Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๘-๗ หน้า ๓๖๑ - ๔๒๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘-๗ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร



พระวินัยปิฎก
ปริวาร
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
อันตรเปยยาล
ว่าด้วยการละข้อความในระหว่าง
กติปุจฉาวาร
วาระว่าด้วยการถามว่ามีเท่าไร
[๒๗๑] ถาม : อาบัติมีเท่าไร กองอาบัติมีเท่าไร วินีตวัตถุมีเท่าไร ความไม่
เคารพมีเท่าไร ความเคารพมีเท่าไร วินีตวัตถุมีเท่าไร วิบัติมีเท่าไร สมุฏฐานแห่ง
อาบัติมีเท่าไร มูลแห่งวิวาทมีเท่าไร มูลแห่งการโจทมีเท่าไร สาราณียธรรม(ธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน)มีเท่าไร สังฆเภท(เรื่องทำความแตกร้าว)มีเท่าไร
อธิกรณ์มีเท่าไร สมถะมีเท่าไร
ตอบ : อาบัติมี ๕ กองอาบัติมี ๕ วินีตวัตถุมี ๕ อาบัติมี ๗ กองอาบัติมี
๗ วินีตวัตถุมี ๗ ความไม่เคารพมี ๖ ความเคารพมี ๖ วินีตวัตถุมี ๖ วิบัติมี ๔
สมุฏฐานแห่งอาบัติมี ๖ มูลแห่งวิวาทมี ๖ มูลแห่งการโจทมี ๖ สาราณียธรรม
มี ๖ สังฆเภทมี ๑๘ อธิกรณ์มี ๔ สมถะมี ๗
อาบัติ ๕
ในหัวข้อเหล่านั้น อาบัติ ๕ เป็นไฉน คือ
๑. อาบัติปาราชิก ๒. อาบัติสังฆาทิเสส
๓. อาบัติปาจิตตีย์ ๔. อาบัติปาฏิเทสนียะ
๕. อาบัติทุกกฏ
นี้คืออาบัติ ๕ อย่าง
กองอาบัติ ๕
ในหัวข้อเหล่านั้น กองอาบัติ ๕ เป็นไฉน คือ
๑. กองอาบัติปาราชิก ๒. กองอาบัติสังฆาทิเสส
๓. กองอาบัติปาจิตตีย์ ๔. กองอาบัติปาฏิเทสนียะ
๕. กองอาบัติทุกกฏ
นี้คือกองอาบัติ ๕ กอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
วินีตวัตถุ ๕
ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๕ เป็นไฉน คือ
๑. การเว้นไกล ๒. การเว้นขาด
๓. การงดเว้น ๔. เจตนาเครื่องงดเว้นจากกอง
อาบัติ ๕
๕. ความไม่ประกอบ การไม่ทำ การไม่แกล้งต้อง การไม่ละเมิดเวลา
การกำจัดด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ
นี้คือวินีตวัตถุ ๕ อย่าง
อาบัติ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น อาบัติ ๗ เป็นไฉน คือ

๑. อาบัติปาราชิก ๒. อาบัติสังฆาทิเสส
๓. อาบัติถุลลัจจัย ๔. อาบัติปาจิตตีย์
๕. อาบัติปาฏิเทสนียะ ๖. อาบัติทุกกฏ
๗. อาบัติทุพภาสิต

นี้คืออาบัติ ๗ อย่าง
กองอาบัติ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น กองอาบัติ ๗ เป็นไฉน คือ

๑. กองอาบัติปาราชิก ๒. กองอาบัติสังฆาทิเสส
๓. กองอาบัติถุลลัจจัย ๔. กองอาบัติปาจิตตีย์
๕. กองอาบัติปาฏิเทสนียะ ๖. กองอาบัติทุกกฏ
๗. กองอาบัติทุพภาสิต

นี้คือกองอาบัติ ๗ กอง
วินีตวัตถุ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๗ เป็นไฉน คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร

๑. การเว้นไกล ๒. การเว้นขาด
๓. การงดเว้น ๔. เจตนาเครื่องงดเว้นจากกอง
อาบัติ ๗
๕. ความไม่ประกอบ ๖. การไม่ทำ การไม่แกล้งต้อง
การไม่ละเมิดเวลา
๗. การกำจัดด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ

นี้คือวินีตวัตถุ ๗ อย่าง
ความไม่เคารพ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น ความไม่เคารพ ๖ เป็นไฉน คือ

๑. ความไม่เคารพในพระพุทธเจ้า ๒. ความไม่เคารพในพระธรรม
๓. ความไม่เคารพในพระสงฆ์ ๔. ความไม่เคารพในสิกขา
๕. ความไม่เคารพในอัปปมาทธรรม ๖. ความไม่เคารพในปฏิสันถาร

นี้คือความไม่เคารพ ๖ ประการ
ความเคารพ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น ความเคารพ ๖ เป็นไฉน คือ

๑. ความเคารพในพระพุทธเจ้า ๒. ความเคารพในพระธรรม
๓. ความเคารพในพระสงฆ์ ๔. ความเคารพในสิกขา
๕. ความเคารพในอัปปมาทธรรม ๖. ความเคารพในปฏิสันถาร

นี้คือความเคารพ ๖ ประการ
วินีตวัตถุ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๖ เป็นไฉน คือ

๑. การเว้นไกล ๒. การเว้นขาด
๓. การงดเว้น ๔. เจตนาเครื่องงดเว้นจากความ
ไม่เคารพ ๖


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
๕. ความไม่ประกอบ การไม่ทำ การไม่แกล้งต้อง การไม่ละเมิดเวลา
๖. การกำจัดด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ
นี้คือวินีตวัตถุ ๖ ประการ
วิบัติ ๔
ในหัวข้อเหล่านั้น วิบัติ ๔ เป็นไฉน คือ
๑. สีลวิบัติ ๒. อาจารวิบัติ
๓. ทิฏฐิวิบัติ ๔. อาชีววิบัติ
นี้คือวิบัติ ๔ อย่าง
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ เป็นไฉน คือ
๑. อาบัติเกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต
๒. อาบัติเกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต
๓. อาบัติเกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต
๔. อาบัติเกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
๕. อาบัติเกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
๖. อาบัติเกิดทางกายวาจากับจิต
นี้คือสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
มูลเหตุแห่งวิวาท ๖๑
[๒๗๒] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ ประการ คือ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๖/๒๑๖/๓๓๒-๓๓๔, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๖/๔๘๔-๔๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
ภิกษุในธรรมวินัย
๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้น
ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่
มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้นใน
สงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณา เห็นมูล
เหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงพยายาม
เพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้นแล
ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ
ภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น
แลยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และ
มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ
๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ
๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนถือมั่นได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น
สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มี
ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
ฯลฯ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาท ให้เกิดขึ้นในสงฆ์
ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็น
มูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึง
พยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ที่เป็นบาปภายในหรือภายนอก
นั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายใน
หรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่
เป็นบาปนั้นแลยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น
ย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
มูลเหตุแห่งการโจท ๖
[๒๗๓] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลเหตุแห่งการโจท ๖ ประการ คือ
ภิกษุในธรรมวินัย
๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้น
ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มี
ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อการโจทให้เกิดขึ้น
ในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่
มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณา
เห็นมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึง
พยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ที่เป็นบาปภายในหรือภาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
นอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการโจท
เช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุ
แห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแลยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งการโจท
ที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการโจท ที่เป็นบาปนั้น
ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ
๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ
๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนถือมั่นได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละ
สิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม
ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้
บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระศาสดา ฯลฯ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อการโจท
ให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุข
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลาย
พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ ทั้งภายในหรือภายนอก
เธอทั้งหลาย พึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแล
ทั้งภายในหรือภายนอกนั้น ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุ
แห่งการโจทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติ เพื่อ
ให้มูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละ
มูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการโจท
ที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งการโจท ๖ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
สาราณียธรรม ๖ ประการ๑
[๒๗๔] ในหัวข้อเหล่านั้น สาราณียธรรม ๖ ประการ คือ
ภิกษุในธรรมวินัย
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ฯลฯ
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยกลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย
ธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับพรหมจารีทั้ง
หลาย ผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้
เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน
เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิเสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม
ที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๖. มีอริยทิฏฐิ อันเป็นธรรมเครื่องนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่
ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๒๔/๓๒๑-๓๒๒, องฺ.ฉกฺก.(แปล) ๒๒/๑๒/๔๒๗-๔๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
สาราณียธรรม ๖ ประการนี้แล
สังฆเภท ๑๘ ประการ๑
[๒๗๕] ในหัวข้อเหล่านั้น เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘ ประการ เป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า เป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตได้ภาษิตไว้
ได้ตรัสไว้
๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้
มิได้ตรัสไว้
๗. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคต
ได้ทรงประพฤติมา
๘. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตไม่ได้
ทรงประพฤติมา
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตได้ทรง
บัญญัติไว้
๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ทรง
บัญญัติไว้

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๖๘/๓๒๓-๓๖๓, วิ.จู. (แปล) ๗/๓๕๒/๒๑๔, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๓๘/๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
๑๑. แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๒. แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
๑๕. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ
๑๖. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
นี้คือ เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘ ประการ
อธิกรณ์ ๔
ในหัวข้อเหล่านั้น อธิกรณ์ ๔ เป็นไฉน คือ
๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์
นี้คืออธิกรณ์ ๔ อย่าง
สมถะ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น สมถะ ๗ เป็นไฉน คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. เยภุยยสิกา ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ
นี้คือสมถะ ๗ อย่าง
กติปุจฉาวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๑. ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
หัวข้อประจำวาร
อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ และอาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ
อีกอย่างละ ๗ ความไม่เคารพ ความเคารพ
วินีตวัตถุอีก ๗ วิบัติ สมุฏฐานแห่งอาบัติ
มูลแห่งการวิวาทและการโจท
สาราณียธรรม สังฆเภท อธิกรณ์ และสมถะ ๗
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว รวมเป็น ๑๗ บท
๑. ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
[๒๗๖] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๑. ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๑.ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๑.ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ฉอาปัตติสมุฏฐานวารที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
๒. กตาปัตติวาร
วาระว่าด้วยต้องอาบัติเท่าไร
[๒๗๗] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สร้างกุฎีซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เกิน
ขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
พยายาม
๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๔. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร ฉันโภชนะในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร รับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือภิกษุณี
ผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน ด้วยมือของตนมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง
อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
สังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ (๕) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๗๘] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” ผู้รับคำสั่ง
สร้างกุฎีให้ภิกษุนั้น ซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด เป็น
พื้นที่มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
พยายาม
๒. ยังเหลืออิฐก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๔. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็น
บท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
สังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติ
ทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๗๙] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สร้างกุฎีซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เกิน
ขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
พยายาม
๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๔. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อ
ประโยชน์ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร ไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการฉันอยู่ ต้อง
อาบัติปาฏิเทสนียะ
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ ระงับ
ด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗ อย่าง
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
สังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ (๕) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
[๒๘๐] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่าง คือ
๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ซึ่งสงฆ์
ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เกินขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๓. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร ฉันโภชนะในเวลาวิกาล ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
๖. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร รับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือภิกษุณี
ที่ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน ด้วยมือของตนมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติปาฏิเทสนียะ (๖) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๘๑] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความปรารถนาชั่วช้า ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวด
อุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” ผู้รับคำสั่ง
สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุนั้น ซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด
เป็นพื้นที่มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
พยายาม
๓. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมแข่งกัน
เป็นบท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. ภิกษุไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำ
ให้เก้อเขิน ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำ
ด้วยถ้อยคำบ่งถึงชาติกำเนิดต่ำ ต้องอาบัติทุพภาสิต
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติทุกกฏ (๖) กองอาบัติทุพภาสิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๘๒] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างคือ
๑. ภิกษุชวนกันไปลักทรัพย์ ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สร้างกุฎีซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้
เกินขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะพยายาม
๓. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อ
ประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร ไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ ฉันอยู่
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง
อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๓. อาปัตติสมุฏฐานคาถา
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติ
ปาจิตตีย์ (๕) กองอาบัติปาฏิเทสนียะ (๖) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
กตาปัตติวารแห่งสมุฏฐานวารแห่งอาบัติ ๖ ที่ ๒ จบ
๓. อาปัตติสมุฏฐานคาถา
ว่าด้วยคาถาแสดงสมุฏฐานแห่งอาบัติ
[๒๘๓] ถาม : พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด๑
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกายไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์โปรดบอกข้อนั้นเถิด
ตอบ : พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกายไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๕
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน

เชิงอรรถ :
๑ เห็นเญยยธรรมไม่มีที่สุด (สํ.ส.ฏีกา ๑/๑๗๕/๒๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๓. อาปัตติสมุฏฐานคาถา
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางวาจาไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางวาจาไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๔
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางวาจาไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางวาจาไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๕
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๓. อาปัตติสมุฏฐานคาถา
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๖
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๖
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๖
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
อาปัตติสมุฏฐานคาถาที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๓ }

พระวินัยปิฏก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๔. วิปัตติปัจจยวาร
๔. วิปัตติปัจจยวาร
วาระว่าด้วยความวิบัติเป็นปัจจัย
[๒๘๔] ถาม : เพราะสีลวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะสีลวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีรู้อยู่ ปกปิดธรรมคือปาราชิก ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุณีสงสัยปกปิด ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์๑
๔. ภิกษุปกปิดอาบัติชั่วหยาบของตน ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะสีลวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๓๙๘-๓๙๙/๕๑๐-๕๑๑๔.

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๔ }

พระวินัยปิฏก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๔. วิปัตติปัจจยวาร
[๒๘๕] ถาม : เพราะอาจารวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอาจารวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ ภิกษุปิด
อาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอาจารวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๑ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ บรรดา
สมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ
อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๑ กอง คือ กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๘๖] ถาม : เพราะทิฏฐิวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะทิฏฐิวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ภิกษุไม่สละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
จบญัตติต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ
๒ ตัว
๒. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะทิฏฐิวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๔. วิปัตติปัจจยวาร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ คือ อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๒ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาจิตตีย์ (๒) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๘๗] ถาม : เพราะอาชีววิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอาชีววิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๖ สมุฏฐาน คือ
๑. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุผู้มีความปรารถนา
ชั่วช้า ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่
ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก
๒. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุทำหน้าชักสื่อ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๓. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุ
รูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเป็นพระอรหันต์” เมื่อผู้ฟัง
เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุออกปากขอ
โภชนะอันประณีตมาเพื่อประโยชน์ของตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุณีออกปาก
ขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อประโยชน์ของตนแล้วฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ
๖. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุไม่เป็นไข้ออกปาก
ขอแกง หรือข้าวสุกมาเพื่อประโยชน์ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอาชีววิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๕. อธิกรณปัจจยวาร
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติปาฏิเทสนียะ (๖) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่ทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย
มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิดทางกาย
วาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
วิปัตติปัจจยวารที่ ๔ จบ
๕. อธิกรณปัจจยวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์เป็นปัจจัย
[๒๘๘] ถาม : เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ภิกษุกล่าวเสียดสีอุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ภิกษุกล่าวเสียดสีอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๕. อธิกรณปัจจยวาร
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ
อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๒ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาจิตตีย์ (๒) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน
คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่
เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๘๙] ถาม : เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ภิกษุใส่ความภิกษุด้วยอาบัติชั้นปาราชิกที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
๒. ภิกษุใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
๓. ภิกษุใส่ความภิกษุด้วยอาจารวิบัติที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๓ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
สังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๓) กองอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๕. อธิกรณปัจจยวาร
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน
คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิด
ทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๙๐] ถาม : เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีรู้อยู่ปกปิดธรรมคือปาราชิก ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุณีสงสัยปกปิด ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. ภิกษุปกปิดอาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง
คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๕. อธิกรณปัจจยวาร
[๒๙๑] ถาม : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ไม่ยอมสละ
กรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง จบญัตติ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติปาราชิก
๔. ภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรมเพราะสงฆ์
สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ภิกษุไม่สละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง
คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๕. อธิกรณปัจจยวาร
ถาม : เว้นอาบัติ ๗ เว้นกองอาบัติ ๗ เสีย อาบัตินอกนั้น บรรดาวิบัติ
๔ จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติไหน บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔
จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : เว้นอาบัติ ๗ เว้นกองอาบัติ ๗ เสีย อาบัตินอกนั้น บรรดาวิบัติ ๔
ไม่จัดเป็นวิบัติไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง ไม่จัดเข้ากองอาบัติไหน บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน ไม่เกิดด้วยสมุฏฐานไหน บรรดาอธิกรณ์ ๔
ไม่จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ไม่ระงับด้วยสมถะไหน ข้อนั้นเป็น
เพราะเหตุไร เพราะเว้นอาบัติ ๗ เว้นกองอาบัติ ๗ เสีย ก็ไม่มีอาบัติอย่างอื่น
อธิกรณปัจจยวารที่ ๕ จบ
อันตรเปยยาล จบ
หัวข้อบอกวาร
กติปุจฉาวาร สมุฏฐานวาร กตาปัตติวาร
อาปัตติสมุฏฐานวาร วิปัตติวาร และอธิกรณวาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๑ }

พระวินัยปิฏก ปริวาร [สมถเภท] ๖. อธิกรณปริยายวาร
สมถเภท
ว่าด้วยประเภทแห่งสมถะ
๖. อธิกรณปริยายวาร
วาระว่าด้วยการอธิบายอธิกรณ์
[๒๙๒] วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร
มีเหตุเท่าไร มีมูลเท่าไร ภิกษุวิวาทกันด้วยอาการเท่าไร วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วย
สมถะเท่าไร
อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร มีเหตุ
เท่าไร มีมูลเท่าไร ภิกษุโจทด้วยอาการเท่าไร อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร มีเหตุ
เท่าไร มีมูลเท่าไร ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไร อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร มีเหตุ
เท่าไร มีมูลเท่าไร กิจเกิดด้วยอาการเท่าไร กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
[๒๙๓] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า
ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า
มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า
ถาม : มีฐานเท่าไร
ตอบ : มีฐาน คือ เรื่องทำความแตกร้าว ๑๘ ประการ
ถาม : มีวัตถุเท่าไร
ตอบ : มีวัตถุ คือ เรื่องทำความแตกร้าว ๑๘ ประการ
ถาม : มีภูมิเท่าไร
ตอบ : มีภูมิ คือ เรื่องทำความแตกร้าว ๑๘ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๒ }

พระวินัยปิฏก ปริวาร [สมถเภท] ๖. อธิกรณปริยายวาร
ถาม : มีเหตุเท่าไร
ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓
ถาม : มีมูลเท่าไร
ตอบ : มีมูล ๑๒
ถาม : ภิกษุวิวาทกันด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : ภิกษุวิวาทกันด้วยอาการ ๒ คือ (๑) เห็นว่าเป็นธรรม (๒) เห็นว่า
เป็นอธรรม
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) เยภุยยสิกา
[๒๙๔] ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า
ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า
มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า
ถาม : มีฐานเท่าไร
ตอบ : มีฐาน คือ วิบัติ ๔
ถาม : มีวัตถุเท่าไร
ตอบ : มีวัตถุ คือ วิบัติ ๔
ถาม : มีภูมิเท่าไร
ตอบ : มีภูมิ คือ วิบัติ ๔
ถาม : มีเหตุเท่าไร
ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓
ถาม : มีมูลเท่าไร
ตอบ : มีมูล ๑๔
ถาม : ภิกษุโจทกันด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : ภิกษุโจทด้วยอาการ ๒ คือ (๑) วัตถุ (๒) อาบัติ
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๓ }

พระวินัยปิฏก ปริวาร [สมถเภท] ๖. อธิกรณปริยายวาร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย
(๓) อมูฬหวินัย (๔) ตัสสปาปิยสิกา
[๒๙๕] ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า
ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า
มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า
ถาม : มีฐานเท่าไร
ตอบ : มีฐาน คือ กองอาบัติ ๗ กอง
ถาม : มีวัตถุเท่าไร
ตอบ : มีวัตถุ คือ กองอาบัติ ๗ กอง
ถาม : มีภูมิเท่าไร
ตอบ : มีภูมิ คือ กองอาบัติ ๗ กอง
ถาม : มีเหตุเท่าไร
ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓
ถาม : มีมูลเท่าไร
ตอบ : มีมูล คือ สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
ถาม : ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ คือ (๑) ไม่ละอาย (๒) ไม่รู้ (๓) สงสัย
แล้วขืนทำ (๔) สำคัญในของไม่สมควรว่าสมควร (๕) สำคัญในของสมควรว่าไม่สมควร
(๖) ลืมสติ
ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ
[๒๙๖] ถาม : กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๖. อธิกรณปริยายวาร
ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า
มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า
ถาม : มีฐานเท่าไร
ตอบ : มีฐาน คือ กรรม ๔
ถาม : มีวัตถุเท่าไร
ตอบ : มีวัตถุ คือ กรรม ๔
ถาม : มีภูมิเท่าไร
ตอบ : มีภูมิ คือ กรรม ๔
ถาม : มีเหตุเท่าไร
ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓
ถาม : มีมูลเท่าไร
ตอบ : มีมูล ๑ คือ สงฆ์
ถาม : กิจเกิดด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : กิจเกิดด้วยอาการ ๒ คือ (๑) ญัตติ (๒) อปโลกน์
ถาม : กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัย
ถาม : สมถะ มีเท่าไร
ตอบ : สมถะมี ๗ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. เยภุยยสิกา ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ สมถะมี ๗ เหล่านี้

สมถะ ๗ เหล่านี้ เป็นสมถะ ๑๐ ก็มี สมถะ ๑๐ เป็นสมถะ ๗ ก็มี มีโดย
อ้อมด้วยอำนาจวัตถุ
ถาม : พึงเป็นได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๗. สาธารณวาร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์มีสมถะ ๒ อนุวาทาธิกรณ์มีสมถะ ๔ อาปัตตาธิกรณ์
มีสมถะ ๓ กิจจาธิกรณ์มีสมถะ ๑ อย่างนี้ สมถะ ๗ เหล่านี้ เป็นสมถะ ๑๐
สมถะ ๑๐ จึงเป็นสมถะ ๗ โดยอ้อมด้วยอำนาจวัตถุ
อธิกรณปริยายวารที่ ๖ จบ
๗. สาธารณวาร
วาระว่าด้วยสมถะทั่วไป
[๒๙๗] ถาม : สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่วิวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ไม่ทั่วไปแก่
วิวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่อนุวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ไม่ทั่วไปแก่อนุวาทาธิ-
กรณ์ สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ไม่ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์
สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ไม่ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์
ตอบ : สมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) เยภุยยสิกา ทั่วไป
แก่วิวาทาธิกรณ์ สมถะ ๕ อย่าง คือ (๑) สติวินัย (๒) อมูฬหวินัย (๓) ปฏิญญาต-
กรณะ (๔) ตัสสปาปิยสิกา (๕) ติณวัตถารกะ ไม่ทั่วไปแก่วิวาทาธิกรณ์
ตอบ : สมถะ ๔ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย
(๔) ตัสสปาปิยสิกา ทั่วไปแก่อนุวาทาธิกรณ์ สมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) เยภุยยสิกา
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ ไม่ทั่วไปแก่อนุวาทาธิกรณ์
สมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ
ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์ สมถะ ๔ อย่าง คือ (๑) เยภุยยสิกา (๒) สติวินัย
(๓) อมูฬหวินัย (๔) ตัสสปาปิยสิกา ไม่ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์
สมถะ ๑ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์ สมถะ ๖ อย่าง
คือ (๑) เยภุยยสิกา (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย (๔) ปฏิญญาตกรณะ
(๕) ตัสสปาปิยสิกา (๖) ติณวัตถารกะ ไม่ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์
สาธารณวารที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๘. ตัพภาคิยวาร
๘. ตัพภาคิยวาร
วาระว่าด้วยเป็นส่วนนั้น
[๒๙๘] ถาม : สมถะเท่าไร เป็นส่วนนั้นแห่งวิวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร เป็น
ส่วนอื่นแห่งวิวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร เป็นส่วนนั้นแห่งอนุวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร
เป็นส่วนอื่นแห่งอนุวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร เป็นส่วนนั้นแห่งอาปัตตาธิกรณ์ สมถะ
เท่าไร เป็นส่วนอื่นแห่งอาปัตตาธิกรณ์ สมถะเท่าไร เป็นส่วนนั้นแห่งกิจจาธิกรณ์
สมถะเท่าไร เป็นส่วนอื่นแห่งกิจจาธิกรณ์
ตอบ : สมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) เยภุยยสิกา เป็นส่วนนั้น
แห่งวิวาทาธิกรณ์
สมถะ ๕ อย่าง คือ (๑) สติวินัย (๒) อมูฬหวินัย (๓) ปฏิญญาตกรณะ
(๔) ตัสสปาปิยสิกา (๕) ติณวัตถารกะ เป็นส่วนอื่นแห่งวิวาทาธิกรณ์
สมถะ ๔ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย
(๔) ตัสสปาปิยสิกา เป็นส่วนนั้นแห่งอนุวาทาธิกรณ์
สมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) เยภุยยสิกา (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ
เป็นส่วนอื่นแห่งอนุวาทาธิกรณ์
สมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ
เป็นส่วนนั้นแห่งอาปัตตาธิกรณ์
สมถะ ๔ อย่าง คือ (๑) เยภุยยสิกา (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย
(๔) ตัสสปาปิยสิกา เป็นส่วนอื่นแห่งอาปัตตาธิกรณ์
สมถะ ๑ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย เป็นส่วนนั้นแห่งกิจจาธิกรณ์
สมถะ ๖ สมุฏฐาน คือ (๑) เยภุยยสิกา (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย
(๔) ปฏิญญาตกรณะ (๕) ตัสสปาปิยสิกา (๖) ติณวัตถารกะ เป็นส่วนอื่นแห่งกิจจาธิกรณ์
ตัพภาคิยวารที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๐. สมถาสมถัสสตัพภาคิยวาร
๙. สมถาสมถัสสสาธารณวาร
วาระว่าด้วยสมถะทั่วไปและไม่ทั่วไปแก่สมถะ
[๒๙๙] สมถะทั่วไปแก่สมถะ สมถะไม่ทั่วไปแก่สมถะ สมถะที่ทั่วไปแก่สมถะก็มี
สมถะที่ไม่ทั่วไปแก่สมถะก็มี
ถาม : สมถะทั่วไปแก่สมถะอย่างไร สมถะไม่ทั่วไปแก่สมถะอย่างไร
ตอบ : เยภุยยสิกาทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาต-
กรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
สติวินัยทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสส-
ปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
อมูฬหวินัยทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย
ปฏิญญาตกรณะทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ตัสสปาปิยสิกาทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย
อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ติณวัตถารกะทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
สมถะทั่วไปแก่สมถะอย่างนี้ สมถะไม่ทั่วไปแก่สมถะอย่างนี้
สมถาสมถัสสสาธารณวาระที่ ๙ จบ
๑๐. สมถาสมถัสสตัพภาคิยวาร
วาระว่าด้วยสมถะเป็นส่วนนั้นแห่งสมถะ
[๓๐๐] สมถะเป็นส่วนนั้นแห่งสมถะ สมถะเป็นส่วนอื่นแห่งสมถะ สมถะที่เป็น
ส่วนนั้นแห่งสมถะก็มี สมถะที่เป็นส่วนอื่นแห่งสมถะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๑. สมถสัมมุขาวินยวาร
ถาม : สมถะเป็นส่วนนั้นแห่งสมถะอย่างไร สมถะเป็นส่วนอื่นแห่งสมถะอย่างไร
ตอบ : เยภุยยสิกาเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งสติวินัย อมูฬห
วินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
สติวินัยเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งอมูฬหวินัย ปฏิญญาต-
กรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
อมูฬหวินัยเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งปฏิญญาตกรณะ
ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย
ปฏิญญาตกรณะเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ตัสสปาปิยสิกาเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งติณวัตถารกะ
เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ติณวัตถารกะเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งเยภุยยสิกา สติวินัย
อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
สมถะเป็นส่วนนั้นแห่งสมถะอย่างนี้ สมถะเป็นส่วนอื่นแห่งสมถะอย่างนี้
สมถาสมถัสสตัพภาคิยวาระที่ ๑๐ จบ
๑๑. สมถสัมมุขาวินยวาร
วาระว่าด้วยสมถะคือสัมมุขาวินัย
[๓๐๑] สมถะคือสัมมุขาวินัย สัมมุขาวินัยคือสมถะ สมถะคือเยภุยยสิกา
เยภุยยสิกาคือสมถะ สมถะคือสติวินัย สติวินัยคือสมถะ สมถะคืออมูฬหวินัย
อมูฬหวินัยคือสมถะ สมถะคือปฏิญญาตกรณะ ปฏิญญาตกรณะคือสมถะ สมถะ
คือตัสสปาปิยสิกา ตัสสปาปิยสิกาคือสมถะ สมถะคือติณวัตถารกะ ติณวัตถารกะ
คือสมถะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๑. สมถสัมมุขาวินยวาร
สมถะเหล่านี้ คือ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสส-
ปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นสัมมุขาวินัย สัมมุขาวินัยเป็นทั้งสมถะ
เป็นทั้งสัมมุขาวินัย
สมถะเหล่านี้ คือ สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นเยภุยยสิกา เยภุยยสิกาเป็นทั้งสมถะ
เป็นทั้งเยภุยยสิกา
สมถะเหล่านี้ คือ อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นสติวินัย สติวินัยเป็นทั้งสมถะ เป็นทั้ง
สติวินัย
สมถะเหล่านี้ คือ ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย
เยภุยยสิกา สติวินัย เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นอมูฬหวินัย อมูฬหวินัยเป็นทั้งสมถะ เป็น
ทั้งอมูฬหวินัย
สมถะเหล่านี้ คือ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา
สติวินัย อมูฬหวินัย เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นปฏิญญาตกรณะ ปฏิญญาตกรณะเป็นทั้ง
สมถะ เป็นทั้งปฏิญญาตกรณะ
สมถะเหล่านี้ คือ ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นตัสสปาปิยสิกา ตัสสปาปิยสิกาเป็นทั้งสมถะ
เป็นทั้งตัสสปาปิยสิกา
สมถะเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ตัสสปาปิยสิกา เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นติณวัตถารกะ ติณวัตถารกะเป็นทั้งสมถะ เป็นทั้ง
ติณวัตถารกะ
สมถสัมมุขาวินยวารที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๒. วินยวาร
๑๒. วินยวาร
วาระว่าด้วยวินัย
[๓๐๒] วินัยคือสัมมุขาวินัย สัมมุขาวินัยคือวินัย วินัยคือเยภุยยสิกา เยภุยยสิกา
คือวินัย วินัยคือสติวินัย สติวินัยคือวินัย วินัยคืออมูฬหวินัย อมูฬหวินัยคือวินัย
วินัยคือปฏิญญาตกรณะ ปฏิญญาตกรณะคือวินัย วินัยคือตัสสปาปิยสิกา ตัสส-
ปาปิยสิกาคือวินัย วินัยคือติณวัตถารกะ ติณวัตถารกะคือวินัย
วินัยเป็นสัมมุขาวินัยก็มี ไม่เป็นสัมมุขาวินัยก็มี แต่สัมมุขาวินัยเป็นทั้งวินัย
เป็นทั้งสัมมุขาวินัย
วินัยเป็นเยภุยยสิกาก็มี ไม่เป็นเยภุยยสิกาก็มี แต่เยภุยยสิกาเป็นทั้งวินัย
เป็นทั้งเยภุยยสิกา
วินัยเป็นสติวินัยก็มี ไม่เป็นสติวินัยก็มี แต่สติวินัยเป็นทั้งวินัย เป็นทั้งสติวินัย
วินัยเป็นอมูฬหวินัยก็มี ไม่เป็นอมูฬหวินัยก็มี แต่อมูฬหวินัยเป็นทั้งวินัย
เป็นทั้งอมูฬหวินัย
วินัยเป็นปฏิญญาตกรณะก็มี ไม่เป็นปฏิญญาตกรณะก็มี แต่ปฏิญญาตกรณะ
เป็นทั้งวินัย เป็นทั้งปฏิญญาตกรณะ
วินัยเป็นตัสสปาปิยสิกาก็มี ไม่เป็นตัสสปาปิยสิกาก็มี แต่ตัสสปาปิยสิกา
เป็นทั้งวินัย เป็นทั้งตัสสปาปิยสิกา
วินัยเป็นติณวัตถารกะก็มี ไม่เป็นติณวัตถารกะก็มี แต่ติณวัตถารกะเป็นทั้งวินัย
เป็นทั้งติณวัตถารกะ
วินยวารที่ ๑๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๓. กุสลวาร
๑๓. กุสลวาร
วาระว่าด้วยเป็นกุศล
[๓๐๓] สัมมุขาวินัยเป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต เยภุยยสิกาเป็นกุศล อกุศล
อัพยากฤต สติวินัยเป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต อมูฬหวินัยเป็นกุศล อกุศล
อัพยากฤต ปฏิญญาตกรณะเป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต ตัสสปาปิยสิกาเป็นกุศล
อกุศล อัพยากฤต ติณวัตถารกะเป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
สัมมุขาวินัย เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สัมมุขาวินัยเป็นอกุศลไม่มี
เยภุยยสิกา เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
สติวินัย เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
อมูฬหวินัย เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
ปฏิญญาตกรณะ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
ตัสสปาปิยสิกา เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
ติณวัตถารกะ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
วิวาทาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
อนุวาทาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
อาปัตตาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
กิจจาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
วิวาทาธิกรณ์ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี อาปัตตาธิกรณ์ ที่เป็นกุศลไม่มี
กิจจาธิกรณ์ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
กุสลวารที่ ๑๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๔. ยัตถวารปุจฉาวาร
๑๔. ยัตถวารปุจฉาวาร
วาระว่าด้วย ณ ที่ใดและวาระว่าด้วยการถาม
[๓๐๔] ได้เยภุยยสิกา ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย
ในที่ใด ก็จะได้เยภุยยสิกา ในที่นั้น แต่จะไม่ได้สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ ในที่นั้น
ได้สติวินัย ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้สติวินัย ในที่นั้น แต่จะไม่ได้อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา ในที่นั้น
ได้อมูฬหวินัย ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้อมูฬหวินัย ในที่นั้น แต่จะไม่ได้ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
เยภุยยสิกา สติวินัย ในที่นั้น
ได้ปฏิญญาตกรณะ ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้ปฏิญญาตกรณะ ในที่นั้น แต่จะไม่ได้ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
สติวินัย อมูฬหวินัย ในที่นั้น
ได้ตัสสปาปิยสิกา ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้ตัสสปาปิยสิกา ในที่นั้น แต่จะไม่ได้ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย
อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ในที่นั้น
ได้ติณวัตถารกะ ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้ติณวัตถารกะ ในที่นั้น แต่จะไม่ได้เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาต-
กรณะ ตัสสปาปิยสิกา ในที่นั้น
ได้เยภุยยสิกา ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้เยภุยยสิกา ในที่นั้น แต่จะไม่ได้สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสส-
ปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ ในที่นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๕. สมถวารวิสัชชนาวาร
ได้สติวินัย ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็
จะได้สติวินัย ในที่นั้น แต่จะไม่ได้อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา ในที่นั้น จัดสัมมุขาวินัยเป็นมูล ฯลฯ
ได้ติณวัตถารกะ ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้ติณวัตถารกะ ในที่นั้น แต่จะไม่ได้เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาต-
กรณะ ตัสสปาปิยสิกา ในที่นั้น
จักกเปยยาล จบ
ยัตถวารที่ ๑๔ จบ
๑๕. สมถวารวิสัชชนาวาร
วาระว่าด้วยเรื่องสมถะและวาระว่าด้วยการตอบ
[๓๐๕] สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา ได้เยภุยยสิกา
ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้เยภุยยสิกา
ในที่นั้น แต่จะไม่ได้สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ ในที่นั้น
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและสติวินัย ได้สติวินัย ในที่ใด ก็จะ
ได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้สติวินัย ในที่นั้น แต่จะ
ไม่ได้อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
ในที่นั้น
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและอมูฬหวินัย ได้อมูฬหวินัย ในที่ใด
ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้อมูฬหวินัย ในที่นั้น
แต่จะไม่ได้ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย
ในที่นั้น
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและปฏิญญาตกรณะ ได้ปฏิญญาตกรณะ
ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้ปฏิญญาตกรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๖. สังสัฏฐวาร
ในที่นั้น แต่จะไม่ได้ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ในที่นั้น
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและตัสสปาปิยสิกา ได้ตัสสปาปิยสิกา
ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้ตัสสปาปิยสิกา
ในที่นั้น แต่จะไม่ได้ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ในที่นั้น
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ ได้ติณวัตถารกะ ในที่ใด
ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้ติณวัตถารกะ ในที่นั้น
แต่จะไม่ได้เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ในที่นั้น
สมถวารที่ ๑๕ จบ
๑๖. สังสัฏฐวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์กับสมถะรวมกัน
[๓๐๖] ถาม : ธรรมเหล่านี้ คือ อธิกรณ์ก็ดี สมถะก็ดี รวมกันหรือแยกกัน
พึงได้เพื่อที่จะบัญญัติแบ่งแยกธรรมเหล่านี้ให้เป็นต่าง ๆ กันไปได้หรือ
ตอบ : ธรรมเหล่านี้ คือ อธิกรณ์ก็ดี สมถะก็ดี แยกกันไม่รวมกัน ก็แล
พึงได้เพื่อที่จะบัญญัติแบ่งแยกธรรมเหล่านี้ให้เป็นต่าง ๆ ผู้วิสัชนานั้นพึงถูกท้วงว่า
“อย่ากล่าวอย่างนั้น” ธรรมเหล่านี้ คือ อธิกรณ์ก็ดี สมถะก็ดี รวมกันไม่แยกกัน
และไม่พึงได้เพื่อที่จะบัญญัติแบ่งแยกธรรมเหล่านี้ให้เป็นต่าง ๆ ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร
เพราะพระผู้มีพระภาคตรัสไว้มิใช่หรือว่า ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์เหล่านี้มี ๔ สมถะมี
๗ อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ สมถะระงับด้วยอธิกรณ์อย่างนี้ ธรรมเหล่านี้ จึงรวมกัน
ไม่แยกกันและไม่พึงได้เพื่อที่จะบัญญัติแบ่งแยกธรรมเหล่านี้ให้เป็นต่าง ๆ
สังสัฏฐวารที่ ๑๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๗. สัมมติวาร
๑๗. สัมมติวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์ระงับ
[๓๐๗] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วย
สมถะเท่าไร อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัย
ถาม : วิวาทาธิกรณ์และอนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และอนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ตัสสปาปิยสิกา

ถาม : วิวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. ปฏิญญาตกรณะ ๔. ติณวัตถารกะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๗. สัมมติวาร
ถาม : วิวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. ตัสสปาปิยสิกา ๖. ติณวัตถารกะ
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
ถาม : อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๗ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ปฏิญญาตกรณะ ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ

ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ตัสสปาปิยสิกา
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. ตัสสปาปิยสิกา ๖. ติณวัตถารกะ

ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับ
ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับ
ด้วยสมถะ ๗ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ปฏิญญาตกรณะ ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ

สัมมติวารที่ ๑๗ จบ
๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์ระงับและไม่ระงับ
[๓๐๘] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่
ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ

๑. สติวินัย ๒. อมูฬหวินัย
๓. ปฏิญญาตกรณะ ๔. ตัสสปาปิยสิกา
๕. ติณวัตถารกะ

อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. เยภุยยสิกา ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. เยภุยยสิกา ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัย
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ
๑. เยภุยยสิกา ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. ตัสสปาปิยสิกา ๖. ติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
ถาม : วิวาทาธิกรณ์และอนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และอนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ตัสสปาปิยสิกา

ไม่ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. ปฏิญญาตกรณะ ๒. ติณวัตถารกะ
ถาม : วิวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. ปฏิญญาตกรณะ ๔. ติณวัตถารกะ

ไม่ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สติวินัย ๒. อมูฬหวินัย
๓. ตัสสปาปิยสิกา
ถาม : วิวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ

๑. สติวินัย ๒. อมูฬหวินัย
๓. ปฏิญญาตกรณะ ๔. ตัสสปาปิยสิกา
๕. ติณวัตถารกะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วย
สมถะเท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. ตัสสปาปิยสิกา ๖. ติณวัตถารกะ
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ เยภุยยสิกา
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. เยภุยยสิกา ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
ถาม : อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ

๑. เยภุยยสิกา ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๗ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ปฏิญญาตกรณะ ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ

ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่
ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ตัสสปาปิยสิกา

ไม่ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. ปฏิญญาตกรณะ ๒. ติณวัตถารกะ
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. ตัสสปาปิยสิกา ๖. ติณวัตถารกะ

ไม่ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ เยภุยยสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๙. สมถาธิกรณวาร
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์
ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์
ระงับด้วยสมถะ ๗ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ปฏิญญาตกรณะ ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ

สัมมันตินสัมมันติวารที่ ๑๘ จบ
๑๙. สมถาธิกรณวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ
[๓๐๙] ถาม : สมถะระงับด้วยสมถะหรือ สมถะระงับด้วยอธิกรณ์หรือ
อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะหรือ อธิกรณ์ระงับด้วยอธิกรณ์หรือ
ตอบ : สมถะระงับด้วยสมถะก็มี สมถะไม่ระงับด้วยสมถะก็มี สมถะระงับด้วย
อธิกรณ์ก็มี สมถะไม่ระงับด้วยอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะก็มี อธิกรณ์ไม่
ระงับด้วยสมถะก็มี อธิกรณ์ระงับด้วยอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยอธิกรณ์ก็มี
[๓๑๐] ถาม : สมถะระงับด้วยสมถะได้อย่างไร สมถะไม่ระงับด้วยสมถะได้
อย่างไร
ตอบ : เยภุยยสิกา ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยสติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
สติวินัย ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยอมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสส-
ปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
อมูฬหวินัย ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๙. สมถาธิกรณวาร
ปฏิญญาตกรณะ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ตัสสปาปิยสิกา ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ติณวัตถารกะ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
สมถะระงับด้วยสมถะได้อย่างนี้ สมถะไม่ระงับด้วยสมถะได้อย่างนี้
[๓๑๑] ถาม : สมถะระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างไร สมถะไม่ระงับด้วยอธิกรณ์
ได้อย่างไร
ตอบ : สัมมุขาวินัยไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
เยภุยยสิกาไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่ระงับ
ด้วยกิจจาธิกรณ์
สติวินัยไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่ระงับด้วย
กิจจาธิกรณ์
อมูฬหวินัยไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่ระงับ
ด้วยกิจจาธิกรณ์
ปฏิญญาตกรณะไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
ตัสสปาปิยสิกาไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
ติณวัตถารกะไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
สมถะระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างนี้ สมถะไม่ระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๙. สมถาธิกรณวาร
[๓๑๒] ถาม : อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะได้อย่างไร อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยสมถะ
ได้อย่างไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย และเยภุยยสิกา ไม่ระงับด้วยสติ
วินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ
อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย และตัสสปาปิยสิกา
ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา ปฏิญญาตกรณะและติณวัตถารกะ
อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ปฏิญญาตกรณะ และติณวัตถารกะ
ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย และตัสสปาปิยสิกา
กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ
อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะได้อย่างนี้ อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยสมถะได้อย่างนี้
[๓๑๓] ถาม : อธิกรณ์ระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างไร อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยอธิกรณ์
ได้อย่างไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
อนุวาทาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
กิจจาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่ระงับ
ด้วยกิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์ระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างนี้ อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างนี้
สมถะทั้ง ๖ สมุฏฐาน อธิกรณ์ทั้ง ๔ อย่าง ระงับด้วยสัมมุขาวินัย แต่สัมมุขา
วินัยไม่ระงับด้วยอะไร
สมถาธิกรณวารที่ ๑๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๒๐. สมุฏฐาเปติวาร
๒๐. สมุฏฐาเปติวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์ยังอธิกรณ์ให้เกิดขึ้น
[๓๑๔] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิดขึ้น บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง วิวาทาธิกรณ์ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้
มีอุปมาเหมือนอะไร เหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกันว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นอธรรม นี้เป็นวินัย นี้มิใช่วินัย นี้พระตถาคตได้ภาษิตไว้
ได้ตรัสไว้ นี้พระตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้ จริยาวัตรนี้พระตถาคตทรงประพฤติ
มา จริยาวัตรนี้พระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ นี้พระ
ตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ นี้อาบัติ นี้เป็นอนาบัติ นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก
นี้เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็น
อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง การทุ่มเถียง การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่นในเรื่องนั้น นี้เรียก
ว่า วิวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในวิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน
ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้
[๓๑๕] ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิด อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้
มีอุปมาเหมือนอะไร เหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุด้วยสีลวิบัติ
บ้าง อาจารวิบัติบ้าง ทิฏฐิวิบัติบ้าง อาชีววิบัติบ้าง การโจท การกล่าวหา การ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๒๐. สมุฏฐาเปติวาร
ฟ้องร้อง การประท้วง ความคล้อยตาม การพยายามโจท การสนับสนุนในเรื่องนั้น
นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์ สงฆ์ย่อมวิวาทกันในอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์
เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็น
อาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้
[๓๑๖] ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิด อาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้
มีอุปมาเหมือนอะไร เหมือนกองอาบัติทั้ง ๕ ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ กองอาบัติทั้ง ๗
ก็ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ย่อมวิวาทกันในอาปัตตาธิกรณ์
จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อม
ต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้
[๓๑๗] ถาม : กิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิด กิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะกิจจาธิกรณ์ อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้ มีอุปมา
เหมือนอะไร เหมือนความที่สงฆ์มีกรรมที่จะพึงทำ ความที่สงฆ์มีกิจที่จะต้องทำ อปโลกน
กรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์ สงฆ์
ย่อมวิวาทกันในกิจจาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็น
อนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตาม
อาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้
สมุฏฐาเปติวารที่ ๒๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๒๑. ภชติวาร
๒๑. ภชติวาร
วาระว่าด้วยจัดเป็นอธิกรณ์ไหน
[๓๑๘] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์อย่าง
ไหน อาศัยอธิกรณ์อย่างไหน นับเนื่องในอธิกรณ์อย่างไหน จัดเข้าอธิกรณ์อย่างไหน
อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์อย่างไหน อาศัย
อธิกรณ์อย่างไหน นับเนื่องในอธิกรณ์อย่างไหน จัดเข้าอธิกรณ์อย่างไหน
อาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์อย่างไหน อาศัย
อธิกรณ์อย่างไหน นับเนื่องในอธิกรณ์อย่างไหน จัดเข้าอธิกรณ์อย่างไหน
กิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์อย่างไหน อาศัยอธิกรณ์
อย่างไหน นับเนื่องในอธิกรณ์อย่างไหน จัดเข้าอธิกรณ์อย่างไหน
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ อาศัย
วิวาทาธิกรณ์ นับเนื่องในวิวาทาธิกรณ์ จัดเข้าวิวาทาธิกรณ์
อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ อาศัย
อนุวาทาธิกรณ์ นับเนื่องในอนุวาทาธิกรณ์ จัดเข้าอนุวาทาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาศัย
อาปัตตาธิกรณ์ นับเนื่องในอาปัตตาธิกรณ์ จัดเข้าอาปัตตาธิกรณ์
กิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ อาศัย
กิจจาธิกรณ์ นับเนื่องในกิจจาธิกรณ์ จัดเข้ากิจจาธิกรณ์
[๓๑๙] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง บ่งถึงสมถะเท่าไร
อาศัยสมถะเท่าไร นับเนื่องในสมถะเท่าไร จัดเข้าสมถะเท่าไร ระงับด้วยสมถะเท่าไร
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗
บ่งถึงสมถะเท่าไร อาศัยสมถะเท่าไร นับเนื่องในสมถะเท่าไร จัดเข้าสมถะเท่าไร
ระงับด้วยสมถะเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] รวมวาระที่มีในสมถเภท
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ บ่งถึงสมถะ ๒ อาศัยสมถะ ๒
นับเนื่องในสมถะ ๒ จัดเข้าสมถะ ๒ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ บ่งถึงสมถะ ๔ อาศัยสมถะ ๔ นับเนื่องใน
สมถะ ๔ จัดเข้าสมถะ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
อาปัตตาธิกรณ์บรรดาสมถะ ๗ บ่งถึงสมถะ ๓ อาศัยสมถะ ๓ นับเนื่องใน
สมถะ ๓ จัดเข้าสมถะ ๓ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
กิจจาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ บ่งถึงสมถะ ๑ อาศัยสมถะ ๑ นับเนื่องในสมถะ
๑ จัดเข้าสมถะ ๑ ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัย
ภชติวารที่ ๒๑ จบ
สมถเภท จบ
รวมวาระที่มีในสมถเภท
อธิกรณปริยายวาร สาธารณวาร ตัพภาคิยวาร
สมถสาธารณวาร สมถตัพภาคิยวาร สมถสัมมุขาวินยวาร
วินยวาร กุสลวาร ยัตถวารปุจฉาวาร
สมถวิสัชชนาวาร สังสัฏฐวาร สัมมติวาร
สัมมันตินสัมมันติวาร สมถาธิกรณวาร
สมุฏฐาปนวาร ภชติวาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ขันธกปุจฉาวาร] ขันธกปุจฉาวาร
ขันธกปุจฉาวาร
ว่าด้วยวาระคำถามและคำตอบถึงขันธกะ
[๓๒๐] ข้าพเจ้าจักถามถึงอุปสัมปทาขันธกะ๑ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบอุปสัมปทาขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงอุโปสถขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบอุโปสถขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงวัสสูปนายิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบวัสสูปนายิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงปวารณาขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบปวารณาขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงจัมมสัญญุตตขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบจัมมสัญญุตตขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงมหาขันธกะ (วิ.ม. (แปล) ๔/๑-๑๓๑/๑-๒๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น