Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๒-๑ หน้า ๑ - ๕๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๑.สังขิตตสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. เสขพลวรรค
หมวดว่าด้วยเสขพละ๑
๑. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยเสขพละโดยย่อ
[๑] ข้าพเจ้า๒ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๒. วิตถตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการ
เสขพละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. หิริพละ (กำลังคือหิริ)
๓. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ)
๔. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักเป็นผู้
ประกอบด้วยสัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ และปัญญาพละ อันเป็น
เสขพละ’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค
สังขิตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิตถตสูตร
ว่าด้วยเสขพละโดยพิสดาร
[๒] ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการนี้
เสขพละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. หิริพละ
๓. โอตตัปปพละ ๔. วิริยพละ
๕. ปัญญาพละ

สัทธาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ
ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๒. วิตถตสูตร
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๑’ นี้เรียกว่า สัทธาพละ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๒. วิตถตสูตร
หิริพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหิริ คือละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริพละ

โอตตัปปพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือสะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า
โอตตัปปพละ

วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้อยู่ปรารภความเพียร๑ เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้
กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง๒ มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้ง
หลายอยู่ นี้เรียกว่า วิริยพละ

ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ๓ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๓. ทุกขสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เรา
ทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ และ
ปัญญาพละ อันเป็นเสขพละ’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
วิตถตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุกขสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อยู่เป็นทุกข์
[๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
เดือดร้อน๑ คับแค้นใจ เร่าร้อน๒ในภพนี้แล หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ๓
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เดือดร้อน คับแค้นใจ
เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ
ส่วนภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับ
แค้นใจ ไม่เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้วพึงหวังได้สุคติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๔.ยถาถตสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่
เดือดร้อน ไม่คับแค้นใจ ไม่เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้วพึงหวังได้สุคติ
ทุกขสูตรที่ ๓ จบ

๔. ยถาภตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
[๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำ
ไปฝังไว้
ส่วนภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๕. สิกขาสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ยถาภตสูตรที่ ๔ จบ

๕. สิกขาสูตร
ว่าด้วยการลาสิกขาที่เป็นเหตุให้ได้รับฐานะที่น่าติเตียน
[๕] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ๑ ๕ ประการ พร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบ
ธรรมที่น่าติเตียนในปัจจุบัน ย่อมมาถึงภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปผู้บอกคืนสิกขา กลับมา
เป็นคฤหัสถ์
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ๒. ไม่มีหิริในกุศลธรรม
๓. ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ๔. ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม
๕. ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการ พร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบธรรม
ที่น่าติเตียนในปัจจุบัน ย่อมมาถึงภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปผู้บอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์
ฐานะ ๕ ประการ พร้อมทั้งเหตุที่น่าสรรเสริญในปัจจุบัน ย่อมมาถึงภิกษุหรือ
ภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์(ความทุกข์กาย) แม้มีโทมนัส(ความทุกข์ใจ) ร้องไห้น้ำตา
นองหน้าอยู่ ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๖. สมาปัตติสูตร
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. มีศรัทธาในกุศลธรรม ๒. มีหิริในกุศลธรรม
๓. มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ๔. มีวิริยะในกุศลธรรม
๕. มีปัญญาในกุศลธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการ พร้อมทั้งเหตุที่น่าสรรเสริญในปัจจุบัน
ย่อมมาถึงภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์ แม้มีโทมนัส ร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่
ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้
สิกขาสูตรที่ ๕ จบ

๖. สมาปัตติสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเข้ามาได้
[๖] ภิกษุทั้งหลาย
๑. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่ศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย
ยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด ศรัทธาเสื่อมหายไป ความไม่มีศรัทธา
กลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
๒. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่หิริในกุศลธรรมทั้งหลายยังตั้ง
มั่นอยู่ แต่เมื่อใด หิริเสื่อมหายไป ความไม่มีหิริกลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น
อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
๓. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่โอตตัปปะในกุศลธรรมทั้งหลายยัง
ตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด โอตตัปปะเสื่อมหายไป ความไม่มีโอตตัปปะ
กลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
๔. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่วิริยะในกุศลธรรมทั้งหลายยัง
ตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด วิริยะเสื่อมหายไป ความเกียจคร้านกลุ้มรุมอยู่
เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
๕. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่ปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
ยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด ปัญญาเสื่อมหายไป ความไม่มีปัญญา
กลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้

สมาปัตติสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๗. กามสูตร

๗. กามสูตร
ว่าด้วยกาม
[๗] ภิกษุทั้งหลาย โดยมาก สัตว์ทั้งหลายหมกมุ่นอยู่ในกาม๑ กุลบุตรผู้ละ
เคียวและคานหาบหญ้าออกบวชเป็นบรรพชิต ควรเรียกว่า ‘กุลบุตรผู้มีศรัทธา
ออกบวช’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาควรได้กามด้วยความเป็นหนุ่ม และกาม
เหล่านั้นก็มีระดับ คือ กามเลว กามปานกลาง และกามประณีต๒ แต่กามทั้งหมดก็
นับว่า ‘กาม’ ทั้งนั้น

เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงาย เอาชิ้นไม้หรือชิ้นกระเบื้องใส่เข้าไปในปาก
เพราะความพลั้งเผลอของพี่เลี้ยง พี่เลี้ยงพึงใส่ใจในเด็กนั้นทันที รีบนำชิ้นไม้หรือ
ชิ้นกระเบื้องออกโดยเร็ว ถ้าไม่สามารถนำออกโดยเร็วได้ ก็เอามือซ้ายจับโดยเร็ว
งอนิ้วมือข้างขวาแล้วแยงเข้าไปนำออกมาทั้งที่ยังมีโลหิต ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ความลำบากนั้นจะมีแก่เด็ก เราไม่กล่าวว่า ‘ไม่มีความลำบาก’ และพี่เลี้ยงผู้หวัง
ประโยชน์เกื้อกูลอนุเคราะห์ พึงทำอย่างนั้นด้วยความอนุเคราะห์ แต่เมื่อใด เด็กนั้น
เจริญวัย มีปัญญาสามารถ เมื่อนั้น พี่เลี้ยงก็วางใจในเด็กนั้นว่า ‘บัดนี้ เด็กมีความ
สามารถรักษาตนเองได้ ไม่ประมาท’ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ที่เราต้องรักษาตลอดเวลา
ที่เธอยัง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๘. จวนสูตร
๑. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยศรัทธา
๒. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยหิริ
๓. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยโอตตัปปะ
๔. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยวิริยะ
๕. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยปัญญา

แต่เมื่อใด ภิกษุ

๑. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยศรัทธา
๒. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยหิริ
๓. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยโอตัปปะ
๔. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยวิริยะ
๕. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยปัญญา

เมื่อนั้น เราก็วางใจในภิกษุนั้นได้ว่า ‘บัดนี้ ภิกษุมีความสามารถรักษาตนได้
ไม่ประมาท’
กามสูตรที่ ๗ จบ

๘. จวนสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เคลื่อนจากพระศาสนา
[๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเคลื่อน๑ ไม่ตั้งมั่น
ในสัทธรรม๒
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๒. ภิกษุผู้ไม่มีหิริ ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๓. ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๙. ปฐมอคารวสูตร
๔. ภิกษุผู้เกียจคร้าน ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๕. ภิกษุผู้มีปัญญาทราม ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่น
ในสัทธรรม

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้มีศรัทธา ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๒. ภิกษุผู้มีหิริ ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๓. ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๔. ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๕. ภิกษุผู้มีปัญญา ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่น
ในสัทธรรม
จวนสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมอคารวสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ไม่เคารพ สูตรที่ ๑
[๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่มีความ
เคารพ ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๒. ภิกษุผู้ไม่มีหิริ เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน
ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๙. ปฐมอคารวสูตร
๓. ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๔. ภิกษุผู้เกียจคร้าน เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๕. ภิกษุผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง
ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่
เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๒. ภิกษุผู้มีหิริ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน
ตั้งมั่นในสัทธรรม
๓. ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่
เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๔. ภิกษุผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง
ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๕. ภิกษุผู้มีปัญญา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่
เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้มีความเคารพ
มีความยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม

ปฐมอคารวสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๑๐. ทุติยอคารวสูตร

๑๐. ทุติยอคารวสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ไม่เคารพ สูตรที่ ๒
[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่มีความ
เคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่อาจถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่อาจ
ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
๒. ภิกษุผู้ไม่มีหิริ ...
๓. ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ ...
๔. ภิกษุผู้เกียจคร้าน ...
๕. ภิกษุผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ไม่อาจถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่มีความ
เคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่อาจถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง
อาจถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง อาจถึง
ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
๒. ภิกษุผู้มีหิริ ...
๓. ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๔. ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ...
๕. ภิกษุผู้มีปัญญา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง อาจถึง
ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้มีความเคารพ
มีความยำเกรง อาจถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

ทุติยอคารวสูตรที่ ๑๐ จบ
เสขพลวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังขิตตสูตร ๒. วิตถตสูตร
๓. ทุกขสูตร ๔. ยถาภตสูตร
๕. สิกขาสูตร ๖. สมาปัตติสูตร
๗. กามสูตร ๘. จวนสูตร
๙. ปฐมอคารวสูตร ๑๐. ทุติยอคารวสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค ๑. อนนุสสุตสูตร

๒. พลวรรค
หมวดว่าด้วยพละ
๑. อนนุสสุตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน
[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราได้บรรลุถึงบารมีอันเป็น
ที่สุดด้วยปัญญาอันยิ่งในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยสดับมาก่อน๑ จึงปฏิญญาได้ กำลัง
ของตถาคต ๕ ประการนี้ ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้ปฏิญญาฐานะที่องอาจ๒ บันลือ
สีหนาท๓ ประกาศพรหมจักร๔ ในบริษัท๕
กำลังของตถาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. หิริพละ (กำลังคือหิริ)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. พลวรรค ๒. กูฏสูตร
๓. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ)
๔. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๕ ประการนี้แล ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
อนนุสสุตสูตรที่ ๑ จบ

๒. กูฏสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นยอดเหมือนยอดเรือน
[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ๑ ๕ ประการนี้
เสขพละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. หิริพละ
๓. โอตตัปปพละ ๔. วิริยพละ
๕. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการนี้แล พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์
รวมแห่งเสขพละ ๕ ประการนี้ คือ ปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเรือนยอด คือยอด
เรือน แม้ฉันใด พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเสขพละ ๕ ประการนี้
คือปัญญาพละ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักเป็น
ผู้ประกอบด้วยสัทธาพละ... หิริพละ ... โอตตัปปพละ ... วิริยพละ ... ปัญญาพละ
อันเป็นเสขพละ’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
กูฏสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. พลวรรค ๔. วิตถตสูตร

๓. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยพละโดยย่อ
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ (กำลังคือสติ) ๔. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
๕. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล
สังขิตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. วิตถตสูตร
ว่าด้วยพละโดยพิสดาร
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ

สัทธาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ
ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น
สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาพละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. พลวรรค ๔. วิตถตสูตร
วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ
ให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้ง
หลายอยู่ นี้เรียกว่า วิริยพละ

สติพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ คือประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สติพละ

สมาธิพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบ
ระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๑ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติ สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ
ว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสโทมนัสดับ
ไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียก
ว่า สมาธิพละ

ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล
วิตถตสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค ๕. ทัฏฐัพพสูตร

๕. ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่พึงเห็น
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสัทธาพละได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในโสตาปัตติยังคะ๑ พึงเห็นสัทธาพละได้ที่นี้
พึงเห็นวิริยพละได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสัมมัปปธาน ๔๒ พึงเห็นวิริยพละได้ที่นี้
พึงเห็นสติพละได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสติปัฏฐาน ๔๓ พึงเห็นสติพละได้ที่นี้
พึงเห็นสมาธิพละได้ที่ไหน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค ๖. ปุนกูฏสูตร
พึงเห็นได้ในฌาน ๔๑ พึงเห็นสมาธิพละได้ที่นี้
พึงเห็นปัญญาพละได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในอริยสัจ ๔๒ พึงเห็นปัญญาพละได้ที่นี้
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล
ทัฏฐัพพสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปุนกูฏสูตร
ว่าด้วยกำลังที่เป็นยอด
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวม
แห่งพละ ๕ ประการนี้ คือปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเรือนยอด คือยอด
เรือน แม้ฉันใด พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเสขพละ ๕ ประการนี้
คือปัญญาพละ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ปุนกูฏสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค ๘. ทุติยหิตสูตร

๗. ปฐมหิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล สูตรที่ ๑
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
สมาธิ
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยปัญญา
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
วิมุตติ
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็นใน
วิมุตติ) แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
ปฐมหิตสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยหิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล สูตรที่ ๒
[๑๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล
๒. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
สมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค ๙. ตติยหิตสูตร
๓. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยปัญญา
๔. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
วิมุตติ
๕. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ แต่ชักชวนผู้อื่นให้
ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน
ทุติยหิตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตติยหิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล สูตรที่ ๓
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าไม่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล
๒. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยสมาธิ
๓. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง
พร้อมด้วยปัญญา
๔. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยวิมุตติ
๕. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าไม่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น

ตติยหิตสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. จตุตถหิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล สูตรที่ ๔
[๒๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตน และปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
สมาธิ
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
ปัญญา
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และชักชวนผู้อื่นให้
ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน และปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น

จตุตถหิตสูตรที่ ๑๐ จบ
พลวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนนุสสุตสูตร ๒. กูฏสูตร
๓. สังขิตตสูตร ๔. วิตถตสูตร
๕. ทัฏฐัพพสูตร ๖. ปุนกูฏสูตร
๗. ปฐมหิตสูตร ๘. ทุติยหิตสูตร
๙. ตติยหิตสูตร ๑๐. จตุตถหิตสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๑. ปฐมอคารวสูตร

๓. ปัญจังคิกวรรค
หมวดว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕

๑. ปฐมอคารวสูตร
ว่าด้วยความไม่เคารพ สูตรที่ ๑
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย

๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่มี
ความประพฤติเสมอภาคในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญ
อภิสมาจาริกธรรม๑ให้บริบูรณ์ได้
๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว
จักบำเพ็ญเสขธรรม๒ให้บริบูรณ์ได้
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
ศีลทั้งหลาย๓ให้บริบูรณ์ได้
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จัก
บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิ๔ให้บริบูรณ์ได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๒. ทุติยอคารวสูตร
๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
สัมมาสมาธิ๑ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุทั้งหลาย

๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุมีความเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติ
เสมอภาคในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรม
ให้บริบูรณ์ได้
๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
เสขธรรมให้บริบูรณ์ได้
๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีล
ทั้งหลาย ให้บริบูรณ์ได้
๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมา-
ทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
สัมมาสมาธิ ให้บริบูรณ์ได้
ปฐมอคารวสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยอคารวสูตร
ว่าด้วยความไม่เคารพ สูตรที่ ๒
[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย

๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่มี
ความประพฤติเสมอภาคในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญ
อภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์ได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๒. ทุติยอคารวสูตร
๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว
จักบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์ได้
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
สีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญสีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
สมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้
๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
ปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุทั้งหลาย

๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติ
เสมอภาคในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรม
ให้บริบูรณ์ได้
๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
เสขธรรมให้บริบูรณ์ได้
๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสีลขันธ์
ให้บริบูรณ์ได้
๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญสีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสมาธิขันธ์
ให้บริบูรณ์ได้
๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
ปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้

ทุติยอคารวสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๓. อุปกิเลสสูตร

๓. อุปกิเลสสูตร
ว่าด้วยความเศร้าหมอง
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการ เป็นเหตุให้ทอง
เศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เหล็ก ๒. โลหะ
๓. ดีบุก ๔. ตะกั่ว
๕. เงิน

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้ทอง
เศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
แต่เมื่อใด ทองพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง ๕ ประการนี้แล้ว เมื่อนั้น ทองนั้น
ย่อมอ่อน ใช้การได้ ผุดผ่อง ไม่แตกง่าย ใช้งานได้ดี และช่างทองมุ่งหมายจะทำ
เครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ แหวน ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง เครื่องประดับ
ชนิดนั้นย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้ ฉันใด
ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการ เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง ไม่อ่อน
ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะ ฉันนั้น
เหมือนกัน
ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย)
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)

ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง ไม่อ่อน
ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๓. อุปกิเลสสูตร
แต่เมื่อใด จิตพ้นจากความเศร้าหมอง ๕ ประการนี้แล้ว เมื่อนั้น จิตนั้น
ย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ผุดผ่อง ไม่ฟุ้งซ่าน ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
และภิกษุจะน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อมีเหตุ๑ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน
ธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏ หรือให้หายไปก็ได้
ทะลุฝา กำแพง และภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงใน
แผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้
นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ และ
ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน
คือ จิตมีราคะก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
ก็รู้ว่ามีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือ
ปราศจากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหัคคตะ๒ก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๓. อุปกิเลสสูตร
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า
หลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้
เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัป๑เป็นอัน มาก
บ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น
ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติ
ก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิดทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขา
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบ
กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่ว่าร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ ชักชวน
ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิดทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๔. ทุสสีลสูตร
เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมอย่างนี้แล’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน
ธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
อุปกิเลสสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุสสีลสูตร
ว่าด้วยโทษแห่งความทุศีลและคุณแห่งความมีศีล
[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มียถาภูตญาณทัสสนะ๑ ของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทา๒และวิราคะ๓ของ
บุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่
มี วิมุตติญาณทัสสนะ๔ ของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมา-
สมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๕. อนุคคหิตสูตร
วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของ
บุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่ง
และใบวิบัติ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมา-
สมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและ
วิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
สัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น
ย่อมถึงความบริบูรณ์
ทุสสีลสูตรที่ ๔ จบ

๕. อนุคคหิตสูตร
ว่าด้วยธรรมสนับสนุนสัมมาทิฏฐิ
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ๑อันองค์ ๕ สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโต-
วิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติ๒เป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติ๓เป็นผล มีปัญญา-
วิมุตติเป็นผลานิสงส์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๖. วิมุตตายตนสูตร
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ศีล๑ ๒. สุตะ๒
๓. สากัจฉา๓ ๔. สมถะ๔
๕. วิปัสสนา๕

ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิอันองค์ ๕ นี้แล สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติ
เป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็น
ผลานิสงส์
อนุคคหิตสูตรที่ ๕ จบ

๖. วิมุตตายตนสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ
[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ
ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะ
ที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๖. วิมุตตายตนสูตร
เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปแสดงธรรม๑
แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอรู้แจ้งอรรถ๒ รู้แจ้งธรรมในธรรม๓นั้น
ตามที่ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปแสดง
แก่เธอ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี
ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ
ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการ
ที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป
ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๒. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุ แต่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียน
มาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตาม
ที่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย
พิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี
ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ
ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการ
ที่ ๒ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ หรือเธอย่อม
บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๓. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตาม
ที่ตนได้เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ตนได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๖. วิมุตตายตนสูตร
สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม
ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตน
ได้เรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิด
ปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่ง
วิมุตติประการที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร ฯลฯ หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๔. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้
เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร แต่ภิกษุตรึกตามตรองตามเพ่ง
ตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา เธอรู้
แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตามที่ภิกษุตรึกตามตรองตามเพ่ง
ตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา เมื่อเธอ
รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อม
เกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการที่ ๔ ซึ่งเป็น
เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ หรือเธอย่อมบรรลุธรรม
อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๕. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตน
ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับ
มาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร และไม่ได้ตรึกตามตรองตามเพ่ง
ตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา แต่เธอ
เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี
แทงตลอดดีด้วยปัญญา เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตามที่
เธอได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี
แทงตลอดดีด้วยปัญญา เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๗. สมาธิสูตร
ปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุ
แห่งวิมุตติประการที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ
หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่
ยังไม่ได้บรรลุ

ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะ
ที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ
วิมุตตายตนสูตรที่ ๖ จบ

๗. สมาธิสูตร
ว่าด้วยการเจริญสมาธิเพื่อให้ญาณเกิดขึ้น
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญ
อัปปมาณสมาธิ๑เถิด เมื่อเธอมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณสมาธิอยู่
ญาณ๒ ๕ ประการ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน
ญาณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธิ๓นี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุข
เป็นวิบากต่อไป’
๒. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้เป็นอริยะ ปราศจากอามิส๔’
๓. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้อันคนเลวเสพไม่ได้’

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร
๔. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้สงบ ประณีต ได้ด้วยความ
สงบระงับ บรรลุได้ด้วยภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้
ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยสสังขารจิต๑’
๕. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘เรามีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออก
จากสมาธินี้ได้’

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณ-
สมาธิเถิด เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณสมาธิอยู่
ญาณ ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน
สมาธิสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปัญจังคิกสูตร
ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕
[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕
อันเป็นอริยะ๒ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจได้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌาณที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกาย
นี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก ไม่มี
ส่วนไหน ๆ แห่งกาย ของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
จะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนานหรือลูกมือพนักงาน
สรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่ผงสีตัวลงในภาชนะสำริดแล้วพรมด้วย
น้ำหมักไว้ ตกเวลาเย็นผงสีตัวจับตัวติดเป็นก้อน ไม่กระจายออก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ
ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่ง
กายของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง นี้
คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ
ประการที่ ๑

๒. ภิกษุบรรลุทุติยฌาณที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่าน
ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือน
ห้วงน้ำลึกที่มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางไหลมาได้ทั้งในทิศตะวันออก ทิศใต้
ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำ
เย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ
ซึมซาบด้วยน้ำเย็น ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมดที่น้ำ
เย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมทำกายนี้ให้
ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ไม่มีส่วน
ไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะ
ไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็น
อริยะ ประการที่ ๒

๓. ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ
จางคลายไป บรรลุตติยฌาณที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มี
อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เธอทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่าน
ด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนกออุบล กอบัว
หลวง หรือกอบัวขาวบางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ
ถูกน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่นอิ่มเอิบซึมซาบด้วยน้ำเย็น
ตลอดยอด ตลอดเหง้า ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งดอกอุบล ดอกบัวหลวง
หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉัน
นั้น เหมือนกันแล ย่อมทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่านด้วยสุข
อันปราศจากปีติ ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร
ปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ประการที่ ๓

๔. ภิกษุบรรลุจตุตถฌาณที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป
ก่อนแล้ว เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แลด้วยใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี
ส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่
ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษพึงเอาผ้าขาว นั่งคลุมตัวตลอดศีรษะ
ก็ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายทุกส่วนของเขา ที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แล ด้วยใจ
อันบริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอัน
บริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่
ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ประการที่ ๔

๕. ภิกษุเรียนปัจจเวกขณนิมิต๑ มาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทง
ตลอดดีด้วยปัญญา เปรียบเหมือนคนหนึ่งพึงพิจารณาเห็นคนหนึ่ง
คนยืนพึงพิจารณาเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงพิจารณาเห็นคนนอน
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอเรียนปัจจเวกขณนิมิตมาดี
มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา นี้คือการเจริญ
สัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ประการที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ที่ภิกษุ
เจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรม
ใด ๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ๒ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้
เหมาะสม ที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ เปรียบเหมือนหม้อน้ำตั้งอยู่บนเชิงรอง
เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลังพึงเอียงหม้อน้ำนั้นไปรอบ ๆ
น้ำจะกระฉอกออกมาได้ไหม”

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

“ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็น
อริยะที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอัน
ยิ่งซึ่งธรรมใด ๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ เปรียบเหมือนสระน้ำมีลักษณะ
สี่เหลี่ยมในพื้นที่ราบ กั้นด้วยทำนบ เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้
บุรุษผู้มีกำลังพึงเปิดทำนบสระน้ำทุก ๆ ด้าน น้ำจะไหลออกมาได้ไหม”

“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

“ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็น
อริยะที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งซึ่งธรรมใด ๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความ
เป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
เปรียบเหมือนรถม้าที่เทียมแล้วจอดอยู่ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง มีพื้นราบเรียบมีปฏัก
วางไว้ข้างบน คนฝึกม้าผู้ขยันชำนาญในการฝึกขึ้นรถนั้นแล้ว ถือเชือกด้วยมือซ้าย
ถือปฏักด้วยมือขวา พึงขับรถให้เดินหน้าบ้าง ให้ถอยหลังบ้างได้ตามต้องการ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะที่
ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่ง
ธรรมใดที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสม
ที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ ฯลฯ๑ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน
คือ จิตมีราคะก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่า
มีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือปราศ
จากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็น
มหัคคตะก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่น
ยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็น
สมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น
หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะ
ประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน
ธรรมนั้น ๆ

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ฯลฯ’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะ
ประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ’

ปัญจังคิกสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๑๐. นาคิตสูตร

๙. จังกมสูตร
ว่าด้วยการเดินจงกรม
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการเดินจงกรม ๕ ประการนี้
อานิสงส์แห่งการเดินจงกรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เป็นผู้มีความอดทนต่อการเดินทางไกล
๒. เป็นผู้มีความอดทนต่อการบำเพ็ญเพียร
๓. เป็นผู้มีอาพาธน้อย
๔. อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อยได้ง่าย
๕. สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมตั้งอยู่ได้นาน

ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล
จังกมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นาคิตสูตร
ว่าด้วยพระนาคิตะ
[๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์แคว้นโกศลชื่ออิจฉานังคละ เล่ากันว่า
คราวนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ราวป่าชื่ออิจฉานังคละใกล้หมู่บ้านพราหมณ์
ชื่ออิจฉานังคละ
พวกพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละได้ทราบข่าวว่า “ท่านผู้เจริญ
ข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงพระผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงบ้าน
อิจฉานังคละ ประทับอยู่ที่ราวป่าชื่ออิจฉานังคละใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออิจฉานังคละ
ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง
ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๑๐. นาคิตสูตร
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่น
รู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น๑ มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์๒ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
การได้พบพระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ จึงพากันถือเอา
ของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากเข้าไปถึงราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ได้ยืนชุมนุมกันส่งเสียง
อื้ออึงที่ซุ้มประตูด้านนอก
สมัยนั้นแล ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาครับสั่งเรียกท่านพระนาคิตะมาตรัสถามว่า “นาคิตะ คนพวกไหนส่งเสียง
อื้ออึงอยู่นั้น คล้ายพวกชาวประมงแย่งปลากัน”
ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์และคหบดีชาว
บ้านอิจฉานังคละเหล่านั้นพากันถือของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากมายืนชุมนุมกันอยู่ที่
ซุ้มประตูด้านนอก เพื่อถวายพระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้
ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข๓ ปวิเวกสุข
อุปสมสุข สัมโพธสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้
ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและ
การสรรเสริญ”

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๑๐. นาคิตสูตร
ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค
ผู้สุคตจงทรงรับ บัดนี้ เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคจะทรงรับ พระองค์จักเสด็จไป
ทางใด ๆ พราหมณ์คหบดีชาวนิคมและชาวชนบทก็จักหลั่งไหลไปทางนั้น ๆ เปรียบ
เหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงมา น้ำย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงมีศีลและปัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้
ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข
อุปสมสุข สัมโพธสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้
ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและ
การสรรเสริญ
นาคิตะ อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มย่อมกลายเป็นอุจจาระและปัสสาวะ
นี้เป็นผลแห่งอาหารนั้น ปิยชนเกิดมีโสกะ(ความโศก) ปริเทวะ(ความร่ำไร) ทุกข์
(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความแค้นใจ) เพราะสิ่งที่รัก
แปรเป็นอื่นไป นี้เป็นผลแห่งความรักนั้น ความเป็นของปฏิกูลในอสุภนิมิต๑ ย่อมตั้ง
อยู่แก่ภิกษุผู้ขวนขวายการประกอบตามอสุภนิมิต นี้เป็นผลแห่งการประกอบตาม
อสุภนิมิตนั้น ความเป็นของปฏิกูลในผัสสะ ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงในผัสสายตนะ๒ ๖ อยู่ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ผัสสายตนะนั้น ความเป็นของปฏิกูลในอุปาทาน ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็น
ความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์๑ ๕ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นความเกิด
และความดับในอุปาทานขันธ์นั้น”
นาคิตสูตรที่ ๑๐ จบ
ปัญจังคิกวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอคารวสูตร ๒. ทุติยอคารวสูตร
๓. อุปกิเลสสูตร ๔. ทุสสีลสูตร
๕. อนุคคหิตสูตร ๖. วิมุตตายตนสูตร
๗. สมาธิสูตร ๘. ปัญจังคิกสูตร
๙. จังกมสูตร ๑๐. นาคิตสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๑. สุมนสูตร

๔. สุมนวรรค
หมวดว่าด้วยสุมนาราชกุมารี๑

๑. สุมนสูตร
ว่าด้วยสุมนาราชกุมารี
[๓๑] สมัยหนึ่ง ฯลฯ อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น สุมนาราชกุมารีมีรถ ๕๐๐ คัน และกุมารี ๕๐๐ คนแวดล้อม เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๒ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส สาวกของพระผู้มีพระภาค ๒ คน
มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน คนหนึ่งเป็นทายก๓ คนหนึ่งไม่ใช่
ทายก คนทั้งสองนั้น หลังจากตายแล้ว ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านทั้งสองผู้เป็น
เทวดานั้น พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่”

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๑. สุมนสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี สุมนา คือเทวดาผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มเทวดา
ผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕ ประการ คือ

๑. อายุที่เป็นทิพย์ ๒. วรรณะที่เป็นทิพย์
๓. สุขที่เป็นทิพย์ ๔. ยศที่เป็นทิพย์
๕. อธิปไตยที่เป็นทิพย์

เทวดาผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕
ประการนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเทวดาทั้งสองนั้น จุติจากเทวโลกนั้นแล้วมาสู่ความ
เป็นมนุษย์นี้ ท่านทั้งสองผู้เป็นมนุษย์นั้น พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่”
“มี สุมนา คือมนุษย์ผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วย
ฐานะ ๕ ประการ คือ

๑. อายุที่เป็นของมนุษย์ ๒. วรรณะที่เป็นของมนุษย์
๓. สุขที่เป็นของมนุษย์ ๔. ยศที่เป็นของมนุษย์
๕. อธิปไตยที่เป็นของมนุษย์

มนุษย์ผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕
ประการนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคนทั้งสองนั้นออกบวชเป็นบรรพชิต ท่านทั้งสองผู้
เป็นบรรพชิตนั้น พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่”
“มี สุมนา บรรพชิตผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มบรรพชิตผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วย
ฐานะ ๕ ประการ คือ

๑. เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยจีวรมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย
๒. เมื่อเขาขอร้องจึงฉันบิณฑบาตมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงฉันน้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๑. สุมนสูตร
๓. เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยเสนาสนะมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย
๔. เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารมาก เมื่อเขาไม่
ขอร้องจึงใช้สอยน้อย
๕. อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจารีเหล่าใด เพื่อนพรหมจารีเหล่านั้นก็
ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมเป็นที่พอใจ
เป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย นำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็น
ส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย

บรรพชิตผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มบรรพชิตผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕
ประการนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคนทั้งสองนั้นบรรลุอรหัตตผล ท่านทั้งสองผู้บรรลุ
อรหัตตผล พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่”
“สุมนา เราไม่กล่าวว่าแตกต่างกันเลยในระหว่างวิมุตติกับวิมุตติ๑”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้อนี้กำหนดได้ว่า
ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่
บรรพชิต”
“อย่างนั้น สุมนา ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา
แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต”

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๒. จุนทีสูตร
ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาสธาตุ
ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งสิ้นในโลกด้วยรัศมี ฉันใด๑
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมรุ่งเรืองกว่าผู้ตระหนี่ทั้งหมดในโลกด้วยจาคะ
เมฆที่ลอยไปตามอากาศ มีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ
มียอดตั้งร้อย ให้ฝนตกรดแผ่นดินเต็มที่ดอนและที่ลุ่ม ฉันใด
สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ๒
เป็นบัณฑิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ด้วยเหตุ ๕ ประการ
คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และโภคทรัพย์
เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
สุมนสูตรที่ ๑ จบ

๒. จุนทีสูตร
ว่าด้วยจุนทีราชกุมารี๓
[๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๔
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น จุนทีราชกุมารีมีรถ ๕๐๐ คัน และกุมารี ๕๐๐ คน
แวดล้อม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๒. จุนทีสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราชกุมารพระนามว่าจุนทะ พระภาดาของหม่อมฉัน
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘หญิงหรือชายก็ตาม ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่า
เป็นสรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ และเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือ
สุราและเมรัย๑อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ผู้นั้นหลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดใน
สุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ’ หม่อมฉันจึงขอทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้เลื่อม
ใสในศาสดาเช่นไร หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ
ผู้เลื่อมใสในธรรมเช่นไร หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ
ผู้เลื่อมใสในสงฆ์เช่นไร หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ
ผู้ที่ทำให้ศีลเช่นไรบริบูรณ์ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดใน
ทุคติ’

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จุนที สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า
หรือมีเท้ามากก็ตาม มีรูปหรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญา
ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชื่อว่า
เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๒. จุนทีสูตร
ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง หรือธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง มีประมาณเท่าใด วิราคะ
(ความคลายกำหนัด) คือความสร่างความเมา ความดับความกระหาย ความถอนอาลัย
ความตัดวัฏฏะ ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์คือนิพพาน
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในวิราคธรรม ชื่อว่าเลื่อมใส
ในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด สงฆ์สาวกของตถาคต ได้แก่ อริยบุคคล
๔ คู่คือ ๘ บุคคล สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมา
ถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใส
ในสงฆ์ ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
ศีลทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ศีลที่พระอริยะใคร่๑ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าศีลเหล่านั้น บุคคลผู้ทำศีลที่พระอริยะใคร่ให้บริบูรณ์ ชื่อว่า
ทำสิ่งที่เลิศให้บริบูรณ์ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้ทำสิ่งที่เลิศให้บริบูรณ์

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บุญที่เลิศ คืออายุ วรรณะ เกียรติยศ สุข และพละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เลื่อมใส
ผู้รู้ธรรมที่เลิศโดยความเป็นธรรมที่เลิศ
ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ
ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๓. อุคคหสูตร
ผู้เลื่อมใสในพระธรรมที่เลิศอันเป็นที่คลายความกำหนัด
เป็นที่สงบระงับ นำสุขมาให้
ผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศซึ่งเป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ให้ทานในท่านผู้เลิศ
นักปราชญ์ผู้ตั้งมั่นในธรรมที่เลิศ
ให้ทานแก่ท่านผู้เลิศ
เกิดเป็นเทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม
ถึงความเป็นผู้เลิศ๑บันเทิงอยู่๒
จุนทีสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุคคหสูตร
ว่าด้วยอุคคหเศรษฐี
[๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชาติยาวัน เขตเมืองภัททิยะ
ครั้งนั้น อุคคหเศรษฐีผู้เป็นหลานของเมณฑกเศรษฐี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุ ๓ รูป จงรับภัตตาหาร
ของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้” พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยพระอาการดุษณีแล้ว
อุคคหเศรษฐีทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถวาย
อภิวาท ทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ครั้นคืนนั้นผ่านไป เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
จีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของอุคคหเศรษฐี ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๓. อุคคหสูตร
ลำดับนั้น อุคคหเศรษฐีได้ถวายอาหารภิกษุสงฆ์มีพระผู้มีพระภาคเป็น
ประธานให้อิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเอง เมื่อพระผู้มีพระภาค
เสวยเสร็จ ทรงวางพระหัตถ์ จึงนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลูกสาวของข้าพระองค์เหล่านี้ จักไปสู่ตระกูลสามี ขอพระผู้มี
พระภาคทรงกล่าวสอนพร่ำสอนเด็กเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาตลอดกาล
นานเถิด”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนกุมารีเหล่านั้นว่า กุมารีทั้งหลาย
๑. เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘มารดาบิดา
ผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วยความเอ็นดู ยกให้
สามีใด เราทั้งหลายจักตื่นก่อน นอนทีหลังสามีนั้น คอยรับใช้
ปฏิบัติให้เป็นที่พอใจเขา พูดคำไพเราะต่อเขา’ เธอทั้งหลายพึง
สำเหนียกอย่างนี้แล
๒. เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใด
เป็นที่เคารพของสามี คือ บิดา มารดา หรือสมณพราหมณ์
เราทั้งหลายจักสักการะ เคารพ นับถือบูชาชนเหล่านั้น และต้อนรับ
ท่านเหล่านั้น ผู้มาถึงแล้วด้วยอาสนะและน้ำ’ เธอทั้งหลายพึง
สำเหนียกอย่างนี้แล
๓. เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘การงาน
เหล่าใดเป็นการงานในบ้านของสามี คือ การทำผ้าขนสัตว์ หรือ
ผ้าฝ้าย เราทั้งหลายจักขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานเหล่านั้น
จักประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงาน
เหล่านั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล
๔. เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักรู้การงานที่คนในปกครองภายในบ้านสามี คือ ทาส คนใช้ หรือ
กรรมกรว่าทำแล้ว หรือยังไม่ได้ทำ จักรู้อาการของคนเหล่านั้นที่
เป็นไข้ว่าดีขึ้นหรือทรุดลง และจักแบ่งปันของกินของใช้ให้ตามส่วน
ที่ควร’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๓. อุคคหสูตร
๕. เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้ง
หลายจักรักษาคุ้มครองสิ่งที่สามีหามาได้ จะเป็นทรัพย์ ข้าว เงิน
หรือทองก็ตาม จักไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักเลง
สุรา ไม่ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้
แล
กุมารีทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา๑
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
สตรีผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี
ผู้มีความเพียร ขวนขวายเป็นนิตย์
เลี้ยงตนเองทุกเมื่อ ผู้ให้สิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง
ไม่ทำให้สามีขุ่นเคืองด้วยการแสดงความหึงหวง
ยกย่องทุกคนที่สามีเคารพ เป็นคนขยัน
ไม่เกียจคร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
ปฏิบัติถูกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
สตรีผู้ประพฤติตามใจสามีอย่างนี้
จะเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
อุคคหสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เทวดาเหล่ามนาปกายิกา หมายถึงเทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาเหล่านี้เรียกว่า เทพนิมมานรดี และเทพ
มนาปา เพราะเนรมิตรูปตามที่ตนปรารถนาได้ และชื่นชมรูปที่เนรมิตนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๓/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๔. สีหเสนาปติสูตร
๔. สีหเสนาปติสูตร
ว่าด้วยสีหเสนาบดี
[๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองได้ไหม”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ได้ สีหะ” แล้วได้ตรัสต่อไปว่า สีหะ
๑. ทายก ทานบดี๑ย่อมเป็นที่รักที่พอใจของคนหมู่มาก แม้ข้อนี้ ก็
เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง
๒. สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาทายก ทานบดี แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทาน
ที่จะพึงเห็นเอง
๓. กิตติศัพท์อันงามของทายก ทานบดีย่อมขจรไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผล
แห่งทานที่จะพึงเห็นเอง
๔. ทายก ทานบดีจะเข้าไปสู่บริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม
พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม
ก็เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่
จะพึงเห็นเอง
๕. ทายก ทานบดี หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ แม้
ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองในภพหน้า”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สีหเสนาบดีจึงกราบทูลว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เพียงเชื่อต่อพระผู้มีพระภาค ในเรื่องผลแห่งทาน ๔
ประการ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสบอกแล้วนี้เท่านั้น แต่ยังทราบอีกด้วย คือ ข้าพระองค์

เชิงอรรถ :
๑ ทายก ในที่นี้หมายถึงผู้แกล้วกล้าในการให้ทาน คือ ไม่ใช่มีเพียงศรัทธาเท่านั้น แต่กล้าที่จะบริจาคได้ด้วย
ทานบดี หมายถึงผู้เป็นใหญ่ในทาน คือให้ของที่ดีกว่าของที่ตนบริโภค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๔/๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น