Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๙-๔ หน้า ๑๖๕ - ๒๑๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๑. อาหารสูตร
คือ อสุภนิมิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในอสุภนิมิตนั้นให้มาก นี้
ไม่เป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาท
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ เมตตาเจโตวิมุตติมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในเมตตาเจโตวิมุตติ
นั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาทที่
เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถีน-
มิทธะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นมีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความสงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในความสงบจิตนั้นให้มาก
นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุทธัจจกุกกุจจะที่
เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำวิจิกิจฉา
ที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต
เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก
นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๑. อาหารสูตร

สิ่งที่ไม่ใช่อาหารของโพชฌงค์
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การไม่ทำมนสิการ
ในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต
เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่ การไม่ทำมนสิการในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็น
อาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
วิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นมีอยู่ การไม่ทำมนสิการใน
ธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
ปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การไม่ทำมนสิการ
ในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๒. ปริยายสูตร
คือ ความสงบกาย ความสงบจิตมีอยู่ การไม่ทำมนสิการในธรรมเหล่านั้น
ให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิตมีอยู่ การไม่ทำมนสิการในนิมิตเหล่านั้นให้มาก นี้
ไม่เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำสมาธิสัมโพชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การไม่ทำมนสิการ
ในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่”
อาหารสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปริยายสูตร
ว่าด้วยเหตุที่นิวรณ์และโพชฌงค์อาศัย
[๒๓๓] ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “การเที่ยวไปบิณฑบาต
ยังกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังอารามของพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชก”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๒. ปริยายสูตร
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ทอนกำลังปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริงเถิด’
แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลัง
ปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริงเถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรม-
เทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระสมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิด
แผกแตกต่างกันอย่างไร”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราทั้งหลายจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิต
นี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
ภิกษุเหล่านั้นครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภาย
หลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือ
บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การเที่ยวไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังอารามของ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’
ครั้งนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียถีย์
ปริพาชกได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับข้าพระองค์ทั้งหลายดังนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ทอนกำลังปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริงเถิด’
แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๒. ปริยายสูตร
ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลัง
ปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริงเถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรม-
เทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระสมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิด
แผกแตกต่างกันอย่างไร’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิต
ของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า ‘เราทั้งหลายจัก
รู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะ
อย่างนี้ เธอทั้งหลายควรถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เหตุที่นิวรณ์ ๕ ประการ
อาศัยกลายเป็น ๑๐ ประการ และเหตุที่โพชฌงค์ ๗ ประการ อาศัยกลายเป็น
๑๔ ประการมีอยู่หรือ’ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้วจักไม่สามารถ
ตอบได้ จักถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกอัญเดียรถีย์-
ปริพาชกถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย๑
ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรายังไม่เห็นบุคคลที่จะทำจิตให้ยินดี
ได้ด้วยการตอบปัญหาเหล่านี้ เว้นตถาคตหรือสาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจาก
คำสอนของตถาคตนี้
เหตุที่นิวรณ์ ๕ ประการอาศัยกลายเป็น ๑๐ ประการ เป็นอย่างไร
คือ แม้กามฉันทะในภายใน๒ก็เป็นนิวรณ์ แม้กามฉันทะในภายนอก๓ก็เป็น
นิวรณ์ คำว่า ‘กามฉันทนิวรณ์’ ย่อมมาสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ กามฉันทนิวรณ์
นั้นจึงเป็น ๒ ประการ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๒. ปริยายสูตร
แม้พยาบาทในภายใน๑ก็เป็นนิวรณ์ แม้พยาบาทในภายนอก๒ก็เป็นนิวรณ์
คำว่า ‘พยาบาทนิวรณ์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ พยาบาทนิวรณ์นั้นจึงเป็น
๒ ประการ
แม้ถีนะก็เป็นนิวรณ์ แม้มิทธะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ‘ถีนมิทธนิวรณ์’ ย่อมไปสู่
อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ ถีนมิทธนิวรณ์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้อุทธัจจะก็เป็นนิวรณ์ แม้กุกกุจจะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ‘อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์’
ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายในภายใน๓ก็เป็นนิวรณ์ แม้วิจิกิจฉาในธรรม
ทั้งหลายในภายนอก๔ก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ‘วิจิกิจฉานิวรณ์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้
ด้วยเหตุนี้ วิจิกิจฉานิวรณ์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุนี้แลที่นิวรณ์ ๕ ประการอาศัยกลายเป็น ๑๐ ประการ
เหตุที่โพชฌงค์ ๗ ประการอาศัยกลายเป็น ๑๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายใน๕ก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ แม้สติในธรรม
ทั้งหลายในภายนอก๖ก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘สติสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่
อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ สติสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้ธรรมที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจสอบพินิจพิจารณาในธรรมทั้งหลายในภายใน
ด้วยปัญญาก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ แม้ธรรมที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจสอบพินิจ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๓. อัคคิสูตร
พิจารณาในธรรมทั้งหลายในภายนอกด้วยปัญญาก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คำว่า
‘ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นจึง
เป็น ๒ ประการ
แม้ความเพียรทางกายก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ แม้ความเพียรทางจิตก็เป็น
วิริยสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘วิริยสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้
วิริยสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้ปีติที่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ แม้ปีติที่ไม่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติ-
สัมโพชฌงค์ คำว่า ‘ปีติสัมโพชฌงค์’ ย่อมมาสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ ปีติ-
สัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้กายปัสสัทธิก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ แม้จิตตปัสสัทธิก็เป็นปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ คำว่า ‘ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้สมาธิที่มีวิตกวิจารก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ แม้สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจารก็เป็น
สมาธิสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘สมาธิสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้
สมาธิสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้อุเบกขาในธรรมทั้งหลายในภายในก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ แม้อุเบกขา
ในธรรมทั้งหลายในภายนอกก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘อุเบกขาสัมโพชฌงค์’
ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุนี้แลที่โพชฌงค์ ๗ ประการอาศัยกลายเป็น ๑๔ ประการ”
ปริยายสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัคคิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยไฟ
[๒๓๔] ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี (ความต่อไปเหมือนปริยายสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๓. อัคคิสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะ
อย่างนี้ เธอทั้งหลายควรถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน เป็นเวลาเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน อนึ่ง
สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน เป็นเวลา
เพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน’
ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้วจักไม่สามารถ
ตอบให้บริบูรณ์ได้ จักถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย
ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรายังไม่เห็นบุคคลที่จะยังจิตให้ยินดีได้
ด้วยการตอบปัญหาเหล่านี้ เว้นตถาคตหรือสาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากคำสอน
ของตถาคตนี้
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้นยากที่จะให้ฟื้นขึ้นด้วย
ธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะให้ไฟน้อยนิดลุกโพลง จึงใส่หญ้าสด
โคมัยเปียก ไม้สด พรมน้ำและโปรยฝุ่นลงในไฟนั้น เขาสามารถจะให้ไฟน้อยนิด
ลุกโพลงได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตหดหู่ จิตที่
หดหู่นั้นยากที่จะให้ฟื้นขึ้นด้วยธรรมเหล่านั้น
แต่สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นเวลาเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็น
เวลาเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นเวลาเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้นง่ายที่จะให้ฟื้นขึ้นด้วยธรรมเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๓. อัคคิสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะให้ไฟน้อยนิดลุกโพลง จึงใส่หญ้าแห้ง
โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เป่าลมและไม่โปรยฝุ่นลงในไฟนั้น เขาสามารถจะให้ไฟน้อยนิด
ลุกโพลงได้หรือ”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น
เป็นเวลาเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นเวลาเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็น
เวลาเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น
ง่ายที่จะให้ฟื้นขึ้นด้วยธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญ
ปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้นยากที่จะให้
สงบด้วยธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ จึงใส่หญ้าแห้ง
โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เป่าลมและไม่โปรยฝุ่นลงในกองไฟนั้น เขาสามารถจะดับไฟ
กองใหญ่ได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่
ฟุ่งซ่านนั้นยากที่จะให้สงบด้วยธรรมเหล่านั้น
แต่สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นเวลาเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
เป็นเวลาเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นเวลาเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้นง่ายที่จะให้สงบด้วยธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ จึงใส่หญ้าสด
โคมัยเปียก พรมน้ำและโปรยฝุ่นลงในกองไฟนั้น เขาสามารถจะดับไฟกองใหญ่
ได้หรือ”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น
เป็นเวลาเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นเวลาเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็น
เวลาเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่
ฟุ้งซ่านนั้นง่ายที่จะให้สงบด้วยธรรมเหล่านั้น และเรากล่าวสติว่าจำต้องประสงค์ใน
ที่ทุกสถาน”
อัคคิสูตรที่ ๓ จบ

๔. เมตตาสหคตสูตร
ว่าด้วยจิตมีเมตตา
[๒๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกลิยะ ชื่อ
หลิททวสนะ แคว้นโกลิยะ ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปครองอันตรวาสก ถือ
บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังหลิททวสนนิคม ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “การ
เที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคมยังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไป
ยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ...
ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน๑ ทิศเบื้องล่าง๒ ทิศเฉียง๓ แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ...

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร
ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถานด้วยกรุณาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่ มีมุทิตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศ
ที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่
ทุกสถานด้วยมุทิตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศ
ที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าใน
ที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่’
แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศ
ที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่’ ผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้
คือ ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของ
พระสมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราทั้งหลายจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิต
นี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
ภิกษุเหล่านั้นครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคม กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือ
บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคม ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร
เที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคมยังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไป
ยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’
ครั้งนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับข้าพระองค์ทั้งหลายดังนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ฯลฯ มีกรุณาจิต
ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓
... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่
เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่’
แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ฯลฯ มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่
๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่
ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่’ ผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ
ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระ
สมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิต
ของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า ‘เราทั้งหลาย
จักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
เมตตาเจโตวิมุตติมีอะไรเป็นคติ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะ
อย่างนี้ เธอทั้งหลายควรถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร
บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไร
เป็นที่สุด อนึ่ง กรุณาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไร
เป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด อนึ่ง มุทิตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญ
แล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด อนึ่ง
อุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มี
อะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด’ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้วจัก
ไม่สามารถตอบได้ จักถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย
ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรายังไม่เห็นบุคคลที่จะทำจิตให้ยินดีได้
ด้วยการตอบปัญหาเหล่านี้ เว้นตถาคตหรือสาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากคำสอน
ของตถาคตนี้
เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยเมตตา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’
ก็มีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลอยู่’
ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒ นั้นอยู่
หรือเข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุตติว่ามีสุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่งสำหรับ
ภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้
กรุณาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยกรุณา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยกรุณา อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
ฯลฯ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒
นั้นอยู่ หรือบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกรุณาเจโตวิมุตติว่ามีอากาสานัญจายตนฌานเป็น อย่างยิ่ง
สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้
มุทิตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยมุทิตา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
ฯลฯ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒
นั้นอยู่ หรือบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมุทิตาเจโตวิมุตติว่ามีวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้
อุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’
ก็มีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล
อยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒
นั้นอยู่ หรือบรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอุเบกขาเจโตวิมุตติว่ามีอากิญจัญญายตนฌานเป็น
อย่างยิ่งสำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรม-
วินัยนี้”
เมตตาสหคตสูตรที่ ๔ จบ

๕. สังคารวสูตร
ว่าด้วยสังคารวพราหมณ์
[๒๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น สังคารวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนตร์
แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยาย
เลย อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้ง
ได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์
๑. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำ
อยู่ และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์
แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร
ภาชนะน้ำซึ่งระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน คนมีตาดีมองดู
เงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่
รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น
บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึง
มนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๒. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์
แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
ภาชนะน้ำร้อนเพราะไฟเดือดพล่านเป็นไอ คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนใน
ภาชนะน้ำนั้นไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้
ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้
ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง
มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้
สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๓. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์แม้
ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึง
มนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร
ภาชนะน้ำถูกสาหร่ายและแหนปกคลุมไว้ คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนใน
ภาชนะน้ำนั้นไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัด
ธรรมเครื่องสลัดออกจากถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง
มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่
ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๔. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจ-
กุกกุจจะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจาก
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสอง
ตามความเป็นจริง มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่ม
แจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
ภาชนะน้ำถูกลมพัด ไหว วน เป็นคลื่น คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนใน
ภาชนะน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสอง
ตามความเป็นจริง มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๕. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความ
เป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์
ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์แม้ที่สาธยาย
มาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่
ได้สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร
ภาชนะน้ำขุ่นมัว เป็นตม ที่เขาวางไว้ในที่มืด คนมีตาดี มองดูเงาหน้าของ
ตนในภาชนะน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัด
ธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง
มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่
ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
พราหมณ์ แต่
๑. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะ
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิด
ขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้
ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
ภาชนะน้ำซึ่งไม่ระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน คนมีตาดี มอง
ดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้นพึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และ
รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ
๒. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกพยาบาทกลุ้มรุม ไม่ถูกพยาบาท
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้น
แล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็น
แม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร
ภาชนะน้ำไม่ร้อนเพราะไฟ ไม่เดือดพล่าน ไม่เป็นไอ คนมีตาดีมองดูเงาหน้า
ของตนในภาชนะน้ำนั้นพึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกพยาบาทกลุ้มรุม ไม่ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และรู้ชัด
ธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง
มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่
สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๓. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ถูกถีนมิทธะ
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากถีนมิทธะที่เกิดขึ้น
แล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้
ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
ภาชนะน้ำไม่ถูกสาหร่ายและแหนปกคลุมไว้ คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนใน
ภาชนะน้ำนั้นพึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และรู้ชัด
ธรรมเครื่องสลัดออกจากถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๔. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ไม่ถูกอุทธัจจ-
กุกกุจจะครอบงำอยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากอุทธัจจ-
กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้
ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสอง
ตามความเป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็
แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร
ภาชนะน้ำไม่ถูกลมพัด ก็ไม่ไหว ไม่วน ไม่เป็นคลื่น คนมีตาดีมองดูเงาหน้า
ของตนในภาชนะน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะ
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น
และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานาน
ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๕. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ไม่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ
อยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์
แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
ภาชนะน้ำใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว ที่เขาวางไว้ในที่แจ้ง คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของ
ตนในภาชนะน้ำนั้นพึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ไม่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และรู้ชัด
ธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้ง
ได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย๑
พราหมณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผล
แห่งวิชชาและวิมุตติ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๖. อภยสูตร
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้
แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิตที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
พราหมณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่ง
วิชชาและวิมุตติ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สังคารวพราหมณ์ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่าน
พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต”
สังคารวสูตรที่ ๕ จบ

๖. อภยสูตร
ว่าด้วยอภัยราชกุมาร
[๒๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น อภัยราชกุมารเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ปูรณะ กัสสปะได้กล่าวว่า ‘เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มีเพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น
ความไม่รู้ ความไม่เห็นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มีเพื่อความรู้ เพื่อ
ความเห็น ความรู้ ความเห็นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย’ ในเรื่องนี้ พระองค์ตรัสว่าอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๖. อภยสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราชกุมาร เหตุมี ปัจจัยมีเพื่อความไม่รู้ เพื่อ
ความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัย เหตุมี ปัจจัยมีเพื่อความรู้
เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุเป็นอย่างไร ปัจจัยเพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่
เห็นเป็นอย่างไร ความไม่รู้ ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัยอย่างไร”
“ราชกุมาร สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น
มีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้
อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาท
ครอบงำอยู่ และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้
ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้
อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ฯลฯ มีจิตถูก
อุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ฯลฯ มีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น
มีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร”
“ราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อนิวรณ์”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค นิวรณ์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต นิวรณ์เป็นอย่างนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลถูกนิวรณ์แม้อย่างใดอย่างหนึ่งครอบงำแล้ว ก็ไม่รู้
ไม่เห็นตามความเป็นจริง ไม่จำเป็นต้องพูดถึงบุคคลผู้ถูกนิวรณ์ทั้ง ๕ ครอบงำเลย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เหตุเป็นอย่างไร ปัจจัยเพื่อความรู้ เพื่อความ
เห็นเป็นอย่างไร ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัยอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
“ราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เธอมีจิตอันสติสัมโพชฌงค์ให้เจริญแล้วย่อม
รู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ราชกุมาร นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความรู้
เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้
อีกประการหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เธอมีจิตอันอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้เจริญ
แล้วย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ราชกุมาร นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อ
ความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร”
“ราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อโพชฌงค์”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์เป็น
อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลผู้ประกอบด้วยโพชฌงค์แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง ไม่จำเป็นต้องพูดถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยโพชฌงค์ทั้ง
๗ ประการเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากายใจที่มีแก่
ข้าพระองค์ผู้ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏก็ระงับไป และธรรมอันข้าพระองค์ก็ได้บรรลุแล้ว”
อภยสูตรที่ ๖ จบ
โพชฌังคสากัจฉวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาหารสูตร ๒. ปริยายสูตร
๓. อัคคิสูตร ๔. เมตตาสหคตสูตร
๕. สังคารวสูตร ๖. อภยสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๗. อานาปานวรรค (๑) อัญญตรผลสูตร

๗. อานาปานวรรค
หมวดว่าด้วยอานาปานสติ
๑. อัฏฐิกมหัปผลสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญามีผลมาก
[๒๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพ
ที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน) ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มี
อานิสงส์มาก อย่างนี้แล”
(๑) อัญญตรผลสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญามีผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผล
อย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จักเป็นพระอนาคามี
เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน
๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระ
อนาคามี อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๗. อานาปานวรรค (๒) มหัตถสูตร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง
๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จัก
เป็นพระอนาคามี อย่างนี้แล”
(๒) มหัตถสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก
“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มาก๑
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มาก อย่างนี้แล”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๗. อานาปานวรรค (๔) สังเวคสูตร

(๓) โยคักเขมสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ
“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาก๑
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาก อย่างนี้แล”
(๔) สังเวคสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อความสังเวช
“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความสังเวชมาก๒
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวช
มาก อย่างไร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๗. อานาปานวรรค ๒. ปุฬวกสูตร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความสังเวชมาก อย่างนี้แล”
(๕) ผาสุวิหารสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุก
“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความอยู่ผาสุกมาก
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุก
มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความอยู่ผาสุกมาก อย่างนี้แล”
อัฏฐิกมหัปผลสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปุฬวกสูตร
ว่าด้วยปุฬวกสัญญา
[๒๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย ปุฬวกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่มีหนอนคลา
คล่ำเต็มไปหมด) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
ปุฬวกสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๗. อานาปานวรรค ๗. กรุณาสูตร

๓. วินีลกสูตร
ว่าด้วยวินิลกสัญญา
[๒๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย วินีลกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ
คละด้วยสีต่าง ๆ) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
วินีลกสูตรที่ ๓ จบ

๔. วิจฉิททกสูตร
ว่าด้วยวิจฉิททกสัญญา
[๒๔๑] “ภิกษุทั้งหลาย วิจฉิททกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ขาดจากกัน
เป็นท่อน ๆ) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
วิจฉิททกสูตรที่ ๔ จบ

๕. อุทธุมาตกสูตร
ว่าด้วยอุทธุมาตกสัญญา
[๒๔๒] “ภิกษุทั้งหลาย อุทธุมาตกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่เน่าพอง
ขึ้นอืด) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
อุทธุมาตกสูตรที่ ๕ จบ

๖. เมตตาสูตร
ว่าด้วยเมตตา
[๒๔๓] “ภิกษุทั้งหลาย เมตตาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
เมตตาสูตรที่ ๖ จบ

๗. กรุณาสูตร
ว่าด้วยกรุณา
[๒๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย กรุณาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
กรุณาสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๘. นิโรธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๘. มุทิตาสูตร
ว่าด้วยมุทิตา
[๒๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย มุทิตาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
มุทิตาสูตรที่ ๘ จบ

๙. อุเบกขาสูตร
ว่าด้วยอุเบกขา
[๒๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
อุเบกขาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อานาปานสูตร
ว่าด้วยอานาปานสติ
[๒๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก) ที่บุคคล
เจริญแล้ว ฯลฯ
อานาปานสูตรที่ ๑๐ จบ
อานาปานวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัฏฐิกมหัปผลสูตร ๒. ปุฬวกสูตร
๓. วินีลกสูตร ๔. วิจฉิททกสูตร
๕. อุทธุมาตกสูตร ๖. เมตตาสูตร
๗. กรุณาสูตร ๘. มุทิตาสูตร
๙. อุเบกขาสูตร ๑๐. อานาปานสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๘. นิโรธวรรค ๔. อนภิรติสูตร

๘. นิโรธวรรค
หมวดว่าด้วยนิโรธ
๑. อสุภสูตร
ว่าด้วยอสุภสัญญา
[๒๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญา (ความหมายรู้ความไม่งาม) ที่บุคคล
เจริญแล้ว ฯลฯ
อสุภสูตรที่ ๑ จบ

๒. มรณสูตร
ว่าด้วยมรณสัญญา
[๒๔๙] “ภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญา (ความหมายรู้ความตาย) ที่บุคคลเจริญ
แล้ว ฯลฯ
มรณสูตรที่ ๒ จบ

๓. อาหาเรปฏิกูลสูตร
ว่าด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญา
[๒๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา (ความหมายรู้ความปฏิกูลใน
อาหาร) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
อาหาเรปฏิกูลสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนภิรติสูตร
ว่าด้วยอนภิรติสัญญา
[๒๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรติสัญญา (ความหมายรู้ความไม่น่า
เพลิดเพลินในโลกทั้งปวง) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
อนภิรติสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๘. นิโรธวรรค ๘. ปหานสูตร

๕. อนิจจสูตร
ว่าด้วยอนิจจสัญญา
[๒๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา(ความหมายรู้ความไม่เที่ยง) ที่บุคคล
เจริญแล้ว ฯลฯ
อนิจจสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุกขสูตร
ว่าด้วยทุกขสัญญา
[๒๕๓] “ภิกษุทั้งหลาย ทุกขสัญญา(ความหมายรู้ความเป็นทุกข์) ที่บุคคล
เจริญแล้ว ฯลฯ
ทุกขสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนัตตสูตร
ว่าด้วยอนัตตสัญญา
[๒๕๔] “ภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญา (ความหมายรู้ความเป็นอนัตตา) ที่
บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
อนัตตสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปหานสูตร
ว่าด้วยปหานสัญญา
[๒๕๕] “ภิกษุทั้งหลาย ปหานสัญญา (ความหมายรู้การละ) ที่บุคคลเจริญ
แล้ว ฯลฯ
ปหานสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๘. นิโรธวรรค ๑๐. นิโรธสูตร

๙. วิราคสูตร
ว่าด้วยวิราคสัญญา
[๒๕๖] “ภิกษุทั้งหลาย วิราคสัญญา (ความหมายรู้วิราคะ) ที่บุคคลเจริญ
แล้ว ฯลฯ
วิราคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นิโรธสูตร
ว่าด้วยนิโรธสัญญา
[๒๕๗] “ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา (ความหมายรู้นิโรธ) ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑
ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็น
พระอนาคามี
เมื่อนิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน
๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระ
อนาคามี อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๘. นิโรธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เมื่อนิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน ๒
อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระอนาคามี
อย่างนี้แล
นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เพื่อ
ธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่อความอยู่ผาสุกมาก
นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก
เพื่อธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่อความอยู่
ผาสุกมาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มาก เพื่อธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่อ
ความอยู่ผาสุกมาก อย่างนี้แล”
นิโรธสูตรที่ ๑๐ จบ
นิโรธวรรคที่ ๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสุภสูตร ๒. มรณสูตร
๓. อาหาเรปฏิกูลสูตร ๔. อนภิรติสูตร
๕. อนิจจสูตร ๖. ทุกขสูตร
๗. อนัตตสูตร ๘. ปหานสูตร
๙. วิราคสูตร ๑๐. นิโรธสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๙. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. คังคานทีอาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาเป็นต้น
[๒๕๘-๒๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญโพชฌงค์
๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มากย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น
ภิกษุเมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

(พึงเพิ่มบาลีให้พิสดารจนถึงเอสนาสูตร)
คังคานทีอาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๐. อัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. อัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
๑-๑๐. ตถาคตาทิสูตร
ว่าด้วยพระตถาคตเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นต้น
[๒๗๐-๒๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้า
มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มีประมาณเท่าใด
พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑
ตถาคตาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
อัปปมาทวรรคที่ ๑๐ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๑. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. พลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง
๑-๑๒. พลาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น
[๒๘๐-๒๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำ
ด้วยกำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด
พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑
พลาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
พลกรณียวรรคที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

(พึงขยายพลกรณียวรรคให้พิสดารด้วยอำนาจโพชฌงค์แห่งโพชฌังคสังยุต)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๒. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๒. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑-๑๑. เอสนาทิสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น
[๒๙๒-๓๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓
ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑
เอสนาทิสูตรที่ ๑-๑๑ จบ
เอสนาวรรคที่ ๑๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร

(ผู้รู้ทั้งหลายพึงขยายเอสนาเปยยาลแห่งโพชฌังคสังยุตโดยอาศัยวิเวก)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๓. โอฆวรรค ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

๑๓. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๙. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น
[๓๐๒-๓๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย โอฆะ (ห้วงน้ำ) ๔
ประการนี้
โอฆะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กาโมฆะ ๒. ภโวฆะ
๓. ทิฏโฐฆะ ๔. อวิชโชฆะ

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑
โอฆาทิสูตรที่ ๑-๙ จบ

๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์
[๓๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ
๒. อรูปราคะ
๓. มานะ
๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๓. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุพึงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด ... อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด ... อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”
อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑๐ จบ
โอฆวรรคที่ ๑๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๔. ปุนคังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๔. ปุนคังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล อีกหมวดหนึ่ง

๓๑๒-๓๒๓. ปุนคังคานทีอาทิสูตร๑
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง

ปุนคังคานทีอาทิสูตรที่ ๓๑๒-๓๒๓ จบ
วรรคที่ ๑๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

(พึงขยายคังคาเปยยาลแห่งโพชฌังคสังยุตให้พิสดารด้วยอำนาจราคะ)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๕. ปุนอัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๕. ปุนอัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท อีกหมวดหนึ่ง

๓๒๔-๓๓๓. ตถาคตาทิสูตร๑
ว่าด้วยพระตถาคตเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นต้น

ตถาคตาทิสูตรที่ ๓๒๔-๓๓๓ จบ
ปุนอัปปมาทวรรคที่ ๑๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓-๗. กูฏาทิสุตตปัญจกะ ๘-๑๐. จันทิมาทิสุตตติกะ

(พึงขยายอัปปมาทวรรคให้พิสดารด้วยอำนาจราคะ)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๖. ปุนพลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๖. ปุนพลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง อีกหมวดหนึ่ง

๓๓๔-๓๔๕. ปุนพลาทิสูตร๑
ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง

ปุนพลาทิสูตรที่ ๓๓๔-๓๔๕ จบ
ปุนพลกรณียวรรคที่ ๑๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

(พึงขยายพลกรณียวรรคแห่งโพชฌังคสังยุตให้พิสดารด้วยอำนาจราคะ)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๗. ปุนเอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๗. ปุนเอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา อีกหมวดหนึ่ง

๓๔๖-๓๕๖. ปุนเอสนาทิสูตร๑
ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง

ปุนเอสนาทิสูตรที่ ๓๔๖-๓๕๖ จบ
ปุนเอสนาวรรคแห่งโพชฌังคสังยุตที่ ๑๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๘. ปุนโอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๘. ปุนโอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ อีกหมวดหนึ่ง

๓๕๗-๓๖๖. ปุนโอฆาทิสูตร๑
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง

ปุนโอฆาทิสูตรที่ ๓๕๗-๓๖๖ จบ
ปุนโอฆวรรคแห่งโพชฌังคสังยุตที่ ๑๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

(พึงขยายโอฆวรรคให้พิสดารด้วยอำนาจการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด)

(พึงขยายแม้โพชฌังคสังยุตให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุตฉะนั้น)

โพชฌังคสังยุตที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๑. อัมพปาลิสูตร

๓. สติปัฏฐานสังยุต
๑. อัมพปาลิวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่อัมพปาลีวัน
๑. อัมพปาลิสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่อัมพปาลีวัน
[๓๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน เขตกรุงเวสาลี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว๑ เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อ
ทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๒. สติสูตร
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อ
ก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำ
นิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค
อัมพปาลิสูตรที่ ๑ จบ

๒. สติสูตร
ว่าด้วยผู้มีสติสัมปชัญญะ
[๓๖๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน เขตกรุงเวสาลี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๓. ภิกขุสูตร
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู
การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย”๑
สติสูตรที่ ๒ จบ

๓. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ
[๓๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง
ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆะบุรุษบางพวกในโลกนี้ เชื้อเชิญเราอย่างนี้เหมือนกัน
และเมื่อเราได้กล่าวธรรม ย่อมสำคัญเราว่าควรติดตามเท่านั้น”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดย
ย่อ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อเถิด บางที ข้าพระองค์พึงรู้
ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค บางที ข้าพระองค์พึงเป็นผู้สืบ
ทอดพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค”
“ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรมทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดีและความเห็นที่ตรง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๓. ภิกขุสูตร
เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นจักตรง เมื่อนั้น เธออาศัยศีล
ดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ โดย ๓ วิธี
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ จงพิจารณาเห็นกาย
ในกายภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ หรือจงพิจารณาเห็นกายในกาย
ทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ ... จงพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ ... จงพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ ... จงพิจารณาเห็นจิตในจิต
ภายนอกอยู่ ... จงพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่ ... จงพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่ ... จงพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุ เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วจักเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
โดย ๓ วิธีอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดคืน
หรือวันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๔. สาลสูตร
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา เธอก็หลีกออกไปอยู่คน
เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่ง
ประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ภิกขุสูตรที่ ๓ จบ

๔. สาลสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา
[๓๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา
แคว้นโกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ฯลฯ
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดยังเป็นผู้ใหม่ บวชได้ไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้
เธอทั้งหลายพึงชักชวนภิกษุเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔
ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มี
ธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวเพื่อรู้
ยิ่งกายตามความเป็นจริง
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์
เดียวเพื่อรู้ยิ่งเวทนาตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๔. สาลสูตร
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรม
เป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวเพื่อรู้ยิ่งจิต
ตามความเป็นจริง
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มี
อารมณ์เดียวเพื่อรู้ยิ่งธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง
แม้ภิกษุเหล่าใดที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรมที่เป็น
แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม แม้ภิกษุเหล่านั้นก็พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว
เพื่อกำหนดรู้กาย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวเพื่อกำหนดรู้เวทนา
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มี
จิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวเพื่อกำหนดรู้จิต พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส
ตั้งมั่นมีอารมณ์เดียวเพื่อกำหนดรู้ธรรมทั้งหลาย
แม้ภิกษุเหล่าใดที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ แม้ภิกษุเหล่านั้นก็พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว พราก
จากกายแล้ว พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว พรากจากเวทนาทั้งหลาย
แล้ว พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น
มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว พรากจากจิตแล้ว พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น
มีอารมณ์เดียว พรากจากธรรมทั้งหลายแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดยังเป็นผู้ใหม่ บวชได้ไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้
เธอทั้งหลายพึงชักชวนภิกษุเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้”
สาลสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๕. อกุสลราสิสูตร

๕. อกุสลราสิสูตร
ว่าด้วยกองอกุศล
[๓๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะ
กล่าวถึงกองอกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงนิวรณ์ (ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้
บรรลุความดี) ๕ ประการ เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือนิวรณ์ ๕ ประการ
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ ๒. พยาบาทนิวรณ์
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์
บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองอกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงนิวรณ์ ๕
ประการนี้ เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือนิวรณ์ ๕ ประการ

บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ เพราะกองกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึง
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพราะกองกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ”
อกุสลราสิสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๖. สกุณัคฆิสูตร

๖. สกุณัคฆิสูตร
ว่าด้วยเหยี่ยว
[๓๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เหยี่ยวโฉบลงจับนกมูลไถอย่าง
รวดเร็ว ขณะนั้น นกมูลไถกำลังถูกเหยี่ยวพาไป ได้ร้องคร่ำครวญอย่างนี้ว่า ‘เรา
อับโชคมีบุญน้อย เที่ยวไปในแดนอื่นซึ่งไม่ใช่ที่หากิน ถ้าในวันนี้เราเที่ยวหากินใน
แดนหากินที่เป็นของบิดาของตนไซร้ เราก็อาจสู้เหยี่ยวตัวนี้ได้’
เหยี่ยวจึงถามว่า ‘เจ้านกมูลไถ แดนหากินที่เป็นของบิดาของเจ้าคืออะไร’
นกมูลไถตอบว่า ‘คือถิ่นที่เป็นดินก้อนมูลไถที่เขาไถไว้’
ขณะนั้นเหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน เมื่อจะอวดอ้างกำลังของตน จึงปล่อยนก
มูลไถไปด้วยพูดว่า ‘ไปเถิด เจ้านกมูลไถ ถึงเจ้าจะไปในที่นั้นก็ไม่พ้นเรา’
ทีนั้นนกมูลไถจึงไปยังถิ่นที่เป็นดินก้อนมูลไถที่เขาไถไว้ จับที่ก้อนใหญ่ ยืนร้อง
ท้าเหยี่ยวว่า ‘เจ้าเหยี่ยว เจ้าจงมาจับเราเดี๋ยวนี้ เจ้าเหยี่ยว เจ้าจงมาจับเราเดี๋ยวนี้’
ขณะนั้น เหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน เมื่อจะอวดอ้างกำลังของตน จึงหุบปีกทั้ง ๒
ลงโฉบนกมูลไถอย่างรวดเร็ว เมื่อนกมูลไถรู้ว่า ‘เหยี่ยวตัวนี้โฉบมาอย่างรวดเร็ว
หมายจะจับเรา’ จึงหลบเข้าซอกก้อนดินนั้นเอง เหยี่ยวทำให้อกกระแทกมูลไถ (ตาย)
ในที่นั้นเอง เรื่องนกมูลไถเที่ยวไปในแดนอื่นซึ่งไม่ใช่ที่หากินก็เป็นเช่นนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร
เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร มารก็จักได้ช่อง ได้อารมณ์
แดนอื่นที่เป็นอโคจรของภิกษุ เป็นอย่างไร
คือ กามคุณ ๕ ประการ
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๗. มักกฏสูตร
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือแดนอื่นที่เป็นอโคจรของภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็น
โคจรเถิด เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจร มาร
ก็จักไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์
แดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจรของภิกษุ เป็นอย่างไร
คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจรของภิกษุ”
สกุณัคฆิสูตรที่ ๖ จบ

๗. มักกฏสูตร
ว่าด้วยลิงติดตัง
[๓๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย ถิ่นที่เป็นขุนเขาหิมพานต์ ซึ่งไปได้ยาก ขรุขระ ไม่
เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิงทั้งของหมู่มนุษย์ มีอยู่ ถิ่นที่เป็นขุนเขาหิมพานต์ ซึ่งไป
ได้ยาก ขรุขระ เป็นที่เที่ยวไปของฝูงลิง ไม่ใช่ที่เที่ยวไปของหมู่มนุษย์ มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๗. มักกฏสูตร
ภาคพื้นขุนเขาหิมพานต์ซึ่งราบเรียบ น่ารื่นรมย์ เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิงทั้งของ
หมู่มนุษย์ ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น พวกนายพรานวางตัง๑ดักไว้ที่ทางเดินของฝูงลิงเพื่อดักลิง
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาลิงเหล่านั้น ลิงเหล่าใดไม่โง่ ไม่ลอกแลก ลิงเหล่านั้น
เห็นตังนั้นก็หลีกห่างไกล ส่วนลิงตัวใดโง่ ลอกแลก ลิงตัวนั้นเข้าไปใกล้ตังนั้นแล้ว
เอามือจับดู มือจึงติดที่ตังนั้น มันคิดจะดึงมือออก จึงเอามือข้างที่ ๒ จับ มือข้างที่
๒ ก็ติดที่ตังนั้น มันคิดจะดึงมือทั้ง ๒ ข้างออกจึงเอาเท้ายัน เท้าก็ติดที่ตังนั้น
มันคิดจะดึงมือทั้ง ๒ และเท้าออก จึงเอาเท้าข้างที่ ๒ ยัน เท้าข้างที่ ๒ ก็ติดที่ตัง
นั้น มันคิดจะดึงมือทั้ง ๒ และเท้าทั้ง ๒ ออกจึงเอาปากกัด ปากก็ติดที่ตังนั้นอีก
ลิงตัวนั้นติดตัง ๕ แห่งอย่างนี้ นอนถอนใจ ถึงความพินาศ ย่อยยับแล้ว ถูก
นายพรานทำได้ตามใจปรารถนา นายพรานแยกลิงตัวนั้นออกแล้ว ยกแขวนไว้ในที่
นั้นเอง ไม่ให้หลุดไปแล้วหลีกไปตามต้องการ เรื่องลิงเที่ยวไปในแดนอื่นซึ่งไม่ใช่ที่
หากิน ก็เป็นเช่นนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร
เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร มารก็จักได้ช่อง ได้อารมณ์
แดนอื่นที่เป็นอโคจรของภิกษุ เป็นอย่างไร
คือ กามคุณ ๕ ประการ
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือแดนอื่นที่เป็นอโคจร

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น