Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๘-๑๑ หน้า ๖๐๑ - ๖๖๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘-๑๑ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร



พระวินัยปิฎก
ปริวาร
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
๓. โวหารวรรค
หมวดว่าด้วยการใช้โวหาร
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์
[๔๒๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่ควร
พูดในสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรพูดในสงฆ์
องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคอาบัติ๑ ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานอาบัติ
๓. รู้ประโยคอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานอธิกรณ์

เชิงอรรถ :
๑ ไม่รู้ประโยคอาบัติ คือไม่รู้ว่า อาบัตินี้เกิดจากความพยายามทางกาย อาบัตินี้เกิดจากความพยายามทาง
วาจา (วิ.อ. ๓/๔๒๔/๕๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
๓. ไม่รู้ประโยคอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานอธิกรณ์
๓. รู้ประโยคอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. กล่าวข่มขู่
๒. กล่าวไม่ให้โอกาสผู้อื่น
๓. ไม่โจทตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
๔. ไม่ปรับตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่กล่าวข่มขู่
๒. กล่าวให้โอกาสผู้อื่น
๓. โจทตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
๔. ปรับตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
๕. ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ไม่รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้กรรม ๒. ไม่รู้การทำกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
๓. ไม่รู้วัตถุของกรรม ๔. ไม่รู้วัตรของกรรม
๕. ไม่รู้ความระงับกรรม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้กรรม ๒. รู้การทำกรรม
๓. รู้วัตถุของกรรม ๔. รู้วัตรของกรรม
๕. รู้ความระงับกรรม

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้บัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นอลัชชี

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นลัชชี

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่ฉลาดในพระวินัย

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ฉลาดในพระวินัย

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้ญัตติ ๒. ไม่รู้การทำญัตติ
๓. ไม่รู้อนุสาวนาแห่งญัตติ ๔. ไม่รู้สมถะแห่งญัตติ
๕. ไม่รู้ความระงับแห่งญัตติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้ญัตติ ๒. รู้การทำญัตติ
๓. รู้อนุสาวนาแห่งญัตติ ๔. รู้สมถะแห่งญัตติ
๕. รู้ความระงับแห่งญัตติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้พระสูตร ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระสูตร
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย

๕. ไม่ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้พระสูตร ๒. รู้ข้ออนุโลมพระสูตร
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย

๕. ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้พระธรรม ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้พระธรรม ๒. รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์”
โวหารวรรคที่ ๓ จบ
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่รู้อาบัติ ไม่รู้อธิกรณ์ กล่าวข่มขู่ ไม่ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุรู้อาบัติ กรรม วัตถุ ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุเป็นอลัชชี ไม่ฉลาดในญัตติ ไม่รู้พระสูตร
ไม่รู้พระธรรมไม่ควรพูดในสงฆ์
จัดเป็นวรรคที่ ๓ แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
หมวดว่าด้วยการเปิดเผยความเห็น
ความเห็นที่ไม่ชอบธรรม
[๔๒๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การเปิดเผยความเห็นที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ไม่ชอบธรรมมี ๕
อย่าง คือ
๑. การเปิดเผยความเห็นในอนาบัติ
๒. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
๓. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่แสดงแล้ว
๔. การเปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป
๕. การเปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ
อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ไม่ชอบธรรม
ความเห็นที่ชอบธรรม
อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง คือ
๑. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติ
๒. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
๓. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
๔. การไม่เปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป
๕. การไม่เปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ
อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ชอบธรรม
ความเห็นที่ไม่ชอบธรรม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ไม่ชอบธรรมแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ
๑. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุนานาสังวาส
๒. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
๓. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุมิใช่ปกตัตตะ
๔. การเปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป
๕. การเปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ
อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ไม่ชอบธรรม
ความเห็นที่ชอบธรรม
อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ชอบธรรมนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุสมานสังวาส
๒. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาเดียวกัน
๓. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุผู้เป็นปกตัตตะ
๔. การไม่เปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป
๕. การไม่เปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ
อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ชอบธรรม”
การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้
[๔๒๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การรับประเคนที่ไม่ถูกต้อง มีเท่าไรหนอ
แล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย
๒. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย
๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๕. ของเขาให้ด้วยการโยนให้ ไม่รับประเคนด้วยกายหรือด้วยของเนื่อง
ด้วยกาย
อุบาลี การรับประเคน ๕ อย่างนี้แล ใช้ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
การรับประเคนที่ใช้ได้
อุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้นี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย
๒. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย
๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๕. ของเขาให้ด้วยการโยนให้ รับประเคนด้วยกายหรือด้วยของเนื่องด้วยกาย
อุบาลี การรับประเคน ๕ อย่างนี้แล ใช้ได้”
ของที่ไม่เป็นเดน
[๔๒๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ของที่ไม่เป็นเดนมีเท่าไรหนอแล พระพุทธ-
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ของที่ไม่เป็นเดนมี ๕ อย่าง คือ
๑. ของที่ภิกษุยังมิได้ทำให้เป็น ๒. ของที่ภิกษุยังมิได้รับประเคน
กัปปิยะ
๓. ของที่ภิกษุยังมิได้ยกขึ้นส่งให้ ๔. ของที่อยู่นอกหัตถบาส
๕. ของที่ภิกษุยังมิได้กล่าวว่า ‘ทั้งหมดนั่นพอแล้ว’
อุบาลี ของที่ไม่เป็นเดนนี้มี ๕ อย่างแล
ของที่เป็นเดน
อุบาลี ของที่เป็นเดนมี ๕ อย่าง คือ

๑. ของที่ภิกษุทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว ๒. ของที่ภิกษุรับประเคนแล้ว
๓. ของที่ภิกษุยกขึ้นส่งให้แล้ว ๔. ของที่อยู่ในหัตถบาส

๕. ของที่ภิกษุกล่าวว่า ‘ทั้งหมดนั่นพอแล้ว’
อุบาลี ของที่เป็นเดนนี้มี ๕ อย่างแล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
การห้ามภัตร
[๔๒๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการ ๕
อย่าง คือ

๑. ภิกษุกำลังฉัน ๒. ทายกนำโภชนะมาถวาย
๓. ทายกอยู่ในหัตถบาส ๔. ทายกน้อมของถวาย
๕. ภิกษุบอกห้าม

อุบาลี การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการ ๕ อย่างนี้แล”
ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
[๔๒๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรมนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่ปฏิญญา
ว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับอาบัติสังฆาทิเสสภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
๒. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่ปฏิญญา
ว่าต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับอาบัติปาจิตตีย์ภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
๓. ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่
ปฏิญญาว่าต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
๔. ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ถูก
โจทด้วยอาบัติทุกกฏ แต่ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับ
อาบัติปาราชิกภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
๕. ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ แต่ปฏิญญาว่า
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับอาบัติ
ปาฏิเทสนียะภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
อุบาลี ปฏิญญาตกรณะ ๕ อย่างนี้แล ไม่ชอบธรรม
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
อุบาลี ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรมนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก ปฏิญญาว่า
ต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับอาบัติปาราชิกภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
๒. ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถูกโจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ปฏิญญา
ว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับอาบัติสังฆาทิเสสภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
๓. ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถูกโจทด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ปฏิญญาว่า
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับอาบัติปาจิตตีย์ภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
๔. ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ
ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับอาบัติปาฏิเทสนียะ
ภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
๕. ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ ปฏิญญาว่าต้อง
อาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาต-
กรณะที่ชอบธรรม
อุบาลี ปฏิญญาตกรณะ ๕ อย่างนี้แล ที่ชอบธรรม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
ไม่ควรทำโอกาส
[๔๓๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ขอ
ให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส
สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส องค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่ปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อน
จากศาสนา

๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออกจากอาบัติ
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส
ควรทำโอกาส
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส องค์
๕ คือ

๑. เป็นลัชชี ๒. เป็นบัณฑิต
๓. เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออก
จากอาบัติ

๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อนจากศาสนา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส”
ไม่ควรสนทนาวินัย
[๔๓๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนาวินัยกับภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนาวินัยกับผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
๓. ไม่รู้พระบัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
ควรสนทนาวินัย
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕
คือ

๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน

อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”
เหตุที่ถามปัญหา ๕ อย่าง
[๔๓๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การถามปัญหามีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การถามปัญหานี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุถามปัญหาเพราะความเป็นผู้โง่เขลา งมงาย
๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงถามปัญหา
๓. ถามปัญหาเพราะดูหมิ่น
๔. เป็นผู้ไม่ประสงค์จะรู้จึงถามปัญหา
๕. ถามปัญหาด้วยคำนึงว่า ถ้าเราถามปัญหาแล้ว ภิกษุจักพยากรณ์
ได้ถูกต้อง การพยากรณ์ดังนี้นั้นเป็นสิ่งดี แต่ถ้าเราถามปัญหาแล้ว
เธอจักพยากรณ์ไม่ถูกต้อง เราก็จักพยากรณ์แก่เธออย่างถูกต้อง
อุบาลี การถามปัญหามี ๕ อย่างนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
การอวดอ้างมรรคผล
[๔๓๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การอวดอ้างมรรคผลมีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การอวดอ้างมรรคผลมี ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุอวดอ้างมรรคผลเพราะความเป็นผู้โง่เขลา งมงาย
๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอวดอ้าง
มรรคผล
๓. อวดอ้างมรรคผลเพราะวิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน
๔. อวดอ้างมรรคผลเพราะสำคัญว่าได้บรรลุ
๕. อวดอ้างมรรคผลที่เป็นจริง
อุบาลี การอวดอ้างมรรคผลมี ๕ อย่างนี้แล”
วิสุทธิ
[๔๓๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “วิสุทธิมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี วิสุทธินี้มี ๕ แบบ คือ
๑. ยกนิทานขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้จัด
เป็นวิสุทธิแบบที่ ๑
๒. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดงจบแล้วพึงสวดอุทเทส
ที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๒
๓. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓
ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๓
๔. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓
ขึ้นแสดง ยกอนิยต ๒ ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือ
ด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๔
๕. ยกขึ้นแสดงโดยพิสดารทั้งหมด เป็นวิสุทธิแบบที่ ๕
อุบาลี วิสุทธิมี ๕ แบบนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
โภชนะ ๕
[๔๓๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “โภชนะมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี โภชนะนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ข้าวสุก ๒. ขนมสด
๓. ขนมแห้ง ๔. ปลา
๕. เนื้อ
อุบาลี โภชนะมี ๕ อย่างนี้แล”
ทิฏฐาวิกัมมวรรคที่ ๔ จบ
หัวข้อประจำวรรค
การเปิดเผยความเห็นในอนาบัติ การเปิดเผยความเห็นในอาบัติ
การรับประเคน ของที่เป็นเดน การห้ามภัตร ปฏิญญาตกรณะ
การขอโอกาส การสนทนา การถามปัญหา
การอวดอ้างมรรคผล วิสุทธิ โภชนะ
๕. อัตตาทานวรรค
หมวดว่าด้วยการรับหน้าที่เป็นโจทก์
คุณสมบัติที่ผู้โจทก์พึงพิจารณา๑
[๔๓๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตนเท่าไร จึงจะโจทผู้อื่นได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตน ๕ อย่างแล้วจึงจะโจทผู้อื่น ธรรม ๕ อย่าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๙๙/๒๒๔, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๔๔/๖๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
๑. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เรามีความ
ประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติ
ทางกายที่บริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง คุณสมบัติข้อนี้เรามี
อยู่หรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
ประกอบด้วยความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง
ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญท่านสำเหนียกความประพฤติ
ทางกายเสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
๒. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ ‘เรามี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความ
ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง คุณสมบัติ
ข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีความประพฤติทางวาจา
บริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่เสียหาย
ไม่บกพร่อง ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญท่านสำเหนียก
ความประพฤติทางวาจาเสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบ
โต้อย่างนี้
๓. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ ‘เรามี
เมตตาจิต ไม่อาฆาตพยาบาทเพื่อนพรหมจารีหรือหนอ คุณสมบัติ
ข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีเมตตาจิต ไม่อาฆาต
พยาบาทเพื่อนพรหมจารี ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญ
ท่านมีเมตตาจิตในเพื่อนพรหมจารีเสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้น
ย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
๔. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ ‘เรา
เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีการสั่งสมสุตะหรือหนอ เราได้สดับมาก
ทรงจำได้แม่นยำ คล่องปาก ขึ้นใจ รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงาม
เบื้องต้น งามท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
อรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่หนอ
คุณสมบัติข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ได้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ
มีการสั่งสมสุตะ ได้สดับมาก ทรงจำได้แม่นยำ คล่องปาก ขึ้นใจ
รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงามเบื้องต้น งามท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญท่าน
ศึกษาพระปริยัติเสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
๕. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ ‘เรา
ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกถูกต้อง จัด
ระเบียบถูกต้อง วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะหรือหนอ
คุณสมบัติข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้ทรงจำปาติโมกข์
ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกถูกต้อง จัดระเบียบถูกต้อง
วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะ(ตามข้อ ตามอักษร) ภิกษุ
ผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญท่านศึกษาพระวินัยให้ชำนาญ
เสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาคุณสมบัติภายในตน ๕
อย่างนี้ จึงโจทผู้อื่น”
คุณสมบัติที่โจทก์พึงตั้งไว้ในตน๑
[๔๓๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้ง
คุณสมบัติเท่าไรไว้ในตน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้ง
คุณสมบัติ ๕ อย่างไว้ในตน คุณสมบัติ ๕ อย่าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๔๐๐/๓๐๔, ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๖/๓๐๖, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๖๗/๒๗๗, องฺ.ทสก.
(แปล) ๒๔/๔๔/๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
๑. เราจักโจทโดยกาลที่ควร จักไม่โจทโดยกาลไม่ควร
๒. เราจักโจทด้วยเรื่องจริง จักไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง
๓. เราจักโจทด้วยคำสุภาพ จักไม่โจทด้วยคำหยาบ
๔. เราจักโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ จักไม่โจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็น
ประโยชน์
๕. เราจักมีเมตตาจิตโจท จักไม่มุ่งร้ายโจท
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น ควรตั้งคุณสมบัติ ๕ ประการนี้
ไว้ในตนจึงโจทผู้อื่น”
โจทก์ควรใฝ่ใจถึงธรรม
[๔๓๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจท ผู้อื่นควรใฝ่ใจ
ธรรมเท่าไรไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น ควรใฝ่ใจ
ธรรม ๕ อย่าง ไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น ธรรม ๕ อย่าง คือ
๑. มีความการุญ ๒. มุ่งประโยชน์
๓. มีความเอ็นดู ๔. มุ่งออกจากอาบัติ
๕. ยึดพระวินัยไว้เป็นแนวทาง
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น ควรใฝ่ใจธรรม ๕ อย่างนี้ไว้ในตนแล้ว
โจทผู้อื่น”
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้ทำโอกาส
[๔๓๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส
สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
๔. เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด
๕. ถูกซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส
องค์ของภิกษุผู้ควรให้ทำโอกาส
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส องค์
๕ คือ
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์
๔. เป็นบัณฑิต ฉลาด
๕. ถูกซักถามเข้า อาจตอบข้อซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส”
องค์แห่งอธิกรณ์ที่ตนพึงรับ๑
[๔๔๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับ
อธิกรณ์ประกอบด้วยองค์เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ์
ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘ข้อที่เราประสงค์
จะรับอธิกรณ์นี้ ถึงเวลาที่จะรับอธิกรณ์นี้หรือไม่ถึงหนอ’ ถ้าภิกษุ
พิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘ยังไม่ใช่เวลาที่จะรับอธิกรณนี้ ถึงเวลาหา
มิได้’ ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๙๘/๓๐๐-๓๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
๒. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘ถึงเวลาที่จะรับอธิกรณ์นี้ ไม่
ใช่ยังไม่ถึงเวลา’ ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า ‘ข้อที่เราประสงค์
จะรับอธิกรณ์นี้ อธิกรณ์ที่เราจะรับนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง’ ถ้า
ภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘อธิกรณ์ที่จะรับนี้ไม่จริง ไม่ใช่เรื่องจริง’
ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น
๓. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่
เรื่องไม่จริง’ ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า ‘ข้อที่เราประสงค์จะ
รับอธิกรณ์นี้ อธิกรณ์นี้มีประโยชน์หรือไม่มี’ ถ้าภิกษุพิจารณารู้
อย่างนี้ว่า ‘อธิกรณ์นี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ประกอบด้วย
ประโยชน์’ ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น
๔. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่ใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์’ ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า
‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้จะได้ภิกษุผู้เคยพบเห็น เคยคบหากันมาเป็น
พวกโดยชอบธรรม โดยชอบด้วยวินัยหรือไม่’ ถ้าภิกษุพิจารณารู้
อย่างนี้ว่า ‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้เราจะไม่ได้ภิกษุผู้เคยพบเห็นเคย
คบหากันมาเป็นพวกโดยชอบธรรม โดยชอบด้วยวินัย’ ก็ไม่ควร
รับอธิกรณ์นั้น
๕. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ เราจะ
ได้ภิกษุผู้เคยพบเห็นเคยคบหากันมาเป็นพวกโดยชอบธรรม โดยชอบ
ด้วยวินัย’ ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า ‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้
อธิกรณ์นั้นจะเป็นเหตุให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาท
สงฆ์แตกกัน สงฆ์ร้าวราน สงฆ์แบ่งแยก สงฆ์เป็นต่าง ๆ กันหรือไม่’
ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ อธิกรณ์นั้น
จะเป็นเหตุให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกัน สงฆ์แตกกัน
สงฆ์ร้าวราน สงฆ์แบ่งแยก สงฆ์เป็นต่าง ๆ กัน’ ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ อธิกรณ์นั้นจะไม่
เป็นเหตุให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาท สงฆ์แตกกัน สงฆ์ร้าวราน สงฆ์
แบ่งแยกสงฆ์เป็นต่าง ๆ กัน’ ควรรับอธิกรณ์นั้น
อุบาลี อธิกรณ์ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๕ ที่ภิกษุรับแล้วจักไม่กระทำให้เดือดร้อน
ในภายหลัง ด้วยประการฉะนี้”
องค์ของภิกษุผู้มีอุปการะมาก
[๔๔๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
เป็นผู้มีอุปการะมากแก่พวกภิกษุก่ออธิกรณ์ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้มีอุปการะ
มากแก่พวกภิกษุก่ออธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใดที่งามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง และงามในที่สุด ย่อมสรรเสริญพรหมจรรย์พร้อม
ทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ธรรมทั้งหลายเห็นปานนี้ ย่อมเป็นอัน
เธอสดับมาก ทรงไว้ สั่งสมด้วยวาจาเข้าไปเพ่งด้วยใจ ประจักษ์ชัดดี
แล้วด้วยทิฏฐิ
๓. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
๔. เป็นผู้ตั้งมั่นในพระวินัย ไม่คลอนแคลน
๕. เป็นผู้อาจชี้แจงให้คู่ต่อสู้ในอธิกรณ์ยินยอมเข้าใจ เพ่ง เห็น เลื่อมใส
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้มีอุปการะมากแก่ภิกษุพวกก่อ
อธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง เป็นผู้มีอุปการะมากแก่
พวกภิกษุก่ออธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์
๔. เป็นบัณฑิต ฉลาด
๕. ถูกซักถาม อาจให้คำตอบข้อซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้มีอุปการะมากแก่พวกภิกษุก่อ
อธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง เป็นผู้มีอุปการะมากแก่พวก
ภิกษุก่ออธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้พระบัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้มีอุปการะมากแก่พวกภิกษุ
ก่ออธิกรณ์”
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม
[๔๔๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
ไม่ควรซักถาม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรซักถาม
องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้พระสูตร ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระสูตร
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย

๕. ไม่ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรซักถาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรซักถาม องค์ ๕ คือ
๑. รู้พระสูตร ๒. รู้ข้ออนุโลมพระสูตร
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรซักถาม
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรซักถาม องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้พระธรรม ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรซักถาม
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรซักถาม องค์ ๕ คือ
๑. รู้พระธรรม ๒. รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรซักถาม
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรซักถาม องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้พระบัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรซักถาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรซักถาม องค์ ๕ คือ
๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรซักถาม
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรซักถาม องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรซักถาม
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรซักถาม องค์ ๕ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรซักถาม
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรซักถาม องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรซักถาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๖. ธุดงควรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรซักถาม องค์ ๕ คือ

๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์
๓. รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรซักถาม”
อัตตาทานวรรคที่ ๕ จบ
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุผู้มีความประพฤติทางกาย วาจาบริสุทธิ์
ภิกษุผู้กล่าวโดยกาล มีความการุญ ควรเป็นผู้โจทก์
การทำโอกาส การรับอธิกรณ์ อธิกรณ์และการรับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ภิกษุผู้รู้วัตถุ รู้พระสูตร รู้ธรรม รู้วัตถุอีกนัยหนึ่ง รู้อาบัติ รู้อธิกรณ์
๖. ธุดงควรรค
หมวดว่าด้วยธุดงค์
ถืออยู่ป่า เป็นต้น
[๔๔๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่านี้มี ๕ จำพวก คือ
๑. เพราะเป็นผู้โง่เขลางมงาย จึงอยู่ป่า
๒. เป็นผู้มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอยู่ป่า
๓. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงอยู่ป่า
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงอยู่ป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๖. ธุดงควรรค
๕. เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัดและ
เพราะอาศัยว่า การอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติอันงามนี้ จึงอยู่ป่า
อุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี ๕ จำพวก นี้แล
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตมีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุ
ผู้ถืออยู่โคนไม้มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้ามีเท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่กลางแจ้งมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือทรงผ้า ๓ ผืนมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถือเที่ยวตาม
แถวมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการนั่งมีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ในอาสนะตามที่จัดไว้มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
ฯลฯ ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียวมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อภายหลังมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตรมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตรนี้มี ๕ จำพวก
๕ จำพวก คือ
๑. เพราะเป็นผู้โง่เขลา งมงาย จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๒. เป็นผู้มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงถือ
การฉันเฉพาะในบาตร
๓. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ
จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๕. เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัดและ
เพราะอาศัยว่า การฉันเฉพาะในบาตร มีประโยชน์อันงามนี้ จึงถือ
การฉันเฉพาะในบาตร
อุบาลี ภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตรมี ๕ จำพวก นี้แล”
ธุดงควรรคที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๗. มุสาวาทวรรค
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุถืออยู่ป่า ถือเที่ยวบิณฑบาต ถือผ้าบังสุกุล ถืออยู่โคนไม้
ถืออยู่ป่าช้า ถืออยู่ในที่กลางแจ้ง ถือทรงผ้า ๓ ผืน
ถือเที่ยวตามแถว ถือการนั่ง ถืออยู่ในอาสนะตามที่จัดไว้
ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวาย
เมื่อภายหลัง ถือฉันเฉพาะในบาตร
๗. มุสาวาทวรรค
หมวดว่าด้วยมุสาวาท
[๔๔๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “มุสาวาทมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี มุสาวาทนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติปาราชิกมีอยู่
๒. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติสังฆาทิเสสมีอยู่
๓. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติถุลลัจจัยมีอยู่
๔. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติปาจิตตีย์มีอยู่
๕. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติทุกกฏมีอยู่
อุบาลี มุสาวาทมี ๕ อย่าง นี้แล”
งดอุโบสถหรือปวารณา
[๔๔๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า ‘พอที ภิกษุ อย่า
ทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกัน’ ดังนี้ แล้วจึงทำ
อุโบสถหรือปวารณา พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ งดอุโบสถหรือ
ปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า ‘พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๗. มุสาวาทวรรค
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกัน’ ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา
องค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อน
จากศาสนา

๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออกจากอาบัติ
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์
สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า ‘พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน
อย่าวิวาทกัน’ ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง งดอุโบสถหรือปวารณาในท่าม
กลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า ‘พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน
อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกัน’ ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์
๔. เป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด
๕. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์
สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า ‘พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน
อย่าวิวาทกัน’ ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา”
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้คำซักถาม
[๔๔๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์
ไม่ควรให้คำซักถาม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่ควรให้
คำซักถาม องค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๗. มุสาวาทวรรค
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ไม่รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรให้คำซักถาม
องค์ของภิกษุผู้ควรให้คำซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ควรให้คำซักถาม องค์ ๕ คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ควรให้คำซักถาม”
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ อย่าง
[๔๔๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. เพราะไม่ละอาย ๒. เพราะไม่รู้
๓. เพราะสงสัยแล้วขืนทำ ๔. เพราะสำคัญในของที่ไม่ควร
ว่าควร
๕. เพราะสำคัญในของที่ควรว่าไม่ควร

อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๗. มุสาวาทวรรค
อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ

๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ฟัง
๓. หลับ ๔. เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น
๕. ลืมสติ

อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แล”
เวร ๕๑
[๔๔๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “เวรมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี เวรนี้มี ๕ อย่าง คือ

๑. ฆ่าสัตว์มีชีวิต ๒. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้
๓. ประพฤติผิดในกาม ๔. พูดเท็จ

๕. ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
อุบาลี เวร ๕ นี้แล”
งดเว้นเวร ๕๒
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “เจตนางดเว้นจากเวรมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี เจตนางดเว้นจากเวรนี้มี ๕ คือ
๑. เจตนางดเว้นจากฆ่าสัตว์มีชีวิต
๒. เจตนางดเว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้
๓. เจตนางดเว้นจากประพฤติผิดในกาม
๔. เจตนางดเว้นจากพูดเท็จ
๕. เจตนางดเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุรา
และเมรัย
อุบาลี เจตนางดเว้นจากเวร ๕ นี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๗๔/๒๙๐
๒ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๕/๓๐๒-๓๐๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
ความเสื่อม ๕
[๔๔๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ความเสื่อมมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ความเสื่อมนี้มี ๕ อย่าง คือ

๑. ความเสื่อมญาติ ๒. ความเสื่อมโภคสมบัติ
๓. ความเสื่อมคือโรค ๔. ความเสื่อมศีล
๕. ความเสื่อมทิฏฐิ

อุบาลี ความเสื่อมมี ๕ อย่างนี้แล”
สัมปทา ๕
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ความถึงพร้อมมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ความถึงพร้อมนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ญาติสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งญาติ)
๒. โภคสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งโภคะ)
๓. อาโรคยสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งความไม่มีโรค)
๔. สีลสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งศีล)
๕. ทิฏฐิสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งความเห็น)
อุบาลี ความถึงพร้อมมี ๕ อย่างนี้แล”
มุสาวาทวรรคที่ ๗ จบ
หัวข้อประจำวรรค
การกล่าวมุสาวาท การกล่าวห้าม การกล่าวห้าม
อีกนัยหนึ่ง คำซักถาม อาบัติ อาบัติอีกนัยหนึ่ง
เวร เจตนางดเว้นจากเวร ความเสื่อม สัมปทา
จัดเป็นวรรคที่ ๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค
๘. ภิกขุโนวาทวรรค
หมวดว่าด้วยการให้โอวาทภิกษุณี
องค์สำหรับลงโทษ
[๔๕๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ภิกษุณีสงฆ์ฝ่าย
เดียวพึงลงโทษ คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ คือ
๑. เปิดกายแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
๒. เปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
๓. เปิดองคชาตแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
๔. เปิดไหล่ทั้งสองแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
๕. ชักชวนคฤหัสถ์ให้มาคบหารักกับภิกษุณี
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ
คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ
คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุณีทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุณีทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุณีทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุณีทั้งหลายให้แตกกัน
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ คือ
ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ
คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุณีทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุณีทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุณีทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย
๕. ชักชวนภิกษุให้มาคบหารักกับภิกษุณี
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ คือ
ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น”
องค์สำหรับลงโทษภิกษุณี
[๔๕๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุณีประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์
พึงลงโทษได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงลงโทษ
องค์ ๕ คือ
๑. เปิดกายแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย
๒. เปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย
๓. เปิดองค์กำเนิดแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย
๔. เปิดไหล่ทั้งสองแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย
๕. ชักชวนสตรีคฤหัสถ์ให้มาคบหารักกับภิกษุ
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก องค์ ๕ คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค
๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ชักชวนภิกษุณีให้มาคบหารักกับภิกษุ
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”
องค์ของภิกษุไม่ควรให้โอวาท
[๔๕๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่ควร
ให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรให้โอวาท
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อน
จากศาสนา

๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออกจากอาบัติ
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค
๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์
๔. เป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด
๕. ถูกซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
องค์ ๕ คือ

๑. ประพฤติไม่สมควรทางกาย ๒. ประพฤติไม่สมควรทางวาจา
๓. ประพฤติไม่สมควรทั้งทางกาย ๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย
และวาจา

๕. เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
องค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อ
ความทะเลาะ
๕. เป็นผู้ไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรรับให้โอวาท
[๔๕๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่
ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรรับให้
โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค

๑. ประพฤติไม่สมควรทางกาย ๒. ประพฤติไม่สมควรทางวาจา
๓. ประพฤติไม่สมควรทั้งทางกาย ๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย
และวาจา

๕. เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย องค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กำลังจะเดินทาง
๕. เป็นไข้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย
[๔๕๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง
องค์ ๕ คือ
๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในธรรม)
๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ)
๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)
๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา
๒. เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”
ภิกขุโนวาทวรรคที่ ๘ จบ
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ ภิกษุณีพึงลงโทษอีก ๒ นัย
ลงโทษภิกษุณี ๓ นัย ไม่ให้โอวาท
ไม่ให้โอวาทอีก ๒ นัย ไม่รับให้โอวาทที่ตรัสไว้ ๒ นัย
ภิกษุผู้ควรสนทนาที่ตรัสไว้ ๒ นัย
๙. อุพพาหิกวรรค
หมวดว่าด้วยอุพพาหิกสมมติ
ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
[๔๕๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้ง
ด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ

๑. ไม่ฉลาดในอรรถ ๒. ไม่ฉลาดในธรรม
๓. ไม่ฉลาดในการกล่าวด้วยภาษา ๔. ไม่ฉลาดในกระบวนอักษร
๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ

๑. ฉลาดในอรรถ ๒. ฉลาดในธรรม
๓. ฉลาดในการกล่าวด้วยภาษา ๔. ฉลาดในกระบวนอักษร
๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
๒. เป็นผู้ลบหลู่ ถูกความลบหลู่ครอบงำ
๓. เป็นผู้ตีเสมอ ถูกความตีเสมอครอบงำ
๔. เป็นผู้มีปกติริษยา ถูกความริษยาครอบงำ
๕. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ
๑. ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ
๒. ไม่เป็นผู้ลบหลู่ ไม่ถูกความลบหลู่ครอบงำ
๓. ไม่เป็นผู้ตีเสมอ ไม่ถูกความตีเสมอครอบงำ
๔. ไม่เป็นผู้มีปกติริษยา ไม่ถูกความริษยาครอบงำ
๕. ไม่เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน ไม่มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่น
ได้ง่าย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วย
อุพพาหิกา องค์ ๕ คือ

๑. โกรธ ๒. พยาบาท
๓. เบียดเบียน ๔. ยั่วให้โกรธ
๕. ไม่อดทน ไม่รับอนุสาสนีโดยเคารพ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ

๑. ไม่โกรธ ๒. ไม่พยาบาท
๓. ไม่เบียดเบียน ๔. ไม่ยั่วให้โกรธ
๕. อดทน ไม่รับอนุสาสนีโดยเคารพ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้ให้หลงงมงาย ระลึกไม่ได้
๒. เป็นผู้พูดไม่เปิดโอกาส
๓. ไม่เป็นผู้โจทก์ตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๔. ไม่เป็นผู้ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้เตือนให้ระลึก ไม่ให้หลงงมงาย
๒. เป็นผู้พูดเปิดโอกาส
๓. เป็นผู้โจทก์ตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๔. เป็นผู้ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๕. ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นอลัชชี

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ

๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นลัชชี

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
องค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่ฉลาดในพระวินัย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ฉลาดในพระวินัย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา”
องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา
[๔๕๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล นับ
ว่าเป็นผู้โง่เขลาโดยแท้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้โง่
เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้พระสูตร ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระสูตร
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ไม่ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้
องค์ของภิกษุผู้ฉลาด
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ
๑. รู้พระสูตร ๒. รู้ข้ออนุโลมพระสูตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้
องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้พระธรรม ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้
องค์ของภิกษุผู้ฉลาด
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ
๑. รู้พระธรรม ๒. รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้
องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้พระบัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
องค์ของภิกษุผู้ฉลาด
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ

๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้พระบัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้
องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้
องค์ของภิกษุผู้ฉลาด
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้
องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้
องค์ของภิกษุผู้ฉลาด
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์
๓. รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้”
อุพพาหิกวรรคที่ ๙ จบ
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่ฉลาดในอรรถ มักโกรธ ยั่วให้โกรธ ไม่หลงงมงาย
ลำเอียงเพราะชอบ ไม่ฉลาด ไม่ฉลาดอีก สุตะ ธรรม
วัตถุ อาบัติ อธิกรณ์ ทั้งสองฝ่ายท่านประกาศไว้หมดแล้ว
ขอท่านทั้งหลายจงเข้าใจทั้งฝ่ายดำ และฝ่ายขาว เทอญ
๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
หมวดว่าด้วยการระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์
[๔๕๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่
ควรระงับอธิกรณ์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
๓. รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นอลัชชี

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นลัชชี
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ได้ยินได้ฟังน้อย

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นพหูสูต
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้พระบัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้พระบัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่ฉลาดในพระวินัย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ฉลาดในพระวินัย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. หนักในบุคคล ไม่หนักในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. หนักในสงฆ์ ไม่หนักในบุคคล
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์”
สงฆ์แตกกัน
[๔๕๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “สงฆ์แตกกันด้วยอาการเท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๕ อย่าง อาการ
๕ อย่าง คือ
๑. กรรม ๒. อุทเทส
๓. ชี้แจง ๔. สวดประกาศ
๕. ให้จับสลาก
อุบาลี สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๕ นี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
สังฆราชี และสังฆเภท
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ที่เรียกว่า ‘สังฆราชี สังฆราชี’ ด้วยอาการเพียง
ไรจึงเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท และก็ด้วยอาการเพียงไร เป็นทั้งสังฆราชี
และสังฆเภท พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี อาคันตุกวัตรนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุ
อาคันตุกะทั้งหลาย เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุอาคันตุกะ
ทั้งหลายก็ยังไม่ประพฤติในอาคันตุกวัตร อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี แต่ไม่
เป็นสังฆเภท
อุบาลี อาวาสิกวัตรนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาส
ทั้งหลาย เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้อยู่ประจำใน
อาวาสทั้งหลาย ก็ยังไม่ประพฤติในอาวาสิกวัตร อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
อุบาลี ภัตตัคควัตรนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายตามลำดับผู้แก่กว่า
ตามลำดับราตรี ตามสมควร คือ อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ
เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุนวกะทั้งหลายก็ยังพากัน
กีดกันอาสนะในโรงภัตรสำหรับพระเถระเสีย อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
อุบาลี เสนาสนวัตรในเสนาสนะนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายตาม
ลำดับผู้แก่กว่า ตามลำดับราตรี ตามสมควร เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อย
อย่างนี้แล้ว ภิกษุนวกะทั้งหลายก็ยังพากันกีดกันเสนาสนะสำหรับพระเถระเสีย อุบาลี
แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท
อุบาลี อุโบสถอย่างเดียวกัน ปวารณาอย่างเดียวกัน สังฆกรรมอย่างเดียวกัน
กรรมน้อยใหญ่อย่างเดียวกัน ภายในสีมานั้น เราบัญญัติไว้แล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายทำความแตกแยก
กันแล้ว แบ่งเป็นกลุ่มแยกกันทำอุโบสถ แยกกันทำปวารณา แยกกันทำสังฆกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๑. สังฆเภทกวรรค
แยกกันทำกรรมใหญ่น้อย ภายในสีมานั้นเอง อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นทั้งสังฆราชี
และสังฆเภท”
อธิกรณวูปสมวรรคที่ ๑๐ จบ
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุรู้อาบัติ อธิกรณ์ ภิกษุลำเอียงเพราะชอบ
ภิกษุได้ยินได้ฟังน้อย ภิกษุไม่รู้วัตถุ ไม่ฉลาด
ภิกษุไม่หนักในบุคคล ภิกษุไม่หนักในอามิส สงฆ์แตกกัน
สังฆราชี และสังฆเภท
๑๑. สังฆเภทกวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
องค์ของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์มีโทษ
[๔๕๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ ต้อง
ไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. อำพรางความเห็นด้วยกรรม
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๑. สังฆเภทกวรรค
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
๕. อำพรางความเห็นด้วยอุทเทส
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
๕. ชี้แจงอำพรางความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๑. สังฆเภทกวรรค
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. อำพรางความเห็นด้วยสวดประกาศ
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดใน
อบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
๕. อำพรางความเห็นด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. อำพรางความเห็นชอบด้วยกรรม
ฯลฯ อำพรางความเห็นชอบด้วยอุทเทส ฯลฯ ชี้แจงอำพรางความเห็นชอบ
ฯลฯ อำพรางความเห็นชอบด้วยสวดประกาศ ฯลฯ อำพรางความเห็นชอบด้วย
การให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๑. สังฆเภทกวรรค
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใชวินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใชวินัย
๕. อำพรางความพอใจด้วยกรรม
ฯลฯ อำพรางความพอใจด้วยอุทเทส ฯลฯ ชี้แจงอำพรางความพอใจ ฯลฯ
อำพรางความพอใจด้วยสวดประกาศ ฯลฯ อำพรางความพอใจด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใชวินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. อำพรางสัญญาด้วยกรรม
ฯลฯ อำพรางสัญญาด้วยอุทเทส ฯลฯ ชี้แจงอำพรางสัญญา ฯลฯ อำพราง
สัญญาด้วยสวดประกาศ ฯลฯ อำพรางสัญญาด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้”
สังฆเภทกวรรคที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๒. ทุติยสังฆเภทกวรรค
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุอำพรางความเห็นด้วยกรรม ด้วยอุทเทส
ด้วยการชี้แจง ด้วยการสวดประกาศ ด้วยการให้จับสลาก นี้ รวมเป็น ๕
อิงความเห็น ความเห็นชอบ ความพอใจ
และสัญญา ๓ อย่างนั้น มีนัย แยกเป็น ๕ นัยแล
๑๒. ทุติยสังฆเภทกวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ หมวดที่ ๒
องค์ของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่มีโทษ
[๔๖๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์เท่าไร
หนอแล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่
แก้ไขไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕
ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยกรรม
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ต้องไปเกิดใน
อบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๒. ทุติยสังฆเภทกวรรค
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยอุทเทส
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ชี้แจงไม่อำพรางความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยสวดประกาศ
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๒. ทุติยสังฆเภทกวรรค
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความเห็นชอบด้วยกรรม
ฯลฯ ไม่อำพรางความเห็นชอบด้วยอุทเทส ฯลฯ ไม่ชี้แจงอำพรางความเห็น
ชอบ ฯลฯ ไม่อำพรางความเห็นชอบด้วยสวดประกาศ ฯลฯ ไม่อำพรางความเห็น
ชอบด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๒. ทุติยสังฆเถทกวรรค
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความพอใจด้วยกรรม
ฯลฯ ไม่อำพรางความพอใจด้วยอุทเทส ฯลฯ ไม่ชี้แจงอำพรางความพอใจ
ฯลฯ ไม่อำพรางความพอใจด้วยสวดประกาศ ฯลฯ ไม่อำพรางความพอใจด้วยการ
ให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางสัญญาด้วยกรรม
ฯลฯ ไม่อำพรางสัญญาด้วยอุทเทส ฯลฯ ไม่ชี้แจงไม่อำพรางสัญญา ฯลฯ ไม่
อำพรางสัญญาด้วยสวดประกาศ ฯลฯ ไม่อำพรางสัญญาด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้”
ทุติยสังฆเภทกวรรคที่ ๑๒ จบ
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่อำพรางความเห็นด้วยกรรม ด้วยอุทเทส ด้วยการชี้แจง
ด้วยการสวดประกาศ ด้วยการให้จับสลาก นี้รวมเป็น ๕ อิงความเห็น
ความเห็นชอบ ความพอใจ และสัญญา ๓ อย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น