Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๑-๖ หน้า ๒๑๙ - ๒๖๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑-๖ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค ๙.ภิกขุนีสูตร
๑. ความเป็นผู้มีราคะหนา
๒. ความเป็นผู้มีโทสะหนา
๓. ความเป็นผู้มีโมหะหนา
๔. ไม่มีปัญญาจักษุ๑ในเรื่องที่ควรและไม่ควรอันลึกซึ้ง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม พิจารณาเห็นธรรม ๔
ประการนี้อยู่ในตน พึงแน่ใจได้ว่า จะเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะการมี
ธรรม ๔ ประการอยู่ในตนนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีความเสื่อม
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม พิจารณาเห็นธรรม ๔
ประการอยู่ในตน พึงแน่ใจได้ว่า จะไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะการมีธรรม
๔ ประการอยู่ในตนนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ไม่มีความเสื่อม
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีราคะเบาบาง
๒. ความเป็นผู้มีโทสะเบาบาง
๓. ความเป็นผู้มีโมหะเบาบาง
๔. มีปัญญาจักษุในเรื่องที่ควรและไม่ควรอันลึกซึ้ง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม พิจารณาเห็นธรรม ๔
ประการนี้อยู่ในตน พึงแน่ใจได้ว่า ไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะการมีธรรม
๔ ประการอยู่ในตนนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ไม่มีความเสื่อม
ปริหานิสูตรที่ ๘ จบ

๙. ภิกขุนีสูตร
ว่าด้วยภิกษุณี
[๑๕๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
ภิกษุณีรูปหนึ่ง เรียกชายคนหนึ่งมาบอกว่า “พ่อหนุ่มผู้เจริญ มานี่ ท่านจงเข้าไปหา
พระคุณเจ้าอานนท์ถึงที่อยู่ กราบเท้าท่านด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา เรียนว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค ๙.ภิกขุนีสูตร
‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุณีชื่อนี้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นางขอกราบเท้า
พระคุณเจ้าอานนท์’ และจงเรียนอย่างนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส ขอ
พระคุณเจ้าอานนท์ได้โปรดอนุเคราะห์เข้าไปหาภิกษุณีนั้นยังสำนักของภิกษุณีด้วยเถิด”
บุรุษนั้นรับคำแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้เรียนท่านพระอานนท์ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุณีชื่อนี้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นางขอกราบเท้า
พระคุณเจ้าอานนท์ด้วยเศียรเกล้า” และเรียนอย่างนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอ
โอกาส ขอพระคุณเจ้าอานนท์ได้โปรดอนุเคราะห์ เข้าไปหาภิกษุณีนั้นยังสำนักของ
ภิกษุณีด้วยเถิด”
ท่านพระอานนท์รับโดยดุษณีภาพ
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร๑ เข้าไปหา
ภิกษุณีนั้นยังสำนักของภิกษุณี ภิกษุณีนั้นเห็นท่านพระอานนท์มาแต่ไกล นอนคลุม
ศีรษะอยู่บนเตียง
ลำดับนั้น ในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์เข้าไปหาภิกษุณีนั้นถึงที่อยู่ นั่งบน
อาสนะที่ปูลาดไว้ ได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า
“น้องหญิง กายนี้เกิดขึ้นเพราะอาหาร บุคคลอาศัยอาหาร๒แล้วพึงละอาหาร๓เสีย
กายนี้เกิดขึ้นเพราะตัณหา บุคคลอาศัยตัณหา๔แล้วพึงละตัณหา๕เสีย กายนี้เกิดขึ้น
เพราะมานะ บุคคลอาศัยมานะแล้วพึงละมานะเสีย กายนี้เกิดขึ้นเพราะเมถุนและการ
ฆ่าปัจจัยแห่งเมถุนด้วยอริยมรรค พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค ๙.ภิกขุนีสูตร
น้องหญิง เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘กายนี้เกิดขึ้นเพราะอาหาร บุคคล
อาศัยอาหารแล้วพึงละอาหารเสีย‘ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
น้องหญิง ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น
ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่ฉันเพียงเพื่อความดำรงอยู่
ได้แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์โดยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่าและจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา’ เธออาศัย
อาหารแล้วภายหลังจึงละอาหารเสียได้
น้องหญิง ข้อที่เรากล่าวว่า ‘กายนี้เกิดขึ้นเพราะอาหาร บุคคลอาศัย
อาหารแล้วพึงละอาหารเสีย‘ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
น้องหญิง เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘กายนี้เกิดขึ้นเพราะตัณหา บุคคลอาศัย
ตัณหาแล้วพึงละตัณหาเสีย‘ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น น้องหญิง
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ฟังข่าวว่า ‘ภิกษุชื่อนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑ ปัญญาวิมุตติ๒อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อไรหนอ แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เธออาศัยตัณหา
แล้วภายหลังจึงละตัณหาเสียได้
น้องหญิง ข้อที่เรากล่าวว่า ‘กายนี้เกิดขึ้นเพราะตัณหา บุคคลอาศัย
ตัณหาแล้วพึงละตัณหาเสีย‘ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
น้องหญิง เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘กายนี้เกิดขึ้นเพราะมานะ บุคคลอาศัย
มานะแล้วพึงละมานะเสีย‘ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น น้องหญิง
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ฟังข่าวว่า ‘ภิกษุชื่อนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘ก็ท่านผู้มีอายุนั้นทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ไฉนเราจักทำให้แจ้ง
บ้างไม่ได้’ เธออาศัยมานะแล้วภายหลังจึงละมานะเสียได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค ๑๐.สุคตวินยสูตร
น้องหญิง ข้อที่เรากล่าวว่า ‘กายนี้เกิดขึ้นเพราะมานะ บุคคลอาศัยมานะ
แล้วพึงละมานะเสีย‘ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
น้องหญิง กายนี้เกิดขึ้นเพราะเมถุนและการฆ่าปัจจัยแห่งเมถุนด้วยอริยมรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว”
ลำดับนั้นแล ภิกษุณีนั้นลุกจากเตียง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง หมอบลง
แทบเท้าของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า ได้เรียนท่านพระอานนท์ว่า “ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ดิฉันเป็นคนเขลา คนหลง ไม่ฉลาด ได้ล่วงเกินไปแล้ว ขอพระคุณเจ้า
อานนท์โปรดยกโทษให้ดิฉันผู้ทำอย่างนี้ เพื่อให้สำรวมระวังต่อไป”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ช่างเถอะ น้องหญิง เธอเป็นคนเขลา คนหลง
ไม่ฉลาด จึงได้ล่วงเกินไปแล้ว เมื่อเธอผู้ทำอย่างนี้ เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว
ทำคืนตามธรรม เรายกโทษให้เธอ น้องหญิง การที่บุคคลเห็นโทษแล้วทำคืนตาม
ธรรม สำรวมระวังต่อไปนี้เป็นความเจริญในอริยวินัย”
ภิกขุนีสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สุคตวินยสูตร
ว่าด้วยพระสุคตและวินัยของพระสุคต
[๑๖๐] ภิกษุทั้งหลาย พระสุคต๑หรือวินัยของพระสุคต เมื่อดำรงอยู่ในโลก
พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก๒ เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระสุคต คือใคร
คือ ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค ๑๐.สุคตวินยสูตร
ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค๑ ภิกษุทั้งหลาย นี้คือพระสุคต
วินัยของพระสุคต เป็นอย่างไร
คือ พระสุคตนั้นย่อมทรงแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามใน
ท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและ
พยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวินัยของพระสุคต
ภิกษุทั้งหลาย พระสุคตหรือวินัยของพระสุคต เมื่อดำรงอยู่ในโลกอย่างนี้
พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลคนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๔ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. เล่าเรียนสูตรที่เล่าเรียนกันมาผิดลำดับโดยบทพยัญชนะที่ สืบทอด
กันมาไม่ดี๒ แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี ก็เป็น
การสืบทอดขยายความไม่ดี นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ ย่อมเป็นไป
เพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
๒. เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมเครื่องทำความเป็นผู้ว่ายาก ไม่
อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรมประการที่ ๒
ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
๓. เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์๓ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ไม่
ถ่ายทอดสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป สูตร
ก็ขาดรากฐาน ไม่มีที่พึ่งอาศัย นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค ๑๐.สุคตวินยสูตร
๔. เป็นเถระ เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำในโอกกมน-
ธรรม๑ ทอดธุระ๒ในปวิเวก๓ ไม่ปรารภความเพียร๔ เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง
ไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่างภิกษุผู้เป็นเถระ
เหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน
เป็นผู้นำในโอกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความ
เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ย่อม
เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไป
แห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. เล่าเรียนสูตรที่เล่าเรียนกันมาดีโดยบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาดี
แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาดีก็เป็นการสืบทอดขยาย
ความดี นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น
ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๒. เป็นคนว่าง่าย ประกอบด้วยธรรรมเครื่องทำความเป็นผู้ว่าง่าย
อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ย่อม
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๓. เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ถ่ายทอดสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป
สูตรก็ไม่ขาดรากฐาน มีที่พึ่งอาศัย นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อม
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๔. เป็นเถระ เป็นผู้ไม่มักมาก เป็นผู้ไม่ย่อหย่อน หมดธุระใน
โอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง
ไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่างภิกษุผู้เป็นเถระ
เหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็เป็นผู้ไม่มักมาก เป็นผู้ไม่ย่อหย่อน
หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่
เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
สุคตวินยสูตรที่ ๑๐ จบ
อินทริยวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อินทริยสูตร ๒. สัทธาพลสูตร
๓. ปัญญาพลสูตร ๔. สติพลสูตร
๕. ปฏิสังขานพลสูตร ๖. กัปปสูตร
๗. โรคสูตร ๘. ปริหานิสูตร
๙. ภิกขุนีสูตร ๑๐. สุคตวินยสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๒.วิตถารสูตร

๒. ปฏิปทาวรรค
หมวดว่าด้วยปฏิปทา
๑. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาโดยย่อ
[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔๑ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากและรู้ได้ช้า)
๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว)
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า)
๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกและรู้ได้เร็ว)
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
สังขิตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิตถารสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาโดยพิสดาร
[๑๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โดยปกติเป็นคนมีราคะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากราคะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโทสะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโทสะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๒.วิตถารสูตร
ที่เกิดจากโมหะเป็นประจำบ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์๑ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์
๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โดยปกติเป็นคนมีราคะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากราคะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโทสะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโทสะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโมหะเป็นประจำบ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์
๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า
ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โดยปกติเป็นคนไม่มีราคะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากราคะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนไม่มีโทสะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโทสะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนไม่มีโมหะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโมหะเป็นประจำบ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕
ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๓.อสุภสูตร
สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โดยปกติเป็นคนไม่มีราคะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากราคะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนไม่มีโทสะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโทสะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนไม่มีโมหะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโมหะเป็นประจำบ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏแก่กล้าเพราะอินทรีย์
๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า
สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
วิตถารสูตรที่ ๒ จบ

๓. อสุภสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็นความไม่งามในกาย
[๑๖๓] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญา (ความจำได้
หมายรู้)ว่าปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีภายใน เธอเข้าไปอาศัย
เสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา) หิริพละ (กำลังคือหิริ)
โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ) วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) ปัญญาพละ (กำลัง
คือปัญญา) และอินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ) สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ) สมาธินทรีย์ (อินทรีย์
คือสมาธิ) ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา) ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕
ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๓.อสุภสูตร
ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฏิกูล
ในอาหาร มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ในสังขารทั้งปวงอยู่ เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีภายใน เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕
ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอ
จึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุ
บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
“ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
อยู่ ภิกษุเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปป-
พละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์
๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๔. ปฐมขมสูตร
ไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการ
นี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ และอินทรีย์
๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงบรรลุ
คุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
อสุภสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมขมสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่อดทน สูตรที่ ๑
[๑๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อักขมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ไม่อดทน)
๒. ขมา ปฏิปทา๑ (ข้อปฏิบัติที่อดทน)
๓. ทมา ปฏิปทา๒ (ข้อปฏิบัติที่ข่มใจ)
๔. สมา ปฏิปทา๓ (ข้อปฏิบัติที่ระงับ)
อักขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ด่าโต้ตอบคนที่ด่า โกรธตอบคนที่โกรธ เถียงโต้
ตอบคนที่เถียง นี้เรียกว่า อักขมา ปฏิปทา
ขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ด่าโต้ตอบคนที่ด่า ไม่โกรธตอบคนที่โกรธ ไม่
เถียงโต้ตอบคนที่เถียง นี้เรียกว่า ขมา ปฏิปทา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๕.ทุติยขมสูตร
ทมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ๑ ไม่แยกถือ๒ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศล-
ธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวม
จักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความ
สำรวมในมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า
ทมา ปฏิปทา
สมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สงบ
ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดี
วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา
ทำให้สงบ ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า สมา ปฏิปทา
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
ปฐมขมสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยขมสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่อดทน สูตรที่ ๒
[๑๖๕] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อักขมา ปฏิปทา ๒. ขมา ปฏิปทา
๓. ทมา ปฏิปทา ๔. สมา ปฏิปทา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๕.ทุติยขมสูตร
อักขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว
กระหาย ต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน
ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ เป็นผู้ไม่อดกลั้นเวทนาทั้งหลาย อันมีในร่างกาย
ที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พราก
ชีวิต นี้เรียกว่า อักขมา ปฏิปทา
ขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว
กระหาย ต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน
ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ เป็นผู้อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกาย
ที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พราก
ชีวิต นี้เรียกว่า ขมา ปฏิปทา
ทมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า ทมา ปฏิปทา
สมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สงบ
ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดี
วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา
ทำให้สงบ ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า สมา ปฏิปทา
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
ทุติยขมสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๗.มหาโมคคัลลานสูตร

๖. อุภยสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่มีลักษณะเหมือนกันทั้ง ๒ ส่วน
[๑๖๖] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากและรู้ได้ช้า)
๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว)
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า)
๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกและรู้ได้เร็ว)
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต
กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำทั้ง ๒ ส่วน คือ ต่ำเพราะการปฏิบัติลำบากและต่ำเพราะรู้
ได้ช้า ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำทั้ง ๒ ส่วน
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต
กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะปฏิบัติลำบาก
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต
กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะรู้ได้ช้า
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต
กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติประณีตทั้ง ๒ ส่วน คือ ประณีตเพราะปฏิบัติสะดวกและ
ประณีตเพราะรู้ได้เร็ว ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติประณีตทั้ง ๒ ส่วน
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
อุภยสูตรที่ ๖ จบ

๗. มหาโมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นเหตุให้จิตของพระมหาโมคคัลลานะหลุดพ้น
[๑๖๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่
อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่
สมควร ได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๘. สารีปุตตสูตร
ท่านโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน จิตของท่านจึง
หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ท่านสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา๑ จิต
ของผมจึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
มหาโมคคัลลานสูตรที่ ๗ จบ

๘. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นเหตุให้จิตของพระสารีบุตรหลุดพ้น
[๑๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึง
ที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ
ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ท่านสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๙.สสังขารสูตร
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน จิตของท่านจึง
หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา๑ จิต
ของผมจึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
สารีปุตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. สสังขารสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน
[๑๖๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสสังขารปรินิพพายี๒ในปัจจุบัน
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๙.สสังขารสูตร
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอสังขารปรินิพพายี๑ในปัจจุบัน
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว
บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญา (ความจำ
ได้หมายรู้)ว่าปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณา
เห็นความไม่เที่ยงในสงสารทั้งปวงอยู่ เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีอยู่ภายใน เธอเข้า
ไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ
ปัญญาพละ และอินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏ
แก่กล้า เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีใน
ปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฏิกูล
ในอาหาร มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ในสงสารทั้งปวงอยู่ และเธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีภายใน เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ
๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ
แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึง
เป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว
เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะปีติจางคลายไป ภิกษมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๑๐.ยุคนัทธสูตร
ก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่๑ เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้
อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละย่อมปรากฏแก่กล้า
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่เพราะปีติจาง
คลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน
ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่๑ เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการ นี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่อินทรีย์ ๕ ประการ
นี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ย่อม
ปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี
หลังจากตายแล้ว บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
สสังขารสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ยุคนัทธสูตร
ว่าด้วยการเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
[๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ณ
ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีเปิดเผยการบรรลุ
อรหัตตผล ในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ ประการโดยประการทั้งปวง หรือมรรคใด
มรรคหนึ่งบรรดามรรค ๔ ประการนี้
ผู้ใดก็ตาม จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีเปิดเผยการบรรลุอรหัตตผลในสำนักของ
เราด้วยมรรค ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้า เมื่อเธอเจริญ
วิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้า มรรคย่อมเกิด เธอเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรค เมื่อเธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
ละสังโยชน์ได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นสุดไป
๒. ภิกษุเจริญสมถะอันมีวิปัสสนานำหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะอันมี
วิปัสสนานำหน้า มรรคย่อมเกิด เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นสุดไป
๓. ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะและ
วิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอเสพ เจริญ ทำให้มาก
ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อม
ละสังโยชน์ได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นสุดไป
๔. ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ในเวลาที่จิตตั้งมั่น สงบภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคก็เกิดขึ้นแก่เธอ เธอ
เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ ทำให้มาก
ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นสุดไป
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีเปิดเผยการบรรลุ
อรหัตตผลในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ ประการโดยประการทั้งปวง หรือมรรคใด
มรรคหนึ่งบรรดามรรค ๔ ประการนี้
ยุคนัทธสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฏิปทาวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังขิตตสูตร ๒. วิตถารสูตร
๓. อสุภสูตร ๔. ปฐมขมสูตร
๕. ทุติยขมสูตร ๖. อุภยสูตร
๗. มหาโมคคัลลานสูตร ๘. สารีปุตตสูตร
๙. สสังขารสูตร ๑๐. ยุคนัทธสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๑.เจตนาสูตร

๓. สัญเจตนิยวรรค
หมวดว่าด้วยความจงใจ
๑. เจตนาสูตร
ว่าด้วยเจตนา
[๑๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกาย๑มีอยู่ สุขทุกข์ภายใน
ย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนา๒เป็นเหตุ เมื่อวาจามีอยู่ สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น
เพราะวจีสัญเจตนาเป็นเหตุ หรือเมื่อใจมีอยู่ สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะ
มโนสัญเจตนาเป็นเหตุ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
บุคคลปรุงแต่งกายสังขาร๓อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
บุคคลอื่นปรุงแต่งกายสังขารของบุคคลนั้นอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคล
นั้นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ปรุงแต่งกายสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ปรุงแต่งกายสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลปรุงแต่งวจีสังขาร๔อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
บุคคลอื่นปรุงแต่งวจีสังขารของบุคคลนั้นอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคล
นั้นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ปรุงแต่งวจีสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ปรุงแต่งวจีสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๑.เจตนาสูตร
บุคคลปรุงแต่งมโนสังขาร๑อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
บุคคลอื่นปรุงแต่งมโนสังขารของบุคคลนั้นอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคล
นั้นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ปรุงแต่งมโนสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ปรุงแต่งมโนสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
อวิชชาย่อมตกไปตามธรรมเหล่านี้ แต่เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ
กายอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นจึงไม่มี วาจาอันเป็นปัจจัยให้
สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นจึงไม่มี ใจอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้น
แก่บุคคลนั้นจึงไม่มี เขต ฯลฯ วัตถุ ฯลฯ อายตนะ ฯลฯ อธิกรณะ๒อันเป็นปัจจัย
ให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น จึงไม่มี
ภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการ๓นี้
ความได้อัตภาพ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนดำเนินไป มิใช่สัญเจตนาของ
ผู้อื่นดำเนินไป
๒. ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป มิใช่สัญเจตนา
ของตนดำเนินไป
๓. ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนและสัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป
๔. ความได้อัตภาพที่มิใช่สัญเจตนาของตนและมิใช่สัญเจตนาของผู้
อื่นดำเนินไป
ภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้แล”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๑.เจตนาสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบชัดเนื้อความแห่งธรรมที่พระองค์ตรัส
ไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า บรรดาความได้อัตภาพ ๔ ประการนั้น ความได้
อัตภาพที่สัญเจตนาของตนดำเนินไป มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป นี้คือการจุติ
จากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น มีได้เพราะสัญเจตนาของตนเป็นเหตุ ความได้
อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป มิใช่สัญเจตนาของตนดำเนินไป นี้คือการจุติ
จากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น มีได้เพราะสัญเจตนาของผู้อื่นเป็นเหตุ ความได้
อัตภาพที่สัญเจตนาของตนและสัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป นี้คือการจุติจากกาย
นั้นของสัตว์เหล่านั้น มีได้เพราะสัญเจตนาของตนและสัญเจตนาของผู้อื่นเป็นเหตุ
ความได้อัตภาพที่มิใช่สัญเจตนาของตนและมิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไปนี้พึงเห็น
เทวดาพวกไหนที่ดำเนินไปด้วยอัตภาพนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร พึงเห็นเทวดาทั้งหลายผู้เข้าถึงชั้น
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอัตภาพนั้น”
ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็น
อย่างนี้ และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้จุติจากกายนั้นแล้วเป็น
อนาคามีผู้ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ยังละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ)ไม่ได้ แต่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ในปัจจุบัน
เขาชอบใจเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ติดใจเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น
และถึงความปลื้มใจกับเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานนั้น น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ชอบอยู่กับ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว
เป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๒.วิภัตติสูตร
บุคคลบางคนในโลกนี้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนฌานอยู่ในปัจจุบัน เขาชอบใจ พอใจเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นและถึง
ความปลื้มใจกับเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานนั้น น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ชอบอยู่กับ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้๑
สารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้จุติจากกายนั้นแล้ว
เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกใน
โลกนี้จุติจากกายนั้นแล้ว เป็นอนาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้”
เจตนาสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิภัตติสูตร
ว่าด้วยการจำแนกปฏิสัมภิทา
[๑๗๒] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ท่าน
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้งซึ่งอัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญา
แตกฉานในอรรถ๒) โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก๓ แสดง๔ บัญญัติ๕ กำหนด๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๒.วิภัตติสูตร
เปิดเผย๑ จำแนก๒ ทำให้ง่าย๓ซึ่งอัตถปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่าง ๆ ผู้มีความสงสัย
หรือเคลือบแคลงพึงถาม เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลาย
ผู้ทรงฉลาดดีในธรรมทั้งหลาย ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว
เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้ง ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)
โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่ายซึ่งธัมมปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่าง ๆ ผู้มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงพึงถาม
เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลาย ผู้ทรงฉลาดดีในธรรมทั้ง
หลาย ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว
เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้งนิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ)
โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำ
ให้ง่ายซึ่งนิรุตติปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่าง ๆ ผู้มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงพึงถาม
เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลายผู้ทรงฉลาดดีในธรรมทั้งหลาย
ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว
เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้งปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานใน
ปฏิภาณ) โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งปฏิภาณปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่าง ๆ ผู้มีความสงสัยหรือ
เคลือบแคลงพึงถาม เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลายผู้ทรง
ฉลาดดีในธรรมทั้งหลายประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว
วิภัตติสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๔.อานันทสูตร

๓. มหาโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระมหาโกฏฐิตะ
[๑๗๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ๑ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น๒
ยังมีอยู่หรือ๓”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะถามว่า “ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไป
ไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ๔”
“ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”
“ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น
ทั้งมีอยู่และไม่มีอยู่หรือ๕”
“ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”
“ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น
มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ๖”
“ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๔.อานันทสูตร
ท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า “เมื่อผมถามว่า ‘ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖
ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นยังมีอยู่หรือ’ ท่านตอบว่า ‘อย่ากล่าว
อย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ
อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะ
ผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นทั้งมีอยู่และไม่มีอยู่หรือ’
ท่านก็ตอบว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการ
ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นมีอยู่ก็มิใช่ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ’ ท่านก็ตอบว่า อย่า
กล่าวอย่างนั้น’ ก็คำที่ท่านกล่าวแล้วนี้จะทราบความหมายได้อย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวตอบว่า “ผู้มีอายุ เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ
๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นยังมีอยู่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่
ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือ
ด้วยวิราคะ อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคล
กล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นทั้งมีอยู่
และไม่มีอยู่หรือ ชื่อว่าคิดปรุงแต่สิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เพราะ
ผัสสายตนะ ๖ ประการ ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็
มิใช่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง ผู้มีอายุ ปปัญจธรรม๑(สิ่งที่คิด
ปรุงแต่ง) ย่อมดำเนินไปตราบเท่าที่ผัสสายตนะ ๖ ดำเนินไป ผัสสายตนะ ๖ ก็
ดำเนินไปตราบเท่าที่ปปัญจธรรมดำเนินไป ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการ
ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ปปัญจธรรมจึงดับสนิท ระงับไป”
มหาโกฏฐิตสูตรที่ ๓ จบ

๔. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๑๗๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๔.อานันทสูตร
“ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น
ยังมีอยู่หรือ”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”
ท่านพระอานนท์ถามว่า “เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วย
วิราคะ อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ”
“ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”
“ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น
ทั้งมีอยู่ และไม่มีอยู่หรือ”
“ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”
“ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น
มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ”
“ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “เมื่อผมถามว่า ‘ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖
ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นยังมีอยู่หรือ’ ท่านตอบว่า ‘อย่ากล่าว
อย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ
อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะ
ผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นทั้งมีอยู่และไม่มีอยู่หรือ’
ท่านก็ตอบว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการ
ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘อย่า
กล่าวอย่างนั้น’ ผู้มีอายุ ก็คำที่ท่านกล่าวแล้วนี้จะทราบความหมายได้อย่างไร”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า “ผู้มีอายุ เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ
๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นยังมีอยู่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่
ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วย
วิราคะ อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคล
กล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นทั้งมีอยู่
และไม่มีอยู่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เมื่อ
ผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นมีอยู่ก็มิใช่ไม่มีอยู่ก็มิใช่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๕.อุปวาณสูตร
ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง ท่านผู้มีอายุ ปปัญจธรรมย่อมดำเนินไป
ตราบเท่าที่ผัสสายตนะ ๖ ประการดำเนินไป ผัสสายตนะ ๖ ประการก็ดำเนินไป
ตราบเท่าที่ปปัญจธรรมดำเนินไป ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไป
ไม่เหลือด้วยวิราคะ ปปัญจธรรมจึงดับสนิท ระงับไป”
อานันทสูตรที่ ๔ จบ

๕. อุปวาณสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะ
[๑๗๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้
ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาหรือ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ไม่ใช่อย่างนี้”
ท่านพระอุปวาณะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วย
จรณะหรือ”
“ผู้มีอายุ ไม่ใช่อย่างนี้”
“ท่านสารีบุตร บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาและจรณะหรือ”
“ผู้มีอายุ ไม่ใช่อย่างนี้”
“ท่านสารีบุตร บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยเหตุนอกจากวิชชาและจรณะหรือ”
“ผู้มีอายุ ไม่ใช่อย่างนี้”
ท่านพระอุปวาณะกล่าวว่า “เมื่อผมถามว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาหรือ’ ท่านตอบว่า ‘ไม่ใช่อย่างนี้’ เมื่อผมถามว่า “บุคคลทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยจรณะหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘ไม่ใช่อย่างนี้’ เมื่อผมถามว่า
‘บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาและจรณะหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘ไม่ใช่อย่างนี้’
เมื่อผมถามว่า ‘บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยเหตุนอกจากวิชชาและจรณะหรือ’
ท่านก็ตอบว่า ‘ไม่ใช่อย่างนี้’ ผู้มีอายุ ก็บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๖. อายาจนสูตร
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาแล้ว ก็จัก
มีความยึดมั่นถือมั่นทำที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยจรณะแล้ว
ก็จักมีความยึดมั่นถือมั่นทำที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชา
และจรณะแล้ว ก็จักมีความยึดมั่นถือมั่นทำที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ด้วยเหตุนอกจากวิชชาและจรณะแล้ว ปุถุชนก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะ
ปุถุชนไม่มีวิชชาและจรณะ ผู้มีอายุ บุคคลผู้มีจรณะวิบัติย่อมไม่รู้ไม่เห็นตามความ
เป็นจริง บุคคลผู้ประกอบด้วยจรณะย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตาม
ความเป็นจริงย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”
อุปวาณสูตรที่ ๕ จบ

๖. อายาจนสูตร
ว่าด้วยความปรารถนาโดยชอบ
[๑๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘ขอให้เราเป็นเช่นกับพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด’ สารีบุตร
และโมคคัลลานะนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของภิกษุสาวกของเรา
ภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เราเป็น
เช่นกับภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณาเถิด’ ภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณา
นี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานแห่งภิกษุณีสาวิกาของเรา
อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เรา
เป็นเช่นกับจิตตคหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด’ จิตตคหบดีและหัตถก-
อุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานแห่งอุบาสกสาวกของเรา
อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ขอให้
เราเป็นเช่นกับอุบาสิกาขุชชุตตราและอุบาสิกาเวฬุกัณฏกีนันทมาตาเถิด’ อุบาสิกา
ขุชชุตตราและอุบาสิกาเวฬุกัณฏกีนันทมาตานี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของ
อุบาสิกาสาวิกาของเรา”
อายาจนสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๓. สัญเจตนิยวรรค ๗. ราหุลสูตร

๗. ราหุลสูตร
ว่าด้วยพระราหุล
[๑๗๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ราหุล ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ทั้งภายในและภายนอกเป็นแต่สักว่าปฐวีธาตุเท่านั้น
พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในปฐวีธาตุ
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ทั้งภายในและภายนอกก็เป็นแต่สักว่าอาโปธาตุเท่านั้น
พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในอาโปธาตุ
เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ทั้งภายในและภายนอกก็เป็นแต่สักว่าเตโชธาตุเท่านั้น พึง
เห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในเตโชธาตุ
วาโยธาตุ (ธาตุลม) ทั้งภายในและภายนอกก็เป็นแต่สักว่าวาโยธาตุเท่านั้น
พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในวาโยธาตุ
ราหุล เพราะพิจารณาเห็นว่า ในธาตุ ๔ นี้ ไม่มีอัตตา ไม่เกี่ยวกับอัตตา
ภิกษุนี้ชื่อว่าตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะ
ละมานะได้โดยชอบ”
ราหุลสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๘.ชัมพาลีสูตร

๘. ชัมพาลีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เปรียบด้วยบ่อน้ำใหญ่
[๑๗๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่
เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ๑ เมื่อเธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ
จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมไปในสักกายนิโรธ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นไม่พึงได้รับสักกายนิโรธ ภิกษุทั้งหลาย
บุรุษใช้มือที่เปื้อนยางเหนียวจับกิ่งไม้ มือของเธอพึงเกี่ยวจับติด
กับกิ่งไม้นั้นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโตวิมุตติอัน
สงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ เมื่อเธอ
มนสิการถึงสักกายนิโรธ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น
ไม่น้อมไปใน สักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นแลไม่พึงได้รับ
สักกายนิโรธ
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่
เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ จิต
ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น น้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อเป็น
เช่นนั้น ภิกษุนั้นพึงได้รับสักกายนิโรธ ภิกษุทั้งหลาย บุรุษใช้
มือที่สะอาดจับกิ่งไม้ มือของเธอไม่พึงเกี่ยวจับติดกิ่งไม้นั้นฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่าง
หนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการถึงสักกาย-
นิโรธ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น น้อมไปในสักกายนิโรธ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นแลพึงได้รับสักกายนิโรธ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๘.ชัมพาลีสูตร
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่
เธอมนสิการถึงการทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการถึงการทำลาย
อวิชชา จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมไปใน
การทำลายอวิชชา เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นไม่พึงได้รับการ
ทำลายอวิชชา ภิกษุทั้งหลาย บ่อน้ำใหญ่มีอายุหลายปี บุรุษ
ปิดทางไหลเข้าของบ่อน้ำนั้นเสียและเปิดทางไหลออกไว้ ทั้งฝนก็
ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนั้น บ่อน้ำใหญ่นั้นก็ไม่พึงมี
น้ำล้นขอบออกไปได้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโต-
วิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงการทำลาย
อวิชชา เมื่อเธอมนสิการถึงการทำลายอวิชชา จิตย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมไปในการทำลายอวิชชา เมื่อเป็น
เช่นนั้น ภิกษุนั้นแลไม่พึงได้รับการทำลายอวิชชา
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่
เธอมนสิการถึงการทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการถึงการทำลาย
อวิชชา จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น น้อมไปในการทำลาย
อวิชชา เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นพึงได้รับการทำลายอวิชชา
ภิกษุทั้งหลาย บ่อน้ำใหญ่มีอายุหลายปี บุรุษเปิดทางไหลเข้า
ของบ่อน้ำนั้นและปิดทางไหลออกไว้ ทั้งฝนก็ตกเพิ่มตามฤดูกาล
เมื่อเป็นเช่นนั้น บ่อน้ำใหญ่นั้นพึงมีน้ำล้นขอบออกไปได้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่าง
หนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงการทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการถึง
การทำลายอวิชชา จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น น้อมไปใน
การทำลายอวิชชา เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นแลพึงได้รับการทำลาย
อวิชชา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ชัมพาลีสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๙. นิพพานสูตร

๙. นิพพานสูตร
ว่าด้วยนิพพาน
[๑๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่นิพพาน
ในปัจจุบัน”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ไม่ทราบชัด
ตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นหานภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายเสื่อม)’ ไม่ทราบชัด
ตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นฐิติภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายดำรง)’ ไม่ทราบชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นวิเสสภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายวิเศษ)’ ไม่ทราบชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘นี้เป็นนิพเพธภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายชำแรกกิเลส)’ ท่านอานนท์
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่นิพพานในปัจจุบัน”
ท่านพระอานนท์ถามว่า “ท่านสารีบุตร อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวก
ในโลกนี้นิพพานในปัจจุบัน”
พระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ทราบชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นหานภาคิยสัญญา’ ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็น
ฐิติภาคิยสัญญา’ ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นวิเสสภาคิยสัญญา’ ทราบ
ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นนิพเพธภาคิยสัญญา’ ท่านอานนท์ นี้แลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้นิพพานในปัจจุบัน”
นิพพานสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๓. สัญเจตนิยวรรค ๑๐. มหาปเทสสูตร

๑๐. มหาปเทสสูตร๑
ว่าด้วยมหาปเทส
[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์๒ โภคนคร ณ
ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปเทส๓ ๔ ประการนี้ เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องว่า
“ภิกษุทั้งหลาย มหาปเทส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้สดับรับ
มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้าน
คำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี๔แล้ว
พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น
สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า
นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์
นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้
สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็น
วินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๑๐.มหาปเทสสูตร
คัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
แล้วพึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น
สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า
นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำ
มหาปเทสประการที่ ๑ นี้ไว้
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์
อยู่พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับรับ
มาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’
เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น
พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้วพึงสอบดูในสูตร เทียบดู
ในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบ
เข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่ดำรัสของพระ
ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน และ
สงฆ์นั้นรับมาผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้น
สงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับ
รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น
สัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำ
กล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึง
สอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบ
ลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็น
ดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แน่นอน และสงฆ์นั้นรับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทส
ประการที่ ๒ นี้ไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๑๐.มหาปเทสสูตร
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้
เป็นเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์๑ ทรงธรรม๒
ทรงวินัย๓ ทรงมาติกา๔ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระ
เหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์’ เธอ
ทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึง
เรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดู
ในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ไม่ได้
เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่ดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน
และพระเถระเหล่านั้นรับมาผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมี
ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรง
ธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้า
พระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’
เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึง
เรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้วพึงสอบดูในสูตร เทียบดูใน
วินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าใน
วินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น
รับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทสประการที่ ๓ นี้ไว้
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้
เป็นเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูต เรียนจบคมภีร์ ทรงธรรม ทรง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
วินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูป
นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่
พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและ
พยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าใน
วินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระรูปนั้น
รับมาผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมี
ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระ
รูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลาย
ยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบท
และพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย
ถ้า บทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าใน
วินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระรูปนั้น
รับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทสประการที่ ๔ นี้ไว้
ภิกษุทั้งหลาย มหาปเทส ๔ ประการนี้แล”
มหาปเทสสูตรที่ ๑๐ จบ
สัญเจตนิยวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เจตนาสูตร ๒. วิภัตติสูตร
๓. มหาโกฏฐิตสูตร ๔. อานันทสูตร
๕. อุปวาณสูตร ๖. อายาจนสูตร
๗. ราหุลสูตร ๘. ชัมพาลีสูตร
๙. นิพพานสูตร ๑๐. มหาปเทสสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๔.โยธาชีววรรค ๑.โยธาชีวสูตร

๔. โยธาชีววรรค
หมวดว่าด้วยองค์ประกอบของนักรบอาชีพ
๑. โยธาชีวสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของนักรบอาชีพ
[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพผู้ประกอบด้วย
องค์ ๔ ประการย่อมคู่ควรแก่พระราชา เหมาะแก่พระราชา ถึงการนับได้ว่าเป็น
ราชองครักษ์โดยแท้
องค์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
นักรบอาชีพในโลกนี้
๑. ฉลาดในฐานะ ๒. ยิงลูกศรได้ไกล
๓. ยิงไม่พลาด ๔. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้
ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการนี้แลย่อมคู่ควรแก่
พระราชา เหมาะแก่พระราชา ถึงการนับว่าเป็นราชองครักษ์โดยแท้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การ
ทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ฉลาดในฐานะ ๒. ยิงลูกศรได้ไกล
๓. ยิงไม่พลาด ๔. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้
ภิกษุฉลาดในฐานะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ๑ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุชื่อว่าฉลาดในฐานะ เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๔.โยธาชีววรรค ๒. ปาฏิโภคสูตร
ภิกษุยิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใด
อย่างหนึ่ง ... สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
ไกลหรือใกล้ก็ตาม ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ภิกษุชื่อว่ายิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างนี้แล๑
ภิกษุยิงไม่พลาด เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา’ ภิกษุชื่อว่ายิงไม่พลาด เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทำลายกายขนาดใหญ่ได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้ ภิกษุชื่อว่าทำลายกายขนาด
ใหญ่ได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก”
โยธาชีวสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปาฏิโภคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่มีใครประกันได้
[๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันธรรม ๔ ประการ
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๔.โยธาชีววรรค ๓.สุตสูตร
๑. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาว่า ‘ไม่แก่’
๒. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความเจ็บเป็นธรรมดาว่า ‘ไม่เจ็บ’
๓. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาว่า
ไม่ตาย’
๔. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันผลแห่งกรรมชั่วที่เศร้าหมอง ให้เกิด
ในภพใหม่ มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และ
มรณะต่อไปว่า ‘ไม่บังเกิด’
ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันธรรม ๔ ประการนี้แล
ปาฏิโภคสูตรที่ ๒ จบ

๓. สุตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ได้ฟัง
[๑๘๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์
แห่งแคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดม ข้าพเจ้ามีวาทะ๑อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าว
ถึงสิ่งที่ตนเห็นว่า ‘เราได้เห็นอย่างนี้’ ย่อมไม่มีโทษเพราะการพูดนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๔.โยธาชีววรรค ๓.สุตสูตร
ถึงสิ่งที่ตนได้ฟังว่า ‘เราได้ฟังอย่างนี้’ ย่อมไม่มีโทษเพราะการพูดนั้น ผู้ใดผู้หนึ่ง
กล่าวถึงสิ่งที่ตนรู้ว่า ‘เราได้รู้อย่างนี้’ ย่อมไม่มีโทษเพราะการพูดนั้น ผู้ใดผู้หนึ่ง
กล่าวถึงสิ่งที่ตนรู้แจ้งว่า ‘เราได้รู้แจ้งอย่างนี้’ ย่อมไม่มีโทษเพราะการพูดนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่กล่าวว่า ‘ทุกสิ่งที่ได้เห็นเป็นสิ่ง
ควรกล่าว’ และไม่กล่าวว่า ‘ทุกสิ่งที่ได้เห็นเป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’ เราไม่กล่าวว่า
‘ทุกสิ่งที่ได้ฟังเป็นสิ่งควรกล่าว’ และไม่กล่าวว่า ‘ทุกสิ่งที่ได้ฟังเป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’
เราไม่กล่าวว่า ‘ทุกสิ่งที่ได้ทราบเป็นสิ่งควรกล่าว’ และไม่กล่าวว่า ‘ทุกสิ่งที่ได้ทราบ
เป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’ เราไม่กล่าวว่า ‘ทุกสิ่งที่รู้แจ้งเป็นสิ่งควรกล่าว’ และไม่กล่าวว่า
‘ทุกสิ่งที่รู้แจ้งเป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’
พราหมณ์ เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้เห็น อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมไป เรากล่าวว่า ‘สิ่งที่ได้เห็นเช่นนี้เป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’ แต่เมื่อบุคคลกล่าวถึง
สิ่งใดที่ได้เห็น อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า ‘สิ่งที่ได้เห็นเช่นนี้
เป็นสิ่งควรกล่าว’
เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้ฟัง อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรา
กล่าวว่า ‘สิ่งที่ได้ฟังเช่นนี้เป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’ แต่เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้ฟัง
อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า ‘สิ่งที่ได้ฟังเช่นนี้เป็นสิ่งควรกล่าว’
เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้ทราบ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป
เรากล่าวว่า ‘สิ่งที่ได้ทราบเช่นนี้ เป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’ แต่เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใด
ที่ได้ทราบ อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า ‘สิ่งที่ได้ทราบเช่นนี้
เป็นสิ่งควรกล่าว’
เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่รู้แจ้ง อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรา
กล่าวว่า ‘สิ่งที่รู้แจ้งเช่นนี้ เป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’ แต่เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่รู้แจ้ง
อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า ‘สิ่งที่รู้แจ้งเช่นนี้เป็นสิ่งควรกล่าว”
ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธชื่นชม ยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากที่นั่งจากไป
สุตสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๔.โยธาชีววรรค ๔.อภยสูตร

๔. อภยสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้กลัวตายและผู้ไม่กลัวความตาย
[๑๘๔] ครั้งนั้นแล ชานุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระพุทธเจ้ามีวาทะ๑อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า สัตว์
ผู้มีความตายเป็นธรรมดาชื่อว่าไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตายย่อมไม่มี”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ บุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดากลัว
ถึงความสะดุ้งต่อความตายมีอยู่ และบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่กลัว ไม่
ถึงความสะดุ้งต่อความตายก็มีอยู่
บุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดากลัว ถึงความสะดุ้งต่อความตาย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก
ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย โรคหนักบางอย่างกระทบเขาเข้า
เมื่อเขาถูกโรคหนักบางอย่างกระทบเข้าจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘กามอันเป็นที่รัก
จักละเราไปหนอ และเราก็จักละกามอันเป็นที่รักไป’ เขาย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร
ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน นี้แลคือบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดา
กลัว ถึงความสะดุ้งต่อความตาย
ยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก
ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย โรคหนักบางอย่างกระทบเขาเข้า
เมื่อเขาถูกโรคหนักบางอย่างกระทบเข้าจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘กายอันเป็นที่รัก
จักละเราไปหนอ และเราก็จักละกายอันเป็นที่รักไป’ เขาย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร
ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน นี้แลคือบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดากลัว
ถึงความสะดุ้งต่อความตาย

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น