Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๒-๑๒ หน้า ๕๙๒ - ๖๔๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒-๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๖. สักขิภัพพสูตร
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติ
บ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะ
ทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ได้
๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ฯลฯ
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้
๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอัน
ไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบันได้
ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นมีสมาธิที่สงบ มีสมาธิที่ประณีต มีสมาธิที่ได้ด้วย
ความสงบระงับ มีสมาธิที่มีภาวะที่เป็นหนึ่งผุดขึ้น จักแสดงฤทธิ์ได้
หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดง
เป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกได้
๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียง
มนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ได้
๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิต
ของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้
ว่าจิตไม่หลุดพ้นได้
๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไป
และชีวประวัติอย่างนี้ได้
๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำ
และชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้
๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญายิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้
สมาธิสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๗. สักขิภัพพสูตร
๗. สักขิภัพพสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัด
[๗๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่อาจ
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ ในเมื่อมีเหตุ๑
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายเสื่อม’
๒. ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายคงที่’
๓. ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายคุณวิเศษ’
๔. ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายชำแรกกิเลส๒’
๕. เป็นผู้ไม่ทำความเคารพ๓
๖. เป็นผู้ไม่ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ๔
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่อาจบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ ในเมื่อมีเหตุ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘ ในเล่มนี้
๒ ธรรมฝ่ายเสื่อม หมายถึงสมาธิที่ยังมีนิวรณ์ ๕ เกิดขึ้นในปฐมฌาน หรือยังมีสัญญามนสิการที่ประกอบ
ด้วยกามเกิดขึ้นอยู่
ธรรมฝ่ายคงที่ หมายถึงสมาธิของบุคคลผู้มีมิจฉาสติ คือความยินดี พอใจ ติดใจ หยุดอยู่เพียงแค่ปฐม-
ฌานนั้น ไม่เสื่อม ไม่เจริญ เพราะเข้าใจว่าปฐมฌานละเอียดแล้ว ประณีตแล้ว
ธรรมฝ่ายคุณวิเศษ หมายถึงสมาธิที่คล่องแคล่วเกิดขึ้นในปฐมฌาน แต่มีมนสิการถึงทุติยฌานว่าไม่มีวิตก
มีสัญญามนสิการคอยตักเตือนเพื่อให้บรรลุทุติยฌาน จึงออกจากปฐมฌาน
ธรรมฝ่ายชำแรกกิเลส หมายถึงสมาธิที่มีสัญญามนสิการประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ ตักเตือนเพื่อทำให้
แจ้งนิพพาน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๔/๑๗๕-๑๗๖, วิสุทธิ. ๑/๓๙/๙๔-๙๖) และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๙๙/
๕๑๑-๕๑๒
๓ ไม่ทำความเคารพ ในที่นี้หมายถึงไม่ทำให้ดี กล่าวคือ ไม่เอื้อเฟื้อเอาใจใส่ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๑/๑๕๒)
๔ ไม่ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ หมายถึงไม่ประพฤติธรรมที่เป็นอุปการะ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๑/๑๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๘. พลสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้อาจบรรลุความ
เป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ ในเมื่อมีเหตุ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายเสื่อม’
๒. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายคงที่’
๓. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายคุณวิเศษ’
๔. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายชำแรกกิเลส’
๕. เป็นผู้ทำความเคารพ
๖. เป็นผู้ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้อาจบรรลุความ
เป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ ในเมื่อมีเหตุ
สักขิภัพพสูตรที่ ๗ จบ
๘. พลสูตร
ว่าด้วยความมีกำลังในสมาธิ
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่อาจ
บรรลุความมีกำลังในสมาธิได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ๑
๒. เป็นผู้ไม่ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้
๓. เป็นผู้ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๔. เป็นผู้ไม่ทำความเคารพ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒,๓,๔ ฉักกนิบาต ข้อ ๒๔ (หิมวันตสูต) หน้า ๔๕๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๙. ปฐมตัชฌานสูตร
๕. เป็นผู้ไม่ทำให้ติดต่อ
๖. เป็นผู้ไม่ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่อาจบรรลุ
ความมีกำลังในสมาธิได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้อาจบรรลุความมี
กำลังในสมาธิได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๒. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้
๓. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๔. เป็นผู้ทำความเคารพ
๕. เป็นผู้ทำให้ติดต่อ
๖. เป็นผู้ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้อาจบรรลุความ
มีกำลังในสมาธิได้
พลสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปฐมตัชฌานสูตร
ว่าด้วยการบรรลุปฐมฌาน สูตรที่ ๑
[๗๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐม-
ฌานอยู่ได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย)
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๑๐. ทุติยตัชฌานสูตร
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๖. ไม่เห็นโทษในกามทั้งหลายด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะ
๒. พยาบาท
๓. ถีนมิทธะ
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ
๕. วิจิกิจฉา
๖. เห็นโทษในกามทั้งหลายด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ปฐมตัชฌานสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยตัชฌานสูตร
ว่าด้วยการบรรลุปฐมฌาน สูตรที่ ๒
[๗๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุ
ปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม)
๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๔. กามสัญญา (ความกำหนดหมายในทางกาม)
๕. พยาบาทสัญญา (ความกำหนดหมายในทางพยาบาท)
๖. วิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายในทางเบียดเบียน)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐม
ฌานอยู่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามวิตก ๒. พยาบาทวิตก
๓. วิหิงสาวิตก ๔. กามสัญญา
๕. พยาบาทสัญญา ๖. วิหิงสาสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ทุติยตัชฌานสูตรที่ ๑๐ จบ
เทวตาวรรคที่ ๗ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนาคามิผลสูตร ๒. อรหัตตสูตร
๓. มิตตสูตร ๔. สังคณิการามสูตร
๕. เทวตาสูตร ๖. สมาธิสูตร
๗. สักขิภัพพสูตร ๘. พลสูตร
๙. ปฐมตัชฌานสูตร ๑๐. ทุติยตัชฌานสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๑. ทุกขสูตร
๘. อรหัตตวรรค
หมวดว่าด้วยอรหัตตผล
๑. ทุกขสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อยู่เป็นทุกข์
[๗๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖
ประการ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เดือดร้อน๑ คับแค้นใจ เร่าร้อน๒ในภพนี้แล หลังจาก
ตายแล้ว พึงหวังได้ทุคติ๓
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามวิตก ๒. พยาบาทวิตก
๓. วิหิงสาวิตก ๔. กามสัญญา
๕. พยาบาทสัญญา ๖. วิหิงสาสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นทุกข์
เดือดร้อน คับแค้นใจ เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้ว พึงหวังได้ทุคติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน
ไม่คับแค้นใจ ไม่เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้ว พึงหวังได้สุคติ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม)
๒. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท)
๓. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
๔. เนกขัมมสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากกาม)

เชิงอรรถ :
๑,๒,๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒,๓ ปัญจกนิบาต ข้อ ๓ (ทุกขสูตร) หน้า ๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๒. อรหัตตสูตร
๕. อพยาบาทสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากพยาบาท)
๖. อวิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากการเบียดเบียน)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นสุข
ไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้นใจ ไม่เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้ว พึงหวังได้สุคติ
ทุกขสูตรที่ ๑ จบ
๒. อรหัตตสูตร
ว่าด้วยอรหัตตผล
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มานะ (ความถือตัว)
๒. โอมานะ (ความถือตัวว่าด้อยกว่าเขา)
๓. อติมานะ (ความดูหมิ่นเขา)
๔. อธิมานะ (ความเข้าใจผิด)
๕. ถัมภะ (ความหัวดื้อ)
๖. อตินิปาตะ (ความดูหมิ่นตนเองว่าเป็นคนเลว)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มานะ ๒. โอมานะ
๓. อติมานะ ๔. อธิมานะ
๕. ถัมภะ ๖. อตินิปาตะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
อรหัตตสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๓. อุตตริมนุสสธัมมสูตร
๓. อุตตริมนุสสธัมมสูตร
ว่าด้วยญาณทัสสนะที่ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
[๗๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๑ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์๒ได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความหลงลืมสติ
๒. ความไม่มีสัมปชัญญะ
๓. ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๔. ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
๕. การหลอกลวง๓
๖. การพูดป้อยอ๔
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งญาณ-
ทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความหลงลืมสติ
๒. ความไม่มีสัมปชัญญะ

เชิงอรรถ :
๑ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญา (ปัญญาชั้นโลกุตตระที่ถึงความ
เป็นใหญ่) อันประเสริฐ บริสุทธิ์ สูงสุด สามารถกำจัดกิเลสได้ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐) อีกนัยหนึ่ง
หมายถึงญาณทัสสนะที่วิเศษสามารถที่จะทำความเป็นอริยะ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ (อริยภาวํ กาตุํ สมตฺถํ
�าณทสฺสนวิเสสํ, จตฺตาโร มคฺเค จตฺตาริ ผลานิ) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๗/๑๕๓)
๒ ธรรมของมุนษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๕/๕๑)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๘๓ (กุหกสูตร) หน้า ๑๕๑ ในเล่มนี้
๔ การพูดป้อยอ ในที่นี้หมายถึงการพูดป้อยอมุ่งหวังลาภสักการะและชื่อเสียง (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๗/๑๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๔. สุขโสมนัสสสูตร
๓. ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์
๔. ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
๕. การหลอกลวง
๖. การพูดป้อยอ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งญาณ-
ทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้
อุตตริมนุสสธัมมสูตรที่ ๓ จบ
๔. สุขโสมนัสสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้มีสุขโสมนัส
[๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้มากด้วย
สุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบันทีเดียว และเป็นผู้ปรารภเหตุแห่งความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยินดีในธรรม
๒. เป็นผู้ยินดีในภาวนา
๓. เป็นผู้ยินดีในการละ
๔. เป็นผู้ยินดีในปวิเวก
๕. เป็นผู้ยินดีในความไม่พยาบาท
๖. เป็นผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเครื่องเนิ่นช้า๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้มากด้วย
สุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบันทีเดียว และเป็นผู้ปรารภเหตุแห่งความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
สุขโสมนัสสสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่ไม่เป็นเครื่องเนิ่นช้า ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๘/๑๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๕. อธิคมสูตร
๕. อธิคมสูตร
ว่าด้วยการบรรลุกุศลธรรม
[๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่อาจ
บรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่ฉลาดในความเจริญ๑
๒. เป็นผู้ไม่ฉลาดในความเสื่อม๒
๓. เป็นผู้ไม่ฉลาดในอุบาย๓
๔. ไม่สร้างฉันทะ๔เพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
๕. ไม่รักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๖. ไม่ทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อมด้วยการทำติดต่อ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่อาจบรรลุ
กุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้อาจบรรลุกุศลธรรม
ที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญได้

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ฉลาดในความเจริญ ในที่นี้หมายถึงไม่ฉลาดในเหตุให้เกิดกุศลธรรมและอกุศลธรรม กล่าวคือ ไม่รู้ว่า
‘เมื่อมนสิการถึงธรรมทั้งหลายอย่างนี้ กุศลธรรมย่อมเจริญ หรือเมื่อมนสิการถึงธรรมทั้งหลายอย่างนี้
อกุศลธรรมย่อมเจริญ’ (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๗๙/๑๗๗-๑๗๘)
๒ ไม่ฉลาดในความเสื่อม ในที่นี้หมายถึงไม่ฉลาดในเหตุเสื่อมแห่งกุศลและอกุศล (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๗๙/๑๗๘)
๓ ไม่ฉลาดในอุบาย ในที่นี้หมายถึงไม่มีปัญญาหยั่งรู้เหตุที่เกิดขึ้น ในเมื่อมีกิจรีบด่วนหรือภัยเกิดขึ้น ก็ไม่มี
ปัญญาที่จะแก้ไขได้ (เทียบ องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๗๙/๑๗๘)
๔ ฉันทะ ในที่นี้หมายถึงกัตตุกัมยตาฉันทะ(ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่จะทำ) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๙/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๖. มหัตตสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ฉลาดในความเจริญ
๒. เป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม
๓. เป็นผู้ฉลาดในอุบาย
๔. สร้างฉันทะเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
๕. รักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๖. ทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อมด้วยการทำติดต่อ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้อาจบรรลุ
กุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญได้
อธิคมสูตรที่ ๕ จบ
๖. มหัตตสูตร
ว่าด้วยการบรรลุความเป็นใหญ่
[๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ไม่นานนัก ย่อม
บรรลุความเป็นใหญ่ ความไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มากด้วยแสงสว่าง๑
๒. เป็นผู้มากด้วยความเพียร
๓. เป็นผู้มากด้วยความปลาบปลื้ม๒

เชิงอรรถ :
๑ แสงสว่าง ในที่นี้หมายถึงญาณ(ความรู้) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๐/๑๕๔)
๒ ความปลาบปลื้ม ในที่นี้หมายถึงปีติและปราโมทย์ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๐/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๗. ปฐมนิรยสูตร
๔. เป็นผู้มากด้วยความไม่สันโดษ๑
๕. เป็นผู้ไม่ทอดธุระ
๖. ทำความเพียรให้ยิ่งขึ้นในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ไม่นานนัก ย่อมบรรลุ
ความเป็นใหญ่ ความไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
มหัตตสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมนิรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในนรก สูตรที่ ๑
[๘๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ๖. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม

เชิงอรรถ :
๑ ไม่สันโดษ ในที่นี้หมายถึงไม่สันโดษพอใจหยุดอยู่เพียงแค่ในกุศลธรรมทั้งหลายที่มีอยู่แล้ว แต่ยังทำ
ความเพียรยิ่งขึ้นในกุศลธรรมทั้งหลาย (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๐/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๘. ทุติยนิรยสูตร
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้ไม่มีความปรารถนาชั่ว
๖. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปฐมนิรยสูตรที่ ๗ จบ
๘. ทุติยนิรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในนรก สูตรที่ ๒
[๘๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้พูดเท็จ ๒. เป็นผู้พูดส่อเสียด
๓. เป็นผู้พูดคำหยาบ ๔. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ
๕. เป็นผู้มักโลภ ๖. เป็นผู้มีความคะนอง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๙. อัคคธัมมสูตร
๕. เป็นผู้ไม่มักโลภ
๖. เป็นผู้ไม่มีความคะนอง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ทุติยนิรยสูตรที่ ๘ จบ
๙. อัคคธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมชั้นเลิศ
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่อาจทำ
ให้แจ้งอรหัตตผลอันเป็นธรรมชั้นเลิศได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม ๖. เป็นผู้ห่วงใยกายและชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่อาจทำให้
แจ้งอรหัตตผลอันเป็นธรรมชั้นเลิศได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลอันเป็นธรรมชั้นเลิศได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีปัญญา ๖. เป็นผู้ไม่ห่วงใยกายและชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลอันเป็นธรรมชั้นเลิศได้
อัคคธัมมสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๑๐. รัตติทิวสสูตร
๑๐. รัตติทิวสสูตร
ว่าด้วยวันและคืน
[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เมื่อกลางวันหรือ
กลางคืนผ่านไป พึงหวังได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความ
เจริญเลย
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มักมาก มีความคับแค้นใจ ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
๒. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๓. เป็นผู้ทุศีล
๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้หลงลืมสติ
๖. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เมื่อกลางวันหรือ
กลางคืนผ่านไป พึงหวังได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มี
ความเจริญเลย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เมื่อกลางวันหรือกลางคืน
ผ่านไป พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่มักมาก ไม่มีความคับแค้นใจ สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
๒. เป็นผู้มีศรัทธา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. เป็นผู้มีศีล
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีสติ
๖. เป็นผู้มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เมื่อกลางวันหรือ
กลางคืนผ่านไป พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความ
เสื่อมเลย
รัตติทิวสสูตรที่ ๑๐ จบ
อรหัตตวรรคที่ ๘ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทุกขสูตร ๒. อรหัตตสูตร
๓. อุตตริมนุสสธัมมสูตร ๔. สุขโสมนัสสสูตร
๕. อธิคมสูตร ๖. มหัตตสูตร
๗. ปฐมนิรยสูตร ๘. ทุติยนิรยสูตร
๙. อัคคธัมมสูตร ๑๐. รัตติทิวสสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๑. สีติภาวสูตร
๙. สีติวรรค
หมวดว่าด้วยสีติภาวะ๑
๑. สีติภาวสูตร
ว่าด้วยสีติภาวะ
[๘๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖
ประการ เป็นผู้ไม่อาจทำให้แจ้งสีติภาวะ(สภาวะที่เย็น)อันยอดเยี่ยม
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม๒
๒. ไม่ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง๓
๓. ไม่ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง๔
๔. ไม่วางจิตในสมัยที่ควรวาง๕
๕. น้อมไปในธรรมที่เลว
๖. ยินดียิ่งในสักกายทิฏฐิ๖

เชิงอรรถ :
๑ สีติภาวะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน หรือธรรมเครื่องระงับกิเลส (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๘๕/๑๗๙)
๒ สมัยที่ควรข่ม หมายถึงขณะที่จิตมีฟุ้งซ่านเพราะบำเพ็ญเพียรมากเกินไป เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๕/๑๕๔)
๓ สมัยที่ควรประคอง หมายถึงขณะที่จิตตกอยู่ในความเกียจคร้าน เพราะมีความเพียรย่อหย่อน เป็นต้น
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๕/๑๕๔)
๔ สมัยที่ควรให้ร่าเริง หมายถึงขณะที่จิตดำเนินสม่ำเสมอ ขณะที่จิตปราศจากความยินดีไม่ดำเนินไปในภาวนา
เพราะมีความพยายามด้วยปัญญาน้อย หรือขณะที่จิตไม่บรรลุสุขคือความสงบ
อนึ่ง เมื่อทำจิตให้ร่าเริง ภิกษุต้องพิจารณาสังเวควัตถุมีชาติเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๘๕/๑๗๙)
๕ สมัยที่ควรวาง หมายถึงขณะที่จิตดำเนินดี คือหยั่งลงสู่ภาวนาวิธีที่ถูกต้อง (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๕/๑๕๕)
๖ ดูรายละเอียดในเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๑๒ หน้า ๖๓๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๒. อาวรณตาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่อาจทำให้แจ้ง
สีติภาวะอันยอดเยี่ยม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้อาจทำให้แจ้ง
สีติภาวะอันยอดเยี่ยม
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
๒. ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง
๓. ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง
๔. วางจิตในสมัยที่ควรวาง
๕. น้อมไปในธรรมที่ประณีต
๖. ยินดียิ่งในนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้อาจทำให้แจ้ง
สีติภาวะอันยอดเยี่ยม
สีติภาวสูตรที่ ๑ จบ
๒. อาวรณตาสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น
[๘๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม๑ในกุศลธรรมทั้งหลายได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๑๕๑ หน้า ๒๔๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๒. อาวรณตาสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องกั้น๑
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น๒
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวิบากเป็นเครื่องกั้น๓
๔. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๕. เป็นผู้ไม่มีฉันทะ
๖. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ อาจก้าว
ลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องกั้น
๒. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น
๓. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวิบากเป็นเครื่องกั้น
๔. เป็นผู้มีศรัทธา
๕. เป็นผู้มีฉันทะ
๖. เป็นผู้มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ อาจ
ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
อาวรณตาสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กรรมเป็นเครื่องกั้น ในที่นี้หมายถึงอนันตริยกรรม ๕ คือ (๑) มาตุฆาต (ฆ่ามารดา) (๒) ปิตุฆาต (ฆ่า
บิดา) (๓) อรหันตฆาต(ฆ่าพระอรหันต์) (๔) โลหิตุปบาท(ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงให้พระโลหิตห้อขึ้นไป)
(๕) สังฆเภท (ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน) (อง.ฉกฺก.อ. ๓/๘๖/๑๕๕)
๒ กิเลสเป็นเครื่องกั้น ในทีนี้หมายถึงนิยตมิจฉาทิฏฐิ (ได้แก่ลัทธิที่มีความเชื่อว่าสัตว์ วิญญาณ หรือชีวาตมัน
มีความเที่ยงแท้ไม่ดับสลาย) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๖/๑๕๕)
๓ วิบากเป็นเครื่องกั้น ในที่นี้หมายถึงอกุสลวิปากปฏิสนธิ (การถือปฏิสนธิเพราะผลแห่งอกุศลกรรม) หรือ
อเหตุกปฏิสนธิ (การถือปฏิสนธิโดยปราศจากเหตุ) ในกุศลวิบากอยู่ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๖/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๓. โวโรปิตสูตร
๓. โวโรปิตสูตร
ว่าด้วยผู้ฆ่า
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่ามารดา
๒. เป็นผู้ฆ่าบิดา
๓. เป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์
๔. เป็นผู้มีจิตคิดประทุษร้ายทำพระโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น
๕. เป็นผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
๖. เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็ไม่
อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ อาจก้าว
ลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่ฆ่ามารดา
๒. เป็นผู้ไม่ฆ่าบิดา
๓. เป็นผู้ไม่ฆ่าพระอรหันต์
๔. เป็นผู้ไม่มีจิตคิดประทุษร้ายทำพระโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น
๕. เป็นผู้ไม่ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
๖. เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่
อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
โวโรปิตสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๔. สุสสูสติสูตร
๔. สุสสูสติสูตร
ว่าด้วยการฟังด้วยดี
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
เมื่อบุคคลอื่นแสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้
๑. ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี
๒. ไม่เงี่ยโสตสดับ
๓. ไม่ตั้งใจใฝ่รู้
๔. ถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
๕. ทิ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์
๖. ประกอบด้วยอนนุโลมิกขันติ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ อาจเพื่อ
ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
เมื่อบุคคลอื่นแสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้
๑. ตั้งใจฟังด้วยดี
๒. เงี่ยโสตสดับ
๓. ตั้งใจใฝ่รู้
๔. ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๕. อัปปหายสูตร
๕. ทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
๖. ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ๑
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่
อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
สุสสูสติสูตรที่ ๔ จบ
๕. อัปปหายสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลยังละไม่ได้
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
ทิฏฐิสัมปทา๒ได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตา)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. ราคะเป็นเหตุไปสู่อบาย
๕. โทสะเป็นเหตุไปสู่อบาย
๖. โมหะเป็นเหตุไปสู่อบาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
ทิฏฐิสัมปทาได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งทิฏฐิ-
สัมปทาได้

เชิงอรรถ :
๑ อนุโลมิกขันติ ในที่นี้หมายถึงข้อพินิจที่เกื้อกูลแก่การบรรลุอริยสัจ ๔ หรือเหมาะแก่คำสอน (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๘๘-๘๙/๑๕๕) ขันติ ในที่นี้หมายถึงปัญญา หรือวิปัสสนาญาณ มิใช่หมายถึงความอดทน (เทียบ ขุ.ป.
๓๑/๓๖/๔๔๔,อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๔๐)
๒ ทิฏฐิสัมปทา ในที่นี้หมายถึงโสดาปัตติมรรค (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๘-๘๙/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๖. ปหีนสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส
๔. ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
๕. โทสะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
๖. โมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๖ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งทิฏฐิ-
สัมปทาได้
อัปปหายสูตรที่ ๕ จบ
๖. ปหีนสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลละได้
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๑ละ
ได้แล้ว
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส
๔. ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
๕. โทสะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
๖. โมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละได้แล้ว
ปหีนสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ” ในสูตรที่ ๖-๑๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๕๔ (ธัมมิกสูตร) หน้า
๕๓๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๘. ปฐมอภัพพัฏฐานสูตร
๗. อภัพพสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่อาจให้ธรรมเกิดขึ้น
[๙๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ไม่อาจให้ธรรม ๖
ประการเกิดขึ้นได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส
๔. ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
๕. โทสะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
๖. โมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ไม่อาจให้ธรรม ๖ ประการนี้
แลเกิดขึ้นได้
อภัพพสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปฐมอภัพพัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ สูตรที่ ๑
[๙๒] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้
ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
๑. เป็นผู้ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา
๒. เป็นผู้ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม
๓. เป็นผู้ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๙. ทุติยอภัพพัฏฐานสูตร
๔. เป็นผู้ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา
๕. เป็นผู้ไม่อาจกลับมาสู่เหตุที่ไม่ควรเข้าถึง๑
๖. เป็นผู้ไม่อาจให้ภพที่ ๘๒ เกิดขึ้นได้
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้แล
ปฐมอภัพพัฏฐานสูตรที่ ๘ จบ
๙. ทุติยอภัพพัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ สูตรที่ ๒
[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้
ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
๑. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสังขารว่าเป็นของเที่ยง
๒. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสังขารว่าเป็นสุข
๓. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือธรรมว่าเป็นอัตตา
๔. เป็นผู้ไม่อาจทำอนันตริยกรรม๓
๕. เป็นผู้ไม่อาจเชื่อความบริสุทธิ์โดยถือมงคลตื่นข่าว๔
๖. เป็นผู้ไม่อาจแสวงหาเขตบุญนอกศาสนานี้
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้แล
ทุติยอภัพพัฏฐานสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เหตุที่ไม่ควรเข้าถึง ในที่นี้หมายถึงเวร ๕ ได้แก่ (ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ เสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท) และทิฏฐิ ๖๒ ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๙๒-๙๕/
๑๕๕) ดู ที.สี. (แปล) ๙/๒๘-๑๔๖/๑๑-๔๖ ประกอบ
๒ ภพที่ ๘ หมายถึงปฏิสนธิที่ ๘ ในชั้นกามาวจร (ผู้ได้โสดาบันจะถือปฏิสนธิไม่เกิน ๗ ครั้ง) (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๙๒-๙๕/๑๕๕)
๓ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๕, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๖/๑๕๕
๔ ถือมงคลตื่นข่าว หมายถึงถือว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นมงคล (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๙๒-๙๕/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๑๑. จตุตถอภัพพัฏฐานสูตร
๑๐. ตติยอภัพพัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ สูตรที่ ๓
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้
ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
๑. เป็นผู้ไม่อาจฆ่ามารดา
๒. เป็นผู้ไม่อาจฆ่าบิดา
๓. เป็นผู้ไม่อาจฆ่าพระอรหันต์
๔. เป็นผู้ไม่อาจมีจิตคิดประทุษร้ายทำพระโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น
๕. เป็นผู้ไม่อาจทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
๖. เป็นผู้ไม่อาจนับถือศาสดาอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้แล
ตติยอภัพพัฏฐานสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. จตุตถอภัพพัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ สูตรที่ ๔
[๙๕] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้
ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
๑. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ที่ตนเองทำไว้๑
๒. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ที่ผู้อื่นทำไว้
๓. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ที่ตนเองและผู้อื่นทำไว้

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ตามอำนาจทิฏฐิของตนได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๙๕/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๔. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นเองและตนเองไม่ได้ทำไว้
๕. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นเอง และผู้อื่นไม่ได้ทำไว้
๖. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นเอง ที่ตนเอง และผู้อื่นไม่ได้
ทำไว้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าเหตุและธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากเหตุอันบุคคลผู้
ถึงพร้อมด้วยทิฏฐินั้นเห็นได้ดี
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้แล
จตุตถอภัพพัฏฐานสูตรที่ ๑๑ จบ
สีติวรรคที่ ๙ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีติภาวสูตร ๒. อาวรณตาสูตร
๓. โวโรปิตสูตร ๔. สุสสูสติสูตร
๕. อัปปหายสูตร ๖. ปหีนสูตร
๗. อภัพพสูตร ๘. ปฐมอภัพพัฏฐานสูตร
๙. ทุติยอภัพพัฏฐานสูตร ๑๐. ตติยอภัพพัฏฐานสูตร
๑๑. จตุตถอภัพพัฏฐานสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๒. อานิสังสสูตร
๑๐. อานิสังสวรรค
หมวดว่าด้วยอานิสงส์
๑. ปาตุภาวสูตร
ว่าด้วยเหตุปรากฏ
[๙๖] ภิกษุทั้งหลาย เหตุปรากฏ ๖ ประการ หาได้ยากในโลก
เหตุปรากฏ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หาได้ยากในโลก
๒. บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หาได้ยากในโลก
๓. บุคคลผู้เกิดขึ้นในถิ่นอริยะ๑ หาได้ยากในโลก
๔. ความมีอินทรีย์ไม่บกพร่อง หาได้ยากในโลก
๕. ความไม่โง่เขลา ความไม่เป็นคนเซอะ หาได้ยากในโลก
๖. ความพอใจในกุศลธรรม หาได้ยากในโลก
ภิกษุทั้งหลาย เหตุปรากฏ ๖ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก
ปาตุภาวสูตรที่ ๑ จบ
๒. อานิสังสสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งโสดาปัตติผล
[๙๗] ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ๖ ประการนี้
อานิสงส์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีความแน่นอนในสัทธรรม๒
๒. มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา
๓. ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ไม่มีความทุกข์

เชิงอรรถ :
๑ ถิ่นอริยะ หมายถึงมัชฌิมประเทศ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๙๖-๙๗/๑๕๖)
๒ สัทธรรม ในที่นี้หมายถึงศาสนา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๙๖-๙๗/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๓. อนิจจสูตร
๔. ประกอบด้วยอสาธารณญาณ๑
๕. เห็นเหตุได้ดี
๖. เห็นธรรมที่เกิดขึ้นจากเหตุได้ดี
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ๖ ประการนี้แล
อานิสังสสูตรที่ ๒ จบ
๓. อนิจจสูตร
ว่าด้วยความเป็นของไม่เที่ยง
[๙๘] ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นของเที่ยง จัก
ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ๒ได้
๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จักก้าวลงสู่
สัมมัตตนิยาม๓ได้
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดา-
ปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้
ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยง จัก
ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติได้

เชิงอรรถ :
๑ อสาธารณญาณ หมายถึงญาณที่ไม่ทั่วไปสำหรับปุถุชน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๙๖-๙๗/๑๕๖)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๘๘ (สุสสูสติสูตร) หน้า ๖๑๔ ในเล่มนี้
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๑๕๑ หน้า ๒๔๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๕. อนัตตสูตร
๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จักก้าวลงสู่สัมมัตต-
นิยามได้
๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้
อนิจจสูตรที่ ๓ จบ
๔. ทุกขสูตร
ว่าด้วยความเป็นทุกข์
[๙๙] ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นสุข
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็นทุกข์
ฯลฯ
ทุกขสูตรที่ ๔ จบ
๕. อนัตตสูตร
ว่าด้วยความเป็นอนัตตา
[๑๐๐] ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมว่าเป็นอัตตา
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงว่าเป็นอนัตตา
ฯลฯ
อนัตตสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๖. นิพพานสูตร
๖. นิพพานสูตร
ว่าด้วยนิพพาน
[๑๐๑] ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานว่าเป็นทุกข์ จัก
ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติได้
๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จักก้าวลงสู่
สัมมัตตนิยามได้
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ก้าวลงสู่สมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดา-
ปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้
ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานว่าเป็นสุข จักประกอบด้วย
อนุโลมิกขันติได้
๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จักก้าวลงสู่สัมมัตต-
นิยามได้
๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้
นิพพานสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๘. อุกขิตตาสิกสูตร
๗. อนวัฏฐิตสูตร
ว่าด้วยความไม่มั่นคง
[๑๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ สามารถ
ทำเขตไม่จำกัด๑ในสังขารทั้งปวงแล้วทำอนิจจสัญญาให้ปรากฏได้
อานิสงส์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุพิจารณาเห็นว่า
๑. สังขารทั้งปวงจักปรากฏว่าเป็นของไม่มั่นคง
๒. ใจของเราจักไม่ยินดีในโลกทั้งปวง
๓. ใจของเราจักออกไปจากโลกทั้งปวง
๔. ใจของเราจักน้อมไปสู่นิพพาน
๕. สังโยชน์ทั้งหลายของเราจักถึงการละได้
๖. เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยสามัญญะ๒ อันยอดเยี่ยม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล สามารถทำเขต
ไม่จำกัดในสังขารทั้งปวงแล้วทำอนิจจสัญญาให้ปรากฏได้
อนวัฏฐิตสูตรที่ ๗ จบ
๘. อุกขิตตาสิกสูตร
ว่าด้วยนิพพิทาสัญญาเหมือนเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้น
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ สามารถ
ทำเขตไม่จำกัดในสังขารทั้งปวงแล้วทำทุกขสัญญาให้ปรากฏได้
อานิสงส์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุพิจารณาเห็นว่า
๑. นิพพิทาสัญญา(ความกำหนดหมายความเบื่อหน่าย)ในสังขารทั้งปวง
จักปรากฏแก่เราเหมือนเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้น

เชิงอรรถ :
๑ ทำเขตไม่จำกัด หมายถึงทำเขตไม่จำกัดอย่างนี้ว่า “สังขารประมาณเท่านี้ ไม่เที่ยง นอกนี้จะชื่อว่าไม่เที่ยง
ก็หามิได้” (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๒/๑๕๖)
๒ สามัญญะ ในทีนี้หมายถึงความเป็นสมณะ ได้แก่ อริยมรรค (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๒/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๙. อตัมมยสูตร
๒. ใจของเราจักออกไปจากโลกทั้งปวง
๓. เราจักมีปกติเห็นสันติในนิพพาน
๔. อนุสัยของเราจักถึงการเพิกถอน
๕. เราจักทำตามหน้าที่
๖. เราจักมีเมตตาบำรุงพระศาสดา๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล สามารถทำเขต
ไม่จำกัดในสังขารทั้งปวงแล้วทำทุกขสัญญาให้ปรากฏได้
อุกขิตตาสิกสูตรที่ ๘ จบ
๙. อตัมมยสูตร
ว่าด้วยอตัมมยะ๒
[๑๐๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ สามารถ
ทำเขตไม่จำกัดในธรรมทั้งปวงแล้วทำอนัตตสัญญาให้ปรากฏได้
อานิสงส์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุพิจารณาเห็นว่า
๑. เราจักเป็นอตัมมยะ
๒. อหังการ๓ของเราจักดับไป

เชิงอรรถ :
๑ พระเสขบุคคล ๗ จำพวก ย่อมบำรุงรับใช้พระตถาคตด้วยเมตตา ส่วนพระขีณาสพได้ผ่านการบำรุงรับใช้
พระศาสดาแล้ว (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๓/๑๕๖)
๒ อตัมมยะ (ไม่มีตัมมยะ) ในที่นี้หมายถึงไม่มีตัณหาและทิฏฐิ คำว่า ตัมมยะ เป็นชื่อเรียกตัณหาและทิฏฐิ
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๔/๑๕๖)
๓ อหังการ หมายถึงทิฏฐิที่มีความยึดถือว่าเป็นเรา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๔/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๑๐. ภวสูตร
๓. มมังการ๑ของเราจักดับไป
๔. เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ๒
๕. เราจักเป็นผู้เห็นเหตุได้ดี
๖. เราจักเป็นผู้เห็นธรรมที่เกิดขึ้นจากเหตุได้ดี
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล สามารถทำเขต
ไม่จำกัดในธรรมทั้งปวงแล้วทำอนัตตสัญญาให้ปรากฏได้
อตัมมยสูตรที่ ๙ จบ
๑๐ ภวสูตร
ว่าด้วยภพและสิกขา
[๑๐๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรละภพ ๓ ประการนี้ ควรศึกษาในสิกขา
๓ ประการ
ภพ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร)
๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร)
๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร)
นี้คือภพ ๓ ประการที่ภิกษุควรละ
สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง)
๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง)

เชิงอรรถ :
๑ มมังการ หมายถึงตัณหา คือความทะยานอยากว่าเป็นของเรา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๔/๑๕๖)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๙๗ (อานิสังสสูตร) หน้า ๖๒๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๑๑. ตัณหาสูตร
๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง)
นี้คือสิกขา ๓ ประการที่ภิกษุควรศึกษา
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุละภพ ๓ ประการนี้ได้ และศึกษาสิกขา ๓ ประการ
นี้ได้ เราจึงเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ๑’
ภวสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหาและมานะ
[๑๐๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรละตัณหา ๓ ประการ และควรละมานะ ๓
ประการ
ตัณหา๒ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกามธาตุ)
๒. รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูปธาตุ)
๓. อรูปตัณหา (ความทะยานอยากในอรูปธาตุ)
นี้คือตัณหา ๓ ประการที่ภิกษุควรละ
มานะ๓ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มานะ (ความถือตัวว่าเสมอเขา)
๒. โอมานะ (ความถือตัวว่าด้อยกว่าเขา)

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตัดตัณหาได้เด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค ถอนสังโยชน์ ๑๐ ประการได้ ทำให้วัฏฏทุกข์หยุดการ
หมุนได้ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๗/๓๙๘) และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๗/๒๕๘,๒๕๗/๓๘๗ ประกอบ
๒ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๑๗/๕๗๓
๓ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๗๘-๘๘๑/๕๕๗-๕๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. อติมานะ (ความถือตัวว่าดีกว่าเขา)
นี้คือมานะ ๓ ประการที่ภิกษุควรละ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุละตัณหา ๓ ประการนี้ได้ และละมานะ ๓ ประการ
นี้ได้ เราจึงเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ’
ตัณหาสูตรที่ ๑๑ จบ
อานิสังสวรรคที่ ๑๐ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปาตุภาวสูตร ๒. อานิสังสสูตร
๓. อนิจจสูตร ๔. ทุกขสูตร
๕. อนัตตสูตร ๖. นิพพานสูตร
๗. อนวัฏฐิตสูตร ๘. อุกขิตตาสิกสูตร
๙. อตัมมยสูตร ๑๐. ภวสูตร
๑๑. ตัณหาสูตร

ทุติยปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๑. ราคสูตร
๑๑. ติกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมหมวดละ ๓
๑. ราคสูตร
ว่าด้วยราคะ
[๑๐๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ราคะ (ความกำหนัด)
๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. โมหะ (ความหลง)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญอสุภะ๑เพื่อละราคะ
๒. ภิกษุควรเจริญเมตตา๒เพื่อละโทสะ
๓. ภิกษุควรเจริญปัญญา๓เพื่อละโมหะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
ราคสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อสุภะ หมายถึงอสุภกัมมัฏฐาน คืออารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจที่พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่น
ให้เห็นสภาวะที่ไม่งาม มี ๑๐ ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๗/๑๕๗) และดูรายละเอียดประกอบใน วิสุทฺธิ.
๑/๑๐๒-๑๒๒/๑๙๔-๒๑๔
๒ เมตตา หมายถึงเมตตากัมมัฏฐาน อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจที่ปรารถนาให้เขามีความสุข (องฺ.ฉกฺก.
อ. ๓/๑๐๗/๑๕๗)
๓ ปัญญา หมายถึงมัคคปัญญาพร้อมทั้งวิปัสสนา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๗/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๓. วิตักกสูตร
๒. ทุจจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต
[๑๐๘] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)
๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา)
๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญกายสุจริต(ความประพฤติชอบด้วยกาย)เพื่อละกาย
ทุจริต
๒. ภิกษุควรเจริญวจีสุจริต(ความประพฤติชอบด้วยวาจา)เพื่อละวจีทุจริต
๓. ภิกษุควรเจริญมโนสุจริต(ความประพฤติชอบด้วยใจ)เพื่อละมโนทุจริต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
ทุจจริตสูตรที่ ๒ จบ
๓. วิตักกสูตร
ว่าด้วยวิตก
[๑๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม)
๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๔. สัญญาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญเนกขัมมวิตก(ความตรึกปลอดจากกาม)เพื่อละกามวิตก
๒. ภิกษุควรเจริญอพยาบาทวิตก(ความตรึกปลอดจากพยาบาท)เพื่อ
ละพยาบาทวิตก
๓. ภิกษุควรเจริญอวิหิงสาวิตก(ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
เพื่อละวิหิงสาวิตก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
วิตักกสูตรที่ ๓ จบ
๔. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา
[๑๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามสัญญา (ความกำหนดหมายในทางกาม)
๒. พยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายในทางพยาบาท)
๓. วิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายในทางเบียดเบียน)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญเนกขัมมสัญญา(ความกำหนดหมายปลอดจากกาม)
เพื่อละกามสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๕. ธาตุสูตร
๒. ภิกษุควรเจริญอพยาปาทสัญญา(ความกำหนดหมายปลอดจาก
พยาบาท)เพื่อละพยาปาทสัญญา
๓. ภิกษุควรเจริญอวิหิงสาสัญญา(ความกำหนดหมายปลอดจากการ
เบียดเบียน)เพื่อละวิหิงสาสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
สัญญาสูตรที่ ๔ จบ
๕. ธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ
[๑๑๑] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามธาตุ (ธาตุคือกาม)
๒. พยาปาทธาตุ (ธาตุคือพยาบาท)
๓. วิหิงสาธาตุ (ธาตุคือความเบียดเบียน)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญเนกขัมมธาตุ(ธาตุคือความปลอดจากกาม)เพื่อละ
กามธาตุ
๒. ภิกษุควรเจริญอพยาปาทธาตุ(ธาตุคือความปลอดจากพยาบาท)
เพื่อละพยาปาทธาตุ
๓. ภิกษุควรเจริญอวิหิงสาธาตุ(ธาตุคือความปลอดจากการเบียดเบียน)
เพื่อละวิหิงสาธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
ธาตุสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๖. อัสสาทสูตร
๖. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยอัสสาททิฏฐิ๑
[๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อัสสาททิฏฐิ
๒. อัตตานุทิฏฐิ๒
๓. มิจฉาทิฏฐิ๓
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญอนิจจสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่ง
สังขาร) เพื่อละอัสสาททิฏฐิ
๒. ภิกษุควรเจริญอนัตตสัญญา (ความกำหนดหมายรู้ความเป็นอนัตตา
แห่งธรรมทั้งปวง) เพื่อละอัตตานุทิฏฐิ
๓. ภิกษุควรเจริญสัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ)เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
อัสสาทสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง (คือเห็นว่า อัตตา(ชีวาตมัน)และโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงอยู่
ตลอดไป เช่นเห็นว่า คน และสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือมนัส เป็น
ธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นต่อไป จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑๒/๑๕๗)
๒ หมายถึงสักกายทิฏฐิที่มีวัตถุ ๒๐ ประการ (๑) เห็นรูปเป็นอัตตา (๒) เห็นอัตตามีรูป (๓) เห็นรูปในอัตตา
(๔) เห็นรูปในรูป (๕) เห็นเวทนาเป็นอัตตา (๖) เห็นอัตตามีเวทนา (๗) เห็นเวทนาในอัตตา (๘) เห็นอัตตา
ในเวทนา (๙) เห็นสัญญาเป็นอัตตา (๑๐) เห็นอัตตามีสัญญา (๑๑) เห็นสัญญาในอัตตา (๑๒) เห็นอัตตา
ในสัญญา (๑๓) เห็นสังขารเป็นอัตตา (๑๔) เห็นอัตตามีสังขาร (๑๕) เห็นสังขารในอัตตา (๑๖) เห็นอัตตา
ในสังขาร (๑๗) เห็นวิญญาณเป็นอัตตา (๑๘)เห็นอัตตามีวิญญาณ (๑๙) เห็นวิญญาณในอัตตา (๒๐) เห็น
อัตตาในวิญญาณ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑๒/๑๕๗) และดู สํ.ข.๑๗/๑๕๕/๑๔๙, ขุ.ม.อ.๑๒/๑๕๘
๓ หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑๒/๑๕๗) และดู ที.สี. (แปล) ๙/๒๘-๑๔๖/๑๑-๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๗. อรติสูตร
๗. อรติสูตร
ว่าด้วยอรติ
[๑๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อรติ (ความไม่ยินดี)
๒. วิหิงสา (ความเบียดเบียน)
๓. อธัมมจริยา๑ (การประพฤติอธรรม)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญมุทิตา(ความยินดี)เพื่อละอรติ
๒. ภิกษุควรเจริญอวิหิงสา(ความไม่เบียดเบียน)เพื่อละวิหิงสา
๓. ภิกษุควรเจริญธัมมจริยา(ความประพฤติธรรม)เพื่อละอธัมมจริยา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
อรติสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อธัมมจริยา ในทีนี้หมายถึงการประพฤติอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือ (๑) ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์)
(๒) อทินนาทาน (ลักทรัพย์) (๓) กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) (๔) มุสาวาท (พูดเท็จ)
(๕) ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) (๖) ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) (๗) สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) (๘) อภิชฌา
(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) (๙) พยาบาท (คิดร้าย) (๑๐) มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑๓/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๙. โทวจัสสตาสูตร
๘. สันตุฏฐิตาสูตร
ว่าด้วยสันตุฏฐิตา
[๑๑๔] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษ)
๒. อสัมปัชชัญญะ (ความไม่มีสัมปชัญญะ)
๓. มหิจฉตา (ความปรารถนามาก)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญสันตุฏฐิตา(ความสันโดษ)เพื่อละอสันตุฏฐิตา
๒. ภิกษุควรเจริญสัมปชัญญะ(ความมีสัมปชัญญะ)เพื่อละอสัมปชัญญะ
๓. ภิกษุควรเจริญอัปปิจฉตา(ความปรารถนาน้อย)เพื่อละมหิจฉตา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
สันตุฏฐิตาสูตรที่ ๘ จบ
๙. โทวจัสสตาสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้ว่ายาก
[๑๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ว่ายาก
๒. ความเป็นผู้มีปาปมิตร (มิตรชั่ว)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๑๐. อุทธัจจสูตร
๓. ความฟุ้งซ่านแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญความเป็นผู้ว่าง่ายเพื่อละความเป็นผู้ว่ายาก
๒. ภิกษุควรเจริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร(มิตรดี)เพื่อละความเป็นผู้
มีปาปมิตร
๓. ภิกษุควรเจริญอานาปานสติ(สติกำหนดลมหายใจเข้าออก)เพื่อละ
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
โทวจัสสตาสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อุทธัจจสูตร
ว่าด้วยอุทธัจจะ
[๑๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๒. อสังวร (ความไม่สำรวม)
๓. ปมาทะ (ความประมาท)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญสมถะ(ความสงบแห่งจิต)เพื่อละอุทธัจจะ
๒. ภิกษุควรเจริญสังวร(ความสำรวม)เพื่อละอสังวร
๓. ภิกษุควรเจริญอัปปมาทะ(ความไม่ประมาท)เพื่อละปมาทะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
อุทธัจจสูตรที่ ๑๐ จบ
ติกวรรคที่ ๑๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ราคสูตร ๒. ทุจจริตสูตร
๓. วิตักกสูตร ๔. สัญญาสูตร
๕. ธาตุสูตร ๖. อัสสาทสูตร
๗. อรติสูตร ๘. สันตุฏฐิตาสูตร
๙. โทวจัสสตาสูตร ๑๐. อุทธัจจสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๒. สามัญวรรค ๑. กายานุปัสสีสูตร
๑๒. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมทั่วไป
๑. กายานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยผู้ควรเจริญกายานุปัสสนา
[๑๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการ
ไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน๑
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็นกาย
ในกายอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจพิจารณาเห็นกายใน
กายอยู่
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย

เชิงอรรถ :
๑ การงาน หมายถึงการทำจีวร เย็บปะจีวร ทำถลกบาตร อังสะ ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ การทำเชิงบาตร
ผ้าเช็ดเท้า ไม้กวาด เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๘๙/๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๒. สามัญวรรค ๒. ธัมมานุปัสสีสูตร
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจพิจารณาเห็นกาย
ในกายอยู่
กายานุปัสสีสูตรที่ ๑ จบ
๒. ธัมมานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยผู้ควรเจริญธรรมานุปัสสนา
[๑๑๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณา
เห็นกายในกายอันเป็นภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นกายในกายอันเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นกายในกายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอันเป็นภายในอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็นจิตใน
จิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอันเป็นภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอัน
เป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งหลายอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายในอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งหลายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๒. สามัญวรรค ๒. ธัมมานุปัสสีสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจพิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งหลายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
ฯลฯ
๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่
ธัมมานุปัสสีสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๒. สามัญวรรค ๔-๒๓. ภัลลิกาทิสูตร
๓. ตปุสสสูตร
ว่าด้วยตปุสสคหบดี
[๑๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคหบดีประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้
เชื่อมั่นในตถาคต๑ เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพุทธเจ้า
๒. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในธรรม
๓. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในสงฆ์
๔. อริยศีล
๕. อริยญาณ
๖. อริยวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคหบดีประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้เชื่อมั่น
ในตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่
ตปุสสสูตรที่ ๓ จบ
๔-๒๓. ภัลลิกาทิสูตร
ว่าด้วยภัลลิกคหบดีเป็นต้น
[๑๒๐-๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ภัลลิกคหบดี ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ
ฯลฯ สุทัตตอนาถบิณฑิกคหบดี ฯลฯ จิตตคหบดีชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ ฯลฯ
หัตถกคหบดีชาวเมืองอาฬวี ฯลฯ เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ ฯลฯ อุคค-
คหบดีชาวเมืองเวสาลี ฯลฯ อุคคตคหบดี ฯลฯ สูรอัมพัฏฐคหบดี ฯลฯ หมอชีวก
โกมารภัจจ์ ฯลฯ นกุลปิตาคหบดี ฯลฯ ตวกัณณิกคหบดี ฯลฯ ปูรณคหบดี ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เป็นผู้เชื่อมั่นในตถาคต หมายถึงมีจิตตั้งมั่นดีหมดความสงสัยในพระคุณของพระพุทธเจ้า (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๑๑๙-๑๒๑/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ราคเปยยาล
อิสิทัตตคหบดี ฯลฯ สันธานคหบดี ฯลฯ วิชัยคหบดี ฯลฯ วัชชิยมหิตคหบดี ฯลฯ
เมณฑกคหบดี ฯลฯ วาเสฏฐอุบาสก ฯลฯ อริฏฐอุบาสก ฯลฯ สาทัตตอุบาสก
ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้เชื่อมั่นในตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้ง
อมตธรรมอยู่
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพุทธเจ้า
๒. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในธรรม
๓. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในสงฆ์
๔. อริยศีล
๕. อริยญาณ
๖. อริยวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย สาทัตตอุบาสกประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้
เชื่อมั่นในตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่
ภัลลิกาทิสูตรที่ ๔-๒๓ จบ
ราคเปยยาล
[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖
ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทัสสนานุตตริยะ(การเห็นอันยอดเยี่ยม)
๒. สวนานุตตริยะ(การฟังอันยอดเยี่ยม)
๓. ลาภานุตตริยะ(การได้อันยอดเยี่ยม)
๔. สิกขานุตตริยะ(การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
๕. ปาริจริยานุตตริยะ(การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
๖. อนุสสตานุตตริยะ(การระลึกอันยอดเยี่ยม)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ราคเปยยาล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑)
[๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พุทธานุสสติ(การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
๒. ธัมมานุสสติ(การระลึกถึงพระธรรม)
๓. สังฆานุสสติ(การระลึกถึงพระสงฆ์)
๔. สีลานุสสติ(การระลึกถึงศีล)
๕. จาคานุสสติ(การระลึกถึงการบริจาค)
๖. เทวตานุสสติ(การระลึกถึงเทวดา)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒)
[๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๖ ประการ๑ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา
๔. ปหานสัญญา
๕. วิราคสัญญา
๖. นิโรธสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๓)
[๑๔๓ - ๑๖๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๖ ประการ เพื่อกำหนด
รู้ราคะ
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๓๕ (วิชชาภาคิยสูตร) หน้า ๔๘๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ราคเปยยาล
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อความสละคืนราคะ
(๔-๑๐)
[๑๗๐ - ๖๔๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๖ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง
โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ
... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ (ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ...
อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ปฬาสะ(ความตีเสมอ) ...
อิสสา(ความริษยา) ... มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ...
สาเถยยะ(ความโอ้อวด )... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ (ความแข่งดี) ... มานะ
(ความถือตัว) ... อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความ
ประมาท) ...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อความสละคืนปมาทะ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล (๔๑-๕๐๑)
ราคเปยยาล จบ
ฉักกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๔๔ }

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น