Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๗-๘ หน้า ๓๒๘ - ๓๗๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗-๘ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายกำลังระงับอธิกรณ์ของภิกษุณีทั้งหลาย เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กำลังวินิจฉัยอธิกรณ์อยู่ ปรากฏมีภิกษุณีทั้งหลายที่เข้ากรรม๑บ้าง ต้องอาบัติบ้าง
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ดีแล้วท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงทำกรรม
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงรับอาบัติของภิกษุณีทั้งหลาย เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงระงับอธิกรณ์ของภิกษุณีทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายมอบการ
ลงโทษภิกษุณีทั้งหลายให้แก่ภิกษุณีทั้งหลาย เพื่อให้ภิกษุณีทั้งหลายลงโทษภิกษุณี
ทั้งหลายกันเอง ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายมอบการปลงอาบัติของ
ภิกษุณีทั้งหลายให้แก่ภิกษุณีทั้งหลาย เพื่อให้ภิกษุณีทั้งหลายรับอาบัติกับภิกษุณี
ทั้งหลายด้วยกัน”
สมัยนั้น ภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีอุบลวรรณา ติดตามพระผู้มีพระภาค
เรียนพระวินัยอยู่ ๗ ปี นางกลับมีสติฟั่นเฟือน พระวินัยที่เรียนไว้ก็เลอะเลือน นาง
ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคประสงค์จะเสด็จไปกรุงสาวัตถี จึงคิดว่า “เราติดตาม
พระผู้มีพระภาค เรียนพระวินัยอยู่ ๗ ปี จนสติฟั่นเฟือน พระวินัยที่เคยเรียนไว้ ก็
เลอะเลือน การที่มาตุคามจะติดตามพระผู้มีพระภาคไปจนตลอดชีวิตเป็นเรื่องยาก เรา
จะพึงปฏิบัติอย่างไรเล่า” จึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
ภิกษุณีทั้งหลายจึงบอกความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายสอนวินัย
แก่ภิกษุณีทั้งหลายได้”
ปฐมภาณวาร จบ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้เข้ากรรม ในที่นี้ หมายถึงผู้ควรแก่กรรมคือควรถูกลงโทษ (กมฺมปฺปตฺตาโยปีติ กมฺมารหาปิ-สารตฺถ ๓/
๕๓๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
๒. ทุติยภาณวาร
[๔๑๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงเวสาลีตามพระอัธยาศัย
แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงสาวัตถี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถปิณฑิกคหบดี ในกรุง
สาวัตถีนั้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยคิดว่า “บางที
ภิกษุณีทั้งหลายจะรักพวกเราบ้าง”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้น้ำโคลนรดภิกษุณี
ทั้งหลาย รูปใดรด ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม
ภิกษุผู้ประพฤติเช่นนั้น”
สมัยนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงประกาศให้ทราบว่า
ภิกษุ นั้นไม่ควรไหว้”๑
ภิกษุแสดงอวัยวะอวดภิกษุณี
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เปิดกายแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย เปิดขาอ่อน
แสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย เปิดองคชาตแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พูดเกี้ยวภิกษุณี
ทั้งหลาย ชักชวนบุรุษให้มาคบหารักกับภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยคิดว่า “ภิกษุณีทั้งหลาย
จะรักพวกเราบ้าง”

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุณีสงฆ์พึงประชุมกันในสำนักภิกษุณี ประกาศว่า “พระคุณเจ้ารูปโน้น แสดงอาการที่ไม่น่าเลื่อมใสต่อ
ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พอใจที่จะไม่กราบไหว้พระคุณเจ้ารูปนั้น” ๓ ครั้ง (วิ.อ. ๓/๔๑๑/๔๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเปิดกายแสดงแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ไม่พึงเปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ... ไม่พึงเปิดองคชาตแสดงแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย ... ไม่พึงพูดเกี้ยวภิกษุณีทั้งหลาย ... ไม่พึงชักชวนบุรุษให้มาคบหา
รักกับภิกษุณีทั้งหลาย รูปใดพึงชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ลงทัณฑกรรมภิกษุผู้ประพฤติเช่นนั้น”
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงประกาศให้ทราบว่า ภิกษุ
นั้นไม่ควรไหว้”
ต่อมา พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุทั้งหลาย ด้วยคิดว่า “ภิกษุ
ทั้งหลายจะรักพวกเราบ้าง”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้น้ำโคลนรดภิกษุ
ทั้งหลาย รูปใดรด ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่
ภิกษุณีผู้ประพฤติเช่นนี้”
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะลงทัณฑกรรมอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ห้ามปราม”
เมื่อภิกษุทั้งหลายห้ามปรามแล้ว ภิกษุณีทั้งหลายก็ยังไม่ยอมเชื่อ
ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดการให้โอวาท”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุณีแสดงอวัยวะอวดภิกษุ
สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์เปิดกายแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย เปิดถันแสดง
แก่ภิกษุทั้งหลาย เปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย เปิดองค์กำเนิดแสดงแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย พูดเกี้ยวภิกษุทั้งหลาย ชักชวนสตรีให้มาคบหารักกับภิกษุทั้งหลาย ด้วย
คิดว่า “ภิกษุทั้งหลายจะรักพวกเราบ้าง”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงเปิดกายแสดงแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ... ไม่พึงเปิดถันแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ... ไม่พึงเปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ... ไม่พึงเปิดองค์กำเนิดแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ... ไม่พึงพูดเกี้ยวภิกษุทั้งหลาย
... ไม่พึงชักชวนสตรีให้มาคบหารักกับภิกษุทั้งหลาย รูปใดชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุณีผู้ประพฤติเช่นนั้น”
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ห้ามปราม”
เมื่อภิกษุทั้งหลายห้ามปรามแล้ว ภิกษุณีทั้งหลายก็ยังไม่ยอมเชื่อ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดโอวาท”
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “การทำอุโบสถร่วมกับภิกษุณีที่ถูก
งดโอวาทแล้ว ควรหรือไม่หนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงทำอุโบสถร่วม
กับภิกษุณีที่ถูกงดโอวาท จนกว่าอธิกรณ์นั้นจะระงับไป”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เรื่องงดโอวาท
[๔๑๒] สมัยนั้น ท่านพระอุทายีงดโอวาทแล้วหลีกจาริกไป ภิกษุณีทั้งหลาย
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าอุทายี จึงงดโอวาทแล้วหลีกจาริก
ไปเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายไม่พึงงดโอวาทแล้ว
จาริกไป รูปใดเที่ยวจาริกไป ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้โง่เขลาไม่ฉลาด งดโอวาท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้
ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้โง่เขลาไม่ฉลาด ไม่พึงงดโอวาท
รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดโอวาท เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดโอวาท เพราะเรื่องไม่
สมควร เพราะเหตุไม่สมควร รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดโอวาทแล้วไม่ให้คำวินิจฉัย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุงดโอวาทแล้วจะไม่ให้คำวินิจฉัย
ไม่ได้ รูปใดไม่ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
[๔๑๓] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ยอมไปรับโอวาท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่ไปรับโอวาทไม่ได้ รูปใด
ไม่ไป พึงปรับอาบัติตามธรรม”๑
สมัยนั้น ภิกษุณีสงฆ์พากันไปรับโอวาท(พร้อมกัน)ทั้งหมด คนทั้งหลายจึงตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุเหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็น
ชู้ของภิกษุเหล่านี้ บัดนี้ภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้จะอภิรมย์กัน”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไปรับโอวาท(พร้อม
กัน)ทั้งหมด ถ้าไป(พร้อมกัน)ทั้งหมด ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ภิกษุณี ๔-๕ รูป ไปรับโอวาท”
สมัยนั้น ภิกษุณี ๔-๕ รูปไปรับโอวาท คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุ
เหล่านี้ บัดนี้ภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้จะอภิรมย์กัน”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงไปรับโอวาท ๔-๕ รูป
ถ้าพวกเธอไป ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณี ๒-๓ รูป
ไปรับโอวาท”
วิธีรับโอวาทของภิกษุณี
ภิกษุณีทั้งหลายพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่งกราบเท้า
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “พระคุณเจ้า ภิกษุณีสงฆ์กราบเท้าภิกษุสงฆ์
และขอเข้ารับโอวาท นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้การเข้ารับโอวาท”

เชิงอรรถ :
๑ พึงปรับอาบัติตามธรรม หมายถึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ ตามความแห่งสิกขาบทที่ ๙ แห่งอารามวรรค ที่
กำหนดให้ภิกษุณีทั้งหลายต้องเข้าไปถามอุโบสถและฟังโอวาทจากภิกษุทั้งหลายสงฆ์ทุกครึ่งเดือน (ดู วิ.ภิกฺขุนี. แปล
๓/๑๐๕๘/๒๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
ภิกษุณีสงฆ์กราบเท้าภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ารับโอวาท นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้การ
เข้ารับโอวาท”
ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงพึงถามว่า “ภิกษุบางรูปที่สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณี
มีอยู่หรือ”
ถ้าภิกษุบางรูปที่สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีอยู่ ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงพึงกล่าวว่า “ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาภิกษุนั้น”
ถ้าภิกษุบางรูปที่สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณีไม่มีอยู่ ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
พึงถามว่า “ท่านรูปใดสามารถสอนภิกษุณีได้เล่า” ถ้าภิกษุบางรูปสามารถกล่าวสอน
ภิกษุณีได้และมีคุณสมบัติ ๘ อย่าง ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงพึงสวดแต่งตั้งแล้ว
ประกาศว่า “ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาภิกษุนั้น”
ถ้าไม่มีใครสามารถจะสอนภิกษุณีได้ ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พึงบอกว่า
“ไม่มีรูปใดที่สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเป็นอยู่ด้วยอาการที่น่าเลื่อมใสเถิด”
[๔๑๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ยอมรับให้โอวาท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจะไม่รับให้โอวาทไม่ได้
รูปใดไม่รับ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นคนโง่เขลา ภิกษุณีทั้งหลายพากันไปหาภิกษุนั้น ได้
กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท”
ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมาเป็นคนโง่เขลา จะรับให้โอวาทได้
อย่างไรกัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงรับให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลา เราอนุญาตให้
ภิกษุทั้งหลายที่เหลือรับให้โอวาท”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ภิกษุณีทั้งหลายพากันเข้าไปหาภิกษุนั้นแล้วได้
กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท”
ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมาเป็นไข้ จะรับให้โอวาทได้อย่างไรกัน”
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลา ภิกษุทั้งหลายที่เหลือพึงรับให้โอวาท”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลาและภิกษุเป็นไข้
เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายที่เหลือพึงรับให้โอวาท”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังเตรียมจะเดินทาง ภิกษุณีทั้งหลายพากันเข้าไปหา
ภิกษุนั้นได้กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท”
ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมากำลังจะเดินทาง จะรับให้โอวาท
ได้อย่างไรกัน”
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลาและภิกษุเป็นไข้ ภิกษุทั้งหลาย
ที่เหลือพึงรับให้โอวาท”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลา ภิกษุเป็นไข้และ
ภิกษุกำลังจะเดินทาง เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายที่เหลือรับให้โอวาท”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า ภิกษุณีทั้งหลายพากันเข้าไปหาภิกษุนั้น ได้
กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท”
ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมาอยู่ในป่า จะรับให้โอวาทได้อย่างไร
กัน”
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ยกเว้นภิกษุโง่เขลา ภิกษุเป็นไข้และภิกษุผู้กำลัง
จะเดินทาง ภิกษุทั้งหลายที่เหลือพึงรับให้โอวาท”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ป่ารับให้โอวาท
และนัดหมายว่า เราจะกลับมาในที่นั้น”
[๔๑๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับให้โอวาทแล้วไม่บอก(โอวาท) ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่บอกโอวาทไม่ได้ รูปใดไม่บอก
ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับให้โอวาทแล้วไม่ยอมกลับมาบอก(โอวาท) ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่กลับมาบอกโอวาทไม่ได้ รูปใด
ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ไปที่นัดหมาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่ไปที่นัดหมายไม่ได้ รูปใด
ไม่ไป ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เรื่องภิกษุณีรัดสีข้าง
[๔๑๖] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้ประคดเอวผืนยาว ภิกษุณีเหล่านั้นใช้ผ้านั้น
รัดสีข้าง คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้ประคดเอวผืนยาว รูป
ใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตประคดเอวที่รัดได้รอบเดียวแก่
ภิกษุณี ภิกษุณีไม่พึงใช้ประคดเอวนั้นรัดสีข้าง รูปใดรัด ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้แผ่นไม้สานรัดสีข้าง ใช้แผ่นหนังรัดสีข้าง ใช้แผ่นผ้า
ขาวรัดสีข้าง ใช้ช้องผ้ารัดสีข้าง ใช้เกลียวผ้ารัดสีข้าง ใช้ผ้าผืนเล็กรัดสีข้าง ใช้ช้อง
ผ้าผืนเล็กรัดสีข้าง ใช้เกลียวผ้าผืนเล็กรัดสีข้าง ใช้ช้องถักด้วยด้ายรัดสีข้าง ใช้เกลียว
ด้ายรัดสีข้าง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้แผ่นไม้สานรัดสีข้าง ...
ไม่พึงใช้แผ่นหนังรัดสีข้าง ... ไม่พึงใช้แผ่นผ้าขาวรัดสีข้าง ... ไม่พึงใช้ช้องผ้ารัดสีข้าง ...
ไม่พึงใช้เกลียวผ้ารัดสีข้าง .... ไม่พึงใช้ผ้าผืนเล็กรัดสีข้าง ... ไม่พึงใช้ช้องผ้าผืนเล็กรัด
สีข้าง ... ไม่พึงใช้เกลียวผ้าผืนเล็กรัดสีข้าง ... ไม่พึงใช้ช้องถักด้วยด้ายรัดสีข้าง ... ไม่พึง
ใช้เกลียวด้ายรัดสีข้าง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องภิกษุณีนวดกาย
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้กระดูกแข้งโคขัดสีตะโพก ใช้ไม้มีสัณฐานดุจคางโค
นวดตะโพก นวดมือ นวดหลังมือ นวดเท้า นวดหลังเท้า นวดขาอ่อน นวดหน้า นวด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ริมฝีปาก คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์
ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้กระดูกแข้งโคสีตะโพก
... ไม่พึงใช้ไม้มีสัณฐานดุจคางโคนวดตะโพก ... ไม่พึงนวดมือ ... ไม่พึงนวดหลังมือ ...
ไม่พึงนวดเท้า ... ไม่พึงนวดหลังเท้า ... ไม่พึงนวดขาอ่อน ... ไม่พึงนวดหน้า ... ไม่
พึงนวดริมฝีปาก รูปใดนวด ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องภิกษุณีทาหน้า
[๔๑๗] สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทาหน้า ... ถูหน้า ... ผัดหน้า ... เจิมหน้า
ด้วยมโนศิลา ... ย้อมตัว ... ย้อมหน้า ... ย้อมทั้งตัวและหน้า
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงทาหน้า ... ไม่พึงถูหน้า
... ไม่พึงผัดหน้า ... ไม่เจิมหน้าด้วยมโนศิลา ... ไม่พึงย้อมตัว ... ไม่พึงย้อมหน้า
... ไม่พึงย้อมทั้งตัวและหน้า รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายแต้มหน้า ... ทาแก้ม .... เล่นหูเล่นตา ... ยืนแอบที่
ประตู .... ให้ผู้อื่นฟ้อนรำ ... ตั้งสำนักหญิงแพศยา ... ตั้งร้านขายสุรา ... ตั้งร้านขายเนื้อ
ออกร้านขายของเบ็ดเตล็ด ... ประกอบการค้ากำไร ... ประกอบการค้าขาย ... ใช้ทาส
ให้ปรนนิบัติ ... ใช้ทาสีให้ปรนนิบัติ ... ใช้กรรมกรชายให้ปรนนิบัติ... ใช้กรรมกรหญิง
ให้ปรนนิบัติ... ใช้สัตว์ดิรัจฉานให้ปรนนิบัติ... ขายของสดและของสุก ... ใช้สันถัต
ขนเจียมหล่อ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงแต้มหน้า ... ไม่
พึงทาแก้ม ... ไม่พึงเล่นหูเล่นตา ... ไม่พึงยืนแอบที่ประตู ... ไม่พึงให้ผู้อื่นฟ้อนรำ ...
ไม่พึงตั้งสำนักหญิงแพศยา ... ไม่พึงตั้งร้านขายสุรา ... ไม่พึงตั้งร้านขายเนื้อ ... ไม่พึง
ออกร้านขายของเบ็ดเตล็ด ... ไม่พึงประกอบการค้ากำไร ... ไม่พึงประกอบการค้าขาย
... ไม่พึงใช้ทาสให้ปรนนิบัติ ... ไม่พึงใช้ทาสีให้ปรนนิบัติ ... ไม่พึงใช้กรรมกรชายให้
ปรนนิบัติ ... ไม่พึงใช้กรรมกรหญิงให้ปรนนิบัติ ... ไม่พึงใช้สัตว์ดิรัจฉานให้ปรนนิบัติ ...
ไม่พึงขายของสดและของสุก ... ไม่พึงใช้สันถัตขนเจียมหล่อ รูปใดใช้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ”
เรื่องภิกษุณีใช้จีวรสีเขียวล้วน
[๔๑๘] สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ห่มจีวรสีเขียวล้วน ... ห่มจีวรสีเหลือง
ล้วน ... ห่มจีวรสีแดงล้วน ... ห่มจีวรสีบานเย็นล้วน ... ห่มจีวรสีดำล้วน ... ห่มจีวร
สีแสด ... ห่มจีวรสีชมพู ... ห่มจีวรไม่ตัดชาย ... ห่มจีวรมีชายยาว ... ห่มจีวรมีชาย
เป็นลายดอกไม้ ...ห่มจีวรมีชายเป็นแผ่น ... สวมเสื้อ ... สวมหมวก
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงห่มจีวรสีเขียวล้วน ... ไม่
พึงห่มจีวรสีเหลืองล้วน ... ไม่พึงห่มจีวรสีแดงล้วน ... ไม่พึงจีวรสีบานเย็นล้วน
... ไม่พึงห่มจีวรสีดำล้วน ... ไม่พึงห่มจีวรสีแสดล้วน ... ไม่พึงห่มจีวรสีชมพูล้วน ...
ไม่พึงห่มจีวรไม่ตัดชาย ... ไม่พึงห่มจีวรมีชายยาว ... ไม่พึงห่มจีวรมีชายเป็นลาย ดอกไม้
... ไม่พึงห่มจีวรมีชายเป็นแผ่น ... ไม่พึงสวมเสื้อ ... ไม่พึงสวมหมวก รูปใดสวม
ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องพินัยกรรมของภิกษุณีสงฆ์
[๔๑๙] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง กำลังจะมรณภาพ สั่งอย่างนี้ว่า “เมื่อดิฉัน
ล่วงลับไป บริขารของดิฉันจงเป็นของสงฆ์” บรรดาสหธรรมิกเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
กับภิกษุณีทั้งหลายโต้เถียงกันว่า “บริขารต้องเป็นของพวกเรา บริขารต้องเป็นของ
พวกเรา”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุณีกำลังจะมรณภาพสั่งอย่าง
นี้ว่า ‘เมื่อดิฉันล่วงลับไป บริขารของดิฉันจงเป็นของสงฆ์’ ภิกษุสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ใน
บริขารนั้น บริขารนั้นตกเป็นของภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสิกขมานากำลังจะมรณภาพ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสามเณรีกำลังจะมรณภาพ สั่งอย่างนี้ว่า ‘‘เมื่อดิฉันล่วงลับไป
บริขารของดิฉันจงเป็นของสงฆ์’ ภิกษุสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขารนั้น บริขารนั้นตกเป็น
ของภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุกำลังจะมรณภาพ สั่งอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราล่วงลับไป
บริขารของเราจงเป็นของสงฆ์’ ภิกษุณีสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขารนั้น บริขารนั้นตกเป็น
ของภิกษุสงฆ์ฝายเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสามเณรกำลังจะมรณภาพ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอุบาสกกำลังจะตาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอุบาสิกากำลังจะตาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าผู้อื่น(นอกเหนือจากนี้)กำลังจะตาย สั่งอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเรา
ล่วงลับไป บริขารของเราจงเป็นของสงฆ์’ ภิกษุณีสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขารนั้น บริขาร
ตกเป็นของภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว”
เรื่องภิกษุณีใช้ไหล่กระแทกภิกษุ
[๔๒๐] สมัยนั้น สตรีคนหนึ่งเป็นอดีตภรรยาของนักมวย บวชในสำนักภิกษุณี
นางเห็นภิกษุทุพพลภาพที่ถนน จึงใช้ไหล่กระแทกให้เซ ภิกษุทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีเห็นภิกษุทุพพลภาพที่ถนน จึงใช้ไหล่กระแทกให้เซเล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้ไหล่กระแทกภิกษุ รูป
ใดใช้ไหล่กระแทก ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภิกษุณีเห็นภิกษุแล้ว
หลีกทางให้แต่ไกล”
เรื่องภิกษุณีใช้บาตรใส่ทารก
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งเป็นแม่ม่ายผัวร้าง ได้มีครรภ์กับชายชู้ นางทำแท้งแล้ว
ใช้ภิกษุณีผู้ที่ตนอุปถัมภ์ว่า “แม่เจ้า ท่านโปรดใช้บาตรใส่ทารกนี้ไป” ภิกษุณีวางทารก
ในบาตรแล้วใช้สังฆาฏิปิดเดินไป
สมัยนั้น ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตรูปหนึ่ง ตั้งใจสมาทานว่า “เรายังไม่ให้อาหาร
ที่ได้มาแก่ภิกษุหรือภิกษุณีก่อนแล้วจะไม่ยอมฉัน”
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นได้พบภิกษุณีรูปนั้นจึงกล่าวว่า “น้องหญิงเชิญท่านรับอาหารเถิด”
นางปฏิเสธว่า “อย่าเลย พระคุณเจ้า”
แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุรูปนั้นก็ยังกล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “น้องหญิง เชิญท่าน
รับอาหารเถิด” นางปฏิเสธว่า “อย่าเลย พระคุณเจ้า”
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุรูปนั้นก็ยังกล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “น้องหญิง เชิญท่าน
รับอาหารเถิด” นางปฏิเสธว่า “อย่าเลย พระคุณเจ้า”
ภิกษุนั้นบอกว่า “อาตมาตั้งใจสมาทานว่า ‘ยังไม่ให้อาหารที่ได้มาแก่ภิกษุหรือ
ภิกษุณีก่อนแล้วเราจะไม่ยอมฉัน’ เชิญท่านรับเถิด”
ครั้งนั้น ภิกษุณีนั้นถูกภิกษุนั้นรบเร้าจึงนำบาตรออกให้ดู บอกว่า “พระคุณเจ้า
ท่านจงดูทารกในบาตร ท่านอย่าบอกใครนะ”
ภิกษุจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีใช้บาตรใส่ทารกนำออกไป
เล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีใช้บาตรใส่
ทารกนำออกไปเล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้บาตรใส่ทารกนำไป
รูปใดใส่ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภิกษุณีพบภิกษุแล้วให้นำบาตร
ออกแสดง”
เรื่องภิกษุณีแสดงก้นบาตร
สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์พบภิกษุแล้วพลิกให้ดูก้นบาตร ภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์พบภิกษุแล้วพลิกให้ดูก้น
บาตรเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพบภิกษุแล้วไม่พึงพลิกให้ดูก้น
บาตร รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภิกษุณีเมื่อพบภิกษุ
แล้วหงายบาตรแสดง และนิมนต์ภิกษุรับอาหารที่มีในบาตรนั้น”
เรื่องภิกษุณีเพ่งดูอวัยวะเพศบุรุษ
สมัยนั้น เขาทิ้งองคชาตของบุรุษไว้ที่ถนนในกรุงสาวัตถี ภิกษุณีทั้งหลายเพ่งดู
อวัยวะเพศของบุรุษนั้น คนทั้งหลายพากันโห่ ภิกษุณีเหล่านั้นเก้อเขิน ครั้นภิกษุณี
เหล่านั้นกลับถึงสำนัก ได้บอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายอื่นทราบ บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อยตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงเพ่งดูอวัยวะเพศของ
บุรุษเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้นบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงเพ่งดูอวัยวะเพศของบุรุษ
รูปใดเพ่งดู ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เรื่องภิกษุให้อามิส
[๔๒๑] สมัยนั้น คนทั้งหลายถวายอามิสแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายให้
อามิสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนอามิส
ที่เขาถวายให้ตนฉัน พวกพระคุณเจ้าจึงให้แก่ผู้อื่นเล่า พวกเราไม่รู้จักให้ทานเองหรือ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อามิสที่เขาให้ตนฉัน ภิกษุไม่พึงให้
แก่ ผู้อื่น รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีอามิสมาก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถวายแก่สงฆ์”
อามิสก็ยังมีเหลือเฟือ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถวายเป็นของส่วนบุคคล
ได้”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บอามิสไว้มาก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีทั้งหลายรับ
อามิสที่ภิกษุทั้งหลายเก็บไว้มาบริโภคได้”
สมัยนั้น ชาวบ้านถวายอามิสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายจึงถวายแก่
ภิกษุทั้งหลาย
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนอามิสที่เขาถวายให้ตนฉัน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงให้แก่ผู้อื่นเล่า พวกเราไม่รู้จักให้ทานเองหรือ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อามิสที่เขาให้ตนฉัน ภิกษุณีไม่พึงให้
แก่ผู้อื่น รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายมีอามิสมาก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถวายสงฆ์”
อามิสก็ยังมีเหลือเฟือ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถวายเป็นของส่วนบุคคล
ได้”
สมัยนั้น อามิสที่ภิกษุณีทั้งหลายเก็บไว้มีมาก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายรับอามิส
ที่ภิกษุณีทั้งหลายเก็บไว้มาฉันได้”
เรื่องภิกษุณียืมเสนาสนะ
[๔๒๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีเสนาสนะจำนวนมาก แต่ภิกษุณีทั้งหลายไม่มี
ภิกษุณีทั้งหลายจึงส่งทูตไปขอว่า “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาสเถิด ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย
จงให้พวกดิฉันยืมเสนาสนะ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีทั้งหลายนำ
เสนาสนะไปใช้ได้ชั่วคราว”
เรื่องผ้านุ่งของภิกษุณี
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายมีระดู นั่งบ้าง นอนบ้างบนเตียงที่บุไว้ บนตั่งที่บุไว้
เสนาสนะเปื้อนโลหิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงนั่ง ไม่พึงนอนบนเตียง
ที่บุไว้ รูปใดนั่งหรือนอน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าผลัด
เปลี่ยน”
ผ้าผลัดเปลี่ยนเปื้อนโลหิต ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าซับใน”
ผ้าซับในหลุด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้เชือกผูกไว้ที่ขาอ่อน”
เชือกขาด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกฟั่นผูกสะเอว”
สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้เชือกฟั่นผูกสะเอวตลอดเวลา คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้เชือกผูกสะเอว
ตลอดเวลา รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกฟั่นผูกสะเอว
แก่ภิกษุณี ที่มีระดู”
ทุติยภาณวาร จบ
๓. ตติยภาณวาร
เรื่องอันตรายิกธรรมของภิกษุณี
[๔๒๓] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่อุปสมบทแล้วปรากฏว่าไม่มีเครื่องหมาย
เพศบ้าง สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศบ้าง ไม่มีประจำเดือนบ้าง มีประจำเดือนไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
หยุดบ้าง ใช้ผ้าซับเสมอบ้าง เป็นคนไหลซึมบ้าง มีเดือยบ้าง เป็นบัณเฑาะก์หญิงบ้าง
มีลักษณะคล้ายชายบ้าง มีทวารหนักทวารเบาติดกันบ้าง มีสองเพศ(อุภโตพยัญชนก)
บ้าง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอบถามอันตรายิกธรรม
๒๔ ประการกับสตรีผู้จะอุปสมบท
ภิกษุทั้งหลาย พึงสอบถามอย่างนี้
วิธีสอบถามอันตรายิกธรรม
เธอไม่ใช่ผู้ไม่มีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่
ผู้ไม่มีประจำเดือนหรือ ไม่ใช่ผู้มีประจำเดือนไม่หยุดหรือ ไม่ใช่ผู้ใช้ผ้าซับเสมอหรือ
ไม่ใช่คนไหลซึมหรือ ไม่ใช่ผู้มีเดือยหรือ ไม่ใช่เป็นบัณเฑาะก์หญิงหรือ ไม่ใช่ผู้มี
ลักษณะคล้ายชายหรือ ไม่ใช่ผู้มีทวารหนักทวารเบาติดกันหรือ ไม่ใช่คนสองเพศหรือ
เธอมีโรคเหล่านี้หรือไม่ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู
เธอเป็นมนุษย์หรือ เธอเป็นหญิงหรือ เธอเป็นไทหรือ เธอไม่มีหนี้สินหรือ เธอไม่เป็น
ราชภัฏหรือ มารดาบิดาหรือสามีอนุญาตแล้วหรือ มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว
หรือ เธอมีบาตรและจีวรครบแล้วหรือ เธอชื่ออะไร ปวัตตินี๑ของเธอชื่ออะไร
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายกำลังถามอันตรายิกธรรมของภิกษุณีทั้งหลาย สตรี
อุปสัมปทาเปกขา(ผู้มุ่งจะอุปสมบท)ย่อมกระดากอายเก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สตรีอุปสัมปทาเปกขา
ผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์แล้ว ไปอุปสมบทในฝ่าย
ภิกษุสงฆ์ได้”๒

เชิงอรรถ :
๑ ปวัตตินี คือ ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นอุปัชฌาย์
๒ ผู้จะเป็นภิกษุณีทั้งหลายต้องบวชจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์และฝ่ายภิกษุสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสอบถามอันตรายิกธรรมสตรีอุปสัมปทาเปกขาผู้ยัง
ไม่ได้รับการสอนซ้อม พวกเธอย่อมกระดากอายเก้อเขินไม่สามารถตอบได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมก่อนแล้วสอบ
ถามอันตรายิกธรรมภายหลัง
ภิกษุณีทั้งหลายได้สอนซ้อมท่ามกลางสงฆ์นั่นเอง สตรีอุปสัมปทาเปกขาก็ยัง
กระดากอายเก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้เหมือนเดิม
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมกันได้ในที่สมควร
แล้วจึงสอบถามอันตรายิกธรรมท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายพึงสอนซ้อมอย่างนี้
คำบอกบาตรและจีวร
[๔๒๔] ในเบื้องต้น พึงให้อุปสัมปทาเปกขาถืออุปัชฌาย์ ครั้นให้ถืออุปัชฌาย์
แล้วพึงบอกบาตรและจีวรว่า “นี้บาตร นี้สังฆาฏิ นี้อุตตราสงค์ นี้อันตรวาสก นี้ผ้า
รัดถัน นี้ผ้าอาบน้ำของเธอ เธอจงออกไปยืนที่โน้น”
เรื่องภิกษุณีโง่เขลาสอนซ้อม
ภิกษุณีทั้งหลายผู้โง่เขลาไม่ฉลาดสอนซ้อม สตรีอุปสัมปทาเปกขาได้รับการสอน
ซ้อมไม่ดีจึงสะทกสะท้านเก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้โง่เขลาไม่ฉลาดไม่พึงสอนซ้อม
รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถ
สอนซ้อม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องภิกษุณียังไม่ได้รับการแต่งตั้งสอนซ้อม
ภิกษุณีทั้งหลายยังไม่ได้รับแต่งตั้งก็สอนซ้อม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณียังไม่ได้รับแต่งตั้งไม่พึงสอนซ้อม
รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้ได้รับแต่งตั้ง
แล้วสอนซ้อม
วิธีแต่งตั้งตนและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ ตนเองแต่งตั้งตนเองก็ได้ ภิกษุณี
อีกรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุณีอีกรูปหนึ่งก็ได้
อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง คือ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าชื่อนี้จะสอนซ้อมผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองแต่งตั้ง
ตนเอง
วิธีแต่งตั้งผู้อื่นและกรรมวาจา
อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุณีรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุณีอีกรูปหนึ่ง คือ ภิกษุณีผู้ฉลาด
สามารถพึง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้า
สงฆ์พร้อมแล้ว ภิกษุณีทั้งหลายชื่อนี้พึงสอนซ้อมผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุณีอื่น
แต่งตั้งภิกษุณีอื่น
ภิกษุณีผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้นพึงเข้าไปหาอุปสัมปทาเปกขาแล้ว กล่าวอย่างนี้
ว่า แน่ะผู้มีชื่อนี้ เธอฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเธอ เมื่อภิกษุณีผู้สอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ซ้อมถามในท่ามกลางสงฆ์ถึงสิ่งที่เกิด สิ่งที่มี พึงบอกว่า “มี” ไม่มีก็พึงบอกว่า “ไม่มี”
เธออย่าสะทกสะท้าน อย่าเก้อเขิน ภิกษุณีผู้สอนซ้อมจักถามเจ้าอย่างนี้ว่า เธอไม่ใช่
ผู้ไม่มีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่ผู้ไม่มีประจำ
เดือนหรือ ไม่ใช่ผู้มีประจำเดือนไม่หยุดหรือ ไม่ใช่ผู้ใช้ซับเสมอหรือ ไม่ใช่คนไหลซึม
หรือ ไม่ใช่ผู้มีเดือยหรือ ไม่ใช่เป็นบัณเฑาะก์หญิงหรือ ไม่ใช่ผู้มีลักษณะคล้ายชาย
หรือ ไม่ใช่ผู้มีทวารหนักทวารเบาติดกันหรือ ไม่ใช่คนสองเพศหรือ อาพาธเหล่านี้ ของ
เธอมีอยู่หรือ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู เธอเป็น
มนุษย์หรือ เธอเป็นหญิงหรือ เธอเป็นไทหรือ เธอไม่มีหนี้สินหรือ เธอไม่เป็นราชภัฏ
หรือ บิดามารดาหรือสามีอนุญาตเธอแล้วหรือ เธอมีอายุครบ ๒๐ ปีแล้วหรือ เธอ
มีบาตรจีวรครบแล้วหรือ เธอชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร
เรื่องห้ามผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขาเดินมาพร้อมกัน
ภิกษุณีผู้สอนซ้อมกับสิกขมานาอุปสัมปทาเปกขาเดินมาพร้อมกัน พระผู้มี
พระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขา ไม่พึงเดิน
มาพร้อมกัน ภิกษุณีผู้สอนซ้อมพึงเดินมาก่อน แล้วประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
กรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ดิฉัน
สอนซ้อมเธอแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ผู้มีชื่อนี้พึงเข้ามาได้
พึงเรียกอุปสัมปทาเปกขาว่า “เธอจงเข้ามาเถิด”
คำขออุปสมบทต่อภิกษุณีสงฆ์
พึงให้อุปสัมปทาเปกขาห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลาย
นั่งกระโหย่งประนมมือ ขออุปสมบทว่า
แม่เจ้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
แม่เจ้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๒ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยก
ดิฉันขึ้นเถิด
แม่เจ้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๓ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยก
ดิฉันขึ้นเถิด
คำแต่งตั้งตนเพื่อถามอันตรายิกธรรม
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงถามอันตรายิกธรรมกับผู้มีชื่อนี้ดังนี้
แน่ะผู้มีชื่อนี้ เธอฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเธอ เราจะถามถึงสิ่งที่เกิด
สิ่งที่มี พึงบอกว่า “มี” ไม่มีก็พึงบอกว่า “ไม่มี” เธอไม่ใช่ผู้ไม่มีเครื่องหมายเพศหรือ
เธอไม่ใช่สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศหรือ ฯลฯ เธอชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร
ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๔๒๕] แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้า
ชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรม เธอมีบาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบท
ต่อสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมี
แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้บริสุทธิ์
จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เธอมีบาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อ
สงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี
แม่เจ้ารูปใด เห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี แม่เจ้ารูป
นั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้
เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เธอมีบาตร
และจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มี
ชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท
มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้น
พึงทักท้วง
ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
หลังจากนั้น ภิกษุณีพึงพาเธอเข้าไปหาภิกษุสงฆ์ ให้ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า
ข้างหนึ่งให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย แล้วให้นั่งกระโหย่ง ประนมมือ ให้กล่าวคำขอ
อุปสมบทว่า
คำขออุปสมบทต่อภิกษุสงฆ์
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท
แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันขอ
อุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นด้วยเถิด
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท
แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันขอ
อุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๒ ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นเถิด
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท
แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันขอ
อุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๓ ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้
อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์
มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้
เป็นปวัตตินี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้
อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์
มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มี
ชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ใน
ภิกษุณีสงฆ์ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้
อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมี
แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องการวัดเงาเป็นต้น
ขณะนั้นแหละ พึงวัดเงาแดด บอกประมาณแห่งฤดู บอกส่วนแห่งวัน บอก
สังคีติ๑ สั่งภิกษุณีทั้งหลายว่า “พวกเธอพึง บอกนิสสัย ๓ และอกรณียกิจ ๘ แก่
ภิกษุณีนี้”๒
อุปสมบทวิธี จบ
[๔๒๖] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายโยกย้ายที่นั่งในโรงฉันจนล่วงเวลา ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตามลำดับพรรษาสำหรับ
ภิกษุณี ๘ รูป ภิกษุณีที่เหลืออนุญาตตามลำดับที่มา”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายปรึกษากันว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตตาม
ลำดับพรรษาสำหรับภิกษุณีทั้งหลาย ๘ รูป ภิกษุณีที่เหลืออนุญาตตามลำดับที่มา”
จึงกัน ที่ตามลำดับพรรษาไว้เฉพาะภิกษุณี ๘ รูปเท่านั้น ภิกษุณีที่เหลือกันไว้ตาม
ลำดับที่มาในที่ทุกแห่ง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในโรงฉัน เราอนุญาตตามลำดับพรรษา
สำหรับภิกษุณี ๘ รูป ภิกษุณีที่เหลืออนุญาตตามลำดับที่มา ภิกษุณีไม่พึงห้ามตาม
ลำดับพรรษาในที่อื่น รูปใดห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ”

เชิงอรรถ :
๑ บอกสังคีติ หมายถึง บอกประชุมสงฆ์
๒ นิสสัย ๓ คือ (๑) เที่ยวบิณฑบาต (๒) ถือผ้าบังสุกุล (๓) ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า พระผู้มีพระภาค
ทรงห้ามภิกษุณีอยู่ป่า ภิกษุณีจึงไม่ต้องถือนิสสัยข้อว่า “อยู่โคนไม้” (ดูข้อ ๔๓๑ หน้า ๓๖๐-๓๖๑
ในเล่มนี้ )
อกรณียกิจ ๘ คือ ข้อที่ทรงห้ามไว้ ตามความในปาราชิกของภิกษุณีสงฆ์ ๘ สิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องปวารณา
[๔๒๗] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ปวารณากัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะไม่ปวารณาไม่ได้ รูปใดไม่
ปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายปวารณากันแล้วไม่ปวารณากับภิกษุสงฆ์ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะปวารณาด้วยตนเองแล้วไม่
ปวารณากับภิกษุสงฆ์ไม่ได้ รูปใดไม่ปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย จึงเกิดชุลมุนขึ้น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงปวารณาพร้อมกับภิกษุ
ทั้งหลาย รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาในเวลาก่อนภัตตาหาร ให้เวลาผ่านไป ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณาในเวลา
หลังภัตตาหาร”
ภิกษุณีทั้งหลายเมื่อปวารณาในเวลาหลังภัตตาหาร ได้อยู่ในเวลาวิกาล ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณากับภิกษุณี
สงฆ์ในวันนี้ พอวันรุ่งขึ้นปวารณากับภิกษุสงฆ์”
สมัยนั้น ภิกษุณีสงฆ์กำลังปวารณา เกิดชุลมุน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีผู้ฉลาด
สามารถรูปหนึ่งเป็นตัวแทนภิกษุณีสงฆ์ให้ปวารณากับภิกษุสงฆ์”
วิธีแต่งตั้งและญัตติกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุณี
จากนั้นภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้เป็นตัว
แทนภิกษุณีสงฆ์ให้ไปปวารณากับภิกษุสงฆ์ นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้ปวารณากับภิกษุสงฆ์
แทนภิกษุณีสงฆ์ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นตัวแทนภิกษุณีสงฆ์
ให้ไปปวารณากับภิกษุสงฆ์ แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้น
พึงทักท้วง
ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์แต่งตั้งเป็นตัวแทนภิกษุณีสงฆ์ให้ไปปวารณากับภิกษุสงฆ์ สงฆ์
เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ภิกษุณีผู้ได้รับแต่งตั้งแล้ว พึงพาภิกษุณีสงฆ์เข้าไปหาภิกษุสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุแล้วนั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
คำปวารณา
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน
หรือด้วยนึกสงสัย ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายอาศัยความกรุณาตักเตือนภิกษุณีสงฆ์เถิด
ภิกษุณีสงฆ์เมื่อเห็น(โทษ)ก็จะแก้ไข
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
แม้ครั้งที่ ๓ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็น
ด้วยได้ยินหรือด้วยนึกสงสัย ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายอาศัยความกรุณาตักเตือนภิกษุณี
สงฆ์เถิด ภิกษุณีสงฆ์เมื่อเห็น(โทษ)ก็จะแก้ไข
เรื่องการงดอุโบสถ
[๔๒๘] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลาย ทำการ
สอบถาม เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ขอโอกาส โจท ให้ภิกษุทั้งหลายให้การ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงงดอุโบสถแก่ภิกษุ แม้
งดแล้วก็ไม่เป็นอันงด รูปที่งดต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุ แม้งด
แล้วก็ไม่เป็นอันงด รูปที่งดต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงทำการสอบถาม แม้ทำก็ไม่เป็น
อันทำ รูปที่ทำต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์แก่ภิกษุ แม้เริ่มก็ไม่เป็น
อันเริ่ม รูปที่เริ่มต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงขอโอกาสภิกษุ แม้ขอแล้วก็ไม่เป็นอันขอ
รูปที่ขอต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงโจทภิกษุ แม้โจทก็ไม่เป็นอันโจท รูปที่โจทต้องอาบัติ
ทุกกฏ ไม่พึงให้ภิกษุให้การ แม้ให้ภิกษุให้การแล้วก็ไม่เป็นอันให้การ รูปที่ให้ภิกษุ
ให้การ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณาแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทำการ
สอบถาม เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ขอโอกาส โจท ให้ภิกษุณีให้การ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุงดอุโบสถแก่ภิกษุณี
แม้งดแล้วก็เป็นอันงด รูปที่งดไม่ต้องอาบัติ ให้งดปวารณาแก่ภิกษุณี แม้งดแล้วก็
เป็นอันงดดีแล้ว รูปที่งดไม่ต้องอาบัติ ให้ทำการสอบถาม แม้ทำแล้วก็เป็นอันทำดี
แล้ว รูปที่ทำไม่ต้องอาบัติ ให้เริ่มอนุวาทาธิกรณ์แก่ภิกษุณี แม้เริ่มแล้วก็เป็นอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เริ่มดีแล้ว รูปที่เริ่มไม่ต้องอาบัติ ให้ขอโอกาสภิกษุณี แม้ขอแล้วก็เป็นอันขอดีแล้ว
รูปที่ขอก็ไม่ต้องอาบัติ ให้โจทภิกษุณี แม้โจทแล้วก็เป็นอันโจทดีแล้ว รูปที่โจทไม่ต้อง
อาบัติ ให้ภิกษุณีให้การ แม้ให้ภิกษุณีให้การแล้วก็เป็นอันทำดีแล้ว รูปที่ให้ภิกษุณี
ให้การก็ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์โดยสารยานพาหนะ
[๔๒๙] สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ โดยสารยานพาหนะเทียมด้วยโค
เพศเมียมีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคเพศผู้มีสตรีเป็นสารถีบ้าง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวโดยสาร
ยานพาหนะไปเล่นน้ำในแม่น้ำคงคาและแม่น้ำมหี” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงโดยสารยานพาหนะ
รูปใดโดยสาร พึงปรับอาบัติตามธรรม”
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นไข้ไม่สามารถเดินได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีเป็นไข้ โดยสาร
ยานพาหนะได้”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “ยานพาหนะที่ทรงอนุญาต
นั้น เทียมด้วยโคเพศเมียหรือเพศผู้” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานพาหนะที่เทียมด้วย
โคเพศเมีย ยานพาหนะที่เทียมด้วยโคเพศผู้ ยานพาหนะที่ใช้มือลาก”๑

เชิงอรรถ :
๑ คนที่ลากยานพาหนะ จะเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ (วิ.อ. ๓/๒๕๓/๑๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องคานหาม
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งไม่สบายอย่างหนัก เพราะยานพาหนะกระเทือน ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวอ(และ)เปลหาม”
เรื่องหญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี
[๔๓๐] สมัยนั้น หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสีบวชในสำนักภิกษุณี นางต้องการไป
กรุงสาวัตถี ด้วยคิดว่า “จะอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค”
พวกนักเลงพอได้ฟังข่าวว่า “หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสีจะเดินทางไปกรุงสาวัตถี”
จึงคอยดักแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง
หญิงแพศยาอัฑฒกาสีได้ทราบว่า “มีพวกนักเลงแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง” จึง
ส่งข่าวไปถึงพระผู้มีพระภาคว่า “ดิฉันต้องการจะอุปสมบท จะพึงปฏิบัติอย่างไร”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทได้แม้โดยทูต”
ภิกษุทั้งหลายจึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุเป็นทูต ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมี
ภิกษุเป็นทูต รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ”
ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีสิกขมานาเป็นทูต ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีสามเณรเป็นทูต ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายใหัภิกษุณีอุปสมบทโดย
มีสามเณรีเป็นทูต ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุณีโง่เขลาไม่ฉลาด
เป็นทูต ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
โดยมีภิกษุณีโง่เขลาไม่ฉลาดเป็นทูต รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถเป็นทูต”
ภิกษุณีผู้เป็นทูตพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้
เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ใน
ภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้ขอ
อุปสมบทต่อสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกเธอขึ้นเถิด
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท
แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง
พระคุณเจ้าทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ผู้มีชื่อนี้จึงขออุปสมบทต่อสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย
ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกเธอขึ้นเถิด
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท
แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง
พระคุณเจ้าทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทต่อสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย
ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกเธอขึ้นเถิด
กรรมวาจาให้อุปสมบทด้วยทูต
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้
อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตราย
บางอย่าง ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว
พึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้
อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตราย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
บางอย่าง ผู้มีชื่อนี้จึงขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้
อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการอุปสมบทของผู้มีชื่อนี้มี
แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มี
ชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ใน
ภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง ผู้มีชื่อนี้จึงขออุปสมบทต่อสงฆ์มี
แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการอุปสมบทของผู้มีชื่อนี้มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ขณะนั้นแหละพึงวัดเงาแดด บอกประมาณฤดู ส่วนแห่งวัน บอกสังคีติ สั่ง
ภิกษุณีทั้งหลายว่า “พวกเธอพึงบอกนิสัย ๓ และอกรณียกิจ ๘ แก่ภิกษุณีนั้น”
เรื่องภิกษุณีทั้งหลายอยู่ป่า
[๔๓๑] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอยู่ในป่า ถูกพวกนักเลงทำมิดีมิร้าย ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอยู่ในป่า รูปใดอยู่ ต้อง
อาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งถวายโรงเก็บของแก่ภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโรงเก็บของ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
โรงเก็บของไม่เพียงพอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่อยู่”
ที่อยู่ไม่เพียงพอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตนวกรรม”
นวกรรมไม่เพียงพอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นของส่วนตัวได้”
เรื่องแต่งตั้งภิกษุณีให้เป็นเพื่อนภิกษุณีลูกอ่อน
[๔๓๒] สมัยนั้น สตรีคนหนึ่งมีครรภ์แล้วบวชในสำนักภิกษุณี เมื่อนางบวช
แล้วจึงคลอดบุตร ลำดับนั้น ภิกษุณีนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราจะปฏิบัติต่อเด็กนี้
อย่างไรดี”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เลี้ยงดูจนกว่าเด็กจะ
รู้เดียงสา”๑
ต่อมา ภิกษุณีนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราจะอยู่เพียงลำพังไม่ได้ ภิกษุณีอื่น
จะอยู่กับเด็กนี้ก็ไม่ได้ เราจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง
แล้วมอบให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น”

เชิงอรรถ :
๑ คือจนกว่า จะเคี้ยว จะกิน จะอาบน้ำ จะแต่งตัวได้ด้วยตนเอง (วิ.อ. ๓/๔๓๒/๔๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้น ต้องขอร้อง
ภิกษุณี จากนั้นภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม
วาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็น
เพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณี
ชื่อนี้ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้
แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุณีชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีผู้มีชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ต่อมา ภิกษุณีเพื่อนของนางได้มีความคิดกันดังนี้ว่า “เราจะปฏิบัติต่อเด็กนี้อย่างไรดี”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปฏิบัติต่อเด็กนั้นเหมือน
ปฏิบัติต่อบุรุษอื่น โดยเว้นการนอนร่วมเรือน”
[๔๓๓] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งต้องอาบัติหนัก กำลังประพฤติมานัต ลำดับ
นั้น ภิกษุณีนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราจะอยู่เพียงลำพังไม่ได้ ภิกษุณีอื่นจะอยู่กับ
เราก็ไม่ได้ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง
แล้วมอบให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ ในเบื้องต้น ต้องขอร้องภิกษุณี
จากนั้นภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็น
เพื่อนของภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณี
ผู้มีชื่อนี้ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้
แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีผู้มีชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีไม่บอกคืนสิกขา
[๔๓๔] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งไม่บอกคืนสิกขา สึกออกไปแล้ว นางกลับมา
ขออุปสมบทกับภิกษุณีทั้งหลายอีก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่จำเป็นต้องบอกคืนสิกขา
พอสึกก็ไม่เป็นภิกษุณีแล้ว”
เรื่องภิกษุณีเข้ารีตเดียรถีย์
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งครองผ้ากาสายะไปเข้ารีตเดียรถีย์ นางกลับมาขอ
อุปสมบทกับภิกษุณีทั้งหลายอีก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีรูปใดครองผ้ากาสายะไปเข้า
รีตเดียรถีย์ ภิกษุณีรูปนั้นมาแล้ว ไม่พึงให้อุปสมบท”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายยำเกรงอยู่ จึงไม่ยินดีการกราบ การปลงผม การ
ตัดเล็บ การรักษาแผลจากพวกบุรุษ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีได้”
เรื่องภิกษุณีนั่งขัดสมาธิยินดีการสัมผัสส้นเท้า
[๔๓๕] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ ยินดีสัมผัสส้นเท้า ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงนั่งขัดสมาธิ รูปใดนั่ง
ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นไข้ ไม่นั่งขัดสมาธิจะไม่สบาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีนั่งกึ่งขัดสมาธิ”๑
เรื่องภิกษุณีถ่ายอุจจาระ
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจกุฎี พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ให้ครรภ์ตก
ไปในวัจกุฎีนั้น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย “ภิกษุณีไม่พึงถ่ายอุจจาระในวัจกุฎี
รูปใดถ่าย ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระในที่เปิดข้าง
ล่างปิดข้างบน”

เชิงอรรถ :
๑ นั่งกึ่งขัดสมาธิ คือ นั่งขัดสมาธิคู้ขาเข้าข้างเดียว (วิ.อ.๓/๔๓๔/๔๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องภิกษุณีใช้จุรณสรงน้ำ
[๔๓๖] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้จุรณสรงน้ำ คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้จุรณสรงน้ำ รูปใดใช้
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้รำข้าวและดินเหนียว”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้ดินเหนียวอบกลิ่นสรงน้ำ คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้ดินเหนียวที่อบกลิ่น
สรงน้ำ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตดินเหนียวธรรมดา”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสรงน้ำในเรือนไฟ เกิดชุลมุน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงสรงน้ำในเรือนไฟ รูปใด
สรง ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสรงน้ำทวนกระแส ยินดีสัมผัสแห่งสายน้ำ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงสรงน้ำทวนกระแส รูปใด
สรง ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสรงน้ำในที่ไม่ใช่ท่าน้ำ ถูกพวกนักเลงทำมิดีมิร้าย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงสรงน้ำในที่ไม่ใช่ท่าน้ำ
รูปใดสรง ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสรงน้ำที่ท่าอาบน้ำของผู้ชาย คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ ทำเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงสรงน้ำที่ท่าอาบน้ำของ
ผู้ชาย รูปใดสรง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อาบน้ำที่ท่าอาบ
น้ำสตรี”
ตติยภาณวาร จบ
ภิกขุนีขันธกะที่ ๑๐ จบ
ในขันธกะนี้มี ๑๐๑ เรื่อง
รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
พระนางมหาปชาบดีโคตมีทูลขอบรรพชา
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต
ทรงโปรดเวไนยแล้วเสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปกรุงเวสาลี
พระนางมหาปชาบดีโคตมีออกเดินทางไปกรุงเวสาลี
มีพระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี ชี้แจงความประสงค์
ต่อท่านพระอานนท์ที่ซุ้มประตู(กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน)
พระอานนท์กราบทูลแจ้งต่อพระผู้มีพระภาคว่า
มาตุคามเป็นภัพพบุคคล พระนางมหาปชาบดีโคตมี
เป็นพระมาตุจฉา เป็นผู้เลี้ยงดู
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดครุธรรม ๘ อย่าง
ที่ภิกษุณีพึงประพฤติตลอดชีวิต คือ
๑. ภิกษุณีบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้ที่บวชในวันนั้น
๒. ไม่พึงจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
๓. หวังธรรม ๒ อย่าง
๔. ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
๕. ต้องครุธรรมพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
๖. พึงแสวงหาอุปสมบทเพื่อสิกขมานาผู้ได้ศึกษาครบ ๒ ปี
๗. ไม่ด่าภิกษุ
๘. เปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือน
การรับครุธรรม ๘ อย่างนั้นเป็นการอุปสัมปทาของ
พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้ามาตุคามไม่ออกบวช
สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะมาตุคามออกบวช
สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี
ความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม
เปรียบเหมือนโจรลักทรัพย์ หนอนขยอก เพลี้ย
การกำหนดให้มาตุคามผู้จะออกบวชต้องรับครุธรรม ๘ อย่าง
เปรียบเหมือนการกั้นทำนบที่ขอบสระใหญ่
เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออกไป
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้อุปสมบทภิกษุณี
ต่อมา ภิกษุณีศากิยานีทั้งหลายกล่าวว่า
พระนางมหาปชาบดีโคตมียังไม่ได้อุปสมบท
เพราะรับแต่ครุธรรม พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูล
ขอให้ภิกษุและภิกษุณีอภิวาทกันตามลำดับพรรษา
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำอภิวาทมาตุคาม
ตรัสวิธีปฏิบัติในสิกขาบทที่เป็นสาธารณบัญญัติ
และไม่เป็นสาธารณบัญญัติ
ทรงแสดงหลักตัดสินพระธรรมวินัย ตรัสเรื่องปาติโมกข์
และบุคคลที่ควรยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายเข้าไปที่สำนักภิกษุณี
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พระผู้มีพระภาคทรงห้าม
ต่อมาภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้วิธีทำคืนอาบัติ
ทรงอนุญาตให้ภิกษุอธิบายให้ภิกษุณีทราบได้
ต่อมา ภิกษุณีไม่ทำ ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย
บอกภิกษุณีเกี่ยวกับวิธีทำคืนอาบัติ วิธีรับอาบัติ
ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำกรรมแก่ภิกษุณี
คนทั้งหลายตำหนิ ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีทำแก่ภิกษุณีด้วยกัน
ต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายทะเลาะวิวาทกัน
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุมอบการลงโทษ
ของภิกษุณีให้แก่ภิกษุณี ภิกษุณีอันเตวาสินีของ
ภิกษุณีอุบลวรรณาเรียนวินัยจนสติฟั่นเฟือน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุณีทั้งหลาย
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุทั้งหลายในกรุงสาวัตถี
ด้วยหวังจะให้ฝ่ายตรงข้ามรัก
พระผู้มีพระภาคทรงให้ภิกษุณีประกาศว่าภิกษุนั้นไม่ควรไหว้
ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เปิดกาย เปิดขาอ่อน
เปิดองคชาตอวดภิกษุณี พูดเกี้ยวภิกษุณี
พูดชักชวนบุรุษมาคบหาภิกษุณี ภิกษุนั้นภิกษุณีไม่ควรไหว้
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ก็ทำเช่นเดียวกัน
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม
โดยการห้ามปรามภิกษุและภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น
เมื่อห้ามปรามไม่เชื่อ พึงงดโอวาท ไม่ควรทำอุโบสถกับภิกษุ
ภิกษุณีผู้ถูกงดโอวาท
ต่อมา พระอุทายีงดโอวาทแล้วหลีกไป
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามทำเช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ทรงห้ามภิกษุโง่เขลางดโอวาท
ทรงห้ามงดโอวาทด้วยเรื่องที่ไม่สมควร
ทรงห้ามงดโอวาทโดยไม่ให้คำวินิจฉัย
ทรงกำหนดให้ภิกษุณีสงฆ์ต้องไปรับโอวาท
ทรงห้ามภิกษุณี ๕ รูปไปรับโอวาท
ทรงอนุญาตให้ภิกษุณี ๒-๓ รูปไปรับโอวาท
ต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไม่รับให้โอวาท
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดให้ภิกษุต้องรับให้โอวาท
ทรงกำหนดข้อยกเว้นไว้ว่า ภิกษุโง่เขลา
ภิกษุอาพาธ ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทาง
ไม่ต้องรับให้โอวาท แต่ภิกษุผู้อยู่ป่าตัองรับให้โอวาท
ทรงกำหนดว่า ภิกษุทั้งหลายให้โอวาทแล้วต้องบอก
รับให้โอวาทแล้วต้องกลับมาบอก
ต่อมา ภิกษุณีใช้ประคดเอวผืนยาวรัดสีข้าง
ใช้แผ่นไม้สานแผ่นหนัง ผ้าขาว ช้องผ้า เกลียวผ้า
ผ้าผืนเล็ก ช้องผ้าผืนเล็ก เกลียวผ้าผืนเล็ก ช้องถักด้วยด้าย
เกลียวด้ายรัดสีข้าง ใช้กระดูกแข้งโค สีตะโพก
ใช้ไม้มีสัณฐานดุจคางโคนวดตะโพก นวดมือ
นวดหลังมือนวดเท้า นวดหลังเท้า นวดขาอ่อน
นวดหน้า นวดริมฝีปาก
ต่อมา พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทาหน้า ถูหน้า
ผัดหน้า ใช้มโนศิลาเจิมหน้า ย้อมตัว ย้อมหน้า
ย้อมทั้งตัวทั้งหน้า ทั้งสองอย่าง แต้มหน้า ทาแก้ม
เล่นหูเล่นตา ยืนแอบที่ประตู ให้ผู้อื่นฟ้อนรำ
ตั้งสำนักหญิงแพศยา ตั้งร้านขายสุรา ขายเนื้อ
ออกร้านขายของเบ็ดเตล็ด ประกอบการค้ากำไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ประกอบการค้าขาย ใช้ทาสทาสี
กรรมกรชายหญิงให้ปรนนิบัติ
ให้สัตว์ดิรัจฉานปรนนิบัติ ขายของสดและของสุก
ใช้สันถัตขนเจียมหล่อ
ต่อมา ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ห่มจีวรสีเขียว
สีเหลือง สีแดง สีบานเย็น สีดำ สีแสด
สีชมพู จีวรไม้ตัดชาย มีชายยาว
มีชายเป็นลายดอกไม้ มีชายเป็นแผ่น สวมเสื้อ สวมหมวก
ต่อมา เมื่อภิกษุณี สิกขมานา สามเณรีถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุณีสงฆ์เป็นใหญ่ในบริขารที่ภิกษุณีเป็นต้นนั้นมอบให้
เมื่อภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
และใครอื่นปลงบริขารให้ ภิกษุสงฆ์เป็นใหญ่
ภิกษุณีอดีตภรรยานักมวยใช้ไหล่กระแทกภิกษุทุพพลภาพรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปหนึ่งใช้บาตรใส่ทารกของหญิงคนหนึ่งที่แท้งออกมา
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดให้ภิกษุณีเมื่อพบภิกษุ
ต้องแสดงบาตรให้ดู ภิกษุณีรูปหนึ่งแสดงก้นบาตร
ภิกษุณีทั้งหลายเพ่งดูองคชาตของบุรุษที่เขาทิ้งไว้กลางถนน
ภิกษุทั้งหลายให้อามิสมากมายแก่ภิกษุณี
ภิกษุณีทั้งหลายมีอามิสเหลือเฟือ
ทรงอนุญาตให้ถวายเป็นของส่วนบุคคล
ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีรับอามิสที่ภิกษุเก็บไว้มาบริโภคได้
และทรงอนุญาตให้ภิกษุรับอามิสที่ภิกษุณีทั้งหลาย
เก็บไว้มาบริโภคได้เช่นกัน
ภิกษุณีรูปหนึ่งมีระดู นั่งบ้าง นอนบ้าง ทำให้เสนาสนะ
เปื้อนโลหิต พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าผลัดเปลี่ยน
ทรงอนุญาตผ้าซับใน ทรงอนุญาตให้ใช้เชือกฟั่นผูกสะเอว
ในเวลาที่มีระดู ไม่ควรผูกไว้ตลอดเวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ภิกษุณีบางพวกเมื่ออุปสมบทแล้ว ปรากฏว่าไม่มีเครื่องหมาย
เพศบ้าง สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศบ้าง ไม่มีประจำเดือนบ้าง
มีประจำเดือนไม่หยุดบ้าง ใช้ผ้าซับเสมอบ้าง เป็นคนไหลซึมบ้าง
มีเดือยบ้าง เป็นบัณเฑาะก์หญิงบ้าง มีลักษณะคล้ายชายบ้าง
มีทวารหนักทวารเบาติดกันบ้าง มี ๒ เพศบ้าง
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้สอบถามอันตรายิกธรรมว่า
เธอไม่มีเครื่องหมายเพศหรือจนถึงคำว่า
เธอเป็นคน ๒ เพศหรือ
แล้วถามว่าเป็นโรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ
โรคลมบ้าหมู เป็นมนุษย์หรือ เป็นหญิงหรือ เป็นไทหรือ
ไม่มีหนี้สินหรือ ไม่เป็นราชภัฏหรือ บิดามารดาหรือ
สามีอนุญาตแล้วหรือ มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้วหรือ
มีบาตรจีวรครบแล้วหรือ ชื่ออะไร
ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร รวม ๒๔ อย่าง แล้วให้อุปสมบท
ต่อมา อุปสัมปทาเปกขายังไม่ได้สอนซ้อม
เกิดความละอายท่ามกลางสงฆ์ ทรงอนุญาตให้ภิกษุณี
สอนซ้อมสตรีอุปสัมปทาเปกขาก่อน
ทรงอนุญาตให้ถืออุปัชฌาย์ในเบื้องต้น
ต่อจากนั้นจึงบอกสังฆาฏิ อุตตราสงค์
อันตราวาสก ผ้ารัดถัน ผ้าอาบน้ำแล้ว
บอกให้ยืน ณ มุมหนึ่งที่ห่างออกไป
ต่อมา ภิกษุณีโง่เขลารูปหนึ่งทำหน้าที่สอนซ้อม
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดว่าภิกษุณีไม่ได้รับแต่งตั้ง
ไม่ควรสอนซ้อมถามอันตรายิกธรรม
ภิกษุณีอุปสมบทในภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว
ต้องอุปสมบทในภิกษุสงฆ์อื่นอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
หลังจากที่อุปสมบทในฝ่ายภิกษุสงฆ์แล้ว
พึงวัดเงาแดด บอกประมาณฤดู บอกส่วนแห่งวัน
บอกสังคีติ(ประชุมสงฆ์) บอกนิสัย ๓ อกรณียกิจ ๘
ต่อมา ภิกษุณีโยกย้ายที่นั่งจนล่วงเวลา
พระผู้มีพระภาคทรงให้นั่งตามลำดับพรรษา
สำหรับภิกษุณี ๘ รูป ที่เหลือ
อนุญาตตามลำดับที่มาในที่ทุกแห่ง
ต่อมา ภิกษุณีไม่ปวารณากัน
ทรงกำหนดให้ภิกษุณีปวารณา
เมื่อปวารณาก็ไม่ปวารณากับภิกษุสงฆ์
ทรงกำหนดให้ปวารณาในภิกษุสงฆ์ด้วย
เกิดความชุลมุนในขณะปวารณาพร้อมกับภิกษุ
ไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณาพร้อมกับภิกษุ
ไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณากันในเวลาก่อนภัตตาหาร
ต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาในเวลาวิกาล
ทรงอนุญาตให้ปวารณากันเองวันหนึ่ง
วันรุ่งขึ้นจึงปวารณาในภิกษุสงฆ์
เมื่อภิกษุณีปวารณาเกิดชุลมุน ทรงอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณี
รูปหนึ่งเป็นตัวแทนปวารณาในภิกษุสงฆ์
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไม่ให้ภิกษุณีงดอุโบสถ
ปวารณา สอบถาม เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ขอโอกาส
โจทและให้การ แต่ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำอย่างนั้นแก่ภิกษุณีได้
ทรงห้ามภิกษุณีโดยสารยานพาหนะ
ยกเว้นภิกษุณีผู้เป็นไข้ ทรงอนุญาตยานพาหนะที่เทียมด้วยโคเพศเมีย
ยานพาหนะที่เทียมด้วยโคเพศผู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ยานพาหนะที่ใช้มือลากไปภิกษุณีรูปหนึ่งไม่สบายอย่างหนัก
เพราะยานพาหนะกระเทือน ทรงอนุญาตวอและเปลหาม
หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสีบวชในสำนักภิกษุณี ต้องการจะไป
กรุงสาวัตถีเพื่ออุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค
แต่มีโจรแอบซุ่มอยู่ในหนทาง
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยทูต
โดยมีภิกษุณีเป็นทูต ทรงห้ามอุปสมบทภิกษุณีโดยมีภิกษุ
สิกขมานา สามเณร สามเณรี
หรือภิกษุณีผู้โง่เขลาเป็นทูต
ต่อมา ภิกษุณีรูปหนึ่งอยู่ในป่า ถูกโจรประทุษร้าย
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามภิกษุณีอยู่ป่า
ทรงอนุญาตโรงเก็บของ ที่อยู่ นวกรรม
และเมื่อนวกรรมไม่เพียงพอก็สามารถทำเป็นของส่วนตัวได้
ต่อมา สตรีคนหนึ่งมีครรภ์ บวชในสำนักภิกษุณี คลอดบุตร
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามอยู่เพียงลำพัง ทรงห้ามภิกษุณีนอนใน
ที่มุงบังเดียวกันกับเด็ก ทรงอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีเป็นเพื่อน
ของภิกษุณีผู้ต้องอาบัติหนัก กำลังประพฤติมานัต
ทรงวางข้อกำหนดว่า ภิกษุณีสึกออกไป
โดยไม่บอกคืนสิกขาถือว่าได้สึกไปแล้ว
ไม่ทรงอนุญาตให้บวชภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์
ภิกษุณีบางพวกไม่ยินดีการกราบ การปลงผม
การตัดเล็บ การรักษาแผลจากพวกบุรุษ
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ยินดีได้
ไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีนั่งขัดสมาธิ
ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีเป็นไข้นั่งกึ่งขัดสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีถ่ายอุจจาระในวัจกุฎี
ใช้จุรณสรงน้ำ ใช้ดินเหนียวอบกลิ่นสรงน้ำในเรือนไฟ
สรงน้ำทวนกระแส สรงน้ำในที่ไม่ใช่ท่าน้ำ
สรงน้ำที่ท่าของผู้ชาย
พระนางมหาปชาบดีโคตมีและท่านพระอานนท์กราบทูลขอ
อย่างระมัดระวัง พุทธบริษัท ๔ บรรพชาในพระศาสนา
ของพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงแสดงขันธกะนี้ไว้
เพื่อให้เกิดความสังเวช และความเจริญแห่งพระสัทธรรม
เหมือนเภสัชสำหรับระงับความกระวนกระวาย
สตรีเหล่าอื่นที่ได้ฝึกฝนดีแล้วในพระสัทธรรมอย่างนี้
ย่อมไปสู่สถานที่อันไม่จุติซึ่งไปแล้วจะไม่เศร้าโศก
ภิกขุนีขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น