Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๗-๖ หน้า ๒๓๕ - ๒๘๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗-๖ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๗. อารัญญิกวัตตกถา
พึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่งแขน
ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปใน
ละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
ผู้กลับจากบิณฑบาตมาถึงก่อน พึงปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้ากระเบื้อง
เช็ดเท้า ล้างภาชนะที่ใส่ของฉันตั้งไว้ ตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ไว้ ผู้กลับจากบิณฑบาตถึงทีหลัง
ถ้าอาหารที่ฉันแล้วยังเหลืออยู่ ถ้าต้องการก็พึงฉัน ไม่ต้องการก็เททิ้งในที่ปราศจาก
ของเขียวสด หรือเทลงในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ พึงรื้อขนอาสนะเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะที่ใส่ของฉัน เก็บไว้ เก็บน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดโรงฉัน
ภิกษุผู้เห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ก็พึงจัดหาไปตั้งไว้ ถ้า
เป็นเรื่องสุดวิสัยก็กวักมือเรียกเพื่อนมาให้ช่วยกันจัด แต่ไม่พึงออกคำสั่งเพราะเรื่องนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ วัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้
เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลายต้องประพฤติชอบ
๗. อารัญญิกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฎิบัติของภิกษุผู้อยู่ป่า
[๓๖๗] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปอยู่ในป่า ไม่ตั้งน้ำดื่ม ไม่ตั้งน้ำใช้ ไม่ติดไฟ
ไม่เตรียมไม้สีไฟ ไม่รู้เรื่องนักษัตร ไม่รู้จักทิศ พวกโจรพากันไปที่นั้นแล้วถามภิกษุ
เหล่านั้นดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย มีน้ำดื่มหรือ”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย น้ำดื่มไม่มี”
โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย มีน้ำใช้หรือ”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย น้ำใช้ก็ไม่มี”
โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย มีไฟหรือ”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย ไฟก็ไม่มี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๗. อารัญญิกวัตตกถา
โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย มีไม้สีไฟหรือ”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย ไม้สีไฟก็ไม่มี”
โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย วันนี้เป็นฤกษ์อะไร”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย พวกอาตมาไม่ทราบ”
โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย นี้ทิศอะไร”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย พวกอาตมาไม่ทราบ”
ลำดับนั้น โจรเหล่านั้นคิดว่า “คนพวกนี้ไม่มีน้ำดื่ม ไม่มีน้ำใช้ ไม่มีไฟ ไม่มี
ไม้สีไฟ ไม่รู้นักษัตร ไม่รู้ทิศ คนพวกนี้น่าจะเป็นโจร คนพวกนี้ไม่ใช่ภิกษุ” จึงทำร้าย
แล้วจากไป
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า
[๓๖๘] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลาย
โดยที่ภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลายต้องประพฤติชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า ควรลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ สวมถุงบาตรคล้องบ่า พาด
จีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่างแล้วลงจาก
เสนาสนะ กำหนดว่า “เวลานี้เราจะเข้าบ้าน” ควรถอดรองเท้าเคาะอย่างระมัดระวัง
ใส่ถุงคล้องบ่า นุ่งปกปิดมณฑล ๓ ให้เรียบร้อย คาดประคดเอว ห่มผ้าสังฆาฏิ
ที่พับซ้อนกันไว้ กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้วไม่ต้องรีบร้อน ถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย
พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน ฯลฯ ไม่พึง
เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
เมื่อเข้าบ้านก็พึงกำหนดว่า “เราจะเข้าทางนี้ ออกทางนี้” ไม่พึงรีบร้อนเข้าไป
ไม่พึงรีบร้อนออกไป ไม่พึงยืนไกลนัก ไม่พึงยืนใกล้นัก ไม่พึงยืนนานนัก ไม่พึงกลับเร็วนัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๘. เสนาสนวัตตกถา
พึงยืนสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายอาหารหรือไม่ประสงค์จะถวาย” ถ้าเขาหยุด
ทำงาน หรือลุกจากที่นั่ง หรือจับทัพพีหรือภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืนกำหนดว่า
“เขาประสงค์จะถวายหรือ” เมื่อเขาถวายอาหาร พึงใช้มือข้างซ้ายแหวกผ้าสังฆาฏิ
แล้วน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือข้างขวา ใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับอาหาร ไม่มอง
หน้าผู้ถวายอาหาร พึงสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ประสงค์จะถวาย”
ถ้าเขาจับทัพพี หรือจับภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืนกำหนดว่า “เขาประสงค์
จะถวายหรือ” เมื่อเขาถวายแล้ว ใช้ผ้าสังฆาฏิคลุมบาตรแล้ว ไม่ต้องรีบร้อน กลับ
อย่างสำรวม
พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน ฯลฯ ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
ออกจากหมู่บ้าน แล้วสวมถุงบาตร คล้องบ่า พับจีวรวางไว้บนศีรษะสวมรองเท้าเดินไป
ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงตั้งน้ำดื่ม พึงตั้งน้ำใช้ พึงติดไฟ พึงเตรียมไม้สีไฟไว้ พึงเตรียม
ไม้เท้า พึงเรียนรู้เรื่องนักษัตรทุกประเภทหรือเรียนบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ วัตรของภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลาย
ต้องประพฤติชอบ
๘. เสนาสนวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในเสนาสนะ
[๓๖๙] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปทำจีวรอยู่ที่กลางแจ้ง พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เคาะ
เสนาสนะบนที่สูงเหนือลม ฝุ่นธุลีฟุ้งกลบภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้มักน้อยตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลมเล่า
ภิกษุทั้งหลายถูกฝุ่นธุลีฟุ้งกลบ”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์เคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลม ฝุ่นธุลีฟุ้งกลบภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๘. เสนาสนวัตตกถา
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ แสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า
[๓๗๐] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติเสนาสนวัตรแก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยที่ภิกษุทั้งหลายต้องประพฤติชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ตนอยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถพึงชำระให้
สะอาด เมื่อจะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อนวางไว้ ณ ที่
สมควร พึงขนผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอนออกไปวางไว้ ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง พึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบานประตูและกรอบ
ประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง พึงขนออก
มาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมาวาง ณ ที่
สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร ไม่พึงเคาะเสนาสนะใกล้ภิกษุ ใกล้วิหาร ใกล้
น้ำดื่ม น้ำใช้ บนเนินเหนือลม พึงเคาะเสนาสนะใต้ลม
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่ง
แดด เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๙. ชันตาฆรวัตตกถา
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี รก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าอยู่ในวิหารหลังเดียวกับภิกษุผู้แก่กว่า ยังไม่สอบถามก็ไม่ควรให้อุทเทส
ปริปุจฉา การสาธยาย แสดงธรรม ไม่พึงตามหรือดับประทีป ไม่พึงเปิดหน้าต่าง
ไม่พึงปิดหน้าต่าง ถ้าเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้แก่กว่า พึงเดินตาม
หลังท่าน และไม่กระทบท่านด้วยชายสังฆาฏิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ วัตรในเสนาสนะของภิกษุทั้งหลาย โดยที่ภิกษุทั้งหลาย
ต้องประพฤติชอบ
๙. ชันตาฆรวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในเรือนไฟ
[๓๗๑] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถูกภิกษุผู้เถระทั้งหลายห้ามในเรือนไฟ
ไม่ เกรงใจใส่ฟืนมาก ติดไฟ ปิดประตูแล้วนั่งที่ประตู ฝ่ายภิกษุผู้เถระถูกความร้อน
แผดเผา จะออกก็ออกไม่ได้ จึงเป็นลมสลบล้มลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๙. ชันตาฆรวัตตกถา
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถูกภิกษุผู้เถระทั้งหลายห้ามในเรือนไฟ จึงไม่เกรงใจใส่ฟืนมาก ติดไฟ ปิดประตูแล้ว
นั่งที่ประตูเล่า ฝ่ายภิกษุผู้เถระถูกความร้อนแผดเผา จะออกก็ออกไม่ได้ จึงเป็นลม
สลบล้มลง”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถูกภิกษุผู้เถระทั้งหลายห้ามในเรือนไฟ ไม่เกรงใจ ใส่ฟืนมาก
ติดไฟ ปิดประตูแล้วนั่งเฝ้าที่ประตู ภิกษุถูกความร้อนแผดเผาออกประตูไม่ได้จึงเป็น
ลมสลบล้มลง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถูกภิกษุผู้เถระห้ามในเรือนไฟ จะใส่ฟืนมากติดไฟโดยไม่
เกรงใจไม่ได้ รูปใดใส่ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงปิดประตู
แล้วนั่งที่ประตู รูปใดนั่งต้องอาบัติทุกกฏ”
[๓๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในเรือนไฟแก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยที่พวกเธอต้องประพฤติชอบในเรือนไฟ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไปเรือนไฟก่อน ถ้ามีเถ้ามากพึงนำไปเททิ้ง ถ้าเรือนไฟรก
พึงกวาด ถ้าชานภายนอกรกก็พึงกวาด ถ้าบริเวณรกก็พึงกวาด ถ้าซุ้มประตูรกก็
พึงกวาด ถ้าศาลาเรือนไฟรก ก็พึงกวาด
พึงบดจุรณไว้ พึงแช่ดิน พึงตักน้ำใส่ไว้ในราง เมื่อจะเข้าไปเรือนไฟพึงเอาดิน
เหนียวทาหน้า ปิดหน้าและหลังจึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
ไม่กีดกันอาสนะภิกษุผู้นวกะทั้งหลาย ถ้าสามารถก็พึงบริกรรมภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
ในเรือนไฟ เมื่อออกจาก เรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟปิดหน้าและหลังจึงออกจาก
เรือนไฟ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๐. วัจจกุฎิวัตตกถา
ถ้าสามารถ พึงทำบริกรรม ภิกษุผู้เถระทั้งหลายในน้ำ ไม่พึงสรงน้ำข้างหน้า
ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย แม้เหนือน้ำก็ไม่พึงสรง เมื่อสรงน้ำเสร็จกำลังจะขึ้นพึงให้ทาง
ภิกษุทั้งหลายผู้จะลงสรง ภิกษุผู้ออกจากเรือนไฟภายหลัง ถ้าเรือนไฟเปรอะเปื้อน
พึงล้างให้สะอาด ล้างรางแช่ดิน เก็บตั่งในเรือนไฟ ดับไฟ ปิดประตูแล้วจึงพา
กันจากไป
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในเรือนไฟสำหรับภิกษุทั้งหลาย โดยที่ภิกษุทั้งหลาย
ต้องประพฤติชอบในเรือนไฟ
๑๐. วัจจกุฏิวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในวัจกุฎี
[๓๗๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีกำเนิดจากวรรณะพราหมณ์ ถ่ายอุจจาระ ไม่
ยอมชำระ เพราะรังเกียจว่า “ใครจะจับต้องของสกปรกมีกลิ่นเหม็นนี้ได้เล่า” ในทวาร
หนักของภิกษุนั้นจึงมีหนอนอยู่ ภิกษุนั้นจึงบอกให้ภิกษุทราบ
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่าน ท่านถ่ายอุจจาระแล้วไม่ล้างหรือ”
ภิกษุนั้นตอบว่า “ใช่ ขอรับ”
บรรดาภิกษุมักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุถ่ายอุจจาระ
แล้วไม่ล้างเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอถ่ายอุจจาระแล้ว
ไม่ล้าง จริงหรือ”
ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว เมื่อมีน้ำอยู่จะไม่ล้างไม่ได้ รูปใดไม่ล้าง
ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๐. วัจจกุฎิวัตตกถา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจกุฎีตามลำดับพรรษา ภิกษุผู้นวกะทั้งหลาย
ถึงก่อนปวดอุจจาระก็ต้องรอ กลั้นอุจจาระจนเป็นลมสลบล้มลง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุ
ทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจกุฎีตามลำดับพรรษา ภิกษุผู้นวกะทั้งหลายถึงก่อน
ปวดอุจจาระ ก็ต้องรอ กลั้นอุจจาระจนเป็นลมสลบล้มลง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำการถ่ายอุจจาระตามลำดับพรรษา
รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระตามลำดับผู้
มาถึง”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าวัจกุฎีเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าเข้าไปบ้าง ถอน
หายใจพลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายอุจจาระ
นอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายลงในรางปัสสาวะ
บ้าง ชำระด้วยไม้แข็งบ้าง ทิ้งไม้ชำระในช่องถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง
เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียงดังโจ๊กโจ๊กบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบวยชำระบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงเข้าวัจกุฎีเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าเข้าไปบ้าง ถอนหายใจพลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยว
ไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะ
นอกรางปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายลงในรางปัสสาวะบ้าง ชำระด้วยไม้แข็งบ้าง ทิ้งไม้
ชำระในช่องถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียง
ดังโจ๊กโจ๊กบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระบ้างเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ฯลฯ
จริงหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๐. วัจจกุฎิวัตตกถา
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ แสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า
[๓๗๔] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในวัจกุฎีแก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยที่ภิกษุทั้งหลายต้องประพฤติชอบในวัจกุฎี
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไปวัจกุฎีพึงยืนกระแอมข้างนอก แม้ภิกษุผู้นั่งอยู่ข้างในก็
ควรกระแอมรับ พึงพาดจีวรไว้บนราวจีวรหรือบนสายระเดียงแล้วไม่ต้องรีบเข้าวัจกุฎี
ไม่ต้องเข้าไปเร็วนัก ไม่พึงเวิกผ้าเข้าไป พึงยืนบนเขียงถ่ายอุจจาระแล้วค่อยเวิกผ้า
ไม่พึงถอนใจดังพลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึง
ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระ ไม่พึงถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะ ไม่พึงบ้วนน้ำลาย
ลงในรางปัสสาวะ ไม่พึงชำระด้วยไม้เนื้อแข็ง ไม่พึงทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่าย อุจจาระ
พึงยืนบนเขียงถ่ายแล้วจึงปิดผ้า ไม่ควรออกมาเร็ว ไม่พึงเวิกผ้าออกมา พึงยืนบน
เขียงชำระแล้วจึงเวิกผ้า ไม่พึงชำระให้มีเสียงดังโจ๊กโจ๊ก ไม่พึงเหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระ
พึงยืนบนเขียงชำระแล้วปิดผ้า
ถ้าภิกษุถ่ายไว้เลอะเทอะวัจกุฎี ต้องล้างให้สะอาด ถ้าตระกร้าใส่ไม้ชำระเต็ม
พึงนำไปทิ้ง ถ้าวัจกุฎีสกปรกพึงกวาด ถ้าชานภายนอกรกก็พึงกวาด บริเวณรก
ก็พึงกวาด ซุ้มประตูรกก็พึงกวาด ถ้าไม่มีน้ำในหม้อชำระ พึงตักน้ำมาไว้
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในวัจกุฎีสำหรับภิกษุทั้งหลาย โดยที่ภิกษุทั้งหลาย
ต้องประพฤติชอบในวัจกุฎี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
๑๑. อุปัชฌายวัตตกถา๑
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในพระอุปัชฌาย์
[๓๗๕] สมัยนั้น สัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในพระอุปัชฌาย์ บรรดา
ภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนสัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติ
ชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลายเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า สัทธิ-
วิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลาย จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนสัทธิวิหาริกทั้งหลาย
จึงไม่ประพฤติชอบต่อพระอุปัชฌาย์ทั้งหลายเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในอุปัชฌาย์ทั้งหลายแก่
สัทธิวิหาริกทั้งหลาย โดยที่สัทธิวิหาริกทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงประพฤติโดยชอบในอุปัชฌาย์ วิธีประพฤติโดยชอบ
ในอุปัชฌาย์นั้นมีดังนี้
สัทธิวิหาริกพึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า ปูอาสนะ
ถ้าข้าวต้มมี พึงล้างภาชนะใส่ข้าวต้มเข้าไปถวาย เมื่ออุปัชฌาย์ฉันข้าวต้มเสร็จแล้ว
พึงถวายน้ำ รับภาชนะมา ถืออย่างระมัดระวัง อย่าให้ครูด๒ ล้างแล้วเก็บงำไว้ เมื่อ
อุปัชฌาย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. (แปล) ๔/๖๔-๖๖/๗๙-๘๗
๒ อย่าให้ครูดพื้น (วิ.อ. ๓/๖๖/๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะเข้าหมู่บ้าน พึงถวายผ้านุ่ง รับผ้านุ่งอาศัย ถวายประคด
เอว ถวายสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน ล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ
ถ้าอุปัชฌาย์หวังจะให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงนุ่งให้เรียบร้อยปกปิดได้มณฑล ๓๑
คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน กลัดลูกดุม ล้างบาตรถือไป เป็นปัจฉาสมณะ
ของอุปัชฌาย์ พึงเดินไม่ให้ห่างนัก ไม่ให้ชิดนัก พึงรับบาตรที่มีของบรรจุอยู่
เมื่ออุปัชฌาย์กำลังกล่าว ไม่พึงกล่าวสอดขึ้นในระหว่าง อุปัชฌาย์กล่าวถ้อยคำ
ใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย
เมื่ออุปัชฌาย์จะกลับ พึงมาก่อนแล้วปูอาสนะไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งอาศัย รับผ้านุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะ
พับจีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ตั้งใจว่า ตรงกลางจะได้ไม่มีรอยพับ
พึงม้วนประคดเอวใส่ขนดจีวร
ถ้าบิณฑบาตมี และอุปัชฌาย์ต้องการจะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาต
เข้าไปถวาย นำน้ำฉันมาถวาย เมื่ออุปัชฌาย์ฉันเสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมา
ถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเช็ดให้สะเด็ดน้ำผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้
ที่แดด
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร

เชิงอรรถ :
๑ มณฑล ๓ คือ ถ้าเป็นผ้าอุตตราสงค์(ผ้าห่ม) ต้องห่มปิดหลุ่มคอ และทำชายจีวรทั้ง ๒ ข้างให้เสมอกัน
ถ้าเป็นอันตรวาสก (ผ้านุ่ง)ต้องนุ่งปิดสะดือ แบะปิดเข่าทั้ง ๒ ข้าง (ดู วินัยปิฎกมหาวิภังค์แปล ๒/๕๗๖-๕๗๗/
๖๕๐-๖๕๑, และ วิ.อ. ๒/๕๗๖-๕๗๗/๔๔๗-๔๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
เมื่ออุปัชฌาย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำเย็น พึง
จัดน้ำเย็นถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำอุ่น พึงจัดน้ำอุ่นถวาย
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุรณ พึงแช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟ
เดินตามหลังอุปัชฌาย์ไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวาง ณ ที่สมควร
พึงถวายจุรณและดิน
ถ้าสามารถ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อจะเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดหน้าและ
หลัง จึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุเถระทั้งหลาย ไม่พึงกีดกันอาสนะพระนวกะ
ทั้งหลาย พึงทำบริกรรม๑แก่อุปัชฌาย์ในเรือนไฟ เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงถือ
ตั่งสำหรับเรือนไฟปิดหน้าและหลัง จึงออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรม๒แก่อุปัชฌาย์แม้ในน้ำ ตนสรงน้ำเสร็จแล้ว พึงขึ้นก่อนเช็ดตัว
ให้แห้งแล้วผลัดผ้า พึงเช็ดน้ำจากตัวอุปัชฌาย์ ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟมาก่อน ปูอาสนะ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ นำน้ำฉัน
มาถวายอุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้สอบถาม พึงสอบถาม
อุปัชฌาย์อยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถพึงชำระให้สะอาด เมื่อ
จะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อนวางไว้ ณ ที่สมควร พึงขนผ้า
ปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง สัทธิวิหาริกพึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบาน
ประตูและกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง

เชิงอรรถ :
๑ ทำบริกรรมในเรือนไฟ หมายถึงการถวายขี้เถ้า ดินเหนียว และน้ำร้อนเป็นต้น (วิ.สงฺคห. ๑๘๓/๒๕๘)
๒ ทำบริกรรมในน้ำ หมายถึงการขัดถูร่างกาย (วิ.สงฺคห. ๑๘๓/๒๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมาวาง
ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่ง
แดด เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบาน
ประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน พึงผึ่ง
แดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี รก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าอุปัชฌาย์เกิดความไม่ยินดี สัทธิวิหาริกพึงช่วยระงับ หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์เกิดความรำคาญ สัทธิวิหาริกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์เกิดความเห็นผิด สัทธิวิหาริกพึงให้สละเสีย หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยให้สละเสีย หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องอาบัติหนัก๑ ควรแก่ปริวาส สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อุปัชฌาย์”
ถ้าอุปัชฌาย์ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอุปัชฌาย์เข้าหาอาบัติเดิม”
ถ้าอุปัชฌาย์ควรแก่มานัต๒ สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อุปัชฌาย์”
ถ้าอุปัชฌาย์ควรแก่อัพภาน๓ สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอุปัชฌาย์”

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติหนัก ในที่นี้หมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส
๒ มานัต เป็นชื่อวุฏฐานวิธี คือระเบียบการปฏิบัติในการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส แปลว่า นับ หมายถึง
นับราตรี ๖ ราตรี ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าปกปิดไว้ ต้องอยู่ปริวาสเท่ากับวันที่ปกปิดก่อน
จึงจะขอมานัตได้ แต่ถ้าไม่ได้ปกปิดไว้ สามารถขอมานัตได้ แล้วประพฤติมานัต ๖ ราตรี (กงฺขา.อ. ๑๗๘)
๓ อัพภาน เป็นชื่อวุฏฐานวิธีที่เป็นขั้นตอนสุดท้าย ภิกษุผู้ประพฤติมานัตครบ ๖ ราตรีแล้ว ขออัพภานจาก
สงฆ์ ๒๐ รูป เมื่อสงฆ์สวดอัพภานแล้ว ถือว่าภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสนั้นบริสุทธิ์ สมควรอยู่ร่วมกับ
ภิกษุสงฆ์ต่อไป (กงฺขา.อ. ๑๗๘-๑๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
ถ้าสงฆ์ต้องการจะทำกรรม๑ คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม๒แก่อุปัชฌาย์ สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อุปัชฌาย์หรือพึงเปลี่ยนไปเป็น
โทษเบา” หรือว่าอุปัชฌาย์ได้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วย
อุบายอย่างไรหนอ อุปัชฌาย์พึงกลับประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงกลับตัวได้
สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย”
ถ้าจีวรของอุปัชฌาย์จะต้องซัก สัทธิวิหาริกพึงซัก หรือพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของอุปัชฌาย์”
ถ้าจีวรของอุปัชฌาย์จะต้องตัดเย็บ สัทธิวิหาริกพึงตัดเย็บ หรือพึงทำการขวน
ขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงตัดเย็บจีวรของอุปัชฌาย์”
ถ้าน้ำย้อมของอุปัชฌาย์จะต้องต้ม สัทธิวิหาริกพึงต้ม หรือพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของอุปัชฌาย์”
ถ้าจีวรของอุปัชฌาย์จะต้องย้อม สัทธิวิหาริกพึงย้อม หรือพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของอุปัชฌาย์” เมื่อจะย้อมจีวร พึงย้อม
พลิกกลับไปกลับมาดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงพากันจากไป
สัทธิวิหาริกไม่บอกอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบาตรของ
ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับจีวรของภิกษุบางรูป ไม่พึงให้

เชิงอรรถ :
๑ ทำกรรม หมายถึงลงโทษ
๒ ตัชชนียกรรม คือการขู่,การปราม (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๐๗-๔๑๑/๒๙๗-๓๐๑)
นิยสกรรม คือการถอดยศ,การปลดออกจากตำแหน่ง (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๑๒/๓๐๑-๓๐๒,๔๒๓/๓๐๘)
ปัพพาชนียกรรม คือการไล่ออกจากหมู่,การไล่ออกจากวัด (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๑๓/๓๐๒-๓๐๓)
ปฏิสารณียกรรม คือการให้ระลึกความผิด (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๑๔/๓๐๓)
อุกเขปนียกรรม คือการกันออกจากหมู่,การยกออกจากหมู่(วิ.ม. (แปล) ๕/๔๑๕/๓๐๓-๓๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
บริขารแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบริขารของภิกษุบางรูป ไม่พึงปลงผมให้ภิกษุบางรูป
ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ ไม่พึงทำบริกรรมแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบาง
รูปทำบริกรรมให้ ไม่พึงทำการขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งภิกษุบางรูปให้ทำ
การขวนขวาย ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป ไม่พึงพาภิกษุบางรูปไปเป็น
ปัจฉาสมณะ ไม่พึงนำบิณฑบาตไปถวายภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งภิกษุบางรูปให้นำ
บิณฑบาตไปถวาย
สัทธิวิหาริกไม่บอกลาอุปัชฌาย์ ไม่พึงเข้าหมู่บ้าน ไม่พึงไปป่าช้า ไม่พึงออกไป
ต่างถิ่น๑ ถ้าอุปัชฌาย์เป็นไข้ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าอุปัชฌาย์นั้น
จะหาย
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในอุปัชฌาย์ทั้งหลายสำหรับพวกสัทธิวิหาริกทั้งหลาย
โดยที่สัทธิวิหาริกทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลาย
๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา๒
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในสัทธิวิหาริก
[๓๗๗] สมัยนั้น พระอุปัชฌาย์ทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกทั้งหลาย
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระอุปัชฌาย์ทั้งหลาย
จึงไม่ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกทั้งหลายเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า อุปัชฌาย์
ทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกทั้งหลาย จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ ไปต่างถิ่น หมายถึงไปอยู่ที่อื่น (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๓/๒๙๐)
๒ วิ.ม. (แปล) ๔/๖๗/๘๘-๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า
[๓๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในสัทธิวิหาริกทั้งหลายแก่
อุปัชฌาย์ทั้งหลาย โดยที่อุปัชฌาย์ทั้งหลายพึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์พึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก วิธีประพฤติชอบใน
สัทธิวิหาริกนั้นมีดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์พึงสงเคราะห์อนุเคราะห์สัทธิวิหาริก ด้วยอุทเทส
ปริปุจฉา โอวาท และอนุศาสน์
ถ้าอุปัชฌาย์มีบาตร สัทธิวิหาริกไม่มีบาตร อุปัชฌาย์พึงถวายบาตรแก่สัทธิ-
วิหาริก หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตรพึงเกิดขึ้นแก่
สัทธิวิหาริก”
ถ้าอุปัชฌาย์มีจีวร สัทธิวิหาริกไม่มีจีวร อุปัชฌาย์พึงถวายจีวรแก่สัทธิวิหาริก
หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวรพึงเกิดขึ้นแก่สัทธิวิหาริก”
ถ้าอุปัชฌาย์มีบริขาร สัทธิวิหาริกไม่มีบริขาร อุปัชฌาย์พึงถวายบริขารแก่
สัทธิวิหาริก หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บริขารพึงเกิดขึ้น
แก่สัทธิวิหาริก”
ถ้าสัทธิวิหาริกเป็นไข้ อุปัชฌาย์พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า
ปูอาสนะ
ถ้าข้าวต้มมี พึงล้างภาชนะใส่ข้าวต้มเข้าไปถวาย เมื่อสัทธิวิหาริกฉันข้าวต้ม
เสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมาถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเก็บงำไว้
เมื่อสัทธิวิหาริกลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าสัทธิวิหาริก ต้องการจะเข้าหมู่บ้าน พึงถวายผ้านุ่ง รับผ้านุ่งอาศัย ถวาย
ประคดเอว ถวายสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน ล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ ปูอาสนะไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
โดยกำหนดว่า “เวลาเพียงเท่านี้ สัทธิวิหาริกจักกลับมา” พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่ง
รองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งอาศัย รับ
ผ้านุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะ
พับจีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ตั้งใจว่า ตรงกลางจะได้ไม่มีรอยพับ พึง
ม้วนประคดเอวใส่ขนดจีวร
ถ้าบิณฑบาตมี และสัทธิวิหาริกต้องการจะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณบาต
เข้าไปถวาย นำน้ำฉันมาถวาย เมื่อสัทธิวิหาริกฉันเสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมา
ถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเช็ดให้สะเด็ดน้ำผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้ง
ไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อจะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง
เอาชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
เมื่อสัทธิวิหาริกลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าสัทธิวิหาริกต้องการจะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าเธอต้องการน้ำเย็น
พึงจัดน้ำเย็นให้ ถ้าเธอต้องการน้ำอุ่น พึงจัดน้ำอุ่นถวาย
ถ้าสัทธิวิหาริกต้องการจะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุรณ พึงแช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือน
ไฟเดินไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวาง ณ ที่สมควร พึงถวายจุรณและ
ดิน
ถ้าสามารถ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อจะเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดหน้าและ
หลัง จึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดพระเถระ ไม่พึงกีดกันอาสนะพระนวกะ พึงทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
บริกรรมแก่สัทธิวิหาริกในเรือนไฟ เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ
ปิดหน้าและหลัง จึงออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรมแก่สัทธิวิหาริกแม้ในน้ำ ตนสรงเสร็จแล้ว พึงขึ้นก่อนเช็ดตัวให้
แห้งแล้วผลัดผ้า พึงเช็ดน้ำจากตัวสัทธิวิหาริก ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟมาก่อน ปูอาสนะ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ นำน้ำฉัน
มาถวายสัทธิวิหาริก
สัทธิวิหาริกอยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถ พึงชำระให้สะอาด
เมื่อจะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อน วางไว้ ณ ที่สมควร พึงขน
ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง อุปัชฌาย์พึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบานประตู
และกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่ สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง
พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมา
วางไว้ ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดด
เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อจะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง
เอาชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎีรก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อน้ำชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าสัทธิวิหาริกเกิดความไม่ยินดี อุปัชฌาย์พึงช่วยระงับ หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริก
ถ้าสัทธิวิหาริกเกิดความรำคาญ อุปัชฌาย์พึงช่วยบรรเทา หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริก
ถ้าสัทธิวิหาริกเกิดความเห็นผิด อุปัชฌาย์พึงให้สละเสีย หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยให้สละเสีย หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริก
ถ้าสัทธิวิหาริกต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่สัทธิวิหาริก”
ถ้าสัทธิวิหาริกควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักสัทธิวิหาริกเข้าหาอาบัติเดิม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
ถ้าสัทธิวิหาริกควรแก่มานัต อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่สัทธิวิหาริก”
ถ้าสัทธิวิหาริกควรแก่อัพภาน อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานสัทธิวิหาริก”
ถ้าสงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่สัทธิวิหาริกหรือพึงเปลี่ยนไปเป็น
โทษเบา” หรือว่าสัทธิวิหาริกได้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วย
อุบายอย่างไรหนอ สัทธิวิหาริกพึงกลับประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงกลับตัวได้
สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย”
ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องซัก อุปัชฌาย์พึงบอกว่า “พึงซักอย่างนี้” หรือพึง
ทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของสัทธิวิหาริก”
ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องตัดเย็บ อุปัชฌาย์พึงบอกว่า “พึงตัดเย็บอย่างนี้”
หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงตัดเย็บจีวรของสัทธิ-
วิหาริก”
ถ้าน้ำย้อมของสัทธิวิหาริกจะต้องต้ม อุปัชฌาย์พึงบอกว่า “พึงต้มอย่างนี้” หรือ
พึงทำการขวนขวายว่า“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของสัทธิวิหาริก”
ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องย้อม อุปัชฌาย์พึงบอกว่า “พึงย้อมอย่างนี้” หรือ
พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของสัทธิวิหาริก”
เมื่อจะย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย
ไม่พึงหลีกไป
ถ้าสัทธิวิหาริกเป็นไข้ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าสัทธิวิหาริกนั้น
จะหาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๓. อาจริยวัตตกถา
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในสัทธิวิหาริกสำหรับอุปัชฌาย์ทั้งหลาย โดยที่
อุปัชฌาย์ทั้งหลายพึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกทั้งหลาย
ทุติยภาณวาร จบ
๑๓. อาจริยวัตตกถา๑
ว่าด้วยอาจริยวัตร
[๓๗๙] สมัยนั้น อันเตวาสิกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในพระอาจารย์ทั้งหลาย
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนอันเตวาสิกทั้งหลายไม่
ประพฤติชอบในพระอาจารย์ทั้งหลายเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า
อันเตวาสิกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอาจารย์ทั้งหลาย จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า
[๓๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในอาจารย์ทั้งหลายแก่
อันเตวาสิกทั้งหลาย โดยที่อันเตวาสิกทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอาจารย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบในอาจารย์ วิธีประพฤติชอบในอาจารย์
นั้นมีดังนี้
อันเตวาสิกพึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า ปูอาสนะ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. (แปล) ๔/๗๔-๗๘/๑๐๒-๑๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๓. อาจริยวัตตกถา
ถ้าข้าวต้มมี พึงล้างภาชนะใส่ข้าวต้มเข้าไปถวาย เมื่ออาจารย์ฉันข้าวต้มเสร็จแล้ว
พึงถวายน้ำรับภาชนะมา ถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเก็บงำไว้ เมื่อ
อาจารย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าอาจารย์ต้องการจะเข้าหมู่บ้าน พึงถวายผ้านุ่ง รับผ้านุ่งอาศัย ถวายประคตเอว
ถวายสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน ล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ
ถ้าอาจารย์หวังจะให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงนุ่งให้เรียบร้อยปกปิดได้มณฑล ๓
คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน กลัดลูกดุม ล้างบาตรถือไป เป็นปัจฉา
สมณะของอาจารย์ พึงเดินไม่ให้ห่างนัก ไม่ให้ชิดนัก พึงรับบาตรที่มีของบรรจุอยู่
เมื่ออาจารย์กำลังกล่าว ไม่พึงกล่าวสอดขึ้นในระหว่าง อาจารย์กล่าวถ้อยคำ
ใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย
เมื่ออาจารย์จะกลับ พึงมาก่อนแล้วปูอาสนะไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งอาศัย รับผ้านุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะพับ
จีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ตั้งใจว่า ตรงกลางจะได้ไม่มีรอยพับ พึงม้วน
ประคดเอวใส่ขนดจีวร
ถ้าบิณฑบาตมี และอาจารย์ต้องการจะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาตเข้า
ไปถวาย นำน้ำฉันมาถวาย เมื่ออาจารย์ฉันเสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมาถือ
อย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเช็ดให้สะเด็ดน้ำผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งจับบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อจะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง
เอาชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
เมื่ออาจารย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้อง
เช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๓. อาจริยวัตตกถา
ถ้าอาจารย์ต้องการจะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำเย็น พึงจัด
น้ำเย็นถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำอุ่น พึงจัดน้ำอุ่นถวาย
ถ้าอาจารย์ต้องการจะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุรณ พึงแช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือน
ไฟเดินตามหลังอาจารย์ไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวาง ณ ที่สมควร
จึงถวายจุรณและดิน
ถ้าสามารถ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อจะเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดหน้าและหลัง
จึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดพระเถระ ไม่พึงกีดกันอาสนะพระนวกะ พึงทำบริกรรม
แก่อาจารย์ในเรือนไฟ เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟปิดหน้าและหลัง
จึงออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์แม้ในน้ำ ตนสรงน้ำเสร็จแล้ว พึงขึ้นก่อนเช็ดตัวให้
แห้งแล้วผลัดผ้า พึงเช็ดน้ำจากตัวอาจารย์ ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับเรือนไฟ
มาก่อน ปูอาสนะ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ นำน้ำฉันมา
ถวายอาจารย์
ถ้าอาจารย์ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน
ถ้าอาจารย์ต้องการจะให้สอบถามอรรถ พึงสอบถาม
อาจารย์อยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถ พึงชำระให้สะอาด เมื่อ
จะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อน วางไว้ ณ ที่สมควร พึงขนผ้า
ปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกมาวาง ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง อันเตวาสิกพึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบานประตู
และกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง
พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมาวาง
ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่เขาทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา ควรใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๓. อาจริยวัตตกถา
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วย
ฝุ่นละออง พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดด
เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้างหนึ่ง
คลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎีรก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าอาจารย์เกิดความไม่ยินดี อันเตวาสิกพึงช่วยระงับ หรือพึงบอกภิกษุอื่นให้
ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมีกถาแก่อาจารย์
ถ้าอาจารย์เกิดความรำคาญ อันเตวาสิกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมีกถาแก่อาจารย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๓. อาจริยวัตตกถา
ถ้าอาจารย์เกิดความเห็นผิด อันเตวาสิกพึงให้สละเสีย หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยให้สละเสีย หรือพึงแสดงธรรมีกถาแก่อาจารย์
ถ้าอาจารย์ต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อาจารย์”
ถ้าอาจารย์ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอาจารย์เข้าหาอาบัติเดิม”
ถ้าอาจารย์ควรแก่มานัต อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อาจารย์”
ถ้าอาจารย์ควรแก่อัพภาน อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอาจารย์”
ถ้าสงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อาจารย์หรือพึงเปลี่ยนไปเป็น
โทษเบา” หรือว่าอาจารย์ได้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วย
อุบายอย่างไรหนอ อาจารย์พึงกลับประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงกลับตัวได้
สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย”
ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องซัก อันเตวาสิกพึงซัก หรือพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของอาจารย์”
ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องตัดเย็บ อันเตวาสิกพึงตัดเย็บ หรือพึงทำการขวน
ขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงตัดเย็บจีวรของอาจารย์”
ถ้าน้ำย้อมของอาจารย์จะต้องต้ม อันเตวาสิกพึงต้ม หรือพึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของอาจารย์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องย้อม อันเตวาสิกพึงย้อม หรือพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของอาจารย์” เมื่อจะย้อมจีวร พึงย้อม
พลิกกลับไปกลับมาดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไป
อันเตวาสิกไม่บอกอาจารย์ ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบาตรของ
ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับจีวรของภิกษุบางรูป ไม่พึงให้
บริขารแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบริขารของภิกษุบางรูป ไม่พึงโกนผมให้ภิกษุบางรูป
ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปโกนผมให้ ไม่พึงทำบริกรรมแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูป
ทำบริกรรมให้ ไม่พึงทำการขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งภิกษุบางรูปให้ทำการ
ขวนขวาย ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป ไม่พึงพาภิกษุบางรูปไปเป็น
ปัจฉาสมณะ ไม่พึงนำบิณฑบาตไปถวายภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งภิกษุบางรูปให้นำ
บิณฑบาตไปถวาย
อันเตวาสิกไม่บอกลาอาจารย์ ไม่พึงเข้าหมู่บ้าน ไม่พึงไปป่าช้า ไม่พึงออกไป
ต่างถิ่น ถ้าอาจารย์เป็นไข้ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าอาจารย์นั้นจะหาย
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในอาจารย์ทั้งหลายสำหรับอันเตวาสิกทั้งหลาย โดย
ที่อันเตวาสิกทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอาจารย์ทั้งหลาย
๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา๑
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในอันเตวาสิก
[๓๘๑] สมัยนั้น พระอาจารย์ทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอันเตวาสิกทั้งหลาย
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระอาจารย์ทั้งหลาย
จึงไม่ประพฤติชอบในอันเตวาสิกเล่า”

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. (แปล) ๔/๗๙/๑๑๒-๑๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า อาจารย์ทั้งหลายไม่ประพฤติ
ชอบในอันเตวาสิกทั้งหลาย จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในอันเตวาสิกทั้งหลายแก่
อาจารย์ทั้งหลาย โดยที่อาจารย์ทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอันเตวาสิกทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก วิธีประพฤติชอบใน
อันเตวาสิกนั้นมีดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงสงเคราะห์อนุเคราะห์อันเตวาสิกด้วยอุทเทส ปริปุจฉา
โอวาท และอนุศาสน์
ถ้าอาจารย์มีบาตร อันเตวาสิกไม่มีบาตร อาจารย์พึงถวายบาตรแก่อันเตวาสิก
หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตรพึงเกิดขึ้นแก่อันเตวาสิก”
ถ้าอาจารย์มีจีวร อันเตวาสิกไม่มีจีวร อาจารย์พึงถวายจีวรแก่อันเตวาสิก หรือ
พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวรพึงเกิดขึ้นแก่อันเตวาสิก”
ถ้าอาจารย์มีบริขาร อันเตวาสิกไม่มีบริขาร อาจารย์พึงถวายบริขารแก่
อันเตวาสิก หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บริขารพึงเกิดขึ้นแก่
อันเตวาสิก”
ถ้าอันเตวาสิกเป็นไข้ อาจารย์พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า
ปูอาสนะ
ถ้าข้าวต้มมี พึงล้างภาชนะใส่ข้าวต้มเข้าไปถวาย เมื่ออันเตวาสิกฉันข้าวต้ม
เสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมาถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเก็บงำไว้
เมื่ออันเตวาสิกลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
ถ้าอันเตวาสิกต้องการจะเข้าหมู่บ้าน พึงถวายผ้านุ่ง รับผ้านุ่งอาศัย ถวาย
ประคดเอว ถวายสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน ล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ ปูอาสนะไว้
โดยกำหนดว่า “เวลาเพียงเท่านี้ อันเตวาสิกจักกลับมา” พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่ง
รองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งอาศัย รับผ้า
นุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะพับ
จีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ตั้งใจว่า ตรงกลางจะได้ไม่มีรอยพับ พึงม้วน
ประคดเอวใส่ขนดจีวร
ถ้าบิณฑบาตมี และอันเตวาสิกต้องการจะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาต
เข้าไปถวาย นำน้ำฉันมาถวาย เมื่ออันเตวาสิกฉันเสร็จแล้ว พึงถวายน้ำรับบาตร
มาถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเช็ดให้สะเด็ดน้ำผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่ง
ทิ้งไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือ
ข้างหนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อจะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง
เอาชายไว้นอก เอาขนดไว้ในจึงเก็บจีวร
เมื่ออันเตวาสิกลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าอันเตวาสิกต้องการจะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าเธอต้องการน้ำเย็น
พึงจัดน้ำเย็นถวาย ถ้าเธอต้องการน้ำอุ่น พึงจัดน้ำอุ่นถวาย
ถ้าอันเตวาสิกต้องการจะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุรณ พึงแช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือน
ไฟเดินไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วรับจีวรมาวาง ณ ที่สมควร พึงถวายจุรณ
และดิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
ถ้าสามารถ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อจะเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดหน้าและหลัง
จึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดพระเถระ ไม่พึงกีดกันอาสนะพระนวกะ พึงทำบริกรรม
แก่อันเตวาสิกในเรือนไฟ เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟปิดหน้า
และหลัง จึงออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรมแก่อันเตวาสิกแม้ในน้ำ ตนสรงเสร็จแล้ว พึงขึ้นก่อนเช็ดตัวให้
แห้งแล้วผลัดผ้า พึงเช็ดน้ำจากตัวอันเตวาสิก ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟมาก่อน ปูอาสนะเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ นำน้ำ
ฉันมาถวายอันเตวาสิก
อันเตวาสิกอยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถ พึงชำระให้สะอาด
เมื่อจะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อน วางไว้ ณ ที่สมควร พึงขน
ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง อาจารย์พึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบานประตู
และกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง
พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมา
วางไว้ ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดด
เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี รก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าอันเตวาสิกเกิดความไม่ยินดี อาจารย์พึงช่วยระงับ หรือพึงบอกภิกษุอื่นให้
ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิก
ถ้าอันเตวาสิกเกิดความรำคาญ อาจารย์พึงช่วยบรรเทา หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิก
ถ้าอันเตวาสิกเกิดความเห็นผิด อาจารย์พึงให้สละเสีย หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยสละเสีย หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิก
ถ้าอันเตวาสิกต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อาจารย์พึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อันเตวาสิก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
ถ้าอันเตวาสิกควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อาจารย์พึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอันเตวาสิกเข้าหาอาบัติเดิม”
ถ้าอันเตวาสิกควรแก่มานัต อาจารย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อันเตวาสิก”
ถ้าอันเตวาสิกควรแก่อัพภาน อาจารย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ สงฆ์พึงอัพภานอันเตวาสิก”
ถ้าสงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อันเตวาสิกหรือพึงเปลี่ยนไปเป็น
โทษเบา” หรือว่าอันเตวาสิกถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุเขปนียกรรมแล้ว อาจารย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ อันเตวาสิกพึงกลับประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงกลับตัวได้ สงฆ์
พึงระงับกรรมนั้นเสีย”
ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องซัก อาจารย์พึงบอกว่า “พึงซักอย่างนี้” หรือพึง
ทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของอันเตวาสิก”
ถ้าจีวรของอันเตวาสิก จะต้องตัดเย็บ อาจารย์พึงบอกว่า “พึงตัดเย็บอย่าง
นี้” หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงตัดเย็บจีวรของ
อันเตวาสิก”
ถ้าน้ำย้อมของอันเตวาสิกจะต้องต้ม อาจารย์พึงบอกว่า “พึงต้มอย่างนี้” หรือ
พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของอันเตวาสิก”
ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องย้อม อาจารย์พึงบอกว่า “พึงย้อมอย่างนี้” หรือ
พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของอันเตวาสิก”
เมื่อจะย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย
ไม่พึงหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ถ้าอันเตวาสิกเป็นไข้ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าอันเตวาสิกนั้น
จะหาย
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในพวกอันเตวาสิกทั้งหลายสำหรับอาจารย์ทั้งหลาย
โดยที่อาจารย์ทั้งหลายต้องประพฤติชอบในพวกอันเตวาสิกทั้งหลาย
วัตตขันธกะที่ ๘ จบ
ในขันธกะนี้มี ๑๙ เรื่อง ๑๔ วัตร
รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ภิกษุอาคันตุกะสวมรองเท้า กั้นร่ม คลุมศีรษะ
พาดจีวรบนศีรษะเข้าไปอาราม ใช้น้ำดื่มล้างเท้า
ไม่ไหว้ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษา
ไม่ต้อนรับด้วยเสนาสนะ งูตกลงมา ภิกษุผู้มีศีลตำหนิ
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติว่า ภิกษุอาคันตุกะจะเข้าอาราม
พึงถอดรองเท้า ลดร่ม ลดจีวรลงบ่า ไม่ต้องรีบเข้าอาราม
พึงสังเกตว่า ผู้อยู่ประจำในอาวาสประชุมกันที่ไหน
เก็บบาตรจีวรไว้ด้านหนึ่ง ถืออาสนะที่เหมาะสม
ถามถึงน้ำดื่ม น้ำใช้ พึงล้างเท้า
เช็ดรองเท้าด้วยผ้าแห้งก่อนแล้วเช็ดด้วยผ้าเปียกทีหลัง
อภิวาทภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้มีพรรษามากกว่า
ให้ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้มีพรรษาน้อยกว่าอภิวาท
ถามเสนาสนะทั้งที่มีและไม่มีภิกษุ
ถามถึงโคจรคามและอโคจรคาม ตระกูลเสกขสมมติ
ที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ น้ำดื่มน้ำใช้ ไม้เท้า
กติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า ควรเข้าออกเวลาไหน
พึงรอสักครู่ วิหารรกพึงชำระให้สะอาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
พึงขนเครื่องลาดพื้นไปไว้ที่สมควร เขียงรองเตียง
ฟูก หมอนเตียง ตั่ง กระโถน พนักพิง
พึงกวาดหยากไย่ตั้งแต่เพดานลงมาก่อน
เช็ดกรอบหน้าต่างและมุมห้อง ฝาที่ทาสีเหลืองหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา
ใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด พื้นไม่ได้ทา ใช้น้ำพรมแล้วเช็ด
เก็บหยากเยื้อทิ้ง พรหมปูพื้น เขียงรองเตียง เตียง ตั่ง
ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง กระโถน พนักพิง
ควรผึ่งแดด แล้วเก็บไว้ที่เดิม เก็บบาตรจีวร
อย่าวางบาตรไว้บนพื้นไม่มีเครื่องรอง
เก็บจีวรเอาชายไว้นอกเอกขนดไว้ใน
มีลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก ตะวันตก
ทิศเหนือหรือทิศใต้ พึงปิดหน้าต่าง
ทางทิศนั้น ๆ ฤดูหนาว กลางวันเปิดหน้าต่าง
ปิดกลางคืน หน้าร้อนตอนกลางวันปิดหน้าต่าง
เปิดตอนกลางคืน กวาดบริเวณ
ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟและวัจกุฎี
จัดเตรียมน้ำดื่มน้ำใช้และน้ำในหม้อชำระ
วัตรของภิกษุผู้จรมาดังกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงพระคุณ
อย่างไม่มีที่เปรียบทรงบัญญัติไว้แล้ว
ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาส ไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า
ไม่ลุกรับไม่ต้อนรับด้วยน้ำดื่มน้ำใช้ ไม่ไหว้ ไม่จัดเสนาสนะให้
ภิกษุผู้มีศีลตำหนิภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสเห็นภิกษุอาคันตุกะ
ผู้แก่พรรษากว่า ควรปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า
ลุกรับ นำน้ำดื่มน้ำใช้ต้อนรับ เช็ดรองเท้าให้
ซักผ้าเช็ดรองเท้าผึ่งไว้ด้านหนึ่ง
อภิวาทภิกษุอาคันตุกะผู้แก่พรรษากว่า
จัดเสนาสนะถวาย บอกเสนาสนะที่มีและไม่มีภิกษุอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
บอกโคจรคามและอโคจรคาม ตระกูลเสกขสมมติ
วัจกุฎี น้ำดื่มน้ำใช้ ไม้เท้า กติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า
เวลานี้ควรเข้าออก ภิกษุอาคันตุกะพรรษาน้อย
กว่าพึงนั่ง บอกแนะนำภิกษุอาคันตุกะพรรษาน้อยกว่าให้ไหว้
บอกเสนาสนะ นอกจากนั้น เหมือนในนัยตามที่กล่าวไว้แล้ว
วัตรของภิกษุผู้อยู่ในอาวาสดังกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็น
ผู้นำหมู่ได้ทรงแสดงไว้แล้ว
ภิกษุผู้เตรียมจะออกเดินทาง ไม่เก็บเครื่องใช้ไม้
เครื่องใช้ดินเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ ไม่บอกมอบหมายเสนาสนะ
เครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดินเสียหาย เสนาสนะ ไม่มีใครรักษา
ภิกษุผู้มีศีลตำหนิ ภิกษุผู้จะเดินทางพึงเก็บเครื่องใช้ไม้
เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่าง
มอบหมายเสนาสนะแล้วหลีกไป พึงมอบหมายภิกษุสามเณร
คนวัดหรืออุบาสกยกเตียงขึ้นวางไว้บนศิลา
กองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน เก็บเครื่องใช้ไม้
เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่าง
หากวิหารฝนรั่ว ถ้าสามารถพึงมุงบัง
หรือขวนขวาย ในวิหารที่ฝนไม่รั่วก็เหมือนกัน
ถ้าวิหารฝนรั่วทุกแห่งพึงขนเครื่องเสนาสนะเข้าบ้าน
ในที่แจ้งก็เหมือนกัน คิดว่าอย่างไรเสียส่วนของเตียงตั่ง
ก็คงเหลืออยู่บ้างนี้คือวัตรของภิกษุผู้ออกเดินทาง
ภิกษุไม่อนุโมทนาในโรงอาหารทำให้คนทั้งหลายตำหนิ
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระอนุโมทนา
ภิกษุปล่อยภิกษุผู้เถระไว้ให้อนุโมทนารูปเดียว
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้พระเถรานุเถระอยู่ ๔-๕ รูป
ภิกษุรูปหนึ่งปวดอุจจาระกลั้นไว้จนสลบ
นี้คือวัตรในการอนุโมทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท
เดินแซง นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ กีดกันอาสนะภิกษุนวกะ
นั่งทับสังฆาฏิ ภิกษุผู้มีศีลตำหนิ
ภิกษุพึงนุ่งห่มปิดมณฑล ๓ คาดประคดเอว
ห่มผ้าสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน
กลัดลูกดุม ไม่เดินแซง ปกปิดกายให้ดี
มีจักษุทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะดัง มีเสียงเบา
ไม่โคลงกาย ไม่แกว่งแขน ไม่โคลงศีรษะ
ไม่เท้าสะเอว ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง
ปกปิดกายให้ดี สำรวมดี มีจักษุทอดลง ไม่เวิกผ้า
ไม่หัวเราะดัง มีเสียงเบา ไม่โคลงกาย
ไม่แกว่งแขน ไม่โคลงศีรษะ ไม่เท้าสะเอว
ไม่คลุมศีรษะ ไม่นั่งรัดเข่า ไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ
ไม่เกียดกันอาสนะภิกษุนวกะ ไม่นั่งทับสังฆาฏิ
เมื่อเขาถวายน้ำพึงรับไปล้างบาตร
ถืออย่างระมัดระวัง เทน้ำลงกระโถนด้วยคิดว่า
กระโถนอย่าเลอะเทอะ ผู้นั่งใกล้อย่าถูกน้ำกระเซ็นเปียก
สังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น เมื่อเขาถวายข้าวสุก
พึงประคองบาตรรับ เว้นที่สำหรับแกง
จัดถวายแกงอ่อมเท่ากันทุกรูป รับบิณฑบาตโดยเคารพ
มีความสำคัญในบาตร รับบิณฑบาตพอเหมาะสมกับแกง
รับเสมอขอบปากบาตร ภิกษุผู้เถระไม่พึงฉันก่อน
จนกว่าข้าวสุกจะทั่วถึง ภิกษุทุกรูปฉันบิณฑบาตโดยเคารพ
มีความสำคัญในบาตรขณะฉัน ฉันตามลำดับ
ฉันพอเหมาะสมกับแกง ไม่ฉันขยุ้มแต่ยอดลงไป
ไม่ฉันกลบแกงหรือกับข้าว ไม่ขอแกงหรือกับข้าวมาฉัน
ไม่แลดูบาตรของภิกษุอื่นด้วยมุ่งตำหนิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่ ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
ไม่อ้าปากไว้รอท่า ไม่สอดนิ้วมือเข้าปาก
ไม่พูดทั้งในปากมีคำข้าว ไม่ฉันโยนคำข้าว
ไม่ฉันกัดคำข้าว ไม่ฉันทำแก้มให้ตุ่ย ไม่ฉันสลัดมือ
ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว ไม่ฉันแลบลิ้น ไม่ฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ
ไม่ฉันทำเสียงดังซู้ด ๆ ไม่ฉันเลียมือ ไม่ฉันขอดบาตร
ไม่ฉันเลียริมฝีปาก มือเปื้อนไม่ควรรับขันน้ำ
ภิกษุผู้เถระไม่รับน้ำก่อนที่ภิกษุทุกรูปยังฉันไม่เสร็จ
ล้างบาตรอย่างระมัดระวัง เทน้ำลงกระโถนอย่างระมัดระวัง
กระโถนอย่าเลอะน้ำ ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น
สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ เทน้ำลงบนพื้นดินอย่างระมัดระวัง
ไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าว
เมื่อกลับภิกษุนวกะพึงกลับก่อน ภิกษุผู้เถระกลับทีหลัง
ปกปิดกายด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง วัตรในโรงฉันนี้
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระธรรมราชาทรงบัญญัติไว้แล้ว
ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตนุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาทเข้าบ้าน
ออกจากบ้านโดยไม่สังเกต เข้าออกรีบร้อนเกินไป
ยืนไกลเกินไป ใกล้เกินไป นานเกินไป กลับเร็วเกินไป
อีกรูปหนึ่งก็เช่นเดียวกัน ภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
จะเข้าบ้านพึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี
มีจักษุทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะดัง พูดเสียงเบา
ไม่โคลงกาย ไม่แกว่งแขน ไม่โคลงศีรษะ ไม่เท้าสะเอว
ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง พึงสังเกตก่อน อย่ารีบเข้าออก
อย่ายืนไกลนัก ใกล้นัก นานนัก อย่ากลับเร็วนัก
พึงยืนกำหนดว่า เขาจะหยุดงานลุกจากที่นั่งจับทัพพี
ภาชนะตั้งไว้หรือไม่ แหวกผ้าสังฆาฏิน้อมบาตรเข้าไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ประคองบาตรรับอาหาร ขณะรับ ไม่มองดูหน้าผู้ถวาย
แม้ในแกงก็กำหนดเช่นเดียวกัน เมื่อเขาถวายอาหารแล้ว
ใช้สังฆาฏิคลุมบาตรกลับไป ปกปิดกายด้วยดีเดินไป
สำรวมด้วยดี มีจักษุทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะดัง
มีเสียงค่อย ไม่โคลงกาย ไม่แกว่งแขน ไม่โคลงศีรษะ
ไม่เท้าสะเอว ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง
รูปที่กลับมาก่อนปูอาสนะไว้รอ
ล้างภาชนะที่ใส่ของฉัน เตรียมน้ำดื่มน้ำใช้
รูปที่กลับทีหลังจะฉันก็พึงฉัน ถ้าไม่ฉันก็เททิ้ง
รื้อขนอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า
เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดโรงฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน
หม้อน้ำใช้หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า พึงจัดหาตั้งไว้
ถ้าเป็นเรื่องสุดวิสัยพึงกวักมือเรียกเพื่อนมาช่วย
แต่ไม่ควรออกคำสั่ง นี้คือวัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
ภิกษุอยู่ป่า ไม่เตรียมน้ำดื่ม น้ำใช้ ไฟ ไม้สีไฟ
ไม่รู้นักษัตรไม่รู้จักทิศ พวกโจรถามก็ตอบว่าไม่มี
ไม่รู้ทุกอย่าง จึงถูกทำร้าย ภิกษุผู้อยู่ป่า
พึงสวมถุงบาตร คล้องบ่า พาดจีวรบนไหล่
ครั้นจะเข้าบ้านควรถอดรองเท้าใส่ถุง
คล้องบ่า ปกปิดมณฑล ๓ ให้เรียบร้อย
แม้ในอารัญญิกวัตรก็มีนัยเหมือนในบิณฑจาริกวัตร
ออกจากบ้านแล้ว สวมถุงบาตรคล้องบ่า
พับจีวรวางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป
เตรียมน้ำฉัน น้ำใช้ ไฟ ไม้สีไฟ ไม้เท้า
เรียนนักษัตรทุกประเภทหรือเพียงบางส่วน รู้จักทิศ
วัตรของภิกษุผู้อยู่ป่านี้ พระผู้มีพระภาคผู้ ทรงเป็นผู้สูงสุดกว่า
สรรพสัตว์ทรงบัญญัติไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ภิกษุหลายรูปทำจีวรในที่แจ้ง ถูกฝุ่นธุลีฟุ้งกลบ
ภิกษุผู้มีศีลตำหนิ ถ้าวิหารรก เมื่อจะปัดกวาด
เริ่มต้นควรขนบาตรจีวรออกไป ขนฟูก หมอน
เตียง ตั่ง กระโถน พนักพิงออกไป
กวาดหยากเยื่อลงจากเพดาน เช็ดกรอบประตูหน้าต่างและมุมห้อง
ฝาทาน้ำมัน พื้นทาสีดำขึ้นรา ถ้าพื้นไม่ได้ทา
พึงเช็ดทำให้สะอาด ปัดกวาดหยากเยื่อทิ้ง
ไม่เคาะเสนาสนะใกล้ภิกษุ วิหาร น้ำดื่ม น้ำใช้
ไม่เคาะในที่สูง เหนือลม ใต้ลม พรหมปูพื้น เขียงรองเตียง
เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง กระโถน พนักพิง
ตากทำความสะอาดแล้วเก็บไว้ตามเดิม เก็บบาตรจีวร
อย่าวางบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีเครื่องรอง
จีวรต้องพาดชายไว้ด้านนอกขนดไว้ด้านใน
หากลมทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือหรือทิศใต้
พัดมาปิดหน้าต่างด้านทิศนั้น ๆ
หน้าหนาวตอนกลางวันเปิดหน้าต่าง
กลางคืนปิด หน้าร้อน กลางวันเปิดหน้าต่าง กลางคืนปิด
ปัดกวาดบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี
ตักน้ำดื่มน้ำใช้มาตั้งไว้ ตักน้ำใส่หม้อชำระไว้
อยู่กับภิกษุผู้มีพรรษามากกว่า ถ้ายังไม่ได้บอก
อย่าให้อุทเทส ปริปุจฉา อย่าสาธยาย
อย่าแสดงธรรม อย่าตามประทีป อย่าเปิดหน้าต่าง
อย่าปิดหน้าต่าง ควรเดินตามภิกษุแก่พรรษากว่า
อย่ากระทบแม้ด้วยชายสังฆาฏิ วัตรในเสนาสนะ
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นพระมหาวีระทรงบัญญัติไว้แล้ว
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถูกภิกษุผู้เถระห้าม ปิดประตู
ภิกษุผู้เถระสลบ ภิกษุผู้มีศีลตำหนิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ภิกษุควรนำเถ้าไปเททิ้ง ปัดกวาดเรือนไฟชาน
ภายนอกบริเวณซุ้มประตู ศาลาเรือนไฟ บดจุรณ
แช่ดินเหนียว ตักน้ำไว้ในราง เอาดินเหนียว
ทาหน้าปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง
ไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ ไม่เกียดกันอาสนะภิกษุนวกะ
ถ้ามีความอุตสาหะควรทำบริกรรมแก่ภิกษุผู้เถระในเรือนไฟ
อย่าสรงน้ำข้างหน้า เหนือน้ำ ให้หนทาง
เรือนไฟเปรอะเปื้อน ล้างรางแช่ดินเหนียว
เก็บตั่ง ดับไฟ ปิดประตูนี้คือวัตรในเรือนไฟ
ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้วไม่ชำระ ถ่ายอุจจาระตามลำดับพรรษา
ทรงอนุญาตให้ถ่ายตามลำดับผู้มาถึง
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าวัจกุฎีเร็ว เวิกผ้านุ่งเข้าไป
ถอนหายใจพลางถ่ายอุจจาระ เคี้ยวไม้ชำระฟัน
พลางถ่ายอุจจาระ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะออกนอกราง
บ้วนน้ำลายลงในราง ใช้ไม้ชำระเนื้อแข็ง
ทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระออกมาเร็วเกิน
เวิกผ้าออกมา ชำระมีเสียงดังโจ๊กโจ๊ก
เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระ ภิกษุผู้อยู่ข้างนอกพึงกระแอม
ภิกษุผู้อยู่ข้างในกระแอมรับ พาดจีวรไว้บนราว
สายระเดียง อย่ารีบเข้าไป อย่าเวิกผ้าเข้าไป ยืนบนเขียง
อย่าถอนหายใจดัง อย่าเคี้ยวไม้ชำระฟัน
อย่าถ่ายอุจจาระปัสสาวะออกนอกราง
อย่าบ้วนน้ำลายลงในราง อย่าใช้ไม้ชำระเนื้อแข็ง
อย่าทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่าย ยืนบนเขียงถ่ายแล้ว
ปิดผ้า อย่าออกมาเร็วนัก อย่าเวิกผ้าออกมา
ยืนบนเขียงถ่ายแล้วจึงปิด อย่าชำระมีเสียงดังจะปุจะปุ
อย่าเหลือน้ำชำระไว้ ยืนบนเขียงชำระแล้วปิดผ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
วัจกุฎีเลอะเทอะต้องทำความสะอาด
ตะกร้าไม้ชำระเต็มควรนำไปเท
วัจกุฎีชานภายนอกบริเวณซุ้มประตูรกก็ควรกวาด
ตักน้ำใส่หม้อชำระ นี้คือวัตรในวัจกุฏี
สัทธิวิหาริก ถอดรองเท้า ถวายไม้ชำระฟัน
น้ำล้างหน้า ปูอาสนะ ถวายข้าวต้ม ล้างภาชนะเก็บไว้
เก็บอาสนะ ที่รกพึงกวาด เข้าบ้าน ถวายผ้านุ่ง
ประคดเอว สังฆาฏิที่ซ้อน ๒ ชั้น บาตรพร้อมทั้งน้ำ
ปัจฉาสมณะ นุ่งปิดมณฑล ๓ ให้เรียบร้อย
คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิที่ซ้อน ล้างบาตร
เป็นปัจฉาสมณะ เดินไม่ห่างนัก ไม่ชิดนักรับของในบาตร
พระอุปัชฌาย์กำลังกล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ
กลับมาก่อนปูอาสนะไว้รอ ตั้งน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกไปรับ
ถวายผ้านุ่ง ผลัด ผึ่งที่แดด ผึ่งทิ้งไว้ครู่หนึ่ง
อย่าให้มีรอยพับ ม้วนประคดเอวไว้ในขนด
พระอุปัชฌาย์ต้องการจะฉัน น้อมถวายปิณฑบาต
ถามถึงน้ำดื่ม ถวายน้ำ รับบาตรถือมาอย่างระมัดระวัง
ผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง อย่าผึ่งทิ้งไว้ พึงเก็บบาตรและจีวร
อย่าเก็บบาตรไว้บนพื้น ไม่มีเครื่องลาด
พาดชายจีวรไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน
เก็บอาสนะและน้ำล้างเท้า ปัดกวาดที่รก
พระอุปัชฌาย์จะสรงน้ำ ถวายน้ำเย็น น้ำร้อน เรือนไฟ
บดจุรณ แช่ดิน ตามหลังเข้าไปถวายตั่ง รับจีวร
ถวายจุรณและดิน ถ้ามีความสามารถก็ใช้ดินทา
หน้าปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง ไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ
ไม่กีดกันอาสนะภิกษุนวกะ ทำบริกรรม ออกจากเรือนไฟ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง ทำบริกรรมในน้ำ
สรงน้ำแล้วขึ้นมาก่อน นุ่งผ้า เช็ดตัวให้แห้ง
เช็ดน้ำจากตัวพระอุปัชฌาย์ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ
ถือตั่งเรือนไฟ ปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถามถึงน้ำดื่ม
พึงเรียนพึงสอบถาม
ถ้ามีความอุตสาหะก็ควรปัดกวาดวิหารที่รก
ก่อนปัดกวาด ควรขนบาตรจีวร ผ้าปูนั่ง
ผ้าปูนอน ฟูก หมอน เตียง ตั่ง เขียงรองเตียง
กระโถน พนักพิงและเครื่องลาดพื้นออกไป
ปัดกวาดหยากเยื่อตั้งแต่เพดานลงมา เช็ดกรอบหน้าต่าง
ฝาทาน้ำมัน พื้นทาสีดำ พื้นไม่ได้ทำ พรหมปูพื้นผึ่งแดด
เขียงรองเตียง เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง
ผ้าปูนอน กระโถน พนักพิง เก็บบาตรจีวร
ลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
ทิศเหนือหรือทิศใต้ ควรปิดหน้าต่างด้านนั้น ๆ
หน้าหนาว หน้าร้อน กลางวัน กลางคืน บริเวณ ซุ้ม
โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี ตักน้ำดื่มน้ำใช้ หม้อชำระ
พระอุปัชฌาย์เกิดความไม่ยอนดี รำคาญ เห็นผิด
ต้องอาบัติหนัก ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
มานัต อัพภาน ถ้าถูกลงตัชชนียกรรม
นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรมและอุกเขปนียกรรม
จีวรของพระอุปัชฌาย์ควรซัก ทำย้อม
ย้อมให้พลิกกลับไปมา รับบาตรจีวรและบริขาร ปลงผม
ไม่ทำบริกรรมหรือ ขวนขวาย เป็นปัจฉาสมณะ
ให้บิณฑบาต เข้าบ้าน อย่าไปป่าช้า อย่าไปสู่ทิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
พระอุปัชฌาย์อาพาธ ควรพยาบาลตลอดชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย นี้คืออุปัชฌายวัตร อันสัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบ
พระอุปัชฌาย์สงเคราะห์ด้วยอุทเทส ปริปุจฉา โอวาท
และอนุศาสน์ ให้บาตร จีวรและบริขาร คราวอาพาธ
ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะ แม้อาจริยวัตรก็เหมือนกับอุปัชฌายวัตร
อันเตวาสิกวัตรก็เหมือนกับสัทธิวิหาริกวัตร
อาวาสิกวัตรก็เหมือนกับอาคันตุกวัตร คมิกวัตร
อนุโมทนาวัตร ภัตตัคควัตร ปิณฑจาริกวัตร
อารัญญิกวัตร เสนาสนวัตร ชันตาฆรวัตร วัจกุฎีวัตร
อุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาจริยวัตร
อันเตวาสิกวัตรก็เหมือนกัน
ในขันธกะนี้มี ๑๙ เรื่อง ๑๔ วัตร
ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญวัตร ชื่อว่าไม่บำเพ็ญศีล
ผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ทรามปัญญา
ย่อมไม่ประสบเอกัคคตาจิต ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน อารมณ์มาก
ย่อมไม่เห็นธรรมโดยชอบ เมื่อไม่เห็นพระสัทธรรม
ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ภิกษุผู้บำเพ็ญวัตร ชื่อว่าบำเพ็ญศีล
ผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญา ย่อมได้รับเอกัคคตาจิต
ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน อารมณ์เดียว ย่อมเห็นธรรมโดยธรรม
เมื่อเห็นพระสัทธรรม ย่อมพ้นจากทุกข์ได้
เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้เป็นพุทธชิโนรส มีปัญญาเห็นประจักษ์
พึงบำเพ็ญวัตร อันเป็นพระโอวาทของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
แต่นั้นจะถึงพระนิพพานได้ดังนี้แล
วัตตขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๑. ปาติโมกขุทเทสยาจนะ
๙. ปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ
๑. ปาติโมกขุทเทสยาจนะ
ว่าด้วยการขอให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
[๓๘๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทในปุพพารามของ
นางวิสาขามิคารมาตา ครั้งนั้น ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง
มีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม
ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจาก
อาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาค ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ราตรีผ่านไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว
ภิกษุสงฆ์นั่งนานแล้วพระผู้มีพระภาคโปรดยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด”
เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงนิ่ง
แม้ครั้งที่ ๒ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว เมื่อมัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์
ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาค
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ราตรีผ่านไปแล้ว มัชฌิมยาม
ผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งนานแล้ว พระผู้มีพระภาคโปรดยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่
ภิกษุทั้งหลายเถิด”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว เมื่อปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว ยามรุ่งอรุณ ท่าน
พระอานนท์ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่งประนมมือไปทางพระผู้
มีพระภาค ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ราตรีผ่านไปแล้ว
ปัจฉิมยามผ่านไป ภิกษุสงฆ์นั่งนานแล้ว พระผู้มีพระภาคโปรดยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๑. ปาติโมกขุทเทสยาจนะ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์”
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า บริษัทไม่บริสุทธิ์ ทรงหมายถึงใครกัน” ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
มนสิการกำหนดจิตภิกษุสงฆ์ที่มีทั้งหมดด้วยจิต(ของตน) ได้เห็นบุคคลนั้นผู้ทุศีล มี
บาปธรรม ประพฤติไม่เรียบร้อย น่ารังเกียจ ปกปิดพฤติกรรม ไม่ใช่สมณะแต่
ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าใน เปียกชุ่ม
เป็นดุจหยากเยื่อ นั่งอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาบุคคลนั้น แล้วได้
กล่าวกับบุคคลนั้นดังนี้ว่า “ท่านจงลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่าน
ไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย” เมื่อท่านพระมหาโมคคัลลานะแม้กล่าวอย่างนี้ บุคคลนั้น
ก็ยังนิ่ง
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นดังนี้ว่า “ท่าน
จงลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่าน ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย”
แม้ครั้งที่ ๒ บุคคลนั้นก็ยังนิ่ง
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นดังนี้ว่า “ท่าน
จงลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่าน ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย”
แม้ครั้งที่ ๓ บุคคลนั้นก็ยังนิ่ง
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจับแขนบุคคลนั้นฉุดให้ออกไปนอกซุ้มประตู
ใส่กลอนแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าพระพุทธเจ้าให้ผู้นั้นออกไปพ้นแล้ว บริษัทบริสุทธิ์แล้ว ขอพระ
ผู้มีพระภาคโปรดยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์จริง โมคคัลลานะ เป็นเรื่อง
ยังไม่เคยปรากฏ โมฆบุรุษรอจนกระทั่งถูกฉุดแขนออกไป”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๒. มหาสมุทเทอัฎฐัจฉริยะ
๒. มหาสมุทเทอัฏฐัจฉริยะ
ว่าด้วยความอัศจรรย์ของมหาสมุทร ๘ ประการ๑
[๓๘๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ในมหาสมุทร มีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว
ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
สิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ คือ
๑. มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ
ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดย
ลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ในมหา
สมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๒. (น้ำใน)มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่(น้ำใน)มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีใน
มหาสมุทร
๓. มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบก
ทันที
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึง
บนบกทันที นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๓ ในมหาสมุทร ที่พวก
อสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๔. มหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลงสู่
มหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า มหา
สมุทรทั้งสิ้น

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๑๙/๒๔๖, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๔๕/๒๖๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น