Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๑-๑๑ หน้า ๕๐๙ - ๕๕๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๑๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๓. อิทธิปาทวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอัน
ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาท
อันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้น
แล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วย
ฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
สว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งฉันทะ
เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ ฯลฯ ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท
คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๓. อิทธิปาทวาร
พระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่
ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” จักษุเกิดขึ้น
แล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้น
แล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งวิริยะ เป็น
ที่ตั้งแห่งอิทธิบาท ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่ง
วิมังสา เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ มีอิทธิบาทเป็นโคจร
สงเคราะห์เข้าในอิทธิบาท นับเนื่องในอิทธิบาท รวมลงในอิทธิบาท ตั้งอยู่ใน
อิทธิบาท ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท
คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๘. โลกุตตรกถา
ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อ
ว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป
ธัมมจักกกถา จบ
๘. โลกุตตรกถา
ว่าด้วยโลกุตตรธรรม
[๔๓] ธรรมเหล่าไหนเป็นโลกุตตระ (คือ) สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค
๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน ธรรมเหล่านี้เป็นโลกุตตระ
คำว่า โลกุตตระ อธิบายว่า ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะข้ามพ้นโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะข้ามพ้นแต่โลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะข้ามพ้นจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะข้ามไปจากโลก ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะล่วงพ้นโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะล่วงพ้นโลกอยู่ ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะเป็นอดิเรกในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะข้ามที่สุดโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัดออกแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัดออกจาก
โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัดไปจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัดออกแล้ว
จากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัดออกแล้วแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัด
ออกไปแล้วจากโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ตั้งอยู่ในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ดำรงอยู่ในโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ติดอยู่ในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เปื้อนในโลก ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะไม่เปื้อนแล้วในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ถูกโลกทำให้เปื้อนแล้ว
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ฉาบแล้วในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ถูกโลกฉาบแล้ว
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหลุดไปในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหลุดไปจากโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะพ้นจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหลุดพ้นไปแต่โลก ชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๘. โลกุตตรกถา
โลกุตตระ เพราะหลุดพ้นไปจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เกี่ยวข้องในโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เกี่ยวข้องด้วยโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เกี่ยวข้อง
แต่โลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะพรากออกในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะพรากออก
แต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะพรากออกจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหมดจด
แต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหมดจดจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหมดจด
กว่าโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสะอาดแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสะอาดจากโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสะอาดกว่าโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะออกแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะออกจากโลก ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะออกไปจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะกลับแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะกลับจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะกลับไปจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะไม่ข้องในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ยึดในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่
พัวพันในโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะตัดโลกขาด ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะตัดโลกขาดแล้ว
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะให้โลกระงับ ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะให้โลกระงับแล้ว ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะไม่กลับมาสู่โลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เป็นคติของโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เป็น
วิสัยของโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เป็นสาธารณะของโลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะปราศจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เวียนมาสู่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะละโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ให้โลกเกิด ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เยื่อใย
โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะนำโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะกำจัดโลก ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะไม่อบโลกให้งาม ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะล่วงโลก ครอบงำโลก
ตั้งอยู่ ฉะนี้แล
โลกุตตรกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
๙. พลกถา
ว่าด้วยพละ
[๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ (พละคือศรัทธา) ๒. วิริยพละ (พละคือวิริยะ)
๓. สติพละ (พละคือสติ) ๔. สมาธิพละ (พละคือสมาธิ)
๕. ปัญญาพละ (พละคือปัญญา)

อีกอย่างหนึ่ง พละ ๖๘ ประการ คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ
ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ อนวัชชพละ
สังคหพละ ขันติพละ ปัญญัตติพละ นิชฌัตติพละ อิสสริยพละ อธิษฐานพละ
สมถพละ วิปัสสนาพละ เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ ขีณาสวพละ ๑๐
อิทธิพละ ๑๐ ตถาคตพละ ๑๐
สัทธาพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ
เพราะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะครอบงำกิเลสทั้งหลาย
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็นความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ ชื่อว่า
สัทธาพละ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็น
ความผ่องแผ้วแห่งจิต ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องบรรลุธรรมวิเศษ
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะรู้แจ้งธรรมที่ยิ่ง ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะ
ตรัสรู้สัจจะ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคล (บุคคลผู้กระทำ) ตั้งอยู่
เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสัทธาพละ (๑)
วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ
เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะครอบงำกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ทั้งหลาย ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะเป็นความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ
ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะเป็น
ความผ่องแผ้วแห่งจิต ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องบรรลุธรรมวิเศษ
ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะรู้แจ้งธรรมที่ยิ่ง ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะตรัสรู้
สัจจะ ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็น
วิริยพละ (๒)
สติพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสติพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ เพราะ
มีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ ชื่อว่าสติพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคล
ตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสติพละ (๓)
สมาธิพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ
เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะให้การก-
บุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสมาธิพละ (๔)
ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ
เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะให้
การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นปัญญาพละ (๕)
หิริพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่าหิริพละ
เพราะละอายพยาบาทด้วยอพยาบาท ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายถีนมิทธะด้วย
อาโลกสัญญา ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ชื่อว่าหิริพละ
เพราะละอายวิจิกิจฉาด้วยธัมมววัตถาน ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายอวิชชา
ด้วยญาณ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายอรติด้วยปามุชชะ ชื่อว่าหิริพละ เพราะ
ละอายนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายกิเลสทั้งปวงด้วย
อรหัตตมรรค นี้เป็นหิริพละ (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
โอตตัปปพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่า
โอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวพยาบาทด้วยอพยาบาท ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะ
เกรงกลัวถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวอุทธัจจะ
ด้วยอวิกเขปะ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัววิจิกิจฉาด้วยธัมมววัตถาน ชื่อว่า
โอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวอวิชชาด้วยญาณ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัว
อรติด้วยปามุชชะ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่า
โอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค นี้เป็นโอตตัปปพละ (๗)
ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณากามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่า
ปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณาพยาบาทด้วยอพยาบาท ชื่อว่าปฏิสังขานพละ
เพราะพิจารณาถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณา
อุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณาวิจิกิจฉาด้วยธัมม-
ววัตถาน ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณาอวิชชาด้วยญาณ ชื่อว่าปฏิสังขาน-
พละเพราะพิจารณาอรติด้วยปามุชชะ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณานิวรณ์
ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณากิเลสทั้งปวงด้วย
อรหัตตมรรค นี้เป็นปฏิสังขานพละ (๘)
ภาวนาพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะย่อมเจริญ
เนกขัมมะ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาทย่อมเจริญ
อพยาบาท ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละถีนมิทธะย่อมเจริญ
อาโลกสัญญา ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละอุทธัจจะย่อมเจริญ
อวิกเขปะ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละวิจิกิจฉาย่อมเจริญ
ธัมมววัตถาน ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละอวิชชาย่อมเจริญญาณ
ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละอรติย่อมเจริญปามุชชะ ชื่อว่า
ภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละนิวรณ์ย่อมเจริญปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่า
ภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวงย่อมเจริญอรหัตตมรรค นี้เป็น
ภาวนาพละ (๙)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
อนวัชชพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในเนกขัมมะไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง เพราะละ
กามฉันทะได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอพยาบาทไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง เพราะ
ละพยาบาทได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอาโลกสัญญาไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
เพราะละถีนมิทธะได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอวิกเขปะไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในธัมมววัตถานไม่มีโทษแม้น้อย
หนึ่ง เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในญาณไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
เพราะละอวิชชาได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในปามุชชะไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
เพราะละอรติได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในปฐมฌานไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
เพราะละนิวรณ์ได้แล้ว ฯลฯ ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอรหัตตมรรคไม่มีโทษ
แม้น้อยหนึ่ง เพราะละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว นี้เป็นอนวัชชพละ (๑๐)
สังคหพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมรวมจิตไว้ด้วย
อำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท ย่อมรวมจิต
ไว้ด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละถีนมิทธะ ย่อม
รวมจิตไว้ด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อ
ละกิเลสทั้งปวง ย่อมรวมจิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็นสังคหพละ (๑๑)
ขันติพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าขันติพละ เพราะเนกขัมมะย่อมอดทน เพราะละกามฉันทะได้แล้ว
ชื่อว่าขันติพละ เพราะอพยาบาทย่อมอดทน เพราะละพยาบาทได้แล้ว ชื่อว่า
ขันติพละ เพราะอาโลกสัญญาย่อมอดทน เพราะละถีนมิทธะได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ
เพราะอวิกเขปะย่อมอดทน เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะ
ธัมมววัตถานย่อมอดทน เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะญาณ
ย่อมอดทน เพราะละอวิชชาได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะปามุชชะย่อมอดทน
เพราะละอรติได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะปฐมฌานย่อมอดทน เพราะละนิวรณ์
ได้แล้ว ฯลฯ ชื่อว่าขันติพละ เพราะอรหัตตมรรคย่อมอดทน เพราะละกิเลสทั้งปวง
ได้แล้ว นี้เป็นขันติพละ (๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ปัญญัตติพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมตั้งจิตไว้
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท
ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละ
ถีนมิทธะ ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะ
พระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็น
ปัญญัตติพละ (๑๓)
นิชฌัตติพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมเพ่งจิต
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท
ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละ
ถีนมิทธะ ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะ
พระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็น
นิชฌัตติพละ (๑๔)
อิสสริยพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมบังคับจิต
ให้เป็นไปตามอำนาจด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจร
เมื่อละพยาบาท ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่า
อิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละถีนมิทธะ ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจ
ด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละ
กิเลสทั้งปวง ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็น
อิสสริยพละ (๑๕)
อธิษฐานพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิต
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท
ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าอธิษฐานพละ
เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอรหัตตมรรค
นี้เป็นอธิษฐานพละ (๑๖)
สมถพละ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจเนกขัมมะ เป็น
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอพยาบาท เป็น
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอาโลกสัญญา เป็น
สมถพละ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณา
เห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมถพละ
คำว่า สมถพละ อธิบายว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าสมถพละ
เพราะจิตไม่หวั่นไหวในวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว
ในปีติด้วยตติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในสุขและทุกข์ด้วยจตุตถ-
ฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในอากาสานัญ-
จายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว
ในวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะ
จิตไม่หวั่นไหวในอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อ
ว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง เพราะอุทธัจจะ
เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและเพราะขันธ์ นี้เป็นสมถพละ (๑๗)
วิปัสสนาพละ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ ทุกขานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในรูปเป็นวิปัสสนาพละ
ทุกขานุปัสสนาในรูปเป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปเป็น
วิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะเป็นวิปัสสนาพละ
ทุกขานุปัสสนาในชราและมรณะเป็นวิปัสสนาพละ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและ
มรณะเป็นวิปัสสนาพละ
คำว่า วิปัสสนาพละ อธิบายว่า ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุ-
ปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา
ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ชื่อว่า
วิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนันทิด้วยนิพพิทานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ
เพราะจิตไม่หวั่นไหวในราคะด้วยวิราคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่
หวั่นไหวในสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวใน
อาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว
ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง เพราะอวิชชา เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและ
เพราะขันธ์ นี้เป็นวิปัสสนาพละ (๑๘)
เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า
อเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาทิฏฐินั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ
เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะ
ศึกษาในสัมมาสังกัปปะนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษา
สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ
สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯลฯ สัมมาญาณ๑ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ๒ ชื่อว่าอเสกขพละ
เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ สัมมาวิมุตตินั้นเสร็จแล้ว เสกขพละ ๑๐
อเสกขพละ ๑๐ นี้แล (๑๙-๒๐) (=๓๘)

เชิงอรรถ :
๑ สัมมาญาณ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/ ๒๖๗)
๒ สัมมาวิมุตติ หมายถึงธรรมที่ประกอบด้วยผลเว้นมรรคมีองค์ ๘ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ขีณาสวพละ ๑๐ เป็นอย่างไร
คือ สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่สังขารทั้งปวงเป็นธรรม
ที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาชอบตาม
ความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยัน
ความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (๑)
กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วย
ปัญญาชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่า
เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของ
ภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะ
ทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (๒)
จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก
ยินดีในเนกขัมมะ ว่างจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง
แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ใน
วิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ว่างจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการ
ทั้งปวง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความ
สิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (๓)
สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่สติปัฏฐาน
๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่ง
ภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเรา
สิ้นแล้ว” (๔)
สัมมัปปธาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ อิทธิบาท ๔
ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘
เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรม
ที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้
อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” นี้ก็เป็นกำลัง
ของภิกษุขีณาสพ ๑๐ (๕-๑๐) (=๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
อิทธิพละ ๑๐ อะไรบ้าง คือ

๑. ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ๒. ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่าง ๆ
๓. ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ ๔. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ
๕. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ๖. ฤทธิ์ของพระอริยะ
๗. ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม ๘. ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
๙. ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา

๑๐. ชื่อว่าฤทธิ์ เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วน
นั้น ๆ เป็นปัจจัย
นี้อิทธิพละ ๑๐ (๑๐) (=๕๘)
ตถาคตพละ ๑๐ อะไรบ้าง
คือ ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยความเป็นฐานะและอฐานะ๑โดยความเป็นอฐานะใน
โลกนี้ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยความเป็นฐานะและอฐานะโดย
ความเป็นอฐานะตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยแล้ว
ยืนยันฐานะที่องอาจบันลือสีหนาท๒ประกาศพรหมจักรในบริษัท๓ (๑)
ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรม
ที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง นี้เป็น
กำลังของตถาคต ฯลฯ (๒)

เชิงอรรถ :
๑ ฐานะและอฐานะ ได้แก่ การณะและอการณะ (เหตุและสิ่งมิใช่เหตุ) (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๗๐)
๒ บันลือสีหนาท หมายถึงคำพูดที่ตรัสด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใดเพราะทรงมั่น
พระทัยในศีล สมาธิ ปัญญาของพระองค์ (ที.สี.ฏีกา ๑/๔๐๓/๔๓๒)
๓ บริษัท ในที่นี้หมายถึงกลุ่มของบุคคลหลายสถานะที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อต้องการจะฟังพระ
ธรรมเทศนามี ๘ กลุ่ม คือขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกา-
บริษัท ดาวดึงสบริษัท มารบริษัท และพรหมบริษัท (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๗๑, ม.มู. ๑๒/๑๕๑/๑๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๓)
ตถาคตรู้ชัดโลกธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่างกันตามความเป็นจริง การที่
ตถาคตรู้ชัดโลกธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่างกันตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลัง
ของตถาคต ฯลฯ (๔)
ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง การที่ตถาคต
รู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต
ฯลฯ (๕)
ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่นและบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและมีอินทรีย์อ่อน
ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่นและบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่
กล้าและมีอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๖)
ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง
การที่ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตามความเป็นจริง
นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๗)
ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
ฯลฯ ระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
การที่ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ
นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๘)
ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติและกำลังเกิดด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
การที่ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติและกำลังเกิดด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑ปัญญาวิมุตติ๒อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน๓ การที่ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้า
ถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยแล้วยืนยันฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท นี้ตถาคตพละ ๑๐ (๑๐) (=๖๘)
[๔๕] ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมี
สภาวะอย่างไร ชื่อว่าสติพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมี
สภาวะอย่างไร ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าหิริพละ เพราะมี
สภาวะอย่างไร ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าปฏิสังขานพละ
เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่า
วิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ เพราะ
มีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่น
ไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่า
หิริพละ เพราะละอายบาปอกุศลธรรม ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวบาป-
อกุศลธรรม ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณากิเลสทั้งหลายด้วยญาณ ชื่อว่า
ภาวนาพละ เพราะธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่า
อนวัชชพละ เพราะในเนกขัมมะนั้นไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง ชื่อว่าสังคหพละ เพราะ
พระโยคาวจรรวมจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าขันติพละ เพราะเนกขัมมะ
เป็นต้นย่อมอดทนต่อนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระ
โยคาวจรตั้งจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจร
ย่อมเพ่งจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรย่อม

เชิงอรรถ :
๑ เจโตวิมุตติ หมายถึงผลสมาธิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒/๘๔)
๒ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงผลปัญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒/๘๔)
๓ ในปัจจุบัน หมายถึงในอัตภาพนี้ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา
บังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะ
พระโยคาวจรย่อมอธิษฐานจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิต
เป็นเอกัคคตารมณ์ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะพระ
โยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในภาวนานั้น ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระ
เสขะยังต้องศึกษาในสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะ
ศึกษาในสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าขีณาสวพละ เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นแล้วด้วยความเห็นด้วยดีนั้น๑ ชื่อว่าอิทธิพละ เพราะฤทธิ์ย่อมสำเร็จด้วยการ
อธิษฐานเป็นต้นด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ เป็นปัจจัย ชื่อว่าตถาคตพละ
เพราะมีสภาวะมีกำลังหาประมาณมิได้ ฉะนี้
พลกถา จบ
๑๐. สุญญกถา
ว่าด้วยความว่าง
[๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่เขากล่าวกันว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า
‘โลกว่าง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘โลกว่าง’ อานนท์ อะไรเล่าว่างจากอัตตาและ
จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา คือ จักขุเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา รูปว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จักขุวิญญาณเป็นธรรมว่าง

เชิงอรรถ :
๑ ความเห็นด้วยดี ในที่นี้หมายถึงญาณที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๕/๒๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๑. บทมาติกา
จากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จักขุสัมผัสเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจาก
สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาที่เกิดเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
โสตะ ฯลฯ สัททะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ รส ฯลฯ
กาย ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ มโนเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
ธรรมารมณ์เป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา มโนวิญญาณเป็น
ธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา มโนสัมผัสเป็นธรรมว่างจากอัตตา
และจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาที่เกิด
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘โลกว่าง”
๑. บทมาติกา

[๔๗] ๑. สุญญสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่ว่าง)
๒. สังขารสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นสังขาร)
๓. วิปริณามสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่แปรผัน)
๔. อัคคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเลิศ)
๕. ลักขณสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นลักษณะ)
๖. วิกขัมภนสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุข่ม)
๗. ตทังคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ)
๘. สมุจเฉทสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ตัดขาด)
๙. ปฏิปัสสัทธิสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้สงบระงับ)
๑๐. นิสสรณสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุสลัดออก)
๑๑. อัชฌัตตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นภายใน)
๑๒. พหิทธาสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นภายนอก)
๑๓. ทุภโตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นภายในและภายนอก)
๑๔. สภาคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นกลุ่มเดียวกัน)
๑๕. วิสภาคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่ต่างกลุ่มกัน)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส

๑๖. เอสนาสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่แสวงหา)
๑๗. ปริคคหสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่กำหนด)
๑๘. ปฏิลาภสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่ได้)
๑๙. ปฏิเวธสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่รู้แจ้ง)
๒๐. เอกัตตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นสภาวะเดียว)
๒๑. นานัตตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นสภาวะต่าง ๆ)
๒๒. ขันติสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่พอใจ)
๒๓. อธิษฐานสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่อธิษฐาน)
๒๔. ปริโยคาหนสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่หยั่งลง)

๒๕. ความว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มี
สัมปชัญญะทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไป
๒. นิทเทส
[๔๘] ๑. สุญญสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุเป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง
จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา โสตะ ฯลฯ
ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ มโนเป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา นี้ชื่อว่าสุญญสุญญะ
๒. สังขารสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ สังขาร ๓ ประการ ได้แก่
๑. ปุญญาภิสังขาร ๒. อปุญญาภิสังขาร
๓. อาเนญชาภิสังขาร
ปุญญาภิสังขาร เป็นธรรมว่างจากอปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร เป็นธรรมว่างจากปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร เป็นธรรมว่างจากปุญญาภิสังขารและอปุญญาภิสังขาร
นี้สังขาร ๓ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
อีกนัยหนึ่ง สังขาร ๓ ประการ ได้แก่
๑. กายสังขาร ๒. วจีสังขาร
๓. จิตตสังขาร
กายสังขาร เป็นธรรมว่างจากวจีสังขารและจิตตสังขาร
วจีสังขาร เป็นธรรมว่างจากกายสังขารและจิตตสังขาร
จิตตสังขาร เป็นธรรมว่างจากกายสังขารและวจีสังขาร
นี้สังขาร ๓ ประการ
อีกนัยหนึ่ง สังขาร ๓ ประการ ได้แก่
๑. สังขารส่วนอดีต ๒. สังขารส่วนอนาคต
๓. สังขารส่วนปัจจุบัน
สังขารส่วนอดีต เป็นธรรมว่างจากสังขารส่วนอนาคตและสังขารส่วนปัจจุบัน
สังขารส่วนอนาคต เป็นธรรมว่างจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนปัจจุบัน
สังขารส่วนปัจจุบัน เป็นธรรมว่างจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนอนาคต
นี้สังขาร ๓ ประการ
นี้ชื่อว่าสังขารสุญญะ
๓. วิปริณามสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่เกิดแล้วเป็นธรรมว่างตามสภาวะ รูปที่ดับไปเป็นธรรมแปรผันและว่าง
เวทนาที่เกิดแล้วเป็นธรรมว่างตามสภาวะ เวทนาที่ดับไปเป็นธรรมแปรผันและว่าง
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ภพที่เกิดแล้วเป็น
ธรรมว่างตามสภาวะ ภพที่ดับไปเป็นธรรมแปรผันและว่าง นี้ชื่อว่าวิปริณามสุญญะ
๔. อัคคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ ทางที่เลิศ ทางที่ประเสริฐ ทางที่วิเศษ คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง
ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ
นิพพาน นี้ชื่อว่า อัคคสุญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
๕. ลักขณสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ ลักษณะ ๒ ประการ ได้แก่
๑. พาลลักษณะ๑ (ลักษณะคนพาล)
๒. บัณฑิตลักษณะ๒ (ลักษณะบัณฑิต)
พาลลักษณะ เป็นธรรมว่างจากบัณฑิตลักษณะ
บัณฑิตลักษณะ เป็นธรรมว่างจากพาลลักษณะ
ลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. อุปปาทลักษณะ (ลักษณะความเกิดขึ้น)
๒. วยลักษณะ (ลักษณะความเสื่อม)
๓. ฐิตัญญถัตตลักษณะ (ลักษณะแปรผันเมื่อยังตั้งอยู่)
อุปปาทลักษณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
วยลักษณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
ฐิตัญญถัตตลักษณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ
อุปปาทลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
วยลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
ฐิตัญญถัตตลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ
อุปปาทลักษณะแห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
อุปปาทลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญ-
ถัตตลักษณะ
วยลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญ-
ถัตตลักษณะ

เชิงอรรถ :
๑ พาลลักษณะ หมายถึงลักษณะคนพาล ๓ ประการ คือ (๑) คิดแต่เรื่องที่ชั่ว (๒) พูดแต่สิ่งที่ชั่ว (๓) ทำแต่
กรรมที่ชั่ว (ขุ.ป.อ. ๒/๔๘/๒๘๓)
๒ บัณฑิตลักษณะ หมายถึงลักษณะบัณฑิต ๓ ประการ คือ (๑) คิดแต่เรื่องที่ดี (๒) พูดแต่สิ่งที่ดี (๓) ทำแต่
กรรมดี (ขุ.ป.อ. ๒/๔๘/๒๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
ฐิตัญญถัตตลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและ
วยลักษณะ
นี้ชื่อว่าลักขณสุญญะ
๖. วิกขัมภนสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่างจาก
เนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่างจาก
อพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอาโลกสัญญา และเป็นธรรมว่าง
จากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรม
ว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยธัมมววัตถาน และเป็น
ธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยญาณ และเป็นธรรม
ว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยปามุชชะ และเป็นธรรมว่างจาก
ปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยปฐมฌาน และเป็นธรรมว่างจาก
ปฐมฌาน ฯลฯ๑ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอรหัตตมรรค และเป็น
ธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าวิกขัมภนสุญญะ
๗. ตทังคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่างจาก
เนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่างจาก
อพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอาโลกสัญญา และเป็นธรรมว่าง
จากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรม
ว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยธัมมววัตถาน และเป็นธรรม
ว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยญาณ และเป็นธรรมว่าง
จากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยปามุชชะ และเป็นธรรมว่างจากปามุชชะ
นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยปฐมฌาน และเป็นธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ
กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอรหัตตมรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตต-
มรรค นี้ชื่อว่าตทังคสุญญะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูองค์ธรรมที่เป็นคู่ตรงกันข้าม ๓๗ คู่ ในข้อที่ ๒๘ (สุตมยญาณที่ ๔) หน้า ๔๑-๔๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
๘. สมุจเฉทสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลตัตขาดด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่างจาก
เนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่าง
จากอพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอาโลกสัญญา และเป็น
ธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอวิกเขปะ และ
เป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยธัมมววัตถาน
และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยญาณ
และเป็นธรรมว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยปามุชชะ และเป็น
ธรรมว่างจากปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยปฐมฌาน และเป็น
ธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอรหัตต-
มรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าสมุจเฉทสุญญะ
๙. ปฏิปัสสัทธิสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยเนกขัมมะ และเป็น
ธรรมว่างจากเนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยอพยาบาท
และเป็นธรรมว่างจากอพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วย
อาโลกสัญา และเป็นธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลทำให้
สงบระงับด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่
บุคคลทำให้สงบระงับด้วยธัมมววัตถาน และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน
อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยญาณ และเป็นธรรมว่างจากญาณ
อรติเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยปามุชชะ และเป็นธรรมว่างจากปามุชชะ
นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยปฐมฌาน และเป็นธรรมว่างจาก
ปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยอรหัตตมรรค
และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่า
ปฏิปัสสัทธิสุญญะ
๑๐. นิสสรณสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่าง
จากเนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอพยาบาท และเป็นธรรม
ว่างจากอพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอาโลกสัญญา และ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
เป็นธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอวิกเขปะ
และเป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยธัมมววัตถาน
และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยญาณ
และเป็นธรรมว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยปามุชชะ และเป็น
ธรรมว่างจากปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยปฐมฌาน และเป็น
ธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอรหัตต-
มรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่านิสสรณสุญญะ
๑๑. อัชฌัตตสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุที่เป็นอายตนะภายใน เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ มโนที่เป็นอายตนะ
ภายใน เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จาก
ความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา นี้ชื่อว่า
อัชฌัตตสุญญะ
๑๒. พหิทธาสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่เป็นอายตนะภายนอก เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธรรมารมณ์
ที่เป็นอายตนะภายนอก เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จาก
ความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา
นี้ชื่อว่าพหิทธาสุญญะ
๑๓. ทุภโตสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุที่เป็นอายตนะภายในและรูปที่เป็นอายตนะภายนอกทั้งสองนั้น เป็น
ธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน
จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา โสตะที่เป็นอายตนะภายใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
และสัททะที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ ฆานะที่เป็นอายตนะภายในและคันธะ
ที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ ชิวหาที่เป็นอายตนะภายในและรสที่เป็นอายตนะภายนอก
ฯลฯ กายที่เป็นอายตนะภายในและโผฏฐัพพะที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ มโน
ที่เป็นอายตนะภายในและธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะภายนอกทั้งสองนั้น เป็นธรรม
ว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จาก
ความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน นี้ชื่อว่าทุภโตสุญญะ
๑๔. สภาคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ อายตนะภายใน ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง อายตนะ
ภายนอก ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวดวิญญาณ ๖ เป็น
ธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวดผัสสะ ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและ
เป็นธรรมว่าง หมวดเวทนา ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวด
สัญญา ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวดเจตนา ๖ เป็นธรรม
กลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง นี้ชื่อว่าสภาคสุญญะ
๑๕. วิสภาคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ อายตนะภายใน ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับอายตนะภายนอก ๖ และ
เป็นธรรมว่าง อายตนะภายนอก ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดวิญญาณ ๖
และเป็นธรรมว่าง หมวดผัสสะ ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดเวทนา ๖ และ
เป็นธรรมว่าง หมวดเวทนา ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดสัญญา ๖ และเป็น
ธรรมว่าง หมวดสัญญา ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดเจตนา ๖ และเป็นธรรมว่าง
นี้ชื่อว่าวิสภาคสุญญะ
๑๖. เอสนาสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่
บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลแสวงหา เป็น
ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ
ญาณที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลแสวงหา
เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลแสวงหาเป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ
อรหัตตมรรคที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าเอสนาสุญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
๑๗. ปริคคหสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่
บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลกำหนด เป็น
ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ
ญาณที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลกำหนด
เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ
อรหัตตมรรคที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าปริคคหสุญญะ
๑๘. ปฏิลาภสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่บุคคลได้
เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากถีนมิทธะ
อวิกเขปะที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่าง
จากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลได้
เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากกิเลส
ทั้งปวง นี้ชื่อว่าปฏิลาภสุญญะ
๑๙. ปฏิเวธสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่บุคคลรู้แจ้ง
เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากถีนมิทธะ
อวิกเขปะที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรม
ว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่
บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรม
ว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าปฏิเวธสุญญะ
๒๐-๒๑. เอกัตตสุญญะ นานัตตสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นสภาวะต่าง ๆ เนกขัมมะเป็นสภาวะเดียว เนกขัมมะที่
เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ พยาบาทเป็น
สภาวะต่าง ๆ อพยาบาทเป็นสภาวะเดียว อพยาบาทที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
ผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากพยาบาท ถีนมิทธะเป็นสภาวะต่าง ๆ อาโลกสัญญาเป็น
สภาวะเดียว อาโลกสัญญาที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจาก
ถีนมิทธะ อุทธัจจะเป็นสภาวะต่าง ๆ อวิกเขปะเป็นสภาวะเดียว อวิกเขปะที่เป็น
สภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ วิจิกิจฉาเป็นสภาวะต่าง ๆ
ธัมมววัตถานเป็นสภาวะเดียว ธัมมววัตถานที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่
เป็นธรรมว่างจากวิจิกิจฉา อวิชชาเป็นสภาวะต่าง ๆ ญาณเป็นสภาวะเดียว ญาณ
ที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากอวิชชา อรติเป็นสภาวะต่าง ๆ
ปามุชชะเป็นสภาวะเดียว ปามุชชะที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรม
ว่างจากอรติ นิวรณ์เป็นสภาวะต่าง ๆ ปฐมฌานเป็นสภาวะเดียว ปฐมฌานที่เป็น
สภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็น
สภาวะต่าง ๆ อรหัตตมรรคเป็นสภาวะเดียว อรหัตตมรรคที่เป็นสภาวะเดียวของ
บุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าเอกัตตสุญญะ นานัตตสุญญะ
๒๒. ขันติสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่บุคคลพอใจ
เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากถีนมิทธะ
อวิกเขปะที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลพอใจ เป็นธรรม
ว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่
บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลพอใจ เป็น
ธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าขันติสุญญะ
๒๓. อธิษฐานสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่
บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลอธิษฐาน เป็น
ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ
ญาณที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลอธิษฐาน
เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ
อรหัตตมรรคที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าอธิฏฐานสุญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
๒๔. ปริโยคาหนสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่
บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลหยั่งลง เป็น
ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ
ญาณที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลหยั่งลง เป็น
ธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ
อรหัตตมรรคที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าปริโยคาหน-
สุญญะ
๒๕. ความว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ
ทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มีสัมปชัญญะในโลกนี้ ทำความเป็นไปแห่งกามฉันทะให้สิ้นไป
ด้วยเนกขัมมะ ทำความเป็นไปแห่งพยาบาทให้สิ้นไปด้วยอพยาบาท ทำความเป็น
ไปแห่งถีนมิทธะให้สิ้นไปด้วยอาโลกสัญญา ทำความเป็นไปแห่งอุทธัจจะให้สิ้นไป
ด้วยอวิกเขปะ ทำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาให้สิ้นไปด้วยธัมมววัตถาน ทำความ
เป็นไปแห่งอวิชชาให้สิ้นไปด้วยญาณ ทำความเป็นไปแห่งอรติให้สิ้นไปด้วยปามุชชะ
ทำความเป็นไปแห่งนิวรณ์ให้สิ้นไปด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ทำความเป็นไปแห่งกิเลส
ทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค
อีกนัยหนึ่ง ความเป็นไปแห่งจักขุนี้ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ ผู้ปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักขุอื่นก็ไม่เกิดขึ้น
ความเป็นไปแห่งโสตะ ฯลฯ ความเป็นไปแห่งฆานะ ฯลฯ ความเป็นไป
แห่งชิวหา ฯลฯ ความเป็นไปแห่งกาย ฯลฯ
ความเป็นไปแห่งมโนนี้ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ ผู้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งมโนอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ชื่อว่าความ
ว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มีสัมปชัญญะทำความเป็นไป
แห่งกิเลสให้สิ้นไป ฉะนี้
สุญญกถา จบ
ยุคนัทธวรรคที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา
๓. โพชฌงคกถา ๔. เมตตากถา
๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา
๗. ธัมมจักกกถา ๘. โลกุตตรกถา
๙. พลกถา ๑๐. สุญญกถา

วรรคที่ ๒ นี้เป็นวรรคอันยอดเยี่ยม ไม่มีวรรคอื่นเสมอ ท่านผู้ทรงนิกาย
ตั้งไว้แล้ว ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
๓. ปัญญาวรรค
หมวดว่าด้วยปัญญา
๑. มหาปัญญากถา
ว่าด้วยมหาปัญญา
[๑] อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้
เต็มรอบ
ทุกขานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
อนัตตานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้
เต็มรอบ
นิพพิทานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้
เต็มรอบ
วิราคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้
เต็มรอบ
นิโรธานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้
เต็มรอบ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหน
ให้เต็มรอบ
คือ อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาที่แล่นไป๑ให้
เต็มรอบ
ทุกขานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาชำแรกกิเลสให้
เต็มรอบ

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญาที่แล่นไป แปลมาจาก ชวนปัญญา จะใช้ว่า ปัญญาฉับไวก็ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
อนัตตานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญามากให้เต็มรอบ
นิพพิทานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาเฉียบแหลม
ให้เต็มรอบ
วิราคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาไพบูลย์ให้
เต็มรอบ
นิโรธานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาลึกซึ้งให้เต็มรอบ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาไม่ใกล้ให้
เต็มรอบ
ปัญญา ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำความเป็น
บัณฑิตให้เต็มรอบ
ปัญญา ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้างขวางให้
เต็มรอบ
ปัญญา ๙ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาร่าเริงให้
เต็มรอบ
ปัญญาร่าเริงเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อัตถปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดอรรถแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดย
การกำหนดธรรม(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดนิรุตติ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น)
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดปฏิภาณ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้เป็นอันบุคคล
บรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
อนิจจานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่าง
ไหนให้เต็มรอบ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
คือ อนิจจานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไป
ให้เต็มรอบ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
ทำปัญญาไม่ใกล้ให้เต็มรอบ
ปัญญา ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำความเป็น
บัณฑิตให้เต็มรอบ
ปัญญา ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้าง
ขวางให้เต็มรอบ
ปัญญา ๙ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาร่าเริงให้
เต็มรอบ
ปัญญาร่าเริงเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อัตถปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดอรรถแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดย
การกำหนดธรรม(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดนิรุตติ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น)
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดปฏิภาณแห่งปัญญาร่าเริงนั้น ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้เป็นอันบุคคล
บรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคล
เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาใน
ชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ ฯลฯ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาไม่ใกล้ให้เต็มรอบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
ปัญญา ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำความเป็นบัณฑิตให้
เต็มรอบ
ปัญญา ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้างขวางให้
เต็มรอบ
ปัญญา ๙ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาร่าเริงให้
เต็มรอบ
ปัญญาร่าเริงเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อัตถปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดอรรถแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดธรรม(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุตติ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น)
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดปฏิภาณ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้เป็นอัน
บุคคลบรรลุแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
[๒] อนิจจานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญา
อย่างไหนให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคล
เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
ทุกขานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหน
ให้เต็มรอบ ทุกขานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
อนัตตานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่าง
ไหนให้เต็มรอบ อนัตตานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
นิพพิทานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่าง
ไหนให้เต็มรอบ นิพพิทานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
วิราคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหน
ให้เต็มรอบ วิราคานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
นิโรธานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหน
ให้เต็มรอบ นิโรธานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญา
อย่างไหนให้เต็มรอบ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
คือ อนิจจานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญา
แล่นไปให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคล
เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
ทุกขานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาชำแรกกิเลส
ให้เต็มรอบ ทุกขานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
อนัตตานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญามากให้
เต็มรอบ อนัตตานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
นิพพิทานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาเฉียบ
แหลมให้เต็มรอบ นิพพิทานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
วิราคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้าง
ขวางให้เต็มรอบ วิราคานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
นิโรธานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาลึกซึ้งให้
เต็มรอบ นิโรธานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญา
ไม่ใกล้ให้เต็มรอบ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่
บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
ปัญญา ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำความเป็น
บัณฑิตให้เต็มรอบ
ปัญญา ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้างขวาง
ให้เต็มรอบ
ปัญญา ๙ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาร่าเริง
ให้เต็มรอบ
ปัญญาร่าเริงเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อัตถปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดอรรถแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดย
การกำหนดธรรม(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดนิรุตติ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น)
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดปฏิภาณ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้เป็นอัน
บุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
คือ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ ฯลฯ
ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้เป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
[๓] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ (คบสัตบุรุษ)
๒. สัทธัมมัสสวนะ (ฟังพระสัทธรรม)
๓. โยนิโสมนสิการ (การพิจารณาโดยแยบคาย)
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)
ธรรม ๔ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล
ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
สกทาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ทำให้แจ้งอรหัตตผล
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ ๒. สัทธัมมัสสวนะ
๓. โยนิโสมนสิการ ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
ธรรม ๔ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
อรหัตตผล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ปัญญา
ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์
แห่งปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ฯลฯ ย่อมเป็นไป
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์
ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้
มีปัญญาไม่ใกล้ ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ฯลฯ ย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว
ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้
มีปัญญาร่าเริง ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป ฯลฯ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
ชำแรกกิเลส
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ ๒. สัทธัมมัสสวนะ
๓. โยนิโสมนสิการ ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
ธรรม ๔ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส
๑. โสฬสปัญญานิทเทส
แสดงปัญญา ๑๖ ประการ
[๔] คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ปัญญา อธิบายว่า การได้ปัญญา เป็น
อย่างไร
คือ การได้ การได้เฉพาะ การถึง การถึงเฉพาะ การถูกต้อง การทำให้แจ้ง
การเข้าถึงพร้อมซึ่งมัคคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อภิญญา-
ญาณ ๖ ญาณ ๗๓ ญาณ ๗๗ นี้ชื่อว่าการได้ปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อได้ปัญญา (๑)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา อธิบายว่า ความเจริญแห่ง
ปัญญา เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
คือ ปัญญาของพระเสขะ ๗ จำพวก และของกัลยาณปุถุชน ย่อมเจริญ
ปัญญาของพระอรหันต์ ย่อมเจริญ ชื่อว่าความเจริญด้วยปัญญาที่เจริญแล้ว นี้ชื่อ
ว่าความเจริญแห่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา (๒)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา อธิบายว่า ความไพบูลย์
แห่งปัญญา เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาของพระเสขะ ๗ จำพวก และของกัลยาณปุถุชน ย่อมถึงความ
ไพบูลย์ ปัญญาของพระอรหันต์ที่ถึงความไพบูลย์แล้ว นี้ชื่อว่าความไพบูลย์แห่งปัญญา
ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา (๓)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก อธิบายว่า ปัญญามาก
เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดอรรถได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดธรรมได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดนิรุตติได้มาก ชื่อว่าปัญญา
มาก เพราะกำหนดปฏิภาณได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสีลขันธ์ได้มาก
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสมาธิขันธ์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดปัญญาขันธ์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดวิมุตติขันธ์ได้มาก ชื่อว่า
ปัญญามาก เพราะกำหนดวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดฐานะและอฐานะได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดวิหารสมาบัติได้มาก
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดอริยสัจได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนด
สติปัฏฐานได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสัมมัปปธานได้มาก ชื่อว่า
ปัญญามาก เพราะกำหนดอิทธิบาทได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนด
อินทรีย์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดพละได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก
เพราะกำหนดโพชฌงค์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดอริยมรรคได้มาก
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสามัญญผลได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดอภิญญาได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดนิพพานที่เป็นประโยชน์
อย่างยิ่งได้มาก นี้ชื่อว่าปัญญามาก ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญามาก (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง อธิบายว่า ปัญญา
กว้างขวาง เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในธาตุต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในอายตนะต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณ
เป็นไปในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณ
เป็นไปในความได้เนือง ๆ ซึ่งความว่างต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในอรรถต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณ
เป็นไปในธรรมต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในนิรุตติ
ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในปฏิภาณต่าง ๆ
กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสีลขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง
ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสมาธิขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในปัญญาขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญา
กว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในฐานะและอฐานะต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในวิหารสมาบัติต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอริยสัจต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญา
กว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสติปัฏฐานต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในสัมมัปปธานต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในอิทธิบาทต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะ
ญาณเป็นไปในอินทรีย์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็น
ไปในพละต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในโพชฌงค์
ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอริยมรรคต่าง ๆ
กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสามัญญผลต่าง ๆ กว้าง
ขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอภิญญาต่าง ๆ กว้างขวาง
ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเหนือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
กว่าธรรมที่ทั่วไปแก่ปุถุชน นี้ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง (๕)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ อธิบายว่า ปัญญา
ไพบูลย์ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอรรถไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์
เพราะกำหนดธรรมไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดนิรุตติไพบูลย์ ชื่อว่า
ปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดปฏิภาณไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนด
สีลขันธ์ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดสมาธิขันธ์ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญา
ไพบูลย์ เพราะกำหนดปัญญาขันธ์ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนด
วิมุตติขันธ์ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดวิมุตติญาณทัสสนขันธ์
ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดฐานะและอฐานะไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญา
ไพบูลย์ เพราะกำหนดวิหารสมาบัติไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนด
อริยสัจไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดสติปัฏฐานไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญา
ไพบูลย์ เพราะกำหนดสัมมัปปธานไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนด
อิทธิบาทไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอินทรีย์ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญา
ไพบูลย์ เพราะกำหนดพละไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดโพชฌงค์
ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอริยมรรคไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์
เพราะกำหนดสามัญญผลไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอภิญญา
ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอภิญญาไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์
เพราะกำหนดนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งไพบูลย์ นี้ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์
ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ (๖)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง อธิบายว่า ปัญญาลึกซึ้ง
เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในขันธ์ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในธาตุลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
อายตนะลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในปฏิจจสมุปบาทลึกซึ้ง ชื่อว่า
ปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในความได้เนือง ๆ ซึ่งความว่างต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่า
ปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอรรถต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณ
เป็นไปในธรรมต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในนิรุตติต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในปฏิภาณต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสีลขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้งเพราะญาณ
เป็นไปในสมาธิขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในปัญญา-
ขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติขันธ์
ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในฐานะและอฐานะต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่า
ปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในวิหารสมาบัติต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง
เพราะญาณเป็นไปในอริยสัจต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปใน
สติปัฏฐานต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสัมมัปปธานต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอิทธิบาทต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอินทรีย์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณ
เป็นไปในพละต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในโพชฌงค์ต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอริยมรรคต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสามัญญผลต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะ
ญาณเป็นไปในอภิญญาลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในนิพพานที่
เป็นประโยชน์ลึกซึ้ง นี้ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาลึกซึ้ง (๗)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ อธิบายว่า ปัญญาไม่ใกล้
เป็นอย่างไร
คือ อัตถปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดอรรถ ธัมมปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้อง
แล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดธรรม นิรุตติปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุตติ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
บุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดปฏิภาณ
อรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณของบุคคลนั้นใครอื่นสามารถจะถึงได้ และบุคคล
นั้นก็เป็นผู้หนึ่งที่ปุถุชนอื่น ๆ ไม่สามารถจะเทียมทันได้ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้น
จึงเป็นปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของกัลยาณปุถุชนห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของ
บุคคลที่ ๘๑ เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน บุคคลที่ ๘ มีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของบุคคลที่ ๘ ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
โสดาบัน เมื่อเทียบกับบุคคลที่ ๘ พระโสดาบันมีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระโสดาบันห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
สกทาคามี เมื่อเทียบกับพระโสดาบัน พระสกทาคามีมีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระสกทาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
อนาคามี เมื่อเทียบกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระอนาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
อรหันต์ เมื่อเทียบกับพระอนาคามี พระอรหันต์มีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระอรหันต์ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
ปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อเทียบกับพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้ามีปัญญาไม่ใกล้
เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และโลกพร้อมทั้งเทวโลก พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้เลิศ ทรงมีปัญญาไม่ใกล้
[๕] พระผู้มีพระภาคทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา ทรงมีญาณแตกฉาน
ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชชญาณ ๔๒ เป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็น
บุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษดุจราชสีห์ ทรงเป็นบุรุษดุจนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลที่ ๘ ในที่นี้หมายถึงท่านผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค (ขุ.ป.อ. ๒/๕/๒๙๕)
๒ เวสารัชชญาณ ๔ ได้แก่ (๑) สัมมาสัมพุทธปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้
ท่านยังไม่รู้) (๒) ขีณาสวปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้น)
(๓) อันตรายิกธรรมวาทะ (ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าเป็นอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจก่ออันตรายแก่
ผู้เสพได้จริง) (๔) นิยยานิกธรรมเทศนา (ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็น
ทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง) (ขุ.ป.อ. ๒/๕/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
ทรงเป็นบุรุษผู้เอาธุระ มีพระญาณหาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศ
หาที่สุดมิได้ ทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก มีพระปัญญาเป็นทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ
เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ เป็นผู้ตามแนะนำ ทรงให้รู้จักประโยชน์ ให้พินิจพิจารณา
ทรงเพ่งประโยชน์ ทรงทำให้เลื่อมใสได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงทำมรรค
ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่
ยังมิได้ตรัสบอก ทรงรู้จักมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค และสาวกของ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ดำเนินไปตามมรรคอยู่ในบัดนี้ จะเพียบพร้อมด้วย
ศีลาทิคุณในภายหลัง
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น มี
พระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นดุจพระพรหม ตรัส บอก นำความ
หมายออกมา ประทานอมตธรรม เป็นพระธรรมสามี เป็นพระตถาคต ไม่มีสิ่งที่
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นยังไม่ทรงทราบ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงรู้แจ้ง ไม่ทรงทำให้
แจ้ง มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญา ธรรมทั้งปวงรวมทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ย่อมมาสู่คลองเฉพาะพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าโดยอาการทั้งปวง
ธรรมดาประโยชน์ที่ควรแนะนำอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นธรรมที่ควรรู้มีอยู่ คือ ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน หรือประโยชน์
ในภพหน้า ประโยชน์ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับหรือประโยชน์ปิดบัง
ประโยชน์ที่ควรแนะนำหรือประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษหรือประโยชน์
ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์ที่ผ่องแผ้วหรือประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหมดนั้นย่อม
เป็นไปภายในพระพุทธญาณ
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทุกอย่างย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่ติดขัดในอดีต อนาคต
ปัจจุบัน บทธรรมที่ควรแนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็มีเพียงนั้น พระญาณมีอยู่
เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมีพระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณย่อม
ไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ไม่เกิน
กว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกันเหมือนชั้นแห่งผอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
๒ ชั้นทับกันสนิทพอดี ชั้นผอบด้านล่างก็ไม่เกินด้านบน ชั้นผอบด้านบนก็ไม่เกิน
ด้านล่าง ชั้นผอบทั้ง ๒ ย่อมวางประกบกันที่ส่วนสุดโดยรอบของกันและกัน ฉันใด
บทธรรมที่ควรแนะนำและพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าก็ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบ
ของกันและกัน ฉันนั้นเหมือนกัน บทธรรมที่ควรแนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็
มีอยู่เพียงนั้น พระญาณมีอยู่เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีเพียงนั้น พระ
ญาณย่อมมีบทธรรมที่ควรแนะนำเป็นส่วนสุดรอบ บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมี
พระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินกว่าบทธรรมที่ควรแนะนำ
ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ไม่เกินกว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่
ในส่วนสุดรอบของกันและกัน
พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวง
นับเนื่องด้วยความนึก นับเนื่องด้วยความหวัง นับเนื่องด้วยมนสิการ นับเนื่อง
ด้วยจิตตุปบาทของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ย่อมเป็นไปในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย จริต
อธิมุตติของเหล่าสัตว์ทุกจำพวก ทรงรู้จักเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ
มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มี
อาการทราม ที่พระองค์พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก เป็นภัพพสัตว์
(ผู้สมควรบรรลุธรรม) และอภัพพสัตว์ (ผู้ไม่สมควรบรรลุธรรม) โลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และ
มนุษย์ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ
ปลาและเต่าชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละ และปลาติมิ-
ติมิงคละ๑ย่อมเป็นไปภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ย่อมเป็นไปภายใน
พระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน นกชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งครุฑนามว่า เวนไตย
ย่อมบินไปในอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลายผู้เสมอกับพระสารีบุตรด้วย

เชิงอรรถ :
๑ ปลาทั้ง ๓ ตัวนี้ เป็นปลาขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิงคละสามารถกลืนกินปลาติมิได้ และปลาติมิติมิงคละมี
ขนาดลำตัวใหญ่ถึง ๕๐๐ โยชน์ สามารถกลืนกินปลาติมิงคละได้ (ขุ.ป.อ. ๒/๕/๓๐๐, ขุ.ม.อ. ๖๙/๒๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
ปัญญาก็ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธญาณ
ย่อมแผ่ครอบคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์อยู่
เหล่าบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มี
ปัญญาละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทราย ดุจจะ
เที่ยวทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่ง
ปัญหาเข้าไปหาพระตถาคตทูลถามปัญหาทั้งลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้นที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้วเป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง ขณะนั้น พระผู้
มีพระภาคทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญาเพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงทรงเป็นผู้เลิศ มีพระปัญญาไม่ใกล้ นี้ชื่อว่าปัญญาไม่ใกล้ ใน
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ (๘)
[๖] คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน อธิบายว่า ปัญญา
ดุจแผ่นดิน เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำราคะ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน
เพราะครอบงำราคะแล้ว ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโทสะ ชื่อว่า
ปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโทสะแล้ว ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะ
ครอบงำโมหะ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโมหะแล้ว
ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโกธะ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน
เพราะครอบงำโกธะแล้ว ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำอุปนาหะ
ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ
ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ
ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ชื่อว่า
ปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำกรรมอันเป็นเหตุให้เป็นไปสู่ภพทั้งปวง ชื่อว่า
ปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำกรรมอันเป็นเหตุให้เป็นไปสู่ภพทั้งปวงแล้ว
ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีราคะที่เป็นข้าศึก ชื่อว่าปัญญา
ดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีโทสะที่เป็นข้าศึก ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
เป็นปัญญาย่ำยีโมหะที่เป็นข้าศึก ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยี
โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ
ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ
ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ
อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีกรรมที่เป็น
เหตุไปสู่ภพทั้งปวงที่เป็นข้าศึก
แผ่นดินท่านกล่าวว่า ภูริ บุคคลประกอบด้วยปัญญาที่กว้างขวางไพบูลย์
เสมอด้วยแผ่นดินนั้น เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน อีก
ประการหนึ่ง คำว่า ภูริ นี้เป็นชื่อของปัญญา ปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน เป็น
ปัญญาทำลายกิเลส เป็นปัญญาเครื่องแนะนำ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่า
ปัญญาดุจแผ่นดิน นี้ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้
มีปัญญาดุจแผ่นดิน (๙)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา อธิบายว่า ความเป็นผู้
มากด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้หนักด้วยปัญญา เป็นผู้ประพฤติด้วยปัญญา
มีปัญญาเป็นที่อาศัย น้อมไปด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นธงชัย มีปัญญาเป็นยอด
มีปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยการค้นคว้า มากด้วยการ
พิจารณา มากด้วยการเพ่งพินิจ มีการเพ่งพิจารณาเป็นธรรมดา ประพฤติอยู่ด้วย
ปัญญาที่แจ่มแจ้ง มีความประพฤติงดเว้นด้วยปัญญาที่แจ่มแจ้ง หนักในปัญญา
มากด้วยปัญญา โน้มไปในปัญญา น้อมไปในปัญญา เงื้อมไปในปัญญา น้อมจิต
ไปในปัญญา หลุดพ้นไปด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นใหญ่ เปรียบเหมือนภิกษุผู้หนัก
ในคณะ ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยคณะ” ผู้หนักในจีวร ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยจีวร”
ผู้หนักในบาตร ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยบาตร” ผู้หนักในเสนาสนะ ท่านเรียกว่า
“ผู้มากด้วยเสนาสนะ” นี้ชื่อว่าความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา (๑๐)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว อธิบายว่า ปัญญาเร็ว
เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
คือ ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญศีลได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะ
บำเพ็ญอินทรียสังวรได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตาได้
เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญชาคริยานุโยคได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญา
เร็ว เพราะบำเพ็ญสีลขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญสมาธิขันธ์
ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญปัญญาขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว
เพราะบำเพ็ญวิมุตติขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญวิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะรู้แจ้งฐานะและอฐานะได้เร็วไว ชื่อว่า
ปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญวิหารสมาบัติได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะรู้แจ้ง
อริยสัจได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญสติปัฏฐานได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว
เพราะเจริญสัมมัปปธานได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญอิทธิบาทได้เร็วไว
ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญอินทรีย์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญพละได้
เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญโพชฌงค์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะ
เจริญอริยมรรคได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะทำให้แจ้งสามัญญผลได้เร็วไว
ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะรู้แจ้งอภิญญาได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะทำให้แจ้ง
นิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้เร็วไว นี้ชื่อว่าปัญญาเร็ว ในคำว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว (๑๑)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน อธิบายว่า ปัญญาพลัน
เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญศีลได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน
เพราะบำเพ็ญอินทรียสังวรได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญโภชเน-
มัตตัญญุตาได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญชาคริยานุโยคได้เร็วพลัน
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญสีลขันธ์ ฯลฯ สมาธิขันธ์ ฯลฯ ปัญญาขันธ์
ฯลฯ วิมุตติขันธ์ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญวิมุตติญาณทัสสนขันธ์
ได้เร็วพลัน
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งฐานะและอฐานะได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน
เพราะบำเพ็ญวิหารสมาบัติได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งอริยสัจได้เร็ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
พลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญสติปัฏฐานได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน
เพราะเจริญสัมมัปปธานได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญอิทธิบาทได้
เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญอินทรีย์ได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน
เพราะเจริญพละได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญโพชฌงค์ได้เร็วพลัน
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญอริยมรรคได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะทำ
ให้แจ้งสามัญญผลได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งอภิญญาได้เร็วพลัน
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะทำให้แจ้งนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้เร็วพลัน นี้
ชื่อว่าปัญญาพลัน ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน (๑๒)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง อธิบายว่า ปัญญาร่าเริง
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดี
มาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญศีล เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญา
ร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก
มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญอินทรียสังวร เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่า
ปัญญาร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความ
ยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตา เพราะเหตุนั้น ปัญญา
นั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก
มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญชาคริยานุโยค เพราะเหตุนั้น
ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก
มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญสีลขันธ์ ฯลฯ สมาธิขันธ์ ฯลฯ ปัญญาขันธ์
ฯลฯ วิมุตติขันธ์ ฯลฯ บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก
มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ เพราะ
เหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... รู้แจ้งฐานะและอฐานะ ... บำเพ็ญวิหารสมาบัติให้
เต็มรอบ ... รู้แจ้งอริยสัจ ... เจริญสติปัฏฐาน ... เจริญสัมมัปปธาน ... เจริญอิทธิบาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
... เจริญอินทรีย์ ... เจริญพละ ... เจริญโพชฌงค์ ... เจริญอริยมรรค ... บุคคล
บางคนในโลกนี้ ... ทำให้แจ้งสามัญญผล
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก
มีความปราโมทย์มาก ทำให้แจ้งอภิญญา เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มี
ความปราโมทย์มาก ทำให้แจ้งนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยปัญญานั้น
เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง นี้ชื่อว่าปัญญาร่าเริง ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง (๑๓)
[๗] คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป อธิบายว่า
ปัญญาแล่นไป เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่รูปทั้งปวงที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต มีอยู่
ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้ โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญา
พลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดย
ความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่วิญญาณทั้งปวงที่
เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลว
หรือประณีต มีอยู่ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าปัญญาแล่นไป
เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญา
พลันแล่นไปโดยความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญา
แล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่ชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไป โดยความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่ารูปที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์
เพราะมีสภาวะเป็นภัย ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร พลันแล่น
ไปในนิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งรูป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าเวทนา
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป
เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมีสภาวะ
เป็นภัย ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสารแล้วพลันแล่นไปในนิพพาน
ซึ่งเป็นความดับแห่งชราและมรณะ
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่ารูปทั้งที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดาแล้วพลันแล่นไปใน
นิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งรูป
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าเวทนา
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป
เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มี
ความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดาแล้วพลันแล่นไปในนิพพานซึ่ง
เป็นความดับแห่งชราและมรณะ นี้ชื่อว่าปัญญาแล่นไป ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป (๑๔)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม อธิบายว่า ปัญญา
เฉียบแหลม เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะทำลายกิเลสได้ฉับพลัน ชื่อว่าปัญญา
เฉียบแหลม เพราะไม่รับกามวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ละ บรรเทา ทำกามวิตกที่เกิดขึ้น
ให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับราคะที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับโทสะไว้ ละ บรรเทา ทำโทสะให้สิ้นสุด
ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป ฯลฯ โมหะ ฯลฯ โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ
ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ
ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ
กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงที่เกิดขึ้นไว้
ละ บรรเทา ทำกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงที่เกิดขึ้นให้สิ้นสุด ให้ถึงความ
ไม่มีอีกต่อไปแล้ว ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะทำให้บรรลุ ทำให้แจ้ง ทำให้
ถูกต้องอริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ ณ อาสนะเดียว
นี้ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
เฉียบแหลม (๑๕)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส อธิบายว่า
ปัญญาชำแรกกิเลส เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มากด้วยความสะดุ้ง เป็นผู้มากด้วยความ
หวาดเสียว เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย เป็นผู้มากด้วยความระอา เป็นผู้มาก
ด้วยความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง ย่อมชำแรก ทำลาย
กองโลภะที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย(ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ปัญญาชำแรกกิเลส
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... ทำลายกองโทสะที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย
(ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... ทำลายกองโมหะที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย
(ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... ย่อมชำแรก ทำลายโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ
มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ
ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ
ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มากด้วยความสะดุ้ง เป็นผู้มากด้วยความหวาด
เสียว เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย เป็นผู้มากด้วยความระอา เป็นผู้มากด้วย
ความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง ย่อมชำแรก ทำลายกรรม
ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย(ด้วยปัญญา)
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส นี้ชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส (๑๖)
ปัญญาเหล่านี้เรียกว่า ปัญญา ๑๖ ประการ บุคคลประกอบด้วยปัญญา ๑๖
ประการนี้ ชื่อว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทา
๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส
แสดงบุคคลวิเศษ
[๘] บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งถึงพร้อมด้วยความ
เพียรมาก่อน พวกหนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน พวกที่ถึงพร้อมด้วย
ความเพียรมาก่อนเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมา
ก่อนนั้น และญาณของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่ถึงพร้อมด้วยความเพียร
มาก่อนก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งเป็นพหูสูต พวกหนึ่งไม่ได้เป็นพหูสูต พวกที่
เป็นพหูสูตเป็นพวกที่ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่ได้เป็นพหูสูตนั้น และญาณของ
บุคคลผู้เป็นพหูสูตนั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก คือ
พวกหนึ่งมากด้วยเทศนา พวกหนึ่งไม่มากด้วยเทศนา พวกที่มากด้วยเทศนาเป็นผู้
ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่มากด้วยเทศนานั้น และญาณของบุคคลผู้มากด้วย
เทศนานั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก และ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น