Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๑-๔ หน้า ๑๕๓ - ๒๐๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๒. ปริโยคาหนญาณนิทเทส
๔๑. ขันติญาณนิทเทส
แสดงขันติญาณ
[๙๒] ปัญญาที่รู้ชัด ชื่อว่าขันติญาณ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง รูปที่รู้ชัดโดยความเป็นทุกข์ รูปที่รู้ชัดโดยความ
เป็นอนัตตา รูปใด ๆ ที่พระโยคาวจรรู้ชัดแล้ว รูปนั้น ๆ พระโยคาวจรย่อมพอใจ
เพราะฉะนั้น ปัญญาที่รู้ชัด จึงชื่อว่าขันติญาณ
เวทนาที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขุที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ ชราและมรณะที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง
ชราและมรณะที่รู้ชัดโดยความเป็นทุกข์ ชราและมรณะที่รู้ชัดโดยความเป็นอนัตตา
ชราและมรณะใด ๆ ที่พระโยคาวจรรู้ชัดแล้ว ชราและมรณะนั้น ๆ พระโยคาวจร
ย่อมพอใจ เพราะฉะนั้น ปัญญาที่รู้ชัด จึงชื่อว่าขันติญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่รู้ชัด ชื่อว่าขันติญาณ
ขันติญาณนิทเทสที่ ๔๑ จบ
๔๒. ปริโยคาหนญาณนิทเทส
แสดงปริโยคาหนญาณ
[๙๓] ปัญญาที่ถูกต้องธรรม ชื่อว่าปริโยคาหนญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาย่อมถูกต้องรูปโดยความไม่เที่ยง ถูกต้องรูปโดยความเป็นทุกข์
ถูกต้องรูปโดยความเป็นอนัตตา ถูกต้องรูปใด ๆ ก็หยั่งลงสู่รูปนั้น ๆ เพราะฉะนั้น
ปัญญาที่ถูกต้องธรรม จึงชื่อว่าปริโยคาหนญาณ
ปัญญาย่อมถูกต้องเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
ปัญญาย่อมถูกต้องจักขุ ฯลฯ ปัญญาย่อมถูกต้องชราและมรณะโดยความ
ไม่เที่ยง ถูกต้องชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ถูกต้องชราและมรณะโดยความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๓. ปเทสวิหารญาณนิทเทส
เป็นอนัตตา ถูกต้องชราและมรณะใด ๆ ก็หยั่งลงสู่ชราและมรณะนั้น ๆ เพราะฉะนั้น
ปัญญาที่ถูกต้องธรรม จึงชื่อว่าปริโยคาหนญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่ถูกต้องธรรม ชื่อว่าปริโยคาหนญาณ
ปริโยคาหนญาณนิทเทสที่ ๔๒ จบ
๔๓. ปเทสวิหารญาณนิทเทส
แสดงปเทสวิหารญาณ

[๙๔] ปัญญาในการรวมปัจจัย ชื่อว่าปเทสวิหารญาณ เป็นอย่างไร คือ
เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

ฯลฯ

เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งฉันทะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะวิตกเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
เพราะความสงบไปแห่งวิตกเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะสัญญาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งสัญญาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมไม่สงบไปเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะเป็นธรรมสงบไป แต่วิตกและสัญญาเป็นธรรมไม่สงบไปเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะและวิตกเป็นธรรมสงบไป แต่สัญญาเป็นธรรมไม่สงบไปเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมสงบไปเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
อาสวะ๑เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุมีอยู่ แต่เพราะยังไม่ได้บรรลุฐานะนั้น
เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการรวมปัจจัย ชื่อว่าปเทสวิหารญาณ
ปเทสวิหารญาณนิทเทสที่ ๔๓ จบ
๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
แสดงญาณในการหลีกออก ๖ อย่าง
[๙๕] ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาที่มีเนกขัมมะเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากกามฉันทะด้วยสัญญา
(ความหมายรู้) เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ
ปัญญาที่มีอพยาบาทเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากพยาบาทด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น
ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีอาโลกสัญญา
เป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรม

เชิงอรรถ :
๑ อาสวะ ในที่นี้หมายถึงวิริยะ (ความเพียร) (ขุ.ป.อ. ๑/๙๔/๓๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
เป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีอวิกเขปะเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออก
จากอุทธัจจะด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า
สัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีธัมมววัตถานเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากวิจิกิจฉา
ด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ
ปัญญาที่มีญาณเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากอวิชชาด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญา
ที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีปามุชชะเป็นใหญ่
ย่อมหลีกออกจากอรติด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่
จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีปฐมฌานเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากนิวรณ์
ด้วยสัญญา ฯลฯ ปัญญาที่มีอรหัตตมรรคเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง
ด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญา-
วิวัฏฏญาณ
[๙๖] ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นสภาวะต่าง ๆ เนกขัมมะเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงเนกขัมมะที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกามฉันทะ เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
พยาบาทเป็นสภาวะต่าง ๆ อพยาบาทเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงอพยาบาทที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากพยาบาท เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
ถีนมิทธะเป็นสภาวะต่าง ๆ อาโลกสัญญาเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงอาโลกสัญญาที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะ เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ ฯลฯ
กิเลสทั้งปวงเป็นสภาวะต่าง ๆ อรหัตตมรรคเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงอรหัตตมรรคที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
[๙๗] ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ
เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เมื่อละพยาบาท
ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐาน
จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งอาโลก-
สัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เมื่อละกิเลส
ทั้งปวง ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น ปัญญาในการ
อธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ
[๙๘] ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า “จักขุว่างจาก
อัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่
หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา” ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม
เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมที่ว่าง จึงชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ
เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า “โสตะว่าง ฯลฯ
ฆานะว่าง ฯลฯ ชิวหาว่าง ฯลฯ กายว่าง ฯลฯ มโนว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่ หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา” ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาใน
ธรรมที่ว่าง จึงชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
[๙๙] ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรสละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในความ
สละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละพยาบาทด้วยอพยาบาท เพราะฉะนั้น ปัญญา
ในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา เพราะ
ฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ
เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละวิจิกิจฉา
ด้วยธัมมววัตถาน เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ
สละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่า
วิโมกขวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ
[๑๐๐] ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อกำหนดรู้สภาวะที่บีบคั้น สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่ง
สภาวะที่ทำให้เดือดร้อน สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ
เมื่อละสภาวะที่ประมวลมา สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เกี่ยวข้อง สภาวะที่
พัวพันแห่งสมุทัย ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่า
สัจจวิวัฏฏญาณ
เมื่อทำให้แจ้งสภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออก สภาวะที่เป็นวิเวก สภาวะที่เป็น
อสังขตะ สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้
จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ
เมื่อเจริญสภาวะที่นำออก สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เห็น สภาวะที่เป็นใหญ่
แห่งมรรค ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ สัจจวิวัฏ
พระโยคาวจรเมื่อหมายรู้ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏ เมื่อคิด
ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏ เมื่อรู้แจ้งย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏ เมื่อกระทำญาณย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าญาณวิวัฏ
เมื่อสละย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏ ย่อมหลีกไปในสภาวะแท้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีเจโตวิวัฏ ในขณะ
แห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีญาณวิวัฏ ในขณะ
แห่งมรรคใดมีญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่ง
มรรคนั้นย่อมมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้น
ย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญา-
วิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมี
สัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ
เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ
ฉวิวัฏฏญาณนิทเทสที่ ๔๔-๔๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๐. อิทธิวิธญาณนิทเทส
๕๐. อิทธิวิธญาณนิทเทส
แสดงอิทธิวิธญาณ
[๑๐๑] ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จด้วยการกำหนดกาย (ของตน) และจิต
(มีฌานเป็นบาท) เข้าด้วยกัน ด้วยอำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา
ชื่อว่าอิทธิวิธญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
(สมาธิที่เกิดจากฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วย
วิริยสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากวิริยะและความเพียรสร้างสรรค์)เจริญอิทธิบาท
ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจากจิตตะและความเพียรสร้างสรรค์)
เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจากวิมังสาและ
ความเพียรสร้างสรรค์) ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิตทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมตั้งกายไว้ในจิตบ้าง ตั้งจิตไว้ในกายบ้าง น้อมจิต
ไปด้วยอำนาจกายบ้าง น้อมกายไปด้วยอำนาจจิตบ้าง อธิษฐานจิตด้วยอำนาจกาย
บ้าง อธิษฐานกายด้วยอำนาจจิตบ้าง ครั้นน้อมจิตไปด้วยอำนาจกาย น้อมกายไป
ด้วยอำนาจจิต อธิษฐานจิตด้วยอำนาจกาย อธิษฐานกายด้วยอำนาจจิตแล้ว ย่อมให้
สุขสัญญาและลหุสัญญาหยั่งลงในกายอยู่ เธอมีจิตอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำจิตไปเพื่ออิทธิวิธญาณ เธอย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง
[๑๐๒] คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้
แสดงให้ปรากฏก็ได้ หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดย
ที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไป
ก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้
อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จด้วยการกำหนดกาย (ของตน)
และจิต (มีฌานเป็นบาท) เข้าด้วยกันด้วยอำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา
ชื่อว่าอิทธิวิธญาณ
อิทธิวิธญาณนิทเทสที่ ๕๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๑. โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส
๕๑. โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส
แสดงโสตธาตุวิสุทธิญาณ
[๑๐๓] ปัญญาในการหยั่งลงสู่สัททนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว
ด้วยอำนาจการแผ่วิตกไป ชื่อว่าโสตธาตุวิสุทธิญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาท
ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขาร ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้แล้ว ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายในที่ไกลบ้าง
ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายในที่ใกล้บ้าง ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียง
ทั้งหลายหยาบบ้าง ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายละเอียดบ้าง ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายละเอียดอย่างยิ่ง ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย
ทั้งทางทิศบูรพา ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศปัจฉิม ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศอุดร ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้ง
ทางทิศทักษิณ ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศอาคเนย์ ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศพายัพ ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย
ทั้งทางทิศอีสาน ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศหรดี ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศเบื้องต่ำ ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย
ทั้งทางทิศเบื้องบน เธอมีจิตอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำ
จิตไปเพื่อโสตธาตุวิสุทธิญาณ ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่
อยู่ไกลและใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการหยั่งลงสู่สัททนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ
และสภาวะเดียว ด้วยอำนาจการแผ่วิตกไป ชื่อว่าโสตธาตุวิสุทธิญาณ
โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทสที่ ๕๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๒. เจโตปริยญาณนิทเทส
๕๒. เจโตปริยญาณนิทเทส
แสดงเจโตปริยญาณ
[๑๐๔] ปัญญาในการหยั่งลงสู่วิญญาณจริยาที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะ
เดียว ด้วยอำนาจความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพราะการแผ่ไปแห่งจิต ๓
ประเภท ชื่อว่าเจโตปริยญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่
ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขาร ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมรู้ว่า “รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโสมนัสสินทรีย์
รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโทมนัสสินทรีย์ รูปนี้เกิดขึ้นด้วยอุเปกขินทรีย์” เธอมีจิตอบรมแล้ว
อย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้
ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจของตน คือจิตมีราคะก็รู้ว่า “จิตมีราคะ” หรือจิต
ปราศจากราคะก็รู้ว่า “จิตปราศจากราคะ” จิตมีโทสะก็รู้ว่า “จิตมีโทสะ” หรือจิต
ปราศจากโทสะก็รู้ว่า “จิตปราศจากโทสะ” จิตมีโมหะก็รู้ว่า “จิตมีโมหะ” หรือจิต
ปราศจากโมหะก็รู้ว่า “จิตปราศจากโมหะ” จิตหดหู่ก็รู้ว่า “จิตหดหู่” หรือจิตฟุ้งซ่าน
ก็รู้ว่า “จิตฟุ้งซ่าน” จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่า “จิตเป็นมหัคคตะ” หรือจิตไม่เป็น
มหัคคตะก็รู้ว่า “จิตไม่เป็นมหัคคตะ” จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า “จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า”
หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า “จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า” จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า “จิตเป็น
สมาธิ” หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า “จิตไม่เป็นสมาธิ” จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า “จิตหลุดพ้น”
หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า “จิตไม่หลุดพ้น” จิตน้อมไปก็รู้ว่า “จิตน้อมไป” หรือจิตไม่
น้อมไปก็รู้ว่า “จิตไม่น้อมไป”
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการหยั่งลงสู่วิญญาณจริยาที่มีสภาวะ
ต่าง ๆ และสภาวะเดียว ด้วยอำนาจความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพราะการ
แผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท ชื่อว่าเจโตปริยญาณ
เจโตปริยญาณนิทเทสที่ ๕๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๓. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนิทเทส
๕๓. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนิทเทส
แสดงปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
[๑๐๕] ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตามปัจจัยด้วยอำนาจ
การแผ่ไปแห่งกรรมที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าปุพเพนิวาสา-
นุสสติญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาท
ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขาร ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะ
สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้”
เธอมีจิตอบรมแล้วอย่างนี้ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำจิตไป เพื่อ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมาก
บ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า “ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุข ทุกข์และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึง
มาเกิดในภพนี้ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๔. ทิพพจักขุญาณนิทเทส
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตาม
ปัจจัย ด้วยอำนาจการแผ่ไปแห่งกรรมที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่า
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนิทเทสที่ ๕๓ จบ
๕๔. ทิพพจักขุญาณนิทเทส
แสดงทิพพจักขุญาณ
[๑๐๖] ปัญญาในการเห็นรูปนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ด้วย
อำนาจแสงสว่าง ชื่อว่าทิพพจักขุญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่
ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขาร ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมใส่ใจถึงอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็น
กลางวัน มีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ เจริญจิตให้มีแสงสว่างว่า กลางวันฉันใด
กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตอบรมแล้วอย่างนั้น
บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ
กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวน
ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๕. อาสวักขยญาณนิทเทส
เห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติ โลกสวรรค์” เธอเห็นหมู่สัตว์
ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตา
ทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการเห็นรูปนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และ
สภาวะเดียว ด้วยอำนาจแสงสว่าง ชื่อว่าทิพพจักขุญาณ
ทิพพจักขุญาณนิทเทสที่ ๕๔ จบ
๕๕. อาสวักขยญาณนิทเทส
แสดงอาสวักขยญาณ
[๑๐๗] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔
ชื่อว่าอาสวักขยญาณ เป็นอย่างไร
คือ อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง ได้แก่
๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเรา
จักรู้สัจธรรมที่ยังไม่รู้)
๒. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาอันรู้ทั่วถึง)
๓. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว)
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร
อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค
อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล
อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค
อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ อรหัตตผล
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมี
ความน้อมไปเป็นบริวาร มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๕. อาสวักขยญาณนิทเทส
มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์
ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์
ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลัง
เป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ยกเว้นรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นกุศล ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นธรรมเครื่องนำออก ทั้งหมดเป็น
เครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพานเป็นอารมณ์
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการ
นี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่
อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน
ประกอบด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการและเป็นบริวารของอนัญญาตัญญัสสามี-
ตินทรีย์นั้น
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมไปเป็นบริวาร
มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร
มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร
มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร
มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งโสดาปัตติผล ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพาน
เป็นอารมณ์
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมี
สหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกัน
เป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน
ประกอบด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการ และเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ
ในขณะแห่งสกทาคามิผล ฯลฯ
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ
ในขณะแห่งอนาคามิผล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๕. อาสวักขยญาณนิทเทส
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมไปเป็นบริวาร
มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร
มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร
มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มี
ชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งอรหัตตมรรค ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นกุศล ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นธรรมเครื่องนำออก ทั้งหมดเป็น
เครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพานเป็นอารมณ์
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาต
ธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร
มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบ
ด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการ และเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น
ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมไปเป็นบริวาร
มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร
มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร
มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร
มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งอรหัตตผล ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพาน
เป็นอารมณ์
ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมีสหชาต-
ธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร
มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบ
ด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘
รวม ๘ หมวดนี้ จึงเป็นอาการ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้
คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง
คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๖-๖๓. สัจจญาณจตุกกทวยนิทเทส
อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์
ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง
โสดาปัตติมรรคนี้
กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้นย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้
ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ
โดยอาการ ๖๔ ชื่อว่าอาสวักขยญาณ
อาสวักขยญาณนิทเทสที่ ๕๕ จบ
๕๖-๖๓. สัจจญาณจตุกกทวยนิทเทส
แสดงญาณในสัจจะ ๔ สองหมวด
[๑๐๘] ปัญญาในสภาวะที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าทุกขญาณ ปัญญาใน
สภาวะที่ควรละ ชื่อว่าสมุทยญาณ ปัญญาในสภาวะที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่า
นิโรธญาณ ปัญญาในสภาวะที่ควรเจริญ ชื่อว่ามัคคญาณ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่บีบคั้น สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่ง สภาวะที่ทำให้เดือดร้อน
สภาวะที่แปรผัน สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์
สภาวะที่ประมวลมา สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เกี่ยวข้อง สภาวะที่พัวพัน
สภาวะที่ควรละแห่งสมุทัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๖-๖๓. สัจจญาณจตุกกทวยนิทเทส
สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออก สภาวะที่เป็นวิเวก สภาวะที่เป็นอสังขตะ สภาวะ
ที่เป็นอมตะ สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งนิโรธ
สภาวะที่นำออก สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เห็น สภาวะที่เป็นใหญ่ สภาวะที่
ควรเจริญแห่งมรรค
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่า
ทุกขญาณ ปัญญาในสภาวะที่ควรละ ชื่อว่าสมุทยญาณ ปัญญาในสภาวะที่ควรทำ
ให้แจ้ง ชื่อว่านิโรธญาณ ปัญญาในสภาวะที่ควรเจริญ ชื่อว่ามัคคญาณ
[๑๐๙] ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาญาณ เป็นอย่างไร
คือ ญาณของท่านผู้มีความเพียบพร้อมด้วยมรรคนี้ ชื่อว่าทุกขญาณ ทุกข-
สมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ
ในญาณเหล่านั้น ทุกขญาณ เป็นอย่างไร
คือ ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด การเลือกเฟ้น การค้นคว้า ความสอดส่องธรรม
การกำหนดดี การเข้าไปกำหนด การเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความ
เป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้ละเอียด ความแจ่มแจ้ง ความคิด การพิจารณา ปัญญา
กว้างขวางดุจแผ่นดิน ปัญญาที่ทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องแนะนำ ความเห็นแจ้ง
ความรู้พร้อม ปัญญาดังประตัก ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเป็น
ศัสตรา ปัญญาดังปราสาท ปัญญาเป็นแสงสว่าง ปัญญาเป็นรัศมี ปัญญาอัน
รุ่งเรือง ปัญญาดังรัตนะ ความไม่หลง การเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ซึ่งปรารภทุกข์
เกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขญาณ
ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง การเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ซึ่งปรารภทุกขสมุทัยเกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขสมุทยญาณ
ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง การเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ซึ่งปรารภทุกขนิโรธเกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๔-๖๗. สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง การเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ซึ่งปรารภทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา-
ญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ
สัจจญาณจตุกกทวยญาณนิทเทสที่ ๕๖-๖๓ จบ
๖๔-๖๗. สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
แสดงญาณในปฏิสัมภิทาล้วน
[๑๑๐] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทา-
ญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ เป็นอย่างไร
คือ ญาณในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ญาณในธรรม ชื่อว่าธัมม-
ปฏิสัมภิทาญาณ ญาณในนิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ญาณในปฏิภาณ
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในธรรมต่าง ๆ
ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในการกำหนดอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการกำหนด
ธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการกำหนดนิรุตติ ชื่อว่านิรุตติ-
ปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการกำหนดปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในการพิจารณาอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการ
พิจารณาธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการพิจารณานิรุตติ ชื่อว่า
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการพิจารณาปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา-
ญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๔-๖๗. สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ปัญญาในการเข้าไปพิจารณาอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการ
เข้าไปพิจารณาธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการเข้าไปพิจารณา
นิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการเข้าไปพิจารณาปฏิภาณ ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในประเภทแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภท
แห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภทแห่งนิรุตติ ชื่อว่านิรุตติ-
ปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภทแห่งปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความปรากฏแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาใน
ความปรากฏแห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความปรากฏแห่ง
นิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความปรากฏแห่งปฏิภาณ ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความกระจ่างแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาใน
ความกระจ่างแห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกระจ่างแห่ง
นิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกระจ่างแห่งปฏิภาณ ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ
รุ่งเรืองแห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งนิรุตติ
ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในการประกาศอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการ
ประกาศธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการประกาศนิรุตติ ชื่อว่า
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการประกาศปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา-
ญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทสที่ ๖๔-๖๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส
๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส
แสดงอินทริยปโรปริยัตตญาณ
[๑๑๑] ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย ของ
พระตถาคต เป็นอย่างไร
คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงเห็นหมู่สัตว์ ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ
มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มี
อาการทราม พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
คำว่า ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ
อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้ไม่มี
ศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีความเพียร ชื่อว่ามีกิเลส
ดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีความเกียจคร้าน ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากใน
ปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มี
สติหลงลืม ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลส
ดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญา
จักษุ บุคคลผู้มีปัญญาดี ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีปัญญา
ทราม ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ
คำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็น
ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีความเพียร
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีปัญญาดี
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน
คำว่า มีอาการดี มีอาการทราม อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มีอาการดี
บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มีอาการดี บุคคล
ผู้เกียจคร้านเป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีสติ
หลงลืมเป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น
เป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็น
ผู้มีอาการทราม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส
คำว่า พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก อธิบายว่า บุคคลผู้มี
ศรัทธาเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้พึงสอน
ให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้มีสติหลงลืม
เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคล
ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้ง
ได้ง่าย บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
คำว่า บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็น
ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มักเห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดย
ความเป็นภัย บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีสติ
ตั้งมั่นเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มัก
ไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มักเห็นปรโลกและ
โทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความ
เป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มี
ปัญญาทรามเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
[๑๑๒] คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก (โลกคือขันธ์) ธาตุโลก (โลกคือธาตุ)
อายตนโลก(โลกคืออายตนะ) วิปัตติภวโลก วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก
สัมปัตติสัมภวโลก๑
โลก ๑ คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
โลก ๒ คือ นาม ๑ รูป ๑
โลก ๓ คือ เวทนา ๓
โลก ๔ คือ อาหาร ๔
โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕

เชิงอรรถ :
๑ วิปัตติภวโลก หมายถึงโลกคือภพวิบัติได้แก่อบายโลก วิปัตติสัมภวโลก หมายถึงโลกคือสมภพวิบัติได้แก่
กรรมที่ให้เกิดในอบายโลก สัมปัตติภวโลก หมายถึงโลกคือภพสมบัติได้แก่สุคติโลก สัมปัตติสัมภวโลก
หมายถึงโลกคือสมภพสมบัติได้แก่กรรมที่ให้เกิดในสุคติโลก (ขุ.ป.อ. ๒/๑๑๒/๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส
โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖
โลก ๗ คือ วิญญาณัฏฐิติ ๗
โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘
โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙
โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐
โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒
โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘๑
คำว่า โทษ อธิบายว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ อภิสังขาร
ทั้งปวงเป็นโทษ กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ สัญญาในโลกนี้
และในโทษนี้ว่าเป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เหมือนสัญญาใน
ศัตรูผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่า ปรากฏแล้ว ฉะนั้น พระตถาคตทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบ
ทรงรู้แจ้งซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ด้วยอาการ ๕๐ อย่างนี้
นี้เป็นญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายของพระ
ตถาคต
อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทสที่ ๖๘ จบ
๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส
แสดงอาสยานุสยญาณ
[๑๑๓] ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต เป็น
อย่างไร
คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงทราบอาสยะของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอนุสัย
ของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบจริตของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอธิมุตติ๒ของสัตว์
ทั้งหลาย ทรงทราบชัดภัพพสัตว์(สัตว์ที่ควรบรรลุธรรมในภพนี้)และอภัพพสัตว์
(สัตว์ที่ไม่ควรบรรลุธรรมในภพนี้)

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๐๔/๓๕๕-๓๕๖
๒ อาสยะ หมายถึงทิฏฐิและยถาภูตญาณอันเป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่าสัตว์ อนุสัย หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่อง
ซึ่งยังละไม่ได้ จริต หมายถึงกุศลและอกุศลที่กายกรรมเป็นต้นปรุงแต่ง อธิมุตติ หมายถึงอัธยาศัยของ
เหล่าสัตว์ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๔/๔๙๓-๔๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส
อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต๑
เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มีไม่
เกิดอีกก็มี หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ไม่เกิดอีกก็มิใช่ สัตว์ทั้งหลายผู้
อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิดังกล่าวมานี้
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เข้าไปอาศัยที่สุดทั้ง ๒ นี้ ได้อนุโลมขันติ๒ ในสภาวธรรม
ทั้งหลายที่เป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้น หรือยถาภูตญาณ๓
พระตถาคตย่อมทรงทราบบุคคลผู้เสพกามว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในกาม มีกาม
เป็นที่อาศัย น้อมไปในกาม” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติเนกขัมมะว่า “บุคคลนี้เป็น
ผู้หนักในเนกขัมมะ มีเนกขัมมะเป็นที่อาศัย น้อมไปในเนกขัมมะ” ทรงทราบบุคคล
ผู้ปฏิบัติซึ่งพยาบาทว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในพยาบาท มีพยาบาทเป็นที่อาศัย
น้อมไปในพยาบาท” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งอพยาบาทว่า “บุคคลนี้เป็นผู้
หนักในอพยาบาท มีอพยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมไปในอพยาบาท” ทรงทราบ
บุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งถีนมิทธะว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในถีนมิทธะ มีถีนมิทธะเป็นที่
อาศัย น้อมไปในถีนมิทธะ” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งอาโลกสัญญาว่า “บุคคลนี้
เป็นผู้หนักในอาโลกสัญญา มีอาโลกสัญญาเป็นที่อาศัย น้อมไปในอาโลกสัญญา”
นี้เป็นฉันทะที่มานอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย
[๑๑๔] อนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ อนุสัย ๗ ได้แก่

เชิงอรรถ :
๑ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นใช้มาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตว์ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘)
๒ อนุโลมขันติ หมายถึงวิปัสสนาญาณ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๕/๔๙๔)
๓ ยถาภูตญาณ หมายถึงมัคคญาณ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๕/๔๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส

๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือปฏิฆะ)
๓. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือมานะ)
๔. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือทิฏฐิ)
๕. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือวิจิกิจฉา)
๖. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือภวราคะ)
๗. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคืออวิชชา)

กามราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องในปิยรูป (อารมณ์อันเป็นที่รัก)
สาตรูป (อารมณ์อันเป็นที่ยินดี) ในโลก ปฏิฆานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่อง
ในอัปปิยรูป (อารมณ์อันไม่เป็นที่รัก) อสาตรูป (อารมณ์อันไม่เป็นที่ยินดี) ในโลก
อวิชชาตกไปในสภาวธรรม ๒ นี้ ด้วยอาการอย่างนี้ มานะ ทิฏฐิ และวิจิกิจฉาพึงเห็น
ว่า ตั้งอยู่ในฐานะแห่งเดียวกันกับอวิชชานั้น นี้ชื่อว่าอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย
จริตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี) อปุญญาภิสังขาร (สภาพ
ที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว) อาเนญชาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว)
ที่เป็นกามาวจรภูมิ หรือที่เป็นรูปาวจรภูมิ และอรูปาวจรภูมิ นี้ชื่อว่าจริตของสัตว์
ทั้งหลาย
[๑๑๕] อธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุตติทรามก็มี มีอธิมุตติประณีตก็มี สัตว์ทั้งหลาย
ที่มีอธิมุตติทราม ย่อมคบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทรามเหมือนกัน
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ย่อมคบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติ
ประณีตเหมือนกัน แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติทราม ก็คบหาสมาคม
เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทรามเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๐. ยมกปาฏิหีรญาณนิทเทส
ก็คบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติประณีตเหมือนกัน แม้ในอนาคตกาล
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติทราม ก็จักคบหาสมาคมเข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทราม
เหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ก็จักคบหาสมาคมเข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มี
อธิมุตติประณีตเหมือนกัน นี้ชื่อว่าอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย
อภัพพสัตว์ เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก
เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม ไม่อาจเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรม
ทั้งหลาย เหล่านี้ชื่อว่าอภัพพสัตว์
ภัพพสัตว์ เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก
เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญาดี อาจเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
เหล่านี้ชื่อว่าภัพพสัตว์
นี้เป็นญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต
อาสยานุสยญาณนิทเทสที่ ๖๙ จบ
๗๐. ยมกปาฏิหีรญาณนิทเทส
แสดงญาณในยมกปาฏิหาริย์
[๑๑๖] ญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคต เป็นอย่างไร
คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก ได้แก่

ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องบน สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องล่าง
ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องล่าง สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องบน
ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหน้า สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหลัง
ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหลัง สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหน้า
ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๐. ยมกปาฏิหีรญาณนิทเทส

ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระองคุลี สายน้ำพุ่งออกจากระหว่างพระองคุลี
ท่อไฟพุ่งออกจากระหว่างพระองคุลี สายน้ำพุ่งออกจากพระองคุลี
ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมาแต่ละเส้น สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาแต่ละเส้น
ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมาแต่ละขุม สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาแต่ละขุม

ฉัพพัณณรังสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีแสด สีประภัสสร (แผ่ซ่าน
ออกจากพระวรกาย)
พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรม พระพุทธนิมิตประทับยืน ประทับนั่ง หรือทรง
สำเร็จไสยา
พระผู้มีพระภาคประทับยืน พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม ประทับนั่ง หรือทรง
สำเร็จไสยา
พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือทรง
สำเร็จไสยา
พระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จไสยา พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือ
ประทับนั่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรม ประทับนั่ง หรือทรงสำเร็จไสยา พระพุทธนิมิต
ประทับยืน
พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือทรงสำเร็จไสยา พระพุทธนิมิต
ประทับนั่ง
พระผู้มีพระภาคประทับยืน ประทับนั่ง หรือเสด็จจงกรม พระพุทธนิมิต
ทรงสำเร็จไสยา
นี้เป็นญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคต
ยมกปาฏิหีรญาณนิทเทสที่ ๗๐ จบ
๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
แสดงญาณในมหากรุณาสมาบัติ
[๑๑๗] ญาณในมหากรุณาสมาบัติของพระตถาคต เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทั้งหลายตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นด้วยอาการเป็น
อันมาก จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์ คือ พระผู้มีพระภาคทั้งหลาย
ตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า “โลกสันนิวาสอันไฟลุกโชนแล้ว” จึงทรงแผ่
พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์ พระผู้มีพระภาคทั้งหลายตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณา
เห็นว่า “โลกสันนิวาสยกพลแล้ว” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเคลื่อนพลแล้ว” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสเดินทางผิดแล้ว” ฯลฯ “โลกถูกชรานำไปแล้ว ไม่ยั่งยืน” ฯลฯ
“โลกไม่มีที่ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่” ฯลฯ “โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่ง
ทั้งปวงไป” ฯลฯ “โลกพร่อง ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ไม่มีที่ต้านทาน” ฯลฯ “โลกสันนิวาสไม่มีที่เร้น” ฯลฯ “โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสไม่เป็นที่พึ่งของใคร” ฯลฯ
“โลกฟุ้งซ่าน ไม่สงบ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกลูกศรเป็นอันมากเสียบแทงแล้ว
ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยถอนลูกศรทั้งหลายของโลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี”
ฯลฯ “โลกสันนิวาสมีความมืดคืออวิชชาปิดกั้นไว้ ถูกขังไว้ในกรงกิเลส ใครอื่น
นอกจากเราผู้จะแสดงธรรมให้แสงสว่างแก่โลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
“โลกสันนิวาสตกอยู่ในอำนาจของอวิชชา มืดมน อันอวิชชาหุ้มห่อไว้ ยุ่งดุจเส้นด้าย
พันกันเป็นกลุ่มก้อน นุงนังดุจหญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย ไม่ล่วงพ้นสงสารคือ
อบาย ทุคติ และวินิบาต” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกยาพิษที่มีโทษคืออวิชชาฉาบทา
หนาแน่นแล้ว มีกิเลสเป็นโทษ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสรกชัฏด้วยราคะ โทสะ และโมหะ
ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยสางรกชัฏแก่โลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกกองตัณหาสุมไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกข่ายตัณหาครอบไว้”
ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกกระแสตัณหาพัดไป” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกตัณหาเครื่อง
ข้องคล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะตัณหานุสัย” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
เดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนเพราะตัณหา” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเร่าร้อนด้วยความ
เร่าร้อนเพราะตัณหา” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกกองทิฏฐิสุมไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกข่ายคือทิฏฐิครอบไว้”
ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกกระแสทิฏฐิพัดไป” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิเป็นเครื่อง
ข้องคล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะทิฏฐานุสัย” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
เดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนเพราะทิฏฐิ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเร่าร้อนด้วยความ
เร่าร้อนเพราะทิฏฐิ” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกชาติติดตาม” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกชราตามติด” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกพยาธิครอบงำ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกมรณะห้ำหั่น” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสตกอยู่ในกองทุกข์” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกตัณหาดักไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกกำแพงคือชราล้อมไว้” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกบ่วงมัจจุคล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกผูกไว้ด้วยเครื่องผูกเป็น
อันมาก ได้แก่ เครื่องผูกคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต
ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยแก้เครื่องผูกให้แก่โลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสไปในทางที่แคบมาก ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยชี้ทางสว่างให้แก่
โลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกความกังวลเป็นอันมากพัวพันไว้
ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยตัดความกังวลให้แก่โลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสตกลงไปในเหวใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
พ้นจากเหวได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเดินทางกันดารมาก ใครอื่นนอกจาก
เราผู้จะช่วยให้โลกสันนิวาสนั้นข้ามพ้นทางกันดารได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
เดินไปในสังสารวัฏใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยให้โลกสันนิวาสนั้นพ้นจาก
สังสารวัฏได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสกลิ้งเกลือกอยู่ในหล่มใหญ่ ใครอื่นนอก
จากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้พ้นจากหล่มได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ติดอยู่ในเปือกตมอันกว้างใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้
พ้นจากเปือกตมได้เป็นไม่มี” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกไฟคือราคะ โทสะ โมหะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาสกระทบแล้ว ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยดับไฟเหล่านั้นให้แก่
โลกสันนิวาสได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสทุรนทุราย เดือดร้อนเป็นนิตย์ ไม่มี
อะไรต้านทาน ต้องรับอาชญา ต้องทำตามอาชญา” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกผูกด้วย
เครื่องผูกในวัฏฏะ ปรากฏอยู่ในตะแลงแกง ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยแก้เครื่องผูก
ให้แก่โลกสันนิวาสนั้นให้หลุดพ้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง ควรได้
รับความกรุณาอย่างยิ่ง ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยต้านทานให้แก่โลกสันนิวาสนั้นได้
เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกทุกข์เสียบแทงบีบคั้นมานาน” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ติดใจกระหายเป็นนิตย์” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสเป็นโลกบอด ไม่มีจักษุ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสมีจักษุเสื่อมไป
ไม่มีผู้นำ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสแล่นไปสู่ทางผิด หลงทางแล้ว ใครอื่นนอกจากเรา
ผู้จะช่วยนำพาโลกสันนิวาสนั้นมาสู่ทางอริยะนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
แล่นไปสู่ห้วงโมหะ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้พ้นจากห้วง
โมหะนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ
[๑๑๘] “โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๒ อย่างกลุ้มรุม” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ปฏิบัติผิดด้วยทุจริต ๓” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเต็มไปด้วยกิเลสเครื่องประกอบ
๔ อย่าง ถูกกิเลสเครื่องประกอบ ๔ อย่างประกอบไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกกิเลส
เครื่องร้อยรัด ๔ อย่างร้อยไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถือมั่นด้วยอุปาทาน ๔” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสขึ้นสู่คติ ๕” ฯลฯ “โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่ด้วยกามคุณ ๕” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
“โลกสันนิวาสถูกนิวรณ์ ๕ ทับไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสวิวาทกันอยู่ด้วยมูลเหตุ
แห่งการวิวาท ๖ อย่าง” ฯลฯ “โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่ด้วยกองตัณหา ๖” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๖ อย่างกลุ้มรุมแล้ว” ฯลฯ “โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะ
อนุสัย ๗” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ ๗ คล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ฟูขึ้นเพราะมานะ ๗” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสเวียนอยู่เพราะโลกธรรม ๘” ฯลฯ “โลกสันนิวาสดิ่งลงเพราะ
มิจฉัตตะ ๘” ฯลฯ “โลกสันนิวาสประทุษร้ายกันเพราะบุรุษโทษ ๘” ฯลฯ “โลก-
สันนิวาสมุ่งร้ายกันเพราะอาฆาตวัตถุ ๙” ฯลฯ “โลกสันนิวาสพองขึ้นเพราะมานะ ๙”
ฯลฯ “โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่เพราะธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล ๙” ฯลฯ “โลก-
สันนิวาสย่อมเศร้าหมองเพราะกิเลสวัตถุ ๑๐” ฯลฯ “โลกสันนิวาสมุ่งร้ายกันเพราะ
อาฆาตวัตถุ ๑๐” ฯลฯ “โลกสันนิวาสประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ ๑๐ คล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสดิ่งลงเพราะมิจฉัตตะ
๑๐” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
เพียบพร้อมด้วยสักกายทิฏฐิอันมีวัตถุ ๑๐” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเนิ่นช้าเพราะ
ตัณหา ๑๐๘ ทำให้เนิ่นช้า” ฯลฯ พระผู้มีพระภาคทั้งหลายตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณา
เห็นว่า “โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๖๒ กลุ้มรุม” จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์
พระผู้มีพระภาคทั้งหลายตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า “ส่วนเราเป็นผู้ข้าม
ได้แล้ว แต่สัตว์โลกยังข้ามไม่ได้ เราเป็นผู้พ้นแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่พ้น เราเป็นผู้
ฝึกแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่ได้ฝึก เราเป็นผู้สงบแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่สงบ เราเป็นผู้
เบาใจแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่เบาใจ เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่ดับรอบ
เราเป็นผู้ข้ามได้แล้วจะให้สัตว์โลกข้ามได้ด้วย เราเป็นผู้พ้นแล้วจะให้สัตว์โลกพ้นได้ด้วย
เราฝึกได้แล้ว จะฝึกสัตว์โลกได้ด้วย เราเป็นผู้สงบแล้วจะให้สัตว์โลกสงบได้ด้วย เรา
เป็นผู้เบาใจแล้วจะให้สัตว์โลกเบาใจได้ด้วย เราเป็นผู้ดับสนิทแล้วจะให้สัตว์โลกดับ
สนิทได้ด้วย” จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์
นี้เป็นญาณในมหากรุณาสมาบัติของพระตถาคต
มหากรุณาญาณนิทเทสที่ ๗๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
แสดงสัพพัญญุตญาณ
[๑๑๙] สัพพัญญุตญาณของพระตถาคต เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งปวงไม่มี
อะไรเหลือ ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
[๑๒๐] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรมส่วนอนาคตทั้งปวง ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรม
ส่วนอดีตทั้งปวง ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรมส่วนปัจจุบันทั้งปวง ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มี
เครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้จักขุและรูปทั้งหมดอย่างนี้ ชื่อว่าอนาวรณญาณ
เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้โสตะและสัททะ ฯลฯ
เพราะรู้ฆานะและคันธะ ฯลฯ เพราะรู้ชิวหาและรส ฯลฯ เพราะรู้กายและโผฏฐัพพะ
ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้มโนและธรรมารมณ์ทั้งหมดอย่างนี้ ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็น
อนัตตาตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา
แห่งรูปตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา
แห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา
แห่งชราและมรณะตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นใน
ญาณนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่รู้ยิ่งแห่งอภิญญาตลอดทั้งหมด ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้
สภาวะที่กำหนดรู้แห่งปริญญาตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่ละแห่งปหานะ
ตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่เจริญแห่งภาวนาตลอดทั้งหมด ฯลฯ ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยาตลอดทั้งหมด ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ตลอดทั้งหมด ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะ
ที่ทรงไว้แห่งธาตุตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะตลอด
ทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรมตลอดทั้งหมด ฯลฯ
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมตลอด
ทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้กุศลธรรมตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ
เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้อกุศลธรรม ฯลฯ
เพราะรู้อัพยากตธรรม ฯลฯ เพราะรู้กามาวจรธรรม ฯลฯ เพราะรู้รูปาวจรธรรม ฯลฯ
เพราะรู้อรูปาวจรธรรม ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้อปริยาปันนธรรมตลอด
ทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ตลอดทั้งหมด
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ
เพราะรู้สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่เป็นความดับแห่ง
นิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรคตลอดทั้งหมด
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในอรรถแห่ง
อัตถปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในธรรมแห่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
ธัมมปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีใน
นิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
ตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพราะรู้
ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ญาณในมหากรุณา-
สมาบัติตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
[๑๒๑] สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ
คำว่า สมันตจักขุ อธิบายว่า ชื่อว่าสมันตจักขุ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ พระพุทธญาณ ๑๔ ประการ ได้แก่
๑. ญาณในทุกข์ ชื่อว่าพุทธญาณ
๒. ญาณในสมุทัย ชื่อว่าพุทธญาณ
๓. ญาณในทุกขนิโรธ ชื่อว่าพุทธญาณ
๔. ญาณในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่าพุทธญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
๕. ญาณในอัตถปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
๖. ญาณในธัมมปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
๗. ญาณในนิรุตติปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
๘. ญาณในปฏิภาณปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
๙. ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๐. ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๑. ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๒. ญาณในมหากรุณาสมาบัติ ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๓. สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๔. อนาวรณญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ
พุทธญาณ ๑๔ ประการนี้แล บรรดาพุทธญาณ ๑๔ ประการนี้ ญาณ ๘
ประการเบื้องต้นเป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ส่วนญาณอีก ๖ ประการเบื้องปลาย
เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ พระตถาคต
ทรงทราบแล้วตลอดทั้งหมด ที่มิได้ทรงทราบไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มี
เครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก
ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ เพราะ
สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ฯลฯ เพราะสภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ฯลฯ เพราะ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในอรรถแห่งอัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ เพราะสภาวะแห่ง
ปัญญาที่แตกฉานดีในธรรมแห่งธัมมปฏิสัมภิทา ฯลฯ เพราะสภาวะแห่งปัญญาที่
แตกฉานดีในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะ
แห่งปัญญาที่แตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระตถาคตทรงทราบ
แล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้ว ตลอดทั้งหมด
ด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ
เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก
ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณ
ในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพราะญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณในมหากรุณาสมาบัติ พระตถาคตทรงทราบแล้ว
ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วย
พระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่
มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจแห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก
ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ๑
สัพพัญญุตญาณนิทเทสที่ ๗๒-๗๓ จบ
ญาณกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๓๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๕/๓๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
๒. ทิฏฐิกถา
ว่าด้วยทิฏฐิ
[๑๒๒] อะไรชื่อว่าทิฏฐิ ฐาน๑แห่งทิฏฐิ มีเท่าไร ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร
ทิฏฐิมีเท่าไร ความยึดมั่นทิฏฐิมีเท่าไร ความถอนฐานแห่งทิฏฐิเป็นอย่างไร
ถาม: ทิฏฐิคืออะไร
ตอบ: ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ถาม: ฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ฐานแห่งทิฏฐิมี ๘ ประการ
ถาม: ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมี ๑๘ ประการ
ถาม: ทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ทิฏฐิมี ๑๖ ประการ
ถาม: ความยึดมั่นทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ความยึดมั่นทิฏฐิมี ๓๐๐ ประการ(โดยประมาณ)
ถาม: เครื่องถอนฐานแห่งทิฏฐิเป็นอย่างไร
ตอบ: โสดาปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนฐานแห่งทิฏฐิ
[๑๒๓] ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นวิญญาณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”

เชิงอรรถ :
๑ ฐาน ในที่นี้หมายถึงเหตุ (ขุ.ป.อ. ๑/๑๑๒/๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธรรมารมณ์ว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุวิญญาณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนวิญญาณว่า
“นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุสัมผัสว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ
ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนสัมผัสว่า
“นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุสัมผัสสชาเวทนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนสัมผัสสชาเวทนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปสัญญาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญา
ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมสัญญาว่า “นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปสัญเจตนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญเจตนา ฯลฯ
รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมม-
สัญเจตนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปตัณหาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา
ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมตัณหาว่า “นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปวิตกว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ
โผฏฐัพพวิตก ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมวิตกว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปวิจารว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ
โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมวิจารว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นปฐวีธาตุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นอาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ
อากาสธาตุ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นวิญญาณธาตุว่า “นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นปฐวีกสิณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นอาโปกสิณ ฯลฯ เตโชกสิณ ฯลฯ วาโยกสิณ ฯลฯ
นีลกสิณ ฯลฯ ปีตกสิณ ฯลฯ โลหิตกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ ฯลฯ ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นอากาสกสิณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นผมว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นขน ฯลฯ เล็บ ฯลฯ ฟัน ฯลฯ หนัง ฯลฯ เนื้อ ฯลฯ
เอ็น ฯลฯ กระดูก ฯลฯ เยื่อในกระดูก ฯลฯ ไต๑ ฯลฯ หัวใจ ฯลฯ ตับ ฯลฯ
พังผืด ฯลฯ ม้าม๒ ฯลฯ ปอด ฯลฯ ไส้ใหญ่ ฯลฯ ไส้น้อย ฯลฯ อาหารใหม่ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูเชิงอรรถในข้อ ๔ หน้า ๑๑ ในสุตมยญาณนิทเทสในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
อาหารเก่า ฯลฯ ดี ฯลฯ เสลด ฯลฯ หนอง ฯลฯ เลือด ฯลฯ เหงื่อ ฯลฯ มันข้น ฯลฯ
น้ำตา ฯลฯ มันเหลว ฯลฯ น้ำลาย ฯลฯ น้ำมูก ฯลฯ ไขข้อ ฯลฯ มูตร ฯลฯ ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นมันสมองว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขายตนะว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปายตนะ ฯลฯ โสตายตนะ ฯลฯ
สัททายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ
รสายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ มนายตนะ ฯลฯ ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นธัมมายตนะว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุธาตุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปธาตุ ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ โสตธาตุ
ฯลฯ สัททธาตุ ฯลฯ โสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ ฆานธาตุ ฯลฯ คันธธาตุ ฯลฯ
ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ชิวหาธาตุ ฯลฯ รสธาตุ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ
กายธาตุ ฯลฯ โผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ กายวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ ฯลฯ
ธัมมธาตุ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนวิญญาณธาตุว่า “นั่นของเรา เรา
เป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุนทรีย์ว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ
กายินทรีย์ ฯลฯ มนินทรีย์ ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ อิตถินทรีย์ ฯลฯ ปุริสินทรีย์ ฯลฯ
สุขินทรีย์ ฯลฯ ทุกขินทรีย์ ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ โทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ
อุเปกขินทรีย์ ฯลฯ สัทธินทรีย์ ฯลฯ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์
ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นปัญญินทรีย์ว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นกามธาตุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปธาตุ ฯลฯ อรูปธาตุ ฯลฯ กามภพ ฯลฯ
รูปภพ ฯลฯ อรูปภพ ฯลฯ สัญญาภพ ฯลฯ อสัญญาภพ ฯลฯ เนวสัญญา-
นาสัญญาภพ ฯลฯ เอกโวการภพ ฯลฯ จตุโวการภพ ฯลฯ ปัญจโวการภพ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
ปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ เมตตา-
เจโตวิมุตติ ฯลฯ กรุณาเจโตวิมุตติ ฯลฯ มุทิตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ อุเบกขา-
เจโตวิมุตติ ฯลฯ อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นอวิชชาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ นามรูป ฯลฯ
สฬายตนะ ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ เวทนา ฯลฯ ตัณหา ฯลฯ อุปาทาน ฯลฯ ภพ ฯลฯ
ชาติ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นชราและมรณะว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมีดังว่ามานี้
[๑๒๔] ฐานแห่งทิฏฐิ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขันธ์ทั้งหลายเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๒. อวิชชาเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๓. ผัสสะเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๔. สัญญาเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๕. วิตกเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๖. อโยนิโสมนสิการเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๗. ปาปมิตรเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๘. ปรโตโฆสะ๑เป็นฐานแห่งทิฏฐิ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความ
หมายว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
อวิชชาที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้อวิชชาก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ปรโตโฆสะ หมายถึงการฟังอสัทธรรมจากผู้อื่น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๗/๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
ผัสสะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่าเป็นที่
อาศัยตั้งขึ้น แม้ผัสสะก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
สัญญาที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้สัญญาก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
วิตกที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่าเป็นที่
อาศัยตั้งขึ้น แม้วิตกก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
อโยนิโสมนสิการที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความ
หมายว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้อโยนิโสมนสิการก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
ปาปมิตรที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ปาปมิตรก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
ปรโตโฆสะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ปรโตโฆสะก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
เหล่านี้ คือฐานแห่งทิฏฐิ ๘ ประการ
[๑๒๕] ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิ ๑๘ ประการ อะไรบ้าง ทิฏฐิคือ

๑. การตกอยู่ในทิฏฐิ ๒. ความรกชัฏคือทิฏฐิ
๓. ความกันดารคือทิฏฐิ ๔. เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ
๕. ความดิ้นรนคือทิฏฐิ ๖. สังโยชน์คือทิฏฐิ
๗. ลูกศรคือทิฏฐิ ๘. สมภพคือทิฏฐิ๑
๙. เครื่องกังวลคือทิฏฐิ ๑๐. เครื่องผูกคือทิฏฐิ
๑๑. เหวคือทิฏฐิ ๑๒. อนุสัยคือทิฏฐิ
๑๓. เหตุให้เดือดร้อนคือทิฏฐิ ๑๔. เหตุให้เร่าร้อนคือทิฏฐิ
๑๕. เครื่องร้อยรัดคือทิฏฐิ ๑๖. ความยึดถือคือทิฏฐิ
๑๗. ความยึดมั่นคือทิฏฐิ ๑๘. ความถือมั่นคือทิฏฐิ

เหล่านี้ คือปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิ ๑๘ ประการ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า สมภพคือทิฏฐิ คำบาลีคือ ทิฏฺฐิสมฺภโว ในอรรถกถา (ขุ.ป. ๒/๑๒๕/๕๒) ใช้ ทิฏฺฐิสมฺพาโธ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
[๑๒๖] ทิฏฐิ ๑๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อัสสาททิฏฐิ (ความเห็นที่เนื่องด้วยคุณ)
๒. อัตตานุทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตา)
๓. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
๔. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
๕. สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง) อันมีสักกายะเป็นวัตถุ๑
๖. อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) อันมีสักกายะเป็นวัตถุ
๗. อันตัคคาหิกทิฏฐิ (ความเห็นอันถือเอาที่สุด)
๘. ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความเห็นขันธ์ส่วนอดีต)
๙. อปรันตานุทิฏฐิ (ความเห็นขันธ์ส่วนอนาคต)
๑๐. สัญโญชนิกาทิฏฐิ (ความเห็นเป็นเครื่องผูกสัตว์)
๑๑. มานวินิพันธาทิฏฐิ (ความเห็นอันกางกั้นด้วยมานะ) ว่า “เป็นเรา”
๑๒. มานวินิพันธาทิฏฐิ (ความเห็นอันกางกั้นด้วยมานะ) ว่า “ของเรา”
๑๓. อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ความเห็นอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ)
๑๔. โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ความเห็นอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ)
๑๕. ภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกมีอยู่)
๑๖. วิภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกไม่มีอยู่)
[๑๒๗] ความยึดมั่นทิฏฐิ ๓๐๐ ประการ(โดยประมาณ)
คือ อัสสาททิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อัตตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
มิจฉาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
สักกายทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
สัสสตทิฏฐิ อันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อุจเฉททิฏฐิ อันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร

เชิงอรรถ :
๑ มีสักกายะเป็นวัตถุ หมายถึงมีขันธ์ ๕ เป็นที่อาศัย (ขุ.ป.อ. ๒/๑๒๖/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
ปุพพันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อปรันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
สัญโญชนิกาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
ภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
วิภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
คือ อัสสาททิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๓๕ อย่าง
อัตตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
มิจฉาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
สักกายทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕ อย่าง
อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง
อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕๐ อย่าง
ปุพพันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง
อปรันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่าง
สัญโญชนิกาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง
ภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๙ อย่าง
วิภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๙ อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
แสดงอัสสาททิฏฐิ
[๑๒๘] อัสสาททิฏฐิ มีความเห็นผิดด้วยอาการ ๓๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็น
อัสสาทะ (คุณ) แห่งรูป” ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง อัสสาทะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและอัสสาทะนี้ ท่านกล่าวว่า อัสสาททิฏฐิ
อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น
เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะนั้นไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐินั้น
ก็ไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะนี้ เรียกว่า
ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ
ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ยินดีทิฏฐิราคะ เป็นทานมีผลไม่มาก มีอานิสงส์ไม่มาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีคติเป็น ๒ คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อนึ่ง
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และมโนกรรม
ที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ
และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่
ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว
เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำเต้าขมที่บุคคลเพาะไว้
ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น
ของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสะเดาเป็นต้นนั้นมีเมล็ดเลว
ฉันใด กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และ
มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา
ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
เป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ฉันนั้น อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ฯลฯ ความถือมั่นคือทิฏฐิ ความ
เกี่ยวข้องแห่งจิตที่ทิฏฐิกลุ้มรุม (เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฏฐิ) ด้วยอาการ
๑๘ ประการนี้
[๑๒๙] สังโยชน์และทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิก็มีอยู่
สังโยชน์และทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. สีลัพพตปรามาส
เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ
สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ

๑. กามราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือปฏิฆะ)
๓. มานสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมานะ)
๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือวิจิกิจฉา)
๕. ภวราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือภวราคะ)
๖. อิสสาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออิสสา)
๗. มัจฉริยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมัจฉริยะ)
๘. อนุสัยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออนุสัย)
๙. อวิชชาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา)

เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็น
อัสสาทะแห่งเวทนา” ฯลฯ อาศัยสัญญา ฯลฯ อาศัยสังขาร ฯลฯ อาศัยวิญญาณ ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยจักขุ ฯลฯ อาศัยโสตะ ฯลฯ
อาศัยฆานะ ฯลฯ อาศัยชิวหา ฯลฯ อาศัยกาย ฯลฯ อาศัยมโน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยรูป ฯลฯ อาศัยสัททะ ฯลฯ
อาศัยคันธะ ฯลฯ อาศัยรส ฯลฯ อาศัยโผฏฐัพพะ ฯลฯ อาศัยธรรมารมณ์ ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยจักขุวิญญาณ ฯลฯ อาศัย
โสตวิญญาณ ฯลฯ อาศัยฆานวิญญาณ ฯลฯ อาศัยชิวหาวิญญาณ ฯลฯ อาศัย
กายวิญญาณ ฯลฯ อาศัยมโนวิญญาณ ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ อาศัย
โสตสัมผัส ฯลฯ อาศัยฆานสัมผัส ฯลฯ อาศัยชิวหาสัมผัส ฯลฯ อาศัย
กายสัมผัส ฯลฯ อาศัยมโนสัมผัส ฯลฯ อาศัยจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัย
โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัยฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัยชิวหา-
สัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัยกายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยมโนสัมผัสสชาเวทนา
เกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะแห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา” ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะก็
ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง อัสสาทะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและอัสสาทะนี้ ท่าน
กล่าวว่า อัสสาททิฏฐิ
อัสสาททิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น
เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะนั้นไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐินั้น
ก็ไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะนี้เรียกว่า
ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ
ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ยินดีทิฏฐิราคะ เป็นทานมีผลไม่มาก มีอานิสงส์ไม่มาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
อนึ่ง กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และ
มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็น
ไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว
เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำเต้าขมที่บุคคลเพาะไว้
ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น
ของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสะเดาเป็นต้นนั้นมีเมล็ดเลว
ฉันใด กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และ
มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความ
ตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไป
เพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ฉันนั้น อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ฯลฯ ความถือมั่นคือทิฏฐิ ความ
เกี่ยวข้องแห่งจิตที่ทิฏฐิกลุ้มรุม (เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฏฐิ) ด้วยอาการ
๑๘ ประการนี้
สังโยชน์และทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิก็มีอยู่
สังโยชน์และทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. สีลัพพตปรามาส
เหล่านี้ เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ
สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ
๑. กามราคสังโยชน์
๒. ปฏิฆสังโยชน์
๓. มานสังโยชน์
๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์
๕. ภวราคสังโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
๖. อิสสาสังโยชน์
๗. มัจฉริยสังโยชน์
๘. อนุสัยสังโยชน์
๙. อวิชชาสังโยชน์
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อัสสาททิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ
๓๕ อย่างนี้
อัสสาททิฏฐินิทเทสที่ ๑ จบ
๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
แสดงอัตตานุทิฏฐิ
[๑๓๐] อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระ
อริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ พิจารณาเห็น
วิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณาเห็น
วิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
[๑๓๑] ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นอัตตา คือ
พิจารณาเห็นปฐวีกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เรา
อันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและ
แสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็
อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นปฐวีกสิณโดย
ความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นปฐวีกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “ปฐวีกสิณอันใด
เราก็อันนั้น เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้
เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ บุคคลผู้ประกอบด้วยอัตตานุทิฏฐิย่อมมีคติเป็น ๒ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นอาโปกสิณ ... เตโชกสิณ ... วาโยกสิณ ...
นีลกสิณ ... ปีตกสิณ ... โลหิตกสิณ ... พิจารณาเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นอัตตา
คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “โอทาตกสิณอันใด เราก็
อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคล
เห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น
แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสอง ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ
และวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีรูป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็น
วิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่า
อัตตาของเรานี้มีรูปเพราะรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีรูป ต้นไม้มีเงา บุรุษพึง
พูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง
แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณ
โดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตา
ของเรานี้มีรูปเพราะรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีรูป ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตา
มีรูปอย่างนี้ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณา
เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
ก็ในอัตตานี้มีรูปเช่นนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นรูปในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษ
พึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่น
หอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้ ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่นหอม
ในดอกไม้นั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็น
อย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีรูปเช่นนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นรูปใน
อัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นอัตตา-
นุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปในอัตตาอย่างนี้ (๓)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในรูป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณา
เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในรูป แก้วมณีที่ใส่ไว้
ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง
ขวดก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้มีอยู่ในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
“นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตา
ในรูป ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง
วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔
อัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในรูปอย่างนี้ (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
[๑๓๒] ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา ... โสตสัมผัสสชา-
เวทนา ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา ... ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ... กายสัมผัสสชา-
เวทนา ... พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็น
มโนสัมผัสสชาเวทนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็
อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่
บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่าง
ก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณา
เห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็
อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิ
ไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ
นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนาโดย
ความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑-๕)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณา
เห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่า
อัตตาของเรานี้มีเวทนาเพราะเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนา ต้นไม้มีเงา
บุคคลพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็น
อย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ...
พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีเวทนาเพราะเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนา
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็
เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒
อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนาอย่างนี้ (๒-๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๓ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น