Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๑-๓ หน้า ๑๐๓ - ๑๕๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๒. ผลญาณนิทเทส
ญาณที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ย่อมออกจากมิจฉา-
กัมมันตะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉากัมมันตะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย
และออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมากัมมันตะย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความ
พยายามนั้น การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก สัมมาอาชีวะย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุด
ความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ย่อมออกจากมิจฉา-
วายามะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และ
ออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาวายามะย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น
การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ย่อมออกจากมิจฉาสติ ออกจาก
เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสตินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิต
ภายนอก สัมมาสติย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุดความพยายาม
นั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุด
ความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์
จากปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัยส่วนหยาบ ๆ ออกจากเหล่า
กิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุดความพยายามนั้น
เป็นผลของมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๓. วิมุตติญาณนิทเทส
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์
จากปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ออกจาก
เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิต
ภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุดความ
พยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ จาก
อรูปราคะ จากมานะ จากอุทธัจจะ จากถีนมิทธะ จากอวิชชา จากภวราคานุสัย จาก
มานานุสัย จากอวิชชานุสัย ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จาก
ขันธ์ทั้งหลายและออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุด
ความพยายามนั้น การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่หยุดความพยายาม ชื่อว่าผลญาณ
ผลญาณนิทเทสที่ ๑๒ จบ
๑๓. วิมุตติญาณนิทเทส
แสดงวิมุตติญาณ
[๖๔] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่า
วิมุตติญาณ เป็นอย่างไร
คือ อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) สีลัพพตปรามาส (การยึดมั่นศีลพรต) ทิฏฐานุสัย
(กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือทิฏฐิ) วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ใน
สันดานคือวิจิกิจฉา) เป็นกิเลสที่โสดาปัตติมรรคตัดได้โดยเด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๓. วิมุตติญาณนิทเทส
หลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๕ ประการนี้ พร้อมด้วยกิเลสที่กลุ้มรุมจิต
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว
ชื่อว่าวิมุตติญาณ
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ เป็นกิเลสที่สกทาคามิมรรคตัดได้โดย
เด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้
พร้อมด้วยกิเลสที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา
เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็น
อุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ เป็นกิเลสที่อนาคามิมรรคตัดได้โดย
เด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้
พร้อมด้วยกิเลสที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา
เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็น
อุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เป็นกิเลสที่อรหัตตมรรคตัดได้โดยเด็ดขาดแล้ว
จิตจึงชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๘ ประการนี้ พร้อมด้วยกิเลส
ที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะ
รู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรค
ตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว
ชื่อว่าวิมุตติญาณ
วิมุตติญาณนิทเทสที่ ๑๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๔. ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
๑๔. ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
แสดงปัจจเวกขณญาณ
[๖๕] ปัญญาในการเห็นธรรมที่มาร่วมกันในขณะนั้น ชื่อว่าปัจจเวกขณ-
ญาณ เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง มาร่วม
กันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนดไว้ มาร่วมกันใน
ขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน มาร่วมกันใน
ณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่
ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่
ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่
ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
ปีติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแผ่ซ่านไป มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสงบระงับ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
สมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะพิจารณา มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความ
เกียจคร้าน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสติพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาท มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะ
ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา มาร่วมกันในขณะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๔. ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
ญาณที่ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
สตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะมี
สภาวะเห็น มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่
ชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะนำออก มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะเป็น
เหตุ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะตั้งไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะสำเร็จ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
สัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมี
สภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
มีรสเป็นอย่างเดียวกัน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าธรรมเป็นคู่กัน เพราะมี
สภาวะไม่ล่วงเลยกัน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะ
สำรวม มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้ชัด มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิมุตติ
เพราะมีสภาวะสละ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมี
สภาวะตัดขาด มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
มนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าผัสสะ
เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะ
เป็นที่ประชุม มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๔. ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะยิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด มาร่วมกันในขณะนั้น
พระโยคาวจรออก (จากสมาบัติ) แล้วพิจารณาว่า ธรรมเหล่านี้มาร่วมกันในขณะนั้น
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น มาร่วม
กันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ฯลฯ ญาณที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ (ญาณในความไม่เกิดขึ้น) เพราะมี
สภาวะระงับ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณ
ที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมาธิ
เพราะมีสภาวะเป็นประธาน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะ
เป็นใหญ่ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะยิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
มาร่วมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออก (จากสมาบัติ) แล้วพิจารณาว่า ธรรมเหล่านี้
มาร่วมกันในขณะนั้น
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ฯลฯ
ในขณะแห่งสกทาคามิผล ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ฯลฯ
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ฯลฯ
ในขณะแห่งอนาคามิผล ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๕. วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ฯลฯ ญาณที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล มาร่วมกันใน
ขณะนั้น ฯลฯ ญาณที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็น
ที่สุด มาร่วมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออก (จากสมาบัติ) แล้วพิจารณาว่า ธรรม
เหล่านี้มาร่วมกันในขณะนั้น
ในขณะแห่งอรหัตตผล ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ฯลฯ ญาณที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมีสภาวะระงับ มาร่วมกันใน
ขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล มาร่วมกันในขณะนั้น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด มาร่วมกันใน
ขณะนั้น พระโยคาวจรออก (จากสมาบัติ) แล้วพิจารณาว่า ธรรมเหล่านี้มาร่วมกัน
ในขณะนั้น
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาธรรมที่เข้ามาประชุมกันใน
ขณะนั้น ชื่อว่าปัจจเวกขณญาณ
ปัจจเวกขณญาณนิทเทสที่ ๑๔ จบ
๑๕. วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
แสดงญาณในวัตถุต่าง ๆ๑
[๖๖] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายใน ชื่อว่าวัตถุนานัตต-
ญาณ (ญาณในวัตถุต่าง ๆ) เป็นอย่างไร พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลายที่
เป็นภายใน อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดจักขุที่เป็นภายใน กำหนดโสตะที่เป็นภายใน กำหนด
ฆานะที่เป็นภายใน กำหนดชิวหาที่เป็นภายใน กำหนดกายที่เป็นภายใน กำหนด
มโนที่เป็นภายใน

เชิงอรรถ :
๑ วัตถุต่าง ๆ ในที่นี้หมายถึงที่ตั้งที่เกิดแห่งอารมณ์ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ เป็นที่ตั้งที่เกิดแห่งอารมณ์
(ขุ.ป.อ. ๑/๖๗/๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๕. วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
พระโยคาวจรกำหนดจักขุที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะตัณหา”
กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะอาหาร” กำหนดว่า
“จักขุเกิดเพราะอาศัยมหาภูตรูป ๔” กำหนดว่า “จักขุเกิดแล้ว” กำหนดว่า “จักขุ
มาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า “จักขุไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี”
กำหนดจักขุโดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “จักขุไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง
มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “จักขุไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา
ดับไปเป็นธรรมดา”
กำหนดจักขุโดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดยความเป็น
ทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความ
เป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ
ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่าเที่ยง)ได้
เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญา(ความหมายรู้ว่าเป็นสุข)ได้ เมื่อ
กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญา(ความหมายรู้ว่าอัตตา)ได้ เมื่อเบื่อ
หน่าย ย่อมละนันทิ (ความยินดี) ได้ เมื่อคลายกำหนัดย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะ
(ความกำหนัด) ให้ดับ ย่อมละสมุทัย (เหตุเกิด) ได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะ
(ความยึดถือ) ได้ พระโยคาวจรกำหนดจักขุที่เป็นภายในอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดโสตะที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “โสตะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดโสตะที่
เป็นภายในอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดฆานะที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “ฆานะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดฆานะที่
เป็นภายในอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๕. วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
พระโยคาวจรกำหนดชิวหาที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “ชิวหาเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดชิวหาที่
เป็นภายในอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดกายที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “กายเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดกายที่เป็น
ภายในอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดมโนที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะตัณหา”
กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะอาหาร (อาศัยหทัย
วัตถุ)” กำหนดว่า “มโนเกิดแล้ว” กำหนดว่า “มโนมาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า
“มโนไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี”
กำหนดมโนโดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “มโนไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “มโนไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา
ดับไปเป็นธรรมดา”
กำหนดมโนโดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดยความเป็น
ทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความ
เป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ
ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็น
ทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อ กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัดย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ
ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พระโยคาวจรกำหนดมโนที่เป็น
ภายในอย่างนี้ กำหนดธรรมที่เป็นภายในอย่างนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมที่เป็นภายใน ชื่อว่า
วัตถุนานัตตญาณ
วัตถุนานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๕ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๖. โคจรนานัตตญาณนิทเทส
๑๖. โคจรนานัตตญาณนิทเทส
แสดงโคจรนานัตตญาณ
[๖๗] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายนอก ชื่อว่าโคจร-
นานัตตญาณ เป็นอย่างไร พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลายที่เป็นภายนอก
อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดรูปที่เป็นภายนอก กำหนดสัททะ (เสียง) ที่เป็นภาย
นอก กำหนดคันธะ (กลิ่น) ที่เป็นภายนอก กำหนดรสที่เป็นภายนอก กำหนด
โผฏฐัพพะที่เป็นภายนอก กำหนดธรรมารมณ์ที่เป็นภายนอก
พระโยคาวจรกำหนดรูปที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “รูปเกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “รูปเกิดเพราะตัณหา” กำหนด
ว่า “รูปเกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “รูปเกิดเพราะอาหาร” กำหนดว่า “รูปอาศัย
มหาภูตรูป ๔” กำหนดว่า “รูปเกิดแล้ว” กำหนดว่า “รูปมาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า
“รูปไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี”
กำหนดรูปโดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “รูปไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง
มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา
ดับไปเป็นธรรมดา”
กำหนดรูปโดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดยความ
เป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดย
ความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่ายไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะ
ให้ดับ ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความ
เป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตต-
สัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัดย่อมละราคะได้ เมื่อทำ
ราคะให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พระโยคาวจรกำหนด
รูปที่เป็นภายนอกอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๖. โคจรนานัตตญาณนิทเทส
พระโยคาวจรกำหนดสัททะ (เสียง) ที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “สัททะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดสัททะที่
เป็นภายนอกอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดคันธะ (กลิ่น) ที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “คันธะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดคันธะที่
เป็นภายนอกอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดรสที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “รสเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดรสที่เป็น
ภายนอกอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดโผฏฐัพพะที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “โผฏฐัพพะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนด
โผฏฐัพพะที่เป็นภายนอกอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดธรรมารมณ์ที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิด
เพราะตัณหา” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์
เกิดเพราะอาหาร (อาศัยหทัยวัตถุ)” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิดแล้ว” กำหนดว่า
“ธรรมารมณ์มาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์ไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี”
กำหนดธรรมารมณ์โดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “ธรรมารมณ์ไม่
ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็น
ธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา”
กำหนดธรรมารมณ์โดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดย
ความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนด
โดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำ
ราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็น
ทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ
ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พระโยคาวจรกำหนดธรรมารมณ์
ที่เป็นภายนอกอย่างนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายนอก
ชื่อว่าโคจรนานัตตญาณ
โคจรนานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๖ จบ
๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
แสดงจริยานานัตตญาณ
[๖๘] ปัญญาในการกำหนดจริยา ชื่อว่าจริยานานัตตญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า จริยา อธิบายว่า จริยา ๓ อย่าง ได้แก่
๑. วิญญาณจริยา
๒. อัญญาณจริยา
๓. ญาณจริยา
วิญญาณจริยา เป็นอย่างไร
คือ ความคิดเพื่อดูรูปทั้งหลายอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณ-
จริยา จักขุวิญญาณที่เป็นแต่เพียงเห็นรูป ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบาก
ที่ขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้เห็นรูปแล้ว มโนวิญญาณธาตุอัน
เป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่รูปแล้ว
ความคิดเพื่อฟังเสียงอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา
โสตวิญญาณที่เป็นแต่เพียงฟังเสียง ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้น
สู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้ฟังเสียงแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็น
วิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่เสียงแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
ความคิดเพื่อดมกลิ่นอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา
ฆานวิญญาณที่เป็นแต่เพียงดมกลิ่น ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้น
สู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้ดมกลิ่นแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก
ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่กลิ่นแล้ว
ความคิดเพื่อลิ้มรสอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา
ชิวหาวิญญาณที่เป็นแต่เพียงลิ้มรส ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้น
สู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้ลิ้มรสแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก
ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่รสแล้ว
ความคิดเพื่อสัมผัสโผฏฐัพพะอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณ-
จริยา กายวิญญาณที่เป็นแต่เพียงสัมผัสโผฏฐัพพะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุ
อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้สัมผัสโผฏฐัพพะแล้ว
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่โผฏฐัพพะแล้ว
ความคิดเพื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นแต่เพียงรู้แจ้งธรรมารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุ
อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่ธรรมารมณ์แล้ว
[๖๙] คำว่า วิญญาณจริยา อธิบายว่า ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะมีความ
หมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีราคะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติไม่มีโทสะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีโมหะ ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีมานะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มี
ทิฏฐิ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีอุทธัจจะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่มีวิจิกิจฉา ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีอนุสัย ชื่อว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยโทสะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่
ประกอบด้วยโมหะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบ
ด้วยวิจิกิจฉา ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยอนุสัย ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกุศลกรรม ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยกรรมมีโทษ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วย
กรรมไม่มีโทษ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมดำ ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมขาว ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นกำไร ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติใน
อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว วิญญาณมีจริยาเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิญญาณจริยา
จิตนี้บริสุทธิ์โดยปกติ เพราะไม่มีกิเลส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิญญาณจริยา นี้ชื่อว่า
วิญญาณจริยา
อัญญาณจริยา เป็นอย่างไร
คือ ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในรูปที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะในรูปที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต
ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะ
ทั้งสองนั้น อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโมหะ
ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งมานะที่ผูกพัน อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต
ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งมานะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งทิฏฐิที่ยึดถือ อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต
ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฏฐิ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลง อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีกำลัง อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในเสียงที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ฯลฯ ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในกลิ่นที่
น่าพอใจ ฯลฯ ในรสที่น่าพอใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่น่าพอใจ ฯลฯ ความคิด
เพื่อแล่นไปแห่งราคะในธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่า
วิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะในธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะทั้งสอง
นั้น อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโมหะ
ชื่อว่าอัญญาณจริยา ฯลฯ ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งทิฏฐิที่ยึดถือ อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฏฐิ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลง อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีกำลัง อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
[๗๐] คำว่า อัญญาณจริยา อธิบายว่า ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะมีความ
หมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติมีโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีโมหะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
เพราะประพฤติมีมานะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีทิฏฐิ ชื่อว่า
อัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีอุทธัจจะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติ
มีวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา
เพราะประพฤติประกอบด้วยราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบ
ด้วยโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยโมหะ ชื่อว่าอัญญาณ-
จริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยมานะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติ
ประกอบด้วยทิฏฐิ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยอุทธัจจะ
ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา
เพราะประพฤติประกอบด้วยอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่
ประกอบด้วยกุศลกรรม ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วย
อกุศลกรรม ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมมีโทษ ชื่อว่า
อัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมดำ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่
ประกอบด้วยกรรมขาว ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรม
ที่มีสุขเป็นกำไร ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์
เป็นกำไร ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีสุข
เป็นวิบาก ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์
เป็นวิบาก ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติในอารมณ์ที่ไม่รู้ ความไม่รู้มีจริยา
เห็นปานนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัญญาณจริยา นี้ชื่อว่าอัญญาณจริยา
[๗๑] ญาณจริยา เป็นอย่างไร
คือ ความคิดเพื่ออนิจจานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา อนิจจานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา
ความคิดเพื่อทุกขานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความทุกข์) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ทุกขานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
ความคิดเพื่ออนัตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นอนัตตา) อันเป็นเพียงกิริยา
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา อนัตตานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา
ความคิดเพื่อนิพพิทานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อวิราคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อนิโรธานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อปฏินิสสัคคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสละคืน) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อขยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสิ้นไป) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อวยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเสื่อมไป) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อวิปริณามานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความแปรผัน) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่ออนิมิตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่ออัปปณิหิตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อสุญญตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความว่าง) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
ความคิดเพื่ออธิปัญญาธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง) อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อยถาภูตญาณทัสสนะ (การรู้เห็นตามความเป็นจริง) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่ออาทีนวานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นโทษ) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อปฏิสังขานุปัสสนา (การตามพิจารณา) อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต
ชื่อว่าวิญญาณจริยา ปฏิสังขานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา
วิวัฏฏนานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความคลายออก) ชื่อว่าญาณจริยา
โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
สกทาคามิมรรค ชื่อว่าญาณจริยา สกทาคามิผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
อนาคามิมรรค ชื่อว่าญาณจริยา อนาคามิผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
อรหัตตมรรค ชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
คำว่า ญาณจริยา อธิบายว่า ชื่อว่าญาณจริยา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีราคะ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่มีโทสะ ฯลฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีอนุสัย ชื่อว่า
ญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยโทสะ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยโมหะ ชื่อว่า
ญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ฯลฯ
ไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยอนุสัย
ฯลฯ ประกอบด้วยกุศลกรรม ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ฯลฯ ไม่ประกอบ
ด้วยกรรมที่มีโทษ ฯลฯ ประกอบด้วยกรรมที่ไม่มีโทษ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยกรรมดำ
ฯลฯ ประกอบด้วยกรรมขาว ฯลฯ ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นกำไร ฯลฯ ไม่
ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ฯลฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๘. ภูมินานัตตญาณนิทเทส
ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก ฯลฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่
ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติในญาณ
ญาณมีจริยาเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณจริยา
นี้ชื่อว่าญาณจริยา วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา ญาณจริยา
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดจริยา ชื่อว่าจริยานานัตตญาณ
จริยานานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๗ จบ
๑๘. ภูมินานัตตญาณนิทเทส
แสดงภูมินานัตตญาณ
[๗๒] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าภูมินานัตตญาณ
เป็นอย่างไร
คือ ภูมิ ๔ ประการ ได้แก่
๑. กามาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม)
๒. รูปาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป)
๓. อรูปาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป)
๔. อปริยาปันนภูมิ (ชั้นที่ไม่นับเนื่องในภูมิ ๓ หมายถึงโลกุตตรภูมิ)
กามาวจรภูมิ เป็นอย่างไร
คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ท่องเที่ยว
อยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้ คือเบื้องล่างกำหนดเอาอเวจีนรกเป็นที่สุด
เบื้องบนกำหนดเอาเหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ากามาวจรภูมิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๘. ภูมินานัตตญาณนิทเทส
รูปาวจรภูมิ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในรูปภูมิ หรือพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๑ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้
คือเบื้องล่างกำหนดเอาพรหมโลกเป็นที่สุด (ชั้นพรหมปาริสัชชา) เบื้องบนกำหนด
เอาพรหมชั้นอกนิฏฐภพเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ารูปาวจรภูมิ
อรูปาวจรภูมิ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในอรูปภูมิ หรือพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้
คือเบื้องล่างกำหนดเอาพรหมผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนด
เอาเหล่าพรหมผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นที่สุด นี้ชื่อว่าอรูปาวจรภูมิ
อปริยาปันนภูมิ เป็นอย่างไร
คือ มรรค ผล ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุ่งแต่ง (นิพพาน) เป็นอปริยาปันนะ นี้ชื่อว่า
อปริยาปันนภูมิ
เหล่านี้ชื่อว่าภูมิ ๔
ภูมิ ๔ อีกนัยหนึ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
ฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปาวจรสมาบัติ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ปฏิปทา ๔
อารมณ์ ๔ อริยวงศ์ ๔๒ สังคหวัตถุ ๔ จักร ๔ ธรรมบท ๔๓
เหล่านี้ชื่อว่าภูมิ ๔
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ ประการ ชื่อว่า
ภูมินานัตตญาณ
ภูมินานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สุขในปัจจุบัน ในที่นี้หมายถึงความสุขขณะที่ดำรงอยู่ในภาวะที่รู้แจ้งนั้น (ขุ.ป.อ. ๑/๗๓/๓๑๓)
๒ อริยวงศ์ ๔ ได้แก่ (๑) ความสันโดษในจีวร (๒) ความสันโดษในบิณฑบาต (๓) ความสันโดษในเสนาสนะ
(๔) ความยินดีในการเจริญภาวนา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๒/๓๑๕)
๓ ธรรมบท ๔ ในที่นี้ ได้แก่ (๑) อนภิชฌา (๒) อพยาบาท (๓) สัมมาสติ (๔) สัมมาสมาธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๗๒/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
แสดงธัมมนานัตตญาณ
[๗๓] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ชื่อว่าธัมมนานัตตญาณ เป็นอย่างไร
พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลาย อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็น
ฝ่ายอัพยากฤต กำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต กำหนด
อรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต กำหนดอปริยาปันนธรรมเป็น
ฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต
พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤต อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดกุศลกรรมบถ ๑๐๑ เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอกุศล-
กรรมบถ ๑๐๒ เป็นฝ่ายอกุศล กำหนดรูป วิบาก และกิริยาเป็นฝ่ายอัพยากฤต
พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกําหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดฌาน ๔ ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้ เป็นฝ่ายกุศล
กำหนดฌาน ๔ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกเป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจร
กำหนดรูปาวจรธรรม เป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ ๔ ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้
เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอรูปาวจรสมาบัติ ๔ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกนั้น เป็น

เชิงอรรถ :
๑ กุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ และมโนสุจริต ๓ (ขุ.ป.อ. ๑/๗๓/๓๑๗)
๒ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓ (ขุ.ป.อ. ๑/๗๓/๓๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
ฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดอปริยาปันนธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต
อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดอริยมรรค ๔ เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอปริยาปันน-
ธรรมเป็นฝ่ายกุศล กำหนดสามัญญผลและนิพพานเป็นฝ่ายอัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างนี้
ธรรม ๙ ประการ มีปราโมทย์เป็นมูล เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดย
ความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อม
สงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ
ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อ
มนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด
ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์
ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข
จิตย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อ
เห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ
คลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น
นี้คือธรรม ๙ ประการ มีปราโมทย์เป็นมูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
[๗๔] ธรรม ๙ ประการ มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล เมื่อพระโยคาวจรมนสิการ
โดยอุบายแยบคายโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็น
สมาธิ ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” รู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า “นี้ทุกขสมุทัย” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” รู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายแยบคาย
โดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ผู้มีจิต
เป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขสมุทัย” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” เมื่อมนสิการโดยอุบายแยบคายโดยความเป็นอนัตตา
ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการรูปโดยอุบายแยบคายโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์
ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์
ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์
ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายแยบคายโดยความไม่เที่ยง
ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายแยบคายโดยความ
เป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายแยบคาย
โดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ผู้มี
จิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขสมุทัย” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
นี้คือธรรม ๙ ประการ มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล
ความต่าง ๙ ประการ คือ ผัสสะต่าง ๆ อาศัยธาตุต่าง ๆ เกิดขึ้น เวทนา
ต่าง ๆ อาศัยผัสสะต่าง ๆ เกิดขึ้น สัญญาต่าง ๆ อาศัยเวทนาต่าง ๆ เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๐-๒๔. ญาณปัญจกนิทเทส
ความดำริต่าง ๆ อาศัยสัญญาต่าง ๆ เกิดขึ้น ฉันทะต่าง ๆ อาศัยความดำริต่าง ๆ
เกิดขึ้น ความเร่าร้อนต่าง ๆ อาศัยฉันทะต่าง ๆ เกิดขึ้น การแสวงหาต่าง ๆ อาศัย
ความเร่าร้อนต่าง ๆ เกิดขึ้น ลาภต่าง ๆ อาศัยการแสวงหาต่าง ๆ เกิดขึ้น
นี้คือความต่าง ๙ ประการ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ ชื่อว่า
ธัมมนานัตตญาณ
ธัมมนานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๙ จบ
๒๐-๒๔. ญาณปัญจกนิทเทส
แสดงญาณ ๕ หมวด
[๗๕] ปัญญาเครื่องรู้ยิ่ง ชื่อว่าญาตัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะรู้) ปัญญา
เครื่องกำหนดรู้ ชื่อว่าตีรณัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะพิจารณา) ปัญญาเครื่อง
ละ ชื่อว่าปริจจาคัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะสละ) ปัญญาเครื่องเจริญ ชื่อว่า
เอกรสัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะเป็นรสเดียว) ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง ชื่อว่า
ผัสสนัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะถูกต้อง) เป็นอย่างไร
คือ ธรรมใด ๆ ที่พระโยคาวจรรู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันรู้แล้ว ธรรมใด ๆ
ที่พระโยคาวจรกำหนดรู้แล้ว ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันพิจารณาแล้ว ธรรมใด ๆ ที่พระ
โยคาวจรละได้แล้ว ธรรมนั้น ๆ เป็นอันละได้แล้ว ธรรมใด ๆ ที่พระโยคาวจรเจริญแล้ว
ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นธรรมมีรสเป็นอันเดียว ธรรมใด ๆ ที่พระโยคาวจรทำให้แจ้งแล้ว
ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันถูกต้องแล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องรู้ยิ่ง ชื่อว่าญาตัฏฐญาณ ปัญญา
เครื่องกำหนดรู้ ชื่อว่าตีรณัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องละ ชื่อว่าปริจจาคัฏฐญาณ
ปัญญาเครื่องเจริญ ชื่อว่าเอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง ชื่อว่าผัสส-
นัฏฐญาณ
ญาณปัญจกนิทเทสที่ ๒๐-๒๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
แสดงปฏิสัมภิทาญาณ
[๗๖] ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในธรรม
ต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัม-
ภิทาญาณ ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ เป็นอย่างไร
คือ สัทธินทรีย์ชื่อว่าธรรม วิริยินทรีย์ชื่อว่าธรรม สตินทรีย์ชื่อว่าธรรม
สมาธินทรีย์ชื่อว่าธรรม ปัญญินทรีย์ชื่อว่าธรรม สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
วิริยินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สตินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธินทรีย์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ปัญญินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้
ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (๑)
สภาวะที่น้อมไปชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ประคองไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เข้าไป
ตั้งไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เห็นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่
น้อมไปเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เข้าไป
ตั้งไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เห็น
เป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ (๒)
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ
ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
ปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (๔)
[๗๗] สัทธาพละชื่อว่าธรรม วิริยพละชื่อว่าธรรม สติพละชื่อว่าธรรม
สมาธิพละชื่อว่าธรรม ปัญญาพละชื่อว่าธรรม สัทธาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
วิริยพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สติพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธิพละเป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ปัญญาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้
ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหว
เพราะความเกียจคร้านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทชื่อว่า
อรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะ
อวิชชาชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาทเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะเป็น
อรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจร
รู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ
นั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถ-
ปฏิสัมภิทาญาณ
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านั้นด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
นิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐
ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติ
เป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม วิริยสัมโพชฌงค์
ชื่อว่าธรรม ปีติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม สติสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง วิริยสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ปีติสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรม
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรม
ต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
สภาวะที่ตั้งมั่นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เลือกเฟ้นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ประคองไว้
ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่แผ่ซ่านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่สงบชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่พิจารณาชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ตั้งมั่นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่เลือกเฟ้นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่แผ่ซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่สงบเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่
ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่พิจารณาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้
อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้น
นั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่า
อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๗ ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๗ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
นิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
ญาณในธรรม ๗ ประการ ญาณในอรรถ ๗ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๔
ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
สัมมาทิฏฐิชื่อว่าธรรม สัมมาสังกัปปะชื่อว่าธรรม สัมมาวาจาชื่อว่าธรรม
สัมมากัมมันตะชื่อว่าธรรม สัมมาอาชีวะชื่อว่าธรรม สัมมาวายามะชื่อว่าธรรม
สัมมาสติชื่อว่าธรรม สัมมาสมาธิชื่อว่าธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
สัมมาสังกัปปะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมากัมมันตะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมา-
อาชีวะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมาวายามะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมาสมาธิเป็นธรรม
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรม
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
สภาวะที่เห็นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ตรึกตรองชื่อว่าอรรถ สภาวะที่กำหนดไว้
ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เป็นสมุฏฐานชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ผ่องแผ้วชื่อว่าอรรถ สภาวะที่
ประคองไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ตั้งมั่นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ตรึกตรองเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่
กำหนดไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เป็นสมุฏฐานเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่
ผ่องแผ้วเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ตั้งมั่น
เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๘ ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๘ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
นิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
ญาณในธรรม ๘ ประการ ญาณในอรรถ ๘ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๖
ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติ
เป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่า
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทสที่ ๒๕-๒๘ จบ
๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
แสดงญาณ ๓ อย่าง
[๗๘] ปัญญาในวิหารธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะ
แห่งวิหารธรรม) ปัญญาในสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณใน
สภาวะแห่งสมาบัติ) ปัญญาในวิหารสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ
(ญาณในสภาวะแห่งวิหารสมาบัติ) เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ (ซึ่งสัง
ขารนิมิตด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต
นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
เมื่อพิจารณาปณิธิ๑ (ความตั้งมั่น) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ (ซึ่งปณิธิ
ด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ๒ นี้ชื่อว่า
อัปปณิหิตวิหาร
เมื่อพิจารณาอภินิเวส๓ (ความยึดมั่น) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ (ซึ่ง
อภินิเวสด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็น
สุญญตะ๔ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหาร
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตสมาบัติ
เมื่อพิจารณาปณิธิโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับ ไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่
มีปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตสมาบัติ
เมื่อพิจารณาอภินิเวสโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็น
ความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร-
สมาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ ปณิธิ หมายถึงตัณหา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓)
๒ นิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ หมายถึงนิพพานที่เป็นปฏิปักข์ต่อตัณหา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓)
๓ อภินิเวส หมายถึงความยึดมั่นว่าอัตตา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓)
๔ นิพพานที่เป็นสุญญตะ หมายถึงนิพพานที่ปราศจากอัตตา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
เมื่อพิจารณาปณิธิโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
เมื่อพิจารณาอภินิเวสโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหารสมาบัติ
[๗๙] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณารูปนิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ
ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร
เมื่อพิจารณารูปปณิธิ (ตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูป) โดยความเป็นภัย ถูกต้อง
แล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ นี้ชื่อว่า
อัปปณิหิตวิหาร
เมื่อพิจารณารูปาภินิเวส (ความยึดมั่นว่ารูป) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ
ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหาร
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณารูปนิมิตโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตสมาบัติ
เมื่อพิจารณารูปปณิธิโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มี
ปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตสมาบัติ
เมื่อพิจารณารูปาภินิเวสโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณารูปนิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็น
ความเสื่อม เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว
ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหารสมาบัติ
เมื่อพิจารณารูปปณิธิโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
เมื่อพิจารณารูปาภินิเวสโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหารสมาบัติ
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเวทนานิมิต ฯลฯ สัญญานิมิต ฯลฯ สังขารนิมิต
ฯลฯ วิญญาณนิมิต ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อพิจารณาชรามรณนิมิตโดยความ
เป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต
นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร
เมื่อพิจารณาชรามรณปณิธิ (ตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะ) โดยความ
เป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มี
ปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหาร
เมื่อพิจารณาชรามรณาภินิเวส (ความยึดมั่นว่าชราและมรณะ) โดยความเป็นภัย
ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่า
สุญญตวิหาร
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาชรามรณนิมิตโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็น
ไปแล้ว นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิต
น้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหารสมาบัติ
เมื่อพิจารณาชรามรณปณิธิโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
เมื่อพิจารณาชรามรณาภินิเวสโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาชรามรณนิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ
ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร-
สมาบัติ
เมื่อพิจารณาชรามรณปณิธิโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความ
เสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับ ไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหาร-
สมาบัติ
เมื่อพิจารณาชรามรณาภินิเวสโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็น
ความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญต-
วิหารสมาบัติ
อนิมิตตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารเป็น
อย่างหนึ่ง อนิมิตตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง สุญญต-
สมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อนิมิตตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
เป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในวิหารธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ
ปัญญาในสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในวิหารสมาบัติต่าง ๆ
ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ
ญาณัตตยนิทเทสที่ ๒๙-๓๑ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๒. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
๓๒. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
แสดงอานันตริกสมาธิญาณ
[๘๐] ปัญญาในการตัดขาดอาสวะ เพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เดียว) ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะ ชื่อว่าสมาธิ ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลาย
ย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการฉะนี้ ความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอานันตริก-
สมาธิญาณ
คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง
คือ กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ภวาสวะ (อาสวะคือภพ) ทิฏฐาสวะ (อาสวะ
คือทิฏฐิ) อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์
ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง
โสดาปัตติมรรคนี้
กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะ
นั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค อาสวะ
เหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๒. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้น ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท ชื่อว่าสมาธิ
ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งอวิกเขปะ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งธัมมววัตถาน ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปามุชชะ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งทุติยฌาน ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งตติยฌาน ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
จตุตถฌาน ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปฐวีกสิณ
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอาโปกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งเตโชกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งวาโยกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งนีลกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปีตกสิณ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งโอทาตกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
อากาสกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวิญญาณกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุสสติ
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งธัมมานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งสังฆานุสสติ ฯลฯ ด้วย
อำนาจแห่งสีลานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งจาคานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
เทวตานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอานาปานัสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งมรณัสสติ
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งกายคตาสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอุปสมานุสสติ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งอุทธุมาตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวินีลกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งวิปุพพกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวิจฉิททกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
วิกขายิตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
หตวิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
ปุฬวกสัญญา ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอัฏฐิก-
สัญญา ชื่อว่าสมาธิ ฯลฯ
[๘๑] ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้ายาว
ชื่อว่าสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจ
ออกยาว ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งลมหายใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๒. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
ออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วย
อำนาจแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการ
ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการระงับกายสังขารหายใจออก ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจ
ออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้
แจ้งสุขหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการระงับ
จิตตสังขารหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการระงับจิตตสังขารหายใจออก ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจออก
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการยังจิต
ให้บันเทิงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการตั้งจิตไว้หายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งการตั้งจิตไว้หายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการเปลื้องจิตหายใจเข้า ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งการเปลื้องจิตหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
หายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้า
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจออก ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการ
พิจารณาเห็นความดับหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความสละ
คืนหายใจเข้า ฯลฯ
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็น
ความสละคืนหายใจออก ชื่อว่าสมาธิ ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการ
ฉะนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ
คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง
คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๓. อรณวิหารญาณนิทเทส
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์
ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง
โสดาปัตติมรรคนี้
กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้
ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์
แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ
อานันตริกสมาธิญาณนิทเทสที่ ๓๒ จบ
๓๓. อรณวิหารญาณนิทเทส
แสดงอรณวิหารญาณ
[๘๒] ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิมุตตตาปัญญา ชื่อว่า
อรณวิหารญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ทัสสนาธิปไตย อธิบายว่า อนิจจานุปัสสนาชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
ทุกขานุปัสสนาชื่อว่าทัสสนาธิปไตย อนัตตานุปัสสนาชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
อนิจจานุปัสสนาในรูปชื่อว่าทัสสนาธิปไตย ทุกขานุปัสสนาในรูปชื่อว่าทัสสนาธิปไตย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๓. อรณวิหารญาณนิทเทส
อนัตตานุปัสสนาในรูปชื่อว่าทัสสนาธิปไตย อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา
ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในชราและ
มรณะชื่อว่าทัสสนาธิปไตย ทุกขานุปัสสนาในชราและมรณะชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
อนัตตานุปัสสนาในชราและมรณะชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
คำว่า วิหาราธิคมที่สงบ อธิบายว่า สุญญตวิหารชื่อว่าวิหาราธิคมที่สงบ
อนิมิตตวิหารชื่อว่าวิหาราธิคมที่สงบ อัปปณิหิตวิหารชื่อว่าวิหาราธิคมที่สงบ
คำว่า ปณีตาธิมุตตตา อธิบายว่า ความที่จิตน้อมไปในธรรมที่ว่าง ชื่อว่า
ปณีตาธิมุตตตา ความที่จิตน้อมไปในธรรมที่ไม่มีนิมิตชื่อว่าปณีตาธิมุตตตา ความที่
จิตน้อมไปในธรรมที่ไม่มีปณิหิตะ(ที่ตั้ง) ชื่อว่าปณีตาธิมุตตตา
คำว่า อรณวิหาร อธิบายว่า ปฐมฌานชื่อว่าอรณวิหาร ทุติยฌานชื่อว่าอรณ-
วิหาร ตติยฌานชื่อว่าอรณวิหาร จตุตถฌานชื่อว่าอรณวิหาร อากาสานัญจายตนสมาบัติ
ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าอรณวิหาร
คำว่า อรณวิหาร อธิบายว่า ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดนิวรณ์ได้ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าอรณวิหาร
เพราะกำจัดวิตกวิจารได้ด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดปีติได้ด้วย
ตติยฌาน ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดสุขและทุกข์ได้ด้วยจตุตถฌาน ชื่อว่า
อรณวิหาร เพราะกำจัดรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาได้ด้วยอากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดอากาสานัญจายตนสัญญาได้ด้วย
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดวิญญาณัญจายตนสัญญา
ได้ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดอากิญจัญญายตน-
สัญญาได้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าอรณวิหาร
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิ-
มุตตตาปัญญา ชื่อว่าอรณวิหารญาณ
อรณวิหารญาณนิทเทสที่ ๓๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
แสดงนิโรธสมาปัตติญาณ
[๘๓] ปัญญาที่มีความชำนาญในการระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖
และด้วยสมาธิจริยา ๙ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ อย่าง ชื่อว่านิโรธ-
สมาปัตติญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า พละ ๒ อย่าง อธิบายว่า พละ ๒ อย่าง ได้แก่
๑. สมถพละ
๒. วิปัสสนาพละ
สมถพละ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ ชื่อว่า
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท ชื่อว่า
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา
ชื่อว่าสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอวิกเขปะ
ชื่อว่าสมถพละ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งการ
พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ชื่อว่าสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์
ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ชื่อว่าสมถพละ
คำว่า สมถพละ อธิบายว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่า
สมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะ
ไม่หวั่นไหวเพราะปีติด้วยตติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะสุขและ
ทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหว
เพราะอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ
เพราะไม่หวั่นไหวเพราะวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง
เพราะอุทธัจจะ เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ และเพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าสมถพละ
วิปัสสนาพละ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ ทุกขานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนา-
พละ อนัตตานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ นิพพิทานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ
วิราคานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ นิโรธานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ ปฏินิส-
สัคคานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในรูปชื่อว่าวิปัสสนาพละ ฯลฯ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูป ฯลฯ ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ
ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชรา
และมรณะชื่อว่าวิปัสสนาพละ
คำว่า วิปัสสนาพละ อธิบายว่า ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา
ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ชื่อว่า
วิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ชื่อว่า
วิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะนันทิด้วยนิพพิทานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ
เพราะไม่หวั่นไหวเพราะราคะด้วยวิราคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่น
ไหวเพราะสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะ
อาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหว
ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียงเพราะอวิชชา เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและ
เพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าวิปัสสนาพละ
คำว่า ด้วยการระงับสังขาร ๓ อธิบายว่า ด้วยการระงับสังขาร ๓ เป็นอย่างไร
คือ วิตก วิจารที่เป็นวจีสังขารของท่านผู้เข้าทุติยฌานย่อมระงับไป ลมหายใจ
เข้าหายใจออกที่เป็นกายสังขาร ของท่านผู้เข้าจตุตถฌานย่อมระงับไป สัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
และเวทนาที่เป็นจิตตสังขารของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมระงับไปด้วยการ
ระงับสังขาร ๓ นี้
[๘๔] คำว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖ อธิบายว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา ทุกขานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา
อนัตตานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา นิพพิทานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา วิราคา-
นุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา นิโรธานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา ปฏินิสสัคคา-
นุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา วิวัฏฏนานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติมรรค
ชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา สกทาคามิมรรคชื่อว่า
ญาณจริยา สกทาคามิผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา อนาคามิมรรคชื่อว่าญาณจริยา
อนาคามิผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตมรรคชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตผล-
สมาบัติชื่อว่าญาณจริยา ด้วยญาณจริยา ๑๖ นี้
[๘๕] คำว่า ด้วยสมาธิจริยา ๙ อธิบายว่า ด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นอย่างไร
คือ ปฐมฌานชื่อว่าสมาธิจริยา ทุติยฌานชื่อว่าสมาธิจริยา ตติยฌาน
ชื่อว่าสมาธิจริยา จตุตถฌานชื่อว่าสมาธิจริยา อากาสานัญจายนตสมาบัติ ฯลฯ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าสมาธิจริยา วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต
เพื่อได้ปฐมฌาน ฯลฯ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าสมาธิจริยา ด้วยสมาธิจริยา ๙ นี้
คำว่า วสี อธิบายว่า วสี ๕ ประการ ได้แก่
๑. อาวัชชนาวสี (ชำนาญในการคำนึงถึง)
๒. สมาปัชชนวสี (ชำนาญในการเข้า)
๓. อธิฏฐานวสี (ชำนาญในการอธิษฐาน)
๔. วุฏฐานวสี (ชำนาญในการออก)
๕. ปัจจเวกขณาวสี (ชำนาญในการพิจารณา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
สมาปัตติลาภีบุคคล (บุคคลผู้ได้สมาบัติ) คำนึงถึงปฐมฌาน ที่ไหนก็ได้ เมื่อไร
ก็ได้ นานเท่าไรก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลเข้าปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้
ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการเข้า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสมาปัชชนวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลอธิษฐานปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไร
ก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการอธิษฐาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อธิฏฐานวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลออกจากปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้
ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการออก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวุฏฐานวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลพิจารณาปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไร
ก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ปัจจเวกขณาวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงทุติยฌาน ฯลฯ คำนึงถึงเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มี
ความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลเข้า ฯลฯ อธิฏฐาน ฯลฯ ออก ฯลฯ พิจารณา
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้ ตาม
ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัจจเวกขณาวสี
วสี ๕ ประการนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่มีความชำนาญในการระงับสังขาร ๓ ด้วย
ญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ อย่าง
ชื่อว่านิโรธสมาปัตติญาณ
นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทสที่ ๓๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๕. ปรินิพพานญาณนิทเทส
๓๕. ปรินิพพานญาณนิทเทส
แสดงปรินิพพานญาณ
[๘๖] ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของผู้มีสัมปชัญญะ
ชื่อว่าปรินิพพานญาณ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มีสัมปชัญญะในศาสนานี้ ทำความเป็นไปแห่งกามฉันทะให้สิ้นไป
ด้วยเนกขัมมะ ทำความเป็นไปแห่งพยาบาทให้สิ้นไปด้วยอพยาบาท ทำความเป็นไป
แห่งถีนมิทธะให้สิ้นไปด้วยอาโลกสัญญา ทำความเป็นไปแห่งอุทธัจจะให้สิ้นไป
ด้วยอวิกเขปะ ทำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาให้สิ้นไปด้วยธัมมววัตถาน ฯลฯ แห่ง
อวิชชาให้สิ้นไปด้วยญาณ ฯลฯ แห่งอรติให้สิ้นไปด้วยปามุชชะ ฯลฯ แห่งนิวรณ์ให้
สิ้นไปด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ทำความเป็นไปแห่งกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค
อีกประการหนึ่ง ความเป็นไปแห่งจักขุนี้ ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะผู้ปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักขุอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น
ความเป็นไปแห่งโสตะ ฯลฯ ความเป็นไปแห่งฆานะ ฯลฯ ความเป็นไปแห่งชิวหา
ฯลฯ ความเป็นไปแห่งกาย ฯลฯ ความเป็นไปแห่งมโนนี้ ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ
ผู้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งมโนอื่น
ย่อมไม่เกิดขึ้น ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ
นี้ชื่อว่าปรินิพพานญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของผู้มี
สัมปชัญญะ ชื่อว่าปรินิพพานญาณ
ปรินิพพานญาณนิทเทสที่ ๓๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๖. สมสีสัฏฐญาณนิทเทส
๓๖. สมสีสัฏฐญาณนิทเทส
แสดงสมสีสัฏฐญาณ
[๘๗] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาดโดยชอบ
และดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมที่สงบและเป็นประธาน)๑
เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
อปริยาปันนธรรม
คำว่า เพราะตัดขาดโดยชอบ อธิบายว่า พระโยคาวจรย่อมตัดกามฉันทะขาด
โดยชอบด้วยเนกขัมมะ ตัดพยาบาทขาดโดยชอบด้วยอพยาบาท ตัดถีนมิทธะขาด
โดยชอบด้วยอาโลกสัญญา ตัดอุทธัจจกุกกุจจะขาดโดยชอบด้วยอวิกเขปะ ตัดวิจิกิจฉา
ขาดโดยชอบด้วยธัมมววัตถาน ตัดอวิชชาขาดโดยชอบด้วยญาณ ตัดอรติขาด
โดยชอบด้วยปามุชชะ ตัดนิวรณ์ขาดโดยชอบด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ตัดกิเลสทั้งปวง
ขาดโดยชอบด้วยอรหัตตมรรค
คำว่า ดับไป อธิบายว่า พระโยคาวจรดับกามฉันทะได้ด้วยเนกขัมมะ ดับ
พยาบาทได้ด้วยอพยาบาท ดับถีนมิทธะได้ด้วยอาโลกสัญญา ดับอุทธัจจะได้
ด้วยอวิกเขปะ ดับวิจิกิจฉาได้ด้วยธัมมววัตถาน ดับอวิชชาได้ด้วยญาณ ดับอรติได้
ด้วยปามุชชะ ดับนิวรณ์ได้ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ดับกิเลสทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค
คำว่า ไม่ปรากฏ อธิบายว่า เมื่อพระโยคาวจรได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่
ปรากฏ เมื่อได้อพยาบาท พยาบาทย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อาโลกสัญญา ถีนมิทธะ
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อวิกเขปะ อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ธัมมววัตถาน วิจิกิจฉา
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ญาณ อวิชชาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปามุชชะ อรติย่อมไม่
ปรากฏ เมื่อได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ เมื่อได้อรหัตตมรรค กิเลส
ทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ

เชิงอรรถ :
๑ คำแปลของแต่ละญาณมีปรากฏอยู่ในภาคอุทเทสหรือมาติกาหน้า ๔ โดยทั่วไปจะไม่นำมาไว้ในภาคนิทเทสนี้
นอกจากคำแปลของญาณที่ท่านอธิบายไว้ด้วย จึงจะนำมา เช่น คำแปลของญาณนี้คือคำว่า สงบ และเป็น
ประธาน ท่านอธิบายไว้ด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๖. สมสีสัฏฐญาณนิทเทส
คำว่า สงบ อธิบายว่า เนกขัมมะชื่อว่าสงบ เพราะละกามฉันทะได้แล้ว
อพยาบาทชื่อว่าสงบ เพราะละพยาบาทได้แล้ว อาโลกสัญญาชื่อว่าสงบ เพราะละ
ถีนมิทธะได้แล้ว อวิกเขปะชื่อว่าสงบ เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ธัมมววัตถานชื่อว่า
สงบ เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ญาณชื่อว่าสงบ เพราะละอวิชชาได้แล้ว ปามุชชะ
ชื่อว่าสงบ เพราะละอรติได้แล้ว ปฐมฌาณชื่อว่าสงบ เพราะละนิวรณ์ได้แล้ว ฯลฯ
อรหัตตมรรคชื่อว่าสงบ เพราะละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว
คำว่า เป็นประธาน อธิบายว่า ธรรมเป็นประธาน ๑๓ ประการ ได้แก่
๑. ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน
๒. มานะมีความพัวพันเป็นประธาน
๓. ทิฏฐิมีความยึดถือเป็นประธาน
๔. อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน
๕. อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน
๖. ศรัทธามีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน
๗. วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน
๘. สติมีความเข้าไปตั้งมั่นเป็นประธาน
๙. สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน
๑๐. ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน
๑๑. ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน
๑๒. วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน
๑๓. นิโรธมีสังขารเป็นประธาน
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาด
โดยชอบและดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ
สมสีสัฏฐญาณนิทเทสที่ ๓๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๗. สัลเลขัฏฐญาณนิทเทส
๓๗. สัลเลขัฏฐญาณนิทเทส
แสดงสัลเลขัฏฐญาณ
[๘๘] ปัญญาในสภาวะแต่ละอย่าง สภาวะต่าง ๆ สภาวะเดียว๑ และเดช
ชื่อว่าสัลเลขัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา) เป็นอย่างไร
คือ คำว่า สภาวะแต่ละอย่าง อธิบายว่า ราคะ (ความกำหนัด) เป็นสภาวะ
อย่างหนึ่ง โทสะ (ความประทุษร้าย) เป็นสภาวะอย่างหนึ่ง โมหะ (ความหลง)
เป็นสภาวะอย่างหนึ่ง โกธะ (ความโกรธ) ฯลฯ อุปนาหะ (ความผูกโรธ) ฯลฯ มักขะ
(ความลบหลู่) ฯลฯ ปฬาสะ (ความตีเสมอ) ฯลฯ อิสสา (ความริษยา) ฯลฯ มัจฉริยะ
(ความตระหนี่) ฯลฯ มายา (มารยา) ฯลฯ สาเฐยยะ (ความโอ้อวด) ฯลฯ ถัมภะ
(ความหัวดื้อ) ฯลฯ สารัมภะ (ความแข่งดี) ฯลฯ มานะ (ความถือตัว) ฯลฯ อติมานะ
(ความดูหมิ่นท่าน) ฯลฯ มทะ (ความมัวเมา) ฯลฯ ปมาทะ (ความประมาท) ฯลฯ
กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ กรรมอันเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวง เป็นสภาวะอย่างหนึ่ง
คำว่า สภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว อธิบายว่า กามฉันทะชื่อว่าสภาวะ
ต่าง ๆ เนกขัมมะชื่อว่าสภาวะเดียว พยาบาทชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อพยาบาทชื่อว่า
สภาวะเดียว ถีนมิทธะชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อาโลกสัญญาชื่อว่าสภาวะเดียว อุทธัจจะ
ชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อวิกเขปะชื่อว่าสภาวะเดียว วิจิกิจฉาชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ
ธัมมววัตถานชื่อว่าสภาวะเดียว อวิชชาชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ ญาณชื่อว่าสภาวะเดียว
อรติชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ ปามุชชะชื่อว่าสภาวะเดียว นิวรณ์ชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ
ปฐมฌานชื่อว่าสภาวะเดียว ฯลฯ กิเลสทั้งปวงชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อรหัตตมรรค
ชื่อว่าสภาวะเดียว
คำว่า เดช อธิบายว่า เดชมี ๕ คือ (๑) เดชคือศีลเครื่องดำเนินไป (๒) เดชคือคุณ
(๓) เดชคือปัญญา (๔) เดชคือบุญ (๕) เดชคือธรรม บุคคลผู้มีเดช ย่อมทำเดชคือ

เชิงอรรถ :
๑ สภาวะต่าง ๆ หมายถึงสภาวะที่คงที่ไม่แปรผันไปต่าง ๆ ตรงกันข้ามกับสภาวะเดียวที่คงที่ไม่แปรผันไป
(ขุ.ป.อ. ๑/๘๘/๓๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๘. วิริยารัมภญาณนิทเทส
ความเป็นผู้ทุศีลให้สิ้นไปด้วยเดชคือศีลเครื่องดำเนินไป ย่อมทำเดชมิใช่คุณให้สิ้น
ไปด้วยเดชคือคุณ ย่อมทำเดชคือความเป็นผู้มีปัญญาทรามให้สิ้นไปด้วยเดชคือปัญญา
ย่อมทำเดชมิใช่บุญให้สิ้นไปด้วยเดชคือบุญ ย่อมทำเดชคืออธรรมให้สิ้นไปด้วยเดช
คือธรรม
คำว่า ธรรมเครื่องขัดเกลา อธิบายว่า กามฉันทะมิใช่ธรรมเครื่อง
ขัดเกลา เนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา พยาบาทมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา
อพยาบาทเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ถีนมิทธะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา อาโลกสัญญา
เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อุทธัจจะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา อวิกเขปะเป็นธรรม
เครื่องขัดเกลา วิจิกิจฉามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ธัมมววัตถานเป็นธรรมเครื่อง
ขัดเกลา อวิชชามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ญาณเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อรติมิใช่
ธรรมเครื่องขัดเกลา ปามุชชะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา นิวรณ์มิใช่ธรรมเครื่อง
ขัดเกลา ปฐมฌานเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ฯลฯ กิเลสทั้งปวงมิใช่ธรรมเครื่อง
ขัดเกลา อรหัตตมรรคเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะแต่ละอย่าง สภาวะต่าง ๆ สภาวะ
เดียว และเดช ชื่อว่าสัลเลขัฏฐญาณ
สัลเลขัฏฐญาณนิทเทสที่ ๓๗ จบ
๓๘. วิริยารัมภญาณนิทเทส
แสดงวิริยารัมภญาณ
[๘๙] ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป ชื่อว่าวิริยารัมภ-
ญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อป้องกันบาปอกุศล-
ธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่
และจิตที่ส่งไป เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาใน
การประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ชื่อว่า
วิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อความดำรงมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๙. อัตถสันทัสสนญาณนิทเทส
ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า
วิริยารัมภญาณ
ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อป้องกันกามฉันทะที่ยัง
ไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิต
ที่ส่งไป เพื่อละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคอง
จิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำเนกขัมมะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยา-
รัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อความดำรงมั่น
ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งเนกขัมมะที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า
วิริยารัมภญาณ ฯลฯ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำกิเลส
ทั้งปวงที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่
หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อละกิเลสทั้งปวงที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ฯลฯ
ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำอรหัตตมรรคที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อ
ความดำรงมั่น ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งอรหัตตมรรค
ที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป
ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ
วิริยารัมภญาณนิทเทสที่ ๓๘ จบ
๓๙. อัตถสันทัสสนญาณนิทเทส
แสดงอัตถสันทัสสนญาณ
[๙๐] ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถสันทัสสนญาณ
(ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถ) เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมต่าง ๆ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
อปริยาปันนธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๐. ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทส
คำว่า ประกาศ อธิบายว่า ปัญญาย่อมประกาศรูปโดยความไม่เที่ยง ประกาศ
รูปโดยความเป็นทุกข์ ประกาศรูปโดยความเป็นอนัตตา ประกาศเวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ประกาศชราและมรณะโดย
ความไม่เที่ยง ประกาศชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ประกาศชราและมรณะโดย
ความเป็นอนัตตา
คำว่า การเห็นชัดซึ่งอรรถ อธิบายว่า พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะย่อมเห็นชัด
ซึ่งอรรถแห่งเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอพยาบาท เมื่อละ
ถีนมิทธะย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอาโลกสัญญา เมื่อละอุทธัจจะย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถ
แห่งอวิกเขปะ เมื่อละวิจิกิจฉาย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งธัมมววัตถาน เมื่อละอวิชชา
ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งญาณ เมื่อละอรติย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งปามุชชะ เมื่อละ
นิวรณ์ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งปฐมฌาน ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวงย่อมเห็นชัดซึ่ง
อรรถแห่งอรหัตตมรรค
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถ-
สันทัสสนญาณ
อัตถสันทัสสนญาณนิทเทสที่ ๓๙ จบ
๔๐. ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทส
แสดงทัสสนวิสุทธิญาณ
[๙๑] ปัญญาในการรวมธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหมวดเดียวกัน ในการรู้แจ้ง
สภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าทัสสนวิสุทธิญาณ (ญาณในความหมดจด
แห่งทัสสนะ) เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ๕ ฯลฯ๑ อปริยาปันนธรรม
คำว่า รวมเข้าเป็นหมวดเดียวกัน อธิบายว่า ธรรมทั้งปวงท่านรวมเข้าเป็น
หมวดเดียวกันโดยอาการ ๑๒ คือ โดยสภาวะที่เป็นของแท้ ๑ โดยสภาวะที่เป็น

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มข้อ ๘๗ หน้า ๑๔๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๐. ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทส
อนัตตา ๑ โดยสภาวะที่เป็นจริง ๑ โดยสภาวะที่รู้แจ้ง ๑ โดยสภาวะที่รู้ยิ่ง ๑ โดย
สภาวะที่กำหนดรู้ ๑ โดยสภาวะที่เป็นธรรม ๑ โดยสภาวะที่เป็นธาตุ ๑ โดย
สภาวะที่รู้ได้ ๑ โดยสภาวะที่ทำให้แจ้ง ๑ โดยสภาวะที่ถูกต้อง ๑ โดยสภาวะที่
ตรัสรู้ ๑ ธรรมทั้งปวงท่านสงเคราะห์เข้าเป็นหมวดเดียวกัน โดยอาการ ๑๒
อย่างนี้
คำว่า สภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว อธิบายว่า กามฉันทะชื่อว่าสภาวะ
ต่าง ๆ เนกขัมมะชื่อว่าสภาวะเดียว ฯลฯ๑ กิเลสทั้งปวงชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ
อรหัตตมรรคชื่อว่าสภาวะเดียว
คำว่า การรู้แจ้ง อธิบายว่า พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งทุกขสัจด้วยการกำหนดรู้
รู้แจ้งสมุทยสัจด้วยการละ รู้แจ้งนิโรธสัจด้วยการทำให้แจ้ง รู้แจ้งมัคคสัจด้วย
การเจริญ
คำว่า ความหมดจดแห่งทัสสนะ อธิบายว่า ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค
ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ทัสสนะหมดจดแล้ว ในขณะแห่ง
สกทาคามิมรรค ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งสกทาคามิผล ทัสสนะหมดจดแล้ว
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งอนาคามิผล ทัสสนะ
หมดจดแล้ว ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งอรหัตตผล
ทัสสนะหมดจดแล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการรวมธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหมวดเดียวกัน
ในการรู้แจ้งสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าทัสสนวิสุทธิญาณ
ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทสที่ ๔๐ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มข้อ ๘๘ หน้า ๑๔๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๒ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น