Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๑-๙ หน้า ๓๕๐ - ๓๙๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑-๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๔.กัมมวรรค ๔. ปฐมสิกขาปทสูตร
เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาถูกผัสสะที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้าย่อมเสวยเวทนาที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ระคนกันเหมือนมนุษย์
เทวดาบางพวกและวินิปาติกะบางพวก นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำ
และขาว
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม เป็นอย่างไร
คือ บรรดาเจตนาเหล่านั้น เจตนาเพื่อละกรรมดำที่มีวิบากดำ เจตนาเพื่อละ
กรรมขาวที่มีวิบากขาว และเจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำและขาวที่มีวิบากทั้งดำและขาว
นี้เรียกว่า กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม
พราหมณ์ กรรม ๔ ประการนี้แลเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว จึง
ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม”
โสณกายนสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมสิกขาปทสูตร
ว่าด้วยสิกขาบท สูตรที่ ๑
[๒๓๕] ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
กรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กรรมดำมีวิบากดำ
๒. กรรมขาวมีวิบากขาว
๓. กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๔.กัมมวรรค ๕.ทุติยสิกขาปทสูตร
กรรมดำมีวิบากดำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ เป็นผู้ลักทรัพย์ เป็นผู้ประพฤติผิด
ในกาม เป็นผู้พูดเท็จ เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท นี้เรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ
กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการ
ลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
เป็นผู้เว้นขาดจากเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้
เรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว
กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ๑ นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม เป็นอย่างไร
คือ บรรดาเจตนาเหล่านั้น เจตนาเพื่อละกรรมดำ ที่มีวิบากดำ ฯลฯ๑ นี้เรียกว่า
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วจึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
ปฐมสิกขาปทสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยสิกขาปทสูตร
ว่าด้วยสิกขาบท สูตรที่ ๒
[๒๓๖] ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง
เองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๔.กัมมวรรค ๕.ทุติยสิกขาปทสูตร
กรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กรรมดำมีวิบากดำ
๒. กรรมขาวมีวิบากขาว
๓. กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม

กรรมดำมีวิบากดำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่ามารดา เป็นผู้ฆ่าบิดา เป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์
มีจิตประทุษร้ายต่อพระตถาคตยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน นี้เรียก
ว่า กรรมดำมีวิบากดำ
กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูด
เท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เป็นผู้
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท มีความ
เห็นชอบ นี้เรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว
กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ๑ นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม เป็นอย่างไร
คือ บรรดากรรมเหล่านั้น เจตนาเพื่อละกรรมดำที่มีวิบากดำ ฯลฯ๑ นี้เรียกว่า
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แลเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
ทุติยสิกขาปทสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๔.กัมมวรรค ๖.อริยมัคคสูตร

๖. อริยมัคคสูตร
ว่าด้วยอริยมรรค
[๒๓๗] ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
กรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กรรมดำมีวิบากดำ
๒. กรรมขาวมีวิบากขาว
๓. กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม

กรรมดำมีวิบากดำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียน ฯลฯ๑ นี้
เรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ
กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ฯลฯ๑
นี้เรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว
กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ๑ นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม เป็นอย่างไร
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มี
วิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แลเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
อริยมัคคสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๔.กัมมวรรค ๗. โพชฌังคสูตร

๗. โพชฌังคสูตร
ว่าด้วยโพชฌงค์
[๒๓๘] ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
กรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กรรมดำมีวิบากดำ
๒. กรรมขาวมีวิบากขาว
๓. กรรมทั้งดำและขาว มีวิบากทั้งดำและขาว
๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม

กรรมดำมีวิบากดำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียน ฯลฯ๑ นี้
เรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ
กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ฯลฯ๑
นี้เรียกว่ากรรมขาวมีวิบากขาว
กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ๑ นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม เป็นอย่างไร
คือ สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้) ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเฟ้นธรรม) วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์] ๔.กัมมวรรค ๘.สาวัชชสูตร
เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความอิ่มใจ) ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกาย
ระงับใจ) สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง) นี้เรียกว่า กรรม
ทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แลเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
โพชฌังคสูตรที่ ๗ จบ

๘. สาวัชชสูตร
ว่าด้วยกรรมและทิฏฐิที่มีโทษ
[๒๓๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กายกรรมที่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่มีโทษ ๔. ทิฏฐิที่มีโทษ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กายกรรมที่ไม่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่ไม่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่ไม่มีโทษ ๔. ทิฏฐิที่ไม่มีโทษ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

สาวัชชสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๔.กัมมวรรค ๙. อัพยาปัชฌสูตร

๙. อัพยาปัชฌสูตร
ว่าด้วยกรรมและทิฏฐิที่ไม่มีความเบียดเบียน
[๒๔๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กายกรรมที่มีความเบียดเบียน
๒. วจีกรรมที่มีความเบียดเบียน
๓. มโนกรรมที่มีความเบียดเบียน
๔. ทิฏฐิที่มีความเบียดเบียน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กายกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน
๒. วจีกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน
๓. มโนกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน
๔. ทิฏฐิที่ไม่มีความเบียดเบียน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

อัพยาปัชฌสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๔.กัมมวรรค ๑๐.สมณสูตร

๑๐. สมณสูตร
ว่าด้วยสมณะ
[๒๔๑] ภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ และสมณะที่ ๔ มี
ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น ลัทธิอื่น๑ว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาท๒
โดยชอบเถิด
สมณะที่ ๑ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไปจึงเป็นพระโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๓ในวันข้างหน้า นี้เป็นสมณะที่ ๑
สมณะที่ ๒ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไปและเพราะราคะ โทสะ
โมหะเบาบาง จึงเป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้ครั้งเดียวเท่านั้นก็จะทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้ นี้เป็นสมณะที่ ๒
สมณะที่ ๓ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จึงเป็น
โอปปาติกะ๔ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอย่างแน่นอน นี้เป็น
สมณะที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๔.กัมมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
สมณะที่ ๔ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นสมณะที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓และสมณะที่ ๔ มีใน
ธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบเถิด
สมณสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. สัปปุริสานิสังสสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์ที่พึงได้จากสัตบุรุษ
[๒๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยสัตบุรุษแล้วพึงหวังได้๑อานิสงส์ ๔ ประการ
อานิสงส์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เจริญด้วยอริยศีล ๒. เจริญด้วยอริยสมาธิ
๓. เจริญด้วยอริยปัญญา ๔. เจริญด้วยอริยวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยสัตบุรุษแล้วพึงหวังได้อานิสงส์ ๔ ประการนี้
สัปปุริสานิสังสสูตรที่ ๑๑ จบ
กัมมวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังขิตตสูตร ๒. วิตถารสูตร
๓. โสณกายนสูตร ๔. ปฐมสิกขาปทสูตร
๕. ทุติยสิกขาปทสูตร ๖. อริยมัคคสูตร
๗. โพชฌังคสูตร ๘. สาวัชชสูตร
๙. อัพยาปัชฌสูตร ๑๐. สมณสูตร
๑๑. สัปปุริสานิสังสสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๕.อาปัตติภยวรรค ๑.สังฆเภทกสูตร

๕. อาปัตติภยวรรค
หมวดว่าด้วยอาปัตติภัย
๑. สังฆเภทกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
[๒๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์
อธิกรณ์๑ระงับแล้วหรือ”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อธิกรณ์นั้นจะระงับแต่ที่
ไหน สัทธิวิหาริกชื่อว่าพาหิยะของท่านพระอนุรุทธะมุ่งจะทำลายสงฆ์ฝ่ายเดียว เมื่อ
พระพาหิยะยังยืนยันอยู่อย่างนั้น ท่านพระอนุรุทธะก็ยังไม่พูดอะไรสักคำเดียว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เมื่อไร อนุรุทธะจะจัดการชำระอธิกรณ์ใน
ท่ามกลางสงฆ์ อธิกรณ์ใดก็ตามที่เกิดขึ้น เธอทั้งหลายกับสารีบุตรและโมคคัลลานะ
จะต้องชำระอธิกรณ์ทั้งหมดนั้นให้ระงับไปมิใช่หรือ
อานนท์ ภิกษุผู้เลวทรามเมื่อเล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๔ ประการนี้ จึงยินดี
การทำลายสงฆ์
อำนาจประโยชน์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้เลวทรามในธรรมวินัยนี้เป็นคนทุศีล๒ มีธรรมเลวทราม ไม่
สะอาด๓ มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๕.อาปัตติภยวรรค ๑.สังฆเภทกสูตร
สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่า
เป็นพรหมจารี๑ เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ๒
เธอคิดกังวลอย่างนี้ว่า ‘ถ้าพวกภิกษุจักรู้ว่า เราเป็นคนทุศีล มี
ธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการ
งานปกปิด ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี
แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน
หยากเยื่อ จักพร้อมใจกันทำลายเราเสีย๓ แต่ถ้าแตกแยกกัน
จักทำลายเราไม่ได้’ ภิกษุผู้เลวทรามเมื่อเล็งเห็นอำนาจประโยชน์
ที่ ๑ นี้จึงยินดีการทำลายสงฆ์
๒. ภิกษุผู้เลวทรามเป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบด้วยอันตัคคาหิกทิฏฐิ๔
เธอคิดกังวลอย่างนี้ว่า ‘ถ้าพวกภิกษุจักรู้ว่า เราเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ประกอบด้วยอันตัคคาหิกทิฏฐิ จักพร้อมใจกันทำลายเราเสีย
แต่ถ้าแตกแยกกัน จักทำลายเราไม่ได้’ ภิกษุผู้เลวทราม เมื่อ
เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ที่ ๒ นี้ จึงยินดีการทำลายสงฆ์
๓. ภิกษุผู้เลวทรามเป็นผู้มีมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เธอ
คิดกังวลอย่างนี้ว่า ‘ถ้าพวกภิกษุจักรู้ว่า เราเป็นผู้มีมิจฉาอาชีวะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัฐจมปัณณาสก์]
๕.อาปัตติภยวรรค ๒. อาปัตติภยสูตร
เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ จักพร้อมใจกันทำลายเราเสีย แต่ถ้า
แตกแยกกันจักทำลายเราไม่ได้’ ภิกษุผู้เลวทรามเมื่อเล็งเห็นอำนาจ
ประโยชน์ที่ ๓ นี้ จึงยินดีการทำลายสงฆ์
๔. ภิกษุผู้เลวทรามปรารถนาลาภสักการะและชื่อเสียง เธอคิดกังวล
อย่างนี้ว่า ‘ถ้าพวกภิกษุจักรู้ว่า เราปรารถนาลาภสักการะและ
ชื่อเสียง จักพร้อมใจกันไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา
เรา แต่ถ้าแตกแยกกันจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’
ภิกษุผู้เลวทราม เมื่อเล็งเห็นอำนาจประโยชน์ที่ ๔ นี้ จึงยินดีการ
ทำลายสงฆ์
อานนท์ ภิกษุผู้เลวทราม เมื่อเล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๔ ประการนี้แล
จึงยินดีการทำลายสงฆ์”
สังฆเภทกสูตรที่ ๑ จบ

๒. อาปัตติภยสูตร
ว่าด้วยอาปัตติภัย
[๒๔๔] ภิกษุทั้งหลาย อาปัตติภัย (ภัยที่เกิดจากการต้องอาบัติ) ๔ ประการนี้
อาปัตติภัย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปเข้าไปตั้งสัญญาในอาบัติปาราชิกทั้งหลายว่า
เป็นภัยอย่างแรงกล้า การเข้าไปตั้งสัญญาของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
พึงหวังได้ว่า ‘ผู้ยังไม่ต้องอาบัติปาราชิกก็จักไม่ต้อง หรือผู้ต้องแล้ว
จักทำคืนตามสมควรแก่ธรรม๑’ เปรียบเหมือนพวกราชบุรุษจับ
โจรผู้ประพฤติชั่วได้แล้วแสดงแก่พระราชาด้วยกราบทูลว่า ‘ขอเดชะ
ชายผู้นี้เป็นโจรผู้ประพฤติชั่วต่อพระองค์ ขอพระองค์จงลงพระ
ราชอาญาแก่เขา’ พระราชาจึงรับสั่งอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายจงไป
จงใช้เชือกเหนียวมัดบุรุษนี้เอาแขนไพล่หลังอย่างแน่นหนาแล้วโกนผม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๕.อาปัตติภยวรรค ๒.อาปัตติภยสูตร
นำตระเวนไปตามถนนและตรอกพร้อมกับแกว่งบัณเฑาะว์เสียงดัง
น่ากลัว นำออกทางประตูด้านทิศใต้แล้วตัดศีรษะทางด้านทิศใต้
แห่งพระนคร’ พวกราชบุรุษใช้เชือกเหนียวมัดบุรุษนั้นเอาแขนไพล่
หลังอย่างแน่นหนาแล้วโกนผม นำตระเวนไปตามถนนและตรอก
พร้อมกับแกว่งบัณเฑาะว์เสียงดังน่ากลัว นำออกทางประตูด้าน
ทิศใต้แล้วตัดศีรษะทางด้านทิศใต้แห่งพระนคร ในที่นั้นมีชายคน
หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ชายผู้นี้
ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน จนต้องถูกตัดศีรษะ พวกราชบุรุษจึงจับ
ใช้เชือกเหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างแน่นหนา โกนผม นำตระเวน
ไปตามถนนและตรอกพร้อมกับ แกว่งบัณเฑาะว์เสียงดังน่ากลัว
นำออกทางประตูด้านทิศใต้แล้วตัดศีรษะทางด้านทิศใต้แห่งพระนคร
เขาไม่ควรทำกรรมชั่วร้ายเช่นนี้จนต้องถูกตัดศีรษะเลย’
๒. ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปเข้าไปตั้งสัญญาในอาบัติสังฆาทิเสสทั้งหลาย
ว่าเป็นภัยอย่างแรงกล้า การเข้าไปตั้งสัญญาของภิกษุหรือภิกษุณี
นั้นพึงหวังได้ว่า ‘ผู้ยังไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสก็จักไม่ต้อง หรือผู้
ต้องแล้วจักทำคืนตามสมควรแก่ธรรม๑’ เปรียบเหมือนชายนุ่งผ้าดำ
สยายผม ห้อยสากไว้ที่คอ เข้าไปในกลุ่มชนแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควร
แก่การห้อยสาก ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้าทำสิ่งใด ข้าพเจ้า
จะทำสิ่งนั้น’ ในที่นั้น มีชายคนหนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร กล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชายผู้นี้ได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน
ควรแก่การห้อยสาก เขานุ่งผ้าดำ สยายผม ห้อยสากไว้ที่คอ
เข้าไปในกลุ่มชนแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๕.อาปัตติภยวรรค ๒.อาปัตติภยสูตร
ได้กระทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก ท่านทั้งหลาย
พอใจให้ข้าพเจ้าทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะทำสิ่งนั้น เขาไม่ควรทำกรรมชั่ว
น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสากเช่นนั้นเลย’
๓. ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปเข้าไปตั้งสัญญาในอาบัติปาจิตตีย์ทั้งหลายว่า
เป็นภัยอย่างแรงกล้า การเข้าไปตั้งสัญญาของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
พึงหวังได้ว่า ‘ผู้ยังไม่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ก็จักไม่ต้อง หรือผู้ต้อง
แล้วจักทำคืนตามสมควรแก่ธรรม๑’ เปรียบเหมือนชายผู้นุ่งผ้าดำ
สยายผม ห้อยห่อขี้ม้าไว้ที่คอ เข้าไปในกลุ่มชนแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรแก่การ
ห้อยห่อขี้ม้า ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้าทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะทำ
สิ่งนั้น’ ในที่นั้น มีชายคนหนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชายผู้นี้ได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรแก่
การห้อยห่อขี้ม้า เขานุ่งผ้าดำ สยายผม ห้อยห่อขี้ม้าไว้ที่คอ เข้า
ไปในกลุ่มชนแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้า
ได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรแก่การห้อยห่อขี้ม้า ท่านทั้งหลาย
พอใจให้ข้าพเจ้าทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะทำสิ่งนั้น เขาไม่ควรทำกรรม
ชั่ว ควรแก่การห้อยห่อขี้ม้าเช่นนั้นเลย’
๔. ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปเข้าไปตั้งสัญญาในอาบัติปาฏิเทสนียะ
ทั้งหลายว่าเป็นภัยอย่างแรงกล้า การเข้าไปตั้งสัญญาของภิกษุ
หรือภิกษุณีนั้นพึงหวังได้ว่า ‘ผู้ยังไม่ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะก็จัก
ไม่ต้อง หรือ ผู้ต้องแล้วจักทำคืนตามสมควรแก่ธรรม๑’ เปรียบ
เหมือนชายผู้นุ่ง ผ้าดำ สยายผม เข้าไปในกลุ่มชนแล้วพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน
ควรตำหนิ ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้าทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะทำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๕.อาปัตติภยวรรค ๓.สิกขานิสังสสูตร
สิ่งนั้น’ ในที่นั้น มีชายคนหนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ชายผู้นี้ได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน เขานุ่งผ้าดำ
สยายผม เข้าไปในกลุ่มชนแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้ง
หลาย ข้าพเจ้า ได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรตำหนิ ท่านทั้ง
หลายพอใจให้ข้าพเจ้าทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะทำสิ่งนั้น เขาไม่ควร
ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรตำหนิเช่นนั้นเลย’
ภิกษุทั้งหลาย อาปัตติภัย ๔ ประการนี้แล
อาปัตติภยสูตรที่ ๒ จบ

๓. สิกขานิสังสสูตร
ว่าด้วยพรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์
[๒๔๕] ภิกษุทั้งหลาย เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้มีสิกขาเป็นอานิสงส์ มี
ปัญญาเป็นยอด มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตย
พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์ เป็นอย่างไร
คือ อภิสมาจาริกสิกขา๑ เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้เพื่อ
ความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้ว
อภิสมาจาริกสิกขาเราบัญญัติแล้วแก่สาวกเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้วด้วยโดยวิธีใดๆ สาวกนั้นไม่ทำสิกขานั้น
ให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
โดยวิธีนั้น ๆ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๕.อาปัตติภยวรรค ๓.สิกขานิสังสสูตร
อีกอย่างหนึ่ง อาทิพรหมจริยกสิกขา๑เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความ
สิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการ อาทิพรหมจริยกสิกขาเราบัญญัติแล้วแก่สาวก
ทั้งหลายเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการโดยวิธีใดๆ สาวกนั้นไม่ทำ
สิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลายโดยวิธีนั้น ๆ พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์ เป็นอย่างนี้แล
พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอด เป็นอย่างไร
คือ ธรรมทั้งหลาย๒เราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้เพื่อความสิ้น
ไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการ ธรรมทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลายเพื่อ
ความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการโดยวิธีใด ๆ ธรรมทั้งหลายนั้นสาวกพิจารณา
ด้วยปัญญาโดยวิธีนั้น ๆ พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอด เป็นอย่างนี้แล
พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่น เป็นอย่างไร
คือ ธรรมทั้งหลายเราแสดงแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้เพื่อความสิ้นไปแห่ง
ทุกข์โดยชอบทุกประการ ธรรมทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความ
สิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการโดยวิธีใด ๆ ธรรมทั้งหลายนั้นเป็นธรรมอันวิมุตติ
ถูกต้องแล้วโดยวิธีนั้น ๆ พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่น เป็นอย่างนี้แล
พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตย เป็นอย่างไร
คือ สติภิกษุตั้งไว้ดีภายในว่า ‘เราจักบำเพ็ญอภิสมาจาริกสิกขาที่ยังไม่บริบูรณ์
ให้บริบูรณ์ หรือจักอนุเคราะห์อภิสมาจาริกสิกขาที่บริบูรณ์แล้วด้วยปัญญาในฐานะ
นั้น ๆ’ บ้าง สติที่ภิกษุตั้งไว้ดีภายในว่า ‘เราจักบำเพ็ญอาทิพรหมจริยกสิกขาที่ยัง
ไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือจักอนุเคราะห์อาทิพรหมจริยกสิกขาที่บริบูรณ์แล้วด้วย
ปัญญาในฐานะนั้น ๆ’ บ้าง สติที่ภิกษุตั้งไว้ดีภายในว่า ‘เราจักพิจารณาธรรมที่เรา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๕.อาปัตติภยวรรค ๔. เสยยาสูตร
ไม่ได้พิจารณาด้วยปัญญา หรือจักอนุเคราะห์ธรรมที่เราพิจารณาแล้วด้วยปัญญาใน
ฐานะนั้น ๆ’ บ้าง สติที่ภิกษุตั้งไว้ดีภายในว่า ‘เราจักถูกต้องธรรมที่เราไม่ได้ถูกต้อง
ด้วยวิมุตติ หรือจักอนุเคราะห์ธรรมที่เราถูกต้องแล้วด้วยปัญญาในฐานะนั้น ๆ’ บ้าง
พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตย เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า ‘เราประพฤติพรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์
มีปัญญาเป็นยอด มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตย‘ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
สิกขานิสังสสูตรที่ ๓ จบ

๔. เสยยาสูตร
ว่าด้วยการนอน
[๒๔๖] ภิกษุทั้งหลาย การนอน ๔ ประการนี้
การนอน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. นอนอย่างคนตาย๑ ๒. นอนอย่างคนบริโภคกาม
๓. นอนอย่างราชสีห์ ๔. นอนอย่างตถาคต

นอนอย่างคนตาย เป็นอย่างไร
คือ ส่วนมากคนตายนอนหงาย นี้เรียกว่า นอนอย่างคนตาย
นอนอย่างคนบริโภคกาม เป็นอย่างไร
คือ ส่วนมากคนบริโภคกามย่อมนอนตะแคงซ้าย นี้เรียกว่า นอนอย่างคน
บริโภคกาม
นอนอย่างราชสีห์ เป็นอย่างไร
คือ พญาราชสีห์ย่อมสำเร็จการนอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า สอดหาง
เข้าในระหว่างโคนขา มันตื่นขึ้นยืดกายส่วนหน้าแล้วเหลียวดูกายส่วนหลัง ถ้ามัน
เห็นกายผิดแปลกหรือไม่ปกติอย่างไรไป มันย่อมเสียใจด้วยเหตุนั้น แต่ถ้าไม่เห็น
อะไรผิดปกติ มันย่อมดีใจ นี้เรียกว่า นอนอย่างราชสีห์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๕.อาปัตติภยวรรค ๖.ปัญญาวุฑฒิสูตร
นอนอย่างตถาคต เป็นอย่างไร
คือ ตถาคตในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ๑ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มี
สุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า นอนอย่างตถาคต
ภิกษุทั้งหลาย การนอน ๔ ประการนี้แล
เสยยาสูตรที่ ๔ จบ

๕. ถูปารหสูตร
ว่าด้วยถูปารหบุคคล
[๒๔๗] ภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล๒ ๔ จำพวกนี้
ถูปารหบุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ

๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นถูปารหบุคคล
๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นถูปารหบุคคล
๓. สาวกของพระตถาคต เป็นถูปารหบุคคล
๔. พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นถูปารหบุคคล

ภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล ๔ จำพวกนี้แล
ถูปารหสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปัญญาวุฑฒิสูตร
ว่าด้วยความเจริญด้วยปัญญา
[๒๔๘] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา
ธรรม ๔ ประการ๓ อะไรบ้าง คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๕.อาปัตติภยวรรค ๘. ปฐมโวหารสูตร
๑. สัปปุริสสังเสวะ (การคบหาสัตบุรุษ)
๒. สัทธัมมัสสวนะ (การฟังสัทธรรม)
๓. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย)
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา
ปัญญาวุฑฒิสูตรที่ ๖ จบ

๗. พหุการสูตร
ว่าด้วยธรรมมีอุปการะมาก
[๒๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการย่อมมีอุปการะมากแก่มนุษย์
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัปปุริสสังเสวะ ๒. สัทธัมมัสสวนะ
๓. โยนิโสมนสิการ ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมมีอุปการะมากแก่มนุษย์
พหุการสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมโวหารสูตร๑
ว่าด้วยโวหาร สูตรที่ ๑
[๒๕๐] ภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร๒ ๔ ประการนี้
อนริยโวหาร ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้
ภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร ๔ ประการนี้แล
ปฐมโวหารสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๕.อาปัตติภยวรรค ๑๐.ตติยโวหารสูตร

๙. ทุติยโวหารสูตร๑
ว่าด้วยโวหาร สูตรที่ ๒
[๒๕๑] ภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการนี้
อริยโวหาร ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้

ภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการนี้แล
ทุติยโวหารสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตติยโวหารสูตร๒
ว่าด้วยโวหาร สูตรที่ ๓
[๒๕๒] ภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร ๔ ประการนี้
อนริยโวหาร ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้

ภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร ๔ ประการนี้แล
ตติยโวหารสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๕.อาปัตติภยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. จตุตถโวหารสูตร๑
ว่าด้วยโวหาร สูตรที่ ๔
[๒๕๓] ภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการนี้
อริยโวหาร ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้

ภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการนี้แล
จตุตถโวหารที่ ๑๑ จบ
อาปัตติภยวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังฆเภทกสูตร ๒. อาปัตติภยสูตร
๓. สิกขานิสังสสูตร ๔. เสยยาสูตร
๕. ถูปารหสูตร ๖. ปัญญาวุฑฒิสูตร
๗. พหุการสูตร ๘. ปฐมโวหารสูตร
๙. ทุติยโวหารสูตร ๑๐. ตติยโวหารสูตร
๑๑. จตุตถโวหารสูตร

ปัญจมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๖.อภิญญาวรรค ๑.อภิญญาสูตร

๖. อภิญญาวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่รู้ยิ่ง
๑. อภิญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่รู้ยิ่ง
[๒๕๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ก็มี
๒. ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละก็มี
๓. ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรให้เจริญก็มี
๔. ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้งก็มี

ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ เป็นอย่างไร
คือ อวิชชาและภวตัณหา นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรให้เจริญ เป็นอย่างไร
คือ สมถะและวิปัสสนา๑ นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรให้เจริญ
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง เป็นอย่างไร
คือ วิชชาและวิมุตติ นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล
อภิญญาสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๖.อภิญญาวรรค ๒. ปริเยสนาสูตร

๒. ปริเยสนาสูตร
ว่าด้วยการแสวงหา
[๒๕๕] ภิกษุทั้งหลาย อนริยปริเยสนา๑ ๔ ประการนี้
อนริยปริเยสนา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้

๑. ตนเองเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดาย่อมแสวงหาแต่สิ่งที่มีความ
แก่เป็นธรรมดา
๒. ตนเองเป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาย่อมแสวงหาแต่สิ่งที่มีความ
เจ็บไข้เป็นธรรมดา
๓. ตนเองเป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดาย่อมแสวงหาแต่สิ่งที่มีความ
ตายเป็นธรรมดา
๔. ตนเองเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาย่อมแสวงหาแต่สิ่งที่มี
ความเศร้าหมองเป็นธรรมดา

ภิกษุทั้งหลาย อนริยปริเยสนา ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อริยปริเยสนา ๔ ประการนี้
อริยปริเยสนา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้

๑. ตนเองเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดาแล้วย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีความแก่ซึ่งเป็นแดนเกษม
จากโยคะที่ยอดเยี่ยม
๒. ตนเองเป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีความเจ็บไข้
เป็นธรรมดาแล้วย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีความเจ็บไข้ซึ่งเป็น
แดนเกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๖.อภิญญาวรรค ๔.มาลุงกยปุตตสูตร
๓. ตนเองเป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีความตาย
เป็นธรรมดาแล้วย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีความตายซึ่งเป็นแดน
เกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม
๔. ตนเองเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีความ
เศร้าหมองเป็นธรรมดาแล้วย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีความ
เศร้าหมองซึ่งเป็นแดนเกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม

ภิกษุทั้งหลาย อริยปริเยสนา ๔ ประการนี้แล
ปริเยสนาสูตรที่ ๒ จบ

๓. สังคหวัตถุสูตร
ว่าด้วยสังคหวัตถุ
[๒๕๖] ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว) ๔ ประการนี้
สังคหวัตถุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ทาน (การให้)
๒. เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก)
๓. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์)
๔. สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ)

ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล
สังคหวัตถุสูตรที่ ๓ จบ

๔. มาลุงกยปุตตสูตร
ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตร
[๒๕๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง
ธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วพึงหลีกออกไปอยู่ผู้เดียว ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๖.อภิญญาวรรค ๔.มาลุงกยปุตตสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุงกยบุตร บัดนี้เราจะกล่าวกับพวกภิกษุหนุ่ม
อย่างไร ในเมื่อเธอเป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ขอฟังโอวาทของตถาคตโดยย่อ”
พระมาลุงกยบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค
โปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อ ข้า
พระองค์จะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคได้บ้าง ข้าพระองค์
จะพึงเป็นทายาทแห่งพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคได้บ้าง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุงกยบุตร มีเหตุเกิดแห่งตัณหา ๔ ประการนี้
ที่ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดขึ้นได้
มีเหตุเกิดแห่งตัณหา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุ
๒. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ
๓. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ
๔. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะปัจจัยที่ดีและดีกว่า๑

มาลุงกยบุตร มีเหตุเกิดแห่งตัณหา ๔ ประการนี้แล ที่ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่
ภิกษุย่อมเกิดขึ้นได้
เมื่อใดแล ภิกษุละตัณหาได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูก
ตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุนี้เรา
เรียกว่า ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละ
มานะได้โดยชอบ”
ลำดับนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตรอันพระผู้มีพระภาคทรงสอนด้วยโอวาท
นี้แล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป
ต่อมา ท่านพระมาลุงกยบุตรหลีกออกไป อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท๒ มีความเพียร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์] ๖.อภิญญาวรรค ๕.กุลสูตร
อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑อันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำ
กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” จึงเป็นอันว่าท่าน
พระมาลุงกยบุตรได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
มาลุงกยบุตรสูตรที่ ๔ จบ

๕. กุลสูตร
ว่าด้วยตระกูล
[๒๕๘] ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่งถึงความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้ว
ย่อมดำรงอยู่ได้ไม่นานเพราะเหตุ ๔ ประการ หรือเหตุใดเหตุหนึ่งบรรดาเหตุ ๔
ประการนั้น
เหตุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายไป
๒. ไม่ซ่อมแซมพัสดุที่เก่าคร่ำคร่า
๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
๔. ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีลให้เป็นใหญ่ในเรือน

ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่งถึงความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้วย่อม
ดำรงอยู่ได้ไม่นานเพราะเหตุ ๔ ประการนี้ หรือเหตุใดเหตุหนึ่งบรรดาเหตุ ๔
ประการนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่งถึงความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้วย่อม
ดำรงอยู่ได้นานเพราะเหตุ ๔ ประการ หรือเหตุใดเหตุหนึ่งบรรดาเหตุ ๔ ประการนั้น
เหตุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๖.อภิญญาวรรค ๖. ปฐมอาชานียสูตร
๑. แสวงหาพัสดุที่หายไป
๒. ซ่อมแซมพัสดุที่เก่าคร่ำคร่า
๓. รู้จักประมาณในการบริโภค
๔. ตั้งสตรีหรือบุรุษผู้มีศีลให้เป็นใหญ่ในเรือน

ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่งถึงความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้วย่อม
ดำรงอยู่ได้นานเพราะเหตุ ๔ ประการนั้น หรือเหตุใดเหตุหนึ่งบรรดาเหตุ ๔ ประการนั้น
กุลสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๑
[๒๕๙] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาที่ประกอบด้วยองค์ ๔
ประการย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้

๑. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยเชาว์ (ฝีเท้า) ๔. สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง

ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ
นี้แลย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อม
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ๑ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยเชาว์ ๔. สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัฐจมปัณณาสก์]
๖. อภิญญาวรรค ๗. ทุติยอาชานียสูตร
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ๑ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรอยู่เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศล
ธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขาร ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ปฐมอาชานียสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๒
[๒๖๐] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาที่ประกอบด้วยองค์ ๔
ประการย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้

๑. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยเชาว์ ๔. สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัฐจมปัณณาสก์]
๖. อภิญญาวรรค ๗. ทุติยอาชานียสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ
นี้แลย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อม
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ๑ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยเชาว์ ๔. สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง

ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ๒ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรอยู่เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศล
ธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ เป็น
อย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย
เภสัชชบริขาร ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ๒ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ทุติยอาชานียสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๗.กัมมปถวรรค ๙.อรัญญสูตร

๘. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[๒๖๑] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้
พละ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. วิริยพละ ๒. สติพละ
๓. สมาธิพละ ๔. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้แล
พลสูตรที่ ๘ จบ

๙. อรัญญสูตร
ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควรอยู่ป่าและไม่ควรอยู่ป่า
[๒๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ไม่ควรอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ๑
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุ

๑. ประกอบด้วยกามวิตก (ความตรึกในทางกาม)
๒. ประกอบด้วยพยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท)
๓. ประกอบด้วยวิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)
๔. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ๒

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ไม่ควรอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๗.กัมมปถวรรค ๑๐. กัมมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ควรอาศัยเสนาสนะ
อันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุ

๑. ประกอบด้วยเนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม)
๒. ประกอบด้วยอพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท)
๓. ประกอบด้วยอวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
๔. มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ควรอาศัยเสนาสนะ
อันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ
อรัญญสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. กัมมสูตร
ว่าด้วยกรรมและทิฏฐิที่มีโทษ
[๒๖๓] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วย
ธรรม ๔ ประการย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้
ติเตียนและประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กายกรรมที่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่มีโทษ ๔. ทิฏฐิที่มีโทษ

ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการนี้แลย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูก
ผู้รู้ติเตียนและประสพบุญเป็นอันมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๗.กัมมปถวรรค ๑.ปาณาติปาตีสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กายกรรมที่ไม่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่ไม่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่ไม่มีโทษ ๔. ทิฏฐิที่ไม่มีโทษ

ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการนี้แลย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่
ถูกผู้รู้ติเตียนและย่อมประสพบุญเป็นอันมาก
กัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
อภิญญาวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อภิญญาสูตร ๒. ปริเยสนาสูตร
๓. สังคหวัตถุสูตร ๔. มาลุงกยปุตตสูตร
๕. กุลสูตร ๖. ปฐมอาชานียสูตร
๗. ทุติยอาชานียสูตร ๘. พลสูตร
๙. อรัญญสูตร ๑๐. กัมมสูตร

๗. กัมมปถวรรค
หมวดว่าด้วยกรรมบถ
๑. ปาณาติปาตีสูตร
ว่าด้วยผู้ฆ่าสัตว์และผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
[๒๖๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์
๓. เป็นผู้พอใจการฆ่าสัตว์ ๔. กล่าวสรรเสริญการฆ่าสัตว์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๗.กัมมปถวรรค ๒. อทินนาทายีสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๔. กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปาณาติปาตีสูตรที่ ๑ จบ

๒. อทินนาทายีสูตร
ว่าด้วยผู้ลักทรัพย์และผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
[๒๖๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้พอใจการลักทรัพย์ ๔. กล่าวสรรเสริญการลักทรัพย์

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๗.กัมมปถวรรค ๓.มิจฉาจารีสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการลักทรัพย์
๔. กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการลักทรัพย์

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
อทินนาทายีสูตรที่ ๒ จบ

๓. มิจฉาจารีสูตร
ว่าด้วยผู้ประพฤติผิดในกามและผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
[๒๖๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม
๓. เป็นผู้พอใจการประพฤติผิดในกาม
๔. กล่าวสรรเสริญการประพฤติผิดในกาม

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๗.กัมมปถวรรค ๕. ปิสุณวาจาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มิจฉาจารีสูตรที่ ๓ จบ

๔. มุสาวาทีสูตร
ว่าด้วยผู้พูดเท็จและผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
[๒๖๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ
๓. เป็นผู้พอใจการพูดเท็จ ๔. กล่าวสรรเสริญการพูดเท็จ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเท็จ
๔. กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเท็จ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มุสาวาทีสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปิสุณวาจาสูตร
ว่าด้วยผู้พูดส่อเสียดและผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
[๒๖๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๗.กัมมปถวรรค ๖.ผรุสวาจาสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด
๓. เป็นผู้พอใจการพูดส่อเสียด ๔. กล่าวสรรเสริญการพูดส่อเสียด

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๔. กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปิสุณวาจาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ผรุสวาจาสูตร
ว่าด้วยผู้พูดคำหยาบและผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
[๒๖๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ
๓. เป็นผู้พอใจการพูดคำหยาบ ๔. กล่าวสรรเสริญการพูดคำหยาบ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๗.กัมมปถวรรค ๗. สัมผัปปลาปสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๔. กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ผรุสวาจาสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัมผัปปลาปสูตร
ว่าด้วยผู้พูดเพ้อเจ้อและผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
[๒๗๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ
๓. เป็นผู้พอใจการพูดเพ้อเจ้อ ๔. กล่าวสรรเสริญการพูดเพ้อเจ้อ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๔. กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

สัมผัปปลาปสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัฐจมปัณณาสก์]
๗. กัมมปถวรรค ๙. พยาปันนจิตตสูตร

๘. อภิชฌาลุสูตร
ว่าด้วยผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขาและผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
[๒๗๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓. เป็นผู้พอใจความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๔. กล่าวสรรเสริญความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓. เป็นผู้พอใจความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๔. กล่าวสรรเสริญความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
อภิชฌาลุสูตรที่ ๘ จบ

๙. พยาปันนจิตตสูตร
ว่าด้วยผู้มีจิตพยาบาทและผู้มีจิตไม่พยาบาท
[๒๗๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัฐจมปัณณาสก์]
๗. กัมมปถวรรค ๑๐. มิจฉาทิฏฐิสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท
๒. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท
๓. เป็นผู้พอใจความมีจิตพยาบาท
๔. กล่าวสรรเสริญความมีจิตพยาบาท

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
๒. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท
๓. เป็นผู้พอใจความมีจิตไม่พยาบาท
๔. กล่าวสรรเสริญความมีจิตไม่พยาบาท

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
พยาปันนจิตตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. มิจฉาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิและผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ
[๒๗๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๓. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
๔. กล่าวสรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัฐจมปัณณาสก์]
๘. ราคเปยยาล ๑. สติปัฏฐานสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
๓. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ
๔. กล่าวสรรเสริญความเป็นสัมมาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๑๐ จบ
กัมมปถวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปาณาติปาตีสูตร ๒. อทินนาทายีสูตร
๓. มิจฉาจารีสูตร ๔. มุสาวาทีสูตร
๕. ปิสุณวาจาสูตร ๖. ผรุสวาจาสูตร
๗. สัมผัปปลาปสูตร ๘. อภิชฌาลุสูตร
๙. พยาปันนจิตตสูตร ๑๐. มิจฉาทิฏฐิสูตร

๘. ราคเปยยาล
๑. สติปัฏฐานสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานเพื่อรู้ยิ่งราคะ
[๒๗๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการ
เพื่อรู้ยิ่งราคะ (ความกำหนัด)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๘.ราคเปยยาล ๒. สัมมัปปธานสูตร
ธรรม ๔ ประการ๑ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่งราคะ
สติปัฏฐานสูตรที่ ๑ จบ

๒. สัมมัปปธานสูตร
ว่าด้วยการเจริญสัมมัปปธานเพื่อรู้ยิ่งราคะ
[๒๗๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการเพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๔ ประการ๒ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ... เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ... เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่งราคะ
สัมมัปปธานสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๘.ราคเปยยาล ๔-๓๐.ปริญญาทิสูตร

๓. อิทธิปาทสูตร
ว่าด้วยการเจริญอิทธิบาทเพื่อรู้ยิ่งราคะ
[๒๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการเพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๔ ประการ๑ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิด
จากฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์)
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิด
จากวิริยะและความเพียรสร้างสรรค์)
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิด
จากจิตตะและความเพียรสร้างสรรรค์)
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่
เกิดจากวิมังสาและความเพียรสร้างสรรค์)

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่งราคะ
อิทธิปาทสูตรที่ ๓ จบ

๔-๓๐. ปริญญาทิสูตร
ว่าด้วยการเจริญธรรมเพื่อกำหนดรู้ราคะเป็นต้น
[๒๗๗ - ๓๐๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการเพื่อกำหนด
รู้ราคะ

... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๘.ราคเปยยาล ๓๑-๕๑๐. โทสอภิญญาทิสูตร
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ ...

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการนี้เพื่อความสละคืนราคะ ฯลฯ
ปริญญาทิสูตรที่ ๔-๓๐ จบ

๓๑-๕๑๐. โทสอภิญญาทิสูตร
ว่าด้วยการเจริญธรรมเพื่อรู้ยิ่งโทสะเป็นต้น
[๓๐๔ - ๗๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่งโทสะ
(ความคิดประทุษร้าย)

... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ
... เพื่อความสละคืนโทสะ ...โมหะ (ความหลง) ... โกธะ (ความโกรธ) ... อุปนาหะ
(ความผูกโกรธ ) ... มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ (ความตีเสมอ) ... อิสสา
(ความริษยา) ... มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ... มายา (มารยา) ... สาเถยยะ (ความ
โอ้อวด) ... ถัมภะ (ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ (ความแข่งดี) ... มานะ (ความถือตัว)
... อติมานะ (ความดูหมิ่น) ... มทะ (ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท) ...

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการนี้เพื่อความสละคืนปมาทะ

โทสอภิญญาทิสูตร ๓๑-๕๑๐ จบ
ราคเปยยาล จบ

จตุกกนิบาต จบ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น