Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๔-๓ หน้า ๘๕ - ๑๒๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโคปกโมคคัลลานะ
[๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้วไม่นาน ท่านพระอานนท์พักอยู่
ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล พระเจ้า
อชาตศัตรู เวเทหิบุตร กษัตริย์แคว้นมคธ ทรงระแวงพระเจ้าปัชโชติ จึงรับสั่งให้
ปฏิสังขรณ์กรุงราชคฤห์
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ได้คิดอย่างนี้ว่า “ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาตใน
กรุงราชคฤห์ ทางที่ดี เราพึงเข้าไปหาโคปกโมคคัลลานพราหมณ์ถึงที่ทำงาน”
แล้วเข้าไปยังที่นั้น
โคปกโมคคัลลานพราหมณ์ เห็นท่านพระอานนท์เดินมาแต่ไกล จึงได้กล่าว
กับท่านพระอานนท์ว่า “ขอเชิญท่านพระอานนท์เข้ามาเถิด ขอต้อนรับ นาน ๆ
ท่านพระอานนท์จะมีเวลามาที่นี้ ขอเชิญท่านพระอานนท์จงนั่งเถิด อาสนะนี้ปูลาด
ไว้แล้ว”
ท่านพระอานนท์ได้นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ส่วนโคปกโมคคัลลาน
พราหมณ์เลือกนั่ง ณ ที่สมควรแห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งต่ำกว่า ได้กล่าวกับท่านพระ
อานนท์ว่า “ท่านพระอานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่ประกอบด้วยธรรมครบทุก
ข้อทุกประการ อย่างที่ท่านพระโคดมผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์
นั้นทรงประกอบพร้อมแล้ว”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “พราหมณ์ ไม่มีภิกษุสักรูปหนึ่งเลยที่ประกอบด้วย
ธรรมครบทุกข้อทุกประการ อย่างที่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงประกอบพร้อมแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ทรงยังมรรคที่ยังไม่อุบัติให้อุบัติ ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิด ตรัสบอกมรรคที่
ไม่มีใครบอกได้ ทรงทราบชัดมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค ส่วนสาวก
ทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้ดำเนินตามมรรคในภายหลังจึงประกอบพร้อมอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
เรื่องนี้ที่ท่านพระอานนท์ได้สนทนากับโคปกโมคคัลลานพราหมณ์ค้างไว้
ขณะนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ เที่ยวตรวจราชการ
ในกรุงราชคฤห์ ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่ทำงานของโคปกโมคคัลลานพราหมณ์
แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ว่า “ท่านพระอานนท์ บัดนี้ พระคุณเจ้านั่งสนทนากัน
ด้วยเรื่องอะไรหนอ และท่านทั้งสองได้สนทนาเรื่องอะไรค้างไว้”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “พราหมณ์ ในเรื่องนี้ โคปกโมคคัลลานพราหมณ์
ได้กล่าวกับอาตมภาพอย่างนี้ว่า ‘ท่านพระอานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหม ที่
ประกอบด้วยธรรม๑ครบทุกข้อทุกประการ อย่างที่ท่านพระโคดมผู้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงประกอบพร้อมแล้ว’
เมื่อโคปกโมคคัลลานพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพได้ตอบว่า ‘พราหมณ์
ไม่มีภิกษุสักรูปหนึ่งเลยที่ประกอบด้วยธรรมครบทุกข้อทุกประการ อย่างที่พระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงประกอบพร้อมแล้ว
เพราะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่อุบัติให้อุบัติ ทรงยังมรรคที่
ยังไม่เกิดให้เกิด ตรัสบอกมรรคที่ไม่มีใครบอกได้ ทรงทราบชัดมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค
ทรงฉลาดในมรรค ส่วนสาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้ดำเนินตามมรรคในภายหลังจึง
ประกอบพร้อมอยู่’
เรื่องนี้แลที่อาตมภาพได้สนทนากับโคปกโมคคัลลานพราหมณ์ค้างไว้ ก็พอดี
ท่านมาถึง”
[๘๐] วัสสการพราหมณ์ถามว่า “ท่านพระอานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่
ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อเราล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่
พึ่งของเธอทั้งหลาย’ ซึ่งพระคุณเจ้าพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “พราหมณ์ ไม่มีภิกษุสักรูปหนึ่งเลยที่พระผู้มี
พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแต่งตั้ง
ไว้ว่า ‘เมื่อเราล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งของเธอทั้งหลาย’ ซึ่งอาตมภาพ
ทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้”
“ท่านพระอานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่สงฆ์สมมติ คือภิกษุที่ภิกษุผู้เป็น
เถระจำนวนมากแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้
จักเป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย’ ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้”
“พราหมณ์ ไม่มีภิกษุสักรูปหนึ่งเลยที่สงฆ์สมมติ คือภิกษุที่ภิกษุผู้เป็นเถระ
จำนวนมากแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่ง
ของเราทั้งหลาย’ ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้”
“ท่านพระอานนท์ ก็เมื่อไม่มีที่พึ่งอย่างนี้ อะไรเล่าเป็นเหตุแห่งความสามัคคี
กันโดยธรรม”
“พราหมณ์ อาตมภาพทั้งหลายมิใช่คนไม่มีที่พึ่ง อาตมภาพทั้งหลายเป็น
คนมีที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นที่พึ่ง”
วัสสการพราหมณ์กล่าวว่า “ท่านพระอานนท์ เมื่อกระผมถามท่านพระ
อานนท์ดังนี้ว่า ‘มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงแต่งตั้งไว้ว่า
‘เมื่อเราล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งของเธอทั้งหลาย’ ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลาย
พึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’ ท่านก็ตอบว่า ‘พราหมณ์ ไม่มีภิกษุสักรูปหนึ่งเลยที่
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งของเธอทั้งหลาย’
ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’
เมื่อกระผมถามท่านว่า ‘มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่สงฆ์สมมติ คือภิกษุที่ภิกษุผู้
เป็นเถระจำนวนมากแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้จัก
เป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย’ ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’ ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
ก็ตอบว่า ‘พราหมณ์ ไม่มีภิกษุสักรูปหนึ่งเลยที่สงฆ์สมมติ คือภิกษุที่ภิกษุผู้เป็น
เถระจำนวนมากแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้
จักเป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย’ ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’
และเมื่อกระผมถามท่านว่า ‘ก็เมื่อไม่มีที่พึ่งอย่างนี้ อะไรเล่าเป็นเหตุแห่ง
ความสามัคคีโดยธรรม’ ท่านก็ตอบว่า ‘พราหมณ์ อาตมภาพทั้งหลาย
มิใช่เป็นคนไม่มีที่พึ่ง อาตมภาพทั้งหลายเป็นคนมีที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นที่พึ่ง’
ท่านพระอานนท์ ก็คำที่พระคุณเจ้ากล่าวมาแล้วนี้ กระผมจะพึงเข้าใจเนื้อ
ความได้อย่างไร”
[๘๑] “มีอยู่ พราหมณ์ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสิกขาบท ทรงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ทุกวันอุโบสถ อาตมภาพเท่าที่มีอยู่นั้น จะเข้าไปอาศัยคามเขตแห่งหนึ่ง
อยู่ ทุกรูปจะประชุมร่วมกัน แล้วเชิญภิกษุรูปที่สวดปาติโมกข์ได้ให้สวด ถ้าขณะ
สวดปาติโมกข์ มีภิกษุต้องอาบัติ มีโทษที่ล่วงละเมิดอยู่ อาตมภาพทั้งหลายจะให้
เธอทำตามธรรม ตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคทรงพร่ำสอนไว้
ได้ยินว่า ภิกษุผู้เจริญทั้งหลายมิได้ใช้ให้อาตมภาพทั้งหลายทำ ธรรมใช้ให้
อาตมภาพทั้งหลายทำ”
“ท่านพระอานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่พระคุณเจ้าทั้งหลายสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ได้ในบัดนี้”
“มีอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งที่อาตมภาพทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ได้ในบัดนี้”
“ท่านพระอานนท์ เมื่อกระผมถามท่านว่า ‘มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่ท่านพระ
โคดมพระองค์นั้นทรงแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อเราล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งของ
ท่านทั้งหลาย’ ซึ่งพระคุณเจ้าพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’ ท่านก็ตอบว่า ‘พราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
ไม่มีภิกษุสักรูปหนึ่งเลยที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธจ้าพระองค์นั้นทรงแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อเราล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่ง
ของเธอทั้งหลาย’ ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’
เมื่อกระผมถามท่านว่า ‘มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่สงฆ์สมมติ คือภิกษุที่ภิกษุผู้
เป็นเถระจำนวนมากแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้
จักเป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย’ ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’ ท่านก็
ตอบว่า ‘พราหมณ์ ไม่มีภิกษุแม้สักรูปหนึ่งเลยที่สงฆ์สมมติ คือภิกษุที่ภิกษุผู้เป็น
เถระจำนวนมากแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้
จักเป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย’ ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’
เมื่อกระผมถามท่านว่า ‘มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่พระคุณเจ้าทั้งหลายสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ได้ในบัดนี้’ พระคุณเจ้าตอบว่า ‘พราหมณ์
มีภิกษุอยู่รูปหนึ่งที่อาตมภาพทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วเข้าไป
อาศัยอยู่ได้ในบัดนี้’
ท่านพระอานนท์ คำที่พระคุณเจ้ากล่าวมาแล้วนี้ กระผมจะพึงเข้าใจเนื้อ
ความได้อย่างไร”
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
[๘๒] “มีอยู่ พราหมณ์ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสบอกธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสไว้ ๑๐
ประการ ในคณะของอาตมภาพ ภิกษุรูปใดมีธรรมเหล่านั้น อาตมภาพทั้งหลาย
ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ภิกษุรูปนั้น แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ในบัดนี้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๑ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรม
ทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทง
ตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร๒
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิต เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
๕. แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้
ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น
หรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่
แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศ
เหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมี
ฤทธานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้๑
๖. ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
๗. กำหนดรู้จิตของสัตว์อื่นด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า
‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ชัดว่า
‘จิตปราศจากโทสะ’ จิตมีโมหะก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีโมหะ’ หรือจิต
ปราศจากโมหะก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’ จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่า
‘จิตหดหู่’ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’ จิตเป็นมหัคคตะ
ก็รู้ชัดว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่า ‘จิต
ไม่เป็นมหัคคตะ’ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’
หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า’ จิตเป็น
สมาธิก็รู้ชัดว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ชัดว่า ‘จิต
ไม่เป็นสมาธิ’ จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ชัดว่า ‘จิตหลุดพ้นแล้ว’ หรือจิต
ไม่หลุดพ้นแล้วก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่หลุดพ้นแล้ว’
๘. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓
ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐
ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐
ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็น
อันมากบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึง
มาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะ
ทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้
๙. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม
และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม๑
๑๐. ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งเองซึ่งเจโตวิมุตติ๒ปัญญาวิมุตติ๓ อันหาอาสวะ
มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป จึงเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พราหมณ์ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑๐ ประการนี้ อันพระผู้มี
พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสบอกไว้
บรรดาอาตมภาพทั้งหลาย รูปใดมีธรรมเหล่านี้ ในบัดนี้ อาตมภาพทั้งหลายย่อม
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วเข้าไปอาศัยรูปนั้นอยู่”
[๘๓] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว วัสสการพราหมณ์ มหา
อำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ได้เรียกอุปนันทเสนาบดีมาพูดว่า “เสนาบดี ท่าน
เข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ พระคุณเจ้าเหล่านี้สักการะธรรมที่ควรสักการะ
เคารพธรรมที่ควรเคารพ นับถือธรรมที่ควรนับถือ บูชาธรรมที่ควรบูชาอยู่อย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
เอาเถิด พระคุณเจ้าเหล่านี้ ย่อมสักการะธรรมที่ควรสักการะ เคารพธรรมที่
ควรเคารพ นับถือธรรมที่ควรนับถือ บูชาธรรมที่ควรบูชา เพราะถ้าพระคุณเจ้า
เหล่านั้นไม่พึงสักการะ ไม่พึงเคารพ ไม่พึงนับถือ ไม่พึงบูชาธรรมนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
ในบัดนี้ พระคุณเจ้าเหล่านั้นจะพึงสักการะ พึงเคารพ พึงนับถือ พึงบูชา แล้ว
เข้าไปอาศัยธรรมอะไรอยู่ได้”
ครั้งนั้น วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ถามท่านพระ
อานนท์ว่า “ก็เวลานี้ ท่านพระอานนท์พักอยู่ที่ไหน”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “เวลานี้ อาตมภาพพักอยู่ที่พระเวฬุวัน”
“ท่านพระอานนท์ ก็พระเวฬุวันเป็นที่รื่นรมย์ มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย
ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่
หลีกเร้นหรือ”
“ถูกแล้ว พราหมณ์ พระเวฬุวันเป็นที่รื่นรมย์ มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย
ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่
หลีกเร้น ก็เพราะมีผู้รักษาคุ้มครองเช่นท่าน”
“ท่านพระอานนท์ แท้จริง พระเวฬุวันเป็นที่รื่นรมย์ มีเสียงน้อย มีเสียง
อึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นที่ทำการลับของมนุษย์
สมควรเป็นที่หลีกเร้น ก็เพราะมีพระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นผู้มีฌาน และเป็นผู้เข้า
ฌานอยู่ประจำต่างหาก
ท่านพระอานนท์ กระผมจะขอเล่าถวาย สมัยหนึ่ง พระโคดมผู้เจริญพระ
องค์นั้นประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล
กระผมเข้าไปเฝ้าพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นถึงที่ประทับ ณ กูฏาคารศาลา ป่า
มหาวัน ณ ที่นั้น พระองค์ได้ตรัสฌานกถาโดยอเนกปริยาย พระองค์เป็นผู้มีฌาน
และเป็นผู้เข้าฌานอยู่ประจำ และตรัสสรรเสริญฌานทั้งปวงหรือ”
[๘๔] “พราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิ
ใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. มีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัด
ตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด๑กามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคล
นั้นจึงเพ่ง หมกมุ่น จดจ่อ จินตนาการ ทำกามราคะเท่านั้นไว้ภายใน
๒. มีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคลนั้นจึงเพ่ง
หมกมุ่น จดจ่อ จินตนาการ ทำพยาบาทเท่านั้นไว้ภายใน
๓. มีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคลนั้นจึงเพ่ง
หมกมุ่น จดจ่อ จินตนาการ ทำถีนมิทธะเท่านั้นไว้ภายใน
๔. มีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิด
ขึ้นแล้ว๒ บุคคลนั้นจึงเพ่ง หมกมุ่น จดจ่อ จินตนาการ ทำ
อุทธัจจกุกกุจจะเท่านั้นไว้ภายใน
๕. มีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว๒ บุคคลนั้นจึงเพ่ง
หมกมุ่น จดจ่อ จินตนาการ ทำวิจิกิจฉาเท่านั้นไว้ภายใน
พราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตก วิจาร
สงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ บรรลุตติยฌาน ...
บรรลุจตุตถฌาน ... อยู่
พราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้”
“ท่านพระอานนท์ ได้ยินว่า พระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นทรงติเตียนฌานที่
ควรติเตียน ทรงสรรเสริญฌานที่ควรสรรเสริญ ถ้าเช่นนั้น บัดนี้ กระผมขอลากลับ
เพราะมีกิจ มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก”
“พราหมณ์ ท่านจงรู้กาลอันควรไป ณ บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ชื่นชมยินดี
ภาษิตของท่านพระอานนท์ ลุกจากที่นั่งแล้วจากไป
ครั้งนั้นแล เมื่อวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ จากไปแล้ว
ไม่นาน โคปกโมคคัลลานพราหมณ์ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ว่า “ท่านพระ
อานนท์ยังมิได้ตอบปัญหาที่กระผมทั้งหลายถามเลย”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “พราหมณ์ เราได้กล่าวแล้วมิใช่หรือว่า ‘ไม่มีภิกษุ
แม้สักรูปหนึ่งที่ประกอบด้วยธรรมครบถ้วนทุกข้อทุกประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงประกอบพร้อมแล้ว เพราะ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงยังมรรคที่ไม่อุบัติให้อุบัติ ทรงยังมรรคที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิด ตรัสบอกมรรคที่ไม่มีใครบอกได้ ทรงทราบชัดมรรค ทรงรู้แจ้ง
มรรค ทรงฉลาดในมรรค ส่วนสาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้ดำเนินตามมรรคใน
ภายหลังจึงประกอบพร้อมอยู่”
โคปกโมคคัลลานสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร

๙. มหาปุณณมสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาในคืนดวงจันทร์เต็มดวง สูตรใหญ่
[๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนดวงจันทร์
เต็มดวง พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่ง ณ ที่แจ้ง ครั้งนั้น
ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทูลถามเหตุอย่างหนึ่งกับพระองค์ ถ้า
พระผู้มีพระภาคทรงประทานวโรกาส ที่จะตอบปัญหาแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนั่งบนอาสนะของตน
แล้วถามปัญหาที่เธอต้องการจะถามเถิด”
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
[๘๖] ลำดับนั้น ภิกษุนั้นนั่งบนอาสนะของตนแล้วได้ทูลถามปัญหากับ
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ใช่ไหม คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)”

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ ๒. เวทนูปาทานขันธ์
๓. สัญญูปาทานขันธ์ ๔. สังขารูปาทานขันธ์
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร
มูลเหตุแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ มีอะไรเป็นมูลเหตุ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ มีฉันทะ
เป็นมูลเหตุ”๑
“อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนั้นเป็นอย่างเดียวกัน หรืออุปาทาน
เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนั้นเป็นอย่างเดียวกันก็มิใช่
ทั้งอุปาทานขันธ์เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการก็มิใช่ แต่ฉันทราคะใน
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนั้น เป็นตัวอุปาทาน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
จะพึงมีได้หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มีได้ ภิกษุ” แล้วได้ตรัสต่อไปว่า “ภิกษุ
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ในอนาคต ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้
มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้’
ภิกษุ ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ พึงมีได้ ด้วยอาการ
อย่างนี้”
เหตุที่ชื่อว่าขันธ์
ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรขันธ์จึงชื่อ
ว่าขันธ์”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่ารูปขันธ์
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปใน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้
เรียกว่าวิญญาณขันธ์
ภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ขันธ์จึงชื่อว่าขันธ์”
เหตุที่ทำให้ขันธ์ปรากฏ
ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย
ทำให้รูปขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ มหาภูต ๔ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้
รูปขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ
นามรูปเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ”
เหตุเกิดสักกายทิฏฐิ
[๘๗] ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้
อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ปุถุชน๑ในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็น
พระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของ
สัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา
พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
ภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างนี้”
เหตุที่ทำให้สักกายทิฏฐิไม่มี
ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีไม่ได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ ได้
เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณา
เห็นรูปในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา
ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
ไม่พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
ภิกษุ สักกายทิฏฐิมีไม่ได้อย่างนี้”
คุณ โทษ และการสลัดออกจากอุปาทานขันธ์
[๘๘] ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็น
โทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากรูป อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็น
เครื่องสลัดออกจากเวทนา อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก
จากสัญญา อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสังขาร อะไร
เป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้
เป็นคุณในรูป๑ สภาพที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็น
โทษในรูป๒ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในรูป นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากรูป๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในเวทนา สภาพที่เวทนา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในเวทนา ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสัญญาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสัญญา สภาพที่สัญญา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสัญญา ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในสัญญา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากสัญญา
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสังขาร สภาพที่สังขารไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสังขาร ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในสังขาร นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากสังขาร
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในวิญญาณ สภาพที่
วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในวิญญาณ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณ”
ความไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
[๘๙] ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร
เห็นอยู่อย่างไร จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย๑ ในกายที่มีวิญญาณนี้
และในสรรพนิมิตภายนอก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอัน
ชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปใน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ภิกษุนั้น
พิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ
และมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตในภายนอก”
[๙๐] ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ได้ยินว่า รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา
สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น กรรมที่ถูกอนัตตากระทำ
จักถูกต้องอัตตาได้อย่างไร”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของภิกษุรูปนั้นด้วยพระทัย
แล้ว ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่โมฆบุรุษ
บางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่รู้แจ้ง ตกอยู่ในอำนาจอวิชชา มีใจถูกตัณหา
ครอบงำ จึงเข้าใจคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่าด้วยความคิดคำนึงว่า ‘ท่านผู้
เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา
สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น กรรมที่ถูกอนัตตากระทำ
จักถูกต้องอัตตาได้อย่างไร’ ภิกษุทั้งหลาย เราจะย้อนถาม เราได้แนะนำเธอ
ทั้งหลายในธรรมเหล่านั้น ๆ ไว้แล้ว๑
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือรูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ เวทนา ...
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือภายนอก หยาบหรือ
ละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ภิกษุพึงพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วย
ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่น
ไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปใน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ภิกษุพึง
พิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั่นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑๐. จูฬปุณณมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
สังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณว่า ‘หลุด
พ้นแล้ว’ อริยสาวกย่อมรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่
ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล
มหาปุณณมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จูฬปุณณมสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาในคืนดวงจันทร์เต็มดวง สูตรเล็ก
[๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนดวงจันทร์
เต็มดวง พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่ง ณ ที่แจ้ง
ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษหรือว่า
‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่อสัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ‘ผู้นี้เป็น
อสัตบุรุษ’ อนึ่ง อสัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษหรือว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ”
“ไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑๐. จูฬปุณณมสูตร
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่อสัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ‘ผู้นี้เป็น
สัตบุรุษ’
เพราะว่า อสัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม๑ มีความภักดีต่ออสัตบุรุษ
มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ มีการ
กระทำอย่างอสัตบุรุษ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ ให้ทานอย่างอสัตบุรุษ
อสัตบุรุษผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา(ความเชื่อ) ไม่มีหิริ(ความละอาย
ต่อบาป) ไม่มีโอตตัปปะ(ความเกรงกลัวบาป) มีสุตะน้อย(การได้ยินได้ฟังน้อย)
เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม
อสัตบุรุษผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม เป็นอย่างนี้ (๑)
อสัตบุรุษผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ
มีสุตะน้อย เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม เป็นมิตร เป็นสหาย
อสัตบุรุษผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๒)
อสัตบุรุษผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมคิดเพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
อสัตบุรุษผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๓)
อสัตบุรุษผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนผู้
อื่นบ้าง ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
อสัตบุรุษผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๔)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑๐. จูฬปุณณมสูตร
อสัตบุรุษผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีปกติพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
อสัตบุรุษผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๕)
อสัตบุรุษผู้มีการกระทำอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีปกติฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
อสัตบุรุษผู้มีการกระทำอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๖)
อสัตบุรุษผู้มีทิฏฐิอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่
บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วก็ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี
ทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เป็น
โอปปาติกะ๑ก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลก
หน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนให้ผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก
อสัตบุรุษผู้มีทิฏฐิอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๗)
อสัตบุรุษให้ทานอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ให้ทานโดยไม่เคารพ๒ ไม่ให้ทานด้วยมือของตน ไม่ให้
ทานด้วยความอ่อนน้อม ให้ทานอย่างเสียไม่ได้ เป็นผู้ไม่เห็นผลให้ทาน
อสัตบุรุษให้ทานอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๘)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑๐. จูฬปุณณมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยอสัทธรรมอย่างนี้ มีความ
ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่าง
อสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีการกระทำอย่างอสัตบุรุษ
อย่างนี้ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว หลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในคติของอสัตบุรุษ
คติของอสัตบุรุษ คืออะไร
คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
[๙๒] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษ
หรือว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ’
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “รู้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่สัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ’
ส่วนสัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษหรือว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ”
“รู้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่สัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’
เพราะว่า สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม มีความภักดีต่อสัตบุรุษ มี
ความคิดอย่างสัตบุรุษ มีความรู้อย่างสัตบุรุษ มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ มีการ
กระทำอย่างสัตบุรุษ มีทิฏฐิอย่างสัตบุรุษ ให้ทานอย่างสัตบุรุษ
สัตบุรุษผู้ประกอบด้วยสัทธรรม เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก
ปรารภความเพียร มีสติตั้งมั่น มีปัญญา
สัตบุรุษผู้ประกอบด้วยสัทธรรม เป็นอย่างนี้ (๑)
สัตบุรุษผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก
ปรารภความเพียร มีสติตั้งมั่น มีปัญญา เป็นมิตร เป็นสหาย
สัตบุรุษผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑๐. จูฬปุณณมสูตร
สัตบุรุษผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
สัตบุรุษผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๓)
สัตบุรุษผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อไม่เบียดเบียนตนบ้าง ย่อมรู้เพื่อไม่
เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมรู้เพื่อไม่เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
สัตบุรุษผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๔)
สัตบุรุษผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อ
เสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
สัตบุรุษผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๕)
สัตบุรุษผู้มีการกระทำอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลัก
ทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
สัตบุรุษผู้มีการกระทำอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๖)
สัตบุรุษผู้มีทิฏฐิอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชา
แล้วมีผล การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมี
โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีอยู่
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็มีอยู่ในโลก
สัตบุรุษผู้มีทิฏฐิอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
สัตบุรุษให้ทานอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ให้ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทานด้วย
ความอ่อนน้อม ให้ทานอย่างบริสุทธิ์ เป็นผู้มีทิฏฐิว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล’ ดังนี้
แล้วจึงให้ทาน
สัตบุรุษให้ทานอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๘)
สัตบุรุษนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรมอย่างนี้ มีความภักดีต่อสัตบุรุษอย่างนี้
มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่าง
สัตบุรุษอย่างนี้ มีการกระทำอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ ให้
ทานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว หลังจากตายแล้ว ย่อมบังเกิดในคติของสัตบุรุษ
คติของสัตบุรุษ คืออะไร
คือ ความเป็นใหญ่ในเทวดา หรือความเป็นใหญ่ในมนุษย์”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐ จบ
เทวทหวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เทวทหสูตร ๒. ปัญจัตตยสูตร
๓. กินติสูตร ๔. สามคามสูตร
๕. สุนักขัตตสูตร ๖. อาเนญชสัปปายสูตร
๗. คณกโมคคัลลานสูตร ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
๙. มหาปุณณมสูตร ๑๐. จูฬปุณณมสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑. อนุปทสูตร

๒. อนุปทวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมตามลำดับบท
๑. อนุปทสูตร
ว่าด้วยธรรมตามลำดับบท
[๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นบัณฑิต๑ มีปัญญามาก๒ มีปัญญากว้างขวาง๓ มี
ปัญญาร่าเริง๔ มีปัญญารวดเร็ว๕ มีปัญญาเฉียบแหลม๖ มีปัญญาเพิกถอนกิเลส๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑. อนุปทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพียงกึ่งเดือน สารีบุตรก็เห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทได้ ในการเห็น
แจ้งธรรมตามลำดับบท๑ของสารีบุตรนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้
รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ สารีบุตรสงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
ก็ธรรมในปฐมฌาน คือ วิตก(ความตรึก) วิจาร(ความตรอง) ปีติ(ความอิ่มใจ)
สุข(ความสุข) จิตเตกัคคตา(ความที่จิตมีอารมณ์เดียว) ผัสสะ(ความถูกต้อง) เวทนา
(ความเสวยอารมณ์) สัญญา(ความหมายรู้) เจตนา(ความจงใจ) วิญญาณ(ความ
รู้แจ้ง) ฉันทะ(ความพอใจ) อธิโมกข์(ความน้อมใจเชื่อ) วิริยะ(ความเพียร)
สติ(ความระลึกได้) อุเบกขา(ความวางเฉย) มนสิการ(ความใส่ใจ)เหล่านั้น สารีบุตร
กำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่
ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้ว
ย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ
กิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไป ยังมีอยู่’ เธอมี
ความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๑)
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป สารีบุตรบรรลุทุติยฌาน มี
ความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ก็ธรรมในทุติยฌาน คือ ความผ่องใสในภายใน ปีติ
สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ
สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่
สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑. อนุปทสูตร
เหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า
‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะ
การกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๒)
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป สารีบุตรมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ ก็ธรรมในตติยฌาน คือ สุข สติ สัมปชัญญะ(ความรู้ตัว)
จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ
สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่
สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี
ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้ว
ในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้
ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้
เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๓)
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
สารีบุตรบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ก็ธรรม
ในจตุตถฌาน คือ อุเบกขา อทุกขมสุขเวทนา เพราะใจบริสุทธิ์แล้วจึงไม่มีความ
คิดคำนึง สติบริสุทธิ์ จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ
ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตาม
ลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อม
ดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ
กิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมี
ความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๔)
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง สารีบุตรบรรลุอากาสานัญจายตนะ โดยกำหนดว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑. อนุปทสูตร
‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ ก็ธรรมในอากาสานัญจายตนะ คือ อากาสานัญจายตน-
สัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์
วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว
ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัด
อย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่
ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พราก
ได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตร
นั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์
มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๕)
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
สารีบุตรบรรลุวิญญาณัญจายตนะ โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
ก็ธรรมในวิญญาณัญจายตนะ คือ วิญญาณัญจายตนสัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา
มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า
ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อัน
กิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น
มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัด
ทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำ
ธรรมนั้นให้มากขึ้น (๖)
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง สารีบุตร
บรรลุอากิญจัญญายตนะ โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ก็ธรรมในอากิญจัญญายตนะ
คือ อากิญจัญญายตนสัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น
สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อม
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑. อนุปทสูตร
ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้
อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้
ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ
ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้
มากขึ้น (๗)
[๙๕] อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
สารีบุตรบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เธอมีสติออกจากสมาบัตินั้นแล้ว
พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงลับ ดับ แปรผันไปแล้วว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้
ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้
อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้
ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ
ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้
มากขึ้น (๘)
[๙๖] อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการ
ทั้งปวง สารีบุตรบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะ๑
ทั้งหลายของเธอจึงสิ้นไป สารีบุตรนั้นมีสติออกจากสมาบัติแล้ว พิจารณาเห็นธรรม
ที่ล่วงลับ ดับ แปรผันไปแล้วว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้ว
ย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ
กิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมี
ความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๙)
[๙๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า ‘เป็นผู้
ถึงวสี(ความชำนาญ) ถึงบารมี(ความสำเร็จ)ในอริยศีล เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีใน
อริยสมาธิ เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยปัญญา เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยวิมุตติ’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร
ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตรนั่นเอง ที่ผู้กล่าวชอบพึงกล่าวชมว่า ‘เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมี
ในอริยศีล เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยสมาธิ เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยปัญญา
เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยวิมุตติ’
บุคคลผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า ‘เป็นบุตร เป็นโอรสของพระผู้
มีพระภาค เกิดแต่พระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิตแล้ว
เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็นอามิสทายาท’ ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตรนั่นเอง ที่ผู้กล่าว
ชอบพึงกล่าวชมว่า ‘เป็นบุตร เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระโอษฐ์ของ
พระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็น
อามิสทายาท’
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคต
ประกาศไว้แล้วโดยลำดับ โดยชอบทีเดียว”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อนุปทสูตรที่ ๑ จบ

๒. ฉวิโสธนสูตร
ว่าด้วยหลักการตรวจสอบ ๖ ประการ
[๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัด
ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป‘๑ เธอทั้งหลายไม่ควรยินดี ไม่ควรคัดค้านคำกล่าว
ของภิกษุรูปนั้น ไม่ยินดี ไม่คัดค้านแล้ว พึงถามปัญหาว่า ‘ท่านผู้มีอายุ โวหาร ๔
ประการนี้ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว’
โวหาร ๔ ประการ๒ อะไรบ้าง คือ
๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้
ท่านผู้มีอายุ โวหาร ๔ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ
ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔
ประการนี้ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว๓ บรรลุประโยชน์ตน๔โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๕
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมสมควรพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ‘ท่าน
ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในสิ่งที่ตนเห็นแล้ว มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ
กิเลสได้แล้วอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร
ข้าพเจ้าไม่ยินดี ... ในสิ่งที่ตนได้ฟังแล้ว ...
ข้าพเจ้าไม่ยินดี ... ในสิ่งที่ตนได้ทราบแล้ว ...
ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในสิ่งที่ตนได้รู้ มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลส
ได้แล้วอยู่ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะ
ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า ‘สาธุ’
แล้วพึงถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า
หลักการตรวจสอบอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
[๙๙] ‘ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์
๒. เวทนูปาทานขันธ์
๓. สัญญูปาทานขันธ์
๔. สังขารูปาทานขันธ์
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ
ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
ประการนี้ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร
‘ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปว่า ‘ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก ไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งความชื่นใจ’ จึงรู้ชัดว่า ‘จิตของเราหลุดพ้นแล้ว’ เพราะความสิ้นไป เพราะ
ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง
อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป และอนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่นได้
ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนา ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้แจ้งสัญญา ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้แจ้งสังขาร ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้แจ้งวิญญาณว่า ‘ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความชื่นใจ’ จึงรู้ชัดว่า ‘จิตของเราหลุดพ้นแล้ว’ เพราะความสิ้นไป เพราะ
ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง
อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในวิญญาณ และอนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่นได้
ท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะ
ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ได้’
ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า ‘สาธุ’
แล้วพึงถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า
หลักการตรวจสอบธาตุ ๖ ประการ
[๑๐๐] ‘ท่านผู้มีอายุ ธาตุ ๖ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว
ธาตุ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ(ธาตุลม)
๕. อากาสธาตุ(ธาตุคืออากาศ) ๖. วิญญาณธาตุ(ธาตุคือวิญญาณ)

ท่านผู้มีอายุ ธาตุ ๖ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้
อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ ประการนี้ได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ว่า ‘ท่าน
ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ามิได้ยึดมั่นปฐวีธาตุโดยความเป็นอัตตา และมิได้ยึดมั่นอัตตาที่
อาศัยปฐวีธาตุ’ จึงรู้ชัดว่า ‘จิตของเราหลุดพ้นแล้ว’ เพราะความสิ้นไป เพราะ
ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง
อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยปฐวีธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่น
ได้
ข้าพเจ้ามิได้ยึดมั่นอาโปธาตุ ฯลฯ
ข้าพเจ้ามิได้ยึดมั่นเตโชธาตุ ฯลฯ
ข้าพเจ้ามิได้ยึดมั่นวาโยธาตุ ฯลฯ
ข้าพเจ้ามิได้ยึดมั่นอากาสธาตุ ฯลฯ
ข้าพเข้ามิได้ยึดมั่นวิญญาณธาตุโดยความเป็นอัตตา และมิได้ยึดมั่นอัตตาอัน
อาศัยวิญญาณธาตุ จึงรู้ชัดว่า ‘จิตของเราหลุดพ้นแล้ว’ เพราะความสิ้นไป
เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะ
ความสละคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวิญญาณธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจ
มั่นและความปักใจมั่นได้ ท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ จึง
หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ ประการนี้ได้’
ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า ‘สาธุ’
แล้วพึงถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า
หลักการตรวจสอบอายตนะ ๑๒ ประการ
[๑๐๑] ‘ท่านผู้มีอายุ ก็อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖
ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร
อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. จักขุ(ตา)คู่กับรูป ๒. โสตะ(หู)คู่กับสัททะ(เสียง)
๓. ฆานะ(จมูก)คู่กับคันธะ(กลิ่น) ๔. ชิวหา(ลิ้น)คู่กับรส
๕. กายคู่กับโผฏฐัพพะ ๖. มโน(ใจ)คู่กับธรรมารมณ์

ท่านผู้มีอายุ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ ประการนี้
ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะ
เพราะไม่ยึดมั่นในอายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ ประการนี้ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ว่า ‘ท่านผู้มี
อายุ ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘จิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้ว’ เพราะความสิ้นไป เพราะ
ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง
ความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ความอยาก ความยึดมั่น อุปาทาน และ
อนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่นในจักขุ ในรูป ในจักขุวิญญาณ และใน
ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในโสตะ ในเสียง ในโสตวิญญาณ ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในฆานะ ในกลิ่น ในฆานวิญญาณ ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘จิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้ว’ เพราะความสิ้นไป เพราะ
ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง
ความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ความอยาก ความยึดมั่น อุปาทาน และ
อนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่นในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณ ท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็น
อยู่อย่างนี้จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในอายตนะภายในและอายตนะ
ภายนอกอย่างละ ๖ ประการนี้ได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า ‘สาธุ’
แล้วพึงถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า
หลักการตรวจสอบเรื่องการถอนอนุสัย
[๑๐๒] ‘ท่านผู้มีอายุรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงถอนอหังการ มมังการ และ
มานานุสัย ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอกได้ด้วยดี’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ว่า ‘ท่านผู้มี
อายุ เมื่อก่อนที่ข้าพเจ้ายังครองเรือนอยู่ ยังเป็นผู้ไม่รู้ พระตถาคต หรือสาวก
ของพระตถาคต ได้แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าได้สดับธรรมนั้นแล้ว จึงเกิด
ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อมีศรัทธา ย่อมตระหนักว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่อง
อึดอัด เป็นทางแห่งธุลี การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง การที่ผู้ครองเรือนจะ
ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ทาง
ที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตเถิด’
สิกขาและสาชีพของภิกษุ
ต่อมา ข้าพเจ้าละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ โกน
ผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ข้าพเจ้า
บวชแล้วอย่างนี้ ถึงความเป็นผู้มีสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลาย คือ
๑. ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มี
ความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ คือรับเอา
แต่สิ่งของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่สิ่งของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคน
สะอาดอยู่
๓. ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ คือ ประพฤติพรหมจรรย์
เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร
๔. ละ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์
มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
๕. ละ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่
ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้ว
ไม่มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่ง
เสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชม ยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน
พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
๖. ละ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ
๗. ละ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง
พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่
อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่กาลเวลา
๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม๑และภูตคาม๒
๙. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล๓
๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่น
ที่เป็นข้าศึกแก่กุศล
๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้
ของหอมและเครื่องประทินผิว อันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว
๑๒. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๔
๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร
๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
๒๑. เว้นขาดจากการรับเรือกสวนไร่นาและที่ดิน
๒๒. เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
๒๓. เว้นขาดจากการซื้อขาย
๒๔. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่อง
ตวงวัด
๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
๒๖. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว
การปล้น และการขู่กรรโชก
ข้าพเจ้านั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกาย และบิณฑบาตพออิ่มท้อง
จะไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที เหมือนนกบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ
ข้าพเจ้านั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์เช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน
[๑๐๓] ข้าพเจ้านั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวีโสธนสูตร
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ข้าพเจ้านั้น
ประกอบด้วยอริยอินทรียสังวรเช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน
ข้าพเจ้านั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน
การตื่น การพูด การนิ่ง
ข้าพเจ้านั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริยสติสัมปชัญญะ
แล้วพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า
ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ข้าพเจ้ากลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
ข้าพเจ้านั้นละอภิชฌาในโลก มีใจปราศจากอภิชฌา ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ มีจิต
ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
ถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีความสงสัย
ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา
[๑๐๔] ข้าพเจ้านั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง บั่นทอน
กำลังปัญญา สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน
ฯลฯ อยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ข้าพเจ้านั้น
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’
เมื่อข้าพเจ้ารู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ จึงถอนอหังการ มมังการ
และมานานุสัย๑ในกายที่มีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิตภายนอกได้
ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า ‘สาธุ’
แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของเราทั้งหลาย เราทั้งหลายได้ดีแล้ว
ที่พิจารณาเห็นท่านผู้มีอายุเช่นท่านเป็นเพื่อนพรหมจารี”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ฉวิโสธนสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ
[๑๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษนั้น จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ธรรมของอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ออกจากตระกูลสูงบวชแล้ว เธอย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ออกจากตระกูลสูง๑บวช ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ มิได้เป็นผู้
ออกจากตระกูลสูงบวช’ เพราะความเป็นผู้มีตระกูลสูงนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน
ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้มีตระกูลสูง ธรรม
คือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือ
โมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ออกจากตระกูลสูงบวชแล้ว แต่
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้
ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้มีตระกูลสูงนั้น
สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ออกจากตระกูลใหญ่๒บวช ฯลฯ เป็นผู้ออก
จากตระกูลมีโภคะมากบวช ... เป็นผู้ออกจากตระกูลมีโภคะโอฬารบวช อสัตบุรุษ
นั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ออกจากตระกูลมีโภคะโอฬารบวช ส่วน
ภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ออกจากตระกูลมีโภคะโอฬารบวช’ เพราะความเป็นผู้มี
โภคะโอฬารนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้มีโภคะโอฬาร
ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือ
ธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ออกจากตระกูลมีโภคะ
โอฬารบวชแล้ว แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตาม
ธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้มี
โภคะโอฬารนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน
ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒-๔)
[๑๐๖] อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ๑ ย่อมพิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ‘เรามีชื่อเสียง มียศ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง มีศักดิ์น้อย‘๒
เพราะความเป็นผู้มีชื่อเสียงนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้มีชื่อเสียง ธรรมคือ
โลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือ
โมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีชื่อเสียง ไม่ใช่เป็นผู้มียศ แต่
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้
ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้มีชื่อเสียงนั้น สัตบุรุษ
นั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๕)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร๓ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร’ เพราะการได้นั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น