Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๙-๓ หน้า ๑๑๑ - ๑๖๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๒. กายสูตร
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาท
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ปฏิฆนิมิต๑มีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในปฏิฆนิมิตนั้นให้มาก
นี้เป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วให้
เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถืนมิทธะ
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความเมื่อยขบของร่างกาย ความเมา
อาหาร และความที่จิตหดหู่มีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในธรรมเหล่านั้น
ให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถีนมิทธะที่เกิดขึ้น
แล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความไม่สงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในความไม่สงบจิต
นั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุทธัจจ-
กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำวิจิกิจฉาที่
เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบ
คายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๒. กายสูตร
ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาด
อาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรง
อยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาด
อาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรง
อยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้
อาหารของโพชฌงค์
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต
เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก
นี้เป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
วิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นมีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำปีติ-
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๒. กายสูตร
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น หรือทำปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ความสงบกาย ความสงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรม
เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ สมถนิมิต๑ อัพยัคคนิมิต๒มีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในนิมิต
เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการ
โดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่
เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาด
อาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรง
อยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้”
กายสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๓. สีลสูตร

๓. สีลสูตร
ว่าด้วยศีล
[๑๘๔] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดสมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ๑
และวิมุตติญาณทัสสนะ๒ การเห็น๓ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ยิน๔ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปหา๕ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปนั่งใกล้๖ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึก
ถึง๗ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตาม๘ภิกษุเหล่านั้นก็ดี เรากล่าวว่า มีอุปการะมาก
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้วย่อมหลีกออก
ด้วยการหลีกออก ๒ อย่าง คือ (๑) หลีกออกทางกาย (๒) หลีกออกทางจิต เขา
หลีกออกไปอยู่อย่างนั้นย่อมระลึก ตรึกถึงธรรมนั้น
สมัยใด ภิกษุหลีกออกไปอยู่อย่างนั้นย่อมระลึก ตรึกถึงธรรมนั้น สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้นย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา
พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้นย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรม
นั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่า
เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันเธอผู้เลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้น
ด้วยปัญญาปรารภแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๓. สีลสูตร
สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันเธอผู้เลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจ
พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุ
ปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
เต็มที่แก่ภิกษุ ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่เธอผู้ได้ปรารภความเพียร
สมัยใด ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ได้ปรารภความเพียร สมัยนั้น ปีติ-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ ทั้งกายทั้งจิตของเธอผู้มีใจมีปีติย่อมสงบ
สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมสงบ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ จิตของเธอผู้มีกายสงบ มีสุขย่อมตั้งมั่น
สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มีสุขย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อม
ถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ เธอย่อมเพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้นด้วยดี
สมัยใด ภิกษุย่อมเพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้นด้วยดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
พึงหวังผลานิสงส์๑ ๗ ประการ
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน
๒. หากในปัจจุบันยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๓. สีลสูตร
๓. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี๑ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์
เบื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป
๔. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เป็น
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้
อุปหัจจปรินิพพายี๒ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
๕. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจ-
ปรินิพพายี ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี๓] เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
๖. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจ-
ปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ก็
จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี๔ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๔. วัตถสูตร
๗. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจ-
ปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี และ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ก็จะได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี๑ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
พึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการนี้”
สีลสูตรที่ ๓ จบ

๔. วัตถสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยผ้า
[๑๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลาย
มากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๔. วัตถสูตร
บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ผมประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ใน
เวลาเช้า ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลา
เที่ยง ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเย็น
ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ
ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของผมไม่มีประมาณ
ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์
ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ฯลฯ ถ้าอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมไม่มีประมาณ
ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่ ถ้าแม้อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย
ตู้เก็บผ้าของพระราชาหรือของมหาอำมาตย์ของพระราชาบรรจุผ้าสีต่าง ๆ
พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาประสงค์จะนุ่งห่มผ้าคู่ใด ๆ ในเวลาเช้า ก็
นุ่งห่มผ้าคู่นั้น ๆ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าคู่ใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็นุ่งห่มผ้าคู่นั้น ๆ ประสงค์
จะนุ่งห่มผ้าคู่ใด ๆ ในเวลาเย็น ก็นุ่งห่มผ้าคู่นั้น ๆ แม้ฉันใด บรรดาโพชฌงค์ ๗
ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผมประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเช้า ก็
อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็อยู่
ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วย
โพชฌงค์ข้อนั้น ๆ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์
ของผมไม่มีประมาณ ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่
ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย
ฯลฯ ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผม
ไม่มีประมาณ ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่
ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็น
ปัจจัย”๑
วัตถสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๕. ภิกขุสูตร

๕. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุทูลถามเรื่องโพชฌงค์
[๑๘๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘โพชฌงค์ โพชฌงค์’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘โพชฌงค์’
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ที่เรียกว่า ‘โพชฌงค์’ เพราะเป็นไป
เพื่อตรัสรู้
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
เมื่อเธอเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการนี้อยู่ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ
ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ ทำกิจที่ควรทำ๒เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป๓’
ภิกษุ ที่เรียกว่า ‘โพชฌงค์’ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ อย่างนี้แล”
ภิกขุสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๖. กุณฑลิยสูตร

๖. กุณฑลิยสูตร
ว่าด้วยกุณฑลิยปริพาชก
[๑๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนวัน สถานที่
พระราชทานอภัยแก่หมู่เนื้อ เขตเมืองสาเกต ครั้งนั้น กุณฑลิยปริพาชกเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม
ข้าพเจ้าเที่ยวไปในอาราม เข้าไปหาบริษัท เมื่อข้าพเจ้าบริโภคอาหารเช้าเสร็จแล้ว
ในเวลาหลังอาหารเดินเที่ยวไปทางอารามสู่อาราม ทางอุทยานสู่อุทยาน ณ ที่นั้น
ข้าพเจ้าเห็นสมณพราหมณ์ พวกหนึ่งกำลังกล่าวกถาซึ่งมีวิธีเปลื้องวาทะเป็น
อานิสงส์และมีวิธีโต้วาทะเป็นอานิสงส์ ส่วนท่านพระโคดมมีอะไรเป็นอานิสงส์อยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กุณฑลิยะ ตถาคตมีวิชชาและวิมุตติเป็นผลานิสงส์”
“ท่านพระโคดม ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำวิชชาและ
วิมุตติให้บริบูรณ์”
“กุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำวิชชา
และวิมุตติให้บริบูรณ์”
“ท่านพระโคดม อนึ่ง ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้บริบูรณ์”
“กุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้บริบูรณ์”
“ท่านพระโคดม อนึ่ง ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำ
สติปัฏฐาน ๔ ประการให้บริบูรณ์”
“กุณฑลิยะ สุจริต ๓ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำสติปัฏฐาน ๔
ประการให้บริบูรณ์”
“ท่านพระโคดม อนึ่ง ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำสุจริต
๓ ประการให้บริบูรณ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๖. กุณฑลิยสูตร
“กุณฑลิยะ อินทรียสังวรที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำสุจริต ๓ ประการ
ให้บริบูรณ์
อินทรียสังวรที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำสุจริต ๓
ประการให้บริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปที่น่าชอบใจทางตาแล้ว ไม่หลงใหล ไม่เพลิด
เพลินรูปที่น่าชอบใจ ไม่ให้เกิดความกำหนัด กายของเธอก็คงที่ และจิตที่คงที่ใน
ภายในก็มั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอเห็นรูปที่ไม่น่าชอบใจทางตาแล้ว ก็ไม่
เก้อเขิน มีจิตไม่ติดอยู่ ไม่เสียใจ มีใจไม่พยาบาท ทั้งกายของเธอก็คงที่ และจิต
ที่คงที่ในภายในก็มั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้ว
อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น
... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าชอบใจทางใจแล้ว ไม่หลงใหล
ไม่เพลิดเพลิน ไม่ให้เกิดความกำหนัด กายของเธอก็คงที่ และจิตที่คงที่ในภายในก็
มั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจทางใจแล้ว ก็ไม่
เก้อเขิน มีจิตไม่ติดอยู่ ไม่เสียใจ มีใจไม่พยาบาท ทั้งกายของเธอก็คงที่ และจิต
ที่คงที่ในภายในก็มั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้ว
เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว มีกายคงที่ และมีจิตที่คงที่ในภายใน
มั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้วในรูปทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดม
กลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์
ทางใจแล้ว มีกายคงที่ และมีจิตที่คงที่ในภายในมั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้วในธรรมที่
น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ
อินทรียสังวรที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำสุจริต ๓
ประการให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ ประการนั้นที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำ
สติปัฏฐาน ๔ ประการให้บริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญ
วจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๖. กุณฑลิยสูตร
สุจริต ๓ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำ
สติปัฏฐาน ๔ ประการให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้บริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
สติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำ
โพชฌงค์ ๗ ประการให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำ
วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว กุณฑลิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๗. กูฏาคารสูตร
ยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ท่านพระโคดมประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า
‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
กุณฑลิยสูตรที่ ๖ จบ

๗. กูฏาคารสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยกลอนของเรือนยอด
[๑๘๘] “ภิกษุทั้งหลาย กลอนของเรือนยอดทั้งหมดล้วนน้อมไปสู่ยอด โน้มไป
สู่ยอด โอนไปสู่ยอด แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗
ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
กูฏาคารสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๘. อุปวาณสูตร

๘. อุปวาณสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะ
[๑๘๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุปวาณะและท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ โฆสิตาราม
เขตกรุงโกสัมพี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร ออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปหา
ท่านพระอุปวาณะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึง
กันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระอุปวาณะดังนี้ว่า “ท่านอุปวาณะ
เพราะมนสิการโดยแยบคายเฉพาะตน ภิกษุพึงรู้ไหมว่า ‘โพชฌงค์ ๗ ประการที่
เราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่ผาสุก”
ท่านพระอุปวาณะตอบว่า “ท่านสารีบุตร เพราะมนสิการโดยแยบคายเฉพาะ
ตน ภิกษุพึงรู้ได้ว่า ‘โพชฌงค์ ๗ ประการที่เราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
อยู่ผาสุก”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “อาวุโส ภิกษุปรารภสติสัมโพชฌงค์อยู่ย่อมรู้ชัดว่า
‘จิตของเราหลุดพ้นดีแล้ว ถีนมิทธะเราถอนได้แล้ว อุทธัจจกุกกุจจะเรากำจัดได้แล้ว
ความเพียรเราก็ปรารภแล้ว เรามนสิการอย่างจริงจังไม่ย่อหย่อน ฯลฯ ภิกษุปรารภ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์อยู่ย่อมรู้ชัดว่า ‘จิตของเราหลุดพ้นดีแล้ว ถีนมิทธะเราถอนได้
แล้ว อุทธัจจกุกกุจจะเรากำจัดได้แล้ว ความเพียรเราปรารภแล้ว เรามนสิการอย่าง
จริงจังไม่ย่อหย่อน”
ท่านพระอุปวาณะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร เพราะมนสิการโดยแยบคาย
เฉพาะตน ภิกษุพึงรู้ได้ว่า ‘โพชฌงค์ ๗ ประการที่เราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ย่อม
เป็นไปเพื่ออยู่ผาสุกด้วยประการฉะนี้”
อุปวาณสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. ปฐมอุปปันนสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดโพชฌงค์ สูตรที่ ๑
[๑๙๐] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ย่อมไม่เกิดขึ้น
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่เกิดขึ้น”
ปฐมอุปปันนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยอุปปันนสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดโพชฌงค์ สูตรที่ ๒
[๑๙๑] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่เกิดขึ้น
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่เกิดขึ้น”
ทุติยอุปปันนสูตรที่ ๑๐ จบ
ปัพพตวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. หิมวันตสูตร ๒. กายสูตร
๓. สีลสูตร ๔. วัตถสูตร
๕. ภิกขุสูตร ๖. กุณฑลิยสูตร
๗. กูฏาคารสูตร ๘. อุปวาณสูตร
๙. ปฐมอุปปันนสูตร ๑๐. ทุติยอุปปันนสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๒. ปฐมสุริยูปมสูตร

๒. คิลานวรรค
หมวดว่าด้วยผู้อาพาธ
๑. ปาณสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยสัตว์
[๑๙๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งสำเร็จ
อิริยาบถ ๔ คือ บางคราวก็เดิน บางคราวก็ยืน บางคราวก็นั่ง บางคราวก็นอน
สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ล้วนอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงสำเร็จอิริยาบถ ๔
นี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์
(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”
ปาณสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมสุริยูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดวงอาทิตย์ สูตรที่ ๑
[๑๙๓] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมา
ก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี) ก็เป็นตัวนำ เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๓. ทุติยสุริยูปมสูตร
บุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ ประการ ฉันนั้น ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการ
ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”
ปฐมสุริยูปมสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยสุริยูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดวงอาทิตย์ สูตรที่ ๒
[๑๙๔] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมา
ก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย) ก็เป็นตัวนำ
เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ ประการ ฉันนั้น ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย
โยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗
ประการให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๔. ปฐมคิลานสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”
ทุติยสุริยูปมสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมคิลานสูตร
ว่าด้วยผู้อาพาธ สูตรที่ ๑
[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปะอาพาธ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก อยู่ที่ปิปผลิคูหา
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระ
มหากัสสปะถึงที่อยู่ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามท่านพระ
มหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง
ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
ท่านพระมหากัสสปะทูลตอบว่า “ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลา
ไม่ปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า”
“กัสสปะ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๕. ทุติยคิลานสูตร
กัสสปะ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แลเรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหากัสสปะก็มีใจยินดี ชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค หายขาดจากอาพาธนั้น และอาพาธนั้นอันท่าน
พระมหากัสสปะละได้อย่างนั้น
ปฐมคิลานสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยคิลานสูตร
ว่าด้วยผู้อาพาธ สูตรที่ ๒
[๑๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะอาพาธ ได้รับ
ทุกข์ เป็นไข้หนัก อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระ
มหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามท่าน
พระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า
“โมคคัลลานะ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง
ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลตอบว่า “ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลา
ไม่ปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า”
“โมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๖. ตติยคิลานสูตร
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็มีใจยินดี
ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค หายขาดจากอาพาธนั้น และอาพาธนั้นอัน
ท่านพระมหาโมคคัลลานะละได้อย่างนั้น
ทุติยคิลานสูตรที่ ๕ จบ

๖. ตติยคิลานสูตร
ว่าด้วยผู้อาพาธ สูตรที่ ๓
[๑๙๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระประชวร ได้รับ
ทุกข์ พระอาการหนัก
ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหาจุนทะดังนี้ว่า
“จุนทะ เฉพาะเธอที่จะอธิบายโพชฌงค์ให้แจ่มแจ้ง”
ท่านพระมหาจุนทะทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการ
นี้พระองค์ตรัสไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๗. ปารังคมสูตร
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
“จุนทะ โพชฌงค์ดีนัก จุนทะ โพชฌงค์ดีนัก”
ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวคำนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงชื่นชม พอพระทัย
ทรงหายขาดจากพระประชวรนั้น และพระประชวรนั้นอันพระผู้มีพระภาคทรงละได้
อย่างนั้น
ตติยคิลานสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปารังคมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ถึงฝั่ง
[๑๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้
ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีจำนวนน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้ทั้งนั้น
ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม
ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ
ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ
อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๘. วิรัทธสูตร
บัณฑิตละธรรมดำแล้วพึงเจริญธรรมขาว
ออกจากที่มีน้ำ มาสู่ที่ไม่มีน้ำ
ละกามทั้งหลายแล้วเป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ยากยิ่ง
บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย
บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก”๑
ปารังคมสูตรที่ ๗ จบ

๘. วิรัทธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลพลาด
[๑๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้น
พลาดแล้ว โพชฌงค์ ๗ ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรค
ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว
อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นพลาดแล้ว
ส่วนโพชฌงค์ ๗ ประการนี้อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคที่ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว”
วิรัทธสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๑๐. นิพพิทาสูตร

๙. อริยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยะ
[๒๐๐] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกธรรม๑ นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญ
โพชฌงค์ ๗ ประการนั้น
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็น
อริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญโพชฌงค์ ๗
ประการนั้น”
อริยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นิพพิทาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
[๒๐๑] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
นิพพิทาสูตรที่ ๑๐ จบ
คิลานวรรคที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปาณสูตร ๒. ปฐมสุริยูปมสูตร
๓. ทุติยสุริยูปมสูตร ๔. ปฐมคิลานสูตร
๕. ทุติยคิลานสูตร ๖. ตติยคิลานสูตร
๗. ปารังคมสูตร ๘. วิรัทธสูตร
๙. อริยสูตร ๑๐. นิพพิทาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๒. โพชฌังคเทสนาสูตร

๓. อุทายิวรรค
หมวดว่าด้วยพระอุทายี
๑. โพธายสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อตรัสรู้
[๒๐๒] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘โพชฌงค์ โพชฌงค์’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงตรัสว่า
‘โพชฌงค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เราเรียกว่า ‘โพชฌงค์’ เพราะเป็นไป
เพื่อตรัสรู้
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุ เราเรียกว่า ‘โพชฌงค์’ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้”
โพธายสูตรที่ ๑ จบ

๒. โพชฌังคเทสนาสูตร
ว่าด้วยการแสดงโพชฌงค์
[๒๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๓. ฐานิยสูตร
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล”
โพชฌังคเทสนาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ฐานิยสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์
[๒๐๔] “ภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ที่ยังไม่เกิดย่อม
เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพราะทำมนสิการ
ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งกามราคะให้มาก พยาบาท (ความคิดปองร้าย) ที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพราะทำ
มนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งพยาบาทให้มาก ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพราะทำมนสิการถึง
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งถีนมิทธะให้มาก อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
เพราะทำมนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุทธัจจกุกกุจจะให้มาก วิจิกิจฉา (ความ
ลังเลสงสัย) ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพราะทำมนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉาให้มาก
ภิกษุทั้งหลาย สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่ เพราะทำมนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ให้มาก
ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่ เพราะทำมนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้มาก”
ฐานิยสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๕. อปริหานิยสูตร

๔. อโยนิโสมนสิการสูตร
ว่าด้วยการมนสิการโดยไม่แยบคาย
[๒๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมนสิการโดยไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่
เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น พยาบาท
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่งขึ้น วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อบุคคลมนสิการโดยแยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิด
ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เขาก็ละได้ พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้ว เขาก็ละได้ ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
เขาก็ละได้ อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เขาก็ละได้
วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เขาก็ละได้ สติสัมโพชฌงค์
ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่”
อโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๔ จบ

๕. อปริหานิยสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม
[๒๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งความเสื่อม) ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๖. ตัณหักขยสูตร
อปริหานิยธรรม ๗ ประการ เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้แล”
อปริหานิยสูตรที่ ๕ จบ

๖. ตัณหักขยสูตร
ว่าด้วยมรรคและปฏิปทาเพื่อความสิ้นตัณหา
[๒๐๗] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญมรรค(และ)ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นตัณหา
มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้
มากแล้วอย่างไร จึงเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา”
“อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีความเบียดเบียน เมื่อเธอเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๗. ตัณหานิโรธสูตร
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมละ
ตัณหาได้ เพราะละตัณหาได้จึงละกรรม๑ได้ เพราะละกรรมได้
จึงละทุกข์๒ได้
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีความเบียดเบียน เมื่อเธอเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมละ
ตัณหาได้ เพราะละตัณหาได้จึงละกรรมได้ เพราะละกรรมได้
จึงละทุกข์ได้
อุทายี เพราะสิ้นตัณหาจึงสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรมจึงสิ้นทุกข์ ด้วยประการ
ฉะนี้”
ตัณหักขยสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตัณหานิโรธสูตร
ว่าด้วยมรรคและปฏิปทาเพื่อความดับตัณหา
[๒๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญมรรค(และ)ปฏิปทาที่เป็นไป
เพื่อความดับตัณหา
มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความดับตัณหา เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๘. นิพเพธภาคิยสูตร
โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
เป็นไปเพื่อความดับตัณหา
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ จึงเป็นไปเพื่อความดับตัณหา”
ตัณหานิโรธสูตรที่ ๗ จบ

๘. นิพเพธภาคิยสูตร
ว่าด้วยทางอันเป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
[๒๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทางอันเป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลสแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ทางอันเป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้
มากแล้วอย่างไร จึงเป็นไปเพื่อความตรัสรู้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๙. เอกธัมมสูตร
“อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีความเบียดเบียน เธอมีจิตอันสติสัมสัมโพชฌงค์ให้เจริญ
แล้ว ชำแรก ทำลายกองโลภะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้ ชำแรก
ทำลายกองโทสะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้ ชำแรก ทำลาย
กองโมหะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีความเบียดเบียน เธอมีจิตอันอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้เจริญ
แล้ว ชำแรก ทำลายกองโลภะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้ ชำแรก
ทำลายกองโทสะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้ ชำแรก ทำลายกอง
โมหะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้
อุทายี โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงเป็นไปเพื่อความชำแรกกิเลส”
นิพเพธภาคิยสูตรที่ ๘ จบ

๙. เอกธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก
[๒๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่บุคคล
เจริญ ทำให้มากแล้ว จึงเป็นไปเพื่อละธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์เหมือนโพชฌงค์ ๗
ประการนี้เลย
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๑๐. อุทายิสูตร
โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
เป็นไปเพื่อละธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงเป็น
ไปเพื่อละธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ จักขุ (ตา) เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เครื่องผูกคือสังโยชน์ ความถือ
มั่น ย่อมเกิดขึ้นที่จักขุนี้ โสตะ (หู) ... ฆานะ (จมูก) ... ชิวหา (ลิ้น) เป็นธรรม
ที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เครื่องผูกคือสังโยชน์ ความถือมั่น ย่อมเกิดขึ้นที่โสตะ ...
ฆานะ ... ชิวหานี้ ฯลฯ มโน (ใจ) เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เครื่องผูกคือ
สังโยชน์ ความถือมั่น ย่อมเกิดขึ้นที่มโนนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์”
เอกธัมมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุทายิสูตร
ว่าด้วยพระอุทายี
[๒๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะชื่อ
เสตกะ แคว้นสุมภะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอุทายีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่ข้าพระองค์มีความรัก
ความเคารพ ความละอาย และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาคมากเหลือเกิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๑๐. อุทายิสูตร
เพราะเมื่อก่อน ข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์อยู่ครองเรือน ไม่คุ้นเคยกับพระธรรม
ไม่คุ้นเคยกับพระสงฆ์ ข้าพระองค์นั้นเมื่อมีความรัก ความเคารพ ความละอาย
และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาค จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ว่า ‘รูปเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งรูปเป็นดังนี้
ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้
... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็น
ดังนี้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่ในเรือนว่าง พิจารณาความเกิดและความ
เสื่อมแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อ
ปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม๑ที่ข้าพระองค์บรรลุแล้ว
และมรรค๒ที่ข้าพระองค์ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระ
องค์ผู้อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สติสัมโพชฌงค์ที่ข้าพระองค์ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญ
ทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระองค์ผู้อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ข้าพระองค์
ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญ ทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระองค์ผู้อยู่เพื่อความเป็น
อย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
มรรคที่ข้าพระองค์ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญ ทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระองค์ผู้
อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อุทายี มรรคที่เธอได้แล้ว ที่เธอเจริญ
ทำให้มากแล้วนั้น จักนำเธอผู้อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อุทายิสูตรที่ ๑๐ จบ
อุทายิวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โพธายสูตร ๒. โพชฌังคเทสนาสูตร
๓. ฐานิยสูตร ๔. อโยนิโสมนสิการสูตร
๕. อปริหานิยสูตร ๖. ตัณหักขยสูตร
๗. ตัณหานิโรธสูตร ๘. นิพเพธภาคิยสูตร
๙. เอกธัมมสูตร ๑๐. อุทายิสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๒. ทุติยกุสลสูตร

๔. นีวรณวรรค
หมวดว่าด้วยนิวรณ์
๑. ปฐมกุสลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นกุศล สูตรที่ ๑
[๒๑๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล
เป็นส่วนกุศล เป็นฝ่ายกุศล ทั้งหมดมีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความ
ไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ภิกษุผู้ไม่
ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการ
ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการ
ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗
ประการให้มาก อย่างนี้แล”
ปฐมกุสลสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยกุสลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นกุศล สูตรที่ ๒
[๒๑๓] “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นส่วนกุศล เป็นฝ่าย
กุศล ทั้งหมดมีโยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย) เป็นมูล รวมลงใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๓. อุปักกิเลสสูตร
โยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ภิกษุผู้ถึง
พร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำ
โพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”
ทุติยกุสลสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุปักกิเลสสูตร
ว่าด้วยความเศร้าหมองแห่งจิต
[๒๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้เป็นเหตุให้ทอง
เศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เหล็กเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง เป็นเหตุให้ทองเศร้าหมอง ไม่
อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
๒. โลหะเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ฯลฯ
๓. ดีบุกเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ฯลฯ
๔. ตะกั่วเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๔. อนุปักกิเลสสูตร
๕. เงินเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง เป็นเหตุให้ทองเศร้าหมอง ไม่อ่อน
ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้เป็นเหตุให้ทองเศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การ
ไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการนี้ก็เหมือนกัน เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง
ไม่อ่อน ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้น
อาสวะ
ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง
ไม่อ่อน ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่น
ดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
๒. พยาบาทเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง
ไม่อ่อน ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่น
ดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง
ไม่อ่อน ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะ”๑
อุปักกิเลสสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนุปักกิเลสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
[๒๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น
ไม่เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๕. อโยนิโสมนสิการสูตร
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้
แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็น
ความเศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ”
อนุปักกิเลสสูตรที่ ๔ จบ

๕. อโยนิโสมนสิการสูตร
ว่าด้วยการมนสิการโดยไม่แยบคาย
[๒๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่
เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น พยาบาท
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์
ยิ่งขึ้น อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น”
อโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๘. อาวรณนีวรณสูตร

๖. โยนิโสมนสิการสูตร
ว่าด้วยการมนสิการโดยแยบคาย
[๒๑๗] “ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย สติสัมโพชฌงค์
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่”
โยนิโสมนสิการสูตรที่ ๖ จบ

๗. วุฑฒิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญ
[๒๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไม่เสื่อม
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไม่เสื่อม”
วุฑฒิสูตรที่ ๗ จบ

๘. อาวรณนีวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์เครื่องกางกั้น
[๒๑๙] “ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๘. อาวรณนีวรณสูตร
นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญา
๒. พยาบาทเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญา
๓. ถีนมิทธะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญา
๔. อุทธัจจกุกกุจจะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น เป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ทอนกำลังปัญญา
๕. วิจิกิจฉาเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญา
นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลัง
ปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็น
ความเศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้
แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความเศร้าหมองแห่ง
จิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๙. รุกขสูตร
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตสดับธรรม
สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ประการย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ประการย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่
นิวรณ์ ๕ ประการย่อมไม่มีแก่เธอในสมัยนั้น อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ย่อมไม่มีในสมัยนั้น
๒. พยาบาทนิวรณ์ย่อมไม่มีในสมัยนั้น
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ย่อมไม่มีในสมัยนั้น
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ย่อมไม่มีในสมัยนั้น
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ย่อมไม่มีในสมัยนั้น
นิวรณ์ ๕ ประการย่อมไม่มีแก่เธอในสมัยนั้น
โพชฌงค์ ๗ ประการย่อมถึงความเจริญเต็มที่ในสมัยนั้น อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ในสมัยนั้น
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ในสมัยนั้น
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ในสมัยนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตสดับธรรม
สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ประการย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่”
อาวรณนีวรณสูตรที่ ๘ จบ

๙. รุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้
[๒๒๐] “ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ที่มีกาฝากกอใหญ่ขึ้นเกาะปกคลุมเป็น
เหตุให้ล้มระเนระนาด ต้นไม้ใหญ่เหล่านั้นที่มีกาฝากกอใหญ่ขึ้นเกาะปกคลุมเป็น
เหตุให้ล้มระเนระนาด ได้แก่ต้นอะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๙. รุกขสูตร
ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นเลียบ ต้นมะเดื่อ ต้นกัจฉกะ ต้นมะขวิด ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้
ที่มีกาฝากกอใหญ่ขึ้นเกาะปกคลุมเป็นเหตุให้ล้มหักลง ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ละกามเช่นใด ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เขาย่อมถูก
กามเช่นนั้น หรือสิ่งที่เลวกว่านั้น ทำให้หักล้มลง
ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา
นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา
๒. พยาบาทเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา
๓. ถีนมิทธะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา
๔. อุทธัจจกุกกุจจะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ครอบงำจิตแล้ว ทอน
กำลังปัญญา
๕. วิจิกิจฉาเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา
นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลังปัญญา๑
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่ครอบงำ
จิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่ครอบงำจิต ที่
บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่ง
วิชชาและวิมุตติ
ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๑๐. นีวรณสูตร
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่ครอบงำจิต
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่ง
วิชชาและวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่ครอบงำ
จิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ”
รุกขสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นีวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์
[๒๒๑] “ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ ประการนี้ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด
เป็นเหมือนคนไม่มีดวงตา ทำให้ไม่รู้อะไร มีปัญญามืดบอด เป็นไปในฝ่ายความ
คับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด เป็นเหมือนคนไม่มี
ดวงตา ทำให้ไม่รู้อะไร มีปัญญามืดบอด เป็นไปในฝ่ายความ
คับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
๒. พยาบาทนิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด ฯลฯ
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด ฯลฯ
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด ฯลฯ
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด เป็นเหมือนคนไม่มี
ดวงตา ทำให้ไม่รู้อะไร มีปัญญามืดบอด เป็นไปในฝ่ายความ
คับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
นิวรณ์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ทำให้เป็นเหมือนคนมีดวงตา ทำให้รู้
เจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ทำให้เป็นเหมือนคนมีดวงตา ทำให้รู้ เจริญ
ปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ทำให้เป็นเหมือนคนมีดวงตา ทำให้รู้ เจริญ
ปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ทำให้เป็นเหมือนคนมีดวงตา ทำให้รู้
เจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน”
นีวรณสูตรที่ ๑๐ จบ
นีวรณวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมกุสลสูตร ๒. ทุติยกุสลสูตร
๓. อุปักกิเลสสูตร ๔. อนุปักกิเลสสูตร
๕. อโยนิโสมนสิการสูตร ๖. โยนิโสมนสิการสูตร
๗. วุฑฒิสูตร ๘. อาวรณนีวรณสูตร
๙. รุกขสูตร ๑๐. นีวรณสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๒. จักกวัตติสูตร

๕. จักกวัตติวรรค
หมวดว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ
๑. วิธาสูตร
ว่าด้วยมานะ
[๒๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงที่ละมานะ
(ความถือตัว) ๓ ประการในอดีตได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่สมณะหรือ
พราหมณ์ทั้งปวงเจริญ ทำให้มากแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงที่จักละมานะ
๓ ประการในอนาคตได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์ทั้ง
ปวงเจริญ ทำให้มากแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงที่ละมานะ ๓ ประการได้
ในปัจจุบันก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงที่ละมานะ ๓ ประการในอดีตได้
ฯลฯ จักละ ฯลฯ ละมานะ ๓ ประการในปัจจุบันได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
ที่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงเจริญ ทำให้มากแล้ว”
วิธาสูตรที่ ๑ จบ

๒. จักกวัตติสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ
[๒๒๓] “ภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ แก้ว ๗ ประการ
จึงปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๓. มารสูตร
แก้ว ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักรแก้ว ๒. ช้างแก้ว
๓. ม้าแก้ว ๔. มณีแก้ว
๕. นางแก้ว ๖. คหบดีแก้ว
๗. ปริณายกแก้ว
เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ แก้ว ๗ ประการนี้จึงปรากฏ
เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ แก้วคือโพชฌงค์ ๗ ประการ
จึงปรากฏ
แก้วคือโพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แก้วคือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. แก้วคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ แก้วคือ
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้จึงปรากฏ”
จักกวัตติสูตรที่ ๒ จบ

๓. มารสูตร
ว่าด้วยมาร
[๒๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทางสำหรับย่ำยีมารและกองทัพมารแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ทางสำหรับย่ำยีมารและกองทัพมาร เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือทางสำหรับย่ำยีมารและกองทัพมาร”
มารสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๕. ปัญญวันตสูตร

๔. ทุปปัญญสูตร
ว่าด้วยเหตุให้คนมีปัญญาทราม
[๒๒๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ๑ มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’
ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลนั้นไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
อันบุคคลนั้นไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว”
ทุปปัญญสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปัญญวันตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้คนมีปัญญา
[๒๒๖] ภิกษุทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘มีปัญญา
ไม่เป็นคนเซอะ มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระองค์จึง
ตรัสว่า ‘มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’
ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๗. อทลิททสูตร
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
ที่บุคคลนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ปัญญวันตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทลิททสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เป็นคนจน
[๒๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘คนจน คนจน’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘คนจน’ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนจน’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลนั้นไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนจน’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลนั้นไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว”
ทลิททสูตรที่ ๖ จบ

๗. อทลิททสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เป็นคนไม่จน
[๒๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘คนไม่จน คนไม่จน’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘คนไม่จน’ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๘. อาทิจจสูตร
“ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนไม่จน’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลนั้นเจริญ
ทำให้มากแล้ว
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนไม่จน’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลนั้นเจริญ
ทำให้มากแล้ว”
อทลิททสูตรที่ ๗ จบ

๘. อาทิจจสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดวงอาทิตย์
[๒๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็น
บุพนิมิต ฉันใด กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี) ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ ประการ ฉันนั้น
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร (มิตรดี) พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗
ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗
ประการให้มาก อย่างนี้แล”
อาทิจจสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๑๐. พาหิรังคสูตร

๙. อัชฌัตติกังคสูตร
ว่าด้วยเหตุภายในให้โพชฌงค์เกิด
[๒๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุ
ภายในให้โพชฌงค์ ๗ ประการเกิดขึ้นเหมือนโยนิโสมนสิการ
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗
ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”
อัชฌัตติกังคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พาหิรังคสูตร
ว่าด้วยเหตุภายนอกให้โพชฌงค์เกิด
[๒๓๑] “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุ
ภายนอกให้โพชฌงค์ ๗ ประการเกิดขึ้นเหมือนกัลยาณมิตตตา
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำ
โพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการ
ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”
พาหิรังคสูตรที่ ๑๐ จบ
จักกวัตติวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิธาสูตร ๒. จักกวัตติสูตร
๓. มารสูตร ๔. ทุปปัญญสูตร
๕. ปัญญวันตสูตร ๖. ทลิททสูตร
๗. อทลิททสูตร ๘. อาทิจจสูตร
๙. อัชฌัตติกังคสูตร ๑๐. พาหิรังคสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๑. อาหารสูตร

๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค
หมวดว่าด้วยการสนทนาเรื่องโพชฌงค์
๑. อาหารสูตร
ว่าด้วยอาหารของนิวรณ์และโพชฌงค์
[๒๓๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาหารและสิ่งไม่ใช่อาหาร
ของนิวรณ์ ๕ ประการและโพชฌงค์ ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อาหารของนิวรณ์
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะ
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ สุภนิมิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในสุภนิมิตนั้นให้มาก นี้
เป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วให้
เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาท
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในปฏิฆนิมิตนั้นให้มาก
นี้เป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วให้
เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถีนมิทธะ
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความเมื่อยขบของร่างกาย ความเมา
อาหาร และความที่จิตหดหู่มีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในธรรมเหล่านั้น
ให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถีนมิทธะที่เกิดขึ้น
แล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๑. อาหารสูตร
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความไม่สงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในความไม่สงบ
จิตนั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำวิจิกิจฉาที่
เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อาหารของโพชฌงค์
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต
เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้
เป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
วิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๑. อาหารสูตร
คือ ความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นมีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำปีติ-
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ความสงบกาย ความสงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรม
เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในนิมิต
เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการ
โดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่
เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
สิ่งที่ไม่ใช่อาหารของนิวรณ์
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะ
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น