Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๓-๑ หน้า ๑ - ๔๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๑.ปฐมปิยสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปัณณาสก์
๑. ธนวรรค
หมวดว่าด้วยอริยทรัพย์
๑. ปฐมปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รัก สูตรที่ ๑
[๑] ข้าพเจ้า๑ ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้ และพระสูตรอื่น ๆ ในเล่มนี้หมายถึง พระอานนท์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๑.ปฐมปิยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มุ่งลาภ ๒. เป็นผู้มุ่งสักการะ
๓. เป็นผู้มุ่งชื่อเสียง ๔. เป็นผู้ไม่มีหิริ (ความอายบาป)
๕. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ (ความกลัวบาป)
๖. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ๗. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น
ที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ
เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ไม่มุ่งลาภ ๒. เป็นผู้ไม่มุ่งสักการะ
๓. เป็นผู้ไม่มุ่งชื่อเสียง ๔. เป็นผู้มีหิริ
๕. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๖. เป็นผู้มักน้อย
๗. เป็นสัมมาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นทื่
พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ปฐมปิยสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๒.ทุติยปิยสูตร
๒. ทุติยปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รัก สูตรที่ ๒
[๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มุ่งลาภ ๒. เป็นผู้มุ่งสักการะ
๓. เป็นผู้มุ่งชื่อเสียง ๔. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๕. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๖. เป็นผู้มีความริษยา
๗. เป็นผู้มีความตระหนี่

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ
เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ไม่มุ่งลาภ ๒. เป็นผู้ไม่มุ่งสักการะ
๓. เป็นผู้ไม่มุ่งชื่อเสียง ๔. เป็นผู้มีหิริ
๕. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๖. เป็นผู้ไม่มีความริษยา
๗. เป็นผู้ไม่มีความตระหนี่

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่
พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ทุติยปิยสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๓.สังขิตตพลสูตร
๓. สังขิตตพลสูตร
ว่าด้วยพละโดยย่อ
[๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี ฯลฯ๑
ภิกษุทั้งหลาย พละ (กำลัง) ๗ ประการนี้
พละ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๓. หิริพละ (กำลังคือหิริ)
๔. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ)
๕. สติพละ (กำลังคือสติ)
๖. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
๗. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้แล
ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตมีพละ ๗ ประการนี้ คือ
สัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
สติพละ สมาธิพละ และปัญญาพละ
ย่อมอยู่อย่างเป็นสุข

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑ (ปฐมปิยสูตร) หน้า ๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๔.วิตถตพลสูตร
เลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย
เห็นแจ้งอรรถด้วยปัญญา๑
ความหลุดพ้นแห่งใจย่อมมีได้
เหมือนความดับไปแห่งประทีป ฉะนั้น
สังขิตตพลสูตรที่ ๓ จบ
๔. วิตถตพลสูตร๒
ว่าด้วยพละโดยพิสดาร
[๔] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้
พละ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. หิริพละ ๔. โอตตัปปพละ
๕. สติพละ ๖. สมาธิพละ
๗. ปัญญาพละ

สัทธาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

เชิงอรรถ :
๑ เลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย หมายถึงพิจารณาเห็นธรรมคืออริยสัจ ๔
เห็นแจ้งอรรถด้วยปัญญา หมายถึงเห็นแจ้งสัจธรรมด้วยปัญญาในอริยมรรค (องฺ.สตฺตก.อ.๓/๑-๕/๑๕๙)
๒ ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๓๓๑/๒๒๒, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕/๑๖, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒/๒-๕, ๑๔/๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๔.วิตถตพลสูตร
โดยชอบ ฯลฯ๑ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า๒ เป็นพระ
ผู้มีพระภาค‘๓ นี้เรียกว่า สัทธาพละ
วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร๔ เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ
ให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง๕ มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ นี้เรียกว่า วิริยพละ
หิริพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริพละ
โอตตัปปพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า
โอตตัปปพละ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๙ (อักขณสูตร) หน้า ๒๗๖ ในเล่มนี้
๒ ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมดด้วยพระองค์เอง และทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตาม
๓ ชื่อว่า พระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ทรงประกอบด้วยภคธรรม
๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน โลกุตตรธรรม ยศ สิริ ความสำเร็จประโยชน์ตามต้องการ
และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรงคายตัณหาในภพทั้งสาม
(๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย ๔ เป็นต้น
(ตามนัย วิ.อ.๑/๑/๑๐๓-๑๑๘, สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๗๐, วิสุทธิ. ๑/๑๒๔-๑๔๕/๒๑๕-๒๓๒)
๔ ปรารภความเพียรในที่นี้หมายถึงทำความเพียรทางกายและทางใจไม่ย่อหย่อน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๔/๔๔๐,
องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๑)
๕ มีความเข้มแข็ง ในที่นี้หมายถึงมีกำลังความเพียร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๔.วิตถตพลสูตร
สติพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตน๑อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สติพละ
สมาธิพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ๒ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สมาธิพละ
ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ๓ ชำแรกกิเลสให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้แล
ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตมีพละ ๗ ประการนี้ คือ
สัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
สติพละ สมาธิพละ และปัญญาพละ
ย่อมอยู่อย่างเป็นสุข

เชิงอรรถ :
๑ สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน (เนปกฺก) เป็นชื่อของปัญญาที่เป็นอุปการะแก่สติ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔/๔)
๒ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๕๓ (นันทมาตาสูตร) หน้า ๙๕ ในเล่มนี้
๓ ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ แยกอธิบายดังนี้ คือ
ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาปัญญา และมัคคปัญญา
ความเกิดและความดับ ในที่นี้หมายถึงความเกิดและความดับแห่งเบญจขันธ์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณ
อันเป็นอริยะ ในที่นี้หมายถึงบริสุทธิ์อยู่ห่างไกลจากกิเลสทั้งหลายด้วยวิกขัมภนปหานะ (การละด้วยการ
ข่มไว้) และด้วยสมุจเฉทปหานะ (การละด้วยการตัดขาด) (องฺ.ปญฺจก.อ.๓/๒/๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๕.สังขิตตธนสูตร
เลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย
เห็นแจ้งอรรถด้วยปัญญา
ความหลุดพ้นแห่งใจย่อมมีได้
เหมือนความดับไปแห่งประทีป ฉะนั้น
วิตถตพลสูตรที่ ๔ จบ
๕. สังขิตตธนสูตร
ว่าด้วยอริยทรัพย์โดยย่อ
[๕] ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้
ทรัพย์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาธนะ(ทรัพย์คือศรัทธา) ๒. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล)
๓. หิริธนะ (ทรัพย์คือหิริ) ๔. โอตตัปปธนะ (ทรัพย์คือโอตตัปปะ)
๕. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ) ๖. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ)
๗. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล
ผู้ใดจะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม
มีทรัพย์ ๗ ประการนี้ คือ สัทธาธนะ
สีลธนะ หิริธนะ โอตตัปปธนะ
สุตธนะ จาคธนะ และปัญญาธนะ
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ‘เป็นคนไม่ขัดสน’
ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๖.วิตถตธนสูตร
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล
ความเลื่อมใสและการเห็นธรรม๑
สังขิตตธนสูตรที่ ๕ จบ
๖. วิตถตธนสูตร๒
ว่าด้วยอริยทรัพย์โดยพิสดาร
[๖] ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้
ทรัพย์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาธนะ ๒. สีลธนะ
๓. หิริธนะ ๔. โอตตัปปธนะ
๕. สุตธนะ ๖. จาคธนะ
๗. ปัญญาธนะ

สัทธาธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ
ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ๓ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า
สัทธาธนะ

เชิงอรรถ :
๑ การเห็นธรรม ในที่นี้หมายถึงเห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙)
และ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๒/๘๗
๒ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๔๗/๗๖
๓ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๙ (อักขณสูตร) หน้า ๒๗๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๖.วิตถตธนสูตร
สีลธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑ เป็นผู้เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๒อันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า
สีลธนะ
หิริธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริธนะ
โอตตัปปธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า
โอตตัปปธนะ
สุตธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๓ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมาก
ซึ่งธรรมทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มและความพิสดารในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๑ (สังขิตตุโปสถสูตร) หน้า ๓๐๓-๓๐๔ ในเล่มนี้
๒ สุราและเมรัย หมายถึงสุรา ๕ อย่าง คือ (๑) สุราแป้ง (๒) สุราขนม (๓) สุราข้าวสุก (๔) สุราใส่เชื้อ
(๕) สุราผสมเครื่องปรุง และเมรัย ๕ อย่าง คือ (๑) เครื่องดองดอกไม้ (๒) เครื่องดองผลไม้ (๓) เครื่องดอง
น้ำอ้อย (๔) เครื่องดองผสมเครื่องปรุง (๕) เครื่องดองน้ำผึ้ง (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๗-๑๘)
ส่วนใน องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๗๙/๖๖ อธิบายว่า เมรัยมี ๔ อย่าง กล่าวคือ
ไม่มีเครื่องดองผสมเครื่องปรุง
คำว่า ‘เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย’ อาจแปลได้อีกว่า ‘เว้นขาดจากการเสพสุรา
เมรัยและของมึนเมา’ ตามนัยนี้คือ ‘ตทุภยเมว (สุราเมรยํ) มทนียฏฺเฐน มชฺชํ, ยํ วา ปน�ฺ�มฺปิ กิ�ฺจิ
มทนียํ’ แปลว่า สุราและเมรัยทั้งสองนั้นแหละ เป็นของมึนเมา เพราะเป็นเหตุให้เมา และยังมีสิ่งอื่นอีกที่
เป็นของมึนเมา (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๘)
๓ สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ คือ (๑)สุตตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์
นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรในสุตตนิบาต และพุทธวจนะอื่น ๆ ที่มีชื่อว่าสุตตะ หรือสุตตันตะ
(๒) เคยยะ ได้แก่ ความที่มีร้อยแก้ว และร้อยกรองผสมกัน หมายถึงพระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะ
สคาถวรรค ในสังยุตตนิกาย (๓) เวยยากรณะ ได้แก่ ความร้อยแก้วล้วน หมายเอาอภิธรรมปิฎกทั้งหมด
พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์อื่นใดที่ไม่จัดเข้าในองค์ ๘ ข้อที่เหลือ (๔) คาถา ได้แก่ ความ
ร้อยกรองล้วน หมายเอาธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๖.วิตถตธนสูตร
ในที่สุด๑ ประกาศพรหมจรรย์๒พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์๓ครบถ้วน
ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๔ นี้เรียกว่า สุตธนะ
จาคธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม๕ ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน
อยู่ครองเรือน นี้เรียกว่า จาคธนะ

เชิงอรรถ :
(๕) อุทาน ได้แก่ พระคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระทัยอันสหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณพร้อมทั้ง
ข้อความอันประกอบอยู่ด้วย รวมเป็นพระสูตร ๘๒ สูตร (๖) อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร ๑๑๐ สูตรที่
ตรัสโดยนัยว่า “วุตฺตํ เหตํ ภควตา” (๗) ชาตกะ ได้แก่ ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดก เป็นต้น
(๘) อัพภูตธรรม ได้แก่ พระสูตรที่ว่าด้วยเหตุอัศจรรย์ทุกสูตร เช่นที่ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเป็น
อัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้ มีอยู่ในอานนท์” ดังนี้ เป็นต้น (๙) เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบถาม
ตอบซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้และความพอใจถามต่อๆ ไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร
สักกปัญหสูตร สังขารภาชนิยสูตร และมหาปุณณมสูตร (องฺ.จตุกฺก.อ.๒/๖/๒๘๒, วิ.อ.๑/๒๖) และดู
องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖/๙-๑๑, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๗๓/๑๒๓
๑ มีความงามในเบื้องต้น หมายถึงศีล มีความงามในท่ามกลาง หมายถึงอริยมรรค และ มีความงาม
ในที่สุด หมายถึงพระนิพพาน (ที.สี.อ. ๑/๑๙๐/๑๕๙)
๒ พรหมจรรย์ หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๐ ประการ คือ ทาน (การให้) เวยยาวัจจะ (การ
ขวนขวายช่วยเหลือ) ปัญจสีละ (ศีลห้า) อัปปมัญญา (การประพฤติพรหมวิหารอย่างไม่มีขอบเขต)
เมถุนวิรัติ (การงดเว้นจากการเสพเมถุน) สทารสันโดษ (ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน) วิริยะ (ความเพียร)
อุโปสถังคะ (องค์อุโบสถ) อริยมรรค (ทางอันประเสริฐ) และศาสนา (พระพุทธศาสนา) ในที่นี้หมายถึงศาสนา
(ที.สี.อ. ๑/๑๙๐/๑๖๐-๑๖๒)
๓ บริสุทธิ์ หมายถึงไม่มีสิ่งเป็นโทษที่จะต้องนำออก บริบูรณ์ หมายถึงเต็มที่แล้วโดยไม่ต้องนำไปเพิ่มอีก
(ตามนัย วิ.อ. ๑/๑/๑๒๑)
๔ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ หมายถึงรู้แจ้งธรรมโดยผลและเหตุด้วยปัญญา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒/๓๐๐)
๕ มีฝ่ามือชุ่ม หมายถึงมีมือล้างสะอาดแล้วด้วยน้ำคือศรัทธา ถ้าคนไม่มีศรัทธาแม้จะล้างถึง ๗ ครั้งก็ชื่อว่า
มีมือยังไม่ได้ล้าง มีมือสกปรก แต่คนมีศรัทธา แม้มีมือสกปรกก็ชื่อว่ามีมือสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๒/
๑๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๖.วิตถตธนสูตร
ปัญญาธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา ฯลฯ๑
ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาธนะ
ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล
ผู้ใดจะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม
มีทรัพย์ ๗ ประการนี้ คือ สัทธาธนะ
สีลธนะ หิริธนะ โอตตัปปธนะ
สุตธนะ จาคธนะ และปัญญาธนะ
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ‘เป็นคนไม่ขัดสน’
ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล
ความเลื่อมใสและการเห็นธรรม
วิตถตธนสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๔ (วิตถตพลสูตร) หน้า ๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๗.อุคคสูตร
๗. อุคคสูตร
ว่าด้วยมหาอำมาตย์ชื่ออุคคะ
[๗] ครั้งนั้น ราชมหาอำมาตย์ชื่ออุคคะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่มิคารเศรษฐีผู้เป็น
หลานของโรหณเศรษฐีนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มากถึงเพียงนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อุคคะ มิคารเศรษฐีผู้เป็นหลานของโรหณเศรษฐี
เป็นผู้มั่งคั่งเพียงไร มีทรัพย์มากเท่าไร มีโภคทรัพย์มากเท่าไร”
อุคคมหาอำมาตย์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เขามีทองแสนหนึ่ง ไม่จำ
ต้องกล่าวถึงเงิน”๒
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุคคะ ทรัพย์นั้นมีอยู่จริง เรามิได้กล่าวว่า ทรัพย์นั้น
ไม่มี แต่ทรัพย์นั้นแลเป็นของทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร และทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก
อุคคะ ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล เป็นของไม่ทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร และ
ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก
ทรัพย์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาธนะ ๒. สีลธนะ
๓. หิริธนะ ๔. โอตตัปปธนะ
๕. สุตธนะ ๖. จาคธนะ
๗. ปัญญาธนะ

อุคคะ ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล เป็นของไม่ทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร และ
ทายาทผู้ไม่ที่เป็นรัก

เชิงอรรถ :
๑ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสมเว้นโทษ ๖ ประการ คือ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป
(๓) อยู่เหนือลม (๔) อยู่สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕)
๒ เงิน ในที่นี้หมายถึงเครื่องเงิน เช่น ถ้วย โถ โอ ชาม ขันน้ำ และเครื่องปูลาด เป็นต้น (องฺ.สตฺตก.อ.
๓/๗/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๘.สัญโญชนสูตร
ผู้ใดจะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม
มีทรัพย์ ๗ ประการนี้ คือ สัทธาธนะ
สีลธนะ หิริธนะ โอตตัปปธนะ
สุตธนะ จาคธนะ และปัญญาธนะ
ผู้นั้นแลเป็นคนมีทรัพย์มาก
ใคร ๆ ไม่พึงชนะได้ทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล
ความเลื่อมใสและการเห็นธรรม
อุคคสูตรที่ ๗ จบ
๘. สัญโญชนสูตร
ว่าด้วยสังโยชน์๑
[๘] ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๗ ประการนี้
สังโยชน์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อนุนยสังโยชน์๒ (สังโยชน์คือความยินดี)
๒. ปฏิฆสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินร้าย)
๓. ทิฏฐิสังโยชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด)
๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความลังเลสงสัย)
๕. มานสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือตัว)
๖. ภวราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความติดใจในภพ)
๗. อวิชชาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความไม่รู้แจ้ง)

ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้แล
สัญโญชนสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา ๑๑/๓๓๒/๒๒๓, สํ.ม. ๑๙/๑๘๐-๑๘๑/๕๖-๕๗, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑, อภิ.วิ. (แปล)
๓๕/๙๔๐/๕๙๒,๙๔๙/๖๐๖)
๒ อนุนยสังโยชน์ หมายถึงกามราคสังโยชน์ (องฺ.สตฺตก.อ.๓/๘/๑๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๙.ปหานสูตร
๙. ปหานสูตร
ว่าด้วยการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละสังโยชน์
[๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗
ประการ
ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอนุนยสังโยชน์
๒. ... ปฏิฆสังโยชน์
๓. ... ทิฏฐิสังโยชน์
๔. ... วิจิกิจฉาสังโยชน์
๕. ... มานสังโยชน์
๖. ... ภวราคสังโยชน์
๗. ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอวิชชาสังโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละอนุนยสังโยชน์ได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ ละปฏิฆสังโยชน์ได้เด็ดขาด ฯลฯ ทิฏฐิสังโยชน์ ฯลฯ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ฯลฯ
มานสังโยชน์ ฯลฯ ภวราคสังโยชน์ ฯลฯ ละอวิชชาสังโยชน์ได้เด็ดขาด ตัดราก
ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เมื่อนั้น เราจึงเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์
ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ‘๑
ปหานสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตัดตัณหาได้เด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค ถอนสังโยชน์ ๑๐ ประการได้ ทำให้วัฏฏทุกข์หยุดการ
หมุนได้ และคำว่า “เพราะละมานะได้” แปลจากบาลีว่า “มานาภิสมยา” ตามนัย วิ.อ. ๑/๙๗ ใช้ใน
ความหมายว่า ‘ละ’ ดังนั้น จึงมีความหมายว่า เพราะรู้ยิ่งคือเห็นและละมานะ ๙ ประการได้ (ม.มู.อ.๑/๒๗/
๙๕, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๗/๓๙๘) และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๗/๒๔๙, ๒๕๗/๓๗๔, องฺ.ฉกฺก. (แปล)
๒๒/๑๐๕/๖๒๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. มัจฉริยสูตร
ว่าด้วยมัจฉริยะ
[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้
สังโยชน์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อนุนยสังโยชน์ ๒. ปฏิฆสังโยชน์
๓. ทิฏฐิสังโยชน์ ๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์
๕. มานสังโยชน์ ๖. อิสสาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความริษยา)

๗. มัจฉริยสังโยชน์ (สังโยชน์คือความตระหนี่)
ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้แล
มัจฉริยสูตรที่ ๑๐ จบ
ธนวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปิยสูตร ๒. ทุติยปิยสูตร
๓. สังขิตตพลสูตร ๔. วิตถตพลสูตร
๕. สังขิตตธนสูตร ๖. วิตถตธนสูตร
๗. อุคคสูตร ๘. สัญโญชนสูตร
๙. ปหานสูตร ๑๐. มัจฉริยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๑.ปฐมอนุสยสูตร
๒. อนุสยวรรค
หมวดว่าด้วยอนุสัย
๑. ปฐมอนุสยสูตร
ว่าด้วยอนุสัย สูตรที่ ๑
[๑๑] ภิกษุทั้งหลาย อนุสัย๑ (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน) ๗ ประการนี้
อนุสัย ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กามราคานุสัย (อนุสัยคือความกำหนัดในกาม)
๒. ปฏิฆานุสัย (อนุสัยคือความยินร้าย)
๓. ทิฏฐานุสัย (อนุสัยคือความเห็นผิด)
๔. วิจิกิจฉานุสัย (อนุสัยคือความลังเลสงสัย)
๕. มานานุสัย (อนุสัยคือความถือตัว)
๖. ภวราคานุสัย (อนุสัยคือความติดใจในภพ)
๗. อวิชชานุสัย (อนุสัยคือความไม่รู้แจ้ง)

ภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ ประการนี้แล
ปฐมอนุสยสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๒/๒๒๓, สํ.ม. ๑๙/๑๗๖/๕๕, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๙/๖๐๕-๖๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๒.ทุติยอนุสยสูตร
๒. ทุติยอนุสยสูตร
ว่าด้วยอนุสัย สูตรที่ ๒
[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอนุสัย
๗ ประการ
ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอนุสัย ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดกามราคานุสัย
๒. ... ปฏิฆานุสัย
๓. ... ทิฏฐานุสัย
๔. ... วิจิกิจฉานุสัย
๕. ... มานานุสัย
๖. ... ภวราคานุสัย
๗. ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอวิชชานุสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอนุสัย ๗ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละกามราคานุสัยได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ ละปฏิฆานุสัยได้เด็ดขาด ฯลฯ ทิฏฐานุสัย ฯลฯ วิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ มานานุสัย
ฯลฯ ภวราคานุสัย ฯลฯ ละอวิชชานุสัยได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราจึงเรียกว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ’
ทุติยอนุสยสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๓.กุลสูตร
๓. กุลสูตร๑
ว่าด้วยตระกูลที่ภิกษุไม่ควรเข้าไปหาและควรเข้าไปหา
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ ภิกษุยังไม่เคย
เข้าไปหา ก็ไม่ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้
องค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ตระกูล
๑. ต้อนรับด้วยความไม่เต็มใจ
๒. ไหว้ด้วยความไม่เต็มใจ
๓. ให้อาสนะด้วยความไม่เต็มใจ
๔. ปกปิดของที่มีอยู่
๕. มีของมาก แต่ถวายน้อย
๖. มีของประณีต แต่ถวายของเศร้าหมอง
๗. ถวายโดยไม่เคารพ ไม่ถวายโดยเคารพ
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคยเข้า
ไปหา ก็ไม่ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ ภิกษุยังไม่เคยเข้าไปหา
ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ควรนั่งใกล้
องค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ตระกูล
๑. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๒. ไหว้ด้วยความเต็มใจ
๓. ให้อาสนะด้วยความเต็มใจ
๔. ไม่ปกปิดของที่มีอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดูนวกนิบาต ข้อ ๑๗ (กุลสูตร) หน้า ๔๖๕-๔๖๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๔.ปุคคลสูตร
๕. มีของมาก ก็ถวายมาก
๖. มีของประณีต ก็ถวายของประณีต
๗. ถวายโดยเคารพ ไม่ถวายโดยไม่เคารพ
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคยเข้า
ไปหา ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ควรนั่งใกล้
กุลสูตรที่ ๓ จบ
๔. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้๑ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต๒ ๒. ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต๓
๓. ท่านผู้เป็นกายสักขี๔ ๔. ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ๕

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๑๕๐/๙๑, ๓๓๒/๒๒๓, ม.ม. ๑๓/๑๘๒/๑๕๕, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๖/๒๙, อภิ.ปุ. (แปล)
๓๖/๑๕/๑๔๘,๒๐๘/๒๒๙-๒๓๑
๒ ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน) หมายถึงท่านผู้หลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ
และหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค ได้แก่ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกาย ได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมาบัติ และสิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา เป็นพระอรหันต์ผู้ได้
ปัญญาวิมุตติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๐, องฺ.นวก.อ. ๓/๔๕/๓๑๖)
๓ ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ มิได้สัมผัส
วิโมกข์ ๘ แต่สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑)
๔ ท่านผู้เป็นกายสักขี (ผู้เป็นพยานในนามกาย) หมายถึงท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย และอาสวะ
บางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงท่านผู้ปฏิบัติ
เพื่อบรรลุพระอรหัตที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑)
๕ ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ) หมายถึงท่านผู้เข้าใจอริยสัจถูกต้องและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไป
เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหัตที่มี
ปัญญินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑))

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๕.อุทกูปมาสูตร
๕. ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต๑ ๖. ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี๒
๗. ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี๓
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่
ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ปุคคลสูตรที่ ๔ จบ
๕. อุทกูปมาสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เปรียบด้วยคนตกน้ำ๔
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยคนตกน้ำ ๗ จำพวก มีปรากฏอยู่
ในโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ จมแล้วครั้งเดียว ก็ยังจมอยู่นั่นเอง
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป

เชิงอรรถ :
๑ ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา) หมายถึงท่านผู้เข้าใจอริยสัจถูกต้อง ได้แก่ พระอริยบุคคล
ผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.
สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)
๒ ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี (ผู้แล่นไปตามธรรม) หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บำเพ็ญอริยมรรค ดำรงอยู่ใน
โสดาปัตติมรรค กำลังปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลมีปัญญาแก่กล้าเป็นตัวนำ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)
๓ ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี (ผู้แล่นไปตามศรัทธา) หมายถึงท่านผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค กำลังปฏิบัติเพื่อ
บรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้าเป็นตัวนำ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)
๔ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๓/๑๔๗,๒๐๓/๒๒๗-๒๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๕.อุทกูปมาสูตร
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่ง เป็นผู้ลอยบาปอยู่
บนบก
บุคคลผู้จมลงครั้งเดียว ก็ยังจมอยู่นั่นเอง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมฝ่ายดำโดยส่วนเดียว๑
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้จมลงครั้งเดียว ก็ยังจมอยู่นั่นเอง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่ มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ศรัทธา
ของเขานั้นไม่คงอยู่กับที่ ไม่เจริญ เสื่อมไปฝ่ายเดียว หิริของเขานั้น ... โอตตัปปะ
ของเขานั้น ... วิริยะของเขานั้น ... ปัญญาของเขานั้นไม่คงอยู่กับที่ ไม่เจริญ เสื่อมไป
ฝ่ายเดียว ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่ มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และศรัทธา
ของเขานั้นไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงอยู่กับที่ หิริของเขานั้น ... โอตตัปปะของเขานั้น ...
วิริยะของเขานั้น ... ปัญญาของเขานั้นไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงอยู่กับที่ ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ อกุศลธรรมฝ่ายดำโดยส่วนเดียว ในที่นี้หมายถึงนิยตมิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ ลัทธินัตถิกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่า
ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล) อเหตุกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย)
และอกิริยวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดีทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว (เป็นความเห็นที่
ปฏิเสธกฎแห่งกรรม) (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๕/๑๖๒, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๑๕/๑๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๕.อุทกูปมาสูตร
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพราะ
สังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิ๑ในวันข้างหน้า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู เป็น
อย่างนี้แล
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพราะ
สังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เพราะราคะ โทสะและโมหะเบาบาง เขาจึงเป็นสกทาคามี
มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้น
แล้วข้ามไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพราะ
สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นโอปปาติกะ๒ ปรินิพพานในภพชั้น
สุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้น ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง
เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรคเบื้องสูง ๓ ประการ (คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค)
(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๕, สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๑/๕๕๙)
๒ โอปปาติกะ คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น เทวดา
และสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) ในที่นี้หมายถึงโอปปาติกะที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
ได้เป็นพระอริยบุคคลชั้นอนาคามีไปเกิดในสุทธาวาส ๕ ชั้น มีชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้น
นั้น ๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลสอยู่ในสุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๖/๓๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๖.อนิจจานุปัสสีสูตร
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่ง เป็นผู้ลอยบาปอยู่บนบก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี... มีโอตตัปปะดี... มีวิริยะดี... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเขาทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ๑ ปัญญาวิมุตติ๒ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่ง เป็นผู้
ลอยบาปอยู่บนบก เป็นอย่างนี้แล๓
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยคนตกน้ำ ๗ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
อุทกูปมาสูตรที่ ๕ จบ
๖. อนิจจานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ
สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

เชิงอรรถ :
๑ เจโตวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตซึ่งเป็นผลแห่งสมาธิ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/
๖๒)
๒ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการกำจัดอวิชชาได้ซึ่งเป็นผลแห่งปัญญา (องฺ.ทุก.อ.
๒/๘๘/๖๒)
๓ คำว่า “โผล่ขึ้น” ในสูตรนี้ หมายถึงมีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญา บุคคลจำพวกที่ ๗ นี้
หมายถึงผู้ข้ามโอฆะคือกิเลสทั้งปวงได้ ดำรงตนอยู่บนบกคือนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๕/๑๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๖.อนิจจานุปัสสีสูตร
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควร
แก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ
สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขามีปัญญาหยั่งรู้ความสิ้น
อาสวะและความสิ้นชีวิต ไม่ก่อนไม่หลังกัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
บุคคลจำพวกที่ ๒ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ
ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ
สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นอันตราปรินิพพายี๑ ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๓ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของ
ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอด
เยี่ยมของโลก

เชิงอรรถ :
๑ อันตราปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือเกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว
อายุยังไม่ถึงกึ่งของอายุผู้เกิดในชั้นสุทธาวาสก็ปรินิพพานเสียในระหว่าง แต่ละชั้นมี ๓ จำพวก เช่นในชั้น
อวิหามีอายุ ๑,๐๐๐ กัป มี ๓ จำพวก ดังนี้ คือ
พวกที่ ๑ บรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิด ถ้าไม่บรรลุในวันที่เกิดได้ก็บรรลุไม่เกินภายใน ๑๐๐ กัป
พวกที่ ๒ เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิดหรือบรรลุภายใน ๑๐๐ กัปได้ ก็บรรลุภายใน
๒๐๐ กัป
พวกที่ ๓ เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลภายใน ๒๐๐ กัปได้ ก็บรรลุไม่เกินภายใน ๔๐๐ กัป
ส่วนในสุทธาวาสชั้นอื่น ๆ คือ ชั้นอตัปปาที่มีอายุ ๒,๐๐๐ กัป ชั้นสุทัสสาที่มีอายุ ๔,๐๐๐ กัป ชั้นสุทัสสี
ที่มีอายุ ๘,๐๐๐ กัป ชั้นอกนิฏฐาที่มีอายุ ๑๖,๐๐๐ กัป ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้ (องฺ.ติก.อ.๒/๘๘/๒๔๓) และ
ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๐๒๗/๖๗๓-๖๗๔ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๖.อนิจจานุปัสสีสูตร
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี๑ ฯลฯ
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี๒ ฯลฯ
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี๓ ฯลฯ
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ
สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี๔ ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๗ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่
ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก
อนิจจานุปัสสีสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อุปหัจจปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว มีอายุพ้นกึ่งจึงปรินิพพาน
(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) เช่น ในชั้นอวิหาซึ่งมีอายุ ๑,๐๐๐ กัป พระอนาคามีจำพวกนี้มีอายุพ้นกึ่งคือ
พ้น ๕๐๐ กัปแล้วจึงปรินิพพาน ส่วนในสุทธาวาสชั้นอื่นที่เหลือซึ่งมีอายุแตกต่างกันไปก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้
๒ อสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้บรรลุพระอรหัตปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.ติก.อ.
๒/๘๘/๒๔๓)
๓ สสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งบรรลุพระอรหัตปรินิพพาน
โดยต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๔ อุทธังโสตอกนิฏฐคามี หมายถึงพระอนาคามีผู้มีกระแสสูงขึ้นไปจนถึงชั้นอกนิฏฐภพคือเกิดในสุทธา-
วาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็จะเกิดเลื่อนต่อไปจนถึงชั้นอกนิฏฐภพ แล้วจึงปรินิพพานในภพนั้น (องฺ.ติก.อ. ๒/
๘๘/๒๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๘.อนัตตานุปัสสีสูตร
๗. ทุกขานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ฯลฯ๑ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ มีสัญญา
ว่าเป็นทุกข์ รู้ว่าเป็นทุกข์ในสังขารทั้งปวงอยู่
ฯลฯ
ทุกขานุปัสสีสูตรที่ ๗ จบ
๘. อนัตตานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา
[๑๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา มีสัญญา
ว่าเป็นอนัตตา รู้ว่าเป็นอนัตตาในสังขารทั้งปวงอยู่
ฯลฯ
อนัตตานุปัสสีสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เครื่องหมาย “ฯลฯ” ที่ปรากฏในข้อ ๑๗-๑๘ ดูความเต็มในข้อ ๑๖ (อนิจจานุปัสสีสูตร) หน้า ๒๔-๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๙.นิพพานสูตร
๙. นิพพานสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุขในนิพพาน
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า
เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด
ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้ควรแก่ของที่
เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า
เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด
ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขามีปัญญาหยั่งรู้ความสิ้นอาสวะ และความ
สิ้นชีวิต ไม่ก่อนไม่หลังกัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๒
ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า
เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด
ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เขา
จึงเป็นอันตราปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๓
ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี๑ ฯลฯ
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า
เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด
ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เขาจึง

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๒๕ และเชิงอรรถที่ ๑-๔ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๑๐.นิททสวัตถุสูตร
เป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๗
ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
นิพพานสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. นิททสวัตถุสูตร
ว่าด้วยนิททสวัตถุ
[๒๐] ภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ๑ (เหตุให้ได้ชื่อว่าผู้ไม่มีอายุ ๑๐ ปี) ๗ ประการนี้
นิททสวัตถุ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา๒ และได้ความรัก
ในการสมาทานสิกขาต่อไป๓
๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม๔ และได้ความรัก
ในการใคร่ครวญธรรมต่อไป

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า นิททสวัตถุ นี้ แปลว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสะ” แปลว่า มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี คำนี้เป็นคำที่
พวกเดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนด ๑๒ ปี ถ้าตายลง เมื่อถึง ๑๐ ปี เรียกผู้นั้นว่า
“นิททสะ” คือ เมื่อมาเกิดอีกจะมีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี และอาจไม่ถึง ๙ ปี ๑ ปี แต่พระผู้มีพระภาคทรงใช้คำนี้
หมายถึงพระขีณาสพในความหมายว่า “ไม่มีการเกิดอีก” ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงวันเดียวหรือครู่เดียว โดยมี
เงื่อนไขว่าผู้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยธรรม ๗ ประาร ส่วนเวลาประพฤติพรหมจรรย์มากน้อยไม่สำคัญ
ดู ข้อ ๔๒-๔๓ หน้า ๖๒-๖๖ ในเล่มนี้ประกอบด้วย (องฺ.สตฺตก.อ. ๓๒๐/๑๖๔-๑๖๕, ที.ปา.อ. ๓/๓๓๑/
๒๓๘) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๑/๒๒๒
๒ สมาทานสิกขา ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญาให้บริบูรณ์ และถูกต้อง
(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒)
๓ ต่อไป ในที่นี้หมายถึงกาลเวลาแห่งการบำเพ็ญที่ต่อเนื่องกันไม่ขาดระยะ มิได้หมายถึงภพในอนาคต
(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒)
๔ การใคร่ครวญธรรม แปลจากบาลีว่า “ธมฺมนิสนฺติ” หมายถึงการเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรม โดยความ
เป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ดังนั้น คำว่า “ธมฺมนิสนฺติ” นี้จึงเป็นชื่อของวิปัสสนา (ความ
เห็นแจ้ง) (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก๑ และได้ความ
รักในการกำจัดความอยากต่อไป
๔. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และได้ความรักในการ
หลีกเร้นต่อไป
๕. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และได้ความรัก
ในการปรารภความเพียรต่อไป
๖. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๒ และได้
ความรักในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนต่อไป
๗. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ๓และได้ความรัก
ในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล
นิททสวัตถุสูตรที่ ๑๐ จบ
อนุสยวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอนุสยสูตร ๒. ทุติยอนุสยสูตร
๓. กุลสูตร ๔. ปุคคลสูตร
๕. อุทกูปมาสูตร ๖. อนิจจานุปัสสีสูตร
๗. ทุกขานุปัสสีสูตร ๘. อนัตตานุปัสสีสูตร
๙. นิพพานสูตร ๑๐. นิททสวัตถุสูตร


เชิงอรรถ :
๑ การกำจัดความอยาก หมายถึงการกำจัดหรือการข่มตัณหาได้ด้วยอำนาจของภังคานุปัสสนาญาณ
(ญาณอันตามเห็นความสลาย) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) หรือด้วยอำนาจ
วิปัสสนาญาณมีวิราคานุปัสสนาเป็นต้น (ที.ปา.ฏีกา ๓๓๑/๓๒๖)
๒ สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ในที่นี้หมายถึงสติและเนปักกปัญญากล่าวคือสติและสัมปชัญญะ (องฺ.สตฺตก.อ.
๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๓)
๓ ในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ แปลจากบาลีว่า ทิฏฺฐิปฏิเวเธ หมายถึงมัคคทัสสนะ (การเห็นมรรค) กล่าว
คือ การเห็นแจ้งด้วยมัคคสัมมาทิฏฐิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๑.สารันททสูตร
๓. วัชชิสัตตกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรม ๗ ประการของชาววัชชี๑
๑. สารันททสูตร
ว่าด้วยการแสดงอปริหานิยธรรมที่สารันททเจดีย์
[๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สารันททเจดีย์๒ เขตกรุงเวสาลี
ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีหลายองค์ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นดังนี้ว่า
“เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม๓ ๗ ประการแก่ท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญ๔ อย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง
๒. พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกัน
เลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีพึงทำ
๓. พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่
บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นในวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม๕

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม.๑๐/๑๓๔/๖๖-๖๘ (มหาปรินิพพานสูตร)
๒ สารันททเจดีย์ หมายถึงสถานที่เป็นที่อยู่ของยักษ์ชื่อสารันททะ หรือหมายถึงสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรง
ทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๑/๑๖๖)
๓ อปริหานิยธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญโดยส่วนเดียว ไม่มีความเสื่อม มี ๒ ประเภท
คือ ราชอปริหานิยธรรม และภิกขุอปริหานิยธรรม (ที.ม.อ. ๒/๑๓๔-๑๓๖/๑๑๖-๑๒๘)
๔ ความเจริญ ในที่นี้หมายถึงความเจริญด้วยคุณธรรมมีศีลเป็นต้น (ที.ม.อ. ๒/๑๓๖/๑๒๖)
๕ วัชชีธรรมที่วางไว้เดิม หมายถึงประเพณีที่สืบต่อกันมานาน เช่น จับผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโจร ผู้จับจะไม่
สอบสวนเอง แต่จะส่งให้ฝ่ายสอบสวน ฝ่ายสอบสวนสืบสวนแล้วรู้ว่าไม่ใช่ก็ปล่อย ถ้ายังสงสัยก็ส่งต่อขึ้นไป
ตามลำดับชั้น บางกรณีอาจส่งถึงเสนาบดี บางกรณีอาจส่งถึงพระราชาเพื่อทรงวินิจฉัย (ที.ม.อ.๒/๑๓๔/๑๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๒.วัสสการสูตร
๔. พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจ้าวัชชีผู้มี
พระชนมายุมากของชาววัชชี และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่า
เป็นสิ่งควรรับฟัง
๕. พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังไม่ฉุดคร่าขืนใจกุลสตรีหรือกุลกุมารีให้อยู่
ร่วมด้วย
๖. พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ใน
แคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชา
อันชอบธรรมที่เคยให้ เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป
๗. พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังจัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกันพระอรหันต์
ทั้งหลายโดยชอบธรรมด้วยตั้งใจว่า ‘ทำอย่างไร พระอรหันต์ที่ยัง
ไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้นของเรา และท่านที่มาแล้วพึงอยู่อย่างผาสุก’
พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่พวกเจ้าวัชชียังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่”
สารันททสูตรที่ ๑ จบ
๒. วัสสการสูตร
ว่าด้วยวัสสการพราหมณ์๑
[๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น
พระราชาแห่งแคว้นมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร มีพระประสงค์จะ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม. ๑๐/๑๓๑-๑๓๕/๖๕-๖๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๒.วัสสการสูตร
เสด็จไปปราบแคว้นวัชชี รับสั่งว่า “เราจะโค่นล้มพวกเจ้าวัชชีผู้มีฤทธิ์๑มากอย่างนี้
มีอานุภาพ๒มากอย่างนี้ ให้พินาศย่อยยับ”๓
พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร จึงรับสั่งเรียก
วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธมาตรัสว่า “มาเถิด พราหมณ์ ท่านจงไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลถามถึง
พระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์
อยู่สำราญตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชาแห่งแคว้นมคธ พระนาม
ว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร
ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัย
สมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และท่านจงกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชาแห่ง
แคว้นมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร มีพระประสงค์จะเสด็จไปปราบแคว้น
วัชชี มีรับสั่งอย่างนี้ว่า ‘เราจะโค่นล้มพวกเจ้าวัชชีผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมาก
อย่างนี้ ให้พินาศย่อยยับ’ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างไร ท่านพึงจำ
คำพยากรณ์นั้นให้ดีแล้วมาบอกเรา เพราะว่าพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ตรัสคำเท็จ”
วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธ ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระราชาแห่งแคว้นมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิ
บุตร ขอกราบพระยุคลบาทของพระโคดมด้วยพระเศียร ทูลถามถึงพระสุขภาพ
ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
พระราชาแห่งแคว้นมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร มีพระประสงค์จะเสด็จไป

เชิงอรรถ :
๑ ฤทธิ์ ในที่นี้หมายถึงความพร้อมเพรียงกัน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๒/๑๗๐)
๒ อานุภาพ ในที่นี้หมายถึงการได้รับการศึกษาฝึกฝนศิลปะต่าง ๆ เช่น ศิลปะการฝึกช้างเป็นต้น (องฺ.สตฺตก.อ.
๓/๒๒/๑๗๐)
๓ ให้พินาศย่อยยับ ในที่นี้หมายถึงทำให้ไม่มี ให้ถึงความไม่เจริญ และให้ถึงความเสื่อมไปแห่งญาติ (องฺ.สตฺตก.อ.
๓/๒๒/๑๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๒.วัสสการสูตร
ปราบแคว้นวัชชี มีรับสั่งอย่างนี้ว่า ''เราจะโค่นล้มพวกเจ้าวัชชีผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้
มีอานุภาพมากอย่างนี้ ให้พินาศย่อยยับ”
สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคอยู่ ณ เบื้องพระ
ปฤษฎางค์ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า
“อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกัน
มากครั้ง”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีหมั่นประชุมกันเนือง
นิตย์ ประชุมกันมากครั้ง”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง''
''อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียง
กันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีพึงทำ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีพร้อมเพรียงกันประชุม
พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีพึงทำ”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และ
พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีพึงทำ''
'' อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้าง
สิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นในวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม”๑
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้
บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นในวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว
ถือปฏิบัติมั่นในวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม""

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๕ สัตตกนิบาต ข้อ ๒๑ หน้า ๓๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๒.วัสสการสูตร
''อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจ้าวัชชี
ผู้มีพระชนมายุมากของชาววัชชี และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งที่ควร
รับฟัง”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีสักการะ เคารพ
นับถือ บูชาเจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากของชาววัชชี และสำคัญถ้อยคำของท่าน
เหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมาก
ของชาววัชชี และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งที่ควรรับฟัง''
''อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีไม่ฉุดคร่าขืนใจกุลสตรีหรือกุลกุมารี
ให้อยู่ร่วมด้วย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีไม่ฉุดคร่าขืนใจกุลสตรี
หรือกุลกุมารีให้อยู่ร่วมด้วย”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังไม่ฉุดคร่าขืนใจกุลสตรีหรือกุลกุมารีให้อยู่ร่วมด้วย''
“อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์
ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรม
ที่เคยให้ เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีสักการะ เคารพ
นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลย
การบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้ เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาว
วัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้ เคย
กระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป''

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๒.วัสสการสูตร
'' อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีจัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกัน
พระอรหันต์ทั้งหลายโดยชอบธรรมด้วยตั้งใจว่า ‘ทำอย่างไร พระอรหันต์ที่ยังไม่มา
พึงมาสู่แว่นแคว้นของเรา ท่านที่มาแล้วพึงอยู่อย่างผาสุก”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีจัดการรักษา คุ้มครอง
ป้องกันพระอรหันต์ทั้งหลายโดยชอบธรรม ด้วยตั้งใจว่า ‘ทำอย่างไร พระอรหันต์ที่
ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้นของเรา ท่านที่มาแล้วพึงอยู่อย่างผาสุก”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังจัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกันพระอรหันต์ทั้งหลายโดย
ชอบธรรมด้วยตั้งใจว่า ‘ทำอย่างไร พระอรหันต์ที่ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้นของเรา
และท่านที่มาแล้วพึงอยู่อย่างผาสุก”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แคว้น
มคธว่า “พราหมณ์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่สารันททเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ได้แสดง
อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้แก่พวกเจ้าวัชชี พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญ
อย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗
ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่
วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แคว้นมคธกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระ
โคดม พวกเจ้าวัชชีมีอปริหานิยธรรมแม้เพียงประการเดียว ก็พึงหวังได้แต่ความ
เจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ไม่จำต้องกล่าวว่ามีครบทั้ง ๗ ประการ
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระราชาแห่งแคว้นมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร
ไม่ควรทำสงครามกับพวกเจ้าวัชชี นอกจากจะใช้วิธีปรองดองทางการทูต หรือไม่ก็
ทำให้แตกสามัคคีกัน ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าอย่างนั้น บัดนี้ ข้าพระองค์ขอ
ทูลลากลับ เพราะมีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ท่านจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
จากนั้น วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แคว้นมคธมีใจยินดี ชื่นชมพระดำรัส
ของพระผู้มีพระภาคลุกจากที่นั่งแล้วจากไป
วัสสการสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๓.ปฐมสัตตกสูตร
๓. ปฐมสัตตกสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ๑ สูตรที่ ๑
[๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
อปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก
กล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง
๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และ
พร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำ
๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังไม่บัญญัติสิ่งที่เรามิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่เราบัญญัติ
ไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นในสิกขาบทที่บัญญัติไว้
๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู๒
บวชมานาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก และสำคัญถ้อยคำของ
ท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง
๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหาก่อให้เกิดภพใหม่ ที่เกิดขึ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม. ๑๐/๑๓๖-๑๔๐/๖๙-๗๒
๒ เป็นเถระในที่นี้หมายถึงเป็นผู้มีความมั่นคง(ถิรภาวะ)ในพระศาสนาไม่หวนคืนไปสู่เพศคฤหัสถ์อีกประกอบ
ด้วยคุณธรรมที่ให้เป็นพระเถระคือศีลเป็นต้น รัตตัญญู เป็นตำแหน่งเอตทัคคะที่พระอัญญาโกณฑัญญะ
ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้า มีความหมายว่ารู้ราตรีนาน คือบวช รู้แจ้งธรรม และเป็นพระขีณาสพก่อน
พระสาวกทั้งหลาย (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘๘/๑๒๒, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๓/๑๗๔, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๓/๒๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๔.ทุติยสัตตกสูตร
๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้มุ่งหวังเสนาสนะป่า
๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุตั้งสติมั่นไว้ในภายในว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้มีศีลงามที่ยังไม่มา ขอให้มา และท่านที่มาแล้ว พึงอยู่อย่างผาสุก’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่”
ปฐมสัตตกสูตรที่ ๓ จบ
๔. ทุติยสัตตกสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ สูตรที่ ๒
[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอ
ทั้งหลาย ฯลฯ๑
อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการงาน๒ ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบ
ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย๓ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เครื่องหมาย “ฯลฯ” ที่ปรากฏในตอนต้นข้อความของข้อ ๒๔-๒๗ นี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๓ (ปฐมสัตตกสูตร)
หน้า ๓๗ ในเล่มนี้
๒ ไม่ชอบการงาน ในที่นี้หมายถึงการหยุดพักทำกิจมีการทำจีวร ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ ไม้กวาด และผ้า
เช็ดเท้า หรืองานก่อสร้างต่าง ๆ เช่นก่อสร้างวิหารเป็นต้น ที่เป็นเหตุให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระและ
วิปัสสนาธุระ หันมามุ่งบำเพ็ญสมณธรรม (ที.ม.อ. ๒/๑๓๗/๑๒๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๖ - ๑๗๗,
องฺ.ฉกฺก. ฏีกา ๓/๑๔-๑๕/๑๑๘)
๓ ไม่ชอบการพูดคุย ในที่นี้หมายถึงไม่มุ่งสนทนาเรื่องนอกธรรมวินัย เช่น เรื่องบุรุษ สตรี เป็นต้น แต่
สนทนาเรื่องธรรม ถามปัญหา ตอบปัญหาเกี่ยวกับธรรมวินัย พูดน้อย พูดมีที่จบ ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
ภิกษุผู้นั่งประชุม มีหน้าที่ ๒ อย่าง คือ (๑) สนทนาธรรม (๒) เป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ (ที.ม.อ. ๒/๑๓๗/๑๒๘,
องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) และดู ม.มู. ๑๒/๒๗๓/๒๓๕, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๒๒/๔๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๕.ตติยสัตตกสูตร
๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ๑ ฯลฯ
๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ฯลฯ
๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่มีความปรารถนาชั่ว ไม่ตกไปสู่อำนาจของความ
ปรารถนาชั่ว
๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังไม่มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว
๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังไม่ถึงความหยุดชงักเสียในระหว่างเพียงเพราะได้บรรลุ
คุณวิเศษชั้นต่ำ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่
ทุติยสัตตกสูตรที่ ๔ จบ
๕. ตติยสัตตกสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ สูตรที่ ๓
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอ
ทั้งหลาย ฯลฯ
อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังมีศรัทธา๒

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ชอบการนอนหลับ ในที่นี้หมายถึงจะยืนก็ตาม จะเดินก็ตาม จะนั่งก็ตาม จะมีจิตตกภวังค์เพราะร่างกาย
เจ็บป่วยก็ตาม ก็ไม่ถูกถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ครอบงำ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) และดู ม.มู.
๑๒/๓๘๗/๓๔๕ (มหาสัจจกสูตร) ประกอบ
๒ ศรัทธา มี ๔ ประการ คือ (๑) อาคมนียะ (ศรัทธาของพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญเพื่อพระสัพพัญญุตญาณ)
(๒) อธิคมะ (ศรัทธาของพระอริยบุคคล) (๓) ปสาทะ (ศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์)
(๔) โอกัปปนะ (ศรัทธาอย่างมั่นคง) แต่ในที่นี้หมายถึงปสาทะและโอกัปปนะเท่านั้น (ที.ม.อ.๒/๑๓๘/๑๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๖.โพชฌังคสูตร
๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังมีหิริ
๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังมีโอตตัปปะ
๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นพหูสูต๑
๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังปรารภความเพียร
๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังมีสติตั้งมั่น
๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังมีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่
ตติยสัตตกสูตรที่ ๕ จบ
๖. โพชฌังคสูตร
ว่าด้วยโพชฌงค์ที่เป็นอปริหานิยธรรม
[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอ
ทั้งหลาย ฯลฯ
อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเจริญสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ
ความระลึกได้)

เชิงอรรถ :
๑ พหูสูต มี ๒ ประการ คือ (๑) ปริยัตติพหูสูต (แตกฉานในพระไตรปิฎก) (๒) ปฏิเวธพหูสูต (บรรลุสัจจะ
ทั้งหลาย) แต่ในที่นี้หมายถึงปริยัตติพหูสูต (ที.ม.อ. ๒/๑๓๘/๑๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๖.โพชฌังคสูตร
๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความเฟ้นธรรม)
๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ
ความเพียร)
๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเจริญปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ
ความอิ่มใจ)
๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความสงบกายสงบใจ)
๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ
ความตั้งจิตมั่น)
๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความวางใจเป็นกลาง)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่
โพชฌังคสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๗.สัญญาสูตร
๗. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญาที่เป็นอปริหานิยธรรม
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอ
ทั้งหลาย ฯลฯ
อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังเจริญอนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่ง
สังขาร)
๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังเจริญอนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตา
แห่งธรรมทั้งปวง)
๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังเจริญอสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังเจริญอาทีนวสัญญา (กำหนดหมายโทษทุกข์ของกาย
อันมีความเจ็บไข้ต่างๆ)
๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังเจริญปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตก
และบาปธรรมทั้งหลาย)
๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังเจริญวิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรม
ละเอียดประณีต)
๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังเจริญนิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรม
ละเอียดประณีต)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๘.ปฐมปริหานิสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่
สัญญาสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปฐมปริหานิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม สูตรที่ ๑
[๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้
เป็นเสขะ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
๗. กิจที่สงฆ์จะต้องทำมีอยู่ในสงฆ์ ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่เห็นประจักษ์ในกิจนั้น
อย่างนี้ว่า ‘พระเถระผู้เป็นรัตตัญญู บวชมานาน เป็นผู้รับภาระมีอยู่
ในสงฆ์ ท่านเหล่านั้นจักปรากฏด้วยกิจนั้น‘๑ จึงต้องขวนขวายด้วย
ตนเอง

เชิงอรรถ :
๑ ท่านเหล่านั้นจักปรากฏด้วยกิจนั้น หมายถึงท่านจะรับภาระหน้าที่ตามสมควรแก่ภาวะของท่านเอง
(องฺ.สตฺตก.อ.๓/๒๘/๑๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๙.ทุติยปริหานิสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้
เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้
เป็นเสขะ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๖. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
๗. กิจที่สงฆ์จะต้องทำมีอยู่ในสงฆ์ ภิกษุผู้เป็นเสขะเห็นประจักษ์ในกิจ
นั้นอย่างนี้ว่า ‘พระเถระผู้เป็นรัตตัญญู บวชมานาน เป็นผู้รับภาระมีอยู่ในสงฆ์ ท่าน
เหล่านั้นจักปรากฏด้วยกิจนั้น’ จึงไม่ต้องขวนขวายด้วยตนเอง
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้
เป็นเสขะ
ปฐมปริหานิสูตรที่ ๘ จบ
๙. ทุติยปริหานิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม สูตรที่ ๒
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุ
๒. ทอดทิ้งการฟังสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๙.ทุติยปริหานิสูตร
๓. ไม่ศึกษาในอธิศีล๑
๔. ไม่มีความเลื่อมใสมากในภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ และผู้เป็นมัชฌิมะ๒
๕. ฟังธรรมอย่างคอยคิดโต้แย้งเพ่งโทษ
๖. แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
๗. ทำอุปการะนอกศาสนาก่อน๓
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุ
๒. ไม่ทอดทิ้งการฟังสัทธรรม
๓. ศึกษาในอธิศีล
๔. มีความเลื่อมใสมากในภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ และผู้เป็นมัชฌิมะ
๕. ฟังธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้งเพ่งโทษ
๖. ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
๗. ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
อุบาสกใดละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน
ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม ไม่ศึกษาในอธิศีล

เชิงอรรถ :
๑ อธิศีล ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ และศีล ๑๐ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๙/๑๗๘)
๒ ผู้เป็นเถระ หมายถึงพระผู้มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้น
ไปและทรงจำพระปาติโมกข์ได้
ผู้เป็นนวกะ หมายถึงพระใหม่มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่ายังใหม่มีพรรษาต่ำกว่า ๕ ที่ยังต้อง
ถือนิสสัย
ผู้เป็นมัชฌิมะ หมายถึงพระระดับกลางมีพรรษาตั้งแต่ครบ ๕ แต่ยังไม่ถึง ๑๐ (เทียบ วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๓)
๓ ทำอุปการะนอกศาสนาก่อน หมายถึงให้เครื่องไทยธรรมแก่เดียรถีย์ก่อนแล้วจึงถวายแก่ภิกษุในภายหลัง
(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๙/๑๗๘) และดู องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๗๕/๒๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๑๐. วิปัตติสูตร
ไม่มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย
ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างคอยคิดโต้แย้ง
แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
และทำอุปการะนอกศาสนาก่อน
อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม ๗ ประการ
อันเป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล
ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม
ส่วนอุบาสกใดไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน
ไม่ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม ศึกษาในอธิศีล
มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย
ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้ง
ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
และทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน
อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม ๗ ประการ
อันไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล
ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม
ทุติยปริหานิสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. วิปัตติสูตร
ว่าด้วยวิบัติและสมบัติของอุบาสก
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติของอุบาสก ๗ ประการนี้ ฯลฯ๑
ภิกษุทั้งหลาย สมบัติของอุบาสก ๗ ประการนี้ ฯลฯ
วิปัตติสูตรที่ ๑๐ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เครื่องหมาย “ฯลฯ” ที่ปรากฏในข้อ ๓๐-๓๑ ดูความเต็มในข้อ ๒๙ (ทุติยปริหานิสูตร) หน้า ๔๔-๔๕
ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๑๑.ปราภวสูตร
๑๑. ปราภวสูตร
ว่าด้วยความเสื่อมและความเจริญของอุบาสก
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมของอุบาสก ๗ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญของอุบาสก ๗ ประการนี้
ความเจริญของอุบาสก ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุ
๒. ไม่ทอดทิ้งการฟังสัทธรรม
๓. ศึกษาในอธิศีล
๔. มีความเลื่อมใสมากในภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ และผู้เป็นมัชฌิมะ
๕. ฟังธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้งเพ่งโทษ
๖. ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
๗. ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญของอุบาสก ๗ ประการนี้แล
อุบาสกใดละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน
ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม ไม่ศึกษาในอธิศีล
ไม่มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย
ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างคอยคิดโต้แย้ง
แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
และทำอุปการะนอกศาสนาก่อน
อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม ๗ ประการ
อันเป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล
ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น