Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๐-๔ หน้า ๑๓๘ - ๑๘๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๔. ราคเปยยาล
ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมถะ ๒. วิปัสสนา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้เพื่อสลัดความประมาท (๑๑-
๑๗๐)

(เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค)
ราคเปยยาล จบ

ทุกนิบาต จบบริบูรณ์

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. พาลวรรค ๑. ภยสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
_________________________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. พาลวรรค
หมวดว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต
๑. ภยสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นภัยและไม่เป็นภัย
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภัย๑ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต
อุปัททวะ๒ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปสรรค๓ที่
เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. พาลวรรค ๒. ลักขสูตร
ภัยที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปัททวะที่เกิด
ขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปสรรคที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วน
เกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต เปรียบเหมือนไฟที่ลุกลามจากเรือนไม้อ้อหรือ
เรือนหญ้า ไหม้แม้เรือนยอดที่เขาโบกทั้งภายในและภายนอก ลมพัดเข้าไม่ได้ มีบาน
ประตูปิดมิดชิด หน้าต่างปิดสนิท ฉะนั้น
คนพาลมีภัย บัณฑิตไม่มีภัย คนพาลมีอุปัททวะ บัณฑิตไม่มีอุปัททวะ คน
พาลมีอุปสรรค บัณฑิตไม่มีอุปสรรค ภัยไม่มีจากบัณฑิต อุปัททวะไม่มีจากบัณฑิต
อุปสรรคไม่มีจากบัณฑิต
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการ
นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจักถือ
ปฏิบัติธรรม ๓ ประการนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภยสูตรที่ ๑ จบ

๒. ลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะคนพาลและบัณฑิต
[๒] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่อง
กำหนด ปัญญาเมื่อใช้เป็นประจำจึงงดงาม๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
พึงทราบว่า เป็นคนพาล
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)
๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา)
๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. พาลวรรค ๓. จินตีสูตร
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย)
๒. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา)
๓. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ)
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการ
นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจัก
ถือปฏิบัติธรรม ๓ ประการนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ลักขณสูตรที่ ๒ จบ

๓. จินตีสูตร
ว่าด้วยความคิดระหว่างคนพาลกับบัณฑิต
[๓] ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะแห่งคนพาล เครื่องหมายแห่งคนพาล ความ
ประพฤติไม่ขาดสายแห่งคนพาล ๓ ประการนี้
ลักษณะแห่งคนพาล ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
คนพาลในโลกนี้
๑. ชอบคิดแต่เรื่องชั่ว๑ ๒. ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว๒
๓. ชอบทำแต่กรรมชั่ว๓

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. พาลวรรค ๓. จินตีสูตร
ถ้าคนพาลไม่ชอบคิดเรื่องชั่ว ไม่ชอบพูดเรื่องชั่ว ไม่ชอบทำกรรมชั่วเช่นนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า “ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี” แต่เพราะ
คนพาลชอบคิดแต่เรื่องชั่ว ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว และชอบทำแต่กรรมชั่ว ฉะนั้นบัณฑิต
ทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า “ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี”
ลักษณะแห่งคนพาล เครื่องหมายแห่งคนพาล ความประพฤติไม่ขาดสายแห่ง
คนพาล ๓ ประการนี้แล
ลักษณะแห่งบัณฑิต เครื่องหมายแห่งบัณฑิต ความประพฤติไม่ขาดสายแห่ง
บัณฑิต ๓ ประการนี้
ลักษณะแห่งบัณฑิต ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
บัณฑิตในโลกนี้
๑. ชอบคิดแต่เรื่องดี ๒. ชอบพูดแต่เรื่องดี
๓. ชอบทำแต่กรรมดี
ถ้าบัณฑิตไม่ชอบคิดเรื่องดี ไม่ชอบพูดเรื่องดี และไม่ชอบทำกรรมดีเช่นนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า “ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี” แต่เพราะ
บัณฑิตชอบคิดแต่เรื่องดี ชอบพูดแต่เรื่องดี และชอบทำแต่กรรมดี ฉะนั้นบัณฑิต
ทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า “ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี”
ลักษณะแห่งบัณฑิต เครื่องหมายแห่งบัณฑิต ความประพฤติไม่ขาดสายแห่ง
บัณฑิต ๓ ประการนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการ
นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจักถือ
ปฏิบัติธรรม ๓ ประการนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
จินตีสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. พาลวรรค ๕. อโยนิโสสูตร

๔. อัจจยสูตร
ว่าด้วยการเห็นโทษและไม่เห็นโทษ
[๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็น
คนพาล
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่เห็นโทษ๑โดยความเป็นโทษ
๒. เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ไม่แก้ไขตามสมควรแก่ความผิด
๓. เมื่อผู้อื่นชี้โทษอยู่ ไม่ยอมรับตามสมควรแก่ความผิด
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เห็นโทษโดยความเป็นโทษ
๒. เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว แก้ไขตามสมควรแก่ความผิด
๓. เมื่อผู้อื่นชี้โทษอยู่ ก็ยอมรับตามสมควรแก่ความผิด
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ฯลฯ๒
อัจจยสูตรที่ ๔ จบ

๕. อโยนิโสสูตร
ว่าด้วยการถาม-ตอบโดยไม่แยบคาย
[๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็น
คนพาล
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. พาลวรรค ๖. อกุสลสูตร
๑. ตั้งปัญหาโดยไม่แยบคาย ๒. ตอบปัญหาโดยไม่แยบคาย
๓. ไม่ชื่นชมยินดีปัญหาที่ผู้อื่นตอบโดยแยบคายด้วยบทพยัญชนะที่
เหมาะสม สละสลวย เข้ารูป
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตั้งปัญหาโดยแยบคาย ๒. ตอบปัญหาโดยแยบคาย
๓. ชื่นชมยินดีปัญหาที่ผู้อื่นตอบโดยแยบคายด้วยบทพยัญชนะที่
เหมาะสม สละสลวย เข้ารูป
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ฯลฯ
อโยนิโสสูตรที่ ๕ จบ

๖. อกุสลสูตร
ว่าด้วยอกุศลกรรม
[๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็น
คนพาล
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมที่เป็นอกุศล ๒. วจีกรรมที่เป็นอกุศล
๓. มโนกรรมที่เป็นอกุศล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๔๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. พาลวรรค ๗. สาวัชชสูตร
๑. กายกรรมที่เป็นกุศล ๒. วจีกรรมที่เป็นกุศล
๓. มโนกรรมที่เป็นกุศล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ฯลฯ
อกุสลสูตรที่ ๖ จบ

๗. สาวัชชสูตร
ว่าด้วยกรรมที่มีโทษ
[๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็น
คนพาล
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมที่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่มีโทษ
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมที่ไม่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่ไม่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่ไม่มีโทษ
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ฯลฯ
สาวัชชสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. พาลวรรค ๙. ขตสูตร

๘. สัพยาปัชฌสูตร
ว่าด้วยกรรมที่มีความเบียดเบียน
[๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็น
คนพาล
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมที่มีความเบียดเบียน ๒. วจีกรรมที่มีความเบียดเบียน
๓. มโนกรรมที่มีความเบียดเบียน
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๒. วจีกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน
๓. มโนกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการ
นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจักถือ
ปฏิบัติธรรม ๓ ประการนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
สัพยาปัชฌสูตรที่ ๘ จบ

๙. ขตสูตร
ว่าด้วยการบริหารตนให้ถูกกำจัด
[๙] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม
๓ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพ๑สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. พาลวรรค ๑๐. มลสูตร
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายทุจริต ๒. วจีทุจริต
๓. มโนทุจริต
คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายสุจริต ๒. วจีสุจริต
๓. มโนสุจริต
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓
ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย
ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
ขตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. มลสูตร
ว่าด้วยการละมลทิน
[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ไม่ละมลทิน๑ ๓
ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นคนทุศีลและไม่ละมลทินคือความเป็นคนทุศีล
๒. เป็นคนริษยาและไม่ละมลทินคือความริษยา
๓. เป็นคนตระหนี่และไม่ละมลทินคือความตระหนี่
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่ละมลทิน ๓ ประการนี้
ดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ละมลทิน ๓ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีศีลและละมลทินคือความเป็นคนทุศีล
๒. ไม่ริษยาและละมลทินคือความริษยา
๓. ไม่ตระหนี่และละมลทินคือความตระหนี่
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ละมลทิน ๓
ประการนี้ ดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มลสูตรที่ ๑๐ จบ
พาลวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภยสูตร ๒. ลักขณสูตร
๓. จินตีสูตร ๔. อัจจยสูตร
๕. อโยนิโสสูตร ๖. อกุสลสูตร
๗. สาวัชชสูตร ๘. สัพยาปัชฌสูตร
๙. ขตสูตร ๑๐. มลสูตร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๑. ญาตสูตร

๒. รถการวรรค
หมวดว่าด้วยช่างรถ

๑. ญาตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้มีชื่อเสียง
[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่มีชื่อเสียง ประกอบ
ด้วยธรรม ๓ ประการ ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่
มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ชักชวนในกายกรรมที่ไม่สมควร ๒. ชักชวนในวจีกรรมที่ไม่สมควร
๓. ชักชวนในธรรมที่ไม่สมควร
ภิกษุที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูล
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อ
ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คน
หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ชักชวนในกายกรรมที่สมควร ๒. ชักชวนในวจีกรรมที่สมควร
๓. ชักชวนในธรรมที่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ญาตสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๒. สารณียสูตร

๒. สารณียสูตร
ว่าด้วยสถานที่อันกษัตริย์และภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต
[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ แห่งนี้เป็นสถานที่อันกษัตราธิราชผู้ได้รับ
มูรธาภิเษก๑แล้วพึงระลึกถึงตลอดพระชนมชีพ
สถานที่ ๓ แห่ง อะไรบ้าง คือ
๑. กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ประสูติ ณ สถานที่ใด สถาน
ที่นี้เป็นสถานที่แห่งที่ ๑ อันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว
พึงระลึกถึงตลอดพระชนมชีพ
๒. กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ณ สถานที่ใด สถานที่นี้
เป็นสถานที่แห่งที่ ๒ อันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วพึง
ระลึกถึงตลอดพระชนมชีพ
๓. กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงชนะสงครามครั้งใหญ่
พิชิตชัยสงคราม ครอบครองสนามรบใด สนามรบนี้เป็นสถานที่
แห่งที่ ๓ อันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วพึงระลึกถึงตลอด
พระชนมชีพ
สถานที่ ๓ แห่งนี้แลอันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วพึงระลึกถึงตลอด
พระชนมชีพ
อย่างนั้นเหมือนกันแล สถานที่ ๓ แห่งนี้อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต
สถานที่ ๓ แห่ง อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวช
เป็นบรรพชิต ณ สถานที่ใด สถานที่นี้เป็นสถานที่แห่งที่ ๑ อัน
ภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๓. อาสังสสูตร
๒. ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย(เหตุเกิด
ทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)” ณ สถานที่ใด สถานที่นี้เป็นสถาน
ที่แห่งที่ ๒ อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต
๓. ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑ ปัญญาวิมุตติ๒ อันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ณ สถานที่
ใด สถานที่นี้เป็นสถานที่แห่งที่ ๓ อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ แห่งนี้แล อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต
สารณียสูตรที่ ๒ จบ

๓. อาสังสสูตร
ว่าด้วยความหวังทางโลกและทางธรรม
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่หมดความหวัง ๒. บุคคลที่ยังมีความหวัง
๓. บุคคลที่ปราศจากความหวัง
บุคคลที่หมดความหวัง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างสาน
ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนขนขยะ เป็นตระกูลยากจน มีข้าว
น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่อง
นุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก
ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๓. อาสังสสูตร
ดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องที่ทำให้เกิดแสงสว่าง
เขาฟังข่าวว่า “กษัตริย์ทรงพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์”
เขาไม่มีความคิดว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งตัวเราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สัก
คราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่หมดความหวัง
บุคคลที่ยังมีความหวัง เป็นอย่างไร
คือ พระราชโอรสพระองค์พี่ของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว
ในโลกนี้ ผู้ยังไม่ได้รับการแต่งตั้งโดยการอภิเษก ถึงความไม่หวั่นไหว พระองค์สดับ
ว่า “กษัตริย์ผู้มีพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์” พระองค์
ทรงดำริอย่างนี้ว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งเราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สักคราว
หนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่ยังมีความหวัง
บุคคลที่ปราศจากความหวัง เป็นอย่างไร
คือ พระราชาในโลกนี้เป็นกษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว พระองค์สดับว่า
“กษัตริย์ผู้มีพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์” พระองค์ย่อม
ไม่ทรงดำริว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งแม้เราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สักคราว
หนึ่งเป็นแน่แท้” ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความหวังในการอภิเษกของพระองค์ เมื่อ
ครั้งยังไม่ได้รับการอภิเษกระงับไปแล้ว นี้เรียกว่า บุคคลที่ปราศจากความหวัง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
บุคคล ๓ จำพวกก็มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่หมดความหวัง ๒. บุคคลที่ยังมีความหวัง
๓. บุคคลที่ปราศจากความหวัง
บุคคลที่หมดความหวัง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนทุศีล๑ มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด๒ มี
ความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๓. อาสังสสูตร
ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี๑ เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน
หยากเยื่อ๒ เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอไม่มีความคิดอย่างนี้
ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันสักคราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคล
ที่หมดความหวัง
บุคคลที่ยังมีความหวัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล มีกัลยาณธรรม เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้ทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันสัก
คราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่ยังมีความหวัง
บุคคลที่ปราศจากความหวัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะ เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโต
วิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบันสักคราวหนึ่งเป็นแน่แท้” ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความหวังในความ
หลุดพ้น ของเธอเมื่อครั้งยังไม่หลุดพ้นระงับไปแล้ว นี้เรียกว่า บุคคลที่ปราศจาก
ความหวัง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ
อาสังสสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๔. จักกวัตติสูตร

๔. จักกวัตติสูตร
ว่าด้วยความเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิและพระพุทธเจ้า
[๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา ย่อมไม่ทรงให้จักรที่มิใช่ของพระราชาหมุนไป”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ธรรม๑ เป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรง
ธรรม เป็นธรรมราชา” แล้วตรัสต่อไปว่า
๑. พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชาในโลกนี้ ทรงอาศัย
ธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม
ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง
ชนภายใน๒โดยธรรม
๒. พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น
สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม
มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองพวกกษัตริย์
ผู้ตามเสด็จ กำลังพล พราหมณ์ คหบดี ชาวนิคม ชาวชนบท
สมณพราหมณ์ สัตว์จำพวกเนื้อ และนกโดยธรรม
๓. พระเจ้าจักรพรรดินั้นแลผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรม
เท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม
ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง
ชนภายใน พวกกษัตริย์ ... กำลังพล ... พราหมณ์ คหบดี ... ชาวนิคม

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๔. จักกวัตติสูตร
ชาวชนบท ... สมณพราหมณ์ ... สัตว์จำพวกเนื้อ และนกโดยธรรม
แล้วจึงให้จักรหมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักร๑นั้นใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์
เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์มีชีวิต ให้หมุนกลับไม่ได้
ในทำนองเดียวกัน
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา๒ ทรง
อาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชู
ธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และ
คุ้มครองกายกรรมโดยธรรมว่า “กายกรรมเช่นนี้ควรเสพ๓ กายกรรม
เช่นนี้ไม่ควรเสพ”
๒. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรง
อาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชู
ธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และ
คุ้มครองวจีกรรมโดยธรรมว่า “วจีกรรมเช่นนี้ควรเสพ วจีกรรมเช่นนี้
ไม่ควรเสพ”
๓. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรง
อาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชู
ธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และ
คุ้มครองมโนกรรมโดยธรรมว่า “มโนกรรมเช่นนี้ควรเสพ มโนกรรม
เช่นนี้ไม่ควรเสพ”
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแลผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา
ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๕. ปเจตนสูตร
ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองกายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรมโดยธรรมแล้วจึงทรงให้ธรรมจักรที่ยอดเยี่ยมหมุนไปโดย
ธรรมเท่านั้น จักร๑นั้นอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ
ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้
จักกวัตติสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปเจตนสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าปเจตนะรับสั่งให้ช่างทำล้อรถ
[๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า
ปเจตนะ ครั้งนั้น พระเจ้าปเจตนะรับสั่งเรียกนายช่างรถมาตรัสว่า “นายช่างรถสหาย
รัก นับแต่นี้ไปอีก ๖ เดือน ฉันจะทำสงคราม ท่านจะสามารถทำล้อคู่ใหม่ให้ฉัน
ได้ไหม”
นายช่างรถทูลว่า “สามารถ พระเจ้าข้า”
ลำดับนั้น นายช่างรถทำล้อข้างหนึ่งสำเร็จโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน
พระเจ้าปเจตนะรับสั่งเรียกนายช่างรถมาตรัสว่า “นายช่างรถสหายรัก นับ
จากนี้ไป ๖ วัน ฉันจะทำสงคราม ล้อคู่ใหม่ทำสำเร็จแล้วหรือ”
นายช่างรถทูลว่า “ล้อข้างหนึ่งทำสำเร็จแล้วโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน
พระเจ้าข้า”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๕. ปเจตนสูตร
พระเจ้าปเจตนะตรัสถามว่า “นายช่างรถสหายรัก โดยใช้เวลา ๖ วันนับ
จากวันนี้ ท่านจักสามารถทำล้อที่ ๒ สำเร็จได้ไหม”
นายช่างรถทูลรับรองว่า “สามารถ พระเจ้าข้า” แล้วทำล้อที่ ๒ สำเร็จโดย
ใช้เวลา ๖ วัน ถือล้อคู่ใหม่เข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเจตนะถึงที่ประทับ ได้ทูลพระเจ้า
ปเจตนะว่า “ขอเดชะ ล้อคู่ใหม่นี้ของพระองค์สำเร็จแล้ว”
พระเจ้าปเจตนะรับสั่งถามว่า “นายช่างรถสหายรัก ล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้
เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน กับล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๖ วันของท่าน มี
เหตุอะไรทำให้แตกต่างกัน ฉันจะเห็นเหตุที่ทำให้แตกต่างกันได้อย่างไร”
นายช่างรถทูลว่า “ขอเดชะ เหตุที่ทำให้แตกต่างกันมีอยู่ ขอพระองค์จง
ทอดพระเนตรความแตกต่างกันเถิด”
ลำดับนั้นแล นายช่างรถหมุนล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๖ วัน ล้อนั้นเมื่อ
นายช่างรถหมุนก็หมุนไปได้เท่าที่นายช่างรถหมุนแล้วหมุนเวียนล้มลงที่พื้นดิน นาย
ช่างรถหมุนล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน ล้อนั้นเมื่อนายช่างรถ
หมุนก็หมุนไปได้เท่าที่นายช่างรถหมุนแล้วตั้งอยู่ได้เหมือนอยู่ในเพลา
พระเจ้าปเจตนะตรัสถามว่า “อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ล้อข้างที่ทำสำเร็จ
โดยใช้เวลา ๖ วันนี้เมื่อท่านหมุนไปจึงหมุนไปได้เท่าที่ท่านหมุนแล้วหมุนเวียนล้มลงที่
พื้นดิน อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน
เมื่อท่านหมุนจึงหมุนไปได้เท่าที่ท่านหมุนแล้วตั้งอยู่ได้เหมือนอยู่ในเพลา”
นายช่างรถกราบทูลว่า “ขอเดชะ กงของล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๖ วัน
คด มีปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้ยังมียาง แม้กำก็คด มีปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้
ยังมียาง แม้ดุมก็คด มีปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้ยังมียาง เพราะกงคด เป็นปุ่มปม
ทั้งแก่นและกระพี้ยังมียาง เพราะแม้กำก็คด เป็นปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้ยังมียาง
เพราะแม้ดุมก็คด เป็นปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้ยังมียาง ล้อนั้นเมื่อข้าพระองค์
หมุนจึงหมุนไปได้เท่าที่ข้าพระองค์หมุนแล้วหมุนเวียนล้มลงที่พื้นดิน ขอเดชะ ส่วน
กงของล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๕๗ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๕. ปเจตนสูตร
แก่นและกระพี้ที่มียาง แม้กำก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง แม้ดุม
ก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง เพราะกงไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มี
แก่นและกระพี้ที่มียาง เพราะแม้กำก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง
เพราะแม้ดุมก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง ล้อนั้นเมื่อข้าพระองค์
หมุนจึงหมุนไปได้เท่าที่ข้าพระองค์หมุนแล้วตั้งอยู่ได้เหมือนอยู่ในเพลา”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอาจจะคิดอย่างนี้ว่า “สมัยนั้น นายช่างรถคงเป็น
คนอื่นแน่” แต่ข้อนี้เธอทั้งหลายไม่พึงเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เราคือนายช่างรถนั้น
ในครั้งนั้นเราเป็นคนฉลาดในความคดของไม้ ในปุ่มปมของไม้ ในแก่นและกระพี้ที่มี
ยางของไม้ แต่ในปัจจุบันนี้เราเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (๑) ฉลาดในความคด
ของกาย โทษของกาย มลทิน๑ของกาย (๒) ฉลาดในความคดของวาจา โทษของ
วาจา มลทินของวาจา (๓) ฉลาดในความคดของใจ โทษของใจ มลทินของใจ ภิกษุ
หรือภิกษุณีผู้ไม่ละความคดของกาย โทษของกาย มลทินของกาย ไม่ละความคดของ
วาจา โทษของวาจา มลทินของวาจา และไม่ละความคดของใจ โทษของใจ มลทิน
ของใจ ชื่อว่าได้พลัดตกไปจากธรรมวินัยนี้เหมือนล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๖ วัน
ภิกษุหรือภิกษุณีผู้ละความคดของกาย โทษของกาย และมลทินของกาย
ละความคดของวาจา โทษของวาจา และมลทินของวาจา ละความคดของใจ โทษ
ของใจ และมลทินของใจ ชื่อว่าดำรงมั่นอยู่ในธรรมวินัยนี้เหมือนล้อข้างที่ทำสำเร็จ
โดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลายจักละความ
คดของกาย โทษของกาย และมลทินของกาย จักละความคดของวาจา โทษของ
วาจา และมลทินของวาจา จักละความคดของใจ โทษของใจ และมลทินของใจ”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ปเจตนสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๖. อปัณณกสูตร

๖. อปัณณกสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติ
ไม่ผิด และเธอชื่อว่าปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๒. รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
๓. ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ
ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่รวบถือ๑ ไม่แยกถือ๒ ปฏิบัติ
เพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌา(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา)และโทมนัส(ความทุกข์ใจ)ครอบงำได้ จึงรักษา
จักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะพึง
เป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์
ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น
ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๗. อัตตพยาพาธสูตร
แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์ด้วยคิดเห็นว่า “เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา” ภิกษุชื่อว่า
รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการ
จงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการ
จงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวาซ้อน
เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นในมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้น
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิม-
ยามแห่งราตรี ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติไม่ผิด
และเธอชื่อว่าปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ
อปัณณกสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัตตพยาพาธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น และเป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)
๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา)
๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)
ธรรม ๓ ประการนี้แลเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น
และเป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖๐ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๙. ปฐมปปาณิกสูตร
ธรรม ๓ ประการนี้ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ผู้อื่น และไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย)
๒. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา)
๓. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ)
ธรรม ๓ ประการนี้แลไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ผู้อื่น และไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย
อัตตพยาพาธสูตรที่ ๗ จบ

๘. เทวโลกสูตร
ว่าด้วยเทวโลก
[๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลาย
อย่างนี้ว่า ‘พวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อเข้าถึงเทวโลกหรือ’
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงอึดอัด ระอา รังเกียจ มิใช่หรือ”
เมื่อภิกษุพวกนั้นกราบทูลว่า “เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า” จึงตรัสต่อไปว่า
“ทราบมาว่า เธอทั้งหลายอึดอัด ระอา รังเกียจอายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์
ยศทิพย์ และอธิปไตยทิพย์ แต่เบื้องต้นทีเดียว เธอทั้งหลายควรอึดอัด ระอา
รังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต”
เทวโลกสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมปาปณิกสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพ่อค้า สูตรที่ ๑
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ไม่อาจได้โภคทรัพย์
ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๙. ปฐมปปาณิกสูตร
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
พ่อค้าในโลกนี้
๑. เวลาเช้า ไม่ตั้งใจจัดแจงการงานให้ดี
๒. เวลาเที่ยง ไม่ตั้งใจจัดแจงการงานให้ดี
๓. เวลาเย็น ไม่ตั้งใจจัดแจงการงานให้ดี
พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ไม่อาจได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ
ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น ฉันใด
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่อาจบรรลุ
กุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เวลาเช้า ไม่ตั้งใจเข้าสมาธิ
๒. เวลาเที่ยง ไม่ตั้งใจเข้าสมาธิ
๓. เวลาเย็น ไม่ตั้งใจเข้าสมาธิ
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่อาจบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้
บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น
พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ อาจได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ
โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
พ่อค้าในโลกนี้
๑. เวลาเช้า ตั้งใจจัดแจงการงานดี
๒. เวลาเที่ยง ตั้งใจจัดแจงการงานดี
๓. เวลาเย็น ตั้งใจจัดแจงการงานดี
พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล อาจได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ
ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๑๐. ทุติยปาปณิกสูตร
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อาจบรรลุกุศล
ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เวลาเช้า ตั้งใจเข้าสมาธิ
๒. เวลาเที่ยง ตั้งใจเข้าสมาธิ
๓. เวลาเย็น ตั้งใจเข้าสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล อาจบรรลุกุศล
ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น
ปฐมปาปณิกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยปาปณิกสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพ่อค้า สูตรที่ ๒
[๒๐] ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ไม่นานนักก็ถึง
ความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ไพบูลย์ในโภคทรัพย์
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
พ่อค้าในโลกนี้
๑. มีตาดี ๒. มีธุรกิจดี
๓. เพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย
พ่อค้าชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างไร
คือ พ่อค้าในโลกนี้รู้จักสินค้าว่า “สินค้านี้ ซื้อมาเท่านี้ ขายไปอย่างนี้ จัก
มีมูลค่าประมาณเท่านี้ มีกำไรเท่านี้” พ่อค้าชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างนี้แล
พ่อค้าชื่อว่ามีธุรกิจดี เป็นอย่างไร
คือ พ่อค้าเป็นคนฉลาดซื้อและขายสินค้าได้ พ่อค้าชื่อว่ามีธุรกิจดี เป็นอย่าง
นี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖๓ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๑๐. ทุติยปาปณิกสูตร
พ่อค้าชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็นอย่างไร
คือ คหบดีหรือบุตรคหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก ย่อมรู้จัก
พ่อค้าในโลกนี้อย่างนี้ว่า “พ่อค้าผู้นี้แลมีตาดี มีธุรกิจดี และสามารถที่จะเลี้ยงดู
บุตรภรรยาได้ทั้งใช้คืนให้แก่พวกเราได้ตามกำหนดเวลา” คหบดีหรือบุตรคหบดีเหล่านั้น
ย่อมเชื้อเชิญพ่อค้านั้นด้วยโภคทรัพย์ว่า “นับแต่นี้ไป ท่านจงนำโภคทรัพย์ไปเลี้ยงดู
บุตรภรรยา และใช้คืนให้พวกเราตามกำหนดเวลา” พ่อค้าชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่
พักพิงอาศัย เป็นอย่างนี้แล
พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ไม่นานนักก็ถึงความเป็นผู้ยิ่งใหญ่
ไพบูลย์ในโภคทรัพย์ ฉันใด
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่นานนักก็
บรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ไพบูลย์ในกุศลธรรม
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. มีตาดี ๒. มีธุระดี
๓. เพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย
ภิกษุชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ภิกษุชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ามีธุระดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุชื่อ
ว่ามีธุระดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปหาภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้เรียนจบคัมภีร์๑ ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ตามเวลาสมควร สอบสวนไต่ถามว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร
เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ท่านผู้คงแก่เรียนเหล่านั้นย่อมเปิดเผยธรรม
ที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และบรรเทาความสงสัย
ในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง ภิกษุชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็น
อย่างนี้แล
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่นานนักก็บรรลุความเป็นผู้ยิ่ง
ใหญ่ไพบูลย์ในกุศลธรรม
ทุติยปาปณิกสูตรที่ ๑๐ จบ

รถการวรรคที่ ๒ จบ

ปฐมภาณวาร จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ญาตสูตร ๒. สารณียสูตร
๓. อาสังสสูตร ๔. จักกวัตติสูตร
๕. ปเจตนสูตร ๖. อปัณณกสูตร
๗. อัตตพยาพาธสูตร ๘. เทวโลกสูตร
๙. ปฐมปาปณิกสูตร ๑๐. ทุติยปาปณิกสูตร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๑. สวิฏฐสูตร

๓. ปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล

๑. สวิฏฐสูตร
ว่าด้วยพระสวิฏฐะและมหาโกฏฐิตะ
[๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระสวิฏฐะและท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้าไป
หาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึก
ถึงกันเแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระสวิฏฐะดังนี้ว่า
ท่านสวิฏฐะ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. กายสักขีบุคคล๑ ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล๒
๓. สัทธาวิมุตตบุคคล๓
บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่าน
ชอบใจบุคคลจำพวกไหนซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า
ท่านพระสวิฏฐะตอบว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๑. สวิฏฐสูตร
๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล
๓. สัทธาวิมุตตบุคคล
บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ผม
ชอบใจสัทธาวิมุตตบุคคลซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
สัทธินทรีย์ของบุคคลนี้แก่กล้ายิ่งนัก
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระมหาโกฏฐิตะดังนี้ว่า บุคคล
๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล
๓. สัทธาวิมุตตบุคคล
บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่าน
ชอบใจบุคคลจำพวกไหนซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล
๓. สัทธาวิมุตตบุคคล
บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ผม
ชอบใจกายสักขีบุคคลซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
สมาธินทรีย์ของบุคคลนี้แก่กล้ายิ่งนัก
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้ถามปัญหานี้กับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล
๓. สัทธาวิมุตตบุคคล
บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่าน
ชอบใจบุคคลจำพวกไหนซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖๗ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๑. สวิฏฐสูตร
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล
๓. สัทธาวิมุตตบุคคล
บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ผม
ชอบใจทิฏฐิปัตตบุคคลซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ปัญญินทรีย์ของบุคคลนี้แก่กล้ายิ่งนัก
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระสวิฏฐะและท่านพระมหาโกฏฐิตะ
ดังนี้ว่า “พวกเราทั้งหมดต่างตอบปัญหาตามปฏิภาณของตน มาไปด้วยกันเถิด เรา
จักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบทูลข้อความนี้ เราจักทรงจำข้อความ
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบแก่เรา” ท่านพระสวิฏฐะและท่านพระมหาโกฏฐิตะ
ตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระสวิฏฐะ และท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระ
สารีบุตรผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลข้อสนทนาทั้งหมดกับท่านพระสวิฏฐะ
และท่านพระมหาโกฏฐิตะแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดา
บุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลนี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย เพราะอาจ
เป็นไปได้ว่า สัทธาวิมุตตบุคคลเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ กายสักขีบุคคล
เป็นสกทาคามีหรืออนาคามี ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี
ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคล
นี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย เพราะอาจเป็นไปได้ว่า กายสักขีบุคคล
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ สัทธาวิมุตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี
ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๒. คิลานสูตร
ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคล
นี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย เพราะอาจเป็นไปได้ว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ สัทธาวิมุตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี
กายสักขีบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี
ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคล
นี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย
สวิฏฐสูตรที่ ๑ จบ

๒. คิลานสูตร
ว่าด้วยคนไข้และบุคคลผู้เปรียบด้วยคนไข้
[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย คนไข้ ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
คนไข้ ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนไข้บางคนในโลกนี้ได้โภชนะที่เป็นสัปปายะ๑ หรือไม่ได้โภชนะที่เป็น
สัปปายะก็ตาม ได้ยาที่เป็นสัปปายะ หรือไม่ได้ยาที่เป็นสัปปายะก็ตาม
และได้คนพยาบาลที่เหมาะสม หรือไม่ได้คนพยาบาลที่เหมาะสมก็ตาม
ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้นได้เลย
๒. คนไข้บางคนในโลกนี้ได้โภชนะที่เป็นสัปปายะ หรือไม่ได้โภชนะที่เป็น
สัปปายะก็ตาม ได้ยาที่เป็นสัปปายะ หรือไม่ได้ยาที่เป็นสัปปายะก็ตาม
และได้คนพยาบาลที่เหมาะสม หรือไม่ได้คนพยาบาลที่เหมาะสมก็ตาม
ย่อมหายจากอาพาธนั้นได้
๓. คนไข้บางคนในโลกนี้ได้โภชนะที่เป็นสัปปายะจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อ
ไม่ได้ ย่อมไม่หาย ได้ยาที่เป็นสัปปายะจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อ
ไม่ได้ย่อมไม่หาย และได้คนพยาบาลที่เหมาะสมจึงหายจากอาพาธนั้น
เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๒. คิลานสูตร
บรรดาคนไข้ ๓ จำพวกนั้น คนไข้ใดได้โภชนะที่เป็นสัปปายะจึงหายจากอาพาธ
นั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้ยาที่เป็นสัปปายะจึงหายจากอาพาธนั้นเมื่อไม่ได้
ย่อมไม่หาย และได้คนพยาบาลที่เหมาะสมจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่
หาย เพราะอาศัยคนไข้นี้แล เราจึงอนุญาตอาหารสำหรับภิกษุไข้ อนุญาตยาสำหรับ
ภิกษุไข้ และอนุญาตคนพยาบาลสำหรับภิกษุไข้ ก็เพราะอาศัยคนไข้นี้ คนไข้แม้อื่น ๆ
ก็ควรได้รับการพยาบาลด้วย คนไข้ ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
บุคคลที่เปรียบได้กับคนไข้ ๓ จำพวกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแลมีปรากฏอยู่
ในโลก
บุคคลที่เปรียบได้กับคนไข้ ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นตถาคต หรือไม่ได้เห็นตถาคตก็ตาม ได้ฟัง
ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หรือไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศ
ไว้ก็ตาม ย่อมไม่หยั่งลงสู่ความเห็นชอบที่กำหนดในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นตถาคต หรือไม่ได้เห็นตถาคตก็ตาม ได้ฟัง
ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หรือไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศ
ไว้ก็ตาม ย่อมหยั่งลงสู่ความเห็นชอบที่กำหนดในกุศลธรรมทั้งหลาย
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นตถาคตจึงหยั่งลงสู่ความเห็นชอบที่กำหนด
ในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ได้เห็นย่อมไม่หยั่งลง ได้ฟังธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศไว้จึงหยั่งสู่ความเห็นชอบที่กำหนดในกุศลธรรมทั้งหลาย
เมื่อไม่ได้ฟังย่อมไม่หยั่งลง
บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนั้น บุคคลใดได้เห็นตถาคตจึงหยั่งลงสู่ความเห็นชอบ
ที่กำหนดในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ได้เห็นย่อมไม่หยั่งลง ได้ฟังธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศไว้จึงหยั่งลงสู่ความเห็นชอบที่กำหนดในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่
ได้ฟังย่อมไม่หยั่งลง เพราะอาศัยบุคคลนี้แล เราจึงอนุญาตการแสดงธรรม ก็เพราะ
อาศัยบุคคลนี้จึงควรแสดงธรรมแก่บุคคลแม้เหล่าอื่น
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่เปรียบได้กับคนไข้ ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
คิลานสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๓. สังขารสูตร

๓. สังขารสูตร
ว่าด้วยสังขาร
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขาร๑ ที่มีความเบียดเบียน ปรุง
แต่งวจีสังขาร๒ ที่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขาร๓ ที่มีความ
เบียดเบียน เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน
ผัสสะที่มีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความ
เบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่มีความเบียดเบียนกระทบเข้า ย่อม
เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียวเหมือนพวก
สัตว์นรก
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุง
แต่งวจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มี
ความเบียดเบียน เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความ
เบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึง
โลกที่ไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียน
กระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วน
เดียวเหมือนสุภกิณหพรหม
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่
มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๔. พหุการสูตร
ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง และปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง
ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึง
โลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาถูกผัสสะ
ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้า ย่อม
เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุข
และทุกข์ระคนกันเหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก และเปรตบางพวก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
สังขารสูตรที่ ๓ จบ

๔. พหุการสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่มีอุปการะมาก
[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีอุปการะมากแก่บุคคล
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก นับถือ
พระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก และนับถือพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมากแก่บุคคลนี้
๒. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้วรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย(เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมาก
แก่บุคคลนี้
๓. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้วทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมากแก่บุคคลนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลชื่อว่ามีอุปการะมากแก่บุคคลนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๗๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๕. วชิรูปมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ไม่มีบุคคลอื่นนอกจากบุคคล ๓ จำพวกนี้ที่ชื่อว่า
เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลนี้ การที่บุคคลนี้จะปฏิบัติตอบแทนแก่บุคคล ๓ จำพวก
นี้ด้วยการตอบแทน คือด้วยการกราบไหว้ การลุกรับ การประนมมือไหว้ การแสดง
ความเคารพ การให้ผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เรากล่าวว่า
มิใช่จะทำได้โดยง่าย
พหุการสูตรที่ ๔ จบ

๕. วชิรูปมสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า ๒. บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ
๓. บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร
บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่า
กล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ
ขัดเคือง และไม่พอใจ เปรียบเหมือนแผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อม
ให้เกิดความเจ็บปวดมากขึ้น แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
เป็นคน มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ
โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ นี้เรียกว่า
บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า
บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” เปรียบเหมือนคนมีตาดีเห็นรูปได้ในขณะ
ฟ้าแลบในเวลากลางคืนที่มืดมิด แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๗๓ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๖. เสวิตัพพสูตร
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา” นี้เรียกว่า บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ
บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร๑ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เปรียบเหมือนแก้วมณี
หรือหินบางชนิดที่เพชรจะทำลายไม่ได้ไม่มี แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉัน
นั้นเหมือนกันแล ... เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้
เรียกว่า บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
วชิรูปมสูตรที่ ๕ จบ

๖. เสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรคบ
[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้
๒. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้
๓. บุคคลที่ควรสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้
บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ต่ำทรามกว่าตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา บุคคล
เช่นนี้ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ นอกจากจะเมตตาอนุเคราะห์
บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เสมอตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเช่นนี้
ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะการสนทนาเกี่ยวกับศีล
สมาธิ ปัญญา จักมีแก่เราทั้งหลายผู้ถึงความเสมอกันในด้านศีล สมาธิ ปัญญา
การสนทนาของเราทั้งหลายนั้นจักดำเนินไปได้ และจักเป็นความสำราญ
เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้
บุคคลที่ควรสักการะ เคารพ แล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เหนือกว่าตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเช่นนี้
ควรสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคล
เช่นนี้คิดว่า จักบำเพ็ญสีลขันธ์(กองศีล) สมาธิขันธ์(กองสมาธิ) ปัญญาขันธ์(กอง
ปัญญา)ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือจักอนุเคราะห์สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์
ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้น ๆ
เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคลคบผู้ต่ำทรามย่อมพลอยต่ำทรามไปด้วย
แต่คบผู้ที่เสมอกันย่อมไม่เสื่อมในกาลไหน ๆ
คบผู้ที่สูงกว่าย่อมเด่นขึ้นทันตาเห็น
เพราะฉะนั้นจึงควรคบผู้ที่สูงกว่าตน
เสวิตัพพสูตรที่ ๖ จบ

๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรรังเกียจ
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้
๒. บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้
๓. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๗๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร
บุคคลที่ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความ
ประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่
ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี๑ เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน
หยากเยื่อ บุคคลเช่นนี้ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะคนทั่วไปแม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคลเช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อันชั่ว
ของเขาก็กระฉ่อนไปว่า “คนคบมิตรชั่ว คบสหายชั่ว คบเพื่อนชั่ว” เปรียบเหมือน
งูที่จมอยู่ในคูถ แม้จะไม่กัดใคร ๆ ก็จริง แต่ก็ทำเขาให้เปื้อนได้ แม้ฉันใด คน
ทั่วไปก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคลเช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อันชั่วของ
เขาก็กระฉ่อนไปว่า “คนคบมิตรชั่ว คบสหายชั่ว คบเพื่อนชั่ว”
เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควร
เข้าไปนั่งใกล้
บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่า
กล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ
ขัดเคือง และไม่พอใจ
เปรียบเหมือนแผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมทำให้เกิดความเจ็บปวด
มากขึ้น แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เป็นคนมักโกรธ มาก
ไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ
เปรียบเหมือนถ่านไม้มะพลับถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมปะทุเกินประมาณ
แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วย
ความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด
แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๘. คูถภาณีสูตร
เปรียบเหมือนหลุมคูถถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมส่งกลิ่นเหม็นรุนแรงขึ้น
แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือกันแล เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วย
ความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด
แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ
บุคคลเช่นนี้ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะว่าบุคคลนั้นอาจด่าเราบ้าง บริภาษเราบ้าง ทำเราให้ฉิบหายบ้าง
เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควร
เข้าไปนั่งใกล้
บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีศีล มีธรรมงาม บุคคลเช่นนี้ควรเสพ ควรคบ
ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าคนทั่วไปแม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคล
เช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อันงามของเขาก็ขจรไปว่า “คนคบมิตรดี คบสหายดี คบเพื่อนดี”
เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคลคบผู้ต่ำทรามย่อมพลอยต่ำทรามไปด้วย
แต่คบผู้ที่เสมอกันย่อมไม่เสื่อมในกาลไหน ๆ
คบผู้ที่สูงกว่าย่อมเด่นขึ้นทันตาเห็น
เพราะฉะนั้นจึงควรคบผู้ที่สูงกว่าตน
ชิคุจฉิตัพพสูตรที่ ๗ จบ

๘. คูถภาณีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พูดภาษาคูถ
[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้พูดภาษาคูถ ๒. บุคคลผู้พูดภาษาดอกไม้
๓. บุคคลผู้พูดภาษาน้ำผึ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๗๗ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๙. อันธสูตร
บุคคลผู้พูดภาษาคูถ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ
อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า
“ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น” บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า “รู้” หรือรู้ก็กล่าวว่า “ไม่รู้”
ไม่เห็นก็กล่าวว่า “เห็น” หรือเห็นก็กล่าวว่า “ไม่เห็น” กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตน
เป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้พูดภาษาคูถ
บุคคลผู้พูดภาษาดอกไม้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ
อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า
“ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น” บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า “ไม่รู้” หรือรู้ก็กล่าวว่า “รู้”
ไม่เห็นก็กล่าวว่า “ไม่เห็น” หรือเห็นก็กล่าวว่า “เห็น” ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตน
เป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้พูดภาษาดอกไม้
บุคคลผู้พูดภาษาน้ำผึ้ง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือพูดแต่คำที่ไม่มี
โทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ นี้เรียกว่า
บุคคลผู้พูดภาษาน้ำผึ้ง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
คูถภาณีสูตรที่ ๘ จบ

๙. อันธสูตร
ว่าด้วยบุคคลตาบอด
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลตาบอด ๒. บุคคลตาเดียว
๓. บุคคลสองตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๗๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๙. อันธสูตร
บุคคลตาบอด เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่มีนัยน์ตา๑ เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ
ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน และเขาไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ
ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาบอด
บุคคลตาเดียว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีนัยน์ตาเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ
โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน แต่เขาไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ
ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาเดียว
บุคคลสองตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีนัยน์ตาเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ
โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน และเขามีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ
ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลสองตา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
โภคทรัพย์อย่างนั้นไม่มีแก่บุคคลตาบอด
และบุคคลตาบอดย่อมไม่ทำบุญ
โทษเคราะห์ย่อมมีแก่บุคคลตาบอด
ผู้มีนัยน์ตาเสียในโลกทั้งสอง
ในกาลต่อมา เราได้กล่าวถึงบุคคลตาเดียวนี้ไว้
ก็บุคคลตาเดียวหมกมุ่นกับธรรมและอธรรม
แสวงหาโภคทรัพย์ด้วยการคดโกงและการพูดเท็จ
อันเป็นการลักขโมยทั้งสองอย่าง

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๑๐. อวกุชชสูตร
ก็มาณพผู้เป็นกามโภคีบุคคล
เป็นคนฉลาดที่จะรวบรวมโภคทรัพย์
เขาเป็นคนตาเดียวจากโลกนี้ไปสู่นรกย่อมเดือดร้อน
ส่วนบุคคลสองตา
เรากล่าวว่าเป็นบุคคลผู้ประเสริฐที่สุด
เขาให้ทรัพย์ที่ตนได้มาด้วยความหมั่นเป็นทาน
จากโภคทรัพย์ที่ตนหาได้โดยชอบธรรม
มีความดำริประเสริฐ มีจิตใจไม่วอกแวก
ย่อมเข้าถึงฐานะที่เจริญซึ่งไปแล้วไม่เศร้าโศก
บุคคลควรเว้นให้ห่างไกลจากบุคคลตาบอดและบุคคลตาเดียว
แต่ควรคบบุคคลสองตาที่ประเสริฐที่สุด
อันธสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อวกุชชสูตร
ว่าด้วยบุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ ๒. บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก
๓. บุคคลมีปัญญากว้างขวาง(เหมือนหม้อหงาย)
บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์๑พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๑๐. อวกุชชสูตร
แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ แม้
ลุกจากที่นั้นแล้วก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือน
หม้อคว่ำที่เขาเทน้ำลงไป น้ำย่อมไหลราดไป ไม่ขังอยู่แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลก
นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นก็ไม่ได้ แม้
ลุกจากที่นั้นแล้วก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ นี้เรียกว่า
บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แต่ลุกจาก
ที่นั้นแล้วก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษเก็บ
ของเคี้ยวต่าง ๆ คือ งา ข้าวสาร ขนมต้ม พุทราไว้ที่ชายพก บุรุษนั้นเมื่อลุกจากที่
นั้นพึงทำเรี่ยราดเพราะเผลอสติแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความ
งามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำ
เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แต่ลุกจากที่นั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้น
ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ นี้เรียกว่า บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก
บุคคลมีปัญญากว้างขวาง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แม้ลุกจากที่
นั้นแล้วก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ เปรียบเหมือนหม้อหงาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๘๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๑๐. อวกุชชสูตร
ที่เขาเทน้ำลงไป น้ำย่อมขังอยู่ไม่ไหลราดไป แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกันแล ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย
แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่ง
ตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แม้ลุกจากที่นั้นแล้วก็ยัง
จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ นี้เรียกว่า บุคคลมีปัญญากว้างขวาง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
เป็นคนเขลา ไม่มีปัญญาสำหรับพิจารณา
บุคคลเช่นนั้นแม้จะหมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย
ก็ไม่อาจเล่าเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถาได้
เพราะเขาไม่มีปัญญา
บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก
เรากล่าวว่า ดีกว่าบุคคลที่มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
บุคคลเช่นนั้นแม้หมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย
นั่งตรงที่นั้นเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถา
ครั้นลุกขึ้นแล้วก็กำหนดรู้พยัญชนะไม่ได้
เพราะพยัญชนะที่เขาเรียนแล้วเลอะเลือนไป
ส่วนบุคคลมีปัญญากว้างขวาง
เรากล่าวว่า ดีกว่าบุคคลที่มีปัญญาเหมือนชายพก
บุคคลเช่นนั้นหมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย
นั่งตรงที่นั้นเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้น
จำพยัญชนะได้ มีความดำริประเสริฐ
มีจิตใจไม่วอกแวก ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
พึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
อวกุชชสูตรที่ ๑๐ จบ
ปุคคลวรรคที่ ๓ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๑. สพรหมกสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สวิฏฐสูตร ๒. คิลานสูตร
๓. สังขารสูตร ๔. พหุการสูตร
๕. วชิรูปมสูตร ๖. เสวิตัพพสูตร
๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร ๘. คูถภาณีสูตร
๙. อันธสูตร ๑๐. อวกุชชสูตร

๔. เทวทูตวรรค
หมวดว่าด้วยเทวทูต
๑. สพรหมกสูตร
ว่าด้วยสกุลที่มีพรหม
[๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุตรของสกุลใดบูชาบิดามารดา
ในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีพรหม บุตรของสกุลใดบูชาบิดามารดาในเรือนตน สกุล
นั้นชื่อว่ามีบุรพาจารย์ บุตรของสกุลใดบูชาบิดามารดาในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามี
อาหุไนยบุคคล
คำว่า พรหม นี้เป็นชื่อของบิดามารดา คำว่า บุรพาจารย์ นี้เป็นชื่อของ
บิดามารดา คำว่า อาหุไนยบุคคล นี้เป็นชื่อของบิดามารดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบิดามารดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร
บิดามารดาผู้อนุเคราะห์ประชา
ท่านเรียกว่า พรหม บุรพาจารย์
และอาหุไนยบุคคลของบุตร
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงนมัสการ
และสักการะบิดามารดานั้นด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน
การอบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการล้างเท้า
เพราะการปรนนิบัติบิดามารดานั้น
บัณฑิตจึงสรรเสริญในโลกนี้เอง
เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
สพรหมกสูตรที่ ๑ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น