Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๙-๑๐ หน้า ๔๙๔ - ๕๔๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙-๑๐ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๕. ทุติยสารีปุตตสูตร
ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร เพราะประกอบด้วย
ธรรมเท่าไร พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์หมู่สัตว์นี้ว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์หมู่สัตว์นี้ว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า ‘
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
ผู้มีอายุ เพราะประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรง
พยากรณ์หมู่สัตว์นี้ว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า”
ปฐมสารีปุตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยสารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตร สูตรที่ ๒
[๑๐๐๑] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตร
ดังนี้ว่า “สารีบุตร ที่เรียกว่า ‘องค์เครื่องบรรลุโสดา องค์เครื่องบรรลุโสดา’ องค์
เครื่องบรรลุโสดา เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๕. ทุติยสารีปุตตสูตร
ท่านพระสารีบุตรทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัปปุริสสังเสวะ (การ
คบหาสัตบุรุษ) เป็นองค์เครื่องบรรลุโสดา สัทธัมมัสสวนะ (การฟังพระสัทธรรม)
เป็นองค์เครื่องบรรลุโสดา โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย) เป็นองค์
เครื่องบรรลุโสดา ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม) เป็นองค์
เครื่องบรรลุโสดา”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร สัปปุริสสังเสวะเป็นองค์เครื่องบรรลุโสดา สัทธัมมัสสวนะ
เป็นองค์เครื่องบรรลุโสดา โยนิโสมนสิการเป็นองค์เครื่องบรรลุโสดา ธัมมานุธัมม-
ปฏิปัตติเป็นองค์เครื่องบรรลุโสดา
สารีบุตร ที่เรียกว่า ‘โสดา โสดา’ โสดา เป็นอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

นี้แลเป็นโสดา”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลเป็นโสดา
สารีบุตรที่เรียกว่า ผู้บรรลุโสดาคือใคร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ใดประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ผู้นี้เรียกว่า
ผู้บรรลุโสดา ท่านผู้นี้ มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ผู้ใดประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ผู้นี้เรียกว่า
ผู้บรรลุโสดา ท่านผู้นี้ มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้”
ทุติยสารีปุตตสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๖. ถปติสูตร

๖. ถปติสูตร
ว่าด้วยช่างไม้
[๑๐๐๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า “พระ
ผู้มีพระภาคทรงมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วง ๓ เดือน ก็จักเสด็จจาริกไป”
สมัยนั้น ช่างไม้ชื่ออิสิทัตตะและปุราณะอาศัยอยู่ในหมู่บ้านส่วยชื่อสาธุกะด้วย
กรณียกิจบางอย่าง ได้ทราบข่าวว่า “ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มี
พระภาคด้วยหวังว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือน ก็จัก
เสด็จจาริกไป”
ต่อมา ช่างไม้ชื่ออิสิทัตตะและปุราณะได้จัดบุรุษเฝ้าหนทางไว้สั่งว่า “พ่อมหา
จำเริญ เมื่อใด ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมา เมื่อนั้น
ท่านก็พึงบอกพวกเรา” บุรุษนั้นเฝ้าอยู่ได้ ๒-๓ วัน ก็ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จ
มาแต่ไกล จึงเข้าไปหาช่างไม้ชื่ออิสิทัตตะและปุราณะถึงที่อยู่แล้วบอกดังนี้ว่า “ท่าน
ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังเสด็จมา ขอท่าน
ทั้งหลายจงทราบเวลาอันสมควรในบัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น ช่างไม้ชื่ออิสิทัตตะและปุราณะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์ ขณะนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงแวะข้างทางเสด็จเข้าไปยังโคนไม้แห่งหนึ่ง แล้วประทับนั่งบน
พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ช่างไม้ชื่ออิสิทัตตะและปุราณะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มีพระ
ภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากกรุงสาวัตถีไป (ตามเมืองต่าง ๆ) ในแคว้นโกศล’ เมื่อนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายน้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักห่างเราทั้งหลายไป’ เมื่อใด
ได้ทราบข่าวว่า ‘ได้เสด็จจาริกจากกรุงสาวัตถีไป (ตามเมืองต่าง ๆ) ในแคว้น
โกศลแล้ว’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายก็น้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้
ห่างเราทั้งหลายไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๖. ถปติสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มีพระ
ภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นโกศลไปยังแคว้นมัลละ’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์
ทั้งหลายน้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักห่างเราทั้งหลายไป’ แต่เมื่อใด
ได้ทราบข่าวว่า ‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นโกศลไปยังแคว้นมัลละแล้ว’ เมื่อนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายก็น้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้ห่างเราทั้งหลายไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าว
พระผู้มีพระภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นมัลละไปยังแคว้นวัชชี’ เมื่อนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายน้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักห่างเราทั้งหลายไป’
เมื่อใด ได้ทราบข่าวว่า ‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นมัลละไปยังแคว้นวัชชีแล้ว’ เมื่อนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายก็น้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้ห่างเราทั้งหลายไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มี
พระภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีไปแคว้นกาสี’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์
ทั้งหลายน้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักห่างเราทั้งหลายไป’ เมื่อใด
ได้ทราบข่าวว่า ‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีไปยังแคว้นกาสีแล้ว’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์
ทั้งหลายก็น้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้ห่างเราทั้งหลายไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มี
พระภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นกาสีไปแคว้นมคธ’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย
น้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักห่างเราทั้งหลายไป’ เมื่อใด ได้ทราบข่าวว่า
‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นกาสีไปยังแคว้นมคธแล้ว’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายก็
น้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้ห่างเราทั้งหลายไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มีพระ
ภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นมคธมาแคว้นกาสี’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักอยู่ใกล้เราทั้งหลาย’ เมื่อใด ได้ทราบข่าวว่า
‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นมคธมาแคว้นกาสีแล้ว’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายก็
ปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้อยู่ใกล้เราทั้งหลาย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๖. ถปติสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มีพระ
ภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นกาสีมาแคว้นวัชชี’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักอยู่ใกล้เราทั้งหลาย’ เมื่อใด ได้ทราบข่าวว่า
‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นกาสีมาแคว้นวัชชีแล้ว’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายก็
ปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้อยู่ใกล้เราทั้งหลาย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มีพระ
ภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีมาแคว้นมัลละ’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักอยู่ใกล้เราทั้งหลาย’ เมื่อใด ได้ทราบข่าวว่า
‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีมาแคว้นมัลละแล้ว’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ก็ปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้อยู่ใกล้เราทั้งหลาย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มี
พระภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นมัลละมาแคว้นโกศล’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์
ทั้งหลายปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักอยู่ใกล้เราทั้งหลาย’ เมื่อใด ได้
ทราบข่าวว่า ‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นมัลละมาแคว้นโกศลแล้ว’ เมื่อนั้น ข้าพระ
องค์ทั้งหลายก็ปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้อยู่ใกล้เราทั้งหลาย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มีพระภาค
ว่า ‘จักเสด็จจาริกจาก (เมืองต่าง ๆ ใน) แคว้นโกศลมากรุงสาวัตถี’ เมื่อนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักอยู่ใกล้ข้าพระองค์ทั้งหลาย’
เมื่อใด ได้ทราบข่าวว่า ‘ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตกรุงสาวัตถี’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ปลื้มใจและดีใจมากว่า ‘พระผู้มี
พระภาคได้อยู่ใกล้เราทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ช่างไม้ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น การอยู่ครองเรือน
ในโลกนี้คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี ส่วนบรรพชาปลอดโปร่ง ท่านทั้งหลายอย่า
ได้ประมาทเลย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความคับแคบอื่นที่คับแคบกว่า และที่นับว่าเป็น
ความคับแคบกว่าความคับแคบนี้ของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีอยู่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๖. ถปติสูตร
“ช่างไม้ทั้งหลาย ความคับแคบอื่นที่คับแคบกว่า และที่นับว่าเป็นความคับ
แคบกว่าความคับแคบนี้ของท่านทั้งหลาย เป็นอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อใด พระเจ้าปเสนทิโกศล
มีพระราชประสงค์จะเสด็จไปพระราชอุทยาน เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายต้อง
กำหนดช้างทรงของพระเจ้าปเสนทิโกศล แล้วทูลเชิญให้พระชายาทั้งหลายซึ่งเป็นที่
สิเนหาโปรดปรานของพระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่งเบื้องหน้าพระพักตร์พระองค์หนึ่ง
เบื้องพระปฤษฎางค์พระองค์หนึ่ง กลิ่นของพระชายาเหล่านั้นเปรียบเหมือนกลิ่น
ของนางราชกัญญาผู้ลูบไล้ด้วยของหอมดังขวดน้ำหอมที่เปิดในขณะนั้น อนึ่ง การ
สัมผัสกายของพระชายาเหล่านั้น ก็เป็นเหมือนการสัมผัสกายของนางราชกัญญา
ผู้ดำรงอยู่ในความสุข ดังปุยนุ่น หรือปุยฝ้าย เมื่อนั้น ทั้งช้าง ทั้งพระชายาเหล่านั้น
ทั้งพระราชา ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องเฝ้าระวังรักษา แต่ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่
รู้สึกว่าจะให้ความคิดเลว ๆ เกิดขึ้นในพระชายาเหล่านั้นได้เลย นี้แลคือความคับแคบ
อื่นที่คับแคบกว่า และที่นับว่าเป็นความคับแคบกว่าความคับแคบนี้ของข้าพระองค์
ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า”
“ช่างไม้ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น การอยู่ครองเรือนในโลกนี้จึงคับแคบ เป็น
ทางมาแห่งธุลี ส่วนบรรพชาปลอดโปร่ง ท่านทั้งหลายอย่าได้ประมาทเลย อริย-
สาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่
นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทาน
และการแจกทาน อยู่ครองเรือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๗. เวฬุทวาเรยยสูตร
ช่างไม้ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ช่างไม้ทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
อนึ่ง ไทยธรรมทุกอย่างในตระกูล เป็นของไม่แบ่งแยกกับท่านผู้มีศีล๑ มีธรรม
อันงาม ท่านทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ชาวโกศลมีจำนวนเท่าไร
ท่านทั้งหลายก็เฉลี่ยแบ่งปันให้เท่า ๆ กัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภของข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ได้ดีแล้วที่พระผู้มีพระภาคทรงทราบชัดอย่างนี้”
ถปติสูตรที่ ๖ จบ

๗. เวฬุทวาเรยยสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์และคหบดีชาวเวฬุทวารคาม
[๑๐๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่
ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ของชาวโกศลชื่อเวฬุทวาระ พวกพราหมณ์และ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๗. เวฬุทวาเรยยสูตร
คหบดีชาวเวฬุทวารคามได้ฟังข่าวว่า “พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวช
จากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จ
ถึงเวฬุทวารคามโดยลำดับ ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก
ผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระ
พุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เอง
แล้ว ทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความ
งามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด และทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ
และพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็น
ความดีอย่างแท้จริง”
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวเวฬุทวารคามเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ บางพวกก็ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ก็สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกก็ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็ประกาศ
ชื่อและโคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็นิ่งเฉยแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร พากันกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม
ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ ๆ ว่า
‘ขอเราทั้งหลายพึงอยู่ครองเรือน นอนเบียดเสียดบุตร พึงใช้สอยผงแก่นจันทน์
จากแคว้นกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ พึงยินดีทองและเงิน
หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ข้าพระองค์ทั้งหลายพึงอยู่ครองเรือน
นอนเบียดเสียดบุตร ฯลฯ พึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ด้วยวิธีใด ขอท่านพระ
โคดมโปรดแสดงธรรมด้วยวิธีนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายผู้มีความปรารถนา มีความ
พอใจ มีความประสงค์อย่างนั้น ๆ เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๗. เวฬุทวาเรยยสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม
บรรยายที่ควรน้อมเข้ามาในตนแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว” พราหมณ์และคหบดีชาวเวฬุทวารคามเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัส
แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย
ธรรมบรรยายที่ควรน้อมเข้ามาในตน เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข
เกลียดทุกข์ ข้อที่บุคคลพึงปลงชีวิตเราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยาก
ตาย รักสุขเกลียดทุกข์นั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
อนึ่ง ข้อที่เราพึงปลงชีวิตผู้อื่น ผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย
รักสุขเกลียดทุกข์นั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น
สิ่งใดไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่
เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณา
อย่างนี้แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์เองด้วย ชักชวนผู้อื่น
ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ด้วย กายสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓
ส่วนดังที่กล่าวมานี้
๒. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงถือเอาสิ่งของของเราที่เราไม่
ให้ด้วยอาการขโมยนั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
อนึ่ง ข้อที่เราพึงถือเอาสิ่งของของผู้อื่นที่เขาไม่ให้ด้วยอาการขโมยนั้น
ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่
เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของ
ผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้น
ไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้
แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์เองด้วย ชักชวนผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๗. เวฬุทวาเรยยสูตร
ให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจาก
การลักทรัพย์ด้วย กายสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์
ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้
๓. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงประพฤติล่วงภรรยาของเรา
ข้อนั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง ข้อที่เราพึง
ประพฤติล่วงภรรยาของผู้อื่นนั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ
แม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้น
ก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่
เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’
อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกามเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกามด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกามด้วย กายสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อม
บริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้
๔. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงทำลายประโยชน์ของเรา
ด้วยการพูดเท็จนั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง
ข้อที่เราพึงทำลายประโยชน์ของผู้อื่นด้วยการพูดเท็จ ข้อนั้นก็ไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น
ที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น
สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูก
มัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็น
ผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจาก
การพูดเท็จด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเท็จด้วย
วจีสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้
๕. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงยุยงเราให้แตกจากมิตรด้วย
การพูดส่อเสียดนั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
อนึ่ง ข้อที่เราพึงยุยงผู้อื่นให้แตกจากมิตรด้วยการพูดส่อเสียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๗. เวฬุทวาเรยยสูตร
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น ฯลฯ วจีสมาจาร
นี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้
๖. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงพูดกับเราด้วยคำหยาบนั้น
ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง ข้อที่เราพึงพูดกับผู้อื่น
ด้วยคำหยาบนั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น
สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ฯลฯ วจีสมาจารนี้
ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้
๗. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงพูดกับเราด้วยการพูด
เพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์นั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
อนึ่ง ข้อที่เราพึงพูดกับผู้อื่นด้วยการพูดเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์นั้น
ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รักไม่
เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น
สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัด
กับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็นผู้
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจาก
การพูดเพ้อเจ้อด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเพ้อ
เจ้อด้วย วจีสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓
ส่วนดังที่กล่าวมานี้
อริยสาวกนั้น
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๘. ปฐมคิญชกาวสถสูตร
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗
ประการนี้ ด้วยฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความหวัง ๔ ประการนี้ เมื่อนั้น อริยสาวก
นั้นเมื่อหวัง พึงพยากรณ์ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคหบดีชาวเวฬุทวารคาม
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระ
โคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ข้าพระองค์ทั้งหลายขอถึงท่านพระโคดม พระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
เวฬุทวาเรยยสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมคิญชกาวสถสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายที่พระตำหนักอิฐ สูตรที่ ๑
[๑๐๐๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระตำหนักอิฐ ในหมู่บ้านญาติกะ๑
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
สาฬหภิกษุมรณภาพแล้ว คติของท่านเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร
นันทาภิกษุณีมรณภาพแล้ว คติของนางเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร
สุทัตตอุบาสกถึงแก่กรรมแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร
สุชาดาอุบาสิกาถึงแก่กรรมแล้ว คติของนางเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๘. ปฐมคิญชกาวสถสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ สาฬหภิกษุมรณภาพแล้วทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ในปัจจุบัน นันทาภิกษุณีมรณภาพแล้วไปเกิดเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น
ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป สุทัตต-
อุบาสกถึงแก่กรรมแล้วได้เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
และบรรเทาราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางได้ มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ สุชาดาอุบาสิกาถึงแก่กรรมแล้วได้เป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
อานนท์ ไม่น่าอัศจรรย์เลยที่บุคคลเกิดเป็นมนุษย์แล้วตายไป หากเมื่อบุคคล
นั้น ๆ ตายไป เธอทั้งหลายจักเข้ามาสอบถามเรื่องนี้กับเรา ก็จะพึงเป็นความ
ลำบากแก่ตถาคต เพราะฉะนั้น เราจักแสดงธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาส (แว่น
ส่องธรรม) ที่พระอริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อหวังก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรา
มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ
และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า’
ธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาสที่พระอริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อหวังพึง
พยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิ
แห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า‘ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๙. ทุติยคิญชกาวสถสูตร
อานนท์ นี้แลคือธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาส ที่พระอริยสาวกผู้ประกอบแล้ว
เมื่อหวังก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ปฐมคิญชกาวสถสูตรที่ ๘ จบ

(พระสูตรทั้ง ๓ สูตรมีเหตุเกิดอย่างเดียวกัน)

๙. ทุติยคิญชกาวสถสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายที่พระตำหนักอิฐ สูตรที่ ๒
[๑๐๐๕] ท่านพระอานนท์นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อโสกภิกษุมรณภาพแล้ว คติของเธอเป็นอย่างไร
อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร อโสกาภิกษุณีมรณภาพแล้ว ฯลฯ อโสกอุบาสก
ถึงแก่กรรมแล้ว ฯลฯ อโสกาอุบาสิกาถึงแก่กรรมแล้ว คติของนางเป็นอย่างไร
อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ อโสกภิกษุมรณภาพแล้ว ทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ฯลฯ
(เนื้อเรื่องก็อย่างเดียวกับการพยากรณ์ปัญหาข้างต้น)
อานนท์ นี้แล คือ ธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว
เมื่อหวังก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ทุติยคิญชกาวสถสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๑๐. ตติยคิญชกาวสถสูตร

๑๐. ตติยคิญชกาวสถสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายที่พระตำหนักอิฐ สูตรที่ ๓
[๑๐๐๖] ท่านพระอานนท์นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กกุฏอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะถึงแก่กรรมแล้ว
คติของเขาเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร กฬิภอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ
ฯลฯ นิกตอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ฯลฯ กฏิสสหอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ...
ตุฏฐอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ... สันตุฏฐอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ... ภัทท-
อุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ... สุภัททอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะถึงแก่กรรมแล้ว
คติของเขาเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ กกุฏอุบาสกถึงแก่กรรมแล้วไปเกิดเป็น
โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้น ไม่
หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก กฬิภอุบาสก ฯลฯ นิกตอุบาสก ... กฏิสสหอุบาสก ...
ตุฏฐอุบาสก ... สันตุฏฐอุบาสก ... สุภัททอุบาสก ... ภัททอุบาสกถึงแก่กรรมแล้ว
ไปเกิดเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพาน
ในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
(อุบาสกทุกคนพึงทำให้มีคติอย่างเดียวกัน)
อานนท์ อุบาสกกว่า ๕๐ คนในหมู่บ้านญาติกะถึงแก่กรรมแล้วไปเกิดเป็น
โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้นไม่
หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก อุบาสกกว่า ๙๐ คนในหมู่บ้านญาติกะถึงแก่กรรมแล้ว
ได้เป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ
ให้เบาบางได้ กลับมาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ อุบาสกกว่า
๕๐๐-๖๐๐ คนในหมู่บ้านญาติกะถึงแก่กรรมแล้วได้เป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
อานนท์ ไม่น่าอัศจรรย์เลยที่บุคคลเกิดเป็นมนุษย์แล้วตายไป หากเมื่อบุคคล
นั้นตายไป เธอทั้งหลายจักเข้ามาสอบถามเรื่องนี้กับเรา ก็จะพึงเป็นความลำบากแก่
ตถาคต เพราะเหตุนั้น เราจักแสดงธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาส(แว่นส่องธรรม)
ที่อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อหวังก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาต
สิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวัน
ข้างหน้า’
ธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อหวังก็พึง
พยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิ
แห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อานนท์ นี้แล คือ ธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว
เมื่อหวังก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ตติยคิญชกาวสถสูตรที่ ๑๐ จบ
เวฬุทวารวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จักกวัตติราชสูตร ๒. พรหมจริโยคธสูตร
๓. ทีฆาวุอุปาสกสูตร ๔. ปฐมสารีปุตตสูตร
๕. ทุติยสารีปุตตสูตร ๖. ถปติสูตร
๗. เวฬุทวาเรยยสูตร ๘. ปฐมคิญชกาวสถสูตร
๙. ทุติยคิญชกาวสถสูตร ๑๐. ตติยคิญชกาวสถสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๑. สหัสสภิกขุนีสังฆสูตร

๒. ราชการามวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ราชการาม
๑. สหัสสภิกขุนีสังฆสูตร
ว่าด้วยภิกษุณีสงฆ์ ๑,๐๐๐ รูป
[๑๐๐๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราชการาม เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุณีสงฆ์ ๑,๐๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ภิกษุณีทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
ภิกษุณีทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
สหัสสภิกขุนีสังฆสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๒. พราหมณสูตร

๒. พราหมณสูตร
ว่าด้วยข้อบัญญัติของพราหมณ์
[๑๐๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติ
อุทยคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความเจริญ) พวกเขาย่อมชักชวนสาวกอย่าง
นี้ว่า ‘มาเถิดพ่อมหาจำเริญ ท่านจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เดินบ่ายหน้าไปทางทิศปราจีน
อย่าหลีกบ่อ เหว ตอที่มีหนาม หลุมคูถ บ่อโสโครก ท่านตกลงไปในที่ใด ก็
พึงรอความตายในที่นั้นแล ด้วยอุบายอย่างนี้ หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์’
ภิกษุทั้งหลาย ข้อบัญญัติของพราหมณ์เหล่านั้น เป็นทางไปของคนโง่ เป็น
ทางไปของคนหลง ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่
เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่
เป็นไปเพื่อนิพพาน ส่วนในอริยวินัย เราก็บัญญัติอุทยคามินีปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อ
รู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
อุทยคามินีปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด ฯลฯ เพื่อ
นิพพานนั้น เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๓. อานันทเถรสูตร
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือ อุทยคามินีปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่าง
ที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
พราหมณสูตรที่ ๒ จบ

๓. อานันทเถรสูตร
ว่าด้วยพระอานนทเถระ
[๑๐๐๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร
ออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระ
อานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ เพราะละธรรมเท่าไร เพราะประกอบด้วยธรรมเท่าไร
หมู่สัตว์นี้พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า ‘เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะละธรรม ๔ ประการ เพราะประกอบ
ด้วยธรรม ๔ ประการ หมู่สัตว์นี้พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า ‘เป็นพระ
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
๑. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระพุทธเจ้า หลังจาก
ตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่
เลื่อมใสเช่นนั้นในพระพุทธเจ้าหามีแก่ปุถุชนนั้นไม่ ส่วนอริยสาวก
ผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวเช่นใดใน
พระพุทธเจ้า หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวเช่นนั้นในพระพุทธเจ้าย่อมมีแก่อริย-
สาวกนั้นว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๓. อานันทเถรสูตร
๒. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระธรรม หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสเช่น
นั้นในพระธรรมหามีแก่ปุถุชนนั้นไม่ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวเช่นใดในพระธรรม
หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวเช่นนั้นในพระธรรมย่อมมีแก่พระอริยสาวกนั้นว่า
‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อัน
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’
๓. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระสงฆ์ หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสเช่น
นั้นในพระสงฆ์หามีแก่ปุถุชนนั้นไม่ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวเช่นใดในพระสงฆ์
หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวเช่นนั้นในพระสงฆ์ย่อมมีแก่อริยสาวกนั้นว่า ‘พระ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนา
บุญอันยอดเยี่ยมของโลก’
๔. ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีลเช่นใด หลังจากตายแล้ว จะไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความเป็นผู้ทุศีลเช่นนั้นหามี
แก่ปุถุชนนั้นไม่ ส่วนอริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะ
ชอบใจเช่นใด หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิเช่นนั้น
ย่อมมีแก่อริยสาวกนั้น
อาวุโส เพราะละธรรม ๔ ประการนี้ เพราะประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้
หมู่สัตว์นี้พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า ‘เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
อานันทเถรสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกายมหาวารวรรค[๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๕. ทุคคติวินิปาตภยสูตร

๔. ทุคคติภยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ให้พ้นภัยคือทุคติ
[๑๐๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๔ ประการ ย่อมพ้นภัยคือทุคติทั้งปวง
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ย่อมพ้นภัยคือ
ทุคติทั้งปวง”
ทุคคติภยสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุคคติวินิปาตภยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ให้พ้นภัยคือทุคติและวินิบาต
[๑๐๑๑] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมพ้น
ภัยคือทุคติและวินิบาตทั้งปวง
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๖. ปฐมมิตตามัจจสูตร
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ย่อมพ้นภัยคือ
ทุคติและวินิบาตทั้งปวง”
ทุคคติวินิปาตภยสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมมิตตามัจจสูตร
ว่าด้วยการชักชวนมิตรอำมาตย์ สูตรที่ ๑
[๑๐๑๒] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคน
เหล่าใดจะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง
เธอทั้งหลายพึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในองค์เครื่องบรรลุโสดา๑
๔ ประการ
องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในศีลที่พระอริยะ
ชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๗. ทุติยมิตตามัจจสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็น
มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลาย
พึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้”
ปฐมมิตตามัจจสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยมิตตามัจจสูตร
ว่าด้วยการชักชวนมิตรอำมาตย์ สูตรที่ ๒
[๑๐๑๓] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคน
เหล่าใดจะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง
เธอทั้งหลายพึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในองค์เครื่องบรรลุโสดา
๔ ประการ
องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
ภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อาจ
กลายเป็นอย่างอื่นได้ แต่อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ไม่พึงแปรเป็นอย่างอื่นได้เลย
ในเรื่องนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะแปรเป็นอย่างอื่น คือ อริยสาวก
ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าจักไปเกิด
ในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต
๒. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๘. ปฐมเทวจาริกสูตร
๔. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในศีลที่พระอริยะ
ชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
เตโชธาตุ วาโยธาตุ อาจกลายเป็นอย่างอื่นได้ แต่อริยสาวกผู้
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่พึงแปรเป็นอย่างอื่นได้เลย
ในเรื่องนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะแปรเป็นอย่างอื่น คือ อริยสาวก
ผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ จักไปเกิดในนรก กำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็น
มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลาย
พึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้”
ทุติยมิตตามัจจสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมเทวจาริกสูตร
ว่าด้วยการจาริกในเทวโลก สูตรที่ ๑
[๑๐๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏบนสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ลำดับนั้น
เทพชั้นดาวดึงส์จำนวนมากเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับเทพเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
๑. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจึงจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๙. ทุติยเทวจาริกสูตร
๒. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. การประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป
เพื่อสมาธิ เป็นความดี เพราะประกอบด้วยศีลที่พระอริยะ
ชอบใจ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงจะไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์”
เทพเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
๑. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจึงจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
๒. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. การประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ
เป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงจะไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์”
ปฐมเทวจาริกสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยเทวจาริกสูตร
ว่าด้วยการจาริกในเทวโลก สูตรที่ ๒
[๑๐๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏบนสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ลำดับนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๙. ทุติยเทวจาริกสูตร
เทพชั้นดาวดึงส์จำนวนมากเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับเทพเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
๑. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจึงได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
๒. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. การประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป
เพื่อสมาธิ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยศีลที่พระอริยะ
ชอบใจเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงได้ไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์”
เทพเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
๑. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจึงได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
๒. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกายมหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๑๐. ตติยเทวจาริกสูตร
๔. การประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป
เพื่อสมาธิ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยศีลที่พระอริยะ
ชอบใจเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงได้ไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ทุติยเทวจาริกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตติยเทวจาริกสูตร
ว่าด้วยการจาริกในเทวโลก สูตรที่ ๓
[๑๐๑๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหายพระองค์จากพระเชตวันไปปรากฏ
บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น
ลำดับนั้น เทพชั้นดาวดึงส์จำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเทพเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ท่านทั้งหลาย
๑. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
จึงเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า
๒. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. การประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป
เพื่อสมาธิ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยศีลที่พระอริยะ
ชอบใจเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้จึงเป็นโสดาบัน ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกายมหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เทพเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
๑. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
๒. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. การประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป
เพื่อสมาธิ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยศีลที่พระอริยะ
ชอบใจเป็นเหตุ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ตติยเทวจาริกสูตรที่ ๑๐ จบ
ราชการามวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สหัสสภิกขุนีสังฆสูตร ๒. พราหมณสูตร
๓. อานันทเถรสูตร ๔. ทุคคติภยสูตร
๕. ทุคคติวินิปาตภยสูตร ๖. ปฐมมิตตามัจจสูตร
๗. ทุติยมิตตามัจจสูตร ๘. ปฐมเทวจาริกสูตร
๙. ทุติยเทวจาริกสูตร ๑๐. ตติยเทวจาริกสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร

๓. สรณานิวรรค
หมวดว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิ
๑. ปฐมมหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ สูตรที่ ๑
[๑๐๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กรุงกบิลพัสดุ์นี้มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก
มีถนนคับแคบ หม่อมฉันนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคหรือภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ
เวลาเย็น เข้าไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ พบเห็นช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง เกวียนบ้าง
ผู้คนบ้าง ที่พลุกพล่านขวักไขว่ สมัยนั้น หม่อมฉันลืมสติปรารภพระผู้มีพระภาค
พระธรรม และพระสงฆ์ หม่อมฉันคิดว่า ‘หากเราถึงแก่กรรมในเวลานี้ คติของเรา
จะเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพจะเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร อย่าทรงกลัวเลย
มหาบพิตร การสวรรคตของพระองค์จักไม่เลวทราม กาลกิริยาก็จักไม่เลวทราม
มหาบพิตร จิตของผู้ใดผู้หนึ่งที่ได้เจริญด้วยศรัทธา ที่ได้เจริญด้วยศีล ที่ได้เจริญ
ด้วยสุตะ ที่ได้เจริญด้วยจาคะ และที่ได้เจริญด้วยปัญญามาเป็นเวลานาน กายนี้
ของผู้นั้นคุมกันเป็นรูปร่างที่ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากมารดาบิดา
เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส๑ ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอัน
แตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา กาบ้าง แร้งบ้าง นกตะกรุมบ้าง สุนัขบ้านบ้าง
สุนัขจิ้งจอกบ้าง สัตว์หลายชนิดบ้าง ย่อมกัดกินกายนี้ ส่วนจิตของผู้นั้นที่ได้เจริญ
ด้วยศรัทธา ฯลฯ และที่ได้เจริญด้วยปัญญามาเป็นเวลานาน ย่อมสูงขึ้นไปจนถึง
บรรลุคุณวิเศษ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๒.ทุติยมหานามสูตร
มหาบพิตร บุรุษดำลงในห้วงน้ำลึกแล้วทุบหม้อเนยใสหรือหม้อน้ำมัน ก้อน
กรวดหรือกระเบื้องหม้อนั้นพึงจมลง ส่วนเนยใสหรือน้ำมันในหม้อนั้นพึงลอยขึ้น
เหนือน้ำ แม้ฉันใด จิตของผู้ใดผู้หนึ่งที่ได้เจริญด้วยศรัทธา ฯลฯ และที่ได้เจริญ
ด้วยปัญญามาเป็นเวลานาน กายนี้ของผู้นั้นคุมกันเป็นรูปร่างที่ประกอบขึ้น
จากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากมารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส
ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา กาบ้าง
แร้งบ้าง นกตะกรุมบ้าง สุนัขบ้านบ้าง สุนัขจิ้งจอกบ้าง สัตว์หลายชนิดบ้าง
ย่อมกัดกินกายนี้ ส่วนจิตของผู้นั้นที่ได้เจริญด้วยศรัทธา ฯลฯ และที่ได้เจริญด้วย
ปัญญามาเป็นเวลานาน ย่อมสูงขึ้นไปจนถึงบรรลุคุณวิเศษ แต่จิตของพระองค์ที่ได้
เจริญด้วยศรัทธา ฯลฯ และที่ได้เจริญด้วยปัญญามาเป็นเวลานานก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร การสวรรคตของพระองค์
จักไม่เลวทราม กาลกิริยาก็จักไม่เลวทราม”
ปฐมมหานามสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยมหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ สูตรที่ ๒
[๑๐๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กรุงกบิลพัสดุ์นี้ มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก
มีถนนคับแคบ หม่อมฉันนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคหรือภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ
เวลาเย็น เข้าไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ พบเห็นช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง เกวียนบ้าง
ผู้คนบ้าง ที่พลุกพล่านขวักไขว่ สมัยนั้น หม่อมฉันลืมสติปรารภพระผู้มีพระภาค
พระธรรม และพระสงฆ์ หม่อมฉันคิดว่า ‘หากเราพึงถึงแก่กรรมในเวลานี้ คติ
ของเราจะเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพจะเป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๓. โคธสักกสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร อย่าทรงกลัวเลย
มหาบพิตร การสวรรคตของพระองค์จักไม่เลวทราม กาลกิริยาก็จักไม่เลวทราม
มหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
มหาบพิตร เปรียบเหมือนต้นไม้ที่น้อมไปทางทิศปราจีน โน้มไปทางทิศปราจีน
โอนไปทางทิศปราจีน ต้นไม้นั้นเมื่อถูกตัดโคนจะล้มไปทางไหน”
“จะล้มไปทางที่ต้นไม้น้อมไป โน้มไป โอนไป พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๔ ประการนี้ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน”
ทุติยมหานามสูตรที่ ๒ จบ

๓. โคธสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าโคธา
[๑๐๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปหาเจ้าศากยะพระนามว่า
โคธาถึงที่ประทับแล้วได้ตรัสถามเจ้าศากยะพระนามว่าโคธานั้นดังนี้ว่า “โคธา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๓. โคธสักกสูตร
พระองค์ทรงทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรว่า ‘เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
เจ้าโคธาศากยะตรัสตอบว่า “มหานามะ หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๓ ประการว่า ‘เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก’
มหานามะ หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้ว่า ‘เป็น
พระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
มหานามะ ส่วนพระองค์ทรงทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรว่า ‘เป็น
พระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
“โคธา หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่า ‘เป็นพระ
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๓. โคธสักกสูตร
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
โคธา หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ว่า ‘เป็น
พระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
“ช้าก่อน มหานามะ ช้าก่อน มหานามะ พระผู้มีพระภาคเท่านั้นพึงทรง
ทราบบุคคลนั้นว่าประกอบหรือไม่ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้”
“มาเถิด โคธา เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเรื่องนี้”
ลำดับนั้น เจ้ามหานามศากยะและเจ้าโคธาศากยะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร เจ้ามหานามศากยะ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ข้าพระองค์เข้าไปหาเจ้าโคธาศากยะแล้วถามว่า ‘โคธา พระองค์ทรงทราบบุคคลผู้
ประกอบด้วยธรรมเท่าไรว่า ‘เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่
จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว เจ้าโคธาศากยะได้ตรัส
ตอบว่า ‘มหานามะ หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการว่า ‘เป็น
พระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๓. โคธสักกสูตร
หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้ว่า ‘เป็นพระโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ส่วนพระองค์ทรง
ทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรว่า ‘เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเจ้าโคธาศากยะตรัสถามอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้
ตอบเจ้าโคธาศากยะดังนี้ว่า ‘โคธา หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการว่า ‘เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิใน
วันข้างหน้า’
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
โคธา หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ว่า ‘เป็นพระ
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ตอบอย่างนี้แล้ว เจ้าโคธาศากยะได้
ตรัสว่า ‘ช้าก่อน มหานามะ ช้าก่อน มหานามะ พระผู้มีพระภาคเท่านั้นพึงทรง
ทราบบุคคลนั้นว่าประกอบหรือไม่ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์๑บางอย่างเกิดขึ้นในพระธรรมวินัยนี้ โดย
ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาค อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายภิกษุสงฆ์ ข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๓. โคธสักกสูตร
เป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นผู้
เลื่อมใสอย่างนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในพระธรรมวินัยนี้ โดย
ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาค อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์
ข้าพระองค์เป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์
ว่าเป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในพระธรรมวินัยนี้ โดย
ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาค อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์
และอุบาสกทั้งหลาย ข้าพระองค์เป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ขอพระผู้มีพระภาค
จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในพระธรรมวินัยนี้ โดย
ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาค อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์
อุบาสก และอุบาสิกาทั้งหลาย ข้าพระองค์เป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาคเท่านั้น
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในพระธรรมวินัยนี้ โดย
ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาค อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์
อุบาสก อุบาสิกา ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพรามหณ์ เทวดาและมนุษย์ ข้าพระองค์เป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาคเท่านั้น
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสกับเจ้าโคธาว่า “มหาบพิตร พระองค์จะตรัสอะไรกับเจ้า
มหานามศากยะผู้มีวาทะอย่างนี้”
เจ้าโคธาศากยะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้กล่าว
อะไร ๆ กับเจ้ามหานามศากยะผู้มีวาทะอย่างนี้เลย นอกจากกัลยาณธรรม นอกจาก
กุศลธรรม”
โคธสักกสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร

๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิ๑ สูตรที่ ๑
[๑๐๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
สมัยนั้น เจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรง
พยากรณ์ท้าวเธอว่า “เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า” ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลายพระองค์มาประชุมพร้อม
กันต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ท่านทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรณานิศากยะ
สวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ แต่เจ้าสรณานิศากยะถึง
ความท้อแท้ในสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์”
ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดัง
นี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความ
แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลายพระ
องค์มาประชุมพร้อมกันต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ‘ท่านทั้งหลาย
น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน
เพราะเจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า
‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ แต่
เจ้าสรณานิศากยะถึงความท้อแท้ในสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และ
พระสงฆ์เป็นสรณะตลอดกาลนาน จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร บุคคลเมื่อจะกล่าว
ให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงอุบาสกนั้นใดว่า ‘เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร
เป็นสรณะตลอดกาลนาน’ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง ก็พึงกล่าวถึงเจ้าศากยะ
พระนามว่าสรณานิว่า ‘เป็นอุบาสก ผู้ทรงถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
เป็นสรณะตลอดกาลนาน’ พระองค์จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร
มหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
มีหาสปัญญา (ปัญญาร่าเริง) มีชวนปัญญา (ปัญญาแล่นไป)
และถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ในปัจจุบัน แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิ
แห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ มีหาสปัญญา มีชวนปัญญา แต่ไม่
ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาจึงเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวน
กลับมาจากโลกนั้นอีก แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร
ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
เขาจึงเป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เพราะ
บรรเทาราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางได้ แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
๔. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นในพระสงฆ์ ฯลฯ
ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
เขาจึงเป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต
อบาย ทุคติ และวินิบาต
๕. ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี
หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขา
มีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ และธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อม
ควรแก่การพิจารณาด้วยปัญญาโดยประมาณ แม้บุคคลนี้ก็ไม่ไป
สู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และ
วินิบาต
๖. ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร
หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขา
มีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ และเขามี
ศรัทธาพอประมาณ ความรักพอประมาณในพระตถาคต แม้
บุคคลเหล่านี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต
อบาย ทุคติ และวินิบาต
มหาบพิตร แม้หากต้นสาละใหญ่เหล่านี้พึงรู้จักคำสุภาษิต คำทุพภาษิต
อาตมภาพก็จะพยากรณ์ต้นสาละใหญ่เหล่านี้ว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเจ้าสรณานิศากยะ
เลย เพราะเจ้าสรณานิศากยะได้สมาทานสิกขาบทในเวลาจะสวรรคต”
ปฐมสรณานิสักกสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิ สูตรที่ ๒
[๑๐๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
สมัยนั้น เจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรง
พยากรณ์ท้าวเธอว่า “เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า” ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลายพระองค์มาประชุม
พร้อมกัน ต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ท่านทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง
ไม่เคยปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้า
สรณานิศากยะสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ แต่เจ้า
สรณานิศากยะมิได้ทรงบำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์”
ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความ
แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลาย
พระองค์มาประชุมพร้อมกัน ต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ‘ท่านทั้งหลาย
น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะ
เจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ แต่เจ้า
สรณานิศากยะมิได้ทรงบำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และ
พระสงฆ์เป็นสรณะตลอดกาลนาน จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร บุคคลเมื่อจะกล่าว
ให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงอุบาสกนั้นใดว่า ‘เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และ
พระสงฆ์เป็นสรณะตลอดกาลนาน’ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงเจ้า
สรณานิศากยะว่า ‘เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะตลอด
กาลนาน’ พระองค์จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร
มหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ เป็นผู้
มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ
มีหาสปัญญา มีชวนปัญญา และถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาย่อม
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้บุคคลนี้
ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ
และวินิบาต
๒. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ เป็นผู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร
มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ
มีหาสปัญญา มีชวนปัญญา แต่ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นพระอนาคามี
ผู้อันตราปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้
สสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต
อบาย ทุคติ และวินิบาต
๓. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ เป็นผู้
มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี
หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาจึง
เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เพราะ
บรรเทาราคะ โทสะ และโมหะให้เบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้ง
เดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
๔. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ เป็นผู้
มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี
หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาจึง
เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป แม้บุคคล
นี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ
และวินิบาต
๕. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ
ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร
พร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ และธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศ ย่อมควรแก่
การพิจารณาด้วยปัญญาโดยประมาณ แม้บุคคลนี้ก็ไม่ไปสู่นรก
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
๖. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ
ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึง
พร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธาพอประมาณ มีความรักพอ
ประมาณในพระตถาคต แม้บุคคลนี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
มหาบพิตร เปรียบเหมือนนาไม่ดี พื้นดินเสีย ไม่ได้ถอนตอ พืชก็หัก เน่าเสีย
ถูกลมและแดดทำลาย ไม่มีแก่นสาร เก็บไว้ไม่ดี ถึงฝนก็ตกลงมาไม่ดี พืชเหล่า
นั้นจะเจริญงอกงามเติบโตได้หรือไม่”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ธรรมในศาสนานี้ที่กล่าวไม่ดี
ประกาศไม่ดี ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่ใช่พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าประกาศ อาตมภาพกล่าวถึงเรื่องนี้ในเพราะนาไม่ดี และสาวกก็เป็น
ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมในธรรมนั้นอยู่
อาตมภาพกล่าวถึงเรื่องนี้ในเพราะพืชไม่ดี
มหาบพิตร เปรียบเหมือนนาดี พื้นดินดี ถอนตอแล้ว พืชก็ไม่หัก ไม่เน่าเสีย
ไม่ถูกลมและแดดทำลาย มีแก่นสาร เก็บไว้ดี และฝนก็ตกลงมาดี พืชเหล่านั้นจะ
เจริญงอกงามเติบโตได้หรือไม่”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ธรรมในศาสนานี้ที่กล่าวดี
ประกาศดี นำสัตว์ออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๖. ปฐมอานาถปิณฑิกสูตร
ประกาศ อาตมภาพกล่าวถึงเรื่องนี้ในเพราะนาดี และสาวกก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมในธรรมนั้นอยู่ อาตมภาพกล่าว
ถึงเรื่องนี้ในเพราะพืชดี ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเจ้าสรณานิศากยะเลย เพราะเจ้า
สรณานิศากยะได้ทรงบำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์ในเวลาจะสวรรคต”
ทุติยสรณานิสักกสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมอนาถปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยอนาถบิณฑิกคหบดี สูตรที่ ๑
[๑๐๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มาเถิด พ่อมหาจำเริญ เจ้าจง
เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ กราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้าตามคำ
ของเราว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก
ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า’ และเจ้าจงกราบเรียนอย่าง
นี้ว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึง
นิเวศน์ด้วยเถิด”
บุรุษนั้นรับคำแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านอนาถ-
บิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของพระคุณ
ท่านด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบเรียนอย่างนี้ว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรด
อนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด”
ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร มี
ท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคหบดี นั่ง
บนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วถามท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ท่านยัง
สบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการ
ทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๖. ปฐมอานาถปิณฑิกสูตร
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนา
มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
ขอรับ”
“คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
๑. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระพุทธเจ้า หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใส
เช่นนั้นในพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ก็เมื่อท่าน
พิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้นว่ามี
อยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๒. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระธรรม หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใส
เช่นนั้นในพระธรรม ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ก็เมื่อท่าน
พิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นว่ามีอยู่
ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๓. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระสงฆ์ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใส
เช่นนั้นในพระสงฆ์ ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ
ภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ก็
เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้น
ว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๔. ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีลเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความเป็นผู้ทุศีลเช่นนั้น ย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๖. ปฐมอานาถปิณฑิกสูตร
ไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ
เป็นไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นศีลที่พระอริยะชอบใจ
นั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๕. ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาทิฏฐิเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
เพราะท่านมีสัมมาทิฏฐิ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาทิฏฐินั้น
ว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๖. ประกอบด้วยมิจฉาสังกัปปะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสังกัปปะเช่นนั้น ย่อม
ไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีสัมมาสังกัปปะ ก็เมื่อท่านพิจารณา
เห็นสัมมาสังกัปปะนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไป
โดยพลัน
๗. ประกอบด้วยมิจฉาวาจาเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวาจาเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
เพราะท่านมีสัมมาวาจา ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาวาจานั้นว่า
มีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๘. ประกอบด้วยมิจฉากัมมันตะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉากัมมันตะเช่นนั้น ย่อมไม่
มีแก่ท่าน เพราะท่านมีสัมมากัมมันตะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็น
สัมมากัมมันตะนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไป
โดยพลัน
๙. ประกอบด้วยมิจฉาอาชีวะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาอาชีวะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
เพราะท่านมีสัมมาอาชีวะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาอาชีวะ
นั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๖. ปฐมอานาถปิณฑิกสูตร
๑๐. ประกอบด้วยมิจฉาวายามะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวายามะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
เพราะท่านมีสัมมาวายามะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาวายามะ
นั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๑๑. ประกอบด้วยมิจฉาสติเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสติเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
เพราะท่านมีสัมมาสติ ก็ท่านพิจารณาเห็นสัมมาสตินั้นว่ามีอยู่ในตน
เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๑๒. ประกอบด้วยมิจฉาสมาธิเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสมาธิเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
เพราะท่านมีสัมมาสมาธิ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาสมาธิ
นั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๑๓. ประกอบด้วยมิจฉาญาณะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาญาณะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
เพราะท่านมีสัมมาญาณะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาญาณะ
นั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๑๔. ประกอบด้วยมิจฉาวิมุตติเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวิมุตติเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่าน
มีสัมมาวิมุตติ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาวิมุตติ
นั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน”
ขณะนั้น เวทนาของท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้สงบระงับไปโดยพลัน ท่าน
อนาถบิณฑิกคหบดีอังคาสท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์ด้วยอาหารที่เขา
จัดไว้สำหรับตนแล้ว จึงเลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า เมื่อท่านพระ
สารีบุตรฉันเสร็จวางมือจากบาตรแล้วจึงอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๗. ทุติยอนาถปิณฑิกสูตร
“ผู้ใดมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
มีศีลอันงามที่พระอริยะชอบใจ(และ)สรรเสริญ
มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง๑
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า
เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล
ความเลื่อมใส๒ และการเห็นธรรม๓”
ครั้นท่านพระสารีบุตรอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว ก็ลุกจากอาสนะจากไป
ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์
เธอมาจากที่ไหนแต่ยังวัน”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกล่าว
สอนท่านอนาถบิณฑิกคหบดีด้วยโอวาทนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ สารีบุตร
เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ได้จำแนกองค์เครื่องบรรลุโสดาด้วยอาการ ๑๐ อย่าง”
ปฐมอนาถปิณฑิกสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยอนาถปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยอนาถบิณฑิกคหบดี สูตรที่ ๒
[๑๐๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มาเถิด พ่อมหาจำเริญ เจ้าจง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๗. ทุติยอนาถปิณฑิกสูตร
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ กราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า
‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่าน
ขอกราบเท้าทั้งสองของพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า’ และเจ้าจงกราบเรียนอย่างนี้ว่า
‘ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์
ด้วยเถิด”
บุรุษนั้นรับคำของท่านอนาถบิณฑิกคหบดีแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึง
ที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“พระคุณเจ้าผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอ
กราบเท้าทั้งสองของพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบเรียนอย่างนี้ว่า
‘ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์
ด้วยเถิด”
ท่านพระอานนท์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป
ยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วถามอนาถ-
บิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกข-
เวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกข-
เวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่
ปรากฏขอรับ”
“คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมสะดุ้ง
หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้
๑. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็เมื่อเขาพิจารณา
เห็นความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมสะดุ้ง
หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
๒. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรม ก็เมื่อเขาพิจารณา
เห็นความไม่เลื่อมใสในพระธรรมนั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมสะดุ้ง
หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๗. ทุติยอนาถปิณฑิกสูตร
๓. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ก็เมื่อเขาพิจารณาเห็น
ความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์นั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมสะดุ้ง หวาดหวั่น
กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
๔. ประกอบด้วยความทุศีล ก็เมื่อเขาพิจารณาเห็นความทุศีลนั้นว่า
มีอยู่ในตน ย่อมสะดุ้ง หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึง
ภายหน้า
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมสะดุ้ง
หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาด
หวั่น ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ พระอริยสาวกผู้ได้สดับในพระธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่ หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้านั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น
ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรม
เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้
เฉพาะตน’ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระธรรมนั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่
กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก’ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๘. ปฐมภยเวรูปสันตสูตร
อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่
หวาดหวั่น ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นศีลที่พระอริยะชอบใจนั้นว่ามีอยู่ในตน
ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
คหบดี พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมไม่สะดุ้ง
ไม่หวาดหวั่น ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวว่า “ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ผมไม่กลัว ผม
จักกล่าวอะไร เพราะผม
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก’
๔. สิกขาบทเหล่าใดซึ่งสมควรแก่คฤหัสถ์ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ผมยังไม่เห็นสิกขาบทเหล่านั้นในตนสักข้อว่าขาดไป”
“คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลท่านทำให้แจ้งแล้ว”
ทุติยอนาถปิณฑิกสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมภยเวรูปสันตสูตร
ว่าด้วยอริยสาวกระงับภัยเวร สูตรที่ ๑
[๑๐๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคหบดีผู้นั่ง ณ ที่สมควรว่า
“คหบดี เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว ประกอบด้วยองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๘. ปฐมภยเวรูปสันตสูตร
เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ และเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรม๑ด้วยปัญญาแล้ว
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาต
สิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย จึงประสบภัยเวรที่
เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง เสวยทุกข์โทมนัส
ทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมระงับภัย
เวรนั้นได้อย่างนี้
๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ฯลฯ
๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ฯลฯ
๕. บุคคลผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท เพราะการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาทเป็นปัจจัย จึงประสบภัยเวรที่เป็นไปใน
ปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง
บุคคลผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น
เหตุแห่งความประมาทแล้ว ย่อมระงับภัยเวรนั้นได้อย่างนี้
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๘. ปฐมภยเวรูปสันตสูตร
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้
อริยสาวกนั้นเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้มนสิการโดยแยบคายด้วยดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาท
คือ เมื่อเหตุ (มีอวิชชาเป็นต้น) นี้มี ผล (มีสังขารเป็นต้น)นี้จึงมี เพราะสหชาตปัจจัย
นี้เกิด ผลนี้จึงเกิด เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ
ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
เพราะอวิชชาดับไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
อริยสาวกนั้นเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมด้วยปัญญา เป็นอย่างนี้แล
เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ ประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุ
โสดา ๔ ประการนี้ และเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมด้วยปัญญาแล้ว เมื่อนั้น
อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่ พึงพยายากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มี
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาต
สิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวัน
ข้างหน้า”๑
ปฐมภยเวรูปสันตสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๑๐. นันทกลิจฉวิสูตร

๙. ทุติยภยเวรูปสันตสูตร
ว่าด้วยอริยสาวกระงับภัยเวร สูตรที่ ๒
[๑๐๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ ประกอบด้วย
องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้ และเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมด้วยปัญญา
แล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้น
แล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ทุติยภยเวรูปสันตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นันทกลิจฉวิสูตร
ว่าด้วยมหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวี ชื่อนันทกะ
[๑๐๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น มหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวี ชื่อนันทกะ เข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสถามมหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวี ชื่อนันทกะดังนี้ว่า
“นันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
นันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
อนึ่ง อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย
อายุทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยวรรณะทั้งที่เป็นทิพย์
ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยสุขทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็น
ผู้ประกอบด้วยยศทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็น
ใหญ่ทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
นันทกะ ก็เราได้ฟังสมณะหรือพราหมณ์อื่น จึงกล่าวเรื่องนั้นหามิได้ แต่เรา
รู้เอง เห็นเอง ทราบเอง จึงกล่าวเรื่องนั้น”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว บุรุษคนหนึ่งได้กล่าวกับมหาอำมาตย์
ของเจ้าลิจฉวี ชื่อนันทกะว่า “ถึงเวลาอาบน้ำแล้ว ขอรับ” มหาอำมาตย์ของ
เจ้าลิจฉวี ชื่อนันทกะกล่าวว่า “นาย บัดนี้ เรายังไม่ต้องการอาบน้ำภายนอก
ต้องการอาบน้ำภายใน คือความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค”
นันทกลิจฉวิสูตรที่ ๑๐ จบ
สรณานิวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมมหานามสูตร ๒. ทุติยมหานามสูตร
๓. โคธสักกสูตร ๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร
๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร ๖. ปฐมอนาถปิณฑิกสูตร
๗. ทุติยอนาถปิณฑิกสูตร ๘. ปฐมภยเวรูปสันตสูตร
๙. ทุติยภยเวรูปสันตสูตร ๑๐. นันทกลิจฉวิสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร

๔. ปุญญาภิสันทวรรค
หมวดว่าด้วยห้วงบุญกุศล
๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๑
[๑๐๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๑ ๔ ประการนี้ นำสุข
มาให้
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรม
เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้
เฉพาะตน’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๒
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๓
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้”
ปฐมปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น