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุเหล่านั้นผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระภัททิยะ ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในเรือนว่างก็ดี ก็เปล่ง
อุทานเนือง ๆ ว่า ‘สุขหนอ สุขหนอ’ ท่านพระภัททิยะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
แน่ ๆ หรือคงหวนระลึกถึงสุขในราชสมบัติครั้งก่อน ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไปที่
ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี จึงเปล่งอุทานอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุรูปหนึ่งว่า “ภิกษุ เธอจงไปบอก
ภัททิยะว่าพระศาสดารับสั่งหาท่าน”
ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วเข้าไปหาท่านพระภัททิยะถึงที่อยู่ ครั้น
ถึงแล้วได้กล่าวกับท่านพระภัททิยะดังนี้ว่า “พระศาสดารับสั่งหาท่าน”
ท่านพระภัททิยะรับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสกับท่านพระภัททิยะผู้นั่งแล้ว ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “ภัททิยะ ทราบว่า เธอ
ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี ก็เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า
“สุขหนอ สุขหนอ’ จริงหรือ”
ท่านพระภัททิยะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.อุ. ๒๕/๒๐/๒๐๖-๒๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภัททิยะ เธอเห็นประโยชน์อะไร ไม่ว่าจะไปใน
ป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี จึงเปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า ‘สุขหนอ
สุขหนอ”
ท่านพระภัททิยะกราบทูลว่า “สมัยเมื่อข้าพระพุทธเจ้าเป็นพระราชา ได้รับการ
อารักขาคุ้มครองอย่างดีทั้งภายในวัง ได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่างดีทั้งภายนอกวัง
ได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่างดีทั้งภายในเมือง ได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่างดี
ทั้งภายนอกเมือง ได้รับการอารักษาคุ้มครองอย่างดีทั้งในชนบท ได้รับการอารักขา
คุ้มครองอย่างดีทั้งนอกชนบท ข้าพระพุทธเจ้าถึงจะได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่าง
ดีเช่นนี้ ก็ยังกลัว ยังหวาดหวั่นอยู่ สะดุ้ง ตกใจ แต่เวลานี้ข้าพระพุทธเจ้าไม่ว่า
จะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดีเพียงผู้เดียวก็ไม่กลัวหวาดหวั่น
ไม่สะดุ้งตกใจแต่อย่างใดเลย มีความโปร่งเบากายยิ่ง ครองชีวิตด้วยปัจจัยที่ผู้อื่นให้
มีจิตอิสระ ดุจมฤค ข้าพระพุทธเจ้าเห็นประโยชน์อย่างนี้ ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไป
ที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี ฯลฯ จึงมักจะเปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า ‘สุขหนอ
สุขหนอ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ผู้ใดไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้กำเริบภายในจิต
และล่วงพ้นความเป็นภพและอภพต่าง ๆ ได้แล้ว
ทวยเทพไม่สามารถมองเห็นผู้นั้น
ผู้ปราศจากภัย มีความสุข ไม่เศร้าโศก
เทวทัตตวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องของพระเทวทัต
[๓๓๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อนุปิยนิคมตามพระอัธยาศัยแล้ว
เสด็จจาริกไปทางกรุงโกสัมพี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงโกสัมพี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ในกรุงโกสัมพีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ครั้งนั้น พระเทวทัตหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นในใจว่า “เรา
จะพึงยังใครหนอให้เลื่อมใส ซึ่งเมื่อเขาเลื่อมใสเราแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมาก
พึงเกิดขึ้น” ลำดับนั้น พระเทวทัตได้มีความคิดดังนี้ว่า “อชาตสัตตุกุมารนี้ยังเป็น
หนุ่มจะมีความเจริญรุ่งเรืองต่อไป ถ้ากระไร เราพึงยังอชาตศัตรูกุมารนี้ให้เลื่อมใส
เมื่อเขาเลื่อมใสแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมากจะเกิดขึ้น”
ลำดับนั้น พระเทวทัตเก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรจาริกไปทางกรุงราชคฤห์
จนถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ครั้งนั้น พระเทวทัตได้แปลงเพศเนรมิตตนเป็นกุมาร
น้อยเอางูพันเอวปรากฏบนพระเพลา(ตัก)ของอชาตศัตรูกุมาร
ครั้งนั้น อชาตศัตรูกุมารทรงกลัว หวาดหวั่น สะดุ้ง ตกพระทัย พระเทวทัต
จึงได้ถามดังนี้ว่า “กุมาร ท่านกลัวฉันหรือ”
พระกุมารตรัสว่า “ใช่ เรากลัว ท่านเป็นใคร”
พระเทวทัตตอบว่า “ฉันคือพระเทวทัต”
พระกุมารตรัสว่า “ถ้าท่านเป็นพระคุณเจ้าเทวทัตก็กลับเป็นตามเพศเดิมเถิด”
ครั้งนั้น พระเทวทัตเปลี่ยนเพศกุมารน้อย(กลับเป็นภิกษุ) ทรงสังฆาฏิ บาตร
และจีวร ยืนอยู่ข้างหน้าพระกุมาร ลำดับนั้น พระกุมารเลื่อมใสยิ่งนักเพราะอิทธิ
ปาฏิหาริย์นี้ ได้เสด็จไปที่อุปัฏฐากทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า พร้อมด้วยรถ ๕๐๐
คัน ได้นำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย
ต่อมา พระเทวทัตถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ เกิดความต้อง
การดังนี้ว่า “เราจะปกครองภิกษุสงฆ์” พระเทวทัตจึงเสื่อมจากฤทธิ์พร้อมกับเกิด
ความคิดเช่นนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
เรื่องกกุธโกฬิยบุตร๑
สมัยนั้น บุตรเจ้าโกฬิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหาโมคคัลลานะ
สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้นกายมโนมัย๒ ชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพใหญ่
เหมือนคามเขตในแคว้นมคธ ๒-๓ หมู่ แต่เขาก็ไม่ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนเพราะ
การได้อัตภาพนั้น
ครั้งนั้น กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ครั้นถึง
แล้วไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้วยืน ณ ที่สมควร กกุธเทพบุตรผู้ยืนอยู่ ณ ที่
สมควรได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ พระเทวทัตถูก
ลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจะ
ปกครองภิกษุสงฆ์’ ท่านผู้เจริญ พร้อมกับจิตตุปบาท พระเทวทัตจึงเสื่อมจากฤทธิ์”
กกุธเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กระทำประทักษิณ
แล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง
ลำดับนั้น พระมหาโมคคัลลานะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้นั่ง
ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า บุตรของเจ้า
โกฬิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของข้าพระองค์ สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้น
กายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพใหญ่เหมือนคามเขตของแคว้นมคธ ๒-๓
หมู่ แต่เขาไม่ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนเพราะการได้อัตภาพนั้น ต่อมา กกุธเทพบุตร
เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ไหว้แล้วยืน ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ พระเทวทัตถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ เกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจะปกครองภิกษุสงฆ์’ พร้อมกับจิตตุปบาท พระเทวทัตจึง
เสื่อมจากฤทธิ์’ พระพุทธเจ้าข้า กกุธเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้ข้าพระองค์
กระทำประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง”

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๐๐/๑๗๐-๑๗๑
๒ กายมโนมัย คือ กายแห่งพรหมที่บังเกิดด้วยฌาน (สารตฺถ. ฏีกา ๓/๓๓๓/๔๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “โมคคัลลานะ เธอกำหนดรู้จิตของกกุธเทพบุตร
แล้วหรือว่า กกุธเทพบุตรกล่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เรื่องนั้นทั้งหมดย่อมเป็นจริงตามนั้น
ไม่เป็นอย่างอื่น”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า “ข้าพระองค์กำหนดรู้จิตของกกุธเทพบุตร
ด้วยจิตแล้วเชื่อว่า กกุธเทพบุตรกล่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เรื่องนั้นทั้งหมดย่อมเป็นจริง
ตามนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น โมคคัลลานะ
เธอจงรักษาวาจานั้น บัดนี้โมฆบุรุษนั้นจะเปิดเผยตนด้วยตนเองออกมา”
ปัญจสัตถุกถา
ว่าด้วยพระศาสดา ๕ จำพวก
[๓๓๔] โมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ
๑. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีศีลไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มี
ศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวก
รู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญา
ว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง
แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน
พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้น
ยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น”
โมคคัลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้โดยศีล และศาสดาเช่นนี้ก็หวัง
การรักษาโดยศีลจากพวกสาวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
๒. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็น
ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง”
พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ แต่
ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่
พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง
ศาสดานั้นยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน
ปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วย
กรรมนั้น”
โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยอาชีพ ศาสดาเช่นนี้ก็
หวังการรักษาโดยอาชีพจากพวกสาวก
๓. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า
“เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มี
ธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าธรรมเทศนาของตนบริสุทธิ์
ธรรมเทศนาของตนบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวก
เราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเรา
จะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง
พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น”
โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยธรรมเทศนา ศาสดา
เช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยธรรมเทศนาจากพวกสาวก
๔. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เรา
เป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้
มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์
เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
เราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเรา
จะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง
พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมา ด้วยกรรมนั้น”
โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยเวยยากรณะ ศาสดา
เช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยเวยยากรณะจากพวกสาวก
๕. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เรา
เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง” สาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มีญาณ-
ทัสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์
ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวก
เราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเราจะ
กล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง
พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมา ด้วยกรรมนั้น”
โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยญาณทัสสนะ และศาสดา
เช่นนี้ ก็หวังการรักษาโดยญาณทัสสนะจากพวกสาวก
โมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
โมคคัลลานะ เรามีศีลบริสุทธิ์ จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของ
เราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยศีล และเราก็
ไม่หวังการรักษาโดยศีลจากพวกสาวก
โมคคัลลานะ เรามีอาชีพบริสุทธิ์ ฯลฯ เรามีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ฯลฯ เรา
มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ ฯลฯ เรามีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มี
ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวก
สาวกไม่รักษาเราไว้โดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังการรักษาโดยญาณทัสสนะ
จาก พวกสาวก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
เรื่องลาภสักการะย่อมฆ่าคนชั่ว
[๓๓๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงโกสัมพีตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จ
จาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงราชคฤห์ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระ
เวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต ในกรุงราชคฤห์นั้น
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ สมควร ภิกษุเหล่านั้นผู้นั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อชาตศัตรูกุมารเสด็จ
โดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุงพระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และรับสั่งให้นำ
ภัตตาหารที่สมควรไปพระราชทาน ๕๐๐ สำรับ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ายินดีลาภสักการะ
และความสรรเสริญของเทวทัตเลย แม้อชาตศัตรูกุมารจักเสด็จโดยราชรถ ๕๐๐ คัน
ไปบำรุงเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และจักรับสั่งให้นำภัตตาหารที่สมควรไปพระ
ราชทาน ๕๐๐ สำรับเพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย
เพียงนั้น หวังความเจริญไม่ได้๑
ภิกษุทั้งหลาย อชาตศัตรูกุมารจะไปบำรุงพระเทวทัตในเวลาเย็นเวลาเช้า พร้อม
ด้วยราชรถ ๕๐๐ คัน จะนำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปได้สักกี่วัน ภิกษุทั้งหลาย
ความเสื่อมจากกุศลธรรมเป็นอันเทวทัตหวังได้ ความเจริญอย่าได้หวัง ลาภสักการะ
และสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตก็เพื่อฆ่าตนเอง ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิด
ขึ้นแก่เทวทัต เพื่อความเสื่อม เหมือนคนเอาดีหมีทาที่จมูกลูกสุนัขดุ ลูกสุนัขก็จะเพิ่ม
ความดุยิ่งขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง
ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนต้นกล้วย
ออกปลีเพื่อฆ่าตนเอง ออกปลีเพื่อความเสื่อม๒

เชิงอรรถ :
๑ สํ.นิ. ๑๖/๑๘๕/๒๓๐-๒๓๑
๒ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๘/๑๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง
ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนต้นไผ่ตกขุย
เพื่อฆ่าตนเอง ตกขุยเพื่อความเสื่อม
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง
ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนไม้อ้อตกขุย
เพื่อฆ่าตนเอง ตกขุยเพื่อความเสื่อม
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง
ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนแม่ม้า
อัสดรตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตนเอง ตั้งครรภ์เพื่อความเสื่อม
พระผู้มีพระภาคครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาประพันธ์ว่า
“ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่
ดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่ม้า ฉันใด
สักการะย่อมฆ่าคนชั่ว ฉันนั้น”๑
ปฐมภาณวารที่ ๑ จบ
๒. ทุติยภาณวาร
ปกาสนียกัมมะ
ว่าด้วยสงฆ์ทำปกาสนียกรรมแก่พระเทวทัต
[๓๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคแวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดง
ธรรมแก่บริษัทซึ่งมีพระราชาประทับอยู่ด้วย ครั้งนั้น พระเทวทัตลุกจากอาสนะ ห่ม
อุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วได้กราบทูลพระ

เชิงอรรถ :
๑ สํ.ส.(แปล) ๑๕/๑๘๓/๑๘๕, สํ.นิ.(แปล) ๑๖/๑๘๔/๒๘๕ และดูเทียบ อง.ฺจตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๘/๑๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า เวลานี้พระผู้มีพระภาคทรงพระชราภาพ เป็นผู้
เฒ่าสูงอายุ ล่วงกาลผ่านวัยไปโดยลำดับแล้ว พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดปล่อยวาง ประกอบตนอยู่ในธรรมสำหรับอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน โปรด
มอบภิกษุสงฆ์ให้ข้าพระพุทธเจ้าเถิด ข้าพระพุทธเจ้าจะปกครองภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลยเทวทัต เธออย่าชอบใจที่จะปกครองภิกษุสงฆ์
เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระเทวทัตก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
เวลานี้พระผู้มีพระภาคทรงพระชราภาพ เป็นผู้เฒ่าสูงอายุ ล่วงกาลผ่านวัยไปโดย
ลำดับแล้ว พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปล่อยวาง ประกอบตน
อยู่ในธรรมสำหรับอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน โปรดมอบภิกษุสงฆ์ให้ข้าพระพุทธเจ้าเถิด
ข้าพระพุทธเจ้าจะปกครองภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เทวทัต แม้แต่สารีบุตรและโมคคัลลานะเรายังไม่มอบ
ภิกษุสงฆ์ให้ เราจะมอบภิกษุสงฆ์ให้เธอซึ่งเป็นคนต่ำช้า บริโภคปัจจัยดุจกลืนน้ำลาย
ได้อย่างไรเล่า”
ขณะนั้น พระเทวทัตคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรุกรานเราท่ามกลางบริษัทที่มี
พระราชาประทับอยู่ด้วย ด้วยพระดำรัสว่าเป็นผู้บริโภคปัจจัยดุจกลืนน้ำลาย ทรง
ยกย่องแต่พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ” จึงโกรธ ไม่พอใจ ถวายอภิวาทพระ
ผู้มีพระภาคแล้วทำประทักษิณจากไป นี้เป็นการผูกอาฆาตครั้งแรกในพระผู้มีพระภาค
ของพระเทวทัต
ปกาสนียกรรม
ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น
สงฆ์จงลงปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัตโดยประกาศว่า ‘เมื่อก่อน พฤติกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใด
ด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่า
สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต
วิธีทำปกาสนียกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงทำปกาสนียกรรมอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๓๓๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงทำปกาสนีย-
กรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัต โดยประกาศว่า เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระ
เทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกาย
วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรมหรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้น
เป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระ
เทวทัต โดยประกาศว่า เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้
เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ
พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระ
เทวทัต ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการทำปกาสนียกรรมแก่พระเทวทัต โดยประกาศ
ว่า เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระ
เทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์
เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใด ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น พึงทักท้วง
สงฆ์ทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัตแล้ว โดยประกาศว่า เมื่อ
ก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัต
ประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พึงเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๓๓๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับท่านพระสารีบุตรว่า “สารีบุตร
ถ้าอย่างนั้น เธอจงทำปกาสนียกรรมเทวทัตในกรุงราชคฤห์เถิด”
พระสารีบุตรกราบทูลว่า “เมื่อก่อนข้าพระพุทธเจ้ากล่าวยกย่องพระเทวทัตใน
กรุงราชคฤห์ว่า ‘โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอานุภาพมาก’ ข้าพระพุทธเจ้าจะ
ทำปกาสนียกรรมพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอกล่าวยกย่องเทวทัตตามความเป็นจริง
มิใช่หรือว่า ‘โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอานุภาพมาก”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอก็จงทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์
แก่เทวทัต ตามความเป็นจริงอย่างนั้นเหมือนกัน” ท่านพระสารีบุตรทูลรับสนอง
พระพุทธดำรัสแล้ว
ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น
สงฆ์จงแต่งตั้งสารีบุตรเพื่อทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัต โดยประกาศ
ว่า ‘เมื่อก่อนพฤติกรรมของ พระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระ
เทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระ
สงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต’
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้น พึงขอร้องพระสารีบุตร ครั้น
แล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งท่านพระสารีบุตร
เพื่อทำปกาสนียกรรมพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ โดยประกาศว่า “เมื่อก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัต
ประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็น
อย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต” นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งพระสารีบุตรเพื่อทำปกาศนีย-
กรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัต
เป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา
ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็น
เรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต” ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งพระสารีบุตรเพื่อทำ
ปกาศนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรม
ของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใด
ด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็น
ว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต” ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์แต่งตั้งท่านพระสารีบุตรแล้ว เพื่อทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่
พระเทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง
เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่า
พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว
ของพระเทวทัต” สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็น
มติอย่างนี้
ครั้นพระสารีบุตรได้รับแต่งตั้งแล้วจึงเข้าไปกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุหลายรูป
ทำปกาสนียกรรมพระเทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัต
เป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา
ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็น
เรื่องส่วนตัวของพระเทวทัตเอง”
คนทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ไม่ดี กล่าวอย่างนี้
ว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้เป็นคนริษยา ริษยาลาภสักการะของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระเทวทัต” ส่วนพวกที่มีศรัทธา มีความเลื่อมใส มีความรู้ดี ก็กล่าวอย่างนี้ว่า
“เรื่องนี้คงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ทำปกาสนียกรรมใน
กรุงราชคฤห์ แก่พระเทวทัต”
อชาตสัตตุกุมารวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องอชาตศัตรูกุมาร
[๓๓๙] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาอชาตศัตรูกุมารถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้
กล่าวกับอชาตศัตรูกุมารดังนี้ว่า “พระกุมาร เมื่อก่อนมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืน บัดนี้
มีอายุสั้น การที่พระองค์จะพึงสิ้นพระชนม์เมื่อยังเป็นพระกุมาร เป็นเรื่องที่เป็นไปได้
ถ้าเช่นนั้น พระองค์จงปลงพระชนม์พระชนกแล้วเป็นพระราชา อาตมาก็จะปลง
พระชนม์พระผู้มีพระภาคแล้วเป็นพระพุทธเจ้า”
ครั้งนั้น อชาตศัตรูกุมารดำริว่า “พระคุณเจ้าเทวทัตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
พระคุณเจ้าเทวทัตจะต้องรู้” วันหนึ่งได้เหน็บกฤชแนบพระเพลา ทรงกลัว หวาดหวั่น
สะดุ้ง ตกพระทัย เสด็จเข้าไปในพระราชวังอย่างเร่งร้อนช่วงเวลากลางวัน
พวกมหาอมาตย์ที่เฝ้าประตูพระราชวังแลเห็นอชาตศัตรูกุมารมีอาการกลัว หวาด
หวั่น สะดุ้ง ตกพระทัยเสด็จเข้าไปในราชวังอย่างเร่งรีบช่วงเวลากลางวันจึงได้จับไว้
มหาอมาตย์เหล่านั้นตรวจพบกฤชเหน็บอยู่ที่พระเพลา จึงทูลถามอชาตศัตรูกุมารดังนี้ว่า
“พระองค์มีประสงค์จะทำอะไร พระเจ้าข้า”
อชาตศัตรูกุมารตรัสตอบว่า “เราประสงค์จะปลงพระชนม์พระชนก”
พวกมหาอมาตย์ทูลถามว่า “พระองค์ถูกใครยุยง”
อชาตศัตรูกุมารตรัสตอบว่า “พระคุณเจ้าเทวทัต”
มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า “ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ฆ่าพระ
เทวทัต และฆ่าภิกษุทั้งหมด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย เพราะพวก
ภิกษุไม่มีความผิดอะไร ควรปลงประชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัตเท่านั้น”
มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร และไม่
ควรฆ่าพระเทวทัต ทั้งไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย แต่ควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระราชา
ให้ทรงทราบ พวกเราจะปฏิบัติตามที่พระราชารับสั่ง”
ลำดับนั้น มหาอมาตย์เหล่านั้นคุมอชาตศัตรูกุมารไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ
มคธรัฐถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
ทรงทราบ
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสถามว่า “ท่านทั้งหลาย พวกมหาอมาตย์
ลงมติกันอย่างไร”
พวกมหาอมาตย์กราบทูลว่า “พระเจ้าข้า มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า
‘ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ฆ่าพระเทวทัต และฆ่าภิกษุทั้งหมด’ มหาอมาตย์
บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า ‘ไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย เพราะพวกภิกษุไม่มีความผิดอะไร
ควรปลงพระชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัตเท่านั้น’ มหาอมาตย์บางพวกลงมติ
อย่างนี้ว่า ‘ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร และไม่ควรฆ่าพระเทวทัต ทั้งไม่ควรฆ่า
ภิกษุทั้งหลาย แต่ควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พวกเราจะปฏิบัติ
ตามที่พระราชารับสั่ง”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย พระพุทธ พระธรรม
หรือพระสงฆ์จะเกี่ยวอะไร พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ลงปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์
แก่พระเทวทัตโดยประกาศว่า ‘เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้
เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่ควรเห็นว่าพระพุทธ
พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่านั่นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต
ก่อนแล้วมิใช่หรือ”
บรรดาอมาตย์เหล่านั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐรับสั่งให้ถอดยศพวก
ที่ลงมติอย่างนี้ว่า “ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ฆ่าพระเทวทัต และฆ่าภิกษุทั้งหมด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ทรงลดตำแหน่งพวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย เพราะพวกภิกษุ
ไม่มีความผิดอะไร ควรปลงพระชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัตเท่านั้น” ทรงเลื่อน
ตำแหน่งพวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ไม่ควรฆ่าพระเทวทัต
ทั้งไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย แต่ควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พวก
เราจะปฏิบัติตามที่พระราชารับสั่ง”
ต่อมา พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐรับสั่งถามอชาตศัตรูกุมารว่า “ลูกต้อง
การฆ่าพ่อเพื่ออะไร”
อชาตศัตรูกุมารกราบทูลว่า “หม่อมฉันต้องการราชสมบัติ พระเจ้าข้า”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “ถ้าลูกต้องการราชสมบัติ ราชสมบัติ
ก็เป็นของลูก” แล้วทรงมอบราชสมบัติแก่อชาตศัตรูกุมาร
อภิมารเปสนะ
ว่าด้วยพระเทวทัตส่งคนไปลอบปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค
[๓๔๐] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปเฝ้าอชาตศัตรูกุมารถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายพระพรอชาตศัตรูกุมารดังนี้ว่า “ขอถวายพระพร ขอพระองค์โปรดสั่งใช้
ราชบุรุษปลงพระชนม์พระสมณโคดม”
ครั้งนั้น อชาตศัตรูกุมารสั่งราชบุรุษทั้งหลายว่า “พวกท่านจงปฏิบัติตามคำสั่ง
ของพระคุณเจ้าเทวทัต”
ต่อมา พระเทวทัตสั่งบุรุษคนหนึ่งว่า “พระสมณโคดมประทับอยู่ที่โน้น ท่าน
จงไปปลงพระชนม์พระองค์แล้วกลับมาทางนี้” แล้วซุ่มบุรุษไว้ริมทาง ๒ คนด้วยสั่ง
ว่า “พวกท่านจงฆ่าคนที่เดินมาทางนี้เพียงลำพัง แล้วมาทางนี้” ซุ่มบุรุษไว้ริมทาง
อีก ๔ คนด้วยสั่งว่า “พวกท่านจงฆ่าคน ๒ คนที่เดินมาทางนี้ แล้วมาทางนี้” ซุ่ม
บุรุษไว้ริมทางอีก ๘ คนด้วยสั่งว่า “พวกท่านจงฆ่าคน ๔ คนที่เดินมาทางนี้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๗ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น