Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๗-๙ หน้า ๓๗๕ - ๔๒๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗-๙ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
๑๑. ปัญจกสติกขันธกะ
๑. สังคีตินิทาน
ว่าด้วยมูลเหตุการทำสังคายนาครั้งที่ ๑
[๔๓๗] ๑ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลาย คราวหนึ่งผมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูปเดินทางไกล
จากกรุงปาวาไปกรุงกุสินารา ขณะที่ผมแวะลงข้างทาง นั่งพักที่ ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง
สมัยนั้น อาชีวกคนหนึ่งถือดอกมณฑารพจากกรุงกุสินารา เดินสวนทางจะไป
กรุงปาวา ท่านทั้งหลาย ผมได้เห็นอาชีวกนั้นเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงถามอาชีวก
นั้นดังนี้ว่า “ท่านทราบข่าวพระศาสดาของเราบ้างไหม”
อาชีวกตอบว่า “เราทราบ พระสมณะโคดมปรินิพพานได้ ๗ วันเข้าวันนี้ เรา
ถือดอกมณฑารพดอกนี้มาจากที่ปรินิพพานนั้น”
ท่านทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากราคะ บางรูปประคองแขนคร่ำครวญ
ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาเหมือนคนเท้าขาดเพ้อรำพันว่า “พระผู้มีพระภาคปรินิพพาน
เร็วนัก พระสุคตปรินิพพานเร็วนัก ดวงตาในโลกอันตรธานไปเสียแล้ว” ส่วนภิกษุ
ทั้งหลายที่ปราศจากราคะ มีสติสัมปชัญญะ ก็อดกลั้นไว้ว่า “สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง
จะหาความเที่ยงแท้ในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า”
ท่านทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ผมได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “พอเถิด พวก
ท่านอย่าโศกเศร้า อย่าคร่ำครวญไปเลย พระผู้มีพระภาคตรัสบอกไว้ก่อนแล้วมิใช่
หรือว่า ความเป็นต่าง ๆ กัน ความพลัดพราก ความผันแปรเป็นอื่นจากสิ่งที่รักใคร่
ชอบใจทุกอย่างมีอยู่เสมอ สิ่งที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว ถูกปรุงแต่งแล้ว มีความแตกสลาย
เป็นธรรมดา อย่าได้เสื่อมสลายไปเลยนั้น จะหาได้แต่ที่ไหนในฐานะนี้ นั่นไม่ใช่ฐานะ
ที่จะมีได้”

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. (แปล) ๑๐/๒๓๑/๑๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
ท่านทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้บวชตอนแก่ชื่อสุภัททะ๑นั่งอยู่ในที่ประชุมนั้น
ได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “พอทีเถิด พวกท่านอย่าโศกเศร้า อย่าคร่ำครวญ
เลย พวกเรารอดพ้นดีแล้วจากพระมหาสมณะรูปนั้นที่คอยจ้ำจี้จ้ำไชพวกเราอยู่ว่า
‘สิ่งนี้ควรแก่พวกเธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่พวกเธอ’ บัดนี้ พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักทำ
สิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็จักไม่ทำสิ่งนั้น”
ท่านทั้งหลาย เอาเถิด พวกเราจะสังคายนาพระธรรมและพระวินัยกัน ก่อนที่
อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน สิ่งมิใช่วินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อน
ที่พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง
พวกวินยวาทีจะอ่อนกำลัง
พระมหากัสสปะคัดเลือกภิกษุทำสังคายนา
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอพระเถระโปรดเลือกภิกษุ
ทั้งหลายเถิด”
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะจึงคัดเลือกพระอรหันต์ได้ ๔๙๙ รูป
ภิกษุทั้งหลายได้กราบเรียนท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านพระ
อานนท์นี้ยังเป็นเสขบุคคลก็จริง แต่ไม่ลำเอียงเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะ
ความหลง เพราะความกลัว อนึ่ง ท่านพระอานนท์นั้นได้ศึกษาพระธรรมและวินัย
เป็นอันมากในสำนักของพระผู้มีพระภาค ถ้าเช่นนั้น ขอพระเถระโปรดเลือกท่านพระ
อานนท์ด้วย”
ท่านพระมหากัสสปะจึงเลือกท่านพระอานนท์
กำหนดเขตการอยู่จำพรรษา
ต่อมา ภิกษุผู้เถระทั้งหลายปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะสังคายนาพระธรรม
และวินัยที่ไหนหนอ” ลำดับนั้น เห็นพร้อมกันว่า “กรุงราชคฤห์มีโคจรคามมาก

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๓๐๓/๑๓๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
เสนาสนะมีเพียงพอ ทางที่ดีพวกเราพึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ สังคายนาพระ
ธรรมและวินัย ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์”
ต่อมา ท่านพระมหากัสสปะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๔๓๘] ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง
ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและวินัย ภิกษุ
เหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ นี่เป็นญัตติ
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์
เพื่อสังคายนาพระธรรมและวินัย ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อ
สังคายนาพระธรรมและวินัย ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ท่านรูป
นั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์แต่งตั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระ
ธรรมและวินัยแล้ว ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม
ต่อมา ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้เดินทางไปกรุงราชคฤห์เพื่อสังคายนาพระธรรม
และวินัย ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เถระได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค
ทรงสรรเสริญการปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม ถ้ากระไร พวกเราจะปฏิสังขรณ์
เสนาสนะที่ทรุดโทรมในเดือนแรก จะประชุมสังคายนาพระธรรมและวินัยตอนกลาง
เดือน”
ท่านพระอานนท์บรรลุอรหัตตผล
ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรมในเดือนแรก ลำดับนั้น
ท่านพระอานนท์คิดว่า “พรุ่งนี้เป็นวันประชุม การที่เราผู้ยังเป็นเสขบุคคลอยู่จะไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
ร่วมประชุมด้วย ไม่สมควรเลย” จึงให้เวลากลางคืนเป็นส่วนมากล่วงไปด้วย
กายคตาสติ๑ พอถึงเวลาใกล้รุ่งก็เอนกาย ด้วยตั้งใจว่า “จะนอนพัก” แต่ศีรษะ
ยังไม่ทันถึงหมอน เท้ายังไม่ทันยกขึ้นจากพื้น ในระหว่างนี้จิตได้หลุดพ้นจากกิเลส
อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น
เรื่องท่านพระอุบาลีตอบคำถามเกี่ยวกับพระวินัย
[๔๓๙] ครั้นท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม ลำดับนั้น ท่าน
พระมหากัสสปะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าจะสอบ
ถามพระวินัยกับท่านพระอุบาลี”
ท่านพระอุบาลีจึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหา
กัสสปะถามพระวินัย จะได้ตอบต่อไป”
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามท่านท่านพระอุบาลีว่า “ท่านอุบาลี พระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ณ กรุงเวสาลี ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ทรงปรารภพระสุทินกลันทบุตร”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “เพราะเรื่องอะไร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “เพราะเสพเมถุนธรรม”

เชิงอรรถ :
๑ กายคตาสติ คือ สติอันไปในกาย กำหนดพิจารณากายนี้ให้เห็นว่า ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ไม่สะอาด
ไม่งาม น่ารังเกียจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึง
บุคคลบ้าง ถามถึงพระบัญญัติบ้าง ถามถึงพระอนุบัญญัติบ้าง ถามถึงอาบัติบ้าง
ถามถึงอนาบัติบ้างแห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
ท่านพระมหากัสสปะถามต่อไปว่า “ท่านอุบาลี พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ณ ที่ไหน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ณ กรุงราชคฤห์ ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ทรงปรารภพระธนิยกุมภการบุตร”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “เพราะเรื่องอะไร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “เพราะเรื่องการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้”
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึง
บุคคลบ้าง ถามถึงพระบัญญัติบ้าง ถามถึงพระอนุบัญญัติบ้าง ถามถึงอาบัติบ้าง
ถามถึงอนาบัติบ้างแห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
ท่านพระมหากัสสปะถามต่อไปว่า “ท่านอุบาลี พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ณ ที่ไหน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ณ กรุงเวสาลี ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ทรงปรารภภิกษุหลายรูป”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “เพราะเรื่องอะไร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “เพราะพรากกายมนุษย์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึง
บุคคลบ้าง ถามถึงพระบัญญัติบ้าง ถามถึงพระอนุบัญญัติบ้าง ถามถึงอาบัติบ้าง
ถามถึงอนาบัติบ้างแห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
ท่านพระมหากัสสปะถามต่อไปว่า “ท่านอุบาลี พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ไว้ ณ ที่ไหน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ณ กรุงเวสาลี ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ทรงปรารภภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาทั้งหลาย”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “เพราะเรื่องอะไร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “เพราะกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึง
บุคคลบ้าง ถามถึงพระบัญญัติบ้าง ถามถึงพระอนุบัญญัติบ้าง ถามถึงอาบัติบ้าง
อนาบัติบ้างแห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
ท่านพระมหากัสสปะถามพระวินัยของสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย๑โดยอุบายนี้เหมือนกัน
ท่านพระมหากัสสปะเป็นผู้ถาม ท่านพระอุบาลีเป็นผู้ตอบ
เรื่องท่านพระอานนท์ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม
[๔๔๐] ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าจะสอบ
ถามพระธรรมกับท่านพระอานนท์”

เชิงอรรถ :
๑ สงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย คือภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
ท่านพระอานนท์จึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปะถามพระ
ธรรมจะได้ตอบต่อไป”
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะจึงถามท่านพระอานนท์ว่า “ท่านอานนท์ พระ
ผู้มีพระภาคตรัสพรหมชาลสูตร ณ ที่ไหน”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ณ ที่พระตำหนักในราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ระหว่าง
กรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ทรงปรารภสุปปิยปริพาชกและพรหมทัตมาณพ”
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึงบุคคลบ้างในพรหม
ชาลสูตร
ท่านพระมหากัสสปะถามต่อไปว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคตรัสสามัญญ
ผลสูตรที่ไหน”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ณ ที่วิหารชีวกัมพวัน กรุงราชคฤห์ ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ตรัสกับใคร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร”
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึงบุคคลบ้าง ในสามัญญ
ผลสูตร แล้วถามจนครบทั้ง ๕ นิกาย๑
ท่านพระมหากัสสปะเป็นผู้ถาม ท่านพระอานนท์เป็นผู้ตอบ

เชิงอรรถ :
๑ นิกาย ๕ ได้แก่ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย พระอภิธรรมปิฎก
ก็จัดเป็นขุททกนิกาย (วิ.อ. ๑/๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๒. ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
๒. ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
ว่าด้วยสิกขาบทเล็กน้อย
[๔๔๑] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับภิกษุผู้เถระทั้งหลายดังนี้ว่า “ท่าน
ผู้เจริญ ในเวลาจะปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า ‘อานนท์ เมื่อเราล่วงไป
สงฆ์หวังอยู่ก็พึงถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้”
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือ
ว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทข้อไหนที่จัดว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมไม่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
‘พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทข้อไหน ที่จัดว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท ที่เหลือจัด
เป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสส
๑๓ สิกขาบท ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสส
๑๓ สิกขาบท อนิยต ๒ ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสส
๑๓ สิกขาบท อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท
ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสส
๑๓ สิกขาบท อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท
ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
เรื่องไม่บัญญัติเพิ่มเติมและไม่ถอนพระบัญญัติเดิม
[๔๔๒] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัปปสะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม
วาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๒. ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่รู้กันในหมู่คฤหัสถ์๑
มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้อยู่ว่า “สิ่งนี้ควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร สิ่งนี้
ไม่ควร” ถ้าพวกเราจะถอนสิกขาบทเล็กน้อย ก็จะมีผู้กล่าวว่า “พระสมณะโคดม
บัญญัติสิกขาบทแก่พวกสาวกชั่วกาลแห่งควันไฟ” สาวกพวกนี้ศึกษาสิกขาบทอยู่ตลอด
เวลาที่พระศาสดาของตนยังมีชีวิตอยู่ พอพระศาสดาของพวกเธอปรินิพพานไปแล้ว บัดนี้
พวกเธอก็ไม่ศึกษาสิกขาบท” ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็ไม่พึงบัญญัติสิ่งที่ไม่ได้ทรงบัญญัติ
ไม่พึงถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้ พึงสมาทานประพฤติตามสิกขาบทที่ทรง
บัญญัติไว้แล้ว นี่เป็นญัตติ
ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่รู้กันในหมู่คฤหัสถ์
มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้อยู่ว่า “สิ่งนี้ควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร สิ่งนี้
ไม่ควร” ถ้าพวกเราจะถอนสิกขาบทเล็กน้อย ก็จะมีผู้กล่าวว่า “พระสมณะโคดม
บัญญัติสิกขาบทแก่พวกสาวกชั่วกาลแห่งควันไฟ สาวกพวกนี้ศึกษาสิกขาบทอยู่
ตลอดเวลาที่พระศาสดาของตนยังมีชีวิตอยู่ พอพระศาสดาของพวกเธอปรินิพพานไป
แล้ว บัดนี้พวกเธอก็ไม่ศึกษาสิกขาบท” ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็ไม่พึงบัญญัติสิ่งที่ไม่
ได้ทรงบัญญัติ ไม่พึงถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้ พึงสมาทานประพฤติตาม
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ
ไม่ถอนพระบัญญัติตามที่ทรงบัญญัติไว้ สมาทานประพฤติตามสิกขาบทที่ทรง
บัญญัติไว้แล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติตามที่ทรงบัญญัติไว้
สมาทานประพฤติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ คือที่เกี่ยวข้องกับพวกคฤหัสถ์, พวกคฤหัสถ์รู้กันอยู่ (ที.ม.อ. ๒/๑๓๖/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๒. ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
เรื่องปรับอาบัติท่านพระอานนท์ ๕ กรณี
[๔๔๓] ๑.ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน
อานนท์การที่ท่านไม่ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า
สิกขาบทข้อไหนจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย’ เรื่องนี้ปรับอาบัติทุกกฏ
แก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัตินั้น
ท่านพระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมไม่ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค
ว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทข้อไหนที่จัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย’ เพราะระลึกไม่ได้
กระผมไม่เห็นอาบัติทุกกฏนั้น แต่เพราะเชื่อฟังท่านทั้งหลาย กระผมจะแสดงอาบัติ
ทุกกฏ”
๒. ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า “ท่านอานนท์ การที่ท่านเหยียบ
ผ้าวัสสิกสาฏกของพระผู้มีพระภาคแล้วปะชุน เรื่องนี้ปรับอาบัติทุกกฏ
แก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
ท่านพระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมเหยียบผ้าวัสสิกสาฏกของพระผู้มี
พระภาคไม่ใช่เพราะความไม่เคารพ กระผมไม่เห็นอาบัติทุกกฏนั้น แต่เพราะเชื่อฟัง
ท่านทั้งหลาย กระผมจะแสดงอาบัติทุกกฏ”
๓. ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า “ท่านอานนท์ การที่ท่านให้มาตุคาม
ถวายอภิวาทพระสรีระของพระผู้มีพระภาคก่อน พระสรีระจึงเปียก
เปื้อนน้ำตาของมาตุคามเหล่านั้นผู้ร้องไห้ เรื่องนี้ปรับอาบัติทุกกฏ
แก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
ท่านพระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมตระหนักว่า มาตุคามเหล่านี้
อย่ารออยู่จนถึงเวลาวิกาล จึงให้พวกเธอถวายอภิวาทพระสรีระของพระผู้มีพระภาค
ก่อน กระผมไม่เห็นอาบัติทุกกฏนั้น แต่เพราะเชื่อฟังท่านทั้งหลาย กระผมจะแสดง
อาบัติ ทุกกฏ”
๔. ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า “ท่านอานนท์ การที่พระผู้มี
พระภาคทรงทำนิมิตโอภาสอย่างหยาบ ๆ ท่านกลับไม่กราบทูลอ้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๒. ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
วอนพระองค์ว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอด
กัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่
พหูชน เพื่อความสุขแก่พหูชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ เรื่องนี้ปรับ
อาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
ท่านพระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมถูกมารดลใจจึงไม่ได้กราบทูล
อ้อนวอนพระผู้มีพระภาคไว้ว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอด
กัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่พหูชน เพื่อความ
สุขแก่พหูชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ กระผมไม่เห็นอาบัติทุกกฏนั้น แต่เพราะเชื่อฟังท่านทั้งหลาย
กระผมจะแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
๕. ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า “ท่านอานนท์ การที่ท่านขวน
ขวายให้มาตุคามบวชในพระธรรมวินัยอันพระตถาคตประกาศไว้แล้ว
เรื่องนี้ปรับอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
ท่านพระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมขวนขวายให้มาตุคามบวชใน
พระธรรมวินัยอันพระตถาคตประกาศไว้แล้ว เพราะคิดว่า ‘พระนางมหาปชาบดีโคตมี
ผู้นี้เป็นพระมาตุฉาของพระผู้มีพระภาค เคยประคับประคองดูแล ถวายเกษียรธาร
เมื่อพระชนนีสวรรคต’ กระผมไม่เห็นอาบัติทุกกฏนั้น แต่เพราะเชื่อฟังท่านทั้งหลาย
กระผมจะแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
เรื่องพระปุราณะ
[๔๔๔] สมัยนั้น ท่านพระปุราณะเที่ยวจาริกอยู่ในทักขิณาคิรีชนบท พร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ครั้นเมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายสังคายนา
พระธรรมและวินัยเสร็จแล้ว ท่านพระปุราณะพักอยู่ที่ทักขิณาคิรีชนบทตามอัยธาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๓. พรหมทัณฑกถา
เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้นแล้วได้นั่งสนทนาอย่างบันเทิงใจกับภิกษุผู้เถระอยู่ ณ ที่สมควร
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกับท่านพระปุราณะดังนี้ว่า “ท่านปุราณะ ภิกษุผู้
เถระทั้งหลายได้สังคายนาพระธรรมและวินัยแล้ว ท่านจงรับทราบเรื่องที่สังคายนานั้น”
ท่านพระปุราณะกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระทั้งหลายสังคายนา
พระธรรมและวินัยดีแล้ว แต่ผมจะทรงจำไว้ตามที่ได้ยินเฉพาะพระพักตร์ ตามที่ได้
รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค”
๓. พรหมทัณฑกถา
ว่าด้วยการลงพรหมทัณฑ์
[๔๔๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับภิกษุผู้เถระทั้งหลายดังนี้ว่า “ท่าน
ผู้เจริญ ในเวลาจะเสด็จปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเราล่วงไป สงฆ์จงลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุฉันนะ”
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือว่า
‘พระพุทธเจ้าข้า พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร”
๑ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมทูลถามพระผู้มีพระภาคแล้ว
ว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร’ พระองค์รับสั่งว่า ‘อานนท์ ภิกษุฉันนะ
พึงพูดได้ตามที่ปรารถนา ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงตักเตือน ไม่พึงพร่ำสอน
ภิกษุฉันนะ”
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวว่า “ท่านอานนท์ ถ้าอย่างนั้น ท่านนั่นแลจงลง
พรหมทัณฑ์แก่ภิกษุฉันนะ”

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. ๑๐/๒๑๖/๑๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๓. พรหมทัณฑกถา
ท่านพระอานนท์ถามว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมจะลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ
ได้อย่างไรกัน เพราะเธอเป็นคนดุร้าย เป็นคนหยาบคาย”
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายตอบว่า “ท่านอานนท์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปพร้อมกับภิกษุ
ทั้งหลายจำนวนมาก”
ท่านพระอานนท์รับบัญชาภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว โดยสารเรือไปพร้อมกับภิกษุ
สงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงกรุงโกสัมพี ขึ้นจากเรือแล้วนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
ใกล้ราชอุทยานของพระเจ้าอุเทน
เรื่องพระเจ้าอุเทน
สมัยนั้น พระเจ้าอุเทนกับพระมเหสีประทับอยู่ในราชอุทยานพร้อมข้าราชบริพาร
พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนได้สดับว่า “พระคุณเจ้าพระอานนท์ผู้เป็นอาจารย์ของพวกเรา
นั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้ราชอุทยาน”
ลำดับนั้น พระมเหสีได้กราบทูลพระจ้าอุเทนดังนี้ว่า “ขอเดชะ ทราบว่า พระ
คุณเจ้าพระอานนท์ผู้เป็นอาจารย์ของหม่อมฉัน นั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้ราชอุทยาน
ขอเดชะ หม่อมฉันปรารถนาจะเยี่ยมพระคุณเจ้าพระอานนท์”
พระเจ้าอุเทนตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอไปเยี่ยมท่านพระอานนท์เถิด”
ต่อมา พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว
อภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์ชี้แจงพระมเหสีให้เห็นชัด ชวนให้อยาก
รับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนผู้ซึ่งท่านพระอานนท์ชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้ถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืน ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระ
อานนท์ลุกจากอาสนะ อภิวาทแล้วทำประทักษิณกลับไป เข้าไปเฝ้าพระเจ้าอุเทน ณ
ที่ประทับ พระเจ้าอุเทนทอดพระเนตรเห็นพระนางเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัส
ถามพระมเหสีดังนี้ว่า “เธอเยี่ยมพระคุณเจ้าพระอานนท์แล้วหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๓. พรหมทัณฑกถา
พระนางกราบทูลว่า “ขอเดชะ เยี่ยมแล้ว”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “เธอถวายอะไรแก่สมณะอานนท์บ้าง”
พระนางกราบทูลว่า “ขอเดชะ พวกหม่อมฉันถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืนแก่พระ
คุณเจ้าพระอานนท์”
พระเจ้าอุเทนทรงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนสมณะอานนท์จึงรับผ้า
มากมายอย่างนั้นเล่า สมณะอานนท์จะทำการค้าขายผ้าหรือตั้งร้านค้ากระมัง”
ต่อมา พระเจ้าอุเทนเสด็จไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พัก ครั้นแล้วทรงปราศรัย
กับท่านพระอานนท์ ครั้นทรงปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควรตรัสถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ มเหสีของ
ข้าพเจ้ามาแล้วหรือ”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “พระมเหสีของพระองค์มาแล้ว มหาบพิตร”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “พระนางได้ถวายอะไรแก่ท่านอานนท์บ้าง”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า“มหาบพิตร พระนางถวายผ้าห่มอาตมา ๕๐๐
ผืน”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ผ้ามากมายอย่างนั้น ท่านจะเอาไปทำ
อะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า“มหาบพิตร อาตมาจะแจกภิกษุทั้งหลายผู้มี
จีวรเก่า”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาจีวรเก่าที่มีอยู่เดิมไปทำอะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะทำจีวรเก่าที่มีอยู่เดิม
นั้นให้เป็นผ้าเพดาน”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาผ้าเพดานเก่าไปทำอะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะทำผ้าเพดานเก่านั้นให้
เป็นปลอกฟูก”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาผ้าปลอกฟูกเก่าไปทำอะไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๓. พรหมทัณฑกถา
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะทำผ้าปลอกฟูกเก่านั้น
ให้เป็นผ้าปูพื้น”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาผ้าปูพื้นเก่าไปทำอะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะทำผ้าปูพื้นเก่าให้เป็น
ผ้าเช็ดเท้า”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาผ้าเช็ดเท้าเก่าไปทำอะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะเอาผ้าเช็ดเท้าเก่าไป
เช็ดธุลี”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาผ้าเช็ดธุลีเก่าไปทำอะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะโขลกผ้าเหล่านั้นขยำ
กับโคลนแล้วฉาบทาฝา”
ลำดับนั้น พระเจ้าอุเทนทรงดำริว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งหมดนี้
นำผ้าไปใช้คุ้มค่า ไม่ใช่เก็บเข้าคลัง” จึงได้ถวายผ้าอีกจำนวน ๕๐๐ ผืนแก่ท่าน
พระอานนท์
อนึ่ง เวลานั้น บริขารคือจีวร ๑,๐๐๐ ผืน เกิดขึ้นแก่ท่านพระอานนท์เป็น
ครั้งแรก
เรื่องท่านพระอานนท์แจ้งพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ
ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปที่โฆสิตาราม ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ลำดับนั้น
ท่านพระฉันนะได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พัก ครั้นแล้วอภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับท่านพระฉันนะดังนี้ว่า “ท่านฉันนะ สงฆ์ได้ลงพรหมทัณฑ์
แก่ท่านแล้ว”
ท่านพระฉันนะถามว่า “ท่านอานนท์ พรหมทัณฑ์ที่สงฆ์ลงแล้วเป็นอย่างไร ขอรับ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านฉันนะ ท่านพึงพูดได้ตามที่ปรารถนา ภิกษุ
ทั้งหลายจะไม่ว่ากล่าว ไม่ตักเตือน ไม่พร่ำสอนท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปัญจสติกขันธกะ
ท่านพระฉันนะถามว่า “ท่านอานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุทั้งหลายไม่ว่ากล่าว ไม่
ตักเตือน ไม่พร่ำสอนผม เพียงแค่นี้ผมชื่อว่าถูกกำจัดแล้ว” แล้วสลบล้มลงที่นั้นเอง
พระฉันนะบรรลุอรหัตตผล
ต่อมา ท่านพระฉันนะอึดอัด เบื่อระอา รังเกียจด้วยพรหมทัณฑ์ จึงหลีกเร้น
อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายใจ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญายิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้ รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป”
จึงเป็นอันว่าท่านพระฉันนะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์
ทั้งหลาย
ครั้งนั้น ท่านฉันนะได้บรรลุอรหัตตผลแล้วจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พัก
ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ เวลานี้ ท่านโปรด
ระงับพรหมทัณฑ์แก่ผมเถิด”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ท่านฉันนะ เมื่อท่านบรรลุอรหัตตผลแล้ว พรหม
ทัณฑ์ของท่านก็เป็นอันระงับไป”
ก็ในการสังคายนาพระ(ธรรม)วินัยครั้งนี้ มีภิกษุ ๕๐๐ รูป ไม่หย่อนไม่ยิ่ง
ดังนั้น การสังคายนาพระ(ธรรม)วินัยครั้งนี้ จึงเรียกว่า “ปัญจสติกา”
ปัญจสติกขันธกะที่ ๑๑ จบ
ในขันธกะนี้มี ๒๓ เรื่อง
รวมเรื่องที่มีในปัญจสติกขันธกะ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท่านพระมหากัสสปะ
ผู้รักษาพระสัทธรรม ชี้แจงต่อหมู่สงฆ์ถึงถ้อยคำที่พระสุภัททะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปัญจสติกขันธกะ
กล่าวดูหมิ่นพระธรรมวินัย เมื่อเดินทางจากเมืองปาวา
พระมหากัสสปะจึงกล่าวว่า พวกเราจะสังคายนาพระสัทธรรม
ก่อนที่อธรรมจะรุ่งเรือง
พระมหากัสสปะคัดเลือกภิกษุทำสังคายนา ๔๙๙ รูป
ต่อมา สงฆ์แนะนำให้เลือกท่านพระอานนท์ด้วย
ภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่ในถ้ำอันเหมาะที่จะทำสังคายนา
พระธรรมวินัย เมื่อคราวสังคายนา
พระมหากัสสปะถามพระวินัยกับท่านพระอุบาลี
ถามพระสูตรกับท่านพระอานนท์ผู้ชาญฉลาด
สาวกของพระชินเจ้าได้สังคายนาพระไตรปิฎก
สงฆ์ได้สอบถามเกี่ยวกับพุทธดำรัสที่ว่าด้วยอาบัติเล็กน้อย
ต่อจากนั้น จึงลงมติว่าจะปฏิบัติตามที่ทรงบัญญัติ
ต่อจากนั้น สงฆ์ปรับอาบัติท่านพระอานนท์เพราะไม่กราบทูล
ถามเกี่ยวกับอาบัติเล็กน้อย เพราะเหยียบผ้าของพระพุทธองค์
เพราะอนุญาตให้มาตุคามให้ไหว้พระพุทธสรีระจนน้ำตาเปียก
พระพุทธสรีระ เพราะไม่กราบทูลขอให้พระพุทธองค์
ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอดกัป เพราะกราบทูลขออนุญาตให้
มาตุคามออกบวช
ท่านพระอานนท์ยอมรับอาบัติทุกกฏเพราะเชื่อฟังภิกษุ
ผู้เถระทั้งหลาย ต่อมา ท่านพระปุราณะเดินทางมาจาก
ทักขิณาคิรีชนบท ไม่ยอมรับผลการสังคายนา
สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ พระมเหสีของ
พระเจ้าอุเทนถวายลาภสักการะแก่ท่านพระอานนท์ ผ้าได้เกิดขึ้น
เป็นจำนวนมาก ท่านพระอานนท์เอาผ้าจีวรเก่าทำเป็นเพดาน
ทำเป็นปลอกฟูก เป็นผ้าปูพื้น เป็นผ้าเช็ดเท้า เป็นผ้าเช็ดธุลี
ต่อจากนั้นขยำกับโคลนฉาบทาฝา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปัญจสติกขันธกะ
จีวร ๑,๐๐๐ ผืนเกิดแก่ท่านพระอานนท์เป็นครั้งแรก
พระฉันนะถูกลงพรหมทัณฑ์ได้บรรลุสัจธรรม
ภิกษุผู้เถระผู้เชี่ยวชาญ ๕๐๐ รูปสังคายนา
จึงเรียกว่า ปัญจสติกะ
ปัญจสติกขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
๑๒. สัตตสติกขันธกะ
๑. ปฐมภาณวาร
เรื่องภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ
[๔๔๖] สมัยนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานล่วงไปได้ ๑๐๐
ปี ภิกษุวัชชีบุตรทั้งหลายชาวกรุงเวสาลี แสดงวัตถุ ๑๐ ประการในกรุงเวสาลี คือ

๑. สิงคิโลณกัปปะ (เก็บเกลือไว้ในเขนง๑ แล้วฉันกับอาหารรสไม่เค็มได้)
๒. ทวังคุลกัปปะ (ฉันอาหารเมื่อเงาเลยเวลาเที่ยงไป ๒ องคุลีได้)
๓. คามันตรกัปปะ (เข้าบ้านฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้)
๔. อาวาสกัปปะ (ทำอุโบสถแยกกันในอาวาสที่มีสีมาเดียวกันได้)
๕. อนุมติกัปปะ (ทำสังฆกรรม ในเมื่อภิกษุทั้งหลายยังมาไม่พร้อม
แล้วขออนุมัติภายหลังได้)
๖. อาจิณณกัปปะ (ประพฤติตามแบบที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์เคย
ประพฤติมาได้)
๗. อมถิตกัปปะ (ฉันนมสดที่แปรไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมเปรี้ยวได้)
๘. ชโลคิ (ดื่มสุราอ่อน ๆ ได้)
๙. อทสกนิสีทนะ (ใช้ผ้ารองนั่งไม่มีชายได้)
๑๐. ชาตรูปรชตะ (รับทองรับเงินได้)

เรื่องพระยสกากัณฑกบุตร
สมัยนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตรเที่ยวจาริกอยู่ในแคว้นวัชชี ไปถึงกรุงเวสาลี
ทราบว่า ท่านพระยสกากัณฑกบุตรพักอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี

เชิงอรรถ :
๑ เขนง คือ เขาสัตว์, กลักหรือกระบอกเขาควายที่นิยมใช้บรรจุดินปืน หรือสิ่งของอื่น บางทีใช้เป่าบอก
อาณัติสัญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุวัชชีบุตรทั้งหลายชาวกรุงเวสาลี ในวันอุโบสถนั้น ใช้ถาดทอง
สำริดตักน้ำไว้จนเต็มท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แล้วแนะนำพวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุง
เวสาลี ผู้ผ่านมาผ่านไปว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงถวายรูปิยะแก่สงฆ์ หนึ่ง
กหาปณะบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง หนึ่งบาทบ้าง หนึ่งมาสกบ้าง สงฆ์มีธุระที่ต้องทำ
ด้วยบริขาร”
เมื่อพวกภิกษุวัชชีบุตรกล่าวอย่างนี้ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรจึงบอกพวก
อุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านอย่าถวายรูปิยะแก่
สงฆ์ หนึ่งกหาปณะบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง หนึ่งบาทบ้าง หนึ่งมาสกบ้าง ทองและเงิน
ไม่สมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดี
ทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งหลายปล่อยวาง
แก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน”
พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีแม้อันท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวเตือน
อย่างนี้ ก็ยังขืนถวายรูปิยะแก่สงฆ์ หนึ่งกหาปณะบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง หนึ่งบาทบ้าง
หนึ่งมาสกบ้างอยู่นั่นเอง
เมื่อผ่านคืนนั้นไป พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ได้แบ่งเงินนั้นตามจำนวน
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้กล่าวกับท่านพระยส-
กากัณฑกบุตรดังนี้ว่า “ท่านยสะ เงินจำนวนนี้เป็นส่วนแบ่งของท่าน”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีส่วนแบ่งเงิน ผมไม่
ยินดีเงิน”
ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ท่านพระยสกา-
กัณฑกบุตรรูปนี้ด่าบริภาษพวกอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาไม่มีศรัทธา
เอาเถอะ พวกเราจะลงปฏิสารณียกรรม๑แก่เธอ” แล้วได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่ท่าน
พระยสกากัณฑกบุตร

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิสารณียกรรม หมายถึงการที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุทั้งหลายไปขอขมาคฤหัสถ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ลงปฏิสารณียกรรมโดยไม่ชอบธรรม
ลำดับนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตรบอกพวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีดังนี้
ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘สงฆ์พึงให้อนุทูตแก่ภิกษุผู้ถูก
ลงปฏิสารณียกรรม’ พวกท่านจงให้อนุทูตแก่เรา”
ครั้งนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีจึงแต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่งให้เป็นอนุทูต
แก่ท่านพระยสกากัณฑกบุตร ต่อมา ท่านพระยสกากัณฑกบุตรพร้อมพระอนุทูตพา
กันเข้าไปกรุงเวสาลี แล้วชี้แจงพวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีดังนี้ว่า “อาตมา
กล่าวอธรรมว่าเป็นอธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใข่
วินัย กล่าววินัยว่าเป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่าบริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มี
ศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาหมดศรัทธา
เครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ ๔ ประการ
[๔๔๗] (ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวต่อไปว่า) ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตกรุง
สาวัตถี
พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งมัวหมองที่เป็น
เหตุให้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการ
สิ่งมัวหมอง ๔ ประการคือ
๑. เมฆเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ มัวหมอง
ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
๒. หมอกเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ มัวหมอง
ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
๓. ควันและฝุ่นละอองเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
๔. ราหูผู้เป็นจอมอสูรเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มัวหมอง ไม่ส่อง
แสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการเหล่านี้แล
เช่นเดียวกัน ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัว
หมอง ไม่สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการนี้
อุปกิเลส ๔ ประการคือ
๑. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดื่มสุรา และเมรัย ไม่เว้น
ขาดจากการดื่มสุราและเมรัย
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่
สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๑
๒. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเสพเมถุนธรรม ไม่เว้นขาด
จากการเสพเมถุนธรรม
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่
สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๒
๓. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งยินดีทองและเงิน ไม่เว้น
ขาดจากการยินดีทองและเงิน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่
สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๓
๔. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดำเนินชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ไม่
เว้นขาดจากมิจฉาชีพ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่
สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๔”
ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้แล้ว พระสุคตครั้นตรัสพระดำรัส
นี้แล้ว พระศาสดาได้ตรัสประพันธ์คาถาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถูกราคะและโทสะปกคลุม
ถูกอวิชชาหุ้มห่อยินดีรูปที่น่ารัก ดื่มสุราและเมรัย
เสพเมถุน โง่เขลา ยินดีเงินและทอง
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดำเนินชีวิตด้วยมิจฉาชีพ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์พระอาทิตย์
ตรัสอุปกิเลสที่ทำให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่สง่า
ไม่ผ่องใส เป็นที่รู้กัน ไม่บริสุทธิ์ มีธุลี ถูกความมืดปกคลุม
เป็นทาสแห่งตัณหา ถูกตัณหาชักนำให้อัตภาพหยาบ
เจริญเติบโต ย่อมยินดีการเกิดใหม่๑
อาตมามีวาทะอย่างนี้ กล่าวอธรรมว่าเป็นอธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม
กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย กล่าววินัยว่าเป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่า
บริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาหมดศรัทธา
เรื่องผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะ
[๔๔๘] (ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวต่อไปว่า) ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น พวกข้าราชบริพารนั่งประชุมกันในราชบริษัท ภายในพระราชวังได้
สนทนากันดังนี้ว่า “ทองและเงินย่อมสมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
หรือพวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรยินดีทองและเงินได้หรือ พวกพระสมณะเชื้อ
สายศากยบุตรรับทองและเงินได้หรือ”
ท่านทั้งหลาย สมัยนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย ลำดับนั้น
ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะได้กล่าวกับบริษัทนั้นดังนี้ว่า “นายท่านทั้งหลาย พวกท่าน
อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่สมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พวก

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๐/๘๑-๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน พวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรปล่อยวางแก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน”
ท่านทั้งหลาย ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะสามารถชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจ
ครั้นผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจแล้ว จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้
มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ขอพระวโรกาส พวกข้าราชบริพาร
นั่งประชุมกันในราชบริษัท ภายในพระราชวังได้สนทนากันดังนี้ว่า ‘ทองและเงิน
สมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรหรือ พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
ยินดีทอง และเงินได้หรือ รับทองและเงินได้หรือ’
พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบริษัทนั้นกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกับบริษัทนั้น
ดังนี้ว่า ‘นายท่านทั้งหลาย พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่สมควรแก่
พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดีทอง
และเงิน ไม่รับทองและเงิน พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรปล่อยวางแก้วมณีและ
ทอง ปราศจากทองและเงิน
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์สามารถชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจได้ เมื่อชี้แจง
อย่างนี้ ชื่อว่าชี้แจงตามพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ
แต่ชี้แจง ตามสมเหตุสมผล และคำกล่าวที่เหมาะแก่วาทะ๑ของพระองค์จะไม่ถูก
ตำหนิบ้างหรือแม้น้อยหนึ่ง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เอาเถอะ ท่านเมื่อชี้แจงอย่างนี้ชื่อว่าชี้แจง
ตามเรา ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ แต่ชี้แจงตามสมเหตุสมผล และคำกล่าวที่เหมาะ
แก่วาทะของเราจะไม่ถูกตำหนิบ้างหรือแม้น้อยหนึ่ง ผู้ใหญ่บ้าน ทองและเงินไม่สมควร
แก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรโดยแท้ พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดี

เชิงอรรถ :
๑ คำกล่าวที่เหมาะแก่วาทะ คือคำเดิมของพระองค์สมเหตุสมผลกับเหตุที่ผู้อื่นกล่าว หรือคำกล่าวตามคำ
ของพระองค์นั้นต่อ ๆ กัน แม้ มีประมาณน้อยจะไม่ถูกวิญญูชนตำหนิได้หรือ (วิ.อ. ๓/๒๙๐/๑๘๐, สารตฺถ.ฏีกา
๓/๒๙๐/๓๙๔, วิมติ.ฏีกา ๒/๒๙๐/๒๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรปล่อยวางแก้วมณี
และทอง พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรปราศจากทองและเงิน ผู้ใหญ่บ้าน ทอง
และเงินควรแก่รูปใด แม้กามคุณ ๕ ก็ควรแก่ผู้นั้น กามคุณ ๕ ควรแก่รูปใด ท่านพึง
ทรงจำผู้นั้นโดยส่วนเดียวว่า ไม่มีสมณธรรม ไม่มีธรรมของเชื้อสายศากยบุตร อนึ่ง
เรากล่าวเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึง
แสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการรู้จักตนเองพึงแสวงหา
ตนเอง แต่เราไม่เคยกล่าวถึงทองและเงินว่า ‘เป็นสิ่งที่ควรยินดี ควรแสวงหา’ ไม่ว่า
กรณีใด ๆ”๑
อาตมาผู้มีวาทะอย่างนี้ กล่าวอธรรมว่าเป็นอธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม
กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย กล่าววินัยว่าเป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่า
บริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาหมดศรัทธา
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๔๔๙] (ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวต่อไปว่า) “ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร ทรงห้ามทองและเงิน และ
ทรงบัญญัติสิกขาบทในกรุงราชคฤห์ อาตมาผู้มีวาทะอย่างนี้ กล่าวอธรรมว่าเป็น
อธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย กล่าววินัยว่า
เป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่าบริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส
ทำให้เขาหมดศรัทธา”
เมื่อท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวอย่างนี้ พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลี
ได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรรูปเดียวเท่านั้นที่เป็นพระ
สมณะเชื้อสายศากยบุตร พวกท่านทั้งหมดนี้ไม่ใช่พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร ขอ
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรจงอยู่กรุงเวสาลี พวกเราจะอุปัฏฐากท่านพระยสกากัณฑก
บุตรด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร”

เชิงอรรถ :
๑ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๖๒/๔๑๕-๔๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ครั้นท่านพระยสกากัณฑกบุตรชี้แจงแก่พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีให้
เข้าใจดีแล้ว จึงเดินทางไปอารามพร้อมกับภิกษุอนุทูต
ลงอุกเขปนียกรรมโดยไม่ชอบธรรม
ครั้งนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ถามภิกษุอนุทูตว่า “ท่านพระยส-
กากัณฑกบุตรขอโทษพวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีแล้วหรือ”
ภิกษุอนุทูตตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกอุบาสกอุบาสิกาทำพวกเราให้เป็นคน
เลว ยกย่องท่านพระยสกากัณฑกบุตรผู้เดียวให้เป็นพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร ทำ
พวกเราไม่ให้เป็นพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร”
ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ปรึกษากันว่า “ท่านทั้งหลาย
พระยสกากัณฑกบุตรซึ่งพวกเรายังไม่ได้แต่งตั้งเลยก็ประกาศตัวแก่พวกชาวบ้าน
เอาเถอะ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมแก่ท่าน” พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี
เหล่านั้นประสงค์จะลงอุกเขปนียกรรมแก่ท่านพระยสกากัณฑกบุตรนั้น จึงประชุม
ปรึกษากัน
สมัยนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตรเหาะไปปรากฏที่กรุงโกสัมพี
[๔๕๐] ต่อมา ท่านพระยสกากัณฑกบุตรส่งทูตไปหาภิกษุทั้งหลายชาวเมือง
ปาเฐยยะและภิกษุทั้งหลายชาวอวันตีและทักขิณาบถ โดยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย
พวกเราจงมาช่วยกันวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ ก่อนที่อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน
สิ่งมิใช่วินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อนที่พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวก
ธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง พวกวินยวาทีจะอ่อนกำลัง”
เรื่องพระสัมภูตสาณวาสี
สมัยนั้น ท่านพระสัมภูตสาณวาสีอยู่ที่อโหคังคบรรพต ต่อมา ท่านพระยส
กากัณฑกบุตรเข้าไปหาท่านพระสัมภูตสาณวาสี ณ ที่อโหคังคบรรพต๑ ครั้นแล้วอภิวาท

เชิงอรรถ :
๑ อโหคังคบรรพต อยู่ในอินเดียตอนเหนือ บริเวณแม่น้ำคงคาตอนบน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสัมภูตสาณวาสีดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ พวกภิกษุ
วัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีเหล่านี้แสดงวัตถุ ๑๐ ประการในกรุงเวสาลี คือ

๑. สิงคิโลณกัปปะ (เก็บเกลือไว้ในเขนง๑ แล้วฉันกับอาหารรสไม่เค็มได้)
๒. ทวังคุลกัปปะ (ฉันอาหารเมื่อเงาเลยเวลาเที่ยงไป ๒ องคุลีได้)
๓. คามันตรกัปปะ (เข้าบ้านฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้)
๔. อาวาสกัปปะ (ทำอุโบสถแยกกันในอาวาสที่มีสีมาเดียวกันได้)
๕. อนุมติกัปปะ (ทำสังฆกรรม ในเมื่อภิกษุทั้งหลายยังมาไม่พร้อม
แล้วขออนุมัติภายหลังได้)
๖. อาจิณณกัปปะ (ประพฤติตามแบบที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์เคย
ประพฤติมาได้)
๗. อมถิตกัปปะ (ฉันนมสดที่แปรไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมเปรี้ยวได้)
๘. ชโลคิ (ดื่มสุราอ่อน ๆ ได้)
๙. อทสกนิสีทนะ (ใช้ผ้ารองนั่งไม่มีชายได้)
๑๐. ชาตรูปรชตะ (รับทองรับเงินได้)

ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ พวกเราจงช่วยกันวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ ก่อนที่อธรรมจะ
รุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน สิ่งมิใช่วินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อนที่พวก
อธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง พวก
วินยวาที จะอ่อนกำลัง
ท่านพระสัมภูตสาณวาสีรับคำของท่านพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว
เรื่องภิกษุทั้งหลายชาวเมืองปาเฐยยะและทักขิณาบถ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายชาวเมืองปาเฐยยะประมาณ ๖๐ รูป ทั้งหมดถือธุดงค์
คือ อยู่ป่าเป็นวัตร ทั้งหมดเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ทั้งหมดทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ทั้งหมดมีไตรจีวรเป็นวัตร ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ประชุมปรึกษาหารือกันที่อโหคังค
บรรพต ภิกษุทั้งหลายชาวอวันตีทักขิณาบถประมาณ ๘๐ รูป บางพวกถือธุดงค์ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
อยู่ป่าเป็นวัตร บางพวกเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร บางพวกทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
บางพวกมีไตรจีวรเป็นวัตร ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ประชุมปรึกษาหารือกันที่อโหคังค
บรรพต
ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกำลังปรึกษากัน ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อธิกรณ์
นี้หยาบช้ารุนแรง ทำอย่างไรพวกเราจึงจะได้พรรคพวกที่ทำให้พวกเราเข้มแข็งมากกว่า
นี้เล่า”
เรื่องพระเรวตะ
[๔๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะผู้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรง
วินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความ
ระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา พักอยู่ที่เมืองโสเรยยะ
ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่าน
พระเรวตะผู้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต
เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา พักอยู่ที่
เมืองโสเรยยะ ถ้าพวกเรา ได้ท่านพระเรวตะมาเป็นพรรคพวก ก็จะเข้มแข็งยิ่งกว่านี้”
ท่านพระเรวตะได้ยินภิกษุผู้เถระทั้งหลายกำลังปรึกษากันด้วยทิพยโสตธาตุอัน
บริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ครั้นแล้วได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อธิกรณ์นี้หยาบช้ารุนแรง การที่
เราจะดูดายต่ออธิกรณ์นี้ไม่สมควร เวลานี้ภิกษุเหล่านั้นกำลังมาหาเรา เรานั้นคลุกคลี
กับภิกษุเหล่านั้นจะอยู่ไม่ผาสุก ถ้ากระไรเราควรไปเสียก่อน”
ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะจึงเดินทางจากเมืองโสเรยยะไปเมืองสังกัสสะ
ต่อมา ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินทางไปเมืองโสเรยยะ ถามว่า “ท่านพระเรวตะ
พักอยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปเมืองสังกัสสะ”
ต่อมา ท่านพระเรวตะเดินทางจากเมืองสังกัสสะไปเมืองกัณณกุชชะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายพากันเดินทางไปเมืองสังกัสสะ ถามว่า “ท่านพระเรวตะพัก
อยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปเมืองกัณณกุชชะ”
ต่อมา ท่านพระเรวตะเดินทางจากเมืองกัณณกุชชะไปเมืองอุทุมพระ
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายพากันเดินทางไปเมืองกัณณกุชชะ ถามว่า “พระเรวตะพัก
อยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปเมืองอุทุมพระ”
ต่อมา ท่านพระเรวตะเดินทางจากเมืองอุทุมพระไปเมืองอัคคฬปุระ
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายพากันเดินทางไปเมืองอุทุมพระ ถามว่า “ท่านพระเรวตะ
พักอยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปเมืองอัคคฬปุระ”
ต่อมา ท่านพระเรวตะเดินทางจากเมืองอัคคฬปุระไปสู่สหชาตินคร๑
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายพากันเดินทางไปเมืองอัคคฬปุระ ถามว่า “ท่านพระเรวตะ
พักอยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปสหชาตินคร”
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินตามไปพบท่านพระเรวตะที่สหชาตินคร
คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับวัตถุ ๑๐ ประการ
[๔๕๒] ครั้งนั้น ท่านพระสัมภูตสาณวาสี บอกท่านพระยสกากัณฑกบุตรว่า
“ท่าน ท่านพระเรวตะรูปนี้ เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรง
มาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่
การศึกษา ถ้าพวกเราจะถามปัญหา ท่านสามารถจะแก้ปัญหาข้อเดียวได้ตลอดทั้งคืน
แต่เวลานี้ท่านพระเรวตะจะเชิญภิกษุอันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะ เมื่อภิกษุรูปนั้นสวด
สรภัญญะจบ ท่านควรเข้าไปหาท่านพระเรวตะถามวัตถุ ๑๐ ประการเหล่านี้”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรรับคำท่านพระสัมภูตสาณวาสีแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ สหชาตินคร เป็นเมืองเล็ก ๆ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่(น้ำคง) เป็นนิคมหนึ่งแห่งแคว้นเจตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะเชิญภิกษุอันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะ เมื่อภิกษุรูปนั้น
สวดสรภัญญะจบ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรจึงเข้าไปหาท่านพระเรวตะ ครั้นแล้ว
อภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระเรวตะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สิงคิโลณกัปปะ
ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน สิงคิโลณกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การเก็บเกลือไว้ในเขนงด้วย
ตั้งใจว่า ‘จะฉันกับอาหารรสไม่เค็ม’ ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทวังคุลกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน ทวังคุลกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การฉันโภชนะในเวลาวิกาล
เมื่อเงา(ของดวงอาทิตย์)เลย(เวลาเที่ยง)ไป ๒ องคุลี ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ คามันตรกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน คามันตรกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุฉันเสร็จแล้ว ห้าม
ภัตตาหารแล้วคิดว่า ‘จะเข้าไปละแวกหมู่บ้านในบัดนี้’ แล้วฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดน
ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ อาวาสกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อาวาสกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ อาวาสหลายแห่งที่มีสีมาเสมอกัน
จะแยกกันทำอุโบสถ ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ อนุมติกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อนุมติกัปปะคืออะไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ สงฆ์แบ่งพวกกันทำกรรมด้วย
ตั้งใจว่า ‘พวกเราจะให้ผู้มาแล้วอนุมัติ’ ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ อาจิณณกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อาจิณณกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การประพฤติตามด้วยเข้าใจ
ว่า ‘สิ่งนี้พระอุปัชฌาย์ของเราประพฤติมา สิ่งนี้พระอาจารย์ของเราประพฤติมา’
ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน สิ่งที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์ประพฤติมา บางอย่าง
ควร บางอย่างไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “อมถิตกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อมถิตกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ นมสดที่ละความเป็นนมสด
แล้วแต่ยังไม่ถึงกับเป็นนมเปรี้ยว ภิกษุทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตตาหารแล้ว จะ
ดื่มนมนั้นที่ไม่เป็นเดน ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญการดื่มชโลคิควรหรือ”
พระเรวตะย้อมถามว่า “ท่าน ชโลคินั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การดื่มสุราชนิดอ่อนที่ยังไม่
แปรเป็นน้ำเมา ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทองและเงิน ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี
แสดงวัตถุ ๑๐ ประการนี้ในกรุงเวสาลี ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ พวกเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
จงช่วยกันวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ ก่อนที่อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน สิ่งมิใช่วินัย
จะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อนที่พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะอ่อน
กำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง พวกวินยวาทีจะอ่อนกำลัง
ท่านพระเรวตะรับคำของท่านพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว
ปฐมภาณวาร จบ
๒. ทุติยภาณวาร
[๔๕๓] พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีพอได้ทราบข่าวว่า “ท่านพระยส-
กากัณฑกบุตรประสงค์จะรับหน้าที่วินิจฉัยอธิกรณ์นี้ กำลังหาพรรคพวก และได้
พรรคพวกแล้ว”
ครั้งนั้นแล พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อธิกรณ์
เรื่องนี้หยาบคายรุนแรง ทำอย่างไรพวกเราจึงจะได้พรรคพวกที่ทำให้เข้มแข็งมากกว่า
นี้เล่า”
ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้ปรึกษากันต่อไปดังนี้ว่า “ท่าน
พระเรวตะรูปนี้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็น
บัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
ถ้าพวกเราได้ท่านพระเรวตะมาร่วมเป็นพรรคพวก ก็จะเข้มแข็งยิ่งกว่านี้”
ต่อมา พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีจัดเตรียมสมณบริขารอย่างเพียงพอ คือ
บาตรบ้าง จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง กล่องเข็มบ้าง ประคดเอวบ้าง ผ้ากรองน้ำบ้าง
กระบอกกรองน้ำบ้าง
ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีขนสมณบริขารนั้นโดยสารเรือไป
สหชาตินคร ขึ้นจากเรือ หยุดพักผ่อนฉันอาหารร่วมกันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เรื่องพระสาฬหะ
เวลานั้น ท่านพระสาฬหะหลีกเร้นอยู่ที่สงัด เกิดความคิดคำนึงขึ้นในจิตอย่าง
นี้ว่า “ภิกษุพวกไหนที่เป็นฝ่ายธรรมวาที ภิกษุชาวปราจีนหรือชาวเมืองปาเฐยยะ”
ครั้งนั้น ขณะที่กำลังพิจารณาพระธรรมวินัย ท่านพระสาฬหะได้ปรึกษากัน
ต่อไปอีกว่า “ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะเป็นฝ่าย
ธรรมวาที”
ขณะนั้น เทวดาชั้นสุทธาวาสตนหนึ่ง ทราบความคิดคำนึงในจิตของท่านด้วย
จิต(ของตน) จึงหายไปจากเทวโลกชั้นสุทธาวาสแล้วมาปรากฏต่อหน้าท่านพระสาฬหะ
เหมือนคนมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ได้กล่าวกับท่านพระสาฬหะดัง
นี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ดีแล้ว ดีแล้ว ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาว
เมืองปาเฐยยะเป็นฝ่ายธรรมวาที ท่านโปรดวางตนตามความถูกต้องเถิด”
ท่านพระสาฬหะกล่าวว่า “เทวดา ทั้งในกาลก่อนและเวลานี้ อาตมาก็วางตน
ตามความถูกต้อง แต่อาตมาจะยังไม่เปิดเผยความเห็น ถ้ากระไร สงฆ์น่าจะแต่งตั้ง
อาตมา(ให้เข้าร่วมวินิจฉัย)ในอธิกรณ์นี้บ้าง”
เรื่องพระอุตตระ
[๔๕๔] ต่อมา พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ถือสมณบริขารนั้นเข้าไป
หาท่านพระเรวตะถึงที่พัก ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่านพระเรวตะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
ขอพระเถระโปรดรับสมณบริขาร คือ บาตรบ้าง จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง กล่องเข็มบ้าง
ประคดเอวบ้าง ผ้ากรองน้ำบ้าง กระบอกกรองน้ำบ้าง”
ท่านพระเรวตะกล่าวว่า “ไม่ละคุณ เรามีไตรจีวรครบบริบูรณ์แล้ว” ไม่ปรารถนา
จะรับ
สมัยนั้น พระอุตตระมีพรรษา ๒๐ เป็นอุปัฏฐากของท่านพระเรวตะ ครั้งนั้น
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้เข้าไปหาท่านพระอุตตระถึงที่พัก ครั้นแล้วได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
กล่าวกับท่านพระอุตตระดังนี้ว่า “ขอท่านพระอุตตระจงรับสมณบริขาร คือ บาตรบ้าง
จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง กล่องเข็มบ้าง ประคดเอวบ้าง ผ้ากรองน้ำบ้าง กระบอกกรอง
น้ำบ้าง”
ท่านพระอุตตระกล่าวว่า “ไม่ละคุณ เรามีไตรจีวรครบบริบูรณ์แล้ว” ไม่ปรารถนา
จะรับ
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีกล่าวว่า “ท่านอุตตระ คนทั้งหลายน้อม
ถวายสมณบริขารแด่พระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงรับ พวกเขาก็ดีใจ ถ้า
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงรับ พวกเขาก็จะน้อมถวายท่านพระอานนท์ โดยกราบเรียนว่า
‘ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระโปรดรับสมณบริขาร สิ่งที่พระเถระรับก็เป็นเหมือนกับที่
พระผู้มีพระภาคทรงรับ’ ขอท่านพระอุตตระโปรดรับสมณบริขารเถิด สิ่งที่ท่านพระ
อุตตระรับก็จะเป็นเหมือนกับสิ่งที่พระเถระรับเหมือนกัน”
ครั้งนั้น ท่านพระอุตตระถูกพวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีบีบคั้น จึงรับ
จีวรผืนหนึ่งแล้วกล่าวว่า “พวกท่านพึงแจ้งความประสงค์”
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีกล่าวว่า “ขอท่านพระอุตตระจงบอกพระ เถระ
ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระพูดเพียงเท่านี้ในท่ามกลางสงฆ์ว่า พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติในปุรัตถิมชนบท ภิกษุทั้งหลายชาวปราจีนเป็นฝ่ายธรรมวาที
ภิกษุทั้งหลายชาวเมืองปาเฐยยะเป็นฝ่ายอธรรมวาที”
พระอุตตระรับคำของพวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีแล้วเข้าไปหาท่านพระ
เรวตะถึงที่พัก ครั้นแล้วได้กราบเรียนดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระโปรดพูด
เพียงเท่านี้ในท่ามกลางสงฆ์ว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นใน
ปุรัตถิมชนบท ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะเป็นฝ่าย
อธรรมวาที”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ท่านชักชวนเราในสิ่งที่ไม่ชอบธรรมหรือ” แล้ว
กล่าวประณามท่านพระอุตตระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ต่อมา พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีถามท่านพระอุตตระดังนี้ว่า “ท่าน
อุตตระ พระเรวตะพูดอย่างไรบ้าง”
ท่านพระอุตตระตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกเราทำบาปเสียแล้ว พระเรวตะพูด
ว่า ‘ภิกษุ ท่านชักชวนเราในสิ่งที่ไม่ชอบธรรมหรือ’ แล้วประณามเรา”
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีถามว่า “ท่านอุตตระ ท่านเป็นผู้ใหญ่มีพรรษา
๒๐ แล้วมิใช่หรือ”
ท่านพระอุตตระตอบว่า “ใช่แล้วท่านทั้งหลาย แต่กระผมถือนิสัยอยู่ในท่านพระ
เรวตะผู้เป็นครู”
เรื่องสงฆ์มุ่งจะวินิจฉัยอธิกรณ์
[๔๕๕] ครั้งนั้น สงฆ์ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น จึงได้ประชุมกัน ลำดับนั้น
ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าพวกเราจะระงับอธิกรณ์นี้ บางทีจะ
มีภิกษุผู้ถือว่าอธิกรณ์มีมูลรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงระงับอธิกรณ์นี้ในที่
ที่อธิกรณ์นี้เกิดขึ้น”
ต่อมา ภิกษุผู้เถระทั้งหลายพากันเดินทางไปกรุงเวสาลีเพื่อวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น
ครั้งนั้น ท่านพระสัพพกามีเป็นพระสังฆเถระทั่วสังฆมณฑล มีพรรษา ๑๒๐
นับแต่อุปสมบทมา เป็นสัทธิวิหาริกของท่านพระอานนท์ พักอยู่ในกรุงเวสาลี
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะบอกท่านพระสัมภูตสาณวาสีดังนี้ว่า “ท่าน ผมจะไป
วิหารที่ท่านพระสัพพกามีอยู่ ท่านเข้าไปหาท่านพระสัพพกามีก่อน แล้วเรียนถาม
วัตถุ ๑๐ ประการ”
พระสัมภูตสาณวาสีรับเถระบัญชาแล้ว ต่อมา ท่านพระเรวตะเข้าไปยังวิหารที่
ท่านพระสัพพกามีอยู่ เสนาสนะของท่านพระสัพพกามีเขาจัดเตรียมไว้ในห้อง
ส่วนเสนาสนะของท่านพระเรวตะเขาจัดเตรียมไว้ที่หน้ามุขห้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ขณะนั้น ท่านพระเรวตะคิดว่า “พระผู้เฒ่ารูปนี้ยังไม่จำวัด” จึงไม่จำวัด
ท่านพระสัพพกามีคิดว่า “ภิกษุอาคันตุกะรูปนี้เหนื่อยมาแต่ยังไม่จำวัด” จึงไม่
เข้าจำวัดเหมือนกัน
ครั้นพอใกล้สว่าง ท่านพระสัพพกามีลุกขึ้น ได้กล่าวกับท่านพระเรวตะดังนี้ว่า
“ท่านเรวตะ เวลานี้คุณอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรเป็นส่วนมาก”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “พระคุณท่าน เวลานี้ผมอยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมเป็น
ส่วนมาก”
ท่านพระสัพพกามีกล่าวว่า “ท่านเรวตะ ทราบว่า เวลานี้คุณอยู่ด้วยวิหารธรรม
ที่เรียบง่าย นั่นก็คือเมตตา”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนคราวเป็นคฤหัสถ์ ผมได้ประพฤติ
สั่งสมเมตตา ฉะนั้นเวลานี้ผมก็ยังอยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมเป็นส่วนมาก แต่ผมบรรลุ
อรหัตตผลนานแล้ว ท่านผู้เจริญ เวลานี้พระเถระอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรเล่าเป็นส่วน
มาก”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่านเรวตะ เวลานี้ผมอยู่ด้วยสุญญตวิหารธรรม
เป็นส่วนมาก”
ท่านพระเรวตะกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ทราบว่า เวลานี้ พระเถระอยู่ด้วยวิหาร
ธรรมของพระมหาบุรุษ นั่นก็คือ สุญญตสมาบัติ”
ท่านพระสัพพกามีกล่าวว่า “ท่านเรวตะ เมื่อก่อนคราวเป็นคฤหัสถ์ ผมได้ประพฤติ
สั่งสมสุญญตสมาบัติ ฉะนั้นเวลานี้ ผมก็ยังอยู่ด้วยสุญญตวิหารธรรมเป็นส่วนมาก
แต่ผมบรรลุอรหัตตผลนานแล้ว”
พระสัมภูตสาณวาสีถามวัตถุ ๑๐ ประการ
ภิกษุผู้เถระทั้งสองสนทนาค้างอยู่เพียงเท่านี้ ลำดับนั้น พระสัมภูตสาณวาสี
มาถึง จึงเข้าไปหาท่านพระสัพพกามีถึงที่พัก ครั้นแล้วอภิวาท นั่ง ณ ที่สมควรได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
กล่าวกับท่านพระสัพพกามีดังนี้ว่า “พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีแสดงวัตถุ ๑๐
ประการในกรุงเวสาลี คือ

๑. สิงคิโลณกัปปะ (เก็บเกลือไว้ในเขนง๑ แล้วฉันกับอาหารรสไม่เค็มได้)
๒. ทวังคุลกัปปะ (ฉันอาหารเมื่อเงาเลยเวลาเที่ยงไป ๒ องคุลีได้)
๓. คามันตรกัปปะ (เข้าบ้านฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้)
๔. อาวาสกัปปะ (ทำอุโบสถแยกกันในอาวาสที่มีสีมาเดียวกันได้)
๕. อนุมติกัปปะ (ทำสังฆกรรม ในเมื่อภิกษุทั้งหลายยังมาไม่พร้อม
แล้วขออนุมัติภายหลังได้)
๖. อาจิณณกัปปะ (ประพฤติตามแบบที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์เคย
ประพฤติมาได้)
๗. อมถิตกัปปะ (ฉันนมสดที่แปรไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมเปรี้ยวได้)
๘. ชโลคิ (ดื่มสุราอ่อน ๆ ได้)
๙. อทสกนิสีทนะ (ใช้ผ้ารองนั่งไม่มีชายได้)
๑๐. ชาตรูปรชตะ (รับทองรับเงินได้)

ท่านพระสัพพกามีถามว่า “ท่านผู้เจริญ พระเถระศึกษาพระธรรมและวินัยไว้
เป็นอันมากจากพระอุปัชฌาย์ ท่านผู้เจริญ เมื่อพระเถระพิจารณาพระธรรมและวินัย
อยู่ เห็นอย่างไรว่า ‘ภิกษุพวกไหนเป็นฝ่ายธรรมวาที คือ ภิกษุชาวปราจีนหรือชาว
เมืองปาเฐยยะ”
ท่านพระสัมภูตสาณวาสีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อผมพิจารณาพระธรรมและ
วินัยอยู่ ก็เห็นอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ
เป็นฝ่ายธรรมวาที’ แต่ยังชี้ขาดไม่ได้ สงฆ์น่าจะแต่งตั้งผมเข้าวินิจฉัยอธิกรณ์นี้บ้าง”
ท่านพระสัพพกามีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อผมพิจารณาพระธรรมและวินัย
อยู่ก็เห็นอย่างนั้นว่า ‘ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ
เป็นฝ่ายธรรมวาที’ แต่ยังชี้ขาดไม่ได้ สงฆ์น่าจะแต่งตั้งผมเข้าวินิจฉัยอธิกรณ์นี้บ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระเรวตะประกาศระงับอธิกรณ์ด้วยอุพพาหิกวิธี๑
[๔๕๖] ครั้งนั้น สงฆ์ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ จึงประชุมกัน และเมื่อกำลัง
วินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีใครทราบความหมาย
แห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วได้
ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะจึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
ญัตติกรรมวาจา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเรากำลังวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ มีเสียง
เซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีใครทราบความหมายแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วได้
แม้แต่เรื่องเดียว ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงระงับอธิกรณ์เรื่องนี้ด้วยอุพพาหิกวิธี
สงฆ์จึงคัดเลือกภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป คือ ท่านพระสัพพกามี ท่านพระ
สาฬหะ ท่านพระอุชชโสภิตะ และท่านพระวาสภคามิกะ และภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ
อีก ๔ รูป คือ ท่านพระเรวตะ ท่านพระสัมภูตสาณวาสี ท่านพระยสกากัณฑกบุตร
และท่านพระสุมนะ
ต่อมา ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ เมื่อพวกเรากำลังวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด
และไม่มีใครทราบความหมายแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึง
แต่งตั้งภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะอีก ๔ รูป เพื่อระงับอธิกรณ์นี้
ด้วยอุพพาหิกวิธี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเรากำลังวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่มีเสียง
เซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีใครทราบความหมายแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อุพพาหิกวิธี คือ วิธีระงับอธิกรณ์ ในกรณีที่ประชุมสงฆ์มีความไม่สะดวกด้วยเหตุบางอย่าง สงฆ์จึงเลือก
ภิกษุบางรูปในที่ประชุมนั้น ตั้งเป็นคณะทำงานแล้วมอบเรื่องให้นำไปวินิจฉัย (วิ.อ. ๓/๒๓๑/๒๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะอีก ๔ รูป เพื่อระงับ
อธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป
ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะอีก ๔ รูป เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ท่านรูปนั้น
พึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะอีก ๔ รูป สงฆ์แต่งตั้งเพื่อ
ระงับอธิกรณ์ด้วยอุพพาหิกวิธี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความ
นิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
เรื่องพระอชิตะ
สมัยนั้น ภิกษุอชิตะ มีพรรษา ๑๐ เป็นผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่สงฆ์ ต่อมา
สงฆ์แต่งตั้งท่านพระอชิตะให้เป็นผู้ปูอาสนะเพื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายคิดว่า “พวกเราจะระงับอธิกรณ์นี้ที่ไหนเล่า” ลำดับนั้น
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้ปรึกษากันต่อไปดังนี้ว่า “วาลิการามเป็นที่น่ารื่นรมย์ เงียบสงบ
ไม่อึกทึก พวกเราน่าจะระงับอธิกรณ์นี้ที่วาลิการาม”
[๔๕๗] ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นพากันเดิน
ทางไปวาลิการาม
ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
ญัตติกรรมวาจา
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าพึงถามพระวินัย
กับท่านพระสัพพกามี”
ท่านพระสัพพกามีจึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
ญัตติกรรมวาจา
“ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าอันท่าน
พระเรวตะถามพระวินัย จะได้ตอบต่อไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับวัตถุ ๑๐ ประการ
ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะถามท่านพระสัพพกามีว่า “ท่านผู้เจริญ สิงคิโลณ
กัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน สิงคิโลณกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การเก็บเกลือไว้ในเขนงเพราะตั้งใจว่า ‘จะ
ฉันกับอาหารรสไม่เค็ม’ ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “กรุงสาวัตถี ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องปาจิตตีย์ เพราะสะสมโภชนะ”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๑ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจักสลาก
ที่ ๑ นี้” (๑)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทวังคุลกัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน ทวังคุลกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การฉันโภชนะในเวลาวิกาล เมื่อเงา (ของ
ดวงอาทิตย์)เลย(เวลาเที่ยง)ไป ๒ องคุลี ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “กรุงราชคฤห์ ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะในเวลาวิกาล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๒ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลาก
ที่ ๒ นี้” (๒)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ คามันตรกัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน คามันตรกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตตาหารแล้ว
คิดว่า ‘จะเข้าละแวกหมู่บ้าน ในบัดนี้’ แล้วฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดน ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ ณ ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ณ กรุงสาวัตถี ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดน”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๓ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลาก
ที่ ๓ นี้” (๓)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ อาวาสกัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน อาวาสกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ อาวาสหลายแห่งที่มีสีมาเดียวกัน จะแยก
กันทำอุโบสถ ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “กรุงราชคฤห์ ปรากฏในอุโบสถสังยุต”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะล่วงพระวินัย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๔ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๔ นี้” (๔)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ อนุมติกัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน อนุมติกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ สงฆ์แบ่งเป็นพวกกันทำกรรมด้วยตั้งใจว่า
‘จะให้ผู้มาแล้วอนุมัติ’ ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ปรากฏในเรื่องพระวินัย ในจัมเปยยขันธกะ”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะละเมิดพระวินัย”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๕ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๕ นี้” (๕)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ อาจิณณกัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน อาจิณณกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การประพฤติล่วงเกินด้วยเข้าใจว่า ‘สิ่งนี้
พระอุปัชฌาย์ของเราประพฤติมา สิ่งนี้พระอาจารย์ของเราประพฤติมา’ ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน สิ่งที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์ประพฤติมาบาง
อย่างควร บางอย่างไม่ควร”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๖ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน
ที่ ๖ นี้” (๖)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ อมถิตกัปปะควรหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน อมถิตกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ นมสดที่ละความเป็นนมสดแล้วแต่ยังไม่
ถึงกับเป็นนมเปรี้ยว ภิกษุฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตตาหารแล้ว จะดื่มนมสดที่ไม่เป็นเดน
ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ ณ ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ณ กรุงสาวัตถี ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดน”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๗ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๗ นี้” (๗)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ การดื่มชโลคิ ควรหรือไม่”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน ชโลคินั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การดื่มสุราชนิดอ่อนที่ยังไม่แปรเป็นน้ำเมา (ชื่อว่าชโลคิ)
ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามี “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ ณ ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ณ เมืองโกสัมพี ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องปาจิตตีย์ เพราะดื่มสุราและเมรัย”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๘ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๘ นี้” (๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ ณ ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ณ กรุงสาวัตถี ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่ชื่อว่าเฉทนกะ”๑
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๙ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๙ นี้” (๙)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทองและเงิน ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “กรุงราชคฤห์ ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะรับทองและเงิน”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๑๐ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๑๐ นี้ (๑๐)
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์วินิจฉัยวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้แล้วว่า
เรื่องเหล่านี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ เพราะเหตุอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ เฉทนกะ แปลว่า มีการตัดออก เป็นชื่อเฉพาะอาบัติปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๕, ๗-๙ แห่งรตนวรรค ที่
ว่าด้วยการทำของใช้สอยเกินขนาด ภิกษุทั้งหลายทำเตียงตั่ง ผ้ารองนั่ง ผ้าปิดฝี หรือผ้าอาบน้ำฝนเกิน
ขนาด ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ชื่อว่า เฉทนกะ (ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๒๒/๖๐๘,๕๓๓,๕๓๘,๕๔๓/๖๑๕,๖๑๘,
๖๒๑) ต้องตัดวัตถุนั้นให้ได้ขนาดก่อน จึงแสดงอาบัติตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในสัตตสติกขันธกะ
[๔๕๘] ท่านพระสัพพกามีกล่าวต่อไปว่า “ท่านทั้งหลาย สงฆ์วินิจฉัยอธิกรณ์
นั่นสำเร็จเรียบร้อยดีแล้ว อนึ่ง ท่านพึงถามถึงวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้กับข้าพเจ้า
ท่ามกลางสงฆ์ เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นยอมรับทั่วกัน”
ต่อมา ท่านพระเรวตะได้สอบถามวัตถุ ๑๐ ประการนี้กับท่านพระสัพพกามี ใน
ท่ามกลางสงฆ์ ท่านพระสัพพกามีเมื่อถูกถามได้ตอบแล้ว
ในคราวสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ มีภิกษุ ๗๐๐ รูปพอดี ดังนั้น บัณฑิตจึงเรียก
การสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ว่า “สัตตสติกา”
สัตตสติกขันธกะที่ ๑๒ จบ
ในขันธกะนี้มี ๒๕ เรื่อง
รวมเรื่องที่มีในสัตตสติกขันธกะ
พวกภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ
บรรจุน้ำให้เต็มถาดสำริดวางไว้ในโรงอุโบสถ
แนะนำให้อุบาสกอุบาสิกาถวายรูปิยะ
เมื่อพระยสกากัณฑกบุตรไม่เห็นด้วยก็ลงปฏิสารณียกรรม
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรพร้อมด้วยอนุทูตเข้าไปกรุงเวสาลี
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสเครื่องมัวหมอง ๔ อย่างของสมณพราหมณ์
เปรียบเหมือนเครื่องมัวหมองของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
สมณพราหมณ์รับทองและเงินย่อมเศร้าหมอง
ต่อมา ท่านพระยสกากัณฑกบุตรไปปรากฏตัวที่กรุงโกสัมพี
ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ ชาวอวันตีและทักขิณาบถปรึกษากัน
แสวงหาพรรคพวก ในขณะที่ท่านพระเรวตะพักอยู่ที่เมืองโสเรยยะ
ต่อไปเมืองสังกัสสะ เมืองกัณณกุชชะ เมืองอุทุมพระ สหชาตินคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในสัตตสติกขันธกะ
ท่านพระสัมภูตสาณวาสีบอกท่านพระยสกากัณฑกบุตร
ให้ไปถามปัญหากับท่านพระเรวตะในขณะที่ท่านเชิญภิกษุ
อันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะจบ
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้ทราบข่าวว่า
พระยสกากัณฑกบุตรจะวินิจฉัยอธิกรณ์
จึงแสวงหาพรรคพวก
จัดเตรียมสมณบริขารมีบาตรเป็นต้นโดยสารเรือไปสหชาตินคร
พระอุตตระรับคำของพวกภิกษุวัชชีบุตร
ถูกท่านพระเรวตะตำหนิร้ายแรง
สงฆ์มุ่งจะวินิจฉัยอธิกรณ์ไปกรุงเวสาลี
ในขณะที่ท่านพระเรวตะตอบท่านพระสัพพกามีว่า
ตัวท่านเองอยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรม
เมื่อจะวินิจฉัยอธิกรณ์ ได้ประกาศให้สงฆ์ทราบทั่วกันว่า
จะระงับอธิกรณ์ด้วยอุพพาหิกวิธี
สัตตสติกขันธกะ จบ
จูฬวรรค จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๒๐ }

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น