Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๑-๗ หน้า ๒๙๓ - ๓๔๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑-๗ สุตตันตปิฎกที่ ๐๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค



พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
๓๔
คันถะ๑(เครื่องร้อยรัด) ๔

๑. อภิชฌากายคันถะ (กายคันถะคืออภิชฌา)
๒. พยาปาทกายคันถะ (กายคันถะคือพยาบาท)
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ (กายคันถะคือสีลัพพตปรามาส)
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ (กายคันถะคือความยึดถือว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง)

๓๕
อุปาทาน๒(ความถือมั่น) ๔

๑. กามุปาทาน (ความถือมั่นในกาม)
๒. ทิฏฐุปาทาน (ความถือมั่นในทิฏฐิ)
๓. สีลัพพตุปาทาน (ความถือมั่นในศีลพรต)
๔. อัตตวาทุปาทาน (ความถือมั่นในวาทะว่ามีอัตตา)

๓๖
โยนิ๓(กำเนิด) ๔

๑. อัณฑชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่)
๒. ชลาพุชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์)
๓. สังเสทชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในเถ้าไคล)
๔. โอปปาติกโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๗๕/๑๐๒-๑๐๓
๒ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๘/๕๘๘
๓ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๕๒/๑๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
๓๗
การก้าวลงสู่ครรภ์๑ ๔
๑. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ไม่รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา ไม่รู้สึกตัว
ขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา (และ) ไม่รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์ของ
มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๑
๒. สัตว์บางชนิดในโลกนี้รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา แต่ไม่รู้สึก
ตัวขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา ไม่รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์ของ
มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๒
๓. สัตว์บางชนิดในโลกนี้รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา รู้สึกตัวขณะ
อยู่ในครรภ์ของมารดา แต่ไม่รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์ของมารดา
นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๓
๔. สัตว์บางชนิดในโลกนี้รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา รู้สึกตัวขณะ
อยู่ในครรภ์ของมารดา (และ) รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์ของมารดา
นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๔

๓๘
การได้อัตภาพ๒ ๔
๑. การได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนดำเนินไป มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป
๒. การได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป มิใช่สัญเจตนาของตนดำเนินไป
๓. การได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนและสัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป
๔. การได้อัตภาพที่มิใช่สัญเจตนาของตนและมิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๑๔๗ หน้า ๑๐๗ ในเล่มนี้
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๑/๒๔๐-๒๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
๓๙
[๓๑๓] ทักขิณาวิสุทธิ๑(ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา) ๔

๑. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก (ผู้ให้) แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
(ผู้รับ)
๒. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
๓. ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
๔. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก

๔๐
สังคหวัตถุ๒(ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว) ๔

๑. ทาน (การให้)
๒. เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก)
๓. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์)
๔. สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ)

๔๑
อนริยโวหาร(วิธีการพูดของผู้มิใช่อริยะ) ๔

๑. มุสาวาท (พูดเท็จ)
๒. ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด)
๓. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ)
๔. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๗๘/๑๒๓
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๒/๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
๔๒
อริยโวหาร(วิธีการพูดของผู้เป็นอริยะ) ๔

๑. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ)
๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด)
๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ)
๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ)

๔๓
อนริยโวหาร๑ ๔ อีกนัยหนึ่ง

๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้

๔๔
อริยโวหาร๒ ๔ อีกนัยหนึ่ง

๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๐/๓๖๘
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๑/๓๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
๔๕
อนริยโวหาร๑ ๔ อีกนัยหนึ่ง
๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้

๔๖
อริยโวหาร๒ ๔ อีกนัยหนึ่ง
๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้

๔๗
[๓๑๔] บุคคล๓ ๔
๑. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
๒. เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๓. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๔. เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน เขาผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้
ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุขมีตนอันประเสริฐอยู่ในปัจจุบันเทียว

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๒/๓๖๙
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๓/๓๗๐
๓ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๐๓, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๗๔-๑๗๗/๒๐๖-๒๐๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔
๔๘
บุคคล๑ ๔ อีกนัยหนึ่ง

๑. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๒. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
๓. เป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง และไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๔. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง และปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น

๔๙
บุคคล๒ ๔ อีกนัยหนึ่ง

๑. ตโม ตมปรายโน (ผู้มืดมา และมืดไป)
๒. ตโม โชติปรายโน (ผู้มืดมา แต่สว่างไป)
๓. โชติ ตมปรายโน (ผู้สว่างมา แต่มืดไป)
๔. โชติ โชติปรายโน (ผู้สว่างมา และสว่างไป)

๕๐
บุคคล๓๔ อีกนัยหนึ่ง

๑. สมณอจละ (สมณะผู้ไม่หวั่นไหว)
๒. สมณปทุมะ (สมณะเหมือนดอกปทุม)
๓. สมณปุณฑริกะ (สมณะเหมือนดอกบุณฑริก)
๔. สมเณสุ สมณสุขุมาละ (สมณะผู้ละเอียดอ่อน ในหมู่สมณะ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙๖/๑๔๕
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘๕/๑๒๙, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๖๘/๒๐๑-๒๐๒
๓ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘๗/๑๓๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๔ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้
ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข
แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๔ จบ
ภาณวารที่ ๑ จบ

สังคีติหมวด ๕
[๓๑๕] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๕ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมหมวดละ ๕ ประการ คืออะไร
คือ


ขันธ์๑ ๕
๑. รูปขันธ์ (กองรูป)
๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑/๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕
๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา)
๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร)
๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ)


อุปาทานขันธ์ (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)


กามคุณ๑ ๕

๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

คติ๑(ภพที่สัตว์ไปเกิด) ๕

๑. นิรยะ (นรก)
๒. ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน)
๓. เปตติวิสัย (แดนเปรต)
๔. มนุสสะ (มนุษย์)
๕. เทวะ (เทวดา)


มัจฉริยะ๒(ความตระหนี่) ๕

๑. อาวาสมัจฉริยะ (ความตระหนี่อาวาส)
๒. กุลมัจฉริยะ (ความตระหนี่ตระกูล)
๓. ลาภมัจฉริยะ (ความตระหนี่ลาภ)
๔. วัณณมัจฉริยะ (ความตระหนี่วรรณะ)
๕. ธัมมมัจฉริยะ (ความตระหนี่ธรรม)


นิวรณ์๓(สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้บรรลุความดี) ๕

๑. กามฉันทนิวรณ์ (นิวรณ์คือความพอใจในกาม)
๒. พยาบาทนิวรณ์ (นิวรณ์คือความคิดร้าย)
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (นิวรณ์คือความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (นิวรณ์คือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (นิวรณ์คือความลังเลสงสัย)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๓๙/๔๙
๒ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๙๓/๕๖๑
๓ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๕๘/๒๒๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

โอรัมภาคิยสังโยชน์๑(ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์เบื้องต่ำ) ๕

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความกำหนัดในกามคุณ)
๕. พยาบาท (ความคิดร้าย)


อุทธัมภาคิยสังโยชน์๒(ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์เบื้องสูง) ๕

๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน)
๓. มานะ (ความถือตัว)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๕. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)


สิกขาบท๓ ๕

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของเขามิได้ให้)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๓/๒๑, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๐/๕๙๒
๒ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๐/๕๙๒
๓ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๐๓/๔๔๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ)
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท)

๑๐
[๓๑๖] อภัพพฐาน๑(ฐานะที่เป็นไปไม่ได้) ๕

๑. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะจงใจปลงชีวิตสัตว์
๒. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมย
๓. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะเสพเมถุนธรรม
๔. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะพูดเท็จทั้งที่รู้
๕. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะสั่งสม บริโภคกามเหมือนเมื่อเป็นคฤหัสถ์

๑๑
พยสนะ๒(วิบัติ) ๕

๑. ญาติพยสนะ (ความวิบัติแห่งญาติ)
๒. โภคพยสนะ (ความวิบัติแห่งโภคะ)
๓. โรคพยสนะ (ความวิบัติเพราะโรค)
๔. สีลพยสนะ (ความวิบัติแห่งศีล)
๕. ทิฏฐิพยสนะ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๗/๔๔๖
๒ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๓๐/๒๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไม่ไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความวิบัติแห่งญาติเป็นเหตุ เพราะความวิบัติแห่งโภคะ
เป็นเหตุ หรือเพราะความวิบัติเพราะโรคเป็นเหตุ แต่สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความวิบัติแห่งศีลเป็นเหตุ หรือเพราะ
ความวิบัติแห่งทิฏฐิเป็นเหตุ

๑๒
สัมปทา๑ (ความถึงพร้อม) ๕

๑. ญาติสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งญาติ)
๒. โภคสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งโภคะ)
๓. อาโรคยสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค)
๔. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งศีล)
๕. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ)

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไม่ไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ เพราะความถึงพร้อมแห่งญาติเป็นเหตุ เพราะความถึงพร้อมแห่งโภคะ
เป็นเหตุ หรือเพราะความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรคเป็นเหตุ แต่สัตว์ทั้งหลาย
หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นเหตุ
หรือเพราะความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิเป็นเหตุ

๑๓
โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล๒ ๕

๑. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมถึงความเสื่อมโภคทรัพย์เป็นอันมาก
ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษประการที่ ๑ แห่งศีลวิบัติของ
บุคคลผู้ทุศีล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๓๐/๒๑๐
๒ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๘๕/๑๐๐, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๔๙/๙๓-๙๔, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๑๓/๓๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕
๒. กิตติศัพท์อันชั่วของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็นโทษ
ประการที่ ๒ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
๓. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ จะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม
พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมไม่
แกล้วกล้า เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นโทษประการที่ ๓ แห่งศีลวิบัติของบุคคล
ผู้ทุศีล
๔. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมหลงลืมสติตาย นี้เป็นโทษประการที่ ๔ แห่ง
ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
๕. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก นี้เป็นโทษประการที่ ๕ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล

๑๔
อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล๑ ๕
๑. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมมีโภคทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งมี
ความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งศีลสมบัติของ
บุคคลผู้มีศีล
๒. กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมขจรไป นี้เป็น
อานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
๓. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติย-
บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัท
ก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
๔. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้เป็นอานิสงส์
ประการที่ ๔ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
๕. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๕๐/๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕
๑๕
ธรรมสำหรับผู้เป็นโจทก์๑ ๕
ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้มั่นในตนแล้ว
จึงโจทผู้อื่น คือ
๑. เราจักกล่าวในกาลอันควร จักไม่กล่าวในกาลอันไม่ควร
๒. เราจักกล่าวถ้อยคำจริง จักไม่กล่าวถ้อยคำไม่จริง
๓. เราจักกล่าวถ้อยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวถ้อยคำหยาบ
๔. เราจักกล่าวถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวถ้อยคำอันไม่
ประกอบด้วยประโยชน์
๕. เราจักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว
ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้มั่นในตน
แล้วจึงโจทผู้อื่น

๑๖
[๓๑๗] องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียร๒ ๕
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของพระตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น
สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นพระศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๖๗/๒๗๗
๒ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๕๓/๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕
๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย โรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหาร
สม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงในพระศาสดา
หรือเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความ
เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
๕. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความเกิด
และความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

๑๗
[๓๑๘] สุทธาวาส (ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕

๑. อวิหา ๒. อตัปปา
๓. สุทัสสา ๔. สุทัสสี
๕. อกนิฏฐา

๑๘
พระอนาคามี๑ ๕

๑. อันตราปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง)
๒. อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งไปแล้ว)
๓. อสังขารปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก)
๔. สสังขารปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก)
๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ชั้นอกนิฏฐภพ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๘๘/๓๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕
๑๙
[๓๑๙] กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู๑ ๕
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา๒ จิตของ
ภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดานั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความ
เพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๑
๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ฯลฯ
๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา (ข้อที่จะต้อง
ศึกษา) ฯลฯ
๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) กระทบ
มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธไม่พอใจ
มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความ
เพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๕

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๒-๒๓
๒ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อว่า พระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยลักษณะมหา-
บุรุษ ๓๒ ประการ ไม่เชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าสามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบันได้
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕
๒๐
[๓๒๐] วินิพันธา๑(กิเลสเครื่องผูกใจ) ๕
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่
ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยัง
ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก
ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่
ปราศจากความอยากในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ
เพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑
๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในกาย ฯลฯ
๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในรูป ฯลฯ
๔. ฉันอาหารตามความต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการนอน
ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ
๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจะเป็นเทพเจ้า หรือ
เทพองค์ใดองค์หนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความ
ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ
พรหมจรรย์นี้ เราจะเป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’ ย่อมไม่
น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลส
เครื่องผูกใจประการที่ ๕

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๘๕-๑๘๙/๑๙๗-๒๐๓, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๖/๓๔๘-๓๕๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕
๒๑
อินทรีย์๑ ๕
๑. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือตา)
๒. โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือหู)
๓. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือจมูก)
๔. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือลิ้น)
๕. กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกาย)

๒๒
อินทรีย์๒ ๕ อีกนัยหนึ่ง

๑. สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือความสุขกาย)
๒. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือความทุกข์กาย)
๓. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือความสุขใจ)
๔. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือความทุกข์ใจ)
๕. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขา)

๒๓
อินทรีย์๓ ๕ อีกนัยหนึ่ง

๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๐๑๒/๖๖๐
๒ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๒๐/๑๙๙-๒๐๐
๓ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๒๐/๒๐๐-๒๐๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕
๒๔
[๓๒๑] ธาตุ๑ที่สลัด๒ ๕
๑. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการกามทั้งหลาย๓ จิตของเธอ
ย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่
เมื่อเธอมนสิการเนกขัมมะ จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่
น้อมไปในเนกขัมมะ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว
อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกาม
ทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ๔และความเร่าร้อนที่ก่อความ
คับแค้น๕ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดกามทั้งหลาย
๒. เมื่อภิกษุมนสิการพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการอพยาบาท จิต
ของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอพยาบาท จิตนั้นของเธอ
ชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากพยาบาท เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอ

เชิงอรรถ :
๑ ธาตุในที่นี้หมายถึงธัมมธาตุและมโนวิญญาณธาตุขั้นพิเศษ เป็นสภาวะที่ว่างจากอัตตา (อัตตสุญญสภาวะ)
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) หรือสภาวะที่ปราศจากชีวะ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑)
๒ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๐/๓๔๐-๓๔๒
๓ มนสิการกามทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงวิธีการที่ท่านผู้ออกจากอสุภฌาน (เพ่งความไม่งาม) แล้วส่งจิตคิด
ถึงกามคุณ เพื่อตรวจดูจิตว่า ‘บัดนี้จิตเราแน่วแน่ต่อเนกขัมมะหรือไม่ กามวิตกยังเกิดขึ้นอยู่หรือไม่’ เหมือน
คนจับงูพิษ เพื่อทดลองดูว่างูมีพิษหรือไม่ (ที.ปา.อ. ๓๒๑/๒๓๐, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑)
๔ อาสวะ ในที่นี้หมายถึงอาสวะ ๔ คือ กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ภวาสวะ (อาสวะคือภพ) ทิฏฐาสวะ
(อาสวะคือทิฏฐิ) อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา) (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐)
๕ ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ในที่นี้หมายถึงความเร่าร้อนเพราะกิเลสหรือความเร่าร้อนเพราะวิบาก
กรรมที่ก่อความคับแค้นให้ หรือให้เกิดทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ อันเป็นผลมาจากอาสวะ (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๕๘/๑๔๐, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕
ย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัด
พยาบาท
๓. เมื่อภิกษุมนสิการวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่
ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการอวิหิงสา จิตของเธอ
จึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอวิหิงสา จิตนั้นของเธอชื่อว่า
เป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อน
ที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่
เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดวิหิงสา
๔. เมื่อภิกษุมนสิการรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการอรูป จิตของ
เธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป จิตนั้นของเธอชื่อว่า
เป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะรูปเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่
เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดรูปทั้งหลาย
๕. เมื่อภิกษุมนสิการสักกายะ๑ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธ
(ความดับแห่งสักกายะ) จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไป
ในสักกายนิโรธ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ มนสิการสักกายะในที่นี้หมายถึงวิธีการที่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ(ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ)ผู้เห็นนิพพาน
ด้วยอรหัตตมรรคและอรหัตตผล ออกจากผลสมาบัติแล้ว ส่งจิตไปยังอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เพื่อจะทดสอบดูว่า ‘ความยึดมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอัตตายังมี
อยู่หรือไม่’ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๓)
อนึ่ง ๔ วิธีแรกดังกล่าวมาแล้ว เป็นวิธีของท่านผู้เป็นสมถยานิกะ (ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน) แต่วิธี
ที่ ๕ นี้เป็นวิธีของท่านผู้เป็นวิปัสสนายานิกะ (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน) (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕
ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ เธอหลุดพ้น
แล้วจากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะ
สักกายะเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาค
ตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดสักกายะ

๒๕
[๓๒๒] เหตุแห่งวิมุตติ๑ ๕
๑. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดงธรรม๒
แก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เธอรู้แจ้งอรรถ๓ รู้แจ้งธรรม๔ในธรรมนั้น
ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดง
แก่เธอ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี
ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ
ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ ๑
๒. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ไม่ได้แสดง
ธรรมแก่ภิกษุ แต่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้
เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ฯลฯ
๓. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ไม่ได้แสดง
ธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตาม
ที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ตน
ได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๖/๓๓-๓๕
๒ ธรรม ในที่นี้หมายถึงอริยสัจ ๔ (ที.ปา.ฏีกา ๓๒๒/๓๑๖, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘)
๓ รู้แจ้งอรรถ ในที่นี้หมายถึงรู้ความหมายแห่งบาลีนั้นว่า ศีลมาในที่นี้ สมาธิมาในที่นี้ ปัญญามาในที่นี้
(ที.ปา.ฏีกา ๓๒๒/๓๑๖, องฺ.ติก.อ. ๒/๔๓/๑๕๒-๑๕๓, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘)
๔ รู้แจ้งธรรม ในที่นี้หมายถึงรู้บาลีคือพระพุทธพจน์ เช่น ทรงจำบาลีที่ให้รู้ความหมายได้อย่างถูกต้อง
(ที.ปา.ฏีกา ๓๒๒/๓๑๖, องฺ.ติก.อ. ๓/๔๓/๑๕๒-๑๕๓, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕
๔. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้
เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร แต่ภิกษุตรึกตามตรองตามเพ่งตาม
ด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา ฯลฯ
๕. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่ได้แสดง
ธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่
ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้
สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร และไม่ได้ตรึกตามตรองตาม
เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา แต่
เธอเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี
แทงตลอดดีด้วยปัญญา เธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้น
ตามที่เธอได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี
ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ
กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ ๕

๒๖
สัญญาที่ควรเจริญเพื่อวิมุตติ๑ ๕
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่ง
สังขาร)
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
๔. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๕. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะเป็นธรรมละเอียดประณีต)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๖๑/๑๑๐, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๕ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้
ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข
แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๕ จบ

สังคีติหมวด ๖
[๓๒๓] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๖ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้
ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข
แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมหมวดละ ๖ ประการ คืออะไร
คือ

อายตนะภายใน๑ ๖
๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
๒. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)
๓. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๖, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑/๑-๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖
๔. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
๕. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
๖. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)


อายตนะภายนอก๑ ๖

๑. รูปายตนะ (อายตนะคือรูป)
๒. สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง)
๓. คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น)
๔. รสายตนะ (อายตนะคือรส)
๕. โผฏฐัพพายตนะ (อายตนะคือโผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมายตนะ (อายตนะคือธรรมารมณ์)


หมวดวิญญาณ๒ ๖

๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา)
๒. โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู)
๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก)
๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น)
๕. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย)
๖. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๔-๖/๔-๕
๒ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๗, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๒๑/๘๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖

หมวดผัสสะ๑ ๖

๑. จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา)
๒. โสตสัมผัส (ความกระทบทางหู)
๓. ฆานสัมผัส (ความกระทบทางจมูก)
๔. ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น)
๕. กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย)
๖. มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ)


หมวดเวทนา๒ ๖

๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส)
๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากโสตสัมผัส)
๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากฆานสัมผัส)
๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากชิวหาสัมผัส)
๕. กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากกายสัมผัส)
๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากมโนสัมผัส)


หมวดสัญญา๓ ๖
๑. รูปสัญญา (กำหนดหมายรู้รูป)
๒. สัททสัญญา (กำหนดหมายรู้เสียง)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๖
๒ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๗
๓ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๙๓/๒๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖
๓. คันธสัญญา (กำหนดหมายรู้กลิ่น)
๔. รสสัญญา (กำหนดหมายรู้รส)
๕. โผฏฐัพพสัญญา (กำหนดหมายรู้โผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมสัญญา (กำหนดหมายรู้ธรรมารมณ์)


หมวดสัญเจตนา๑ ๖

๑. รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป)
๒. สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง)
๓. คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น)
๔. รสสัญเจตนา (ความจำนงรส)
๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์)


หมวดตัณหา๒ ๖

๑. รูปตัณหา (ความทะยานอยากได้รูป)
๒. สัททตัณหา (ความทะยานอยากได้เสียง)
๓. คันธตัณหา (ความทะยานอยากได้กลิ่น)
๔. รสตัณหา (ความทะยานอยากได้รส)
๕. โผฏฐัพพตัณหา (ความทะยานอยากได้โผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมตัณหา (ความทะยานอยากได้ธรรมารมณ์)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๕๖/๘๔
๒ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๔๔/๒๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖

[๓๒๔] อคารวะ๑(ความไม่เคารพ) ๖
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา
๒. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม
๓. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์
๔. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
๖. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในปฏิสันถาร

๑๐
คารวะ๒(ความเคารพ) ๖
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา
๒. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระธรรม
๓. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระสงฆ์
๔. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
๖. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในปฏิสันถาร

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๔๐/๔๙๒
๒ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๔๐/๔๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖
๑๑
โสมนัสสูปวิจาร (การใคร่ครวญอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส) ๖
๑. เห็นรูปทางตาแล้ว ใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๒. ฟังเสียงทางหูแล้ว ใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๓. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๔. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ใคร่ครวญธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส

๑๒
โทมนัสสูปวิจาร (การใคร่ครวญอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส) ๖
๑. เห็นรูปทางตาแล้ว ใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๒. ฟังเสียงทางหูแล้ว ใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๓. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๔. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ใคร่ครวญธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส

๑๓
อุเปกขูปวิจาร (การใคร่ครวญอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา) ๖
๑. เห็นรูปทางตาแล้ว ใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๒. ฟังเสียงทางหูแล้ว ใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๓. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖
๔. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ใคร่ครวญธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

๑๔
สารณียธรรม๑ (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึง) ๖
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม๒ ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก๓ลาภทั้งหลายอันประกอบด้วยธรรม ได้มา
โดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต (อาหารในบาตร) บริโภคกับ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๒/๔๒๗
๒ เมตตากายกรรม ในที่นี้หมายถึงกายกรรมที่พึงทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา เมตตาวจีกรรมและ
เมตตามโนกรรม ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกันนี้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๗)
๓ ไม่แบ่งแยก หมายถึงไม่แบ่งแยกบุคคลโดยคิดว่า “จะให้แก่คนนั้น ไม่ให้แก่คนนี้” (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๙,
องฺ.ฉกฺก. ฏีกา ๓/๑๑/๑๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖
ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ที่ไม่
ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
ที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๖. มีอริยทิฏฐิ๑อันเป็นธรรมเครื่องนำออก๒เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

๑๕
[๓๒๕] วิวาทมูล๓ (มูลเหตุแห่งวิวาท) ๖
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุ
นั้นอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา อยู่
อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม อยู่อย่างไม่มี
ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้
บริบูรณ์ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่อย่างไม่มีความเคารพ

เชิงอรรถ :
๑ อริยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิในอริยมรรค (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๑๐๓)
๒ อันเป็นธรรมเครื่องนำออก ในที่นี้หมายถึงมรรค ๔ (โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค
และอรหัตตมรรค) ที่ตัดมูลเหตุแห่งวัฏฏะ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วออกจากวัฏฏะได้ (อภิ.สงฺ. (แปล)
๓๔/๑๒๙๕/๓๒๗, อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๘)
๓ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๖/๔๘๔-๔๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖
ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา อยู่อย่างไม่มีความเคารพ อยู่อย่างไม่มี
ความยำเกรงในพระธรรม อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำ
เกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้น
ในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คน
หมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์ เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณา
เห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก ท่านทั้งหลายพึง
พยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้นแล
ถ้าท่านทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ
ภายนอก ท่านทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาป
นั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้
และมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ
๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ
๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ๑ ฯลฯ
๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความ
ถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นอยู่อย่างไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มี
ความยำเกรงในพระธรรม อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง

เชิงอรรถ :
๑ เป็นมิจฉาทิฏฐิ หมายถึงเป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคลพวกที่ถือนัตถิกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว
ไม่มีผล) อเหตุกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย) และอกิริยวาทะ
(ลัทธิที่ถือว่า การกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม)
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๖/๑๑๗) และดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๑๖๕/๕๓, ๑๖๗/๕๔,๑๗๓/๕๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖
ในพระสงฆ์และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา อยู่
อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม อยู่อย่างไม่มี
ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้
บริบูรณ์ ย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์ เพื่อไม่
เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ
ภายนอก ท่านทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาป
ภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าท่านทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุ
แห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก ท่านทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้
มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่ง
วิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อม
ไม่ยืดเยื้อต่อไป

๑๖
ธาตุ๑ ๖

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)
๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
๕. อากาสธาตุ (ธาตุคือที่ว่าง)
๖. วิญญาณธาตุ (ธาตุคือความรู้อารมณ์)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๗๒/๑๓๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖
๑๗
[๓๒๖] ธาตุที่สลัด๑ ๖
๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญเมตตาเจโต-
วิมุตติ๒แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่พยาบาท(ความคิดร้าย)
ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอ
ว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ
อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดี
เลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลย
ที่ภิกษุได้เจริญเมตตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ
ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะเมตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดพยาบาท
๒. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญกรุณา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิหิงสา(ความเบียดเบียน)
ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอ
ว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ
อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๓/๔๒๙-๔๓๑
๒ เมตตาเจโตวิมุตติในที่นี้หมายถึงเมตตาที่เกิดจากตติยฌานและจตุตถฌาน เพราะพ้นจากปัจจนีกธรรม
(ธรรมที่เป็นข้าศึก) กล่าวคือนิวรณ์ ๕ ประการ ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
วิจิกิจฉา (ที.ปา.อ. ๓๒๖/๒๓๔, องฺ.เอกก.อ. ๑/๗/๔๒, องฺ. ฉกฺก. อ. ๓/๑๓/๑๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖
ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลย
ที่ภิกษุได้เจริญกรุณาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ
ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่วิหิงสาก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะกรุณาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดวิหิงสา
๓. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญมุทิตา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่อรติ(ความไม่ยินดี) ก็ยัง
ครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย
พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
ได้เจริญมุทิตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่อรติ
ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะมุทิตา-
เจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดอรติ
๔. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญอุเบกขา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะก็ยังครอบงำจิตของ
ข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าว
อย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่
พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มี
พระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุได้เจริญ
อุเบกขาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้
เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะก็ยัง
ครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะอุเบกขา-
เจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖
๕. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญอนิมิตตา-
เจโตวิมุตติ๑แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิญญาณของ
ข้าพเจ้าก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ
อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลย
ที่ภิกษุได้เจริญอนิมิตตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่วิญญาณ ของภิกษุนั้นก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะอนิมิตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดนิมิตทั้งปวง
๖. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าปราศจาก
อัสมิมานะ และไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศรคือความ
เคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย
พึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้
กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการ
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มี
อายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุปราศจากอัสมิมานะแล้ว และไม่พิจารณา

เชิงอรรถ :
๑ อนิมิตตาเจโตวิมุตติ หมายถึงพลววิปัสสนา(วิปัสสนาที่มีพลัง) คือ อรหัตตผลสมาบัติ ที่ชื่อว่า อนิมิต
(ไม่มีเครื่องหมาย) เพราะไม่มีราคนิมิต (นิมิตคือราคะ) ไม่มีโทสนิมิต (นิมิตคือโทสะ) ไม่มีโมหนิมิต (นิมิต
คือโมหะ) ไม่มีรูปนิมิต (นิมิตคือรูป) ไม่มีนิจจนิมิต (นิมิตคือความเที่ยง) เป็นต้น (ที.ปา.อ. ๓๒๖/๒๓๔,
องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๔)
อีกอย่างหนึ่ง อนิมิตตาเจโตวิมุตติ เป็นชื่อของญาณ ๔ คือ (๑) ภยตุปัฏฐานญาณ (ญาณในการเห็น
สังขารปรากฏโดยความเป็นภัย) (๒) อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็น
โทษ) (๓) มุญจิตุกัมมยตาญาณ (ญาณหยั่งรู้อันทำให้ต้องการจะพ้น) (๔) ภังคญาณ (ญาณที่พิจารณาเห็น
ความดับ) (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๓/๑๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖
เห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยัง
ครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะสภาวะที่
ถอนอัสมิมานะ๑ นี้เป็นธาตุที่สลัดลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย

๑๘
[๓๒๗] อนุตตริยะ๒ ๖

๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
๒. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม)
๓. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม)
๔. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
๕. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
๖. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)

๑๙
อนุสสติฏฐาน๓ ๖

๑. พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
๒. ธัมมานุสสติ (การระลึกถึงพระธรรม)
๓. สังฆานุสสติ (การระลึกถึงพระสงฆ์)
๔. สีลานุสสติ (การระลึกถึงศีล)
๕. จาคานุสสติ (การระลึกถึงการบริจาค)
๖. เทวตานุสสติ (การระลึกถึงเทวดา)

เชิงอรรถ :
๑ สภาวะที่ถอนอัสมิมานะ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมรรค ที่เรียกว่าสภาวะที่ถอนอัสมิมานะ เพราะเมื่อเห็นนิพพาน
ด้วยอำนาจผลที่เกิดจากอรหัตตมรรค อัสมิมานะจึงไม่มี (ที.ปา.อ. ๓๒๖/๒๓๕, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๕)
๒ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๘/๔๑๙-๔๒๐
๓ อนุสสติฏฐาน แปลว่า “ฐานคืออนุสสติ” หมายถึงเหตุคืออนุสสติ ได้แก่ ฌาน ๓(ที.ปา.อ. ๓๒๗/๒๓๕,
องฺ. ฉกฺก.อ. ๓/๒๕/๑๑๐,๒๙/๑๑๒)
อนุสสติ ที่เรียกว่า “ฐาน” เพราะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์เกื้อกูลและความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า
เช่น พุทธานุสสติ ย่อมเป็นเหตุให้บรรลุคุณวิเศษ เพราะเมื่อบุคคลระลึกถึงพุทธคุณอยู่ ปีติ (ความอิ่มใจ)
ย่อมเกิด จากนั้น จึงพิจารณาปีติให้เห็นความสิ้นไปเสื่อมไปจนได้บรรลุอรหัตตผล
อนุสสติฏฐาน นี้จัดเป็นอุปจารกัมมัฏฐาน แม้คฤหัสถ์ก็สามารถบำเพ็ญได้ (ขุ.อป.อ.๑/๒๕/๑๓๗,
องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๙/๑๐๘) และดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๙/๔๒๐-๔๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖
๒๐
[๓๒๘] สตตวิหารธรรม๑ (ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ของพระขีณาสพ) ๖
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
๒. ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
๓. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
๔. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่

๒๑
[๓๒๙] อภิชาติ๒ ๖
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นกัณหาภิชาติ (เกิดในตระกูลต่ำ) ประพฤติ
ธรรมดำ
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นกัณหาภิชาติ ประพฤติธรรมขาว
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นกัณหาภิชาติ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำ ไม่ขาว
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสุกกาภิชาติ (เกิดในตระกูลสูง) ประพฤติธรรมดำ
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสุกกาภิชาติ ประพฤติธรรมขาว
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสุกกาภิชาติ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำ ไม่ขาว

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๕๖ หน้า ๓๙๔ ในเล่มนี้
๒ อภิชาติ ในที่นี้หมายถึงการกำหนดหมายชนเป็นชั้น เป็นกลุ่ม เช่น หมู่คนที่ประพฤติอย่างนี้ ๆ กำหนด
เรียกอย่างนี้ ๆ (ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๗) หรือหมายถึงชาติกำเนิด (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๗/๑๓๙, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๕๗/๑๕๐) และดู ที.สี. (แปล) ๙/๑๖๘/๕๕, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๗/๕๔๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗
๒๒
นิพเพธภาคิยสัญญา๑ (กำหนดหมายในญาณอันเป็นส่วนชำแรกกิเลส) ๖
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่ง
สังขาร)
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
๔. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๕. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
๖. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๖ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๖ จบ

สังคีติหมวด ๗
[๓๓๐] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๗ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗
ธรรมหมวดละ ๗ ประการ คืออะไร
คือ


อริยทรัพย์๑ ๗

๑. สัทธาธนะ (ทรัพย์คือศรัทธา)
๒. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล)
๓. หิริธนะ (ทรัพย์คือหิริ)
๔. โอตตัปปธนะ (ทรัพย์คือโอตตัปปะ)
๕. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ)
๖. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ)
๗. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา)


โพชฌงค์๒ ๗

๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม)
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร)
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ)
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๕/๘
๒ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๐๒/๒๔๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗

ธรรมที่เป็นบริขารแห่งสมาธิ๑ ๗

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)


อสัทธรรม๒ ๗
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้มีสุตะน้อย
๕. เป็นผู้เกียจคร้าน ๖. เป็นผู้มีสติหลงลืม
๗. เป็นผู้มีปัญญาทราม


สัทธรรม๓ ๗
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นพหูสูต

เชิงอรรถ :
๑ บริขารแห่งสมาธิ หมายถึงองค์ประกอบแห่งมรรคสมาธิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๓) และดูเทียบ
องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๕/๖๘-๖๙
๒ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๙๓/๑๘๓
๓ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๙๔/๑๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๖. เป็นผู้มีสติมั่นคง
๗. เป็นผู้มีปัญญา


สัปปุริสธรรม๑ ๗
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นธัมมัญญ (ผู้รู้จักเหตุ)
๒. เป็นอัตถัญญ (ผู้รู้จักผล)
๓. เป็นอัตตัญญ (ผู้รู้จักตน)
๔. เป็นมัตตัญญ (ผู้รู้จักประมาณ)
๕. เป็นกาลัญญ (ผู้รู้จักกาลเวลา)
๖. เป็นปริสัญญ (ผู้รู้จักชุมชน)
๗. เป็นปุคคลัญญ (ผู้รู้จักบุคคล)


[๓๓๑] นิททสวัตถุ๒(เหตุให้ได้ชื่อว่าผู้มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี) ๗
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา๓ และไม่ปราศจาก
ความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป๔

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก.(แปล) ๒๓/๖๘/๑๔๓
๒ นิททสวัตถุ แปลว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสะ” ซึ่งแปลว่า มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี คำนี้เป็นคำที่พวก
เดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนด ๑๒ ปี ถ้าตายลงเมื่อถึง ๑๐ ปี เรียกผู้นั้นว่า
“นิททส” คือเมื่อมาเกิดอีก จะมีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี และอาจไม่ถึง ๙ ปี - ๑ ปี แต่พระผู้มีพระภาคทรงใช้คำนี้
หมายถึงพระขีณาสพในความหมายว่า “ไม่มีการเกิดอีก” ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงวันเดียวหรือครู่เดียวโดย
มีเงื่อนไขว่า ผู้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยธรรม ๗ ประการ ส่วนเวลาประพฤติพรหมจรรย์มากน้อยไม่สำคัญ
(ที.ปา.อ. ๓๓๑/๒๓๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓๒๐/๑๖๔-๑๖๕)
๓ สมาทานสิกขา ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาให้บริบูรณ์และถูกต้อง (องฺ.
สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒)
๔ ไม่ปราศจากความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป ในที่นี้หมายถึงกาลเวลาแห่งการบำเพ็ญที่เนื่องกัน
ไม่ขาดระยะ มิได้หมายถึงภพในอนาคต (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗
๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม๑ และไม่ปราศจาก
ความรักในการใคร่ครวญธรรมต่อไป
๓. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก๒ และไม่ปราศจาก
ความรักในการกำจัดความอยากต่อไป
๔. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และไม่ปราศจากความรักใน
การหลีกเร้นต่อไป
๕. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และไม่ปราศจาก
ความรักในการปรารภความเพียรต่อไป
๖. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๓ และไม่ปราศจาก
ความรักในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนต่อไป
๗. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ๔ และไม่ปราศจาก
ความรักในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิต่อไป


สัญญา๕ ๗
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)

เชิงอรรถ :
๑ การใคร่ครวญธรรม แปลจากบาลีว่า “ธมฺมนิสนฺติ” หมายถึงการเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรมโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา คำว่า “ธมฺมนิสนฺติ” เป็นชื่อของวิปัสสนา (ที.ปา.อ. ๓๓๑/๒๓๙,
องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒)
๒ การกำจัดความอยาก หมายถึงการกำจัดหรือข่มตัณหาได้ด้วยอำนาจภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณที่
พิจารณาเห็นความดับ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) หรือด้วยอำนาจวิปัสสนา-
ญาณมีวิราคานุปัสสนา เป็นต้น (ที.ปา.ฏีกา ๓๓๑/๓๒๖)
๓ สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ในที่นี้หมายถึงสติและเนปักกปัญญา กล่าวคือสติและสัมปชัญญะ
(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๓)
๔ การแทงตลอดด้วยทิฏฐิ แปลจากบาลีว่า “ทิฏฐิปฏิเวธ” หมายถึงมัคคทัสสนะ (การเห็นด้วยมรรค)
กล่าวคือ การเห็นแจ้งด้วยมัคคสัมมาทิฏฐิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๓)
๕ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๗/๑๒๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗
๓. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๔. อาทีนวสัญญา (กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่าง ๆ)
๕. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๖. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
๗. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)


พละ๑ ๗

๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๓. หิริพละ (กำลังคือหิริ)
๔. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ)
๕. สติพละ (กำลังคือสติ)
๖. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
๗. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

๑๐
[๓๓๒] วิญญาณฐิติ๒(ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ๗

๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพบางพวก๓
และวินิปาติกะบางพวก๔ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๓/๔
๒ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๒๗/๗๒-๗๓
๓ เทพบางพวก หมายถึงเทพในสวรรค์ชั้นกามาวจรภูมิ ๖ คือ (๑) ชั้นจาตุมหาราช (๒) ชั้นดาวดึงส์
(๓) ชั้นยามา (๔) ชั้นดุสิต (๕) ชั้นนิมมานรดี (๖) ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ที.ม.อ. ๒/๑๒๗/๑๐๙)
๔ วินิปาติกะบางพวก หมายถึงพวกเวมานิกเปรตที่พ้นจากอบายภูมิ ๔ เช่น ยักษิณีผู้เป็นมารดาของ
อุตตระ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของผุสสะ ร่างกายของเปรตเหล่านี้แตกต่างกัน
คือ มีทั้งอ้วน ผอม เตี้ย สูง มีผิวขาว ผิวดำ ผิวสีทอง และสีนิล มีลักษณะ มีสัญญาต่างกัน ด้วยติเหตุกะ
ทุเหตุกะ และอเหตุกะ เหมือนของมนุษย์ เวมานิกเปรตเหล่านี้ไม่มีศักดิ์มาก เหมือนพวกเทพบางพวก
ได้รับทุกข์ในข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะสามารถบรรลุธรรมได้ เช่น การ
บรรลุธรรมของยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ เป็นต้น (ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙,๔๔-๔๕/๑๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗
๒. มีสัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือพวกเทพ
ชั้นพรหมกายิกา๑ (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒
๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวก
เทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓
๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวก
เทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๔
๕. มีสัตว์ทั้งหลายบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน๒โดยกำหนดว่า “อากาศ
หาที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕
๖. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน๓โดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้”
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖
๗. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน๔โดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” นี้เป็นวิญญาณฐิติ
ที่ ๗

เชิงอรรถ :
๑ เทพชั้นพรหมกายิกา หมายถึงพรหมชั้นปฐมฌานภูมิ (ระดับปฐมฌาน) ๓ ชั้น คือ (๑) พรหมปาริสัชชา
(พวกบริษัทบริวารมหาพรหม) (๒) พรหมปโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม) (๓) มหาพรหมา (พวกท้าว
มหาพรหม) (ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙-๑๑๐)
๒ อากาสานัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดอากาศ คือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้น
ที่ ๑ ของอรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘)
๓ วิญญาณัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ ๒ ของ
อรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘)
๔ อากิญจัญญายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดภาวะอันไม่มีอะไร (ความว่าง) เป็นอารมณ์ ฌานนี้เรียก
อีกอย่างหนึ่งว่า สัญญัคคะ (ที่สุดแห่งสัญญา) เพราะเป็นภาวะสุดท้ายของการมีสัญญา กล่าวคือผู้บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ชั้นต่อไปจะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง เข้าถึงสัญญาเวทยิต-
นิโรธบ้าง (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗
๑๑
ทักขิเณยยบุคคล (บุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา) ๗

๑. อุภโตภาควิมุต๑ (ผู้หลุดพ้นทั้ง ๒ ส่วน)
๒. ปัญญาวิมุต๒ (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)
๓. กายสักขี๓ (ผู้เป็นพยานในนามกายด้วยกาย)
๔. ทิฏฐิปัตตะ๔ (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ)
๕. สัทธาวิมุต๕ (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา)
๖. ธัมมานุสารี๖ (ผู้แล่นไปตามธรรม)
๗. สัทธานุสารี๗ (ผู้แล่นไปตามศรัทธา)

๑๒
อนุสัย๘ (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน) ๗

๑. กามราคานุสัย (อนุสัยคือความกำหนัดในกาม)
๒. ปฏิฆานุสัย (อนุสัยคือความยินร้าย)
๓. ทิฏฐานุสัย (อนุสัยคือความเห็นผิด)
๔. วิจิกิจฉานุสัย (อนุสัยคือความลังเลสงสัย)
๕. มานานุสัย (อนุสัยคือความถือตัว)
๖. ภวราคานุสัย (อนุสัยคือความติดใจในภพ)
๗. อวิชชานุสัย (อนุสัยคือความไม่รู้แจ้ง)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้
๕ ดูเชิงอรรถที่ ๖ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้
๖ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๒ ในเล่มนี้
๗ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๒ ในเล่มนี้
๘ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๑/๑๗, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๙/๖๐๕-๖๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗
๑๓
สังโยชน์๑ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๗

๑. อนุนยสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินดี๒)
๒. ปฏิฆสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินร้าย)
๓. ทิฏฐิสังโยชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด)
๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความลังเลสงสัย)
๕. มานสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือตัว)
๖. ภวราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความติดใจในภพ)
๗. อวิชชาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความไม่รู้แจ้ง)

๑๔
อธิกรณสมถธรรม๓ (ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์) ๗
เพื่อระงับ เพื่อดับอธิกรณ์๔ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ
๑. สงฆ์พึงให้สัมมุขาวินัย๕
๒. สงฆ์พึงให้สติวินัย๖

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๘/๑๔
๒ ความยินดี หมายถึงกามราคะ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๘/๑๖๐)
๓ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๘๔/๑๗๙
๔ อธิกรณ์ หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การถกเถียงกันเกี่ยวกับ
พระธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้อง
อาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่าง ๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ
เช่น การให้อุปสมบท การให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๓) และดู วิ.จู. (แปล) ๖/๒๑๕/๒๔๕-๒๔๖)
๕-๖ สัมมุขาวินัย วิธีระงับอธิกรณ์ ในที่พร้อมหน้า คือต้องพร้อมทั้ง ๔ พร้อม คือ (๑) พร้อมหน้าสงฆ์
ได้แก่ ภิกษุเข้าร่วม ประชุมครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้แต่ละกรณี (๒) พร้อมหน้าบุคคลได้แก่คู่กรณี
หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้า (๓) พร้อมหน้าวัตถุ ได้แก่ ยกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมาวินิจฉัย
(๔) พร้อมหน้าธรรม ได้แก่ วินิจฉัยถูกต้องตามธรรมวินัย
สติวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยประกาศให้ทราบว่า พระอรหันต์เป็นพระอริยะ ผู้มีสติสมบูรณ์
เป็นวิธีระงับโดยเอาสติเป็นหลักในกรณีที่มีผู้โจทพระอรหันต์ เป็นการบอกให้รู้ว่า ใครจะโจทพระอรหันต์
ไม่ได้ (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๐๐-๔๐๑/๒๘๘-๒๙๑) และดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๖/๑๘๕-๒๑๒/๒๑๘-๒๔๓,
วิ.ป. (แปล) ๘/๒๗๕/๓๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘
๓. สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัย๑
๔. สงฆ์พึงให้ปฏิญญาตกรณะ๒
๕. สงฆ์พึงให้เยภุยยสิกา๓
๖. สงฆ์พึงให้ตัสสปาปิยสิกา๔
๗. สงฆ์พึงให้ติณวัตถารกะ๕
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๗ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๗ จบ
ภาณวารที่ ๒ จบ

สังคีติหมวด ๘
[๓๓๓] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๘ ประการที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑-๕ อมูฬหวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์ให้แก่ภิกษุที่หายเป็นบ้าแล้ว ในกรณีที่มีผู้
โจทภิกษุด้วยอาบัติที่ต้องในขณะเป็นบ้า สงฆ์จะสวดประกาศสมมติเพื่อมิให้ใคร ๆ โจทเธอด้วยอาบัติ
ปฏิญญาตกรณะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยปรับอาบัติตามคำรับสารภาพของภิกษุผู้ต้องอาบัติ
เยภุยยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินตามเสียงข้างมาก สงฆ์จะใช้วิธีการนี้ในกรณีที่บุคคล
หลายฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกัน
ตัสสปาปิยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินลงโทษผู้กระทำผิด เมื่อสงฆ์พิจารณาตามหลักฐาน
พยานแล้ว เห็นว่ามีความผิดจริง แม้เธอจะไม่รับสารภาพก็ตาม
ติณวัตถารกะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยให้ทั้ง ๒ ฝ่ายประนีประนอมกัน เปรียบเหมือนเอาหญ้า
กลบไว้ ไม่ต้องชำระสะสางความ วิธีนี้จะใช้ระงับอธิกรณ์ที่ยุ่งยาก เช่น กรณีพิพาทกันของภิกษุชาวกรุง
โกสัมพี (วิ.ม. ๕/๔๐๐-๔๐๑/๒๘๘-๒๙๑/๓๓๓-๓๓๕) และ ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๖/๑๘๕-๒๑๒/๒๑๘-๒๔๓,
วิ.ป. (แปล) ๘/๒๗๕/๓๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘
ธรรมหมวดละ ๘ ประการ คืออะไร
คือ


มิจฉัตตะ๑(ความเป็นธรรมที่ผิด) ๘

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)
๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด)
๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด)
๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด)
๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)


สัมมัตตะ๒ (ความเป็นธรรมที่ถูก) ๘

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓๒/๒๘๒
๒ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓๓//๒๘๒-๒๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘

ทักขิเณยยบุคคล๑ (บุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา) ๘
๑. พระโสดาบัน
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
๓. พระสกทาคามี
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
๕. พระอนาคามี
๖. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
๗. พระอรหันต์
๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล


[๓๓๔] กุสีตวัตถุ๒ (เหตุแห่งความเกียจคร้าน) ๘
๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราจักต้องทำงาน เมื่อเราทำงานอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๑
๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว เมื่อเรา
ทำงานอยู่ กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอน
เสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๒
๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องเดินทาง เมื่อ
เราเดินทางอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๓

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๙/๔๔๘, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๗/๑๐๘
๒ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๘๐/๔๐๐-๔๐๒, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๕๓/๖๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๔๑ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น