Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๑-๒ หน้า ๕๒ - ๑๐๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนาความหลุดพ้นจากโยคะของเขา
นี้เรียกว่า การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็น
อย่างไร
คือ การไม่ไปร่วม การไม่มาร่วม การไม่ประชุมร่วม การไม่อยู่ร่วมกับอารมณ์
อันเป็นที่ปรารถนาเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ หรือจากบุคคลผู้ที่มุ่งประโยชน์ มุ่งความเกื้อกูล มุ่งความผาสุก มุ่งความ
เกษมจากโยคะของเขา เช่น มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว มิตร๑
อำมาตย์๒ ญาติ หรือสาโลหิต๓ นี้เรียกว่า การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รัก
เป็นทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น การไม่ได้อารมณ์ที่ปรารถนาเป็นทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า
“ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือขอความเกิดอย่าได้มาถึงเรา
เลยนะ” ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา นี้เรียกว่า การไม่ได้อารมณ์ที่
ปรารถนาเป็นทุกข์
เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเศร้าโศก ความ
รำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดา ต่างก็เกิด
ความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า “ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้เป็นผู้มีความเศร้าโศก ความ
รำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดาเลย ขอความ

เชิงอรรถ :
๑ มิตร หมายถึงคนรู้จักกันเพราะการใช้ของในเรือนร่วมกัน เช่น ให้ของแก่กันและกันหรือรับของจากกัน
(สํ.สฬา.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗,สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙)
๒ อำมาตย์ ในที่นี้หมายถึงผู้ทำกิจร่วมกัน เช่น ปรึกษาหารือกัน ไปด้วยกัน นั่งด้วยกัน เป็นต้น (สํ.สฬา.อ.
๓/๑๐๑๖/๓๖๗, สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙)
๓ สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว เป็นต้น (องฺ.ติก.อ.
๒/๗๖/๒๒๗) หรือญาติฝ่ายมารดา (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๗๖/๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เศร้าโศก ความรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้น อย่าได้มาถึง
เราเลยนะ” ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา นี้เรียกว่า การไม่ได้อารมณ์ที่
ปรารถนาเป็นทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้นโดยย่อ อุปาทานขันธ์๑ ๕ เป็นทุกข์ เป็นอย่างไร คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
[๓๔] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีกประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ) วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
ก็ตัณหานี้ เมื่อเกิด เกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ตั้งอยู่ที่ไหน
คือ ปิยรูปสาตรูปเป็นสภาวะที่มีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ปิยรูป-
สาตรูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้
ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
คือ จักขุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุนี้ เมื่อตั้งอยู่
ก็ตั้งอยู่ที่จักขุนี้ โสตะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ ฆานะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ฯลฯ ชิวหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ กายเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อุปาทานขันธ์ ในที่นี้หมายถึงกองที่เป็นอารมณ์ของความยึดมั่น (วิสุทธิ. ๒/๕๐๕/๑๒๒, สํ.ข.อ. ๒/๑๖,
๖๓/๓๐๘, อภิ.สงฺ.อ. ๔๔๒/๔๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
มโนเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
มโนนี้
รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่
ที่รูปนี้ สัททะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ ธรรมารมณ์เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ มโนวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
จักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ รูปสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ ธัมมสัญญาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ รูปสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ ธัมม-
สัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ รูปตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ รูปวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ รูปวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่
ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
[๓๕] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหานั้นนั่นแลโดยไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน
ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา
ก็ตัณหานี้ เมื่อละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน
คือ ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อดับ
ก็ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้
ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
คือ จักขุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่จักขุนั้น เมื่อดับ ก็ดับ
ที่จักขุนั้น โสตะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิจารนี้
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
[๓๖] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์)
ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับทุกข์) นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในเนกขัมมะ (การออกจากกาม) ความดำริในอพยาบาท (ความ
ไม่พยาบาท) ความดำริในอวิหิงสา (การไม่เบียดเบียน) นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมุสาวาท (พูดเท็จ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปิสุณาวาจา
(พูดส่อเสียด) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจาก
สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจาก
อทินนาทาน (การลักทรัพย)์ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติ
ผิดในกาม) นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ ข้อที่พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาอาชีวะ สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วย
สัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ สร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย
ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสติ เป็นอย่างไร
คือ ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นี้เรียกว่า
สัมมาสติ
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารระงับ
ไปแล้ว บรรลุทุติยฌานที่เป็นความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มี
วิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็น
อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่
พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุข
และทุกข์ได้และเพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขอริยสัจ
นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ
ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมาอย่างนี้ ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๔-๑๖)
สุตมยญาณนิทเทสที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
๒. สีลมยญาณนิทเทส
แสดงสีลมยญาณ
[๓๗] ปัญญาในการสดับธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ ศีล ๕ อย่าง ได้แก่
๑. ปริยันตปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์อันมีที่สุด)
๒. อปริยันตปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์อันไม่มีที่สุด)
๓. ปริปุณณปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์บริบูรณ์)
๔. อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์ที่ไม่ยึดมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ)
๕. ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์เพราะการสงบระงับ)
ในศีล ๕ อย่างนั้น ปริยันตปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทอันมีที่สุด นี้ชื่อว่าปริยันตปาริสุทธิศีล
อปริยันตปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของอุปสัมบันผู้มีสิกขาบทอันไม่มีที่สุด นี้ชื่อว่าอปริยันตปาริสุทธิศีล
ปริปุณณปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของกัลยาณปุถุชนผู้ประกอบกุศลธรรม บำเพ็ญธรรมซึ่งเป็นที่สุดของ
พระเสขะให้บริบูรณ์ ไม่อาลัยในกายและชีวิต สละชีวิตแล้ว นี้ชื่อว่าปริปุณณ-
ปาริสุทธิศีล
อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของพระเสขะ ๗ จำพวก นี้ชื่อว่าอปรามัฏฐปาริสุทธิศีล
ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของสาวกพระตถาคตผู้เป็นพระขีณาสพ ของพระปัจเจกพุทธเจ้า และ
ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล
[๓๘] ศีลมีที่สุดก็มี ศีลไม่มีที่สุดก็มี ในศีล ๒ อย่างนั้น ศีลมีที่สุดนั้น
เป็นอย่างไร
คือ ศีลมีลาภเป็นที่สุดก็มี ศีลมียศเป็นที่สุดก็มี ศีลมีญาติเป็นที่สุดก็มี ศีลมี
อวัยวะเป็นที่สุดก็มี ศีลมีชีวิตเป็นที่สุดก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
ศีลมีลาภเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะลาภ
เป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามีลาภเป็นที่สุด
ศีลมียศเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะยศ
เป็นเหตุ เพราะยศเป็นปัจจัย เพราะยศเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามียศเป็นที่สุด
ศีลมีญาติเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะ
ญาติเป็นเหตุ เพราะญาติเป็นปัจจัย เพราะญาติเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามีญาติเป็น
ที่สุด
ศีลมีอวัยวะเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะ
อวัยวะเป็นเหตุ เพราะอวัยวะเป็นปัจจัย เพราะอวัยวะเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามี
อวัยวะเป็นที่สุด
ศีลมีชีวิตเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะชีวิต
เป็นเหตุ เพราะชีวิตเป็นปัจจัย เพราะชีวิตเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามีชีวิตเป็นที่สุด
ศีลดังกล่าวนี้เป็นศีลขาด ทะลุ ด่าง พร้อย ไม่เป็นไท ท่านผู้รู้ไม่สรรเสริญ
ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปัสสัทธิ ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความสุข ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ศีลนี้ชื่อว่ามีที่สุด
ศีลไม่มีที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ ศีลไม่มีลาภเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มียศเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มีญาติเป็นที่สุดก็มี
ศีลไม่มีอวัยวะเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มีชีวิตเป็นที่สุดก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
ศีลไม่มีลาภเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นตัวการณ์ ก็ไม่
เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีลาภเป็นที่สุด
ศีลไม่มียศเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะยศเป็นเหตุ เพราะยศเป็นปัจจัย เพราะยศเป็นตัวการณ์ ก็ไม่เกิดขึ้น
ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มียศเป็นที่สุด
ศีลไม่มีญาติเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะญาติเป็นเหตุ เพราะญาติเป็นปัจจัย เพราะญาติเป็นตัวการณ์ ก็ไม่
เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีญาติเป็นที่สุด
ศีลไม่มีอวัยวะเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะอวัยวะเป็นเหตุ เพราะอวัยวะเป็นปัจจัย เพราะอวัยวะเป็นตัวการณ์
ก็ไม่เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีอวัยวะเป็นที่สุด
ศีลไม่มีชีวิตเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะชีวิตเป็นเหตุ เพราะชีวิตเป็นปัจจัย เพราะชีวิตเป็นตัวการณ์ ก็ไม่
เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีชีวิตเป็นที่สุด
ศีลดังกล่าวนี้เป็นศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้
สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ
เดือดร้อน เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ เป็นที่ตั้งแห่งปีติ เป็นที่ตั้งแห่งปัสสัทธิ
เป็นที่ตั้งแห่งความสุข เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อระงับ เพื่อ
รู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
[๓๙] อะไรชื่อว่าศีล ศีลมีเท่าไร ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน ศีลเป็นที่รวมแห่ง
ธรรมอะไร
อะไร ชื่อว่าศีล
เจตนาชื่อว่าศีล เจตสิกชื่อว่าศีล ความสำรวมชื่อว่าศีล ความไม่ล่วงละเมิด
ชื่อว่าศีล
ศีลมีเท่าไร
ศีลมี ๓ คือ (๑) กุศลศีล (๒) อกุศลศีล (๓) อัพยากตศีล
ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน
กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อกุศลศีลมีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อัพยากตศีล
มีอัพยากตจิตเป็นสมุฏฐาน
ศีลเป็นที่รวมแห่งธรรมอะไร
ศีลเป็นที่รวมแห่งความสำรวม เป็นที่รวมแห่งความไม่ล่วงละเมิด เป็นที่รวม
แห่งเจตนาที่เกิดในขณะสำรวมและไม่ล่วงละเมิดนั้น
[๔๐] ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวม๑ปาณาติบาต ชื่อว่าศีล เพราะ
มีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวม
อทินนาทาน ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอทินนาทาน ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าสำรวมกาเมสุมิจฉาจาร ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่
ล่วงละเมิดกาเมสุมิจฉาจาร ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมมุสาวาท ชื่อว่า
ศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดมุสาวาท ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่า
สำรวมปิสุณาวาจา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดปิสุณาวาจา ชื่อว่า
ศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมผรุสวาจา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วง
ละเมิดผรุสวาจา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมสัมผัปปลาปะ ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดสัมผัปปลาปะ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่า
สำรวมอภิชฌา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอภิชฌา ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าสำรวมพยาบาท ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วง

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า สำรวม ในที่นี้หมายถึงปิดกั้น ห้าม ระมัดระวัง (ขุ.ป.อ. ๑/๔๐/๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
ละเมิดพยาบาท ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดมิจฉาทิฏฐิ
[๔๑] ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่า
ศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ... พยาบาทด้วย
อพยาบาท ... ถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ... อุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ... วิจิกิจฉา
ด้วยธัมมววัตถาน ... อวิชชาด้วยญาณ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมอรติ
ด้วยปามุชชะ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอรติด้วยปามุชชะ
ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าศีล เพราะ
มีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ... วิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ...
ปีติด้วยตติยฌาน ... สุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ... รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
นานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ... อากาสานัญจายตนสมาบัติด้วย
วิญญาณัญจายตนสัญญา ... วิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอากิญจัญญายตน-
สัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ชื่อว่า
ศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ...
สุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ... อัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ... นันทิด้วย
นิพพิทานุปัสสนา ... ราคะด้วยวิราคานุปัสสนา ... สมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ...
อาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ... ฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนา ... อายุหนะด้วย
วยานุปัสสนา ... ธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสสนา ... นิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสสนา ...
ปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา ... อภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสสนา ... สาราทานา-
ภินิเวสด้วยอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ... สัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ...
อาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสสนา ... อัปปฏิสังขาด้วยปฏิสังขานุปัสสนา ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าสำรวมสัญโญคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสสนา ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดสัญโญคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสสนา
ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฏฐิด้วยโสดา-
ปัตติมรรค ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับ
ทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ... กิเลสอย่างหยาบด้วยสกทาคามิมรรค ... กิเลสอย่าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
ละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมกิเลสทั้งปวง
ด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดกิเลสทั้งปวง
ด้วยอรหัตตมรรค
ศีล ๕ ประเภท คือ
๑. การละปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
๒. การเว้นปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
๓. เจตนาที่เป็นข้าศึกต่อปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
๔. ความสำรวมปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
๕. ความไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
ศีลดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนใจ เพื่อปราโมทย์ เพื่อปีติ
เพื่อปัสสัทธิ เพื่อโสมนัส เพื่อการปฏิบัติโดยเอื้อเฟื้อ เพื่อความเจริญ เพื่อทำให้มาก
เพื่อเป็นเครื่องประดับ เพื่อเป็นเครื่องป้องกัน เพื่อเป็นเครื่องแวดล้อม เพื่อความ
สมบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
เพื่อระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมแห่งศีลดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอธิสีล จิตที่ตั้งอยู่ใน
ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ฟุ้งซ่าน ความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอธิจิต พระโยคาวจรเห็นความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมโดยชอบ เห็นความ
บริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านโดยชอบ ความบริสุทธิ์แห่งความเห็น (ทั้งสองประการนี้)
ชื่อว่าอธิปัญญา
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่าน และความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเห็น
ชื่อว่าศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อ
ด้วยศรัทธา ชื่อว่าศึกษา เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งสติไว้มั่น
ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้
ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าศึกษา
เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา
เมื่อเจริญธรรมที่ควรให้เจริญ ชื่อว่าศึกษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
ศีล ๕ ประเภท คือ
การละอทินนาทาน ชื่อว่าศีล ฯลฯ๑ การละกาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ การละ
มุสาวาท ฯลฯ การละปิสุณาวาจา ฯลฯ การละผรุสวาจา ฯลฯ การละสัมผัปปลาปะ
ฯลฯ การละอภิชฌา ฯลฯ การละพยาบาท ฯลฯ การละมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
การละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ การละพยาบาทด้วยอพยาบาท ฯลฯ
การละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ การละอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ฯลฯ การละ
วิจิกิจฉาด้วยธัมมววัตถาน ฯลฯ การละอวิชชาด้วยญาณ ฯลฯ การละอรติด้วย
ปามุชชะ ฯลฯ
การละนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ การละวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ฯลฯ การละ
ปีติด้วยตติยฌาน ฯลฯ การละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ การละรูปสัญญา
ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ การละ
อากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ การละวิญญาณัญ-
จายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสัญญาสมาบัติ ฯลฯ การละอากิญจัญญายตน-
สัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ
การละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ฯลฯ การละอัตตสัญญาด้วยอนัตตา-
นุปัสสนา ฯลฯ การละนันทิด้วยนิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ การละราคะด้วยวิราคา-
นุปัสสนา ฯลฯ การละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ฯลฯ การละอาทานะด้วย
ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ฯลฯ การละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนา ฯลฯ การละ
อายุหนะด้วยวยานุปัสสนา ฯลฯ การละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสสนา ฯลฯ
การละนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสสนา ฯลฯ การละปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา
ฯลฯ การละอภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสสนา ฯลฯ การละสาราทานาภินิเวสด้วย
อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ฯลฯ การละสัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
ฯลฯ การละอาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสสนา ฯลฯ การละอัปปฏิสังขาด้วย
ปฏิสังขานุปัสสนา ฯลฯ การละสัญโญคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสสนา ฯลฯ
การละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ การละกิเลสที่
หยาบด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ การละกิเลสที่ละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเนื้อความเต็มในศีล ๕ ประเภทในรอบแรกและรอบสุดท้าย ต่างกันเพียงองค์ธรรมเท่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
(ศีล ๕ ประเภท คือ)
๑. การละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล
๒. การเว้นกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล
๓. เจตนาที่เป็นข้าศึกต่อกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล
๔. ความสำรวมกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล
๕. ความไม่ล่วงละเมิดกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล
ศีลดังกล่าวนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อน เพื่อปราโมทย์ เพื่อปีติ เพื่อ
ปัสสัทธิ เพื่อโสมนัส เพื่อการปฏิบัติโดยเอื้อเฟื้อ เพื่อความเจริญ เพื่อทำให้มาก
เพื่อเป็นเครื่องประดับ เพื่อเป็นเครื่องป้องกัน เพื่อเป็นเครื่องแวดล้อม เพื่อความ
สมบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
เพื่อระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
[๔๒] ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมแห่งศีลดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอธิสีล จิตที่ตั้ง
อยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ฟุ้งซ่าน ความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่
ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิต พระโยคาวจรเห็นความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมโดยชอบ
เห็นความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านโดยชอบ ความบริสุทธิ์แห่งความเห็น (ทั้งสอง
ประการนี้) ชื่อว่าอธิปัญญา
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่าน และความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเห็น
ชื่อว่าศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อ
ด้วยศรัทธา ชื่อว่าศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งสติไว้มั่น
ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ยิ่ง
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อละ
ธรรมที่ควรละ ชื่อว่าศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อ
เจริญธรรมที่ควรให้เจริญ ชื่อว่าศึกษา
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการสดับธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณ
(ญาณในการสำรวมศีล)
สีลมยญาณนิทเทสที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
แสดงสมาธิภาวนามยญาณ
[๔๓] ปัญญาในการสำรวมตั้งจิตมั่น ชื่อว่าสมาธิภาวนามยญาณ เป็นอย่างไร
คือ
สมาธิ ๑ อย่าง ได้แก่
เอกัคคตาจิต
สมาธิ ๒ อย่าง ได้แก่
๑. โลกิยสมาธิ
๒. โลกุตตรสมาธิ
สมาธิ ๓ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่มีวิตกวิจาร
๒. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
๓. สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
สมาธิ ๔ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งความเสื่อม
๒. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่
๓. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ
๔. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
สมาธิ ๕ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่มีปีติแผ่ไป
๒. สมาธิที่มีสุขแผ่ไป
๓. สมาธิที่มีจิตแผ่ไป
๔. สมาธิที่มีแสงสว่างแผ่ไป
๕. สมาธิที่มีการพิจารณาเป็นนิมิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
สมาธิ ๖ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เดียว) ไม่ฟุ้งซ่านด้วย
อำนาจแห่งพุทธานุสสติ
๒. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งธัมมา-
นุสสติ
๓. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งสังฆา-
นุสสติ
๔. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งสีลานุสสติ
๕. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งจาคา-
นุสสติ
๖. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเทวตา-
นุสสติ
สมาธิ ๗ อย่าง ได้แก่
๑. ความฉลาดในสมาธิ
๒. ความฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. ความฉลาดในการดำรงสมาธิ
๔. ความฉลาดในการออกจากสมาธิ
๕. ความฉลาดในการใช้สมาธิ
๖ ความฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ
๗. ความฉลาดในการนำสมาธิให้สูง ๆ ขึ้นไป
สมาธิ ๘ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งปฐวีกสิณ
๒. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโปกสิณ
๓. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเตโชกสิณ
๔. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวาโยกสิณ
๕. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งนีลกสิณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
๖. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งปีตกสิณ
๗. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสิณ
๘. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งโอทาต-
กสิณ
สมาธิ ๙ อย่าง ได้แก่
๑. รูปาวจรสมาธิอย่างต่ำ
๒. รูปาวจรสมาธิอย่างปานกลาง
๓. รูปาวจรสมาธิอย่างประณีต
๔. อรูปาวจรสมาธิอย่างต่ำ
๕. อรูปาวจรสมาธิอย่างปานกลาง
๖. อรูปาวจรสมาธิอย่างประณีต
๗. สุญญตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นความว่าง)
๘. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นธรรมไม่มีนิมิต)
๙. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา)
สมาธิ ๑๐ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอุทธุมาตก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่พองขึ้น)
๒. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวินีลกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีสีเขียว)
๓. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิปุพพกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม)
๔. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิจฉิททก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ขาดจากกัน)
๕. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิกขายิตก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ถูกสัตว์กัด)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
๖. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิกขิตตสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่กระจัดกระจาย)
๗. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งหตวิกขิตตก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ถูกสับเป็นท่อน)
๘. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีโลหิต)
๙. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งปุฬุวกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีหนอน)
๑๐. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอัฏฐิกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีแต่กระดูก)
สมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๕๕ อย่าง
[๔๔] อีกอย่างหนึ่ง สมาธิมีความหมาย ๒๕ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา
๒. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน
๓. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์
๔. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่ามีอารมณ์เดียว
๕. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน
๖. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ซ่านไป
๗. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ขุ่นมัว
๘. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่หวั่นไหว
๙. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าหลุดพ้นจากกิเลส
สรุปว่า ชื่อว่าสมาธิ เพราะจิตตั้งมั่นด้วยอำนาจปรากฏชัดในเอกัคคตารมณ์
๑๐. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าแสวงหาความสงบ
๑๑. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่แสวงหาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
๑๒. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าแสวงหาความสงบแล้ว
๑๓. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่แสวงหาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบแล้ว
๑๔. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่ายึดมั่นความสงบ
๑๕. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ยึดมั่นธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบแล้ว
๑๖. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่ายึดมั่นความสงบแล้ว
๑๗. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ยึดมั่นธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบแล้ว
๑๘. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติความสงบ
๑๙. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ปฏิบัติความไม่สงบ
๒๐. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติความสงบแล้ว
๒๑. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ปฏิบัติความไม่สงบแล้ว
๒๒. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเพ่งความสงบ
๒๓. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเผาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบ
๒๔. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเพ่งความสงบแล้ว
๒๕. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเผาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่ความ
สงบแล้ว
สรุปว่า ชื่อว่าสมาธิ เพราะสงบเกื้อกูลและเป็นสุข เหล่านี้เป็นความหมายแห่ง
สมาธิ ๒๕ ประการ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการสำรวมตั้งจิตมั่น ชื่อว่าสมาธิภาวนามยญาณ
สมาธิภาวนามยญาณนิทเทสที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
แสดงธัมมัฏฐิติญาณ
[๔๕] ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาเป็นที่ตั้ง๑แห่งความเกิดขึ้น เป็นที่
ตั้งแห่งความเป็นไป เป็นที่ตั้งแห่งนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งกรรมเป็นเครื่องประมวลมา
เป็นที่ตั้งแห่งความประกอบไว้ เป็นที่ตั้งแห่งความพัวพัน เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่
ตั้งแห่งเหตุ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของสังขารทั้งหลาย ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้
อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้น
เพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี บรรดา
อวิชชาและสังขาร อวิชชาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไป เป็นที่
ตั้งแห่งนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งกรรมเป็นเครื่องประมวลมา เป็นที่ตั้งแห่งความประกอบไว้
เป็นที่ตั้งแห่งความพัวพัน เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่ตั้งแห่งเหตุ และเป็นที่ตั้งแห่ง
ปัจจัยของสังขารทั้งหลาย ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขาร
เกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่า
ธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของวิญญาณ ฯลฯ วิญญาณเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของนามรูป ฯลฯ นามรูปเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของสฬายตนะ ฯลฯ สฬายตนะเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ
และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของผัสสะ ฯลฯ ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของเวทนา ฯลฯ เวทนาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็น
ที่ตั้งแห่งปัจจัยของตัณหา ฯลฯ ตัณหาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้ง
แห่งปัจจัยของอุปาทาน ฯลฯ อุปาทานเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้ง

เชิงอรรถ :
๑ เป็นที่ตั้ง ในที่นี้หมายถึงเป็นเหตุ (ขุ.ป.อ. ๑/๔๕/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
แห่งปัจจัยของภพ ฯลฯ ภพเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัย
ของชาติ ฯลฯ ชาติเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของชรา
และมรณะ ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ชาติจึงเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็นที่
ตั้งแห่งความเกิดขึ้น เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไป เป็นที่ตั้งแห่งนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งกรรม
เป็นเครื่องประมวลมา เป็นที่ตั้งแห่งความประกอบไว้ เป็นที่ตั้งแห่งความพัวพัน
เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่ตั้งแห่งเหตุ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของชราและมรณะ
ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ชาติจึงเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรม
ทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
[๔๖] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาเป็นเหตุ สังขารเกิดขึ้นเพราะเหตุ
แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชา
เป็นเหตุ สังขารอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ”
ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ
วิญญาณเป็นเหตุ นามรูปเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ นามรูปเป็นเหตุ สฬายตนะเกิดขึ้น
เพราะเหตุ ฯลฯ สฬายตนะเป็นเหตุ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ผัสสะเป็นเหตุ
เวทนาเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ เวทนาเป็นเหตุ ตัณหาเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ตัณหา
เป็นเหตุ อุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุ อุปาทานเป็นเหตุ ภพเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ
ภพเป็นเหตุ ชาติเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ชาติเป็นเหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะเหตุ
แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็น
เหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะเหตุ แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ”
ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป สังขารอาศัยอวิชชา
เกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชา
อาศัยปัจจัยเป็นไป สังขารอาศัยอวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารอาศัยปัจจัยเป็นไป วิญญาณอาศัย
สังขารเกิดขึ้น ฯลฯ วิญญาณอาศัยปัจจัยเป็นไป นามรูปอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น ฯลฯ
นามรูปอาศัยปัจจัยเป็นไป สฬายตนะอาศัยนามรูปเกิดขึ้น ฯลฯ สฬายตนะอาศัย
ปัจจัยเป็นไป ผัสสะอาศัยสฬายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ ผัสสะอาศัยปัจจัยเป็นไป เวทนา
อาศัยผัสสะเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอาศัยปัจจัยเป็นไป ตัณหาอาศัยเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ
ตัณหาอาศัยปัจจัยเป็นไป อุปาทานอาศัยตัณหาเกิดขึ้น ฯลฯ อุปาทานอาศัยปัจจัย
เป็นไป ภพอาศัยอุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ ภพอาศัยปัจจัยเป็นไป ชาติอาศัยภพเกิดขึ้น
ฯลฯ ชาติอาศัยปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่าง
นี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติอาศัย
ปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชาเป็น
ปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย”
ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัย ฯลฯ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ นามรูปเป็นปัจจัย
สฬายตนะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดขึ้นเพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
ปัจจัย ฯลฯ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ เวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ
อุปาทานเป็นปัจจัย ภพเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ ภพเป็นปัจจัย ชาติเกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัย ฯลฯ ชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่าง
นี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็น
ปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
[๔๗] ในกัมมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมเป็นเครื่องประมวล
มาเป็นสังขาร ความติดใจเป็นตัณหา ความยึดมั่นเป็นอุปาทาน เจตนาเป็นภพ
ธรรม ๕ ประการนี้ในกัมมภพก่อน ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่งปฏิสนธิในภพ
ปัจจุบันนี้
ในภพปัจจุบันนี้ ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ปสาทะ๑เป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ การเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประการนี้
ในภพปัจจุบัน ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพก่อน
เพราะอายตนะทั้งหลายในภพนี้สุกรอบ ความหลงเป็นอวิชชา กรรมเป็น
เครื่องประมวลมาเป็นสังขาร ความติดใจเป็นตัณหา ความยึดมั่นเป็นอุปาทาน
เจตนาเป็นภพ ธรรม ๕ ประการนี้ในกัมมภพนี้ ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่ง
ปฏิสนธิในอนาคตกาล
ปฏิสนธิในอนาคตกาลเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ปสาทะ
เป็นอายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ การเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประการ
นี้ในภพปัจจุบัน ในอนาคตกาล ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้
ในภพนี้

เชิงอรรถ :
๑ ปสาทะ ในที่นี้หมายถึงความผ่องใส (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕. สัมมสนญาณนิทเทส
พระโยคาวจรย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมรู้แจ้งสังเขป ๔๑ กาล ๓๒
ปฏิจจสมุปบาทอันมีสนธิ ๓๓ ด้วยอาการ ๒๐๔ นี้ ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทสที่ ๔ จบ
๕. สัมมสนญาณนิทเทส
แสดงสัมมสนญาณ
[๔๘] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
แล้วกำหนดไว้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดรูปทุกอย่างทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็น
ภายในก็ตาม เป็นภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีต
ก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม มีในที่ใกล้ก็ตาม โดยความไม่เที่ยง การกำหนดนี้ ชื่อว่า

เชิงอรรถ :
๑ สังเขป ๔ หมายถึงธรรม ๔ กลุ่ม ได้แก่ (๑) อดีตเหตุ คือ อวิชชาและสังขาร เรียกว่า เหตุสังเขป (๒) ปัจจุบัน-
ผล คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา เรียกว่า ผลสังเขป (๓) ปัจจุบันเหตุ คือ ตัณหา
อุปาทานและภพ เรียกว่า เหตุสังเขป (๔) อนาคตผล คือชาติ ชรา มรณะและโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส เรียกว่า ผลสังเขป (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑)
๒ กาล ๓ หมายถึงธรรมที่เป็นไปในกาล ๓ กาล ได้แก่ (๑) อดีตกาล คือ อวิชชาและสังขาร (๒) ปัจจุบันกาล
คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน และภพ (๓) อนาคตกาล คือ ชาติ ชรา
มรณะ และโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑)
๓ สนธิ ๓ หมายถึงขั้วต่อระหว่างสังเขป ๔ มี ๓ ขั้วต่อ ได้แก่ (๑) ขั้วต่อระหว่างอดีตเหตุกับปัจจุบันผล เรียกว่า
เหตุผลสนธิ (๒) ขั้วต่อระหว่างปัจจุบันผลกับปัจจุบันเหตุ เรียกว่าผลเหตุสนธิ (๓) ขั้วต่อระหว่างปัจจุบัน-
เหตุกับอนาคตผล เรียกว่า เหตุผลสนธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑)
๔ อาการ ๒๐ หมายถึงองค์ประกอบแต่ละอย่างดุจกำของล้อที่ต้องกระจายให้เต็มตามช่องแห่งสังเขป ๔
อาการ ๒๐ ประการนี้ จำแนกตามส่วนที่เป็นเหตุและส่วนที่เป็นผลได้ดังนี้ คือ อดีตเหตุ ๕ ได้แก่ อวิชชา
สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ ปัจจุบันผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา
ปัจจุบันเหตุ ๕ ได้แก่ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทานและภพ อนาคตผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป
สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕. สัมมสนญาณนิทเทส
สัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสน-
ญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ
อย่างหนึ่ง
พระโยคาวจรกำหนดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
พระโยคาวจรกำหนดวิญญาณทุกอย่างทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็น
ภายในก็ตาม เป็นภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
มีในที่ไกลก็ตาม มีในที่ใกล้ก็ตาม โดยความไม่เที่ยง การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสน-
ญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่าง
หนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง
พระโยคาวจรกำหนดจักขุทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยความไม่เที่ยง
การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง ฯลฯ๑
พระโยคาวจรกำหนดชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดย
ความไม่เที่ยง การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดย
ความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็น
อนัตตา การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมีสภาวะเป็นภัย ชื่อว่า
เป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “จักขุ ฯลฯ ชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมี
สภาวะเป็นภัย ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดรูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันว่า “ไม่เที่ยง
อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา
คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา” ชื่อว่าสัมมสนญาณ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มองค์ธรรม ในข้อ ๓-๖ หน้า ๙-๑๓ แห่งสุตมยญาณนิทเทส ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕. สัมมสนญาณนิทเทส
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดจักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันว่า “ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี
เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนด ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดีว่า “เพราะ
ชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี” ชื่อว่า
สัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เมื่อภพไม่มี
ชาติก็ไม่มี ฯลฯ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เมื่ออุปาทานไม่มี ภพก็ไม่มี
ฯลฯ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานก็ไม่มี ฯลฯ
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาก็ไม่มี ฯลฯ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาก็ไม่มี ฯลฯ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
ผัสสะจึงมี เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะก็ไม่มี ฯลฯ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
สฬายตนะจึงมี เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะก็ไม่มี ฯลฯ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามรูปจึงมี เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปก็ไม่มี ฯลฯ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ
จึงมี เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ฯลฯ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนด ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดีว่า “เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ
สัมมสนญาณนิทเทสที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
แสดงอุทยัพพยญาณ
[๔๙] ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรผันแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็น
ปัจจุบัน ชื่อว่าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ลักษณะความบังเกิดแห่งรูปนั้น ชื่อว่าความเกิด
ขึ้น ลักษณะความแปรผันไป (แห่งรูปนั้น) ชื่อว่าความเสื่อม ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้
ชื่อว่าอนุปัสสนาญาณ
เวทนาที่เกิดแล้ว ฯลฯ สัญญาที่เกิดแล้ว ฯลฯ สังขารที่เกิดแล้ว ฯลฯ วิญญาณ
ที่เกิดแล้ว ฯลฯ
จักขุที่เกิดแล้ว ฯลฯ ภพที่เกิดแล้ว เป็นปัจจุบัน ลักษณะความบังเกิดแห่ง
ภพนั้น ชื่อว่าความเกิดขึ้น ลักษณะความแปรผันไป (แห่งภพนั้น) ชื่อว่าความเสื่อม
ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้ ชื่อว่าอนุปัสสนาญาณ
[๕๐] พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้น
และความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕
ประการ เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ประการ เมื่อ
เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ ประการ
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อ
เห็นความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ
แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเสื่อม
(แห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ แห่งวิญญาณขันธ์)
ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์)
ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ
เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อเห็นความ
เกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการ เมื่อเห็น
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ แห่ง
วิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์)
ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์)
ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการ
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ
อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาเกิด รูปจึงเกิด”
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาเกิด รูปจึงเกิด”
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมเกิด รูปจึงเกิด”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะอาหารเกิด รูปจึงเกิด”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ก็ย่อมเห็น
ความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม(แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕
ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาดับ รูปจึงดับ”
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะตัณหาดับ รูปจึงดับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะกรรมดับ รูปจึงดับ”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะอาหารดับ รูปจึงดับ”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ก็ย่อมเห็น
ความเสื่อมแห่งรูปขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ
๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด”
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาเกิด เวทนาจึงเกิด”
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมเกิด เวทนาจึงเกิด”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ก็ย่อมเห็นความ
เกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเวทนาขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ
๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาดับ เวทนาจึงดับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับ
แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาดับ เวทนาจึงดับ”
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะกรรมดับ เวทนาจึงดับ”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ก็ย่อมเห็น
ความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งเวทนาขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕
ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด
ขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาเกิด วิญญาณจึงเกิด”
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด
ขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาเกิด วิญญาณจึงเกิด”
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด
ขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมเกิด วิญญาณจึงเกิด”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด
ขึ้นแห่งปัจจัย ว่า “เพราะนามรูปเกิด วิญญาณจึงเกิด”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ก็ย่อมเห็นความ
เกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ
๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ
แห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาดับ วิญญาณจึงดับ”
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ
แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาดับ วิญญาณจึงดับ”
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ
แห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมดับ วิญญาณจึงดับ”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ
แห่งปัจจัยว่า “เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ก็ย่อมเห็นความ
เสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ประการนี้
เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ประการนี้ เมื่อเห็น
ความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ ประการนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรผันแห่งธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นปัจจุบัน ชื่อว่าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
รูปขันธ์มีอาหารเป็นเหตุเกิด ขันธ์ที่เหลือคือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขาร-
ขันธ์มีผัสสะเป็นเหตุเกิด วิญญาณขันธ์มีนามรูปเป็นเหตุเกิด
อุทยัพพยญาณนิทเทสที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗. ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส
๗. ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส
แสดงภังคานุปัสสนาญาณ
[๕๑] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความดับ ชื่อว่า
วิปัสสนาญาณ เป็นอย่างไร
คือ จิตมีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์
นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความดับไปแห่งจิตนั้น
พิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น
คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลาย
กำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
[๕๒] เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิ (ความยินดี) ได้ เมื่อคลายกำหนัด
ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะ
(ความยึดถือ) ได้
จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสังขารเป็นอารมณ์
ฯลฯ จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯลฯ
จิตมีจักขุเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วย่อม
ดับไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความดับไปแห่งจิตนั้น
พิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น
คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลาย
กำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗. ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็น
โดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละ
ราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้
การก้าวลงสู่อารมณ์ การหลีกไปด้วยปัญญา
การคำนึงถึงที่มีกำลัง ชื่อว่าปฏิสังขาวิปัสสนา๑
การกำหนดธรรม ๒ ประการ๒
ว่ามีสภาวะอย่างเดียวกันกับอารมณ์ปัจจุบัน
ความน้อมจิตไปในความดับ ชื่อว่าวยลักขณวิปัสสนา๓
การที่พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์แล้ว
พิจารณาเห็นความดับแห่งจิต
และความปรากฏโดยสุญญตะ
ชื่อว่าอธิปัญญาวิปัสสนา๔
พระโยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสสนา ๓
และวิปัสสนา ๔ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในความปรากฏ ๓ ประการ๕
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความดับไป
ชื่อว่าวิปัสสนาญาณ
ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทสที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิสังขาวิปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาอารมณ์แล้วเห็นความดับ (ขุ.ป.อ. ๑/๕๒/๒๗๙)
๒ ธรรม ๒ ประการ ได้แก่ สังขารที่เป็นอดีตและที่เป็นอนาคต (ขุ.ป.อ. ๑/๕๒/๒๗๙)
๓ วยลักขณวิปัสสนา ได้แก่ ความเห็นแจ้งซึ่งมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ (ขุ.ป.อ. ๑/๕๒/๒๗๙)
๔ อธิปัญญาวิปัสสนา ได้แก่ ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา ( ขุ.ป.อ. ๑/๕๒/๒๗๙)
๕ ความปรากฏ ๓ ประการ ได้แก่ ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, ความว่างเปล่า (ขุ.ป.อ. ๑/๕๒/๒๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๘. อาทีนวญาณนิทเทส
๘. อาทีนวญาณนิทเทส
แสดงอาทีนวญาณ
[๕๓] ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัย ชื่อว่า
อาทีนวญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็น
ภัย” ชื่อว่าอาทีนวญาณ ... “ความเป็นไปเป็นภัย” ... “นิมิต๑เป็นภัย” “กรรม
เป็นเครื่องประมวลมาเป็นภัย” ... “ปฏิสนธิเป็นภัย” ... “คติเป็นภัย” ... “ความ
บังเกิดเป็นภัย” ... “ความอุบัติเป็นภัย” ... “ความเกิดเป็นภัย” ... “ความแก่เป็นภัย”
... “ความเจ็บไข้เป็นภัย” ... “ความตายเป็นภัย” ... “ความเศร้าโศกเป็นภัย” ...
“ความรำพันเป็นภัย”... ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า
“ความคับแค้นใจเป็นภัย” ชื่อว่าอาทีนวญาณ
ญาณในสันติบท๒ว่า “ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ... “ความไม่เป็นไปปลอดภัย”
ฯลฯ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย”
ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย” ... “ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ...
“ความเป็นไปเป็นภัย” ... “ความไม่เป็นไปปลอดภัย” ฯลฯ “ความคับแค้นใจเป็นภัย”
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย”
ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์”
ชื่อว่าอาทีนวญาณ ฯลฯ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า
“ความคับแค้นใจเป็นทุกข์” ชื่อว่าอาทีนวญาณ
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข” ... “ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ฯลฯ
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข”

เชิงอรรถ :
๑ นิมิต ในที่นี้หมายถึงสังขารนิมิต (ขุ.ป.อ. ๑/๕๓/๒๘๑)
๒ สันติบท หมายถึงส่วนแห่งความสงบ อีกนัยหนึ่งคือพระนิพพาน (ขุ.ป.อ. ๑/๕๓/๒๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๘. อาทีนวญาณนิทเทส
ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์” ... “ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข”
... “ความเป็นไปเป็นทุกข์” ... “ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ฯลฯ “ความคับแค้นใจเป็นทุกข์”
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข”
ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส”
ชื่อว่าอาทีนวญาณ ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ฯลฯ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)
ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความคับแค้นใจเป็นอามิส” ชื่อว่าอาทีนวญาณ
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เป็นไปไม่เป็น
อามิส” ฯลฯ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส”
ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส” ... “ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็น
อามิส” ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ... “ความไม่เป็นไปไม่เป็นอามิส” ฯลฯ
“ความคับแค้นใจเป็นอามิส” ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส”
ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร”
ชื่อว่าอาทีนวญาณ ฯลฯ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า
“ความคับแค้นใจเป็นสังขาร” ชื่อว่าอาทีนวญาณ
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน” ... “ความไม่เป็นไปเป็น
นิพพาน” ฯลฯ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน”
ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร” ... “ความไม่เกิดขึ้นเป็น
นิพพาน” ... “ความเป็นไปเป็นสังขาร” ... “ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน” ฯลฯ
“ความคับแค้นใจเป็นสังขาร” ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็น
นิพพาน”
การที่พระโยคาวจรเห็นความเกิดขึ้น
ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่องประมวลมา
และปฏิสนธิว่าเป็นทุกข์
นี้เป็นอาทีนวญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การที่พระโยคาวจรเห็นความไม่เกิดขึ้น
ความไม่เป็นไป อนิมิต
ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา
และความไม่มีปฏิสนธิว่าเป็นสุข
นี้เป็นญาณในสันติบท
อาทีนวญาณนี้ย่อมเกิดขึ้นในฐานะ ๕
ญาณในสันติบทย่อมเกิดขึ้นในฐานะ ๕
พระโยคาวจรรู้ชัดญาณ ๑๐ ประการ
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัย ชื่อว่า
อาทีนวญาณ
อาทีนวญาณนิทเทสที่ ๘ จบ
๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
แสดงสังขารุเปกขาญาณ
[๕๔] ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากความเกิดขึ้น พิจารณาและดำรงมั่นอยู่
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากความเป็นไป พิจารณาและ
ดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากนิมิต ... จาก
กรรมเป็นเครื่องประมวลมา ... จากปฏิสนธิ ... จากคติ ... จากความบังเกิด ... จาก
ความอุบัติ ... จากความเกิด ... จากความแก่ ... จากความเจ็บไข้ ... จากความตาย ...
จากความเศร้าโศก ... จากความรำพัน ... ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากความ
คับแค้นใจ พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็น
ทุกข์” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นทุกข์” ... “นิมิตเป็นทุกข์” ฯลฯ
ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นทุกข์”
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย”
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นภัย” ฯลฯ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้น
ไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นภัย” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็น
อามิส” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ฯลฯ ปัญญาที่
ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นอามิส” ชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ
ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็น
สังขาร” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นสังขาร” ฯลฯ ปัญญาที่
ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นสังขาร” ชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ
ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ
แม้ธรรม ๒ ประการนี้ คือ สังขารและอุเบกขาก็เป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉย
สังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ความเป็นไปเป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ ฯลฯ นิมิตเป็นสังขาร ... กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร
.. ปฏิสนธิเป็นสังขาร ... คติเป็นสังขาร ... ความบังเกิดเป็นสังขาร ... ความอุบัติ
เป็นสังขาร ... ความเกิดเป็นสังขาร ... ความแก่เป็นสังขาร ... ความเจ็บไข้เป็นสังขาร ...
ความตายเป็นสังขาร ... ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ... ความรำพันเป็นสังขาร ...
ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
แม้ธรรม ๒ ประการ คือ สังขารและอุเบกขาก็เป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขาร
เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
[๕๕] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขามีด้วยอาการเท่าไร
คือ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขามีด้วยอาการ ๘ อย่าง
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการเท่าไร การน้อมจิตไป
ในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการเท่าไร การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของ
ท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการเท่าไร
คือ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการ ๒ อย่าง การน้อม
จิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการ ๓ อย่าง การน้อมจิตไปในสังขารุ-
เปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการ ๓ อย่าง
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการ ๒ อย่าง
อะไรบ้าง คือ
๑. ปุถุชนย่อมยินดีสังขารุเปกขา
๒. ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการ ๒ อย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการ ๓ อย่าง
อะไรบ้าง คือ
๑. พระเสขะย่อมยินดีสังขารุเปกขา
๒. พระเสขะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
๓. พระเสขะพิจารณาแล้วย่อมเข้าผลสมาบัติ
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการ ๓ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการ
๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
๒. ท่านผู้ปราศจากราคะพิจารณาแล้วย่อมเข้าผลสมาบัติ
๓. ท่านผู้ปราศจากราคะเพ่งเฉยในสังขารุเปกขานั้นแล้วย่อมอยู่ด้วย
สุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการ ๓
อย่างนี้
[๕๖] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน และของพระเสขะ
เหมือนกันอย่างไร
คือ ปุถุชนผู้ยินดีสังขารุเปกขา จิตย่อมเศร้าหมอง (ความเศร้าหมองนั้น)เป็น
เครื่องกีดขวางต่อภาวนา เป็นอันตรายต่อปฏิเวธ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิสืบต่อไป
แม้พระเสขะผู้ยินดีสังขารุเปกขา จิตก็ย่อมเศร้าหมอง (ความเศร้าหมองนั้น)เป็น
เครื่องกีดขวางต่อภาวนา เป็นอันตรายต่อปฏิเวธในมรรคชั้นสูง เป็นปัจจัยแห่ง
ปฏิสนธิสืบต่อไป การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เหมือน
กันโดยสภาวะแห่งความยินดีอย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ เหมือนกันอย่างไร
คือ ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาทั้งโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็น
อนัตตา แม้พระเสขะก็เห็นแจ้งสังขารุเปกขาทั้งโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็น
อนัตตา แม้ท่านผู้ปราศจากราคะก็เห็นแจ้งสังขารุเปกขาทั้งโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
และเป็นอนัตตา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของ
ท่านผู้ปราศจากราคะ เหมือนกันโดยสภาวะแห่งการพิจารณาเห็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล แม้ของพระเสขะก็เป็นกุศล แต่ของท่าน
ผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ
เสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะเป็นกุศล เป็นอัพยากฤต
อย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ สังขารุเปกขาของปุถุชน บางคราวปรากฏชัด๑ บางคราวไม่ปรากฏชัด
แม้สังขารุเปกขาของพระเสขะ บางคราวก็ปรากฏชัด บางคราวไม่ปรากฏชัด
สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมปรากฏชัดโดยส่วนเดียว การน้อมจิตไป
ในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดย
สภาวะที่ปรากฏกับสภาวะที่ไม่ปรากฏอย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา แม้พระเสขะ
ย่อมเห็นแจ้งเพราะยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา ส่วนท่านผู้ปราศจากราคะย่อม
เห็นแจ้งเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน
ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะที่เสร็จกิจแล้วกับ
สภาวะที่ยังไม่เสร็จกิจอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ บางคราวปรากฏชัด หมายถึงปรากฏชัดในเวลาเจริญวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. ๑/๕๖/๒๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาเพื่อละสังโยชน์ ๓๑ เพื่อต้องการได้
โสดาปัตติมรรค พระเสขะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาเพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูงขึ้นไป
เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว การน้อมจิตไป
ในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะต่างกันโดย
สภาวะที่ละกิเลสได้กับสภาวะที่ยังละกิเลสไม่ได้อย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ
ต่างกันอย่างไร
คือ พระเสขะยินดีสังขารุเปกขาบ้าง เห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้าง พิจารณาแล้ว
เข้าผลสมาบัติบ้าง ท่านผู้ปราศจากราคะเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้าง พิจารณาแล้วเข้า
ผลสมาบัติบ้าง เพ่งเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้วอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตต-
วิหารสมาบัติหรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระ
เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะแห่งวิหารสมาบัติอย่างนี้
[๕๗] สังขารุเปกขาเท่าไรเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขาเท่าไร
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
คือ สังขารุเปกขา ๘ อย่างเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา ๑๐ อย่าง
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
สังขารุเปกขา ๘ อย่าง อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ คือ
๑. ปัญญาที่พิจารณานิวรณ์แล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ

เชิงอรรถ :
๑ สังโยชน์ ๓ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส (ขุ.ป.อ. ๑/๕๖/๒๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
๒. ปัญญาที่พิจารณาวิตกวิจารแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๓. ปัญญาที่พิจารณาปีติแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ตติยฌาน
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๔. ปัญญาที่พิจารณาสุขและทุกข์แล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้
จตุตถฌาน ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๕. ปัญญาที่พิจารณารูปสัญญา ปฏิฆสัญญานานัตตสัญญาแล้วดำรงมั่น
อยู่ เพื่อต้องการได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขา-
ญาณ
๖. ปัญญาที่พิจารณาอากาสานัญจายตนสัญญาแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อ
ต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๗. ปัญญาที่พิจารณาวิญญาณัญจายตนสัญญาแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อ
ต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๘. ปัญญาที่พิจารณาอากิญจัญญายตนสัญญาแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อ
ต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขา ๘ อย่างนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ
สังขารุเปกขา ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา คือ
๑. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด
ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน
ความคับแค้นใจแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๒. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
๓. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๔. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้สกทาคามิผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๕. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อนาคามิมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๖. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อนาคามิผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๗. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อรหัตตมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๘. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อรหัตตผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๙. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้สุญญตวิหาร-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๑๐. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด
ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน
ความคับแค้นใจแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขาญาณ ๑๐ อย่างนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
[๕๘] สังขารุเปกขาฝ่ายกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอัพยากฤต
มีเท่าไร
สังขารุเปกขาฝ่ายกุศลมี ๑๕ ฝ่ายอัพยากฤตมี ๓ ฝ่ายอกุศลไม่มี
ปัญญาที่พิจารณาแล้วดำรงมั่นอยู่
๘ ประการเป็นอารมณ์ของสมาธิจิต
๒ ประการเป็นอารมณ์ของปุถุชน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
๓ ประการเป็นอารมณ์ของพระเสขะ
และ ๓ ประการเป็นเหตุให้จิต
ของท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป
๘ ประการเป็นปัจจัยแก่สมาธิ
๑๐ ประการเป็นอารมณ์แห่งญาณ
สังขารุเปกขา ๑๘ ประการ
เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓
ปัญญา ๑๘ ประการนี้
อันพระโยคาวจรใดอบรมแล้ว
พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้ฉลาดในสังขารุเปกขา
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขาญาณนิทเทสที่ ๙ จบ
๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
แสดงโคตรภูญาณ
[๕๙] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภูญาณ
เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ
ความเป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำกรรม
เป็นเครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ครอบงำคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความบังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ
ความอุบัติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความ
แก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความตาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเศร้าโศก ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความ
รำพัน ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความคับแค้นใจ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ
สังขารนิมิตภายนอก
ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไป
สู่ความดับคือนิพพาน
ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิดขึ้นแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า
โคตรภู เพราะครอบงำความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ครอบงำนิมิตแล้วแล่นไปสู่อนิมิต ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำสังขารนิมิต
ภายนอกแล้วแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความ
เป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากกรรมเป็น
เครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออก
จากคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความบังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจาก
ความอุบัติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจาก
ความแก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจาก
ความตาย ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเศร้าโศก ชื่อว่าโคตรภู เพราะออก
จากความรำพัน ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความคับแค้นใจ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากสังขารนิมิตภายนอก
ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่
ความไม่เป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเกิดขึ้นแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า
โคตรภู เพราะออกจากความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากนิมิตแล้วแล่นไปสู่อนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากกรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมาแล้วแล่นไปสู่ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากปฏิสนธิแล้วแล่นไปสู่ความไม่มีปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากคติแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
แล่นไปสู่อคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความบังเกิดแล้วแล่นไปสู่ความไม่
บังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความอุบัติแล้วแล่นไปสู่ความไม่อุบัติ ชื่อว่า
โคตรภู เพราะออกจากความเกิดแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออก
จากความแก่แล้วแล่นไปสู่ความไม่แก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเจ็บไข้แล้ว
แล่นไปสู่ความไม่เจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความตายแล้วแล่นไปสู่ความ
ไม่ตาย ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเศร้าโศกแล้วแล่นไปสู่ความไม่เศร้าโศก
ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความรำพันแล้วแล่นไปสู่ความไม่รำพัน ชื่อว่าโคตรภู
เพราะออกจากความคับแค้นใจแล้วแล่นไปสู่ความไม่คับแค้นใจ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้วแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออก
จากความเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอก
ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่
ความไม่เป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากความเกิดขึ้นแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น
ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ฯลฯ
ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้วแล่นไปสู่ความดับ
คือนิพพาน
[๖๐] โคตรภูธรรมเท่าไรเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ โคตรภูธรรมเท่าไร
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
คือ โคตรภูธรรม ๘ ประการเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ โคตรภูธรรม ๑๐
ประการเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
โคตรภูธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ คือ
๑. ญาณที่ครอบงำนิวรณ์ เพื่อได้ปฐมฌาน ชื่อว่าโคตรภู
๒. ญาณที่ครอบงำวิตกวิจาร เพื่อได้ทุติยฌาน ชื่อว่าโคตรภู
๓. ญาณที่ครอบงำปีติ เพื่อได้ตติยฌาน ชื่อว่าโคตรภู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
๔. ญาณที่ครอบงำสุขและทุกข์ เพื่อได้จตุตถฌาน ชื่อว่าโคตรภู
๕. ญาณที่ครอบงำรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา เพื่อได้
อากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
๖. ญาณที่ครอบงำอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อได้วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
๗. ญาณที่ครอบงำวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
๘. ญาณที่ครอบงำอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
โคตรภูธรรม ๘ ประการนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ
โคตรภูธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา คือ
๑. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ
ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก
ความรำพัน ความคับแค้นใจ สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้
โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าโคตรภู
๒. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้โสดาปัตติผลสมาบัติ
ชื่อว่าโคตรภู
๓. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้สกทาคามิมรรค ชื่อว่าโคตรภู
๔. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้สกทาคามิผลสมาบัติ
ชื่อว่าโคตรภู
๕. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อนาคามิมรรค ชื่อว่าโคตรภู
๖. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อนาคามิผลสมาบัติ
ชื่อว่าโคตรภู
๗. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อรหัตตมรรค ชื่อว่าโคตรภู
๘. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อรหัตตผลสมาบัติ ชื่อ
ว่าโคตรภู
๙. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้สุญญตวิหารสมาบัติ
ชื่อว่าโคตรภู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
๑๐. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด ความแก่
ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ
สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
โคตรภูธรรม ๑๐ ประการนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
โคตรภูธรรม ฝ่ายกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอัพยากฤตมีเท่าไร
คือ โคตรภูธรรม ฝ่ายกุศลมี ๑๕ ฝ่ายอัพยากฤตมี ๓ ฝ่ายอกุศลไม่มี
โคตรภูธรรม ๘ ประการ คือ
(๑) มีอามิส๑ (๒) ไม่มีอามิส
(๓) มีที่ตั้ง ๒(๔) ไม่มีที่ตั้ง
(๕) เป็นสุญญตะ ๓(๖) เป็นวิสุญญตะ
(๗) เป็นวุฏฐิตะ๔ (๘) เป็นอวุฏฐิตะ
๘ ประการเป็นปัจจัยแห่งสมาธิ
๑๐ ประการเป็นโคจรแห่งญาณ
๑๘ ประการเป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓
อาการ ๑๘ ประการนี้
อันพระโยคาวจรใดอบรมแล้วด้วยปัญญา
พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้ฉลาดในญาณ
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก
ชื่อว่าโคตรภูญาณ
โคตรภูญาณนิทเทสที่ ๑๐ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อามิส ในที่นี้หมายถึงวัฏฏามิส โลกามิส และกิเลสามิส (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)
๒ ที่ตั้ง ในที่นี้หมายถึงนิกันติ (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)
๓ สุญญตะ ในที่นี้หมายถึงโคตรภูธรรมที่ประกอบด้วยนิกันติ (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)
๔ วุฏฐิตะ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาโคตรภูญาณ (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๑. มัคคญาณนิทเทส
๑๑. มัคคญาณนิทเทส
แสดงมัคคญาณ
[๖๑] ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิต
ภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมออกจากมิจฉาทิฏฐิ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์
ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมออกจากมิจฉา-
สังกัปปะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และ
ออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและ
หลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนดไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวาจา
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไป
ทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ย่อมออกจาก
มิจฉากัมมันตะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉากัมมันตะนั้น จากขันธ์
ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไป
ทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๑. มัคคญาณนิทเทส
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ย่อมออกจากมิจฉา-
วายามะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และ
ออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออก
และหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ย่อมออกจากมิจฉาสติ ออกจาก
เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสตินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภาย
นอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์
และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไป
ทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์
(กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือกามราคะ) จากปฏิฆสังโยชน์ (กิเลสเครื่อง
ประกอบสัตว์ไว้ในภพคือปฏิฆะ) จากกามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน
คือกามราคะ) จากปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือปฏิฆะ) ส่วนหยาบ ๆ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีก
ไปทั้งจากกิเลสขันธ์ และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์
จากปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ออกจาก
เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิต
ภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจาก
กิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๑. มัคคญาณนิทเทส
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ (ความ
กำหนัดในรูป) จากอรูปราคะ (ความกำหนัดในอรูป) จากมานะ (ความถือตัว) จาก
อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) จากอวิชชา (ความไม่รู้) จากมานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่อง
อยู่ในสันดานคือมานะ) จากภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือภวราคะ)
จากอวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคืออวิชชา) ออกจากเหล่ากิเลสที่
เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และ
จากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
[๖๒] บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยอริยมรรค
ย่อมเผากิเลสที่ยังไม่เกิด
ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดขึ้นแล้ว
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตตระว่าเป็นฌาน
บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์
พระโยคาวจรตั้งจิตมั่นแล้วย่อมเห็นแจ้งฉันใด
เมื่อเห็นแจ้งก็พึงตั้งจิตมั่นฉันนั้น
ทั้งสมถะและวิปัสสนาได้เกิดขึ้นในขณะนั้น
มีส่วนเสมอกันดำเนินไปคู่กัน
ความเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธ๑เป็นสุข
ปัญญาที่ออกจากธรรมทั้งสองย่อมถูกต้องอมตบท๒

เชิงอรรถ :
๑ นิโรธ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ป.อ. ๑/๖๓/๓๐๐)
๒ อมตบท ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ป.อ. ๑/๖๓/๓๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๒. ผลญาณนิทเทส
พระโยคาวจรผู้ฉลาดในความต่างกัน
และความเป็นอันเดียวกันแห่งวิโมกข์เหล่านั้น
ย่อมรู้วิโมกขจริยา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์
และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
มัคคญาณนิทเทสที่ ๑๑ จบ
๑๒. ผลญาณนิทเทส
แสดงผลญาณ
[๖๓] ปัญญาที่หยุดความพยายาม ชื่อว่าผลญาณ เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมออกจากมิจฉาทิฏฐิ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์
ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความ
พยายามนั้น การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมออกจากมิจฉา-
สังกัปปะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และ
ออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสังกัปปะย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น
การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนดไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวาจา
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก สัมมาวาจาย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุด
ความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๒ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น