Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๘-๑๒ หน้า ๖๖๑ - ๗๒๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘-๑๒ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร



พระวินัยปิฎก
ปริวาร
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๓. อาวาสิกวรรค
มีนัยแยกเป็น ๕ นัยแล ขอท่านทั้งหลายจงรู้ ๒๐ วิธีถ้วน
ในฝ่ายขาว เหมือน ๒๐ วิธีถ้วนในฝ่ายดำข้างหลัง เทอญ
๑๓. อาวาสิกวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในอาวาส
องค์ของภิกษุผู้อยู่ในอาวาส
[๔๖๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสประกอบด้วย
องค์เท่าไรหนอแล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสประกอบด้วยองค์
๕ เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ใช้สอยของสงฆ์ดุจของส่วนตัว

อุบาลี ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำ
มาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก
อุบาลี ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้
เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่ใช้สอยของสงฆ์ดุจของส่วนตัว

อุบาลี ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำ
มาเก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๓. อาวาสิกวรรค
การชี้แจงพระวินัยไม่ชอบธรรม
[๔๖๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การชี้แจงพระวินัยที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การชี้แจงพระวินัยที่ไม่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง คือ
อุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. กำหนดอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. กำหนดธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. กำหนดสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. กำหนดวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. บัญญัติสิ่งที่ไม่ได้ทรงบัญญัติ ถอนข้อที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
อุบาลี การชี้แจงพระวินัย ๕ อย่างนี้แล ไม่ชอบธรรม
อุบาลี การชี้แจงพระวินัยที่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง ๕ อย่าง มีอะไรบ้าง คือ
อุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. กำหนดอธรรมว่าเป็นอธรรม
๒. กำหนดธรรมว่าเป็นธรรม
๓. กำหนดสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๔. กำหนดวินัยว่าเป็นวินัย
๕. ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ได้ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติที่พระพุทธเจ้า
ทรงบัญญัติไว้
อุบาลี การชี้แจงพระวินัย ๕ อย่างนี้แล ชอบธรรม”
องค์ของภิกษุผู้แจกภัตร
[๔๖๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้แจกภัตรประกอบด้วยองค์เท่าไร
หนอแล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๓. อาวาสิกวรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตรประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของ
สงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก องค์ ๕ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่รู้จักอาหารที่แจกและอาหารที่ยังไม่ได้แจก
อุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตรประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมา
เก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก
อุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตรประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้
เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักอาหารที่แจกและอาหารที่ยังไม่ได้แจก
อุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตรประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมา
เก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์”
องค์ของภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะ เป็นต้น
[๔๖๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะประกอบด้วยองค์เท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า
ภิกษุผู้รักษาคลังเก็บพัสดุ ฯลฯ ภิกษุผู้รับจีวร ฯลฯ ภิกษุผู้แจกจีวร ฯลฯ
ภิกษุผู้แจกยาคู ฯลฯ ภิกษุผู้แจกผลไม้ ฯลฯ ภิกษุผู้แจกของเคี้ยว ฯลฯ ภิกษุ
ผู้แจกของเล็กน้อย ฯลฯ ภิกษุผู้ให้รับผ้าสาฎก ฯลฯ ภิกษุผู้ให้รับบาตร ฯลฯ
ภิกษุผู้ใช้คนทำงานวัด ฯลฯ
ภิกษุผู้ใช้สามเณรประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้
เหมือนถูกโยนลงนรก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณรประกอบด้วยองค์ ๕
เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก องค์ ๕ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่รู้จักงานที่ควรใช้และงานที่ยังไม่ได้ใช้
อุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณรประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมา
เก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก
อุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณรประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้
เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักงานที่ควรใช้และงานที่ยังไม่ได้ใช้
อุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณรประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมา
เก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์”
อาวาสิกวรรคที่ ๑๓ จบ
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุผู้อยู่ในอาวาส ชี้แจงพระวินัย ภิกษุผู้แจกภัตร
ภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะ ภิกษุผู้รักษาคลังเก็บพัสดุ
ภิกษุผู้รับจีวร ภิกษุผู้แจกจีวร ภิกษุผู้แจกยาคู
ผู้แจกผลไม้ ผู้แจกของเคี้ยว ผู้แจกของเล็กน้อย
ภิกษุผู้ให้รับผ้าสาฎก ภิกษุผู้ให้รับบาตร
ภิกษุผู้ใช้คนทำงานวัด ภิกษุผู้ใช้สามเณร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๔. กฐินัตถารวรรค
๑๔. กฐินัตถารวรรค
หมวดว่าด้วยการกรานกฐิน
อานิสงส์กรานกฐิน
[๔๖๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การกรานกฐินมีอานิสงส์เท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้ คือ

๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
๓. ฉันคณโภชนะได้ ๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามต้องการ

๕. พวกเธอจะได้จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้น
อุบาลี การกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้แล”
โทษของการนอนลืมสติ
[๔๖๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “บุคคลผู้นอนหลับลืมสติไม่รู้ตัวมีโทษเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับลืมสติไม่รู้ตัวมีโทษ ๕
อย่างนี้ คือ

๑. หลับเป็นทุกข์ ๒. ตื่นเป็นทุกข์
๓. เห็นความฝันเลวทราม ๔. เทวดาไม่รักษา
๕. น้ำอสุจิเคลื่อน

อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับลืมสติไม่รู้ตัวมีโทษ ๕ อย่างนี้แล
อานิสงส์ของการนอนมีสติ
อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับมีสติรู้สึกตัว มีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้ คือ
๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๔. กฐินัตถารวรรค
๓. ไม่เห็นความฝันเลวทราม ๔. เทวดารักษา
๕. น้ำอสุจิไม่เคลื่อน
อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับมีสติรู้สึกตัว มีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้แล”
บุคคลไม่ควรไหว้
[๔๖๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุที่ไม่ควรไหว้มีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้นี้มี ๕ จำพวก คือ

๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เข้าไป ๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เข้าไปสู่ถนน
สู่ละแวกบ้าน
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อยู่ในที่มืด ๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ไม่ได้สนใจ
๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้หลับอยู่

อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้
อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ

๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุในเวลาที่ดื่มยาคู ๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุในโรงภัตร
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เป็นศัตรู ๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังคิด
เรื่องอื่น
๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังเปลือยกาย

อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้
อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ

๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังเคี้ยวอยู่ ๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังฉันอยู่
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลัง ๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังถ่าย
ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร

อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๔. กฐินัตถารวรรค
อุบาลี บุคคลที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ
๑. ผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ผู้อุปสมบททีหลัง
๒. ไม่ควรไหว้อนุปสัมบัน
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาส มีพรรษาแก่กว่า เป็นอธรรมวาที
๔. ไม่ควรไหว้มาตุคาม
๕. ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์
อุบาลี บุคคล ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้
อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ
๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังอยู่ปริวาส
๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรแก่มานัต
๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังประพฤติมานัต
๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้”
บุคคลควรไหว้
[๔๖๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุที่ควรไหว้มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุที่ควรไหว้นี้มี ๕ จำพวก คือ
๑. ผู้อุปสมบทหลังควรไหว้ผู้อุปสมบทก่อน
๒. ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาส ผู้มีพรรษาแก่กว่า เป็นธรรมวาที
๓. ควรไหว้พระอาจารย์
๔. ควรไหว้พระอุปัชฌาย์
๕. ควรไหว้พระตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ
พราหมณ์เทวดาและมนุษย์
อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ควรไหว้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อบอกวรรค
ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้อ่อนกว่า
[๔๖๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้
แก่กว่า ควรตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วจึงไหว้เท้า พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้แก่กว่า
ควรตั้งธรรม ๕ อย่าง ไว้ในตน แล้วจึงไหว้เท้า ธรรม ๕ อย่าง คือ
อุบาลี ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้แก่กว่า

๑. ควรห่มผ้าเฉวียงบ่า ๒. ประคองอัญชลี
๓. นวดเท้าด้วยฝ่ามือทั้งสอง ๔. มีความรัก
๕. มีความเคารพ แล้วจึงไหว้เท้า

อุบาลี ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้แก่กว่า ควรตั้งธรรม ๕ อย่างนี้แล
ไว้ในตน แล้วจึงไหว้เท้า”
กฐินัตถารวรรคที่ ๑๔ จบ
หัวข้อประจำวรรค
การกรานกฐิน การหลับเป็นสุข
ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เข้าสู่ละแวกบ้าน
ดื่มยาคู เคี้ยว อุปสมบทก่อน อยู่ปริวาส
บุคคลควรไหว้ ภิกษุอ่อนกว่าไหว้ภิกษุแก่กว่า
อุปาลิปัญจกะ จบ
หัวข้อบอกวรรค
อนิสสิตวรรค กัมมวรรค๑ โวหารวรรค
ทิฏฐาวิกัมมวรรค โจทนาวรรค๒ ธุดงควรรค

เชิงอรรถ :
๑ นัปปฏิปัสสัมภนวรรค (๔๒๐/๕๙๕)
๒ อัตตาทานวรรค (๔๓๖/๖๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อบอกวรรค
มุสาวาทวรรค ภิกขุโนวาทวรรค อุพพาหิกวรรค
อธิกรณวูปสมวรรค สังฆเภทกวรรค
สังฆเภท ๕ อย่างเหมือนก่อน๑
อาวาสิกวรรค กฐินัตถารวรรค
รวม ๑๔ วรรค ท่านประกาศไว้ดีแล้วแล

เชิงอรรถ :
๑ ทุติยสังฆเภทกวรรค (๔๖๐/๖๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๑. ปาราชิก
อัตถาปัตติสมุฏฐาน
ว่าด้วยสมุฏฐานอาบัติที่มีอยู่
๑. ปาราชิก
ว่าด้วยอาบัติปาราชิก
[๔๗๐] อาบัติที่ภิกษุไม่จงใจต้อง แต่จงใจออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุจงใจต้อง แต่ไม่จงใจออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่จงใจต้อง ไม่จงใจออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุจงใจต้อง จงใจออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง มีจิตเป็นกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นอกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นอัพยากฤตออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง มีจิตเป็นอกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นอัพยากฤตออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง มีจิตเป็นกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง แต่มีจิตเป็นอกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง แต่มีจิตเป็นอัพยากฤตออก มีอยู่
สิกขาบทที่ ๑
ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิด
ทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๒. สังฆาทิเลส
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิด
ทางกายวาจากับจิต
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ
๒. สังฆาทิเสส
ว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส
สิกขาบทที่ ๑
[๔๗๑] ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้จงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เกิดด้วยสมุฏฐาน
เท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๒. สังฆาทิเลส
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้จงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ถูกต้องกายกับมาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ถูกต้องกายกับมาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้พูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ เกิดด้วย
สมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้พูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ เกิดด้วย
สมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต แต่มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิด
ทางวาจากับจิต แต่มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อ
หน้ามาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อ
หน้ามาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำหน้าที่ชักสื่อ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำหน้าที่ชักสื่อ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน
คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่
เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๒. สังฆาทิเลส
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๖) เกิดทางกายวาจากับจิต
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง เกิดด้วยสมุฏฐาน
เท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง เกิดด้วยสมุฏฐาน
๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างวิหารใหญ่ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างวิหารใหญ่ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล เกิด
ด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล เกิด
ด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้อ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่
ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิก เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้อ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศ
แล้วใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิก เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม กระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ ครบ ๓ ครั้งเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๒. สังฆาทิเสส
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม กระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา
กับจิต
สิกขาบทที่ ๑๑
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม
กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม
กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิด
ทางกายวาจากับจิต
สิกขาบทที่ ๑๒
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ว่ายาก ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ว่ายาก ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
สิกขาบทที่ ๑๓
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง
สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง
สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกาย
วาจากับจิต
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๓. ปาราชิกาทิ
เสขิยวัตร
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
[๔๗๒] ถาม : ทุกกฏของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ทุกกฏของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ
บ้วนน้ำลายลงในน้ำ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา
เสขิยวัตร จบ
๓. ปาราชิกาทิ
ว่าด้วยอาบัติปาราชิก เป็นต้น
ปาราชิก ๔
[๔๗๓] ถาม : ปาราชิก ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาราชิก ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
สังฆาทิเสส ๑๓
ถาม : สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทาง
กาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทางกาย
กับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิดทางกาย
วาจากับจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๓. ปาราชิกาทิ
อนิยต ๒
ถาม : อนิยต ๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : อนิยต ๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทาง
กายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิด
ทางกายวาจากับจิต
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
ถาม : นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทาง
กาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทาง
กายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิด
ทางกายวาจากับจิต
ปาจิตตีย์ ๙๒
ถาม : ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทาง
กาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทาง
กายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิด
ทางกายวาจากับจิต
ปาฏิเทสนียะ ๔
ถาม : ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่
เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๔) เกิดทางกายวาจากับจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] หัวข้อประจำเรื่อง
เสขิยะ ๗๕
ถาม : เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
สมุฏฐาน จบ
หัวข้อประจำเรื่อง
ภิกษุไม่จงใจ มีจิตเป็นกุศล สมุฏฐานทุกสิกขาบท
ขอท่านทั้งหลาย จงเข้าใจสมุฏฐานโดยรู้ตามธรรมเทอญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๑. กายิกาทิอาปัตติ
ทุติยคาถาสังคณิกะ
ว่าด้วยกลุ่มคาถา กลุ่มที่ ๒
๑. กายิกาทิอาปัตติ
ว่าด้วยอาบัติทางกาย เป็นต้น
[๔๗๔] ถาม : อาบัติทางกายจัดไว้เท่าไร ทางวาจาจัดไว้เท่าไร
เมื่อปกปิดต้องอาบัติเท่าไร อาบัติที่มีการเคล้าคลึงเป็นปัจจัยมีเท่าไร
ตอบ : อาบัติทางกายจัดไว้ ๖ ทางวาจาจัดไว้ ๖
เมื่อปกปิดต้องอาบัติ ๓ อย่าง อาบัติที่มีการเคล้าคลึง
เป็นปัจจัยมี ๕
ต้องอาบัติเมื่ออรุณขึ้น เป็นต้น
ถาม : ต้องอาบัติเมื่ออรุณขึ้นมีเท่าไร อาบัติชื่อยาวตติยกา
มีเท่าไร อาบัติชื่ออัฏฐวัตถุกาในศาสนานี้มีเท่าไร
จัดสิกขาบทและปาติโมกขุทเทสทั้งมวล เข้าในอุทเทสเท่าไร
ตอบ : ต้องอาบัติเมื่ออรุณขึ้นมี ๓ อาบัติชื่อยาวตติยกามี ๒
อาบัติชื่ออัฏฐวัตถุกาในศาสนานี้มี ๑
จัดสิกขาบทและปาติโมกขุทเทสทั้งมวลเข้าในนิทานุทเทสอย่างเดียว
มูลแห่งพระวินัย เป็นต้น
ถาม : มูลแห่งพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มีเท่าไร
อาบัติหนักในฝ่ายพระวินัยที่ตรัสไว้มีเท่าไร
อาบัติเพราะปิดโทษชั่วหยาบมีเท่าไร
ตอบ : มูลแห่งพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มี ๒
อาบัติหนักในฝ่ายพระวินัยที่ตรัสไว้มี ๒
อาบัติเพราะปิดโทษชั่วหยาบมี ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๒. เทสนาคามินิยาทิอาปัตติ
ต้องอาบัติในละแวกบ้าน เป็นต้น
ถาม : อาบัติในละแวกบ้านมีเท่าไร
อาบัติมีฝั่งนทีเป็นปัจจัยมีเท่าไร ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เพราะเนื้อกี่ชนิด ต้องอาบัติทุกกฏเพราะเนื้อกี่ชนิด
ตอบ : อาบัติในละแวกบ้านมี ๔ อาบัติมีฝั่งนทีเป็นปัจจัยมี ๔
ต้องอาบัติถุลลัจจัยเพราะเนื้อชนิดเดียว
ต้องอาบัติทุกกฏเพราะเนื้อ ๙ ชนิด
ต้องอาบัติทางวาจาในกลางคืน เป็นต้น
ถาม : อาบัติทางวาจาในกลางคืนมีเท่าไร อาบัติทางวาจา
ในกลางวันมีเท่าไร เมื่อให้ต้องอาบัติเท่าไร เมื่อรับต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติทางวาจาในกลางคืนมี ๒
อาบัติทางวาจาในกลางวันมี ๒ เมื่อให้ต้องอาบัติ ๓
เมื่อรับต้องอาบัติ ๔
๒. เทสนาคามินิยาทิอาปัตติ
ว่าด้วยอาบัติเป็นเทสนาคามินี เป็นต้น
[๔๗๕] ถาม : อาบัติเป็นเทสนาคามินีมีเท่าไร
อาบัติที่แก้ไขได้จัดไว้เท่าไร อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ในศาสนานี้พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ตอบ : อาบัติเป็นเทสนาคามินีมี ๕
อาบัติที่ทำคืนได้จัดไว้ ๖ อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ในศาสนานี้พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้อย่างเดียว
ต้องอาบัติหนักในฝ่ายพระวินัย เป็นต้น
ถาม : อาบัติหนักในฝ่ายพระวินัยเป็นไปทางกายและวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๒. เทสนาคามินิยาทิอาปัตติ
ตรัสไว้เท่าไร ธัญญรสในเวลาวิกาลมีเท่าไร
สมมติด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจามีเท่าไร
ตอบ : อาบัติหนักในฝ่ายพระวินัยเป็นไปทางกายและวาจาตรัสไว้ ๒
ธัญญรสในเวลาวิกาลมีอย่างเดียว
สมมติด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจามีอย่างเดียว
อาบัติปาราชิกทางกาย เป็นต้น
ถาม : อาบัติปาราชิกทางกายมีเท่าไร ภูมิของภิกษุผู้มีสังวาส
มีเท่าไร รัตติเฉทของภิกษุกี่พวก และพระบัญญัติเรื่อง ๒ นิ้วมีเท่าไร
ตอบ : อาบัติปาราชิกทางกายมี ๒
ภูมิของภิกษุผู้มีสังวาสมี ๒ รัตติเฉทของภิกษุมี ๒ พวก
และพระบัญญัติเรื่อง ๒ นิ้วมี ๒
ต้องอาบัติเพราะทำร้ายตัวเอง เป็นต้น
ถาม : เพราะทำร้ายตัวเองต้องอาบัติเท่าไร
สงฆ์แตกกันด้วยอาการเท่าไร อาบัติชื่อปฐมาปัตติกา
ในศาสนานี้มีเท่าไร การทำญัตติมีเท่าไร
ตอบ : เพราะทำร้ายตัวเองต้องอาบัติมี ๒
สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๒
อาบัติชื่อปฐมาปัตติกาในศาสนานี้มี ๒ ทำญัตติมี ๒
ต้องอาบัติเพราะปาณาติบาต เป็นต้น
ถาม : อาบัติเพราะปาณาติบาตมีเท่าไร อาบัติปาราชิก
เนื่องด้วยวาจามีเท่าไร อาบัติเกี่ยวด้วยพูดเชิญชวนตรัสไว้เท่าไร
อาบัติเกี่ยวด้วยเที่ยวเป็นพ่อสื่อตรัสไว้เท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะปาณาติบาตมี ๓
อาบัติปาราชิกเนื่องด้วยวาจามี ๓ อาบัติเกี่ยวด้วยพูดเชิญชวนตรัสไว้ ๓
และอาบัติเกี่ยวด้วยเที่ยวเป็นพ่อสื่อตรัสไว้ ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๒. เทสนาคามินิยาทิอาปัตติ
บุคคลไม่ควรให้อุปสมบท เป็นต้น
ถาม : บุคคลไม่ควรให้อุปสมบทมีเท่าไร
กรรมสังคหะมีเท่าไร บุคคลถูกนาสนะตรัสไว้เท่าไร
อนุสาวนาเดียวกันสำหรับบุคคลจำนวนเท่าไร
ตอบ : บุคคลไม่ควรให้อุปสมบทมี ๓ พวก
กรรมสังคหะมี ๓ อย่าง บุคคลที่ถูกนาสนะตรัสไว้ ๓ พวก
อนุสาวนาเดียวกันสำหรับบุคคลจำนวน ๓ คน
ต้องอาบัติเพราะอทินนาทาน เป็นต้น
ถาม : ต้องอาบัติเพราะอทินนาทานมีเท่าไร
อาบัติเพราะเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัยมีเท่าไร
เมื่อตัด(ต้นไม้)ต้องอาบัติเท่าไร อาบัติเพราะวัตถุที่ทิ้งเป็นปัจจัยมีเท่าไร
ตอบ : ต้องอาบัติเพราะอทินนาทานมี ๓
อาบัติเพราะเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัยมี ๔
เมื่อตัดต้องอาบัติ ๓ อาบัติเพราะวัตถุที่ทิ้งเป็นปัจจัยมี ๕
ปรับอาบัติควบกัน เป็นต้น
ถาม : ในภิกขุโนวาทกวรรค อาบัติทุกกฏกับปาจิตตีย์
ที่ตรัสไว้หมวดที่ ๙ ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมีเท่าไร
ภิกษุณีกี่จำพวกเป็นเหตุให้ภิกษุต้องอาบัติ เพราะจีวรเป็นเหตุ
ตอบ : ในภิกขุโนวาทกวรรค อาบัติทุกกฏกับปาจิตตีย์
ที่ตรัสไว้หมวดที่ ๙ ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๔
ภิกษุณี ๒ พวกเป็นเหตุให้ภิกษุต้องอาบัติ
เพราะจีวรเป็นเหตุ
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ เป็นต้น
ถาม : อาบัติปาฏิเทสนียะที่ตรัสไว้แก่ภิกษุณีมีเท่าไร
เพราะขอข้าวเปลือกมาฉัน ปรับอาบัติทุกกฏกับปาจิตตีย์หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๓. ปาจิตติยะ
ตอบ : อาบัติปาฏิเทสนียะที่ตรัสไว้แก่ภิกษุณี
ปรับอาบัติไว้ ๘ เพราะขอข้าวเปลือกมาฉัน
ปรับอาบัติทุกกฏกับปาจิตตีย์
ต้องอาบัติเพราะเดิน เป็นต้น
ถาม : ผู้เดินต้องอาบัติเท่าไร ผู้ยืนต้องอาบัติเท่าไร
ผู้นั่งต้องอาบัติเท่าไร และผู้นอนต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ผู้เดินต้องอาบัติ ๔ ผู้ยืนต้องอาบัติ ๔ เท่ากัน
ผู้นั่งต้องอาบัติ ๔ และผู้นอนต้องอาบัติ ๔ เท่ากัน
๓. ปาจิตติยะ
ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ต้องอาบัติในเขตเดียวกัน
[๔๗๖] ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน
มี ๕ ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง
ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มี ๙
ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง
วิธีแสดงอาบัติ
ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจาเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๓. ปาจิตติยะ
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มี ๕
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจาอย่างเดียว
ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจาเท่าไร
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มี ๙
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจาอย่างเดียว
ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงระบุอะไร
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มี ๕
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงระบุวัตถุ
ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงระบุอะไร
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มี ๙
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงระบุวัตถุ
ยาวตติยกาบัติ เป็นต้น
ถาม : เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติเท่าไร
เพราะการกล่าวเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ภิกษุเคี้ยวต้องอาบัติเท่าไร เพราะโภชนะเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๓. ปาจิตติยะ
ตอบ : เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๓
เพราะการกล่าวเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๖
ภิกษุเคี้ยวต้องอาบัติ ๓ เพราะโภชนะเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕
ฐานะแห่งยาวตติยกาบัติ เป็นต้น
ถาม : ยาวตติยกาบัติทั้งหมดย่อมถึงฐานะเท่าไร
อาบัติมีแก่คนกี่พวก และอธิกรณ์มีแก่คนกี่พวก
ตอบ : ยาวตติยกาบัติทั้งหมดย่อมถึงฐานะ ๕
อาบัติมีแก่สหธรรมิก ๕ และอธิกรณ์มีแก่สหธรรมิก ๕
วินิจฉัย เป็นต้น
ถาม : วินิจฉัยมีแก่คนกี่พวก การระงับมีแก่คนกี่พวก
บุคคลกี่พวกไม่ต้องอาบัติ และภิกษุย่อมงามด้วยฐานะเท่าไร
ตอบ : วินิจฉัยมีแก่สหธรรมิก ๕ การระงับมีแก่
สหธรรมิก ๕ ไม่ต้องอาบัติ และภิกษุย่อมงามด้วย ๓ ฐานะ
อาบัติทางกายในราตรี เป็นต้น
ถาม : อาบัติทางกายในกลางคืนมีเท่าไร อาบัติทางกาย
ในกลางวันมีเท่าไร ภิกษุเพ่งดูต้องอาบัติเท่าไร
เพราะบิณฑบาตเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติทางกายในกลางคืนมี ๒ อาบัติทางกาย
ในกลางวันมี ๒ ภิกษุเพ่งดูต้องอาบัติกองเดียว
เพราะบิณฑบาตเป็นปัจจัย ต้องอาบัติกองเดียว
ภิกษุที่สงฆ์ยกวัตร เป็นต้น
ถาม : ภิกษุเห็นอานิสงส์เท่าไรจึงแสดงเพราะเชื่อคนอื่น
ภิกษุถูกยกวัตรตรัสไว้เท่าไร ความประพฤติชอบมีเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๓. ปาจิตติยะ
ตอบ : ภิกษุเห็นอานิสงส์ ๘ อย่างจึงแสดง
เพราะเชื่อคนอื่น ภิกษุถูกยกวัตรตรัสไว้ ๓ พวก
ความประพฤติชอบมี ๔๓ ข้อ
มุสาวาท เป็นต้น
ถาม : มุสาวาทถึงฐานะเท่าไร ที่ตรัสว่าอย่างยิ่งมีเท่าไร
ปาฏิเทสนียะมีกี่สิกขาบท และการแสดงโทษของบุคคลกี่พวก
ตอบ : มุสาวาทถึงฐานะ ๕ ที่ตรัสว่าอย่างยิ่งมี ๑๔ สิกขาบท
ปาฏิเทสนียะมี ๑๒ สิกขาบท
และการแสดงโทษของบุคคล ๔ พวก
องค์ของมุสาวาท เป็นต้น
ถาม : มุสาวาทมีองค์เท่าไร องค์อุโบสถมีเท่าไร
องค์ที่เอื้อต่อการเป็นทูตมีเท่าไร ติตถิยวัตรมีเท่าไร
ตอบ : มุสาวาทมีองค์ ๘ องค์อุโบสถมี ๘ องค์
ที่เอื้อต่อการเป็นทูตมี ๘ ติตถิยวัตรมี ๘
อุปสัมปทา เป็นต้น
ถาม : อุปสัมปทามีวาจาเท่าไร ภิกษุณีพึงลุกรับภิกษุณี
กี่พวก พึงให้อาสนะแก่ภิกษุณีกี่พวก
ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณีประกอบด้วยคุณสมบัติเท่าไร
ตอบ : อุปสัมปทามีวาจา ๘ ภิกษุณีพึงลุกรับภิกษุณี ๘ พวก
พึงให้อาสนะแก่ภิกษุณี ๘ พวก
ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณีประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ ข้อ
ความขาด เป็นต้น
ถาม : ความขาดมีแก่บุคคลเท่าไร อาบัติถุลลัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๔. อวันทนียปุคคลาทิ
มีแก่บุคคลเท่าไร บุคคลเท่าไรไม่ต้องอาบัติ
อาบัติและอนาบัติของคนทั้งหมดมีวัตถุอย่างเดียวกันหรือ
ตอบ : ความขาดมีแก่บุคคลผู้เดียว อาบัติถุลลัจจัย
มีแก่บุคคล ๔ พวก บุคคล ๔ พวกไม่ต้องอาบัติ
อาบัติและอนาบัติของคนทั้งหมดมีวัตถุอย่างเดียวกัน
กรรมเนื่องด้วยญัตติ เป็นต้น
ถาม : อาฆาตวัตถุมีเท่าไร สงฆ์แตกกันด้วยเหตุเท่าไร
อาบัติชื่อปฐมาปัตติกา ในศาสนานี้มีเท่าไร การทำด้วยญัตติมีเท่าไร
ตอบ : อาฆาตวัตถุมี ๙ สงฆ์แตกกันด้วยเหตุ ๙ อย่าง
อาบัติชื่อปฐมาปัตติกาในศาสนานี้มี ๙ อย่าง
การทำด้วยญัตติมี ๙ อย่าง
๔. อวันทนียปุคคลาทิ
ว่าด้วยบุคคลไม่ควรไหว้ เป็นต้น
[๔๗๗] ถาม : บุคคลเท่าไรอันภิกษุไม่ควรกราบไหว้
ไม่ควรทำอัญชลีกรรมและสามีจิกรรม ทำแก่บุคคลกี่พวก
ต้องอาบัติทุกกฏ การทรงจีวรมีกำหนดเท่าไร
ตอบ : บุคคล ๑๐ จำพวก อันภิกษุไม่ควรกราบไหว้
ไม่ควรทำอัญชลีกรรม และสามีจิกรรม
ทำแก่บุคคล ๑๐ จำพวก ต้องอาบัติทุกกฏ
การทรงจีวรมีกำหนด ๑๐ วัน
ให้จีวร เป็นต้น
ถาม : จีวรควรให้แก่บุคคลในศาสนานี้ผู้อยู่จำพรรษาแล้ว
กี่พวก เมื่อมีผู้รับแทน ควรให้แก่บุคคลกี่พวก
และไม่ควรให้แก่บุคคลกี่พวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๔. อวันทนียปุคคลาทิ
ตอบ : จีวรควรให้แก่สหธรรมิก ๕ ในศาสนานี้ผู้อยู่จำพรรษาแล้ว
เมื่อมีผู้รับแทน ควรให้แก่บุคคล ๗ จำพวก
และไม่ควรให้แก่บุคคล ๑๖ จำพวก
ภิกษุอยู่ปริวาส
ถาม : ชั่ว ๑๐๐ ราตรี ภิกษุอยู่ปริวาสปิดอาบัติไว้กี่ร้อย
ต้องอยู่ปริวาสกี่ราตรีจึงจะพ้น
ตอบ : ชั่ว ๑๐๐ ราตรี ภิกษุอยู่ปริวาสปิดอาบัติไว้ ๑,๐๐๐ ราตรี
ต้องอยู่ปริวาส ๑๐ ราตรีจึงจะพ้น
โทษแห่งกรรม
ถาม : โทษแห่งกรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร กรรมที่ไม่ชอบธรรมทั้งหมด
ที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปามีเท่าไร
ตอบ : โทษแห่งกรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้มี ๑๒ กรรม
กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปาล้วนไม่ชอบธรรม
กรรมสมบัติ
ถาม : กรรมสมบัติอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร กรรมที่ชอบธรรมทั้งหมด
ที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปามีเท่าไร
ตอบ : กรรมสมบัติอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้มี ๔ ประการ
กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปาล้วนชอบธรรม
กรรม ๖ อย่าง
ถาม : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๔. อวันทนียปุคคลาทิ
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปา
ที่ชอบธรรมมีเท่าไร ที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
ตอบ : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้มี ๖ อย่าง ในกรรม ๖ อย่างนี้
กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์
ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปา ที่ชอบธรรมมีอย่างเดียว
ที่ไม่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง
กรรม ๔ อย่าง
ถาม : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัย
ในพระนครจัมปา ที่ชอบธรรมมีเท่าไร ที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
ตอบ : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้มี ๔ อย่าง
ในกรรม ๔ อย่างนี้ กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปา
ที่ชอบธรรมมีอย่างเดียว ที่ไม่ชอบธรรมมี ๓ อย่าง
อาบัติระงับ และไม่ระงับ
ถาม : ในกองอาบัติที่พระอนันตชินเจ้าผู้คงที่
ผู้ทรงเห็นวิเวก ทรงแสดงแล้วนั้น กองอาบัติกี่กอง
เว้นสมถะเสียก็ระงับได้ ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
ข้าพเจ้าถามข้อนั้น ขอท่านจงบอก
ตอบ : ในกองอาบัติที่พระอนันตชินเจ้าผู้คงที่
ผู้ทรงเห็นวิเวก ทรงแสดงแล้วนั้น กองอาบัติกองเดียว
เว้นสมถะเสียก็ระงับได้ ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๔. อวันทนียปุคคลาทิ
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไปสู่อบาย
ถาม : ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไปสู่อบาย อันพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไปสู่อบาย ตกนรกอยู่ชั่วกัป
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชา
ผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๔๔ พวก
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ไปสู่อบาย
ถาม : ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ไปสู่อบาย
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ไปสู่อบาย
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง
พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘ พวก
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย
หมวด ๘
ถาม : หมวด ๘ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : หมวด ๘ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘ หมวด
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๕. โสฬสกัมมาทิ
๕. โสฬสกัมมาทิ
ว่าด้วยกรรม ๑๖ อย่าง เป็นต้น
[๔๗๘] ถาม : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๖ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย
โทษแห่งกรรม
ถาม : โทษแห่งกรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : โทษแห่งกรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๒ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย
กรรมสมบัติ
ถาม : กรรมสมบัติอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : กรรมสมบัติอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย
กรรม ๖
ถาม : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๕. โสฬสกัมมาทิ
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๖ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย
กรรม ๔
ถาม : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย
ปาราชิก ๘
ถาม : ปาราชิกอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : ปาราชิกอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๘ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย
สังฆาทิเสส ๒๓
ถาม : สังฆาทิเสสอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๕. โสฬสกัมมาทิ
ตอบ : สังฆาทิเสสอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๒๓ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย
อนิยต ๒
ถาม : อนิยตอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : อนิยตอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๒ สิกขาบท
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย
นิสสัคคีย์ ๔๒
ถาม : นิสสัคคีย์อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : นิสสัคคีย์อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔๒ สิกขาบท
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย
ปาจิตตีย์ ๑๘๘
ถาม : ปาจิตตีย์อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : ปาจิตตีย์อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘๘ สิกขาบท
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๕. โสฬสกัมมาทิ
ปาฏิเทสนียะ ๑๒
ถาม : ปาฏิเทสนียะอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : ปาฏิเทสนียะอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๒ สิกขาบท
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย
เสขิยะ ๗๕
ถาม : เสขิยะอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : เสขิยะอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๗๕ สิกขาบท
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย
ปัญหาข้อใด ท่านถามแล้วด้วยดีเพียงใด
ปัญหาข้อนั้นข้าพเจ้าก็ตอบแล้วด้วยดี เพียงนั้น
อนึ่ง ในคำถามและคำตอบจะไม่อ้างถึงสูตรอะไร ไม่มีแล
ทุติยคาถาสังคณิกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๑. อวิปปวาสปัญหา
เสทโมจนคาถา
ว่าด้วยคาถาที่ทำให้เหงื่อแตก
๑. อวิปปวาสปัญหา
ปัญหาว่าด้วยการไม่อยู่ปราศ
[๔๗๙] ภิกษุทั้งหลายไม่อยู่ร่วมกับภิกษุณีทั้งหลาย
ความสนิทชิดเชื้อบางอย่างในบุคคลนั้นทำไม่ได้
เพราะไม่อยู่ปราศไม่ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ครุภัณฑ์ที่ไม่พึงสละ ไม่พึงแจก อันพระผู้มีพระภาค
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสไว้ ๕ หมวด
ภิกษุผู้สละใช้สอยไม่ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ข้าพเจ้าไม่กล่าวถึงบุคคล ๑๐ จำพวก
บุคคลที่พึงเว้น ๑๑ จำพวก
ภิกษุไหว้ผู้แก่กว่าต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุไม่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม และมิได้อยู่ปริวาส
ไม่เป็นผู้ทำลายสงฆ์ และไม่เป็นผู้ไปเข้ารีด
ดำรงอยู่ในภูมิของภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกัน
ไฉนหนอจึงไม่ทั่วไปแก่สิกขา
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
บุคคลเข้าถึงธรรม สอบถามถึงกุศลที่ประกอบด้วยประโยชน์
มิใช่ผู้มีชีวิต มิใช่ผู้ตาย มิใช่ผู้ดับ
ท่านผู้รู้ทั้งหลายเรียกบุคคลนั้นว่าอย่างไร
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๑. อวิปปวาสปัญหา
ข้าพเจ้าไม่กล่าวถึงอวัยวะเหนือบริเวณรากขวัญขึ้นไป
เว้นอวัยวะบริเวณใต้สะดือลงมา ภิกษุพึงเป็นปาราชิก
เพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัยได้อย่างไร
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุสร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ไม่ได้ให้สงฆ์แสดงพื้นที่
เกินขนาด ซึ่งเป็นพื้นที่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุสร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ให้สงฆ์แสดงพื้นที่ ได้ขนาด
เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุไม่พยายามอะไรทางกาย และไม่พูดกับผู้อื่นทางวาจา
แต่ต้องอาบัติหนักซึ่งเป็นมูลแห่งการตัดขาด
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
สัตบุรุษไม่ทำความชั่วอะไรทางกาย ทางวาจา
และแม้ทางใจ ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ชื่อว่าถูกนาสนะด้วยดี
เพราะเหตุไร ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุไม่เจรจากับมนุษย์ไร ๆ ด้วยวาจา
และไม่กล่าวถ้อยคำกับผู้อื่น
ต้องอาบัติทางวาจา ไม่ต้องอาบัติทางกาย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
สิกขาบททั้งหลาย อันพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พรรณาไว้แล้ว สังฆาทิเสส ๔ สิกขาบท
ภิกษุณีต้องทั้งหมด ด้วยความพยายามครั้งเดียวกัน
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุณี ๒ รูป อุปสมบทแต่สงฆ์ฝ่ายเดียว
ภิกษุรับจีวรจากมือของภิกษุณี ๒ รูป ต้องอาบัติต่างกัน
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๒. ปาราชิกาทิปัญหา
ภิกษุ ๔ รูป ชวนกันไปลักครุภัณฑ์ ๓ รูป ต้องอาบัติปาราชิก
อีก ๑ รูป ไม่ต้องอาบัติปาราชิก
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
๒. ปาราชิกาทิปัญหา
ปัญหาว่าด้วยอาบัติปาราชิก เป็นต้น
[๔๘๐] สตรีอยู่ข้างในและภิกษุอยู่ข้างนอก ช่องในเรือนนั้นก็ไม่มี
ภิกษุจะพึงต้องอาบัติปาราชิกเพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัยได้อย่างไร
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
เมื่อภิกษุรับประเคนน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยและเนยใส
ด้วยตนเองแล้วเก็บไว้ เมื่อยังไม่ล่วง ๗ วัน
เมื่อปัจจัยมีอยู่จึงฉัน ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติสุทธิกปาจิตตีย์
ภิกษุต้องพร้อมกัน
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุ ๒๐ รูป มาประชุมกัน สำคัญว่าพร้อมเพรียงจึงทำกรรม
ภิกษุอยู่ไกล ๑๒ โยชน์ พึงยังกรรมนั้นให้เสียได้
เพราะการแบ่งพวกเป็นปัจจัย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุต้องครุกาบัติที่ทำคืนได้ทั้งหมด ๖๔ คราวเดียวกัน
ด้วยอาการเพียงย่างเท้า และด้วยกล่าววาจา
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุนุ่งผ้าอันตรวาสก ห่มผ้าสังฆาฏิ ๒ ชั้น
ผ้าทั้งหมดนั้นเป็นนิสสัคคีย์
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๒. ปาราชิกาทิปัญหา
ญัตติก็ไม่ได้สวด กรรมวาจาก็ไม่ได้สวด
พระชินเจ้าก็มิได้รับสั่งว่า เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด
ไตรสรณคมณ์เขาก็ไม่ได้รับ
แต่อุปสัมปทกรรมของบุคคลนั้นไม่เสีย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
บุคคลผู้โง่เขลาฆ่าสตรีซึ่งมิใช่มารดา และฆ่าบุรุษซึ่งมิใช่บิดา
ฆ่าบุคคลผู้มิใช่อริยะ แต่ต้องอนันตริยกรรมเพราะโทษนั้น
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
บุคคลผู้โง่เขลาฆ่าสตรีผู้เป็นมารดา และฆ่าบุรุษผู้เป็นบิดา
ครั้นฆ่ามารดาบิดาแล้ว ไม่ต้องอนันตริยกรรมเพราะโทษนั้น
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุไม่โจท ไม่สอบสวน แล้วทำกรรมแก่บุคคลผู้อยู่ลับหลัง
และกรรมที่ทำแล้ว เป็นอันทำชอบแล้ว
ทั้งการกสงฆ์ก็ไม่ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุโจท สอบสวนแล้ว พึงทำกรรมแก่บุคคลผู้อยู่ต่อหน้า
และกรรมที่ทำแล้ว ไม่เป็นอันทำ ทั้งการกสงฆ์ก็ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุตัดต้องอาบัติก็มี ไม่ต้องอาบัติก็มี
ภิกษุปกปิดต้องอาบัติก็มี ไม่ต้องอาบัติก็มี
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุพูดจริงต้องอาบัติหนัก พูดเท็จต้องอาบัติเบา
พูดเท็จต้องอาบัติหนัก และพูดจริงต้องอาบัติเบา
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๓. ปาจิตติยาทิปัญหา
๓. ปาจิตติยาทิปัญหา
ปัญหาว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ เป็นต้น
[๔๘๑] ภิกษุใช้สอยจีวรที่อธิษฐานแล้ว ย้อมด้วยน้ำย้อม
แม้กัปปะก็ทำแล้ว ยังต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
เมื่อพระอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุฉันเนื้อ ไม่ใช่ผู้วิกลจริต
ไม่ใช่ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน และไม่ใช่ผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
แต่ไม่ต้องอาบัติ และธรรมข้อนั้นพระสุคตทรงแสดงไว้แล้ว
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุไม่ใช่ผู้มีจิตกำหนัด ไม่ใช่ผู้มีจิตคิดลัก
และแม้ผู้อื่นภิกษุนั้นก็ไม่ได้คิดจะฆ่า ความขาดย่อมมีแก่ภิกษุนั้นผู้ให้สลาก
เมื่อภิกษุจับต้องอาบัติถุลลัจจัย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ไม่ใช่เสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง
และไม่ใช่สงฆ์ให้สมมติ ทั้งกฐินภิกษุนั้นก็ไม่ได้กราน
ภิกษุนั้นเก็บจีวรไว้ ณ ที่นั้นเอง แล้วไปไกลถึงครึ่งโยชน์
เมื่ออรุณขึ้น ไม่ต้องอาบัติในเรื่องนั้นนั่นเล
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
อาบัติทั้งมวลที่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา
มีวัตถุต่างกัน ภิกษุต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลัง
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
อาบัติทั้งมวลที่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย
มีวัตถุต่างกัน ภิกษุต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลัง
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ไม่มีการเสพเมถุนธรรมในสตรี ๓ จำพวก บุรุษ ๓ จำพวก
คนไม่ประเสริฐ ๓ จำพวก และบัณเฑาะก์ ๓ จำพวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๓. ปาจิตติยาทิปัญหา
และไม่มีการเสพเมถุนธรรมในอวัยวะที่ปรากฏ แต่มีมูลแห่งการตัดขาด
เพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุขอจีวรกับมารดา และไม่ได้น้อมลาภไปเพื่อสงฆ์
เพราะเหตุไร ภิกษุนั้นจึงต้องอาบัติ
แต่ไม่ต้องอาบัติเพราะบุคคลผู้เป็นญาติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ผู้โกรธย่อมให้สงฆ์ยินดี ผู้โกรธย่อมถูกสงฆ์ติเตียน
ก็ธรรมที่เป็นเหตุให้สงฆ์สรรเสริญผู้โกรธนั้น ชื่ออะไร
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ผู้แช่มชื่นย่อมให้สงฆ์ยินดี ผู้แช่มชื่นย่อมถูกสงฆ์ติเตียน
ก็ธรรมที่เป็นเหตุให้สงฆ์ติเตียนผู้แช่มชื่นนั้น ชื่ออะไร
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์
ปาฏิเทสนียะ และทุกกฏในขณะเดียวกัน
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ทั้ง ๒ มีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้ง ๒ มีพระอุปัชฌาย์รูปเดียวกัน
มีอาจารย์รูปเดียวกัน สวดกรรมวาจาเดียวกัน
คนหนึ่งเป็นอุปสัมบัน คนหนึ่งเป็นอนุปสัมบัน
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ผ้าที่ไม่ได้ทำกัปปะและไม่ได้ย้อมด้วยน้ำย้อม
ภิกษุนุ่งห่มเดินทางไปตามปรารถนา และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ
ธรรมนั้นพระสุคตทรงแสดงแล้ว
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุณีไม่ให้ ไม่รับ การรับไม่มีด้วยเหตุนั้น
แต่ต้องอาบัติหนัก ไม่ต้องอาบัติเบา และต้องอาบัตินั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๓. ปาจิตติยาทิปัญหา
เพราะการใช้สอยเป็นปัจจัย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุณีไม่ให้ ไม่รับ การรับไม่มีด้วยเหตุนั้น
แต่ต้องอาบัติเบา ไม่ต้องอาบัติหนัก และต้องอาบัตินั้น
เพราะการใช้สอยเป็นปัจจัย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุณีต้องอาบัติหนักมีส่วนเหลือ ปกปิดไว้
เพราะอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ
ผู้ไม่ใช่ภิกษุณีก็ไม่ต้องโทษ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
เสทโมจนคาถา จบ
หัวข้อประจำเรื่อง
ไม่อยู่ร่วมกัน ไม่สละ บุคคล ๑๐ จำพวก
ไม่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เข้าถึงธรรม อวัยวะเหนือบริเวณรากขวัญ
จากนั้นสร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ๒ สิกขาบท
ไม่พยายามทางกาย แต่ต้องอาบัติหนัก ไม่ทำความชั่วทางกาย
แต่ถูกสงฆ์นาสนะชอบแล้ว ไม่เจรจา สิกขาบท
ชน ๒ คน และชน ๔ คน
สตรี น้ำมัน นิสสัคคีย์ ภิกษุ ก้าวเท้าเดิน
นุ่งผ้า ไม่สวดญัตติ ฆ่าสตรีมิใช่มารดา ฆ่าบุรุษมิใช่บิดา
ไม่โจท โจท ตัด พูดจริง ผ้าที่อธิษฐาน
พระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ไม่กำหนัด มิใช่เสนาสนะป่า
อาบัติทางกาย ทางวาจา สตรี ๓ พวก มารดา
โกรธแล้วให้ยินดี แช่มชื่น ต้องสังฆาทิเสส
สองคน ผ้าไม่ได้ทำกัปปะ ไม่ให้ ต้องอาบัติหนัก
คาถาที่คิดจนเหงื่อไหล เป็นปัญหาที่ท่านผู้รู้ได้ชี้แจงไว้แล้วแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
ปัญจวรรค
ว่าด้วยหมวด ๕ หมวด
๑. กรรมวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องกรรม
กรรม ๔
[๔๘๒] กรรม(สังฆกรรม) ๔ อย่าง คือ

๑. อปโลกนกรรม ๒. ญัตติกรรม
๓. ญัตติทุติยกรรม ๔. ญัตติจตุตถกรรม

ถาม : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการเท่าไร
ตอบ : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. โดยวัตถุ ๒. โดยญัตติ
๓. โดยอนุสาวนา ๔. โดยสีมา
๕. โดยบริษัท

วัตถุวิบัติ
[๔๘๓] ถาม : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างนี้ คือ กรรมที่ควรทำพร้อมหน้า
แต่สงฆ์ทำลับหลัง กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
กรรมที่ควรสอบถามก่อนทำ แต่สงฆ์ไม่สอบถามก่อนทำ กรรมไม่ชอบธรรม
ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา แต่สงฆ์ไม่ทำตามปฏิญญา กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่า
วิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อ
ว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม กรรมไม่ชอบธรรม
ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติ
โดยวัตถุ
สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติ
โดยวัตถุ
สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่า
วิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่า
วิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติ
โดยวัตถุ
สงฆ์อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ทำอุโบสถในวันมิใช่วันอุโบสถ กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ปวารณาในวันมิใช่วันปวารณา กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
อย่างนี้ กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
ญัตติวิบัติ
[๔๘๔] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ไม่ระบุญัตติ
๕. ตั้งญัตติภายหลัง
กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่างนี้
อนุสาวนาวิบัติ
[๔๘๕] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์
๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ทิ้งวาจาประกาศ
๕. สวดในกาลไม่ควร

กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่างนี้
สีมาวิบัติ
[๔๘๖] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่าง คือ

๑. สมมติสีมาเล็กเกิน ๒. สมมติสีมาใหญ่เกิน
๓. สมมติสีมามีนิมิตขาด ๔. สมมติสีมาใช้เงาเป็นนิมิต
๕. สมมติสีมาไม่มีนิมิต ๖. ภิกษุอยู่ภายนอกสีมาสมมติ
สีมา
๗. สมมติสีมาในแม่น้ำ ๘. สมมติสีมาในทะเล
๙. สมมติสีมาในสระเกิดเอง ๑๐. คาบเกี่ยวสีมาด้วยสีมา
๑๑. ทับสีมาด้วยสีมา

กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่างนี้
บริษัทวิบัติ
[๔๘๗] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
๑. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร
ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อมเพรียงกัน
คัดค้าน
๒. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร
ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อมเพรียง
กันคัดค้าน
๓. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร
ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ภิกษุพร้อมเพรียงกัน
คัดค้าน
๔. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๕. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๖. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๗. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๘. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๙. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๑๐. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
๑๑. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุ
พร้อมเพรียงกันคัดค้าน
๑๒. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ เป็นต้น
[๔๘๘] ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๔ รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและ
ไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๕ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะ
ที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและไม่ควรฉันทะ
แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๑๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะ
ที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและไม่ควรฉันทะ
แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๒๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม
และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
กรรม ๔
[๔๘๙] กรรม ๔ อย่าง คือ (๑) อปโลกนกรรม (๒) ญัตติกรรม
(๓) ญัตติทุติยกรรม (๔) ญัตติจตุตถกรรม
ถาม : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการเท่าไร
ตอบ : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. โดยวัตถุ ๒. โดยญัตติ
๓. โดยอนุสาวนา ๔. โดยสีมา
๕. โดยบริษัท

วัตถุวิบัติ
[๔๙๐] ถาม : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างนี้ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
สงฆ์ให้บัณเฑาะก์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนไถยสังวาสอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้เข้ารีดเดียรถีย์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้สัตว์ดิรัจฉานอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ฆ่ามารดาอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ฆ่าบิดาอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ฆ่าพระอรหันต์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ประทุษร้ายภิกษุณีอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ทำลายสงฆ์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ยังพระโลหิตห้ออุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนสองเพศอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนมีอายุไม่ถึง ๒๐ ปี อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
อย่างนี้ กรรมชื่อว่าย่อมวิบัติโดยวัตถุ
ญัตติวิบัติ
[๔๙๑] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์
๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ไม่ระบุญัตติ
๕. ตั้งญัตติภายหลัง

กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
อนุสาวนาวิบัติ
[๔๙๒] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์
๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ไม่ระบุญัตติ
๕. ตั้งญัตติภายหลัง

กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่างนี้
สีมาวิบัติ
[๔๙๓] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่าง คือ

๑. สมมติสีมาเล็กเกิน ๒. สมมติสีมาใหญ่เกิน
๓. สมมติสีมามีนิมิตขาด ๔. สมมติสีมาใช้เงาเป็นนิมิต
๕. สมมติสีมาไม่มีนิมิต ๖. ภิกษุอยู่ภายนอกสีมาสมมติ
สีมา
๗. สมมติสีมาในแม่น้ำ ๘. สมมติสีมาในทะเล
๙. สมมติสีมาในสระเกิดเอง ๑๐. คาบเกี่ยวสีมาด้วยสีมา
๑๑. ทับสีมาด้วยสีมา

กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่างนี้
บริษัทวิบัติ
[๔๙๔] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัท อย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
๑. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
๒. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
๓. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
๔. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๕. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๖. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๗. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๘. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๙. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๑๐. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมี
จำนวนเท่าไร ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุ
พร้อมเพรียงกันคัดค้าน
๑๑. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมี
จำนวนเท่าไร ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา
ภิกษุพร้อมเพรียงกันคัดค้าน
๑๒. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมี
จำนวนเท่าไร ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่
ภิกษุพร้อมเพรียงกันคัดค้าน
กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
อปโลกนกรรม เป็นต้น
[๔๙๕] ถาม : อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร
ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร
ตอบ : อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะ ๕ อย่าง ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะ ๙ อย่าง
ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ อย่าง ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ อย่าง
ฐานะแห่งอปโลกนกรรม
[๔๙๖] ถาม : อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะ ๕ เหล่าไหน
ตอบ : ฐานะ ๕ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา ภัณฑุกรรม พรหมทัณฑ์
ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๕
อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะ ๕ เหล่านี้
ฐานะแห่งญัตติกรรม
ถาม : ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะ ๙ เหล่าไหน
ตอบ : ฐานะ ๙ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา อุโบสถ ปวารณา
สมมติ การให้ การรับ การเลื่อนปวารณาออกไป ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๙
ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะ ๙ เหล่านี้
ฐานะแห่งญัตติทุติยกรรม
ถาม : ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่าไหน
ตอบ : ฐานะ ๗ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ การถอน
การแสดง ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๗
ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่านี้
ฐานะแห่งญัตติจตุตถกรรม
ถาม : ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่าไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๒. อัตถวสมวรรค
ตอบ : ฐานะ ๗ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ นิคคหะ
สมนุภาสน์ ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๗
ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่านี้
กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ เป็นต้น
[๔๙๗] ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๔ รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและ
ไม่ใช่เป็นผู้ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๒๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม
และไม่ใช่เป็นผู้ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
กรรมวรรคที่ ๑ จบ
๒. อัตถวสวรรค
หมวดว่าด้วยอำนาจประโยชน์ทรงบัญญัติสิกขาบท
[๔๙๘] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการ คือ
๑. เพื่อการยอมรับว่าดีแห่งพระสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งพระสงฆ์
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๒. อัตถวสมวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๒. อัตถวสวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ทั้งหลาย
๒. เพื่อทำลายการแบ่งเป็นพรรคเป็นพวก ของภิกษุผู้มีความปรารถนา
เลวทรามทั้งหลาย
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อความเลื่อมใสของเหล่าชนที่ยังไม่เลื่อมใส
๒. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของเหล่าชนที่เลื่อมใสแล้ว
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๓. ปัญญัตตวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการ คือ
๑. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๒. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการนี้
อัตถวสวรรคที่ ๒ จบ
๓. ปัญญัตตวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องที่ทรงบัญญัติ
ทรงบัญญัติปาติโมกข์ เป็นต้น
[๔๙๙] พระตถาคตทรงบัญญัติปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการ ฯลฯ ทรงบัญญัติปาติโมกขุทเทส ฯลฯ ทรงบัญญัติการงด
ปาติโมกข์ ฯลฯ ทรงบัญญัติปวารณา ฯลฯ ทรงบัญญัติการงดปวารณา ฯลฯ
ทรงบัญญัติตัชชนียกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัตินิยสกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติปัพพาชนีย
กรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติปฏิสารณียกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติอุกเขปนียกรรม ฯลฯ
ทรงบัญญัติการให้ปริวาส ฯลฯ ทรงบัญญัติการชักเข้าหาอาบัติเดิม ฯลฯ ทรง
บัญญัติการให้มานัต ฯลฯ ทรงบัญญัติอัพภาน ฯลฯ ทรงบัญญัติโอสารณียกรรม
ฯลฯ ทรงบัญญัตินิสสารณียกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติการอุปสมบท ฯลฯ ทรงบัญญัติ
อปโลกนกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติญัตติกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติญัตติทุติยกรรม ฯลฯ
ทรงบัญญัติญัตติจตุตถกรรม ฯลฯ
ปัญญัตตวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๔. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
๔. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
หมวดว่าด้วยทรงบัญญัติในเมื่อยังมิได้บัญญัติ
[๕๐๐] ฯลฯ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทที่ยังมิได้บัญญัติ ทรงบัญญัติ
เพิ่มเติมสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ฯลฯ ทรงบัญญัติสัมมุขาวินัย ฯลฯ ทรงบัญญัติ
สติวินัย ฯลฯ ทรงบัญญัติอมูฬหวินัย ฯลฯ ทรงบัญญัติปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ ทรง
บัญญัติเยภุยยสิกา ฯลฯ ทรงบัญญัติตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ ทรงบัญญัติติณวัตถารกะ
แก่สาวกทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ
๑. เพื่อความยอมรับว่าดีแห่งพระสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งพระสงฆ์
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอาสวะอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๔. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๔. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ทั้งหลาย
๒. เพื่อทำลายการแบ่งเป็นพรรคเป็นพวกของภิกษุผู้มีความปรารถนา
เลวทรามทั้งหลาย
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อความเลื่อมใสของเหล่าชนที่ยังไม่เลื่อมใส
๒. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของเหล่าชนที่เลื่อมใสแล้ว
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๒. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
อปัญญัตเตปัญญัตตวรรคที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๕. นวสังคหวรรค
๕. นวสังคหวรรค
หมวดว่าด้วยสังคหะ ๙
สังคหะ ๙ อย่าง
[๕๐๑] สังคหะ มี ๙ อย่าง คือ

๑. วัตถุสังคหะ ๒. วิบัติสังคหะ
๓. อาบัติสังคหะ ๔. นิทานสังคหะ
๕. บุคคลสังคหะ ๖. ขันธสังคหะ
๗. สมุฏฐานสังคหะ ๘. อธิกรณสังคหะ
๙. สมถสังคหะ

ให้บอกเรื่อง
เมื่ออธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ถ้าคู่ความทั้งสองมาถึง สงฆ์พึงให้ทั้งสองบอกเรื่อง
ครั้นให้ทั้งสองบอกเรื่องแล้ว พึงฟังปฏิญญาของทั้งสอง ครั้นฟังปฏิญญาของทั้งสองแล้ว
พึงพูดกับคู่ความทั้งสองว่า เมื่อพวกเราระงับอธิกรณ์นี้แล้ว ท่านทั้งสองจักยินดีหรือ
ถ้าทั้งสองรับว่า ข้าพเจ้าทั้งสองจักยินดี สงฆ์พึงรับอธิกรณ์นั้นไว้ ถ้าบริษัทมีอลัชชีมาก
สงฆ์พึงระงับด้วยอุพพาหิกา ถ้าบริษัทมีคนเลวมาก สงฆ์พึงแสวงหาพระวินัยธร
อธิกรณ์นั้นจะระงับโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ใด สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นั้น
โดยอย่างนั้น
พึงรู้วัตถุ เป็นต้น
พึงรู้วัตถุ พึงรู้โคตร พึงรู้ชื่อ พึงรู้อาบัติ
คำว่า เมถุนธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า อทินนาทาน เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๕. นวสังคหวรรค
คำว่า มนุสสวิคคหะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า อุตตริมนุสสธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า สุกกวิสัฏฐิ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า กายสังสัคคะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ทุฏฐุลลวาจา เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า อัตตกาม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า สัญจริตตะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ให้สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ให้สร้างวิหารใหญ่ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกอันไม่มีมูล เป็นทั้งวัตถุ
เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า อ้างเลสบางอย่างแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นแล้ว ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมี
โทษถึงปาราชิก เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] หัวข้อประจำวรรค
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ว่ายากไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวดสมนุภาสน์ครบ
๓ ครั้ง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ ฯลฯ
คำว่า อาศัยความไม่สนใจถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ทุกกฏ เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
นวสังคหวรรคที่ ๕ จบ
หัวข้อประจำวรรค
อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม
ญัตติจตุตถกรรม วัตถุ ญัตติ อนุสาวนา สีมา บริษัท
พร้อมเพรียง สอบถาม ปฏิญญา ควรสติวินัย
วัตถุ สงฆ์ บุคคล ญัตติ ตั้งญัตติภายหลัง
วัตถุ สงฆ์ บุคคล สวดประกาศ
สวดในกาลไม่ควร สีมาเล็กเกิน สีมาใหญ่เกิน
สีมามีนิมิตขาด สีมาใช้เงาเป็นนิมิต สีมาไม่มีนิมิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] หัวข้อประจำวรรค
อยู่นอกสีมาสมมติสีมา สมมติสีมาในแม่น้ำ
ในทะเล ในสระเกิดเอง คาบเกี่ยวสีมา
ทับสีมาด้วยสีมา กรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ
กรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ
กรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ กรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ
ไม่นำฉันทะมา นำฉันทะมา ผู้เข้ากรรม
ผู้ควรฉันทะ ผู้ควรแก่กรรม
อปโลกนกรรม ๕ ฐานะ ญัตติกรรม ๙ ฐานะ
ญัตติทุติยกรรม ๗ ฐานะ ญัตติจตุตถกรรม ๗ ฐานะ
ยอมรับว่าดี ความผาสุก บุคคลผู้หน้าด้าน
ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก อาสวะ
เวร โทษ ภัย อกุศลธรรม คฤหัสถ์
ผู้ปรารถนาเลวทราม ชุมชนผู้ยังไม่เลื่อมใส
ชุมชนผู้เลื่อมใสแล้ว ความตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม
เอื้อเฟื้อพระวินัย ปาติโมกขุทเทส
งดปาติโมกข์ งดปวารณา ตัชชนียกรรม นิยสกรรม
ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม อุกเขปนียกรรม ปริวาส
อาบัติเดิม มานัต อัพภาน โอสารณา นิสสารณา อุปสมบท
อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม
ยังมิได้ทรงบัญญัติ ทรงบัญญัติซ้ำ สัมมุขาวินัย สติวินัย
อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา
ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ วัตถุ
วิบัติ อาบัติ นิทาน บุคคล
ขันธ์ สมุฏฐาน อธิกรณ์ สมถะ
สังคหะ ชื่อ อาบัติ ดังนี้แล
คัมภีร์ปริวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๒๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ปริโยสานคาถา
ปริโยสานคาถา
ก็พระวินัยธร ผู้เรืองนาม มีปัญญามาก ทรงสุตะ
มีวิจารณญาณ ถามแนวทางของท่านบูรพาจารย์ในที่นั้น ๆ
คิดแล้วให้เขียนข้อพิสดารและสังเขปนี้ไว้ในสายกลาง
ตามแนวทางที่วางไว้ ซึ่งจะนำความสะดวกมาให้แก่เหล่าศิษย์
คัมภีร์นี้เรียกว่า “ปริวาร” มีทุกเรื่องพร้อมทั้งลักษณะ
มีอรรถโดยอรรถในสัทธรรม มีธรรมโดยธรรมในบัญญัติ
ห้อมล้อมพระศาสนา ดุจสาครล้อมรอบชมพูทวีป ฉะนั้น
พระวินัยธรเมื่อไม่รู้คัมภีร์ปริวาร ไฉนจะวินิจฉัยธรรมได้
ความเคลือบแคลงของพระวินัยธรที่เกิดในวิบัติ วัตถุ บัญญัติ
อนุบัญญัติ บุคคล เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ โลกวัชชะ
และปัณณัตติวัชชะ ย่อมขาดสิ้นไปด้วยคัมภีร์ปริวาร
พระเจ้าจักรพรรดิสง่างามในกองทัพ ฉันใด
ไกรสรสง่างามในท่ามกลางฝูงมฤค ฉันใด
พระอาทิตย์แผ่สร้านด้วยรัศมีเจิดจ้า ฉันใด
พระจันทร์ส่องสว่างงดงามในหมู่ดาว ฉันใด
พระพรหมสง่างามในหมู่พรหม ฉันใด
ท่านผู้นำสง่างามในท่ามกลางหมู่ชน ฉันใด
พระสัทธรรมและพระวินัยย่อมสง่างามด้วยคัมภีร์ปริวาร ฉันนั้นแล
จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๒๑ }

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น