Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๐-๕ หน้า ๑๘๔ - ๒๒๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐-๕ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๒. อานันทสูตร

๒. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาค
[๓๒] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่ภิกษุได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมีอหังการ๑(การถือว่า
เป็นเรา) มมังการ๒(การถือว่าเป็นของเรา) และมานานุสัย(กิเลสนอนเนื่องคือความ
ถือตัว) ทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง๓ และการที่ภิกษุผู้เข้าถึง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยอยู่ พึงมีได้หรือหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมี
อหังการ มมังการและมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอก
ทั้งปวง และการที่ภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มีอหังการ มมังการ และ
มานานุสัยอยู่ พึงมีได้”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “การที่ภิกษุได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมีอหังการ
มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง และ
การที่ภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
อยู่ พึงมีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาตรัสตอบว่า อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า
‘ธรรมชาตินั่นสงบ นั่นประณีต คือความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ นิพพาน’ อานนท์ การที่ภิกษุ
ได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมีอหังการ มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้
และในนิมิตภายนอกทั้งปวง และการที่ภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มี
อหังการ มมังการ และมานานุสัยอยู่ พึงมีได้อย่างนี้แล

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๓. สารีปุตตสูตร
อานนท์ เราหมายเอาเช่นนี้จึงกล่าวไว้ในปุณณกปัญหาในปารายนวรรค ดังนี้ว่า
บุคคลใดรู้อัตภาพของผู้อื่นและของตนในโลก
ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหวในโลกไหน ๆ
เรากล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นผู้สงบ
ไม่มีกิเลสทำให้จิตมัวหมอง ไม่มีกิเลสกระทบจิต
ไม่มีความทะเยอทะยาน ข้ามพ้นชาติและชราได้แล้ว
อานันทสูตรที่ ๒ จบ

๓. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาค
[๓๓] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“สารีบุตร เราแสดงธรรมโดยย่อก็ได้ เราแสดงธรรมโดยพิสดารก็ได้ เรา
แสดงธรรมทั้งโดยย่อและโดยพิสดารก็ได้ แต่บุคคลผู้รู้ทั่วถึงธรรมหาได้ยาก”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาล ข้าแต่
พระสุคต บัดนี้เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคพึงแสดงธรรมโดยย่อ พึงแสดงธรรมโดย
พิสดาร พึงแสดงธรรมทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร จักมีผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้ว่า “จักไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และ
ในนิมิตภายนอกทั้งปวง และเราทั้งหลายจักเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มี
อหังการ มมังการ และมานานุสัยอยู่” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เพราะภิกษุไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้และ
ในนิมิตภายนอกทั้งปวง และเพราะภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มีอหังการ
มมังการ และมานานุสัยอยู่ เราจึงเรียกว่า ภิกษุนี้ตัดตัณหา ถอนสังโยชน์ ทำที่สุด
แห่งทุกข์ เพราะรู้ยิ่งด้วยการละมานะได้โดยชอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๘๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๔. นิทานสูตร
เราหมายเอาเช่นนี้จึงกล่าวไว้ในอุทยปัญหาในปารายนวรรค ดังนี้ว่า
เรากล่าวอัญญาวิโมกข์๑ ซึ่งเป็นธรรม
สำหรับละธรรมทั้งสองคือกามสัญญา๒และโทมนัส
เป็นธรรมบรรเทาถีนะ(ความง่วง)
เป็นธรรมปิดกั้นกุกกุจจะ(ความร้อนใจ)
ซึ่งบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาและสติ
มีการตรึกตรองธรรม๓ เป็นธรรมเกิดก่อน
และเป็นธรรมเครื่องทำลายอวิชชา(ความไม่รู้แจ้ง)
สารีปุตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. นิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งกรรม
[๓๔] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. โลภะ (ความอยากได้) เป็นเหตุให้เกิดกรรม
๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) เป็นเหตุให้เกิดกรรม
๓. โมหะ (ความหลง) เป็นเหตุให้เกิดกรรม

กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด๔
ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น
ให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๔. นิทานสูตร
กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นแดนเกิด
ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น
ให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป
กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด
ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น
ให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป
เปรียบเหมือน เมล็ดพืชที่ไม่แตกหัก ไม่เสียหาย ไม่ถูกลมและแดดกระทบ
มีแก่นใน ถูกเก็บไว้อย่างดี ถูกหว่านลงบนพื้นดินที่เตรียมไว้ดี ในนาดี และฝนก็ตกดี
เมล็ดพืชที่ฝนตกรดอย่างนั้น ย่อมถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ แม้ฉันใด
กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรม
นั้นในขันธ์ที่กรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป
กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดจากโมหะ มีโมหะ
เป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวย
ผลกรรมนั้น ในขันธ์ที่กรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้แล
เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อโลภะ (ความไม่โลภ) เป็นเหตุให้เกิดกรรม
๒. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย) เป็นเหตุให้เกิดกรรม
๓. อโมหะ (ความไม่หลง) เป็นเหตุให้เกิดกรรม

กรรมที่ถูกอโลภะครอบงำ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดน
เกิด เมื่อสิ้นโลภะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้ ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
กรรมที่ถูกอโทสะครอบงำ เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะเป็นแดน
เกิด เมื่อสิ้นโทสะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้ ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๘๗ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๔. นิทานสูตร
กรรมที่ถูกอโมหะครอบงำ เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดน
เกิด เมื่อสิ้นโมหะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้ ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เมล็ดพืชไม่แตกหัก ไม่เสียหาย ไม่ถูกลมและแดดกระทบ มีแก่นใน ถูกเก็บ
ไว้อย่างดี บุรุษพึงเอาไฟเผาเมล็ดพืชเหล่านั้น ครั้นเอาไฟเผาแล้ว ทำให้เป็นเขม่า
ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้วพึงโปรยลงในลมที่พัดแรง หรือลอยเสียในแม่น้ำมีกระแสไหลเชี่ยว
เมล็ดพืชอันนั้นชื่อว่าถูกตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือ
แต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ แม้ฉันใด
กรรมที่ถูกอโลภะครอบงำ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดน
เกิด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสิ้นโลภะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้ ตัดรากถอน
โคนได้เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น
ต่อไปไม่ได้
กรรมที่ถูกอโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกอโมหะครอบงำ เกิดจากอโมหะ มี
อโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดนเกิด เมื่อสิ้นโมหะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้
ฯลฯ เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้แล
คนเขลาทำกรรมที่เกิดเพราะโลภะ โทสะ และโมหะ
กรรมที่คนเขลานั้นทำแล้วจะมากหรือน้อยก็ตาม
ย่อมให้ผลในอัตภาพนี้แล
สิ่งอื่น(ที่จะรองรับผลกรรมนั้น)ไม่มี
เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้รู้โลภะ โทสะ และโมหะ
(จึงไม่ทำ)กรรมที่เกิด เพราะเมื่อทำวิชชา๑ ให้เกิดขึ้น
ย่อมละทุคติทั้งปวงได้
นิทานสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๕. หัตถกสูตร

๕. หัตถกสูตร
ว่าด้วยหัตถกกุมารทูลถามถึงความสุข
[๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนที่ลาดใบไม้ในสีสปาวัน (ป่าไม้สีเสียด)
ใกล้ทางเดินของโค เขตกรุงอาฬวี
ครั้งนั้น หัตถกกุมารชาวกรุงอาฬวี เดินพักผ่อนอิริยาบถ ได้เห็นพระผู้มีพระ
ภาคประทับนั่งบนที่ลาดใบไม้ในสีสปาวัน ใกล้ทางเดินของโค จึงเข้าไปเฝ้าถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระ
ผู้มีพระภาคผู้เจริญ พระองค์ทรงอยู่สุขสบายดีหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่างนั้น กุมาร เราอยู่เป็นสุขดี และเราเป็น
หนึ่งในบรรดาคนที่อยู่เป็นสุขในโลก”
หัตถกกุมารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีในฤดูหนาวตั้งอยู่ใน
ระหว่าง๑ เป็นสมัยที่หิมะตกพื้นดินแข็ง แตกระแหง ที่ลาดใบไม้บาง ใบไม้ทั้งหลาย
อยู่ห่างกัน ผ้ากาสายะ(ผ้าย้อมน้ำฝาด)เย็น และลมเวรัมภะ๒ ที่เยือกเย็นก็กำลังพัด”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า “อย่างนั้น กุมาร เราอยู่สุขสบายดี
เราเป็นหนึ่งในบรรดาคนที่อยู่เป็นสุขในโลก”
พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปอีกว่า “ถ้าอย่างนั้นในเรื่องนี้ เราจักย้อนถามเธอ
เธอพึงตอบปัญหานั้นตามที่เธอชอบใจ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เรือนยอด๓ ของ
คหบดีหรือบุตรคหบดีในโลกนี้ที่เขาโบกทั้งภายในและภายนอก ลมพัดเข้าไม่ได้ มี

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๕. หัตถกสูตร
บานประตูปิดมิดชิด หน้าต่างปิดสนิท ในเรือนยอดนั้นพึงมีบัลลังก์๑ลาดด้วยผ้าโกเชาว์๒
ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนเเกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะลายดอก
ไม้ ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด ข้างบนมีเพดาน มีหมอนสีแดง
วางไว้ทั้ง ๒ ข้าง๓ และประทีปน้ำมันส่องสว่างอยู่ในเรือนนี้ ประชาบดี ๔ นาง
พึงบำรุงด้วยวิธีที่น่าชอบใจ น่าพอใจ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คหบดีหรือบุตร
คหบดีนั้นพึงอยู่เป็นสุขหรือไม่ หรือเธอเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
“คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นพึงอยู่เป็นสุข และเขาเป็นคนหนึ่งในบรรดาคนที่
อยู่เป็นสุขในโลก พระพุทธเจ้าข้า”
“กุมาร เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ความเร่าร้อนทางกายหรือทางใจที่เกิด
เพราะราคะซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ที่ถูกแผดเผาอยู่เป็นทุกข์ พึงเกิดขึ้นแก่คหบดีหรือบุตร
คหบดีนั้นบ้างไหม”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กุมาร คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะราคะใดแผดเผา
อยู่พึงอยู่เป็นทุกข์ ราคะนั้นตถาคตละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น
เราจึงอยู่เป็นสุข กุมาร เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ความเร่าร้อนทางกายหรือทางใจ
ที่เกิดเพราะโทสะ ฯลฯ ความเร่าร้อนทางกายหรือทางใจที่เกิดเพราะโมหะ ซึ่งเป็น
เหตุให้ผู้ที่ถูกแผดเผาอยู่เป็นทุกข์ พึงเกิดขึ้นแก่คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นบ้างไหม”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กุมาร คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นถูกความเร่าร้อนที่เกิดจากโมหะใดแผดเผา
อยู่ โมหะนั้นตถาคตละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น
เราจึงอยู่เป็นสุข”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๖. เทวทูตสูตร
พราหมณ์๑ผู้ดับกิเลสแล้วย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ
ผู้ไม่ติดอยู่ในกาม๒ เป็นคนเยือกเย็น
ไม่มีอุปธิกิเลส ตัดกิเลสเครื่องข้องทุกอย่างแล้ว
พึงกำจัดความกระวนกระวายในใจ
เข้าถึงความสงบ๓ย่อมอยู่เป็นสุข
หัตถกสูตรที่ ๕ จบ

๖. เทวทูตสูตร
ว่าด้วยเทวทูต
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เทวทูต๔ ๓ จำพวกนี้
เทวทูต ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยกาย) วจี-
ทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) และมโนทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วย
ใจ) หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นาย
นิรยบาล๕จับแขนเขาไปแสดงต่อพญายม๖ว่า “ขอเดชะ คนผู้นี้ไม่เกื้อกูล
มารดา ไม่เกื้อกูลบิดา ไม่เกื้อกูลสมณะ ไม่เกื้อกูลพราหมณ์ และไม่
อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล ขอพระองค์จงลงโทษแก่คนผู้นี้เถิด”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๖. เทวทูตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย พญายมสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๑ ว่า “เจ้า
ไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๑ ปรากฏในหมู่มนุษย์บ้างหรือ”
เขาตอบว่า “ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษมีอายุ ๘๐ ปี... ๙๐ ปี...
หรือ ๑๐๐ ปี... เป็นคนชรา มีซี่โครงคด หลังโกง หลังค่อม ถือไม้เท้า เดินงก ๆ
เงิ่น ๆ เก้ ๆ กัง ๆ หมดความเป็นหนุ่มสาว ฟันหัก ผมหงอก ศีรษะล้าน หนังเหี่ยว
ตัวตกกระ เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ”
เขาตอบว่า “เคยเห็น พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้เลย
หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เอาเถอะ
เราจะทำความดีทางกาย วาจา และใจ”
เขาตอบว่า “ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัว
ประมาทอยู่ เอาเถอะ เขาจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น
บิดามารดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เทวดา
สมณพราหมณ์ไม่ได้ทำให้เลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรม
นั้น”
๒. พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๑ แล้วจึงสอบสวน
ซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๒ ว่า “เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๒ ปรากฏ
ในหมู่มนุษย์บ้างหรือ”
เขาตอบว่า “ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษป่วย ประสพทุกข์ เป็นไข้หนัก
นอนจมอยู่ในมูตรและกรีสของตน ผู้อื่นต้องช่วยพยุงให้ลุกขึ้นช่วยป้อนอาหาร เจ้า
ไม่เคยเห็นบ้างหรือ”
เขาตอบว่า “เคยเห็น พระเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๙๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๖. เทวทูตสูตร
พญายมถามเขาว่า “เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่เคยคิดบ้างหรือว่า
‘ถึงตัวเราก็ต้องป่วยไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความป่วยไข้ไปได้ เอาเถอะ เราจะ
ทำความดีทางกาย วาจา และใจ”
เขาตอบว่า “ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัว
ประมาทอยู่ เอาเถอะ เขาจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนั้น
บิดามารดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เทวดา
สมณพราหมณ์ไม่ได้ทำให้เลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น”
๓. พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๒ แล้วจึงสอบ
สวน ซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๓ ว่า “เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๓
ที่ปรากฏในหมู่มนุษย์บ้างหรือ”
เขาตอบว่า “ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษที่ตายได้ ๑ วัน ๒ วัน หรือ
๓ วัน พองขึ้น เป็นสีเขียว มีน้ำเหลืองแตกซ่าน เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ”
เขาตอบว่า “เคยเห็น พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “เจ้าเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่เคยคิดบ้างหรือว่า
ถึงตัวเราก็มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เอาเถอะ เราจะทำ
ความดีทางกาย วาจา และใจ”
เขาตอบว่า “ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัว
ประมาทอยู่ เอาเถอะ เขาจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนั้น
บิดามารดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เทวดา
สมณพราหมณ์ไม่ได้ทำให้เลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น”
พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๓ นั้นแล้วก็นิ่งเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๙๓ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๗ ยมราชสูตร
นายนิรยบาลจึงทำกรรมกรณ์๑ ชื่อเครื่องพันธนาการ ๕ อย่าง คือ ตอก
ตะปูเหล็กแดง ที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง และที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนา
กล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลฉุดลากเขาไป เอาขวานถาก เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก
เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลจับเขา เอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอามีดเฉือน ฯลฯ จับเขาเทียม
รถแล่นกลับไปกลับมาบนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลวโชติช่วง ฯลฯ บังคับเขาขึ้นลงภูเขา
ถ่านเพลิงลูกใหญ่ ที่ไฟลุกโชน ฯลฯ จับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง ทุ่มลงในโลหกุมภี
อันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ เขาถูกต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางครั้งลอยขึ้น
บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่
ในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นาย
นิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก
ก็มหานรกนั้น
มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน
มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก
มีพื้นเป็นเหล็กลุกโชนโชติช่วง
แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ตั้งอยู่ทุกเมื่อ
เทวทูตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ยมราชสูตร
ว่าด้วยพญายม
[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พญายมได้มีความคิดดังนี้ว่า “ชน
เหล่าใดทำบาปกรรมไว้ในโลก ชนเหล่านั้นถูกนายนิรยบาลทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ
อย่างนี้ โอหนอ เราพึงได้ความเป็นมนุษย์ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พึงเสด็จอุบัติในโลก เราพึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระ
องค์นั้นพึงแสดงธรรมแก่เรา และเราพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๘. จตุมหาราชสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เราได้ฟังข้อความนั้นต่อจากสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วจึง
กล่าวอย่างนี้ก็หาไม่ แต่เรากล่าวสิ่งที่เรารู้เอง เห็นเอง ทราบเองเท่านั้น
มาณพเหล่าใดอันเทวทูตตักเตือนแล้ว ยังประมาทอยู่
มาณพเหล่านั้นเข้าถึงหมู่ที่เลว
ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน
ส่วนสัตบุรุษเหล่าใดเป็นผู้สงบในโลกนี้
อันเทวทูตตักเตือนแล้ว ไม่ประมาทในอริยธรรมในเวลาใด ๆ
เห็นภัยในความยึดมั่นถือมั่น
ที่เป็นบ่อเกิดแห่งการเกิดและการตาย
ย่อมหลุดพ้นในธรรมเป็นที่สิ้นการเกิดและการตาย
เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น
สัตบุรุษเหล่านั้นจึงถึงความเกษม
มีความสุข ดับสนิทในปัจจุบัน
ล่วงพ้นเวรและภัยทุกอย่าง ข้ามพ้นทุกข์ทั้งสิ้น
ยมราชสูตรที่ ๗ จบ

๘. จตุมหาราชสูตร
ว่าด้วยท้าวมหาราชทั้ง ๔
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ในวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ เทวดาผู้เป็นบริวาร ผู้ช่วยเหลือ
ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา
เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำ
อุโบสถ๑ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ๒ ทำบุญ๓กันอยู่ มีอยู่มากหรือหนอ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๘. จตุมหาราชสูตร
ในวัน ๑๔ ค่ำแห่งปักษ์ บุตรของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า
ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์
อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มี
อยู่มากหรือหนอ
ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลกนี้ด้วยตัวเองว่า
ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์
อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มี
อยู่มากหรือหนอ
ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูล
พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำ
บุญกันอยู่ มีอยู่น้อย
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ย่อมรายงานเหตุนั้นแก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่นั่งประชุม
ร่วมกันในสภาชื่อสุธัมมาว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ผู้เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา
เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำ
ปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีจำนวนน้อย
เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์จึงพากันเสียใจว่า “หมู่เทพจักเสื่อม
หมู่อสูรจักบริบูรณ์”
ก็ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ผู้เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ
เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ
ทำบุญกันอยู่ มีจำนวนมาก
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ย่อมรายงานเหตุนั้นแก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่นั่งประชุม
ร่วมกันในสภาชื่อสุธัมมาว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ผู้เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา
เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำ
ปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีจำนวนน้อย
เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์จึงพากันดีใจว่า “หมู่เทพจักบริบูรณ์
หมู่อสูรจักเสื่อม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๙๖ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๘. จตุมหาราชสูตร
เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อแนะนำพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ได้
ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า
นรชนแม้ใดผู้เช่นกับเราพึงอยู่จำอุโบสถ
ประกอบด้วยองค์ ๘๑ สิ้นวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์๒
คาถานี้ท้าวสักกะจอมเทพขับผิด ขับไม่ดี กล่าวผิด กล่าวไม่ดี ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะท้าวสักกะจอมเทพ ยังไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ
ไม่ปราศจากโมหะ
ส่วนภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว๓ บรรลุประโยชน์ตน๔โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์๕แล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นควรกล่าวคำว่า
นรชนแม้ใดผู้เช่นกับเราพึงอยู่จำอุโบสถ
ประกอบด้วยองค์ ๘ สิ้นวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจาก
โมหะ
จตุมหาราชสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๙. สุขุมาลสูตร

๘. ทุติยจตุมหาราชสูตร
ว่าด้วยท้าวมหาราชทั้ง ๔ สูตรที่ ๒
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อแนะนำพวก
เทวดาชั้นดาวดึงส์ได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า
นรชนแม้ใดผู้เช่นกับเรา พึงอยู่จำอุโบสถ
ประกอบด้วยองค์ ๘ สิ้นวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์
คาถานี้ท้าวสักกะจอมเทพขับผิด ขับไม่ดี กล่าวผิด กล่าวไม่ดี ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะท้าวสักกะจอมเทพยังไม่พ้นจากชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่) มรณะ
(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย)
โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) เรากล่าวว่า ยังไม่พ้นจากทุกข์
ส่วนภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นควรกล่าวคำว่า
นรชนแม้ใดผู้เช่นกับเรา พึงอยู่จำอุโบสถ
ประกอบด้วยองค์ ๘ สิ้นวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นพ้นแล้วจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า พ้นจากทุกข์
ทุติยจตุมหาราชสูตรที่ ๘ จบ

๙. สุขุมาลสูตร
ว่าด้วยสุขุมาลชาติ
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นผู้สุขุมาลชาติ๑ เป็นผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่ง เป็น
ผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่งยวด ได้ทราบว่า พระราชบิดารับสั่งให้ขุดสระโบกขรณี (สระบัว)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๙. สุขุมาลสูตร
ไว้เพื่อเราภายในที่อยู่ ได้ทราบว่า พระราชบิดานั้นรับสั่งให้ปลูกอุบลไว้ในสระหนึ่ง
ปลูกปทุมไว้ในสระหนึ่ง ปลูกปุณฑริก(บัวขาว)ไว้ในสระหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่เรา เรา
ไม่ได้ใช้เฉพาะไม้จันทน์แคว้นกาสี(พาราณสี)เท่านั้น ผ้าโพกของเราก็ทำในแคว้นกาสี
เสื้อก็ทำในแคว้นกาสี ผ้านุ่งก็ทำในแคว้นกาสี ผ้าห่มก็ทำในแคว้นกาสี ทั้งคนรับใช้
คอยกั้นเศวตฉัตรให้เราตลอดวันและคืนด้วยหวังว่า หนาว ร้อน ธุลี หญ้า หรือ
น้ำค้างอย่าได้กระทบพระองค์ท่าน
เรานั้นมีปราสาทอยู่ ๓ หลัง คือ ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว
หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน เรานั้นได้รับการบำเรอด้วย
ดนตรีที่ไม่ใช่บุรุษบรรเลง ตลอด ๔ เดือนฤดูฝน ในปราสาทฤดูฝน ไม่ได้ลงข้างล่าง
ปราสาทเลย ก็แลในที่อยู่ของคนเหล่าอื่น เขาให้ข้าวป่น(ข้าวหัก)มีน้ำผักดองเป็นกับ
แก่ทาส คนงาน และคนรับใช้ ฉันใด ในนิเวศน์ของพระราชบิดาของเราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เขาให้ข้าวสาลีสุกผสมเนื้อแก่ทาส คนงาน และคนรับใช้
เรานั้นเพียบพร้อมด้วยความสำเร็จอย่างนี้ และเป็นผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ได้
มีความคิดว่า ปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ ตนเองเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วง
พ้นความแก่ไปได้ เห็นบุคคลอื่นแก่ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจ ลืมตัว ไม่คิดว่า
แม้เราเองก็มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ การที่เราผู้มีความแก่
เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เห็นบุคคลอื่นแก่ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจนั้น
ไม่สมควรแก่เราเลย เรานั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงละความมัวเมาในความ
เป็นหนุ่มสาวได้โดยประการทั้งปวง
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ตนเองเป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ
เจ็บไข้ไปได้ เห็นบุคคลอื่นเจ็บไข้ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจ ลืมตัว ไม่คิดว่า แม้
เราเองก็มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ การที่เราผู้มีความ
เจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้เห็นบุคคลอื่นเจ็บไข้ ก็อึดอัด ระอา
รังเกียจนั้น ไม่สมควรแก่เราเลย เรานั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงละความมัว
เมาในความไม่มีโรคได้โดยประการทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๙๙ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๙. สุขุมาลสูตร
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ตนเองเป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตาย
ไปได้ เห็นบุคคลอื่นตาย ก็อึดอัด ระอา รังเกียจ ลืมตัว ไม่คิดว่า แม้เราเองก็
มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ การที่เราผู้มีความตายเป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เห็นบุคคลอื่นตาย ก็อึดอัด ระอา รังเกียจนั้น ไม่สมควร
แก่เราเลย เรานั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงละความมัวเมาในชีวิตได้โดยประการ
ทั้งปวง
ความมัวเมา ๓ ประการนี้
ความมัวเมา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ๒. ความมัวเมาในความไม่มีโรค
๓. ความมัวเมาในชีวิต
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ มัวเมาในความไม่มีโรค ฯลฯ หรือปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
มัวเมาในชีวิต ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุผู้มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์
ภิกษุผู้มัวเมาในความไม่มีโรคย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ หรือภิกษุผู้
มัวเมาในชีวิตย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์
ปุถุชนทั้งหลายมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
มีความแก่เป็นธรรมดาและมีความตายเป็นธรรมดา
เป็นอยู่ตามสภาวะ ย่อมพากันรังเกียจ(บุคคลอื่น)
ก็การที่เรารังเกียจความป่วยไข้เป็นต้นนี้
ในหมู่สัตว์ผู้มีสภาวะอย่างนี้นั้น
ไม่สมควรแก่เราผู้มีปกติอยู่อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๐๐ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๑๐. อาธิปเตยยสูตร
เรานั้นอยู่อย่างนี้ รู้ธรรมที่หมดอุปธิ๑
เห็นความสำราญในเนกขัมมะ๒
ย่อมครอบงำความมัวเมาทุกอย่าง
คือ ความมัวเมาในความไม่มีโรค
ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว
และความมัวเมาในชีวิต
ความพยายามได้มีแก่เรานั้นผู้เห็นนิพพาน
บัดนี้เราไม่ควรกลับไปเสพกาม
เราจักไม่เวียนกลับ จักมีพรหมจรรย์เป็นจุดมุ่งหมาย
สุขุมาลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาธิปเตยยสูตร
ว่าด้วยอาธิปไตย
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย อาธิปไตย(ความเป็นใหญ่) ๓ ประการนี้
อาธิปไตย ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่)
๒. โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่)
๓. ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่)
อัตตาธิปไตย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าบ้าง อยู่ตามโคนต้นไม้บ้าง อยู่ในเรือนว่างบ้าง
ย่อมเห็นประจักษ์ว่า “เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๑๐. อาธิปเตยยสูตร
บิณฑบาต เสนาสนะ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความ
มีหรือความไม่มีเช่นนั้น อนึ่ง เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสครอบงำชื่อว่าถูกทุกข์ครอบงำ มีทุกข์อยู่ตรงหน้า ทำอย่างไร การทำ
ที่สุดกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ การที่เราละกามเช่นใดแล้วจึงออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต เราพึงแสวงหากามเช่นนั้น หรือกามที่เลวกว่านั้น นั้นไม่สมควรแก่
เราเลย”
ภิกษุนั้นเห็นประจักษ์ว่า “ความเพียรที่เราเริ่มไว้แล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่
ตั้งมั่นแล้วจักไม่เลอะเลือน กายที่สงบแล้วจักไม่กระสับกระส่าย จิตที่ตั้งมั่นแล้วจัก
มีอารมณ์แน่วแน่” เธอทำตนเท่านั้นให้เป็นใหญ่ ละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละกรรม
ที่มีโทษ บำเพ็ญกรรมที่ไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อัตตาธิปไตย
โลกาธิปไตย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าบ้าง อยู่ตามโคนต้นไม้บ้าง อยู่ในเรือนว่างบ้าง
ย่อมเห็นประจักษ์ว่า “เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความ
มีหรือความไม่มีเช่นนั้น อนึ่ง เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสครอบงำ ชื่อว่าถูกทุกข์ครอบงำ มีทุกข์อยู่ตรงหน้า ทำอย่างไร การทำ
ที่สุดกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ ก็เราบวชแล้วอย่างนี้พึงคิดเรื่องกาม เรื่องปอง
ร้าย เรื่องเบียดเบียน โลกสันนิวาส(การอยู่ร่วมกันของสัตว์โลก)นี้ใหญ่ ก็ในโลก-�
สันนิวาสใหญ่มีสมณพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ มีตาทิพย์ รู้จิตของบุคคลอื่น สมณพราหมณ์
เหล่านั้นมองเห็นได้แม้จากที่ไกล แม้อยู่ใกล้ก็ไม่ปรากฏ รู้จิต(ของบุคคลอื่น)แม้ด้วย
จิต(ของตน) สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้นพึงรู้จักเราอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
โปรดดูกุลบุตรนี้ เพราะมีศรัทธา เขาจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เต็มไปด้วย
บาปอกุศลธรรมอยู่ แม้เทวดาผู้มีฤทธิ์ มีตาทิพย์ รู้จิตของบุคคลอื่นก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้นย่อมปรากฏจากที่ไกลบ้าง เข้ามาใกล้แล้วกลับมองไม่เห็นบ้าง ย่อม
รู้จิตด้วยจิตบ้าง’ เทวดาแม้เหล่านั้นพึงรู้จักเราอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
โปรดดูกุลบุตรนี้ เพราะมีศรัทธาเขาจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เต็มไปด้วย
บาปอกุศลธรรมอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๐๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๑๐. อาธิปเตยยสูตร
ภิกษุนั้นเห็นประจักษ์ว่า “ความเพียรที่เราเริ่มไว้แล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่ตั้ง
มั่นแล้วจักไม่เลอะเลือน กายที่สงบแล้วจักไม่กระสับกระส่าย จิตที่ตั้งมั่นแล้วจักมี
อารมณ์แน่วแน่” เธอทำโลกเท่านั้นให้เป็นใหญ่ ละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละกรรมที่มี
โทษ บำเพ็ญกรรมที่ไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า โลกาธิปไตย
ธัมมาธิปไตย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าบ้าง อยู่ตามโคนต้นไม้บ้าง อยู่ในเรือนว่างบ้าง
ย่อมเห็นประจักษ์ว่า “เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความ
มีหรือความไม่มีเช่นนั้น อนึ่ง เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสครอบงำ ชื่อว่าถูกทุกข์ครอบงำ มีทุกข์อยู่ตรงหน้า ทำอย่างไร การ
ทำที่สุดกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๑ ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้า
มาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อนพรหมจารีผู้รู้เห็นอยู่ มีอยู่ การที่เรา
บวชในธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้พึงเกียจคร้านประมาทอยู่นั้น
ไม่สมควรแก่เราเลย”
ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ว่า “ความเพียรที่เราเริ่มไว้แล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่
ตั้งมั่นแล้วจักไม่เลอะเลือน กายที่สงบแล้วจักไม่กระสับกระส่าย จิตที่ตั้งมั่นแล้วจัก
มีอารมณ์แน่วแน่” เธอยกธรรมเท่านั้นให้เป็นใหญ่ ละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละกรรม
ที่มีโทษ บำเพ็ญกรรมที่ไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธัมมาธิปไตย
ภิกษุทั้งหลาย อาธิปไตย ๓ ประการนี้แล

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ชื่อว่าความลับของผู้ทำบาปย่อมไม่มีในโลก
แน่ะบุรุษ ตัวท่านเองย่อมรู้ว่าจริงหรือเท็จ
ท่านผู้เจริญ ท่านสามารถทำความดีได้
แต่กลับดูหมิ่นตัวเองเสีย
และยังปกปิดความชั่วซึ่งมีอยู่ในตน
ทวยเทพและตถาคตย่อมมองเห็นท่าน
ผู้เป็นคนพาล ประพฤติไม่สม่ำเสมอในโลก
เพราะเหตุนั้นแล คนที่มีตนเป็นใหญ่ควรมีสติเที่ยวไป
คนที่มีโลกเป็นใหญ่ควรมีปัญญาและเพ่งพินิจ
ส่วนคนมีธรรมเป็นใหญ่ควรประพฤติตามธรรม
มุนีผู้มีความบากบั่นอย่างจริงจังย่อมไม่เสื่อม
บุคคลใดมีความเพียร ข่มมาร
ครอบงำมัจจุราชผู้กำหนดชะตากรรมเสียได้
สัมผัสธรรมเป็นที่สิ้นความเกิด
บุคคลเช่นนั้นย่อมเป็นผู้รู้แจ้งโลก มีปัญญาดี
เป็นมุนีหมดความทะยานอยากในธรรมทั้งปวง
อาธิปเตยยสูตรที่ ๑๐ จบ
เทวทูตวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สพรหมกสูตร ๒. อานันทสูตร
๓. สารีปุตตสูต ๔. นิทานสูตร
๕. หัตถกสูต ๖. เทวทูตสูตร
๗. ยมราชสูตร ๘. จตุมหาราชสูตร
๘. ทุติยจตุมหาราชสูตร ๙. สุขุมาลสูตร
๑๐. อาธิปเตยยสูตร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๒. ติฐานสูตร

๕. จูฬวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องเล็กน้อย
๑. สัมมุขีภาวสูตร
ว่าด้วยความพร้อมแห่งธรรม
[๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะความพร้อมแห่งธรรม
๓ ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธาจึงประสพ๑บุญมาก
ความพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพราะความพร้อมแห่งศรัทธา๒ กุลบุตรผู้มีศรัทธาจึงประสพบุญมาก
๒. เพราะความพร้อมแห่งไทยธรรม กุลบุตรผู้มีศรัทธาจึงประสพบุญมาก
๓. เพราะความพร้อมแห่งทักขิไณยบุคคล(บุคคลผู้ควรรับทักษิณา) กุลบุตร
ผู้มีศรัทธาจึงประสพบุญมาก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะความพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนี้แล กุลบุตรผู้มี
ศรัทธาจึงประสพบุญมาก
สัมมุขีภาวสูตรที่ ๑ จบ

๒. ติฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่เป็นเหตุให้ทราบผู้มีศรัทธา
[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศรัทธาเลื่อมใสพึงทราบได้โดยฐานะ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๓. อัตถวสสูตร
๑. เป็นผู้ปรารถนาที่จะเห็นท่านผู้มีศีล
๒. เป็นผู้ปรารถนาที่จะฟังสัทธรรม
๓. เป็นผู้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มี
ฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน อยู่
ครองเรือน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศรัทธาเลื่อมใสพึงทราบได้โดยฐานะ ๓ ประการนี้แล
บุคคลผู้ปรารถนาจะเห็นท่านผู้มีศีล
ปรารถนาจะฟังสัทธรรม
กำจัดความตระหนี่อันเป็นมลทิน
บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้มีศรัทธา
ติฐานสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัตถวสสูตร
ว่าด้วยอำนาจประโยชน์
[๔๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ
จึงควรแสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่น
อำนาจประโยชน์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้แสดงธรรม๑รู้แจ้งอรรถ๒และรู้แจ้งธรรม๓
๒. บุคคลผู้ฟังธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
๓. บุคคลผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมทั้ง ๒ ฝ่าย รู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๓ ประการนี้แลจึงควร
แสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่น
อัตถวสสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๕. ปัณฑิตสูตร

๔. กถาปวัตติสูตร
ว่าด้วยเหตุให้การสนทนาดำเนินไปได้
[๔๔] ภิกษุทั้งหลาย การสนทนาดำเนินไปได้ด้วยฐานะ๑ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้แสดงธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
๒. บุคคลผู้ฟังธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
๓. บุคคลผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมทั้ง ๒ ฝ่ายรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
ภิกษุทั้งหลาย การสนทนาดำเนินไปได้ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
กถาปวัตติสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปัณฑิตสูตร
ว่าด้วยกรรมที่บัณฑิตบัญญัติไว้
[๔๕] ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๓ ประการนี้บัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้
กรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทาน(การให้) ๒. ปัพพัชชา(การถือบวช)
๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา)
กรรม ๓ ประการนี้แลบัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้
ทาน อหิงสา(ความไม่เบียดเบียน)
สัญญมะ(ความสำรวม) ทมะ(การฝึกฝน)
มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา)
เป็นสิ่งที่สัตบุรุษบัญญัติไว้

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๗. สังขตลักขณสูตร
คุณธรรมเหล่านี้เป็นฐานะของสัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบ
เป็นพรหมจารีบุคคลซึ่งบัณฑิตควรเสพ
บัณฑิตนั้นเป็นอริยบุคคลผู้มีทัสสนะสมบูรณ์๑
เข้าถึงโลกอันเกษม๒ได้
ปัณฑิตสูตรที่ ๕ จบ

๖. สีลวันตสูตร
ว่าด้วยบรรพชิตผู้มีศีล
[๔๖] ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีล เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่
มนุษย์ทั้งหลายในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ย่อมประสพบุญมากด้วยฐานะ๓ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กาย ๒. วาจา ๓. ใจ
ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่ มนุษย์
ทั้งหลายในหมู่บ้านหรือตำบลนั้นย่อมประสพบุญมากด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
สีลวันตสูตรที่ ๖ จบ

๗. สังขตลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
[๔๗] ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม(ลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
แห่งธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ๓ ประการนี้

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๙. ปัพพตราชสูตร
สังเขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเกิดขึ้นปรากฏ ๒. ความดับสลายปรากฏ
๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปร๑ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล
สังขตลักขณสูตรที่ ๗ จบ

๘. อสังขตลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม(ลักษณะที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งแห่งธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ๓ ประการนี้
อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเกิดขึ้นไม่ปรากฏ
๒. ความดับสลายไม่ปรากฏ
๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปรไม่ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล
อสังขตลักขณสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปัพพตราชสูตร
ว่าด้วยขุนเขาหิมพานต์
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ย่อมงอกงามด้วยความ
เจริญ ๓ ประการ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๙. ปัพพตราชสูตร
ความเจริญ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กิ่ง ใบแก่ และใบอ่อน ๒. เปลือกและสะเก็ด
๓. กระพี้และแก่น
ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ย่อมงอกงามด้วยความเจริญ ๓ ประการนี้
ฉันใด
ชนภายในอาศัยพ่อบ้านผู้มีศรัทธาย่อมงอกงามด้วยความเจริญ ๓ ประการ
ฉันนั้นเหมือนกัน
ความเจริญ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศรัทธา ๒. ศีล ๓. ปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ชนภายในอาศัยพ่อบ้านผู้มีศรัทธาย่อมงอกงามด้วยความเจริญ
๓ ประการนี้
ภูเขาหินมีอยู่ในป่าใหญ่
หมู่ไม้เหล่านั้นอาศัยภูเขานั้น
เจริญงอกงามเติบโตในป่า แม้ฉันใด
บุตร ภรรยา พวกพ้อง อำมาตย์ หมู่ญาติ
และชนผู้อาศัยเขาเลี้ยงชีพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อาศัยพ่อบ้านผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมงอกงามในโลกนี้
ชนผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง เห็นศีล
จาคะ(ความเสียสละ) และสุจริต(ความประพฤติดี)
ของพ่อบ้านผู้มีศีลนั้นแล้วย่อมทำตาม
บุคคลประพฤติธรรมซึ่งเป็นทางนำสัตว์ไปสู่สุคติ
ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้สมปรารถนา
ย่อมบันเทิงในเทวโลก
ปัพพตราชสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๑๑. มหาโจรสูตร

๑๐. อาตัปปกรณียสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ทำความเพียร
[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทำความเพียรด้วยฐานะ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
๒. เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
๓. เพื่อความอดกลั้นเวทนาทั้งหลาย อันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้ว เป็น
ทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต
บุคคลควรทำความเพียรด้วยฐานะ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุทำความเพียรเพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งบาป
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความ
อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด
เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต ในกาลนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า มี
ความเพียร มีปัญญารักษาตน มีสติเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
อาตัปปกรณียสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. มหาโจรสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมหาโจร
[๕๑] ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ย่อมงัดแงะบ้าง
ทำการปล้นบ้าง ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
มหาโจรในโลกนี้
๑. อาศัยที่ขรุขระ ๒. อาศัยป่ารก
๓. อาศัยผู้มีอิทธิพล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๑๑. มหาโจรสูตร
มหาโจรอาศัยที่ขรุขระ เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยเกาะแก่งแห่งแม่น้ำหรือที่ขรุขระแห่งภูเขา มหาโจร
อาศัยที่ขรุขระ เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยป่ารกด้วยหญ้าบ้าง ป่ารกด้วยต้นไม้บ้าง ป่าที่มี
แนวป้องกันบ้าง แนวป่าใหญ่บ้าง มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เขาคิด
อย่างนี้ว่า “ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา
เหล่านี้ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา” ถ้าใครกล่าวหาอะไรมหาโจรนั้น พระราชา
หรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้นต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเขา มหาโจรอาศัยผู้
มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นประการนี้แล ย่อมงัดแงะบ้าง ทำการ
ปล้นบ้าง ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง ฉันใด
ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมบริหารตนให้
ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็น
อันมาก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้
๑. อาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา ๒. อาศัยกรรมที่เร้นลับ
๓. อาศัยผู้มีอิทธิพล
ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ไม่ตรง
ไปตรงมา ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ๑ ภิกษุ
ชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ภิกษุ
นั้นคิดอย่างนี้ว่า “ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระ
ราชาเหล่านี้ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา” ถ้าใครว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น พระราชา
หรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้นต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเธอ ภิกษุชั่วอาศัยผู้
มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูก
ทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
มหาโจรสูตรที่ ๑๑ จบ
จูฬวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัมมุขีภาวสูตร ๒. ติฐานสูตร
๓. อัตถวสสูตร ๔. กถาปวัตติสูตร
๕. ปัณฑิตสูตร ๖. สีลวันตสูตร
๗. สังขตลักขณสูตร ๘. อสังขตลักขณสูตร
๙. ปัพพตราชสูตร ๑๐. อาตัปปกรณียสูตร
๑๑. มหาโจรสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๑. ปฐมเทวพราหมณสูตร

๒. ทุติยปัณณาสก์

๑. พราหมณวรรค
หมวดว่าด้วยพราหมณ์
๑. ปฐมเทวพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์แก่ ๒ คน สูตรที่ ๑
[๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์ ๒ คน เป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่
ผู้ล่วงกาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่
สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นพราหมณ์แก่ ผู่เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วง
กาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี พวกข้าพเจ้านั้นไม่ได้ทำความดีไว้ ไม่
ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ ขอท่านพระโคดมทรงว่ากล่าวพวก
ข้าพเจ้า ขอท่านพระโคดมทรงสั่งสอนพวกข้าพเจ้าเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวก
ข้าพเจ้าตลอดกาลนานเถิด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ทั้งหลาย ที่แท้พวกท่านเป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี พวกท่านนั้นไม่ได้ทำความดีไว้
ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ โลกนี้ถูกชรา(ความแก่) พยาธิ(ความ
เจ็บ) และมรณะ(ความตาย)ร้อยรัดไว้ เมื่อโลกถูกชรา พยาธิ และมรณะร้อยรัดไว้
อย่างนี้ ความสำรวมทางกาย วาจา และใจในโลกนี้จะเป็นเครื่องต้านทาน เป็นที่เร้น
เป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึกและเป็นที่ยึดเหนี่ยวของผู้ตายไปแล้ว
ชีวิตถูกชรานำเข้าไปสู่ความมีอายุสั้น
ผู้ที่ถูกชรานำเข้าไปแล้วย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน
บุคคลเมื่อพิจารณาเห็นภัยนี้ในความตาย
ควรทำบุญที่นำสุขมาให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๒. ทุติยเทวพราหมณสูตร
ความสำรวมทางกาย วาจาและใจในโลกนี้
ย่อมมีเพื่อความสุขแก่บุคคลผู้ตายไปแล้ว
ซึ่งได้ทำบุญไว้ขณะเมื่อมีชีวิตอยู่
ปฐมเทวพราหมณสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยเทวพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์แก่ ๒ คน สูตรที่ ๒
[๕๓] ครั้งนั้นพราหมณ์ ๒ คน เป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย
นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาล
ผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี พวกข้าพเจ้านั้นไม่ได้ทำความดีไว้ ไม่ได้ทำกุศล
ไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ ขอท่านพระโคดมทรงว่ากล่าวพวกข้าพเจ้า ขอ
ท่านพระโคดมทรงสั่งสอนพวกข้าพเจ้าเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกข้าพเจ้า
ตลอดกาลนาน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ทั้งหลาย ที่แท้พวกท่านเป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี พวกท่านนั้น ไม่ได้ทำความดีไว้
ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ โลกนี้ถูกชรา พยาธิ และมรณะ
แผดเผาแล้ว เมื่อโลกถูกชรา พยาธิ และมรณะแผดเผาแล้วอย่างนี้ ความสำรวม
ทางกาย วาจา และใจในโลกนี้จะเป็นเครื่องต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึก
และเป็นที่ยึดเหนี่ยวของผู้ตายไปแล้ว
เมื่อเรือนถูกไฟไหม้
สิ่งของที่นำออกไปได้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เขา
สิ่งของที่ถูกไฟไหม้ในเรือนนั้น
ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่เขา ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๓. อัญญตรพราหมณสูตร
เมื่อโลกถูกชราและมรณะแผดเผาแล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลควรนำออกมาด้วยการให้
สิ่งที่ให้แล้วชื่อว่านำออกไปดีแล้ว
ความสำรวมทางกาย วาจา และใจในโลกนี้
ย่อมมีเพื่อความสุขแก่บุคคลผู้ตายไปแล้ว
ซึ่งได้ทำบุญไว้ขณะเมื่อมีชีวิตอยู่
ทุติยเทวพราหมณสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัญญตรพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ผู้ทูลถามธรรมคุณ
[๕๔] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัย ฯลฯ พราหมณ์นั้นซึ่งนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็น
ชัดด้วยตนเอง พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง” ข้าแต่ท่าน
พระโคดม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ
มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียด เบียน
ทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็น
ชัดด้วยตนเอง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๖ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๔. ปริพพาชกสูตร
ทางใจบ้าง เมื่อละโทสะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระ
ธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกข-
โทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิด
เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ
พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เป็นอย่างนี้แล
พราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
อัญญตรพราหมณสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปริพพาชกสูตร
ว่าด้วยปริพาชกผู้ทูลถามธรรมคุณ
[๕๕] ครั้งนั้น พราหมณ์ปริพาชกคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ พราหมณ์ปริพาชกนั้นซึ่งนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็น
ชัดด้วยตนเอง พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง” ข้าแต่ท่าน
พระโคดม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้
เฉพาะตน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิต
ถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๗ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๔. ปริพพาชกสูตร
เบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว เขา
ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ
บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงถึงประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงถึงประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น
และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ฯลฯ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีโทสะ ฯลฯ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง
๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่
เสวยทุกขโทมนัสทางใจ
บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริงถึงประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เมื่อ
ละโมหะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงถึงประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และ
ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้
เฉพาะตน เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๕. นิพพุตสูตร
พราหมณ์ปริพาชกนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่าน
พระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ปริพพาชกสูตรที่ ๔ จบ

๕. นิพพุตสูตร
ว่าด้วยพระนิพพาน
[๕๖] ครั้งนั้น ชานุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ชานุสโสณิพราหมณ์ซึ่งนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่า “พระนิพพานเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติ
จะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง พระนิพพานเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วย
ตนเอง” ข้าแต่ท่านพระโคดม ด้วยเหตุเพียงไรหนอ พระนิพพานจึงชื่อว่าเป็น
สภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มี
จิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียด
เบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีโทสะ ฯลฯ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง
๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่
เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง เป็นอย่างนี้แล
ในกาลใด บุคคลนี้เสวยธรรมเป็นที่สิ้นราคะอันไม่มีส่วนเหลือ เสวยธรรมเป็น
ที่สิ้นโทสะอันไม่มีส่วนเหลือ เสวยธรรมเป็นที่สิ้นโมหะอันไม่มีส่วนเหลือ ในกาลนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๙ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๖. ปโลกสูตร
พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วย
กาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ชานุสโสณิพราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่าน
พระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
นิพพุตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปโลกสูตร
ว่าด้วยเหตุทำให้จำนวนมนุษย์มีน้อยลง
[๕๗] ครั้งนั้น พราหมณ์มหาศาลคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ฯลฯ พราหมณ์มหาศาลนั้นนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ฟังมาแต่พราหมณ์ผู้เป็นบรรพบุรุษ ผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นอาจารย์ของอาจารย์ซึ่งกล่าวอยู่ว่า ทราบมาว่า ใน
กาลก่อน โลกนี้หนาแน่นไปด้วยมนุษย์เหมือนอเวจีมหานรก หมู่บ้าน ตำบล ชนบท
และเมืองหลวง มีทุกระยะไก่บินตก ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบล
ก็ไม่เป็นตำบล แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ มนุษย์ทุกวันนี้ยินดีด้วยความยินดี
ที่ไม่ชอบธรรม๑ ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอ๒ครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด๓
มนุษย์เหล่านั้นยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอ
ครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด ต่างหยิบฉวยศัสตราวุธอันคมเข่นฆ่ากันและกัน

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร
เพราะเหตุนั้น มนุษย์จึงล้มตายเป็นจำนวนมาก นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้มนุษย์
ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบลก็ไม่เป็นตำบล
แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท
มนุษย์ทุกวันนี้ยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอ
ครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด เมื่อมนุษย์เหล่านั้นยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบ
ธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด ฝนย่อมไม่ตกตาม
ฤดูกาล เพราะเหตุนั้นจึงมีภิกษาหาได้ยาก ข้าวกล้าเสียหายเป็นเพลี้ยหนอน เหลือ
แต่ก้าน เพราะเหตุนั้น มนุษย์จึงล้มตายเป็นจำนวนมาก แม้นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบลก็ไม่
เป็นตำบล แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท
อีกประการหนึ่ง มนุษย์ทุกวันนี้ยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความ
โลภที่ไม่สม่ำเสมอครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด เมื่อมนุษย์เหล่านั้นยินดีด้วย
ความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอครอบงำ ประกอบด้วยธรรม
ผิด พวกยักษ์จึงปล่อยอมนุษย์ที่ร้ายกาจไว้(บนพื้นโลก) เพราะเหตุนั้น มนุษย์จึงล้ม
ตายเป็นจำนวนมาก แม้นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่
น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบลก็ไม่เป็นตำบล แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง
แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท
พราหมณ์มหาศาลนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระ
โคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ปโลกสูตรที่ ๖ จบ

๗. วัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าวัจฉโคตร
[๕๘] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๒๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร
ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า
“พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่ชนเหล่าอื่น พึงให้ทานแก่สาวกของเรา
เท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่สาวกของชนเหล่าอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นจึงมีผลมาก
ทานที่ให้แก่ชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นจึงมีผลมาก
ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก” ข้าแต่ท่านพระโคดม ชนเหล่าใด
กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า “พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่พึงให้
ทานแก่ชนเหล่าอื่น พึงให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่สาวกของ
ชนเหล่าอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่ชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก
ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มี
ผลมาก” ชนเหล่านั้นชื่อว่าพูดตามที่ท่านพระโคดมตรัส ไม่กล่าวตู่ท่านพระโคดม
ด้วยคำที่ไม่จริง และชื่อว่ากล่าวธรรมตามสมควรแก่ธรรม ก็การคล้อยตามคำพูดที่
ชอบธรรมบางอย่าง ย่อมไม่ถึงฐานะที่น่าติเตียนบ้างหรือ เพราะข้าพเจ้าทั้งหลายไม่
ประสงค์จะกล่าวตู่ท่านพระโคดม
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า วัจฉะ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม
ตรัสอย่างนี้ว่า พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ฯลฯ ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มี
ผลมาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่พูดตามที่เราพูด และชนเหล่านั้นชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วย
คำที่ไม่ดี ไม่เป็นจริง วัจฉะ ผู้ใดห้ามบุคคลอื่นที่ให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตราย
แก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง
วัตถุ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ทำอันตรายแก่บุญของทายก(ผู้ให้)
๒. ทำอันตรายแก่ลาภของปฏิคาหก(ผู้รับ)
๓. ในเบื้องต้น ตัวเขาเองย่อมถูกกำจัดและถูกทำลาย
วัจฉะ ผู้ใดห้ามบุคคลอื่นที่ให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง
เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง
แต่เราเองกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ใดเทน้ำล้างภาชนะหรือน้ำล้างขันลงที่หมู่สัตว์ซึ่ง
อาศัยอยู่ที่บ่อน้ำครำหรือที่บ่อโสโครกด้วยตั้งใจว่า หมู่สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นจงเลี้ยง
ชีพด้วยน้ำล้างภาชนะเป็นต้นนั้น เรากล่าวกรรมที่มีการเทน้ำล้างภาชนะเป็นต้นเหตุ
ว่า เป็นที่มาแห่งบุญ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงในหมู่มนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๒๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร
อีกประการหนึ่ง เรากล่าวถึงทานที่ให้แก่ผู้มีศีลว่า มีผลมาก ทานที่ให้แก่ผู้
ทุศีลย่อมไม่เป็นอย่างนั้น เพราะท่านผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕
ท่านผู้มีศีลนั้นละองค์ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย)
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
ท่านผู้มีศีลละองค์ ๕ นี้
ท่านผู้มีศีลประกอบด้วยองค์ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. สีลขันธ์(กองศีล)ที่เป็นอเสขะ๑
๒. สมาธิขันธ์(กองสมาธิ)ที่เป็นอเสขะ
๓. ปัญญาขันธ์(กองปัญญา)ที่เป็นอเสขะ
๔. วิมุตติขันธ์(กองวิมุตติ)ที่เป็นอเสขะ
๕. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์๒ (กองวิมุตติญาณทัสสนะ)ที่เป็นอเสขะ
ท่านผู้มีศีลประกอบด้วยองค์ ๕ นี้
เรากล่าวว่า ทานที่ให้ในท่านผู้มีศีลที่ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมมี
ผลมากด้วยประการฉะนี้
โคผู้ที่ฝึกแล้วเป็นโคใช้งานที่สมบูรณ์ด้วยกำลัง
มีเชาว์ดี และเป็นสัตว์ที่ซื่อตรง
จะเกิดในสีสันใด ๆ คือ สีดำ สีขาว สีแดง
สีเขียว สีด่าง สีตามธรรมชาติของตน

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร
สีเหมือนโคธรรมดา หรือสีเหมือนนกพิราบก็ตาม
ชนทั้งหลายเทียมมันเข้าในแอก
ไม่คำนึงถึงสีสันของมัน ฉันใด
ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว มีความประพฤติดีงาม
ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล พูดแต่คำสัตย์
มีใจประกอบด้วยหิริ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จะเกิดในหมู่มนุษย์ชาติใด ๆ คือ กษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะก็ตาม
ก็ละความเกิดและความตายได้
มีพรหมจรรย์บริบูรณ์ ปลงภาระได้แล้ว
ไม่ประกอบด้วยกิเลส ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ รู้จบธรรมทุกอย่าง๑
ดับสนิทเพราะไม่ถือมั่น
ในเขตที่ปราศจากธุลี ๒เช่นนั้นแล ทักษิณาย่อมมีผลมาก
คนพาลไม่รู้แจ้ง๓ ไม่มีปัญญา ไม่ได้สดับรับฟัง
ย่อมให้ทานภายนอก๔ ไม่เข้าไปหาสัตบุรุษ
ส่วนเหล่าชนผู้มีศรัทธาหยั่งลงตั้งมั่นในพระสุคต
ย่อมเข้าไปหาสัตบุรุษผู้มีปัญญา
ที่เขายกย่องกันว่าเป็นนักปราชญ์
ท่านเหล่านั้นผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไปสู่เทวโลก
หรือไม่ก็เกิดในตระกูลดีในโลกนี้
และบรรลุนิพพานได้โดยลำดับ
วัจฉโคตตสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๘. ติกัณณสูตร

๘. ติกัณณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อติกัณณะ
[๕๙] ครั้งนั้น ติกัณณพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กล่าวสรรเสริญคุณของพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค
ว่า “พราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ เป็นอย่างนี้ พราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ เป็นอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์
ว่าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นอย่างไร”
ติกัณณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ในโลกนี้
เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่ว
บรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล เป็นผู้คงแก่เรียน
ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท๑ พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์๒ เกฏุภศาสตร์๓ อักษรศาสตร์
และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์๔ และลักษณะ
มหาบุรุษ ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ว่าเป็นผู้ได้
วิชชา ๓ เป็นอย่างนี้แล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ว่าเป็นผู้ได้
วิชชา ๓ เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง”
ติกัณณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัย
เป็นอย่างไร ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดมแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าอย่างที่
ผู้ได้วิชชา ๓ มีในอริยวินัย

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๘. ติกัณณสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ติกัณณพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่อง
นี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๒ เป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่อ
อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจาก
ภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้
ภิกษุนั้นระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เธอ
ได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้ ความมืดมิด๓คืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๘. ติกัณณสูตร
วิชชา๑ ได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร อุทิศกายและใจ
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่ผู้สัตว์กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้าย
พระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด พวกเขา หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต
วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้
ทำตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” เธอ
เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิด
ไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้
เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ ความมืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือ
วิชชา๒ ได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร อุทิศกายและใจ
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์)
นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)”
“นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย(เหตุเกิดอาสวะ) นี้อาสวนิโรธ(ความดับอาสวะ) นี้อาสว-
นิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ)” เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิต
ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๘. ติกัณณสูตร
หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จ
แล้ว๑ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป๒” ได้บรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ ความ
มืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชา๓ ได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบ
เหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
จิตของพระโคดมพระองค์ใด
ผู้มีศีลไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ
มีปัญญาและมีความเพ่งพินิจ
เป็นจิตมีความชำนาญแน่วแน่ เป็นสมาธิดี
พระโคดมพระองค์นั้น
บัณฑิตกล่าวว่าบรรเทาความมืดได้
เป็นนักปราชญ์ ได้วิชชา ๓ ละทิ้งมัจจุราช
เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ ละบาปธรรมได้ทุกอย่าง
สาวกทั้งหลายย่อมนมัสการพระโคดมพระองค์นั้น
ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชา ๓ ไม่ลุ่มหลง
เป็นพระพุทธเจ้ามีสรีระเป็นชาติสุดท้าย
บุคคลใดรู้แจ้งปุพเพนิวาสญาณ เห็นทั้งสวรรค์
และอบาย บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นความเกิด เป็นมุนี
อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง เป็นพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓
โดยวิชชา ๓ นี้ เราเรียกบุคคลนั้นว่าได้วิชชา ๓
ไม่เรียกบุคคลอื่นว่าได้วิชชา ๓ ตามที่ผู้อื่นเรียกกัน
พราหมณ์ ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอย่างนี้แล

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๙. ชานุสโสณิสูตร
ติกัณณพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวก
พราหมณ์เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง ข้าแต่
ท่านพระโคดม ก็ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวกพราหมณ์มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของผู้ได้
วิชชา ๓ ในอริยวินัยนี้
ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอ
ท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต
ติกัณณสูตรที่ ๘ จบ

๙. ชานุสโสณิสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อว่าชานุสโสณิ
[๖๐] ครั้งนั้น ชานุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ชานุสโสณิพราหมณ์นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ใดมียัญ๑ มีสิ่งที่พึงให้ด้วยศรัทธา๒ มีอาหารที่พึงให้
แก่บุคคลอื่น หรือมีไทยธรรม ผู้นั้นควรให้ทานในพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์
ว่าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นอย่างไร”
ชานุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ในโลกนี้เป็น
ผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่ว
บรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิโดยการอ้างถึงชาติตระกูลได้ เป็นผู้คงแก่เรียน
ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์
และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะ
มหาบุรุษ ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ว่าเป็นผู้ได้วิชชา
๓ เป็นอย่างนี้แล”

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น