Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๔-๔ หน้า ๑๒๘ - ๑๖๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะการได้นั้น ธรรมคือโลภะย่อม
ไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือโมหะย่อมไม่
ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม
เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะการได้นั้น สัตบุรุษนั้น
จึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๖)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นพหูสูต ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็น
พหูสูต ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่เป็นพหูสูต’ เพราะความเป็นพหูสูตนั้น อสัตบุรุษ
นั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นพหูสูต ธรรมคือโลภะ
ย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือโมหะย่อม
ไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นพหูสูต แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ
ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นพหูสูตนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ใน
ภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๗)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ทรงจำวินัย ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เรา
เป็นผู้ทรงจำวินัย ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่เป็นผู้ทรงจำวินัย’ เพราะความเป็นผู้ทรง
จำวินัยนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ทรงจำวินัยนั้น
ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือ
ธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ทรงจำวินัย แต่เป็นผู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา
ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้ทรงจำวินัยนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำ
ข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๘)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นพระธรรมกถึก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เรา
เป็นพระธรรมกถึก ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นพระธรรมกถึก’ เพราะความเป็น
พระธรรมกถึกนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นพระธรรมกถึก ธรรม
คือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือ
โมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นพระธรรมกถึก แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ
ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นพระธรรมกถึกนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติ
เท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๙)
[๑๐๗] อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ถือการอยู่
ป่าเป็นวัตร’ เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือ
ธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร แต่
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้
ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนั้น
สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้
ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร’ เพราะความเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น
อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุล
เป็นวัตร ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป
หรือธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุล
เป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม
เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้ถือการทรง
ผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน
ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๑)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ย่อม
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้
ไม่เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร’ เพราะความเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตรนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตร ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึง
ความสิ้นไป หรือธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการ
เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ
ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะ
ความเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้
ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ย่อมพิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ถือการอยู่
โคนไม้เป็นวัตร’ เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน
ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร
ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือ
ธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร
แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้
ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็น
วัตรนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๓)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร ฯลฯ เป็นผู้ถือ
การอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร ฯลฯ เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ฯลฯ เป็นผู้ถือการอยู่
ในเสนาสนะที่เขาจัดให้เป็นวัตร ฯลฯ เป็นผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร
อสัตบุรุษนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร
ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร’ เพราะความเป็น
ผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตรนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการฉัน ณ
อาสนะเดียวเป็นวัตร ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึง
ความสิ้นไป หรือธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการฉัน
ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ
ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะ
ความเป็นผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตรนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติ
เท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๔-๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร

สมาบัติ ๘ ประการ
[๑๐๘] อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ อสัตบุรุษนั้นย่อม
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้ปฐมฌานสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็น
ผู้ได้ปฐมฌานสมาบัติ’ เพราะปฐมฌานสมาบัตินั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะปฐมฌานสมาบัติ พระผู้มี
พระภาคจึงตรัสอตัมมยตา๑ไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วยเหตุใด ๆ เหตุนั้น ๆ
ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะปฐมฌานสมาบัตินั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำ
อตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๙)
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป อสัตบุรุษบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
อยู่ อสัตบุรุษนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้จตุตถฌานสมาบัติ
ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ได้จตุตถฌานสมาบัติ’ เพราะจตุตถฌานสมาบัตินั้น
อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะจตุตถฌานสมาบัติ พระผู้มี
พระภาคจึงตรัสอตัมมยตาไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วยเหตุใด ๆ เหตุนั้น ๆ
ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะจตุตถฌานสมาบัตินั้น สัตบุรุษนั้นจึง
ทำอตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒๐-๒๒)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง อสัตบุรุษบรรลุอากาสานัญจายตนะ โดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้อากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ’ เพราะ
อากาสานัญจายตนสมาบัตินั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะอากาสานัญจายตนสมาบัติ
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอตัมมยตาไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วยเหตุใด ๆ
เหตุนั้น ๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะอากาสานัญจายตนสมาบัติ
นั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำอตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒๓)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนะ โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อม
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้
ไม่เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ’ เพราะวิญญาณัญจายตนสมาบัตินั้น
อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอตัมมยตาไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วยเหตุใด ๆ
เหตุนั้น ๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
นั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำอตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒๔)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษก้าวล่วงวิญญาณณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนะ โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร
ดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ได้
อากิญจัญญายตนสมาบัติ’ เพราะอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น อสัตบุรุษนั้น
จึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะอากิญจัญญายตนสมาบัติ
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอตัมมยตาไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วยเหตุใด ๆ
เหตุนั้น ๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น
สัตบุรุษนั้นจึงทำอตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒๕)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ได้เนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ’ เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้น อสัตบุรุษนั้น
จึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอตัมมยตาไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วย
เหตุใด ๆ เหตุนั้น ๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัตินั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำอตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่
ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒๖)
อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของสัตบุรุษ
นั้นจึงสิ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้แลย่อมไม่ถือตัวกับใคร ๆ ไม่ถือตัวในที่ไหน ๆ และ
ไม่ถือตัวด้วยเหตุไร ๆ (๒๗)”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
สัปปุริสสูตรที่ ๓ จบ

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรเสพและธรรมที่ไม่ควรเสพ
[๑๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายที่ควรเสพ๑
และไม่ควรเสพแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมบรรยายนั้น จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกายสมาจาร(ความประพฤติทางกาย) ไว้ ๒ ประการ
คือ
๑. กายสมาจารที่ควรเสพ
๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ
กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
เรากล่าววจีสมาจาร(ความประพฤติทางวาจา) ไว้ ๒ ประการ คือ
๑. วจีสมาจารที่ควรเสพ
๒. วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ
วจีสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นวจีสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน
เรากล่าวมโนสมาจาร(ความประพฤติทางใจ) ไว้ ๒ ประการ คือ
๑. มโนสมาจารที่ควรเสพ
๒. มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ
มโนสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นมโนสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน
เรากล่าวจิตตุปบาท(ความเกิดขึ้นแห่งจิต) ไว้ ๒ ประการ คือ
๑. จิตตุปบาทที่ควรเสพ
๒. จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ
จิตตุปบาททั้ง ๒ ประการนั้นเป็นจิตตุปบาทที่ตรงข้ามกันและกัน
เรากล่าวการได้สัญญาไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้สัญญาที่ควรเสพ
๒. การได้สัญญาที่ไม่ควรเสพ
การได้สัญญาทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้สัญญาที่ตรงข้ามกัน
และกัน
เรากล่าวการได้ทิฏฐิไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้ทิฏฐิที่ควรเสพ
๒. การได้ทิฏฐิที่ไม่ควรเสพ
การได้ทิฏฐิทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้ทิฏฐิที่ตรงข้ามกันและกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
เรากล่าวการได้อัตภาพไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ
๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ
การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้
คือ
[๑๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกาย
สมาจารไว้ ๒ ประการ คือ
๑. กายสมาจารที่ควรเสพ
๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ
กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
กายสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น กายสมาจารเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
กายสมาจาร ๒ ประการ
[๑๑๑] เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือ
เปื้อนเลือด ชอบฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
เจ้าของไม่ได้ให้ คือถือเอาทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า
ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยความเป็นขโมย และเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือเป็นผู้
ละเมิดจารีตในหญิงที่อยู่ในปกครองของมารดา หญิงที่อยู่ในปกครองของบิดา
หญิงที่อยู่ในปกครองของมารดาและบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย
หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงที่อยู่ในปกครองของญาติ หญิงที่อยู่
ในปกครองของตระกูล หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง หญิงที่มีสามี หญิงที่มีสินไหมติด
ตัวอยู่ โดยที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ คือไม่ถือเอาทรัพย์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยความ
เป็นขโมย เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการประพฤิตผิดในกาม คือเป็นผู้ไม่ละเมิดจารีต
ในหญิงที่อยู่ในปกครองของมารดา หญิงที่อยู่ในปกครองของบิดา หญิงที่อยู่ใน
ปกครองของมารดาและบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย หญิงที่อยู่ใน
ปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงที่อยู่ในปกครองของญาติ หญิงที่อยู่ในปกครอง
ของตระกูล หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง หญิงที่มีสามี หญิงที่มีสินไหมติดตัวอยู่ โดย
ที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
พระพุทธเจ้าข้า
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกายสมาจาร
ไว้ ๒ ประการ คือ
๑. กายสมาจารที่ควรเสพ
๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ
กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพระอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววจีสมาจารไว้
๒ ประการ คือ
๑. วจีสมาจารที่ควรเสพ
๒. วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ
วจีสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นวจีสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะ
ทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง วจีสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นใด
อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น วจีสมาจารเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
วจีสมาจาร ๒ ประการ
[๑๑๒] เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้พูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่
ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขา
อ้างเป็นพยาน ซักถามว่า ‘พ่อคุณ เชิญเถิด ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคล
นั้นไม่รู้ ก็พูดว่า ‘รู้’ หรือรู้ก็พูดว่า ‘ไม่รู้’ ไม่เห็นก็พูดว่า ‘เห็น’ หรือเห็นก็พูดว่า
‘ไม่เห็น’ เขาพูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง
เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง๑ เป็นผู้พูดส่อเสียด คือฟังจากข้างนี้แล้ว
ไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว มาบอกข้างนี้ เพื่อ
ทำลายคนหมู่โน้น ยุยงคนที่สามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่แตกแยกกัน ชื่นชมยินดี
เพลิดเพลินต่อผู้ที่แตกแยกกัน พูดแต่ถ้อยคำที่ก่อความแตกแยกกัน เป็นผู้พูด
คำหยาบ คือกล่าวแต่คำที่หยาบคาย เผ็ดร้อน หยาบคายร้ายกาจแก่ผู้อื่น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ
พูดไม่ถูกเวลา พูดคำไม่จริง พูดไม่อิงประโยชน์ พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย
พูดคำที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ตามกาลอันไม่สมควร
เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จได้แล้วคือ
อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่
ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยาน ซักถามว่า ‘พ่อคุณ เชิญเถิด ท่านรู้
สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่รู้ก็พูดว่า ‘ไม่รู้’ หรือรู้ ก็พูดว่า ‘รู้’ ไม่เห็นก็พูดว่า
‘ไม่เห็น’ หรือเห็นก็พูดว่า ‘เห็น’ เขาไม่พูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะตนเป็นเหตุบ้าง
เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ละการพูด
ส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดได้แล้ว ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้างโน้น
เพื่อทำลายคนหมู่นี้ ฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น
เป็นผู้สมานคนที่แตกแยกกัน หรือส่งเสริมคนที่มีประโยชน์ร่วมกัน มีความสามัคคี
เป็นที่ชื่นชม ยินดีในความสามัคคี รื่นเริงในสามัคคีธรรม เป็นผู้กล่าววาจาก่อให้
เกิดความสามัคคี ละการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบได้แล้ว วาจาใด
ไร้โทษ เสนาะโสต น่ารัก จับใจ เป็นถ้อยคำของชาวเมือง คนส่วนใหญ่ชอบใจ
คนส่วนใหญ่พอใจ ก็กล่าววาจาเช่นนั้น ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูด
เพ้อเจ้อได้แล้ว พูดถูกเวลา พูดจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย กล่าว
วาจาเป็นหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีต้นมีปลาย ประกอบด้วยประโยชน์ตามกาลอัน
สมควร๑
เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
พระพุทธเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววจีสมาจารไว้
๒ ประการ คือ
๑. วจีสมาจารที่ควรเสพ
๒. วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ
วจีสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นวจีสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมโนสมาจารไว้
๒ ประการ คือ
๑. มโนสมาจารที่ควรเสพ
๒. มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ
มโนสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นมโนสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะ
ทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง มโนสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพมโนสมาจารเช่นใด
อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น มโนสมาจารเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
มโนสมาจาร ๒ ประการ
[๑๑๓] เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา คือเพ่งเล็ง
อยากได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น
จะพึงเป็นของเรา’ เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า
จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศไป หรืออย่าได้มี’๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา คือ
ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’ เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ ไม่มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์
เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความทุกข์ มีความสุข รักษาตนเถิด’๑
เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
พระพุทธเจ้าข้า
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมโนสมาจารไว้
๒ ประการ คือ
๑. มโนสมาจารที่ควรเสพ
๒. มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ
มโนสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นมโนสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
จิตตุปบาท ๒ ประการ
[๑๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว
จิตตุปบาทไว้ ๒ ประการ คือ
๑. จิตตุปบาทที่ควรเสพ
๒. จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
จิตตุปบาททั้ง ๒ ประการนั้นเป็นจิตตุปบาทที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะ
ทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
จิตตุปบาทเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น จิตตุปบาทเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา มีจิตสหรคต
ด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ปองร้ายเขา มีจิตสหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความ
เบียดเบียน มีจิตสหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่
เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา มีจิตไม่
สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่พยาบาท มีจิตสหรคตด้วยความไม่พยาบาทอยู่
เป็นผู้ไม่เบียดเบียนอยู่ มีจิตสหรคตด้วยความไม่เบียดเบียนอยู่
เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
พระพุทธเจ้าข้า
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวจิตตุปบาทไว้
๒ ประการ คือ
๑. จิตตุปบาทที่ควรเสพ
๒. จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ
จิตตุปบาททั้ง ๒ ประการนั้นเป็นจิตตุปบาทที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

การได้สัญญา ๒ ประการ
[๑๑๕] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการ
ได้สัญญาไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้สัญญาที่ควรเสพ
๒. การได้สัญญาที่ไม่ควรเสพ
การได้สัญญาทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้สัญญาที่ตรงข้ามกันและกัน’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง การได้สัญญาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพการได้สัญญา
เช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น การได้สัญญาเช่นนี้ควรเสพ
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาสหรคตด้วย
อภิชฌาอยู่ เป็นผู้พยาบาท มีสัญญาสหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความเบียดเบียน
มีสัญญาสหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่
เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาสหรคตด้วย
อนภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่พยาบาท มีสัญญาสหรคตด้วยความไม่พยาบาทอยู่ เป็นผู้
ไม่มีความเบียดเบียน มีสัญญาสหรคตด้วยความไม่เบียดเบียนอยู่
เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
พระพุทธเจ้าข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้สัญญาไว้
๒ ประการ คือ
๑. การได้สัญญาที่ควรเสพ
๒. การได้สัญญาที่ไม่ควรเสพ
การได้สัญญาทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้สัญญาที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
การได้ทิฏฐิ ๒ ประการ
[๑๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการ
ได้ทิฏฐิไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้ทิฏฐิที่ควรเสพ
๒. การได้ทิฏฐิที่ไม่ควรเสพ
การได้ทิฏฐิทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้ทิฏฐิที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะ
ทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
เมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
การได้ทิฏฐิเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น การได้ทิฏฐิเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วก็ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่
ทำดีทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่
เป็นโอปปาติกะ๑ ก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และ
โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก‘๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
เมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล
ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำ
ชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีอยู่
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’
เมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
พระพุทธเจ้าข้า
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้ทิฏฐิ
ไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้ทิฏฐิที่ควรเสพ
๒. การได้ทิฏฐิที่ไม่ควรเสพ
การได้ทิฏฐิทั้ง ๒ ประการนั้น เป็นการได้ทิฏฐิที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
การได้อัตภาพ ๒ ประการ
[๑๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการ
ได้อัตภาพไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ
๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ
การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
การได้อัตภาพเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น การได้อัตภาพเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพ อันมีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะการ
ได้อัตภาพอันมีความเบียดเบียนยังไม่สิ้นสุดลง อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพ อันไม่มีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะ
การได้อัตภาพอันไม่มีความเบียดเบียนสิ้นสุดลงแล้ว อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้อัตภาพ
ไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ
๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ
การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้
[๑๑๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้เนื้อความแห่ง
ธรรมบรรยายที่เรากล่าวไว้โดยย่อ ไม่ชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้
อย่างนี้ ถูกต้องแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกายสมาจารไว้ ๒ ประการ คือ
๑. กายสมาจารที่ควรเสพ
๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ
กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
กายสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น กายสมาจารเช่นนี้ควรเสพ
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือ
เปื้อนเลือด ชอบฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของไม่ได้ให้ คือถือเอาทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า
ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยความเป็นขโมย และเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือเป็น
ผู้ละเมิดจารีตในหญิงที่อยู่ในปกครองของมารดา หญิงที่อยู่ในปกครองของบิดา
หญิงที่อยู่ในปกครองของมารดาและบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย
หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงที่อยูในปกครองของญาติ หญิงที่อยู่
ในปกครองของตระกูล หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง หญิงที่มีสามี หญิงที่มีสินไหมติด
ตัวอยู่ โดยที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ คือ
ไม่ถือเอาทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
ด้วยความเป็นขโมย เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือเป็นผู้ไม่
ละเมิดจารีตในหญิงที่อยู่ในปกครองของมารดา หญิงที่อยู่ในปกครองของบิดา
หญิงที่อยู่ในปกครองของมารดาและบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย
หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงที่อยู่ในปกครองของญาติ หญิงที่อยู่
ในปกครองของตระกูล หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง หญิงที่มีสามี หญิงที่มีสินไหม
ติดตัวอยู่ โดยที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้
สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกายสมาจารไว้ ๒ ประการ คือ
๑. กายสมาจารที่ควรเสพ
๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ
กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววจีสมาจารไว้ ๒ ประการ ฯลฯ
เรากล่าวมโนสมาจารไว้ ๒ ประการ ฯลฯ
เรากล่าวจิตตุปบาทไว้ ๒ ประการ ฯลฯ
เรากล่าวการได้สัญญาไว้ ๒ ประการ ฯลฯ
เรากล่าวการได้ทิฏฐิไว้ ๒ ประการ ฯลฯ
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้อัตภาพไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ
๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ
การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
การได้อัตภาพเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น การได้อัตภาพเช่นนี้ควรเสพ
เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพที่มีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะการ
ได้อัตภาพที่มีความเบียดเบียนยังไม่สิ้นสุดลง อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพที่ไม่มีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะการ
ได้อัตภาพที่ไม่มีความเบียดเบียนสิ้นสุดลงแล้ว อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้อัตภาพไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ
๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ
การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวไว้โดยย่อ ไม่
ชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

อายตนะ ๑๒ ประการ
[๑๑๙] สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไว้ ๒ ประการ คือ
๑. รูปที่ควรเสพ
๒. รูปที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูไว้ ๒ ประการ คือ
๑. เสียงที่ควรเสพ
๒. เสียงที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกไว้ ๒ ประการ คือ
๑. กลิ่นที่ควรเสพ
๒. กลิ่นที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นไว้ ๒ ประการ คือ
๑. รสที่ควรเสพ
๒. รสที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายไว้ ๒ ประการ คือ
๑. โผฏฐัพพะที่ควรเสพ
๒. โผฏฐัพพะที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไว้ ๒ ประการ คือ
๑. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ
๒. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร โดยพิสดาร
อย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้ง
ทางตาไว้ ๒ ประการ คือ
๑. รูปที่ควรเสพ
๒. รูปที่ไม่ควรเสพ’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรม
เจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคล
เสพรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น รูปที่พึงรู้
แจ้งทางตาเช่นนี้ควรเสพ
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไว้
๒ ประการ คือ
๑. รูปที่ควรเสพ
๒. รูปที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ ข้าพระองค์จึงกล่าวไว้
พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวเสียงที่พึงรู้แจ้ง
ทางหู ฯลฯ
เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นนี้
ควรเสพ ฯลฯ
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเช่นนี้
ควรเสพ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเช่นนี้
ควรเสพ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้ง
ทางกายเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้
แจ้งทางใจไว้ ๒ ประการ คือ
๑. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ
๒. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด
อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นนี้ไม่ควรเสพ
และเมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศล
ธรรมเจริญขึ้น ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นนี้ควรเสพ
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้
แจ้งทางใจไว้ ๒ ประการคือ
๑. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ
๒. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ที่พระผู้
มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้”
[๑๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้เนื้อความแห่ง
ธรรมบรรยายที่เรากล่าวไว้โดยย่อ ไม่ชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดาร
อย่างนี้ว่า ‘เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไว้
๒ ประการ คือ
๑. รูปที่ควรเสพ
๒. รูปที่ไม่ควรเสพ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพรูปที่
พึงรู้แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น รูปที่พึงรู้แจ้ง
ทางตาเช่นนี้ควรเสพ
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไว้ ๒ ประการ คือ
๑. รูปที่ควรเสพ
๒. รูปที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
ฯลฯ เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นนี้
ควรเสพ ฯลฯ
... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก
เช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเช่นนี้ควร
เสพ ฯลฯ
... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้ง
ทางกายเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไว้ ๒
ประการ คือ
๑. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ
๒. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์
ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น ธรรมารมณ์ที่พึงรู้
แจ้งทางใจเช่นนี้ควรเสพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไว้ ๒
ประการ คือ
๑. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ
๒. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ โดย
พิสดารอย่างนี้
[๑๒๑] สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. จีวรที่ควรเสพ
๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวบิณฑบาตไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. บิณฑบาตที่ควรเสพ
๒. บิณฑบาตที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวเสนาสนะไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. เสนาสนะที่ควรเสพ
๒. เสนาสนะที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวหมู่บ้านไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. หมู่บ้านที่ควรเสพ
๒. หมู่บ้านที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวนิคมไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. นิคมที่ควรเสพ
๒. นิคมที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
เรากล่าวนครไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. นครที่ควรเสพ
๒. นครที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวชนบทไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. ชนบทที่ควรเสพ
๒. ชนบทที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ
๑. บุคคลที่ควรเสพ
๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. จีวรที่ควรเสพ
๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง จีวรเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น จีวรเช่นนี้ควรเสพ
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. จีวรที่ควรเสพ
๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
ฯลฯ บิณฑบาตเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ บิณฑบาตเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... เสนาสนะเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ เสนาสนะเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... หมู่บ้านเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ หมู่บ้านเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... นิคมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ นิคมเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... นครเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ นครเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... ชนบทเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ ชนบทเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก
คือ
๑. บุคคลที่ควรเสพ
๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น บุคคลเช่นนี้ควรเสพ
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก
คือ
๑. บุคคลที่ควรเสพ
๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้
[๑๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอทราบเนื้อความ
แห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวโดยย่อ ไม่ชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดาร
อย่างนี้ ถูกต้องแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. จีวรที่ควรเสพ
๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
สารีบุตร เมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
จีวรเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น จีวรเช่นนี้ควรเสพ
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. จีวรที่ควรเสพ
๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
... บิณฑบาตเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ บิณฑบาตเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... เสนาสนะเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ เสนาสนะเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... หมู่บ้านเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ หมู่บ้านเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... นิคมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ นิคมเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... ชนบทเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ ชนบทเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ
๑. บุคคลที่ควรเสพ
๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศล
ธรรมเจริญขึ้น บุคคลเช่นนี้ควรเสพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ
๑. บุคคลที่ควรเสพ
๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้
โดยพิสดารอย่างนี้
[๑๒๓] สารีบุตร แม้ถ้ากษัตริย์ทั้งปวงพึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยาย ที่
เรากล่าวโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ความรู้นั่นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่กษัตริย์แม้ทั้งปวงตลอดกาลนาน
แม้ถ้าพราหมณ์ทั้งปวง ...
แม้ถ้าแพศย์ทั้งปวง ...
แม้ถ้าศูทรทั้งปวงพึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวโดยย่อนี้ได้โดย
พิสดารอย่างนี้ ความรู้นั่นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ศูทร
ทั้งปวงตลอดกาลนาน
สารีบุตร แม้ถ้าโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ตลอดทั้งเทวดาและมนุษย์ พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยายที่เรา
กล่าวโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ความรู้นั่นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ตลอดทั้งเทวดาและมนุษย์ตลอดกาลนาน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร

๕. พหุธาตุกสูตร
ว่าด้วยธาตุมากอย่าง
[๑๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภัย๑ทั้งปวงที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจาก
บัณฑิต อุปัททวะ๒ทั้งปวงที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต
อุปสรรค๓ทั้งปวงที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต
ภัยทั้งปวงที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปัททวะ
ทั้งปวงที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปสรรคทั้งปวงที่เกิดขึ้น
ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต เปรียบเหมือนไฟที่ลุกลามจากเรือนไม้อ้อ
หรือเรือนหญ้า ไหม้แม้เรือนยอดที่เขาโบกทั้งภายในและภายนอก ลมพัดเข้าไม่ได้
มีบานประตูปิดมิดชิด หน้าต่างปิดสนิท ฉะนั้น
คนพาลมีภัย บัณฑิตไม่มีภัย คนพาลมีอุปัททวะ บัณฑิตไม่มีอุปัททวะ
คนพาลมีอุปสรรค บัณฑิตไม่มีอุปสรรค ภัยไม่มีจากบัณฑิต อุปัททวะไม่มีจาก
บัณฑิต อุปสรรคไม่มีจากบัณฑิต๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักเป็น
บัณฑิต”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาเครื่องไตร่ตรอง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ฉลาดใน
อายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และฉลาดในฐานะและอฐานะ อานนท์ ด้วย
เหตุมีประมาณเท่านี้แล จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาเครื่องไตร่ตรอง”
ผู้ฉลาดในธาตุ
[๑๒๕] ท่านพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ธาตุ ๑๘ ประการนี้ คือ
๑. จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุประสาท)
๒. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์)
๓. จักขุวิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ)
๔. โสตธาตุ (ธาตุคือโสตประสาท)
๕. สัททธาตุ (ธาตุคือสัททารมณ์)
๖. โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ)
๗. ฆานธาตุ (ธาตุคือฆานประสาท)
๘. คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์)
๙. ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆานวิญญาณ)
๑๐. ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาประสาท)
๑๑. รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์)
๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร
๑๓. กายธาตุ (ธาตุคือกายประสาท)
๑๔. โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์)
๑๕. กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ)
๑๖. มโนธาตุ (ธาตุคือมโน)
๑๗. ธัมมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์)
๑๘. มโนวิญญาณธาตุ (ธาตุคือมโนวิญญาณ)
อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ ๑๘ ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (๑)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาด
ในธาตุ”
“อานนท์ มีธาตุ ๖ ประการนี้ คือ

๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ
๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ
๕. อากาสธาตุ ๖. วิญญาณธาตุ

อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ ๖ ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (๒)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาด
ในธาตุ”
“อานนท์ มีธาตุ ๖ ประการนี้ คือ
๑. สุขธาตุ (ธาตุคือสุข)
๒. ทุกขธาตุ (ธาตุคือทุกข์)
๓. โสมนัสสธาตุ (ธาตุคือโสมนัส)
๔. โทมนัสสธาตุ (ธาตุคือโทมนัส)
๕. อุเปกขาธาตุ (ธาตุคืออุเบกขา)
๖. อวิชชาธาตุ (ธาตุคืออวิชชา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร
อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ ๖ ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (๓)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุ
ผู้ฉลาดในธาตุ”
“อานนท์ มีธาตุ ๖ ประการ คือ
๑. กามธาตุ (ธาตุคือกาม)
๒. เนกขัมมธาตุ (ธาตุคือเนกขัมมะ)
๓. พยาบาทธาตุ (ธาตุคือพยาบาท)
๔. อพยาบาทธาตุ (ธาตุคืออพยาบาท)
๕. วิหิงสาธาตุ (ธาตุคือวิหิงสา)
๖. อวิหิงสาธาตุ (ธาตุคืออวิหิงสา)
อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ ๖ ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (๔)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุ
ผู้ฉลาดในธาตุ”
“อานนท์ มีธาตุ ๓ ประการนี้ คือ
๑. กามธาตุ (ธาตุคือกามารมณ์)
๒. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์)
๓. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปารมณ์)
อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ ๓ ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (๕)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาด
ในธาตุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร
“อานนท์ มีธาตุ ๒ ประการนี้ คือ
๑. สังขตธาตุ (ธาตุคือสังขตธรรม)
๒. อสังขตธาตุ (ธาตุคืออสังขตธรรม)
อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ ๒ ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (๖)
ผู้ฉลาดในอายตนะ
[๑๒๖] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ”
“อานนท์ อายตนะภายในและภายนอก อย่างละ ๖ ประการนี้ คือ

๑. จักขุ(ตา)คู่กับรูป ๒. โสตะ(หู)คู่กับสัททะ(เสียง)
๓. ฆานะ(จมูก)คู่กับคันธะ(กลิ่น) ๔. ชิวหา(ลิ้น)คู่กับรส
๕. กายคู่กับโผฏฐัพพะ ๖. มโน(ใจ)คู่กับธรรมารมณ์

อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นอายตนะภายในและภายนอก อย่างละ
๖ ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้
ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท”
“อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ‘เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะ
สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสจึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
แต่เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้‘๑
อานนท์ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจ
สมุปบาท”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร

ผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ
[๑๒๗] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ”
“อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้๑ที่บุคคลผู้ถึงพร้อม
ด้วยทิฏฐิ๒พึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง แต่เป็นไปได้๓ ที่ปุถุชน๔
พึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือสังขารไร ๆ โดย
ความเป็นสุข แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสุข’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือธรรมไร ๆ โดย
ความเป็นอัตตา แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือธรรมไร ๆ โดยความเป็นอัตตา’
[๑๒๘] รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่ามารดา แต่
เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงฆ่ามารดา’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่าบิดา แต่เป็นไปได้ที่
ปุถุชนพึงฆ่าบิดา’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่าพระอรหันต์ แต่เป็น
ไปได้ที่ปุถุชนพึงฆ่าพระอรหันต์’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงมีจิตคิดประทุษร้าย ทำ
ร้ายตถาคตให้ห้อเลือด แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงมีจิตประทุษร้าย ทำร้ายตถาคตให้
ห้อเลือด’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงทำลายสงฆ์ แต่เป็นไปได้
ที่ปุถุชนพึงทำลายสงฆ์’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงนับถือศาสดาอื่น แต่เป็น
ไปได้ที่ปุถุชนพึงนับถือศาสดาอื่น’
[๑๒๙] รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์พึง
เสด็จอุบัติพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกัน๑ แต่เป็นไปได้ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์เดียว พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์พึงเสด็จอุบัติพร้อมกัน
ในโลกธาตุเดียวกัน แต่เป็นไปได้ที่พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์เดียวพึงเสด็จอุบัติใน
โลกธาตุเดียว‘๒
[๑๓๐] รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่สตรีพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่
เป็นไปได้ที่บุรุษพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่สตรีพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึง
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่สตรีพึงครองความเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ เป็นมาร ฯลฯ
เป็นพรหม แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึงครองความเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ เป็นมาร ฯลฯ
เป็นพรหม’
[๑๓๑] รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า
พอใจ’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่วจีทุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ที่มโนทุจริตจะพึงเกิดผล
ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่วจีทุจริต ฯลฯ แต่เป็นไปได้ที่
มโนทุจริตจะพึงเกิดผล ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่วจีสุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ที่มโนสุจริตจะพึงเกิดผลที่
ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่วจีสุจริต ฯลฯ แต่เป็น
ไปได้ที่มโนสุจริต จะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อม๑ด้วยกายทุจริต หลังจาก
ตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความเพียบพร้อมด้วยกายทุจริตเป็น
เหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยกายทุจริต หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความเพียบพร้อมด้วยกายทุจริต
เป็นเหตุเป็นปัจจัย’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยวจีทุจริต หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความเพียบพร้อมด้วยวจีทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย
แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยวจีทุจริต ฯลฯ แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้เพียบ
พร้อมด้วยมโนทุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะความเพียบพร้อมด้วยมโนทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยกายสุจริต หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความเพียบพร้อมด้วยกายสุจริต
เป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยกายสุจริต หลังจากตาย
แล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความเพียบพร้อมด้วยกายสุจริตเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยวจีสุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้
ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความเพียบพร้อมด้วยมโนสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย
แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยวจีสุจริต ฯลฯ แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้
เพียบพร้อมด้วยมโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะ
ความเพียบพร้อมด้วยมโนสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย’๑
อานนท์ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ
และอฐานะ’
[๑๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ไว้ว่าชื่อ
พหุธาตุกะ๒บ้าง ชื่อจตุปริวัฏฏะ๓บ้าง ชื่อธัมมาทาสะ๔บ้าง ชื่ออมตทุนทุภี๕บ้าง ชื่อ
อนุตตรสังคามวิชยะ๖บ้าง”

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น