Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๑-๖ หน้า ๒๔๕ - ๒๙๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑-๖ สุตตันตปิฎกที่ ๐๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค



พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๒
[๒๙๓] ยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดียักษ์ มหาเสนาบดียักษ์ คือใคร
คือ อินทะ ๑ โสมะ ๑ วรุณะ ๑
ภารทวาชะ ๑ ปชาบดี ๑ จันทนะ ๑ กามเสฏฐะ ๑
กินนุฆัณฑุ ๑ นิฆัณฑุ ๑ ปนาทะ ๑
โอปมัญญะ ๑ เทวสูตะ ๑ มาตลิ ๑
จิตตเสนะ ๑ คันธัพพะ ๑ นโฬราชา ๑
ชโนสภะ ๑ สาตาคิระ ๑ เหมวตะ ๑
ปุณณกะ ๑ กรติยะ ๑ คุฬะ ๑
สิวกะ ๑ มุจลินทะ ๑ เวสสามิตตะ ๑
ยุคันธระ ๑ โคปาละ ๑ สุปปเคธะ ๑ หิริ ๑
เนตติ ๑ มันทิยะ ๑ ปัญจาลจันทะ ๑
อาฬวกะ ๑ ปชุนนะ ๑ สุมนะ ๑
สุมุขะ ๑ ทธิมุขะ ๑ มณิ ๑
มานิจระ ๑ ทีฆะ ๑ รวมทั้งเสรีสกะด้วย
พุทธบริษัท พึงกล่าวโทษ ร้องทุกข์ ร้องเรียนต่อยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดียักษ์
มหาเสนาบดียักษ์เหล่านี้ว่า ‘ยักษ์นี้สิง ยักษ์นี้เข้าสิง ยักษ์นี้ระราน ยักษ์นี้รุกราน
ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้บีบคั้น ยักษ์นี้ไม่ยอมปล่อย’
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้แหละ คือ มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ เพื่อ
คุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกาทั้งหลาย
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอทูลลากลับ เพราะ
มีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำมาก พระพุทธเจ้าข้า’ เราได้กล่าวว่า ‘มหาราช
ทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๒
[๒๙๔] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ลุกจากที่ประทับ ไหว้เรา
กระทำประทักษิณแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง แม้พวกยักษ์เหล่านั้นก็ลุกจากที่นั่ง
บางพวกก็ไหว้เรา กระทำประทักษิณแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกสนทนา
ปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับเราแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง
บางพวกประนมมือมาทางที่เราอยู่แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประกาศ
ชื่อและโคตรแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกอันตรธานไปเสียเฉย ๆ ณ ที่
นั้นเอง
[๒๙๕] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ
จงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏา-
นาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์
เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
อาฏานาฏิยสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]
ท้องพระโรงหลังใหม่ชื่ออุพภตกะ

๑๐. สังคีติสูตร
ว่าด้วยการสังคายนา
[๒๙๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมัลละ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จถึงกรุงปาวาของพวกเจ้ามัลละ ทราบว่า สมัยนั้น
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร๑ เขตกรุงปาวานั้น
ท้องพระโรงหลังใหม่ชื่ออุพภตกะ
[๒๙๗] สมัยนั้น ท้องพระโรงหลังใหม่อันมีนามว่า อุพภตกะ ที่พวกเจ้ามัลละ
กรุงปาวา โปรดให้สร้างสำเร็จแล้วได้ไม่นาน ยังไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ หรือใคร ๆ
ที่เป็นมนุษย์เข้าพักอาศัยเลย พวกเจ้ามัลละกรุงปาวาได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาค
เสด็จจาริกในแคว้นมัลละ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จ
ถึงกรุงปาวาโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร เขต
กรุงปาวา ต่อมา พวกเจ้ามัลละกรุงปาวาได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ท้องพระโรงหลังใหม่อันมีนามว่า
อุพภตกะ ที่พวกเจ้ามัลละกรุงปาวา โปรดให้สร้างสำเร็จแล้วได้ไม่นาน ยังไม่มีสมณะ
หรือพราหมณ์ หรือใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์เข้าพักอาศัยเลย ขอพระผู้มีพระภาคทรงใช้
ท้องพระโรงนั้นเป็นปฐมฤกษ์ด้วยเถิด พวกเจ้ามัลละกรุงปาวา จักใช้ภายหลังที่
พระผู้มีพระภาคทรงใช้เป็นปฐมฤกษ์แล้ว ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่
พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงปาวาตลอดกาลนาน”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี
[๒๙๘] ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละกรุงปาวา ทรงทราบพระอาการที่พระผู้มี
พระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
๑ กัมมารบุตร แปลว่าบุตรของนายช่างทอง (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗๖/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]
ท้องพระโรงหลังใหม่ชื่ออุพภตกะ
กระทำประทักษิณ๑แล้ว เสด็จเข้าไปยังท้องพระโรงหลังใหม่ แล้วจึงรับสั่งให้ปูเครื่องลาด
ทั่วท้องพระโรง ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน แล้วเข้าเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ปูเครื่องลาด
ทั่วท้องพระโรง ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว ขอพระผู้มี
พระภาคจงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
[๒๙๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เสด็จไปยังท้องพระโรงพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าสู่ท้อง
พระโรงประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
ฝ่ายภิกษุสงฆ์ล้างเท้าแล้วเข้าสู่ท้องพระโรงนั่งพิงฝาด้านทิศตะวันตก ผินหน้า
ไปทางทิศตะวันออกอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์พระผู้มีพระภาค
ส่วนพระเจ้ามัลละกรุงปาวาทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าสู่ท้องพระโรงประทับ
นั่งพิงฝาทางด้านทิศตะวันออก ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตกอยู่เบื้องพระพักตร์
พระผู้มีพระภาค๒
จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกเจ้ามัลละกรุงปาวาเห็นชัด ชวนใจ
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาเกือบตลอดคืน แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า “วาเสฏฐะทั้งหลาย
ราตรีผ่านไปมากแล้ว๓ ขอท่านทั้งหลายจงกำหนดเวลาสมควร ณ บัดนี้เถิด” พวกเจ้า
มัลละกรุงปาวาทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ทรงพากันลุกขึ้นจากที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป

เชิงอรรถ :
๑ กระทำประทักษิณ หมายถึงเดินเวียนขวา คือเดินพนมมือเวียนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา เป็นการแสดง
ความเคารพ ตามธรรมเนียมสมัยนั้น ต้องเดินเวียนขวา ๓ รอบ โดยมีพระผู้มีพระภาคอยู่ทางขวา เสร็จ
แล้วหันหน้าไปทางพระผู้มีพระภาค เดินถอยหลังจนสุดสายตา คือจนมองไม่เห็นพระผู้มีพระภาค คุกเข่า
ลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วเดินจากไป (วิ.อ. ๑/๑๕/๑๗๖-๑๗๗)
๒ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๔๓/๒๔๖
๓ ราตรีผ่านไปมากแล้ว หมายถึงเกือบสว่าง (ที.ม.อ. ๑๕๑/๑๔๐-๑๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] เรื่องนิครนถ์แตกกัน
[๓๐๐] ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค เมื่อพวกเจ้ามัลละกรุงปาวาเสด็จจากไปแล้ว
ไม่นาน ทรงเหลียวดูหมู่ภิกษุผู้นั่งนิ่งแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า
“สารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะ สารีบุตร จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย
เราเมื่อยหลัง จักขอพักสักหน่อย” ท่านพระสารีบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
จากนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยาโดย
พระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงกำหนด
พระทัยพร้อมจะเสด็จลุกขึ้น
เรื่องนิครนถ์แตกกัน
[๓๐๑] สมัยนั้น นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมแล้วไม่นานที่กรุงปาวา
เพราะการถึงแก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกัน
เป็น ๒ พวก ต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า
“ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมวินัย ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัย
นี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด แต่ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก คำพูดของข้าพเจ้ามีประโยชน์
แต่คำพูดของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อน ท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควร
พูดภายหลัง ท่านกลับพูดก่อน เรื่องที่ท่านเคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิด
คำพูดของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ถ้าท่านมีความสามารถ ก็จงหาทาง
แก้คำพูดหรือเปลื้องตนให้พ้นผิดเถิด” เห็นจะมีแต่การฆ่ากันเท่านั้นที่จะเป็นไปใน
พวกนิครนถ์ผู้เป็นสาวกของนิครนถ์ นาฏบุตร แม้พวกสาวกของนิครนถ์ นาฏบุตร
ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ก็มีอาการเบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอยใน
พวกนิครนถ์ผู้เป็นสาวกของนิครนถ์ นาฏบุตร ทั้งนี้เพราะธรรมวินัยที่นิครนถ์ นาฏบุตร
กล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความ
สงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยที่มี
ที่พำนักถูกทำลายแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๑๖๔ หน้า ๑๒๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑
[๓๐๒] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมแล้วไม่นานที่กรุงปาวา เพราะ
การถึงแก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกัน
เป็น ๒ พวก ฯลฯ เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนักถูกทำลายแล้ว เป็นธรรมวินัย
ที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ก็เป็นอย่างนั้นแหละ ในธรรมวินัยที่
ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ ส่วนธรรมนี้
แลพระผู้มีพระภาคของพวกเราตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นเครื่องนำออกจาก
ทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้
ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข
แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมอะไรเล่าที่พระผู้มีพระภาคของพวกเราตรัสไว้ดีแล้ว
ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาท
กันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไป
เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๑
[๓๐๓] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๑ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้
พรหมจรรย์นี้ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๒
หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมหมวดละ ๑ ประการ คืออะไร
คือ
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยสังขาร
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๑ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้
ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข
แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๑ จบ

สังคีติหมวด ๒
[๓๐๔] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๒ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้
พรหมจรรย์นี้ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คน
หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๒
ธรรมหมวดละ ๒ ประการ คืออะไร
คือ

๑. นาม๑
๒. รูป๒


๑. อวิชชา๓ (ความไม่รู้แจ้ง)
๒. ภวตัณหา๔ (ความทะยานอยากในภพ)



๑. ภวทิฏฐิ๕ (ความเห็นเนื่องด้วยภพ)
๒. วิภวทิฏฐิ๖ (ความเห็นเนื่องด้วยวิภพ)

เชิงอรรถ :
๑ นาม หมายถึงอรูปขันธ์ ๔ คือ (๑) เวทนาขันธ์ (๒) สัญญาขันธ์ (๓) สังขารขันธ์ (๔) วิญญาณขันธ์ และ
นิพพาน (ที.ปา.อ. ๓๐๔/๑๗๐-๑๗๑) และดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๐/๑๐๗, อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๓๑๖-
๑๓๑๗/๓๓๐
๒ รูป หมายถึงมหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ (คืออุปาทายรูป ๒๔)(ที.ปา.อ.๓๐๔/๑๗๑)
และดูเทียบ อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๓๑๖-๑๓๑๗/๓๓๐
๓ อวิชชา หมายถึงความไม่รู้แจ้งในสัจจะ ๔ มีทุกข์ เป็นต้น (ที.ปา.อ. ๓๐๔/๑๗๑)
๔ ภวตัณหา หมายถึงความปรารถนาภพ (ที.ปา.อ. ๓๐๔/๑๗๑) และดูเทียบข้อ ๓๕๒ หน้า ๓๗๐ ในเล่มนี้
๕ ภวทิฏฐิ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ คือเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง (ที.ปา.อ. ๓๐๔/๑๗๑) และดูเทียบ องฺ.ทุก.
(แปล) ๒๐/๙๒/๑๐๘, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๙๖/๕๖๒
๖ วิภวทิฏฐิ หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ คือเห็นว่าอัตตาและโลกขาดสูญ (ที.ปา.อ. ๓๐๔/๑๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๒


๑. อหิริกะ (ความไม่อายบาป)
๒. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป)๑



๑. หิริ (ความอายบาป)
๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป)๒



๑. โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก)
๒. ปาปมิตตตา (ความมีปาปมิตร)๓



๑. โสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่าย)
๒. กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร)๔



๑. อาปัตติกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ)
๒. อาปัตติวุฏฐานกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ)๕

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๐๐/๕๖๓
๒ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๔/๑๐๘
๓ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๕/๑๐๘, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๐๑/๕๖๔
๔ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๖/๑๐๘
๕ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๘/๑๐๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๒


๑. สมาปัตติกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ)
๒. สมาปัตติวุฏฐานกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ)

๑๐

๑. ธาตุกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ)
๒. มนสิการกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ)๑

๑๑

๑. อายตนกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ)
๒. ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท)

๑๒

๑. ฐานกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ)
๒. อัฏฐานกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในอัฏฐานะ)

๑๓

๑. อาชชวะ (ความซื่อตรง)
๒. ลัชชวะ (ความละอาย)๒

๑๔

๑. ขันติ (ความอดทน)
๒. โสรัจจะ (ความเสงี่ยม)๓

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๗/๑๐๙
๒ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๖๕/๑๒๖
๓ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๖๖/๑๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๒
๑๕

๑. สาขัลยะ (ความมีวาจาอ่อนหวาน)
๒. ปฏิสันถาร (การต้อนรับ)๑

๑๖

๑. อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน)
๒. โสเจยยะ (ความสะอาด)๒

๑๗

๑. มุฏฐสัจจะ (ความหลงลืมสติ)
๒. อสัมปชัญญะ (ความไม่รู้ตัว)๓

๑๘

๑. สติ (ความระลึกได้)
๒. สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว)๔

๑๙

๑. อินทริเยสุ อคุตตทวารตา (ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์)
๒. โภชเน อมัตตัญญุตา (ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค)๕

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๖๗/๑๒๖
๒ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๖๘/๑๒๖
๓ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๙/๑๒๙
๔ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๘๐/๑๒๙
๕ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๖๙/๑๒๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๒
๒๐

๑. อินทริเยสุ คุตตทวารตา (ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์)
๒. โภชเน มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการบริโภค)๑

๒๑

๑. ปฏิสังขานพละ (กำลังคือการพิจารณา)
๒. ภาวนาพละ (กำลังคือการเจริญ)๒

๒๒

๑. สติพละ (กำลังคือสติ)
๒. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)๓

๒๓

๑. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ)
๒. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง)๔

๒๔

๑. สมถนิมิต (นิมิตแห่งสมถะ)
๒. ปัคคหนิมิต (นิมิตแห่งความเพียร)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๐/๑๒๗
๒ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๑/๑๒๗
๓ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๒/๑๒๗
๔ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๓/๑๒๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๒
๒๕
๑. ปัคคหะ (ความเพียร)
๒. อวิกเขปะ (ความไม่ฟุ้งซ่าน)

๒๖

๑. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล)
๒. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)๑

๒๗

๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งศีล)
๒. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ)๒

๒๘

๑. สีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล)
๒. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ)๓

๒๙

๑. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ)
๒. ยถาทิฏฐิปธานะ (ความเพียรที่สมควรแก่สัมมาทิฏฐิ)๔

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๔/๑๒๘
๒ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๕/๑๒๘
๓ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๖/๑๒๘
๔ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๗/๑๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๒
๓๐

๑. สังเวชนีเยสุ ฐาเนสุ สังเวคะ (ความสลดใจในที่ที่ควรสลดใจ)
๒. สังวิคคัสสะ โยนิโส ปธานะ (ความเพียรโดยแยบคายของผู้มีความสลดใจ)

๓๑

๑. กุสเลสุ ธัมเมสุ อสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย)
๒. ปธานัสมิง อัปปฏิวานิตา (ความไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร)๑

๓๒

๑. วิชชา (ความรู้แจ้ง)
๒. วิมุตติ (ความหลุดพ้น)๒

๓๓

๑. ขยญาณ (ความรู้ในการสิ้นกิเลส)
๒. อนุปปาทญาณ (ความรู้ในการไม่เกิดกิเลส)

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๒ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้
ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่
คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓

สังคีติหมวด ๓
[๓๐๕] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๓ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมหมวดละ ๓ ประการ คืออะไร
คือ


อกุศลมูล๑ ๓
๑. อกุศลมูลคือโลภะ (ความอยากได้)
๒. อกุศลมูลคือโทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. อกุศลมูลคือโมหะ (ความหลง)


กุศลมูล๒ ๓
๑. กุศลมูลคืออโลภะ (ความไม่อยากได้)
๒. กุศลมูลคืออโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย)
๓. กุศลมูลคืออโมหะ (ความไม่หลง)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๐/๒๗๕
๒ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๐/๒๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓

ทุจริต๑ ๓

๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)๒
๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา)
๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)


สุจริต๓ ๓

๑. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย)
๒. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา)
๓. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ)


อกุศลวิตก๔ ๓

๑. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม)
๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๒/๑๔๐
๒ อีกนัยหนึ่งแปลว่า ความประพฤติชั่วที่เป็นไปทางกาย หรือความประพฤติชั่วทางกายก็ได้ (ที.ปา.อ.
๓๐๕/๑๗๙)
๓ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๒/๑๔๑
๔ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๕/๓๗๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓

กุศลวิตก๑ ๓

๑. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม)
๒. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท)
๓. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)


อกุศลสังกัปปะ ๓

๑. กามสังกัปปะ (ความดำริในทางกาม)
๒. พยาปาทสังกัปปะ (ความดำริในทางพยาบาท)
๓. วิหิงสาสังกัปปะ (ความดำริในทางเบียดเบียน)


กุศลสังกัปปะ๒ ๓

๑. เนกขัมมสังกัปปะ (ความดำริปลอดจากกาม)
๒. อพยาปาทสังกัปปะ (ความดำริปลอดจากพยาบาท)
๓. อวิหิงสาสังกัปปะ (ความดำริปลอดจากการเบียดเบียน)


อกุศลสัญญา ๓

๑. กามสัญญา (ความกำหนดหมายในทางกาม)
๒. พยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายในทางพยาบาท)
๓. วิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายในทางเบียดเบียน)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๕/๓๗๒
๒ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๔๐๒/๓๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓
๑๐
กุศลสัญญา ๓

๑. เนกขัมมสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากกาม)
๒. อพยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากพยาบาท)
๓. อวิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากการเบียดเบียน)

๑๑
อกุศลธาตุ ๓

๑. กามธาตุ (ธาตุคือกาม)
๒. พยาปาทธาตุ (ธาตุคือพยาบาท)
๓. วิหิงสาธาตุ (ธาตุคือวิหิงสา)

๑๒
กุศลธาตุ ๓

๑. เนกขัมมธาตุ (ธาตุคือเนกขัมมะ)
๒. อพยาปาทธาตุ (ธาตุคืออพยาบาท)
๓. อวิหิงสาธาตุ (ธาตุคืออวิหิงสา)

๑๓
ธาตุ ๓ อีกนัยหนึ่ง

๑. กามธาตุ (ธาตุคือกามภพ)
๒. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปภพ)
๓. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปภพ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓
๑๔
ธาตุ ๓ อีกนัยหนึ่ง

๑. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปภพ)
๒. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปภพ)
๓. นิโรธธาตุ (ธาตุคือนิโรธ)

๑๕
ธาตุ๑ ๓ อีกนัยหนึ่ง

๑. หีนธาตุ (ธาตุอย่างหยาบ)
๒. มัชฌิมธาตุ (ธาตุอย่างกลาง)
๓. ปณีตธาตุ (ธาตุอย่างประณีต)

๑๖
ตัณหา ๓

๑. กามตัณหา๒ (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา๓ (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา๔ (ความทะยานอยากในวิภพ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๗/๓๐๐-๓๐๑
๒ กามตัณหา หมายถึงราคะที่มีกามคุณ ๕ เป็นอารมณ์ (ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๒, ที.ปา.ฏีกา ๓๐๕/๒๓๕)
๓ ภวตัณหา หมายถึงราคะในรูปภพและอรูปภพ ราคะอันสหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ หรือความปรารถนาภพ
(ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๒)
๔ วิภวตัณหา หมายถึงราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ (ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓
๑๗
ตัณหา ๓ อีกนัยหนึ่ง

๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกามภพ)
๒. รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูปภพ)
๓. อรูปตัณหา (ความทะยานอยากในอรูปภพ)

๑๘
ตัณหา๑ ๓ อีกนัยหนึ่ง

๑. รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูปภพ)
๒. อรูปตัณหา (ความทะยานอยากในอรูปภพ)
๓. นิโรธตัณหา๒ (ความทะยานอยากในความดับสูญ)

๑๙
สังโยชน์๓ ๓

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)

๒๐
อาสวะ๔ ๓

๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม)
๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๑๘/๕๗๔
๒ นิโรธตัณหา หมายถึงราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ที่ถือว่าภพ คือ ความเป็นมนุษย์ ความเป็นเทพ
ชั้นกามาวจร ความเป็นเทพชั้นรูปาวจรและชั้นอรูปาวจร ขาดสูญ (ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๒, ที.ปา.ฏีกา
๓๐๕/๒๓๖)
๓ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘
๔ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๑๔/๕๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓
๒๑
ภพ ๓

๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร)
๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร)
๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร)

๒๒
เอสนา๑(การแสวงหา) ๓

๑. กาเมสนา (การแสวงหากาม)
๒. ภเวสนา (การแสวงหาภพ)
๓. พรหมจริเยสนา (การแสวงหาพรหมจรรย์)

๒๓
วิธา๒(ความถือตัว) ๓

๑. เสยโยหมัสมีติ วิธา (ถือตัวว่าเราเป็นผู้เลิศกว่าเขา)
๒. สทิโสหมัสมีติ วิธา (ถือตัวว่าเราเป็นผู้เสมอเขา)
๓. หีโนหมัสมีติ วิธา (ถือตัวว่าเราเป็นผู้ด้อยกว่าเขา)

๒๔
อัทธา(กาล) ๓

๑. อตีตอัทธา (อดีตกาล)
๒. อนาคตอัทธา (อนาคตกาล)
๓. ปัจจุปปันนอัทธา (ปัจจุบันกาล)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๑๙/๕๗๕
๒ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๒๐/๕๗๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓
๒๕
อันตะ ๓

๑. สักกายอันตะ (ส่วนสุดคือสักกายะ)
๒. สักกายสมุทยอันตะ (ส่วนสุดคือสักกายสมุทัย)
๓. สักกายนิโรธอันตะ (ส่วนสุดคือสักกายนิโรธ)

๒๖
เวทนา๑ ๓

๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข)
๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข)

๒๗
ทุกขตา๒ ๓

๑. ทุกขทุกขตา (สภาวทุกข์คือทุกข์)
๒. สังขารทุกขตา (สภาวทุกข์คือสังขาร)
๓. วิปริณามทุกขตา (สภาวทุกข์คือความแปรผันไป)

๒๘
ราสี(กอง) ๓

๑. มิจฉัตตนิยตราสี (กองแห่งธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน)
๒. สัมมัตตนิยตราสี (กองแห่งธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน)
๓. อนิยตราสี (กองแห่งธรรมที่ให้ผลไม่แน่นอน)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๔๙/๒๗๐
๒ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๒๗/๓๔๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓
๒๙
ตมะ(ความมืด) ๓
๑. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอดีตกาล
๒. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอนาคตกาล
๓. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภปัจจุบันกาล

๓๐
อรักเขยยะ(ข้อที่พระตถาคตไม่ต้องรักษา) ๓
๑. พระตถาคตทรงมีกายสมาจาร (ความประพฤติทางกาย) บริสุทธิ์ ไม่ทรง
มีกายทุจริตที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า ‘คนอื่น ๆ อย่าได้
รู้กายทุจริตของเรานี้’
๒. พระตถาคตทรงมีวจีสมาจาร (ความประพฤติทางวาจา) บริสุทธิ์ ไม่ทรง
มีวจีทุจริตที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า ‘คนอื่น ๆ อย่าได้รู้
วจีทุจริตของเรานี้’
๓. พระตถาคตทรงมีมโนสมาจาร (ความประพฤติทางใจ) บริสุทธิ์ ไม่ทรงมี
มโนทุจริตที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า ‘คนอื่น ๆ อย่าได้รู้
มโนทุจริตของเรานี้’

๓๑
กิญจนะ๑(เครื่องกังวล) ๓

๑. ราคกิญจนะ (เครื่องกังวลคือราคะ)
๒. โทสกิญจนะ (เครื่องกังวลคือโทสะ)
๓. โมหกิญจนะ (เครื่องกังวลคือโมหะ)

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๒๔/๕๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓
๓๒
อัคคิ๑(ไฟ) ๓

๑. ราคัคคิ (ไฟคือราคะ)
๒. โทสัคคิ (ไฟคือโทสะ)
๓. โมหัคคิ (ไฟคือโมหะ)

๓๓
อัคคิ๒ ๓ อีกนัยหนึ่ง

๑. อาหุเนยยัคคิ (ไฟคืออาหุไนยบุคคล)
๒. คหปตัคคิ (ไฟคือคหบดี)
๓. ทักขิเณยยัคคิ (ไฟคือทักขิไณยบุคคล)

๓๔
รูปสังคหะ ๓

๑. สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป (รูปที่เห็นได้และสัมผัสได้)
๒. อนิทัสสนสัปปฏิฆรูป (รูปที่เห็นไม่ได้ แต่สัมผัสได้)
๓. อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป (รูปที่เห็นไม่ได้และสัมผัสไม่ได้)

๓๕
สังขาร๓ ๓

๑. ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี)
๒. อปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว)
๓. อาเนญชาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๗/๗๒
๒ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๗/๗๓
๓ สังขาร ในที่นี้หมายถึงสภาพที่ปรุงแต่งกิจ(หน้าที่)อันเป็นของตน การให้ผลแก่ตน(ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๙๒,
ที.ปา.ฏีกา ๓๐๕/๒๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓
๓๖
บุคคล ๓

๑. เสขบุคคล (บุคคลผู้ยังต้องศึกษา)
๒. อเสขบุคคล (บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา)
๓. เนวเสขานาเสขบุคคล (บุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็มิใช่
ผู้ไม่ต้องศึกษาก็มิใช่)

๓๗
เถระ ๓

๑. ชาติเถระ (พระเถระโดยชาติ)
๒. ธัมมเถระ (พระเถระโดยธรรม)
๓. สมมติเถระ (พระเถระโดยสมมติ)

๓๘
บุญกิริยาวัตถุ๑ ๓

๑. ทานมัยบุญกิริยาวัตถุ (บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน)
๒. สีลมัยบุญกิริยาวัตถุ (บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล)
๓. ภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุ (บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา)

๓๙
โจทนาวัตถุ(เหตุที่ใช้โจท) ๓

๑. ทิฏเฐนะ (โจทด้วยได้เห็น)
๒. สุเตนะ (โจทด้วยได้ยินได้ฟัง)
๓. ปริสังกายะ (โจทด้วยความระแวงสงสัย)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๓๖/๒๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓
๔๐
กามุปปัตติ(การเกิดในกามภพ) ๓
๑. สัตว์ที่มีกามปรากฏเฉพาะหน้ามีอยู่ สัตว์เหล่านั้นเป็นไปตามอำนาจของ
กามทั้งหลายที่ปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เช่น มนุษย์ เทพบางพวกและ
วินิปาติกะบางพวก๑ นี้เป็นกามุปปัตติที่ ๑
๒. สัตว์ที่เนรมิตกามคุณได้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นเนรมิตแล้ว เป็นไปตามอำนาจ
ของกามทั้งหลาย เช่น พวกเทพชั้นนิมมานรดี นี้เป็นกามุปปัตติที่ ๒
๓. สัตว์ที่ผู้อื่นเนรมิตกามคุณให้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นเป็นไปตามอำนาจของ
กามคุณที่ผู้อื่นเนรมิตให้แล้ว เช่น พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี นี้เป็น
กามุปปัตติที่ ๓

๔๑
การเข้าถึงความสุข ๓
๑. สัตว์พวกที่ทำความสุขให้เกิดขึ้น ๆ แล้วอยู่เป็นสุขมีอยู่ เช่น พวกเทพ
ชั้นพรหมกายิกา นี้เป็นการเข้าถึงความสุขที่ ๑
๒. สัตว์พวกที่เอิบอิ่ม อิ่มเอม บริบูรณ์ เปี่ยมล้นด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์
เหล่านั้นบางครั้งบางคราวก็เปล่งอุทานว่า ‘สุขหนอ ๆ’ เช่น พวกเทพ
ชั้นอาภัสสระ นี้เป็นการเข้าถึงความสุขที่ ๒
๓. สัตว์พวกที่เอิบอิ่ม อิ่มเอม บริบูรณ์ เปี่ยมล้นด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์
เหล่านั้นยินดีเสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น พวกเทพ
ชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นการเข้าถึงความสุขที่ ๓

เชิงอรรถ :
๑ วินิปาติกะบางจำพวก หมายถึงสัตว์จำพวกปลาและเต่า เป็นต้นที่มีที่อยู่ประจำของตน ยกเว้นสัตว์นรก
(ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓
๔๒
ปัญญา ๓

๑. เสขปัญญา (ปัญญาของบุคคลผู้ยังต้องศึกษา)
๒. อเสขปัญญา (ปัญญาของบุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา)
๓. เนวเสขานาเสขปัญญา (ปัญญาของบุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็มิใช่
ผู้ไม่ต้องศึกษาก็มิใช่)

๔๓
ปัญญา๑ ๓ อีกนัยหนึ่ง

๑. จินตามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการคิด)
๒. สุตมยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการฟัง)
๓. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการอบรม)

๔๔
อาวุธ๒ ๓

๑. สุตาวุธ (อาวุธคือสุตะ)
๒. ปวิเวกาวุธ (อาวุธคือปวิเวก)
๓. ปัญญาวุธ (อาวุธคือปัญญา)

๔๕
อินทรีย์๓ ๓

๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจธรรม
ที่ยังมิได้รู้)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๖๘/๕๐๓-๕๐๔
๒ อาวุธ แปลว่าเครื่องมือที่ใช้ป้องกันหรือต่อสู้ ในที่นี้หมายถึงอาวุธในทางธรรม ๓ ประการ คือ (๑) สุตะ
หมายถึงพระพุทธพจน์ (๒) ปวิเวกะ หมายถึงวิเวก(ความสงัด) ๓ ประการ คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และ
อุปธิวิเวก (๓) ปัญญา หมายถึงปัญญาทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ
๓ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๔๙๓/๓๐๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๒๐/๒๐๑-๒๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓
๒. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาที่รู้ทั่วถึงได้แก่ โสดาปัตติ-
ผลญาณ)
๓. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว)

๔๖
จักขุ๑ ๓

๑. มังสจักขุ (ตาเนื้อ)
๒. ทิพพจักขุ (ตาทิพย์)
๓. ปัญญาจักขุ (ตาคือปัญญา)

๔๗
สิกขา๒ ๓

๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง)
๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง)
๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง)

๔๘
ภาวนา๓ ๓

๑. กายภาวนา (การอบรมกาย)
๒. จิตตภาวนา (การอบรมจิต)
๓. ปัญญาภาวนา (การอบรมปัญญา)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๑/๕๕
๒ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๘๒/๓๐๙
๓ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๗๙/๑๔๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓
๔๙
อนุตตริยะ ๓
๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
๒. ปฏิปทานุตตริยะ (การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม)
๓. วิมุตตานุตตริยะ (การหลุดพ้นอันยอดเยี่ยม)

๕๐
สมาธิ๑ ๓

๑. สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจาร)
๒. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร)
๓. อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกและไม่มีวิจาร)

๕๑
สมาธิ๒ ๓ อีกนัยหนึ่ง

๑. สุญญตสมาธิ (สมาธิที่พิจารณาเห็นความว่าง)
๒. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิที่พิจารณาธรรมอันไม่มีนิมิต)
๓. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิที่พิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา)

๕๒
โสเจยยะ๓(ความสะอาด) ๓

๑. กายโสเจยยะ (ความสะอาดทางกาย)
๒. วจีโสเจยยะ (ความสะอาดทางวาจา)
๓. มโนโสเจยยะ (ความสะอาดทางใจ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๘๔/๔๐๙
๒ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๘๔/๔๐๙
๓ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๑/๓๖๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓
๕๓
โมเนยยะ๑(ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี) ๓

๑. กายโมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางกาย)
๒. วจีโมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางวาจา)
๓. มโนโมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางใจ)

๕๔
โกสัลละ๒(ความเป็นผู้ฉลาด) ๓

๑. อายโกสัลละ (ความเป็นผู้ฉลาดในความเจริญ)
๒. อปายโกสัลละ (ความเป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม)
๓. อุปายโกสัลละ๓ (ความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย)

๕๕
มทะ(ความมัวเมา) ๓

๑. อาโรคยมทะ (ความมัวเมาในความไม่มีโรค)
๒. โยพพนมทะ (ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว)
๓. ชีวิตมทะ (ความมัวเมาในชีวิต)

๕๖
อธิปไตย๔ ๓

๑. อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่)
๒. โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่)
๓. ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๓/๓๖๙
๒ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๗๑/๕๐๕
๓ อุปายโกสัลละ หมายถึงปัญญาที่รู้จักวิธีทำการงานทั้งฝ่ายเสื่อมและฝ่ายเจริญ (ที.ปา.ฏีกา ๓๐๕/๒๗๐)
๔ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๐/๒๐๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๓
๕๗
กถาวัตถุ ๓

๑. กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ล่วงไปแล้ว ได้มีแล้วอย่างนี้ ปรารภกาลส่วนอดีต
๒. กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ยังมาไม่ถึง จักมีอย่างนี้ ปรารภกาลส่วนอนาคต
๓. กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าบัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้ ปรารภกาล
ส่วนปัจจุบันนี้

๕๘
วิชชา๑ ๓

๑. วิชชาคือปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความหยั่งรู้ที่ทำให้ระลึกชาติก่อนได้)
๒. วิชชาคือจุตูปปาตญาณ (ความหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย)
๓. วิชชาคืออาสวักขยญาณ (ความหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย)

๕๙
วิหารธรรม(ธรรมเป็นเครื่องอยู่) ๓

๑. ทิพพวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทพ)
๒. พรหมวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม)
๓. อริยวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ)

๖๐
ปาฏิหาริย์๒ ๓

๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๐/๒๓๐-๒๓๑
๒ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๑/๒๓๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๓ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๓ จบ

สังคีติหมวด ๔
[๓๐๖] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๔ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมหมวดละ ๔ ประการ คืออะไร
คือ


สติปัฏฐาน๑(ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ) ๔
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๗๒/๓๐๑, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๗๔/๓๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔

สัมมัปปธาน๑(ความเพียรชอบ) ๔
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำ
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความ
ดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว


อิทธิบาท๒(คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ) ๔
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจาก
ฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์)
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจาก
วิริยะและความเพียรสร้างสรรค์)
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจาก
จิตตะและความเพียรสร้างสรรค์)
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิด
จากวิมังสาและความเพียรสร้างสรรค์)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๗๕/๓๙๐
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๗๖/๓๙๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔

ฌาน๑ ๔
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข’
๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่


[๓๐๗] สมาธิภาวนา๒ ๔
๑. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็น
สุขในปัจจุบัน
๒. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณ-
ทัสสนะ๓
๓. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติ-
สัมปชัญญะ
๔. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
อาสวะ
สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน เป็นอย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๒๒๖-๒๓๒/๗๕-๗๗
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๑/๖๘-๖๙
๓ ญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุญาณ (ที.ปา.อ. ๓๐๗/๒๐๓, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๑/๓๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่
เป็นสุขในปัจจุบัน
สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มนสิการถึงอาโลกสัญญา (ความกำหนดหมายใน
แสงสว่าง) อธิษฐานทิวาสัญญา (ความกำหนดว่ากลางวัน) ว่า ‘กลางคืนเหมือน
กลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่าง๑อยู่’
สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ
สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้ง
เวทนาที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป ...
รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป สมาธิภาวนานี้ที่บุคคล
เจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ
สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีปกติเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปใน
อุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับ
แห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ... สังขารเป็นอย่างนี้ ...
วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณ
เป็นอย่างนี้’ สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

เชิงอรรถ :
๑ อบรมจิตให้สว่าง ในที่นี้หมายถึงการเข้าสมาบัติโดยมีฌานเป็นฐาน (ที.ปา.อ. ๓๐๗/๒๐๓, องฺ.จตุกฺก.อ.
๒/๔๑/๓๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔

[๓๐๘] อัปปมัญญา๑ ๔
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. มีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน๒ ทิศเบื้องล่าง๓ ทิศเฉียง๔ แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๕ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
๒. มีกรุณาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถาน ด้วยมุทิตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
๓. มีมุทิตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถาน ด้วยกรุณาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
๔. มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๒๕/๑๙๐-๑๙๓
๒ ทิศเบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๓ ทิศเบื้องล่าง หมายถึงนรกและนาค (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๔ ทิศเฉียง หมายถึงทิศย่อยของทิศใหญ่หรือทิศรอง (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๕ มหัคคตะ หมายถึงอารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ชั้นรูปาวจร และชั้นอรูปาวจร เพราะมีผลที่สามารถข่ม
กิเลสได้ และหมายถึงฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาอันยิ่งใหญ่ (อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔

อรูป๑ ๔
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดย
ประการทั้งปวง
๒. ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
๓. ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน-
ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่
๔. ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่


อปัสเสนธรรม๒(ธรรมเป็นดุจพนักพิง) ๔
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาแล้วเสพอย่างหนึ่ง
๒. พิจารณาแล้วอดกลั้นอย่างหนึ่ง
๓. พิจารณาแล้วเว้นอย่างหนึ่ง
๔. พิจารณาแล้วบรรเทาอย่างหนึ่ง

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๒๙/๗๕
๒ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๐/๔๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔

[๓๐๙] อริยวงศ์๑ ๔
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. สันโดษด้วยจีวรตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวร
ตามแต่จะได้ ไม่มีการแสวงหาอันไม่สมควรเพราะจีวรเป็นเหตุ ไม่ได้
จีวรก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง
มองเห็นโทษ๒ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่ และไม่ยก
ตนข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยจีวรตามแต่จะได้นั้น ภิกษุใด
ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคงในความสันโดษด้วย
จีวรตามแต่จะได้นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้กันว่า
ล้ำเลิศ เป็นของเก่า
๒. สันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษ
ด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้ ไม่มีการแสวงหาอันไม่สมควรเพราะ
บิณฑบาตเป็นเหตุ ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็
ไม่ติดใจ ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่อง
สลัดออก ฉันอยู่ และไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วย
บิณฑบาตตามแต่จะได้นั้น ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ
มีสติมั่นคงในความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้นั้น ภิกษุนี้
เราเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ เป็นของเก่า

เชิงอรรถ :
๑ อริยวงศ์ แปลว่าวงศ์ของพระอริยะ แบบแผนของพระอริยะ และประเพณีของพระอริยะ หมายถึงวงศ์ของ
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า (ที.ปา.อ. ๓๐๙/๒๐๙, องฺ.จตุกฺก.อ.
๒/๒๘/๓๑๑) ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๘/๔๓-๔๔
๒ มองเห็นโทษ ในที่นี้หมายถึงมองเห็นการต้องอาบัติเพราะการแสวงหาไม่สมควร และการบริโภคลาภ
ที่ติดใจ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๘/๓๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
๓. สันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วย
เสนาสนะตามแต่จะได้นั้น ไม่มีการแสวงหาอันไม่สมควรเพราะเสนาสนะ
เป็นเหตุ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็ไม่ติดใจ ไม่
หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่
และไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้นั้น
ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคงในความสันโดษ
ด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้
กันว่าล้ำเลิศ เป็นของเก่า
๔. มีปหานะ (การละ) เป็นที่ยินดี ยินดีในปหานะ มีภาวนาเป็นที่ยินดี
ยินดีในภาวนาและไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่ยินดี
ยินดีในปหานะ เพราะความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดี ยินดีในภาวนานั้น
ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคงในปหานะและ
ภาวนานั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ
เป็นของเก่า

๑๐
[๓๑๐] ปธาน๑๔

๑. สังวรปธาน (เพียรระวัง)
๒. ปหานปธาน (เพียรละ)
๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๔/๒๔-๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
สังวรปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ๑ ไม่แยกถือ๒ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาป
อกุศลธรรม คืออภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา) และโทมนัส (ความทุกข์
ใจ) ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ...
ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์
ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อ
ไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า สังวรปธาน
ปหานปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้หมด
สิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่ยินดีวิหิงสาวิตกที่
เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้
หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า ปหานปธาน
ภาวนาปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความระลึกได้) ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ๓ น้อมไปในโวสสัคคะ
เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเฟ้นธรรม) ... เจริญ

เชิงอรรถ :
๑ รวบถือ (นิมิตฺตคฺคาหี) คือมองภาพรวม โดยเห็นเป็นหญิงหรือเป็นชาย เห็นว่ารูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่น
หอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม เป็นอารมณ์ ที่น่าปรารถนาด้วยอำนาจฉันทราคะ (อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/
๔๕๖-๔๕๗)
๒ แยกถือ (อนุพฺยญฺชนคฺคาหี) คือ มองแยกแยะเป็นส่วน ๆ ไป ด้วยอำนาจกิเลส เช่นเห็นมือ เท้า ว่าสวย
หรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้ม หัวเราะ การพูด การเหลียวซ้าย แลขวา ว่าน่ารัก หรือไม่น่ารัก ถ้าเห็นว่า
สวยน่ารัก ก็เป็นอิฏฐารมณ์ ถ้าเห็นว่าไม่สวยไม่น่ารัก ก็เป็นอนิฏฐารมณ์ (อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/๔๕๖-๔๕๗)
๓ วิเวก (ความสงัด) วิราคะ (ความคลายกำหนัด) นิโรธ (ความดับ) ทั้ง ๓ คำนี้ เป็นชื่อเรียกนิพพาน
(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๔/๒๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์
(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่ง
การตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง) ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน
อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ตามรักษาสมาธินิมิต ที่ชัดดีซึ่งเกิดขึ้นแล้ว คือ
อัฏฐิกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน)
ปุฬุวกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด) วินีลกสัญญา
(กำหนดหมายซากศพที่มีสีเขียวคล้ำคละด้วยสีต่าง ๆ) วิปุพพกสัญญา (กำหนดหมาย
ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ตามที่ที่แตกปริออก) วิจฉิททกสัญญา (กำหนดหมาย
ซากศพที่ขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน) อุทธุมาตกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่เน่า
พองขึ้นอืด) นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน

๑๑
ญาณ (ความรู้) ๔

๑. ธัมมญาณ (ความรู้ในธรรม)
๒. อันวยญาณ (ความรู้ในการคล้อยตาม)
๓. ปริยญาณ (ความรู้ในการกำหนดจิตของผู้อื่น)
๔. สัมมติญาณ (ความรู้ในสมมติ)

๑๒
ญาณ ๔ อีกนัยหนึ่ง

๑. ทุกขญาณ (ความรู้ในทุกข์)
๒. ทุกขสมุทยญาณ (ความรู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
๓. ทุกขนิโรธญาณ (ความรู้ในความดับแห่งทุกข์)
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ (ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์)

๑๓
[๓๑๑] องค์แห่งการบรรลุโสดาบัน๑ ๔

๑. สัปปุริสสังเสวะ (การคบหาสัตบุรุษ)
๒. สัทธัมมัสสวนะ (การฟังพระสัทธรรม)
๓. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย)
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)

๑๔
องค์แห่งพระโสดาบัน๒ ๔
พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้ง
โลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นพระศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระ
ธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วย
ตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อัน
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๔๘/๓๖๘
๒ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๕๙/๑๐๓, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๒/๘๖-๘๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง
ปฏิบัติสมควร ได้แก่ พระอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่การ
ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก’
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท อันท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ

๑๕
สามัญญผล (ผลแห่งความเป็นสมณะ) ๔
๑. โสดาปัตติผล ๒. สกทาคามิผล
๓. อนาคามิผล ๔. อรหัตตผล

๑๖
ธาตุ๑ ๔
๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)

๑๗
อาหาร ๔
๑. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว) ทั้งหยาบและละเอียด
๒. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ)
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา)
(ตกหล่น ๔. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ) - ธัมมโชติ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๗/๒๔๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
๑๘
วิญญาณฐิติ ๔

๑. วิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์) ที่เข้าถึงรูป เมื่อดำรงอยู่ ก็มีรูปเป็น
อารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ได้
๒. วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา ...
๓. วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา ...
๔. วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อดำรงอยู่ ก็มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขาร
เป็นที่ตั้ง เข้าไปเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญ งอกงาม
ไพบูลย์ได้

๑๙
การถึงอคติ๑(ความลำเอียง) ๔

๑. ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ)
๒. โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง)
๓. โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง)
๔. ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)

๒๐
เหตุเกิดขึ้นแห่งตัณหา๒ ๔

๑. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุ
๒. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ
๓. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ
๔. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะปัจจัยที่ดีและดีกว่าเป็นเหตุ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗/๒๙
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙/๑๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
๒๑
ปฏิปทา๑ ๔

๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก และรู้ได้ช้า)
๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว)
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า)
๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก และรู้ได้เร็ว)

๒๒
ปฏิปทา๒ ๔ อีกนัยหนึ่ง

๑. อักขมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ไม่อดทน)
๒. ขมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่อดทน)
๓. ทมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ข่มใจ)
๔. สมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ระงับ)

๒๓
ธรรมบท๓ ๔

๑. ธรรมบทคืออนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา)
๒. ธรรมบทคืออพยาบาท (ความไม่คิดร้าย)
๓. ธรรมบทคือสัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
๔. ธรรมบทคือสัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๖๑/๒๒๖
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๖๔/๒๓๐
๓ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๙/๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
๒๔
การสมาทานธรรม๑(การถือปฏิบัติธรรม) ๔

๑. การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
๒. การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากในอนาคต
๓. การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
๔. การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต

๒๕
ธรรมขันธ์๒ ๔

๑. สีลขันธ์ (กองศีล) ๒. สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ)
๓. ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา) ๔. วิมุตติขันธ์ (กองวิมุตติ)

๒๖
พละ ๔

๑. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) ๒. สติพละ (กำลังคือสติ)
๓. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ) ๔. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

๒๗
อธิษฐาน(ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ) ๔

๑. ปัญญาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือปัญญา)
๒. สัจจาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือสัจจะ)
๓. จาคาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือจาคะ)
๔. อุปสมาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคืออุปสมะ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๔๗๕/๔๒๓
๒ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๕๘/๒๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
๒๘
[๓๑๒] ปัญหาพยากรณ์๑ ๔

๑. เอกังสพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยนัยเดียว)
๒. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม)
๓. วิภัชชพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรแยกตอบ)
๔. ฐปนียปัญหา (ปัญหาที่ควรงดตอบ)

๒๙
กรรม๒ ๔

๑. กรรมดำ มีวิบากดำ
๒. กรรมขาว มีวิบากขาว
๓. กรรมทั้งดำและขาว มีวิบากทั้งดำและขาว
๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม

๓๐
สัจฉิกรณียธรรม๓(ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง) ๔

๑. ปุพเพนิวาส ควรทำให้แจ้งด้วยสติ
๒. การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ
๓. วิโมกข์ ๘ ควรทำให้แจ้งด้วยกาย
๔. ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๒/๗๐
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๓๒/๓๔๕
๓ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๘๙/๒๗๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
๓๑
โอฆะ๑(ห้วงน้ำ) ๔

๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม)
๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ)
๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ)
๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา)

๓๒
โยคะ๒(สภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๔

๑. กามโยคะ (โยคะคือกาม)
๒. ภวโยคะ (โยคะคือภพ)
๓. ทิฏฐิโยคะ (โยคะคือทิฏฐิ)
๔. อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา)

๓๓
วิสังโยคะ๓(ความพราก) ๔

๑. กามโยควิสังโยคะ (ความพรากจากกามโยคะ)
๒. ภวโยควิสังโยคะ (ความพรากจากภวโยคะ)
๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ (ความพรากจากทิฏฐิโยคะ)
๔. อวิชชาโยควิสังโยคะ (ความพรากจากอวิชชาโยคะ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๓๘/๒๓๙
๒ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๗/๕๘๘
๓ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐/๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๒ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น