Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๓-๗ หน้า ๒๘๓ - ๓๒๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓-๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
เราว่า ‘เป็นผู้มีใจตั้งมั่น’ เป็นผู้มีปัญญา ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า
‘เป็นผู้มีปัญญา’ เป็นผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จัก
เราว่า ‘เป็นผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม’
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้มักมาก’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้ไม่สันโดษ‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้สันโดษด้วย
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้ไม่สันโดษ’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้ยินดีในการคลุกคลี‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด มีภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชามหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และสาวก
ของเดียรถีย์ทั้งหลายเข้าไปหา ในที่นั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ใน
วิเวก๑ ยินดียิ่งในเนกขัมมะ๒ ก็จำต้องกล่าวถ้อยคำอันเกี่ยวกับการส่งการรับโดยแท้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้
ยินดีในการคลุกคล’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่
ธรรมของบุคคลผู้เกียจคร้าน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความ
เพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น
มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย


เชิงอรรถ :
๑ , ๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒,๓ อัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๘ หน้า ๒๗๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรม
ของบุคคลผู้เกียจคร้าน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรม
ของบุคคลผู้หลงลืมสติ‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ คือ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนเป็นอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่พูด
แม้นานได้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ของบุคคลผู้
หลงลืมสติ’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ๑
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มีปัญญาทราม‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ
ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ


เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๒-๒๒๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของบุคคลผู้มี
ปัญญาทราม’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม
ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจ
ในปปัญจธรรม‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นในปปัญจนิโรธ๑ ย่อมหลุดพ้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม
ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจใน
ปปัญจธรรม”
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้อยู่จำพรรษาที่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตีนั้นแล
ต่อไปอีก ท่านจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก
ก็ได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยม๒อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ท่านพระอนุรุทธะผู้ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

เชิงอรรถ :
๑ ปปัญจนิโรธ หมายถึงบทคือนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๒)
๒ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผล อันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ.
๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก
ทรงทราบความดำริของเราแล้ว
จึงเสด็จมาหาเราด้วยมโนมยกายฤทธิ์๑
พระพุทธเจ้าผู้ทรงยินดีในนิปปปัญจธรรม
ทรงแสดงมหาปุริสวิตกยิ่งกว่าความดำริของเรา๒
ทรงแสดงนิปปปัญจธรรมแล้ว
เราได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว
ยินดีในพระศาสนาอยู่
เราได้บรรลุวิชชา ๓ โดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำตามแล้ว
อนุรุทธมหาวิตักกสูตรที่ ๑๐ จบ
คหปติวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอุคคสูตร ๒. ทุติยอุคคสูตร
๓. ปฐมหัตถกสูตร ๔. ทุติยหัตถกสูตร
๕. มหานามสูตร ๖. ชีวกสูตร
๗. ปฐมพลสูตร ๘. ทุติยพลสูตร
๙. อักขณสูตร ๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร


เชิงอรรถ :
๑ มโนมยกายฤทธิ์ หมายถึงฤทธิ์ที่ทำให้กายเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจใจ กล่าวคือกายที่ใช้อำนาจจิตเนรมิตให้
เกิดขึ้นได้ และไปได้ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๑/๒๕๓)
๒ ข้อความนี้หมายถึงท่านพระอนุรุทธะสามารถตรึกมหาปุริสวิตกได้เพียง ๗ ประการ แต่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงได้ถึง ๘ ประการ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๑.ปฐมทานสูตร
๔. ทานวรรค
หมวดว่าด้วยทาน
๑. ปฐมทานสูตร๑
ว่าด้วยทาน สูตรที่ ๑
[๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้
ทาน ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนให้ทานเพราะประสบเข้า๒
๒. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความกลัว๓
๓. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาได้ให้แก่เราแล้ว’
๔. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาจักให้แก่เรา’
๕. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
๖. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุง
หากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้
หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’
๗. บุคคลบางคนให้ทานด้วยคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ กิตติศัพท์อันงาม
ย่อมขจรไป’
๘. บุคคลบางคนให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต๔
ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้แล
ปฐมทานสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา.๑๑/๓๓๖/๒๒๗
๒ ให้ทานเพราะประสบเข้า หมายถึงเมื่อพบว่ามาหาก็ให้ทานได้ หรือให้รอสักครู่ก็ให้ทานได้ ไม่ให้ลำบากใจ
(องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๑/๒๕๓)
๓ ให้ทานเพราะกลัว ในที่นี้หมายถึงให้ทานเพราะกลัวถูกตำหนิติเตียน หรือกลัวอบายภูมิ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๓๑/๒๕๓)
๔ ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต ในที่นี้หมายถึงให้ทานเพื่อประดับจิตในการเจริญ
สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะว่าทานย่อมทำจิตให้อ่อนโยน เหมาะแก่การเจริญกัมมัฏฐาน
ทั้งสอง (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๑/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๓.ทานวัตถุสูตร
๒. ทุติยทานสูตร
ว่าด้วยทาน สูตรที่ ๒
[๓๒] ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริ ทานที่เป็นกุศล
อันสัตบุรุษดำเนินตามแล้ว
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่าธรรม ๓ ประการนี้แล
เป็นทางไปสู่เทวโลก
เพราะด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล บุคคลจึงไปสู่เทวโลกได้๑
ทุติยทานสูตรที่ ๒ จบ
๓. ทานวัตถุสูตร
ว่าด้วยทานวัตถุ
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ๒ ๘ ประการนี้
ทานวัตถุ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความชอบ
๒. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความชัง
๓. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความหลง
๔. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความกลัว
๕. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘พ่อและปู่เคยให้ทาน เคยทำทาน
เราไม่ควรให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมหายไป’
๖. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เราให้ทานนี้แล้ว หลังจากตายแล้ว
จักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’

เชิงอรรถ :
๑ ดู. อภิ.ก.๓๗/๔๘๐/๒๘๙
๒ ทานวัตถุ หมายถึงเหตุแห่งการให้ทาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๓/๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๔.เขตตสูตร
๗. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส
เกิดความชื่นชมโสมนัส’
๘. บุคคลบางคนให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ ๘ ประการนี้แล
ทานวัตถุสูตรที่ ๓ จบ
๔. เขตตสูตร
ว่าด้วยนาดีและนาไม่ดี
[๓๔] ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีความชื่นใจมาก ไม่มีความเจริญมาก
นาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ นาในโลกนี้

๑. เป็นที่ลุ่มและดอน ๒. เป็นที่มีหินและกรวด
๓. เป็นที่ดินเค็ม ๔. เป็นที่ไถลงลึกไม่ได้
๕. เป็นที่ไม่มีทางน้ำเข้า ๖. เป็นที่ไม่มีทางน้ำออก
๗. เป็นที่ไม่มีเหมือง ๘. เป็นที่ไม่มีคันนา

ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อย่างนี้
ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีความชื่นใจมาก ไม่มีความเจริญมาก
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก
ไม่มีความแพร่หลายมาก
สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ สมณพราหมณ์ในโลกนี้
๑. เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)
๒. เป็นผู้มีมิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๔.เขตตสูตร
๓. เป็นผู้มีมิจฉาวาจา(เจรจาผิด)
๔. เป็นผู้มีมิจฉากัมมันตะ(กระทำผิด)
๕. เป็นผู้มีมิจฉาอาชีวะ(เลี้ยงชีพผิด)
๖. เป็นผู้มีมิจฉาวายามะ(พยายามผิด)
๗. เป็นผู้มีมิจฉาสติ(ระลึกผิด)
๘. เป็นผู้มีมิจฉาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นผิด)
ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
อย่างนี้ ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่มีความแพร่
หลายมาก
ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมมี
ผลมาก มีความชื่นใจมาก มีความเจริญมาก
นาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ นาในโลกนี้

๑. เป็นที่ไม่ลุ่มและดอน ๒. เป็นที่ไม่มีหินและกรวด
๓. เป็นที่ไม่มีดินเค็ม ๔. เป็นที่ไถลงลึกได้
๕. เป็นที่มีทางน้ำเข้า ๖. เป็นที่มีทางน้ำออก
๗. เป็นที่มีเหมือง ๘. เป็นที่มีคันนา

ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างนี้
ย่อมมีผลมาก มีความชื่นใจมาก มีความเจริญมาก
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ทานที่ให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความ
แพร่หลายมาก
สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ สมณพราหมณ์ในโลกนี้
๑. เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) ๒. เป็นผู้มีสัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)
๓. เป็นผู้มีสัมมาวาจา(เจรจาชอบ) ๔. เป็นผู้มีสัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๔.เขตตสูตร
๕. เป็นผู้มีสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) ๖. เป็นผู้มีสัมมาวายามะ(พยายามชอบ)
๗. เป็นผู้มีสัมมาสติ(ระลึกชอบ) ๘. เป็นผู้มีสัมมาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
อย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก
พืชที่สมบูรณ์ถูกหว่านลงในนาที่สมบูรณ์
เมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล ธัญชาติจะงอกงามได้
เพราะไม่มีศัตรูพืช๑ มีความเจริญงอกงาม
มีความไพบูลย์ มีผลสมบูรณ์เต็มที่ ฉันใด
โภชนะที่สมบูรณ์๒ที่บุคคลให้
ในสมณพราหมณ์ผู้มีศีลสมบูรณ์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมนำมาซึ่งกุศลอันสมบูรณ์
เพราะกรรมที่เขาทำไว้นั้นสมบูรณ์แล้ว
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้หวังกุศลอันสมบูรณ์
จงเป็นผู้สมบูรณ์ในกุศลนี้
พึงคบท่านผู้มีปัญญาสมบูรณ์
บุญสัมปทาทั้งหลายย่อมสำเร็จได้อย่างนี้ คือ
ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๓
ได้ความสมบูรณ์แห่งจิตแล้ว ทำกรรมให้บริบูรณ์
ได้ประโยชน์ที่สมบูรณ์
รู้โลกตามความเป็นจริงแล้ว
บรรลุทิฏฐิสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)

เชิงอรรถ :
๑ ไม่มีศัตรูพืช ในที่นี้หมายถึงแมลงและหนอนเป็นต้น (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๔/๒๕๕)
๒ โภชนะที่สมบูรณ์ ในที่นี้หมายถึงโภชนะ ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๓๔/๒๕๕)
๓ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ในที่นี้หมายถึงประกอบด้วยวิชชา ๓ และจรณะ ๑๕ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๔/
๒๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๕.ทานูปปัตติสูตร
อาศัยมัคคสัมปทา๑แล้ว มีใจบริบูรณ์
ย่อมบรรลุอรหัตตผลได้
กำจัดมลทินทั้งปวงแล้ว จะบรรลุนิพพานสัมปทาได้
การหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น จัดเป็นสัพพสัมปทา
เขตตสูตรที่ ๔ จบ
๕. ทานูปปัตติสูตร
ว่าด้วยผลที่เกิดจากการให้ทาน๒
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย ผลที่เกิดจากการให้ทาน ๘ ประการนี้
ผลที่เกิดจากการให้ทาน ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะ
หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาเห็นพวก
ขัตติยมหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล๓ ผู้เอิบอิ่ม
พรั่งพร้อมบำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ ๕ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้
ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกขัตติยมหาศาล
พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐาน
จิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไป
ไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น๔ หลังจากตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วม
กับพวกขัตติยมหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล
ข้อนี้แล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย
มโนปณิธานของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์

เชิงอรรถ :
๑ มัคคสัมปทา หมายถึงโสดาปัตติมรรค (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๔/๒๕๕)
๒ ดู ที.ปา.๑๑/๓๓๗/๒๒๗-๒๒๙
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๖๖ หน้า ๑๓๕ ในเล่มนี้
๔ เกิดในที่นั้น หมายถึงเกิดในสถานที่ที่ตนปรารถนาไว้ในขณะทำบุญ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๕/๒๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๕.ทานูปปัตติสูตร
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป เขาให้สิ่งใด
ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทวดาชั้นจาตุมหาราช
มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวก
เทวดาชั้นจาตุมหาราช’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิต
นั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อเกิดในที่นั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วมกับพวกเทวดา
ชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้แล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับ
ผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้
เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะ
หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า
พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ พวกเทวดาชั้นยามา ฯลฯ
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ พวกเทวดาชั้นดุสิต ฯลฯ
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ พวกเทวดาชั้นนิมมานรดี ฯลฯ
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน
มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก จึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ
หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี’
เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปใน
ทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น หลังจาก
ตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วมกับพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้แล
เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย มโนปณิธาน
ของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์
๘. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทวดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๖.ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
ชั้นพรหมกายิกา มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมี
ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิด
ร่วมกับพวกเทวดาชั้นพรหมกายิกา’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น
เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้
ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วมกับ
พวกเทวดาชั้นพรหมกายิกา ข้อนี้แล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล
ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล สำหรับผู้ปราศจากราคะ๑ ไม่ใช่สำหรับผู้มีราคะ
ภิกษุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็น
ผู้ปราศจากราคะ
ภิกษุทั้งหลาย ผลที่เกิดจากการให้ทาน ๘ ประการนี้แล
ทานูปปัตติสูตรที่ ๕ จบ
๖. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
ว่าด้วยบุญกิริยาวัตถุ๒
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้
บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน
๒. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล
๓. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานนิดหน่อย
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิดหน่อย และไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้โชคร้ายในมนุษย์

เชิงอรรถ :
๑ ปราศจากราคะ ในที่นี้หมายถึงปราศจากราคะโดยการถอนขึ้นได้ด้วยมรรค หรือปราศจากราคะโดยการ
ข่มไว้ได้ด้วยสมาบัติ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๕/๒๕๖)
๒ บุญกิริยาวัตถุ มาจาก บุญกิริยา + วัตถุ แยกอธิบายความหมายได้ดังนี้ (๑) บุญกิริยา หมายถึงการ
ตั้งใจบำเพ็ญบุญ (๒) วัตถุ หมายถึงที่ตั้งหรือเหตุให้เกิดอานิสงส์ต่าง ๆ ดังนั้น บุญกิริยาวัตถุ จึงหมายถึง
การบำเพ็ญบุญอันเป็นเหตุให้เกิดอานิสงส์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๖/๒๕๖-๒๕๗, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๓๖/๒๙๒-
๒๙๓) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๕/๑๙๓-๑๙๖, ขุ.อิติ. ๒๕/๖๐-๖๑/๑๗๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๖.ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานพอประมาณ
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลพอประมาณ แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้โชคดีในมนุษย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ภิกษุ
ทั้งหลาย ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ในชั้นนั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นจาตุมหาราชได้โดย
ฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุที่เป็นทิพย์ วรรณะที่เป็นทิพย์ สุขที่เป็นทิพย์ ยศที่
เป็นทิพย์ อธิปไตยที่เป็นทิพย์ รูปที่เป็นทิพย์ เสียงที่เป็นทิพย์ กลิ่นที่เป็นทิพย์
รสที่เป็นทิพย์ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสักกะจอมเทพในชั้นดาวดึงส์นั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นดาวดึงส์ได้โดย
ฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุที่เป็นทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นยามา ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสุยามเทพบุตรในชั้นยามานั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นยามาได้โดยฐานะ ๑๐ ประการ
คือ อายุที่เป็นทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสันดุสิตในชั้นดุสิตนั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น ทำบุญกิริยาวัตถุ
ที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นดุสิตได้โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ
อายุที่เป็นทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๗.สัปปุริสทานสูตร
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสุนิมมิตเทพบุตรในชั้นนิมมานรดีนั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นนิมมานรดีได้โดยฐานะ
๑๐ ประการ คือ อายุที่เป็นทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
ภิกษุทั้งหลาย ท้าววสวัตดีเทพบุตรในชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่
สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำ
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีได้ โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุที่เป็นทิพย์ วรรณะ
ที่เป็นทิพย์ สุขที่เป็นทิพย์ ยศที่เป็นทิพย์ อธิปไตยที่เป็นทิพย์ รูปที่เป็นทิพย์
เสียงที่เป็นทิพย์ กลิ่นที่เป็นทิพย์ รสที่เป็นทิพย์ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้แล
ปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่ ๖ จบ
๗. สัปปุริสทานสูตร
ว่าด้วยสัปปุริสทาน
[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้
สัปปุริสทาน ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัตบุรุษย่อมให้ของที่สะอาด ๒. สัตบุรุษย่อมให้ของที่ประณีต
๓. สัตบุรุษย่อมให้ตามกาล ๔. สัตบุรุษย่อมให้ของที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๘.สัปปุริสสูตร
๕. สัตบุรุษย่อมเลือกให้๑ ๖. สัตบุรุษย่อมให้เป็นนิตย์
๗. สัตบุรุษกำลังให้ก็ทำจิตให้ผ่องใส ๘. สัตบุรุษครั้นให้แล้วก็ดีใจ
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้แล
สัตบุรุษย่อมให้ทาน คือ
ให้น้ำและโภชนะที่สะอาด ให้ของที่ประณีต
ให้ตามกาล ให้ของที่สมควร ให้เป็นนิตย์
ในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นเขตดี
บริจาคอามิสมากมายก็ไม่เดือดร้อน
ท่านผู้เห็นแจ้งย่อมสรรเสริญทานที่สัตบุรุษให้แล้วอย่างนี้
บัณฑิตผู้มีปัญญา มีศรัทธา มีใจเสียสละ บูชาอย่างนี้
ย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุข
สัปปุริสทานสูตรที่ ๗ จบ
๘. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยคุณประโยชน์ของสัตบุรุษ
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อ
เกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก คือ
๑. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มารดาบิดา
๒. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่บุตรภรรยา
๓. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ทาส กรรมกร และคนใช้

เชิงอรรถ :
๑ เลือกให้ในที่นี้หมายถึงเลือกสิ่งที่ไม่ดีออก แล้วถวายแต่สิ่งที่ดีด้วยการแสวงหาปฏิคาหก คือ พระทักขิไณย-
บุคคลและการตั้งความปรารถนาว่า ‘ถวายแก่ท่านรูปนี้จักมีผลมาก ถวายแก่ท่านรูปนี้จักไม่มีผลมาก’
(องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๗/๒๕๖-๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๘.สัปปุริสสูตร
๔. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มิตรและอำมาตย์๑
๕. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
๖. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่พระราชา
๗. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เหล่าเทวดา
๘. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่สมณพราหมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ก้อนเมฆใหญ่เมื่อตกลงมาให้ข้าวกล้าทั้งปวงเจริญงอกงาม ย่อม
ตกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดเพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก คือ
๑. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มารดาบิดา
๒. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่บุตรภรรยา
๓. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ทาส กรรมกร และคนใช้
๔. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มิตรและอำมาตย์
๕. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
๖. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่พระราชา
๗. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เหล่าเทวดา
๘. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่สมณพราหมณ์
สัตบุรุษผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน
เป็นผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนและกลางวัน
ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
เมื่อระลึกถึงอุปการคุณที่มารดาบิดาทำไว้ก่อน
ย่อมบูชามารดาบิดาโดยชอบธรรม๒
สัตบุรุษผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว
และมีศีลเป็นที่รัก รู้ธรรมแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๖๔ หน้า ๑๒๗ ในเล่มนี้
๒ โดยชอบธรรม ในที่นี้หมายถึงโดยการบูชาด้วยปัจจัยที่มีเหตุ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๘/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๙.อภิสันทสูตร
ย่อมบูชาบรรพชิตผู้ไม่ครองเรือน
ผู้ไม่มีบาป ผู้ประพฤติพรหมจรรย์
สัตบุรุษผู้เกื้อกูลแก่พระราชา เกื้อกูลแก่เทวดา
เกื้อกูลแก่ญาติและสหายทั้งหลาย
ตั้งมั่นดีแล้วในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง
สัตบุรุษนั้นกำจัดมลทินคือความตระหนี่ได้แล้ว
ย่อมถึงโลกอันเกษม
สัปปุริสสูตรที่ ๘ จบ
๙. อภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๑ ๘ ประการนี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อ
ให้ได้อารมณ์ดี๒ มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ นี้เป็นห้วง
บุญกุศลประการที่ ๑ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข
เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ
๒. อริยสาวกเป็นผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญกุศลประการ
ที่ ๒ ฯลฯ
๓. อริยสาวกเป็นผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญกุศลประการ
ที่ ๓ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิด
ในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เชิงอรรถ :
๑ ห้วงบุญกุศล ในที่นี้หมายถึงผลแห่งบุญกุศล ซึ่งหลั่งไหลนำความสุขมาสู่ผู้บำเพ็ญอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๕๑/๓๘๒)
๒ อารมณ์ดี ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
(องฺ.จตุกฺก. อ. ๒/๕๑/๓๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๙.อภิสันทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการ๑นี้ เป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน
รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบัน
ไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ อริยสาวก
ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ให้ความ
ไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน
อันไม่มีประมาณ นี้เป็นทานประการที่ ๑ เป็นมหาทานที่รู้กันว่า
ล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่
ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคต
ก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน นี้เป็นห้วงบุญ
กุศลประการที่ ๔ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล
ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ
๒. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
๓. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
๔. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ
๕. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการเสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้
ความไม่มีภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์
ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความ
ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนอันไม่มีประมาณ นี้เป็นทานประการ
ที่ ๕ เป็นมหาทานที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์
เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบัน
ไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๘/๔๓, อภิ.ก.๓๗/๔๘๐/๒๘๙-๒๙๐ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๑๐.ทุจจริตวิปากสูตร
ผู้รู้คัดค้าน นี้แลเป็นห้วงบุญกุศลประการที่ ๘ นำสุขมาให้ เป็นไป
เพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๘ ประการนี้แล นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ
อภิสันทสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุจจริตวิปากสูตร
ว่าด้วยวิบากแห่งทุจริต๑
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
อำนวยผลให้ไปเกิดในเปรตวิสัย วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผล
ให้เป็นผู้มีอายุน้อยแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
อทินนาทาน (การลักทรัพย์) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวย
ผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิด
ในเปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้เสื่อม
โภคทรัพย์แก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผล
ให้ไปเกิดในเปรตวิสัย วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้
เป็นผู้มีศัตรูและเป็นผู้มีเวรแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
มุสาวาท (การพูดเท็จ) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้
ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดใน
เปรตวิสัย วิบากแห่งมุสาวาทอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้ถูกกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง
แก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์

เชิงอรรถ :
๑ ดู อภิ.ก.๓๗/๙๐๓/๕๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
อำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผล
ให้ไปเกิดในเปรตวิสัย วิบากแห่งปิสุณาวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้แตก
จากมิตรแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
ผรุสวาจา (การพูดหยาบคาย) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวย
ผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิด
ในเปรตวิสัย วิบากแห่งผรุสวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้ได้ฟังเรื่องที่ไม่น่า
พอใจแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวย
ผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิด
ในเปรตวิสัย วิบากแห่งสัมผัปปลาปะอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้มีวาจาที่ไม่น่า
เชื่อถือแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย การดื่มสุราและเมรัยที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
อำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้
ไปเกิดในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้
เป็นผู้วิกลจริตแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
ทุจจริตวิปากสูตรที่ ๑๐ จบ
ทานวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมทานสูตร ๒. ทุติยทานสูตร
๓. ทานวัตถุสูตร ๔. เขตตสูตร
๕. ทานูปปัตติสูตร ๖. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
๗. สัปปุริสทานสูตร ๘. สัปปุริสสูตร
๙. อภิสันทสูตร ๑๐. ทุจจริตวิปากสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑.สังขิตตุโปสถสูตร
๕. อุโปสถวรรค
หมวดว่าด้วยอุโบสถ
๑. สังขิตตุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถโดยย่อ
[๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วาง
ทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์
เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะ
องค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ
อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้
๒. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ รับเอาแต่ของ
ที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่
ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับเอาแต่ของ
ที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่ตลอด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑.สังขิตตุโปสถสูตร
วันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตาม
พระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วย
องค์ที่ ๒ นี้
๓. พระอรหันต์ทั้งหลายละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ คือ
ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาว
บ้านอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
คือ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของ
ชาวบ้านอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้
เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็น
อันประกอบด้วยองค์ที่ ๓ นี้
๔. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์
ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาว
โลกอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่
คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวง
ชาวโลกอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เรา
ชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอัน
ประกอบด้วยองค์ที่ ๔ นี้
๕. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและ
เมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้น
ขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทอยู่ตลอดวันและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่า
ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบ
ด้วยองค์ที่ ๕ นี้
๖. พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจาก
การฉันในเวลาวิกาลอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็บริโภคมื้อเดียว ไม่บริโภค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑.สังขิตตุโปสถสูตร
ตอนกลางคืน เว้นขาดจากการบริโภคในเวลาวิกาลอยู่ตลอดวันหนึ่ง
และคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์
ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๖ นี้
๗. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม
ดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล การทัดทรง ประดับ ตกแต่ง
ร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะ
แห่งการแต่งตัวอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฟ้อนรำ
ขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล การทัดทรง
ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิว
อันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัวอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้
เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ
อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๗ นี้
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบน
ที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดชีวิต
แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ
คือ บนเตียงหรือบนที่นอน ที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่งและ
คืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์
ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้
ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้แล”
สังขิตตุโปสถสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๒.วิตถตุโปสถสูตร
๒. วิตถตุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถโดยพิสดาร
[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า๑
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วาง
ทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์
เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะ
องค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ
อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้
ฯลฯ๒
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอน
บนที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอด
ชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ
คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่งและ
คืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย
และอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้
ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อม
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๑/๒๘๖-๒๙๐
๒ องค์อุโบสถ ๘ ประการที่ถูกย่อ (ฯลฯ) ไว้ในข้อ ๔๒,๔๓,๔๕ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๑ (สังขิตตุ-
โปสถสูตร) หน้า ๓๐๓-๓๐๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๒.วิตถตุโปสถสูตร
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เพียงไร
คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี (เป็น
ผู้ยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการนี้
คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ
อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้น ยังมีค่า
ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราช
สมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ
บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือน โดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดย
ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรี
หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไป
เกิดร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๒๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นยามา ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดย
ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นยามา ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ
บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นยามา ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์
เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๔๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดย
ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๓.วิสาขาสูตร
บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อ
นำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๘๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ
บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๓๐
ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์
โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตาย
แล้วพึงไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางคืน
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม
และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล
ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสอง
งดงามส่องสว่าง โคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น
กำจัดความมืดไปในอากาศ
ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ
ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๓.วิสาขาสูตร
ทรัพย์ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
ทองสิงคีและทองคำตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ
เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น
และแสงดวงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖๑ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล
รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์
วิตถตุโปสถสูตรที่ ๒ จบ
๓. วิสาขาสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอุโบสถแก่นางวิสาขา
[๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
“วิสาขา อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วาง

เชิงอรรถ :
๑ เสี้ยวที่ ๑๖ ในที่นี้หมายถึงอานิสงส์แห่งอุโบสถที่แบ่งเป็น ๑๖ ส่วน แล้วเอาส่วน ๑ ใน ๑๖ ส่วนนั้นมา
แบ่งเป็นอีก ๑๖ ส่วน แล้วเอาส่วนหนึ่งจาก ๑๖ ส่วนที่แบ่งครั้งที่ ๒ นั้นมาแบ่งเป็น ๑๖ ส่วนอีกครั้งหนึ่ง
เป็นครั้งที่ ๓ ส่วน ๑ ใน ๑๖ ส่วนที่แบ่งครั้งที่ ๓ นี้แหละจัดเป็นเสี้ยวที่ ๑๖ (ตามนัย สํ.อ. ๑/๒๔๒/๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๓.วิสาขาสูตร
ทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์
เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะ
องค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ
อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้
ฯลฯ
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอน
บนที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอด
ชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่
นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่ง
และคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์
ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้
วิสาขา อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลเข้าจำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้แล
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เพียงไร
คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี (เป็นผู้
ยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการนี้ คือ
อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ
อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้น ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่
๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรี
หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไป
เกิดร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๓.วิสาขาสูตร
๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ
บุรุษบางคนในโลกนี้ รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์
เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๒๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ๑
๔๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ
๘๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๓๐
ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์
โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตาย
แล้วพึงไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย”
บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางคืน
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม
และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล
ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสอง
งดงามส่องสว่าง โคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด

เชิงอรรถ :
๑ การคำนวณปีที่ถูกย่อ (ฯลฯ) ไว้ ในข้อ ๔๓,๔๕ ดูความเต็มในข้อ ๔๒ หน้า ๓๐๗-๓๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๔.วาเสฏฐสูตร
ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น
กำจัดความมืดไปในอากาศ
ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ
ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ทรัพย์ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
ทองสิงคีและทองคำตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ
เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น
และแสงดวงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล
รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์
วิสาขาสูตรที่ ๓ จบ
๔. วาเสฏฐสูตร
ว่าด้วยอุบาสกชื่อว่าวาเสฏฐะ
[๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น อุบาสกชื่อว่าวาเสฏฐะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“วาเสฏฐะ อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก ฯลฯ ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์”๑

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความที่ละ (ฯลฯ) ไว้จนถึงคำว่า ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์ มีข้อความเต็มในพระสูตรที่ ๓
(วิสาขาสูตร) ในวรรคเดียวกันนี้ ตั้งแต่ย่อหน้าที่ ๒ จนถึงจบคาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๔.วาเสฏฐสูตร
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐอุบาสกได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ญาติและสาโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพระองค์ พึงอยู่จำ
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น
พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนานแก่ญาติและสาโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพระองค์
แม้หากกษัตริย์ทั้งปวงพึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่
จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาล
นานแก่กษัตริย์ทั้งปวง
แม้หากพราหมณ์ทั้งปวง ฯลฯ
แม้หากแพศย์ทั้งปวง ฯลฯ
แม้หากศูทรทั้งปวงพึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่จำ
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาล
นานแก่ศูทรทั้งปวง”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วาเสฏฐะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น วาเสฏฐะ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น แม้หากกษัตริย์ทั้งปวงพึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่
จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาล
นานแก่กษัตริย์ทั้งปวง
แม้หากพราหมณ์ทั้งปวง ฯลฯ
แม้หากแพศย์ทั้งปวง ฯลฯ
แม้หากศูทรทั้งปวงพึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่จำ
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน
แก่ศูทรทั้งปวง
แม้หากชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ พึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่จำ
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาล
นานแก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๕.โพชฌาสูตร
แม้หากต้นสาละใหญ่ ๆ เหล่านั้น พึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
การอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอด
กาลนานแก่ต้นสาละใหญ่ ๆ เหล่านั้น จะป่วยกล่าวไปใยถึงผู้เกิดเป็นมนุษย์เล่า”
วาเสฏฐสูตรที่ ๔ จบ
๕. โพชฌาสูตร
ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อว่าโพชฌา
[๔๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ครั้งนั้นแล โพชฌาอุบาสิกาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“โพชฌา อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูล
ต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ
วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู
มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้
ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและ
อยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๕.โพชฌาสูตร
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอน
บนที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอด
ชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ
คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่งและ
คืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์
ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้
โพชฌา อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เพียงไร
คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี (เป็นผู้ยิ่ง
ใหญ่เหนือผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการเหล่านี้ คือ
อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ
อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้น ยังมี
ค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี
ีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรี
หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไป
เกิดร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติ
ของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๑๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ
๒๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ
๔๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ
๘๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๕.โพชฌาสูตร
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๓๐
ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์
โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตาย
แล้วพึงไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย”
บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาลในเวลากลางคืน
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม
และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล
ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสอง
งดงามส่องสว่าง โคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น
กำจัดความมืดไปในอากาศ
ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ
ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ทรัพย์ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
ทองสิงคีและทองคำตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ
เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๖.อนุรุทธสูตร
และแสงดวงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล
รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์
โพชฌาสูตรที่ ๕ จบ
๖. อนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธะ
[๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะพักผ่อนกลางวัน หลีกเร้นอยู่ ครั้งนั้น เทวดาเหล่า
มนาปกายิกา๑จำนวนมาก ได้เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า
“ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ
เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการ คือ
๑. พวกข้าพเจ้าหวังวรรณะเช่นใด ก็ได้วรรณะเช่นนั้นโดยพลัน
๒. พวกข้าพเจ้าหวังเสียงเช่นใด ก็ได้เสียงเช่นนั้นโดยพลัน
๓. พวกข้าพเจ้าหวังสุขเช่นใด ก็ได้สุขเช่นนั้นโดยพลัน
ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ
เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการนี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ เทวดาเหล่ามนาปกายิกา หมายถึงเทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาเหล่านี้เรียกว่า เทพนิมมานรดี และเทพ
มนาปา เพราะเนรมิตรูปตามที่ตนปรารถนาได้ และชื่นชมรูปที่เนรมิตนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ.๓/๓๓/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๖.อนุรุทธสูตร
ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้มีความดำริว่า “ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้
ทั้งหมดพึงมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว”
ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ทั้งหมด
จึงแปลงร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้มีความดำริว่า “ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้ทั้งหมด
พึงมีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว มีเครื่อง
ประดับขาว”
ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ทั้งหมด
จึงแปลงร่างขาว มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว
บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาบางองค์ขับร้อง บางองค์ฟ้อนรำ บางองค์ปรบมือ
เครื่องประดับของเทวดาเหล่านั้นมีเสียงไพเราะ จับใจ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม
และหลงใหล๑ เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕๒ ที่นักดนตรีผู้เชี่ยวชาญปรับดีแล้ว
ประโคมดีแล้ว บรรเลงดีแล้ว มีเสียงไพเราะ จับใจ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม
และหลงใหล
ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้ทอดอินทรีย์ลง๓
เทวดาเหล่านั้นทราบว่า “พระคุณเจ้าอนุรุทธะไม่ยินดีเลย” จึงหายไป ณ ที่นั้นเอง
ครั้นเวลาเย็นท่านพระอนุรุทธะได้ออกจากที่หลีกเร้น๔ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ หลงใหล ในที่นี้หมายถึงทำให้เกิดความมัวเมาเพราะมานะและความมัวเมาเพราะความเป็นชาย (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๔๖/๒๖๐)
๒ ดนตรีมีองค์ ๕ คือ (๑) อาตตะ กลองขึงหนังหน้าเดียว (๒) วิตตะ ตะโพน (๓) อาตตวิตตะ บัณเฑาะว์
(๔) สุสิระ ปี่หรือขลุ่ย (๕) ฆนะ ดาลที่เคาะด้วยศิลาและแผ่นเหล็ก (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๔๖/๒๕๙, อภิธา.
คาถา ๑๓๙-๑๔๐)
๓ ทอดอินทรีย์ลง ในที่นี้หมายถึงทอดสายตาลง ไม่ลืมตาดู (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๔๖/๒๖๐)
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๗๐ หน้า ๑๕๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๖.อนุรุทธสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์พักผ่อนกลางวัน
หลีกเร้นอยู่ ครั้งนั้น เทวดาเหล่ามนาปกายิกาจำนวนมากได้เข้ามาหาข้าพระองค์
ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า
‘ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ
เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการ คือ
๑. พวกข้าพเจ้าหวังวรรณะเช่นใด ก็ได้วรรณะเช่นนั้นโดยพลัน
๒. พวกข้าพเจ้าหวังเสียงเช่นใด ก็ได้เสียงเช่นนั้นโดยพลัน
๓. พวกข้าพเจ้าหวังสุขเช่นใด ก็ได้สุขเช่นนั้นโดยพลัน
ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ
เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการนี้แล’
ข้าพระองค์นั้นได้มีความดำริว่า ‘ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้ทั้งหมดพึงมีร่างเขียว
มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว’ ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบ
ความดำริของข้าพระองค์แล้ว ทั้งหมดจึงแปลงร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว
มีเครื่องประดับเขียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นได้มีความดำริว่า
‘ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้ ทั้งหมดพึงมีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว
มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว’ ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบ
ความดำริของข้าพระองค์แล้ว ทั้งหมดจึงแปลงร่างขาว มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว
และมีเครื่องประดับขาว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาบางองค์ขับร้อง บางองค์
ฟ้อนรำ บางองค์ปรบมือ เครื่องประดับของเทวดาเหล่านั้นมีเสียงไพเราะ จับใจ
เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม และหลงใหล เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่นักดนตรี
ผู้เชี่ยวชาญปรับดี ประโคมดีแล้ว บรรเลงดีแล้ว มีเสียงไพเราะ จับใจ เร้าใจ ชวนให้
เคลิบเคลิ้ม และหลงใหล ข้าพระองค์ได้ทอดอินทรีย์ลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๖.อนุรุทธสูตร
เทวดาเหล่านั้นทราบว่า ‘พระคุณเจ้าอนุรุทธะไม่ยินดีเลย’ จึงหายไป ณ
ที่นั้นเอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ หลังจาก
ตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้
หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มารดาบิดาผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วยความ
เอ็นดู ยกเธอให้สามีใด เธอต้องตื่นก่อนนอนทีหลังสามีนั้น คอยรับใช้
ปฏิบัติให้เป็นที่พอใจเขา พูดคำไพเราะต่อเขา
๒. ชนเหล่าใดเป็นที่เคารพของสามี คือ มารดา บิดา หรือสมณ-
พราหมณ์ เธอสักการะเคารพ นับถือ บูชาชนเหล่านั้น และต้อนรับ
ท่านเหล่านั้นผู้มาถึงแล้วด้วยน้ำและเสนาสนะ
๓. การงานเหล่าใดเป็นการงานในบ้านสามี คือ การทอผ้าขนสัตว์
หรือผ้าฝ้าย เธอเป็นคนขยันไม่เกียจคร้านในการงานเหล่านั้น ประกอบ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานเหล่านั้น
สามารถทำ สามารถจัดได้
๔. รู้จักการงานที่คนในบ้านสามี คือ ทาส คนใช้ หรือกรรมกร ว่าทำ
แล้วหรือยังไม่ได้ทำ รู้อาการของคนเหล่านั้นที่เป็นไข้ว่าดีขึ้นหรือ
ทรุดลง และแบ่งปันของกิน ของใช้ให้ตามส่วนที่ควร
๕. เธอรักษาคุ้มครองสิ่งที่สามีหามาได้ เป็นทรัพย์ ข้าว เงิน หรือทอง
ก็ตาม ไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักเลงสุรา
ไม่ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ
๖. เธอเป็นอุบาสิกา ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๖.อนุรุทธสูตร
๗. เธอเป็นผู้มีศีล คือ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้น
ขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท
๘. เธอเป็นผู้มีจาคะ คือ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะ
อันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม๑ ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีใน
การแจกทานอยู่ครองเรือน
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
ย่อมไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา”
สตรีผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี
ผู้มีความเพียร ขวนขวายเป็นนิตย์
เลี้ยงตนเองทุกเมื่อ ผู้ให้สิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง
ไม่ทำให้สามีขุ่นเคืองด้วยการแสดงความหึงหวง
ยกย่องทุกคนที่สามีเคารพ เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน
สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
ปฏิบัติถูกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
สตรีผู้ยังประพฤติตามใจสามีอยู่อย่างนี้
จะเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา๒
อนุรุทธสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ มีฝ่ามือชุ่ม อรรถกถาอธิบายว่า ถ้าคนไม่มีศรัทธา แม้จะล้างมือถึง ๗ ครั้ง ก็ชื่อว่ายังมีมือไม่ได้ล้าง มีมือ
สกปรก แต่คนมีศรัทธา แม้มีมือสกปรก ก็ชื่อว่าได้ล้างมือสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๒/๑๔๘)
๒ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๓๓/๕๒-๕๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๗.ทุติยวิสาขาสูตร
๗. ทุติยวิสาขาสูตร
ว่าด้วยนางวิสาขา สูตรที่ ๒
[๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา-
มิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตา ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้ หลังจากตายแล้ว ย่อมไป
เกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มารดาบิดาผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วย
ความเอ็นดู ยกเธอให้สามีใด เธอต้องตื่นก่อนนอนทีหลังสามีนั้น
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้เป็นที่พอใจเขา พูดคำไพเราะต่อเขา
ฯลฯ๑
๘. เธอเป็นผู้มีจาคะ คือ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน
วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว ย่อม
ไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา”
สตรีผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี
ผู้มีความเพียร ขวนขวายเป็นนิตย์
เลี้ยงตนเองทุกเมื่อ ผู้ให้สิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง
ไม่ทำให้สามีขุ่นเคืองด้วยการแสดงความหึงหวง
ยกย่องทุกคนที่สามีเคารพ เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน

เชิงอรรถ :
๑ องค์ธรรมที่ถูกย่อ (ฯลฯ) ไว้ในข้อ ๔๗,๔๘ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาตข้อ ๔๖ (อนุรุทธสูตร) หน้า ๓๒๐-๓๒๑
ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๘.นกุลมาตาสูตร
สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
ปฏิบัติถูกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
สตรีผู้ยังประพฤติตามใจสามีอยู่อย่างนี้
จะเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
ทุติยวิสาขาสูตรที่ ๗ จบ
๘. นกุลมาตาสูตร
ว่าด้วยนกุลมาตาคหปตานี
[๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬามิคทายวัน เขตกรุง
สุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น นกุลมาตาคหปตานีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับแล้ว ฯลฯ นั่งแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“นกุลมาตา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้ หลังจากตายแล้ว ย่อม
ไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มารดาบิดาผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วย
ความเอ็นดู ยกเธอให้สามีใด เธอต้องตื่นก่อนนอนทีหลังสามีนั้น
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้เป็นที่พอใจเขา พูดคำไพเราะต่อเขา
ฯลฯ
๘. เธอเป็นผู้มีจาคะ คือ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน
นกุลมาตา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
ย่อมไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๙.ปฐมอิธโลกิกสูตร
สตรีผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี
ผู้มีความเพียร ขวนขวายเป็นนิตย์
เลี้ยงตนเองทุกเมื่อ ผู้ให้สิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง
ไม่ทำให้สามีขุ่นเคืองด้วยการแสดงความหึงหวง
ยกย่องทุกคนที่สามีเคารพ เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน
สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
ปฏิบัติถูกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
สตรีผู้ยังประพฤติตามใจสามีอยู่อย่างนี้
จะเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
นกุลมาตาสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปฐมอิธโลกิกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อชัยชนะในโลกนี้ สูตรที่ ๑
[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา-
มิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสดังนี้ว่า
“วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัย
ชนะในโลกนี้ ปรารภโลกนี้๑
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
มาตุคามในโลกนี้
๑. จัดการงานดี ๒. สงเคราะห์คนข้างเคียง
๓. ปฏิบัติถูกใจสามี ๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงมีความขยันหมั่นเพียร มุ่งทำการงานในโลกนี้ให้สำเร็จโดยเรียบร้อย (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๔๙-๕๐/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๙.ปฐมอิธโลกิกสูตร
มาตุคามผู้จัดการงานดี เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานภายในบ้านสามี
คือ การทอผ้าขนสัตว์ หรือผ้าฝ้าย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็น
อุบาย ในการงานเหล่านั้น สามารถทำ สามารถจัดได้
มาตุคามผู้จัดการงานดี เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้สงเคราะห์คนข้างเคียง เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้รู้จักการงานที่คนในบ้านสามี คือ ทาส คนใช้ หรือ
กรรมกรว่าทำแล้วหรือยังไม่ได้ทำ รู้อาการของคนเหล่านั้นที่เป็ไข้ว่าดีขึ้นหรือทรุดลง
และแบ่งปันของกิน ของใช้ให้ตามส่วนที่ควร
มาตุคามผู้สงเคราะห์คนข้างเคียง เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามปฏิบัติถูกใจสามี เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้ไม่ล่วงละเมิดสิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจของสามี แม้เพราะเหตุ
แห่งชีวิต
มาตุคามปฏิบัติถูกใจสามี เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้รักษาคุ้มครองสิ่งที่สามีหามาได้ เป็นทรัพย์ ข้าว เงิน
หรือทองก็ตาม ไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ผลาญ
ทรัพย์สมบัติ
มาตุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ เป็นอย่างนี้แล
วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ชัยชนะในโลกนี้ ปรารภโลกนี้
วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะ
ในโลกหน้า ปรารภโลกหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๙.ปฐมอิธโลกิกสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
มาตุคามในโลกนี้
๑. ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒. ถึงพร้อมด้วยศีล
๓. ถึงพร้อมด้วยจาคะ ๔. ถึงพร้อมด้วยปัญญา
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน อยู่ครองเรือน
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑๐.ทุติยอิธโลกิกสูตร
วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ชัยชนะในโลกหน้า ปรารภโลกหน้า”
ภรรยาเป็นผู้จัดการงานดี
สงเคราะห์คนข้างเคียง ปฏิบัติถูกใจสามี
รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ๑ ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีอยู่ในชาติหน้าอยู่เป็นนิตย์
ธรรม ๘ ประการดังกล่าวมานี้ มีอยู่แก่สตรีใด
สตรีนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า
‘ผู้มีศีล ตั้งอยู่ในธรรม กล่าวคำสัตย์’
อุบาสิกาเช่นนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยอาการ ๑๖ อย่าง
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นผู้มีศีล
ย่อมเกิดในเทวโลกชื่อว่ามนาปกายิกะ
ปฐมอิธโลกิกสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยอิธโลกิกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อชัยชนะในโลกนี้ สูตรที่ ๒
[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้ ปรารภโลกนี้

เชิงอรรถ :
๑ รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ในที่นี้หมายถึงรู้อาการของผู้ขอ เช่น เห็นภิกษุเที่ยวบิณฑบาตยืนที่ประตูเรือน
ของตน แม้ท่านจะนิ่งไม่ออกปากขอก็รู้ความหมายได้ว่า ‘ท่านกำลังขอซึ่งเป็นการขออย่างพระอริยะ’ เมื่อรู้
แล้วก็จัดแจงไทยธรรมถวายท่านด้วยคิดว่า ‘พวกเราหุงต้มเองได้ แต่ท่านหุงต้มเองไม่ได้แล้วท่านจะหาภัตร
ได้ที่ไหน’ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๓๖-๓๗/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑๐.ทุติยอิธโลกิกสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
มาตุคามในโลกนี้
๑. จัดการงานดี ๒. สงเคราะห์คนข้างเคียง
๓. ปฏิบัติถูกใจสามี ๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
มาตุคามผู้จัดการงานดี เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานภายในบ้านสามี
ฯลฯ มาตุคามผู้จัดการงานดี เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้สงเคราะห์คนข้างเคียง เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้รู้จักการงานที่คนในบ้านสามี ฯลฯ มาตุคามผู้สงเคราะห์
คนข้างเคียง เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามปฏิบัติถูกใจสามี เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้ไม่ล่วงละเมิดสิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจของสามี แม้เพราะเหตุ
แห่งชีวิต มาตุคามปฏิบัติถูกใจสามี เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้รักษาคุ้มครองสิ่งที่สามีหามาได้ ฯลฯ มาตุคามรักษา
ทรัพย์ที่สามีหามาได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้ ปรารภโลกนี้
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ
เพื่อชัยชนะในโลกหน้า ปรารภโลกหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
มาตุคามในโลกนี้
๑. ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒. ถึงพร้อมด้วยศีล
๓. ถึงพร้อมด้วยจาคะ ๔. ถึงพร้อมด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑๐.ทุติยอิธโลกิกสูตร
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา ฯลฯ มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ฯลฯ มาตุคาม
ผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกหน้า ปรารภโลกหน้า
ภรรยาเป็นผู้จัดการงานดี
สงเคราะห์คนข้างเคียง ปฏิบัติถูกใจสามี
รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีอยู่ในชาติหน้าอยู่เป็นนิตย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น