Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๘-๘ หน้า ๔๒๑ - ๔๘๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘-๘ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร



พระวินัยปิฎก
ปริวาร
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ขันธกปุจฉาวาร] ขันธกปุจฉาวาร
ข้าพเจ้าจักถามถึงเภสัชชขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบเภสัชชขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงกฐินขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบกฐินขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ในกฐินขันธกะ ไม่ปรับอาบัติ
ข้าพเจ้าจักถามถึงจีวรสัญญุตตขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบจีวรสัญญุตตขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงจัมเปยยขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบจัมเปยยขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงโกสัมพิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบโกสัมพิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงกัมมขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบกัมมขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงปาริวาสิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ขันธกปุจฉาวาร] ขันธกปุจฉาวาร
ข้าพเจ้าจักตอบปาริวาสิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงสมุจจยขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบสมุจจยขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงสมถขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบสมถขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงขุททกวัตถุขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบขุททกวัตถุขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงเสนาสนขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบเสนาสนขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงสังฆเภทขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบสังฆเภทขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงสมาจารขันธกะ๑ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงวัตตักขันธกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ขันธกปุจฉาวาร] ขันธกปุจฉาวาร
ข้าพเจ้าจักตอบสมาจารขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงฐปนขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบฐปนขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงภิกขุนีขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบภิกขุนีขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงปัญจสติกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบปัญจสติกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด
ในปัญจสติกขันธกะไม่ปรับอาบัติ
ข้าพเจ้าจักถามถึงสัตตสติกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบสัตตสติกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด
ในสัตตสติกขันธกะไม่ปรับอาบัติ
ขันธกปุจฉาวารที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ขันธกปุจฉาวาร] หัวข้อประจำวาร
หัวข้อประจำวาร
อุปสัมปทาขันธกะ อุโปสถขันธกะ วัสสูปนายิกขันธกะ
ปวารณาขันธกะ จัมมขันธกะ เภสัชชขันธกะ กฐินขันธกะ
จีวรขันธกะ จัมเปยยขันธกะ โกสัมพิกขันธกะ
กัมมขันธกะ ปาริวาสิกขันธกะ สมุจจยขันธกะ
สมถขันธกะ ขุททกวัตถุขันธกะ เสนาสนขันธกะ
สังฆเภทขันธกะ สมาจารขันธกะ ฐปนขันธกะ
ภิกขุนีขันธกะ ปัญจสติกขันธกะ สัตตสติกขันธกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑. เอกกวาร
เอกุตตริกนัย
ว่าด้วยนัยเกินหนึ่ง
๑. เอกกวาร
ว่าด้วยหมวด ๑
[๓๒๑] พึงรู้ธรรมทั้งหลายที่ก่ออาบัติ พึงรู้ธรรมทั้งหลายที่ไม่ก่ออาบัติ พึงรู้
อาบัติ พึงรู้อนาบัติ พึงรู้อาบัติเบา พึงรู้อาบัติหนัก พึงรู้อาบัติที่มีส่วนเหลือ พึงรู้
อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ พึงรู้อาบัติชั่วหยาบ พึงรู้อาบัติไม่ชั่วหยาบ พึงรู้อาบัติที่ทำ
คืนได้ พึงรู้อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ พึงรู้อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี พึงรู้อาบัติที่เป็น
อเทสนาคามินี พึงรู้อาบัติที่ทำอันตราย พึงรู้อาบัติที่ไม่ทำอันตราย พึงรู้อาบัติที่มี
โทษทางพระบัญญัติ พึงรู้อาบัติที่ไม่มีโทษทางพระบัญญัติ พึงรู้อาบัติที่เกิดจากการ
กระทำ พึงรู้อาบัติที่เกิดจากการไม่ทำ พึงรู้อาบัติที่เกิดจากการกระทำและจากการไม่ทำ
พึงรู้อาบัติก่อน พึงรู้อาบัติหลัง พึงรู้อาบัติระหว่างอาบัติก่อน พึงรู้อาบัติระหว่าง
อาบัติหลัง พึงรู้อาบัตินับเข้าจำนวนที่แสดงแล้ว พึงรู้อาบัติไม่นับเข้าจำนวนที่แสดงแล้ว
พึงรู้บัญญัติ พึงรู้อนุบัญญัติ พึงรู้อนุปปันนบัญญัติ พึงรู้สัพพัตถบัญญัติ พึงรู้ปเทส
บัญญัติ พึงรู้สาธารณบัญญัติ พึงรู้อสาธารณบัญญัติ พึงรู้เอกโตบัญญัติ พึงรู้อุภโต
บัญญัติ พึงรู้อาบัติมีโทษหนัก พึงรู้อาบัติมีโทษเบา พึงรู้อาบัติที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์
พึงรู้อาบัติที่ไม่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ พึงรู้อาบัติที่แน่นอน พึงรู้อาบัติที่ไม่แน่นอน พึงรู้
บุคคลผู้เป็นต้นบัญญัติ พึงรู้บุคคลผู้ไม่เป็นต้นบัญญัติ พึงรู้บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติเป็นนิจ
พึงรู้บุคคลผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ พึงรู้บุคคลผู้เป็นโจทก์ พึงรู้บุคคลผู้เป็นจำเลย พึงรู้
บุคคลผู้ฟ้องโดยไม่เป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ถูกฟ้องโดยไม่เป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ฟ้อง
โดยเป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ถูกฟ้องโดยเป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้แน่นอน พึงรู้บุคคล
ผู้ไม่แน่นอน พึงรู้บุคคลผู้ควรต้องอาบัติ พึงรู้บุคคลผู้ไม่ควรต้องอาบัติ พึงรู้บุคคลผู้ถูก
สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม พึงรู้บุคคลผู้ไม่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม พึงรู้บุคคลผู้ถูกนาสนะ
พึงรู้บุคคลผู้ไม่ถูกนาสนะ พึงรู้บุคคลผู้เป็นสมานสังวาส พึงรู้บุคคลผู้เป็นนานาสังวาส
พึงรู้การงดปาติโมกข์แล
เอกกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
หัวข้อประจำวาร
ธรรมที่ก่ออาบัติ และธรรมที่ไม่ก่ออาบัติ อาบัติ และอนาบัติ
อาบัติเบา และอาบัติหนัก อาบัติมีส่วนเหลือ และอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
อาบัติชั่วหยาบ และอาบัติไม่ชั่วหยาบ
อาบัติที่ทำคืนได้ และอาบัติทำคืนไม่ได้
อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี และอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
อาบัติที่ทำอันตราย และอาบัติที่ไม่ทำอันตราย
อาบัติที่มีโทษ และอาบัติที่ไม่มีโทษ
อาบัติที่เกิดจากการกระทำ และอาบัติที่เกิดจากการไม่ทำ
อาบัติที่เกิดจากการกระทำ และไม่กระทำ อาบัติก่อน และอาบัติหลัง
อาบัติระหว่างอาบัติก่อน และอาบัติระหว่างอาบัติหลัง
อาบัติที่นับเข้าจำนวน และอาบัติที่ไม่นับเข้าจำนวน
บัญญัติ และอนุบัญญัติ อนุปปันนบัญญัติ สัพพัตถบัญญัติ
และปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ และอสาธารณบัญญัติ
เอกโตบัญญัติและอุภโตบัญญัติ
อาบัตมีโทษหนักและอาบัติที่มีโทษเบา
อาบัติที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ และอาบัติที่ไม่เกี่ยวกับคฤหัสถ์
อาบัติที่แน่นอน และอาบัติที่ไม่แน่นอน
บุคคลผู้เป็นต้นบัญญัติ และบุคคลผู้ไม่เป็นต้นบัญญัติ
บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติเป็นนิจ และบุคคลผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ
บุคคลผู้เป็นโจทก์ และบุคคลผู้เป็นจำเลย
บุคคลผู้ฟ้องโดยไม่เป็นธรรม และบุคคลผู้ถูกฟ้องโดยไม่เป็นธรรม
บุคคลผู้ฟ้องโดยเป็นธรรม และบุคคลผู้ถูกฟ้องโดยเป็นธรรม
บุคคลผู้แน่นอน และบุคคลผู้ไม่แน่นอน
บุคคลผู้ควรต้องอาบัติ และบุคคลผู้ไม่ควรต้องอาบัติ
บุคคลผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม และบุคคลผู้ไม่ถูกสงฆ์ลงอุปเขปนียกรรม
บุคคลผู้ถูกนาสนะ และบุคคลผู้ไม่ถูกนาสนะ
บุคคลผู้มีสังวาสเสมอกัน และบุคคลมีสังวาสต่างกัน
การงดและหัวข้อดังกล่าวนี้ จัดรวมเข้าด้วยกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
๒. ทุกวาร
ว่าด้วยหมวด ๒
[๓๒๒] อาบัติเป็นสัญญาวิโมกข์มีอยู่ อาบัติไม่เป็นสัญญาวิโมกข์มีอยู่ อาบัติ
ของภิกษุผู้ได้สมาบัติมีอยู่ อาบัติของภิกษุผู้ไม่ได้สมาบัติมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วย
สัทธรรมมีอยู่ อาบัติไม่เกี่ยวเนื่องด้วยสัทธรรมมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบริขารของ
ตนมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบริขารของผู้อื่นมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบุคคลคือ
ตนเองมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบุคคลอื่นมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุพูดจริง ย่อมต้อง
อาบัติหนักมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุพูดเท็จ ย่อมต้องอาบัติเบามีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุ
พูดเท็จ ย่อมต้องอาบัติหนักมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุพูดจริง ย่อมต้องอาบัติเบามีอยู่
อาบัติที่ภิกษุอยู่บนแผ่นดินแล้วต้อง อยู่ในอากาศแล้วไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุอยู่
ในอากาศแล้วต้อง อยู่บนแผ่นดินไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุออกไปต้อง เข้าไป
ไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุเข้าไปต้อง ออกไปไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อถือ
เอาจึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ถือเอาก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อสมาทานจึง
ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่สมาทานก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อทำจึงต้องมีอยู่
อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ทำก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อให้จึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อ
ไม่ให้ก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อรับจึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่รับก็ต้องมีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะบริโภคมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะไม่บริโภคมีอยู่ อาบัติที่
ภิกษุต้องในเวลากลางคืน ไม่ต้องในเวลากลางวันมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลากลางวัน
ไม่ต้องในเวลากลางคืนมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะอรุณขึ้นมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้อง
ไม่ใช่เพราะอรุณขึ้นมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อตัดจึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ตัด
ก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อปิดไว้จึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ปิดไว้ก็ต้องมีอยู่
อาบัติที่ภิกษุเมื่อทรงไว้จึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ทรงไว้ก็ต้องมีอยู่
ว่าด้วยวันอุโบสถ เป็นต้น
วันอุโบสถมี ๒ วัน คือ
๑. วันอุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. วันอุโบสถในวัน ๑๕ ค่ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
วันปวารณามี ๒ วัน คือ
๑. วันปวารณาในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. วันปวารณาในวัน ๑๕ ค่ำ
กรรมมี ๒ อย่าง คือ
๑. อปโลกนกรรม ๒. ญัตติกรรม
กรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ
๑. ญัตติทุติยกรรม ๒. ญัตติจตุตถกรรม
วัตถุแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ
๑. วัตถุแห่งอปโลกนกรรม ๒. วัตถุแห่งญัตติกรรม
วัตถุแห่งกรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ
๑. วัตถุแห่งญัตติทุติยกรรม ๒. วัตถุแห่งญัตติจตุตถกรรม
โทษแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ
๑. โทษแห่งอปโลกนกรรม ๒. โทษแห่งญัตติกรรม
โทษแห่งกรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ
๑. โทษแห่งญัตติทุติยกรรม ๒. โทษแห่งญัตติจตุตถกรรม
สมบัติแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ
๑. สมบัติแห่งอปโลกนกรรม ๒. สมบัติแห่งญัตติกรรม
สมบัติแห่งกรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ
๑. สมบัติแห่งญัตติทุติยกรรม ๒. สมบัติแห่งญัตติจตุตถกรรม
นานาสังวาสกภูมิมี ๒ อย่าง คือ
๑. ภิกษุทำตนให้เป็นนานาสังวาสด้วยตนเอง
๒. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนั้น เพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
สมานสังวาสกภูมิมี ๒ อย่าง คือ
๑. ภิกษุทำตนให้เป็นสมานสังวาสด้วยตนเอง
๒. สงฆ์พร้อมเพรียงกันรับภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาปเข้าหมู่
ว่าด้วยปาราชิก เป็นต้น
ปาราชิกมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
สังฆาทิเสสมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
ถุลลัจจัยมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
ปาจิตตีย์มี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
ปาฏิเทสนียะมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
ทุกกฏมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
ทุพภาสิตมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
อาบัติของภิกษุมี ๗ อย่าง ของภิกษุณีก็มี ๗ อย่าง
กองอาบัติของภิกษุมี ๗ อย่าง ของภิกษุณีก็มี ๗ อย่าง
สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ (๑) ด้วยกรรม (๒) ด้วยการจับสลาก
ว่าด้วยบุคคล
บุคคล ๒ จำพวก สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท คือ
๑. ผู้มีกาลบกพร่อง ๒. ผู้มีอวัยวะบกพร่อง
บุคคลแม้อีก ๒ จำพวก สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท คือ
๑. ผู้มีวัตถุวิบัติ ๒. ผู้มีการกระทำเสียหาย
บุคคลแม้อีก ๒ จำพวก สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท คือ
๑. ผู้ไม่บริบูรณ์ ๒. ผู้บริบูรณ์ แต่ไม่ขออุปสมบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
ไม่พึงอยู่อาศัยบุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้อลัชชี ๒. ผู้โง่เขลา
ไม่พึงให้นิสัยแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้อลัชชี ๒. ผู้ลัชชีแต่ไม่ขอ
พึงให้นิสัยแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้โง่เขลา ๒. ผู้ลัชชีแต่ขอ
บุคคล ๒ จำพวก ไม่ควรต้องอาบัติ คือ
๑. พระพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า
บุคคล ๒ จำพวก ควรต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุ ๒. ภิกษุณี
บุคคล ๒ จำพวก ไม่จงใจต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุชั้นอริยบุคคล ๒. ภิกษุณีชั้นอริยบุคคล
บุคคล ๒ จำพวก ควรจงใจต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุปุถุชน ๒. ภิกษุณีปุถุชน
บุคคล ๒ จำพวก ไม่จงใจประพฤติล่วงวัตถุที่มีโทษแรง คือ
๑. ภิกษุชั้นอริยบุคคล ๒. ภิกษุณีชั้นอริยบุคคล
บุคคล ๒ จำพวก ควรจงใจประพฤติล่วงวัตถุที่มีโทษแรง คือ
๑. ภิกษุปุถุชน ๒. ภิกษุณีปุถุชน
ว่าด้วยปฏิกโกสนา เป็นต้น
ปฏิกโกสนา(การกล่าวคัดค้าน)มี ๒ อย่าง คือ
๑. คัดค้านด้วยกาย ๒. คัดค้านด้วยวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
นิสสารณา(การขับออกจากหมู่)มี ๒ อย่าง คือ
๑. บุคคลที่ยังไม่ถูกขับออก ถ้าสงฆ์ขับบุคคลนั้นออกไป บางคนเป็นอัน
ถูกขับออกดีแล้ว
๒. บางคนเป็นอันถูกขับออกไม่ดี
โอสารณา(การเรียกเข้าหมู่)มี ๒ อย่าง คือ
๑. บุคคลที่ยังไม่รับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับบุคคลนั้นเข้าหมู่ บางคนเป็น
อันรับเข้าดี
๒. บางคนเป็นอันรับเข้าไม่ดี
ปฏิญญามี ๒ อย่าง คือ
๑. ปฏิญญาด้วยกาย ๒. ปฏิญญาด้วยวาจา
การรับประเคนมี ๒ อย่าง คือ
๑. การรับประเคนด้วยกาย ๒. การรับประเคนด้วยสิ่งที่เนื่อง
ด้วยกาย
การห้ามมี ๒ อย่าง คือ
๑. การห้ามด้วยกาย ๒. การห้ามด้วยวาจา
การทำลายมี ๒ อย่าง คือ
๑. การทำลายสิกขา ๒. การทำลายโภคะ๑
การโจทมี ๒ อย่าง คือ
๑. การโจทด้วยกาย ๒. การโจทด้วยวาจา
ว่าด้วยปลิโพธ เป็นต้น
กฐินมีปลิโพธ ๒ อย่าง คือ
๑. อาวาสปลิโพธ ๒. จีวรปลิโพธ

เชิงอรรถ :
๑ การทำลายสิกขา หมายถึงการไม่ศึกษาสิกขา ๓
การทำลายโภคะ หมายถึงการใช้สอยของสงฆ์หรือของส่วนบุคคลเสียหาย (วิ.อ. ๓/๓๒๒/๔๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
กฐินมีอปลิโพธ ๒ อย่าง คือ
๑. อาวาสอปลิโพธ ๒. จีวรอปลิโพธ
จีวรมี ๒ อย่าง คือ
๑. คหบดีจีวร ๒. บังสุกุลจีวร
บาตรมี ๒ อย่าง คือ
๑. บาตรเหล็ก ๒. บาตรดิน
เชิงบาตรมี ๒ อย่าง คือ
๑. เชิงบาตรทำด้วยดีบุก ๒. เชิงบาตรทำด้วยตะกั่ว
การอธิษฐานบาตรมี ๒ อย่าง คือ
๑. อธิษฐานด้วยกาย ๒. อธิษฐานด้วยวาจา
การอธิษฐานจีวรมี ๒ อย่าง คือ
๑. อธิษฐานด้วยกาย ๒. อธิษฐานด้วยวาจา
วิกัปมี ๒ อย่าง คือ
๑. วิกัปต่อหน้า ๒. วิกัปลับหลัง
วินัยมี ๒ อย่าง คือ
๑. วินัยของภิกษุ ๒. วินัยของภิกษุณี
เนื้อหาที่ปรากฏในวินัยมี ๒ อย่าง คือ
๑. พระบัญญัติ ๒. อนุโลมบัญญัติ
วินัยมีความขัดเกลา ๒ อย่าง คือ
๑. กำจัดสิ่งไม่ควรด้วยอริยมรรค ๒. ความทำพอประมาณในสิ่ง
ที่ควร
ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่าง เป็นต้น
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
๑. ต้องทางกาย ๒. ต้องทางวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
๑. ออกด้วยกาย ๒. ออกด้วยวาจา
ปริวาสมี ๒ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนปริวาส ๒. อัปปฏิจฉันนปริวาส
ปริวาสแม้อีก ๒ อย่าง คือ
๑. สุทธันตปริวาส ๒. สโมธานปริวาส
มานัตมี ๒ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนมานัต ๒. อัปปฏิจฉันนมานัต
มานัตแม้อีก ๒ อย่าง คือ
๑. ปักขมานัต ๒. สโมธานมานัต
รัตติเฉทของบุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ๒. ภิกษุผู้ประพฤติมานัต
ว่าด้วยไม่เอื้อเฟื้อ เป็นต้น
ความไม่เอื้อเฟื้อมี ๒ อย่าง คือ
๑. ไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล ๒. ไม่เอื้อเฟื้อต่อธรรม
เกลือมี ๒ ชนิด คือ
๑. เกลือเกิดจากธรรมชาติ ๒. เกลือเกิดจากน้ำด่าง
เกลือแม้อื่นอีกก็มี ๒ ชนิด คือ
๑. เกลือสมุทร ๒. เกลือดำ
เกลือแม้อื่นอีกก็มี ๒ ชนิด คือ
๑. เกลือสินเธาว์ ๒. เกลือดินโปร่ง
เกลือแม้อื่นอีกก็มี ๒ ชนิด คือ
๑. เกลือโรมกะ ๒. เกลือปักขัลลกะ
การบริโภคมี ๒ อย่าง คือ
๑. การบริโภคภายใน ๒. การบริโภคภายนอก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
คำด่ามี ๒ อย่าง คือ
๑. คำด่าหยาบ ๒. คำด่าสุภาพ
คำส่อเสียดมีด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
๑. ต้องการให้ผู้อื่นชอบตน ๒. ต้องการให้ผู้อื่นแตกกัน
การฉันคณโภชนะมีด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
๑. เพราะทายกนิมนต์ ๒. เพราะภิกษุออกปากขอเขา
วันเข้าพรรษามี ๒ วัน คือ
๑. วันเข้าพรรษาต้น ๒. วันเข้าพรรษาหลัง
งดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๒ อย่าง งดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๒ อย่าง
ว่าด้วยบุคคลโง่เขลาและบัณฑิต เป็นต้น
บุคคลโง่เขลามี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้รับภาระที่ยังมาไม่ถึง ๒. ผู้ไม่รับภาระที่มาถึงแล้ว
บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้ไม่รับภาระที่ยังมาไม่ถึง ๒. ผู้รับภาระที่มาถึงแล้ว
บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าไม่ควร
บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งที่ไม่ควรว่าไม่ควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าควร
บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ๒. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอนาบัติ
บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอาบัติ ๒. ผู้สำคัญอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ
บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญในอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นอธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอธรรมว่าเป็นอธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นธรรม
บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่า ๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นวินัย
เป็นสิ่งมิใช่วินัย
ว่าด้วยอาสวะ
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ไม่ควรประพฤติรังเกียจ
๒. ผู้ไม่ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ควรประพฤติรังเกียจ
อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้ไม่ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ไม่ควรประพฤติรังเกียจ
๒. ผู้ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ควรประพฤติรังเกียจ
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งไม่ควรว่าควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าไม่ควร
อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งไม่ควรว่าไม่ควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าควร
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอนาบัติว่าต้องอาบัติ ๒. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอนาบัติ
อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ ๒. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอาบัติ
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นอธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ
๑. ผู้สำคัญอธรรมว่าเป็นอธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นธรรม
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นวินัย
ทุกวาร จบ
หัวข้อประจำวาร
อาบัติที่เป็นสัญญา อาบัติของผู้ได้สมาบัติ
อาบัติที่เกี่ยวด้วยสัทธรรม เกี่ยวด้วยบริขาร เกี่ยวด้วยบุคคล
อาบัติที่ต้องเพราะเรื่องจริง เพราะแผ่นดิน เพราะการออกไป
เพราะการถือเอา เพราะการสมาทาน เพราะการทำ เพราะการให้
เพราะการรับ เพราะการบริโภค อาบัติที่ต้องในกลางคืน
ที่ต้องเพราะอรุณขึ้น ที่ต้องเพราะการตัด
ที่ต้องเพราะการปกปิด ที่ต้องเพราะการทรงไว้
อุโบสถ ปวารณา กรรม กรรมอีกอย่าง วัตถุ วัตถุอีกอย่าง โทษ
โทษอีกอย่าง สมบัติ ๒ หมวด นานาสังวาส สมานสังวาส ปาราชิก
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต
อาบัติ ๗ กองอาบัติ ๗ สงฆ์แตกกัน อุปสมบท
อุปสมบทอีกสอง ไม่อาศัยอยู่ ไม่ให้นิสัย อภัพบุคคล ภัพบุคคล
จงใจ มีโทษ คัดค้าน ขับออกจากหมู่ เรียกเข้าหมู่ ปฏิญญา รับ
ห้าม ทำลาย การโจท กฐินปลิโพธ ๒ อย่าง จีวร บาตร เชิงบาตร
อธิษฐาน ๒ อย่าง วิกัป วินัย เนื้อหาที่ปรากฏในวินัย
ความขัดเกลา การต้องและการออกจากอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
ปริวาส ๒ อย่าง มานัต ๒ อย่าง
รัตติเฉท เอื้อเฟื้อ เกลือ ๒ ชนิด
เกลืออื่นอีก ๓ ชนิด บริโภค คำด่า คำส่อเสียด
คณโภชนะ วันจำพรรษา การงดปาติโมกข์ การรับภาระ
สิ่งที่สมควร อนาบัติ อธรรม วินัย อาสวะ
๓. ติกวาร
ว่าด้วยหมวด ๓
[๓๒๓] ๑. อาบัติที่เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ ภิกษุจึงต้อง เมื่อ
ปรินิพพานแล้วไม่ต้อง มีอยู่
๒. อาบัติที่เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ภิกษุจึงต้อง เมื่อทรง
พระชนม์อยู่ไม่ต้อง มีอยู่
๓. อาบัติที่เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ก็ดี ปรินิพพานแล้วก็ดี
ภิกษุก็ต้อง มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุต้องในกาล ไม่ต้องในเวลาวิกาล มีอยู่
๒. อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลาวิกาล ไม่ต้องในกาล มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในกาล ทั้งในเวลาวิกาล มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุต้องในกลางคืน ไม่ต้องในกลางวัน มีอยู่
๒. อาบัติที่ภิกษุต้องในกลางวัน ไม่ต้องในกลางคืน มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในกลางคืน ทั้งในกลางวัน มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๑๐ จึงต้อง มีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่ต้อง มีอยู่
๒. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๑๐ จึงต้อง มีพรรษา ๑๐ ไม่ต้อง มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุทั้งมีพรรษา ๑๐ ทั้งมีพรรษาหย่อน ๑๐ ก็ต้อง มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๕ จึงต้อง มีพรรษาหย่อน ๕ ไม่ต้อง มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
๒. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๕ จึงต้อง มีพรรษา ๕ ไม่ต้อง มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุทั้งมีพรรษา ๕ ทั้งมีพรรษาหย่อน ๕ ก็ต้อง มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลจึงต้อง มีจิตเป็นอกุศลไม่ต้อง มีอยู่
๒. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลจึงต้อง มีจิตเป็นกุศลไม่ต้อง มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตจึงต้อง มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยสุขเวทนาจึงต้อง มีอยู่
๒. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยทุกขเวทนาจึงต้อง มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยอทุกขมสุขเวทนาจึงต้อง มีอยู่
ว่าด้วยวัตถุแห่งการโจท เป็นต้น
วัตถุแห่งการโจทมี ๓ อย่าง คือ
๑. เห็น ๒. ได้ยิน
๓. นึกสงสัย
การจับสลากมี ๓ อย่าง คือ
๑. ปกปิด ๒. เปิดเผย
๓. กระซิบที่หู
ข้อห้ามมี ๓ อย่าง คือ
๑. ความมักมาก ๒. ความไม่สันโดษ
๓. ความไม่ขัดเกลา
ข้ออนุญาตมี ๓ อย่าง คือ
๑. ความมักน้อย ๒. ความสันโดษ
๓. ความขัดเกลา
ข้อห้ามแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ
๑. ความมักมาก ๒. ความไม่สันโดษ
๓. ความไม่รู้จักประมาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
ข้ออนุญาตมี ๓ คือ
๑. ความมักน้อย ๒. ความสันโดษ
๓. ความรู้จักประมาณ
บัญญัติมี ๓ คือ
๑. บัญญัติ ๒. อนุบัญญัติ
๓. อนุปปันนบัญญัติ
บัญญัติแม้อื่นอีกมี ๓ คือ
๑. สัพพัตถบัญญัติ ๒. ปเทสบัญญัติ
๓. สาธารณบัญญัติ
บัญญัติแม้อื่นอีกมี ๓ คือ
๑. อสาธารณบัญญัติ ๒. เอกโตบัญญัติ
๓. อุภโตบัญญัติ
ว่าด้วยภิกษุโง่เขลาและฉลาด เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุผู้โง่เขลาจึงต้อง ผู้ฉลาดไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้ฉลาดจึงต้อง ผู้โง่เขลาไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุทั้งผู้โง่เขลาทั้งผู้ฉลาดก็ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในกาฬปักษ์ ไม่ต้องในชุณหปักษ์ มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในชุณหปักษ์ ไม่ต้องในกาฬปักษ์ มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในกาฬปักษ์ ทั้งในชุณหปักษ์ มีอยู่
การเข้าพรรษาย่อมสำเร็จในกาฬปักษ์ ไม่สำเร็จในชุณหปักษ์ มีอยู่
ปวารณาในวันมหาปวารณาย่อมสำเร็จในชุณหปักษ์ ไม่สำเร็จในกาฬปักษ์ มีอยู่
สังฆกิจที่เหลือย่อมสำเร็จทั้งในกาฬปักษ์ ทั้งในชุณหปักษ์ มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในฤดูหนาว ไม่ต้องทั้งในฤดูร้อน ทั้งในฤดูฝน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในฤดูร้อน ไม่ต้องทั้งในฤดูหนาว ทั้งในฤดูฝน มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
อาบัติที่ภิกษุต้องในฤดูฝน ไม่ต้องทั้งในฤดูหนาว ทั้งในฤดูร้อน มีอยู่
อาบัติที่สงฆ์ต้อง คณะและบุคคลไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่คณะต้อง สงฆ์และบุคคลไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่บุคคลต้อง สงฆ์และคณะไม่ต้อง มีอยู่
สังฆอุโบสถและสังฆปวารณาย่อมสำเร็จแก่สงฆ์ ไม่สำเร็จแก่คณะและบุคคล มีอยู่
คณะอุโบสถและคณะปวารณาย่อมสำเร็จแก่คณะ ไม่สำเร็จแก่สงฆ์และบุคคล มีอยู่
อธิษฐานอุโบสถและอธิษฐานปวารณาย่อมสำเร็จแก่บุคคล ไม่สำเร็จแก่สงฆ์และ
คณะ มีอยู่
ว่าด้วยการปิด เป็นต้น
การปิดมี ๓ อย่าง คือ
๑. ปิดวัตถุ ไม่ปิดอาบัติ ๒. ปิดอาบัติ ไม่ปิดวัตถุ
๓. ปิดทั้งวัตถุ ทั้งอาบัติ
เครื่องปกปิดมี ๓ อย่าง คือ
๑. เครื่องปกปิดคือเรือนไฟ ๒. เครื่องปกปิดคือน้ำ
๓. เครื่องปกปิดคือผ้า
สิ่งที่ปิดบังไม่เปิดเผยไปมี ๓ อย่าง คือ
๑. มาตุคาม ปิดบังไม่เปิดเผยไป
๒. มนต์ของพวกพราหมณ์ ปิดบังไม่เปิดเผยไป
๓. มิจฉาทิฏฐิ ปิดบังไม่เปิดเผยไป
สิ่งที่เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรืองมี ๓ อย่าง คือ
๑. ดวงจันทร์ เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรือง
๒. ดวงอาทิตย์ เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรือง
๓. ธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรือง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
การให้ถือเสนาสนะมี ๓ อย่าง คือ
๑. ให้ถือในวันเข้าพรรษาต้น ๒. ให้ถือในวันเข้าพรรษาหลัง
๓. ให้ถือในช่วงพ้นจากระยะนั้น
ว่าด้วยอาพาธ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุอาพาธจึงต้อง ไม่อาพาธไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่อาพาธจึงต้อง อาพาธไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุทั้งอาพาธ ทั้งไม่อาพาธก็ต้อง มีอยู่
ว่าด้วยงดปาติโมกข์ เป็นต้น
การงดปาติโมกข์ที่ไม่ชอบธรรมมี ๓ การงดปาติโมกข์ที่ชอบธรรมมี ๓
ปริวาสมี ๓ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนปริวาส ๒. อัปปฏิจฉันนปริวาส
๓. สุทธันตปริวาส
มานัตมี ๓ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนมานัต ๒. อัปปฏิจฉันนมานัต
๓. ปักขมานัต
รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ อย่าง คือ
๑. สหวาสะ(การอยู่ร่วมกัน) ๒. วิปปวาสะ(การอยู่ปราศ)
๓. อนาโรจนา(การไม่บอก)
ว่าด้วยต้องอาบัติภายใน เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุต้องภายใน ไม่ต้องภายนอก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องภายนอก ไม่ต้องภายใน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งภายใน ทั้งภายนอก มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
อาบัติที่ภิกษุต้องภายในสีมา ไม่ต้องภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องภายนอกสีมา ไม่ต้องภายในสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งภายในสีมา ทั้งภายนอกสีมา มีอยู่
ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่าง เป็นต้น
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
๑. ต้องทางกาย ๒. ต้องทางวาจา
๓. ต้องทางกายกับวาจา
ภิกษุต้องอาบัติแม้อื่นอีกด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
๑. ต้องในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ต้องในท่ามกลางคณะ
๓. ต้องในสำนักบุคคล
ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
๑. ออกด้วยกาย ๒. ออกด้วยวาจา
๓. ออกด้วยกายกับวาจา
ภิกษุออกจากอาบัติแม้อื่นอีกด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
๑. ออกในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ออกในท่ามกลางคณะ
๓. ออกในสำนักบุคคล
ให้อมูฬหวินัยที่ไม่ชอบธรรมมี ๓ ให้อมูฬหวินัยที่ชอบธรรมมี ๓
ว่าด้วยข้อที่สงฆ์มุ่งหวัง เป็นต้น
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่อง
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. ประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม
เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว๑
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. ด่าบริภาษคฤหัสถ์
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร (วิ.จู. (แปล) ๖/๒๗/๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงตั้งใจมั่นลงอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓
คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นผู้โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อีกอย่าง คือ
๑. มีสีลวิบัติในอธิศีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อีกอย่าง คือ
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นคะนองทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นคะนองทางวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นคะนองทางกายและทางวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติที่ไม่สมควรทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติที่ไม่สมควรทางวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติที่ไม่สมควรทางกายและทางวาจา
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยการทำลายทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยการทำลายทางวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยการทำลายทางกายและทางวาจา
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางกายและทางวาจา
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. ต้องอาบัติถูกสงฆ์ลงโทษ ๒. ให้นิสัย
แล้วให้อุปสมบท
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. ต้องอาบัติที่สงฆ์ลงโทษ ๒. ต้องอาบัติอื่นเช่นนั้น
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
งดอุโบสถในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าก่อความ
บาดหมาง อย่าก่อความทะเลาะ อย่าก่อความแก่งแย่ง อย่าก่อความวิวาท” แล้ว
จึงทำอุโบสถ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
งดปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าก่อความ
บาดหมาง อย่าก่อความทะเลาะ อย่าก่อความแก่งแย่ง อย่าก่อความวิวาท” แล้ว
พึงปวารณา
สงฆ์ไม่พึงให้สังฆสมมติอะไร ๆ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
สงฆ์ไม่พึงว่ากล่าวแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไว้ในตำแหน่งเฉพาะไร ๆ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ภิกษุทั้งหลายไม่พึงอาศัยภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ไม่พึงให้นิสัยแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ไม่พึงให้โอกาสภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ที่ขอโอกาส คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. มิใช่เป็นปกตัตตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
ไม่พึงเชื่อถือคำให้การของภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ไม่พึงถามวินัยภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงถามวินัย คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ไม่พึงวิสัชนาวินัยแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงวิสัชนาวินัย คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ไม่พึงให้คำซักถามแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงสนทนาวินัยด้วย คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงให้กุลบุตรอุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึง
ใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
ว่าด้วยอุโบสถ เป็นต้น
อุโบสถมี ๓ อย่าง คือ
๑. อุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. อุโบสถในวัน ๑๕ ค่ำ
๓. อุโบสถสามัคคี
อุโบสถแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ
๑. สังฆอุโบสถ ๒. คณอุโบสถ
๓. บุคคลอุโบสถ
อุโบสถแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ
๑. สัตตุทเทสอุโบสถ ๒. ปาริสุทธิอุโบสถ
๓. อธิฐานอุโบสถ
ปวารณามี ๓ อย่าง คือ
๑. ปวารณาในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. ปวารณาในวัน ๑๕ ค่ำ
๓. สามัคคีปวารณา
ปวารณาแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ
๑. สังฆปวารณา ๒. คณปวารณา
๓. บุคคลปวารณา
ปวารณาแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ
๑. ปวารณา ๓ หน ๒. ปวารณา ๒ หน
๓. ปวารณามีพรรษาเท่ากัน
บุคคลต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรกมี ๓ จำพวก คือ๑
๑. บุคคลที่ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี
๒. บุคคลผู้ใส่ความพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์
ด้วยอพรหมจรรย์ไม่มีมูล
๓. บุคคลผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โทษในกามไม่มีแล้วถึง
ความเป็นผู้หมกมุ่นในกามทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ติก (แปล) ๒๐/๑๑๔/๓๕๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
อกุศลมูลมี ๓ อย่าง คือ
๑. อกุศลมูลคือโลภะ ๒. อกุศลมูลคือโทสะ
๓. อกุศลมูลคือโมหะ
กุศลมูลมี ๓ อย่าง คือ
๑. กุศลมูลคืออโลภะ ๒. กุศลมูลคืออโทสะ
๓. กุศลมูลคืออโมหะ
ทุจริตมี ๓ อย่าง คือ
๑. กายทุจริต ๒. วจีทุจริต
๓. มโนทุจริต
สุจริตมี ๓ อย่าง คือ
๑. กายสุจริต ๒. วจีสุจริต
๓. มโนสุจริต
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติติกโภชนะในตระกูล โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓
ประการ คือ
๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่ออยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม ด้วยประสงค์ว่า “พวกมัก
มากอย่าอาศัยฝักฝ่ายทำลายสงฆ์”
๓. เพื่อทรงอนุเคราะห์ตระกูล
พระเทวทัตมีจิตถูกอสัทธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. ความปรารถนาชั่ว ๒. ความมีมิตรชั่ว
๓. การได้บรรลุคุณวิเศษขั้นต่ำแล้วเลิกเสียกลางคัน
ครอบงำย่ำยี จึงไปเกิดในอบาย ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
สมมติมี ๓ อย่าง คือ
๑. สมมติไม้เท้า ๒. สมมติสาแหรก
๓. สมมติไม้เท้าและสาแหรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
ฐานวางเท้า มี ๓ อย่าง คือ
๑. ฐานวางเท้าถ่ายอุจจาระ ๒. ฐานวางเท้าถ่ายปัสสาวะ
๓. ฐานวางเท้าชำระ
สิ่งของสำหรับถูเท้ามี ๓ อย่าง คือ
๑. ศิลา ๒. กรวด
๓. ศิลาฟองน้ำ
ติกวาร จบ
หัวข้อประจำวาร
อาบัติที่ต้องเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์
อาบัติที่ต้องในกาล ในกลางคืน อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๑๐ ต้อง
อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๕ ต้อง อาบัติที่ภิกษุมีกุศลจิตต้อง
อาบัติที่ภิกษุมีเวทนาต้อง วัตถุแห่งการโจท การจับสลาก
ข้อห้าม ๒ เรื่อง ข้อบัญญัติ ข้อบัญญัติอื่นอีก ๒ เรื่อง
ภิกษุโง่เขลา การสำเร็จในกาฬปักษ์ การต้องอาบัติในฤดูหนาว
สังฆอุโบสถสำเร็จแก่สงฆ์ การปิด เครื่องปกปิด สิ่งปิดบัง
สิ่งเปิดเผย การให้ถือเสนาสนะ ภิกษุอาพาธ การงดปาติโมกข์
ปริวาส มานัต ปริวาสิกภิกษุ อาบัติที่ต้องภายใน
อาบัติที่ต้องภายในสีมา การต้องอาบัติด้วยอาการ ๓
การต้องอาบัติอื่นอีก ๓ การออกจากอาบัติ ๓
การออกจากอาบัติอื่นอีก ๓ อมูฬหวินัย ๒ อย่าง
ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ ไม่สละทิฏฐิ
การตั้งใจมั่นลงอุกเขปนียกรรม ผู้มีศีลวิบัติในอธิศีล ผู้คะนอง
การประพฤติไม่สมควร การทำลาย อาชีววิบัติ
ต้องอาบัติ ต้องอาบัติเช่นนั้น การกล่าวติเตียน การงดอุโบสถ
การงดปวารณา สมมติ ว่ากล่าว ตำแหน่งเฉพาะ ไม่อาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ไม่ให้นิสัย ไม่ให้โอกาส ไม่เชื่อถือคำให้การ ไม่ถาม ๒ เรื่อง
ไม่ตอบ ๒ เรื่อง
ไม่พึงให้ซักถาม ไม่สนทนา ไม่พึงอุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก อุโบสถ ๓ หมวด ปวารณา ๓ หมวด
ผู้ไปเกิดในอบาย อกุศล กุศล ทุจริต สุจริต ติกโภชนะ
อสัทธรรม สมมติ ฐานวางเท้า สิ่งของถูเท้า
หัวข้อตามที่กล่าวมานี้ จัดเข้าในหมวด ๓
๔. จตุกกวาร
ว่าด้วยหมวด ๔
[๓๒๔] อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของตน ออกด้วยวาจาของผู้อื่น มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของผู้อื่น ออกด้วยวาจาของตน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของตน ออกด้วยวาจาของตน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของผู้อื่น ออกด้วยวาจาของผู้อื่น มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทางกาย ออกทางวาจา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทางวาจา ออกทางกาย มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทางกาย ออกทางกาย มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทางวาจา ออกทางวาจา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุหลับแล้วจึงต้อง ตื่นแล้วจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุตื่นแล้วจึงต้อง หลับแล้วจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุหลับแล้วจึงต้อง หลับแล้วจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุตื่นแล้วจึงต้อง ตื่นแล้วจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ตั้งใจจึงต้อง ตั้งใจจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุตั้งใจจึงต้อง ไม่ตั้งใจจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ตั้งใจจึงต้อง ไม่ตั้งใจจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุตั้งใจจึงต้อง ตั้งใจจึงออก มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
อาบัติที่ภิกษุต้องอยู่จึงแสดง แสดงอยู่จึงต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องอยู่จึงออก ออกอยู่จึงต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยกรรม ออกด้วยสิ่งมิใช่กรรม มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยสิ่งมิใช่กรรม ออกด้วยกรรม มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยกรรม ออกด้วยกรรม มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยสิ่งมิใช่กรรม ออกด้วยสิ่งมิใช่กรรม มีอยู่
ว่าด้วยอนริยโวหาร เป็นต้น
โวหารของอนารยชนมี ๔ อย่าง คือ

๑. ไม่ได้เห็น กล่าวว่าได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน กล่าวว่าได้ยิน
๓. ไม่ทราบ กล่าวว่าทราบ ๔. ไม่รู้ กล่าวว่ารู้

โวหารของอารยชนมี ๔ อย่าง คือ

๑. ไม่ได้เห็น กล่าวว่าไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน กล่าวว่าได้ยิน
๓. ไม่ทราบ กล่าวว่าทราบ ๔. ไม่รู้ กล่าวว่ารู้

โวหารของอนารยชนแม้อีก ๔ อย่าง คือ

๑. ได้เห็น กล่าวว่าไม่ได้เห็น ๒. ได้ยิน กล่าวว่าไม่ได้ยิน
๓. ทราบ กล่าวว่าไม่ทราบ ๔. รู้ กล่าวว่าไม่รู้

โวหารของอารยชนมี ๔ อย่าง คือ

๑. ได้เห็น กล่าวว่าได้เห็น ๒. ได้ยิน กล่าวว่าไม่ได้ยิน
๓. ทราบ กล่าวว่าไม่ทราบ ๔. รู้ กล่าวว่าไม่รู้

ว่าด้วยอาบัติปาราชิก
ปาราชิกของภิกษุ ทั่วไปกับภิกษุณีมี ๔
ปาราชิกของภิกษุณี ไม่ทั่วไปกับภิกษุมี ๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ว่าด้วยบริขาร
บริขารมี ๔ อย่าง คือ
๑. มีบริขารที่ควรรักษา คุ้มครอง นับว่าเป็นสมบัติของเรา ควรใช้สอย
๒. มีบริขารที่ควรรักษา คุ้มครอง นับว่าเป็นสมบัติของเรา แต่ไม่ควร
ใช้สอย
๓. มีบริขารที่ควรรักษา คุ้มครอง แต่ไม่นับว่าเป็นสมบัติของเรา ไม่ควร
ใช้สอย
๔. มีบริขารที่ไม่ควรรักษา ไม่ควรคุ้มครอง ไม่นับว่าเป็นสมบัติของเรา
ไม่ควรใช้สอย
ว่าด้วยการต้องอาบัติและออกจากอาบัติ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุต้องต่อหน้า ออกลับหลัง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องลับหลัง ออกต่อหน้า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องต่อหน้า ออกต่อหน้า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องลับหลัง ออกลับหลัง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่รู้อยู่จึงต้อง รู้อยู่จึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุรู้อยู่จึงต้อง ไม่รู้อยู่จึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่รู้อยู่จึงต้อง ไม่รู้อยู่จึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุรู้อยู่จึงต้อง รู้อยู่จึงออก มีอยู่
ว่าด้วยการต้องอาบัติ เป็นต้น
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ

๑. ต้องทางกาย ๒. ต้องทางวาจา
๓. ต้องทางกายกับวาจา ๔. ต้องทางกรรมวาจา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ภิกษุต้องอาบัติแม้ด้วยอาการอื่นอีก ๔ อย่าง คือ

๑. ในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ในท่ามกลางคณะ
๓. ในสำนักบุคคล ๔. เพราะเพศเปลี่ยนแปลง

ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ

๑. ออกทางกาย ๒. ออกทางวาจา
๓. ออกทางกายกับวาจา ๔. ออกด้วยกรรมวาจา

ภิกษุออกจากอาบัติแม้ด้วยอาการอื่นอีก ๔ อย่าง คือ

๑. ในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ในท่ามกลางคณะ
๓. ในสำนักบุคคล ๔. เพราะเพศเปลี่ยนแปลง

ภิกษุละบุรุษเพศเดิม ดำรงอยู่ในสตรีเพศอันเกิดในภายหลัง พร้อมกับการได้
เพศใหม่ วิญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป
ภิกษุณีละสตรีเพศที่เกิดในภายหลัง กลับดำรงอยู่ในบุรุษเพศอันเดิม พร้อมกับ
การได้เพศใหม่ บัญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป

การโจทมี ๔ อย่าง คือ
๑. โจทด้วยสีลวิบัติ ๒. โจทด้วยอาจารวิบัติ
๓. โจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ๔. โจทด้วยอาชีววิบัติ
ปริวาสมี ๔ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนปริวาส ๒. อัปปฏิจฉันนปริวาส
๓. สุทธันตปริวาส ๔. สโมธานปริวาส
มานัตมี ๔ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนมานัต ๒. อัปปฏิจฉันนมานัต
๓. ปักขมานัต ๔. สโมธานมานัต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
รัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัตมี ๔ อย่าง คือ

๑. สหวาสะ(การอยู่ร่วมกัน) ๒. วิปปวาสะ(การอยู่ปราศจาก)
๓. อนาโรจนา(การไม่บอก) ๔. อูเณคเณจรณะ(การประพฤติ
ในคณะสงฆ์อันพร่อง)

พระบัญญัติที่ทรงยกขึ้นแสดงเองมี ๔ อย่าง
กาลิกที่รับประเคนไว้ฉันมี ๔ อย่าง คือ

๑. ยาวกาลิก(เช้าถึงเที่ยง) ๒. ยามกาลิก (วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง)
๓. สัตตาหกาลิก(๗ วัน) ๔. ยาวชีวิก(ไม่จำกัดเวลาวันตลอด
ชีวิต)

ยามหาวิกัฏ๑มี ๔ อย่าง คือ

๑. คูถ ๒. มูตร
๓. เถ้า ๔. ดิน

กรรมมี ๔ อย่าง คือ

๑. อปโลกนกรรม ๒. ญัตติกรรม
๓. ญัตติทุติยกรรม ๔. ญัตติจตุตถกรรม

กรรมแม้อื่นอีกมี ๔ อย่าง คือ

๑. กรรมเป็นวรรคโดยไม่ชอบธรรม ๒. กรรมพร้อมเพรียงโดยไม่ชอบ
ธรรม
๓. กรรมเป็นวรรคโดยชอบธรรม ๔. กรรมพร้อมเพรียงโดยชอบ
ธรรม

วิบัติมี ๔ อย่าง คือ

๑. สีลวิบัติ ๒. อาจารวิบัติ
๓. ทิฏฐิวิบัติ ๔. อาชีววิบัติ

อธิกรณ์มี ๔ อย่าง คือ

๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์


เชิงอรรถ :
๑ ยา ๔ อย่างนี้ ภิกษุอาพาธฉันได้โดยไม่ต้องรับประเคน คือ ไม่ต้องอาบัติเพราะขาดประเคน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
การประทุษร้ายบริษัทมี ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
๒. ภิกษุณีผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
๓. อุบาสกผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
๔. อุบาสิกาผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
ความงามในบริษัทมี ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท
๒. ภิกษุณีผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท
๓. อุบาสกผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท
๔. อุบาสิกาผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท
ว่าด้วยพระอาคันตุกะ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะต้อง ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต้อง ภิกษุอาคันตุกะไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไปต้อง ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุเจ้าถิ่นต้อง ภิกษุผู้เตรียมไปไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่
ว่าด้วยสิกขาบทมีวัตถุต่างกัน เป็นต้น
ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติต่างกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีอาบัติต่างกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน และมีอาบัติต่างกัน มีอยู่
ความที่สิกขาบททั้งมีวัตถุต่างกัน ทั้งมีอาบัติต่างกัน ไม่มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติเสมอกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีอาบัติเสมอกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน และมีอาบัติเสมอกัน มีอยู่
ความที่สิกขาบททั้งมีวัตถุเสมอกัน ทั้งมีอาบัติเสมอกัน ไม่มีอยู่
ว่าด้วยพระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติ เป็นต้น
อาบัติที่พระอุปัชฌาย์ต้อง แต่สัทธิวิหาริกไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่สัทธิวิหาริกต้อง แต่พระอุปัชฌาย์ไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่พระอุปัชฌาย์ และสัทธิวิหาริกต้อง มีอยู่
อาบัติที่ทั้งพระอุปัชฌาย์ ทั้งสัทธิวิหาริกไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่พระอาจารย์ต้อง แต่อันเตวาสิกไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่อันเตวาสิกต้อง แต่พระอาจารย์ไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่พระอาจารย์ และอันเตวาสิกต้อง มีอยู่
อาบัติที่ทั้งพระอาจารย์ ทั้งอันเตวาสิกไม่ต้อง มีอยู่
ว่าด้วยปัจจัยแห่งการขาดพรรษา เป็นต้น
การขาดพรรษาที่ไม่ต้องอาบัติมีปัจจัย ๔ อย่าง คือ

๑. สงฆ์แตกกัน ๒. มีพวกภิกษุประสงค์จะทำลาย
สงฆ์
๓. มีอันตรายแก่ชีวิต ๔. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์

วจีทุจริตมี ๔ อย่าง คือ

๑. พูดเท็จ ๒. พูดส่อเสียด
๓. พูดคำหยาบ ๔. พูดเพ้อเจ้อ

วจีสุจริตมี ๔ อย่าง คือ

๑. พูดจริง ๒. พูดไม่ส่อเสียด
๓. พูดคำสุภาพ ๔. พูดพอประมาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ว่าด้วยถือเอาทรัพย์ เป็นต้น
ภิกษุถือเอาเองต้องอาบัติหนัก ใช้ผู้อื่นต้องอาบัติเบา มีอยู่
ภิกษุถือเอาเองต้องอาบัติเบา ใช้ผู้อื่นต้องอาบัติหนัก มีอยู่
ภิกษุถือเอาเองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติหนัก มีอยู่
ภิกษุถือเอาเองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติเบา มีอยู่
ว่าด้วยบุคคลควรอภิวาท เป็นต้น
บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรลุกรับ มีอยู่
บุคคลควรลุกรับ แต่ไม่ควรอภิวาท มีอยู่
บุคคลควรอภิวาท และควรลุกรับ มีอยู่
บุคคลทั้งไม่ควรอภิวาท ทั้งไม่ควรลุกรับ มีอยู่
บุคคลควรแก่อาสนะ แต่ไม่ควรอภิวาท มีอยู่
บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรแก่อาสนะ มีอยู่
บุคคลควรแก่อาสนะ และควรอภิวาท มีอยู่
บุคคลทั้งไม่ควรแก่อาสนะ ทั้งไม่ควรอภิวาท มีอยู่
ว่าด้วยต้องอาบัติในกาล เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุต้องในกาล แต่ไม่ต้องในเวลาวิกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลาวิกาล แต่ไม่ต้องในกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในกาล และในเวลาวิกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในกาล ทั้งในเวลาวิกาล มีอยู่
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมควรในกาล แต่ไม่ควรในเวลาวิกาล มีอยู่
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมควรในเวลาวิกาล แต่ไม่ควรในกาล มีอยู่
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมควรในกาล และในเวลาวิกาล มีอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมไม่ควรทั้งในกาล ทั้งในเวลาวิกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในปัจจันตชนบท แต่ไม่ต้องในมัชฌิมชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในมัชฌิมชนบท แต่ไม่ต้องในปัจจันตชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในปัจจันตชนบท และในมัชฌิมชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในปัจจันตชนบท ทั้งในมัชฌิมชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมควรในปัจจันตชนบท แต่ไม่ควรในมัชฌิมชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมควรในมัชฌิมชนบท แต่ไม่ควรในปัจจันตชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมควรทั้งในปัจจันตชนบท และในมัชฌิมชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมไม่ควรทั้งในปัจจันตชนบท ทั้งในมัชฌิมชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายใน แต่ไม่ต้องในภายนอก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายนอก แต่ไม่ต้องในภายใน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในภายใน และในภายนอก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในภายใน ทั้งในภายนอก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายในสีมา แต่ไม่ต้องในภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายนอกสีมา แต่ไม่ต้องในภายในสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในภายในสีมา และในภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในภายในสีมา ทั้งในภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในหมู่บ้าน แต่ไม่ต้องในป่า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในป่า แต่ไม่ต้องในหมู่บ้าน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในหมู่บ้าน และในป่า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในหมู่บ้าน ทั้งในป่า มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ว่าด้วยการโจท เป็นต้น

การโจทมี ๔ อย่าง คือ
๑. โจทชี้วัตถุ ๒. โจทชี้อาบัติ
๓. โจทห้ามสังวาส ๔. โจทห้ามสามีจิกรรม
บุพพกิจมี ๔ อย่าง
ความพรั่งพร้อมมี ๔ อย่าง
อาบัติปาจิตตีย์ไม่มีอะไรอื่นมี ๔ สิกขาบท๑
ภิกษุสมมติมี ๔ สิกขาบท
การถึงอคติ(ความลำเอียง)มี ๔ อย่าง คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
การไม่ถึงอคติ(ความไม่ลำเอียง)มี ๔ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุอลัชชีประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมทำลายสงฆ์ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุผู้มีศีลดีงามประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมสมานสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้สามัคคี
กัน คือ

๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว


เชิงอรรถ :
๑ ได้แก่สิกขาบทที่ ๖ แห่งภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๒ แห่งอเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๗-๘ แห่ง
สหธัมมิกวรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่ควรถามวินัย คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

วินัยอันภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่ควรถาม คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่ควรตอบวินัย คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

วินัยอันภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่ควรตอบ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่พึงให้คำซักถาม คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุไม่ควรสนทนาวินัยร่วมกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

ว่าด้วยภิกษุเป็นไข้ต้องอาบัติ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุเป็นไข้ต้อง แต่ไม่เป็นไข้ไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่เป็นไข้ต้อง แต่เป็นไข้ไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุเป็นไข้ และไม่เป็นไข้ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุทั้งเป็นไข้ ทั้งไม่เป็นไข้ต้อง มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
ว่าด้วยงดปาติโมกข์
การงดปาติโมกข์ที่ไม่ชอบธรรมมี ๔ อย่าง
การงดปาติโมกข์ที่ชอบธรรมมี ๔ อย่าง
จตุกกวาร จบ
หัวข้อประจำวาร
อาบัติที่ต้องด้วยวาจาของตน อาบัติที่ต้องด้วยกาย
อาบัติที่หลับแล้วต้อง อาบัติที่ไม่ตั้งใจต้อง
อาบัติที่ต้องด้วยกรรม โวหาร ๔ อย่าง ปาราชิกของภิกษุ
ปาราชิกของภิกษุณี บริขาร อาบัติที่ต้องต่อหน้า
อาบัติที่ไม่รู้จึงต้อง อาบัติที่ต้องทางกาย อาบัติที่ต้องในท่ามกลาง
การออกจากอาบัติ ๒ หมวด ได้เพศใหม่ การโจท ปริวาส มานัต
รัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัต พระบัญญัติที่ทรงยกขึ้นแสดงเอง
กาลิกที่รับประเคน ยามหาวิกัฏ กรรม ๒ หมวด วิบัติ อธิกรณ์
ภิกษุผู้ทุศีล ภิกษุผู้มีศีลดีงาม
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะต้อง อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไปต้อง
ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน
อาบัติที่อุปัชฌาย์และอาจารย์ต้อง
ปัจจัยแห่งการขาดพรรษา วจีทุจริต วจีสุจริต
การถือเอาทรัพย์ บุคคลควรอภิวาท บุคคลควรแก่อาสนะ
อาบัติที่ต้องในกาล ของที่ควร อาบัติที่ต้องในปัจจันตชนบท
ของที่ควรในปัจจันตชนบท อาบัติที่ต้องในภายใน
อาบัติที่ต้องในภายในสีมา อาบัติที่ต้องในหมู่บ้าน การโจท บุพพกิจ
ความพรั่งพร้อมที่ถึงแล้ว อาบัติปาจิตตีย์ไม่มีอะไรอื่น
การสมมติ การถึงอคติ การไม่ถึงอคติ ภิกษุอลัชชี ภิกษุมีศีลดีงาม
ภิกษุผู้ไม่ควรถาม ๒ หมวด ภิกษุที่ไม่ควรได้รับคำตอบ ๒ หมวด
ภิกษุที่ควรได้รับคำซักถาม ภิกษุที่ไม่ควรสนทนาด้วย
อาบัติที่ภิกษุเป็นไข้ต้อง การงดปาติโมกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
๕. ปัญจกวาร
ว่าด้วยหมวด ๕
[๓๒๕] อาบัติมี ๕ กองอาบัติมี ๕ วินีตวัตถุมี ๕ อนันตริยกรรมมี ๕ บุคคล
ที่แน่นอนมี ๕ อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรมมี ๕ ต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ อาบัติ
เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัยมี ๕
ภิกษุไม่เข้ากรรมด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. ตนเองไม่ทำกรรม ๒. ไม่เชิญภิกษุอื่น
๓. ไม่ให้ฉันทะหรือปาริสุทธิ ๔. เมื่อสงฆ์ทำกรรมย่อมคัดค้าน

๕. เมื่อสงฆ์ทำกรรมเสร็จแล้วกลับเห็นว่าไม่เป็นธรรม
ภิกษุเข้ากรรมด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. ตนเองทำกรรม ๒. เชิญภิกษุอื่น
๓. ให้ฉันทะหรือปาริสุทธิ ๔. เมื่อสงฆ์ทำกรรมไม่คัดค้าน

๕. เมื่อสงฆ์ทำกรรมเสร็จแล้ว ก็เห็นว่าเป็นธรรม
กิจ ๕ อย่าง สมควรแก่ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต คือ

๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒. ฉันคณโภชนะได้
๓. ฉันปรัมปรโภชนะได้ ๔. การไม่ต้องอธิษฐาน
๕. การไม่ต้องวิกัป

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ จะเป็นภิกษุเลวทรามก็ดี จะเป็นภิกษุมีธรรมอัน
ไม่กำเริบก็ดี ย่อมถูกระแวง ถูกรังเกียจ คือ

๑. มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ๒. มีหญิงม่ายเป็นโคจร
๓. มีสาวเทื้อเป็นโคจร ๔. มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร
๕. มีภิกษุณีเป็นโคจร

น้ำมันมี ๕ ชนิด คือ
๑. น้ำมันงา ๒. น้ำมันเมล็ดพันธุ์ผักกาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
๓. น้ำมันมะซาง ๔. น้ำมันระหุ่ง
๕. น้ำมันเปลวสัตว์
มันเหลวสัตว์มี ๕ ชนิด คือ

๑. มันเหลวหมี ๒. มันเหลวปลา
๓. มันเหลวปลาฉลาม ๔. มันเหลวหมู
๕. มันเหลวลา

ความเสื่อมมี ๕ อย่าง คือ

๑. ความเสื่อมญาติ ๒. ความเสื่อมโภคสมบัติ
๓. ความเสื่อมคือโรค ๔. ความเสื่อมศีล
๕. ความเสื่อมทิฏฐิ

ความถึงพร้อมมี ๕ อย่าง คือ
๑. ญาติสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งญาติ)
๒. โภคสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งโภคสมบัติ)
๓. อาโรคยสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งความไม่มีโรค)
๔. สีลสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งศีล)
๕. ทิฏฐิสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ)
นิสัยระงับจากพระอุปัชฌาย์มี ๕ คือ

๑. พระอุปัชฌาย์หลีกไป ๒. พระอุปัชฌาย์สึก
๓. พระอุปัชฌาย์มรณภาพ ๔. พระอุปัชฌาย์ไปเข้ารีตเดียรถีย์
๕. พระอุปัชฌาย์สั่งบังคับ

บุคคล ๕ จำพวก ไม่ควรให้อุปสมบท คือ

๑. มีกาลบกพร่อง ๒. มีอวัยวะบกพร่อง
๓. มีวัตถุวิบัติ ๔. มีการกระทำอันเสียหาย
๕. ไม่บริบูรณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ผ้าบังสุกุลมี ๕ อย่าง คือ

๑. ผ้าตกที่ป่าช้า ๒. ผ้าตกที่ตลาด
๓. ผ้าหนูกัด ๔. ผ้าปลวกกัด
๕. ผ้าถูกไฟไหม้

ผ้าบังสุกุลแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ

๑. ผ้าที่โคกัด ๒. ผ้าที่แพะกัด
๓. ผ้าที่ห่มสถูป ๔. ผ้าที่เขาทิ้งในสถานที่อภิเษก
๕. ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา

อวหารมี ๕ อย่าง คือ

๑. เถยยาวหาร ๒. ปสัยหาวหาร
๓. ปริกัปปาวหาร ๔. ปฏิจฉันนาวหาร
๕. กุสาวหาร

มหาโจรที่มีปรากฏอยู่ในโลกมี ๕ จำพวก
สิ่งของที่ไม่ควรจ่ายมี ๕ อย่าง
สิ่งของที่ไม่ควรแบ่งมี ๕ อย่าง
อาบัติที่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิตมี ๕ อย่าง
อาบัติที่เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิตมี ๕ อย่าง
อาบัติที่เป็นเทสนาคามินีมี ๕ อย่าง
สงฆ์มี ๕ จำพวก ปาติโมกขุทเทสมี ๕ อย่าง
ในปัจจันตชนบททุกแห่ง คณะมีพระวินัยธรครบ ๕ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้
ในการกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ อย่าง กรรมมี ๕ อย่าง
อาบัติมี ๕ อย่าง จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ด้วยอาการ ๕ อย่าง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ด้วยอาการ ๕ อย่าง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ด้วยอาการ ๕ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ภิกษุไม่ควรบริโภคอกัปปิยวัตถุ ๕ อย่าง คือ

๑. ของที่เขาไม่ให้ ๒. ไม่ทราบ
๓. เป็นอกัปปิยะ ๔. ยังไม่ได้รับประเคน
๕. ไม่ได้ทำให้เป็นเดน

ภิกษุควรบริโภคกัปปิยวัตถุ ๕ อย่าง คือ

๑. ของที่เขาให้ ๒. ทราบแล้ว
๓. เป็นกัปปิยะ ๔. รับประเคนแล้ว
๕. ทำให้เป็นเดนแล้ว

การให้ที่ไม่จัดเป็นบุญ แต่ชาวโลกสมมติว่าเป็นบุญ มี ๕ อย่าง คือ

๑. ให้น้ำเมา ๒. ให้มหรสพ
๓. ให้สตรี ๔. ให้โคผู้
๕. ให้รูปภาพ

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยากมี ๕ อย่าง คือ
๑. ราคะเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ๒. โทสะเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก
๓. โมหะเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ๔. ปฏิภาณเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้
ยาก
๕. จิตที่คิดจะไปเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก
การกวาดมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ

๑. จิตของตนเลื่อมใส ๒. จิตของผู้อื่นเลื่อมใส
๓. เทวดาชื่นชม ๔. สั่งสมกรรมที่เป็นไปเพื่อให้เกิด
ความเลื่อมใส

๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การกวาดแม้อื่นอีกก็มีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. จิตของตนเลื่อมใส ๒. จิตของผู้อื่นเลื่อมใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร

๓. เทวดาชื่นชม ๔. เป็นอันทำตามคำสั่งสอนของ
พระศาสนา
๕. ชนรุ่นหลังยึดถือเป็นแบบอย่าง

ว่าด้วยองค์คุณของพระวินัยธร
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
๑. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน
๒. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น
๓. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตนทั้งไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น แล้ว
ปรับอาบัติ
๔. ปรับอาบัติโดยไม่ชอบธรรม
๕. ปรับอาบัติไม่ตามปฏิญญา
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน
๒. กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น
๓. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตนทั้งกำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น แล้วปรับ
อาบัติ
๔. ปรับอาบัติตามธรรม
๕. ปรับอาบัติตามปฏิญญา
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้มูลของอาบัติ
๓. ไม่รู้เหตุเกิดอาบัติ ๔. ไม่รู้การระงับอาบัติ
๕. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอาบัติ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. รู้อาบัติ ๒. รู้มูลของอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร

๓. รู้เหตุเกิดอาบัติ ๔. รู้การระงับอาบัติ
๕. รู้ข้อปฏิบัติ อันให้ถึงการระงับอาบัติ

พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้มูลของอธิกรณ์
๓. ไม่รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้การระงับอธิกรณ์

๕. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอธิกรณ์
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้มูลของอธิกรณ์
๓. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. รู้การระงับอธิกรณ์
๕. รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอธิกรณ์

พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้เหตุเค้ามูล
๓. ไม่รู้บัญญัติ ๔. ไม่รู้อนุบัญญัติ
๕. ไม่รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. รู้วัตถุ ๒. รู้เหตุเค้ามูล
๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้อนุบัญญัติ
๕. รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ

พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้ญัตติ ๒. ไม่รู้ตั้งญัตติ
๓. ไม่ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ไม่ฉลาดในเบื้องปลาย
๕. ไม่รู้กาล

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. รู้ญัตติ ๒. รู้ตั้งญัตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
๓. ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ฉลาดในเบื้องปลาย
๕. รู้กาล
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจ ไม่ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ให้ดี
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ยึดถือ ใส่ใจ ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ด้วยดี
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารไม่ดี จำแนกไม่ดี ไม่คล่องแคล่ว
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะไม่ดี
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
ว่าด้วยภิกษุอยู่ป่า เป็นต้น
ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี ๕ จำพวก คือ
๑. เพราะเป็นผู้โง่เขลา งมงาย จึงอยู่ป่า
๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอยู่ป่า
๓. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงอยู่ป่า
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ
จึงอยู่ป่า
๕. เพราะอาศัยความมักน้อยสันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และ
เพราะอาศัยว่าการอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติอันงามนี้ จึงอยู่ป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลมี ๕ จำพวก
ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้มี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้ามี ๕ จำพวก ฯลฯ
ภิกษุผู้ถืออยู่กลางแจ้งมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือผ้า ๓ ผืนมี ๕ จำพวก ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการนั่งมี ๕ จำพวก
ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้มี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ
อาสนะแห่งเดียวมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อ
ภายหลังมี ๕ จำพวก ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรมี ๕ จำพวก คือ
๑. เพราะเป็นผู้โง่เขลา งมงาย จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงถือการฉัน
เฉพาะในบาตร
๓. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ
จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๕. เพราะอาศัยความมักน้อยสันโดษ ขัดเกลา ความเงียบ สงัด และ
เพราะอาศัยว่าการฉันเฉพาะในบาตรมีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติอัน
งามนี้ จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยไม่ได้ คือ

๑. ไม่รู้อุโบสถ ๒. ไม่รู้อุโบสถกรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ

๑. รู้อุโบสถ ๒. รู้อุโบสถกรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ภิกษุผู้ประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ

๑. ไม่รู้ปวารณา ๒. ไม่รู้ปวารณากรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ

๑. รู้ปวารณา ๒. รู้ปวารณากรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

ภิกษุผู้ประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาหย่อน ๕
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ

๑. ไม่รู้อุโบสถ ๒. ไม่รู้อุโบสถกรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ

๑. รู้อุโบสถ ๒. รู้อุโบสถกรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

ภิกษุณีประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ

๑. ไม่รู้ปวารณา ๒. ไม่รู้ปวารณากรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ

๑. รู้ปวารณา ๒. รู้ปวารณากรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

ภิกษุณีประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาหย่อน ๕
ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ว่าด้วยโทษในกรรมไม่น่าเลื่อมใส เป็นต้น
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสมีโทษ ๕ อย่าง คือ
๑. ตนเองก็ติเตียนตน
๒. ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียน
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมขจรไป
๔. หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
กรรมที่น่าเลื่อมใสมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. ตนเองก็ไม่ติเตียนตน
๒. ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็สรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันดีย่อมขจรไป
๔. ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสมีโทษแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ
๑. ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส
๒. บางพวกที่เลื่อมใสแล้วกลับแปรเป็นอื่นไป
๓. ไม่เป็นอันทำตามคำสอนพระศาสดา
๔. ชนรุ่นหลังย่อมไม่ยึดถือเป็นแบบอย่าง
๕. จิตของเขาไม่เลื่อมใส
กรรมที่น่าเลื่อมใสมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส
๒. ผู้ที่เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป
๓. เป็นอันทำตามคำสอนพระศาสดา
๔. ชนรุ่งหลัง ย่อมยึดถือเป็นแบบอย่าง
๕. จิตของเขาย่อมเลื่อมใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลมีโทษ ๕ อย่าง คือ
๑. ต้องอาบัติเพราะเที่ยวไปไม่บอกลา
๒. ต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับ
๓. ต้องอาบัติเพราะอาสนะกำบัง
๔. แสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำต้องอาบัติ
๕. เป็นผู้มากด้วยความดำริในกามอยู่
ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล คลุกคลีอยู่ในตระกูลเกินเวลา มีโทษ ๕ อย่าง คือ
๑. พบมาตุคามเป็นประจำ
๒. เมื่อมีการพบก็มีการเกี่ยวข้อง
๓. เมื่อมีการเกี่ยวข้องก็มีความสนิทสนม
๔. เมื่อมีความสนิทสนมก็มีจิตกำหนัด
๕. เมื่อมีจิตกำหนัดก็เป็นอันหวังข้อนี้ได้ คือ เธอจักไม่ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจัก
บอกลาสิกขาเพื่อเป็นคฤหัสถ์
ว่าด้วยพืชและผลไม้
พืชพันธุ์มี ๕ ชนิด คือ

๑. พืชพันธุ์เกิดจากเหง้า ๒. พืชพันธุ์เกิดจากลำต้น
๓. พืชพันธุ์เกิดจากตา ๔. พืชพันธุ์เกิดจากยอด
๕. พืชพันธุ์เกิดจากเมล็ด

ผลไม้ที่ควรบริโภคด้วยวิธีอันควรแก่สมณะ มี ๕ คือ

๑. ผลไม้ที่ลนไฟ ๒. ผลไม้ที่กรีดด้วยศัสตรา
๓. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ ๔. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด
๕. ผลไม้ที่ปล้อนเอาเมล็ดออกแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ว่าด้วยวิสุทธิ ๕
วิสุทธิมี ๕ แบบ คือ
๑. ยกนิทานขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น
วิสุทธิแบบที่ ๑
๒. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดงจบแล้วพึงสวดอุทเทส
ที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๒
๓. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓ ขึ้น
แสดงจบแล้วพึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๓
๔. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓
ขึ้นแสดง ยกอนิยต ๒ ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือ
ด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๔
๕. ยกขึ้นแสดงโดยพิสดารทั้งหมด เป็นวิสุทธิแบบที่ ๕
วิสุทธิแม้อื่นอีกมี ๕ แบบ คือ

๑. สุตตุทเทสอุโบสถ ๒. ปาริสุทธิอุโบสถ
๓. อธิษฐานอุโบสถ ๔. สามัคคีอุโบสถ
๕. ปวารณา

ว่าด้วยอานิสงส์การทรงวินัย เป็นต้น
การทรงวินัยมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. เป็นอันคุ้มครองรักษากองศีลของตนไว้ดีแล้ว
๒. ผู้ที่ถูกความรังเกียจครอบงำย่อมหวนระลึกได้
๓. กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
๔. ข่มด้วยดีซึ่งข้าศึกโดยสหธรรม
๕. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๕ อย่าง
ปัญจกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
หัวข้อประจำวาร
อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ อนันตริยกรรม บุคคลที่แน่นอน
อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรม ต้องอาบัติด้วยอาการ ๕
ต้องอาบัติเพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย ภิกษุไม่เข้ากรรม
ภิกษุเข้ากรรม กิจที่ควร ภิกษุถูกระแวง น้ำมัน มันเหลว
ความเสื่อม ความถึงพร้อม นิสัยระงับ บุคคลไม่ควรให้อุปสมบท
ผ้าตกที่ป่าช้า ผ้าที่โคกัด การลัก โจร
สิ่งของไม่ควรจ่าย สิ่งของไม่ควรแบ่ง อาบัติที่เกิดทางกาย
เกิดทางกายกับวาจา อาบัติเป็นเทสนาคามินี สงฆ์
ปาติโมกขุทเทส ปัจจันตชนบท อานิสงส์กฐิน
กรรม อาบัติจนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ปาราชิก ถุลลัจจัย ทุกกฏ อกัปปิยวัตถุ กัปปิยวัตถุ
สิ่งที่ให้แล้วไม่เป็นบุญ สิ่งที่บรรเทาได้ยาก การกวาด
การกวาดอย่างอื่นอีก ถ้อยคำ อาบัติ อธิกรณ์ วัตถุ ญัตติ
อาบัติและอนาบัติ ปาติโมกข์ทั้ง ๒ อาบัติเบา
จงทราบฝ่ายดำและฝ่ายขาวดังข้างต้นนี้
ภิกษุถืออยู่ป่า ถือเที่ยวบิณฑบาต ถือผ้าบังสุกุล
ถืออยู่โคนไม้ ถืออยู่ป่าช้า ถืออยู่กลางแจ้ง ถือผ้า ๓ ผืน
ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับ ถือการนั่ง
ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว
ถือการห้ามภัตรที่ถวายทีหลัง ถือฉันข้าวเฉพาะในบาตร
อุโบสถ ปวารณา อาบัติและอนาบัติ
บทฝ่ายดำและฝ่ายขาวดังข้างต้นนี้สำหรับภิกษุณีก็เหมือนกัน
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใส กรรมที่น่าเลื่อมใส
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสและน่าเลื่อมใสอื่นอีก ๒ อย่าง
ภิกษุเข้าไปสู่สกุลคลุกคลีอยู่เกินเวลา พืชพันธุ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๖.ฉักกวาร
ผลไม้ควรแก่สมณะ วิสุทธิ วิสุทธิแม้อื่นอีก
อานิสงส์การทรงพระวินัย การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
๕ หมวดล้วนที่กล่าวแล้ว จบ
๖. ฉักกวาร
ว่าด้วยหมวด ๖
[๓๒๖] อคารวะมี ๖ คารวะมี ๖ วินีตวัตถุมี ๖ สามีจิกรรมมี ๖ สมุฏฐาน
แห่งอาบัติมี ๖ อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรมมี ๖ ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ การ
ทรงวินัยมีอานิสงส์ ๖ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๖ ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร ๖
ราตรี จีวรมี ๖ ชนิด น้ำย้อมมี ๖ ชนิด อาบัติเกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทาง
วาจามี ๖ อาบัติเกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกายมี ๖ อาบัติเกิดทางกายวาจา
กับจิตมี ๖ กรรมมี ๖ มูลเหตุแห่งวิวาทมี ๖ มูลเหตุแห่งอนุวาทมี ๖ สาราณียธรรม
มี ๖ ผ้าอาบน้ำฝนยาว ๖ คืบพระสุคต จีวรกว้าง ๖ คืบพระสุคต นิสัยระงับจาก
พระอาจารย์มี ๖ อนุบัญญัติในการอาบน้ำมี ๖ ภิกษุถือเอาจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป
เก็บเอาจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป
องค์ ๖ แห่งพระอุปัชฌาย์
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้สามเณร
อุปัฏฐาก คือ
๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๖.ฉักกวาร
๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์๑อันเป็นอเสขะ๒
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อีกอย่าง ก็พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ตนเองประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในสีลขันธ์
อันเป็นอเสขะ
๒. ตนเองประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
สมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ตนเองประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
ปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในวิมุตติ
ขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวน
ผู้อื่นในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อีกอย่าง ก็พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมี
พรรษาเกิน ๑๐


เชิงอรรถ :
๑ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ดูรายละเอียดใน องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๕๑/๓๙๒
๒ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๕๑/๓๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๖.ฉักกวาร
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

๑. เป็นผู้ไม่มีสีลวิบัติในอธิศีล ๒. เป็นผู้ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นพหูสูต
๕. เป็นผู้มีปัญญา ๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมี
พรรษาเกิน ๑๐

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. สามารถพยาบาลเองหรือใช้ให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก
ผู้เป็นไข้
๒. สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน
๓. สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้น
โดยธรรม
๔. รู้จักอาบัติ
๕. รู้จักวิธีออกจากอาบัติ
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา
๒. สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริกาสิกขา
๓. สามารถแนะนำในอภิธรรม
๔. สามารถแนะนำในอภิวินัย
๕. สามารถเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นโดยธรรม
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น