Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๑-๕ หน้า ๒๐๔ - ๒๕๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๕ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ...
พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
ก็ในอัตตานี้มีเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม
บุคคลพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง
กลิ่นหอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่น
หอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นสัญญา
... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็น
อย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาใน
อัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็น
อัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนา
ในอัตตาอย่างนี้ (๓-๗)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณา
เห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่า
อัตตาของเรานี้มีอยู่ในเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ฯลฯ ชื่อว่า
พิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณา
เห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในเวทนานี้”
ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็
ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ
มีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ
ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนาอย่างนี้
(๔-๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
[๑๓๓] ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสสชาสัญญา ... โสต-
สัมผัสสชาสัญญา ... ฆานสัมผัสสชาสัญญา ... ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา ... กาย-
สัมผัสสชาสัญญา ... พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาโดยความเป็นอัตตา คือ
พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาสัญญา
อันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลัง
ลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่าง
ก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณา
เห็นมโนสัมผัสสชาสัญญา และอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด
เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็น
อัตตาอย่างนี้ (๑-๙)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสัญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ...
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีสัญญาเพราะสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีสัญญา
ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง
เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ...
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตา
ของเราแต่ว่าอัตตาของเรานี้มีสัญญาเพราะสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตา
มีสัญญา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุ
เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสัญญาอย่างนี้ (๒-๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ...
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
ก็ในอัตตานี้มีสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม
บุคคลพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง
กลิ่นหอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณา
เห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณา
เห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ... พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามี
ความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณา
เห็นสัญญาในอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญา
เป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาในอัตตาอย่างนี้ (๓-๑๑)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ... พิจารณา
เห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา แก้วมณี
ที่ใส่ไว้ในขวด บุคคลพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็น
อย่างหนึ่ง ขวดก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้มีอยู่ในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็น
แก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็น
สังขาร ... วิญญาณ ... รูป ... พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความ
เห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในสัญญานี้” ชื่อว่า
พิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่
ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ
มีสัญญาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
สังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญาอย่างนี้ (๔-๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
[๑๓๔] ปุถุชนพิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ โสต-
สัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ
กายสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความเป็นอัตตา
คือ พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชา-
เจตนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเจตนาก็อันนั้น” เมื่อประทีป
น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า
“เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความ
เป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโน-
สัมผัสสชาเจตนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเจตนาก็อันนั้น” ทิฏฐิ
คือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตา-
นุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณา
เห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑-๑๓)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสังขาร เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มี
สังขารเพราะสังขารเหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีสังขาร ต้นไม้มีเงา บุรุษพึง
พูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง
แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคลบางคน
ในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความเป็น
อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีสังขาร
เพราะสังขารเหล่านี้” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขาร
เป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสังขารอย่างนี้ (๑-๑๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นสังขารในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีสังขาร
เหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นสังขารในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึง
ดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมก็เป็น
อย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา
สัญญา โดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ใน
อัตตานี้มีสังขารเหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นสังขารในอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่น
ถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง
ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นสังขารใน
อัตตาอย่างนี้ (๓-๑๕)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ใน
สังขารนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร แก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึง
แก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดก็เป็นอย่างหนึ่ง
แต่แก้วมณีนี้มีอยู่ในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคน
ในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่
ในสังขารเหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉา-
ทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร
อย่างนี้ (๔-๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
[๑๓๕] ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุวิญญาณ ... โสตวิญญาณ ... ฆาน-
วิญญาณ ... ชิวหาวิญญาณ ... กายวิญญาณ ... พิจารณาเห็นมโนวิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นมโนวิญญาณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโน-
วิญญาณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลัง
ลุกโพลงอยู่ บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด
แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็น
มโนวิญญาณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนวิญญาณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด
มโนวิญญาณก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณ
เป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑-๑๗)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็น
อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีวิญญาณ
เพราะวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึง
ต้นไม้นันอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้นี้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้น
ไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็นอัตตา เขามีความ
เห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีวิญญาณเพราะวิญญาณนี้”
ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ
วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตา-
นุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณอย่างนี้ (๒-๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็น
อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีวิญญาณเช่นนี้”
ชื่อว่าพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นว่า
“นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่ากลิ่น
หอมนี้ มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบาง
คนในโลกนี้ก็ฉันนั้นหมือนกัน พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็น
อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีวิญญาณนี้”
ชื่อว่าพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุ
ก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ
มีวิญญาณเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
สังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาอย่างนี้ (๓-๑๙)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่
ในวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ แก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึง
พูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดก็เป็น
อย่างหนึ่ง แต่ว่าแก้วมณีนี้มีอยู่ในในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร
โดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตา
ของเรานี้ มีอยู่ในวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ทิฏฐิคือความ
ยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง
ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ ฯลฯ อัตตา-
นุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็น
อัตตาในวิญญาณอย่างนี้
อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้ (๔-๒๐)
อัตตานุทิฏฐินิทเทสที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๓. มิจฉาทิฏฐินิทเทส
๓. มิจฉาทิฏฐินิทเทส
แสดงมิจฉาทิฏฐิ
[๑๓๖] มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “ทาน
ที่ให้แล้วไม่มีผล” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิด เป็นอาการที่ ๑ มิจฉาทิฏฐิเป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล” ฯลฯ “การเซ่นสรวง ไม่มีผล” ฯลฯ “ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดี
ทำชั่วไม่มี” ฯลฯ “โลกนี้ไม่มี” ฯลฯ “โลกหน้าไม่มี” ฯลฯ “มารดาไม่มี” ฯลฯ
“บิดาไม่มี” ฯลฯ “โอปปาติกสัตว์๑ไม่มี” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “สมณะและ
พราหมณ์ผู้พร้อมเพรียงกันปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามไม่มีในโลก” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีความเห็นผิดเป็นวัตถุ
เป็นอาการที่ ๑๐ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฏฐิ
ย่อมมีคติเป็น ๒ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
มิจฉาทิฏฐินิทเทสที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ โอปปาติกสัตว์ ในที่นี้หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซาก
ศพไว้ เช่นเทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑๗๑/๑๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๔. สักกายทิฏฐินิทเทส
๔. สักกายทิฏฐินิทเทส
แสดงสักกายทิฏฐิ
[๑๓๗] สักกายทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระ
อริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นอัตตา
บ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณา
เห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาต-
กสิณ โดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า
“โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีป
น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
พิจารณาเห็นโอทาตกสิณ โดยความเป็นอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ฯลฯ
นี้เป็นสักกายทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ สักกายทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
อย่างนี้ ฯลฯ
สักกายทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
สักกายทิฏฐินิทเทสที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๕. สัสสตทิฏฐินิทเทส
๕. สัสสตทิฏฐินิทเทส
แสดงสัสสตทิฏฐิ
[๑๓๘] สัสสตทิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕
อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นอัตตามี
รูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตามีเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีสัญญาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีสังขารบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตาในวิญญาณบ้าง
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีรูป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของ
เรานี้มีรูปเพราะรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีรูป ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้
นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้
มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ โดยความเป็นอัตตา นี้เป็นสัสสตทิฏฐิที่มี
สักกายะเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ สัสสตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีรูปอย่างนี้ ฯลฯ
สัสสตทิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕ อย่างนี้
สัสสตทิฏฐินิทเทสที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
๖. อุจเฉททิฏฐินิทเทส
แสดงอุจเฉททิฏฐิ
[๑๓๙] อุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตา พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็น
อัตตา พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็น
อัตตา
ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาต-
กสิณ โดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า
“โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมัน
กำลังลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด นี้เป็นอุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑
อุจเฉททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณา
เห็นรูปโดยความเป็นอัตตาอย่างนี้ ฯลฯ
อุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้
อุจเฉททิฏฐินิทเทสที่ ๖ จบ
๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
แสดงอันตัคคาหิกทิฏฐิ
[๑๔๐] อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” ฯลฯ “โลกมีที่สุด” ฯลฯ “โลกไม่มีที่สุด” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
“ชีวะ๑กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” ฯลฯ “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ฯลฯ
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก” ฯลฯ “หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก” ฯลฯ
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” มีความยึดมั่นด้วยอาการ
เท่าไร
คือ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ทิฏฐินั้นถือ
เอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่
ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิ
ว่า “โลกเที่ยง” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ฯลฯ “สัญญา
เป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ฯลฯ “สังขารเป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณ เป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ทิฏฐินั้น
ถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็
ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัค-
คาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” เป็นอาการที่ ๕ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
อย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะ หรือ อาตมัน (soul) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ทิฏฐินั้น
ถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นอันตัคคาหิก-
ทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ฯลฯ
“สัญญาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ฯลฯ “สังขารเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ทิฏฐิ
นั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า
“โลกไม่เที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๑๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
อย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเขียวให้เป็นอารมณ์แผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามี
ความเห็นอย่างนี้ว่า “โลกนี้มีที่สุดกลม” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกมีที่สุด ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไป
เป็นอัตตาและเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” เป็นอาการที่ ๑
อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเหลืองให้เป็นอารมณ์แผ่ไป ฯลฯ ทำสีแดงให้เป็น
อารมณ์แผ่ไป ฯลฯ ทำสีขาวให้เป็นอารมณ์แผ่ไป ฯลฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำแสงสว่างให้เป็นอารมณ์แผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย
เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “โลกนี้มีที่สุดกลม” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกมีที่สุด ทิฏฐิ
คือความยึดมั่นถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณ
แผ่ไปเป็นอัตตาและเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วย
อาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสกว้าง เขามีความเห็นอย่าง
นี้ว่า “โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิคือความ
ยึดมั่นถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไปเป็น
อัตตาและเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิก-
ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ
และวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิก-
ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเหลือง ฯลฯ สีแดง ฯลฯ สีขาว ฯลฯ บุคคล
บางคนในโลกนี้ทำแสงสว่างแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “โลก
นี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิคือความยึดมั่น
ถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไปเป็นอัตตา
และเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๒๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” มีความยึดมั่นด้วย
อาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นชีวะและเป็นสรีระ ชีวะอันใด สรีระ
ก็อันนั้น สรีระอันใด ชีวะก็อันนั้น” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน”
เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่
เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ “สัญญา
เป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ “สังขารเป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณเป็นชีวะและเป็นสรีระ ชีวะอันใด
สรีระก็อันนั้น สรีระอันใด ชีวะก็อันนั้น” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” มีความยึดมั่นด้วย
อาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ รูปนั้นเป็นสรีระ
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน”
เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ ...” ฯลฯ “สัญญา
เป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ ...” ฯลฯ “สังขารเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ วิญญาณนั้นเป็น
สรีระ ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่าง
กัน” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๓๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกบ้าง ดำรงอยู่บ้าง ถือกำเนิดบ้าง บังเกิดบ้าง”
ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ
วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็น
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี” เป็นอาการที่ ๑
อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...”
ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกบ้าง ดำรงอยู่บ้าง ถือกำเนิดบ้าง บังเกิดบ้าง” ทิฏฐิ
นั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัค-
คาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕
อย่างนี้ (๕-๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตย่อมขาดสูญ พินาศไป ไม่เกิดอีก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุด
เช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า
“หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีกก็มี” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...”
ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตย่อมขาดสูญ พินาศไป ไม่เกิดอีก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุด
เช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก
ตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๔๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...”
ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตาย
แล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๘. ปุพพันตานุทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็
มิใช่” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...”
ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” เป็นอาการที่ ๕ อันตัคคาหิกทิฏฐิ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” มีความยึดมั่นด้วยอาการ
๕ อย่างนี้
อันตัคคาหิกทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕๐ อย่างนี้ (๕๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทสที่ ๗ จบ
๘. ปุพพันตานุทิฏฐินิทเทส
แสดงปุพพันตานุทิฏฐิ
[๑๔๑] ปุพพันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง อะไรบ้าง
คือ สัสสตวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเที่ยง) มี ๔ ลัทธิ
เอกัจจสัสสติกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าบางอย่างเที่ยง) มี ๔ ลัทธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๙. อปรันตานุทิฏฐินิทเทส

อันตานันติกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด) มี ๔ ลัทธิ
อมราวิกเขปิกวาทะ (ลัทธิที่พูดหลบเลี่ยงไม่แน่นอนตายตัว) มี ๔ ลัทธิ
อธิจจสมุปปันนิกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นเองไม่มีเหตุ-
ปัจจัย) มี ๒ ลัทธิ

ปุพพันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้
ปุพพันตานุทิฏฐินิทเทสที่ ๘ จบ
๙. อปรันตานุทิฏฐินิทเทส
แสดงอปรันตานุทิฏฐิ
[๑๔๒] อปรันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่าง อะไรบ้าง

คือ สัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตามีสัญญา)
มี ๑๖ ลัทธิ
อสัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาไม่มีสัญญา)
มี ๘ ลัทธิ
เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตามีสัญญาก็
มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) มี ๘ ลัทธิ
อุจเฉทวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญ)
มี ๗ ลัทธิ
ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ (ลัทธิที่ถือว่ามีสภาวะบางอย่างเป็นนิพพานใน
ปัจจุบัน) มี ๕ ลัทธิ

อปรันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่างนี้
อปรันตานุทิฏฐินิทเทสที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๐-๑๒. สัญโญชนิกาทิทิฏฐินิทเทส
๑๐-๑๒. สัญโญชนิกาทิทิฏฐินิทเทส
แสดงสัญโญชนิกาทิทิฏฐิ
[๑๔๓] สัญโญชนิกาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การตกอยู่ในทิฏฐิ ๒. ความรกชัฏคือทิฏฐิ
ฯลฯ๑
๑๗. ความยึดมั่นคือทิฏฐิ ๑๘. ความถือมั่นคือทิฏฐิ
สัญโญชนิกาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้
[๑๔๔] มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “จักขุเป็นเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา”
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” เป็นอาการที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “โสตะเป็นเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา”
ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “ฆานะเป็นเรา” ฯลฯ “ชิวหาเป็นเรา” ฯลฯ “กาย
เป็นเรา” ฯลฯ “มโนเป็นเรา” ฯลฯ “รูปเป็นเรา” ฯลฯ “ธรรมารมณ์เป็นเรา” ฯลฯ
“จักขุวิญญาณเป็นเรา” ฯลฯ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “มโนวิญญาณเป็นเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า
“เป็นเรา” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง
ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” เป็นอาการที่ ๑๘ มานวินิพันธา-
ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ มานวินิพันธาทิฏฐิว่า
“เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้
[๑๔๕] มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘
อย่าง เป็นอย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มข้อ ๑๒๕ หน้า ๑๙๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๓. อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส
คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “จักขุของเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา”
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” เป็นอาการที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “โสตะของเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา”
ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “ฆานะของเรา” ฯลฯ “ชิวหาของเรา” ฯลฯ “มโน
ของเรา” ฯลฯ “ธรรมารมณ์ของเรา” ฯลฯ “จักขุวิญญาณของเรา” ฯลฯ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “มโนวิญญาณของเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า
“ของเรา” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” เป็นอาการที่ ๑๘
มานวินิพันธาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ มาน-
วินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้
สัญโญชนิกาทิทิฏฐินิทเทสที่ ๑๐-๑๒ จบ
๑๓. อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส
แสดงอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
[๑๔๖] อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระ
อริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตาในรูปบ้าง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ พิจารณา
เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณา
เห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาต-
กสิณโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๔. โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส
“โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เมื่อประทีปน้ำมัน
กำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ฯลฯ ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็น
อัตตา ฯลฯ นี้เป็นอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตวาท-
ปฏิสังยุตตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อัตตวาท-
ปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทสที่ ๑๓ จบ
๑๔. โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส
แสดงโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
[๑๔๗] โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง เป็น
อย่างไร
คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกเที่ยง” ชื่อว่าโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ
นี้เป็นโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ เป็นอาการที่ ๑ โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกไม่เที่ยง” ชื่อว่าโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกเที่ยงก็มี ไม่เที่ยงก็มี” ฯลฯ “อัตตาและ
โลกเที่ยงก็ไม่ใช่ ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่” ฯลฯ “อัตตาและโลกมีที่สุดก็มี” ฯลฯ “อัตตาและ
โลกไม่มีที่สุดก็มี” ฯลฯ “อัตตาและโลกมีที่สุดก็มีไม่มีที่สุดก็มี” ฯลฯ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่” ชื่อว่า
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุ
ก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ เป็นอาการที่ ๘
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่างนี้
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทสที่ ๑๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
แสดงภววิภวทิฏฐิ
[๑๔๘] ความยึดมั่นด้วยการติดอยู่ เป็นภวทิฏฐิ๑ ความยึดมั่นด้วยการแล่น
เลยไป เป็นวิภวทิฏฐิ๒
อัสสาททิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๓๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็น
วิภวทิฏฐิเท่าไร
อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็น
วิภวทิฏฐิเท่าไร ฯลฯ
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง เป็นภวทิฏฐิเท่าไร
เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร
คือ อัสสาททิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๓๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี
เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็น
วิภวทิฏฐิ ๕
มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด
สักกายทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็น
วิภวทิฏฐิ ๕
สัสสตทิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕ อย่าง เป็น
ภวทิฏฐิทั้งหมด
อุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
วิภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
ภวทิฏฐิทั้งหมด

เชิงอรรถ :
๑ ภวทิฏฐิ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๔๘/๗๐)
๒ วิภวทิฏฐิ หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๔๘/๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
วิภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
ภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
ภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” มีความยึดมั่นด้วย
อาการ ๕ อย่าง เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
อปรันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็น
วิภวทิฏฐิก็มี
สัญโญชนิกาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็น
วิภวทิฏฐิก็มี
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง เป็น
วิภวทิฏฐิทั้งหมด
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง เป็น
ภวทิฏฐิทั้งหมด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภว-
ทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี
เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
ทิฏฐิทั้งหมด เป็นอัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นสักกายทิฏฐิ เป็น
อันตัคคาหิกทิฏฐิ เป็นสัญโญชนิกาทิฏฐิ เป็นอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
ชนเหล่าใดกล่าวโดยการคาดคะเน
ยึดถือทิฏฐิทั้ง ๒ คือ ภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิ
ญาณในนิโรธย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น
สัตว์โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
มีสัญญาวิปริตว่าเป็นทุกข์ในนิโรธที่เป็นสุขใด
ในนิโรธนั้นไม่มีญาณ เพราะมีสัญญาวิปริต
ว่าเป็นทุกข์ ดังนี้
[๑๔๙] ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฏฐิ ๒ อย่างนี้กลุ้มรุมแล้ว
พวกหนึ่งติดอยู่ พวกหนึ่งแล่นเลยไป ส่วนผู้มีจักษุย่อมเห็น
เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งติดอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ จิตของเทวดาและ
มนุษย์เหล่านั้นย่อมแล่นเลยไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรมที่เราแสดง
เพื่อความดับภพ ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งติดอยู่อย่างนี้
เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไป เป็นอย่างไร
คือ เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง อึดอัด ระอา รังเกียจภพ ยินดีปรารถนาวิภพว่า
“ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่า เมื่อใด อัตตาหลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศไป เมื่อนั้น
อัตตาหลังจากตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก” เพราะฉะนั้น ความไม่เกิดอีกนี้ละเอียด
ประณีตตามที่มี ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไปอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
ส่วนผู้มีจักษุย่อมเห็น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นภูตะ๑โดยความเป็นภูตะ ครั้นแล้วย่อมปฏิบัติ
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับภูตะ ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีจักษุย่อมเห็น
อย่างนี้
ถ้าภิกษุใดเห็นภูตะโดยความเป็นภูตะ
และก้าวล่วงภูตะได้แล้ว
ย่อมน้อมไปในธรรมตามความเป็นจริง
เพราะความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา
ภิกษุนั้นกำหนดรู้ภูตะได้แล้ว
ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่
ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะไม่มีภูตะ ดังนี้
[๑๕๐] บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิวิบัติ บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิสมบัติ
บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. เดียรถีย์
๒. สาวกของเดียรถีย์
๓. บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
บุคคล ๓ จำพวกนี้มีทิฏฐิวิบัติ
บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคต
๒. สาวกของพระตถาคต
๓. บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ๓ จำพวกนี้

เชิงอรรถ :
๑ ภูตะ ในที่นี้หมายถึงทุกข์ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๔๙/๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
นรชนใดเป็นคนมักโกรธ
ผูกโกรธ มีความลบหลู่อันชั่วร้าย
มีทิฏฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์
พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นคนเลว
นรชนใดไม่เป็นคนมักโกรธ
ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน
ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ มีทิฏฐิสมบัติ มีปัญญา
พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้
ทิฏฐิวิบัติ ๓ ประการ ทิฏฐิสมบัติ ๓ ประการ
ทิฏฐิวิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐิวิบัติว่า “นั่นของเรา”
๒. ทิฏฐิวิบัติว่า “เราเป็นนั่น”
๓. ทิฏฐิวิบัติว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิวิบัติ ๓ ประการนี้
ทิฏฐิสมบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐิสมบัติว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา”
๒. ทิฏฐิสมบัติว่า “เราไม่เป็นนั่น”
๓. ทิฏฐิสมบัติว่า “นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
ทิฏฐิสมบัติ ๓ ประการนี้
การถือว่า “นั่นของเรา” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ
ส่วนสุดอันไหน
การถือว่า “เราเป็นนั่น” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ
ส่วนสุดอันไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
การถือว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้น
ตามถือส่วนสุดอันไหน
การถือว่า “นั่นของเรา” เป็นปุพพันตานุทิฏฐิ เป็นทิฏฐิ ๑๘ ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ
ขันธ์ส่วนอดีต
การถือว่า “เราเป็นนั่น” เป็นอปรันตานุทิฏฐิ เป็นทิฏฐิ ๔๔ ทิฏฐิเหล่านั้น
ตามถือขันธ์ส่วนอนาคต
การถือว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา” เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ เป็นสักกาย-
ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ทิฏฐิ ๖๒ มีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์
ส่วนอดีตและส่วนอนาคต
[๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีความเชื่อในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเหล่านั้น
๕ จำพวกสำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ
บุคคล ๕ จำพวกไหนสำเร็จในโลกนี้ คือ

๑. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน๑ ๒. โกลังโกลโสดาบัน๒
๓. เอกพีชีโสดาบัน๓ ๔. พระสกทาคามี๔
๕. พระอรหันต์ในปัจจุบัน

บุคคล ๕ จำพวกนี้สำเร็จในโลกนี้

เชิงอรรถ :
๑ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน หมายถึงพระโสดาบันผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการได้แล้ว เป็นผู้ไม่ตกไปใน
อบาย ๔ มีความแน่นอนที่จะตรัสรู้มรรค ๓ เบื้องสูง (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๓/๒๔๒) เมื่อจะเกิดในภพใหม่เป็นเทวดา
หรือมนุษย์ก็เกิดได้ไม่เกิน ๗ ครั้ง (อภิ.ปุ.(แปล) ๓๖/๓๑/๑๒๒, อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓)
๒ โกลังโกลโสดาบัน หมายถึงพระโสดาบันผู้เมื่อจะเกิดในภพใหม่เป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็เกิดได้ ๒ หรือ
๓ ภพ และถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็ไม่เกิดในตระกูลต่ำ คือเกิดในตระกูลที่มีโภคสมบัติมากเท่านั้น (อภิ.ปุ.(แปล)
๓๖/๓๑/๑๒๒-๓, อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕)
๓ เอกพีชีโสดาบัน หมายถึงผู้มีพืชคืออัตภาพเดียว คือเกิดครั้งเดียวก็จะบรรลุพระอรหันต์ (องฺ.ติก.อ.
๒/๘๘/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๘/๒๓๗)
๔ พระสกทาคามี หมายถึงผู้กลับมาสู่กามภพอีกครั้งเดียวด้วยสามารถปฏิสนธิ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๕๑/๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
บุคคล ๕ จำพวกไหนละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ คือ
๑. อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๑
๒. อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๒
๓. อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๓
๔. สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๔
๕. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีอนาคามีบุคคล๕
บุคคล ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีความเชื่อในเรา บุคคลเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเหล่านั้น ๕ จำพวกนี้
สำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้มีความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน
ในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้น ๕ จำพวก
สำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ

เชิงอรรถ :
๑ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือเกิดในสุทธาวาส
ภพใดภพหนึ่งแล้ว อายุยังไม่ถึงกึ่งก็ปรินิพพาน มี ๓ จำพวก คือ พวกที่ ๑ เกิดในชั้นสุทธาวาสอวิหาซึ่ง
มีอายุ ๑,๐๐๐ กัป แต่ก็บรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิด ถ้าไม่บรรลุในวันที่เกิดก็บรรลุภายใน ๑๐๐ กัป
พวกที่ ๒ เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิดก็บรรลุไม่เกินภายใน ๒๐๐ กัป พวกที่ ๓ บรรลุ
พระอรหัตตผลไม่เกินภายใน ๔๐๐ กัป (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๒ อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วจวนถึง
ปรินิพพาน คืออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงสิ้นอายุจึงปรินิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๓ อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก
(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๔ สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว
ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๕ อุทธังโสโตอกนิฏฐอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ คือเกิดใน
สุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็จะเกิดเลื่อนต่อไปจนถึงอกนิฏฐภพแล้วจึงปรินิพพานในภพนั้น (องฺ.ติก.อ.
๒/๘๘/๒๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
บุคคล ๕ จำพวกไหนสำเร็จในโลกนี้ คือ
๑. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน
๒. โกลังโกลโสดาบัน
๓. เอกพีชีโสดาบัน
๔. พระสกทาคามี
๕. พระอรหันต์ในปัจจุบัน
บุคคล ๕ จำพวกนี้สำเร็จในโลกนี้
บุคคล ๕ จำพวกไหนละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ คือ
๑. อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล
๒. อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล
๓. อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล
๔. สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล
๕. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีอนาคามีบุคคล
บุคคล ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน
ในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้น ๕ จำพวกนี้
สำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ
ภววิภวทิฏฐินิทเทสที่ ๑๕-๑๖ จบ
ทิฏฐิกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๑. คณนวาระ
๓. อานาปานัสสติกถา
ว่าด้วยสติกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก
๑. คณนวาระ
วาระว่าด้วยการนับ
[๑๕๒] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติอันมีวัตถุ
๑๖ ญาณเกินกว่า ๒๐๐ ย่อมเกิดขึ้น (คือ) ญาณในธรรมที่เป็นอันตราย ๘ ญาณ
ในธรรมที่เป็นอุปการะ ๘ ญาณในอุปกิเลส ๑๘ ญาณในโวทาน ๑๓ ญาณในการทำ
สติ ๓๒ ญาณด้วยอำนาจสมาธิ ๒๔ ญาณด้วยอำนาจวิปัสสนา ๗๒ นิพพิทาญาณ ๘
นิพพิทานุโลมญาณ ๘ นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ญาณในวิมุตติสุข ๒๑
ญาณในธรรมที่เป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมที่เป็นอุปการะ ๘ เป็น
อย่างไร คือ

กามฉันทะ เป็นอันตรายต่อสมาธิ เนกขัมมะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ
พยาบาท เป็นอันตรายต่อสมาธิ อพยาบาท เป็นอุปการะแก่สมาธิ
ถีนมิทธะ เป็นอันตรายต่อสมาธิ อาโลกสัญญา เป็นอุปการะแก่สมาธิ
อุทธัจจะ เป็นอันตรายต่อสมาธิ อวิกเขปะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ
วิจิกิจฉา เป็นอันตรายต่อสมาธิ ธัมมววัตถาน เป็นอุปการะแก่สมาธิ
อวิชชา เป็นอันตรายต่อสมาธิ ญาณ เป็นอุปการะแก่สมาธิ
อรติ เป็นอันตรายต่อสมาธิ ปามุชชะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ

อกุศลธรรมทั้งปวงเป็นอันตรายต่อสมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงเป็นอุปการะแก่สมาธิ
ญาณในธรรมที่เป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมที่เป็นอุปการะ ๘ เหล่านี้
คณนวาระที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๒. โสฬสญาณนิทเทส
๒. โสฬสญาณนิทเทส
แสดงญาณ ๑๖
[๑๕๓] จิตที่ฟุ้งซ่านและจิตที่สงบ ย่อมดำรงอยู่ในธรรมที่มีสภาวะเดียว
และย่อมหมดจดจากนิวรณ์ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้
ธรรมที่มีสภาวะเดียวเหล่านั้น อะไรบ้าง คือ
๑. เนกขัมมะ(การหลีกออกจากกาม) เป็นสภาวะเดียว
๒. อพยาบาท(ความไม่คิดร้าย) เป็นสภาวะเดียว
๓. อาโลกสัญญา(ความหมายรู้แสงสว่าง) เป็นสภาวะเดียว
๔. อวิกเขปะ(ความไม่ฟุ้งซ่าน) เป็นสภาวะเดียว
๕. ธัมมววัตถาน(การกำหนดธรรม) เป็นสภาวะเดียว
๖. ญาณ(ความรู้) เป็นสภาวะเดียว
๗. ปามุชชะ(ความปราโมทย์) เป็นสภาวะเดียว
๘. กุศลธรรมทั้งปวง เป็นสภาวะเดียว
บทว่า นิวรณ์ อธิบายว่า นิวรณ์เหล่านั้น อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) เป็นนิวรณ์
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย) เป็นนิวรณ์
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) เป็นนิวรณ์
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) เป็นนิวรณ์
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) เป็นนิวรณ์
๖. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) เป็นนิวรณ์
๗. อรติ (ความไม่ยินดี) เป็นนิวรณ์
๘. อกุศลธรรมทั้งปวง เป็นนิวรณ์
บทว่า นิวรณ์ อธิบายว่า ชื่อว่านิวรณ์ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่านิวรณ์ เพราะมีความหมายว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ธรรมเครื่องนำออกเหล่านั้น เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออก
ด้วยเนกขัมมะนั้น กามฉันทะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๒. โสฬสญาณนิทเทส
เนกขัมมะที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกกามฉันทะนั้นกั้นไว้
เพราะเหตุนั้น กามฉันทะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
อพยาบาท เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
อพยาบาทนั้น พยาบาท เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จัก
อพยาบาทที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกพยาบาทนั้นกั้นไว้
เพราะเหตุนั้น พยาบาทจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
อาโลกสัญญา เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออก
ด้วยอาโลกสัญญานั้น ถีนมิทธะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อม
ไม่รู้จักอาโลกสัญญาที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกถีนมิทธะ
นั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น ถีนมิทธะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
อวิกเขปะ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
อวิกเขปะนั้น อุทธัจจะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จัก
อวิกเขปะที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้
เพราะเหตุนั้น อุทธัจจะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ธัมมววัตถาน เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออก
ด้วยธัมมววัตถานนั้น วิจิกิจฉา เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อม
ไม่รู้จักธัมมววัตถานที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกวิจิกิจฉา
นั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น วิจิกิจฉาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ญาณ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
ญาณนั้น อวิชชาเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จักญาณที่เป็น
ธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชานั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น
อวิชชาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ปามุชชะ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
ปามุชชะนั้น อรติ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จักปามุชชะ
ที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกอรตินั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น
อรติจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
กุศลธรรมแม้ทั้งปวง เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อม
ออกด้วยกุศลธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวง เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
และบุคคลย่อมไม่รู้จักกุศลธรรมที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้
ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงจึงชื่อว่าเป็น
เครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
เมื่อพระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านี้ เจริญสมาธิที่ประกอบด้วย
อานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปเพียงชั่วขณะย่อมมีได้
โสฬสญาณนิทเทสที่ ๒ จบ
๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
แสดงญาณในอุปกิเลส
ปฐมฉักกะ
หมวดหก ที่ ๑
[๑๕๔] อุปกิเลส ๑๘ เหล่าไหนย่อมเกิดขึ้น
คือ เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจเข้าที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และ
ที่สุด๑ จิตที่ถึงความฟุ้งซ่านในภายใน ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจออกที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
จิตที่ถึงความฟุ้งซ่านในภายนอก ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
ความเป็นไปแห่งตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจเข้า ย่อมเป็นอันตรายต่อ
สมาธิ
ความเป็นไปแห่งตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจออก ย่อมเป็นอันตรายต่อ
สมาธิ

เชิงอรรถ :
๑ ฐานเบื้องต้น หมายถึงปลายจมูกหรือริมฝีปาก ฐานท่ามกลาง หมายถึงหทัย ฐานที่สุด หมายถึงสะดือ
(ขุ.ป.อ. ๒/๑๕๔/๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
ความหลงในการได้ลมหายใจออกของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ
ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
ความหลงในการได้ลมหายใจเข้าของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ
ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
สติไปตามลมหายใจเข้า ๑
สติไปตามลมหายใจออก ๑
ความหวัง (ลมหายใจเข้า) ที่ฟุ้งซ่านภายใน ๑
ความหวัง (ลมหายใจออก) ที่ฟุ้งซ่านภายนอก ๑
(ความหลงในการได้ลมหายใจออก
ของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ ๑
ความหลงในการได้ลมหายใจเข้า
ของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ ๑)
อุปกิเลส ๖ ประการนี้เป็นอันตราย
ต่อสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติ
และเป็นเหตุให้จิตของพระโยคาวจร
ผู้หวั่นไหวไม่หลุดพ้น
พระโยคาวจรทั้งหลายยังไม่เข้าใจวิโมกข์
จึงสมควรเชื่อบุคคลอื่น ฉะนี้แล
ทุติยฉักกะ
หมวดหก ที่ ๒
[๑๕๕] เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็น
อันตรายต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตราย
ต่อสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็นอันตราย
ต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตราย
ต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็น
อันตรายต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็น
อันตรายต่อสมาธิ
เมื่อคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
เมื่อคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตราย
ต่อสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติ
และเป็นเหตุให้จิตของพระโยคาวจร
ผู้หวั่นไหวไม่หลุดพ้น
พระโยคาวจรทั้งหลายยังไม่เข้าใจวิโมกข์
จึงสมควรเชื่อบุคคลอื่น ฉะนี้แล
ตติยฉักกะ
หมวดหก ที่ ๓
[๑๕๖] จิตที่แล่นไปในอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตราย
ต่อสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
จิตที่หวังอนาคตารมณ์ถึงความกวัดแกว่ง ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่หดหู่ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่มีความเพียรกล้า ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่น้อมรับตกไปข้างฝ่ายกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่ผละออกตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์
จิตที่หวังอนาคตารมณ์
จิตที่หดหู่ จิตที่มีความเพียรกล้า
จิตที่น้อมรับ จิตที่ผละออก ย่อมไม่ตั้งมั่น
อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตราย
ต่อสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติ
เป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความดำริเศร้าหมอง
ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล
[๑๕๗] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจเข้าที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง
และที่สุด
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน
ในภายใน
เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจออกที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้ง
ซ่านในภายนอก
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะความเป็นไปแห่ง
ตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะความเป็นไปแห่ง
ตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจออก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ เป็นผู้หลงในการได้ลมหายใจออก
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ เป็นผู้หลงในการได้ลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงนิมิต มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงนิมิต มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงลมหายใจออก มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงลมหายใจออก มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตแล่นไปตาม
อตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตหวังอนาคตารมณ์
ถึงความกวัดแกว่ง
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตหดหู่ตกไป
ข้างฝ่ายเกียจคร้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตมีความเพียรกล้า
ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตน้อมรับ ตกไป
ข้างฝ่ายกำหนัด
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตผละออก
ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท
ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปานสติ
กายและจิตของผู้นั้นย่อมหวั่นไหว
กายและจิตของผู้นั้นย่อมดิ้นรน
ส่วนผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปานสติดีแล้ว
กายและจิตของผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว
กายและจิตของผู้นั้นย่อมไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล
อนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญสมาธิที่ประกอบ
ด้วยอานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปเพียงชั่วขณะย่อมมีได้
อุปกิเลส ๑๘ ประการนี้ย่อมเกิดขึ้น
อุปกิเลสญาณนิทเทสที่ ๓ จบ
๔. โวทานญาณนิทเทส
แสดงญาณในโวทาน
[๑๕๘] ญาณในโวทาน ๑๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน พระโยคาวจร
ละจิตนั้นแล้วตั้งจิตไว้มั่นในฐานหนึ่ง
๒. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๓. จิตที่หวังอนาคตารมณ์ถึงความกวัดแกว่ง พระโยคาวจรเว้นจิตนั้น
แล้วน้อมจิตไปในฐานะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
๔. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๕. จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน พระโยคาวจรยกจิตนั้นไว้แล้ว
ละความเกียจคร้าน
๖. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๗. จิตที่มีความเพียรกล้า ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ พระโยคาวจรข่มจิตนั้น
แล้วละอุทธัจจะ
๘. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๙. จิตน้อมรับ ตกไปข้างฝ่ายกำหนัด พระโยคาวจรรู้ทันจิตนั้นแล้ว
ละความกำหนัด
๑๐. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๑๑. จิตผละออก ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท พระโยคาวจรรู้ทันจิตนั้นแล้วละ
พยาบาท
๑๒. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๑๓. จิตบริสุทธิ์ผุดผ่องถึงสภาวะเดียว ด้วยฐานะ ๖ ประการ๑นี้
ธรรมที่มีสภาวะเดียวเหล่านั้น เป็นอย่างไร
คือ ความปรากฏแห่งการบริจาคทาน เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่ง
สมถนิมิต เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม เป็นสภาวะเดียว
ความปรากฏแห่งความดับ เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งการบริจาคทานของ
บุคคลผู้น้อมใจไปในจาคะทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งสมถนิมิตของ
บุคคลผู้ประกอบในอธิจิตทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งลักษณะความ
เสื่อมของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งความ
ดับของพระอริยบุคคลทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว

เชิงอรรถ :
๑ ฐานะ ๖ ประการ หมายถึงข้อที่ ๑ กับข้อที่ ๒ จัดเป็นฐานะที่หนึ่ง, ข้อที่ ๓ กับข้อที่ ๔ จัดเป็นฐานะที่สอง,
ข้อที่ ๕ กับข้อที่ ๖ จัดเป็นฐานะที่สาม, ข้อที่ ๗ กับข้อที่ ๘ จัดเป็นฐานะที่สี่, ข้อที่ ๙ กับข้อที่ ๑๐ จัดเป็น
ฐานะที่ห้า, ข้อที่ ๑๑ กับข้อที่ ๑๒ จัดเป็นฐานะที่หก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
จิตที่ถึงสภาวะเดียวด้วยฐานะ ๔ นี้ ย่อมเป็นจิตที่มีปฏิปทาหมดจด
ผ่องใส เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา และถึงความร่าเริงด้วยญาณ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน อะไร
เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน
คือ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ความเพิ่มพูน
อุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน
ความหมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. จิตหมดจดจากอันตรายแห่งฌานนั้น
๒. จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด
๓. จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว
จิตหมดจดจากอันตราย ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะ
เป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความ
หมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌานมีลักษณะ ๓ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้นและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. เพ่งเฉยจิตที่หมดจด
๒. เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ
๓. เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌานเพ่งเฉยจิตที่หมดจด ๑
เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ ๑ เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว ๑ ความเพิ่ม
พูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน มีลักษณะ ๓ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในท่ามกลางและถึงพร้อมด้วยลักษณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในปฐมฌานนั้น
ไม่ล่วงเลยกัน
๒. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้น
เข้าไป
๔. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน มีลักษณะ ๔ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข
การอธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งทุติยฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งทุติยฌาน อะไรเป็น
ที่สุดแห่งทุติยฌาน
คือ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งทุติยฌาน ความเพิ่มพูนอุเบกขา
เป็นท่ามกลางแห่งทุติยฌาน ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยปีติ สุข การอธิษฐานจิต สัทธา
วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งตติยฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งตติยฌาน อะไรเป็น
ที่สุดแห่งตติยฌาน ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยสุข การอธิษฐานจิต
สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งจตุตถฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งจตุตถฌาน อะไรเป็น
ที่สุดแห่งจตุตถฌาน ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต
สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ อะไรเป็นท่ามกลางแห่ง
อากาสานัญจายตนสมาบัติ อะไรเป็นที่สุดแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อะไรเป็นท่ามกลาง
แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อะไรเป็นที่สุดแห่งเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต
ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนิจจานุปัสสนา อะไรเป็นท่ามกลางแห่งอนิจจานุปัสสนา
อะไรเป็นที่สุดแห่งอนิจจานุปัสสนา ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การ
อธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งทุกขานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนัตตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งนิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิราคานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งนิโรธานุปัสสนา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งขยานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวยานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิปริณามานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนิมิตตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอัปปณิหิตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งสุญญตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอาทีนวานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งปฏิสังขานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งโสดาปัตติมรรค ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค อะไรเป็นเป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค
อะไรเป็นที่สุดแห่งอรหัตตมรรค
ความหมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค ความเพิ่มพูน
อุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งอรหัตต-
มรรค ความหมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. จิตหมดจดจากอันตรายแห่งฌานนั้น
๒. จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด
๓. จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว
จิตหมดจดจากอันตราย ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะ
เป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
หมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะ ๓ ประการนี้ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อม
ด้วยลักษณะ
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. เพ่งเฉยจิตที่หมดจด
๒. เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ
๓. เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรคเพ่งเฉยจิตที่หมดจด ๑
เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ ๑ เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว ๑ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตตมรรคเป็นธรรมมีความงามในท่ามกลางและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในอรหัตตมรรค
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้น
เข้าไป
๔. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะ ๔ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตตมรรคเป็นธรรมมีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข
การอธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
[๑๕๙] นิมิต ลมหายใจเข้าหายใจออก
ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา
นิมิต ลมหายใจเข้าหายใจออก
ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
เพราะรู้ธรรม ๓ ประการ จึงได้ภาวนา ฉะนี้แล
ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เป็นธรรมไม่ปรากฏ
จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ เป็น
อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้บนพื้นดินที่ราบเรียบ บุรุษใช้เลื่อยตัดต้นไม้นั้น
ตั้งสติไว้ที่ฟันเลื่อยที่ถูกต้นไม้ ไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือ
ที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ นิมิต
ที่ผูกจิตไว้ เหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้บนพื้นดินที่ราบเรียบ ลมหายใจเข้าหายใจออก
เหมือนฟันเลื่อย ภิกษุนั่งตั้งสติไว้มั่นที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปาก ไม่ได้ใส่ใจถึงลม
หายใจเข้าหายใจออกที่เข้ามาหรือออกไป ลมหายใจเข้าหายใจออก ที่เข้ามาหรือ
ออกไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ
เหมือนบุรุษนั่งตั้งสติไว้ที่ฟันเลื่อยที่ถูกต้นไม้ ไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป
ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและ
บรรลุผลวิเศษ ฉะนั้น
ประธาน เป็นอย่างไร
คือ กายและจิตของภิกษุผู้มีความเพียร ย่อมควรแก่การงาน นี้เป็นประธาน
ประโยค เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้มีความเพียร ย่อมละอุปกิเลส๑ได้ วิตกย่อมสงบไป นี้เป็นประโยค

เชิงอรรถ :
๑ อุปกิเลส หมายถึงนิวรณ์ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๕๙/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
ผลวิเศษ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้มีความเพียรย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมถึงความพินาศไป นี้เป็น
ผลวิเศษ
ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียวอย่างนี้ และ
ธรรม ๓ ประการนี้จะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ประธานปรากฏ
ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ
[๑๖๐] บุคคลใด ภาวนาอานาปานสติดีแล้ว บริบูรณ์แล้ว
อบรมแล้วตามลำดับ ตามสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
บุคคลนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว
เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก ฉะนั้น
คำว่า อานะ อธิบายว่า ลมหายใจเข้า ไม่ใช่ลมหายใจออก
คำว่า อปานะ อธิบายว่า ลมหายใจออก ไม่ใช่ลมหายใจเข้า สติเข้าไปตั้ง
อยู่ที่ลมหายใจเข้าหายใจออก ผู้ใดหายใจเข้า สติย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น ผู้ใดหายใจออก
สติย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น
คำว่า บริบูรณ์แล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมีความหมายว่าถือเอา
รอบ ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมีความหมายว่ารวมไว้ ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมี
ความหมายว่าเต็มรอบแล้ว
คำว่า ภาวนา...ดีแล้ว อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
ภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่
ธรรมนั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
ความหมายแห่งภาวนา ๔ ประการนี้ เป็นอันภิกษุนั้นทำให้เป็นดุจยาน ทำให้
เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว
คำว่า ทำให้เป็นดุจยาน อธิบายว่า ภิกษุนั้นหวังในธรรมใด ๆ ย่อมเป็นผู้ถึง
ความชำนาญ มีกำลัง๑ ถึงความแกล้วกล้าในธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมที่
เนื่องด้วยความคำนึงถึง เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นดุจยาน
คำว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง อธิบายว่า จิตตั้งมั่นดีในวัตถุใด ๆ สติก็ปรากฏดีใน
วัตถุนั้น ๆ หรือสติปรากฏดีในวัตถุใด ๆ จิตก็ตั้งมั่นดีในวัตถุนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง
คำว่า น้อมไป อธิบายว่า จิตน้อมไปด้วยอาการใด ๆ สติก็หมุนไปตาม (คุมอยู่)
ด้วยอาการนั้น ๆ ก็หรือว่า สติหมุนไปด้วยอาการใด ๆ จิตก็น้อมไปด้วยอาการนั้น ๆ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า น้อมไป
คำว่า อบรมแล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมีความหมายว่า
ถือเอารอบ ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมีความหมายว่ารวมไว้ ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมี
ความหมายว่าเต็มรอบ ภิกษุกำหนดถือเอาด้วยสติ ย่อมชนะบาปอกุศลธรรมได้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อบรมแล้ว
คำว่า ปรารภเสมอดีแล้ว อธิบายว่า ภาวนา ๔ อย่าง ภิกษุปรารภเสมอ
ดีแล้ว คือ
๑. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
ภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรส
เป็นอย่างเดียวกัน
๓. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควร
แก่ธรรมนั้นเข้าไป

เชิงอรรถ :
๑ มีกำลัง ในที่นี้หมายถึงมีกำลังคือสมถะและวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๐/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
๔. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะเพิกถอนกิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นข้าศึกแก่
ธรรมนั้น
[๑๖๑] คำว่า เสมอดี อธิบายว่า ความเสมอก็มี ความเสมอดีก็มี
ความเสมอ เป็นอย่างไร
คือ กุศลธรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ เกิดในธรรมนั้น เป็นฝ่ายแห่งความตรัสรู้
นี้ชื่อว่าความเสมอ
ความเสมอดี เป็นอย่างไร
คือ ความดับอารมณ์แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นนิพพาน นี้ชื่อว่าความเสมอดี
ก็ความเสมอและความเสมอดี ดังนี้ ภิกษุนั้นรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้
แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ความเพียรภิกษุนั้นปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน
สติตั้งมั่น ไม่หลงลืม กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตารมณ์
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปรารภเสมอดีแล้ว
คำว่า อบรมแล้วตามลำดับ อธิบายว่า ภิกษุนั้นอบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ
ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อบรม
อานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติ
ข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น
ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ
ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อบรม
อานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติ
ข้อหลัง ๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ
ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ
สละคืนหายใจออก ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อานาปานสติ
อันมีวัตถุ ๑๖ แม้ทั้งปวงอาศัยกัน ภิกษุนั้นอบรมแล้วและอบรมแล้วตามลำดับ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อบรมแล้วตามลำดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
คำว่า ตามสภาวะ อธิบายว่า ตามสภาวะมีความหมาย ๑๐ อย่าง คือ
๑. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าฝึกตน
๒. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าสงบตน
๓. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ปรินิพพาน
๔. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ารู้ยิ่ง
๕. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ากำหนดรู้
๖. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าละ
๗. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าเจริญ
๘. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าทำให้แจ้ง
๙. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าตรัสรู้สัจจะ
๑๐. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ตั้งอยู่ในนิโรธ
คำว่า พระพุทธเจ้า อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นพระสยัมภู ไม่มี
ครูอาจารย์ ได้ตรัสรู้สัจจะในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนด้วยพระองค์เอง ทรงบรรลุ
ความเป็นพระสัพพัญญูในสัจจะนั้นและถึงความเป็นผู้ทรงชำนาญในพลญาณทั้งหลาย
[๑๖๒] คำว่า พระพุทธเจ้า อธิบายว่า ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะมีความ
หมายว่าอย่างไร คือ
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลายแล้ว
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงทำหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระสัพพัญญู
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะไม่มีคนอื่นแนะนำ
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เบิกบาน
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระขีณาสพ
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ปราศจากอุปกิเลส
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะเสด็จถึงทางสายเอก
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณลำพังพระองค์เดียว
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ขจัดความไม่รู้ได้แล้ว เพราะทรงเป็นผู้ได้
เฉพาะซึ่งความรู้
คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่พระภาดา
ทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติสาโลหิตทรงตั้ง มิใช่
สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง
คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม๑ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๒ของพระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย เกิดขึ้นพร้อมกับการทรงได้เฉพาะซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ
ที่โคนต้นโพธิ์ รวมความว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น๓
คำว่า ทรงแสดงไว้ อธิบายว่า ตามสภาวะที่มีความหมายว่าฝึกตน ชื่อว่า
พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ ตามสภาวะที่มีความหมายว่าสงบตน ชื่อว่า
พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ปรินิพพาน
ชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ ฯลฯ ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตน
ให้ตั้งอยู่ในนิโรธ ชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ
คำว่า บุคคลนั้น อธิบายว่า ผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ หรือผู้ที่เป็นบรรพชิต
คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก วิปัตติ-
สัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติวิภวโลก
โลก ๑ คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร ฯลฯ
โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘

เชิงอรรถ :
๑ วิโมกขันติกนาม หมายถึงพระนามที่เกิดในที่สุดแห่งอรหัตตผล (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๒/๑๐๐)
๒ สัจฉิกาบัญญัติ หมายถึงการทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล อีกนัยหนึ่งคือบัญญัติที่เกิดด้วยการทำให้แจ้งซึ่งธรรม
ทั้งปวง (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๒/๑๐๐)
๓ ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๙๒/๕๕๑-๕๕๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า ให้สว่างไสว อธิบายว่า บุคคลนั้นทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง เพราะ
เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่าฝึกตน ทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง
เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่าสงบตน ทำโลกนี้ให้สว่างไสว
แจ่มแจ้ง เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ปรินิพพาน
ฯลฯ ทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความ
หมายว่ายังตนให้ตั้งอยู่ในนิโรธ
คำว่า เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก อธิบายว่า กิเลสเหมือนหมอก
อริยญาณเหมือนดวงจันทร์ ภิกษุเหมือนจันทิมเทพบุตร ภิกษุพ้นจากกิเลสทั้งปวง
แล้ว ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เปล่งปลั่ง และรุ่งเรือง เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก
พ้นจากควันและธุลี พ้นจากฝ่ามือราหู ทำโอกาสโลกให้สว่างไสว เปล่งปลั่ง และ
รุ่งเรืองฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก
ญาณในโวทาน ๑๓ ประการนี้
โวทานญาณนิทเทสที่ ๔ จบ
ภาณวารจบ
๕. สโตการิญาณนิทเทส
แสดงญาณในการทำสติ
[๑๖๓] ญาณในการทำสติ ๓๒ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในที่นี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์๑
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นมีสติหายใจเข้ามีสติหายใจออก คือ
๑. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
๒. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
๓. เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
๔. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น

เชิงอรรถ :
๑ นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งเรียกว่า นั่งขัดสมาธิ (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น