Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๙-๙ หน้า ๔๓๙ - ๔๙๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙-๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๙. อัมพปาลิวนสูตร
ภิกษุเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ให้มาก อย่างนี้แล”
สลฬาคารสูตรที่ ๘ จบ

๙. อัมพปาลิวนสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในอัมพปาลีวัน
[๙๐๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะและท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ อัมพปาลีวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่สงัด ฯลฯ๑ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะ อินทรีย์ของท่านผ่องใส
ยิ่งนัก สีหน้าบริสุทธิ์ผุดผ่อง ขณะนี้ โดยมากท่านอยู่ด้วยวิหารธรรม (ธรรมเป็น
เครื่องอยู่) อะไร”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุ ขณะนี้ ผมมีจิตตั้งมั่นดีอยู่ในสติปัฏฐาน ๔
ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๑๐. พาฬหคิลานสูตร
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ ขณะนี้ โดยมากผมมีจิตตั้งมั่นดีอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ภิกษุ
ใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ
ได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดย
ชอบ ภิกษุนั้นโดยมากชื่อว่ามีจิตตั้งมั่นดีอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “เป็นลาภของพวกเราหนอ พวกเราได้ดีแล้วที่ได้
ฟังเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะผู้กล่าวอาสภิวาจา๑อยู่”
อัมพปาลิวนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พาฬหคิลานสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธะอาพาธหนัก
[๙๐๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักอยู่ ณ
ป่าอันธวัน เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่แล้วได้
ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร ทุกขเวทนา
ทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว จึงไม่ครอบงำจิตอยู่ได้”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมมีจิตตั้งมั่นดีอยู่ในสติปัฏฐาน
๔ ประการ ทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว จึงไม่ครอบงำจิตอยู่ได้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมมีจิตตั้งมั่นดีอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ทุกขเวทนา
ทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว จึงไม่ครอบงำจิตอยู่ได้”
พาฬหคิลานสูตรที่ ๑๐ จบ
รโหคตวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมรโหคตสูตร ๒. ทุติยรโหคตสูตร
๓. สุตนุสูตร ๔. ปฐมกัณฏกีสูตร
๕. ทุติยกัณฏกีสูตร ๖. ตติยกัณฏกีสูตร
๗. ตัณหากขยสูตร ๘. สลฬาคารสูตร
๙. อัมพปาลิวนสูตร ๑๐. พาฬหคิลานสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. กัปปสหัสสสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. กัปปสหัสสสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ระลึกได้ตั้ง ๑,๐๐๐ กัป
[๙๐๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ
ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ฯลฯ๑
เรียนถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า
“ท่านอนุรุทธะได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะธรรมเหล่าไหนที่ท่าน
อนุรุทธะเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญา
มาก เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว อนึ่ง ผมระลึกได้ตั้ง ๑,๐๐๐ กัป เพราะ
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
กัปปสหัสสสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. เจโตปริยสูตร

๒. อิทธิวิธสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง
[๙๑๐] ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมแสดงฤทธิ์
ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ๑ ใช้อำนาจทางกายไป
จนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
อิทธิวิธสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทิพพโสตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้มีหูทิพย์
[๙๑๑] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์
และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ก็เพราะ
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ทิพพโสตสูตรที่ ๓ จบ

๔. เจโตปริยสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ได้เจโตปริยญาณ
[๙๑๒] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมกำหนดรู้ใจของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคล
เหล่าอื่นได้ด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ๒ จิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิต
ยังไม่หลุดพ้น ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
เจโตปริยสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. นานาธาตุสูตร

๕. ฐานสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดฐานะและอฐานะ
[๙๑๓] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดย
เป็นอฐานะตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้
มากแล้ว”
ฐานสูตรที่ ๕ จบ

๖. กัมมสมาทานสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรม
[๙๑๔] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมทั้งที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน
๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
กัมมสมาทานสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัพพัตถคามินีสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวง
[๙๑๕] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความ
เป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
สัพพัตถคามินีสูตรที่ ๗ จบ

๘. นานาธาตุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดโลกที่มีธาตุแตกต่างกัน
[๙๑๖] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิดและมีธาตุ
แตกต่างกันตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้
มากแล้ว”
นานาธาตุสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๑. ฌานาทิสูตร

๙. นานาธิมุตติสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดหมู่สัตว์ที่มีอัธยาศัยต่างกัน
[๙๑๗] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดว่า หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่างกันตาม
ความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
นานาธิมุตติสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อินทริยปโรปริยัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดความแก่อ่อนแห่งอินทรีย์
[๙๑๘] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดว่า สัตว์เหล่าอื่นและบุคคลเหล่าอื่น
มีอินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
อินทริยปโรปริยัตตสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ฌานาทิสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดความเศร้าหมองแห่งฌานเป็นต้น
[๙๑๙] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว
แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้
มากแล้ว”
ฌานาทิสูตรที่ ๑๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๔. อาสวักขยสูตร

๑๒. ปุพเพนิวาสสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ระลึกชาติก่อนได้
[๙๒๐] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ชาติ ๑
บ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑ ผมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้ ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ปุพเพนิวาสสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ทิพพจักขุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้มีตาทิพย์
[๙๒๑] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(ตาย)และกำลัง
อุบัติ(เกิด)ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นไปตาม
อำนาจกรรม ฯลฯ๒ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์อย่างนี้ ก็เพราะสติปัฏฐาน
๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ทิพพจักขุสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้สิ้นอาสวะ
[๙๒๒] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะสติ-
ปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
อาสวักขยสูตรที่ ๑๔ จบ
ทุติยวรรคที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัปปสหัสสสูตร ๒. อิทธิวิธสูตร
๓. ทิพพโสตสูตร ๔. เจโตปริยสูตร
๕. ฐานสูตร ๖. กัมมสมาทานสูตร
๗. สัพพัตถคามินีสูตร ๘. นานาธาตุสูตร
๙. นานาธิมุตติสูตร ๑๐. อินทริยปโรปริยัตตสูตร
๑๑. ฌานาทิสูตร ๑๒. ปุพเพนิวาสสูตร
๑๓. ทิพพจักขุสูตร ๑๔. อาสวักขยสูตร

อนุรุทธสังยุตที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. ฌานาทิสูตร

๙. ฌานสังยุต
๑. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ฌานาทิสูตร
ว่าด้วยฌานเป็นต้น
[๙๒๓-๙๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ ประการนี้
ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสใน
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวย
สุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า
‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะ
อุเบกขาอยู่
ฌาน ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน
๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ฌานาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๑ จบ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดาร๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. ราคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

เอสนาวรรคพึงให้พิสดาร๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๕. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๕. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น
[๙๖๗-๙๗๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญฌาน ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญฌาน ๔ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ข้อความที่เหลือพึงให้พิสดารอย่างนี้

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)
โอฆวรรคที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๕. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

ฌานสังยุตที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๑. เอกธัมมสูตร

๑๐. อานาปานสังยุต
๑. เอกธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก
๑. เอกธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก
[๙๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ๑ จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ อานาปานสติ
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์๒ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๓ มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก๔
อานาปานสติ ๑๖ ขั้น๕
๑. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๑. เอกธัมมสูตร
๒. เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
๓. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจออก
๔. สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก
๕. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจออก
๖. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจออก
๗. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจออก
๘. สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก
๙. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจออก
๑๐. สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจออก
๑๑. สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจออก
๑๒. สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก
๑๓. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก
๑๔. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๒. โพชฌังคสูตร
๑๕. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก
๑๖. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
เอกธัมมสูตรที่ ๑ จบ

๒. โพชฌังคสูตร
ว่าด้วยการเจริญโพชฌงค์
[๙๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอานาปานสติ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอานาปานสติ ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอานาปานสติ อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
โพชฌังคสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๔. ปฐมผลสูตร

๓. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยอานาปานสติล้วน
[๙๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ๑
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่าจะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
สุทธิกสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอานาปานสติ สูตรที่ ๑
[๙๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๕. ทุติยผลสูตร
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
พึงหวังผล ๑ อย่าง ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี
อุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นพระอนาคามี”
ปฐมผลสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอานาปานสติ สูตรที่ ๒
[๙๘๑] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการ
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน
๒. หากปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ก็จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
๓. หากปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๖. อริฏฐสูตร
๔. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
๕. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
๖. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
๗. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอุทธัม-
ภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการนี้”๑
ทุติยผลสูตรที่ ๕ จบ

๖. อริฏฐสูตร
ว่าด้วยพระอริฏฐะ
[๙๘๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังเจริญอานาปานสติอยู่หรือ” เมื่อพระผู้มีพระภาตตรัส
ถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอริฏฐะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าพระองค์
ยังเจริญอานาปานสติอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
“อริฏฐะ เธอเจริญอานาปานสติอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กามฉันทะในกามทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ข้าพระองค์
ก็ละได้แล้ว กามฉันทะในกามทั้งหลายที่ยังไม่มาถึงของข้าพระองค์ก็ไปปราศแล้ว
ปฏิฆสัญญาในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอก ข้าพระองค์ก็กำจัดแล้ว ข้าพระ
องค์มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ข้าพระองค์เจริญอานาปานสติอยู่อย่างนี้
พระพุทธเจ้าข้า”
“อริฏฐะ อานาปานสตินั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าอานาปานสติจะ
ทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดารด้วยวิธีใด เธอจงตั้งใจฟังวิธีนั้นให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระอริฏฐะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๗. มหากัปปินสูตร
“อริฏฐะ อานาปานสติจะทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดาร อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจ
เข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
อริฏฐะ อานาปานสติจะทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดาร อย่างนี้แล”
อริฏฐสูตรที่ ๖ จบ

๗. มหากัปปินสูตร
ว่าด้วยพระมหากัปปินะ
[๙๘๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ท่านพระมหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
ณ ที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระ
มหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ ที่ไม่ไกล แล้วรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นกายของภิกษุ
นั้นไหวหรือเอนเอียงไหม”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใดข้าพระองค์ทั้งหลาย
เห็นท่านผู้มีอายุนั้นนั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือนั่งในที่สงัดตามลำพัง เวลานั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เห็นกายของท่านผู้มีอายุนั้นไหวหรือเอนเอียง”
“ภิกษุทั้งหลาย การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน
เพราะสมาธิใดที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว สมาธินั้นภิกษุนั้นได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เพราะ
สมาธิอย่างไหนที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๘. ปทีโปปมสูตร
คือ การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เพราะ
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
เมื่ออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว การที่กายไม่ไหว
หรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่าจะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เป็นอย่าง
นี้แล”
มหากัปปินสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปทีโปปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยประทีป
[๙๘๔] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจ
เข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๘. ปทีโปปมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ โดยมากก็
อยู่ด้วยวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) นี้ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ กาย
ก็ไม่ลำบาก จักษุก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะ
ไม่ถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘แม้กาย
ของเราไม่พึงลำบาก จักษุของเราไม่พึงลำบาก และจิตของเราพึงหลุดพ้นจาก
อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงละความคิดถึงและความดำริอัน
อาศัยเรือนเสีย’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่
ปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่ง
ปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่
ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่ง
ปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสตินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงเว้นทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูล
และสิ่งปฏิกูลแล้วเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปาน-
สติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงสงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ ก็พึง
มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราพึงบรรลุ
ทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๘. ปทีโปปมสูตร
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เพราะปีติจางคลายไป เราพึงมีอุเบกขา
มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้
แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส
และโทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราพึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงบรรลุอากาสาณัญจายตนฌานโดย
กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงอากาสาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ก็พึง
มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติ
สมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)’ ก็พึง
มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า
หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๙. เวสาลีสูตร
ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า
หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า
‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอ
เสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขม-
สุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ หลัง
จากตายไป ก็รู้ชัดว่า ‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันจึงติดอยู่ได้ เพราะ
สิ้นน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันก็หมดเชื้อดับไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อ
เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ ก็รู้ชัดว่า
‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว”
ปทีโปปมสูตรที่ ๘ จบ

๙. เวสาลีสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่กรุงเวสาลี
[๙๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่ง
อสุภกัมมัฏฐาน ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐานแก่ภิกษุทั้งหลายโดย
ประการต่าง ๆ
ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ผู้เดียวสักครึ่งเดือน ใคร ๆ อย่าเข้าไปหาเรา ยกเว้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๙. เวสาลีสูตร
ภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ในครึ่งเดือนนี้ จึงไม่มีใคร ๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหาร
บิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏ-
ฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกัมมัฏฐาน ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน
โดยประการต่าง ๆ” แล้วพากันประกอบความเพียรในการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน
หลายประการ กระทั่งเกิดความรู้สึกอึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจร่างกายของตน จึง
พากันแสวงหาศัสตราสำหรับฆ่าตัวตาย วันเดียวภิกษุก็นำศัสตรามาฆ่าตัวตาย ๑๐
รูปบ้าง ฯลฯ ๓๐ รูปบ้าง
เมื่อครึ่งเดือนผ่านไป พระผู้มีพระภาคก็เสด็จออกจากที่หลีกเร้น รับสั่งเรียก
ท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า “อานนท์ ทำไมภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนจะน้อยลง”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า
‘พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกัมมัฏฐาน
ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐานโดยประการต่าง ๆ’ แล้วพากันประกอบ
ความเพียรในการเจริญอสุภกัมมัฏฐานหลายประการ กระทั่งเกิดความรู้สึกอึดอัด
เบื่อหน่าย รังเกียจร่างกายของตน จึงพากันแสวงหาศัสตราสำหรับฆ่าตัวตาย
วันเดียว ภิกษุก็นำศัสตรามาฆ่าตัวตาย ๑๐ รูปบ้าง ฯลฯ ๓๐ รูปบ้าง ขอ
ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตรัสบอกวิธีอื่นที่ภิกษุสงฆ์นี้จะพึง
ดำรงอยู่ในอรหัตตผลเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเผดียงภิกษุเท่าที่อาศัย
กรุงเวสาลีอยู่ทั้งหมดให้ประชุมที่โรงอาหาร” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระ
ดำรัสแล้วเผดียงภิกษุเท่าที่อาศัยกรุงเวสาลีอยู่ทั้งหมดให้ประชุมที่โรงอาหารแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทราบกาลอัน
สมควรในบัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๑๐. กิมิลสูตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปที่โรงอาหาร ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่
ปูลาดไว้ แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ
สมาธิแม้นี้ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นสภาพสงบ ประณีต สดชื่น
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป
สงบไปโดยเร็ว
ภิกษุทั้งหลาย ฝุ่นละอองที่ฟุ้งขึ้นท้ายฤดูร้อน ถูกฝนใหญ่นอกฤดูกาล ทำให้
อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว แม้ฉันใด อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้
มากแล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสภาพสงบ ประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่
เป็นสุข และทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงเป็น
สภาพสงบ ประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และทำบาปอกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก’
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงเป็นสภาพสงบ ประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และทำบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว”๑
เวสาลีสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. กิมิลสูตร
ว่าด้วยพระกิมิละ
[๙๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ เขตเมืองกิมิลา ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระกิมิละมาตรัสถามว่า “กิมิละ อานาปานสติ
สมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๑๐. กิมิลสูตร
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้ ท่านพระกิมิละได้นิ่งเฉย
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระกิมิละมาตรัสถามว่า “กิมิละ
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระกิมิละก็ได้นิ่งเฉย
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถึงเวลาที่พระองค์จะพึงตรัสอานาปานสติ-
สมาธิ ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาที่พระองค์จะพึงตรัสอานาปานสติสมาธิ ภิกษุทั้ง
หลายได้สดับจากพระองค์แล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
“อานนท์ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
๑. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อ
หายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัด
ว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้
แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจออก สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๑๐. กิมิลสูตร
เพราะเรากล่าวกายอย่างหนึ่ง คือ ลมหายใจเข้าและลมหายใจ
ออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้
๒. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งปีติ หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งปีติ หายใจออก สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งสุข หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งสุข หายใจออก สำเหนียกว่า จะรู้แจ้ง
จิตตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิตตสังขาร หายใจ
ออก สำเนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เรากล่าวเวทนาอย่างหนึ่ง คือ การมนสิการให้ดีถึงลมหายใจเข้า
และลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งจิต หายใจออก สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจ
เข้า ฯลฯ สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจออก สำเหนียกว่า
จะเปลื้องจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราไม่กล่าวการเจริญอานาปานสติสมาธิไว้ สำหรับผู้หลง
ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุ
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๔. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจ
เข้า ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้
หายใจเข้า ... สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจ
เข้า ... สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เธอเห็น
การละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญาแล้ววางเฉยอย่างดี
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
อานนท์ ดินกองใหญ่ที่ถนนใหญ่ ๔ แยก ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาทางทิศ
ตะวันออก ก็จะกระทบดินกองนั้น ถ้าผ่านมาทางทิศตะวันตก ... ถ้าผ่านมาทาง
ทิศเหนือ ... ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาทางทิศใต้ ก็จะกระทบดินกองนั้น แม้ฉันใด
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ก็ดี ชื่อว่าย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมได้ เมื่อ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ เมื่อพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ เมื่อ
พิจาณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายก็ดี ชื่อว่าย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมได้ ก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน”
กิมิลสูตรที่ ๑๐ จบ
เอกธัมมวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอกธัมมสูตร ๒. โพชฌังคสูตร
๓. สุทธิกสูตร ๔. ปฐมผลสูตร
๕. ทุติยผลสูตร ๖. อริฏฐสูตร
๗. มหากัปปินสูตร ๘. ปทีโปปมสูตร
๙. เวสาลีสูตร ๑๐. กิมิลสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อิจฉานังคลสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. อิจฉานังคลสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่กรุงอิจฉานังคละ
[๙๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ
เขตกรุงอิจฉานังคละ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ผู้เดียวสัก ๓ เดือน ใคร ๆ อย่าเข้า
ไปหาเรา ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว ใน ๓ เดือนนี้ จึงไม่มีใคร ๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเลย
ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
ครั้นล่วง ๓ เดือนนั้นไป พระผู้มีพระภาคก็เสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถาม
เธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย โดยมากพระสมณโคดมทรงอยู่จำพรรษา
ด้วยวิหารธรรมข้อไหน’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย โดยมากพระผู้มีพระภาคทรงอยู่จำพรรษาด้วย
อานาปานสติสมาธิ’ ภิกษุทั้งหลาย ขณะนี้เรามีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจ
ออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า
หายใจออกสั้น ย่อมรู้ชัดว่า จะรู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้า ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า
จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรม
นั้นใดว่า อริยวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ) บ้าง พรหมวิหาร (ธรรม
เป็นเครื่องอยู่ของพรหม) บ้าง ตถาคตวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคต)
บ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง ก็พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง
พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง ภิกษุเหล่าใดเป็นพระเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. กังเขยยสูตร
ย่อมปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ อานาปานสติสมาธิที่
ภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ส่วนภิกษุ
เหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง
ภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้ว
เพราะรู้โดยชอบ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันและเพื่อมีสติ มีสัมปชัญญะ
ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรมนั้น
ใดว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
ก็พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง”
อิจฉานังคลสูตรที่ ๑ จบ

๒. กังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อกังขาของเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ
[๙๘๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระโลมสกังภิยะอยู่ที่นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะทรงพระนามว่ามหานามะ เสด็จเข้าไปหาท่าน
พระโลมสกังภิยะถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ตรัสถามท่าน
พระโลมสกังภิยะดังนี้ว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ เสขวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่
ของพระเสขะ) กับตถาคตวิหารธรรมเป็นอย่างเดียวกันหรือ หรือว่าเสขวิหารธรรม
เป็นอย่างหนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมเป็นอีกอย่างหนึ่ง”
ท่านพระโลมสกังภิยะ ถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร มหาบพิตร
เสขวิหารธรรมกับตถาคตวิหารธรรมไม่ใช่อย่างเดียวกัน เสขวิหารธรรมเป็นอย่าง
หนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมเป็นอีกอย่างหนึ่ง
มหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นพระเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าละนิวรณ์ ๕ ประการอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. กังเขยยสูตร
ละนิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ละกามฉันทนิวรณ์อยู่ ๒. ละพยาบาทนิวรณ์อยู่
๓. ละถีนมิทธนิวรณ์อยู่ ๔. ละอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์อยู่
๕. ละวิจิกิจฉานิวรณ์อยู่
ภิกษุเหล่าใดเป็นพระเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าละนิวรณ์ ๕ ประการนี้อยู่
มหาบพิตร ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น
ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ นิวรณ์ ๕ ประการเป็นอันภิกษุเหล่านั้น
ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์เป็นอันภิกษุเหล่านั้นละได้เด็ดขาด ตัดรากถอน
โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำ
ให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
๒. พยาบาทนิวรณ์...
๓. ถีนมิทธนิวรณ์...
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์...
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นอันภิกษุเหล่านั้นละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้
ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
มหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น
ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ นิวรณ์ ๕ ประการนี้เป็นอันภิกษุเหล่า
นั้นละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือ
แต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ขอพระองค์ทรงทราบเรื่องนี้โดยปริยายที่ว่า
เสขวิหารธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. กังเขยยสูตร
มหาบพิตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ
เขตกรุงอิจฉานังคละ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่คนเดียวสัก ๓ เดือน ใคร ๆ อย่าเข้า
ไปหาเรา ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว’ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว ใน ๓ เดือนนี้ จึงไม่มีใคร ๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเลย
ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
ครั้นล่วง ๓ เดือนนั้นไป พระผู้มีพระภาคก็เสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถาม
เธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย โดยมากพระสมณโคดมทรงอยู่จำพรรษา
ด้วยวิหารธรรมข้อไหน’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย โดยมากพระผู้มีพระภาคทรงอยู่จำพรรษาด้วย
อานาปานสติสมาธิ’
ภิกษุทั้งหลาย ขณะนี้เรามีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว ฯลฯ
ย่อมรู้ชัดว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรมนั้น
ใดว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง
ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ
อันยอดเยี่ยมอยู่ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นอาสวะ ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น
ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันและเพื่อมีสติ มีสัมปชัญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรมนั้น
ใดว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
ก็พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหาร
บ้าง’
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ขอพระองค์ทรงทราบเรื่องนี้โดยปริยายที่ว่า
เสขวิหารธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง”
กังเขยยสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๑
[๙๘๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม
๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗
ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ มีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม
๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร”
“อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้
มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้
สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจ
ออกยาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
๑. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือ
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็
รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
ฯลฯ สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า จะระงับ
กายสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวกายอย่างหนึ่ง คือ
ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุ
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งปีติ หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งปีติ หายใจออก ฯลฯ จะรู้แจ้งสุข ... จะรู้แจ้งจิตตสังขาร
... สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เรากล่าวเวทนาอย่างหนึ่ง คือ การมนสิการให้ดีถึงลมหายใจ
เข้าและลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร
๓. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งจิต หายใจออก สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
ฯลฯ จะตั้งจิตมั่น ... สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
จิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราไม่กล่าวการ
เจริญอานาปานสติสมาธิไว้สำหรับผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ฯลฯ
จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ ... จะพิจารณาเห็นความ
ดับไป ... สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เธอเห็น
การละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญาแล้ววางเฉยอย่างดี
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
อานนท์ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ คือ
๑. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ สมัยนั้น สติของเธอ
ตั้งมั่น ไม่หลงลืม
(๑) สมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น สติ-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร
(๒) เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้น
ด้วยปัญญา สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหา
พิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญ
เต็มที่แก่ภิกษุ
(๓) เมื่อเธอค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนชื่อว่าเป็นอันปรารภแล้ว สมัยใด
ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุผู้ค้นคว้าพิจารณาสอด
ส่องธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริย-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญวิริย-
สัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(๔) ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยใด
ปีติไม่มีอามิสเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยนั้น
ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญปีติ-
สัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่
ภิกษุ
(๕) แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัยใด
แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัย
นั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุ
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสิทธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความ
เจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(๖) จิตของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยใด จิต
ของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิ
สัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสมาธิ
สัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่
แก่ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร
(๗) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุย่อม
เพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
๒. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ สมัยนั้น
สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม
(๑) สมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนสติปัฏฐานข้อต้น)
(๗) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุย่อม
เพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำ
ให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. ทุติยอานันทสูตร
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
อานนท์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”
ปฐมอานันทสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๒
[๙๙๐] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์
ดังนี้ว่า “อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ มีอยู่หรือ”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ๑
“อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ มีอยู่
ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการ
บริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๕. ปฐมภิภขุสูตร
คือ ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้
สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ฯลฯ
อานนท์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”
ทุติยอานันทสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ สูตรที่ ๑
[๙๙๑] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์
ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์
ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์
มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ มีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุติยภิกขุสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้
มากแล้ว ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้
สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”
ปฐมภิกขุสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ สูตรที่ ๒
[๙๙๒] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการ
บริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการ
บริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการ
บริบูรณ์ มีอยู่หรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาค
แล้วจักทรงจำไว้”
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุติยภิกขุสูตร
ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการ
บริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุ
เจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้
สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็น
ความสละคืน หายใจออก
๑. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือ
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็
รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น ฯลฯ สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งกองลมทั้งปวง
ฯลฯ สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะระงับกายสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรา
กล่าวกายอย่างหนึ่ง คือลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุติยภิกขุสูตร
๒. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งปีติ ฯลฯ จะรู้แจ้งสุข ฯลฯ
จะรู้แจ้งจิตตสังขาร ฯลฯ สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวเวทนาอย่างหนึ่ง คือ การมนสิการ
ให้ดีถึงลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิต ฯลฯ จะยังจิตให้บันเทิง
ฯลฯ สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะตั้ง
จิตมั่น หายใจออก สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุ
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เราไม่กล่าวการเจริญอานาปานสติสมาธิไว้สำหรับผู้หลงลืมสติ
ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิต
ในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
๔. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ฯลฯ
จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ ฯลฯ จะพิจารณาเห็นความ
ดับไป ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หาย
ใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญาแล้ววางเฉยอย่างดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุติยภิกขุสูตร
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำ
ให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ คือ
๑. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ สมัยนั้น สติของเธอ
ตั้งมั่น ไม่หลงลืม
(๑) สมัยใด สติของภิกษุตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น สติ-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(๒) เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้น
ด้วยปัญญา สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหา
พิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่
แก่ภิกษุ
(๓) เมื่อเธอค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุผู้ค้นคว้า
พิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภแล้ว สมัยนั้น
วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญวิริย-
สัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุติยภิกขุสูตร
(๔) ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยใด
ปีติไม่มีอามิสเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยนั้น
ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญปีติ-
สัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(๕) แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัยใด
แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัย
นั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุ
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสิทธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความ
เจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(๖) จิตของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยใด จิต
ของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น
สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญ
สมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญ
เต็มที่แก่ภิกษุ
(๗) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุย่อม
เพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
๒. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ สมัยนั้น
สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม
(๑) สมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. สัญโญชนัปปาหนสูตร
(๗) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุเพ่ง
จิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ จึงทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”
ทุติยภิกขุสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัญโญชนัปปหานสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อละสังโยชน์
[๙๙๓] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. อัทธานปริญญาสูตร
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงเป็น
ไปเพื่อละสังโยชน์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ฯลฯ๑ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงเป็นไปเพื่อละสังโยชน์”
สัญโญชนัปปหานสูตรที่ ๗ จบ

๘. อนุสยสมุคฆาตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อถอนอนุสัย
[๙๙๔] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงเป็นไป
เพื่อถอนอนุสัย”
อนุสยสมุคฆาตสูตรที่ ๘ จบ

๙. อัทธานปริญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ
[๙๙๕] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ (ทางไกล) (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร) ฯลฯ
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงเป็นไปเพื่อ
กำหนดรู้อัทธานะ”
อัทธานปริญญาสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
[๙๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากอย่างนี้ จึงเป็นไปเพื่อ
ความสิ้นอาสวะ”
อาสวักขยสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุติยวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อิจฉานังคลสูตร ๒. กังเขยยสูตร
๓. ปฐมอานันทสูตร ๔. ทุติยอานันทสูตร
๕. ปฐมภิกขุสูตร ๖. ทุติยภิกขุสูตร
๗. สัญโญชนัปปหานสูตร ๘. อนุสยสมุคฆาตสูตร
๙. อัทธานปริญญาสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร

อานาปานสังยุตที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๑. จักกวัตติราชสูตร

๑๑. โสตาปัตติสังยุต
๑. เวฬุทวารวรรค
หมวดว่าด้วยเวฬุทวารคาม
๑. จักกวัตติราชสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ
[๙๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ๑ จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พระเจ้าจักรพรรดิทรงครองราชย์เป็นอิสสราธิบดีแห่งทวีปทั้ง ๔ หลังจากเสด็จ
สวรรคตแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทพ
ชั้นดาวดึงส์ ท้าวเธอทรงแวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสร เพียบพร้อม บำเรอตนด้วย
กามคุณ ๕ ประการที่เป็นทิพย์ สำราญพระทัยในสวนนันทวัน ที่ภพดาวดึงส์นั้น
ท้าวเธอไม่ทรงประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ทรงพ้น
จากนรก ไม่ทรงพ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่ทรงพ้นจากภูมิแห่งเปรต และไม่
ทรงพ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต๒ไปได้
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเลี้ยงอัตภาพด้วยอาหาร ที่แสวงหามาได้ด้วยลำแข้ง
นุ่งห่มผ้าที่เศร้าหมอง เธอประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
ก็พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากภูมิแห่งเปรต และพ้นจากอบาย
ทุคติ และวินิบาตไปได้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๑. จักกวัตติราชสูตร
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรม
เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๑ ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
ว่า ‘พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติ
ตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ
มาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ
อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ๒ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การได้ครองทวีปทั้ง ๔ กับการได้ธรรม ๔ ประการ การครอง
ทวีปทั้ง ๔ ยังไม่ถึงเศษหนึ่งส่วนสิบหกแห่งการได้ธรรม ๔ ประการเลย”
จักกวัตติราชสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๒. พรหมจริโยคธสูตร

๒. พรหมจริโยคธสูตร
ว่าด้วยผู้ประสบสุขอันหยั่งลงสู่พรหมจรรย์
[๙๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส
และการเห็นธรรม มีอยู่แก่ชนเหล่าใด
ชนเหล่านั้น ย่อมประสบสุข
อันหยั่งลงสู่พรหมจรรย์ตลอดกาล”
พรหมจริโยคธสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๓. ทีฆาวุอุปาสกสูตร

๓. ทีฆาวุอุปาสกสูตร
ว่าด้วยทีฆาวุอุบาสก
[๙๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน
ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อุบาสกชื่อทีฆาวุป่วย ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ได้เรียกคหบดีชื่อโชติยะผู้เป็นบิดามาขอร้องว่า “มาเถิดคุณพ่อ ขอ
คุณพ่อจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วย
เศียรเกล้าแล้ว กราบทูลตามคำของผมว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสกป่วย
ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า’
และคุณพ่อจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์ เสด็จไปเยี่ยมทีฆาวุอุบาสกถึงนิเวศน์
ด้วยเถิด”
โชติยคหบดีรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ทีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มี
พระภาคด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ขอพระองค์ได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จไปเยี่ยมทีฆาวุอุบาสกถึง
นิเวศน์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จไปยัง
นิเวศน์ของทีฆาวุอุบาสก ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ตรัสถาม
ทีฆาวุอุบาสกดังนี้ว่า “ทีฆาวุ ท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนา
ทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
ทีฆาวุอุบาสกทูลตอบว่า “ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนา
มีแต่กำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
พระพุทธเจ้าข้า”
“ทีฆาวุ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกว่า ‘เรา
๑. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๓. ทีฆาวุอุปาสกสูตร
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. จักประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ’
ทีฆาวุ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ องค์เครื่องบรรลุโสดา๑ ๔ ประการใดที่พระผู้มีพระภาค
ได้ทรงแสดงไว้ ธรรม(คือองค์เครื่องบรรลุโสดา)เหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และ
ข้าพระองค์ก็เห็นธรรมเหล่านั้น
ก็ข้าพระองค์
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ”
“ทีฆาวุ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงตั้งอยู่ในองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้แล้ว
เจริญธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘ทีฆาวุ ในเรื่องนี้
ท่านจงพิจารณา เห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์
มีความหมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา มีความหมายรู้ในการละ มีความ
หมายรู้ในการคลายออกได้ มีความหมายรู้ในความดับ’ ทีฆาวุ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการใดที่พระผู้มี
พระภาคได้ทรงแสดงไว้ ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็เห็น
ธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง มีความหมายรู้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๔. ปฐมสารีปุตตสูตร
ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ มีความหมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา มีความ
หมายรู้ในการละ มีความหมายรู้ในการคลายออกได้ มีความหมายรู้ในความดับ
อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์มีความคิดว่า ‘เมื่อข้าพระองค์ล่วงลับไป โชติยคหบดีนี้
อย่าได้ถึงความคับแค้นเลย”
โชติยคหบดีกล่าวว่า “พ่อทีฆาวุ เธออย่าได้ใส่ใจอย่างนั้นเลย เธอจงใส่ใจถึง
พระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้นั้นแลให้ดีเถิด”
ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสสอนทีฆาวุอุบาสกด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ก็เสด็จลุก
จากอาสนะจากไป เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ทีฆาวุอุบาสกก็ได้ถึง
แก่กรรม
ต่อมา ภิกษุหลายรูปพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสกที่พระองค์ตรัสสอนด้วยพระโอวาทโดยย่อ ได้ถึงแก่กรรมแล้ว
คติของเขา เป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพ เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุอุบาสกเป็นบัณฑิต
พูดความจริงถูกต้องตามธรรม ทั้งไม่เบียดเบียนเราเพราะเหตุแห่งธรรม ภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป ทีฆาวุ
อุบาสกจึงเป็นโอปปาติกะ๑ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก”
ทีฆาวุอุปาสกสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมสารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตร สูตรที่ ๑
[๑๐๐๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระอานนท์
ออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น