Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๑-๑๒ หน้า ๕๖๐ - ๖๑๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส
พวกที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งอาศัยครู พวกหนึ่งไม่อาศัยครู
พวกที่อาศัยครูเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่อาศัยครูนั้น และญาณของ
บุคคลผู้อาศัยครูนั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวก
ที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก และพวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง
มีวิหารธรรมมาก พวกหนึ่งมีวิหารธรรมไม่มาก พวกที่มีวิหารธรรมมากเป็นผู้ประเสริฐ
วิเศษยิ่งกว่าพวกที่มีวิหารธรรมไม่มากนั้น และญาณของบุคคลผู้มีวิหารธรรมมาก
นั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวก
ที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก และพวกที่มี
วิหารธรรมมากก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งมีการพิจารณามาก พวกหนึ่งมีการ
พิจารณาไม่มาก พวกที่มีการพิจารณามาก เป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่มีการ
พิจารณาไม่มากนั้น และญาณของบุคคลผู้มีการพิจารณามากนั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวกที่
มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีวิหาร-
ธรรมมากก็มี ๒ จำพวก และพวกที่มีการพิจารณามากก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง
เป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา พวกหนึ่งเป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา พวกที่เป็น
พระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่เป็นพระเสขะบรรลุ
ปฏิสัมภิทานั้น และญาณของพระอเสขะผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวก
ที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีวิหารธรรมมากก็มี ๒ จำพวก พวกที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส
มีการพิจารณามากก็มี ๒ จำพวก และพวกที่เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒
จำพวก คือ พวกหนึ่งบรรลุสาวกบารมี พวกหนึ่งไม่บรรลุสาวกบารมี พวกที่
บรรลุสาวกบารมีเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่บรรลุสาวกบารมี และญาณ
ของผู้บรรลุสาวกบารมีนั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวกที่
มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีวิหารธรรม
มากก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีการพิจารณามากก็มี ๒ จำพวก และพวกที่เป็น
พระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งบรรลุสาวกบารมี พวกหนึ่ง
เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พวกที่เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่ง
กว่าพวกที่บรรลุสาวกบารมีนั้น และญาณของผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
ย่อมแตกฉาน
เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้าและโลกพร้อมทั้งเทวโลก พระตถาคต-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงฉลาดในประเภท
แห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงบรรลุถึงปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชชญาณ
๔ ทรงเป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษดุจราชสีห์ ฯลฯ
เหล่าบัณฑิต ผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มีปัญญา
ละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทราย ดุจจะเที่ยว
ทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่งปัญหาเข้า
ไปหาพระตถาคตทูลถามปัญหาทั้งลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาค
ทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง ขณะนั้นพระผู้มีพระภาค
ทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคจึงทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ดังนี้
มหาปัญญากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
๒. อิทธิกถา
ว่าด้วยฤทธิ์
[๙] ฤทธิ์เป็นอย่างไร ฤทธิ์มีเท่าไร ภูมิแห่งฤทธิ์มีเท่าไร บาทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
บทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร มูลแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
ถาม : ฤทธิ์เป็นอย่างไร
ตอบ : ชื่อว่าฤทธิ์ เพราะมีสภาวะสำเร็จ
ถาม : ฤทธิ์มีเท่าไร
ตอบ : ฤทธิ์มี ๑๐ อย่าง
ถาม : ภูมิแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
ตอบ : ภูมิแห่งฤทธิ์มี ๔ อย่าง ... บาทแห่งฤทธิ์มี ๔ อย่าง ... บทแห่งฤทธิ์มี
๘ อย่าง ... มูลแห่งฤทธิ์มี ๑๖ อย่าง
ฤทธิ์ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ๒. ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่าง ๆ
๓. ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ ๔. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ
๕. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ๖. ฤทธิ์ของพระอริยะ
๗. ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม ๘. ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
๙. ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา

๑๐. ชื่อว่าฤทธิ์ เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วน
นั้น ๆ เป็นปัจจัย
ภูมิแห่งฤทธิ์ ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ปฐมฌานเป็นภูมิเกิดจากวิเวก
๒. ทุติยฌานเป็นภูมิแห่งปีติและสุข
๓. ตติยฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุข
๔. จตุตถฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
ภูมิแห่งฤทธิ์ ๔ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์
เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความชำนาญในฤทธิ์ เพื่อ
ความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์
บาทแห่งฤทธิ์ ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
บาทแห่งฤทธิ์ ๔ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์
เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความชำนาญในฤทธิ์ เพื่อ
ความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์
บทแห่งฤทธิ์ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ฉันทะไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่ใช่
ฉันทะ ฉันทะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิริยะไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่ใช่
วิริยะ วิริยะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
ถ้าภิกษุอาศัยจิตตะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต จิตตะไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่ใช่
จิตตะ จิตตะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิมังสาไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่
ใช่วิมังสา วิมังสาเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
บทแห่งฤทธิ์ ๘ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์
เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความชำนาญในฤทธิ์ เพื่อ
ความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
มูลแห่งฤทธิ์ ๑๖ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. จิตไม่ฟุบลงย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา (ไม่หวั่นไหว)
๒. จิตไม่ฟูขึ้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
๓. จิตไม่ยินดีย่อมไม่หวั่นไหวเพราะราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
๔. จิตไม่มุ่งร้ายย่อมไม่หวั่นไหวเพราะพยาบาท เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
๕. จิตอันทิฏฐิไม่อาศัยย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา
๖. จิตไม่พัวพันย่อมไม่หวั่นไหวเพราะฉันทราคะ เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าอาเนญชา
๗. จิตหลุดพ้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกามราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
๘. จิตไม่เกาะเกี่ยวย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
๙. จิตปราศจากเครื่องครอบงำย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความครอบงำ
กิเลส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๐. จิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ย่อมไม่หวั่นเพราะกิเลสต่าง ๆ๑ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๑. จิตที่กำหนดด้วยศรัทธาย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๒. จิตที่กำหนดด้วยวิริยะย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา

เชิงอรรถ :
๑ กิเลสต่าง ๆ ในที่นี้หมายถึงกิเลสที่เป็นไปในอารมณ์ต่าง ๆ (ขุ.ป.อ. ๒/๙/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
๑๓. จิตที่กำหนดด้วยสติย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๔. จิตที่กำหนดด้วยสมาธิย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๕. จิตที่กำหนดด้วยปัญญาย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๖. จิตที่ถึงความสว่างไสวย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความมืดคืออวิชชา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
มูลแห่งฤทธิ์ ๑๖ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะ
ฤทธิ์ เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ชำนาญ
ในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์
ทสอิทธินิทเทส
แสดงฤทธิ์ ๑๐ อย่าง
[๑๐] ฤทธิ์ที่อธิษฐาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในที่นี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้ แสดงให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือน
ดำลงในน้ำก็ได้ เดินไปบนน้ำโดยน้ำไม่แยกเหมือนเดินไปบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไป
ในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มี
อานุภาพมากอย่างนั้นก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
คำว่า ในที่นี้ อธิบายว่า ในความเห็นนี้ คือ ในความถูกใจนี้ ความพอใจนี้
ความยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้ สัตถุศาสน์นี้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในที่นี้
คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นพระเสขะ หรือเป็น
พระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
คำว่า แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง อธิบายว่า แสดงฤทธิ์ได้มีประการต่าง ๆ
คำว่า แม้คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์โดย
ปกติเป็นผู้เดียว ย่อมนึกให้เป็นหลายคน คือ นึกให้เป็น ๑๐๐ คน ๑,๐๐๐ คน
๑๐๐,๐๐๐ คน แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “จงเป็นหลายคน” ก็เป็นหลายคนได้
ท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความเป็นผู้ชำนาญแห่งจิต แม้คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
เปรียบเหมือนท่านพระจุลปันถกรูปเดียวแสดงเป็นหลายรูปก็ได้ ฉะนั้น
คำว่า หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปกติ
เป็นหลายคน ย่อมนึกให้เป็นคนเดียวแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “จงเป็นคนเดียว”
ก็เป็นคนเดียวได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น ถึงความชำนาญแห่งจิต หลายคนแสดงเป็นคน
เดียวก็ได้ เปรียบเหมือนท่านจุลปันถกหลายรูปแสดงเป็นรูปเดียวก็ได้ ฉะนั้น
[๑๑] คำว่า แสดงให้ปรากฏก็ได้ อธิบายว่า ที่ใคร ๆ ไม่ปิดบังไว้ ทำให้
ไม่มีอะไรปิดบัง ให้เปิดเผยปรากฏก็ได้
คำว่า แสดงให้หายไปก็ได้ อธิบายว่า ที่ใคร ๆ เปิดไว้ ทำให้เป็นที่ปิดบัง
มิดชิดก็ได้
คำว่า ทะลุฝา ทะลุกำแพง ฯลฯ เหมือนไปในอากาศก็ได้ อธิบายว่า
ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้อากาสกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงฝา กำแพง ภูเขา แล้ว
อธิษฐานด้วยญาณว่า “จงเป็นที่ว่าง” ก็เป็นที่ว่างได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นย่อมทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตย่อมทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่แจ้ง เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์
โดยปกติไปในที่ไม่มีอะไรปิดบังกั้นไว้โดยไม่ติดขัด ฉะนั้น
คำว่า ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดิน เหมือนเดินไปบนน้ำก็ได้ อธิบายว่า ท่าน
ผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้อาโปกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงแผ่นดินแล้วอธิษฐานด้วย
ญาณว่า “จงเป็นน้ำ” ก็เป็นน้ำได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินก็ได้ ท่าน
ผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนเดินไปบนน้ำก็ได้
เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติผุดขึ้นดำลงในน้ำได้ ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
คำว่า เดินไปบนน้ำ ฯลฯ เหมือนเดินไปบนแผ่นดินก็ได้ อธิบายว่าท่าน
ผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงน้ำแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า
“จงเป็นแผ่นดิน” ก็เป็นแผ่นดินได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินไปบนน้ำโดยน้ำไม่แยกก็ได้
ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตเดินไปบนน้ำโดยน้ำไม่แยกเหมือนเดินไป
บนดินก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติเดินไปบนแผ่นดินโดย
แผ่นดินไม่แตก ฉะนั้น
คำว่า เหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์เป็น
ผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงอากาศแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “จง
เป็นแผ่นดิน” ก็เป็นแผ่นดินได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง
ในกลางอากาศ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง
นอนบ้าง ในกลางอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์
โดยปกติเดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บนแผ่นดิน ฉะนั้น
[๑๒] คำว่า ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพ
มากอย่างนี้ก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์ในศาสนานี้ถึงความชำนาญแห่งจิต นั่งหรือ
นอนก็ตาม นึกถึงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์จงมีในที่ใกล้มือ” ก็มีในที่ใกล้มือได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นนั่งหรือนอน
ก็ตาม ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นี้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญ
แห่งจิต นั่งหรือนอนก็ตาม ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นี้ เปรียบ
เหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติย่อมสัมผัสรูปอะไร ๆ ที่ใกล้มือได้ ฉะนั้น
คำว่า ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์
ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ถ้าประสงค์จะไปยังพรหมโลก ก็อธิษฐานที่ไกลให้เป็นที่
ใกล้ว่า “จงเป็นที่ใกล้” ก็เป็นที่ใกล้ได้ อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า “จงเป็นที่ไกล”
ก็เป็นที่ไกลได้ อธิษฐานของมากให้เป็นของน้อยว่า “จงเป็นของน้อย” ก็เป็นของ
น้อยได้ อธิษฐานของน้อยให้เป็นของมากว่า “จงเป็นของมาก” ก็เป็นของมากได้
ย่อมเห็นรูปพรหมนั้นได้ด้วยทิพพจักขุ ย่อมฟังเสียงพรหมนั้นได้ด้วยทิพพโสตธาตุ
ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นได้ด้วยเจโตปริยญาณ ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ปรากฏ ก็น้อมจิตอธิษฐานด้วยอำนาจกาย
ครั้นหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาแล้วก็ไปยังพรหมโลกได้ด้วยกายที่ปรากฏอยู่
ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้นประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่
ปรากฏ ก็น้อมกายอธิษฐานด้วยอำนาจจิต ครั้นหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา
แล้วก็ไปยังพรหมโลกได้ด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ท่านผู้มีฤทธิ์เนรมิตรูปที่สำเร็จด้วยใจ
มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่องไว้ข้างหน้าของพรหมนั้น ถ้าท่านผู้มี
ฤทธิ์เดินอยู่ รูปกายเนรมิตนั้นก็เดินอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนอยู่ รูปกาย
เนรมิตก็ยืนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นั่งอยู่ รูปกายเนรมิตก็นั่งอยู่ ณ ที่นั้น
ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นอนอยู่ รูปกายเนรมิตก็นอนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์บังหวน
ควันอยู่ รูปกายเนรมิตก็บังหวนควันอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ให้ไฟลุกอยู่ รูป-
กายเนรมิตก็ให้ไฟลุกอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์กล่าวธรรมอยู่ รูปกายเนรมิต
ก็กล่าวธรรมอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาอยู่ รูปกายเนรมิตก็ถาม
ปัญหาอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถูกรูปกายเนรมิตถามปัญหาก็แก้ปัญหาอยู่ รูป-
กายเนรมิตถูกท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาก็แก้ปัญหาอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืน
สนทนาปราศรัยกับพรหมนั้นอยู่ รูปกายเนรมิตก็ยืนสนทนาปราศรัยกับพรหม
นั้นอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ทำกิจใดอยู่ รูปกายเนรมิตก็ทำกิจนั้น ๆ นั่นเอง
นี้ฤทธิที่อธิษฐาน (๑)
[๑๓] ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่าง ๆ เป็นอย่างไร
คือ พระเถระชื่ออภิภูเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก เปล่งเสียงให้พันโลกธาตุทราบชัด ท่านแสดง
ธรรมด้วยกายที่ปรากฏก็มี ด้วยกายที่ไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่าง
ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนปรากฏ
ก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่างไม่ปรากฏก็มี ท่านละเพศปกติแล้วแสดงเพศกุมาร
บ้าง แสดงเพศนาคบ้าง แสดงเพศครุฑบ้าง แสดงเพศยักษ์บ้าง แสดงเพศอสูรบ้าง
แสดงเพศพระอินทร์บ้าง แสดงเพศเทวดาบ้าง แสดงเพศพรหมบ้าง แสดงรูปสมุทร
บ้าง แสดงรูปภูเขาบ้าง แสดงรูปป่าบ้าง แสดงรูปราชสีห์บ้าง แสดงรูปเสือโคร่งบ้าง
แสดงรูปเสือเหลืองบ้าง แสดงรูปช้างบ้าง แสดงพลม้าบ้าง แสดงพลรถบ้าง แสดง
พลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่าง ๆ บ้าง นี้ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่างๆ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
[๑๔] ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในศาสนานี้เนรมิตกายอื่นจากกายนี้มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะ
ครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเหมือนบุรุษชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง
เขาพึงมีความหมายรู้อย่างนี้ว่า “นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องเป็นอย่างหนึ่ง ไส้
ก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ไส้ก็ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง” อีกประการหนึ่ง บุรุษชัก
ดาบออกจากฝัก เขาพึงมีความหมายรู้อย่างนี้ว่า “นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบเป็นอย่างหนึ่ง
ฝักก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ดาบก็ชักออกจากฝักนั่นเอง” อีกประการหนึ่ง บุรุษเอางู
ออกจากกระทอ เขาพึงมีความหมายรู้อย่างนี้ว่า “นี้งู นี้กระทอ งูเป็นอย่างหนึ่ง
กระทอก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่งูก็ออกจากกระทอนั่นเอง” ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เนรมิตกายอื่นนอกจากกายนี้มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบทุกส่วน
มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ (๓)
[๑๕] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่ละนิจจสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยอนิจจานุปัสสนา เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ สภาวะที่ละสุขสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยทุกขานุปัสสนา
ฯลฯ สภาวะที่ละอัตตสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยอนัตตานุปัสสนา ฯลฯ สภาวะที่
ละนันทิย่อมสำเร็จได้ด้วยนิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ สภาวะที่ละราคะย่อมสำเร็จได้
ด้วยวิราคานุปัสสนา ฯลฯ สภาวะที่ละสมุทัยย่อมสำเร็จได้ด้วยนิโรธานุปัสสนา ฯลฯ
สภาวะที่ละอาทานะย่อมสำเร็จได้ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา เพราะเหตุนั้น จึงเป็น
ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ท่านพระพากุละ ท่านพระสังกิจจะ ท่านพระภูตปาละมี
ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ (๔)
[๑๖] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่ละนิวรณ์ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น จึงเป็น
ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ สภาวะที่ละวิตกวิจารย่อมสำเร็จได้ด้วยทุติยฌาน เพราะ
เหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ สภาวะที่ละปีติย่อมสำเร็จได้ด้วยตติยฌาน
ฯลฯ สภาวะที่ละสุขและทุกข์ย่อมสำเร็จได้ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ สภาวะที่ละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยอากาสานัญจายตน-
สมาบัติ ฯลฯ สภาวะที่ละอากาสานัญจายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยวิญญาณัญ-
จายตนสมาบัติ ฯลฯ สภาวะที่ละวิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วย
อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ สภาวะที่ละอากิญจัญญายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้
ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
ท่านพระสารีบุตรมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ท่านพระสัญชีวะมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
ท่านพระขาณุโกณฑัญญะมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ อุตตราอุบาสิกามีฤทธิ์ที่แผ่ไป
ด้วยสมาธิ สามาวดีอุบาสิกามีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ (๕)
[๑๗] ฤทธิ์ของพระอริยะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่า
เป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความ
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความหมายรู้
ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่
ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความ
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความหมายรู้
ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงเว้น
สิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่”
ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุแผ่ไปด้วยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งที่ไม่น่า
ปรารถนา ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมไปโดยความไม่เที่ยงในสิ่งที่น่าปรารถนา
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา ทสอิทธินิทเทส
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุแผ่ไปด้วยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุในสิ่งที่ไม่น่า
ปรารถนาและน่าปรารถนา ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่า
เป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความไม่เที่ยง ในสิ่งที่
น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่
ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและใน
สิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในศาสนานี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มี
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ นี้ฤทธิ์ของพระอริยะ (๖)
[๑๘] ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม เป็นอย่างไร
คือ นกทุกชนิด เทวดาทุกจำพวก มนุษย์บางพวก วินิปาติกเปรตบางพวก
มีฤทธิ์เกิดจากผลกรรม นี้ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม (๗)
ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ เป็นอย่างไร
คือ พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเหาะไปในอากาศพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา๑ ตลอดจน
พวกคนเลี้ยงม้าเป็นที่สุด ฤทธิ์ของโชติยคหบดีผู้มีบุญ ฤทธิ์ของชฏิลคหบดีผู้มีบุญ

เชิงอรรถ :
๑ จตุรงคินีเสนา หมายถึงกองทัพประกอบด้วยองค์ ๔ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า (ขุ.ป.อ.
๒/๑๘/๓๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๓. อภิสมยกถา
ฤทธิ์ของเมณฑกคหบดีผู้มีบุญ ฤทธิ์ของโฆสิตคหบดีผู้มีบุญ ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
มาก ๕ คน๑ เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ นี้ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ (๘)
ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา เป็นอย่างไร
คือ พวกวิทยาธรร่ายวิชชาแล้วเหาะไปได้ แสดงพลช้างบ้าง แสดงพลม้าบ้าง
แสดงพลรถบ้าง แสดงพลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่าง ๆ บ้าง ใน
กลางอากาศ นี้ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา (๙)
ชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ
เป็นปัจจัย เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่ละกามฉันทะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ เป็นปัจจัย
สภาวะแห่งการละพยาบาทย่อมสำเร็จได้ด้วยอพยาบาท ฯลฯ สภาวะที่ละ
ถีนมิทธะย่อมสำเร็จได้ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ สภาวะที่ละกิเลสทั้งปวงย่อม
สำเร็จได้ด้วยอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วย
การประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ เป็นปัจจัย ชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จ
ด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ เป็นปัจจัยอย่างนี้ (๑๐)
ฤทธิ์ ๑๐ อย่างนี้
ทสอินทธินิทเทส จบ
อิทธิกถา จบ
๓. อภิสมยกถา
ว่าด้วยการตรัสรู้
[๑๙] คำว่า การตรัสรู้ อธิบายว่า ตรัสรู้ด้วยอะไร คือ ตรัสรู้ด้วยจิต
ตรัสรู้ด้วยจิตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีญาณ ก็ตรัสรู้ได้ บุคคลผู้ไม่มี
ญาณตรัสรู้ไม่ได้ ตรัสรู้ด้วยญาณ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้มีบุญมาก ๕ คน ได้แก่ (๑) เมณฑกเศรษฐี (๒) จันทปทุมาภริยาของเมณฑกเศรษฐี (๓) ธนัญชัยเศรษฐี-
บุตร (๔) สุมนาเทวีลูกสะใภ้ (๕) นายปุณณทาส (ขุ.ป.อ. ๒/๑๘/๓๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๓. อภิสมยกถา
ตรัสรู้ด้วยญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ได้ บุคคลผู้ไม่มีจิต
ก็ตรัสรู้ไม่ได้ ตรัสรู้ได้ด้วยจิตและด้วยญาณ
ตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกามาวจรจิตและ
ญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยกามาวรจิตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยรูปาวจรจิต
และญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยอรูปาวจรจิต
และญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยกัมมัสส-
กตาจิตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยสัจจานุโลมิกจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยสัจจานุ-
โลมิกจิตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็น
อดีตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่
เป็นอนาคตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยโลกียจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วย
โลกียจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณไม่ได้ (แต่)ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณใน
ขณะแห่งโลกุตตรมรรค
ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตตรมรรค เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้นและเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยแห่งญาณ๑ จิตที่สัมปยุตด้วยญาณนั้นมีนิโรธเป็นโคจร๒ ญาณเป็นใหญ่ในการ

เชิงอรรถ :
๑ ญาณ ในที่นี้หมายถึงมัคคญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๙/๓๕๓)
๒ มีนิโรธเป็นโคจร หมายถึงมีนิพพานเป็นอารมณ์ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๙/๓๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๓. อภิสมยกถา
เห็นและเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณที่สัมปยุตด้วยจิตนั้นมีนิโรธเป็นโคจร ย่อม
ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบัน และด้วยญาณในขณะแห่งโลกุตตรมรรคอย่างนี้
[๒๐] ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค การตรัสรู้คือความเห็น
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ การตรัสรู้คือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ การตรัสรู้คือ
การกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา การตรัสรู้คือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ การ
ตรัสรู้คือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ การตรัสรู้คือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ
การตรัสรู้คือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
การตรัสรู้คือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ การตรัสรู้คือ
การพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
การตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ การ
ตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ การตรัสรู้คือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ การตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหว
เพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ การตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่า
ปัญญาพละ
การตรัสรู้คือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ การตรัสรู้คือการประคองไว้
ชื่อว่าวิริยินทรีย์ การตรัสรู้คือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ การตรัสรู้คือความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ การตรัสรู้คือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์
การตรัสรู้ที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าพละ
เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว การตรัสรู้ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก
การตรัสรู้ที่ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะดำรงไว้ การ
ตรัสรู้ที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมี
สภาวะเป็นของแท้ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน การตรัสรู้ที่
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมี
สภาวะไม่ล่วงเลยกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๓. อภิสมยกถา
การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม การตรัสรู้ที่ชื่อว่าจิตต-
วิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน การตรัสรู้ที่ชื่อว่าทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น การ
ตรัสรู้ที่ชื่อว่าอธิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าวิชชา๑ เพราะมี
สภาวะรู้แจ้ง การตรัสรู้ที่ชื่อว่าวิมุตติ๒ เพราะมีสภาวะสละ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าญาณ
ในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด การตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็น
มูลเหตุ การตรัสรู้ที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน การตรัสรู้ที่ชื่อว่า
ผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม การตรัสรู้ที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่
ประชุม การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสติ
เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่ง
กว่าธรรมนั้น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร การตรัสรู้ที่ชื่อว่า
ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
[๒๑] ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค การตรัสรู้คือความเห็น
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ
มีสภาวะเป็นที่สุด
ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติผล การตรัสรู้คือความเห็น ชื่อว่า
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมีสภาวะระงับ การ
ตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่
อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งสกทา-
คามิผล ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิผล ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ วิชชา ในที่นี้หมายถึงมัคคญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๐/๓๕๔)
๒ วิมุตติ ในที่นี้หมายถึงสมุจเฉทวิมุตติ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๐/๓๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๓. อภิสมยกถา
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอรหัตตผล การตรัสรู้คือความเห็น
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ การตรัสรู้คือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ การตรัสรู้
ที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมีสภาวะระงับ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมี
สภาวะเป็นมูล ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมี
สภาวะเป็นที่สุด
บุคคลนี้นั้นย่อมละกิเลสได้ คือ ละกิเลสที่เป็นอดีตได้ ละกิเลสที่เป็น
อนาคตได้ (และ) ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้
คำว่า ละกิเลสที่เป็นอดีตได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้หรือ
ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ทำกิเลสที่สิ้นแล้วให้สิ้นไป ทำกิเลสที่ดับแล้วให้ดับไป ทำ
กิเลสที่ปราศจากแล้วให้ปราศจากไป ทำกิเลสที่หมดแล้วให้หมดไป ละกิเลสที่เป็น
อดีตซึ่งไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้
คำว่า ละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคตได้
หรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ละกิเลสที่ยังไม่เกิด ละกิเลสที่ยังไม่บังเกิด ละกิเลสที่
ยังไม่เกิดขึ้น ละกิเลสที่ยังไม่ปรากฏ ละกิเลสที่เป็นอนาคตซึ่งไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น
บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้
คำว่า ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้
หรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้กำหนัดก็ละราคะได้ ผู้ขัดเคืองก็ละโทสะได้ ผู้หลงก็ละ
โมหะได้ ผู้มีมานะผูกพันก็ละมานะได้ ผู้ถือทิฏฐิผิดก็ละทิฏฐิได้ ผู้ถึงความฟุ้งซ่าน
ก็ละอุทธัจจะได้ ผู้ลังเลไม่แน่ใจก็ละวิจิกิจฉาได้ ผู้มีเรี่ยวแรงก็ละอนุสัยได้ ธรรมฝ่าย
ดำและธรรมฝ่ายขาว๑เป็นธรรมคู่กันเป็นไปด้วยกัน มัคคภาวนาที่มีความหม่นหมอง
ด้วยกิเลสนั้นจึงมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้ ละ
กิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้ (และ)ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันไม่ได้
บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้ ละกิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้ (และ)ละกิเลสที่
เป็นปัจจุบันไม่ได้หรือ ถ้าอย่างนั้น มัคคภาวนาก็ไม่มี การทำผลให้แจ้งก็ไม่มี การ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมฝ่ายดำ หมายถึงอกุศลธรรม ธรรมฝ่ายขาว หมายถึงกุศลธรรม (ขุ.ป.อ. ๒/๒๑/๓๕๔-๓๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา
ละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี มัคคภาวนามีอยู่ การทำผลให้แจ้งก็มีอยู่ การ
ละกิเลสก็มีอยู่ ธรรมาภิสมัยก็มีอยู่ เหมือนอะไร เหมือนต้นไม้กำลังรุ่นยังไม่เกิดผล
บุรุษพึงตัดต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดของต้นไม้นั้นก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็
บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้
ความเกิดขึ้นเป็นเหตุ ความเกิดขึ้นเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดของกิเลส
ทั้งหลาย จิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้วจึงแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเกิดขึ้น
เพราะจิตแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเกิดขึ้น กิเลสที่พึงบังเกิดเพราะความเกิด
ขึ้นเป็นปัจจัย ที่ยังไม่เกิดก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ
ทุกข์จึงดับด้วยประการฉะนี้
ความเป็นไปเป็นเหตุ ...
นิมิตเป็นเหตุ ...
กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นเหตุ กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นปัจจัย
แห่งความบังเกิดของกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษในกรรมเป็นเครื่องประมวลมาแล้ว
จึงแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา เพราะจิตแล่นไปในนิพพาน
ซึ่งไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา กิเลสที่พึงบังเกิดเพราะกรรมเป็นเครื่องประมวล
มาเป็นปัจจัย ที่ยังไม่เกิดก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้ เพราะเหตุดับ ทุกข์จึงดับด้วยประการฉะนี้
มัคคภาวนาจึงมีอยู่ การทำผลให้แจ้งก็มีอยู่ การละกิเลสก็มีอยู่ ธรรมาภิสมัยก็มี
อยู่ด้วยประการฉะนี้
อภิสมยกถา จบ
๔. วิเวกกถา
ว่าด้วยวิเวก
[๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง การงานนั้น
ทั้งหมดบุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้ การงานที่ต้อง



{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา
ทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล๑
ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ) เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ
เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ
เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริย-
มรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างนี้
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคาม๒เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและ
ภูตคามเหล่านั้นทั้งหมดอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ได้ พืชคามและภูตคามเหล่านี้ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วย
ประการฉะนี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ
ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘
ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ
เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ศีล ในที่นี้หมายถึงจตุปาริสุทธิศีล ๔ (คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทริยสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล และ
ปัจจยสันนิสสิตศีล) (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒/๓๕๗)
๒ พืชคาม หมายถึงพืช ๕ อย่าง คือ พืชจากราก พืชจากต้น พืชจากยอด พืชจากข้อ และพืชจากพืช
ภูตคาม หมายถึงเริ่มตั้งแต่หน่อเขียวสมบูรณ์ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓/๓๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส
เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรค
มีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลายอย่างนี้แล
๑. มัคคังคนิทเทส
แสดงองค์แห่งมรรค
[๒๔] สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒๑
สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ
สัมมาวาจา ฯลฯ
สัมมากัมมันตะ ฯลฯ
สัมมาอาชีวะ ฯลฯ
สัมมาวายามะ ฯลฯ
สัมมาสติ ฯลฯ
สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒
สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิเวก (สงัดด้วยข่มไว้)
๒. ตทังควิเวก (สงัดด้วยองค์นั้น ๆ)
๓. สมุจเฉทวิเวก (สงัดด้วยตัดขาด)
๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก (สงัดด้วยสงบระงับ)
๕. นิสสรณวิเวก (สงัดด้วยสลัดออกได้)
วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิเวกของภิกษุ
ผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะแห่งผลและ

เชิงอรรถ :
๑ นิสสัย ๑๒ ได้แก่ ในวิเวกมีนิสสัย ๓ วิราคะมีนิสสัย ๓ นิโรธมินิสสัย ๓ โวสสัคคะมีนิสสัย ๓ (๓ คูณ ๔
เป็น ๑๒) (ขุ.ป.อ. ๒/๒๔/๓๕๘-๓๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส
นิสสรณวิเวกที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ
น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่น๑ด้วยดีในวิเวก ๕ นี้
สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยข่มไว้)
๒. ตทังควิราคะ (คลายกำหนัดด้วยองค์นั้น ๆ)
๓. สมุจเฉทวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยตัดขาด)
๔. ปฏิปัสสัทธิวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยสงบระงับ)
๕. นิสสรณวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยสลัดออกได้)
วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิราคะในการละทิฏฐิด้วย
องค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิราคะ
ของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิราคะในขณะแห่งผล
และนิสสรณวิราคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ ๕ นี้ ภิกษุเกิด
ฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิราคะ ๕ นี้
สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้)
๒. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้น ๆ)
๓. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด)
๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ)
๕. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้)
นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน นิโรธในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทนิโรธของภิกษุ
ผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะแห่งผลและนิสสรณ-
นิโรธที่เป็นความดับคืออมตธาตุ สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไป
ด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในนิโรธ ๕ นี้

เชิงอรรถ :
๑ ฉันทะ ศรัทธา และจิต ในที่นี้ชื่อว่า นิสสัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส
สัมมาทิฏฐิมีโวสสัคคะ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนโวสสัคคะ (สละด้วยข่มไว้)
๒. ตทังคโวสสัคคะ (สละด้วยองค์นั้น ๆ)
๓. สมุจเฉทโวสสัคคะ (สละด้วยตัดขาด)
๔. ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะ (สละด้วยสงบระงับ)
๕. นิสสรณโวสสัคคะ (สละด้วยสลัดออกได้)
โวสสัคคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน โวสสัคคะในการละทิฏฐิ
ด้วยองค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทโวสสัคคะ
ของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะในขณะแห่งผล
และนิสสรณโวสสัคคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาทิฏฐิมีโวสสัคคะ ๕ นี้ ภิกษุ
เกิดฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในโวสสัคคะ ๕ นี้
สัมมาทิฏฐิ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย
๑๒ นี้
[๒๕] สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ
สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ
สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิเวก ๒. ตทังควิเวก
๓. สมุจเฉทวิเวก ๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก
๕. นิสสรณวิเวก
วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิเวกของ
ภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะแห่งผลและ
นิสสรณวิเวกที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ
น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส
สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิราคะ ๒. ตทังควิราคะ
๓. สมุจเฉทวิราคะ ๔. ปฏิปัสสัทธิวิราคะ
๕. นิสสรณวิราคะ
วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิราคะในการละทิฏฐิด้วย
องค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิราคะ
ของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิราคะในขณะผลและ
นิสสรณวิราคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ
น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิราคะ ๕ นี้
สัมมาสมาธิมีนิโรธ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนนิโรธ ๒. ตทังคนิโรธ
๓. สมุจเฉทนิโรธ ๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ
๕. นิสสรณนิโรธ
นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน นิโรธในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทนิโรธของภิกษุ
ผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะผลและนิสสรณ-
นิโรธที่เป็นความดับคืออมตธาตุ สัมมาสมาธิมีนิโรธ ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไป
ด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในนิโรธ ๕ นี้
สัมมาสมาธิมีโวสสัคคะ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนโวสสัคคะ ๒. ตทังคโวสสัคคะ
๓. สมุจเฉทโวสสัคคะ ๔. ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะ
๕. นิสสรณโวสสัคคะ
โวสสัคคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน โวสสัคคะในการละทิฏฐิ
ด้วยองค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉท-
โวสสัคคะของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส
ขณะผลและนิสสรณโวสสัคคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาสมาธิมีโวสสัคคะ ๕
นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในโวสสัคคัคะ ๕ นี้
สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย
๑๒ นี้
[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง การงาน
นั้นทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การงานที่ต้อง
ทำด้วยกำลังนี้บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่
ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ภิกษุผู้เจริญ
ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ
ภิกษุผู้เจริญ ทำให้มากซึ่งพละ ๕ ฯลฯ ภิกษุผู้เจริญ ทำให้มากซึ่งพละ ๕ ย่อม
ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุผู้เจริญ ทำให้มากซึ่ง
อินทรีย์ ๕ ฯลฯ
พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและภูตคามเหล่านั้นทั้งหมด
อาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ พืชคาม
และภูตคามเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕
ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อม
ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัย
เจริญสัทธินทรีย์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ
เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
เจริญปัญญินทรีย์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๒. อินทริยนิทเทส
๒. อินทริยนิทเทส
แสดงอินทรีย์
[๒๗] สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒
สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิเวก ๒. ตทังควิเวก
๓. สมุจเฉทวิเวก ๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก
๕. นิสสรณวิเวก
วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิเวกของภิกษุผู้
เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะผลและนิสสรณ-
วิเวกที่เป็นความดับคือนิพพาน สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไป
ด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฯลฯ
สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒ อย่างนี้แล
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิเวก ๒. ตทังควิเวก
๓. สมุจเฉทวิเวก ๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก
๕. นิสสรณวิเวก
วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒ อย่างนี้แล
วิเวกกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๕. จริยากถา
๕. จริยากถา
ว่าด้วยความประพฤติ
[๒๘] คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า ความประพฤติ ๘ อย่าง ได้แก่

๑. ความประพฤติในอิริยาบถ ๒. ความประพฤติในอายตนะ
๓. ความประพฤติในสติ ๔. ความประพฤติในสมาธิ
๕. ความประพฤติในญาณ ๖. ความประพฤติในมรรค
๗. ความประพฤติในผล ๘. ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก

คำว่า ความประพฤติในอิริยาบถ ได้แก่ ความประพฤติในอิริยาบถ ๔
คำว่า ความประพฤติในอายตนะ ได้แก่ ความประพฤติในอายตนะภายใน
และอายตนะภายนอกอย่างละ ๖
คำว่า ความประพฤติในสติ ได้แก่ ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔
คำว่า ความประพฤติในสมาธิ ได้แก่ ความประพฤติในฌาน ๔
คำว่า ความประพฤติในญาณ ได้แก่ ความประพฤติในอริยสัจ ๔
คำว่า ความประพฤติในมรรค ได้แก่ ความประพฤติในอริยมรรค ๔
คำว่า ความประพฤติในผล ได้แก่ ความประพฤติในสามัญญผล ๔
คำว่า ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก ได้แก่ ความประพฤติใน
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติในพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน
ความประพฤติในพระสาวกบางส่วน
ความประพฤติในอิริยาบถมีแก่ผู้ตั้งตนไว้ชอบ ความประพฤติในอายตนะมี
แก่ผู้สำรวมอินทรีย์ ความประพฤติในสติมีแก่ผู้ที่อยู่ด้วยความไม่ประมาท ความ
ประพฤติในสมาธิมีแก่ผู้ขวนขวายในอธิจิต ความประพฤติในญาณมีแก่ผู้บรรลุ
ปัญญาเครื่องตรัสรู้ ความประพฤติในมรรคมีแก่ผู้ปฏิบัติชอบ ความประพฤติในผล
มีแก่ผู้ได้บรรลุ และความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลกมีแก่พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน พระสาวกบางส่วน
เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๕. จริยากถา
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ
๑. ผู้น้อมใจเชื่อ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยศรัทธา
๒. ผู้ประคองไว้ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิริยะ
๓. ผู้ตั้งจิตมั่น ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสติ
๔. ผู้ไม่ทำความฟุ้งซ่าน ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสมาธิ
๕. ผู้รู้ชัด ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยปัญญา
๖. ผู้รู้แจ้ง ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยญาณ
๗. ผู้มนสิการว่า “กุศลธรรมย่อมดำเนินไปแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้” ชื่อว่า
ย่อมประพฤติด้วยความประพฤติในอายตนะ
๘. ผู้มนสิการว่า “ผู้ปฏิบัติอย่างนี้” ย่อมบรรลุคุณวิเศษ ชื่อว่าย่อม
ประพฤติในความประพฤติด้วยคุณวิเศษ
เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ
๑. ความประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา
๒. ความประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภินิโรปนจริยา
๓. ความประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา
๔. ความประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา
๕. ความประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา
๖. ความประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่าปัคคหจริยา
๗. ความประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา
๘. ความประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา
เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง
จริยากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๖. ปาฏิหาริยกถา
๖. ปาฏิหาริยกถา
ว่าด้วยปาฏิหาริย์
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการ นี้
ปาฏิหาริย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือสอนให้เห็นจริง)
อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียว
แสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้
แสดงให้หายไปก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เราเรียกว่า
อิทธิปาฏิหาริย์ (๑)
อาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ทายใจตามเหตุที่กำหนดได้ว่า “ใจของท่าน
เป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง ใจของท่านเป็นดังนี้บ้าง” ถึงแม้ภิกษุนั้น
จะทายใจได้เป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ส่วน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย แต่เมื่อได้ฟังเสียงของ
มนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดา ก็ทายใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง
ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง ใจของท่านเป็นดังนี้บ้าง” ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจได้เป็น
อันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย
นี้ย่อมไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย และหาได้ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์
หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อได้ฟังเสียงตรึกตรองของผู้ที่กำลังตรึกตรองอยู่
ก็ทายใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง ใจของท่านเป็น
ดังนี้บ้าง” ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจได้เป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น
ไม่เป็นอย่างอื่น ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย หาได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๖. ปาฏิหาริยกถา
ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ หรือหาได้ฟังเสียง
ตรึกตรองของผู้ที่กำลังตรึกตรองอยู่แล้วทายใจไม่ แต่เมื่อกำหนดใจของท่านผู้
เข้าสมาธิซึ่งไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยใจของตนแล้ว ก็รู้ได้ว่า “ท่านผู้นี้ตั้งมโน-
สังขารไว้อย่างไร ก็จักตรึกถึงวิตกชื่อโน้นในระหว่างใจนี้อย่างนั้น ถึงแม้ภิกษุนั้น
จะทายใจได้เป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น” นี้เรียกว่า
อาเทสนาปาฏิหาริย์ (๒)
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พร่ำสอนอย่างนี้ว่า “จงตรึกตรองอย่างนี้
อย่าตรึกตรองอย่างนั้น จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการอย่างนั้น จงละสิ่งนี้ จง
เข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด” นี้เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการนี้
[๓๑] เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ เนกขัมมะย่อมกำจัด
กามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยเนกขัมมะ
นั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น
เนกขัมมะจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และเนกขัมมะนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้ พึงเจริญ
อย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่เนกขัมมะนั้นไว้ให้มั่น
อย่างนี้ เพราะฉะนั้น เนกขัมมะจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๑)
อพยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อพยาบาทย่อมกำจัด
พยาบาทได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอพยาบาท
นั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น
อพยาบาทจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอพยาบาทนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้ พึง
เจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อพยาบาทนั้นไว้
ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อพยาบาทจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๒)
อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อาโลกสัญญาย่อมกำจัด
ถีนมิทธะได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอาโลกสัญญา
นั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๖. ปาฏิหาริยกถา
อาโลกสัญญาจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอาโลกสัญญานั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้
พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อาโลกสัญญา
นั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อาโลกสัญญาจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๓)
อวิกเขปะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อวิกเขปะย่อมกำจัดอุทธัจจะ
ได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอวิกเขปะนั้น ชน
เหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น อวิกเขปะ
จึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอวิกเขปะนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้
พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อวิกเขปะนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้
เพราะฉะนั้น อวิกเขปะจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๔)
ธัมมววัตถานย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ธัมมววัตถานย่อมกำจัด
วิจิกิจฉาได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (๕)
ญาณย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ญาณย่อมกำจัดอวิชชาได้
เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (๖)
ปามุชชะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ปามุชชะย่อมกำจัดอรติได้
เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (๗)
ปฐมฌานย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ปฐมฌานย่อมกำจัดนิวรณ์
ทั้งหลายได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (๒๖ + ๗ = ๓๓)
อรหัตตมรรคย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อรหัตตมรรคย่อมกำจัด
กิเลสได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอรหัตต-
มรรคนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น
อรหัตตมรรคจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอรหัตตมรรคนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้
พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อรหัตตมรรค
นั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อรหัตตมรรคจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๔ + ๓๓
=๓๗)
[๓๒] เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ เนกขัมมะย่อมกำจัด
กามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้เรียกว่า
อิทธิปาฏิหาริย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๗. สมสีสกถา
อพยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อพยาบาทย่อมกำจัด
พยาบาทได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์เรียกว่าอิทธิ-
ปาฏิหาริย์ อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อาโลกสัญญา
ย่อมกำจัดถีนมิทธะได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ อรหัตตมรรคย่อมสำเร็จ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อรหัตตมรรคย่อมกำจัดกิเลสได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้น
จึงเป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้เรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ฉะนี้แล
ปาฏิหาริยกถา จบ
๗. สมสีสกถา
ว่าด้วยธรรมที่สงบและเป็นประธาน
[๓๓] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาดโดย
ชอบและดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
อปริยาปันนธรรม
คำว่า เพราะตัดขาดโดยชอบ อธิบายว่า พระโยคาวจรตัดกามฉันทะขาด
โดยชอบด้วยเนกขัมมะ ตัดพยาบาทขาดโดยชอบด้วยอพยาบาท ตัดถีนมิทธะขาด
โดยชอบด้วยอาโลกสัญญา ตัดอุทธัจจะขาดโดยชอบด้วยอวิกเขปะ ตัดวิจิกิจฉาขาด
โดยชอบด้วยธัมมววัตถาน ตัดอวิชชาขาดโดยชอบด้วยญาณ ตัดอรติขาดโดยชอบ
ด้วยปามุชชะ ตัดนิวรณ์ขาดโดยชอบด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ตัดกิเลสทั้งปวงขาดโดย
ชอบด้วยอรหัตตมรรค
คำว่า ดับไป อธิบายว่า พระโยคาวจรดับกามฉันทะได้ด้วยเนกขัมมะ ดับ
พยาบาทได้ด้วยอพยาบาท ดับถีนมิทธะได้ด้วยอาโลกสัญญา ดับอุทธัจจะได้ด้วย
อวิกเขปะ ดับวิจิกิจฉาได้ด้วยธัมมววัตถาน ดับอวิชชาได้ด้วยญาณ ดับอรติได้ด้วย
ปามุชชะ ดับนิวรณ์ได้ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ดับกิเลสทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๗. สมสีสกถา
คำว่า ไม่ปรากฏ อธิบายว่า เมื่อพระโยควจรได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่
ปรากฏ เมื่อได้อพยาบาท พยาบาทย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อาโลกสัญญา ถีนมิทธะ
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อวิกเขปะ อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ธัมมววัตถาน
วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ญาณ อวิชชาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปามุชชะ อรติ
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ เมื่อได้อรหัตตมรรค
กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ
คำว่า สงบ อธิบายว่า เนกขัมมะชื่อว่าสงบ เพราะละกามฉันทะได้แล้ว
อพยาบาทชื่อว่าสงบ เพราะละพยาบาทได้แล้ว อาโลกสัญญาชื่อว่าสงบ เพราะละ
ถีนมิทธะได้แล้ว อวิกเขปะชื่อว่าสงบ เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ธัมมววัตถาน ชื่อว่า
สงบ เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ญาณชื่อว่าสงบ เพราะละอวิชชาได้แล้ว ปามุชชะ
ชื่อว่าสงบ เพราะละอรติได้แล้ว ปฐมฌานชื่อว่าสงบ เพราะละนิวรณ์ได้แล้ว ฯลฯ
อรหัตตมรรคชื่อว่าสงบ เพราะละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว
คำว่า เป็นประธาน อธิบายว่า ธรรมเป็นประธาน ๑๓ ประการ ได้แก่
๑. ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน
๒. มานะมีความพัวพันเป็นประธาน
๓. ทิฏฐิมีความยึดถือเป็นประธาน
๔. อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน
๕. อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน
๖. ศรัทธามีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน
๗. วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน
๘. สติมีความเข้าไปตั้งมั่นเป็นประธาน
๙. สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน
๑๐. ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน
๑๑. ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน
๑๒. วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน
๑๓. นิโรธมีสังขารเป็นประธาน๑
สมสีสกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๘๗/๑๔๖-๑๔๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
๘. สติปัฏฐานกถา
ว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
๒. เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
๔. เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล
[๓๕] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกองปฐวีธาตุโดยความไม่เที่ยง
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็น
โดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะ
ให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง
ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม
ละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้
เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ ๗ อย่างนี้
กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็น
กายนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นกาย
ในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่
ธรรมนั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกองอาโปธาตุ ฯลฯ กองเตโชธาตุ
ฯลฯ กองวาโยธาตุ ฯลฯ กองผม ฯลฯ กองขน ฯลฯ กองผิว ฯลฯ กองหนัง
ฯลฯ กองเนื้อ ฯลฯ กองเอ็น ฯลฯ กองกระดูก ฯลฯ พิจารณาเห็นกองไขกระดูก
โดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด
ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละ
สุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อ
เบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ
ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ
๗ อย่างนี้ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุ
พิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการ
พิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้ (๑)
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความไม่เที่ยง ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุ
พิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสตินั้นและด้วย
ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า
สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนา
ฯลฯ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ภิกษุบางรูปใน
ธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละ
อาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ เวทนาย่อมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสตินั้น
และด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างนี้ (๒)
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นจิตมีราคะโดยความไม่เที่ยง
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็น
โดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะ
เหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นจิตที่ปราศจากราคะ ฯลฯ จิตมีโทสะ
ฯลฯ จิตปราศจากโทสะ ฯลฯ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิตปราศจากโมหะ ฯลฯ จิตหดหู่
ฯลฯ จิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ จิตเป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตมี
จิตอื่นยิ่งกว่า ฯลฯ จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ฯลฯ จิตตั้งมั่น ฯลฯ จิตไม่ตั้งมั่น
ฯลฯ จิตหลุดพ้น ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้น ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ โสตวิญญาณ
ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ ภิกษุบางรูปใน
ธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นมโนวิญญาณโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความ
เที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละ
นิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นจิตด้วย
อาการ ๗ อย่างนี้ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการ
พิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างนี้ (๓)
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เว้นกาย เว้นเวทนา เว้นจิตแล้วพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลายที่เหลือจากนั้นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง
พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็น
โดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี
ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
ละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้
เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุ
พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วย
สตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล (๔)
สติปัฏฐานกถา จบ
๙. วิปัสสนากถา
ว่าด้วยวิปัสสนา
[๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลย๑ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารบางอย่างโดยความ
เที่ยง จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ๒ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วย
อนุโลมขันติจักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม๓เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตต-
นิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๑)

เชิงอรรถ :
๑ เป็นไปไม่ได้เลย หมายถึงปฏิเสธฐานะ (เหตุ) และปฏิเสธโอกาส (ปัจจัย) ที่เป็นไปได้ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๖/๓๖๗,
องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒)
๒ อนุโลมขันติ หมายถึงวิปัสสนาญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๖/๓๖๗)
๓ สัมมัตตนิยาม หมายถึงโลกุตตรมรรค โดยวิเศษก็คือโสดาปัตติมรรค (ขุ.ป.อ. ๒/๓๖/๓๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
เป็นไปได้๑ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๒)
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารบางอย่างโดยความเป็นสุข จักเป็น
ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ
จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำ
ให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๓)
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๔)
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมบางอย่างโดยความเป็นอัตตา จัก
เป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ
จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำ
ให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๕)
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมบางอย่างโดยความเป็นอนัตตา จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๖)
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จัก
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้
แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๗)

เชิงอรรถ :
๑ เป็นไปได้ ในที่นี้หมายถึงยอมรับฐานะ (เหตุ) ที่เป็นไปได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบ
ด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่สัมมัตต-
นิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทา-
คามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๘)
[๓๗] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการเท่าไร
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่าง หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ ๔๐ อย่าง
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่าง หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ ๔๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเห็นเบญจขันธ์

๑. โดยความไม่เที่ยง ๒. โดยความเป็นทุกข์
๓. โดยความเป็นโรค ๔. โดยความเป็นดังหัวฝี
๕. โดยความเป็นดังลูกศร ๖. โดยเป็นความลำบาก
๗. โดยเป็นอาพาธ ๘. โดยเป็นอย่างอื่น
๙. โดยเป็นของชำรุด ๑๐. โดยเป็นอัปปมงคล
๑๑. โดยเป็นอันตราย ๑๒. โดยเป็นภัย
๑๓. โดยเป็นอุปสรรค ๑๔. โดยเป็นความหวั่นไหว
๑๕. โดยเป็นของผุพัง ๑๖. โดยเป็นของไม่ยั่งยืน
๑๗. โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑๘. โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน
๑๙. โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ๒๐. โดยเป็นความว่างเปล่า
๒๑. โดยความเปล่า ๒๒. โดยเป็นสุญญตะ (ความว่าง)
๒๓. โดยเป็นอนัตตา ๒๔. โดยเป็นโทษ

๒๕. โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา
๒๖. โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา

๒๗. โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ๒๘. โดยเป็นดังเพชฌฆาต
๒๙. โดยเป็นความเสื่อมไป ๓๐. โดยเป็นของมีอาสวะ
๓๑. โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ๓๒. โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร

๓๓. โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา
๓๔. โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา
๓๕. โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
๓๖. โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา
๓๗. โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา
๓๘. โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา
๓๙. โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา
๔๐. โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
[๓๘] ๑. ภิกษุเมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง” ย่อม
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานสุข” ย่อมหยั่งสู่
สัมมัตตนิยาม
๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโรค ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโรค” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังหัวฝี ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังหัวฝี”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังลูกศร ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีลูกศร”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความลำบาก ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความลำบาก”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอาพาธ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นอื่น ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีสิ่งอื่นเป็นปัจจัย”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของชำรุด ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน ไม่มีความชำรุดเป็นธรรมดา”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๑๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอัปปมงคลย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีเสนียด” ย่อม
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๑๑. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอันตราย ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอันตราย” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
๑๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นภัย ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีภัย” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
๑๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอุปสรรคย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุปสรรค” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๑๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความหวั่นไหว ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความหวั่นไหว”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
๑๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของผุพัง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความผุพัง” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๑๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่ยั่งยืน ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความยั่งยืน”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๑๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่ต้านทาน”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๑๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่ป้องกัน”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๑๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่พึ่ง” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๒๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยว่างเปล่า ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ว่างเปล่า” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๒๑. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความเปล่า ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เปล่า” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๒๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นสุญญตะ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานว่างยิ่ง” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๒๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอนัตตา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีประโยชน์อย่างยิ่ง”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
๒๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นโทษ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโทษ” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
๒๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา ย่อม
ได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน
มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๒๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีแก่นสาร”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๒๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีมูลแห่ง
ความลำบาก” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๒๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นดังเพชฌฆาต ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังเพชฌฆาต”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๒๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความเสื่อมไป ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเสื่อมไป”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีอาสวะ ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาสวะ”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๑. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่ง
มาร” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
๓๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความเกิด” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความแก่” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความตาย” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ย่อม
ได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน
ไม่มีความเศร้าโศก” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความรำพัน” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา
ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานที่ไม่มีความคับแค้นใจ” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๔๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานไม่มีความเศร้าหมอง” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
[๓๙] คำว่า โดยความไม่เที่ยง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นทุกข์ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นโรค ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นดังหัวฝี ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นดังลูกศร ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความลำบาก ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอาพาธ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอย่างอื่น ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของชำรุด ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอัปปมงคล ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา (๑๐)
คำว่า โดยเป็นอันตราย ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นภัย ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอุปสรรค ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความหวั่นไหว ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของผุพัง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่ยั่งยืน ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความว่างเปล่า ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา (๑๐=๒๐)
คำว่า โดยความเปล่า ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นสุญญตะ ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอนัตตา ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นโทษ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
คำว่า โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นดังเพชฌฆาต ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความเสื่อมไป ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีอาสวะ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา (๑๐ = ๓๐)
คำว่า โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
(๑๐ = ๔๐ )
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้ หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
ด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้
ภิกษุผู้ได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้ ผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ ๔๐ อย่างนี้มีอนิจจานุปัสสนาเท่าไร มีทุกขานุปัสสนาเท่าไร มีอนัตตา-
นุปัสสนาเท่าไร
ท่านกล่าวว่า มีอนิจจานุปัสสนา ๕๐
มีทุกขานุปัสสนา ๑๒๕ มีอนัตตานุปัสสนา ๒๕ ฉะนี้
วิปัสสนากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑๐. มาติกากถา
๑๐. มาติกากถา
ว่าด้วยหัวข้อธรรม
[๔๐] ผู้ไม่มีความหิว โมกข์ วิโมกข์ วิชชาวิมุตติ อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา
ปัสสัทธิ ญาณ ทัสสนะ วิสุทธิ เนกขัมมะ เครื่องสลัด ความสงัด ความสละ
ความประพฤติ ฌานวิโมกข์ ภาวนา อธิษฐาน ชีวิต (๑๙)
[๔๑] คำว่า ผู้ไม่มีความหิว อธิบายว่า ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจาก
กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากพยาบาทด้วยอพยาบาท
ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิวย่อมหลุดพ้นจากนิวรณ์ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว
ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค (๑)
คำว่า โมกข์ วิโมกข์ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะ
เป็นเครื่องพ้นจากกามฉันทะ อพยาบาท ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้น
จากพยาบาท ฯลฯ ปฐมฌาน ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้นจากนิวรณ์
ฯลฯ อรหัตตมรรค ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้นจากกิเลสทั้งปวง (๒)
คำว่า วิชชาวิมุตติ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าวิชชาเพราะรู้ ชื่อว่าวิมุตติ
เพราะหลุดพ้นจากกามฉันทะ ชื่อว่าวิชชาวิมุตติเพราะเมื่อรู้จึงหลุดพ้น เมื่อหลุด
พ้นก็ย่อมรู้ อพยาบาท ชื่อว่าวิชชาเพราะรู้ ชื่อว่าวิมุตติเพราะหลุดพ้นจากพยาบาท
ชื่อว่าวิชชาวิมุตติเพราะเมื่อรู้จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็ย่อมรู้ ฯลฯ อรหัตตมรรค
ชื่อว่าวิชชาเพราะรู้ ชื่อว่าวิมุตติเพราะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ
เพราะเมื่อรู้จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็ย่อมรู้ (๓)
คำว่า อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะ
มีความหมายว่ากั้นกามฉันทะ ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่าน
และความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่าอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตต-
สิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา อพยาบาท ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมี
ความหมายว่ากั้นพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรค ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑๐. มาติกากถา
หมายว่ากั้นกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและ
ความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่าอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา
ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา (๔-๖)
คำว่า ปัสสัทธิ อธิบายว่า พระโยคาวจรระงับกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ
ระงับพยาบาทด้วยอพยาบาท ฯลฯ ระงับกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค (๗)
คำว่า ญาณ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าญาณเพราะมีสภาวะรู้ เพราะละ
กามฉันทะ อพยาบาท ชื่อว่าญาณเพราะมีสภาวะรู้ เพราะละพยาบาท ฯลฯ
อรหัตตมรรค ชื่อว่าญาณเพราะมีสภาวะรู้ เพราะละกิเลสทั้งปวง (๘)
คำว่า ทัสสนะ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าทัสสนะเพราะเห็น เพราะละ
กามฉันทะ อพยาบาท ชื่อว่าทัสสนะเพราะเห็น เพราะละพยาบาท ฯลฯ อรหัตต-
มรรค ชื่อว่าทัสสนะเพราะเห็น เพราะละกิเลสทั้งปวง (๙)
คำว่า วิสุทธิ อธิบายว่า บุคคลเมื่อละกามฉันทะ ย่อมหมดจดด้วยเนกขัมมะ
เมื่อละพยาบาท ย่อมหมดจดด้วยอพยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อม
หมดจดด้วยอรหัตตมรรค (๑๐)
คำว่า เนกขัมมะ อธิบายว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องสลัดกาม อรูปเป็นเครื่อง
สลัดรูป นิโรธเป็นเนกขัมมะแห่งสิ่งที่มีที่เป็น ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ที่อาศัยกันเกิดขึ้น
อพยาบาทเป็นเนกขัมมะแห่งพยาบาท อาโลกสัญญาเป็นเนกขัมมะแห่งถีนมิทธะ
ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นเนกขัมมะแห่งกิเลสทั้งปวง (๑๑)
คำว่า เครื่องสลัด อธิบายว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องสลัดกาม อรูปเป็น
เครื่องสลัดรูป นิโรธเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ที่อาศัยกัน
เกิดขึ้น เนกขัมมะเป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ อพยาบาทเป็นเครื่องสลัดพยาบาท
ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง (๑๒)
คำว่า ความสงัด อธิบายว่า เนกขัมมะเป็นความสงัดของกามฉันทะ
อพยาบาทเป็นความสงัดของพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นความสงัดของกิเลส
ทั้งปวง (๑๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑๐. มาติกากถา
คำว่า ความสละ อธิบายว่า พระโยคาวจรสละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าความสละ สละพยาบาทด้วยอพยาบาท เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าความสละ ฯลฯ สละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าความสละ (๑๔)
คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า พระโยคาวจรประพฤติละกามฉันทะด้วย
เนกขัมมะ ประพฤติละพยาบาทด้วยอพยาบาท ฯลฯ ประพฤติละกิเลสทั้งปวงด้วย
อรหัตตมรรค (๑๕)
คำว่า ฌานวิโมกข์ อธิบายว่า เนกขัมมะย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ฌาน เนกขัมมะย่อมเผากามฉันทะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน บุคคล
เมื่อเผาย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้
ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลายย่อมไหม้ไป เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม เขาย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและ
กิเลสที่ถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ อพยาบาทย่อม
เผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อพยาบาทย่อมเผาพยาบาทให้ไหม้ เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ฯลฯ อาโลกสัญญาย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ฌาน อาโลกสัญญาย่อมเผาถีนมิทธะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ฯลฯ
อรหัตตมรรคย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อรหัตตมรรคย่อมเผากิเลส
ทั้งปวงให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน พระอรหันต์เมื่อเผาย่อมหลุดพ้น
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลายย่อมไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม เขา
ย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและกิเลสที่ถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ (๑๖)
[๔๒] คำว่า ภาวนา อธิษฐาน ชีวิต อธิบายว่า บุคคลผู้ละกามฉันทะย่อม
เจริญเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ย่อมอธิษฐานจิต
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อม
ด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่ใช่เป็นอยู่ไม่สงบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑๐. มาติกากถา
เป็นอยู่ชอบ เป็นอยู่ไม่ผิด เป็นอยู่หมดจด เป็นอยู่ไม่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อม
ด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่บริษัทใด คือ ขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัท
ก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึง
พร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น
บุคคลละพยาบาท เจริญอพยาบาท เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ฯลฯ ละถีนมิทธะ เจริญอาโลกสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อม
ด้วยภาวนา ฯลฯ ละอุทธัจจะ เจริญอวิกเขปะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ฯลฯ ละวิจิกิจฉา เจริญธัมมววัตถาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อม
ด้วยภาวนา ฯลฯ ละอวิชชา เจริญวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ฯลฯ ละอรติ เจริญปามุชชะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา
ฯลฯ ละนิวรณ์ เจริญปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ฯลฯ
ละกิเลสทั้งปวง เจริญอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา
บุคคลย่อมตั้งจิตมั่นด้วยอำนาจอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อม
ด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็น
อยู่สงบ ไม่ใช่เป็นอยู่ไม่สงบ เป็นอยู่ชอบ ไม่เป็นอยู่ผิด เป็นอยู่หมดจด เป็นอยู่
ไม่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา
ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่บริษัทใด คือ ขัตติย-
บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อม
องอาจ ไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น ฉะนี้แล (๓-๑๙)
มาติกากถา จบ
ปัญญาวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค รวมกถาที่มีอยู่ในปกรณ์ปฏิสัมภิทามรรค
รวมกถาที่มีอยู่ในปกรณ์ปฏิสัมภิทามรรคนี้ คือ
๑. มหาวรรค

๑. ญาณกถา ๒. ทิฏฐิกถา
๓. อานาปานัสสติกถา ๔. อินทริยกถา
๕. วิโมกขกถา ๖. คติกถา
๗. กัมมกถา ๘. วิปัลลาสกถา
๙. มัคคกถา ๑๐. มัณฑเปยยกถา

๒. ยุคนัทธวรรค

๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา
๓. โพชฌังคกถา ๔. เมตตากถา
๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา
๗. ธัมมจักกกถา ๘. โลกุตตรกถา
๙. พลกถา ๑๐. สุญญกถา

๓. ปัญญาวรรค

๑. มหาปัญญากถา ๒. อิทธิกถา
๓. อภิสมยกถา ๔. วิเวกกถา
๕. จริยากถา ๖. ปาฏิหาริยกถา
๗. สมสีสกถา ๘. สติปัฏฐานกถา
๙. วิปัสสนากถา ๑๐. มาติกากถา

ในปกรณ์ปฏิสัมภิทามี ๓ วรรค มีอรรถกว้างลึกในมรรคอันเป็นอนันตนัย
เปรียบด้วยสาคร เหมือนนภากาศที่ดารดาษด้วยดวงดาวและเช่นกับสระใหญ่ ให้
ความสว่างเจิดจ้าแห่งญาณแก่พระโยคีผู้เป็นธรรมกถิกาจารย์อย่างกว้างขวางฉะนี้แล
ปฏิสัมภิทามรรค จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๑๐ }

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น