Google Analytics 4




พจนานุกรมพุทธศาสน์ ก

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) หรือ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ออนไลน์

กกุธานที แม่น้ำที่พระอานนท์ทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้า ให้ไปเสวยและสรงชำระพระกาย ในระหว่างเดินทางไปเมือง กุสินารา ในวันปรินิพพาน

กฏัตตาวาปนกรรม ดู กตัตตากรรม

กฐิน ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร; ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่าง หนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วม กัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้ มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตราสงค์ หรือสังฆา ฏิก็ได้และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ) ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่ เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะ ขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔); ผ้าที่สงฆ์ยก มอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้นเรียกว่าผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ); สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป; ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษาเรียกว่า เขตกฐิน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

ภิกษุผู้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ (เหมือนอานิสงส์การจำพรรษา; ดู จำพรรษา) ยืดออกไปอีก ๔ เดือน (ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔) และได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลออกไปตลอด ๔ เดือน นั้น

คำถวายผ้ากฐิน แบบสั้นว่า : อิมํ, สปริวารํ,กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม. (ว่า ๓ จบ) แปลว่า ข้าพเจ้าทั้ง หลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์

แบบยาวว่า : อิมํ, ภนฺเต สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมํ, สปริวารํ, กฐินทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวาจ, อิมินา ทุสฺเสน, กฐินํ, อตฺถรตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย. แปลว่า ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับ ทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ

กฐินทาน การทอดกฐิน, การถวายผ้ากฐิน คือการที่คฤหัสถ์ผู้ศรัทธาหรือแม้ภิกษุสามเณร นำผ้าไปถวายแก่สงฆ์ผู้จำ พรรษาแล้ว ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อทำเป็นผ้ากฐิน เรียกสามัญว่า ทอดกฐิน (นอกจากผ้ากฐินแล้ว ปัจจุบันนิยมมีของ ถวายอื่น ๆ อีกด้วยจำนวนมากเรียกว่า บริวารกฐิน)

กฐินัตถารกรรม การกรานกฐิน

กตญาณ ปรีชากำหนดรู้ว่าได้ทำกิจเสร็จแล้ว คือ ทุกข์ ควรกำหนดรู้ ได้รู้แล้ว สมุทัย ควรละ ได้ละแล้ว นิโรธ ควรทำให้ แจ้งได้ทำให้แจ้งแล้ว มรรค ควรเจริญ ได้เจริญคือปฏิบัติหรือทำให้เกิดแล้ว (ข้อ ๓ ใน ญาณ ๓)

กตเวทิตา ความเป็นคนกตเวที, ความเป็นผู้สนองคุณท่าน

กตัญญุตา ความเป็นคนกตัญญู, ความเป็นผู้รู้คุณท่าน

กตัญญูกตเวทิตา ความเป็นคนกตัญญูกตเวที

กตัญญูกตเวที ผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน แยกออกเป็น ๒ คือ กตัญญู รู้คุณท่าน กตเวที ตอบแทนหรือ สนองคุณท่าน ; ความกตัญญูกตเวที ว่าโดยขอบเขต แยกได้เป็น ๒ ระดับ คือ กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้มีคุณความดี หรืออุปการะต่อตนเป็นส่วนตัว อย่างหนึ่ง กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์หรือมีคุณความดีเกื้อกูล แก่ส่วนรวม เช่นที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้าโดยฐานที่ได้ทรงประกาศ ธรรมยังหมู่ชนให้ตั้งอยู่ในกุศลกัลยาณธรรม เป็นต้น อย่างหนึ่ง (ข้อ ๒ ในบุคคลหาได้ยาก ๒)

กตัตตากรรม กรรมสักว่าทำ, กรรมที่เป็นกุศลก็ตามอกุศลก็ตาม สักแต่ว่าทำคือไม่ได้จงใจจะให้เป็นอย่างนั้นโดยตรง หรือมีเจตนาอ่อนไม่ชัดเจน ย่อมให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่น ท่านเปรียบเสมือนคนบ้ายิงลูกศร ย่อมไม่มีความหมายจะให้ ถูกใคร ทำไปโดยไม่ตั้งใจชัดเจน ดู กรรม ๑๒

กตัตตาวาปนกรรม ดู กตัตตากรรม

กติกา (ในคำว่า “ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์”) ข้อตกลง, ข้อบังคับ, กติกาของสงฆ์ในกรณีนี้ คือข้อที่สงฆ์ ๒ อาวาส มีข้อตกลงกันไว้ว่า ลาภเกิดในอาวาสหนึ่ง สงฆ์อีกอาวาสหนึ่งมี ส่วนได้รับแจกด้วย ทายกกล่าวคำถวายว่า “ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์” ลาภที่ทายกถวายนั้น ย่อมตกเป็นของภิกษุผู้อยู่ในอาวาสที่ทำกติกากันไว้ด้วย

กถา ถ้อยคำ, เรื่อง, คำกล่าว, คำ อธิบาย

กถาวัตถุ ถ้อยคำที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ มี ๑๐ อย่างคือ ๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มี ความปรารถนาน้อย ๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ๓. ปวิเวกกถาถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกาย สงัดใจ ๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร ๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล ๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น ๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิด ปัญญา ๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์ ๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำ ให้เกิดความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์

กนิฏฐภาดา, กนิษฐภาดา น้องชาย

กบิลดาบส ดาบสที่อยู่ในดงไม้สักกะประเทศหิมพานต์ พระราชบุตรและพระราชบุตรี ของพระเจ้าโอกกากราชพา กันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามพระนครที่สร้างใหม่ว่า กบิลพัสดุ์ แปลว่า ที่หรือที่ดิน ของกบิลดาบส

กบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือศากยะ ที่ได้ชื่อว่า กบิลพัสดุ์เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส บัดนี้อยู่ใน เขตประเทศเนปาล

กปิสีสะ ไม้ที่ทำเป็นรูปหัวลิง ในวันที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระอานนทเถระ ยืนเหนี่ยวไม้นี้ร้องไห้เสียใจ ว่าตนยังไม่สำเร็จพระอรหัต พระพุทธเจ้าก็จักปรินิพพานเสียแล้ว

กพฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ได้แก่อาหารที่กลืนกินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย, อาหารที่เป็นวัตถุ

กรณียะ เรื่องที่ควรทำ, ข้อที่พึงทำ, กิจ

กรมการ เจ้าพนักงานคณะหนึ่งมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในระดับหนึ่งๆ เช่น กรมการจังหวัด กรมการอำเภอ เป็นต้น

กรมพระสุรัสวดี ชื่อกรมสมัยโบราณ มีหน้าที่เกี่ยวกับการรวบรวมบัญชีเลขหรือชายฉกรรจ์

กรรโชก ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว (แผลงมาจาก กระโชก)

กรรณ หู

กรรม การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือ ทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้ อยู่ว่า บ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตายก็ไม่พ้นเป็นกรรม) การ กระทำที่ดีเรียกว่า “กรรมดี” ที่ชั่ว เรียกว่า “กรรมชั่ว”

กรรม ๒ กรรมจำแนกตามคุณภาพหรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุมี ๒ คือ ๑. อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล กรรม ชั่ว คือเกิดจากอกุศลมูล ๒. กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล กรรมดี คือเกิดจากกุศลมูล

กรรม ๓ กรรมจำแนกตามทวารคือทางที่ทำกรรมมี ๓ คือ ๑. กายกรรม การกระทำทางกาย ๒. วจีกรรม การ กระทำทางวาจา ๓. มโนกรรม การกระทำทางใจ

กรรม ๑๒ กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ หมวดที่ ๑ ว่าโดยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่ ๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้ ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า ๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ ผลในภพต่อ ๆ ไป ๔. อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือ จำแนกการให้ผลตามหน้าที่ได้แก่ ๕. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิดหรือกรรมที่เป็น ตัวนำไปเกิด ๖.อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือ เข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม ๗. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภก กรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาลงหรือสั้นเข้า ๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือ กรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมสองอย่างนั้นให้ขาดหรือ หยุดไปทีเดียว หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือ จำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่ ๙. ครุกกรรม กรรม หนักให้ผลก่อน ๑๐. พหุลกรรม หรืออาจิณณกรรม กรรม ทำมากหรือกรรมชินให้ผลรองลงมา ๑๑. อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มีสองข้อ ก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น ๑๒. กตัตตากรรม หรือกตัตตาวาปน กรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อนหรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล

กรรมกรณ์ เครื่องลงอาชญา, ของสำหรับใช้ลงโทษ เช่น โซ่ ตรวน ขื่อ คา เป็นต้น

กรรมการ บุคคลในคณะซึ่งร่วมกันทำงานบางอย่างที่ได้รับมอบหมาย

กรรมกิเลส กรรมเครื่องเศร้าหมอง,การกระทำที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง มี ๔ อย่างคือ ๑. ปาณาติบาต การทำชีวิตให้ ตกล่วงคือ ฆ่าฟันสังหารกัน ๒. อทินนาทาน ถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้คือลักขโมย ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติ ผิดในกาม ๔. มุสาวาท พูดเท็จ

กรรมฐาน ดู กัมมัฏฐาน

กรรมลักษณะ ดู กัมมลักขณะ

กรรมวัฏฏ์ ดู กัมมวัฏฏ์

กรรมวาจา คำประกาศกิจในท่ามกลางสงฆ์, การสวดประกาศ แบ่งเป็น ๒ คือ ญัตติ ๑ อนุสาวนา ๑

กรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ผู้สวดกรรมวาจาประกาศในท่ามกลางสงฆ์ในการอุปสมบท

กรรมวาจาวิบัติ เสียเพราะกรรมวาจา, กรรมวาจาบกพร่องใช้ไม่ได้

กรรมวาจาสมบัติ ความสมบูรณ์แห่งกรรมวาจา, คำสวดประกาศถูกต้องใช้ได้

กรรมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม แม้จะมีกรรมต่าง ๆ ให้ผลอยู่มากมายซับซ้อน ก็สามารถแยกแยะ ล่วงรู้ได้ว่า อันใดเป็นผลของกรรมใด

กรรมสิทธิ์ ความเป็นเจ้าของทรัพย์, สิทธิที่ได้ตามกฎหมาย

กรรมารหะ ดู กัมมารหะ

กรรแสง ร้องให้ บัดนี้เขียน กันแสง

กรวดน้ำ
ตั้งใจอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ พร้อมไปกับหลั่งรินน้ำเป็นเครื่องหมาย และเป็นเครื่องรวมกระแสจิตที่ ตั้งใจอุทิศนั้นให้แน่วแน่; เริ่มรินน้ำเมื่อพระองค์หัวหน้าเริ่มสวดยถา รินน้ำหมดพร้อมกับพระหัวหน้าสวดยถาจบ และพระทั้งหมดเริ่มสวดพร้อมกัน จากนั้นวางที่กรวดน้ำลงแล้วประนมมือรับพรต่อไป; คำกรวดน้ำอย่างสั้นว่า “อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ” ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่.(ออกชื่อผู้ล่วงลับ) และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด จะต่ออีก ก็ได้ว่า “สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย” ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด

กระทู้ หัวข้อ, เค้าเงื่อน

กระแสความ แนวความ

กระแสเทศนา แนวเทศนา

กระหย่ง (ในคำว่า “นั่งกระหย่ง”) นั่งคุกเข่าเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้งสองรับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่งก็ ได้; บางแห่งว่าหมายถึงนั่งยอง ๆ

กรานกฐิน ขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยก ผ้าให้ในนามของสงฆ์ เพื่ออนุโมทนา ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่าผู้กราน พิธีทำในบัดนี้คือ ภิกษุซึ่งจำพรรษาครบสามเดือนในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป) ประชุมกันใน อุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ภิกษุรูปนั้นทำกิจ ตั้งแต่ ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม ให้ เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้เพื่อ อนุโมทนา และภิกษุสงฆ์นั้นได้ อนุโมทนาแล้ว เรียกว่า กรานกฐิน ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม ก็ไม่มี (กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า ขึงคือทำให้ตึง กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า ไม้สะดึง กรานกฐินก็ คือขึงไม้สะดึงคือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง) เขียน กราลกฐิน บ้างก็มี

กรีษ, กรีส คูถ อุจจาระ ขี้

กรุณา ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์, ความหวั่นใจ เมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์ คิดหาทางช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์ของ เขา ดู พรหมวิหาร

กรุย หลักที่ปักไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายกำหนดแนวทางหรือระยะทาง

กล่าวคำอื่น ในประโยคว่า “เป็นปาจิตติยะ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น” ถูกชักอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ไม่ปรารถนา จะให้การตามตรง เอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนเสีย

กวฬิงการาหาร ดู กพฬิงการาหาร

กษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย, ชนชั้นปกครอง หรือนักรบ

กสาวเภสัช น้ำฝาดเป็นยา, ยาที่ทำจากน้ำฝาดของพืช เช่น น้ำฝาดของสะเดา น้ำฝาดกระดอม น้ำฝาดบรเพ็ด เป็นต้น

กสิกรรม การทำนา, การเพาะปลูก

กสิณ วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิมี ๑๐ อย่าง คือ ภูตกสิณ ๔ : ๑) ปฐวี ดิน ๒) อาโป น้ำ ๓) เตโช ไฟ ๔) วาโย ลม วรรณกสิณ ๔ : ๕) นีลํ สีเขียว ๖) ปีตํ สี เหลือง ๗) โลหิตํ สีแดง ๘) โอทาตํ สีขาว และ ๙) อาโลโก แสงสว่าง ๑๐) อากาโส ที่ว่าง

กหาปณะ ชื่อมาตราเงินในสมัยโบราณ ๑ กหาปณะเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๔ บาท

กะเทย คนหรือสัตว์ที่ไม่ปรากฏว่าเป็นชายหรือหญิง

กังขาเรวตะ พระมหาสาวกองค์หนึ่งเดิมเป็นบุตรของตระกูลที่มั่งคั่ง ชาวพระนครสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาที่ พระศาสดาทรงแสดง มีความเลื่อมใสขอบวช ต่อมาได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะ ในทางเป็นผู้ยินดีในฌานสมาบัติ

กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยหมดสงสัยในนามรูป คือ กำหนดรู้ ปัจจัยแห่งนามรูปได้ว่า เพราะอะไรเกิด นามรูปจึงเกิด เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ

กังสดาล ระฆังวงเดือน

กัจจานโคตร, กัจจายนโคตร ตระกูลพราหมณ์กัจจานะ หรือกัจจายนะ

กัจจายนปุโรหิต ปุโรหิตชื่อกัจจายนะเป็นปุโรหิตของพระเจ้าจันฑปัชโชต กรุงอุชเชนี ได้ฟังพระธรรมเทศนา ของพระพุทธเจ้า บรรลุพระอรหัตแล้วขออุปสมบท มีชื่อในพระศาสนาว่าพระมหากัจจายนะ พระพุทธเจ้าทรง ยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางอธิบายความของคำย่อให้พิสดาร

กัจฉะ, กัจฉะประเทศ รักแร้

กัญจนา เจ้าหญิงแห่งเทวทหนครเป็น พระมเหสีของพระเจ้าสีหหนุ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ เป็นพระชนนีของพระ เจ้าสุทโธทนะ เป็นพระอัยยิกาของเจ้าชายสิทธัตถะ

กัณฐกะ ชื่อม้าสีขาวที่พระมหาบุรุษทรงในวันออกผนวช

กัณฐชะ อักษรเกิดในคอ คือ อ อา ก ข ค ฆ ง

กัณฑ์ หมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง

กัณฑกสามเณร ชื่อสามเณรรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล ผู้กล่าวตู่พระธรรมเป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขา บทที่ ๑๐ แห่งสัปปาณกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์ และทรงให้สงฆ์นาสนะเธอเสีย เขียนเป็น กัณฏกะ ก็มี

กัณหปักข์ 1. ข้างแรม 2. ฝ่ายดำ คือ ฝ่ายตรงกันข้ามกันอีกฝ่ายหนึ่ง เขียนกัณหปักษ์ ก็มี

กัตติกมาส เดือน ๑๒

กัตติกา 1. ดาวลูกไก่ 2. เดือน ๑๒ ตามจันทรคติ ตกในราวปลายเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน

กัตตุกัมยตาฉันทะ ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ, ความต้องการที่จะทำ ได้แก่ ฉันทะที่เป็นกลางๆ ดีก็ได้ ชั่วก็ได้ ต่างจากกามฉันทะที่เป็นแต่ฝ่ายชั่ว

กันดาร อัตคัด, ฝืดเคือง, หายาก, ลำบาก, แห้งแล้ง, ทางที่ผ่านไปยาก

กัป, กัลป์ กาลกำหนด, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาฬ ประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดู ว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม) ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้าน ละ ๑ โยชน์ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาว นานกว่านั้น; กำหนดอายุของโลก; กำหนดอายุเรียกเต็มว่า อายุกัปเช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ประมาณ ๑๐๐ ปี

กัปปมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

กัปปาสิกะ ผ้าทำด้วยฝ้าย คือผ้าสามัญ

กัปปิยะ สมควร, ควรแก่สมณะบริโภค, ของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภคใช้สอย คือพระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุใช้หรือ ฉันได้ เช่น ข้าวสุก จีวร ร่ม ยาแดง เป็นกัปปิยะ แต่สุรา เสื้อ กางเกง หมวก น้ำอบ ไม่เป็นกัปปิยะ สิ่งที่ไม่เป็น กัปปิยะ เรียกว่า อกัปปิยะ

กัปปิยการก ผู้ทำของที่สมควรแก่สมณะ, ผู้ทำหน้าที่จัดของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภค, ผู้ปฏิบัติภิกษุ, ลูกศิษย์พระ

กัปปิยกุฎี เรือนเก็บของที่เป็นกัปปิยะ ดู กัปปิยภูมิ

กัปปิยบริขาร เครื่องใช้สอยที่สมควรแก่สมณะ, ของใช้ที่สมควรแก่ภิกษุ

กัปปิยภัณฑ์ ของใช้ที่สมควรแก่ภิกษุ, สิ่งของที่สมควรแก่สมณะ

กัปปิยภูมิ ที่สำหรับเก็บเสบียงอาหารของวัด, ครัววัด มี ๔ อย่าง คือ อุสสาวนันติกา กับปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศให้ รู้กันแต่แรกสร้างว่า จะทำเป็นกัปปิยภูมิ คือพอเริ่มยกเสาหรือตั้งฝาก็ประกาศให้ได้ยินว่า “กปฺปิยภูมึ กโรม” แปลว่าเรา ทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี ๑ โคนิสาทิกา กัปปิยภูมิขนาดเล็กเคลื่อนที่ได้ ดุจเป็นที่โคจ่อม ๑ คหปติกา เรือนของคฤหบดี เขาสร้างถวายเป็นกัปปิย ภูมิ ๑ สัมมติกา กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ ได้แก่กุฎีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฎี แล้วสวด ประกาศด้วยญัตติ ทุติยกรรม ๑

กปฺปิเย อกปฺปิยสญฺญิตา อาการที่ต้องอาบัติด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร

กัปปิละ ชื่อพราหมณ์นายบ้านของหมู่บ้านพราหมณ์หมู่หนึ่ง ในแขวงกรุงราชคฤห์ เป็นบิดาของปิปผลิมาณพ

กัมปิลละ ชื่อนครหลวงแห่งแคว้นปัญจาละ

กัมพล ผ้าทอด้วยขนสัตว์ เช่นสักหลาด

กัมโพชะ แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้น แห่งชมพูทวีป มีนครหลวงชื่อทวารกะ บัดนี้อยู่ในประเทศอาฟกานิสถาน

กัมมขันธกะ ชื่อหมวดหนึ่งในคัมภีร์ จุลลวรรค พระวินัยปิฎก ว่าด้วยนิคหกรรม ๕ ประเภท

กัมมลักขณะ การอันมีลักษณะเป็น (สังฆ) กรรมนั้นได้, กิจการที่มีลักษณะอันจัดเข้าเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่งใน สังฆกรรมประเภทนั้นได้ แต่ท่านไม่ได้ออกชื่อไว้ และไม่อาจจัดเข้าในชื่ออื่น ๆ แห่งสังฆกรรมประเภทเดียวกัน เช่น การอปโลกน์แจกอาหารในโรงฉัน เป็นกัมมลักขณะ ในอปโลกนกรรม การประกาศเริ่มต้นระงับอธิกรณ์ด้วย ติณวัตถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะในญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรมที่สวดในลำดับไปในการระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัต ถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะในญัตติทุติยกรรม อุปสมบทและอัพภานเป็นกัมมลักขณะในญัตติจตุตถกรรม

กัมมวัฏฏ์ วนคือกรรม, วงจรส่วนกรรม, หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจสมุปบาท ประกอบด้วยสังขาร และกรรมภพ ดู ไตรวัฏฏ์

กมฺมวิปากชา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดแต่วิบากของกรรม

กัมมสัทธา ดู สัทธา

กัมมัฏฐาน ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ สมถกัมมัฏฐาน อุบายสงบใจ ๑ วิปัสสนากัมมัฏฐาน อุบายเรืองปัญญา ๑ (นิยมเขียน กรรมฐาน) ดู ภาวนา

กัมมัฏฐาน ๔๐ คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ อรูป ๔

กัมมัญญตา ความควรแก่การงาน, ภาวะที่ใช้การได้ หรือเหมาะแก่การใช้งาน, ความเหมาะงาน

กัมมัสสกตาสัทธา ความเชื่อว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดู สัทธา

กัมมารหะ ผู้ควรแก่กรรม คือบุคคลที่ถูกสงฆ์ทำกรรม เช่น ภิกษุที่สงฆ์พิจารณาทำปัพพาชนียกรรม คฤหัสถ์ที่ถูกสงฆ์ ดำเนินการคว่ำบาตร เป็นต้น

กัลบก ช่างตัดผม, ช่างโกนผม

กัลป์ ดู กัป

กัลปนา 1. ที่หรือสิ่งอื่นซึ่งเจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัด 2. ส่วนบุญที่ผู้ทำอุทิศให้แก่ผู้ตาย

กัลยาณคุณ คุณอันบัณฑิตพึงนับ, คุณธรรมที่ดีงาม, คุณงามความดี

กัลยาณชน คนประพฤติดีงาม, คนดี

กัลยาณธรรม ธรรมอันดี, ธรรมดีงาม, ธรรมของกัลยาณชน ดู เบญจธรรม

กัลยาณปุถุชน คนธรรมดาที่มีความประพฤติดี, ปุถุชนผู้มีคุณธรรมสูง

กัลยาณมิตร เพื่อนที่ดี, มิตรผู้มีคุณอันบัณฑิตพึงนับ (คุณสมบัติ ดู เพื่อน)

กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดีไม่คบคนชั่ว

กัลยาณี นางงาม, หญิงงาม, หญิงที่มีคุณธรรมน่านับถือ

กัลลวาลมุตตคาม ชื่อหมู่บ้าน อยู่ในแคว้นมคธ พระโมคคัลลานะอุปสมบทได้ ๗ วัน ไปทำความเพียรจนอ่อนใจ นั่งโงกง่วงอยู่ พระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนาโปรด จนได้สำเร็จพระอรหัตที่หมู่บ้านนี้

กัสสปะ 1. พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า ๕ 2. ชื่อของพระมหากัสสปเถระเมื่อเรียกตาม โคตร ท่านมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ปิปผลิ หรือ ปิปผลิมาณพ 3. หมายถึงกัสสปสามพี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ เป็นนักบวชประเภทชฎิล ถือลัทธิบูชาไฟ เป็นที่เคารพนับถือของชาวราชคฤห์ ภายหลังได้เป็นพระอรหันต์ พร้อมกันทั้งสามพี่น้องและบริวารหนึ่งพัน ด้วยได้ ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตรจากพระพุทธเจ้า

กัสสปโคตร ตระกูลพราหมณ์กัสสปะ

กัสสปสังยุตต์ ชื่อเรียกพระสูตรหมวดหนึ่ง ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับพระมหากัสสปไว้เป็นหมวดหมู่

กาจ ร้าย, กล้า, เก่ง

กาพย์ คำร้อยกรองที่แต่งทำนองฉันท์ แต่ไม่นิยมครุลหุเหมือนฉันท์ทั้งหลาย

กาม ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่, กามมี ๒ คือ ๑. กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่ ๒. วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่กามคุณ ๕

กามคุณ ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่น่าพอใจ

กามฉันท์ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น, ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (นิวรณ์ข้อ ๑)

กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กาม เป็นอย่างหนึ่งในตัณหา ๓

กามภพ ที่เกิดของผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ในกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกามได้แก่ อบายภูมิ ๔ มนุษยโลก และสวรรค์ ๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตดีรวมเป็น ๑๑ ชั้น

กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม, ความใคร่กาม

กามสมบัติ สมบัติคือกามารมณ์, ความถึงพร้อมด้วยกามารมณ์

กามสังวร ความสำรวมในกาม, การรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ไม่ให้หลงใหลหมกมุ่นใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม)

กามสุข สุขในทางกาม, สุขที่เกิดจากกามารมณ์

กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้พัวพันหมกมุ่นอยู่ในกามสุข เป็นที่สุดอย่างหนึ่ง ในบรรดาที่สุดสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค ๑ อัตตกิลมถานุโยค ๑

กามสุคติภูมิ กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ คือ มนุษย์และสวรรค์ ๖ (จะแปลว่า สุคติภูมิที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม ก็ได้)

กามาทีนพ โทษแห่งกาม, ข้อเสียของกาม

กามารมณ์ 1. อารมณ์ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้แก่กามคุณ ๕ นั่นเอง 2. ในภาษาไทย มักหมายถึงความรู้สึกทางกาม

กามาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในกามภพ, ซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับกาม

กามาสวะ อาสวะคือกาม, กิเลสดองอยู่ในสันดานที่ทำให้เกิดความใคร่ ดู อาสวะ

กามุปาทาน ความยึดติดถือมั่นในกาม ยึดถือว่าเป็นของเรา หรือจะต้องเป็นของเรา จนเป็นเหตุให้เกิดริษยา หรือ หวงแหน ลุ่มหลง เข้าใจผิด ทำผิด

กาเมสุมิจฉาจาร ความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, ความผิดประเวณี

กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม, เว้นการล่วงประเวณี

กายกรรม การกระทำทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม หรือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการ ลักทรัพย์ เป็นต้น

กายกัมมัญญตา ความควรแก่การงานแห่งนามกาย, ธรรมชาติที่ทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลายให้อยู่ในภาวะที่ ทำงานได้ดี (ข้อ ๑๔ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายคตาสติ, กายสติ สติที่เป็นไปในกาย, สติอันพิจารณากายให้เห็นตามสภาพที่มีส่วนประกอบ ซึ่งล้วนเป็นของ ไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงใหลมัวเมา

กายทวาร ทวารคือกาย, กายในฐานเป็นทางทำกรรม, ทางกาย

กายทุจริต ประพฤติชั่วด้วยกาย, ประพฤติชั่วทางกายมี ๓ อย่างคือ ๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์ ๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์ ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ดู ทุจริต

กายบริหาร การรักษาร่างกายให้เหมาะสมแก่ความเป็นสมณะ เช่นไม่ไว้ผมยาวเกินไป ไม่ไว้หนวดเครา ไม่ไว้เล็บยาว ไม่ผัดหน้า ไม่แต่งเครื่องประดับกาย ไม่เปลือยกาย เป็นต้น

กายประโยค การประกอบทางกาย, การกระทำทางกาย

กายปัสสัทธิ ความสงบระงับแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกาย คือเจตสิกทั้งหลายให้สงบเย็น (ข้อ ๘ ในโสภณ เจตสิก ๒๕)

กายปาคุญญตา ความคล่องแคล่วแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกายคือเจตสิกทั้งหลาย ให้แคล่วคล่องว่องไวรวดเร็ว (ข้อ ๑๖ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายมุทุตา ความอ่อนโยนแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลายให้นุ่มนวลอ่อนละมุน (ข้อ ๑๒ ใน โสภณเจตสิก ๒๕)

กายลหุตา ความเบาแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกาย คือ กองเจตสิกให้เบา (ข้อ ๑๐ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายวิญญัติ ความเคลื่อนไหวร่างกายให้รู้ความหมายเช่น สั่นศีรษะ โบกมือขยิบตา ดีดนิ้ว เป็นต้น

กายวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะโผฏฐัพพะกระทบกาย, โผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น

กายสมาจาร ความประพฤติทางกาย

กายสักขี “ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย”, “ผู้ประจักษ์กับตัว”, พระอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปจนถึงผู้ตั้งอยู่ใน อรหัตตมรรค ที่เป็นผู้มีสมาธินทรีย์แรงกล้า ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ (ถ้าบรรลุอรหัตตผล กลายเป็นอุภโตภาควิมุต) ดู อริยบุคคล ๗

กายสังขาร 1. ปัจจัยปรุงแต่งกาย ได้แก่ลมหายใจเข้า หายใจออก 2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กาย สัญเจตนา หรือความจงใจทางกาย ซึ่งทำให้เกิดกายกรรม

กายสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องด้วยกาย, การเคล้าคลึงร่างกาย, เป็นชื่ออาบัติสังฆาทิเสสข้อที่ ๒ ที่ว่าภิกษุมีความกำหนัด ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม, การจับต้องกายหญิงโดยมีจิตกำหนัด

กายสัมผัส สัมผัสทางกาย, อาการที่กาย โผฏฐัพพะ และ กายวิญญาณ ประจวบกัน

กายสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่กาย โผฏฐัพพะและกาย วิญญาณประจวบกัน

กายสุจริต ประพฤติชอบด้วยกาย, ประพฤติชอบทางกาย มี ๓ อย่างคือ เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจาก ประพฤติผิดในกาม ดู กายทุจริต, สุจริต

กายานุปัสสนา สติพิจารณากายเป็นอารมณ์ว่า กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เป็นสติปัฏฐานข้อ หนึ่ง ดู สติปัฏฐาน

กายิกสุข สุขทางกาย เช่น ได้ยินเสียงไพเราะ ลิ้มรสอร่อย ถูกต้องสิ่งที่อ่อนนุ่ม เป็นต้น

กายุชุกตา ความซื่อตรงแห่งนามกาย, ธรรมชาติที่ทำนามกายคือเจตสิกทั้งหลายให้ซื่อตรง (ข้อ ๑๘ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

การก ผู้กระทำกรรมได้ตามพระวินัยมี ๓ คือ สงฆ์ คณะ และ บุคคล เช่นในการทำอุโบสถ ภิกษุตั้งแต่สี่รูปขึ้นไปเรียก สงฆ์ สวดปาฏิโมกข์ได้ ภิกษุสองหรือสามรูป เรียก คณะ ให้บอกความบริสุทธิ์ได้ ภิกษุรูปเดียวเรียกว่า บุคคล ให้อธิษฐาน

การกสงฆ์ สงฆ์ผู้กระทำ หมายถึงสงฆ์หมู่หนึ่งผู้ดำเนินการในกิจสำคัญ เช่น การสังคายนา หรือในสังฆกรรมต่าง ๆ

การงานชอบ ดู สัมมากัมมันตะ

กาล เวลา

กาละ เวลา, คราว, ครั้ง, หน

กาลกิริยา “การกระทำกาละ”, การตาย, มรณะ

กาลทาน ทานที่ให้ตามกาล, ทานที่ให้ได้เป็นครั้งคราวภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ใช่ให้ได้ตลอดเวลา เช่นการ ถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น ซึ่งทายกจะถวายได้ตามกำหนดเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเท่านั้น ก่อนหรือเลยเขตกำหนดไปทำไม่ได้

กาลเทศะ เวลาและประเทศ, เวลาและสถานที่

กาลวิภาค การแจกกาลออกเป็นเดือนปักษ์ และวัน

กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควรในการประกอบกิจนั้น ๆ เช่น รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร เป็นต้น (สัปปุริสธรรม ๗ ข้อ ๕)

กาลามสูตร สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมใน แคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา, ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา, ด้วยการเล่าลือ, ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์, ด้วยตรรก, ด้วยการอนุมาน, ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล, เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน, เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ, เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา ; ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษไม่มีโทษ เป็นต้น แล้ว จึงควรละหรือ ถือปฏิบัติตามนั้น เรียกอีกอย่างว่าเกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร

กาลิก เนื่องด้วยกาล, ขึ้นกับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น เช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่าง ๆ ๒. ยามกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวัน ใหม่ ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต ๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้งห้า ๔. ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา ได้แก่ของที่ใช้ปรุงเป็นยา นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น (ความจริงยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน)

กาววาว ฉูดฉาด, หรูหรา, บาดตา

กาสะ ไอ (โรคไอ)

กาสาวะ ผ้าย้อมฝาด, ผ้าเหลือง สำหรับพระ

กาสาวพัสตร์ ผ้าที่ย้อมด้วยรสฝาด, ผ้าย้อมน้ำฝาด, ผ้าเหลืองสำหรับพระ

กาสี แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้น แห่งชมพูทวีป มีนครหลวงชื่อพาราณสี ในสมัยพุทธกาล กาสีได้ถูกรวมเข้าเป็น ส่วนหนึ่งของแคว้นโกศลแล้ว

กาฬเทวิลดาบส เป็นอีกชื่อหนึ่งของอสิตดาบส ดู อสิตดาบส

กาฬปักษ์ ซีกมืด คือ ข้างแรม

กาฬสิลา สถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ข้างภูเขาอิสิคิลิ พระนครราชคฤห์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์ โอภาสแก่พระอานนท์และเป็นที่ที่พระโมคคัลลานะถูกคนร้ายซึ่งรับจ้างจากพวกเดียรถีย์ไปลอบฆ่าด้วยการทุบตีจน ร่างแหลก

กาฬิโคธา มารดาของพระภัททิยะกษัตริย์ศากยวงศ์

กาฬุทายี อำมาตย์ของพระเจ้าสุทโธทนะเป็นสหชาติและเป็นพระสหายสนิทของพระโพธิสัตว์ เมื่อครั้งยังทรงพระ เยาว์ พระเจ้าสุทโธทนะส่งไปทูลเชิญพระศาสดาเพื่อเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์กาฬุทายีไปเฝ้าพระศาสดาที่กรุงราชคฤห์ ได้ฟังพระธรรมเทศนาบรรลุพระ อรหัตตผล อุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว ทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จ กรุงกบิลพัสดุ์ ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ทำตระกูลให้เลื่อมใส

กำลังของพระมหากษัตริย์ ดู พละ

กิงกรณีเยสุ ทักขตา ความเป็นผู้ขยันช่วยเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุ สามเณร (นาถกรณธรรมข้อ ๕)

กิจจญาณ ปรีชากำหนดรู้กิจที่ควรทำในอริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง คือรู้ว่า ทุกข์ ควรกำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธ ควรทำ ให้แจ้ง มรรคควรเจริญคือควรปฏิบัติ (ข้อ ๒ ใน ญาณ ๓)

กิจจาธิกรณ์ การงานเป็นอธิกรณ์ คือเรื่องที่เกิดขึ้นอันสงฆ์ต้องจัดต้องทำหรือกิจธุระที่สงฆ์จะพึงทำ; อรรถกถาพระ วินัยว่าหมายถึงกิจอันจะพึงทำด้วยประชุมสงฆ์ ได้แก่ สังฆกรรมทั้ง ๔ คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติย- กรรม ญัตติจตุตถกรรม

กิจในอริยสัจจ์ ข้อที่ต้องทำในอริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง คือ ปริญญา การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ ปหานะ การละ เป็นกิจ ในสมุทัย สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้ง หรือการบรรลุ เป็นกิจในนิโรธ ภาวนา การเจริญคือปฏิบัติบำเพ็ญ เป็นกิจในมรรค

กิจเบื้องต้น ในการอุปสมบทหมายถึงให้บรรพชา ถือนิสัย ถืออุปัชฌายะ จนถึงถามอันตรายิกธรรมในที่ประชุมสงฆ์ (คำเดิมเป็น บุพกิจ)

กิตติศัพท์ เสียงสรรเสริญ, เสียงเล่าลือความดี

กินร่วม ในประโยคว่า “ภิกษุใดรู้อยู่กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี” คบหากันในทางให้หรือรับอามิส และคบหากันในทางสอนธรรมเรียนธรรม

กิมพิละ เจ้าศากยะองค์หนึ่ง ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ ได้สำเร็จอรหัต และเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน ๘๐

กิริยา การกระทำ

กิริยากิตตกะ (กิริยากิตก์) เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยคบ้าง ใช้เป็นกิริยา ในระหว่างของประโยคบ้าง และใช้เป็นคุณบทบ้าง เช่น “ปรินิพฺพุโต” (ดับรอบแล้ว) “ปพฺพชิตฺวา” (บวชแล้ว) เป็นต้น

กิริยาอาขยาต เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยค อันแสดงถึงการกระทำของ ประธาน เช่น “คจฺฉติ” (ย่อมไป) “ปรินิพฺพายิ” (ดับรอบแล้ว) เป็นต้น

กิลาโส โรคกลาก

กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์

กิเลสกาม กิเลสเป็นเหตุใคร่, กิเลสที่ทำให้อยาก, เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้ ได้แก่ราคะ โลภะ อิจฉา (อยากได้) เป็นต้น

กิเลสธุลี ธุลีคือกิเลส, ฝุ่นละอองคือกิเลส

กิเลสมาร มารคือกิเลส, กิเลสเป็นมาร โดยอาการที่เข้าครอบงำจิตใจขัดขวางไม่ให้ทำความดี ชักพาให้ทำความชั่ว ล้าง ผลาญคุณความดี ทำให้ บุคคลประสบหายนะและความพินาศ

กิเลสวัฏฏ์ วนคือกิเลส, วงจรส่วนกิเลส, หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา และ อุปาทาน ดู ไตรวัฏฏ์

กิเลสานุสัย กิเลสจำพวกอนุสัย, กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน จะปรากฏ เมื่ออารมณ์มายั่วยุ เหมือนตะกอนน้ำที่อยู่ ก้นโอ่ง ถ้าไม่มีคนกวนตะกอนก็นอนเฉยอยู่ ถ้ากวนน้ำเข้าตะกอนก็ลอยขึ้นมา

กิโลมก พังผืด

กีสาโคตมี พระเถรีสำคัญองค์หนึ่ง เดิมเป็นธิดาคนยากจน ในพระนครสาวัตถี แต่ได้เป็นลูกสะใภ้ของเศรษฐีในพระ นครนั้น นางมีบุตรชายคนหนึ่ง อยู่มาไม่นานบุตรชายตาย นางมีความเสียใจมาก อุ้มบุตรที่ตายแล้วไปในที่ต่าง ๆ เพื่อ หายาแก้ให้ฟื้น จนได้ไปพบพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนด้วยอุบายและทรงประทานโอวาท นางได้ฟังแล้วบรรลุ โสดาปัตติผล บวชในสำนักนางภิกษุณี วันหนึ่งนั่งพิจารณาเปลวประทีปที่ตามอยู่ในพระอุโบสถ ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทรงจีวรเศร้าหมอง

กุกกุจจะ ความรำราญใจ, ความเดือดร้อนใจ เช่นว่า สิ่งดีงามที่ควรทำ ตนมิได้ทำ สิ่งผิดพลาดเสียหายไม่ดีไม่งามที่ไม่ ควรทำ ตนได้ทำแล้ว, ความยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ ความรังเกียจหรือกินแหนงในตนเอง, ความระแวงสงสัย เช่นว่า ตนได้ทำความผิดอย่างนั้น ๆ แล้วหรือมิใช่ สิ่งที่ตนได้ทำไปแล้วอย่าง นั้น ๆ เป็นความผิดข้อนี้ ๆ เสียแล้วกระมัง

กุกฺกุจฺจปกตตา อาการที่จะต้องอาบัติด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง

กุฎี กระท่อมที่อยู่ของนักบวช เช่นพระภิกษุ, เรือนหรือตึกที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร

กุฎุมพี คนมีทรัพย์, คนมั่งคั่ง

กุฎกะ เครื่องลาดที่ใหญ่ ชนิดที่มีนางฟ้อน ๑๖ คนยืนฟ้อนรำได้ (เช่นพรมปูห้อง)

กุฏฐัง โรคเรื้อน

กุฏิภัต อาหารที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่ในกุฎีอันเขาสร้าง

กุฑวะ ชื่อมาตราตวง แปลว่า ฟายมือ คือ เต็มอุ้งมือหนึ่ง ดู มาตรา

กุณฑธานะ พระเถระผู้เป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี เรียนจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ ต่อมา เมื่อสูงอายุแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้น มา ก็มีรูปหญิง คนหนึ่งติดตามตัวตลอดเวลาจนกระทั่งได้บรรลุพระอรหัต รูปนั้นจึงหายไปท่านได้รับยกย่องจากพระ ศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในการถือเอาสลากเป็นปฐม

กุณฑลเกสี ดู ภัททา กุณฑลเกสา

กุปปธรรม ผู้มีธรรมที่ยังกำเริบได้หมายถึงผู้ที่ได้สมาบัติแล้วแต่ยังไม่ชำนาญ อาจเสื่อมได้

กุมมาส ขนมสด คือขนมที่เก็บไว้นานเกินไปจะบูด เช่น ขนมด้วง ขนมครก ขนมถ้วย ขนมตาล เป็นต้น พระพุทธเจ้า หลังจากเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยาก็เสวยข้าวสุกและกุมมาส

กุมาร เด็ก, เด็กชาย, เด็กหนุ่ม

กุมารกัสสปะ พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ คลอดเมื่อมารดาบวชเป็นภิกษุณี แล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม ทารกนั้นได้นามว่า กัสสปะ ภายหลังเรียกกันว่ากุมารกัสส ปะ เพราะท่านเป็นเด็กสามัญ แต่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างราชกุมาร ท่านอุปสมบทในสำนักของพระศาสดา ได้บรรลุ พระอรหัต ได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในทางแสดงธรรมวิจิตร

กุมารี เด็กหญิง, เด็กรุ่นสาว, นางสาว

กุมารีภูตวรรค ชื่อหมวดในพระวินัยปิฎก หมายถึงตอนอันว่าด้วยกุมารีภูตา คือสามเณรีผู้เตรียมจะอุปสมบทเป็น ภิกษุณี มีอยู่ในปาจิตติยกัณฑ์ ในภิกขุนีวิภังค์

กุมารีภูตา ผู้เป็นนางสาวแล้ว หมายถึงสามเณรีที่จะอุปสมบทเป็นภิกษุณีเช่นในคำว่า “อีฉันเป็นนางสาว (กุมารีภูตา) ของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุ ๒๐ ปีเต็ม มีสิกขาอันศึกษาแล้วในธรรม ๖ ประการ ๒ ปี ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์เจ้าข้า”

กุรุ แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป นครหลวงชื่อ อินทปัตถ์

กุล ตระกูล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์

กุลทูสก ผู้ประทุษร้ายตระกูล หมายถึงภิกษุผู้ประจบคฤหัสถ์ เอาใจเขาต่างๆ ด้วยอาการอันผิดวินัย มุ่งเพื่อให้เขาชอบ ตนเป็นส่วนตัว เป็นเหตุให้เขาคลายศรัทธาในพระศาสนาและเสื่อมจากกุศลธรรม เช่นให้ของกำนัลเหมือนอย่างคฤหัสถ์ เขาทำกัน ยอมตัวให้เขาใช้เป็นต้น

กุลธิดา ลูกหญิงผู้มีตระกูล มีความประพฤติดี

กุลบุตร ลูกชายผู้มีตระกูลมีความประพฤติดี

กุลปสาทกะ ผู้ยังตระกูลให้เลื่อมใส

กุลมัจฉริยะ ตระหนี่ตระกูล ได้แก่หวงแหนตระกูล ไม่ยอมให้ตระกูลอื่นมาเกี่ยวดองด้วย ถ้าเป็นบรรพชิตก็หวง อุปัฏฐาก ไม่พอใจให้ไปบำรุงภิกษุอื่น ดู มัจฉริยะ

กุลสตรี หญิงมีตระกูลมีความประพฤติ ดี

กุลุปกะ, กุลูปกะ “ผู้เข้าถึงสกุล”, พระที่คุ้นเคยสนิท ไปมาหาสู่ประจำของตระกูล, พระที่เขาอุปถัมภ์และเป็นที่ปรึกษา ประจำของครอบครัว

กุศล บุญ, ความดี, ฉลาด, สิ่งที่ดี, กรรมดี

กุศลกรรม กรรมดี, กรรมที่เป็นกุศล, การกระทำที่ดีคือเกิดจากกุศลมูล

กุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือ
ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ ให้
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม
ข. วจีกรรม  ได้แก่
๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูด เท็จ
๕. ปิสุณายวาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจาก พูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
๘. อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา
๙. อพยาบาท ไม่ คิดร้ายเบียดเบียนเขา
๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม

กุศลธรรม ธรรมที่เป็นกุศล, ธรรมฝ่ายกุศล, ธรรมที่ดี, ธรรมฝ่ายดี

กุศลบุญจริยา ความประพฤติที่เป็นบุญเป็นกุศล, การทำความดีอย่างฉลาด

กุศลมูล รากเหง้าของกุศล, ต้นเหตุของกุศล, ต้นเหตุของความดีมี ๓ อย่าง คือ ๑. อโลภะ ไม่โลภ (จาคะ) ๒. อโทสะ ไม่คิดประทุษร้าย (เมตตา) ๓. อโมหะ ไม่หลง (ปัญญา)

กุศลวัตร ข้อปฏิบัติที่ดี, กิจที่พึงทำที่ดี

กุศลวิตก ความตริตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงามมี ๓ คือ ๑. เนกขัมมวิตก ความตรึกปลอดจากกาม ๒. อพยาบาทวิตก ความตรึกปลอดจากพยาบาท ๓. อวิหิงสาวิตก ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน

กุสาวดี ชื่อเก่าของเมืองกุสินารา นครหลวงของแคว้นมัลละ เมื่อครั้งเป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัศน์ จักรพรรดิ ครั้งโบราณ

กุสิ เส้นคั่นดุจคันนายืนระหว่างขัณฑ์กับขัณฑ์ของจีวร

กุสินารา เมืองหลวงแห่งหนึ่งของแคว้นมัลละ (อีกแห่งหนึ่งคือ ปาวา) สมัยพุทธกาล กุสินารา เป็นเมืองเล็ก ๆ มีมัลล กษัตริย์เป็นผู้ปกครอง พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมืองนี้

กูฏทันตสูตร สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค สุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่กูฏทันตพราหมณ์ผู้ กำลังเตรียมพิธีบูชายัญ ว่าด้วยวิธีบูชายัญตามความหมายในแบบของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ต้องมีการฆ่าฟันเบียด เบียนสัตว์ มีแต่การเสียสละทำทานและการทำความดีอื่น ๆ เริ่มด้วยการตระเตรียมพิธีโดยจัดการบ้านเมืองให้สงบ เรียบร้อยก่อนตามธรรมวิธี มีการส่งเสริมกสิกรรม พาณิชยกรรมสัมมาชีพ และบำรุงส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซึ่งจะทำ ให้ประชาชนขวนขวายขะมักเขม้นในหน้าที่การงานของตนๆ จนบ้านเมืองมีความเกษมปลอดภัย พลเมืองมีความสุข ราชทรัพย์บริบูรณ์ดีแล้ว จึงกระทำพิธีบูชายัญ ด้วยการบริจาคทรัพย์ทำทานเป็นต้น ผลของพระธรรมเทศนานี้ คือ กูฏ ทันตพราหมณ์ล้มเลิกพิธีบูชายัญของตนปล่อยสัตว์ทั้งหมด และประกาศตนเป็นอุบาสก

เกตุมาลา รัศมีซึ่งเปล่งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า

เก็บปริวาส ดู เก็บวัตร

เก็บมานัต ดู เก็บวัตร

เก็บวัตร โวหารเรียกวินัยกรรมเกี่ยวกับวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง คือ เมื่อภิกษุต้องครุกาบัติขั้นสังฆาทิเสสกำลังอยู่ปริวาส ยังไม่ครบเวลาที่ปกปิดอาบัติไว้ก็ดี กำลังประพฤติมานัตยังไม่ครบ ๖ ราตรีก็ดี เมื่อมีเหตุอันสมควรก็ไม่ต้องประพฤติ ติดต่อกันเป็นรวดเดียว พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ ถ้าเก็บปริวาสพึงกล่าวว่า ปริวาสํ นิกฺขิปามิ แปลว่า ข้าพเจ้าเก็บปริวาสหรือว่า วตฺตํ นิกฺขิปามิ แปลว่า ข้าพเจ้าเก็บวัตร ว่าคำใดคำหนึ่ง ก็เป็นอัน พักปริวาส ; ถ้าเก็บมานัต พึงกล่าวว่า มานตฺตํ นิกฺขิปามิ แปลว่า ข้าพเจ้าเก็บมานัต หรือว่า วตฺตํ นิกฺขิปามิ ข้าพเจ้าเก็บ วัตร ดังนี้ ว่าคำใดคำหนึ่งก็เป็นอันพักมานัตต่อไปเมื่อมีโอกาสก็ให้สมาทานวัตรใหม่ได้อีก

เกษม ปลอดภัย, พ้นภัย, สบายใจ

เกษมจากโยคธรรม ปลอดภัยจากธรรมเครื่องผูกมัด, ปลอดโปร่งจากเรื่องที่จะต้องถูกเทียมแอก, พ้นจากภัยคือกิเลสที่ เป็นตัวการสวมแอก ดู โยคเกษมธรรม

เกสา ผม

เกินพิกัด เกินกำหนดที่จะต้องเสียภาษีอากร

แกงได รอยกากบาทหรือขีดเขียนซึ่งคนไม่รู้หนังสือขีดเขียนลงไว้เป็นสำคัญ

โกฏิ ชื่อมาตรานับ เท่ากับสิบล้าน

โกณฑัญญะ พราหมณ์หนุ่มที่สุดในบรรดาพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำนายลักษณะของสิทธัตถกุมาร ต่อมาออกบวชตาม ปฏิบัติพระสิทธัตถะ ขณะบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นหัวหน้าพระปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แล้วได้ดวงตาเห็นธรรม ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกกันภายหลังว่า พระอัญญา โกณฑัญญะ

โกธะ ความโกรธ, เคือง, ขุ่นเคือง

โกนาคมน์ พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า ๕

โกมารภัจ ดู ชีวก

โกรัพยะ พระเจ้าแผ่นดินแคว้นกุรุ

โกละ ผลกะเบา

โกลังโกละ “ผู้ไปจากตระกูลสู่ตระกูล” หมายถึงพระโสดาบัน ซึ่งจะต้องไปเกิดอีก ๒-๓ ภพ แล้วจึงบรรลุพระอรหัต

โกลิตะ ชื่อเดิมของพระมหาโมคคัลลานะ เรียกตามชื่อหมู่บ้านที่เกิด (โกลิตคาม) เพราะเป็นบุตรของตระกูลหัว หน้าในหมู่บ้านนั้น สมัยเมื่อเข้าไปบวชเป็นปริพาชกในสำนักของสญชัยก็ยังใช้ชื่อว่า โกลิตะ ต่อมาภายหลัง คือเมื่อ บวชในพระพุทธศาสนา จึงเรียก กันว่า โมคคัลลานะหรือพระมหาโมคคัลลานะ

โกลิตปริพาชก พระโมคคัลลานะเมื่อเข้าไปบวชเป็นปริพาชกในสำนักของสญชัย มีชื่อเรียกว่า โกลิตปริพาชก

โกลิยชนบท แคว้นโกลิยะ หรือดินแดนของกษัตริย์โกลิยวงศ์ เป็นแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปครั้งพุทธกาลมีนครหลวง ชื่อ เทวทหะ และรามคาม บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล

โกลิยวงศ์ ชื่อวงศ์กษัตริย์ข้างฝ่ายพระพุทธมารดา ที่ครองกรุงเทวทหะ; พระสิริมหามายา พุทธมารดา และพระนาง พิมพา ชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นเจ้าหญิงฝ่ายโกลิยวงศ์

โกศล ,โกสัลละ ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ มี ๓ คือ ๑. อายโกศล ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญและ เหตุของความเจริญ ๒. อปายโกศล ความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม ๓. อุปายโกศล ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งในการป้องกันความเสื่อมและในการสร้าง ความเจริญ

โกศล ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป โกศลเป็นแคว้นใหญ่มีอำนาจมากในสมัยพุทธกาล กษัตริย์ ผู้ครองแคว้นมีพระนามว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล มีนครหลวงชื่อสาวัตถี บัดนี้เรียกสะเหตมะเหต

โกสละ ดู โกศล

โกสัชชะ ความเกียจคร้าน

โกสัมพิกขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๑๐ (สุดท้าย) แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎกว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะ วิวาทกัน จนเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่ารักขิตวัน ตำบลปาริไลยกะ ในที่สุด พระภิกษุเหล่านั้น ถูกมหาชนบีบคั้นให้ต้องกลับปรองดองกัน บังเกิดสังฆสามัคคีอีกครั้งหนึ่ง

โกสัมพี ชื่อนครหลวงของแคว้นวังสะ อยู่ตอนใต้ของแม่น้ำยมุนา บัดนี้เรียกว่า โกสัม (Kosam)

โกสัลละ ดู โกศล

โกสิยเทวราช พระอินทร์, จอมเทพ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกท้าวโกสีย์บ้าง ท้าวสักกเทวราชบ้าง

โกสิยวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องขนเจียมเจือด้วยไหมเป็นวรรคที่ ๒ แห่งนิสสัคคิยกัณฑ์ในพระวินัยปิฎก

โกเสยยะ, โกไสย ผ้าทำด้วยใยไหมได้แก่ ผ้าไหม ผ้าแพร

โกฬิวิสะ ดู โสณะ โกฬิวิสะ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น